อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
- ziannoom
- Verified User
- โพสต์: 1041
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 1
เมื่อก่อนห้องกระทู้คุณค่ามีกระทู้โพยลับ ที่พี่ๆรุ่นเก่าเคยแจ้งนามสกุลต้องห้ามไว้ให้ชนรุ่นหลังระมัดระวัง ไม่ทราบว่าตอนนี้อยู่ไหนครับ ผมหาไม่เจอ ช่วงนี้หุ้นเหล่านี้ออกอาละวาดกันใหญ่ ผมก็คอยเตือนเพื่อนๆเป็นระยะ แต่จะมีใครฟัง หุ้นมันจะขึ้น ประวัติด่างพร้อยขนาดไหนก็ไม่สน ไม่รู้จะทำยังไงดี เลยอยากเอาข้อมูลเก่าๆไปให้เพื่อนดู เผื่อจะเห็นอดีตมันเลวร้ายแค่ไหน
ใครพอหาเจอรบกวนขอlinkด้วยนะครับ
ใครพอหาเจอรบกวนขอlinkด้วยนะครับ
ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ขายเมื่อมูลค่าต่ำกว่าราคา
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 2
พี่เซียนหนุ่มครับ
ผมคิดว่าอตีด ก็คืออดีตนะครับ ควรปล่อยวาง เราไปให้ความสำคัญมากก็ไม่ดี
มันไม่ได้ตัดสินว่า อนาคตจะเกิดขึ้นอีก ผมอยากให้พวกเรามองโลกในแง่บวกนะครับ
ให้โอกาสคนเคยทำผิด เช่นนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัว หลายๆคนก็กลายเป็นคนดีได้ครับ
แต่สำหรับคนไม่ดี เราก็ควรช่วยกันเป็นหูเป็นตา ช่วยให้ข้อมูลเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ พวกเขาจะได้ดำเนินการต่อไปครับ
สำหรับกระทู้นั้นผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ อาจจะตกหล่นไปตอนย้ายเซิร์พเวอร์ก็ได้ครับ
ผมคิดว่าอตีด ก็คืออดีตนะครับ ควรปล่อยวาง เราไปให้ความสำคัญมากก็ไม่ดี
มันไม่ได้ตัดสินว่า อนาคตจะเกิดขึ้นอีก ผมอยากให้พวกเรามองโลกในแง่บวกนะครับ
ให้โอกาสคนเคยทำผิด เช่นนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัว หลายๆคนก็กลายเป็นคนดีได้ครับ
แต่สำหรับคนไม่ดี เราก็ควรช่วยกันเป็นหูเป็นตา ช่วยให้ข้อมูลเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ พวกเขาจะได้ดำเนินการต่อไปครับ
สำหรับกระทู้นั้นผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ อาจจะตกหล่นไปตอนย้ายเซิร์พเวอร์ก็ได้ครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 94
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 3
ผมอยากรู้ด้วยคนครับ
ขอมองต่างจากพี่โดมหน่อยครับ ผมว่าการมีกระทู้ที่คอยเตือนนั้นดีครับ
แน่นอนครับว่าคนเราในอดีต อาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่เค้าก็อาจจะเป็นหมาป่าในคราบลูกแกะในปัจจุบันก็ได้ครับ
ผมว่าการมีกระทู้อย่างนี้ เพื่อทำให้เราๆนักลงทุนระวังตัวครับ ไม่ใช่ให้กลัวครับ
มันเป็นการดีด้วย เพราะถ้าเราระวังตัวมากแต่ ผบห. คนนั้นผ่านมาตรฐานที่เราตั้งไว้
จะได้เป็นการลบภาพแย่ๆของเค้าในอดีตไปด้วยครับ
ขอมองต่างจากพี่โดมหน่อยครับ ผมว่าการมีกระทู้ที่คอยเตือนนั้นดีครับ
แน่นอนครับว่าคนเราในอดีต อาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่เค้าก็อาจจะเป็นหมาป่าในคราบลูกแกะในปัจจุบันก็ได้ครับ
ผมว่าการมีกระทู้อย่างนี้ เพื่อทำให้เราๆนักลงทุนระวังตัวครับ ไม่ใช่ให้กลัวครับ
มันเป็นการดีด้วย เพราะถ้าเราระวังตัวมากแต่ ผบห. คนนั้นผ่านมาตรฐานที่เราตั้งไว้
จะได้เป็นการลบภาพแย่ๆของเค้าในอดีตไปด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 6
ขอเจิม
แต่ชื่อนี้ไม่ต้องบอกคงรู้กัน
แต่ชื่อนี้ไม่ต้องบอกคงรู้กัน
ก.ล.ต.กล่าวโทษ “ฉาย บุนนาค” พร้อมพวก 15 ราย กรณีปั่นหุ้นช่วงปี 51-53
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 พฤษภาคม 2555 17:53 น.
ASTVผู้จัดการรายวัน - ก.ล.ต. กล่าวโทษนายฉาย บุนนาค กับพวก รวม 15 คน ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ 12 หลักทรัพย์ ในช่วงปี 2551-2553
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวโทษ นายฉาย บุนนาค กับพวกรวม 15 ราย ได้แก่ นายปฐมัน บูรณะสิน นายสุพิชยะ ฉายเหมือนวงศ์ น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี น.ส.มัณฑิกา ขุนโหร นายอภินันทกานต์ พงศ์สถาบดี นายมีศักดิ์ มากบำรุง น.ส.ศิริญา ดำรงวิถีธรรม น.ส.ชนาธิป ตันติพูนธรรม นายทรี บุญปราศภัย นายเล็ก ทันใจ นายปัณณฑัต กล่อมสมร นายพาวิตต์ นาถะพินธุ นายเทพฤทธิ์ สีหิสราภิสิทธิ์ และนายไท บุญปราศภัย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 กรณีเป็นผู้สั่งการและผู้สนับสนุนในการสร้างราคาหลักทรัพย์จำนวน 12 หลักทรัพย์ ระหว่างปี 2551-2553
ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า พบสภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผิดปกติจำนวน 12 หลักทรัพย์ จึงได้ทำการตรวจสอบเพิ่มเติมและพบพยานหลักฐานที่น่าเชื่อได้ว่า นายฉาย และพวก ได้สั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลต่างๆ จำนวนมาก โดยมีพฤติกรรมอำพรางในลักษณะการเข้าไปส่งคำสั่งซื้อขายในปริมาณมากหลายระดับราคา มีการครอง bid และ offer ผลักดันราคา จับคู่ซื้อขายกันเองภายในกลุ่ม กระตุ้นการซื้อขายด้วยการทยอยส่งคำสั่งซื้อ หรือเคาะซื้อด้วยจำนวนย่อยๆ ที่ระดับราคาเดียวกันหลายรายการ ตลอดจนพยุงราคาหลักทรัพย์ เพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าหลักทรัพย์นั้นมีการซื้อขายกันมาก หรือราคาเปลี่ยนแปลงไป โดยมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่อง
ส่งผลให้การซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น โดยการกระทำของนายฉายเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243(1) (2) และมาตรา 244 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ส่วนบุคคลอื่นที่เป็นตัวการร่วมหรือผู้สนับสนุนการสร้างราคา เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243(1) (2) และมาตรา 244 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 83 หรือ 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ทั้งนี้ จากพยานหลักฐานพบว่า ในช่วงระหว่างปี 2551-2553 นายฉายได้ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีของตนเอง และบัญชีของบุคคลต่างๆ อันเข้าข่ายการสร้างราคาหลักทรัพย์รวม 12 หลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(1) หุ้นบริษัททรัพย์ศรีไทย คลังสินค้า จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบัน ชื่อบริษัททรัพย์ศรีไทย จำกัด (มหาชน)) (“SST”) ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม 2551 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2552
2) หุ้นบริษัทซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“SSE”) (ปัจจุบัน ชื่อบริษัทอควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2552 ถึงเดือนมิถุนายน 2552 และระหว่างเดือนตุลาคม 2552 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2552
(3) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“SSE-W1”) ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2552 ถึงเดือนมิถุนายน 2552
(4) หุ้นบริษัทไทยบริการอุตสาหกรรมและวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) (“TIES”) ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม 2552
(5) หุ้นบริษัทสตาร์ ซานิทารีแวร์ จำกัด (มหาชน) (“STAR”) ในช่วงเดือนมิถุนายน 2552
(6) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“IRCP-W1”) ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2552 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2552
(7) หุ้นบริษัทไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (“SIMAT”) ในช่วงเดือนมีนาคม 2553
(8) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญบริษัทสตาร์ ซานิทารีแวร์ จำกัด (มหาชน) (“STAR-W”) ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม 2553 ถึงเดือนเมษายน 2553
(9) หุ้นบริษัทอะโกร อินดัสเตรียล แมชชีนเนอรี่ จำกัด (มหาชน) (“AMAC”) (ปัจจุบัน ชื่อบริษัทแมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน 2553 ถึงเดือนพฤษภาคม 2553
(10) หุ้นบริษัทไมด้า-เมดดาลิสท์ เอ็นเธอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (“MME”) ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2553
(11) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญบริษัทไมด้า-เมดดาลิสท์ เอ็นเธอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (“MME-W1”) ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2553 และ
(12)หุ้นบริษัทไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (“L&E”) ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2553
ขณะเดียวกัน ก.ล.ต. มีหลักฐานน่าเชื่อว่า มีบุคคลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ตามรายละเอียด ดังนี้
(1) นายปฐมัน บูรณะสิน ในฐานะมีส่วนรู้เห็นหรือตกลงร่วมกับนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ IRCP-W1, SIMAT, STAR-W, AMAC, MME, MME-W1 และ L&E
(2) นายสุพิชยะ ฉายเหมือนวงศ์ ในฐานะมีส่วนรู้เห็น หรือตกลงร่วมกับนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ SIMAT, STAR-W, AMAC, MME และ MME-W1
(3) นายกมล เอี้ยวศิวิกูล ในฐานะมีส่วนรู้เห็น หรือตกลงร่วมกับนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ SST
(4) น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี (ขณะเกิดเหตุเป็นผู้แนะนำการลงทุน (เจ้าหน้าที่การตลาด) ของบริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน)) ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ SST
(5) น.ส.มัณฑิกา ขุนโหร (ขณะเกิดเหตุเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน)) ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ SST
(6) นายอภินันทกานต์ พงศ์สถาบดี ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ SIMAT, STAR-W, AMAC, MME, MME-W1 และ L&E
(7) นายมีศักดิ์ มากบำรุง ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ SIMAT, STAR-W, AMAC, MME และ MME-W1
(8) น.ส.ศิริญา ดำรงวิถีธรรม ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ SIMAT และ STAR-W
(9) น.ส.ชนาธิป ตันติพูนธรรม ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ SIMAT และ STAR-W
(10) นายทรี บุญปราศภัย ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ MME, MME-W1 และ L&E
(11) นายเล็ก ทันใจ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ MME
(12) นายปัณณฑัต กล่อมสมร ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ L&E
(13) นายพาวิตต์ นาถะพินธุ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ L&E
(14) นายเทพฤทธิ์ สีหิสราภิสิทธิ์ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ L&E และ
(15) นายไท บุญปราศภัย (เจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)) ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนายฉายในการสร้างราคาหลักทรัพย์ SIMAT, STAR-W, AMAC และ L&E
ทั้งนี้ นายกมลได้ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบความผิด โดยคณะกรรมการเปรียบเทียบเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2555 และได้ชำระค่าปรับจำนวน 500,000 บาท ตามคำสั่งของคณะกรรมการเปรียบเทียบครบถ้วนแล้ว จึงทำให้คดีอาญายุติตามนัยมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ เนื่องจากปัจจุบัน น.ส.มัณฑิกา และนายไทได้รับความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุน การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. ดังกล่าวมีผลให้น.ส.มัณฑิกา และนายไทมีลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน 2553 ก.ล.ต. จึงได้เพิกถอนการได้รับความเห็นชอบดังกล่าวด้วย
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 7
จบไม่ลง หรือ จบไปแล้ว ไม่ทราบ
องอาจท้าพิสูจน์ถือ IHLกว่า68%,รายการขายปี52-53จากบางส่วนที่ซื้อเพิ่ม
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 16:54:20 น.
นายองอาจ ดำรงสกุลวงษ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ. อินเตอร์ไฮด์ (IHL) และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เปิดเผยว่า การรายงานการซื้อ-ขายหุ้น IHL ช่วงปี 52-53 รวดเดียวเมื่อวันที่ 7 ม.ค.54 เป็นการรายงานหลังจากเข้าชี้แจงต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)เนื่องจากในช่วงที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือหุ้น IHL ที่ถือครองโดยบุตรสาวและบุตรชายไม่ได้มีการรายงานเป็นระยะ เนื่องจากความเข้าใจผิด
"เราไปให้ปากคำกับ ก.ล.ต.เมื่อปีที่แล้ว และเราไปยอมรับ ...ระหว่างความเป็นผู้ถือหุ้นกับเสนอขาย IPO แล้วเขาขาดทุนเรารับไม่ได้ พอ 4-5 ปีผ่านมา ก็เอามาเป็นของลูกสาวลูกชาย ก็หาว่าผมผิด ....ผมไม่รู้ผมไม่ได้เป็นคนเล่นหุ้น หุ้นผมถือตั้งแต่ต้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างอยู่เท่าเดิม มีเพิ่มเฉพาะชื่อลูกสาวลูกชาย"นายองอาจ กล่าวกับ"อินโฟเควสท์"
นายองอาจ กล่าวว่า หุ้น IHL ที่ได้มีการทำรายการซื้อขายเปลี่ยนมือไปบ้างในช่วงปี 52-53 ไม่ใช่หุ้นดั้งเดิมที่กลุ่มของตนเองถืออยู่ในครั้งแรก เพราะไม่ได้ขายหุ้น IHL ออกมาตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่เป็นหุ้นที่ได้เข้าซื้อเพิ่มในนามบุตรชายบุตรสาวประมาณ 15-16 ล้านหุ้น รวมทั้งการเข้าซื้อหุ้นจากซูมิโตโม 60 ล้านหุ้น ซึ่งประกาศทำเทนเดอร์ก็ไม่ได้หุ้นเพิ่มเข้ามาเมื่อปีที่แล้ว
"ผมยังยืนยันในส่วนที่ผมถืออยู่เดิมยังไม่ได้ขายอะไรไป อยู่ครบทุกหุ้น"นายองอาจ กล่าว
นายองอาจ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ถือหุ้นอยู่ 114,938,930 หุ้น ส่วนภรรยา ชื่อ น.ส.ชุติมา บุษยโภคะ ถืออยู่ 75,595,820 หุ้น ส่วนน.ส. วรรวิศา ดำรงสกุลวงษ์ (บุตรสาว) ถือ 11,318,900 หุ้น และนายวศิน ดำรงสกุลวงศ์ (บุตรชาย) ถือ 4,366,800 หุ้น รวมทั้งหมดครอบครัวนายองอาจถืออยู่ 206,220,450 หุ้น ซึ่งคิดเป็น 68.74% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่มี 300 ล้านหุ้น
นายองอาจ กล่าวว่า เหตุผลที่ให้บุตรชายบุตรสาวเข้าซื้อหุ้น IHL ต่อจากกลุ่มเพื่อน เนื่องจากกลุ่มเพื่อนได้เข้าไปรับซื้อหุ้น IHL ในช่วงแรกเข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 48 แล้วราคาในตลาดด่ำกว่าราคา IPO แต่ทาง ก.ล.ต.พบว่า การใช้ชื่อบุตรชายบุตรสาวถือว่าเป็นบุคคลเดียวกับตน จึงให้รายงานภายหลัง
ทั้งนี้ หลังจากรายงานการซื้อขายหุ้นแล้ว ทางก.ล.ต.ก็ไม่ได้ติดใจอะไรอีก และจากนี้ไปหากมีปัญหาใดจะไปสอบถามหรือปรึกษากับ ก.ล.ต.ทันที
"ผมต้องยอมรับสังคมผมแคบ ผมอยู่เฉพาะในโรงงาน ผมไม่กว้างขวาง และผมก็ไม่รู้ว่าเวบไซด์พันทิพเข้ายังไง แต่เขาด่ากันจนกระทั่งมีเพื่อนผมเขาก็ส่งมาให้ผมดู ผมกล้าให้ตรวจสอบจำนวนถือหุ้นได้"นายองอาจ กล่าวในที่สุด
วันนี้ ราคาหุ้น IHL ปรับตัวลดลงเป็นวันที่ 3 โดยราคาปิดวันนี้ อยู่ที่ 7.60 บาท ลดลง 0.65 บาท (-7.88%) และราคาต่ำสุดที่ 7.00 บาท
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 8
ข่าวอื่นแต่ชื่อเดิมๆ
วิธีการลงทุนที่ หวือหวา กล้าได้กล้าเสีย เป็นคนใจถึง ฝีปากกล้า ทำให้ ฉาย บุนนาค ก้าวขึ้นเป็นนักลงทุนที่มีชื่อเสียงในตลาดหุ้นในเวลาอันรวดเร็ว
เขา เป็นเพื่อนรักต่างวัยกับ “เสี่ยโต้ง” กมล เอี้ยวศิวิกูล เจ้าพ่อไมด้า แอสเซ็ท และมีเพื่อนร่วมก๊วน รัตนพล วงศ์นภาจันทร์ ลูกชายเยาวเรศ ชินวัตร จังหวะก้าวที่หวือหวาทำให้ฉายติดอยู่ในกลุ่มบุคคลที่ถูกตลาดหลักทรัพย์ และก.ล.ต.ติดตามตรวจสอบพฤติกรรมอยู่บ่อยครั้ง
กรณีเข้าซื้อหุ้นโรงพิมพ์ตะวันออก (EPCO) ของ “พ่อ” ยุทธ ชินสุภัคกุล คณะกรรมการตรวจสอบและที่ปรึกษาการเงินอิสระของบริษัทเห็นว่า ผู้ถือหุ้นซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น ไม่ควรอนุมัติให้บริษัทซื้อหุ้น EPCO เนื่องจากต้องใช้เงินซื้อหุ้นและทำ Tender Offer หุ้นทั้งหมดต้องกู้เงินจำนวนมาก จะส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินและสภาพคล่องของ บริษัทอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต
เขาบอกว่า ดีล EPCO คีย์หลักราคา 1.94 บาทสมเหตุสมผลรึเปล่า! ส่วนผู้บริหารเขาจะไปหาเงินมายังไง ก็เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร พอตีเรื่องราคาไม่ได้ก็มาตีเรื่องเงินกู้ ดอกเบี้ย 5% ไม่อยากได้หรอก ผมเอาเปรียบบริษัทหรือเปล่า เงินกู้แม่ 150 ล้านบาท ผมหาผลตอบแทน 5% ได้มากกว่านี้อีก ซื้อหุ้นไม่กี่เดือนก็ได้เกิน 5% แล้ว
ฉายวิจารณ์หน่วยงานตรวจสอบภาครัฐอย่างแรง พร้อมระบุว่าต้องเสียโอกาสขายหุ้น TRUE ราคาถูกออกไปจำนวนมาก (มากกว่า 10 ล้านหุ้น) เพื่อสำรองเงินมาใช้ในดีลซื้อหุ้น EPCO ต้นทุนหุ้น TRUE ที่ซื้อมา 3 บาทปลายๆ มาขายเกือบๆ 5 บาท พอขายปุ๊บ! หุ้นก็วิ่งขึ้นไปเลย
“ตอน 4 บาทก็กล้าๆ กลัวๆ คนที่ลงทุนเยอะมักจะอ่อนไหวยิ่งต้องเตรียมเงินมาใช้ในดีลซื้อ EPCO ใช้เงินเยอะมาก ยืนยันว่าไม่ได้จ่ายแพง ไม่ได้ใช้เงินตัวเองไปซื้อของพ่อ เพราะพ่อก็ไม่ได้ขาย ซื้อจาก บมจ.เอส.แพ็ค แอนด์ พริ้นท์ และกองทุน ผมไม่รู้จะหาดีลดีขนาดนี้ที่ไหนแล้ว ข้อตำหนิเดียวคือ “มันโอเวอร์ไซส์” ถ้ามองในแง่ดีซื้อของคนรู้จักย่อมดีกว่าซื้อของคนไม่รู้จัก พ่อคงไม่เอาของไม่ดีมาขายให้ลูกหรอก”
ฉาย บอกว่า เป้าหมายของซันไชน์ จะเป็น “โฮลดิ้ง คัมปานี” ลงทุนระยะยาวใน EPCO และ บมจ.อควา คอร์เปอเรชั่น และเป็นเวนเจอร์แคปปิตอลคือลงทุนหุ้นที่จะเข้าตลาดด้วย ตอนนี้เงินลงทุนของบริษัทแทบจะไม่มี เพราะต้องเอาทั้งหมดไปใช้ซื้อ EPCO ถ้ามีเงินเหลือก็จะแบ่งมาลงทุนระยะสั้นด้วย เป็นการบาลานซ์ระยะสั้น-กลาง-ยาว ตลาดหุ้นบ้านเราเป็นตลาดเก็งกำไรคงลงทุนระยะสั้น การบริหารพอร์ตมีคนรับผิดชอบ “ผมเป็นแค่ผู้ถือหุ้น”
“หน้าที่บริหารยกให้ “อาเล็ก” ชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ เต็มที่ ผมอยู่ข้างนอกสะดวกและสบายใจกว่า ส่วนคุณกมลก็ยังเป็นที่ปรึกษาที่ดี สำหรับภาพลักษณ์ “หุ้นปั่น-นักปั่นหุ้น” ภาพลักษณ์ที่คนมองมันแก้ไม่ได้แต่มันจะพิสูจน์ด้วยผลประกอบการ”
ส่วนการ “ถอนทุน” จากหุ้น SSE ฉายพูดไม่ชัดบอกว่า ที่ผ่านมาซื้อหุ้นเข้าแทบไม่เคยขายออก มีขายก็ขายนิดๆ หน่อยๆ แต่ก็ซื้อกลับคืนตลอดมีหุ้นเกือบ 200 ล้านหุ้น ต้นทุน 1.80 บาท พอซื้อหุ้นราคา มันก็ลงมาเรื่อยๆ ส่วนตัวไม่เคยคิดว่าขาดทุน ตราบใดที่ยังลงทุนอยู่ และเชื่อว่า SSE จะต้องมีกำไร บริษัทยังมี Tax Shield มีกำไรก็ไม่ต้องจ่ายภาษี
“ผมจะไม่ขายออกจนกว่า SSE จะประสบความสำเร็จจริงๆ ธุรกิจดีขึ้นจริงๆ จนกว่า SSE จะจ่ายเงินปันผลได้แล้ว (ค่อยว่ากัน) ปัจจุบันถือหุ้นอยู่กว่า 30%”
ถามถึงมุมมองต่อตลาดหุ้นในขณะนี้ “เซียนหุ้นรุ่นจูเนียร์” มองว่า ถ้าเงินบาทยังแข็งค่าหุ้นลงก็คงลงไม่เยอะ แต่ส่วนตัวมองราคาหุ้นส่วนใหญ่มัน “โอเวอร์” ไปแล้ว ราคาขึ้นมาเยอะ พี/อีก็ค่อนข้างสูง ตลาดหุ้นปี 2553 กับตลาดหุ้นปี 2546 ต่างกันมากตอนนั้นวอลุ่ม 6-7 หมื่นล้านบาท มีหุ้นไอพีโอเยอะแยะ เดี๋ยวนี้วอลุ่มเต็มที่ 3-4 หมื่นล้านบาท หุ้นไอพีโอราคาก็โอเวอร์หมด (เก็งกำไรไม่คล่อง) ตอนนี้พอร์ตหุ้นมีไม่เยอะ มาร์จินก็ไม่กล้าเล่นเสี่ยงเป็นหนี้เพิ่ม
“ตลาดหุ้นผมว่าไปได้อีกไม่ไกลส่วนใหญ่ราคาแพงแล้วแต่ก็คงลงไม่เยอะ ที่ผ่านมากองทุนขายทุกวัน โดยเฉพาะ กบข.ขายทุกวันๆ ละ 200-300 ล้านบาท”
ฉาย บอกว่า หุ้นที่เล่นเก็งกำไรส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่มี “สตอรี่” ช่วงที่ตลาดพีคๆ ก็เล่น TMB และ TRUE อย่างรอบที่ผ่านมาลงทุนหุ้น TRUE ค่อนข้างมาก “เจ็บใจ” พอขายหมดราคาวิ่งขึ้นไป 6 บาทกว่า หุ้นไซส์ ใหญ่ก็เล่นขอให้มี “สตอรี่-วอลุ่ม” แต่วิธีการลงทุนอาจเข้าออกช้ากว่าเดิม (ซื้อแล้วถือ) ไม่เร่งรีบเหมือนสมัยก่อน ส่วนใหญ่จะดูเทคนิคเป็นหลัก และมองพื้นฐานเป็นส่วนประกอบ
อย่างช่วงนี้หุ้นกลุ่มสื่อสาร “น่าสนใจ” เพียงแต่ตอนนี้แพงไปหน่อย กลุ่มยานยนต์ก็ดี วันนี้ยังยกให้หุ้น IHL โดดเด่นที่สุดในกลุ่ม แต่ขายออกไปหมดแล้วเพราะต้องการใช้เงิน
“ผมรู้จักคุณองอาจ ดำรงสกุลวงษ์ (เจ้าของ IHL) เคยไปขอซื้อบริษัทแก แกเป็นมนุษย์โรงงานตัวจริงลองคิดดูจะมีเจ้าของสักกี่คนที่รู้จักชื่อพนักงาน หมดทุกคน ที่สำคัญเขายังเดินตรวจโรงงานกับภรรยา (ชุติมา บุษยโภคะ) แทบทุกวัน ใจจริงไม่ได้อยากจะขายแต่ช่วงนั้นจำเป็นต้องใช้เงินขายราคา 7-8 บาท ถือว่าขายขาดทุน ติดหุ้น IHL อยู่นานพอเห็นมีสภาพคล่องตกใจ..ขายเลย (หัวเราะ)”
การลงทุนในตลาดหุ้น ฉายบอกว่า ขาดทุนไม่กลัว ซื้อแพงก็ไม่กลัว ขอให้ซื้อแล้วออกของได้เป็นพอ คุณองอาจถามว่าขาย IHL แล้วไม่กลัวซื้อกลับแพงเหรอ..สำหรับผมซื้อแพง “ผมไม่มายด์” กลัวซื้อแล้วขายไม่ได้ (ถูกจับขัง) มากกว่า
“ตอนนี้เล็งๆ อยากซื้อสำนักข่าวออนไลน์ www.efinancethai.com ของคุณศิริธัช โรจนพฤกษ์ เพราะชื่นชอบธุรกิจสื่อที่เกี่ยวข้องกับคอนเทนท์ อย่างตอนนี้ก็ช่วยภรรยาดูเว็บไซต์ springnewstv.com อยากซื้อหุ้นเนชั่นฯ มติชน เหมือนกันแต่กลัวขายไม่ได้”
ฉาย ยังวิจารณ์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ถ้าเปรียบเป็นห้างสรรพสินค้าคงเหมือน “พาต้า ปิ่นเกล้า” (ห้างเก่าแก่ไม่ปรับตัวเอง) อยากให้คนมาซื้อของเยอะๆ แต่ไม่มีการโปรโมท และควรผ่อนกฎเกณฑ์บางอย่างบ้าง ผมซื้อหุ้น SSE แค่ 100,000 หุ้นยังโทร.มาเลย ถ้าดูแลหุ้นราคาไม่ลงอย่างนี้หรอก
ถามเรื่องที่ SSE นำเงินไปลงทุนธุรกิจต่างๆ ที่ไม่เชี่ยวชาญก็คือ “ความเสี่ยง” ตรงนี้ก็ได้รับคำตอบไม่ชัดนัก แต่เขายืนยันว่าตั้งใจจะทำให้ “มันดี” ไม่อยากให้เปรียบเทียบกับกลุ่มไออีซี ไม่ได้ถือหุ้นไขว้กันแล้วบริษัทก็ไม่มีหนี้ และซันไชน์ก็มีธุรกิจหลักชัดเจน เชื่อว่าคุณชวนพิศจะพาบริษัทไปในแนวทางที่ดีได้
“อยากฝากบอกทางการว่าอย่าพยายามดิสเครดิตผมมากนัก” เซียนหุ้นฝีปาก กล้ายังบอกให้โค้ดคำพูดได้ทุกคำ “ผมไม่กลัวหรอก” นี่คือบทพิสูจน์ศรัทธาบนเส้นขนานของ “นักเก็งกำไรตัวพ่อ” เวลาเท่านั้นคือกุญแจไขความจริง
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 9
ข่าว ก.ล.ต.
ฉบับที่ 98/2555
วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2555
ศาลอาญาพิพากษาลงโทษนายสง่า สกุลเอกไพศาล และนางสาวไพลิน กุมุท กรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ FOCUS IFEC และ RCI
ศาลอาญามีคำพิพากษาว่า นายสง่า สกุลเอกไพศาล มีความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 243(1) (2) และ 244 กรณีสร้างราคาหลักทรัพย์บริษัท โฟคัส ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (“FOCUS”) บริษัทอินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน) (“IFEC”) และบริษัทโรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (“RCI”) พิพากษาลงโทษจำคุก 2 ปี และนางสาวไพลิน กุมุท กรณีร่วมกับนายสง่าสร้างราคาหลักทรัพย์ FOCUS พิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือนโดยรอลงอาญา 2 ปี และปรับ 250,000 บาท
เมื่อวานนี้ (31 ตุลาคม 2555) ศาลอาญามีคำพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดกรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ จำนวน 2 ราย เนื่องจากกระทำความผิดมาตรา 243(1) (2) ประกอบมาตรา 244 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้แก่ (1) นายสง่า สกุลเอกไพศาล (หรือ “เฮียตี๋” เดิมชื่อนายจักรชัย หรือนายธน แซ่เจียม) กรณีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีของบุคคลอื่นในลักษณะสร้างราคาหลักทรัพย์ FOCUS ระหว่างวันที่ 24-25 เมษายน 2551 หลักทรัพย์ IFEC เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 และหลักทรัพย์ RCI เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 รวมความผิด 3 กระทง จำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก 3 ปี นอกจากนี้ศาลอาญามีคำพิพากษาลงโทษ
นายสง่ากรณีปลอมลายมือชื่อของบุคคลอื่นในเอกสารการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เพื่อใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ข้างต้น จำคุก 1 ปี รวมความผิดทั้งสองกรณีจำคุก 4 ปี แต่เนื่องจากนายสง่าให้การรับสารภาพจึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 2 ปี (2) นางสาวไพลิน กุมุท กรณีร่วมกับนายสง่ากระทำผิดกรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ FOCUS เป็นความผิด 1 กระทง จำคุก 1 ปี และปรับ 500,000 บาท แต่เนื่องจากนางสาวไพลินให้การรับสารภาพจึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 6 เดือน โดยรอลงอาญา 2 ปี และปรับ 250,000 บาท
ในคดีเดียวกันนี้ ศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องนางสาวนงลักษณ์ สินประเสริฐเลิศ และนายอดิเรก อุ่มบางตลาด ซึ่งในขณะเกิดเหตุเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สาขาชลบุรี และ บล. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในข้อกล่าวหาสนับสนุนนายสง่าในการกระทำความผิดข้างต้น เนื่องจากยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอว่ามีการกระทำอันเป็นการสนับสนุนตามข้อกล่าวหา
คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษนายสง่า กรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ FOCUS IFEC และ RCI รวมทั้งนางสาวนงลักษณ์และนายอดิเรก กรณีให้การช่วยเหลือและสนับสนุนนายสง่า โดยจัดหาบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ และช่วยเหลือในการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยดีเอสไอและพนักงานอัยการคดีพิเศษมีความเห็นสั่งฟ้องบุคคลทั้งสามราย ซึ่งกรณีนายสง่าได้เพิ่มเติมความผิดกรณีปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม เนื่องจากพบพยานหลักฐานว่า นายสง่าได้ปลอมลายมือชื่อของบุคคลอื่นในเอกสารใบคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ บัตรตัวอย่างลายมือชื่อ สัญญาแต่งตั้งตัวแทนและ/หรือนายหน้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ของ บล. ฟาร์อีสท์ จำกัด นอกจากนี้ได้มีความเห็นสั่งฟ้องนางสาวไพลินเพิ่มเติมด้วยเนื่องจากพบพยานหลักฐานว่า นางสาวไพลินได้ร่วมกระทำความผิดกับนายสง่า โดยทำการซื้อขายหลักทรัพย์ FOCUS ในลักษณะการสร้างราคา
การดำเนินคดีนี้เป็นผลสำเร็จเกิดจากการประสานความร่วมมือและปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรเจ้าของสำนวนคดี ได้แก่ พนักงานสอบสวน สำนักคดีการเงินการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ และพนักงานอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด
ฉบับที่ 98/2555
วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2555
ศาลอาญาพิพากษาลงโทษนายสง่า สกุลเอกไพศาล และนางสาวไพลิน กุมุท กรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ FOCUS IFEC และ RCI
ศาลอาญามีคำพิพากษาว่า นายสง่า สกุลเอกไพศาล มีความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 243(1) (2) และ 244 กรณีสร้างราคาหลักทรัพย์บริษัท โฟคัส ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (“FOCUS”) บริษัทอินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน) (“IFEC”) และบริษัทโรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (“RCI”) พิพากษาลงโทษจำคุก 2 ปี และนางสาวไพลิน กุมุท กรณีร่วมกับนายสง่าสร้างราคาหลักทรัพย์ FOCUS พิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือนโดยรอลงอาญา 2 ปี และปรับ 250,000 บาท
เมื่อวานนี้ (31 ตุลาคม 2555) ศาลอาญามีคำพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดกรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ จำนวน 2 ราย เนื่องจากกระทำความผิดมาตรา 243(1) (2) ประกอบมาตรา 244 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้แก่ (1) นายสง่า สกุลเอกไพศาล (หรือ “เฮียตี๋” เดิมชื่อนายจักรชัย หรือนายธน แซ่เจียม) กรณีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีของบุคคลอื่นในลักษณะสร้างราคาหลักทรัพย์ FOCUS ระหว่างวันที่ 24-25 เมษายน 2551 หลักทรัพย์ IFEC เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 และหลักทรัพย์ RCI เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 รวมความผิด 3 กระทง จำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก 3 ปี นอกจากนี้ศาลอาญามีคำพิพากษาลงโทษ
นายสง่ากรณีปลอมลายมือชื่อของบุคคลอื่นในเอกสารการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เพื่อใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ข้างต้น จำคุก 1 ปี รวมความผิดทั้งสองกรณีจำคุก 4 ปี แต่เนื่องจากนายสง่าให้การรับสารภาพจึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 2 ปี (2) นางสาวไพลิน กุมุท กรณีร่วมกับนายสง่ากระทำผิดกรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ FOCUS เป็นความผิด 1 กระทง จำคุก 1 ปี และปรับ 500,000 บาท แต่เนื่องจากนางสาวไพลินให้การรับสารภาพจึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 6 เดือน โดยรอลงอาญา 2 ปี และปรับ 250,000 บาท
ในคดีเดียวกันนี้ ศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องนางสาวนงลักษณ์ สินประเสริฐเลิศ และนายอดิเรก อุ่มบางตลาด ซึ่งในขณะเกิดเหตุเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สาขาชลบุรี และ บล. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในข้อกล่าวหาสนับสนุนนายสง่าในการกระทำความผิดข้างต้น เนื่องจากยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอว่ามีการกระทำอันเป็นการสนับสนุนตามข้อกล่าวหา
คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษนายสง่า กรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ FOCUS IFEC และ RCI รวมทั้งนางสาวนงลักษณ์และนายอดิเรก กรณีให้การช่วยเหลือและสนับสนุนนายสง่า โดยจัดหาบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ และช่วยเหลือในการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยดีเอสไอและพนักงานอัยการคดีพิเศษมีความเห็นสั่งฟ้องบุคคลทั้งสามราย ซึ่งกรณีนายสง่าได้เพิ่มเติมความผิดกรณีปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม เนื่องจากพบพยานหลักฐานว่า นายสง่าได้ปลอมลายมือชื่อของบุคคลอื่นในเอกสารใบคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ บัตรตัวอย่างลายมือชื่อ สัญญาแต่งตั้งตัวแทนและ/หรือนายหน้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ของ บล. ฟาร์อีสท์ จำกัด นอกจากนี้ได้มีความเห็นสั่งฟ้องนางสาวไพลินเพิ่มเติมด้วยเนื่องจากพบพยานหลักฐานว่า นางสาวไพลินได้ร่วมกระทำความผิดกับนายสง่า โดยทำการซื้อขายหลักทรัพย์ FOCUS ในลักษณะการสร้างราคา
การดำเนินคดีนี้เป็นผลสำเร็จเกิดจากการประสานความร่วมมือและปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรเจ้าของสำนวนคดี ได้แก่ พนักงานสอบสวน สำนักคดีการเงินการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ และพนักงานอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 10
ก.ล.ต. เปิดเผยกรณีคณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบนางพิมพา จิวะพรทิพย์ และนายนภดล อารยะกุล กรณีสร้างราคาหุ้นบริษัท สาลี่ อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (SALEE) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5,087,214.99 บาท เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555
สืบเนื่องจาก ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ตรวจสอบพบสภาพการซื้อขายหุ้น SALEE ผิดปกติอันเนื่องมาจากการซื้อขายของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ทำให้ราคาและปริมาณของหุ้น SALEE เปลี่ยนแปลงไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด ซึ่งจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่านางพิมพา ได้รู้เห็นตกลงกับนายนภดล ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนายนภดลและบุคคลอื่น ทำการซื้อขายหุ้น SALEE ระหว่างวันที่
2 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2550 ในลักษณะผลักดันราคา พยุงราคา รวมทั้งจับคู่กันเองระหว่างบัญชี ทำให้ราคาปิดของหุ้น SALEE ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 3.20 บาท ในวันที่ 30 มีนาคม 2550 มาปิดที่ 5.15 บาท ในวันที่ 9 ตุลาคม 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.94 และปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 2.69 ล้านหุ้น เป็น 2.85 ล้านหุ้น หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.95 อันมีลักษณะอำพรางการซื้อขายหุ้น SALEE ของบุคคลที่เป็นกลุ่มเดียวกัน หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดว่าราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงไปอันไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาด รวมทั้งมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่อง ทำให้การซื้อหรือขายหุ้น SALEE ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหุ้นดังกล่าว
การกระทำของนางพิมพาและนายนภดลเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้ปรับนางพิมพาเป็นเงิน 4,587,214.99 บาท และปรับนายนภดลเป็นเงิน 500,000 บาท
สืบเนื่องจาก ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ตรวจสอบพบสภาพการซื้อขายหุ้น SALEE ผิดปกติอันเนื่องมาจากการซื้อขายของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ทำให้ราคาและปริมาณของหุ้น SALEE เปลี่ยนแปลงไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด ซึ่งจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่านางพิมพา ได้รู้เห็นตกลงกับนายนภดล ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนายนภดลและบุคคลอื่น ทำการซื้อขายหุ้น SALEE ระหว่างวันที่
2 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2550 ในลักษณะผลักดันราคา พยุงราคา รวมทั้งจับคู่กันเองระหว่างบัญชี ทำให้ราคาปิดของหุ้น SALEE ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 3.20 บาท ในวันที่ 30 มีนาคม 2550 มาปิดที่ 5.15 บาท ในวันที่ 9 ตุลาคม 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.94 และปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 2.69 ล้านหุ้น เป็น 2.85 ล้านหุ้น หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.95 อันมีลักษณะอำพรางการซื้อขายหุ้น SALEE ของบุคคลที่เป็นกลุ่มเดียวกัน หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดว่าราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงไปอันไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาด รวมทั้งมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่อง ทำให้การซื้อหรือขายหุ้น SALEE ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหุ้นดังกล่าว
การกระทำของนางพิมพาและนายนภดลเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้ปรับนางพิมพาเป็นเงิน 4,587,214.99 บาท และปรับนายนภดลเป็นเงิน 500,000 บาท
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 11
ก.ล.ต.กล่าวโทษ&ปรับอดีตผู้บริหารโบรกฯ ปั่นหุ้น AMC
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กันยายน 2555 17:05 น.
ก.ล.ต. กล่าวโท ษและเปรียบเทียบปรับ “สมชาย ชัยศรีชวาลา-ชนินันท์ เหลืองเวคิน-ธนกร ฤทธิบันลือ” ผู้กระทำผิดกรณีสร้างราคาหุ้น AMC
ก.ล.ต. กล่าวโทษนายสมชาย ชัยศรีชวาลา ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ และเปรียบเทียบปรับ น.ส.ชนินันท์ เหลืองเวคิน และนายธนกร ฤทธิบันลือ เป็นจำนวนเงินรายละ 500,000 บาท ในฐานความผิดกรณีสร้างราคาหุ้นบริษัทเอเซีย เมทัล จำกัด (มหาชน) (AMC)
สืบเนื่องจาก ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ตรวจสอบพบสภาพการซื้อขายที่ผิดปกติของหุ้น AMC และจากการตรวจสอบเพิ่มเติมของ ก.ล.ต. พบพยานหลักฐานน่าเชื่อได้ว่า
(1) ระหว่างวันที่ 13 กันยายน ถึง 16 พฤศจิกายน 2549 นายสมชาย ชัยศรีชวาลา ได้ตกลง หรือรู้เห็นร่วมกับ น.ส.ชนินันท์ เหลืองเวคิน (ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการอาวุโสด้านหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทย จำกัด) ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนายสมชาย และบุคคลหลายรายซื้อขายหุ้น AMC ในลักษณะอำพราง เพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าหุ้นนั้นมีการซื้อขายกันมาก หรือราคาหุ้นนั้นเปลี่ยนแปลงไป และมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่อง อันเป็นผลทำให้การซื้อหรือขายหุ้นนั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหุ้นดังกล่าว
และ (2) ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 19 มกราคม 2550 นายธนกร ฤทธิบันลือ ได้ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลหลายรายซื้อขายหุ้น AMC ในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าหุ้นนั้นมีการซื้อขายกันมาก หรือราคาหุ้นนั้นเปลี่ยนแปลงไป และมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่อง อันเป็นผลทำให้การซื้อหรือขายหุ้นนั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหุ้นดังกล่าว
ก.ล.ต. เห็นว่าการกระทำของนายสมชาย น.ส.ชนินันท์ และนายธนกร เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243 (1) (2) และมาตรา 244 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ซึ่ง ก.ล.ต. ได้ให้โอกาสบุคคลทั้งสามพิจารณาเข้ารับการเปรียบเทียบปรับแล้ว แต่นายสมชายไม่ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบ ก.ล.ต. จึงได้กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2555 ส่วน น.ส.ชนินันท์ และนายธนกรได้ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบจากคณะกรรมการเปรียบเทียบ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555 โดยบุคคลทั้งสองถูกเปรียบเทียบปรับรายละ 500,000 บาท สำหรับในด้านการเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ก.ล.ต. จะได้ดำเนินการกับ น.ส.ชนินันท์ต่อไป
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กันยายน 2555 17:05 น.
ก.ล.ต. กล่าวโท ษและเปรียบเทียบปรับ “สมชาย ชัยศรีชวาลา-ชนินันท์ เหลืองเวคิน-ธนกร ฤทธิบันลือ” ผู้กระทำผิดกรณีสร้างราคาหุ้น AMC
ก.ล.ต. กล่าวโทษนายสมชาย ชัยศรีชวาลา ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ และเปรียบเทียบปรับ น.ส.ชนินันท์ เหลืองเวคิน และนายธนกร ฤทธิบันลือ เป็นจำนวนเงินรายละ 500,000 บาท ในฐานความผิดกรณีสร้างราคาหุ้นบริษัทเอเซีย เมทัล จำกัด (มหาชน) (AMC)
สืบเนื่องจาก ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ตรวจสอบพบสภาพการซื้อขายที่ผิดปกติของหุ้น AMC และจากการตรวจสอบเพิ่มเติมของ ก.ล.ต. พบพยานหลักฐานน่าเชื่อได้ว่า
(1) ระหว่างวันที่ 13 กันยายน ถึง 16 พฤศจิกายน 2549 นายสมชาย ชัยศรีชวาลา ได้ตกลง หรือรู้เห็นร่วมกับ น.ส.ชนินันท์ เหลืองเวคิน (ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการอาวุโสด้านหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทย จำกัด) ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนายสมชาย และบุคคลหลายรายซื้อขายหุ้น AMC ในลักษณะอำพราง เพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าหุ้นนั้นมีการซื้อขายกันมาก หรือราคาหุ้นนั้นเปลี่ยนแปลงไป และมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่อง อันเป็นผลทำให้การซื้อหรือขายหุ้นนั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหุ้นดังกล่าว
และ (2) ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 19 มกราคม 2550 นายธนกร ฤทธิบันลือ ได้ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลหลายรายซื้อขายหุ้น AMC ในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าหุ้นนั้นมีการซื้อขายกันมาก หรือราคาหุ้นนั้นเปลี่ยนแปลงไป และมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่อง อันเป็นผลทำให้การซื้อหรือขายหุ้นนั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหุ้นดังกล่าว
ก.ล.ต. เห็นว่าการกระทำของนายสมชาย น.ส.ชนินันท์ และนายธนกร เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243 (1) (2) และมาตรา 244 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ซึ่ง ก.ล.ต. ได้ให้โอกาสบุคคลทั้งสามพิจารณาเข้ารับการเปรียบเทียบปรับแล้ว แต่นายสมชายไม่ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบ ก.ล.ต. จึงได้กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2555 ส่วน น.ส.ชนินันท์ และนายธนกรได้ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบจากคณะกรรมการเปรียบเทียบ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555 โดยบุคคลทั้งสองถูกเปรียบเทียบปรับรายละ 500,000 บาท สำหรับในด้านการเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ก.ล.ต. จะได้ดำเนินการกับ น.ส.ชนินันท์ต่อไป
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 12
ก.ล.ต. กล่าวโทษ พรเทพ-อารดา ผู้ต้องสงสัยกรณีสร้างราคาหุ้น METRO-TUCC-SECC เพิ่มอีก 5 ราย
ก.ล.ต. กล่าวโทษ พรเทพ-อารดา ผู้ต้องสงสัยกรณีสร้างราคาหุ้น METRO-TUCC-SECC เพิ่มอีก 5 ราย
ก.ล.ต. กล่าวโทษนายพรเทพ ถาวรวิสุทธิกุล และนางสาวอารดา เลิศภิญโญภาพ อดีตผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) และบุคคลอีก 3 ราย ได้แก่ นายประยุทธ์ เลิศภิญโญภาพ นายนฤพล ฉัตรเฉลิมวิทย์ และนางสาวลัดดา พรสุวรรณนภา ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ
สืบเนื่องจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบพยานหลักฐานน่าเชื่อว่านายพรเทพและนางสาวอารดาตกลงหรือร่วมรู้เห็นกับนายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่นสร้างราคาหุ้นบริษัท เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ("METRO") ระหว่างวันที่ 19 กันยายน - 30 พฤศจิกายน 2549 และหุ้นบริษัท ไทยยูนีคคอยล์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ("TUCC") ระหว่างวันที่ 1 - 31 ตุลาคม 2550 และตกลงหรือร่วมรู้เห็นกับนายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน นายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ และนายสมชาย ศรีพยัคฆ์ ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่นสร้างราคาหุ้นบริษัท เอส.อี.ซี ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ("SECC") ระหว่างวันที่ 12 กันยายน - 24 พฤศจิกายน 2551 ในลักษณะอำพราง เพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าหุ้นนั้นมีการซื้อขายกันมาก หรือราคาหุ้นนั้นเปลี่ยนแปลงไป โดยมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่อง อันเป็นผลทำให้การซื้อหรือขายหุ้นนั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหุ้นนั้น รวมทั้งมีการจับคู่ซื้อขายโดยบุคคลที่ได้ประโยชน์เป็นบุคคลเดียวกัน โดยมีนายประยุทธ์ นายนฤพล และนางสาวลัดดาให้ความช่วยเหลือโดยยินยอมให้ใช้บัญชีซื้อขายหุ้นของตนเองเพื่อสร้างราคาหุ้น METRO และ TUCC รวมทั้งนายประยุทธ์และนายนฤพลยังได้ให้ความช่วยเหลือโดยยินยอมให้ใช้บัญชีซื้อขายหุ้นของตนเองเพื่อสร้างราคาหุ้น SECC อีกด้วย
การกระทำของนายพรเทพและนางสาวอารดาเข้าข่ายเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ส่วนการกระทำของนายประยุทธ์ นายนฤพล และนางสาวลัดดา เข้าข่ายเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบุคคลทั้ง 5 ราย ได้แสดงความจำนงเข้ารับการพิจารณาเปรียบเทียบความผิดจากคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ แต่ต่อมาไม่เข้ารับการพิจารณาเปรียบเทียบความผิด ทำให้คดีอาญายังไม่ยุติ ก.ล.ต. จึงต้องกล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษเพิ่มเติมจากที่ได้กล่าวโทษนายสุริยา นายสมพงษ์ และนายสมชาย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษในความผิดดังกล่าวไปก่อนหน้านี้
นายวสันต์ เทียนหอม รองเลขาธิการ ก.ล.ต.กล่าวว่า "คดีนี้เป็นที่น่าเสียใจที่พบว่าบุคลากรระดับผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์มีส่วนร่วมในพฤติกรรมการสร้างราคาหลักทรัพย์ ก.ล.ต. จึงได้บังคับใช้กฎหมายกับบุคคลกลุ่มนี้อย่างเคร่งครัด ซึ่งการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. มีผลให้นายพรเทพและนางสาวอารดาเข้าข่ายมีลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน และเข้าข่ายมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจในการเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตลอดระยะเวลาที่ถูกกล่าวโทษดำเนินคดี นอกจากนี้ เนื่องจากปัจจุบันนางสาวอารดาได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ก.ล.ต. จึงได้เพิกถอนการได้รับความเห็นชอบดังกล่าวด้วย"
ก.ล.ต. กล่าวโทษ พรเทพ-อารดา ผู้ต้องสงสัยกรณีสร้างราคาหุ้น METRO-TUCC-SECC เพิ่มอีก 5 ราย
ก.ล.ต. กล่าวโทษนายพรเทพ ถาวรวิสุทธิกุล และนางสาวอารดา เลิศภิญโญภาพ อดีตผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) และบุคคลอีก 3 ราย ได้แก่ นายประยุทธ์ เลิศภิญโญภาพ นายนฤพล ฉัตรเฉลิมวิทย์ และนางสาวลัดดา พรสุวรรณนภา ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ
สืบเนื่องจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบพยานหลักฐานน่าเชื่อว่านายพรเทพและนางสาวอารดาตกลงหรือร่วมรู้เห็นกับนายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่นสร้างราคาหุ้นบริษัท เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ("METRO") ระหว่างวันที่ 19 กันยายน - 30 พฤศจิกายน 2549 และหุ้นบริษัท ไทยยูนีคคอยล์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ("TUCC") ระหว่างวันที่ 1 - 31 ตุลาคม 2550 และตกลงหรือร่วมรู้เห็นกับนายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน นายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ และนายสมชาย ศรีพยัคฆ์ ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่นสร้างราคาหุ้นบริษัท เอส.อี.ซี ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ("SECC") ระหว่างวันที่ 12 กันยายน - 24 พฤศจิกายน 2551 ในลักษณะอำพราง เพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าหุ้นนั้นมีการซื้อขายกันมาก หรือราคาหุ้นนั้นเปลี่ยนแปลงไป โดยมีพฤติกรรมการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่อง อันเป็นผลทำให้การซื้อหรือขายหุ้นนั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหุ้นนั้น รวมทั้งมีการจับคู่ซื้อขายโดยบุคคลที่ได้ประโยชน์เป็นบุคคลเดียวกัน โดยมีนายประยุทธ์ นายนฤพล และนางสาวลัดดาให้ความช่วยเหลือโดยยินยอมให้ใช้บัญชีซื้อขายหุ้นของตนเองเพื่อสร้างราคาหุ้น METRO และ TUCC รวมทั้งนายประยุทธ์และนายนฤพลยังได้ให้ความช่วยเหลือโดยยินยอมให้ใช้บัญชีซื้อขายหุ้นของตนเองเพื่อสร้างราคาหุ้น SECC อีกด้วย
การกระทำของนายพรเทพและนางสาวอารดาเข้าข่ายเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ส่วนการกระทำของนายประยุทธ์ นายนฤพล และนางสาวลัดดา เข้าข่ายเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบุคคลทั้ง 5 ราย ได้แสดงความจำนงเข้ารับการพิจารณาเปรียบเทียบความผิดจากคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ แต่ต่อมาไม่เข้ารับการพิจารณาเปรียบเทียบความผิด ทำให้คดีอาญายังไม่ยุติ ก.ล.ต. จึงต้องกล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษเพิ่มเติมจากที่ได้กล่าวโทษนายสุริยา นายสมพงษ์ และนายสมชาย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษในความผิดดังกล่าวไปก่อนหน้านี้
นายวสันต์ เทียนหอม รองเลขาธิการ ก.ล.ต.กล่าวว่า "คดีนี้เป็นที่น่าเสียใจที่พบว่าบุคลากรระดับผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์มีส่วนร่วมในพฤติกรรมการสร้างราคาหลักทรัพย์ ก.ล.ต. จึงได้บังคับใช้กฎหมายกับบุคคลกลุ่มนี้อย่างเคร่งครัด ซึ่งการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. มีผลให้นายพรเทพและนางสาวอารดาเข้าข่ายมีลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน และเข้าข่ายมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจในการเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตลอดระยะเวลาที่ถูกกล่าวโทษดำเนินคดี นอกจากนี้ เนื่องจากปัจจุบันนางสาวอารดาได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ก.ล.ต. จึงได้เพิกถอนการได้รับความเห็นชอบดังกล่าวด้วย"
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 13
ขาวสะอาด
ก.ล.ต.เปรียบเทียบปรับกราวรูด โทษฐานสร้างราคาหุ้น "TRAF-SAMART-SIM-SAMTEL-RCL"
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดกรณีสร้างราคาหุ้น 3 กรณี ได้แก่
(1) นางสาวลลนา ศิริจรรยากุล นายสิปปกร ขาวสอาด และนางสาวรินนภา คุณะวัฒน์สถิตย์ กรณีสร้างราคาหุ้น บริษัททราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ( TRAF) (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ( MPIC ) และนางสาวจันทราภา วงศ์ไพบูลย์ ในฐานะผู้ช่วยเหลือสนับสนุน เป็นจำนวนเงินรวม 38,148,857.59 บาท
(2) นางผ่องศรี สลักเพชร และ ม.ล. สุนทรชัย ชยางกูร กรณีสร้างราคาหุ้นของ บริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ( SAMART ) บริษัทสามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ( SIM ) และบริษัทสามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ( SAMTEL ) รวมถึงนายสมชาย วิโมกข์เจริญสุข และนายสมรวย แซ่ลิ้ม ในฐานะผู้ช่วยเหลือสนับสนุน เป็นจำนวนเงินรวม 36 ,605,453.69 บาท และ
(3) นายอดิเรก อุ่มบางตลาด กรณีเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนการสร้างราคาหุ้นบริษัทโรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม จำกัด ( มหาชน ) (RCI) เป็นจำนวนเงิน 333,333.33 บาท
โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) กรณีสร้างราคาหุ้น บริษัททราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (“ TRAF”)
ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ตรวจสอบพบสภาพการซื้อขายหุ้น TRAF ที่ผิดปกติอันเนื่องมาจากการซื้อขายของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่าในระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 9 มกราคม 2551 นางสาวลลนา ศิริจรรยากุล ร่วมกับนายสิปปกร ขาวสอาด ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี จำกัด จัดหาบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อใช้ส่งคำสั่งซื้อขายสร้างราคาหุ้นรวม 3 บัญชี รวมทั้งได้ตกลงรู้เห็นกับนางสาวรินนภา คุณะวัฒน์สถิตย์ ในการใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนางสาวรินนภาในการสร้างราคาหุ้น TRAF ด้วย โดยมีพฤติกรรมสลับกันซื้อขาย ผลักดันราคา จับคู่ซื้อขายกันเอง และแตกคำสั่งย่อยๆ หลายคำสั่ง ในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดเกี่ยวกับปริมาณและราคาซื้อขายหุ้น TRAF รวมทั้งซื้อขายในลักษณะต่อเนื่อง ทำให้การซื้อขายหุ้น TRAF ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อจูงใจให้นักลงทุนอื่นเข้าซื้อขายหุ้นดังกล่าว
ส่วนการซื้อขายในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนางสาวรินนภาได้รับความช่วยเหลือจากนางสาวจันทราภา วงศ์ไพบูลย์ ซึ่งขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี จำกัด เป็นผู้ส่งคำสั่งในลักษณะที่ไม่เหมาะสม
การกระทำของ นางสาวลลนา นายสิปปกร และนางสาวรินนภา เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243 (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับบุคคลทั้งสามเป็นจำนวนเงิน 36 , 815 , 524.26 บาท 500,000 บาท และ 500,000 บาท ตามลำดับ
ส่วนการกระทำของ นางสาวจันทราภา เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243 (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับ นางสาวจันทราภา เป็นเงิน 333,333.33 บาท สำหรับในด้านการเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ก.ล.ต. จะได้ดำเนินการกับนายสิปปกรและนางสาวจันทราภาต่อไป
(2) กรณีสร้างราคาหุ้นของ บริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“ SAMART” ) บริษัทสามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ( “SIM” ) และบริษัทสามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) (“ SAMTEL” )
ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ตรวจสอบพบสภาพการซื้อขายหุ้น SAMART SIM และ SAMTEL ที่ผิดปกติอันเนื่องมาจากการซื้อขายของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่า (1) หุ้น SAMART ระหว่างวันที่ 5 เมษายน 2549 ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2549 (2) หุ้น SIM ระหว่างวันที่ 11 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2549 และ (3) หุ้น SAMTEL ระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2549 ถึงวันที่ 19 กันยายน 2549 มีปริมาณและราคาซื้อขายเปลี่ยนแปลงไปผิดจากสภาพปกติของตลาดเนื่องจาก นางผ่องศรี สลักเพชร ซึ่งรู้เห็นตกลงกับ ม.ล. สุนทรชัย ชยางกูร ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของ ม.ล. สุนทรชัย นายสมชาย วิโมกข์เจริญสุข และนายสมรวย แซ่ลิ้ม ซื้อขายหุ้น SAMART หุ้น SIM และหุ้น SAMTEL ในลักษณะผลักดันราคาและพยุงราคา ซื้อขายจับคู่กันเองระหว่างบัญชีในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดเกี่ยวกับปริมาณและราคาซื้อขายหุ้นดังกล่าว รวมทั้งมี พฤติกรรมซื้อขายในลักษณะต่อเนื่องที่ทำให้การซื้อขายหุ้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าซื้อขายหุ้นเหล่านั้น โดยมีนายสมชาย และนายสมรวย ให้การช่วยเหลือสนับสนุนในการกระทำผิดด้วยการให้ยืมใช้ชื่อในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเงินฝากธนาคาร และอำนวยความสะดวกด้านธุรกรรมทางการเงิน
การกระทำของนางผ่องศรี และ ม.ล. สุนทรชัย เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243 (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับนางผ่องศรี 33,105,45 3 .71 บาท และ ม.ล. สุนทรชัย 1,500,000 บาท ส่วนการกระทำของนายสมชาย และนายสมรวย เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243 (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับนายสมชาย และนายสมรวย รายละ 999,999.99 บาท
(3) กรณีสร้างราคาหุ้นบริษัทโรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม จำกัด ( มหาชน ) (“RCI”)
ตามที่ ก.ล.ต. ได้เปิดเผยข้อมูลเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 ว่า ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษนายอดิเรก อุ่มบางตลาด ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษเนื่องจากนายอดิเรกไม่ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบอันสืบเนื่องมาจากการช่วยเหลือสนับสนุนการกระทำผิดในการสร้างราคาหุ้น RCI เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดตาม มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243 (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ต่อมาภายหลังการกล่าวโทษ กรมสอบสวนคดีพิเศษได้แจ้งมายัง ก.ล.ต. ว่า นายอดิเรกประสงค์จะกลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ก.ล.ต. จึงได้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเปรียบเทียบเพื่อพิจารณา คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาแล้ว มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับนายอดิเรก 333 , 333.33 บาท
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 14
ผมว่าถ้าจะ post ลงเป็นข่าว หรือ official document ดีกว่าครับ หลายๆคนเราคงรู้ๆกัน แต่ถ้าเขียนลอยๆตามข้อสังเกต อาจกลายเป็นกล่าวหา เดี๋ยวซวยกันหมด
value trap
- ziannoom
- Verified User
- โพสต์: 1041
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 15
เห็นด้วยครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ มาเพียบเลยวรันศ์ บัฟเฟต เขียน:ผมว่าถ้าจะ post ลงเป็นข่าว หรือ official document ดีกว่าครับ หลายๆคนเราคงรู้ๆกัน แต่ถ้าเขียนลอยๆตามข้อสังเกต อาจกลายเป็นกล่าวหา เดี๋ยวซวยกันหมด
ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ขายเมื่อมูลค่าต่ำกว่าราคา
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบว่ากระทู้โพยลับหายไปไหนครับ
โพสต์ที่ 16
ีดีครับ เห็นด้วยครับวรันศ์ บัฟเฟต เขียน:ผมว่าถ้าจะ post ลงเป็นข่าว หรือ official document ดีกว่าครับ หลายๆคนเราคงรู้ๆกัน แต่ถ้าเขียนลอยๆตามข้อสังเกต อาจกลายเป็นกล่าวหา เดี๋ยวซวยกันหมด
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"