สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 8
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 1
เท่าที่ผมลองค้นหาข้อมูล ผมพบว่ามีสองวิธีในการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น โดยใช้สูตรคำนวณเบื้องต้นก่อนไปดูงบการเงินอย่างละเอียดอีกที นั่นคือ
1. มูลค่าที่แท้จริง = EPS(8.5 + 2xGrowRate), จำแหล่งที่มาไม่ได้ครับ
2. มูลค่าที่แท้จริง = EPS (ปีล่าสุด)*PE(เฉลี่ยย้อนหลัง) ,จากหนังสือ super stock ของ ดร.นิเวศน์
ทั้งสองวิธีได้ค่าไม่ตรงกัน ผมเลยสงสัยว่าทั้งสองวิธีแตกต่างกันยังไงครับ หรือวิธีไหนถูกต้องกว่ากัน เพราะค่าต่างกันค่อนข้างมาก
1. มูลค่าที่แท้จริง = EPS(8.5 + 2xGrowRate), จำแหล่งที่มาไม่ได้ครับ
2. มูลค่าที่แท้จริง = EPS (ปีล่าสุด)*PE(เฉลี่ยย้อนหลัง) ,จากหนังสือ super stock ของ ดร.นิเวศน์
ทั้งสองวิธีได้ค่าไม่ตรงกัน ผมเลยสงสัยว่าทั้งสองวิธีแตกต่างกันยังไงครับ หรือวิธีไหนถูกต้องกว่ากัน เพราะค่าต่างกันค่อนข้างมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 2
เอ่อ....ในมุมผม ผมมองว่าผิดตั้งแต่โจทย์เลยนะครับ
หรือว่าผมทำอยู่คนเดียวหว่า....-_-??)
....^^)
จริงๆชาวVI ต้องดูงบการเงิน ดูบริษัทก่อน แล้วค่อยมาคำนวนราคาว่ามันถูกหรือแพง น่าซื้อไม่น่าซื้อไม่ใช่หรือครับThuchapon เขียน:เท่าที่ผมลองค้นหาข้อมูล ผมพบว่ามีสองวิธีในการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น
โดยใช้สูตรคำนวณเบื้องต้นก่อนไปดูงบการเงินอย่างละเอียดอีกที
หรือว่าผมทำอยู่คนเดียวหว่า....-_-??)
....^^)
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 3
การประเมินมูลค่าหุ้น มันใช้ทั้งศาสตร์ และ ศิลป์ ครับ ผมแนะนำให้ลงเรียน
ทั้งครอส ศาสตร์ เช่น บัญชี การวิเคราะห์งบการเงิน วิเคราะห์อุตสาหกรรม
และศิลป์ เช่น กลยุทธ์และจิตวิทยา การลงทุน การบริหารพอร์ตโฟลิโอ ฯลฯ
การประเมินมูลค่าหุ้น มันมีปัจจัยต่างๆ มากกว่า EPS, growth rate
ที่ Thuchapon ตั้งโจทย์ไว้ครับ
ทั้งครอส ศาสตร์ เช่น บัญชี การวิเคราะห์งบการเงิน วิเคราะห์อุตสาหกรรม
และศิลป์ เช่น กลยุทธ์และจิตวิทยา การลงทุน การบริหารพอร์ตโฟลิโอ ฯลฯ
การประเมินมูลค่าหุ้น มันมีปัจจัยต่างๆ มากกว่า EPS, growth rate
ที่ Thuchapon ตั้งโจทย์ไว้ครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
- SawScofield
- Verified User
- โพสต์: 236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 4
การหาที่มารายได้จากการสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค ร่วมกับการประเมินค่าใช้จ่ายและงบลงทุนที่เหมาะสมน่าจะนำไปสู่การประมาณกำไรล่วงหน้าที่แม่นยำได้ครับ -> eps
เมื่อให้ PE ที่เหมาะสม คงจะทำให้มี fair value ในใจได้ครับ
แต่อย่างที่พี่โดมแนะนำเลยครับ การประเมินมูลค่าหุ้นมีทั้งศาสตร์และศิลป์ ถ้าเราเริ่มมั่วตั้งแต่รายได้ ค่าใช้จ่าย เงินลงทุน ค่าเสื่อม นุ่นนี่นั่น สุดท้ายไปมั่ว PE เราก็คงได้ P ที่ห่างความจริงออกมาครับ
ชั่วโมงบินและการทำบ้านที่ดีจะช่วยทำให้ความแม่นยำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเองมั้งครับ (เพราะผมก็ยังไม่แม่น 555+)
เมื่อให้ PE ที่เหมาะสม คงจะทำให้มี fair value ในใจได้ครับ
แต่อย่างที่พี่โดมแนะนำเลยครับ การประเมินมูลค่าหุ้นมีทั้งศาสตร์และศิลป์ ถ้าเราเริ่มมั่วตั้งแต่รายได้ ค่าใช้จ่าย เงินลงทุน ค่าเสื่อม นุ่นนี่นั่น สุดท้ายไปมั่ว PE เราก็คงได้ P ที่ห่างความจริงออกมาครับ
ชั่วโมงบินและการทำบ้านที่ดีจะช่วยทำให้ความแม่นยำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเองมั้งครับ (เพราะผมก็ยังไม่แม่น 555+)
Respect, Persistence then Deserve
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 5
ข้อ 1 จากหนังสืออ.เบน ครับ
อย่างทุกท่านว่า สูตรสำเร็จหาตัวเลขมูลค่าแท้จริง ไม่ใช่ว่าจะเป็นดั่งกฎ ที่คงตัว ไม่ใช่คำบัญชาของพระเจ้า ที่ต้องเป็นไปตามนั้น
ไม่ได้เป็นตัวเลขแม่นยำ เหมือนการทำนายเวลาเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
แต่เหมือนกับการทำนาย เหมือนนักโภชนากร ว่าน้ำหนักในปีหน้าของลูกค้า จะเป็นซักกี่กิโล ถ้าที่ผ่านมากินอาหารแบบนี้ แล้วแนะนำว่าต่อไปต้องกินอาหารแบบนั้น กี่แคลลอรี่ กินอะไรบ่อยแบบไหน อะไรงด อะไรเพิ่ม
"เหตุ" "ปัจจัย" เป็นแบบนี้แล้ว "ผล" จะเป็นแบบไหน
ไม่มีใครกล้ายืนยันถึงขนาดทศนิยม ว่าวันนี้หนัก 95.2kg ตัวเลขของปีหน้าจะเป็น 72.2kg หรือ 89.012kg หรือ 99.20009kg
คำนวนออกมาแล้ว จากข้อมูลที่ "พอจะรับได้" ว่ามีที่มาที่ไปชัดเจน แม้ตัวเลขตอนคำนวณ มันจะได้มาเป็นทศนิยม
ก็อาจจะยอมรับได้ ว่าควรจะอยู่ราวๆ 70-75kg, 80-90kg อะไรทำนองนี้
Buffet ไม่กล้าทำนายหรอกครับ ว่าหุ้นโค้กปีหน้า จะราคากี่ดอลล์
แต่ดูพื้นฐาน หรือ"เหตุ" "ปัจจัย" ของการบริหารกิจการแล้ว
ยังเปลี่ยนแปลงเติบโต "ผล" ก็เชื่อได้ว่ามันจะเติบโตต่อไป อย่างที่เป็นมา
การ "คำนวณ" สำคัญคือเบื้องหลังที่มาของตัวเลขนั้น ได้มาแล้ว นอกจากเราจะเชื่อว่า มาจากรายงานที่น่าเชื่อถือได้แล้ว
อนาคต ที่เหลือ คือการ "ทำนาย" ว่า บริษัท จะดำเนินกิจการภายใต้รูปแบบเดิมหรือไม่ มีผลกระทบอะไรหรือไม่ ที่มาทำให้ตัวเลขนั้นเปลี่ยน
แต่ก็อย่ายึดติด ดั่งว่าตัวเลขที่เราได้เป็นตัวเลขเทพจุติ หรือของพระเจ้า
แต่ตัวเลขที่เห็น มันคือส่วนผสมตัวเลขที่จับต้องได้จริง กับ "ตัวเลขทางบัญชี"
แค่ทดลองเปลี่ยนนักบัญชี จะใช้ assumption บางเรื่องต่างกัน งบการเงิน bottom line บริษัทเดียวกัน ก็ออกมาต่างกันได้
ตัวอย่างสดๆ ร้อนๆ ปีที่ผ่านมา การ "ตั้งสำรอง" ผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นต้น
ถ้างั้นเราจะทำยังไงกับมันดี?
ถ้าเป็นลงทุน "โครงการ" ต่างๆ ของบริษัทใหญ่น้อย เขาจะมีการคำนวณตัวเลขความเสี่ยงต่างๆ ไว้
และถ้าปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนไป มีการเผื่อ และทดลองคำนวณหลายกรณีว่า ถ้าปัจจัยที่มากระทบต่อโครงการแบบนี้ ตัวเลขรายได้ รายจ่าย อัตรา แลกเปลี่ยน ฯลฯ เปลี่ยนไป (ขึ้นกับธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของแต่ละโครงการ) จะทำให้โครงการ "เป๋" ไปซักขนาดไหน หรือเขาเรียกว่า "sensitivity analysis"
ถ้าดูคร่าวๆ แล้ว มันดูท่าไม่ดี อุตส่าเสียเวาเก็บข้อมูลและนำมาคำนวณก็หลายเดือน
แต่ถ้าลงทุนไปแล้ว โอกาสจะรุ่งริ่ง มีมากกว่ารุ่งโรจน์ ยอมทิ้งเวลา ไปทำโครงการใหม่ดีกว่า
ตอนเด็ก ผมจำได้ว่ามีหนังสือคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง เขียนการ์ตูนไว้ว่า วิศวกรก่อสร้าง ออกแบบไปผิดไปทศนิยมเดียว แล้วตึกทั้งตึกพัง
ที่จริง เป็นแค่คำพูดของนักคณิตศาสตร์ ต้องการจูงใจให้เด็กใส่ใจในการคำนวณ ละเอียดถี่ถ้วน
แต่ข้อเท็จจริงคือ วิศวกรจะเผื่อ safety factor เข้าไปเสมอ หลังคำนวณได้
ยิ่งสมัยก่อน เทคโนโลยี ยังไม่พัฒนา เราจะเห็นว่าสิ่งก่อสร้างรุ่นเก่า บางทีต้องเผื่อขนาดให้ใหญ่โตเกินเหตุไว้ก่อน เหล็กเส้นใหญ่ คานโต ปัจจุบันอาจลดขนาดลงได้ เมื่อผ่านการลองผิดลองถุกของวงการ และเทคโนโลยี ทำให้วัสดุรับแรงๆ ได้ดีขึ้น
เพราะคนออกแบบ ยิ่งถ้าเป็นวิศวกรโยธาระดับสามัญ (ที่เรียกว่า สย.) เขาต้องระวัง ว่าเซ็นต์ลงไปแล้ว มันคือความมั่นคงใบอนุญาตในวิชาชีพ "ชีพ" คือเลี้ยงปากท้องและลูกเมียไปทั้งชีวิต
ผู้ตรวจสอบ "ผู้ได้รับอนุญาต" เช่นกัน ก็ต้องมั่นใจ ว่าสิ่งที่เซ็นต์ลงไปที่นักบัญชีทำมา มี "ที่มา" ที่จะไม่มีข้อสงสัย
ถ้ามี ก็ตั้งข้อสงสัยไว้ ให้มหาชนทราบ
ส่วนสุดยอดวิศวกรนักการเงิน อย่างนักลงทุนคุณค่าผู้พิสมัยการสรรสร้าง portfolio ด้วยการทบต้น คือการคำนวณผลที่จะออกมา แล้วต้องเผื่อ "Margin of safety" เอาไว้ หลังจากการคำนวณจากข้อมูลที่มีที่มาที่ไปเชื่อถือได้เหล่านั้น
คอยติดตามผล "การทำงาน" ของ "การลงทุน" ของเรา หลังจากคำนวณและลงทุนไป ไตรมาสต่อไตรมาส
ฝีมือของผู้บริหาร* และผลกระทบรอบด้าน ทั้งอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ ที่จะมากระทบ
อย่ายึดติดกับทศนิยมของ intrinsic value ที่คำนวณไว้
(การลงทุนแนวพื้นฐานเชื่อว่า ราคาหุ้นมีที่มาที่ไป ไม่ใช่แค่การ bid-offer ในตลาดแบบซื้อโคกระบือ หรือของเก่า
จริงๆ "เงินไม่ได้ทำงาน" เอง อย่างใครพูดไว้เท่ๆ แต่เบื้องหลัง คือ "องค์กร" กิจการที่มีกิจกรรมทางธุรกิจ
เบื้องหลังองค์กร คือ "คนทำงาน")
อย่างทุกท่านว่า สูตรสำเร็จหาตัวเลขมูลค่าแท้จริง ไม่ใช่ว่าจะเป็นดั่งกฎ ที่คงตัว ไม่ใช่คำบัญชาของพระเจ้า ที่ต้องเป็นไปตามนั้น
ไม่ได้เป็นตัวเลขแม่นยำ เหมือนการทำนายเวลาเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
แต่เหมือนกับการทำนาย เหมือนนักโภชนากร ว่าน้ำหนักในปีหน้าของลูกค้า จะเป็นซักกี่กิโล ถ้าที่ผ่านมากินอาหารแบบนี้ แล้วแนะนำว่าต่อไปต้องกินอาหารแบบนั้น กี่แคลลอรี่ กินอะไรบ่อยแบบไหน อะไรงด อะไรเพิ่ม
"เหตุ" "ปัจจัย" เป็นแบบนี้แล้ว "ผล" จะเป็นแบบไหน
ไม่มีใครกล้ายืนยันถึงขนาดทศนิยม ว่าวันนี้หนัก 95.2kg ตัวเลขของปีหน้าจะเป็น 72.2kg หรือ 89.012kg หรือ 99.20009kg
คำนวนออกมาแล้ว จากข้อมูลที่ "พอจะรับได้" ว่ามีที่มาที่ไปชัดเจน แม้ตัวเลขตอนคำนวณ มันจะได้มาเป็นทศนิยม
ก็อาจจะยอมรับได้ ว่าควรจะอยู่ราวๆ 70-75kg, 80-90kg อะไรทำนองนี้
Buffet ไม่กล้าทำนายหรอกครับ ว่าหุ้นโค้กปีหน้า จะราคากี่ดอลล์
แต่ดูพื้นฐาน หรือ"เหตุ" "ปัจจัย" ของการบริหารกิจการแล้ว
ยังเปลี่ยนแปลงเติบโต "ผล" ก็เชื่อได้ว่ามันจะเติบโตต่อไป อย่างที่เป็นมา
การ "คำนวณ" สำคัญคือเบื้องหลังที่มาของตัวเลขนั้น ได้มาแล้ว นอกจากเราจะเชื่อว่า มาจากรายงานที่น่าเชื่อถือได้แล้ว
อนาคต ที่เหลือ คือการ "ทำนาย" ว่า บริษัท จะดำเนินกิจการภายใต้รูปแบบเดิมหรือไม่ มีผลกระทบอะไรหรือไม่ ที่มาทำให้ตัวเลขนั้นเปลี่ยน
แต่ก็อย่ายึดติด ดั่งว่าตัวเลขที่เราได้เป็นตัวเลขเทพจุติ หรือของพระเจ้า
แต่ตัวเลขที่เห็น มันคือส่วนผสมตัวเลขที่จับต้องได้จริง กับ "ตัวเลขทางบัญชี"
แค่ทดลองเปลี่ยนนักบัญชี จะใช้ assumption บางเรื่องต่างกัน งบการเงิน bottom line บริษัทเดียวกัน ก็ออกมาต่างกันได้
ตัวอย่างสดๆ ร้อนๆ ปีที่ผ่านมา การ "ตั้งสำรอง" ผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นต้น
ถ้างั้นเราจะทำยังไงกับมันดี?
ถ้าเป็นลงทุน "โครงการ" ต่างๆ ของบริษัทใหญ่น้อย เขาจะมีการคำนวณตัวเลขความเสี่ยงต่างๆ ไว้
และถ้าปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนไป มีการเผื่อ และทดลองคำนวณหลายกรณีว่า ถ้าปัจจัยที่มากระทบต่อโครงการแบบนี้ ตัวเลขรายได้ รายจ่าย อัตรา แลกเปลี่ยน ฯลฯ เปลี่ยนไป (ขึ้นกับธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของแต่ละโครงการ) จะทำให้โครงการ "เป๋" ไปซักขนาดไหน หรือเขาเรียกว่า "sensitivity analysis"
ถ้าดูคร่าวๆ แล้ว มันดูท่าไม่ดี อุตส่าเสียเวาเก็บข้อมูลและนำมาคำนวณก็หลายเดือน
แต่ถ้าลงทุนไปแล้ว โอกาสจะรุ่งริ่ง มีมากกว่ารุ่งโรจน์ ยอมทิ้งเวลา ไปทำโครงการใหม่ดีกว่า
ตอนเด็ก ผมจำได้ว่ามีหนังสือคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง เขียนการ์ตูนไว้ว่า วิศวกรก่อสร้าง ออกแบบไปผิดไปทศนิยมเดียว แล้วตึกทั้งตึกพัง
ที่จริง เป็นแค่คำพูดของนักคณิตศาสตร์ ต้องการจูงใจให้เด็กใส่ใจในการคำนวณ ละเอียดถี่ถ้วน
แต่ข้อเท็จจริงคือ วิศวกรจะเผื่อ safety factor เข้าไปเสมอ หลังคำนวณได้
ยิ่งสมัยก่อน เทคโนโลยี ยังไม่พัฒนา เราจะเห็นว่าสิ่งก่อสร้างรุ่นเก่า บางทีต้องเผื่อขนาดให้ใหญ่โตเกินเหตุไว้ก่อน เหล็กเส้นใหญ่ คานโต ปัจจุบันอาจลดขนาดลงได้ เมื่อผ่านการลองผิดลองถุกของวงการ และเทคโนโลยี ทำให้วัสดุรับแรงๆ ได้ดีขึ้น
เพราะคนออกแบบ ยิ่งถ้าเป็นวิศวกรโยธาระดับสามัญ (ที่เรียกว่า สย.) เขาต้องระวัง ว่าเซ็นต์ลงไปแล้ว มันคือความมั่นคงใบอนุญาตในวิชาชีพ "ชีพ" คือเลี้ยงปากท้องและลูกเมียไปทั้งชีวิต
ผู้ตรวจสอบ "ผู้ได้รับอนุญาต" เช่นกัน ก็ต้องมั่นใจ ว่าสิ่งที่เซ็นต์ลงไปที่นักบัญชีทำมา มี "ที่มา" ที่จะไม่มีข้อสงสัย
ถ้ามี ก็ตั้งข้อสงสัยไว้ ให้มหาชนทราบ
ส่วนสุดยอดวิศวกรนักการเงิน อย่างนักลงทุนคุณค่าผู้พิสมัยการสรรสร้าง portfolio ด้วยการทบต้น คือการคำนวณผลที่จะออกมา แล้วต้องเผื่อ "Margin of safety" เอาไว้ หลังจากการคำนวณจากข้อมูลที่มีที่มาที่ไปเชื่อถือได้เหล่านั้น
คอยติดตามผล "การทำงาน" ของ "การลงทุน" ของเรา หลังจากคำนวณและลงทุนไป ไตรมาสต่อไตรมาส
ฝีมือของผู้บริหาร* และผลกระทบรอบด้าน ทั้งอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ ที่จะมากระทบ
อย่ายึดติดกับทศนิยมของ intrinsic value ที่คำนวณไว้
(การลงทุนแนวพื้นฐานเชื่อว่า ราคาหุ้นมีที่มาที่ไป ไม่ใช่แค่การ bid-offer ในตลาดแบบซื้อโคกระบือ หรือของเก่า
จริงๆ "เงินไม่ได้ทำงาน" เอง อย่างใครพูดไว้เท่ๆ แต่เบื้องหลัง คือ "องค์กร" กิจการที่มีกิจกรรมทางธุรกิจ
เบื้องหลังองค์กร คือ "คนทำงาน")
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 6
มาดูคำถามแล้ว ยังรู้สึกว่าจขกท. น่าจะยังข้องใจ
ขอตอบสั้นๆ ขยายความเนื้อหาข้างบนอีกนิดว่า
คำนวณดูแล้ว ทุกวิธีได้ค่าต่างกันแน่นอน และแม้แต่ใช้สูตร คนที่คำนวณต่างกัน ก็ได้ค่าออกมาเท่ากัน
เพราะอยากได้ผลตอยแทนต่างกัน และเผื่อความปลอดภัยต่างกัน
แต่ขอให้หาข้อมูลปัจจุบัน + แนวโน้มตัวเลขที่เชื่อถือได้ เป็นสมมติฐาน
มาเจอกัน ระหว่างตัวเลขที่ได้ปัจจุบัน กับตัวเลขทำนายอนาคต
ถ้าจะลงทุน
โอกาสที่จะขาดทุน น้อยกว่าหรือแทบไม่มี
อาจรอไป "ซื้อ" ที่ราคาไหน ถึงจะได้ผลตอบแทนประมาณการน่าพอใจ ... อาจไม่ซื้อเลยก็ได้
ขอตอบสั้นๆ ขยายความเนื้อหาข้างบนอีกนิดว่า
คำนวณดูแล้ว ทุกวิธีได้ค่าต่างกันแน่นอน และแม้แต่ใช้สูตร คนที่คำนวณต่างกัน ก็ได้ค่าออกมาเท่ากัน
เพราะอยากได้ผลตอยแทนต่างกัน และเผื่อความปลอดภัยต่างกัน
แต่ขอให้หาข้อมูลปัจจุบัน + แนวโน้มตัวเลขที่เชื่อถือได้ เป็นสมมติฐาน
มาเจอกัน ระหว่างตัวเลขที่ได้ปัจจุบัน กับตัวเลขทำนายอนาคต
ถ้าจะลงทุน
โอกาสที่จะขาดทุน น้อยกว่าหรือแทบไม่มี
อาจรอไป "ซื้อ" ที่ราคาไหน ถึงจะได้ผลตอบแทนประมาณการน่าพอใจ ... อาจไม่ซื้อเลยก็ได้
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 7
มูลค่าหุ้นที่นักลงทุนตีความกันในตลาดจะผูกพันกันในสามแง่คับ
มูลค่าที่แท้จริง เช่น กระแสเงินสดที่บริษัททำได้ตลอดอายุคิดลดกลับมาเป็นค่าปัจจุบัน
ราคาสินทรัพย์สุทธิ ความสามารถในการทำกำไร ที่เราเรียกรวมๆว่าพื้นฐานของกิจการ
อันนี้ใช้หลักการบัญชี-การเงินในการคิด รวมถึงข้อมูลในการลงทุน-เติบโตของธุรกิจประกอบ
มูลค่าเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งหุ้นที่เปรียบเทียบต้องมีพื้นฐานเหมือนหรือคล้ายกัน
ทั้งเทียบกับตัวเองในอดีตและอนาคต(ค่า pe pb ของตัวเองในอดีต) เทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
(เทียบ pe คู่แข่ง หรือเทียบกับอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งก็อีกหุ้นในอุตสหกรรมก็ต่างกันไปไม่เหมือนกันทีเดียว)
จนห่างออกมาอีก เช่น เทียบกับตลาดหุ้นในประเทศ เทียบกับตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือเทียบกับตลาดหุ้นทั่วโลก
(ซึ่งไว้ใช้บอกคร่าวๆ แต่ไม่ใช่ตัววัดที่ดีเพราะ ในตลาดหุ้นธุรกิจที่ทำเหมือนกันจริงๆแทบไม่มีเลย จะต่างกันไป
ในแง่ต่างๆ ยิ่งเทียบกับต่างประเทศนี่ยิ่งมีตัวแปรที่ห่างกันไปอีกตามแต่ละประเทศ)
ข้อนี้ทำให้เราทราบความถูก-แพงของหุ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนอื่นๆ
มูลค่าจากมุมมองของนักลงทุน ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละขณะๆ ตามความรู้ ความสามารถ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ
ที่นักลงทุนแต่ะละคนได้รับ และตีมูลค่าออกมา สรุปออกมาเป็นราคา ณ.ขณะนั้นๆ
ที่นักลงทุน VI เรียกว่า Mr.Market (ซึ่งแนวคิดทางเทคนิคจับเอามาใช้ในเรื่องค่าเฉลี่ย และสัญญาณซื้อขายต่างๆ)
ข้อสุดท้ายทำให้เราทราบว่านักลงทุนมีมุมมองอย่างไรต่อหุ้นนั้นๆ จากราคาหุ้น(แห่กันไปไล่ซื้อ-ทิ้งหุ้น) ความสนใจในหุ้นแต่ละตัว
วอลุ่มการซื้อ-ขาย อารมณ์ฟองสบู่ ความโลภ-ความกลัว
สำหรับนักลงทุนต้องประเมินมูลค่าเป็น (Must เลยนะคับ มันเป็นความจำเป็นจริงๆ)
โดยคำนึงถึงแง่มุมสามแง่ และคาดการณ์ต่อไปได้ในอนาคต ซึ่งอันนี้ถ้าทำได้ดีจะเป็นผลตอบแทนที่ดีของนักลงทุนเอง
เรียกได้ว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำให้ได้ ถ้าเราจะลงทุนจริงจังในตลาด
ซึ่งก็ต้องอาศัยการเรียนรู้ในด้านต่างๆเป็นพื้นฐาน ทั้งบัญชี-การเงิน เศรษฐศาสตร์ รวมถึงความรู้ความเข้าใจ
ในเรื่องธุรกิจการ-การลงทุนอย่างดี และที่สำคัญความรู้ในศาสตร์อื่นๆ เพื่อที่จะสามารถประเมินเรื่องต่างๆ
ออกมาได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด คือต้องทำการบ้านเยอะคับ
มูลค่าที่แท้จริง เช่น กระแสเงินสดที่บริษัททำได้ตลอดอายุคิดลดกลับมาเป็นค่าปัจจุบัน
ราคาสินทรัพย์สุทธิ ความสามารถในการทำกำไร ที่เราเรียกรวมๆว่าพื้นฐานของกิจการ
อันนี้ใช้หลักการบัญชี-การเงินในการคิด รวมถึงข้อมูลในการลงทุน-เติบโตของธุรกิจประกอบ
มูลค่าเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งหุ้นที่เปรียบเทียบต้องมีพื้นฐานเหมือนหรือคล้ายกัน
ทั้งเทียบกับตัวเองในอดีตและอนาคต(ค่า pe pb ของตัวเองในอดีต) เทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
(เทียบ pe คู่แข่ง หรือเทียบกับอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งก็อีกหุ้นในอุตสหกรรมก็ต่างกันไปไม่เหมือนกันทีเดียว)
จนห่างออกมาอีก เช่น เทียบกับตลาดหุ้นในประเทศ เทียบกับตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือเทียบกับตลาดหุ้นทั่วโลก
(ซึ่งไว้ใช้บอกคร่าวๆ แต่ไม่ใช่ตัววัดที่ดีเพราะ ในตลาดหุ้นธุรกิจที่ทำเหมือนกันจริงๆแทบไม่มีเลย จะต่างกันไป
ในแง่ต่างๆ ยิ่งเทียบกับต่างประเทศนี่ยิ่งมีตัวแปรที่ห่างกันไปอีกตามแต่ละประเทศ)
ข้อนี้ทำให้เราทราบความถูก-แพงของหุ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนอื่นๆ
มูลค่าจากมุมมองของนักลงทุน ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละขณะๆ ตามความรู้ ความสามารถ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ
ที่นักลงทุนแต่ะละคนได้รับ และตีมูลค่าออกมา สรุปออกมาเป็นราคา ณ.ขณะนั้นๆ
ที่นักลงทุน VI เรียกว่า Mr.Market (ซึ่งแนวคิดทางเทคนิคจับเอามาใช้ในเรื่องค่าเฉลี่ย และสัญญาณซื้อขายต่างๆ)
ข้อสุดท้ายทำให้เราทราบว่านักลงทุนมีมุมมองอย่างไรต่อหุ้นนั้นๆ จากราคาหุ้น(แห่กันไปไล่ซื้อ-ทิ้งหุ้น) ความสนใจในหุ้นแต่ละตัว
วอลุ่มการซื้อ-ขาย อารมณ์ฟองสบู่ ความโลภ-ความกลัว
สำหรับนักลงทุนต้องประเมินมูลค่าเป็น (Must เลยนะคับ มันเป็นความจำเป็นจริงๆ)
โดยคำนึงถึงแง่มุมสามแง่ และคาดการณ์ต่อไปได้ในอนาคต ซึ่งอันนี้ถ้าทำได้ดีจะเป็นผลตอบแทนที่ดีของนักลงทุนเอง
เรียกได้ว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำให้ได้ ถ้าเราจะลงทุนจริงจังในตลาด
ซึ่งก็ต้องอาศัยการเรียนรู้ในด้านต่างๆเป็นพื้นฐาน ทั้งบัญชี-การเงิน เศรษฐศาสตร์ รวมถึงความรู้ความเข้าใจ
ในเรื่องธุรกิจการ-การลงทุนอย่างดี และที่สำคัญความรู้ในศาสตร์อื่นๆ เพื่อที่จะสามารถประเมินเรื่องต่างๆ
ออกมาได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด คือต้องทำการบ้านเยอะคับ
-
- Verified User
- โพสต์: 8
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 9
เข้าใจครับว่ามีมากกว่านี้ แต่ผมสงสัยในส่วนนี้นะครับ เคยใช้วิธีคิดคล้ายๆ กับแบบนี้มั้ยครับdome@perth เขียน:การประเมินมูลค่าหุ้น มันใช้ทั้งศาสตร์ และ ศิลป์ ครับ ผมแนะนำให้ลงเรียน
ทั้งครอส ศาสตร์ เช่น บัญชี การวิเคราะห์งบการเงิน วิเคราะห์อุตสาหกรรม
และศิลป์ เช่น กลยุทธ์และจิตวิทยา การลงทุน การบริหารพอร์ตโฟลิโอ ฯลฯ
การประเมินมูลค่าหุ้น มันมีปัจจัยต่างๆ มากกว่า EPS, growth rate
ที่ Thuchapon ตั้งโจทย์ไว้ครับ
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 10
สูตรที่ 1 ผมไม่เคยใช้เลย และคงไม่กล้าใช้ด้วยครับ พวกเลข Magic Number นี่น่ากลัวThuchapon เขียน:เท่าที่ผมลองค้นหาข้อมูล ผมพบว่ามีสองวิธีในการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น โดยใช้สูตรคำนวณเบื้องต้นก่อนไปดูงบการเงินอย่างละเอียดอีกที นั่นคือ
1. มูลค่าที่แท้จริง = EPS(8.5 + 2xGrowRate), จำแหล่งที่มาไม่ได้ครับ
2. มูลค่าที่แท้จริง = EPS (ปีล่าสุด)*PE(เฉลี่ยย้อนหลัง) ,จากหนังสือ super stock ของ ดร.นิเวศน์
ทั้งสองวิธีได้ค่าไม่ตรงกัน ผมเลยสงสัยว่าทั้งสองวิธีแตกต่างกันยังไงครับ หรือวิธีไหนถูกต้องกว่ากัน เพราะค่าต่างกันค่อนข้างมาก
สูตรที่ 2 ลองอ่านบทความใหม่ของท่าน อ. ครับ (PE3)
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=55388
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- Verified User
- โพสต์: 408
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 13
ครั้งนึง พี่ ส.สลึง เคยพร่ำสอนผมมา ในกระทู้ใดกระทู้หนึ่งในห้องมือใหม่
ด้วยเวลาที่ผ่านไปกับการทดลองทำแล้วก็พยายามอ่านหนังสือเยอะ ๆ หนังสือส่วนมากไม่เน้นการคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงเลยครับ จะไปเน้นเรื่องคุณภาพมากกว่า
สำหรับผมนะ การประเมินมูลค่า สุดท้ายก็มาลงที่ EPS ประเด็นก็คือว่าทำยังไง ถึงจะประเมิน EPS ให้แม่นได้หรือคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ซึ่งตรงนี้ก็ต้องดูทั้งระบบ ที่มาที่ไป ว่ามันมายังไง ไปยังไง ถ้าเกิดแบบนี้ มีอะไรเปลี่ยนมั้ย แล้วถ้าอีกแบบล่ะ ? มีกำไรพิเศษ?
แต่บางท่านก็จะดู กระแสเงินสด OCF หรือ CFO อันเดียวกัน แต่ถ้าดูอันนี้ก็อาจจะเหมาะกับธุรกิจที่มีรายได้สม่ำเสมอ
สรุปคือ การประเมินมีหลายวิธี แต่ละธุรกิจประเมินไม่เหมือนกัน ดังนั้นต้องหัดทำบ่อย ๆ แล้วก็อาศัยหน้าด้าน ถามเค้าไปทั่ว เหมือนที่ผมทำอยู่บ่อย ๆ
ส่วนตัวผมก็ยังประเมินไม่เก่งนะครับ มั่วซะเยอะ 5555+
ด้วยเวลาที่ผ่านไปกับการทดลองทำแล้วก็พยายามอ่านหนังสือเยอะ ๆ หนังสือส่วนมากไม่เน้นการคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงเลยครับ จะไปเน้นเรื่องคุณภาพมากกว่า
สำหรับผมนะ การประเมินมูลค่า สุดท้ายก็มาลงที่ EPS ประเด็นก็คือว่าทำยังไง ถึงจะประเมิน EPS ให้แม่นได้หรือคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ซึ่งตรงนี้ก็ต้องดูทั้งระบบ ที่มาที่ไป ว่ามันมายังไง ไปยังไง ถ้าเกิดแบบนี้ มีอะไรเปลี่ยนมั้ย แล้วถ้าอีกแบบล่ะ ? มีกำไรพิเศษ?
แต่บางท่านก็จะดู กระแสเงินสด OCF หรือ CFO อันเดียวกัน แต่ถ้าดูอันนี้ก็อาจจะเหมาะกับธุรกิจที่มีรายได้สม่ำเสมอ
สรุปคือ การประเมินมีหลายวิธี แต่ละธุรกิจประเมินไม่เหมือนกัน ดังนั้นต้องหัดทำบ่อย ๆ แล้วก็อาศัยหน้าด้าน ถามเค้าไปทั่ว เหมือนที่ผมทำอยู่บ่อย ๆ
ส่วนตัวผมก็ยังประเมินไม่เก่งนะครับ มั่วซะเยอะ 5555+
-
- Verified User
- โพสต์: 667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 17
ดึลักษณะกิจการก่อนเป็นสิ่งที่ถูกต้องครับ แล้วก็ต้องดูควบคู่กับงบการเงินย้อนหลังหลายๆปีThuchapon เขียน:ผมก็ดูลักษณะกิจการเป็นหลักครับ แต่ผมเข้าใจว่าเราต้องศึกษาค่าต่างๆ ด้วยเพื่อจะทำให้เราซื้อกิจการที่ดีในราคาคุ้มค่า ไม่ใช่หรอครับ
(เอาท่าที่เราพอทำได้) เพื่อดูตัวธุรกิจย้อนหลังและดูแนวโน้มธุรกิจในอนาคต สุดท้ายจึงมา
วิเคราะห์หาราคาที่เราพอใจจะซื้อครับ....^^)
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3653
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 20
ประเมินมูลค่า มีหลายวิธี
ส่วนตัวผมชอบวิธีง่ายๆ
บางครั้งก็ใช้หลายๆ วิธีกับหุ้นตัวเดียว
บางครั้งก็ใช้แค่วิธีเดียว ก็ตัดสินใจ
ส่วนตัวผมคิดว่า factor มันเยอะมาก
ตั้งแต่ข้อมูลที่เรามี ความรู้ที่เราใช้
บวกกับประสบการณ์ที่เราได้มา
ทำให้เกิดปรากฎการณ์
หุ้นตัวเดียวกัน บางคนว่าแพง บางคนว่าถูก
แต่ MOS ...
จะช่วยให้การตัดสินใจของเราง่ายขึ้น
ส่วนตัวผมชอบวิธีง่ายๆ
บางครั้งก็ใช้หลายๆ วิธีกับหุ้นตัวเดียว
บางครั้งก็ใช้แค่วิธีเดียว ก็ตัดสินใจ
ส่วนตัวผมคิดว่า factor มันเยอะมาก
ตั้งแต่ข้อมูลที่เรามี ความรู้ที่เราใช้
บวกกับประสบการณ์ที่เราได้มา
ทำให้เกิดปรากฎการณ์
หุ้นตัวเดียวกัน บางคนว่าแพง บางคนว่าถูก
แต่ MOS ...
จะช่วยให้การตัดสินใจของเราง่ายขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 409
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 21
ท่าน ส.สลึงครับ MOS นี่แหละครับตัวสำคัญ เป็นตัวที่ช่วยลดแรงกระแทกจากความไม่แน่นอนของตลาด และความผิดพลาดในการประเมินของเรา ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งดี โดยส่วนตัว ผมใช่ EPS(future)*PE*MOS=P(future) และก็ดูว่า Discount เหลือแยอะไหม และมี catalyst อะไรที่จะนำพาไปถึงเป้าหมายได้ ใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ และอะไรคืออุปสรรคที่จะทำให้ไม่ถึงเป้าหมายส.สลึง เขียน:ประเมินมูลค่า มีหลายวิธี
ส่วนตัวผมชอบวิธีง่ายๆ
บางครั้งก็ใช้หลายๆ วิธีกับหุ้นตัวเดียว
บางครั้งก็ใช้แค่วิธีเดียว ก็ตัดสินใจ
ส่วนตัวผมคิดว่า factor มันเยอะมาก
ตั้งแต่ข้อมูลที่เรามี ความรู้ที่เราใช้
บวกกับประสบการณ์ที่เราได้มา
ทำให้เกิดปรากฎการณ์
หุ้นตัวเดียวกัน บางคนว่าแพง บางคนว่าถูก
แต่ MOS ...
จะช่วยให้การตัดสินใจของเราง่ายขึ้น
หลักการของการลงทุนแบบ VI คือการซื้อหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นไม่ว่าหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นประเภทใดก็ตามควรจะได้รับการพิจารณาเหมือนๆกันในแง่ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่นักลงทุนจะจ่าย ...เครดิต อ.โจ ลูกอีสาน
-
- Verified User
- โพสต์: 1047
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 22
แบ่งประเภทกิจการที่ศึกษาให้ได้ก่อนครับ แล้วจัดเป็นกลุ่มๆไว้ จากนั้นค่อยดูตัวเลขต่างๆรวมถึง PE ด้วย(นึกถึงการต่อจิ๊กซอว์ แยกเป็นกลุ่มๆ ตัวมุม ตัวขอบ ตัวกลาง กลุ่มสีเดียวกัน เป็นต้น) ได้เป็นกลุ่มๆแล้วเจาะลึกลงไปในตัวเลขแต่ละตัว คุณจะเข้าใจThuchapon เขียน:ผมก็ดูลักษณะกิจการเป็นหลักครับ แต่ผมเข้าใจว่าเราต้องศึกษาค่าต่างๆ ด้วยเพื่อจะทำให้เราซื้อกิจการที่ดีในราคาคุ้มค่า ไม่ใช่หรอครับ
แต่ถ้าคุณเรื่มจากตัวเลขก่อน คุณจะงงมาก เพราะมันเป็นคนละกลุ่มกัน ตัวเลขที่ได้ย่อมไม่เท่ากัน
ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นศิลป์ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณเป็นศาสตร์
หุ้นเป็นศิลป์มากกว่าศาสตร์ 80/20 ศิลป์มีจินตนาการได้กว้างไกล แต่ศาสตร์ก็แค่ข้อมูลในอดีตเท่านั้น ดังนั้นหุ้นจึงเป็นไดนามิค ไม่ใช่แมคคานิค มีการเปลี่ยนกลุ่มกันได้(ตัวขอบ เปลี่ยนไปเป็นตัวกลาง หรือตัวอื่นๆได้)
บัฟเฟตต์ลงทุนในหุ้นที่เป็นซุปเปอร์สต๊อก ซึ่งเป็นหุ้นที่มีความเป็นแมคคานิคสูงมากๆ แทบไม่เปลี่ยนกลุ่มเลย ก็เลยสามารถคาดการณ์ได้
ถ้าคุณฝึกฝนมากๆคุณจะเข้าใจธรรมชาติของหุ้น(ธุรกิจ) คุณก็สามารถประเมินมูลค่าของหุ้นได้ และคุณก็จะรู้ว่าอะไรถูกอะไรแพงเอง
เลือกเด็กที่เรียนดี แล้วให้เค้าพาเราไป
-
- Verified User
- โพสต์: 667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สอบถามการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นครับ
โพสต์ที่ 23
เรื่องวิเคราะห์ราคานั้น ผมมองว่าแล้วแต่คนใช้นะครับ บางคนใช้สูตรนึงประสบความสำเร็จ
แต่ใช้อีกสูตรนึงของที่คนอื่นใช้กลับขาดทุน ทั้งๆที่คนอื่นกำไร เรื่องสูตรสำเร็จผมจึงคิดว่าเรา
ต้องหาสูตรนั้นเองครับ สูตรนั้นจะเหมาะกับเรา ใช้แล้วเข้าใจว่าตัวแปรต่างๆคืออะไร ความเสี่ยง
ของสูตรนั้นคืออะไร ตรงไหนที่เราควบคุมได้ ปัจจัยไหนที่เราควบคุมไม่ได้ และที่สำคัญเราใช้แล้ว
ได้ผลตอบแทนที่ดีอย่างที่เราหวังครับ ดังนั้นจึงตอบไม่ได้ว่าสูตรที่คุณยกมาตัวไหนถูกตัวไหนผิด
สิ่งเดียวที่น่าจะทำได้คือ "คุณต้องพิสูจน์ สูตรนั้นด้วยตนเองครับ"
ว่ามันเหมาะกับคุณหรือไม่ ใช้แล้วได้ผลดีหรือไม่ดี คุณเท่านั้นครับที่ตอบได้...^^)
ปล.ผมเคยทดลองใช้สูตรต่างๆมาแล้วครับ ทั้ง PEG,DCF,FCFE บางสูตรผมรู้สึกขัดความรู้สึก
ตั้งแต่แทนค่าเลยครับ จนสุดท้ายผมก็ค้นพบสูตรที่ผมเข้าใจมัน และใช้มันสร้างผลตอบแทนได้
ครับ คุณก็ต้องหามันเจอเหมือนกันครับ....^^)
แต่ใช้อีกสูตรนึงของที่คนอื่นใช้กลับขาดทุน ทั้งๆที่คนอื่นกำไร เรื่องสูตรสำเร็จผมจึงคิดว่าเรา
ต้องหาสูตรนั้นเองครับ สูตรนั้นจะเหมาะกับเรา ใช้แล้วเข้าใจว่าตัวแปรต่างๆคืออะไร ความเสี่ยง
ของสูตรนั้นคืออะไร ตรงไหนที่เราควบคุมได้ ปัจจัยไหนที่เราควบคุมไม่ได้ และที่สำคัญเราใช้แล้ว
ได้ผลตอบแทนที่ดีอย่างที่เราหวังครับ ดังนั้นจึงตอบไม่ได้ว่าสูตรที่คุณยกมาตัวไหนถูกตัวไหนผิด
สิ่งเดียวที่น่าจะทำได้คือ "คุณต้องพิสูจน์ สูตรนั้นด้วยตนเองครับ"
ว่ามันเหมาะกับคุณหรือไม่ ใช้แล้วได้ผลดีหรือไม่ดี คุณเท่านั้นครับที่ตอบได้...^^)
ปล.ผมเคยทดลองใช้สูตรต่างๆมาแล้วครับ ทั้ง PEG,DCF,FCFE บางสูตรผมรู้สึกขัดความรู้สึก
ตั้งแต่แทนค่าเลยครับ จนสุดท้ายผมก็ค้นพบสูตรที่ผมเข้าใจมัน และใช้มันสร้างผลตอบแทนได้
ครับ คุณก็ต้องหามันเจอเหมือนกันครับ....^^)