ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 121

โพสต์

CARPENTER เขียน:ถ้าผมเลือกได้ ผมจะไม่เอาคนในวงการธนาคารมาเป็น ผู้ว่า BOT
ลูบหน้าปะจมูกตลอด คนนั้นก็เจ้านายเก่า คนนี้ก็รู้จักกัน
สิ่งที่สังคมไทย ขาดมากที่สุดคือความยุติธรรม
คนไทยส่วนมาก มีอคติ เพราะ ความชอบและความเกลียด เป็นหลักใหญ่
เห็นด้วยประโยคสุดท้ายครับ

ผมเห็นว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน การโจมตีธปท ให้เป็นเป้าผู้ร้ายของสังคม ของรัฐ และของนักวิชาการหลายๆ สาขา เป็นเรื่องไม่ยุติธรรม ไม่ใช่เพราะผมชอบแบงก์ชาตินะครับ เพราะผมเห็นใจแบงก์ชาติมากกว่า

ในช่วงต้มยำกุ้ง ผมเองโดนกระทบบ้างไม่มากเท่าไร เงินเก็บเงินออมที่นำไปลงทุนในกองทุนรวม โดนแช่แข็งแบบไม่มีดอกเบี้ยไปหลายปี ผมก็โกรธ และเกลียด แบงก์ชาติมากๆ เพราะเป็นคนที่ทำให้เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกย่ำแย่ (อย่างที่บอก อดีต ผู้ว่าโดนขึ้นศาล โดนให้จ่ายเงินที่รู้ว่าไม่มีทางจ่ายได้ ตอนนี้เป็นไงแล้วบ้างก็ไม่รู้)

ตอนนี้เวลานี้ ทุกอย่างเปลี่ยนไป เรากำลังจะโดน re-turn of ต้มยำกุ้ง เรียกว่า re-turn ได้เพราะครั้งนี้มันกลับขากันกับคราวที่แล้วคือค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นซึ่ง bot ก็พยายามแทรกแซงแต่ไม่ได้ทุ่มเหมือนตอนนั้น สิ่งที่ bot มีแตกต่างจากตอนนั้นคือ เงินตราต่างประเทศจำนวนมาก ที่เอาบาทไปแลกมา เพื่อทำค่าเงินให้อ่อนลง bot ต้องรู้ขอบเขต และไม่ทุ่มจนเกินขอบเขตเหมือนตอนต้มยำกุ้ง ซึ่งผมยังค่อนข้างเชื่อใจในแบงก์ชาติว่าจะทำได้

กลับมาที่รัฐ รัฐบาลต้องไม่ผลักภาระ ให้แบงก์ชาติเป็นคนต่อสู้กับ hot money นี่เพียงลำพัง ต้องออกนโยบายการคลังที่ช่วยกันลดจำนวนเงิน มาตรการ capital control ก็ต้องออกมาขู่บ้างอะไรบ้าง (คลังเกาหลีเริ่มขู่เรื่องนี้แล้ว) ทำจริงได้บางส่วน ดูผลกระทบให้ดี การขาดดุลงบประมาณของรัฐ ก็ต้องขาดแบบไม่น่าเกลียด และต้องไม่เวอร์ในการประมาณรายรับ ต้องลดเงินเฟ้อ โดยการสนับสนุนให้มีการออมบ้าง ส่งเสริมให้ธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ต้องสร้างเอกภาพในการทำงานทั้งนโยบายการคลังและการเงิน และทุกอย่างจะไปได้ครับ

โอ้วววว อ่านย่อหน้าสุดท้ายใหม่ นี่ผมกำลังฝันอยู่นี่นา
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 122

โพสต์

แก้ไขของเดิมผิดตก
เศรษฐกิจเมื่อไทยพึ่งพาการนำเข้าและส่งออก
ทำให้ เศรษฐกิจเป็นระบบเปิด

ระบบเปิดมีการซื้อสินค้าต่างประเทศ ถ้าทั่วโลกซื้อสินค้า iPhone ไม่ได้ราคาเดียวกัน
ทำให้เกิดเหตุการณ์การสั่งซื้อสินค้าข้ามทวีปได้ ( law of one priceไม่เกิทฤษฏี PPP ไม่เกิด)
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว อัตราแลกเปลี่ยนก็มีสองตัวคือตามทฤษฏีและของจริงไปด้วย ตามแต่ใครมอง
ตามที่พิจารณาคือ อัตราดอกเบี้ยในประเทศหรือนอกประเทศ
และคู่สุดท้ายคือ gdp ของเราและของเขา

ราคาถ้า iphone ที่ Us ถูกกว่าของเรา เราไปซื้อของนอก เอาบาทไปแลกดอลล่าร์ที่ ธปท
ดังนั้น บาทอ่อนดอลล่าร์แข็ง

ดอกเบี้ยในสูงกว่าดอกเบี้ยนอก ต่างชาติก็แลกดอลล่าร์เป็นบาทที่ ธปท นำมาฝากธนาคารทึ่เมืองไทย

ถ้าต่างชาติมองว่า GDP เมืองไทยขยาย 4.5-5.5% แต่เมืองของไอแค่1% ก็ดีตายแล้ว
ดังนั้นขนเงินมาลงทุนที่ไทย สินค้าที่ผลิตก็ขายได้

ถ้าโซรอสมองว่า จริงๆ บาทควรอ่อนค่า ดังนั้น กู้บาทซื้อดอลล่าร์ ดักคอย แล้วคอยปล่อยดอลล่าี์คือบาทตอนที่ครบกำหนด เมื่อโซรอสมองออกว่าบาทควรต้องออก

:)
:)
syj
Verified User
โพสต์: 4241
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 123

โพสต์

ผู้ว่าการ BOT คราวที่แล้ว (ต้มยำกุ้ง) กับ คราวนี้คนละคน นะครับ
เพราะฉะนั้นอย่าทึกทักว่าเหมือนกันหมด ถ้าคุณศึกษาประวัติของ
ท่าน ผวก. BOT คนปัจจุบัน ย่อมรู้ว่าท่านเป็นคนอย่างไร นอกจาก
ความเก่งกาจระดับ Top ของประเทศ แล้วเรื่องคุณธรรมยังไม่ธรรมดา
ด้วยนะครับ

คราวที่แล้ว คนโทษ BOT มากมาย ซึ่งที่จริงก็เป็นเรื่องจริง
แต่ เหตุั ไม่ได้มาจาก BOT ก่อน BOT มาตามแก้ปัญหาแต่
การแก้ปัญหาที่เกินกำลังของ BOT จะทำได้ (เนื่องจากผู้แก้
ขาดประสบการณ์และประมาท กองทุัน Hedge Fund ระดับ
โลก ซึ่งที่ผ่านมาแพ้รบกับไม่กี่ประเทศเท่านั้นและใหญ่ๆ หรือ
ไม่ก็ต้องรวมกันต่อสู้ อย่างไทย มันเล็กนิดเดียว เขาใหญ่กว่า
มาก ขยี้ทีสองทีก็ตายแล้ว แล้วก็ตายจริง)

ปัญหาเกิดจาก นโยบายเสรีทางการเงิน ที่ไม่พร้อม (ที่จริง
ก็ไม่ใช่ว่าไม่พร้อม แต่เนื่องจากความโลภ เป็นหลัก) ทุกๆ คน
ทุกๆ กิจการ ที่มีปัญญาจะกู้เงินนอก มากู้เงินนอก ทั้งนั้น ผมจำได้ดี
ครับ เพราะดอกเบี้ยมันถูกกว่ามากๆ บริษัทฯ ขนาดใหญ่ๆ ของ
ท้องถิ่นที่สงขลา ยังกู้เงินนอกเลยครับ (ซึ่งขนาดของ บริษัทฯ
เหล่านี้ เล็กมาก เมื่อเทียบกับ บริษัทฯ ที่กรุงเทพฯ และไม่ได้
อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ดัวยซ้ำ) แล้วเงินมันมากมายมหาศาล
ขนาดนั้น Debt/Equity Ratio เกิน 2-3 เท่ากันมากมาย บางที่
เป็น 5-10 เท่าเป็นเรื่องปกติ (แล้วมันจะไม่กลับบ้านเก่าได้ยังไง)
ที่แย่กว่านั้น อสังหาฯ ร้อนแรงมากๆ บริษัทฯ ที่ไม่เคยทำอสังหาฯ
เช่น ค้าเหล็ก ขายรถยนต์ ทำอุตสาหกรรม ค้าคอมพิวเตอร์ ก็ยัง
มาลงทุนสร้างตึก สร้างอาคาร เพราะอสังหาฯ เป็นอะไรที่ทำกำไร
ได้มาก (มาร์จินสูง) และรวดเร็ว (สองสามปีก็ได้ัทุึนคืนพร้อมกำไร
ถ้าขายได้หมด) นี่แหละครับ สาเหตุ หลักของ "ต้มยำกุ้ง"

สิ่้งที่ BOT ทำไปนั้นเป็นเพียงการแก้ปัญหาจากเหตุที่เกินขึ้นแล้ว
มาหลายปี ก็มาจากนโยบายของรัฐบาล ของท่าน รมต.คลัง
ทั้งหลาย นั่นแหละครับ

ครั้งนี้ปัญหาเกิดขึ้นมาจากนอกประเทศเป็นหลักๆ (นโยบายพิมพ์
แบงค์มาไม่จำกัดจำนวน หรือเรียกกันเท่ๆ ว่า QE ทั้ง US, EU,
ญี่ปุ่น) พิมพ์แบงค์ได้ไม่จำกัดจำนวน มีแต่พวกมหาอำนาจเท่านั้น
ที่ำทำได้ ประเทศอย่างเราๆ ทำไม่ได้ ... ที่ธนาคารกลางแต่ละชาติ
ต้องทำแบบนี้เพราะ รัฐบาลก็กู้ซะเกินลิมิตไปแล้ว ส่วนธนาคารกลาง
ก็กดดอกเบี้ย จนดอกเบี้ยเป็นศูนย์ไปแล้วหรือไม่ก็ติดลบด้วยซ้ำถ้า
คิดอัตราเงินเฟ้อ แต่เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้น (ใช้ทั้ง Fiscal Policy และ
Monetary Policy) ** หมายเหตุ QE ก็เป็น Monetary Policy
ที่กดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีก **

แต่อย่างที่เคยกล่าวว่าเงินที่ออกมาจาก QE แทนที่จะอยู่ในประเทศ
เหล่านั้นเอง กลับออกมาลงทุนในประเทศอื่นๆ ที่น่าลงทุนมากกว่า
เพราะผลตอบแทนดีกว่ามาก และการเปิดเสรีทางการเงินของประเทศ
ต่างๆ ด้วย
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 124

โพสต์

ปัญหาเศรษฐกิจคราวที่แล้วมันเกิดจาก
ความไม่เชื่อใจของระบบการเงินไทยส่วนหนึ่ง
เริ่มจากในสภา ในมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี
เรื่องเกิดที่ธนาคารกรุงเทพ พาณิชยการ
ประมาณปี 2538 ( ปีที่หม่อมราชวงศ์ คึกฤกษ์ จากไป)

ตอนนี้คือ SME Bank วิกฤติอยู่
เทียบกันเลยว่า ระบบธนาคารมีปัญหาหรือเปล่า
อำนาจอยู่ในมือ ธปท แต่สั่งจัดการเพิ่มทุนมิได้ติดที่เป็นธนาคารเฉพาะกิจ
หนี้เน่าพุ่ง. ถ้าประนอมหนี้ เลือกได้สามทาง
1 ดอกเบี้ยสัญญาเดิม
2 ดอกเบี้ยของต้นทุนเฃินของธนาคาร
3 ดอกเบี้ยตามท้องตลาด
เห็นไหมว่า เรื่องมันต่อเนื่องกันไปหมด
:)
:)
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 125

โพสต์

ขอให้เข้าใจกันเสียหน่อยว่า
หน่วยงานที่ออกมาตราการดอกเบี้ยไม่ใช่ BOT
แต่เป็นคณะกรรมการ กนง. ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วยบุคคลหลายภาคส่วนมาร่วมตัวกันเป็นคณะกรรมการพิจารณา
ไม่ใช่ BOT เป็นคนพิจารณาคนเดียว (แต่ในคณะกรรมการมี เจ้าหน้าที่ของ BOT อยู่2-3 ตำแหน่งซึ่งเป็นเก้าอี้โดยตำแหน่ง)

ดังนั้นที่ออกมากดดันตัวบุคคล แสดงว่า โยนหินถามทางมากกว่า
เล่นที่ตัวบุคคลกัน และ เล่นที่หน่วยงาน ซึ่งจริงๆแล้ว ธปท เป็นผู้จัดเตรียมข้อมูลส่วนหนึ่งเท่านั้น
โปรดเข้าใจไว้ด้วย ไม่ใช่เข้าใจกันผิดๆๆ แล้วส่งต่อข้อมูลผิดๆๆ

:)
:)
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 126

โพสต์

ขอให้เข้าใจกันเสียหน่อยว่า
หน่วยงานที่ออกมาตราการดอกเบี้ยไม่ใช่ BOT
แต่เป็นคณะกรรมการ กนง. ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วยบุคคลหลายภาคส่วนมาร่วมตัวกันเป็นคณะกรรมการพิจารณา
ไม่ใช่ BOT เป็นคนพิจารณาคนเดียว (แต่ในคณะกรรมการมี เจ้าหน้าที่ของ BOT อยู่2-3 เป็นเก้าอี้โดยตำแหน่ง)

ดังนั้นที่ออกมากดดันตัวบุคคล แสดงว่า โยนหินถามทางมากกว่า
เล่นที่ตัวบุคคลกัน และ เล่นที่หน่วยงาน ซึ่งจริงๆแล้ว ธปท เป็นผู้จัดเตรียมข้อมูลส่วนหนึ่งเท่านั้น
โปรดเข้าใจไว้ด้วย ไม่ใช่เข้าใจกันผิดๆๆ แล้วส่งต่อข้อมูลผิดๆๆ

ข้อมูลคณะกรรมการดูได้ที่
http://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolic ... s/MPC.aspx


:)
:)
yut2504
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 425
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 127

โพสต์

เสาหลักของระบบการเงินของชาติคือการออม รัฐควรส่งเสริมสนับสนุนมากกว่าการกดดันให้ลดดบ.

การลดดบ.พ่อค้าได้รับประโยชน์ทันที ผู้เสียประโยชน์คือคนที่ออมเงินซึ่งเป็นฐานของระบบ ถ้าใครมาแซะเราก็ต้องโวย

เยอรมัน ญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างนักออม US EUบางประเทศใช้จ่ายเกินตัวเราต้องการแบบไหน

ธ.พานิชเอาเปรียบเราก็มีทางเลือก มีหลายบ/ชแต่ใช้ATMใบเดียว โอนเงินทางIbankฟรี ประกันก็อย่าซื้อครับเพื่อนผมมาถามผมแนะนำให้ซื้อกองอสังหา ผมซื้อประกันกับบ.ยักษ์ใหญ่ตอนซื้อยังไม่รู้ว่าอายุมากขึ้นเบี้ยต้องจ่ายเพิ่มขึ้นมาก เราไม่มีสิทธิเห็นกรมธรรม์ก่อน จริงๆแล้วถ้าเราเป็นนักลงทุน ธ.ที่เราเห็นว่าเอาเปรียบแต่เราจำเป็นต้องใช้บริการเราก็ซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้เขาสิครับ พวกเขี้ยวๆนี่แหละมั่นคงกำไรดีนัก

ผมมีพี่น้องเครือญาติเป็นนักวิชาการ เป็นอาจารย์หลายคน พวกเขาก็สารภาพว่าการวิจารณ์เสนอแนะง่าย การลงมือทำ การตัดสินใจเป็นเรื่องยาก พวกเขาทำไม่เป็นถึงมาสอนหนังสือ ถ้าเขาเก่งจริงก็มาค้าขายทำธุรกิจเองดีกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 128

โพสต์

บางทีคนดีมีฝีมือถึงไม่ค่อยอยากทำงานรับใช้บ้านเมือง หรือไม่ก็อยู่ได้ไม่นาน

พอเจอแรงกดดันมากเข้าๆ ก็เริ่มคิดได้ว่า เราทำเพื่ออะไรอยู่ ที่จริงเราก็อยู่สบายๆของเราอยู่แล้ว จะมาทนทุกข์ให้คนก่นด่าทำไม

คนดีถึงไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับการเมืองถ้าไม่จำเป็นจริงๆครับ เพราะมันต้องอาศัยการเสียสละมากจริงๆ

เรื่องค่าเงินบาทจะดำเนินต่อไปอย่างไรผมไม่ทราบได้ รู้แต่ว่าถ้ามีข่าว ดร.ประสาร ลาออก เตรียมลดพอร์ตหรือล้างพอร์ตได้เลย สำหรับการเทรดระยะสั้น
Guez07
Verified User
โพสต์: 329
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 129

โพสต์

อันนี้บทความล่าสุดของ ดร.Kobsakครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

February 8, 2013
Posted by KOBSAK (ADMIN)
ทางออก สำหรับปัญหาค่าเงินแข็งและเงินไหลเข้า


ช่วงนี้ ปัญหาเรื่องค่าเงินแข็งและเงินไหลเข้า ได้กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่หลายคนสนใจและต้องการรู้ว่า “ทางออกที่เหมาะสมกับประเทศไทย สำหรับปัญหาทั้งสองคืออะไร”

ในประเด็นนี้ มีท่านผู้รู้จำนวนมาก ที่ได้กรุณาออกมาให้ความเห็น ชี้แนะ ซึ่งต่างมีความเห็นของตนเอง ที่แตกต่างกันไป ประเภทอยู่คนละขั้ว บางคนต้องการให้ลดดอกเบี้ย บางคนแย้งว่า “ต่อให้ลดแล้ว ก็ไม่ได้ช่วยอะไร” โดยยกตัวอย่าง หลักฐานต่างๆ มาสนับสนุน บางคนเรียกร้องว่า อยากให้แบงก์ชาติแทรกแซงค่าเงินให้เต็มที่ เช่น ตรึงไว้ที่ 30 บาท/ดอลลาร์ เป็นต้น และบางคนก็เริ่มไปไกลกว่านั้น ต้องการให้รัฐบาลจ่ายยาแรง ออกมาตรการสกัดเงินทุนเคลื่อนย้าย เพื่อจัดการกับผู้ที่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน ด้วยเหตุนี้ หลายคนที่พยายามติดตามอ่านอยู่ข้างๆ ก็เริ่มงง เพราะมีหลายสำนักเหลือเกิน ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อใครดี

การที่เราจะเห็นถึงทางออกที่เหมาะสมที่สุด สำหรับประเทศไทยในเรื่องเหล่านี้ ต้องเริ่มจากความเข้าใจในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ดอกเบี้ย เงินไหลเข้า และค่าเงินบาท ใน 3 ประเด็น

ข้อเท็จจริงแรก – ส่วนต่างดอกเบี้ยมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อเงินไหลเข้า ตรงนี้ ถ้าเถียงว่าไม่จริง ก็ไม่ต้องดูอื่นไกล เมื่อ 5 ปีที่แล้ว นักลงทุนไทยแห่กันไปลงทุนที่เกาหลีกันใน “พันธบัตรกิมจิ” กันเป็นเงินถึง 4-5 แสนล้านบาท ถ้าจะถามว่าทำไมถึงไปลงทุนกันมากขนาดนั้น คำตอบง่ายๆ ก็คือ ดอกเบี้ยเกาหลีสูงกว่าไทย ให้ผลตอบแทนสูงถึง 4% ขณะที่ลงทุนในไทยได้ดอกเบี้ย 1-2% เท่านั้น ทำให้หลายคนสนใจไปลงทุนในพันธบัตรเงินสกุลดังกล่าว ซึ่งในช่วงนี้ ในกรณีของประเทศไทย เนื่องจากดอกเบี้ยสหรัฐ ยุโรปต่ำกว่าเรามาก จึงไม่น่าแปลกใจว่า เงินจากต่างประเทศได้ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรของเราเพิ่มขึ้นถึง 4 แสนกว่าล้านบาท ในช่วง 13 เดือนที่ผ่านมา

ข้อเท็จจริงที่ 2 – การจะลดดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินไหลเข้านั้น ควรทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า วัฏจักรเศรษฐกิจเรากำลังอยู่ที่จุดไหน ถ้าเศรษฐกิจเราอยู่ในช่วงขาลง การลดดอกเบี้ยก็จะช่วยลดเงินไหลเข้า และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน แต่ถ้าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น เช่นในปัจจุบัน การจะลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเรื่องเงินไหลเข้า ก็ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี เพราะถ้าลดดอกเบี้ยจริงตามที่มีการเสนอกัน เงินที่เข้ามาหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย อาจจะลดลงไปบ้าง แต่พอเวลาผ่านไป 2-3 ปี การลงดอกเบี้ย จะส่งผลให้เศรษฐกิจของเราเฟื่องฟูเกินไป กลายเป็นฟองสบู่ (ทั้งจากปัญหาภาคอสังหา หนี้ครัวเรือน หุ้น) กลายเป็นปัญหาใหม่ให้เราแก้ไข ซึ่งถ้าจัดการได้ไม่ดี ก็อาจจะทำให้เกิดวิกฤตขึ้นได้

ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่าการลดดอกเบี้ยช่วยลดเงินไหลเข้าได้ เฉพาะในส่วนของเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรเป็นสำคัญเท่านั้น เงินอื่นๆ ที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการลงทุนโดยตรง จะยังคงจะเข้ามาอย่างต่อเนื่องเช่นเดิม

ข้อเท็จจริงที่ 3 – ปัญหาที่ทุกคนกังวลกันจริงๆ ในปัจจุบัน แต่ไม่ยอมพูดให้ชัด ก็คือ “ค่าเงินแข็ง” ไม่ใช่เงินไหลเข้า ที่กล้าพูดเช่นนี้ ก็เพราะปีที่แล้วมีเงินไหลเข้ามากว่า 5 แสนล้านบาทในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น แต่ไม่เห็นมีใครออกมาบ่นแต่อย่างไร ส่วนปีนี้ เงินที่ไหลเข้าตั้งแต่ต้นปีมีประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งไม่ได้มากจนเกินไปนัก ความจริงออกจะน้อยกว่าเมื่อปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำไป แต่คนกลับบ่นกันมากเรื่องเงินไหลเข้า

เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะปัญหาจริงๆ คือ “ค่าเงิน” ไม่ใช่เงินไหลเข้า ปีที่แล้ว ค่าเงินไม่ขยับ เงินไหลเข้าจึงไม่เป็นประเด็น แต่ปีนี้ พอเงินบาทแข็งอย่างรวดเร็วช่วงต้นปี แม้เงินไหลเข้าจะน้อยกว่า ก็ยังถูกยกขึ้นมาเป็น “ผู้ร้ายตัวฉกาจ” เป็นประเด็นที่ท่านผู้รู้พยายามหามาตรการเพื่อจัดการให้ได้

ถ้าเป้าหมายตัวจริง คือ “ค่าเงิน” มาตรการที่ถูกนำเสนอ โดยเฉพาะการลดดอกเบี้ย อาจจะไม่มีประสิทธิผลตามที่ตั้งใจไว้ โดยประสบการณ์จากประเทศต่างๆ พบว่า แม้ลดดอกเบี้ยแล้ว หรือมีดอกเบี้ยในระดับต่ำแล้วก็ตาม ก็ไม่ช่วยป้องกันเรื่องค่าเงินที่จะแข็งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ญี่ปุ่น ที่ดอกเบี้ยของเขาในช่วง 4-5 ปีนี้ อยู่ที่ 0.1-0.5% ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ มาก แต่ค่าเงินเยนก็ยังสามารถแข็งค่าขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง จาก 120 เป็น 76 เยน/ดอลลาร์

แล้วทางออกที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยคืออะไร

ทางออกของเรามีไม่มากนัก โจทย์สำคัญของประเทศไทย คือ “เราจะอยู่อย่างไรภายใต้ภาวะค่าเงินที่จะแข็งขึ้น และเงินจำนวนมากที่จะไหลเข้า” ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ

ปัญหาแรกเรื่อง ค่าเงิน การจะไปให้แบงก์ชาติไปฝืนค่าเงินเอาไว้ให้อยู่นิ่งๆ เช่นที่ 30-31 บาท/ดอลลาร์ เป็นเรื่องที่มีต้นทุนสูงมาก (ยิ่งถ้าไปแทรกแซงแล้วทำไม่ตลอด ก็อาจจะนำมาซึ่งการขาดทุนจำนวนมากของแบงก์ชาติได้) ยิ่งช่วงนี้ ค่าเงินเอเชียกำลังแข็งทั้งภูมิภาค ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากที่จะไปฝืนเอาไว้ประเทศเดียวได้ ทางออกที่เหมาะสมสำหรับไทย จึงมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ด้าน

1. ให้แบงก์ชาติ แทรกแซง ดูแลให้เงินบาท ไม่แข็งค่าเกินกว่าค่าเงินของคู่แข่งของเรา เช่น ค่าเงินริงกิต และเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งมีนัยต่อไปว่า ถ้าเงินภูมิภาคแข็ง เราก็แข็งเช่นกัน โดยมีเป้าหมายคือ ไม่แข็งมากกว่าประเทศอื่นๆ อันจะช่วยให้ผู้ส่งออกของเรายังแข่งขันกับคู่แข่งได้ และยังค้าขายได้ ซึ่งในเรื่องนี้ จะมีต้นทุนกับแบงก์ชาติในการเข้าแทรกแซง แต่จะน้อยกว่าการฝืนเอาไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ อยู่ในวิสัยที่ทำได้

2. การช่วยส่งเสริมให้ผู้ส่งออกสามารถปรับตัวรับกับค่าเงินที่จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้ โดย (1) พยายามกำหนดราคาสินค้าเป็นเงินท้องถิ่นให้มากขึ้น เช่น ถ้าส่งไปจีน ก็คิดเป็นเงินหยวน ส่งไปมาเลเซียคิดเป็นเงินริงกิต ส่งไปลาว กันพูชา พม่า คิดเป็นเงินบาท เป็นต้น (2) พยายามทำ Hedging เพื่อปิดความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน (3) การตั้งราคา price in ไว้ 3% 5% 7% (ตามที่จะเป็นไปได้) เผื่อว่าหากเงินบาทแข็งขึ้น ก็ยังจะกำไรได้ และ (4) การดำเนินการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ไว้แต่เนิ่นๆ ในช่วง 6 เดือนนี้ เพื่อจะได้พร้อมหากค่าเงินจะแข็งขึ้นเพิ่มเติม

ส่วนปัญหาที่สองเรื่อง เงินไหลเข้า เราต้องเริ่มโดยยอมรับความจริงว่า ช่วงที่สภาพคล่องล้นโลก ประเทศใหญ่ทางเศรษฐกิจต่างแข่งกันพิมพ์เงิน อัดฉีดสภาพคล่อง การไปตั้งกระสอบทราย ตั้งกำแพงกั้นไว้ ไม่ให้เงินไหลเข้ามา เป็นเรื่องยากเช่นกัน ทางออกที่เหมาะสมสำหรับไทย จึงมีองค์ประกอบสำคัญเพิ่มเติมอีก 2 ด้าน

3. การเตรียมมาตรการที่จะดูแลผลพวงจากการไหลเข้าของเงินทุน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการที่ป้องกัน Easy money, Easy credit culture ที่สภาพคล่องที่จะไหลเข้ามาล้นระบบ จะทำให้บริษัทกู้ยืมจนเกินตัว ครัวเรือนบริโภคจนเกินฐานะ และแบงก์ปล่อยกู้จนสะสมความเสี่ยงไว้มาก เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดวิกฤตอีกครั้งเหมือนกับเมื่อปี 2540 ซึ่งในจุดนี้ หมายถึงการที่รัฐบาลต้องเตรียมนโยบายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายที่จะคุมเข้มภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงต่อไป (เช่นเดียวกับที่ฮ่องกงหรือสิงคโปร์ได้ทำมาแล้ว) ตลอดจนนโยบายที่จะกำกับการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

ทั้งนิ้ มาตรการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น ก็จะช่วยเช่นกัน การเร่งเปิดเสรีด้านการไหลออก ไม่ว่าจะเป็นการลดข้อกำหนดต่างๆ การอนุญาตให้คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น การสนับสนุนให้บริษัทเอกชนไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ต่างจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง

สำหรับมาตรการที่หลายคนกำลังเสนอกัน คือ มาตรการสกัดกั้นเงินทุนเคลื่อนย้าย นั้น จากประสบการณ์พบว่า “ไม่ได้ผล เรื่องค่าเงินแข็ง” โดยมาตรการที่ถือเป็นยาแรงที่สุดของโลกในการสกัดเงินทุนไหลเข้า เช่น บราซิลเก็บภาษีเงินไหลเข้าถึง 6% หรือ ไทยสั่งตั้งมาตรการสำรอง 30% ต่างก็ไม่สามารถช่วยหยุดเรื่องการแข็งค่าของเงินไว้ได้ โดยหลังจากเราประกาศมาตรการสำรอง 30% ค่าเงินบาทยังคงแข็งขึ้นต่อเนื่องจาก 35.9 เป็น 31.1 บาท/ดอลลาร์ (ที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือ มาเลเซีย ไม่ได้มีมาตรการอะไร ค่าเงินของเขากลับแข็งขึ้นน้อยกว่าค่าเงินไทย โดยแข็งขึ้นจาก 3.52 เป็น 3.13 ริงกิต/ดอลลาร์) ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นอุทาหรณ์สำหรับเราทุกคนว่า ไม่ควรไปฝากความหวังไว้กับมาตรการสักเงินไหลเข้า ซึ่งเป็นเครื่องทุ่นแรงที่ไม่มีประสิทธิภาพ และกลับไปมุ่งเน้นนโยบายพื้นๆ คือ การแทรกแซงค่าเงินโดยตรงจะได้ผลดีกว่า

4. การเตรียมการสำหรับช่วงเงินไหลออก จากประสบการณ์พบว่า ช่วงเงินไหลเข้า ทุกคนจะร่าเริงไปกับสภาพคล่องที่ล้นในระบบ แต่เมื่อเงินเริ่มไหลออก ปัญหาอาจจะเกิดได้ และอาจจะนำมาซึ่งวิกฤต โดยรอบนี้ ถ้ามองดูไปแล้ว ทุกประเทศในเอเชียต่างจะได้รับเงินไหลเข้ากันเป็นจำนวนมาก วิกฤตรอบหน้าจึงมีโอกาสอย่างยิ่ง ที่จะเกิดขึ้นแถวบ้านเราในเอเชีย อันจะกระทบกับไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เพื่อไม่ประมาท เราคงต้องเตรียมการเพื่อให้ไทยอยู่ในสภาพที่จะรับกับช่วงเงินไหลออก และฝ่าฟันกับวิกฤตที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลต้องพยายามลดหนี้ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นนี้ เพื่อเพิ่ม Fiscal Room ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้เราผ่านพ้นจากช่วงดังกล่าวได้

จุดเปลี่ยนเรื่องการดึงสภาพคล่องกลับ จะเกิดขึ้นในช่วงประมาณต้นปี 2015 เป็นต้นไป ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย Fed Fund ตามที่ได้ประกาศไว้ ยิ่งไปกว่านั้น ระหว่างปี 2016-2017 เมื่อดอกเบี้ยของสหรัฐเริ่มขยับขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงที่ 4% อีกครั้ง ทุกคนที่ได้หลงไปกู้เงินมาใช้จนเกินตัวในช่วงก่อนหน้า ก็ต้องระวังเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง

กล่าวโดยสรุป มาตรการทั้ง 4 ด้านนี้ เป็นทางออกของไทย สำหรับการบริหารเศรษฐกิจใน 3-5 ปีข้างหน้า ถ้าเราเตรียมการดี เข้าใจว่าโจทย์คืออะไร เลือกทางออกที่เหมาะสม เราก็จะผ่านพ้นปัญหารอบนี้ไปได้ แต่ถ้าเราตีโจทย์ผิด เลือกทางออกผิด เราก็จะมีโอกาสพอสมควร ที่จะเสียหายกันอีกรอบ ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ

BLOG Dr. KOB
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 130

โพสต์

ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นเหมือนลงไปรอคอยแล้วล่ะครับ
แสดงว่าเงินที่ไหลออกจากตลาดตราสารทุนมีบางส่วนที่ไปพักซื้อของที่ตลาดสารตราหนี้
ทำให้ราคาของตราสารหนี้สูงขึ้นและผลตอบแทนลดลง อันนี้เป็นข้ออ้างทำให้ลดอัตราดอกเบี้ยได้
โดยยืมมือต่างชาติในการดำเนินการก็เป็นไปได้

แล้วถ้าไปดูยอดเงินในมือประชาชนคือ พวกพันธบัตรรัฐบาล ก็เพิ่มขึ้นตลอดเวลา
(ยอดธนบัตร มากกว่ายอดเหรียญมีค่า เมื่อเสกกระดาษธรรมเป็นเงินที่มีมูลค่า
นั้นคือเราไว้เนื้อเชื่อใจกับคำว่าเครดิตของประเทศแห่งนั้นๆ)
ต้องดูกันต่อไปว่าเอาไงต่อไป

เพราะต้นทุนของหนี้คือดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยของประเทศคือต้นทุนของประชาชนในประเทศนั้นๆ
ชาติล้มแล้วไซร้ บริษัทหรือธุรกิจในประเทศนั้นก็ไม่เหลือค่าอะไรเลย
:)
:)
DRACKER
Verified User
โพสต์: 8
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 131

โพสต์

yut2504 เขียน:กนง.คงเห็นว่าการลดดบ.ดีระยะสั้นแต่เสียระยะยาว เงินเฟ้อ ฟองสบู่น่ากลัวกว่า
ที่ตลาดหุ้นเราน่าสนใจต่างชาติซื้อต่อเนื่องเพราะการมีวินัยและวิสัยทัศน์ของธปท.
ชอบอันนี้ครับ ในมุมมองผมว่าถ้าลดดอกเบี้ยก็คงทำให้ตลาดหุ้นขึ้นไปอีกครับ แต่ว่า
จะมั่นคงหรือเปล่าไม่รู้ มันก็เหมือนกับที่รัฐบาล กับแบงค์ชาติ แหละครับ
คนหนึ่งมองปัจจุบัน อีกคนมองอนาคต
lukton2000
Verified User
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 132

โพสต์

ผมความรู้น้อยครับ
แต่ที่ผมรู้คือ ผมไว้ใจ BOT มากกว่า นักการเมืองมากๆ ครับ
โดยเฉพาะนโยบายที่มุ่งแต่หาเสียงระยะสั้น โดยไม่คำนึงความเสียหานระยะยาว
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 133

โพสต์

หลายคนมักมีความเชื่อว่า ผู้ว่าธนาคารกลาง นั้น ควรมีอิสระจากการเมือง

ต่างชาติจะให้ความเชื่อมั่นมากกว่า

แต่เราก็เห็นประเทศญี่ปุ่น เมื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่มีนโยบายอัดฉีดสภาพคล่อง เพื่อต้องการดึงอัตราเงินเฟ้อ

หลังจากนั้นไม่นาน ผู้ว่า BOJ ก็ลาออก ตลาดหุ้นญี่ปุ่นขึ้นอย่างมาก ผมไม่เห็นข่าวการตำหนิเรื่องการเมืองแทรกแซงธนาคารกลางซักนิดเลย
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 134

โพสต์

lukton2000 เขียน:ผมความรู้น้อยครับ
แต่ที่ผมรู้คือ ผมไว้ใจ BOT มากกว่า นักการเมืองมากๆ ครับ
โดยเฉพาะนโยบายที่มุ่งแต่หาเสียงระยะสั้น โดยไม่คำนึงความเสียหานระยะยาว
ช่วงวิกฤตปี 40 รัฐบาลชวลิต ถูกโจมตีค่าเงินบาท

รัฐมนตรีคลัง นายกรัฐมนตรี และผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกันออกมายืนยันว่าจะไม่ลดค่าเงินบาท

จะมีแต่ ดร.วีรพงษ์ และ ดร.อัมมาร์ ที่ออกมาให้ลดค่าเงินบาท
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 135

โพสต์

just info..
Key Facts on Central Bank Balance Sheet
in Asia and the Pacific..


http://www.bis.org/publ/bppdf/bispap66c_rh.pdf

ประเด็นคือ
อยากรู้ ว่า balace sheet ของ CB ควร เป็น กี่ % ของ gdp



.
http://globaleconomicanalysis.blogspot. ... sheet.html

รูปภาพ
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 136

โพสต์

Faber also said: "The only thing I know is one day the markets will punish the interventionists, the Keynesians and the monetary policy that the Federal Reserve and ECB has enforced because the markets will be more powerful one day. How will this look like? Will the bond market collapse or equity markets become a bubble, which would be embarrassing for the Fed's sake if the U.S. market became a gigantic bubble and at the same time the economy does not recover."
จาก กูรู marc faber อีกครั้ง
[ur l]http://www.marketoracle.co.uk/Article38686.html [/url]
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 137

โพสต์

กำลังสงสัยว่า
ถ้าเรากลัว บาท แข็ง เร็ว ไป
และ
ด้าน asset of balance sheet
ที่ ถือ เงินทุนสำรอง ที่ให้ ผล ตอบแทน ต่ำ
และ มี ผลทำ ให้ เกิด ขาดทุน สะสม ทางบัญชีิอะไร ซักอย่่าง
สงสัยว่า
แล้ว ถ้า ลด ขนาด balace sheet คือ ลง
จะได้ ผลทั้ง ด้าน บาท อ่อนลง
กับ ขาดทุน น้อยลง หรือไม่ น่าคิด
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 138

โพสต์

BLSH เขียน:ขอแชร์ไอเดียเกี่ยวกับเรื่องการลดดอกเบี้ยนโยบายครับ

ก่อนอื่นต้องบอกว่า "ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ"

การลดดอกเบี้ยนโยบายนั้นเป็นการเพิ่ม money supply ของเงินบาทในระบบเศรษฐกิจ operation นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่ก็จะส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า

ถามง่ายๆว่าทำไม ธปท.ไม่ทำ?

เนื่องจากการเพิ่ม money supply นั้นมี potential downside ต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมในระยะกลาง-ยาวนั่นคือ"เงินเฟ้อนั่นเอง"

ขอบบนของเงินเฟ้อที่เหมาะสมอาจอยู่ที่ 3-4% ส่งผลดีต่อทุกคนในภาพรวม แต่ถ้าการลดดอกเบี้ยเพราะมองแต่มุมมองเรื่อง FX อย่างเดียว ทำให้เงินเฟ้อพุ่งไปแตะ 5-7% ไม่เป็นผลดีต่อระบบโดยรวมแน่นอนเพราะจะส่งผลลบต่อความสามารถในการแข่งขันเพราะค่าแรงต้องปรับขึ้นอีกมากเพื่อ compensate เงินเฟ้อ นอกจากนั้นการที่มี easy money ในระบบจะเป็นตัวเร่งในเกิดการเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆเช่นอสังหาฯ

ถ้าเกิด bubble กับอสังหาเมื่อไหร่ก็พังทั้งระบบอย่างไม่ต้องสงสัย

ดังนั้นการลดดอกเบี้ยโดยหวังเพียงค่าเงินอ่อนนั้นเป็นการมองเพียงชั้นเดียวเท่านั้นครับ สิ่งที่ธปท.ให้ความสนใจคือ stability ในระยะกลาง-ยาวต่างหาก และเราก็ควรเข้าใจและให้กำลังใจธปท.นะครับ

บางท่านอาจบอกว่า advanced economies ไม่ fair ที่ทำ QE เพื่อให้ค่าเงินตัวเองอ่อน

แต่จริงๆแล้ว QE มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มเงินเฟ้อให้ถึงเป้าเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น FED สิ่งที่ Bernanke กลัวที่สุดคือ deflation ดังนั้นเขาต้องทำทุกทางเพื่อ boost เงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไปในตัว

แต่แน่นอนผลข้างเคียงของ money supply จำนวนมหาศาลของเงิน dollar ย่อมส่งผลให้ dollar อ่อนค่าอย่างไม่ต้องสงสัยและสถานการณ์คงยังไม่ดีขึ้นจนกว่าสัญญาณการฟื้นตัวของ advanced economies จะชัดเจนขึ้น และ FED เร่มจะต้อง exit จาก large scale money easing ในครั้งนี้โดยการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกซึ่งคงอีกหลายปีพอดู

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าประเทศไทยซึ่งมีเศรษฐกิจแข็งแรงกว่า ไม่สามารถที่จะลดดอกเบี้ยนโยบายได้เพราะมีความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้ออย่างหนักซึ่งอาจนำไปสู่ bubble ดังนั้นในฐานะ VI เราควรต้องเข้าใจภาพเหล่านี้และเดาได้เลยว่าเงินบาทจะต้องแข็งค่าขึ้นอย่างแน่นอนจะมากหรือน้อยก็อยู่ที่ว่าเงินทุนไหลออกจะมากขนาดไหนเพราะตอนนี้ธปท.ก็พยายาม encourage ให้บริษัทไทยออกไปลงทุนตปท.มากขึ้น

สำหรับ investment theme นั้นแน่นอนลงทุนในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการแข็งค่าคือกลยุทธ์เด่น การฝืนไปยืนอีกฝั่งน่าจะเหนื่อยเกินไปอย่างแน่นอน

สำหรับผู้ประกอบการ จะเอาเรื่องเงินบาทอ่อนค่ามาเป็น competitive advantage เหมือนในอดีตนั้นต้องบอกได้เลยว่าไม่ได้อีกต่อไป คนที่ฉลาดจะต้องปรับตัว ใครที่ไม่ปรับตัวก็คงลำบากแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้

ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวครับ ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยล่วงหน้า
ผมเห็นว่า ปัจจุบัน เงินก็เฟ้อมากอยู่แล้ว ล่าสุดเพื่อนไปซื้อคอนโด สุขุมวิท 23 ตารางเมตรละ 190000 บาท

( ผมว่าตารางเมตรละ 1 แสน ก็แพงโคตรๆแล้ว ) ผมก็คิดว่า เงินมันเฟ้อแล้วหละ

แสดงว่า การคงอัตราดอกเบี้ยสูง ไม่ได้ช่วยลดเงินเฟ้อ

หากคิดว่า ถ้างั้น ยิ่งลดดอกเบี้ย เงินยิ่งเฟ้อซิ

จริงๆเป็นงี้ครับ ถ้าทำสินค้าออกมาแล้วขายได้ กู้แล้วคุ้ม พ่อค้าก็ทำครับ ถ้าทำออกมาแล้วขายไม่ได้ ต่อให้ดอกเบี้ยถูกก็ไม่กู้มาทำครับ

การลดดอกเบี้ย ก็เพื่อ ป้องกันการนำเงินดอลล่า มาฝากเพื่อกินส่วนต่าง

การที่เมกา พิมพ์เงินออกมามากมาย ขนาดนี้ เราไม่เคยเจอ เพราะฉะนั้น ตำราเดิมๆ โยนทิ้งได้เลย

แบงค์ชาติก็เสียหาย ประเทศก็เสียหาย ประชาชนก็เสียหายครับ ถ้ายังคิดแบบเดิมๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 139

โพสต์

เปลี่ยนเรื่อง คุยอสังหาฯดีกว่า

ตามที่พี่เจ๋งว่า พี่มองว่าที่คอนโดฯราคานี้ขายได้ มันเพราะอะไรครับ ราคาอสังหาฯในเมืองหลวงเราจะขยับขึ้นไปแบบเดียวกับในสิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลย์ ใช่มั้ยครับ หรือว่ามันเป็นจุดเริ่มของฟองสบู่
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 140

โพสต์

Global Finance Magazine Grades the World's Top Central Bankers 2012

New York, August 23, 2012 - Global Finance magazine has named the heads of the Central Banks of six countries as the World's Best Central Bankers over the past year.



The "Central Banker Report Card" feature, published annually by Global Finance since 1994, grades Central Bank Governors of 50 key countries (and the ECB) on an "A" to "F" scale for success in areas such as inflation control, economic growth goals, currency stability and interest rate management. ("A" represents an excellent performance down through "F" for outright failure.) Subjective criteria also apply.



Global Finance publisher Joseph Giarraputo says: "During one of the toughest years on record, the World's Central Bankers were tested as never before. Every year, we assess the determination of Central Bankers to stand up to political interference, and their efforts at influencing their governments on such issues as spending and economic openness to foreign investment and financial services. "



Read more: http://www.gfmag.com/tools/best-banks/1 ... z2KTN14xcJ
Under Creative Commons License: Attribution Share Alike
http://www.gfmag.com/tools/best-banks/1 ... z2KTLcxm53

A-rate
รูปภาพ

Asia
รูปภาพ

America
รูปภาพ

Note..2012
A for Taiwan Aus Malaysia
B+ for Thailand
B for US
C- for Japan

..
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 141

โพสต์

Taipei Times
Taiwan : view on the .... challenge
Sun, Feb 03, 2013
http://www.taipeitimes.com/News/editori ... 2003554087
Last year, Global Finance magazine rated Perng among the world’s best central bankers for the eighth straight year. He is the only central banker to have won an “A” rating nine times from the New York-based magazine. However, how much longer will Perng enjoy his top ranking in the world, as he faces more challenges in his next five-year term?

First, as central banks in advanced countries, especially Japan, Europe and the US, have been pursuing aggressive monetary easing to boost their economies, the depreciation pressures on Asian currencies have become a hot issue for many of the region’s export-oriented economies. Perng faces the challenge of trying to adopt balanced policies that can maintain a competitive national currency amid a potential global devaluation race without increasing inflation because of the higher costs of imported goods.

Second, property prices are high in Taiwan, especially in the Greater Taipei area, largely because of the central bank’s low interest rate policy, the government’s reduction of inheritance tax and advanced economies’ quantitative easing measures that have ensured ample market liquidity and indirectly led to an influx of speculative capital into the real-estate sector. This low interest rate environment also constrains the earnings of local financial institutions.

How the central bank can move in a measured way to reverse the low interest rate environment without compromising economic development will be Perng’s second major challenge.
:wink:
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 142

โพสต์

ayethebing เขียน:ผมเห็นว่าการลดดอกเบี้ยนโยบาย ไม่สามารถหยุดการไหลเข้าของเงินทุนได้ และจะทำให้เกิดไปกระตุ้นการใช้จ่ายลงทุนทำให้เศรษฐกิจเพิ่มความร้อนจากที่ค่อนข้างร้อนอยู่แล้วขึ้นไปอีก ด้วยกระแสเงินไหลเข้าจำนวนมากแบบนี้ ลดซัก 0.25 คงไม่ช่วยอะไรแถมยังสร้างผลเสียมากกว่าผลดีนะผมว่า

ผมว่ามันออกจะไม่แฟร์กับคนของแบงก์ชาติถ้าเอาอดีตตอนต้มยำกุ้ง (ซึ่งในขณะนั้นมีการเมืองเข้าแทรกแซงการทำงานของแบงก์ชาติพอสมควร) มาใช้ตราหน้าว่าคนของแบงก์ชาติไม่ฉลาด ไม่มีความสามารถ ขาดคุณธรรมจริยธรรมต่างๆ เหมือนคนเคยตกท่อ พอเค้าเดินมาทีไร อีก 10 ปีให้หลังแล้วคุณก็ยังทำหน้าเหมือนกับว่าเค้าเหม็นซะเต็มประดา

ตอนนั้นที่หม่อมอุ๋ยสกัดค่าเงิน ก็โดนด่า คิดว่าเค้าขาดความสามารถ ขาดคุณธรรมจริยธรรมในการทำครั้งนั้นจริงๆ หรือเปล่า ตอนนั้นเราต้องการป้องกันการไหลเข้าแบบไม่มีการควบคุม เราต้องการสร้างกลไกในการควบคุม ถ้าเรามีกลไกควบคุมตั้งแต่ตอนนั้น ปัญหาที่เงินไหลเข้าและทำให้ค่าเงินเราแข็งอยู่ทุกวันนี้จะมีทางแก้ไข แต่ฝรั่งซึ่งกำหนดชะตาชีวิตของพวกเล่นหุ้นในตลาด ถอนเงินออก เพื่อสร้างแรงกดดันกับ bot ท้ายสุดก็ทนกระแสไม่ไหวก็ต้องยกเลิก สรุปว่าเราแพ้เงินของฝรั่งใช่มั้ยครับเนี่ย ตกลงว่าเราเองที่ไร้จริยธรรม เห็นกับประโยชน์ของตัวเองในตลาดหรือ BOT กันแน่

ความเห็นส่วนตัวเหมือนกัน แค่มองมุมต่าง ไม่ได้หาเรื่องใครนะจ๊ะ :P
หม่อมอุ๋ย สกัดเงินไหลเข้า โดยการประกาศโครมเดียว หุ้นตกเลย

แปลกมาก ทำไมไม่ค่อยๆทำ เช่น กันเงินเป็น % ที่น้อย แล้วค่อยๆเพิ่ม

ทำไมประกาศตูม กันทีเดีวเยอะ เลย นี่หรือคือมีฝีมือ บ้ากันใหญ๋แล้ว

ถ้าเราไม่เรียนรู้ ว่าใครห่วย ใครเก่ง จะมีประชาธิปไตยไว้ทำไมครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1369
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 143

โพสต์

ใครที่คิดว่าธปท.ไม่มีส่วนผิดในวิกฤติ40ลองคิดใหม่นะครับ
สาเหตุของ40หลักๆเลยคือBIBF ซึ่งคือการเปิดเสรีทางการเงิน
แต่การเปิดเสรีทางการเงินต้องมาพร้อมกับการลอยตัวค่าเงินบาท
ผลวิจัยจากธปท.ก็สนับสนุนให้ลอยตัวค่าเงิน
แต่คณะกรรมการธปท.ขณะนั้นกลับเพิกเฉยต่องานวิจัยและสั่งตรึงค่าเงินบาท
ผลทำให้ธุรกิจทั้งหลายต่างกู้เงินทำcarry tradeกันสนุกสนาน จากส่วนต่างดอกเบี้ยเหมือนตอนนี้
และก็เกิดผลอย่างที่รู้กัน แล้วอย่างนี้ยังจะเชื่อมั่นในธปท.ได้หรือ
การเชื่อมั่นในสิ่งใดๆโดยไม่ตรวจสอบ ทำให้ผมนึกถึงนโยบาย
"เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย"จริงๆ นี่เรากำลังอยู่ในยุคคอมมิวนิสรุ่งเรืองรึไง



สถานะการณ์ตอนนี้ไม่ต่างกับ40 แค่เปลี่ยนผู้เล่น แต่คนที่เจ็บคือเรา
การเพิกเฉยของธปท.และคลัง โดยไม่ออกมาตราการอะไรสักอย่าง
เท่ากับส่งเสริมให้เงินไหลเข้ามาปั่นฟองสบู่ขึ้นในบ้านเรา
ทั้งคลังและธปท.ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบ

หลายท่านคิดว่าการลดดอกเบี้ยจะไปปั่นเงินเฟ้อ
ผมมองว่าก็ไปสั่งแบงค์ตั้งสำรองสิ หากกลัวบับเบิลอสังหา
ก็ยังเห็นออกมาตราการLTV10%คอนโดได้ ทั้งที่ก่อนหน้านนี้ก็ไม่มี
ถ้าตอนนี้จะออกLTV20%หรือLTV50%บ้านหลังที่2ไม่ได้เชียวหรือ
ยิ่งเห็นพี่JENGยกตัวอย่างคอนโดตรม.ละ190k ผมว่าเวอร์ไปมั้ง
ห้อง35ตรม.ราคาเกือบ7ล้าน ผมไปหาบ้านมือสองใกล้รถไฟฟ้าขนาด50ตร.วาได้สบายๆ
ตอนนี้ผมว่าเริ่มมีบับเบิลในอสังหาแล้วครับ โดยเฉพาะคอนโด
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
yut2504
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 425
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 144

โพสต์

ดบ.นโยบายควบคุมโดยกนง. BOTมี3เสียงผู้ว่า1รอง2คนนอก4 1ใน4คือเลขาคณะรมต. เวลาประชุมครม.ก็คงนั่งประชุมด้วยกัน

วันประชุมกนง.ล่าสุด9มกรา กรรมการเข้าครบ มติเอกฉันท์คงคบ.
เลขาครม.ยังไม่เห็นด้วยกับรมต. รองผู้ว่าถ้าอยากเป็นผู้ว่าก็ต้องเอาใจรมต. แต่ผมว่าทุกท่านมีวิจารณาน มีศักดิ์ศรี

ประเทศที่กดดบ.ต่ำๆน่าจะมีปัญหาเศรษฐกิจแต่เราไม่มี ผบห.ประเทศกลับพยายามอัดฉีดให้เร่งโต เร่งปั๊มน้ำแรงขึ้นก็มีลมเข้าไปในระบบมากขึ้น เห็นได้ชัดจากการที่SCBประกาศพบแรงเก็งกำไรคอนโดสูงมากจนต้องเข้มงวด นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของเชื้อโรคร้ายในระบบ เหมือนคอมเริ่มติดไวรัสต้องรีบกำจัดกลับไปเพิ่มspeed net

เรื่องค่าเงินผมเห็นว่าน่าจะตั้งกองทุนเข้าไปลงทุนในUSมากๆ คุณพิมพ์เงินมากเอาเข้ามาเก็งกำไรหาประโยชน์จากเรา
เราก็เอาดอลล่ากลับไปซื้อหุ้นหรือกองสาธารณูปโภคในUS เงินบาทแข็งก็ซื้อกองทุนพวกนี้ไว้ เงินบาทอ่อนก็ขายออก ผมก็คิดแบบคนรู้น้อยผิดถูกก็ขออภัยด้วย
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 145

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ยิ่งเห็นพี่JENGยกตัวอย่างคอนโดตรม.ละ190k ผมว่าเวอร์ไปมั้ง
ห้อง35ตรม.ราคาเกือบ7ล้าน ผมไปหาบ้านมือสองใกล้รถไฟฟ้าขนาด50ตร.วาได้สบายๆ
ตอนนี้ผมว่าเริ่มมีบับเบิลในอสังหาแล้วครับ โดยเฉพาะคอนโด
เว้อมากครับ คุณ anubist

เพื่อนซื้อไปแล้ว 60 ตรม. 11.4 ล้าน ซื้อเมื่อวานนี้ วันนี้มีคนมาให้กำไร 1 แสนบาท

เหมือนสมัยปี 2531 เลยครับ ซื้อเพราะเก็งกำไร
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 423
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 146

โพสต์

BOT มี 3คน (รองอีกสองคนก็ต้องคิดเหมือน ผ.ว.ก.)
หาแค่อีกเสียงเดียวก็ชนะแล้ว แต่ประเทศจะเสียหายเท่าไหร่ไม่สน
การคงดอกเบี้ยแปลว่า BOT ยินดีจ่ายดอกเบี้ยให้กับเงินทุกเซ็น
ที่ เอาเข้ามาจาก USA EU Japan
เงินที่จ่ายไม่ใช่เงิน ของ กนง แต่เป็นเงินของชาติ
ถ้ากลัวเงินเฟ้อทำไมไม่เพิ่มสำรองของธนาคารพาณิชย์(ไม่พูดถึงด้วยซ้ำ)
ไม่ฉลาดเลยที่ปล่อยให้เงินไหลเข้ามาเยอะๆ แล้วบอกว่าเราจะเอาไปลงทุนในUSA
ไม่คิดหรือถ้ามันชัวร์แทนที่เงินมันจะไหลเข้าไทยมันก็ไหลเข้าUSAสิ
ถ้าเราเอาเงินพวกนี้ไปลงทุน เราเป็นคนรับความเสี่ยง
พวกฝรั่งมันเอาของชัวร์ 2.75% (ถ้าเยอะก็มหาศาล)
ถ้าเราอวดเก่ง ปล่อยให้เงินไหลเข้าแล้วเราก็เอาเงินที่เขามาฝากไปลงทุน
พอสิ่งที่เราไปลงทุนมันเจ้ง และคนฝากเรียกเงินคืน ship เราก็หายทันที
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 147

โพสต์

http://mcot-web.mcot.net/9ent/site/view ... b86a0000b8
BANGKOK, Feb 5 – The inflow of foreign capital into Thailand has not impacted the country's inflation rate, projected at 2.8 per cent this year, a senior Bank of Thailand (BoT) official said.

Songtum Pinto, director of the Fiscal Policy Office, said foreign capital which has been transferred into Thailand through various channels for profit-taking activities do not significantly impact Thailand's assets value or inflation.

Though inflation is higher, there is no element pushing up inflation, forecast at 2.8 per cent this year, he said.

Inflation in January was 1.59 per cent, lower than the preceding month at 1.78 per cent while inflation in December was 3.39 per cent, lower than the previous month at 3.63 per cent.

“The BoT is closely monitoring the inflow of overseas capitals and ready to take appropriate action, if necessary,” he said.

Mr Songtum said the BoT believes that a country’s policy interest rate is based on the economic situation of the particular country and should not be compared with that of other countries such as the United States, Europe and Japan which impose low interest rates to stimulate their economies.

Their situations are different from Thailand where economic growth is at a satisfactory level and the inflow of foreign capital is unrelated to the low interest rate.

He cited Taiwan which sees an inflow of foreign capital despite its low interest rate. (MCOT online news)
กรณี
taiwan ดบ 1.875

รูปภาพ


..??
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 148

โพสต์

อธิบาย แบบ บ้าน
ผิดถูกขออภัย..

ต่อให้ ดบ. ลดลง ต่ำสุด เท่ากับ develop E..
เงินก็ยังเข้า ครับ..ไม่หยุดครับ

เพราะ
1. มันเป็นน้ำท่วมใหญ่(พิมพ์เงิน QEternity) เงินมันท่วม หาที่กระจายไปทั่วโลก
2. เพราะตราบเท่า
2.1 ประเทศเราและTaiwan มี GDP growth สูงกว่า develop E(เมกา EU japan)
2.2 และมี Trade Balance เป็นบวก
ค่าเงินระยะยาวจะแข็งค่า กว่า เงินของประเทศที่ไม่มี Growth และพิมพ์เงินเพิ่ม และมี Trade balance เป็น ลบ
3. เงินมันไม่ได้ หยุดที่ sovereign bond
3.1 มันเข้ามาไปต่อ ที่ equity market ตลาดหุ้น
ตอนนี้ SET (ดอย 1500 MarketCap 12ล้านล้าน PE ตอนนี้ 19x) bubble ได้อีก...
แต่ถ้า เอา forward GDPของปี 56-57-58 ก็ยัง ดันได้ ยัง
รูปภาพ
3.2 ไป property อย่าที่ คุณ พี่Jeng กรุณาให้ ต.ย. ไปแล้ว

------

แต่ เรากำลัง ถกเถียงกัน แค่ ลด ดบ.
เหมือน สมัย น้ำท่วม ใหญ่ ที่ เถียงกัน เรื่องกัน กระสอบทราย..
สุดท้าย ก็ท่วม อยู่ ดี เพราะ มันไม่ท่วม ธรรมดา....

เฮ้อ thailand only อีกแล้วววว รึเปล่านี่...
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 149

โพสต์

อาซ้อ เจ็ก โทร มา วันก่อน
อาตี้ xx ไป ซื้อ หุ้น ให้กูหน่อย กู ซื้อ ไม่ เป็น เว็ย
เห็น มันขึ้น เอาๆ กูซื่อกองทุน กินดอกเบี้ย แ๘่ง๔ุกchipหาย 2 เปอเซ้นอะ
แล้วกูจะกิน อะไร วะ..
อย่าเลย อาซ้อ อาตี้บอก หุ้นมันขึ้น มา 4ปี แล้ว..มันแพงมากแล้ว
เด๊่ยวก็ขาดทุน หมดหรอก...

ชอบของ
marc faber
อันนี้
http://finance.yahoo.com/news/marc-fabe ... 13232.html
Why in America is it OK to kick savers and retirees in the gut with no interest rates forever and ever? All we want is normalized interest rates to come back!!! We do not want nor ask for special favors, just normal interest rates 4-6% on Savings Accts and CD's.
กับ อันนี้
http://cij.inspiriting.com/?tag=marc-faber&paged=2#
even risk-adverse savers are forced to speculate if they want to preserve the purchasing power of their savings.
เฮ้อ big bubble coming..???
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์ที่ 150

โพสต์

ที่ davos
มี พูดว่า "nobody win in a currency war.."

แนะ !
แต่ มุมอื่นบ้าง
อย่าง บทความ อย่างนี้ ..
เฮดฟัน..เอาไปวิเคราะห์ แล้วก็ น่าจะ
เงิน เข้าอย่างเดียว
ดบ. ไม่สน.หรอก..

http://www.forbes.com/sites/jamesgruber ... ency-wars/
http://asiaconf.com/2013/02/08/who-will ... ency-wars/
Who Will Win The Currency Wars?
Forbes Asia

|James Gruber
2/09/2013 @ 3:22PM
As debate about potential currency wars heats up, commentators including myself have called out the likely losers, the Japanese yen and South Korean won being high on most lists. Much less discussed has been which countries will win from the currency wars. After all, the currency market is a zero-sum game – as one currency declines, another must go up. In this issue, I’m going to suggest that Singapore and to a lesser extent, Thailand and Malaysia, will be Forbes Asia
|
2/09/2013 @ 3:22PM
I quite like the baht as a long-term bet as:

* Thailand is potentially emerging from a long period of stagnation.
* It would be a primary beneficiary of a comeback of neighbouring Myanmar.
* It’s building a low-cost industrial base to match and perhaps beat China.
* The country’s showing clear signs of political maturity given the peaceful transition to the latest government.
:wink:

ผมเติมให้ ข้อนึง
เมื่อวาน วันไหว้ ไปกินข้าว king Power รางน้ำ promo มา3จ่าย2(สมาชิก)
โอโห้ ตรุษจีน มั้ง มีแต่ นักท่อง เที่ยว จีนกลาง..ทั้งงั้น ประมาณ 99% ผมดำ
ผมทอง มี 2 คน ประมาณ 0.1%
แปลว่า เมืองจีน ไม่สน หรอกกำลัง มีเงิน อยากจะใช้จ่าย..
มาไทยนี้ แหละ คุ้มสุดๆแล้ว..
China Passes U.S. to Become World’s Biggest Trading Nation
By Bloomberg News - Feb 10, 2013 5:31 PM
http://www.bloomberg.com/news/2013-02-0 ... ation.html

:'O