ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
Phuenix
Verified User
โพสต์: 122
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 151

โพสต์

ดำ เขียน:เปลี่ยนเรื่อง คุยอสังหาฯดีกว่า

ตามที่พี่เจ๋งว่า พี่มองว่าที่คอนโดฯราคานี้ขายได้ มันเพราะอะไรครับ ราคาอสังหาฯในเมืองหลวงเราจะขยับขึ้นไปแบบเดียวกับในสิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลย์ ใช่มั้ยครับ หรือว่ามันเป็นจุดเริ่มของฟองสบู่
ตอนนี้ผมว่าฟองสบู่กำลังเกิดแล้ว มีการซื้อเก็งกำไรเยอะ บางเจ้าถึงกับยกห้องฝั่งตะวันออกทั้งแถบขายให้นักเก็งกำไรขาประจำ
คอนโดต่างจังหวัดผุดเพียบ ทั้งๆที่ไม่น่าจะมี real demand เยอะขนาดนั้น คหสต.ผมว่าคนต่างจังหวัดยังชอบบ้านติดที่ดินมากกว่า
บางบริษัทเล่นเปิดเอาๆ สร้างภาพสร้างยอดขาย ถ้าโอนไม่ออก ล้มขึ้นมา มันจะลากกันไปทั้งระบบนะครับ

ไม่รู้ว่าใครเป็นคนดูแลเรื่องนี้โดยตรง อยากทราบรายละเอียดเป็นตัวเลขเหมือนกันครับ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 152

โพสต์

ประเด็นที่บอกว่า ต่อให้ดอกเบี้ยเราถูก เงินก็เข้า

ก็ดีแล้วนี่ครับ ให้เป็นไปตามกลไกตลาด

เข้ามาเยอะๆ ค่าเงินเราแข็ง ก็ไม่เป็นไร แต่ก่อน

40 ยังมา 30 ได้ อันนี้ก็เป็นกลไกตลาด ปรับตัวได้อยู่แล้ว

แต่ การปล่อยให้ดอกเบี้ยสูง แล้วเงินก็ไหลเข้า ใครมีดอลล่า กำไร 2 ต่อ

สมมุติผม มี 1 ล้านดอลล่า ผมฝากไว้ที่เมกา ผมได้ดอกเบี้ยน้อย แถมค่าเงินกำลังลด

ผมก็มาแลก 30 ล้านๆบาท เพราะผมคิดว่า ฝากไว้ที่แบงค์ไทยได้ดอกเบี้ยมากกว่า

และ ค่าเงินไทย อนาคตก็แข็งแกร่งขึ้นด้วย ได้กำไร 2 ต่อ
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 153

โพสต์


http://www.kobsak.com/?p=5890

ข้อเท็จจริงที่ 2 – การจะลดดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินไหลเข้านั้น ควรทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า วัฏจักรเศรษฐกิจเรากำลังอยู่ที่จุดไหน ถ้าเศรษฐกิจเราอยู่ในช่วงขาลง การลดดอกเบี้ยก็จะช่วยลดเงินไหลเข้า และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน แต่ถ้าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น เช่นในปัจจุบัน การจะลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเรื่องเงินไหลเข้า ก็ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี เพราะถ้าลดดอกเบี้ยจริงตามที่มีการเสนอกัน เงินที่เข้ามาหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย อาจจะลดลงไปบ้าง แต่พอเวลาผ่านไป 2-3 ปี การลงดอกเบี้ย จะส่งผลให้เศรษฐกิจของเราเฟื่องฟูเกินไป กลายเป็นฟองสบู่ (ทั้งจากปัญหาภาคอสังหา หนี้ครัวเรือน หุ้น) กลายเป็นปัญหาใหม่ให้เราแก้ไข ซึ่งถ้าจัดการได้ไม่ดี ก็อาจจะทำให้เกิดวิกฤตขึ้นได้

ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่าการลดดอกเบี้ยช่วยลดเงินไหลเข้าได้ เฉพาะในส่วนของเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรเป็นสำคัญเท่านั้น เงินอื่นๆ ที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการลงทุนโดยตรง จะยังคงจะเข้ามาอย่างต่อเนื่องเช่นเดิม
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 154

โพสต์


The old adage

“When interest rates are high, stocks will die.
But, when interest rates are low, stocks will grow.”
แถมให้ ..
แต่ ถ้่า interest rate is too ..low
or too low for too ..long
......you will see
...gigantic all assets price bubble..
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 155

โพสต์

14 Bubbles ที่โด่งดังในอดีต..

รูปภาพ

http://www.ritholtz.com/blog/2009/09/ca ... e-bubbles/

1. Tulip Mania (1637 Tulip bubble, Holland)
2. South Sea /Mississippi Company Bubbles (1720 South Sea bubble)
3. Railway Mania (1893 US Railroad bubble)
4. Florida Speculative Building Mania (1920-1923 Florida housing bubble)
5. Great Depression 1920s/1929 (1924-1929 US stock market bubble)
6. Poseidon Bubble (1969 Nickel mining Australia)
7. Gold (1980 Gold bubble)
8. Japanese Asset Bubble (1986-1991)
9. Dot Com/Tech/Telecoms (1998-2001 Tech bubble)
10. Global Real Estate/Credit Bubble (2006-2007 US Housing Bubble)
11. China/Shanghai Index Stock Bubble (2008 Shanghai stock market)
12. Commodity Bubble (2008 commodities)
13. Oil Bubble (2008 oil)
14. Leverage/Derivative/Financial Bubble (2009 subprime bailouts)

ืำnext station

15..Liquidity Bubble..
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 156

โพสต์

Liquidity Bubble a Risk as Economy Improves
http://www.weforum.org/news/liquidity-b ... y-improves
Davos-Klosters, Switzerland, 25 January 2013 – Speaking today at the 43rd World Economic Forum Annual Meeting, Ray Dalio, Founder and Chief Investment Officer of Bridgewater Associates, warned against a growing liquidity bubble. “When spending picks up, it will be incumbent on the central banks to mop excessive liquidity up,” he said, warning against inflation risk.
แปลว่า
ทั่วโลก กำลัง ส่งสัญญาน ให้ ลุงเบน หยุดเครื่องพิมพ์ หรือไม่ ก็ ชะลอได้ แล้ว
ลุง เบน ครับ please...
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 157

โพสต์

Phuenix เขียน:
ดำ เขียน:เปลี่ยนเรื่อง คุยอสังหาฯดีกว่า

ตามที่พี่เจ๋งว่า พี่มองว่าที่คอนโดฯราคานี้ขายได้ มันเพราะอะไรครับ ราคาอสังหาฯในเมืองหลวงเราจะขยับขึ้นไปแบบเดียวกับในสิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลย์ ใช่มั้ยครับ หรือว่ามันเป็นจุดเริ่มของฟองสบู่
ตอนนี้ผมว่าฟองสบู่กำลังเกิดแล้ว มีการซื้อเก็งกำไรเยอะ บางเจ้าถึงกับยกห้องฝั่งตะวันออกทั้งแถบขายให้นักเก็งกำไรขาประจำ
คอนโดต่างจังหวัดผุดเพียบ ทั้งๆที่ไม่น่าจะมี real demand เยอะขนาดนั้น คหสต.ผมว่าคนต่างจังหวัดยังชอบบ้านติดที่ดินมากกว่า
บางบริษัทเล่นเปิดเอาๆ สร้างภาพสร้างยอดขาย ถ้าโอนไม่ออก ล้มขึ้นมา มันจะลากกันไปทั้งระบบนะครับ

ไม่รู้ว่าใครเป็นคนดูแลเรื่องนี้โดยตรง อยากทราบรายละเอียดเป็นตัวเลขเหมือนกันครับ
บางบริษัทที่ว่าประกาศแผนปีนี้จะขยายตลาดอีกมาก ทั้งที่ตอนนี้ D/E ก็ไม่ใช่ต่ำๆแล้วด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 158

โพสต์

อยากเห็นตัวเลขเหมือนกันว่า สุดท้ายโครงการตจว.ทั้งหลาย คนซื้อจริงๆที่โอนเป็นคนกรุงเทพกี่% คนตจว.กี่%
yoko
Verified User
โพสต์: 4337
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 159

โพสต์

เอาละครับ รมว คลังออกมาพูพชัดเจน เชิญวิจารณ์



กิตติรัตน์ ณ ระนอง กับแนวคิดปรับลดอัตราดอกเบี้ย "ย้ำ"ชาติเสียหาย ธปท.ต้องรับผิดชอบ
Pic_325769

“ที่ผ่านมา เราไม่เคยมีความร่วมมือกันในการทำงานเลย ไม่เคยคุยกันเลยว่าโครงสร้างเศรษฐกิจประเทศไทย จะดำเนินไปในทิศทางใด...

...เราไม่เคยคุยกันเลยว่า จะใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาอย่างไร เพื่อรักษาสมดุลในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะไม่ทำให้เงินบาทแข็งค่าจนกระทบต่อภาคการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ขณะเดียวกัน ก็สามารถนำเงินทุนเหล่านั้นไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้ โดยไม่ต้องแบกภาระเรื่องของต้นทุนการกู้ยืมที่สูงเกินไป”

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ ทีมเศรษฐกิจ หลังจากการให้ข้อเสนอปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอการไหลบ่าของเงินทุนจากต่างประเทศของเขา และ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธ-ศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กลายเป็น วิวาทะ และการเปิด “ศึก” ระหว่าง รัฐบาล และ กระทรวงการคลัง กับ ผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) ไป เพราะความเห็นที่ไม่ลงรอยกันอีกครั้ง

“ผมคงจะกล่าวโทษธนาคารแห่งประเทศไทยฝ่ายเดียวไม่ได้ ถ้าไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ ตั้งแต่ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ ถ้าสื่อมวลชนพอจำกันได้ ก็จะทราบว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ส่งสัญญาณมาอย่างต่อเนื่องว่า การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลนั้น...

ถ้าเป็นไปได้ เราอยากจะใช้เงินตราต่างประเทศที่ไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากในทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเก็บไว้ 180,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือใช้เงินกู้ที่เป็นเงินบาทภายในประเทศ ผมจึงประกาศชัดเจนว่า จะไม่กู้เงินจากต่างประเทศ และหากรัฐวิสาหกิจใดมีหนี้ต่างประเทศ ก็ให้เร่งชำระคืนเสียโดยเร็ว”

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะช่วยประเทศ และช่วยธนาคารแห่งประเทศไทยลดสภาพคล่องเงินบาทที่ต้องแบกภาระไว้ลง ซึ่งก็ถือเป็นการลดปริมาณเงินบาทในระบบลงด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็จะได้ไม่ต้องออกพันธบัตรที่จะเอามาดูดซับสภาพคล่องเพิ่มขึ้นทุกปี กระทั่งล่าสุดมียอดคงค้างพันธบัตรอยู่สูงถึง 4.7 ล้านล้านบาท

ในขณะที่ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยแพงระยับที่ระดับ 2.80–3.00%

รองนายกฯ และ รมว.คลัง ผู้กำกับดูแลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล พยายามอรรถาธิบายว่า ทำไมรัฐบาลไทยจึงพยายามจะนำเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในการลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐานประเทศเช่นเดียวกับที่หลายประเทศ เช่น จีน ทำเพื่อรับมือกับการไหลบ่าของเงินทุนที่ถาโถมเข้าสู่ประเทศ

เขาได้อธิบายถึงความเกี่ยวพันกันข้างต้นว่า การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศในช่วง 5 ปีหลังมานี้ ได้สะท้อนกลับในแง่มุมที่เป็นลบต่อระบบเศรษฐกิจไทย เพราะการเกินดุลที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และบวกเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่เศรษฐกิจไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ขยายตัวอย่างเชื่องช้า เนื่องเพราะเกิดปัญหาการเมืองภายในประเทศ

สิ่งที่เกิดขึ้น คือ สภาพคล่องส่วนเกินเงินบาทอยู่ในภาวะล้นระบบ ในกรณีนี้ หากไม่มีเงินตราต่างประเทศเข้ามาอาละวาด ก็ไม่มีปัญหา แต่เมื่อใดที่เงินตราต่างประเทศถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นเงินบาท สภาพคล่องเงินบาท หรือปริมาณเงินในระบบ ก็จะเกินความต้องการขึ้นมาทันที และหากไม่มีกระบวนการจัดการที่ดีพอ ก็จะสร้างปัญหาขึ้น

ในกรณีนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินเงินบาทเหล่านี้ออกจากระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากถูกลง หรือไม่ก็ดูดซับสภาพคล่องเพื่อป้องกันไม่ให้สถาบันการเงินขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงๆ เพื่อขยับส่วนระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินกู้ให้ห่างกันหวังสร้างกำไร (Margin) ให้สูงขึ้น

แต่ที่หนักไปกว่านั้นก็คือ เกิดมีภาวะคุณภาพของสินเชื่อในระดับต่ำ ซึ่งจะติดตามมาด้วยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูงขึ้น เพราะสภาพคล่องที่ล้นระบบจะเป็นตัวการสำคัญที่เร่งให้สถาบันการเงินเพิ่มปริมาณสินเชื่อได้มาก แต่ไร้คุณภาพ วิธีการของธนาคารแห่งประเทศไทย คือ การออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกไปจากระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องของธนาคารแห่งประเทศไทย

แต่คำถาม คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ได้คิดที่จะวางแผนเรื่องนี้ ทั้งในระยะปานกลาง และระยะยาวเลย นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยสีหน้าที่เคร่งเครียด

“ธนาคารแห่งประเทศไทยออกพันธบัตรดูดซับเงินบาทออกจากระบบไปมาก จากไม่กี่แสนล้านบาท จนถึงขณะนี้พุ่งขึ้นไปใกล้จะแตะ 5 ล้านล้านบาทแล้ว ผมถามท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยว่า คุณดูดเงินใช่หรือไม่ ผู้ว่าฯบอกว่า ไม่ได้ดูดเพียงแต่ตั้งกำแพงเอาไว้ ไม่ให้เงินบาทมีปริมาณเกินกว่าระดับที่อยู่ในใจ เมื่อเงินบาทมีปริมาณมากขึ้น ก็จะไหลบ่า (Flow) เข้ามาเอง...
ผมบอกว่า มันไม่ได้แตกต่างกันหรอก ระหว่างสิ่งที่เรียกว่า ดูด กับสิ่งที่ไหลเข้ามาเอง”

นายกิตติรัตน์กล่าวด้วยว่า พันธบัตรที่ออกมามาก มาจาการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูง เมื่อดอกเบี้ยในประเทศสูงกว่า ก็จะมีเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไร เมื่อเงินไหลเข้ามามาก ก็ต้องเอาเงินบาทออกมาซื้อเงินดอลลาร์กลับ วนเวียนอยู่เช่นนี้ จนสภาพคล่องเงินบาทล้น เมื่อล้นก็ต้องออกพันธบัตรมาดูดกลับ

“ในช่วงเวลาที่มองไปทางไหน เศรษฐกิจก็แย่ไปหมด ขณะที่ประเทศไทยมีดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลชำระเงินเป็นบวก ถนนทุกสายจึงมุ่งหน้าเข้ามาหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในประเทศไทย...

แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ยังกอดเงินตราต่างประเทศเหล่านี้เอาไว้เฉยๆ และเอาไปลงทุนเพื่อจะรับผลตอบแทนต่ำไม่ถึง 1.00% ในขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายจากพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศ ไทยที่ออกไปเกือบๆ 5 ล้านล้านบาท
นั้น มีอัตราที่สูงกว่ามาก คือที่ระดับ 2.80–3.00%

ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย มีดอกเบี้ยจ่ายมากกว่าดอกเบี้ยรับถึง 100,000 ล้านบาท และหากจะนับผลการขาดทุนสะสมในกรณีแทรกแซงค่าเงินบาท ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ยอดขาดทุนก็สูงกว่า 500,000 ล้านบาทแล้ว”

รองนายกฯ และ รมว.คลัง กล่าวด้วยว่า เขาไม่ต้องการให้ผู้คนตื่นตระหนกกับเรื่องนี้ และตลอดเวลาที่ผ่านมา เขาพยายามพูดเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง และไม่ใช่เขาคนเดียวที่มองเห็นว่า วิธีการเดิมๆที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ทำให้เกิดการขาดทุนสูง

แน่นอนว่า ทั้งเขา และ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ตลอดจนถึง ดร.ทนง พิทยะ อดีตรองนายกฯ และ รมว. คลัง ก็มองเห็นเช่นกันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะสร้างปัญหาเหมือนในอดีตอีก

“คำถาม คือ จะปล่อยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยขาดทุนไปเรื่อยๆเหมือนในอดีตที่กระทรวงการคลังต้องเข้าไปร่วมแก้ไขหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 1.14 ล้านล้านบาท ซึ่งปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยจ่ายเงินเพื่อใช้หนี้เงินต้นมาเพียง 20,000 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่กระทรวงการคลังต้องตั้งงบประมาณแผ่นดินชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยปีละ 50,000-60,000 ล้านบาท บางปีสูงถึง 90,000 ล้านบาทก็มี”

เมื่อเห็นปัญหาอยู่ตรงหน้า ก็จำเป็นจะต้องไม่ทำให้ประเทศไทยเดินไปสู่ปัญหาใหม่ที่ต้องมาตามแก้อีก

“การขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาคือ เมื่อเราเห็นตัวเลขขาดทุนแล้วปล่อยให้สภาพการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป หรือเกิดความเสียหายเป็นทวีคูณขึ้น สุดท้าย ก็ต้องเอาเงินแผ่นดินไปหักลบกลบหนี้ให้อีก ถามว่า ถูกต้องหรือไม่?!...”

ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจประเทศ จำเป็นต้องรักษาสถานภาพให้มีความมั่นคง และน่าเชื่อถือ หากประสบปัญหาขาดทุนมากๆ เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ที่ธนาคารไปต่อสู้ค่าเงินบาทจนพ่ายแพ้ และขาดทุนย่อยยับ ถึงขั้นที่รัฐบาลขณะนั้นต้องพยายามกอบกู้เศรษฐกิจประ เทศกลับคืนมาด้วยการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จึงทำให้ทุนสำรองเงินตราฯกลับมาเป็นบวก เพื่อให้ธนาคารกลางของประเทศไทยกลับมามีความเชื่อมั่น และได้รับความเชื่อถือในสายตาชาวโลกอีกครั้ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย

“ผมเข้าใจได้ เมื่อผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า การแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ธนาคารขาดทุนทางบัญชีเท่านั้น หรือเท่ากับไม่ได้ขาดทุนจริงๆ ตราบเท่าที่ ธนาคารยังคงกำทุนสำรองเงินตราฯ จำนวน 180,000 ล้านเหรียญไว้ แม้ความจริง เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นจาก 32 บาท เป็น 30 หรือ 29 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยขาดทุนทันที 2–3 บาท ผมก็ยังพอรับได้ ถ้าหากต้องมองข้ามความเสียหายนี้...

แต่จะให้ผมมองข้ามความเสียหายที่เกิดจากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับกับดอกเบี้ยจ่ายของพันธบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยขนออกกันไปหลายแสนล้านบาท ผมคงยอมรับไม่ได้ เพราะพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย มีการขายออกไปจริง มีนักลงทุนสถาบันการเงินซื้อไปจริง และรับส่วนต่างอัตราดอก เบี้ยไปจริงๆ ฉะนั้นถ้าตัวนี้ติดลบ ก็ไม่มีคำอธิบายใดๆว่า แค่ขาดทุนทางบัญชี หรือไม่ขาดทุน”

อย่างที่เป็นข่าวไปแล้ว นายกิตติรัตน์ ตอกย้ำกับ ทีมเศรษฐกิจ อีกครั้งว่า เขาได้ส่งหนังสือถึงประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 31 ม.ค.2556 ระบุว่า ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย นั้น แม้บอร์ดจะมีหน้าที่แค่กำกับดูแลงานทั่วไป และไปยุ่งเกี่ยวกับนโยบายการเงินไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งเป็นบอร์ดชุดเล็กกว่า

แต่ในมาตรการ 7 ก็ระบุว่า นอกจากบอร์ดจะมีภารกิจในการเป็นกรรมการธนาคารกลางเพื่อรักษาเสถียรภาพการเงิน สถาบันการเงิน และการชำระเงินแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วย เขาจึงแสดงเจตจำนงให้ประธานบอร์ดอ่านจดหมายของเขาให้คณะกรรมการบอร์ดทั้ง 12 คนรับทราบ

“เจตนาผมมี 2 อย่าง คือ 1.อยากจะแสดงความเห็นใจบอร์ดทุกท่าน เพราะหากพิจารณาตามข้อกฎหมายแล้ว แม้ประธาน และบอร์ดจะมีหน้าที่แค่กำกับดูแลงานทั่วไป คือ มีแต่ขนมจีน แต่ขาดน้ำยา แต่ในหลักคิดของผม คือ หากเกิดความเสียหายจากการดำเนินนโยบายใดๆ บอร์ดมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบด้วยทุกคน!

ถึงแม้เนื้อหาสาระของกฎหมายจะระบุว่า บอร์ดไม่มีสิทธิ์เข้าไปแตะต้องนโยบายการเงินก็ตาม แต่อย่างน้อย ก็ทำหนังสือถึงคณะกรรมการนโยบายการเงินได้ว่า สิ่งที่กำลังทำกันอยู่นั้น อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติได้”

ประการที่ 2 ก็เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงินที่มีบอร์ดทั้งหมด 7 คนนั้น มีอยู่ 3 คน ที่เป็นตัวแทนจากฝ่ายบริหารของธนาคารแห่งประเทศไทย คือ 1 ผู้ว่าการ และอีก 2 รองผู้ว่าการแม้ว่าทั้ง 3 คนจะพูดอยู่ตลอดว่า ไม่มีอิทธิพลอยู่เหนือกรรมการท่านอื่นๆ ก็ตาม แต่บอร์ดธนาคารโดยรวม สามารถพูดกับฝ่ายบริหารของธนาคารแห่งประเทศไทยทั้ง 3 คนให้เข้าใจได้ว่า คณะกรรมการนโย-บายการเงินกำลังดำเนินนโยบายที่จะสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยอยู่ในเวลานี้

“สมมติว่า ผู้ว่า การ และอีก 2 รองผู้ว่าการ บอกว่า ไม่ต้องการลดอัตราดอก– เบี้ย แต่คณะกรรมการที่เหลืออีก 4 คน มีความเห็นแตกต่างออกไป คือ ต้องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ก็ถือว่า ได้ดำเนินการตามหน้าที่ และอำนาจที่กฎหมายมอบให้แล้ว ทั้งบอร์ดและฝ่ายบริหารของธนาคาร ก็ถือว่า ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์แบบ ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินอีก 4 คน ก็ไม่ต้องรับผิด เพราะได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอิสระ”

แต่ในมุมมองกลับกัน หากคณะกรรมการ 4 คน ต้องการลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่คณะกรรมการนโยบายการเงินที่มาจากฝ่ายบริหารของธนาคารแห่งประเทศไทยทั้ง 3 คน มีความเห็นที่แตกต่างออกไป โดยต้องการให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมคือ 2.75% ต่อปี

กรณีเช่นว่านี้ อาจทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเกิดความเสียหาย ทั้งๆที่ฝ่ายบริหารของธนาคารได้รับข้อสังเกตจากบอร์ดไปหมดแล้ว ในฐานะที่บอร์ดซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลงานทั่วไป และได้มีความพยายามดำเนินการให้บุคลากรของธนาคารใช้วิจารณญาณ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแล้ว จึงไม่ถือว่า สิ่งที่ทำไปเป็นการเข้าไปแทรกแซงการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน

ถือว่าพ้นความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหาย เพราะฉะนั้นความรับผิดชอบทั้งหมด จะตกอยู่ที่ฝ่ายบริหารทั้ง 3 คนที่ไม่รับฟัง หรือพิจารณาข้อเสนอแนะที่มีให้

“ผมไม่เคยคิดจะแทรกแซงการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลานี้ แตกต่างไปจาก “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ปี 2540 ที่ทั่วโลกรู้จักกันดี ช่วงนั้นไทยเรามีทุนสำรองฯน้อยมาก ขาดทั้งดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง ซ้ำยังมีแนวโน้มขาดดุลเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้ค่าเงินบาทที่ผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ 25 บาทแข็งค่าเกินไป และเมื่อเกิดการโจมตี ธนาคารแห่งประเทศไทยก็เข้าไปสู้กับเขา”

ขณะที่เวลานี้ การแข็งค่าของเงินบาทมาจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่สูงกว่าดอกเบี้ยข้างนอก ด้วยความเชื่อเพียงอย่างเดียวว่า ดอกเบี้ยสูงๆจะช่วยลดเงินเฟ้อ แต่ในทางตรงกันข้าม การเอาเงินบาทออกมาซื้อเงินดอลลาร์กลับไป น่าจะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อสูงเช่นกัน ฉะนั้นการลดดอกเบี้ย เพื่อส่งสัญญาณว่า ประเทศไทยไม่ต้องการเงินร้อน จึงน่าจะชะลอการไหลเข้าของเงินทุนได้ระดับหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจกลับมาสดใสอีกครั้ง

ส่วนการพยายามกุข่าวทุกครั้งที่มีข้อถกเถียงเรื่องการลดอัตราดอกเบี้ยว่า รัฐบาลประสงค์จะปลดผู้ว่าการนั้น นายกิตติรัตน์ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง และไม่เคยมีเรื่องนี้อยู่ในสมอง ที่สำคัญ ตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ได้ปลดง่ายๆ เหมือนในอดีต

“ยกเว้นก็แต่ว่า ได้ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมาจริงๆเท่านั้น” นายกิตติรัตน์ตบท้าย.

ทีมเศรษฐกิจ

ไทยรัฐออนไลน์

โดย ทีมเศรษฐกิจ
11 กุมภาพันธ์ 2556, 05:00 น.
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 160

โพสต์

http://www.thairath.co.th/content/eco/324840




:ohno:
ธีระชัย... another view. same topic
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 161

โพสต์

some relate
info on CB loss


http://www.princeton.edu/jrc/events_arc ... Losses.pdf


too deep...
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 162

โพสต์

งานนี้ รมต.คลัง มีโอกาสออกมาพูดได้มากขึ้น 555.

คราวนี้ จะได้เห็นมุมมอง แต่ละฝ่าย ละครับ

ใครมองกว้าง มองยาว ช่วยกันเติมส่วนที่ขาดหาย ให้แก่กัน

แล้วคงต้อง เอาไปใส่ ตาชั่ง กันเอง หละ ครับ



แต่ ชอบ และ สนับสนุนเลือก ข้อ 3.หาทางใช้ประโยชน์จากเงินท่วมโลก

เอาใจช่วยทุกฝ่าย ใครหาวิธีได้มากกว่า ภาพที่ รมต.คลัง ฉายให้เห็นได้ยิ่งดี

งานนี้ คงยากและหิน จะเดินสำเร็จได้ ต้องทั้ง รัฐบาล ธปท. และเอกชน ร่วมมือกันจริงๆ

:D :D :D
tumkrub
Verified User
โพสต์: 33
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 163

โพสต์

ขอคิดอีกมุมครับ ว่า
ทำไม กระทรวงการคลัง ไม่ขึ้นภาษีสำหรับเงินร้อนที่มาหากำไรในบ้านเรา

ซึ่งก็น่าจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้ครับ

สำหรับเรื่องอัตราดอกเบี้ย ผมว่าก็เป็นเพียงเครื่องมือตัวหนึ่งเท่านั้น
แต่ด้วยปริมาณเงินจาก USA และ Japan ที่ดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน
ทำให้เงินในภูมิภาคนี้เต็มไปด้วยเงินที่เข้ามาแสวงหากำไรระยะสั้นทั้งนั้น
คิดดูครับว่าทั้ง USA และ Japan ดำรงอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากจริงๆ (0.25-0.5%)
คนส่วนใหญ่ก็ต้องเอาเงินออกมาลงทุนนอกบ้านแน่นอน

แต่สิ่งที่ประเทศไทยควรคิดคือ วิธีการหาประโยชน์ จากสภาวะที่เงินต่างประเทศ
เข้ามาเยอะๆ แบบนี้ดีำกว่าครับ
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 164

โพสต์

pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 165

โพสต์

" อ่านเกมต่างชาติไล่ค่าเงินบาท " ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

Hard Topic 11/2/2013 13.00 น.

http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/p ... p?listid=5

ท่านให้คอยดู ผวก.ธนาคารกลางอังกฤษ อาจเป็นพวกมาแรงรายที่ 4 อีกครั้ง
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 166

โพสต์

G7
เตรียมแถลงการณ์ร่วม เพื่อลดความกังวล ใน c war

http://www.bloomberg.com/news/2013-02-1 ... y-war.html

Finance officials from the world’s major industrial economies have drafted a text now being reviewed by senior policy makers, one official said on condition of anonymity. The current wording, which still may be changed, contains a commitment to market-set exchange rates and an agreement that governments don’t use fiscal or monetary policy to drive currencies, the official said.





T h e G-7 is looking to release the statement before a Feb. 15-16 meeting in Moscow of finance ministers and central bankers from the Group of 20, which includes the G-7 and emerging markets such as Brazil, China and India. Any pledge not to target currencies when setting policy would mark a strengthening in stance from when the G-7’s finance chiefs last commented on currencies as a group in September 2011.



:juju:
G-7 Said to Discuss Statement to Calm Currency War Concern
By Simon Kennedy - Feb 11, 2013 5:43 PM GMT+0700
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 167

โพสต์

ควรถามกระทรวงการคลังว่า
ธปท ขาดทุนในอัตราแลกเปลี่ยน แล้วคุณคุยกับ ธปท ใช้หน่วยบาทหรือดอลล่าร์คุยละ
ถามต่อแล้ว สองธนาคารรัฐทั้งไอแบงค์และ sme bank ที่ตั้งมา ทำไมมีปัญหาได้ละ
กระทรวงการคลังน่าจะตอบเหตุผลได้ดีกว่า ธปท
ลึกๆๆ กดดัน เพื่อเปลี่ยนตัวผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย
ด้วยข่าวที่ดิตเครดิต ทำให้ปชช ทั่วๆไปหลงประเด็น
ถ้าตามกันดีๆๆ พูดไม่ครบซักมากกว่า
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1369
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 168

โพสต์

ผมว่าคุณกิตติรัตน์ก็พูดถูกนะครับ
การขาดทุนของธปท.ไม่ใช่การขาดทุนทางบัญชี แต่ขาดทุนจริงๆ
แต่ขณะเดียวกันคุณกิตติรัตน์ก็เล่นการเมืองไปด้วย

หากเกิดวิกฤติขึ้น ทั้งสองปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 169

โพสต์

imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 170

โพสต์

http://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Fina ... Year.aspxp


รู้จัก ธปท. > รายงานทางการเงินของ ธปท. > งบการเงินประจำปี



http://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Fina ... ndex1.aspx
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 171

โพสต์

for
reference
near by CB
with
almost same size GDP

http://www.mas.gov.sg/About-MAS/Reporti ... ports.aspx
syj
Verified User
โพสต์: 4241
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 172

โพสต์

ผมเห็นด้วยกับ ท่านอดีต รมต.คลัง ดร.ธีระชัย ครับ
ว่าควรใช้นโยบายทางภาษี ในการจัดการกับเงินที่ไหลเข้า
มาทำกำไร ในแบบไม่ต้องเสียภาษี อาทิ ตลาดหลักทรัพย์
ซึ่งนอกจาหนี้ผมยังคิดว่าเป็นการป้องกันการฟอกเงินได้อีก
ทางหนึ่งด้วย

ดร.ประสาร. ผวก.BOT ผมไม่มีความสงสัยในความสามารถ
และจริยธรรมเลย. และรู้สึกดีใจที่เมืองไทยได้ ผวก.BOT คนนี้
มาทำหน้าที่ที่สำคัญมากๆ

ถ้ายังจำข่าวคราวตอนนั้นได้ ท่าน ดร.ธีระชัย คงถูกบีบให้
ลาออก เหมืิอนกัน ท่านคงยอมหักไม่ยอมงอ เพื่อทำในสิ่งที่
ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อชาติในระยะยาว
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 173

โพสต์

มุมมอง
จาก กูรู อีกท่าน Paul Gambles

Stimulus makes SET open to foreign shocks
Wichit Chaitrong
The Nation February 12, 2013 1:00 am
Index could suffer 40% plunge: expert
http://www.nationmultimedia.com/busines ... 99838.html
..
..
Bank of Thailand chairman Virabongsa Ramangkura has called for its Monetary Policy Committee to cut the policy rate from the current 2.75 per cent to stem large capital inflows. However, Gambles did not agree with this proposal for a rate cut, though he shares Virabongsa's concern about a market bubble. He said the government should drop the stimulus measures instead.

If the central bank does lower the interest rate, the upside is that it would help weaken the baht, as the strong currency is causing a major headache for exporters right now, Gambles said. "But I think if we have the growth rate that we have currently, we have stimulus going on right now and then we have a weaker baht and lower interest rate, inflation will be a real problem."

Many people he has talked to are very worried about the rises in the prices of food, rents and wages. Structural wage inflation could come to resemble a cancer that embeds itself in the economy. The minimum wage has started going up to an excessive level that could get inflation out of control, he claimed.

Inflation in January was 3.39 per cent year on year.

Lowering the interest rate is not the right solution because it would cause unintended consequences, he said. There should be other tools to tame the baht.

"The real answer would be that we fix a core fundamental policy issue if we take away a lot of stimulus. If we start to reduce government debt, that will deal with the strength of the baht," he said.

Interest rates should be higher right now. Cutting rates is exactly the wrong way, he said.
Joanne Baynham, MitonOptimal's head of international portfolio management, also cautioned against a rate cut.

Reducing rates would encourage people to take money out of the bank and spend it, as people don't get a return from lower interest rates but from high inflation rates.

"Ultimately, it'll lead to inflation. It's a very dangerous game. Be careful," she said.
...ก่อนหน้า
He said he was extremely worried about public debt. Thailand and Indonesia had started from the same level but now Thailand's sovereign debt is approaching 60 per cent of gross domestic product while Indonesia is more conservative and keeps its public debt at about 30 per cent of GDP.
:shock:
yoko
Verified User
โพสต์: 4337
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 174

โพสต์

ปธ บอร์ดBOT ออกมาเขียนเรื่องเงินร้อน เชิญอ่าน


"เงินร้อน" โดย วีรพงษ์ รามางกูร

คอลัมน์ คนเดินตรอก

"เงิน ร้อน" เป็นคำแปลตรง ๆ มาจากภาษาฝรั่งว่า "hot money" หมู่นี้มีการกล่าวถึง "hot money" กันบ่อยครั้ง พอคนถามว่า เงินร้อนมันเป็นอย่างไร เป็นเงินของประเทศไหน เคยได้ยินแต่ "เงินเย็น" ของญี่ปุ่นเขา เงินร้อนเป็นของใครประเทศไหน

เงินร้อนก็คือเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็น เงินสกุลหลักของโลก เป็นเครื่องมือในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ เป็นเงินที่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นเงินที่ใช้กู้ยืมกันไปมาระหว่างประเทศ และเป็นเงินตราสกุลเดียวที่ใช้เป็นเครื่องมือในการ "เก็งกำไร" จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน แร่ธาตุต่าง ๆ รวมทั้งการเก็งกำไรในตลาดทุน เช่น ตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ ทั้งที่เป็นตราสารหนี้ของรัฐบาลต่าง ๆ และตราสารหนี้ของเอกชน รวมทั้งการเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

การที่สหรัฐอเมริกาสามารถขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง โดย การผลิตเงินดอลลาร์ออกมาให้ชาวโลกถือไว้ได้โดยไม่เป็น "เศษกระดาษ" ก็เพราะไม่มีเงินตราสกุลใดมีจำนวนมากพอที่จะสนองตอบต่อการถือเงินไว้เพื่อ วัตถุประสงค์หลักทั้ง 3 อย่างนั้นได้ เพราะประเทศอื่นที่เป็นเจ้าของเงินไม่ต้องการพิมพ์เงินออกมาในตลาดโลกมาก มายอย่างนั้น

อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินหยวน กับเงินริงกิต เงินยูโร เงินปอนด์และเงินอื่น ๆ ทั่วโลก ก็จะเริ่มจากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์ แล้วอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินหยวน กับเงินริงกิต เงินยูโร เงินปอนด์และเงินอื่น ๆ ทั่วโลกก็จะปรับตามให้สอดคล้องกัน ไม่เขย่งกัน ถ้าเขย่งกันไม่สอดคล้องกัน

ก็จะมีผู้ที่หากำไรคอยจ้องซื้อขายเงินตรา สกุลนั้นจนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์ เงินบาทกับเงินหยวน เงินริงกิตหรือเงินอื่น ๆ สอดคล้องกัน สมมติเช่น หนึ่งดอลลาร์เท่ากับสามสิบบาท หนึ่งดอลลาร์เท่ากับหกหยวน ฉะนั้นหนึ่งหยวนต้องเท่ากับห้าบาทจึงเรียกว่าสอดคล้องกัน ไม่เขย่งกัน

เงิน ดอลลาร์จึงเป็นสกุลเงินที่ยังมีความสำคัญอยู่เสมอมา โดยเฉพาะสัดส่วนของความต้องการถือเงินดอลลาร์เพื่อใช้เก็งกำไรจะมีสัดส่วน มากขึ้นตามลำดับ เมื่อเทียบกับความต้องการถือเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และการถือเพื่อใช้เป็นทุนสำรอง

การเคลื่อนย้ายไหลไปมาของเงินดอลลาร์นั้นอาจจะแยกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆประเภท แรกเป็นการเคลื่อนย้ายอันเกิดจากการเกินดุลหรือขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เป็นเงินที่ได้ขาด ไม่มีพันธะจะต้องจ่ายคืนหรือได้คืนในอนาคต ปัญหาไม่ค่อยมี

อีกประการหนึ่งก็คือปัญหาการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปมาระหว่างประเทศในรูปของเงินกู้ยืมและเงินลงทุน เงินประเภทนี้มีทั้งที่ เป็นปัญหาและไม่เป็นปัญหา เช่น การนำเงินมาลงทุนจริง ๆ ตั้งโรงงาน ซื้อที่ดิน เครื่องจักร นำมาหมุนเวียน เงินลงทุนอย่างนี้เรียกว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ foreign direct investment หรือ FDI เมื่อได้กำไรก็โอนเงินกำไรกลับ หรือเมื่อขาดทุนมากเข้าก็โอนเงินมาเพิ่มทุนในบริษัท

เงินลงทุนอีก ประเภทหนึ่งคือ เงินลงทุนซื้อหุ้นหรือซื้อตราสารทางการเงินต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า portfolio investment ในตลาดรอง หรือ secondary markets เงินที่ไหลเข้ามาในประเภทนี้เกือบทั้งหมดหรือจะเรียกว่าทั้งหมดก็ได้เรียก ว่า "เงินร้อน" หรือ "hot money" เพราะสามารถขายตราสารและนำเงินออกเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งมีทั้งในรูปเป็นทางการบนดินและไม่เป็นทางการอยู่ใต้ดิน แม้จะเป็นตราสารระยะยาวก็อาจจะขายขาดทุนแล้วนำเงินกลับไปก็ได้

เงิน ร้อนพวกนี้แหละที่ตำราเศรษฐศาสตร์ทุกตำรากล่าวว่า เป็นเงินที่ไม่ได้สร้างสรรค์ เป็นเงินที่ไม่มีประโยชน์หรือ "unproductive" เป็นเงินที่เป็นอันตรายและมีพลังการทำลายสูง หรือ "destructive" เพราะเงินพวกนี้เข้ามาเพื่อวัตถุประสงค์หากำไรจากช่องว่างที่เขย่งกันของ อัตราผลตอบแทนของตลาดต่าง ๆ ทั่วโลก หากำไรจากประเทศที่มีความเสี่ยงทางการเงินต่ำแต่มีผลตอบแทนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดอัตราผลตอบแทนโดยทางการที่ทำให้เกิดการเขย่งกัน ของดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนอื่น ๆ ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำให้ความแตกต่างหายไปจนเหลือแต่ความแตกต่างจากความ เสี่ยงด้านการเงิน

ยกตัวอย่างเช่นประเทศไทยมีความมั่นคงทางการเงิน สูง ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ทุนสำรองระหว่างประเทศสูง ความเสี่ยงในด้านนโยบายการเงินมีน้อย เพราะทางการประกาศว่าจะยึดมั่นในเป้าหมายเงินเฟ้ออย่างมั่นคง พร้อมกับจะไม่ยอมลดอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงทางด้านการเมืองก็ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งต่างกับประเทศอื่น ๆ ที่ยังมีความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ สูงอยู่ ดังนั้น "เงินร้อน" จึงไหลเข้ามาหากำไรจากความแตกต่างของผลตอบแทนที่สูงกว่า รวมทั้งเข้ามาเพื่อ "ปั่นราคา" ตลาดที่มีสภาพคล่องสูง ให้ราคาสูงขึ้น เมื่อราคาสูงขึ้นถึงจุดหนึ่งก็ขายทำกำไร เมื่อถึงจุดนั้นเศรษฐกิจก็ทรุดตัวทำความเสียหายได้

การไหลเข้ามาของ "เงินร้อน" ดังกล่าวในประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคมั่นคงเท่ากันแต่ทางการให้ผลตอบแทนต่อ เงินสูงกว่าประเทศอื่น จะเริ่มจากตลาดหุ้น ตลาดตราสารแล้วก็ลุกลามไปยังตลาดอสังหาริมทรัพย์ แล้วก็ขยายไปยังภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยที่การลงทุนจริง ๆ ในการสร้างโรงงานขยายโรงงานและอื่น ๆ เพื่อขยายการผลิตของภาคเอกชนมีน้อย

หรือ ไม่มีเลย ทำให้เศรษฐกิจร้อนแรงขึ้นในภาคการเงินและภาคอสังหาริมทรัพย์ สภาพการณ์อย่างนี้นิยมเรียกกันในสมัยหลังว่า "เศรษฐกิจฟองสบู่" หรือ "bubble economies" เมื่อร้อนแรงถึงจุดหนึ่งที่ฟองสบู่แตก ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ ตลาดตราสารหนี้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการเงินก็จะล่มสลายกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินได้อย่างที่เคยพบมาแล้วในประเทศไทยและประเทศ

อื่น ๆสิ่งที่น่าห่วงก็คือ ความรู้ความเข้าใจของทางการที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการเงิน บทบาทของดอกเบี้ยและมาตรการทางการเงินในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงหรือ real sector กับบทบาทในภาคการเงินหรือ financial sector

บทบาทดอกเบี้ยใน ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงจะเป็นตัวกดหรือกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนจริง ๆ หรือ direct investment เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีผลต่อการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนโดยตรง แต่ก็มีผลไม่มากเท่ากับการขยายตัวหรือการหดตัวของรายได้ประชาชาติ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการขยายตัวหรือชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุน

แต่ ในภาคการเงินสำหรับเศรษฐกิจเล็กและเปิดอย่างประเทศไทย การเพิ่มดอกเบี้ยเพื่อให้ดอกเบี้ยภายในประเทศมีความแตกต่างกับดอกเบี้ยภาย นอก ถ้าพื้นฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจยังอยู่เหมือนเดิม จะทำให้เงินทุนไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้นแทนที่จะน้อยลง

การ จะลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภาคการเงินอันมีพื้นฐานมาจากการหลั่ง ไหลเข้ามาปั่นตลาดของ "เงินร้อน" หรือเงินทุนระยะสั้นโดยการขึ้นดอกเบี้ยจึงเป็นการกระทำที่ผิด ผลจะออกมาตรงกันข้ามกับที่เข้าใจ กล่าวคือ เศรษฐกิจจะร้อนแรงยิ่งขึ้น แทนที่จะลดความร้อนแรงลง เพราะจะมี "เงินร้อน" ไหลเข้ามามากขึ้น

การพิจารณาเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องจะเอาไปเปรียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงทาง ด้านมหภาคที่แตกต่างกันไม่ได้ เพราะนั่นเป็นความรู้สึกของเราเองซึ่งแตกต่างกับความรู้สึกของนักค้าเงินที่ นำเงินเข้ามาแสวงหากำไรอย่างตรงกันข้ามก็ได้ พฤติกรรมของตลาดเก็งกำไรนั้นไม่สามารถคาดการณ์ไปจากตัวเราเองได้ เป็นพฤติกรรมที่คาดการณ์ได้ยาก ทฤษฎีที่ว่าด้วยพฤติกรรมของตลาดเก็งกำไรจึงไม่มี

แม้ แต่เศรษฐกิจของเราเองในแต่ละช่วงเวลา ความเสี่ยงทางด้านมหภาคในสายตาของนักเก็งกำไรก็แตกต่างกัน ซึ่งเขาต้องนำมาพิจารณาด้วย ตัวอย่างเช่น มีผู้กล่าวว่า "เราเคยตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้สูงกว่าดอกเบี้ยดอลลาร์ถึงกว่า 3 เปอร์เซ็นต์มาเป็นเวลาหลายปีก็ไม่เห็นเป็นไร" เป็นการกล่าวที่ไม่เข้าใจ เพราะเมื่อ 3-4 ปีก่อนประเทศเราอาจจะมีความเสี่ยงด้านอื่น เช่น ความเสี่ยงทางด้านการเมือง ความเสี่ยงทางด้านนโยบายการคลัง ความเสี่ยงทางด้านนโยบายการเงิน หรือประเทศอื่นมีความเสี่ยงน้อยกว่าของเรา รวมทั้งปริมาณเงินดอลลาร์ในตลาดโลก ความเสี่ยงใน ความมั่นคงของยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้แต่อเมริกาที่เปลี่ยนไป การเปรียบเทียบกับประเทศอื่นจึงทำไม่ได้หรือไม่ควรทำ ต้องดูตัวเราเองเป็นหลัก

ความเสียหายร้ายแรงจากการมาของเงินร้อนนั้น มีมากนัก จะเบาใจไม่ได้ ต้องช่วยกันคิด อย่าคิดว่าตนเองรู้ดีคนเดียว ที่สำคัญโลกทุกวันนี้ไม่มีความลับ อย่านึกว่าเราปิดได้

ความลับมีอย่างเดียวคือ เรารู้หรือไม่รู้เท่านั้น
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 175

โพสต์

คมมากครับ..,



http://www.ritholtz.com/blog/2013/02/currency-war/


Currency War?
February 11, 2013

“Currency War” is the latest hot title. It’s now on the front pages, triggered by the policy change in Japan. In only two months the Japanese yen has weakened about 15% against the US dollar.

 

Let’s reflect on this important development.

 

First, a simple case study.  Suppose there were just two countries and just two currencies.  Suppose country A decided to try to weaken its currency so it could sell more stuff at cheaper prices to country B, thus undercutting B’s domestic producers.  B could resist by raising a tariff on the incoming stuff that A was trying to sell. Or it could retaliate by cheapening its own currency to counter the price differential.  The first form of retaliation is a trade war; the second is a classic currency war. The economic history of the 1930s is replete with examples of each and combinations of both.  History shows us that the results were disastrous for the global economy and led to a world war.

 

But is there a third alternative? What about the role of interest rates?

 

Suppose A announced that it wanted to weaken its currency by 5% against the currency of B.  Furthermore, suppose A said it would do so over the course of one year.  Then A proceeded to print more currency and use it to buy B’s currency, changing the exchange rate between A and B.  Now let’s assume that B knew from earlier experience that retaliation would only lead to war, so B decided to do nothing.  B also knew that in the longer term its citizens would benefit from a stronger currency, and B was confident enough and self-sufficient enough to allow A to cheapen itself for short-run gain.  By doing nothing, B allowed the markets to make an adjustment.  Suppose, also, that interest rates were not influenced by central banks’ actions.  The markets would quickly price a 5% spread in the interest rate.  At the one-year target maturity, the interest rate on debt denominated in currency A would be 5% higher than the rate on equivalent debt denominated in currency B.  In a normal, clearing market, that is the way the adjustment occurs.

 

Japan is the leading candidate for the role of country A, given the policy changes announced and those still to come.  The rest of the world is trying to figure out how to be a country B while being savvy enough to avoid deterioration into a trade war or currency war.

 

In our modern world there are more than two currencies.  Four of them make up the bulk of the world’s reserves.  The US does not hold much reserve in foreign currency; instead, the US dollar is the dominant reserve choice of the others.  US dollars amount to about 60% of the world’s reserves and the euro about 25%.  The yen and the pound are each about 4%.  Add in a little gold, and you have tallied most of the world’s reserves.  The rest of the countries are nice places to visit, but their currencies are bit players in terms of global impact.

 

Since November, one of the major (G4) currencies, Japan, has dramatically changed policy.  Furthermore, Japan has directed its change in a way that causes another G4 currency, the euro, to strengthen.  This action and ensuing reaction has triggered energetic discussion of a possible currency war.

 

Will we see one?  Maybe.  Are the currency moves we are seeing volatile and abrupt enough to ignite one?  Yes.

 

The reason we’re on the brink of a currency war is that the central banks of the G4 have taken their policy interest rates to near zero.  By doing so, they have collectively reduced the ability of market forces to adjust interest rates in response to the policy changes.

 

Let’s go back to our two-country example to see how this works.  In our simplified model, interest rates were the adjusting mechanism.  They were permitted to work when B decided not to engage in a policy change in response to A.

 

But what would have happened if the central banks of both A and B had taken their interest rates down to the near-zero boundary? And if, furthermore, A and B had committed to this policy because their respective economies were now attempting to recover from serious recessionary or deflationary damage?  In this situation, interest-rate changes could no longer offset the exchange-rate mechanism.  That is the outcome when the interest rates are managed by central banks.  The normal market clearing forces cease to work.  Instead, we get currency exchange-rate moves that deliver jolts to economies – bumps in a road that must be driven without shock absorbers.  That is what happens when the mitigating effects of interest-rate changes are removed from the equation.

 

The world now finds itself in this position in response to the Japanese policy change.  Here is a quick inventory of the G4.

 

Japan is committed to a weaker currency and to further central bank balance-sheet expansion.  It is trying to get its economy to grow, and it is targeting an increase in inflation to 2%.  Some forecasts expect the yen to reach 110 to 115 against the dollar within a year.

 

Meanwhile, the UK is trying to avoid a triple-dip recession.  Expectations are that it, too, will engage in another round of monetary easing.  We shall learn more as its new central bank governor gets established.  With certainty, the UK will not tighten any time soon.  Its short-term interest rate will hover at the near-zero boundary.  And no one knows where the pound will trade as this next round of policy moves unfolds.

 

The US is likewise following its announced central bank balance-sheet expansion.  The Federal Reserve affirmed that policy only a few days ago.  Fed Vice-chair Janet Yellen reaffirmed it today. The Fed’s target for unemployment is 6.5%.  (Currently the unemployment rate is 7.9%.)  We have several more years before the Fed’s target rate will be reached.  The Fed’s inflation target is 2.5%, and the US is operating at a lower inflation rate.  Thus US policy is predictable for a while.  US policymakers ignore the exchange value of the US dollar in making their decisions.  They may talk about it, but FX is not the driver of decisions.  As long as the US dollar maintains its current status as the dominant reserve choice, our nation will continue a practice of benign neglect with regard to our currency exchange rate.

 

On the other side of the Atlantic, the euro is strengthening in spite of all the difficulties in Europe.  It is the G4 default choice because of the Japanese initiative and because the US and UK are in easing mode, while the European Central Bank has just reduced its excess reserves with a policy-changing transaction.  Now ECB President Mario Draghi is worrying about his action being too much, too soon.  We may see the euro trade up in strength against the others in the G4.  That will compound Europe’s economic slowdown.

 

Note that in all cases interest rates remain very low, and the tendency of the central banks is to continue and to enlarge quantitative easing.  We track that trend weekly at www.cumber.com . Also note that the economies we have discussed are not growing with any robustness, subjected as they are, in most cases, to higher taxes and anti-growth policies.

 

We believe that fears of a huge sovereign debt collapse are in error and misplaced.  While they may eventually be realized, they do not loom in the near future.  Meanwhile, currency volatility is likely to rise.

 

Our bond portfolios are slowly adjusting duration.  We are using some strategic hedging of interest rates where that fits within the account objectives.

 

The central banks have the power to keep interest rates low for a prolonged period.  They also have the power to influence the currency exchange rate.  They do not have the power to do both at the same time unless it is a coincidental policy.  It is going to be an interesting decade.

 

David R. Kotok, Chairman and Chief Investment Officer

 
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 176

โพสต์

Competitive Devaluation and Currency Wars

by Tejvan Pettinger on January 22, 2013 in economics
Competitive devaluation occurs when countries seek to reduce the value of their exchange rate to make their exports cheaper and gain a competitive advantage in world trade over other countries. This may encourage other countries to respond by also devaluing their currency to maintain their own competitive advantage. If countries are making great efforts to keep devaluing against each other, it could be termed a currency war.

For example. A devaluation of the Japanese Yen, makes Japanese exports cheaper; also Japanese imports from abroad will be more expensive. Therefore (assuming demand is relatively elastic) after a devaluation, Japan should see an increase in domestic demand and higher economic growth.

However if Japan devalues, then other countries, such as the UK and US, will see an appreciation in their currency. Therefore, the UK and US will lose competitiveness and may see lower domestic demand.

Therefore, if Japan devalues, it may encourage other countries to follow suit and also try and devalue.

Competitive Devaluation in a Recession
In a global recession, demand is low and countries are struggling to escape recession. Understandably, devaluation becomes an attractive option to boost domestic demand.

It is a relatively painless way to boost domestic demand. (e.g. you don’t need to borrow like fiscal policy).
One drawback of devaluation is that usually it can be inflationary, but in a recession inflation is unlikely to be a problem.
Devaluing currency usually involves loose monetary policy (e.g. increasing money supply, cutting interest rates). Therefore this provides an additional boost to demand.
Problems of Devaluation
Beggar Thy Neighbour. Devaluation in a recession is considered to be a ‘beggar thy neighbour‘ policy. The country who devalues gains at the expense of another country who becomes less competitive. In other words, a Japanese devaluation increases Japanese domestic demand, by reducing demand in the US.
It can cause Central Banks to become more political and exceed their usual authority in manipulating the exchange rate.
Increased politicisation of the exchange rate could cause a rise in retaliatory tariffs. (e.g. in the past, the US threatened to impose tariffs on China for their alleged manipulation of the exchange rate.
Can cause excessively loose monetary policy, which leads to future inflation (e.g. hyperinflation in Japan after 1936)
There is a summary of a critique of competitive devaluation by Jens Weidmann, a European Central Bank policy maker.

Defence of Devaluation
I don’t agree with Jens Weidmann’s concerns over a currency war. His concerns primarily reflect the ECB’s misplaced emphasis on low inflation and highlight the unwillingness of the ECB to pursue economic growth.

The first objective of any country is to pursue the monetary policy which is most suitable for their economic situation. If a country like Japan is experiencing deflation. It is correct to pursue expansionary monetary policies. They should be seeking to reduce the value of their currency and pursuing looser monetary policy. If Europe faces more deflationary pressure as a result of an appreciating exchange rate, then they are also merited in pursuing a looser monetary policy which may lead to devaluation.
Competitive Devalution may lead to shifts in demand. But, there is no overall welfare loss from competitive devaluation. In fact, if a country like Japan uses devaluation to get out of recession, the rest of the world can benefit. If Japan can get out of a recession, then they may experience a positive multiplier effect and there will be higher demand for exports. When countries are stuck in recession, resources are wasted and resources idle. Efforts should be made to overcome this.
If a country is severely uncompetitive, with a large current account deficit, then they should allow a devaluation. To artificially keep a currency high in a recession would be a great mistake.
Competitive Devaluation and Currency Manipulation
A competitive devaluation implies that a country pursue the correct monetary policy and allows the market to allow the exchange rate to find its correct level. However, some countries may pursue currency manipulation – using exchange controls to artificially keep the exchange rate below its market level.  This is different and can be considered unfair trading practise. E.g. In early 2000s, China had a huge current account surplus, but still intervened to keep the value of the Yuan undervalued.

Leaving the Gold Standard.
After the first world war, many countries re-entered the Gold Standard and pre-war exchange rates. However, these exchange rates were often unsuitable. In the case of Britain keeping ourselves in the gold standard kept exports low, and UK interest rates had to be kept high. This led to a recession. Leaving the gold standard in 1931, helped the UK become more competitive and attain some economic recovery. Countries who left the Gold standard first, tended to recover from the great depression quicker and faster. Leaving the gold standards and enabling lower interest rates was the correct thing to do.

 
อีกมุม
แต่อธิบาย ++
http://www.economicshelp.org/blog/6736/ ... ency-wars/
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 177

โพสต์

ก่อนวิกฤติ ธปท มีเงิน 40 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ อัตราแลกเปลี่ยน 25 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ มูลค่า 1000 ล้านบาท
ธปท เล่นกับเกมของโซรอส หมดเงินในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ 10 พันล้่านเหรียญสหรัฐ(อันนี้ได้เงินสด 250 พันล้านบาทที่อัตราแลกเปลี่ยน 25 บาทต่อ1ดอลล่าร์)
ทำ swap เงินล่วงหน้าหมดอีก 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งหมด ทำที่ 25 บาทต่อ 1ดอลล่าร์
แต่ตอนจบอัตราแลกเปลี่ยนเป็น 40 บาทต่อ1ดอลล่าร์สหรัฐ
ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 15 บาทต่อ 1ดอลล่าร์ ทำให้รับรู้ขาดทุนจาก swap 20พันล้านเหรียญสหรัฐ* 15 บาทต่อ1เหรียญสหรัฐ โดนไป3 แสนล้านบาท
แต่ธปท มีเงิน 30 พันล้านเหรียญสหรัฐแปลงเป็นบาทได้ 1200 พันล้านบาท

รวมทั้งหมด มนส่วนมูลค่าจาก 1000 พันล้านบาทเป็น 1200 พันล้านบาทเพิ่ม 200 พันล้านบาท
ขาดทุน 300 พันล้านบาทแต่ได้เงิน 250 พันล้านบาท สองอันนี้ขาดทุน 50 พันล้านบาท
ดังนั้นเบ็ดเสร็จ ได้กำไร 150 พันล้านบาท แต่อัตราแลกเปลี่ยน จาก 25 บาทต่อดอลล่าร์เป็น 40 บาทต่อดอลล่าร์

ถ้าแข็งค่ามันจะกลับจากกรณีข้างบน
จึงมีคำกล่าวว่า
"กำไรทางบัญชีของธปทเกิดเมื่อค่าเงินบาทอ่อน ดอลล่าร์แข็ง
แต่ขาดทุนทางบัญชีของธปท เกิดเมื่อบาทแข็ง ดอลล่าร์อ่อนค่า"

สังเกตไหมว่า หน่วยค่าเงินที่คุยๆกันมีผลด้วย
คุยหน่วยบาทหรือดอลล่าร์ จากกำไรเป็นขาดทุน จากขาดทุนเป็นกำไร
ดังนั้น ย้อนถามเลยว่า พูดออกมานั้นบนมาตราฐานไหน
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1369
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 178

โพสต์

อย่างที่พี่มิ พูดมามันก็ใช่
แต่อนาคตค่าเงินบาทจะอ่อนค่ามากๆมีโอกาสมากน้อยแค่ไหน
ใน5ปีข้างหน้าเราคงมองตรงกันว่าค่าเงินบาทต้องแข็งขึ้นอีกแน่นอน
เพราะการพิมพ์เข้าเงินสู่ระบบของธนาคารกลางหลายๆประเทศ
เกิดcarry tradeทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก

แล้วถ้ามองที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่@25B/$
ถามว่าเงิน$ในมือธปท.ตอนนี้ยังมีมูลค่าในรูปบาทเท่ากับก่อนวิกฤติ40หรือไม่
ถ้ามีมูลค่าน้อยกว่าถือว่าเป็นrealize lossได้รึเปล่า
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 179

โพสต์

News Release - G7 Statement
12 February 2013
Page Content

"We, the G7 Ministers and Governors, reaffirm our longstanding commitment to market determined exchange rates and to consult closely in regard to actions in foreign exchange markets. We reaffirm that our fiscal and monetary policies have been and will remain oriented towards meeting our respective domestic objectives using domestic instruments, and that we will not target exchange rates. We are agreed that excessive volatility and disorderly movements in exchange rates can have adverse implications for economic and financial stability. We will continue to consult closely on exchange markets and cooperate as appropriate."
http://www.bankofengland.co.uk/publicat ... 3/027.aspx
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 180

โพสต์

anubist เขียน:อย่างที่พี่มิ พูดมามันก็ใช่
แต่อนาคตค่าเงินบาทจะอ่อนค่ามากๆมีโอกาสมากน้อยแค่ไหน
ใน5ปีข้างหน้าเราคงมองตรงกันว่าค่าเงินบาทต้องแข็งขึ้นอีกแน่นอน
เพราะการพิมพ์เข้าเงินสู่ระบบของธนาคารกลางหลายๆประเทศ
เกิดcarry tradeทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก

แล้วถ้ามองที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่@25B/$
ถามว่าเงิน$ในมือธปท.ตอนนี้ยังมีมูลค่าในรูปบาทเท่ากับก่อนวิกฤติ40หรือไม่
ถ้ามีมูลค่าน้อยกว่าถือว่าเป็นrealize lossได้รึเปล่า
ประเด็นที่ผมอธิบายคือขาดทุน กำไรของธนาคารแห่งประเทศเกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไง
ตอนนี้เงินท่วมโลกปั้มออกมาทั้งดอลล่าร์สหรัฐ ยูโร เยน แต่ทำไมมาที่ตลาดใหม่
ไม่/ปออสเตรียเลีย แคนาดา แบบนี้บางละ
เพราะว่า เขามองว่าประเทศเหล่านี้ เศรษฐกิจโต เหมือนอดีตประเทศของเขาโต
หรือกล่าวได้ว่า ล่าอาณานิคมโลกการใช้เงินแทนก็ได้

ถามกลับว่า ที่กระทรวงการคลังกดดัน ธปท ให้ลดอัตราดอกเบี้ย
จนธปท ตกเป็นจำเลยสังคมนั้น ธปท ไม่ใช่คนที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่เป็น กนง ซึ่งเป็นผู้มีคุณวุฒิจากหลายหลากเป็นผู้ประชุม ยิ่งกระทรวงการคลังออกมากดดันยิ่งสงสัยว่า คลังต้องการอะไร
คลังต้องการขยายอำนาจของตัวเองหรือเปล่า นอกเหนือจากเข้าควบคุมธนาคารของรัฐสองแห่งที่มีปัญหา
เพราะว่าอำนาจสั่งการจัดการกับธนาคารอยู่ที่ ธปท
ธปท เอาถ้าเห็นแบงค์ไหนมีปัญหาก็ลดทุนและเพิ่มทุนเพื่อแก้ไขปัญหาได้
ทำไมไม่ทำละเนี่ย
:)
:)