รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 752
พีทีทีจีซีสยายปีกครอบอาเซียน ผุดปิโตรฯคอมเพล็กซ์รุกอินโด
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, December 05, 2012
พีทีทีจีซี ปูพรมลงทุนขยายตลาดอาเซียน รุกหนักผุดโครงการปิโตรเคมีในจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม หวังขึ้นแท่นผู้นำปิโตรเคมี ล่าสุดลุ้นร่วมทุนเปอร์ตามีนา บริษัทน้ำมันแห่งชาติอินโดนีเซีย ผุดโครงการปิโตร
เคมีคอมเพล็กซ์ มูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ "อนนต์" เผยเป็น 1 ใน 3 บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการตัดสินใจของรัฐบาลอิเหนา คาดรู้ผลสรุปไตรมาส 2 ปีหน้า
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหา ชน) หรือ พีทีทีจีซี เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงทิศทางการลงทุนในต่างประเทศว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างเตรียมแผนขยายการลงทุนออกไปต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน เนื่องจากเชื่อว่าความต้องการใช้ปิโตรเคมียังเติบ โตต่อเนื่อง ขณะเดียวกันบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านปิโตรเคมี ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอยู่แล้ว ดังนั้นการลงทุนในต่างประเทศนับว่าเป็นการขยายโอกาสของบริษัทด้วย
ล่าสุดบริษัทอยู่ระหว่างการพิจาร ณาลงทุนในจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งขั้นตอนส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการเจรจาร่วมทุนกับพันธมิตร โดยในส่วนของจีนบริษัทสนใจลงทุนสายผลิตภัณฑ์ที่มีการเติบโตสูง และเกี่ยวเนื่องกับกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็ก ทรอนิกส์ และก่อสร้าง ส่วนที่เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จะเป็นการลง ทุนในสายผลิตภัณฑ์เคมีพื้นฐาน เพราะพบว่าประเทศเหล่านี้มีความต้องการใช้สูง และยังต้องพึ่งพาการนำเข้า สำหรับวงเงินลงทุนนั้น อยู่ระหว่างการทบทวน จากเดิมที่ตั้งเป้าเงินลงทุน 5 ปี (2555-2559) ไว้ที่ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณ 1.395 แสนล้านบาท โดยจะต้องพิจารณาว่าจะมีการขยับขยายวง เงินลงทุนเพิ่มอีกหรือไม่ เพื่อเปิดโอกาสลงทุนธุรกิจในอาเซียนและภูมิภาคเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการลงทุนในอินโด นีเซียนั้น จากที่รัฐบาลอินโดนีเซียได้ชัก จูงนักลงทุนทั่วโลก เสนอแผนการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ในช่วงที่ผ่านมา ทางพีทีทีจีซี มีความสนใจและได้เสนอแผนลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ครบวงจรทั้งสายการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อาทิ หน่วยผลิตวัตถุดิบ (แนฟทา) จากนั้นจะป้อนโรงงานที่ใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบ และป้อนไปยังสายเคมีต่างๆ ซึ่งจะเป็นโครงการลงทุนแบบครบวงจร โดยได้รับการคัดเลือกจากรัฐ บาลอินโดนีเซีย ให้เป็น 1 ใน 3 ที่ได้รับการคัดเลือกแผนลงทุนดังกล่าวแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของทางการอินโด นีเซีย เพื่อให้เข้าร่วมทุนกับเปอร์ตามีนา ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของอินโดนีเซีย คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในไตรมาส 2 ปีหน้า
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทได้รับการคัดเลือกการเข้าร่วมทุน ทางบริษัทจะต้องนำแผนกลับมาทบทวนร่วมกับเปอร์ตามีนาใหม่ รวมทั้งต้องประเมินมูล ค่าเงินลงทุนโครงการอีกครั้ง จากที่มีการประมาณการว่าจะต้องใช้เงินลงทุนกว่า5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.55 แสนล้านบาท เนื่องจากเม็ดเงินลงทุนที่ประเมินไว้ยังไม่ลงลึกในรายละเอียด และต้องมาดูขนาดของโครงการที่จะต้องมีการปรับแผนใหม่ด้วย
นายอนนต์ กล่าวต่อไปอีกว่า การที่บริษัทสนใจเข้าลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในอินโดนีเซียนั้น เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีจำนวนประชากรที่มากถึง 200 ล้านคน ทำให้อินโดนีเซียมีความต้องการใช้ปิโตรเคมีที่เติบโตสูงต่อเนื่อง ขณะที่กำลังการผลิตในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ดังนั้นการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นการขยายโอกาสลง ทุนของบริษัทในต่างประเทศด้วย ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขยายงานในอนาคต เพราะกว่าโครงการนี้จะก่อสร้างแล้ว เสร็จคาดว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
สำหรับผลการดำเนินงานปีนี้คาดว่ารายได้จะอยู่ที่ 5.64 แสนล้านบาท เพิ่มจากเดิมมีเป้าหมายที่ 4 แสนล้านบาท เนื่องจากการควบรวม ทำให้เกิดประสิทธิ ภาพการผลิต มีการใช้กำลังการผลิตเต็มที่ และตลาดเอเชียเติบโตสูง โดยคาดว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า (ปี 2555-2565) รายได้จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 5% โดยวางเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากสินค้ามูลค่าสูง (High Value Specialty : HVS) เป็น 20% จากปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 5% ของรายได้รวม ซึ่งจะเน้นรองรับอุต สาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอ นิกส์ และธุรกิจก่อสร้างที่มองว่าเป็นอุต สาหกรรมดาวรุ่ง
สอดคล้องกับนายปฏิภาณ สุคนธ- มาน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี พีทีทีจีซี ซึ่งมองว่าการที่บริษัทสนใจลงทุนโครงการปิโตร เคมีคอมเพล็กซ์ในอินโดนีเซีย เนื่องจากมองว่าอินโดนีเซียมีตลาดขนาดใหญ่ และยังเป็นประเทศที่มีธุรกิจซึ่งมีความต้อง การใช้ปิโตรเคมีของบริษัท ปัจจุบันอินโด นีเซียต้องพึ่งพาการนำเข้าปิโตรเคมีจากไทยด้วย นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ยังคงมีความต้องการใช้ปิโตรเคมีจำนวนมาก
นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าความต้องการใช้เม็ดพลาสติกของประ เทศที่กำลังพัฒนามีอัตราเติบโตที่สูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว อาทิ ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกในสหรัฐฯ เติบโตไม่ถึง 1% ต่อปี แต่อินโดนีเซียเติบโตมากกว่า 1.5% ต่อปี ดังนั้นการเข้า ไปลงทุนโครงการดังกล่าว นับว่าเป็นการขยายโอกาสลงทุนของบริษัทด้วย ส่วนเงินลงทุน 5 ปี (2555-2559) ที่ตั้งไว้ที่ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากรอความชัดเจนของการลงทุนในอินโดนีเซียแล้ว คงต้องกลับมาทบทวนอีกครั้ง ซึ่งทิศ ทางการลงทุนของบริษัท ไม่ได้กำหนดว่าสัดส่วนการลงทุนจะต้องอยู่ในต่างประเทศ เท่าไร แต่จะพิจารณาขนาดของตลาด ซึ่งจะต้องมีขนาดใหญ่มากพอที่จะคุ้มค่าต่อการลงทุนด้วย นอกจากนี้บริษัทไม่ได้สนใจลงทุนเพียงอินโดนีเซียเท่านั้น แต่ยังสนใจลงทุนประเทศกลุ่มอาเซียน อาทิ จีน ล่าสุดบริษัทได้ร่วมกับ Sinochem International Corporation ซึ่งเป็นบริษัทเทรดเดอร์รายใหญ่ของจีนเพื่อร่วมกันศึกษาหาโอกาสความร่วมมือในการขยายตลาดและตั้งโรงงานร่วมกันด้วย คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปลายปีนี้
นายทรงกลด วงษ์ไชย ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัสฯ กล่าวว่า กรณีที่พีทีทีจีซี มีการขยายการลงทุนในต่างประ เทศเพิ่มขึ้นนั้น เชื่อว่าจะทำให้ภาพรวมธุรกิจของบริษัทดีขึ้น แต่การลงทุนคงต้อง ใช้ระยะเวลา 4-5 ปี กว่าจะได้ผลรายได้ชัดเจน ซึ่งปัจจุบันก็เป็นเพียงการหารือ ร่วมกับพันธมิตรในการลงทุนเท่านั้น ยังไม่ มีข้อสรุปที่ชัดเจนออกมา อย่างไรก็ตาม มองว่าการลงทุนซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบกับสภาพคล่องของบริษัท อย่างไร ก็ตามการลงทุนจะต้องมีความระมัดระวังเนื่องจากเศรษฐกิจที่ซบเซาและยังไม่ฟื้นตัว ยังทำให้ราคาน้ำมันและปิโตรเคมีไม่ปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งเชื่อว่าความต้องการใช้น้ำมันและปิโตรเคมียังไม่เพิ่มขึ้นมากนัก
ทั้งนี้ การออกไปลงทุนต่างประ เทศ ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เห็นได้จากล่าสุดทางปตท.ออกมาเปิดเผยถึงการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครง การโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีครบวงจร มูลค่ารวมประมาณ 2.87 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 8.8 แสนล้านบาท ในภาคกลางของประเทศเวียดนาม โดยมีกำลังการผลิตถึง 6.6 แสนบาร์เรลต่อวัน และโรงงานปิโตรเคมีผลิต 10.2 ล้านตันต่อปี ซึ่งหากแผนการลงทุนดังกล่าวแล้วเสร็จและส่งมอบให้กับรัฐบาลเวียดนามอนุมัติได้ในเร็วๆ นี้ จะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 6-7 ปี
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 6 - 8 ธ.ค. 2555--
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, December 05, 2012
พีทีทีจีซี ปูพรมลงทุนขยายตลาดอาเซียน รุกหนักผุดโครงการปิโตรเคมีในจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม หวังขึ้นแท่นผู้นำปิโตรเคมี ล่าสุดลุ้นร่วมทุนเปอร์ตามีนา บริษัทน้ำมันแห่งชาติอินโดนีเซีย ผุดโครงการปิโตร
เคมีคอมเพล็กซ์ มูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ "อนนต์" เผยเป็น 1 ใน 3 บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการตัดสินใจของรัฐบาลอิเหนา คาดรู้ผลสรุปไตรมาส 2 ปีหน้า
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหา ชน) หรือ พีทีทีจีซี เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงทิศทางการลงทุนในต่างประเทศว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างเตรียมแผนขยายการลงทุนออกไปต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน เนื่องจากเชื่อว่าความต้องการใช้ปิโตรเคมียังเติบ โตต่อเนื่อง ขณะเดียวกันบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านปิโตรเคมี ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอยู่แล้ว ดังนั้นการลงทุนในต่างประเทศนับว่าเป็นการขยายโอกาสของบริษัทด้วย
ล่าสุดบริษัทอยู่ระหว่างการพิจาร ณาลงทุนในจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งขั้นตอนส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการเจรจาร่วมทุนกับพันธมิตร โดยในส่วนของจีนบริษัทสนใจลงทุนสายผลิตภัณฑ์ที่มีการเติบโตสูง และเกี่ยวเนื่องกับกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็ก ทรอนิกส์ และก่อสร้าง ส่วนที่เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จะเป็นการลง ทุนในสายผลิตภัณฑ์เคมีพื้นฐาน เพราะพบว่าประเทศเหล่านี้มีความต้องการใช้สูง และยังต้องพึ่งพาการนำเข้า สำหรับวงเงินลงทุนนั้น อยู่ระหว่างการทบทวน จากเดิมที่ตั้งเป้าเงินลงทุน 5 ปี (2555-2559) ไว้ที่ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณ 1.395 แสนล้านบาท โดยจะต้องพิจารณาว่าจะมีการขยับขยายวง เงินลงทุนเพิ่มอีกหรือไม่ เพื่อเปิดโอกาสลงทุนธุรกิจในอาเซียนและภูมิภาคเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการลงทุนในอินโด นีเซียนั้น จากที่รัฐบาลอินโดนีเซียได้ชัก จูงนักลงทุนทั่วโลก เสนอแผนการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ในช่วงที่ผ่านมา ทางพีทีทีจีซี มีความสนใจและได้เสนอแผนลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ครบวงจรทั้งสายการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อาทิ หน่วยผลิตวัตถุดิบ (แนฟทา) จากนั้นจะป้อนโรงงานที่ใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบ และป้อนไปยังสายเคมีต่างๆ ซึ่งจะเป็นโครงการลงทุนแบบครบวงจร โดยได้รับการคัดเลือกจากรัฐ บาลอินโดนีเซีย ให้เป็น 1 ใน 3 ที่ได้รับการคัดเลือกแผนลงทุนดังกล่าวแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของทางการอินโด นีเซีย เพื่อให้เข้าร่วมทุนกับเปอร์ตามีนา ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของอินโดนีเซีย คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในไตรมาส 2 ปีหน้า
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทได้รับการคัดเลือกการเข้าร่วมทุน ทางบริษัทจะต้องนำแผนกลับมาทบทวนร่วมกับเปอร์ตามีนาใหม่ รวมทั้งต้องประเมินมูล ค่าเงินลงทุนโครงการอีกครั้ง จากที่มีการประมาณการว่าจะต้องใช้เงินลงทุนกว่า5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.55 แสนล้านบาท เนื่องจากเม็ดเงินลงทุนที่ประเมินไว้ยังไม่ลงลึกในรายละเอียด และต้องมาดูขนาดของโครงการที่จะต้องมีการปรับแผนใหม่ด้วย
นายอนนต์ กล่าวต่อไปอีกว่า การที่บริษัทสนใจเข้าลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในอินโดนีเซียนั้น เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีจำนวนประชากรที่มากถึง 200 ล้านคน ทำให้อินโดนีเซียมีความต้องการใช้ปิโตรเคมีที่เติบโตสูงต่อเนื่อง ขณะที่กำลังการผลิตในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ดังนั้นการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นการขยายโอกาสลง ทุนของบริษัทในต่างประเทศด้วย ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขยายงานในอนาคต เพราะกว่าโครงการนี้จะก่อสร้างแล้ว เสร็จคาดว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
สำหรับผลการดำเนินงานปีนี้คาดว่ารายได้จะอยู่ที่ 5.64 แสนล้านบาท เพิ่มจากเดิมมีเป้าหมายที่ 4 แสนล้านบาท เนื่องจากการควบรวม ทำให้เกิดประสิทธิ ภาพการผลิต มีการใช้กำลังการผลิตเต็มที่ และตลาดเอเชียเติบโตสูง โดยคาดว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า (ปี 2555-2565) รายได้จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 5% โดยวางเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากสินค้ามูลค่าสูง (High Value Specialty : HVS) เป็น 20% จากปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 5% ของรายได้รวม ซึ่งจะเน้นรองรับอุต สาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอ นิกส์ และธุรกิจก่อสร้างที่มองว่าเป็นอุต สาหกรรมดาวรุ่ง
สอดคล้องกับนายปฏิภาณ สุคนธ- มาน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี พีทีทีจีซี ซึ่งมองว่าการที่บริษัทสนใจลงทุนโครงการปิโตร เคมีคอมเพล็กซ์ในอินโดนีเซีย เนื่องจากมองว่าอินโดนีเซียมีตลาดขนาดใหญ่ และยังเป็นประเทศที่มีธุรกิจซึ่งมีความต้อง การใช้ปิโตรเคมีของบริษัท ปัจจุบันอินโด นีเซียต้องพึ่งพาการนำเข้าปิโตรเคมีจากไทยด้วย นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ยังคงมีความต้องการใช้ปิโตรเคมีจำนวนมาก
นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าความต้องการใช้เม็ดพลาสติกของประ เทศที่กำลังพัฒนามีอัตราเติบโตที่สูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว อาทิ ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกในสหรัฐฯ เติบโตไม่ถึง 1% ต่อปี แต่อินโดนีเซียเติบโตมากกว่า 1.5% ต่อปี ดังนั้นการเข้า ไปลงทุนโครงการดังกล่าว นับว่าเป็นการขยายโอกาสลงทุนของบริษัทด้วย ส่วนเงินลงทุน 5 ปี (2555-2559) ที่ตั้งไว้ที่ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากรอความชัดเจนของการลงทุนในอินโดนีเซียแล้ว คงต้องกลับมาทบทวนอีกครั้ง ซึ่งทิศ ทางการลงทุนของบริษัท ไม่ได้กำหนดว่าสัดส่วนการลงทุนจะต้องอยู่ในต่างประเทศ เท่าไร แต่จะพิจารณาขนาดของตลาด ซึ่งจะต้องมีขนาดใหญ่มากพอที่จะคุ้มค่าต่อการลงทุนด้วย นอกจากนี้บริษัทไม่ได้สนใจลงทุนเพียงอินโดนีเซียเท่านั้น แต่ยังสนใจลงทุนประเทศกลุ่มอาเซียน อาทิ จีน ล่าสุดบริษัทได้ร่วมกับ Sinochem International Corporation ซึ่งเป็นบริษัทเทรดเดอร์รายใหญ่ของจีนเพื่อร่วมกันศึกษาหาโอกาสความร่วมมือในการขยายตลาดและตั้งโรงงานร่วมกันด้วย คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปลายปีนี้
นายทรงกลด วงษ์ไชย ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัสฯ กล่าวว่า กรณีที่พีทีทีจีซี มีการขยายการลงทุนในต่างประ เทศเพิ่มขึ้นนั้น เชื่อว่าจะทำให้ภาพรวมธุรกิจของบริษัทดีขึ้น แต่การลงทุนคงต้อง ใช้ระยะเวลา 4-5 ปี กว่าจะได้ผลรายได้ชัดเจน ซึ่งปัจจุบันก็เป็นเพียงการหารือ ร่วมกับพันธมิตรในการลงทุนเท่านั้น ยังไม่ มีข้อสรุปที่ชัดเจนออกมา อย่างไรก็ตาม มองว่าการลงทุนซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบกับสภาพคล่องของบริษัท อย่างไร ก็ตามการลงทุนจะต้องมีความระมัดระวังเนื่องจากเศรษฐกิจที่ซบเซาและยังไม่ฟื้นตัว ยังทำให้ราคาน้ำมันและปิโตรเคมีไม่ปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งเชื่อว่าความต้องการใช้น้ำมันและปิโตรเคมียังไม่เพิ่มขึ้นมากนัก
ทั้งนี้ การออกไปลงทุนต่างประ เทศ ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เห็นได้จากล่าสุดทางปตท.ออกมาเปิดเผยถึงการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครง การโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีครบวงจร มูลค่ารวมประมาณ 2.87 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 8.8 แสนล้านบาท ในภาคกลางของประเทศเวียดนาม โดยมีกำลังการผลิตถึง 6.6 แสนบาร์เรลต่อวัน และโรงงานปิโตรเคมีผลิต 10.2 ล้านตันต่อปี ซึ่งหากแผนการลงทุนดังกล่าวแล้วเสร็จและส่งมอบให้กับรัฐบาลเวียดนามอนุมัติได้ในเร็วๆ นี้ จะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 6-7 ปี
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 6 - 8 ธ.ค. 2555--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 753
ปตท.ลดความเสี่ยงลงทุน ผนึกเพื่อนบ้านลุยอาเซียน
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, December 06, 2012
ปตท. เตรียมจับมือบริษัทพลังงานแห่งชาติต่างชาติขยายลงทุน ลดความเสี่ยง เล็งเจรจา ปิโตรนาส-เปอร์ตามินา หวังสร้างบริษัทพลังงานกลุ่มอาเซียน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท. พร้อมที่จะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทพลังงานแห่งชาติของแต่ละประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มปิโตรนาส ของมาเลเซีย และ เปอร์ตามินา ของอินโดนีเซีย เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนของกลุ่มปตท.
ทั้งนี้ โอกาสในการเข้าไปขยายการลงทุนของกลุ่มประเทศอาเซียน ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จะมีเพิ่มขึ้นในพม่า ที่จะเน้นการสำรวจในพื้นที่ทะเลลึกมากขึ้น และการลงทุนในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทยกัมพูชา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการเจรจาของรัฐบาล ในขณะที่การลงทุนในส่วนของโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ก็จะดูถึงความเป็นไปได้ใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ พม่า ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก
นายไพรินทร์ กล่าวว่า ภาพลักษณ์ของกลุ่ม ปตท. เป็นที่เชื่อถือ และได้รับการยอมรับจากบริษัทพลังงานในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน ซึ่งในกลุ่มอาเซียน บริษัทที่อยู่ในระดับนำก็คือปิโตรนาส และ ปตท. ซึ่งต่างก็เป็นทั้งคู่แข่ง และพันธมิตรทางธุรกิจ แต่จะยิ่งมีความร่วมมือกันมากขึ้นในอนาคตเมื่อรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี
การลงทุนในอาเซียน จะเป็นลักษณะการจับมือกับพันธมิตรที่เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติในอาเซียนด้วยกัน อย่างเช่น การลงทุนที่พม่า ซึ่งรัฐบาลเชื่อฝีมือเรามาก เพราะเราขุดสำรวจแล้วเจอปิโตรเลียมบ่อย จึงให้โอกาสเราได้รับสัมปทานในหลายพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม คล้ายธุรกิจประกันภัยที่จะไม่มีใครรับความเสี่ยงเอาไว้คนเดียว เพราะต้นทุนในการขุดเจาะสำรวจแต่ละหลุมเจาะต้องใช้เงินจำนวนมาก ตั้งแต่ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และถ้าเจาะแล้วไม่เจออะไรก็คือทิ้งเงินไปเลย ดังนั้น ความร่วมมือกับบริษัทพลังงานแห่งชาติในอาเซียนด้วยกัน หรือบริษัทพลังงานที่มีศักยภาพอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ปตท. เราไม่ต้องการที่จะเติบโตไปคนเดียวในภูมิภาคนี้ ต้องกระจายความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด
การลงทุนในอินโดนีเซียกำลังเจรจากับทางบริษัท เปอร์ตามินา ที่เคยเป็นรัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซีย แต่มีการขายทรัพย์สิน แปรรูปออกไป เพื่อลดบทบาทของตัวเองลงก่อนหน้านี้ ก็กำลังอยู่ในระหว่างการกลับมาฟื้นการลงทุนของตัวเองให้กลับมามีบทบาทในลักษณะเดียวกับโมเดลของไทยและมาเลเซีย ที่จะเป็นผู้ลงทุนเองและเป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากรเอง ซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปก็จะมีการลงทุนในส่วนของโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ร่วมกัน
ด้าน นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการบริษัท ปตท. โกลบอล เคมิคอล จำกัด มหาชน (PTTGC) กล่าวว่า บริษัทวางเป้าหมายที่จะเติบโตเป็นสองเท่า ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว คือ การขยายการลงทุนเรื่องของโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี ออกไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน
การขยายการลงทุนไปในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีฐานทรัพยากรและตลาดรองรับ จะเป็นการลดความเสี่ยงทางธุรกิจปิโตรเคมีในประเทศ ที่ในระยะยาวก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยซึ่งเป็นฐานวัตถุดิบที่สำคัญ จะลดปริมาณลง จึงจำเป็นต้องไปสร้างการเติบโตที่นอกประเทศ
เท่าที่มองเห็นศักยภาพของประเทศ ที่จะเกิดโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ได้ในอาเซียน ก็จะมีที่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ พม่า ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่า การขยายการลงทุนที่มาเลเซียน่าจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าประเทศอื่น รองลงมา คือ อินโดนีเซีย ที่มีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานมากกว่า พม่า ในขณะที่ เวียดนาม ยังไม่ยืนยันว่า กลุ่ม ปตท. จะเข้าไปลงทุนสร้างโรงกลั่นและปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ที่นั่น
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, December 06, 2012
ปตท. เตรียมจับมือบริษัทพลังงานแห่งชาติต่างชาติขยายลงทุน ลดความเสี่ยง เล็งเจรจา ปิโตรนาส-เปอร์ตามินา หวังสร้างบริษัทพลังงานกลุ่มอาเซียน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท. พร้อมที่จะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทพลังงานแห่งชาติของแต่ละประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มปิโตรนาส ของมาเลเซีย และ เปอร์ตามินา ของอินโดนีเซีย เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนของกลุ่มปตท.
ทั้งนี้ โอกาสในการเข้าไปขยายการลงทุนของกลุ่มประเทศอาเซียน ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จะมีเพิ่มขึ้นในพม่า ที่จะเน้นการสำรวจในพื้นที่ทะเลลึกมากขึ้น และการลงทุนในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทยกัมพูชา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการเจรจาของรัฐบาล ในขณะที่การลงทุนในส่วนของโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ก็จะดูถึงความเป็นไปได้ใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ พม่า ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก
นายไพรินทร์ กล่าวว่า ภาพลักษณ์ของกลุ่ม ปตท. เป็นที่เชื่อถือ และได้รับการยอมรับจากบริษัทพลังงานในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน ซึ่งในกลุ่มอาเซียน บริษัทที่อยู่ในระดับนำก็คือปิโตรนาส และ ปตท. ซึ่งต่างก็เป็นทั้งคู่แข่ง และพันธมิตรทางธุรกิจ แต่จะยิ่งมีความร่วมมือกันมากขึ้นในอนาคตเมื่อรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี
การลงทุนในอาเซียน จะเป็นลักษณะการจับมือกับพันธมิตรที่เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติในอาเซียนด้วยกัน อย่างเช่น การลงทุนที่พม่า ซึ่งรัฐบาลเชื่อฝีมือเรามาก เพราะเราขุดสำรวจแล้วเจอปิโตรเลียมบ่อย จึงให้โอกาสเราได้รับสัมปทานในหลายพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม คล้ายธุรกิจประกันภัยที่จะไม่มีใครรับความเสี่ยงเอาไว้คนเดียว เพราะต้นทุนในการขุดเจาะสำรวจแต่ละหลุมเจาะต้องใช้เงินจำนวนมาก ตั้งแต่ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และถ้าเจาะแล้วไม่เจออะไรก็คือทิ้งเงินไปเลย ดังนั้น ความร่วมมือกับบริษัทพลังงานแห่งชาติในอาเซียนด้วยกัน หรือบริษัทพลังงานที่มีศักยภาพอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ปตท. เราไม่ต้องการที่จะเติบโตไปคนเดียวในภูมิภาคนี้ ต้องกระจายความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด
การลงทุนในอินโดนีเซียกำลังเจรจากับทางบริษัท เปอร์ตามินา ที่เคยเป็นรัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซีย แต่มีการขายทรัพย์สิน แปรรูปออกไป เพื่อลดบทบาทของตัวเองลงก่อนหน้านี้ ก็กำลังอยู่ในระหว่างการกลับมาฟื้นการลงทุนของตัวเองให้กลับมามีบทบาทในลักษณะเดียวกับโมเดลของไทยและมาเลเซีย ที่จะเป็นผู้ลงทุนเองและเป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากรเอง ซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปก็จะมีการลงทุนในส่วนของโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ร่วมกัน
ด้าน นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการบริษัท ปตท. โกลบอล เคมิคอล จำกัด มหาชน (PTTGC) กล่าวว่า บริษัทวางเป้าหมายที่จะเติบโตเป็นสองเท่า ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว คือ การขยายการลงทุนเรื่องของโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี ออกไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน
การขยายการลงทุนไปในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีฐานทรัพยากรและตลาดรองรับ จะเป็นการลดความเสี่ยงทางธุรกิจปิโตรเคมีในประเทศ ที่ในระยะยาวก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยซึ่งเป็นฐานวัตถุดิบที่สำคัญ จะลดปริมาณลง จึงจำเป็นต้องไปสร้างการเติบโตที่นอกประเทศ
เท่าที่มองเห็นศักยภาพของประเทศ ที่จะเกิดโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ได้ในอาเซียน ก็จะมีที่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ พม่า ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่า การขยายการลงทุนที่มาเลเซียน่าจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าประเทศอื่น รองลงมา คือ อินโดนีเซีย ที่มีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานมากกว่า พม่า ในขณะที่ เวียดนาม ยังไม่ยืนยันว่า กลุ่ม ปตท. จะเข้าไปลงทุนสร้างโรงกลั่นและปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ที่นั่น
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 754
'สมุย-พะงัน'วุ่นไฟฟ้าดับทั้งเกาะ
Source - ข่าวสด (Th), Thursday, December 06, 2012
จากกรณีเคเบิลส่งไฟฟ้าที่จ่ายไฟให้กับเกาะสมุยและเกาะพะงัน แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ เกิดชำรุดเสียหาย ตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา จนทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย สั่งการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดส่งรถผลิตกระแสไฟฟ้า รถไฟฟ้าส่องสว่าง พร้อมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สนับสนุนการแก้ปัญหาและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ประสบปัญหากระแสไฟฟ้าดับโดยด่วนแล้ว
ที่ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ ผวจ.สุราษฎร์ธานี และนายศักดา นาวารัตน์ รองผอ.กองบริการลูกค้า กฟภ.เขต 2 ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช ร่วมแถลงข่าว โดยนายศักดากล่าวว่า สาเหตุไฟฟ้าลัดวงจรเกิดจากโรงไฟฟ้าที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (แอคโก้) หยุดปรับปรุงระบบจ่ายไฟเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร จนไฟดับทั้งเกาะสมุยและเกาะพะงัน ซึ่งมีปริมาณใช้กระแสไฟฟ้า 90 เมกะวัตต์ต่อวัน
"จากการส่งทีมช่าง กฟภ.จากกรุงเทพฯ เข้าตรวจสอบสายเคเบิลไฟฟ้าใต้ดินบนเกาะสมุยระยะทาง 30 กิโลเมตร พบว่าสายเคเบิลไฟฟ้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 250 มิลลิเมตร ตรงจุดต่อสายบ้านพังงา ต.ตลิ่งงาม เกิดไฟรั่วลัดวงจร กฟภ.จึงส่งผู้เชี่ยวชาญของส่วนกลางที่ทำงานอยู่ จ.เชียงราย ลงมาเกาะสมุยโดยด่วน ซึ่งจะเดินทางมาถึงในเวลา 15.00 น. และจะดำเนินการซ่อมแซมทันที คาดว่าใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมงในการดำเนินการ หากไม่มีปัญหาอะไรจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ภายในเวลา 23.00 น. ของวันที่ 5 ธ.ค.นี้" นายศักดากล่าว
นายศักดากล่าวและว่า การแก้ปัญหาในขณะนี้ระบบไฟฟ้า 33 เควี ที่มีอยู่ จ่ายกระแสไฟได้ 15 เมกะวัตต์ จะจ่ายหมุนเวียน 2 ชั่วโมงต่อพื้นที่ โดยจ่ายได้เพียง 1 ใน 5 ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้ง 2 เกาะเท่านั้น นอกจากนี้ยังส่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ไปสำรองไว้ที่โรงพยาบาลเกาะสมุย พร้อมมีการระดมรถปั่นไฟชุดแรก 4-5 คัน ลงไปปั่นจ่ายไฟพื้นที่เกาะสมุยและเกาะพะงันแล้ว
นายฉัตรป้องกล่าวว่า มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นวันหยุด โดยนักท่องเที่ยวบนเกาะสมุย ในช่วงวันหยุดประมาณ 20,000 คน เดินทางออกจากเกาะไปแล้วเหลือประมาณ 1,000 คนเท่านั้น ส่วนเกาะเต่าไม่มีผลกระทบเพราะมีไฟฟ้าใช้เอง
"ขณะนี้สั่งการด่วนไปยังคลังน้ำมันบริษัท ปตท.สุราษฎร์ธานี ให้ระดมส่งรถบรรทุกน้ำมันลงไปที่เกาะสมุยและเกาะพะงัน เนื่องจากสถานประกอบโรงแรมรีสอร์ตระดับ 3 ดาวลงมา ไม่มีเครื่องปั่นไฟ และน้ำมันบนเกาะเริ่มขาดแคลนและมีการกักตุนขึ้น" นายฉัตรป้องกล่าว
เวลา 11.00 น. นายฉัตรป้องเดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพภาคที่ 4 ลงพื้นที่จุดต่อสายบ้านพังกา ต.ตลิ่งงาม เพื่อติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าตัดสายเคเบิลเพื่อเปลี่ยนจุดรอยต่อใหม่ คาดจะเสร็จสิ้นภายในคืนวันที่ 5 ธ.ค. ทั้งนี้จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งศูนย์ส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง ที่เทศบาลนครสมุย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นด้วย
--จบ--
Source - ข่าวสด (Th), Thursday, December 06, 2012
จากกรณีเคเบิลส่งไฟฟ้าที่จ่ายไฟให้กับเกาะสมุยและเกาะพะงัน แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ เกิดชำรุดเสียหาย ตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา จนทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย สั่งการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดส่งรถผลิตกระแสไฟฟ้า รถไฟฟ้าส่องสว่าง พร้อมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สนับสนุนการแก้ปัญหาและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ประสบปัญหากระแสไฟฟ้าดับโดยด่วนแล้ว
ที่ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ ผวจ.สุราษฎร์ธานี และนายศักดา นาวารัตน์ รองผอ.กองบริการลูกค้า กฟภ.เขต 2 ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช ร่วมแถลงข่าว โดยนายศักดากล่าวว่า สาเหตุไฟฟ้าลัดวงจรเกิดจากโรงไฟฟ้าที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (แอคโก้) หยุดปรับปรุงระบบจ่ายไฟเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร จนไฟดับทั้งเกาะสมุยและเกาะพะงัน ซึ่งมีปริมาณใช้กระแสไฟฟ้า 90 เมกะวัตต์ต่อวัน
"จากการส่งทีมช่าง กฟภ.จากกรุงเทพฯ เข้าตรวจสอบสายเคเบิลไฟฟ้าใต้ดินบนเกาะสมุยระยะทาง 30 กิโลเมตร พบว่าสายเคเบิลไฟฟ้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 250 มิลลิเมตร ตรงจุดต่อสายบ้านพังงา ต.ตลิ่งงาม เกิดไฟรั่วลัดวงจร กฟภ.จึงส่งผู้เชี่ยวชาญของส่วนกลางที่ทำงานอยู่ จ.เชียงราย ลงมาเกาะสมุยโดยด่วน ซึ่งจะเดินทางมาถึงในเวลา 15.00 น. และจะดำเนินการซ่อมแซมทันที คาดว่าใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมงในการดำเนินการ หากไม่มีปัญหาอะไรจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ภายในเวลา 23.00 น. ของวันที่ 5 ธ.ค.นี้" นายศักดากล่าว
นายศักดากล่าวและว่า การแก้ปัญหาในขณะนี้ระบบไฟฟ้า 33 เควี ที่มีอยู่ จ่ายกระแสไฟได้ 15 เมกะวัตต์ จะจ่ายหมุนเวียน 2 ชั่วโมงต่อพื้นที่ โดยจ่ายได้เพียง 1 ใน 5 ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้ง 2 เกาะเท่านั้น นอกจากนี้ยังส่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ไปสำรองไว้ที่โรงพยาบาลเกาะสมุย พร้อมมีการระดมรถปั่นไฟชุดแรก 4-5 คัน ลงไปปั่นจ่ายไฟพื้นที่เกาะสมุยและเกาะพะงันแล้ว
นายฉัตรป้องกล่าวว่า มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นวันหยุด โดยนักท่องเที่ยวบนเกาะสมุย ในช่วงวันหยุดประมาณ 20,000 คน เดินทางออกจากเกาะไปแล้วเหลือประมาณ 1,000 คนเท่านั้น ส่วนเกาะเต่าไม่มีผลกระทบเพราะมีไฟฟ้าใช้เอง
"ขณะนี้สั่งการด่วนไปยังคลังน้ำมันบริษัท ปตท.สุราษฎร์ธานี ให้ระดมส่งรถบรรทุกน้ำมันลงไปที่เกาะสมุยและเกาะพะงัน เนื่องจากสถานประกอบโรงแรมรีสอร์ตระดับ 3 ดาวลงมา ไม่มีเครื่องปั่นไฟ และน้ำมันบนเกาะเริ่มขาดแคลนและมีการกักตุนขึ้น" นายฉัตรป้องกล่าว
เวลา 11.00 น. นายฉัตรป้องเดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพภาคที่ 4 ลงพื้นที่จุดต่อสายบ้านพังกา ต.ตลิ่งงาม เพื่อติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าตัดสายเคเบิลเพื่อเปลี่ยนจุดรอยต่อใหม่ คาดจะเสร็จสิ้นภายในคืนวันที่ 5 ธ.ค. ทั้งนี้จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งศูนย์ส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง ที่เทศบาลนครสมุย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นด้วย
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 755
คอลัมน์: idea: 'เขียว'ถอดรหัสผลิต
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, December 06, 2012
จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา
ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เครื่องหมายการันตีเครื่องใช้ไฟฟ้า อาจไม่เพียงพอสำหรับการค้าในตลาดสีเขียว เมื่อผู้บริโภคตั้งคำถามถึงที่มาของกระบวนการผลิตและคาร์บอนฟุตพริ้นต์ โจทย์ใหม่ที่ผู้ผลิตต้องหาคำตอบ
แรงกดดันดังกล่าวกลายเป็นมาตรการใหม่ที่เริ่มเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ในฐานะศูนย์กลางการผลิตสินค้าต้นน้ำ สิ่งที่ประเทศคู่ค้าถามหาไม่ใช่แค่คุณภาพและราคาที่ต่ำกว่า แต่เป็นวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ หรือ Life Cycle Assessment (LCA) สินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเท่าไหร่ ความไว้วางใจเพิ่มขึ้นเท่านั้น
"ประเทศไทยเริ่มได้รับอิทธิพลจากเรื่องนี้พอสมควร สินค้าที่บ่งบอกที่มาของการปลดปล่อยพลังงานเริ่มมีวางขาย ในขณะที่ต่างประเทศการติดฉลากคาร์บอนเป็นเรื่องปกติ" พร้อมพร อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้จัดการส่วนบริหารคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด บริษัทในกลุ่ม ปตท.ดำเนินธุรกิจสายปิโตรเคมี
"พีทีที ฟีนอล" หนึ่งในบริษัทน้องใหม่ที่บุกเบิกตลาดเขียว โดยมีรอยเท้าคาร์บอน หรือคาร์บอนฟุตพริ้นต์ เป็นรายแรกของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
:ใบเบิกทางสู่ตลาดสีเขียว
พร้อมพร กล่าวว่า แม้บริษัทจะพึ่งเริ่มดำเนินกิจการมาเพียง 8 ปี และแจ้งเกิดในตลาดได้ไม่ถึง 3 ปี แต่การมีฐานข้อมูลที่ดีพอจะกลายเป็นข้อได้เปรียบ สามารถแข่งขันกับคู่แข่งดำเนินธุรกิจมายาวนาน และมีประสบการณ์มากกว่าได้ เพียงแค่กล้าตัดสินใจเริ่มก่อน"การทำคาร์บอนฟุตพริ้นต์สำหรับธุรกิจต้นน้ำยังเป็นเรื่องใหม่ แต่สิ่งที่ธุรกิจต้องเผชิญ คือการถูกตั้งคำถามถึงที่มาของสินค้า วัตถุดิบที่ใช้ ตลอดจนกระบวนการผลิตที่ต้องบอกได้ว่ามีค่าการปลดปล่อย Co2 สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในปริมาณเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับบริษัทคู่แข่ง" พร้อมพรกล่าว และมองว่า สิ่งเหล่านี้เริ่มกลายเป็นกลไกตลาด ที่เมื่อผู้ผลิตรายหนึ่งทำได้ ผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็ควรที่จะทำได้เช่นกัน
"มาตรการที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่ใช่การกีดกันทางการค้า แต่เป็นการตัดสินใจเลือกผู้ผลิตที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม เพราะตราบใดที่บริษัทไม่มีข้อมูลให้กับลูกค้า ผลลัพธ์คือการเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลกลางที่มีอยู่ ซึ่งไม่ตรงกับการผลิตจริง ต่อให้กระบวนการผลิตดีแค่ไหนแต่ถ้าไม่มีข้อมูลที่ยืนยันได้ก็ไร้ประโยชน์" ผู้บริหารบริษัท พีทีที ฟีนอลให้มุมมอง
พีทีที ฟีนนอล เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของการโพลีคาร์บอเนต ส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ประเภทพลาสติก ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กนิกส์ อย่างโทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงครอบไฟหน้าของรถยนต์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมกรรมปลายน้ำที่มุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และต้องการแจกแจงข้อมูลด้านบวกไว้บนฉลากสินค้า
"กว่าจะมาเป็นสินค้าตัวนี้ใช้พลังงานไปเท่าไหร่ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากน้อยแค่ไหน ข้อมูลทั้งหมดนี้จะปรากฏอยู่บนฉลากคาร์บอน แสดงวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคทราบ" เขาอธิบาย
นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้บริษัทเริ่มต้นเก็บข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของกระบวนการผลิตอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับมาตรฐานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และมาตรฐาน ISO51000 โดยเชื่อมโยงฐานข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อตอบคำถามทุกมาตรฐานทั้งที่มีอยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันลูกค้าทั้งจากประเทศจีนและยุโรป ต่างต้องการทราบข้อมูลในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต
:จากต้นน้ำสู่ต้นแบบ
พีทีที ฟีนนอลได้พัฒนาระบบการเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีประสบการณ์ด้านทำคาร์บอนฟุตพริ้นต์ ซึ่งต้องยอมรับว่ากระบวนการผลิตฟีนอล มีการใช้พลังงานมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ไอน้ำ ไฟฟ้า มากกว่าพลังงานจากภาคการขนส่ง เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น
แต่ข้อดีของการทำคาร์บอนฟุตพริ้นต์องค์กรคือ ทำให้ทราบถึงข้อมูลที่แท้จริง และนำไปสู่การออกแบบควบคุมอัตราการปล่อย Co2 ให้อยู่ในเกณฑ์ แม้จะเพิ่มกำลังการผลิต อีกทั้งมีแผนการลดสัดส่วนการใช้พลังงานให้ได้ 5% ใน 5 ปี จากปัจจุบันที่มีการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการผลิตสูงถึง 4 แสนกิโลวัตต์
จากความพยายามสู่ความสำเร็จ เมื่อแนวทางการทำงานของ พีทีที ฟีนอล จะได้รับการถ่ายทอดในฐานะต้นแบบความสำเร็จให้โรงงานอื่นได้เรียนรู้และพัฒนาระบบเป็นของตัวเองต่อไป
--จบ--
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, December 06, 2012
จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา
ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เครื่องหมายการันตีเครื่องใช้ไฟฟ้า อาจไม่เพียงพอสำหรับการค้าในตลาดสีเขียว เมื่อผู้บริโภคตั้งคำถามถึงที่มาของกระบวนการผลิตและคาร์บอนฟุตพริ้นต์ โจทย์ใหม่ที่ผู้ผลิตต้องหาคำตอบ
แรงกดดันดังกล่าวกลายเป็นมาตรการใหม่ที่เริ่มเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ในฐานะศูนย์กลางการผลิตสินค้าต้นน้ำ สิ่งที่ประเทศคู่ค้าถามหาไม่ใช่แค่คุณภาพและราคาที่ต่ำกว่า แต่เป็นวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ หรือ Life Cycle Assessment (LCA) สินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเท่าไหร่ ความไว้วางใจเพิ่มขึ้นเท่านั้น
"ประเทศไทยเริ่มได้รับอิทธิพลจากเรื่องนี้พอสมควร สินค้าที่บ่งบอกที่มาของการปลดปล่อยพลังงานเริ่มมีวางขาย ในขณะที่ต่างประเทศการติดฉลากคาร์บอนเป็นเรื่องปกติ" พร้อมพร อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้จัดการส่วนบริหารคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด บริษัทในกลุ่ม ปตท.ดำเนินธุรกิจสายปิโตรเคมี
"พีทีที ฟีนอล" หนึ่งในบริษัทน้องใหม่ที่บุกเบิกตลาดเขียว โดยมีรอยเท้าคาร์บอน หรือคาร์บอนฟุตพริ้นต์ เป็นรายแรกของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
:ใบเบิกทางสู่ตลาดสีเขียว
พร้อมพร กล่าวว่า แม้บริษัทจะพึ่งเริ่มดำเนินกิจการมาเพียง 8 ปี และแจ้งเกิดในตลาดได้ไม่ถึง 3 ปี แต่การมีฐานข้อมูลที่ดีพอจะกลายเป็นข้อได้เปรียบ สามารถแข่งขันกับคู่แข่งดำเนินธุรกิจมายาวนาน และมีประสบการณ์มากกว่าได้ เพียงแค่กล้าตัดสินใจเริ่มก่อน"การทำคาร์บอนฟุตพริ้นต์สำหรับธุรกิจต้นน้ำยังเป็นเรื่องใหม่ แต่สิ่งที่ธุรกิจต้องเผชิญ คือการถูกตั้งคำถามถึงที่มาของสินค้า วัตถุดิบที่ใช้ ตลอดจนกระบวนการผลิตที่ต้องบอกได้ว่ามีค่าการปลดปล่อย Co2 สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในปริมาณเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับบริษัทคู่แข่ง" พร้อมพรกล่าว และมองว่า สิ่งเหล่านี้เริ่มกลายเป็นกลไกตลาด ที่เมื่อผู้ผลิตรายหนึ่งทำได้ ผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็ควรที่จะทำได้เช่นกัน
"มาตรการที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่ใช่การกีดกันทางการค้า แต่เป็นการตัดสินใจเลือกผู้ผลิตที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม เพราะตราบใดที่บริษัทไม่มีข้อมูลให้กับลูกค้า ผลลัพธ์คือการเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลกลางที่มีอยู่ ซึ่งไม่ตรงกับการผลิตจริง ต่อให้กระบวนการผลิตดีแค่ไหนแต่ถ้าไม่มีข้อมูลที่ยืนยันได้ก็ไร้ประโยชน์" ผู้บริหารบริษัท พีทีที ฟีนอลให้มุมมอง
พีทีที ฟีนนอล เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของการโพลีคาร์บอเนต ส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ประเภทพลาสติก ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กนิกส์ อย่างโทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงครอบไฟหน้าของรถยนต์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมกรรมปลายน้ำที่มุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และต้องการแจกแจงข้อมูลด้านบวกไว้บนฉลากสินค้า
"กว่าจะมาเป็นสินค้าตัวนี้ใช้พลังงานไปเท่าไหร่ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากน้อยแค่ไหน ข้อมูลทั้งหมดนี้จะปรากฏอยู่บนฉลากคาร์บอน แสดงวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคทราบ" เขาอธิบาย
นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้บริษัทเริ่มต้นเก็บข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของกระบวนการผลิตอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับมาตรฐานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และมาตรฐาน ISO51000 โดยเชื่อมโยงฐานข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อตอบคำถามทุกมาตรฐานทั้งที่มีอยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันลูกค้าทั้งจากประเทศจีนและยุโรป ต่างต้องการทราบข้อมูลในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต
:จากต้นน้ำสู่ต้นแบบ
พีทีที ฟีนนอลได้พัฒนาระบบการเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีประสบการณ์ด้านทำคาร์บอนฟุตพริ้นต์ ซึ่งต้องยอมรับว่ากระบวนการผลิตฟีนอล มีการใช้พลังงานมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ไอน้ำ ไฟฟ้า มากกว่าพลังงานจากภาคการขนส่ง เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น
แต่ข้อดีของการทำคาร์บอนฟุตพริ้นต์องค์กรคือ ทำให้ทราบถึงข้อมูลที่แท้จริง และนำไปสู่การออกแบบควบคุมอัตราการปล่อย Co2 ให้อยู่ในเกณฑ์ แม้จะเพิ่มกำลังการผลิต อีกทั้งมีแผนการลดสัดส่วนการใช้พลังงานให้ได้ 5% ใน 5 ปี จากปัจจุบันที่มีการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการผลิตสูงถึง 4 แสนกิโลวัตต์
จากความพยายามสู่ความสำเร็จ เมื่อแนวทางการทำงานของ พีทีที ฟีนอล จะได้รับการถ่ายทอดในฐานะต้นแบบความสำเร็จให้โรงงานอื่นได้เรียนรู้และพัฒนาระบบเป็นของตัวเองต่อไป
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 756
PTTEPเพิ่มทุนฉลุย!
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, December 06, 2012
รายย่อยจองซื้อทะลัก
:กองทุนรอรับเดินหน้าใช้สิทธิ์วันนี้ท่วมท้น
"ปตท.สผ." จ่อขายหุ้นเพิ่มทุนหมดเกลี้ยง หลังรายย่อยจองซื้อทะลักตั้งแต่วันแรก ฟากวงการลั่นจับตากลุ่มสถาบันและกองทุนโถมเข้าจองซื้อวันสุดท้ายภายในเที่ยงวันที่ 6 ธ.ค.นี้ หนุนแผนระดมทุน 3,000 ล้านเหรียญสำเร็จตามเป้าหมาย
แหล่งข่าวจากธนาคาร เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เข้ามาอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยที่เข้ามาใช้สิทธิกันเป็นจำนวนมากไปตั้งแต่ช่วงเริ่มเปิดจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนงวดวันที่ 3 ธ.ค. ต่อเนื่องมาถึงวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา
ส่วนความเคลื่อนไหวของกลุ่มสถาบันและกลุ่มกองทุนจะเตรียมเข้ามาใช้สิทธิในช่วงวันสุดท้ายตามที่ PTTEP ได้ประกาศไว้ในงวดวันที่ 6 ธ.ค. 2555 เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การเข้าจองซื้อในวันสุดท้ายไม่ใช่ประเด็นน่ากังวล เพราะถือเป็นเรื่องปกติและเป็นลักษณะการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของทางกลุ่มสถาบันและกองทุนอยู่แล้ว
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ PTTEP จะสามารถขายหุ้นเพิ่มทุนได้ครบตามประกาศไว้ 650 ล้านหุ้น และสามารถระดมเงินทุนจำนวน 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะหลังจากที่ PTTEP ได้ไปโรดโชว์พบกับทางนักลงทุนต่างประเทศหลายแห่งในช่วงผ่านมา ส่วนใหญ่ต่างล้วนให้ความสนใจเป็นอย่างดีและแสดงเจตจำนงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการเงินทุนอีกราย กล่าวว่า สำหรับการขายหุ้นเพิ่มทุนของ PTTEP จะมีโอกาสประสบความสำเร็จและขายหุ้นเพิ่มทุนได้หมดอย่างแน่นอน เพราะถึงแม้ทางผู้ถือหุ้นเดิมบางส่วนจะไม่ได้ใช้สิทธิ แต่จะมีการนำสิทธิดังกล่าวไปจัดสรรให้กับกลุ่มสถาบันในประเทศแทน
ดังนั้น กลุ่มสถาบันในประเทศที่จะได้รับสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้จะมีอยู่ 2 กลุ่ม ส่วนแรกคือ กลุ่มสถาบันที่มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นเดิมอยู่แล้วและใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน ส่วนที่สองเป็นสถาบันกลุ่มใหม่ที่ได้รับสิทธิ ด้านสาเหตุที่ PTTEP กำหนดกรอบเวลากระบวนการเพิ่มทุนไว้เพียงแค่ช่วงระยะสั้น เพราะต้องการให้ขั้นตอนทั้งหมดจบลงอย่างรวดเร็ว และลดความเสี่ยงจากผลกระทบของภาวะตลาดหุ้น
ทั้งนี้ PTTEP ได้เคยประกาศในช่วงกลางเดือนพ.ย.ที่ผ่านมาว่า ทางผู้ถือหุ้นเองสามารถเข้าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินจำนวนสิทธิ์ได้ และในกรณีที่ไม่มีหุ้นสามัญเพิ่มทุนเหลือจากการจัดสรรให้แก่ผู้จองซื้อหุ้น ได้กำหนดให้วันที่ 14 ธ.ค. 55 จะเป็นช่วงที่หุ้นเพิ่มทุนเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แต่ถ้ามีหุ้นสามัญเพิ่มทุนเหลือจากการจัดสรรให้กับผู้จองซื้อจะเปลี่ยนเข้าจดทะเบียนในวันที่ 19 ธ.ค.นี้แทน
สำหรับราคาหุ้นเพิ่มทุนได้กำหนดไว้ที่ระดับ 142 บาท โดยอัตราส่วนการจัดสรรหุ้นสามัญเดิมต่อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ คือ 1 หุ้นสามัญเดิมต่อ 0.195783 หุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ และเปิดจองซื้อไปตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.จนถึงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 6 ธ.ค.นี้ และประกาศผลการจัดสรรตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 2555
ส่วนกรณีผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้รับหนังสือยืนยันสิทธิในการจองซื้อหุ้น ยังคงสามารถจองซื้อได้ตามปกติ โดยให้นักลงทุนดำเนินการดังนี้ 1.ติดต่อ Call Center แผนกนักลงทุนสัมพันธ์ของปตท.สผ. โทร. 0-2537-4000 เพื่อตรวจสอบหมายเลขประจำตัวผู้ถือหุ้น รวมถึงจำนวนหุ้นที่ถือและสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญใหม่ 2.นำบัตรประจำตัวประชาชนไปติดต่อที่ตัวแทนจำหน่ายหุ้นทั้ง 4 แห่ง ซึ่งได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ (ยกเว้นสาขาไมโคร) ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ทั้งสำนักงานใหญ่และสาขาทั่วประเทศเพื่อขอทราบรายละเอียด
: พบน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในหลุม MAS-1
ด้านนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTEP เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางบริษัทขอรายงานผลการเจาะหลุมสำรวจ Mouia Aissa-1 (MAS-1) ซึ่งเป็นหลุมสำรวจหลุมที่ 6 ของบริษัทและผู้ร่วมทุนในแปลงฮาสสิ เบอร์ ราเคซ โดยบริษัทได้ดำเนินการเจาะถึงระดับความลึกสุดท้ายที่ 3,844 เมตร เมื่อช่วงวันที่ 11 พ.ย. 2555 และพบกับชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม
โดยจากการทดสอบอัตราการไหลด้วยเทคนิค Drill Stem Test (DST) ได้พบว่า มีอัตราการไหลของน้ำมันดิบประมาณ 5,243 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยแผนการเจาะสำรวจในระยะแรกของแปลงฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ประกอบด้วยหลุมสำรวจทั้งหมด 9 หลุม ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการเจาะสำรวจไปแล้ว 6 หลุม พบน้ำมันดิบหและก๊าซธรรมชาติจำนวน 5 หลุม
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, December 06, 2012
รายย่อยจองซื้อทะลัก
:กองทุนรอรับเดินหน้าใช้สิทธิ์วันนี้ท่วมท้น
"ปตท.สผ." จ่อขายหุ้นเพิ่มทุนหมดเกลี้ยง หลังรายย่อยจองซื้อทะลักตั้งแต่วันแรก ฟากวงการลั่นจับตากลุ่มสถาบันและกองทุนโถมเข้าจองซื้อวันสุดท้ายภายในเที่ยงวันที่ 6 ธ.ค.นี้ หนุนแผนระดมทุน 3,000 ล้านเหรียญสำเร็จตามเป้าหมาย
แหล่งข่าวจากธนาคาร เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เข้ามาอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยที่เข้ามาใช้สิทธิกันเป็นจำนวนมากไปตั้งแต่ช่วงเริ่มเปิดจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนงวดวันที่ 3 ธ.ค. ต่อเนื่องมาถึงวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา
ส่วนความเคลื่อนไหวของกลุ่มสถาบันและกลุ่มกองทุนจะเตรียมเข้ามาใช้สิทธิในช่วงวันสุดท้ายตามที่ PTTEP ได้ประกาศไว้ในงวดวันที่ 6 ธ.ค. 2555 เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การเข้าจองซื้อในวันสุดท้ายไม่ใช่ประเด็นน่ากังวล เพราะถือเป็นเรื่องปกติและเป็นลักษณะการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของทางกลุ่มสถาบันและกองทุนอยู่แล้ว
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ PTTEP จะสามารถขายหุ้นเพิ่มทุนได้ครบตามประกาศไว้ 650 ล้านหุ้น และสามารถระดมเงินทุนจำนวน 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะหลังจากที่ PTTEP ได้ไปโรดโชว์พบกับทางนักลงทุนต่างประเทศหลายแห่งในช่วงผ่านมา ส่วนใหญ่ต่างล้วนให้ความสนใจเป็นอย่างดีและแสดงเจตจำนงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการเงินทุนอีกราย กล่าวว่า สำหรับการขายหุ้นเพิ่มทุนของ PTTEP จะมีโอกาสประสบความสำเร็จและขายหุ้นเพิ่มทุนได้หมดอย่างแน่นอน เพราะถึงแม้ทางผู้ถือหุ้นเดิมบางส่วนจะไม่ได้ใช้สิทธิ แต่จะมีการนำสิทธิดังกล่าวไปจัดสรรให้กับกลุ่มสถาบันในประเทศแทน
ดังนั้น กลุ่มสถาบันในประเทศที่จะได้รับสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้จะมีอยู่ 2 กลุ่ม ส่วนแรกคือ กลุ่มสถาบันที่มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นเดิมอยู่แล้วและใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน ส่วนที่สองเป็นสถาบันกลุ่มใหม่ที่ได้รับสิทธิ ด้านสาเหตุที่ PTTEP กำหนดกรอบเวลากระบวนการเพิ่มทุนไว้เพียงแค่ช่วงระยะสั้น เพราะต้องการให้ขั้นตอนทั้งหมดจบลงอย่างรวดเร็ว และลดความเสี่ยงจากผลกระทบของภาวะตลาดหุ้น
ทั้งนี้ PTTEP ได้เคยประกาศในช่วงกลางเดือนพ.ย.ที่ผ่านมาว่า ทางผู้ถือหุ้นเองสามารถเข้าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินจำนวนสิทธิ์ได้ และในกรณีที่ไม่มีหุ้นสามัญเพิ่มทุนเหลือจากการจัดสรรให้แก่ผู้จองซื้อหุ้น ได้กำหนดให้วันที่ 14 ธ.ค. 55 จะเป็นช่วงที่หุ้นเพิ่มทุนเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แต่ถ้ามีหุ้นสามัญเพิ่มทุนเหลือจากการจัดสรรให้กับผู้จองซื้อจะเปลี่ยนเข้าจดทะเบียนในวันที่ 19 ธ.ค.นี้แทน
สำหรับราคาหุ้นเพิ่มทุนได้กำหนดไว้ที่ระดับ 142 บาท โดยอัตราส่วนการจัดสรรหุ้นสามัญเดิมต่อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ คือ 1 หุ้นสามัญเดิมต่อ 0.195783 หุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ และเปิดจองซื้อไปตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.จนถึงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 6 ธ.ค.นี้ และประกาศผลการจัดสรรตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 2555
ส่วนกรณีผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้รับหนังสือยืนยันสิทธิในการจองซื้อหุ้น ยังคงสามารถจองซื้อได้ตามปกติ โดยให้นักลงทุนดำเนินการดังนี้ 1.ติดต่อ Call Center แผนกนักลงทุนสัมพันธ์ของปตท.สผ. โทร. 0-2537-4000 เพื่อตรวจสอบหมายเลขประจำตัวผู้ถือหุ้น รวมถึงจำนวนหุ้นที่ถือและสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญใหม่ 2.นำบัตรประจำตัวประชาชนไปติดต่อที่ตัวแทนจำหน่ายหุ้นทั้ง 4 แห่ง ซึ่งได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ (ยกเว้นสาขาไมโคร) ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ทั้งสำนักงานใหญ่และสาขาทั่วประเทศเพื่อขอทราบรายละเอียด
: พบน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในหลุม MAS-1
ด้านนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTEP เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางบริษัทขอรายงานผลการเจาะหลุมสำรวจ Mouia Aissa-1 (MAS-1) ซึ่งเป็นหลุมสำรวจหลุมที่ 6 ของบริษัทและผู้ร่วมทุนในแปลงฮาสสิ เบอร์ ราเคซ โดยบริษัทได้ดำเนินการเจาะถึงระดับความลึกสุดท้ายที่ 3,844 เมตร เมื่อช่วงวันที่ 11 พ.ย. 2555 และพบกับชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม
โดยจากการทดสอบอัตราการไหลด้วยเทคนิค Drill Stem Test (DST) ได้พบว่า มีอัตราการไหลของน้ำมันดิบประมาณ 5,243 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยแผนการเจาะสำรวจในระยะแรกของแปลงฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ประกอบด้วยหลุมสำรวจทั้งหมด 9 หลุม ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการเจาะสำรวจไปแล้ว 6 หลุม พบน้ำมันดิบหและก๊าซธรรมชาติจำนวน 5 หลุม
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 757
เทคโนโลยีใหม่DF-PCCI ทางเลือกในการใช้ก๊าซธรรมชาติ ร่วมกับดีเซลสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, December 06, 2012
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาสำคัญในศตวรรษนี้ที่ทุกประเทศ ทั่วโลกตระหนักถึงและต้องร่วมกันแก้ไข คงหนีไม่พ้นเรื่อง "วิกฤตพลังงานและสภาวะโลกร้อน" จากทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่อย่างจำกัด และเริ่มลดน้อยถอยลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิจัยนำพลังงานมาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และที่สำคัญต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่มีศักยภาพในการใช้งานของภาคการขนส่งเพิ่มขึ้น ทั้งในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และ รถบรรทุกขนาดใหญ่ โดยแบ่งการใช้งานได้เป็นสองกลุ่ม คือ 1) การใช้งานในกลุ่มเครื่องยนต์ชนิดจุดระเบิดด้วยหัวเทียน หรือ Spark Ignition (SI) ในเครื่องยนต์เบนซิน และ 2) การใช้งานในเครื่องยนต์ชนิดจุดระเบิดด้วยการอัด หรือ Compression Ignition (CI) ในเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ มีการใช้งานในก๊าซธรรมชาติกลุ่มเครื่องยนต์ชนิดจุดระเบิดด้วยหัวเทียนอย่างแพร่หลาย เนื่องจากคุณลักษณะของเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่มีความใกล้เคียงกับเชื้อเพลิงเบนซินที่ใช้อยู่เดิม ทำให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเดิมเข้ากับ เชื้อเพลิงได้โดยง่าย ในขณะที่การใช้งานก๊าซธรรมชาติ ในกลุ่มเครื่องยนต์ดีเซลชนิดจุดระเบิดด้วยการอัด (CI) ไม่แพร่หลายนัก ทั้งที่มีรถยนต์จำนวนมากที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล และเนื่องจากคุณลักษณะของเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติมีความแตกต่างกับเชื้อเพลิงดีเซลมาก ปัจจุบันจึงมีเทคโนโลยีการเผาไหม้แบบเชื้อเพลิงร่วม (Diesel Dual Fuel, DDF) เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่รองรับการใช้งานก๊าซธรรมชาติในเครื่องยนต์ดีเซลได้
ดังนั้น สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. จึงจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ในการใช้ก๊าซธรรมชาติร่วมกับดีเซลแบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก โดยมีเป้าหมายให้ได้ต้นแบบชุดอุปกรณ์ก๊าซแบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ที่สามารถควบคุมให้เครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันดีเซลได้ โดยเครื่องยนต์ยังมีประสิทธิภาพเทียบเท่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล และมีปริมาณมลพิษในไอเสียดีกว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาและประยุกต์ใช้กระบวนการเผาไหม้ที่เรียกว่า "Premixed Charge Compression Ignition" หรือ "PCCI" มาใช้ร่วมกับระบบ เชื้อเพลิงร่วม และยื่นจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีใหม่ นี้ว่า "DF-PCCI" (Dual Fuel-Premixed Charge Compression Ignition) ซึ่งเป็นกระบวนการเผาไหม้ที่อัดระเบิดส่วนผสมของก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดีเซล และอากาศที่ควบคุมอย่างเหมาะสม ทำให้รถยนต์สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้เพิ่ม มากขึ้น โดยเฉลี่ยร้อยละ 60 สำหรับการใช้งานในเมืองและนอกเมือง และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สูงขึ้น ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง ลดมลพิษไอเสียดีกว่าเทคโนโลยีเชื้อเพลิงร่วมปัจจุบัน และที่สำคัญเครื่องยนต์ยังคงมีกำลังและสมรรถนะการขับขี่เทียบเท่ารถยนต์ดีเซล อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การทำงานของเครื่องยนต์มีสมรรถนะด้านการขับขี่และความความปลอดภัยเช่นเดิมตามที่ได้รับการผลิตมาจากโรงงานผู้ผลิต รถยนต์ ในการนี้ สถาบันวิจัยฯ ปตท. ได้ทุ่มเทงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอีกมาก เช่น การพัฒนาระบบไฟฟ้า โปรแกรมควบคุม และการปรับแต่งเครื่องยนต์ (ดังแสดงในรูป) เทคโนโลยีใหม่แบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่คิดค้นขึ้นนี้ จึงนับเป็น อีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ ที่ตอบโจทย์ด้านพลังงาน ในการใช้ก๊าซธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคเลือกใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ เพิ่มมากขึ้น ทั้งในระบบเชื้อเพลิงทวิ หรือสลับ เชื้อเพลิง (Bi-fuel System) ในรถยนต์เบนซิน และ ระบบเชื้อเพลิงร่วม (Diesel Dual Fuel หรือ DDF System) ในรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก แต่ การใช้ระบบเชื้อเพลิงทวิในรถยนต์เบนซินได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากไม่ซับซ้อน มีราคาไม่สูง และประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้มาก ส่วนระบบ เชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้ในสัดส่วนโดยเฉลี่ยไม่เกิน ร้อยละ 50 สำหรับการใช้งานในเมืองและนอกเมือง มีปริมาณมลพิษไอเสียสูงและราคาค่อนข้างสูง จึงมีรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติระบบเชื้อเพลิงร่วม (Dual Fuel) จำนวนไม่มาก ในการนี้ นายวิจิตร แตงน้อย รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ นายสุรยุทธิ์ โพธิ์ศิริสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามมิตร กรีนพาวเวอร์ จำกัด ได้แถลงข่าว เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ในการใช้ก๊าซธรรมชาติ ร่วมกับดีเซลแบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (New Diesel-CNG Dual Fuel Technology for Light-Duty Diesel Vehicles) ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมสร้างสรรค์ เทคโนโลยีที่ดีมีคุณภาพ เพื่อผู้บริโภคและเป็น ก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตด้านพลังงานที่มั่นคง และยั่งยืนให้กับประเทศต่อไป
โดย สามมิตร กรีนพาวเวอร์ ได้นำเทคโนโลยี DF-PCCI ไปทดลองใช้ในลักษณะ Field Test กับรถกระบะก้านกล้วย CNG เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ระยะทางการวิ่ง กำลังเครื่องยนต์ อัตราเร่ง อายุการใช้งาน รวมถึงอัตราการปล่อยมลพิษ ซึ่งหลังจากการทดสอบบนท้องถนนแล้ว ผลปรากฏว่าเทคโนโลยี DF-PCCI มีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจ โดยมีอัตราการเร่งเทียบเท่ากับรถยนต์ดีเซล และประหยัดเชื้อเพลิง ได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซลเพียง อย่างเดียว อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ มีมลพิษไอเสียในระดับต่ำ ซึ่งทำให้มั่นใจว่า DF-PCCI เป็นเทคโนโลยีการเผาไหม้แบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในราคาที่เหมาะสมและมีความพร้อมในเชิงพาณิชย์ โดย สามมิตร กรีนพาวเวอร์ เตรียมที่จะนำเทคโนโลยี ดังกล่าวไปใช้กับรถกระบะก้านกล้วยอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ เพื่อเป็นทางเลือก ในการใช้ก๊าซธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, December 06, 2012
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาสำคัญในศตวรรษนี้ที่ทุกประเทศ ทั่วโลกตระหนักถึงและต้องร่วมกันแก้ไข คงหนีไม่พ้นเรื่อง "วิกฤตพลังงานและสภาวะโลกร้อน" จากทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่อย่างจำกัด และเริ่มลดน้อยถอยลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิจัยนำพลังงานมาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และที่สำคัญต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่มีศักยภาพในการใช้งานของภาคการขนส่งเพิ่มขึ้น ทั้งในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และ รถบรรทุกขนาดใหญ่ โดยแบ่งการใช้งานได้เป็นสองกลุ่ม คือ 1) การใช้งานในกลุ่มเครื่องยนต์ชนิดจุดระเบิดด้วยหัวเทียน หรือ Spark Ignition (SI) ในเครื่องยนต์เบนซิน และ 2) การใช้งานในเครื่องยนต์ชนิดจุดระเบิดด้วยการอัด หรือ Compression Ignition (CI) ในเครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้ มีการใช้งานในก๊าซธรรมชาติกลุ่มเครื่องยนต์ชนิดจุดระเบิดด้วยหัวเทียนอย่างแพร่หลาย เนื่องจากคุณลักษณะของเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่มีความใกล้เคียงกับเชื้อเพลิงเบนซินที่ใช้อยู่เดิม ทำให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเดิมเข้ากับ เชื้อเพลิงได้โดยง่าย ในขณะที่การใช้งานก๊าซธรรมชาติ ในกลุ่มเครื่องยนต์ดีเซลชนิดจุดระเบิดด้วยการอัด (CI) ไม่แพร่หลายนัก ทั้งที่มีรถยนต์จำนวนมากที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล และเนื่องจากคุณลักษณะของเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติมีความแตกต่างกับเชื้อเพลิงดีเซลมาก ปัจจุบันจึงมีเทคโนโลยีการเผาไหม้แบบเชื้อเพลิงร่วม (Diesel Dual Fuel, DDF) เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่รองรับการใช้งานก๊าซธรรมชาติในเครื่องยนต์ดีเซลได้
ดังนั้น สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. จึงจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ในการใช้ก๊าซธรรมชาติร่วมกับดีเซลแบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก โดยมีเป้าหมายให้ได้ต้นแบบชุดอุปกรณ์ก๊าซแบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ที่สามารถควบคุมให้เครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันดีเซลได้ โดยเครื่องยนต์ยังมีประสิทธิภาพเทียบเท่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล และมีปริมาณมลพิษในไอเสียดีกว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาและประยุกต์ใช้กระบวนการเผาไหม้ที่เรียกว่า "Premixed Charge Compression Ignition" หรือ "PCCI" มาใช้ร่วมกับระบบ เชื้อเพลิงร่วม และยื่นจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีใหม่ นี้ว่า "DF-PCCI" (Dual Fuel-Premixed Charge Compression Ignition) ซึ่งเป็นกระบวนการเผาไหม้ที่อัดระเบิดส่วนผสมของก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดีเซล และอากาศที่ควบคุมอย่างเหมาะสม ทำให้รถยนต์สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้เพิ่ม มากขึ้น โดยเฉลี่ยร้อยละ 60 สำหรับการใช้งานในเมืองและนอกเมือง และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สูงขึ้น ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง ลดมลพิษไอเสียดีกว่าเทคโนโลยีเชื้อเพลิงร่วมปัจจุบัน และที่สำคัญเครื่องยนต์ยังคงมีกำลังและสมรรถนะการขับขี่เทียบเท่ารถยนต์ดีเซล อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การทำงานของเครื่องยนต์มีสมรรถนะด้านการขับขี่และความความปลอดภัยเช่นเดิมตามที่ได้รับการผลิตมาจากโรงงานผู้ผลิต รถยนต์ ในการนี้ สถาบันวิจัยฯ ปตท. ได้ทุ่มเทงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอีกมาก เช่น การพัฒนาระบบไฟฟ้า โปรแกรมควบคุม และการปรับแต่งเครื่องยนต์ (ดังแสดงในรูป) เทคโนโลยีใหม่แบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่คิดค้นขึ้นนี้ จึงนับเป็น อีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ ที่ตอบโจทย์ด้านพลังงาน ในการใช้ก๊าซธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคเลือกใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ เพิ่มมากขึ้น ทั้งในระบบเชื้อเพลิงทวิ หรือสลับ เชื้อเพลิง (Bi-fuel System) ในรถยนต์เบนซิน และ ระบบเชื้อเพลิงร่วม (Diesel Dual Fuel หรือ DDF System) ในรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก แต่ การใช้ระบบเชื้อเพลิงทวิในรถยนต์เบนซินได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากไม่ซับซ้อน มีราคาไม่สูง และประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้มาก ส่วนระบบ เชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้ในสัดส่วนโดยเฉลี่ยไม่เกิน ร้อยละ 50 สำหรับการใช้งานในเมืองและนอกเมือง มีปริมาณมลพิษไอเสียสูงและราคาค่อนข้างสูง จึงมีรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติระบบเชื้อเพลิงร่วม (Dual Fuel) จำนวนไม่มาก ในการนี้ นายวิจิตร แตงน้อย รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ นายสุรยุทธิ์ โพธิ์ศิริสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามมิตร กรีนพาวเวอร์ จำกัด ได้แถลงข่าว เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ในการใช้ก๊าซธรรมชาติ ร่วมกับดีเซลแบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (New Diesel-CNG Dual Fuel Technology for Light-Duty Diesel Vehicles) ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมสร้างสรรค์ เทคโนโลยีที่ดีมีคุณภาพ เพื่อผู้บริโภคและเป็น ก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตด้านพลังงานที่มั่นคง และยั่งยืนให้กับประเทศต่อไป
โดย สามมิตร กรีนพาวเวอร์ ได้นำเทคโนโลยี DF-PCCI ไปทดลองใช้ในลักษณะ Field Test กับรถกระบะก้านกล้วย CNG เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ระยะทางการวิ่ง กำลังเครื่องยนต์ อัตราเร่ง อายุการใช้งาน รวมถึงอัตราการปล่อยมลพิษ ซึ่งหลังจากการทดสอบบนท้องถนนแล้ว ผลปรากฏว่าเทคโนโลยี DF-PCCI มีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจ โดยมีอัตราการเร่งเทียบเท่ากับรถยนต์ดีเซล และประหยัดเชื้อเพลิง ได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซลเพียง อย่างเดียว อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ มีมลพิษไอเสียในระดับต่ำ ซึ่งทำให้มั่นใจว่า DF-PCCI เป็นเทคโนโลยีการเผาไหม้แบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในราคาที่เหมาะสมและมีความพร้อมในเชิงพาณิชย์ โดย สามมิตร กรีนพาวเวอร์ เตรียมที่จะนำเทคโนโลยี ดังกล่าวไปใช้กับรถกระบะก้านกล้วยอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ เพื่อเป็นทางเลือก ในการใช้ก๊าซธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 758
UWC สดใสรับงานใหญ่ธุรกิจโตมาก [ โพสต์ทูเดย์, 6 ธ.ค. 55 ]
UWC รุ่งล่าสุดคว้าสร้างเสาสายส่งไฟฟ้า 400 ล้าน ปีหน้างานเพียบ เล็งลงทุนธุรกิจปั้นกำไร
นายมณฑล เชตุวัลลภกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอื้อวิทยา (UWC) เปิดเผยว่า บริษัทเพิ่งได้
รับงานเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 กิโลโวลต์ (KV) จากโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนหงสา ประเทศลาว
ช่วงแม่เมาะ-ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ มูลค่างานกว่า 400 ล้านบาท โดยจะเริ่มผลิตและส่งมอบงานภายใน
ปี 2555 ถึงกลางปี 2557 ส่งผลให้งานในมือเฉพาะส่วนงานเสาสายส่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 หมื่นตัน
รวมมูลค่ากว่า 800 ล้านบาท
UWC รุ่งล่าสุดคว้าสร้างเสาสายส่งไฟฟ้า 400 ล้าน ปีหน้างานเพียบ เล็งลงทุนธุรกิจปั้นกำไร
นายมณฑล เชตุวัลลภกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอื้อวิทยา (UWC) เปิดเผยว่า บริษัทเพิ่งได้
รับงานเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 กิโลโวลต์ (KV) จากโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนหงสา ประเทศลาว
ช่วงแม่เมาะ-ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ มูลค่างานกว่า 400 ล้านบาท โดยจะเริ่มผลิตและส่งมอบงานภายใน
ปี 2555 ถึงกลางปี 2557 ส่งผลให้งานในมือเฉพาะส่วนงานเสาสายส่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 หมื่นตัน
รวมมูลค่ากว่า 800 ล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 759
เร่งกู้'สมุย-พะงัน'พ้นมืดกฟภ.ขอโทษ ซ่อมเคเบิลใกล้เสร็จ3คืนสูญยับ5พันล.
Source - มติชน (Th), Friday, December 07, 2012
สุราษฎร์ธานีประกาศพื้นที่ไฟฟ้าดับเกาะสมุย-พะงันเป็นเขตภัยพิบัติ นำเงิน 50 ล้านช่วยแก้ปัญหาด่วน สั่งติดตั้งรถปั่นไฟสำรองช่วงเทศกาลคริสต์มาส
เร่งรื้อเร่งซ่อมเคเบิลใต้ดิน
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม สถานการณ์วิกฤตระบบไฟฟ้าดับบนเกาะท่องเที่ยวทั้ง อ.เกาะสมุย และอ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี อันเนื่องมาจากสายเมนเคเบิลไฟฟ้าใต้ดินเส้นใหญ่ขนาด 115 KV (กิโลโวลต์) ที่จ่ายไฟเลี้ยงทั้ง 2 เกาะฝังอยู่ลึกใต้ผิวดินประมาณ 1 เมตร ระหว่างชายฝั่งบ้านพังกา-สถานีไฟฟ้าพังงา หมู่ 4 ต.ตลิ่งงาม อ.เกาะสมุย เชื่อมมาจากสายเคเบิลใต้น้ำ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช-บ้านพังกา ได้ลัดวงจรจนเกิดระเบิดบริเวณหน้าวัดคีรีมาส บ้านพังกา ต.ตลิ่งงาม ส่งผลทำให้กระแสไฟฟ้าดับตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 4 ธันวาคม ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 6 ธันวาคม หรือเข้าสู่วันที่ 3 ที่ทำให้พื้นที่ทั้ง 2 เกาะไม่มีไฟฟ้าใช้
ทั้งนี้ เมื่อคืนวันที่ 5 ธันวาคม ข้ามเข้าสู่วันที่6 ธันวาคม พนักงานและเจ้าหน้าที่วิศวกรรมไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ใช้รถแบ๊กโฮเข้าขุดและตักดิน พร้อมระดมพนักงานขุดดินเป็นทางยาว เพื่อรื้อยกสายเคเบิลไฟฟ้าใต้ดินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 250 มิลลิเมตร ขึ้นมาเชื่อมต่อบนพื้นดิน แต่การรื้อเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเป็นเวลากลางคืนและต้องระมัดระวังอย่างสูง เนื่องจากสายเคเบิลมีน้ำหนักมากและเป็นบริเวณจุดข้อต่อสาย ต้องใช้รถไฟส่องสว่างของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สนับสนุน
รถน้ำมันวิ่งเติมน้ำมัน2เกาะ
ที่ท่าเทียบเรือราชาเฟอร์รี่ และซีทรานเฟอร์รี่อ.ดอนสัก เจ้าหน้าที่ประจำท่าเรือแจ้งว่า มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางออกจากเกาะสมุยเที่ยวละประมาณ 20 คนเท่านั้น ขณะเดียวกันบริษัทราชาเฟอร์รี่ ได้จัดเรือเฟอร์รี่เที่ยวพิเศษระวางบรรทุกรถ 10 ล้อและรถพ่วง 18 ล้อบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงกว่า 20 คัน ข้ามไปส่งให้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงบนเกาะสมุยและเกาะพะงัน
นายสราวุธ เชื้ออินต๊ะ ผู้จัดการคลังน้ำมันปตท.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ได้สำรองปริมาณน้ำมันไว้ที่คลังน้ำมันตลอดช่วงสถานการณ์ วิกฤตเช่นนี้ได้เตรียมความพร้อมตลอด โดยมีปั๊มน้ำมันนำรถมารับเองหลายราย
ตั้งรถปั่นไฟดูแลช่วงเที่ยวสิ้นปี
เวลา 09.30 น. นายดำรงศักดิ์ ตันรัตนกุลรองผู้ว่าการ กฟภ. กล่าวว่า การซ่อมสายเคเบิลใกล้แล้วเสร็จรอการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบก่อนปล่อยโหลด (จ่ายไฟ) จำเป็นจะต้องมีการทดสอบระบบความปลอดภัยก่อน
"ปัญหาการใช้ไฟฟ้าบนเกาะสมุยและเกาะพะงันมีมาก เนื่องจากในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวขยายตัว 3-4 เท่าตัว เพื่อความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยว กฟภ.ได้สั่งให้รถโมบาย (เครื่องกำเนิดไฟฟ้า) มาติดตั้งในพื้นที่ยาวต่อเนื่องถึงช่วงเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลปีใหม่" นายดำรงศักดิ์กล่าว
ผู้ว่าฯสุราษฎร์ประกาศภัยพิบัติ
ต่อมาเวลา 10.00 น. นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อม พล.ต.กิจจา ศรีทองกุล ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี และนายวรินทร์ ศิษยนเรนทร์ รองผู้ว่าการ กฟภ.ฝ่ายจำหน่ายและบริการภาค 4 เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์กองทัพบกไปยังอ.เกาะสมุย เรียกประชุมด่วนเจ้าหน้าที่ กฟภ.เทศบาลนครเกาะสมุย ฝ่ายปกครอง อ.เกาะสมุยรวมทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุยเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่เกิดขึ้น
นายฉัตรป้องกล่าวว่า ได้ประกาศให้พื้นที่อ.เกาะสมุย และ อ.เกาะพะงัน เป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติ โดยอนุมัติงบจำนวน 50 ล้านบาท เข้าแก้ปัญหาทั้ง 2 อำเภอ และได้ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องพื้นที่เกาะสมุยและเกาะพะงัน ที่เทศบาลนครเกาะสมุย พร้อมให้ประชาชนแจ้งความเดือดร้อนที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-7742-6005 สายด่วน199 รวมทั้งตั้งโรงครัว ปรุงอาหารแจกจ่ายประชาชน และให้สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย สมาคมโรงแรมภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ดูแลอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว
ไฟยังไม่มาแต่ประปาต้องไหล
"สำหรับน้ำประปาในพื้นที่เกาะสมุยมีปัญหาน้ำไม่ไหลและน้ำไหลอ่อนในบางพื้นที่ รวมทั้งโรงผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล (RO) ที่บ้านปลายแหลม ต.บ่อผุด หยุดผลิตเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าได้สั่งให้ส่งรถผลิตน้ำประปาสนามลงไปช่วยที่เกาะสมุยและเกาะพะงันเพื่อแก้ปัญหาน้ำดื่ม"นายฉัตรป้องกล่าว
นายฉัตรป้องกล่าวว่า สำหรับความปลอดภัยในทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยวได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสนธิกำลังกับอ.เกาะสมุย ส่งกำลังอาสาสมัครรักษาดินแดนเจ้าหน้าที่ อปพร. และอาสาสมัครตำรวจชุมชนออกตรวจความปลอดภัยในพื้นที่ไฟฟ้าดับ
ขน’รถปั่นไฟ’ลงอีก30คัน
นายวรินทร์กล่าวว่า กฟภ.ได้สั่งระดมรถโบมายจากทั่วประเทศลงมายังเกาะสมุยและเกาะพะงัน อีกจำนวน 30 คัน ล่าสุดรถโมบายได้ลงพื้นที่เกาะสมุยและเกาะพะงันไปแล้วกว่า20 คัน ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 10,300 กิโลโวลต์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนได้ในระดับหนึ่ง
นายทนงศักดิ์ สมวงศ์ นายกสมาคมท่องเที่ยวเกาะสมุย กล่าวในที่ประชุมว่า วิตกกังวลถึงปัญหาที่จะส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยวเนื่องจากกระแสไฟฟ้าขัดข้องมากว่า 2 วัน อยากให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ใช้3ผู้เชี่ยวชาญนอร์เวย์
นายวัฒนา แพกุล ผู้ช่วย ผอ.ฝ่ายบริการลูกค้า กฟภ.เขต 2 ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราชหัวหน้าชุดซ่อมแซมสายเคเบิลไฟฟ้าใต้ดิน กล่าวว่า การซ่อมสายเคเบิลเสร็จแล้ว 85 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือเป็นงานด้านเทคนิคการเชื่อมต่อซึ่งเป็นงานเฉพาะด้านต้องใช้วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญของบริษัท แมกซาน จำกัด จากประเทศนอร์เวย์ 3 คน ที่มาติดตั้งสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำที่สถานีไฟฟ้าบ้านแม่น้ำ อ.เกาะสมุย เข้ามาดำเนินการโดยจะต้องใช้เวลา 3-5 ชั่วโมง
"สาเหตุที่ต้องใช้เวลามากเป็นเหตุผลทางด้านวิศวกรรม ซึ่งบริษัทแมกซานเป็นผู้ผลิตสายเคเบิลดังกล่าวจะเชี่ยวชาญกว่าเป็นผู้วิเคราะห์ปัญหา เบื้องต้นวิศวกรจะคำนึงความปลอดภัยต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล" นายวัฒนากล่าว และว่า หลังจากนี้ในเดือนมีนาคม 2556 กฟภ.จะดำเนินการเปิดจ่ายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำเส้นใหม่ระบบที่ 3 ขนาด 115 กิโลโวลต์ เชื่อมจากอ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช มาที่สถานีไฟฟ้าบ้านแม่น้ำ อ.เกาะสมุย และเชื่อมต่อส่งไฟไปยังอ.เกาะพะงันด้วย โดยมีกำลังไฟจ่ายได้ 200 เมกะวัตต์ จะทำให้เกาะสมุยและเกาะพะงันมีความมั่นคงในระบบไฟฟ้ามากขึ้น
ภาคท่องเที่ยวบ่นเสียหายยับ
นางวรรณี ไทยพาณิชย์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะพะงัน กล่าวว่า เหตุขัดข้องกระแสไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ การผลิตอาหารสำเร็จรูปและสินค้าอุปโภค ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ระบบการสื่อสาร อินเตอร์เน็ต ร้านอาหารทำให้นักท่องเที่ยวไม่มีความมั่นใจ จนล่าสุดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศได้เดินทางออกไปจากเกาะพะงันจนหมด
"ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีกำหนดจะเดินทางเข้ามาใหม่ก็เกิดการลังเล ล่าสุด บริษัทนำเที่ยวได้เลื่อนกำหนดเดินทางออกไปจนกว่าการแก้ไขปัญหาจะแล้วเสร็จ เบื้องต้นคาดว่าเกิดความเสียหายต่อธุรกิจท่องเที่ยวเกาะพะงันทั้งระบบไม่น้อยกว่า 4,000-5,000 ล้านบาท" นางวรรณีกล่าว
ด้านนายทนงศักดิ์ สมวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย กล่าวว่า ต้องยอมรับว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะอ่อนไหวต่อสถานการณ์เช่นนี้ ยิ่งไม่สามารถให้ความมั่นใจในการแก้ไขปัญหา จะส่งผลต่อจิตวิทยาของนักท่องเที่ยว คาดว่าจะส่งผลต่อฤดูกาลท่องเที่ยวที่กำลังจะเกิดขึ้นในกลางเดือนธันวาคมนี้อย่างแน่นอนภาพรวมคาดว่าจะเสียหายต่อธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องรวมถึงประชาชนในพื้นที่บนเกาะสมุยไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท
โรงไฟฟ้าขนอมยังจ่ายไฟปกติ
รายงานข่าวจากโรงไฟฟ้าขนอม อ.ขนอมจ.นครศรีธรรมราช เผยว่า โรงไฟฟ้าขนอมได้ปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะสมุย ด้วยสายกำลังส่ง 2 เส้นคือ เส้นขนาด33 กิโลวัตต์ และ 115 กิโลวัตต์ และเกาะสมุยใช้เส้นแรงส่งขนาด 33 กิโลวัตต์ ส่งต่อไปยังเกาะพะงัน
นายไพโรจน์ บุญมาก ผจก.ฝ่ายบริหารทั่วไปบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ทางโรงไฟฟ้าขนอมยังคงทำหน้าที่ผลิตจ่ายกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เหตุที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องของทางบริษัท เนื่องจากบริษัทเป็นคู่สัญญากับ กฟผ. ส่วน กฟผ.จะนำไปจำหน่ายให้กับใครทางบริษัทไม่รับทราบ
"โรงไฟฟ้าของเราผลิตกำลังไฟฟ้าตามสัญญาที่ทำกันไว้เป็นระยะเวลา 20 ปี จะหมดสัญญาในปี 2559 มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 7 ตัว ผลิตไฟฟ้าได้824 เมกะวัตต์ ขณะนี้หยุดการผลิตลงไป 1 ตัว จึงเหลือกำลังผลิตกว่า 700 เมกะวัตต์ เหลือเวลาตามสัญญาเพียง 4 ปีเท่านั้น" นายไพโรจน์กล่าว
นายไพโรจน์กล่าวว่า ทางบริษัทแม่ได้ทำหนังสือชี้แจงไปทางสื่อมวลชนถึงเรื่องที่เกิดขึ้นยอมรับว่าช่วงเกิดเรื่องทางบริษัทตกใจ ตอนแรกโดยไม่ทราบว่าที่เกาะสมุยและพะงันไม่มีไฟฟ้าใช้เพราะเครื่องปั่นไฟของเรายังคงทำงานและไฟไม่ดับด้วย และหากไฟฟ้าดับที่โรงไฟฟ้าขนอม ก็คงดับหมดทั่วภาคใต้อย่างแน่นอน
โต้ไม่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าขนอม
นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป กล่าวกรณีไฟฟ้าดับบนเกาะสมุยและเกาะพะงันไม่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าขนอมในกลุ่มเอ็กโก เพราะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ยังคงเดินเครื่องและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเป็นปกติตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีการหยุดซ่อมบำรุงรักษาในวันที่ 4 ธันวาคม แต่อย่างใด เพราะโรงไฟฟ้าขนอมได้หยุดบำรุงรักษาตั้งแต่เดือนกันยายนถึงตุลาคม2555 ดังนั้น การที่ กฟภ.ระบุว่าสาเหตุมาจากการหยุดซ่อมบำรุงอาจเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งเอ็กโกได้ชี้แจงกับทาง กฟภ.แล้ว
ผอ.ไฟฟ้าเขต2ขอโทษชาวสมุย
นายวราห์ จันทร์เจ้า ผู้อำนวยการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 ภาคใต้ (นครศรีธรรมราช)เปิดเผยว่า เหตุที่เกิดขึ้นไม่มีใครคาดคิดมาก่อนต้องกล่าวคำว่าขอโทษกับชาวเกาะสมุยเป็นอย่างมาก ก่อนหน้านี้ทางสำนักงานได้ออกประชาสัมพันธ์มาแล้วระยะหนึ่ง รณรงค์ลดการใช้ไฟฟ้า เนื่องจากหลังวันที่ 20 ธันวาคมของทุกปี การใช้ไฟฟ้าในเกาะสมุยจะสูงมากและขยายตัวมากขึ้นทุกปี ขณะที่สายเคเบิลใต้น้ำ เดิมกว้างเพียง 240 ตร.มม.เท่านั้น ส่วนการรองรับเรื่องนี้ได้เพิ่มสายเคเบิลอีก 1 สาย โดยเดินสายเคเบิลขนาดใหญ่หน้าตัดพื้นที่ 500 ตร.มม. อีก 1 เส้นและลากไปยังเกาะพะงัน เกาะเต่าด้วย ซึ่งสั่งตรงมาจากประเทศนอร์เวย์ จะมาถึงในวันที่ 9 ธันวาคมนี้ จะเดินสายเคเบิลแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
มท.1สั่งจว.-ปภ.จูบปากทำงาน
ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แถลงถึงกรณีการแก้ไขเหตุไฟฟ้าดับที่เกาะสมุยและเกาะพะงันจ.สุราษฎร์ธานี ว่า นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงได้สอบถามและสั่งการให้แก้ไขปัญหาโดยด่วนให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์ นอกจากนี้ ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และ ปภ.จังหวัด ร่วมกันทำงานทั้งนี้การแก้ไขปัญหาแบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วนคือ การแก้ไขให้มีไฟฟ้าใช้ มอบหมายให้ กฟภ.รับผิดชอบ ส่วนการช่วยประชาชนให้ผู้ว่าฯดูแล ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ ทั้งนี้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัยประชาชนและนักท่องเที่ยวโดยจัดหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองและการจัดหาน้ำมันจากเหตุที่เกิดขึ้นได้ย้ำกับผู้ว่าฯ ในจังหวัดที่มีการท่องเที่ยวและทุกจังหวัดให้เตรียมความพร้อมในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลปีใหม่ให้ความสำคัญกับระบบป้องกัน การเตรียมทรัพยากรเพื่อให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะการดูแลโรงพยาบาล
ผู้ว่ากปภ.ยันจ่ายน้ำปกติ
ต่อมาเวลา 13.00 น. นายจารุพงศ์เดินทางมาตรวจเยี่ยมการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในระหว่างการรับฟังการดำเนินภารกิจ นางรัตนากิจกรรณ ผู้ว่าการ กปภ. ได้แจ้งต่อนายจารุพงศ์ว่า กรณีเกิดเหตุกระแสไฟฟ้าดับที่เกาะสมุยและเกาะพะงัน ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม ไม่มีผลกระทบกับการผลิตน้ำประปาในพื้นที่ ล่าสุด มีกำลังการผลิตได้ร้อยละ 70 จะรักษากำลังการผลิตในระดับนี้ เบื้องต้นได้ให้สำนักงาน กปภ.ในพื้นที่นำน้ำประปาไปแจกและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนแล้ว
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกาะสมุย และโรงพยาบาลเกาะพะงัน ว่า ทั้ง 2 โรงพยาบาลยังคงเปิดให้บริการประชาชนได้ตามปกติ การทำงานของเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งวัคซีนหรือยาที่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและสำรองไว้ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เนื่องจากมีเครื่องปั่นไฟฟ้าสำรองใช้ในโรงพยาบาล
--จบ--
Source - มติชน (Th), Friday, December 07, 2012
สุราษฎร์ธานีประกาศพื้นที่ไฟฟ้าดับเกาะสมุย-พะงันเป็นเขตภัยพิบัติ นำเงิน 50 ล้านช่วยแก้ปัญหาด่วน สั่งติดตั้งรถปั่นไฟสำรองช่วงเทศกาลคริสต์มาส
เร่งรื้อเร่งซ่อมเคเบิลใต้ดิน
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม สถานการณ์วิกฤตระบบไฟฟ้าดับบนเกาะท่องเที่ยวทั้ง อ.เกาะสมุย และอ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี อันเนื่องมาจากสายเมนเคเบิลไฟฟ้าใต้ดินเส้นใหญ่ขนาด 115 KV (กิโลโวลต์) ที่จ่ายไฟเลี้ยงทั้ง 2 เกาะฝังอยู่ลึกใต้ผิวดินประมาณ 1 เมตร ระหว่างชายฝั่งบ้านพังกา-สถานีไฟฟ้าพังงา หมู่ 4 ต.ตลิ่งงาม อ.เกาะสมุย เชื่อมมาจากสายเคเบิลใต้น้ำ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช-บ้านพังกา ได้ลัดวงจรจนเกิดระเบิดบริเวณหน้าวัดคีรีมาส บ้านพังกา ต.ตลิ่งงาม ส่งผลทำให้กระแสไฟฟ้าดับตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 4 ธันวาคม ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 6 ธันวาคม หรือเข้าสู่วันที่ 3 ที่ทำให้พื้นที่ทั้ง 2 เกาะไม่มีไฟฟ้าใช้
ทั้งนี้ เมื่อคืนวันที่ 5 ธันวาคม ข้ามเข้าสู่วันที่6 ธันวาคม พนักงานและเจ้าหน้าที่วิศวกรรมไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ใช้รถแบ๊กโฮเข้าขุดและตักดิน พร้อมระดมพนักงานขุดดินเป็นทางยาว เพื่อรื้อยกสายเคเบิลไฟฟ้าใต้ดินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 250 มิลลิเมตร ขึ้นมาเชื่อมต่อบนพื้นดิน แต่การรื้อเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเป็นเวลากลางคืนและต้องระมัดระวังอย่างสูง เนื่องจากสายเคเบิลมีน้ำหนักมากและเป็นบริเวณจุดข้อต่อสาย ต้องใช้รถไฟส่องสว่างของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สนับสนุน
รถน้ำมันวิ่งเติมน้ำมัน2เกาะ
ที่ท่าเทียบเรือราชาเฟอร์รี่ และซีทรานเฟอร์รี่อ.ดอนสัก เจ้าหน้าที่ประจำท่าเรือแจ้งว่า มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางออกจากเกาะสมุยเที่ยวละประมาณ 20 คนเท่านั้น ขณะเดียวกันบริษัทราชาเฟอร์รี่ ได้จัดเรือเฟอร์รี่เที่ยวพิเศษระวางบรรทุกรถ 10 ล้อและรถพ่วง 18 ล้อบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงกว่า 20 คัน ข้ามไปส่งให้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงบนเกาะสมุยและเกาะพะงัน
นายสราวุธ เชื้ออินต๊ะ ผู้จัดการคลังน้ำมันปตท.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ได้สำรองปริมาณน้ำมันไว้ที่คลังน้ำมันตลอดช่วงสถานการณ์ วิกฤตเช่นนี้ได้เตรียมความพร้อมตลอด โดยมีปั๊มน้ำมันนำรถมารับเองหลายราย
ตั้งรถปั่นไฟดูแลช่วงเที่ยวสิ้นปี
เวลา 09.30 น. นายดำรงศักดิ์ ตันรัตนกุลรองผู้ว่าการ กฟภ. กล่าวว่า การซ่อมสายเคเบิลใกล้แล้วเสร็จรอการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบก่อนปล่อยโหลด (จ่ายไฟ) จำเป็นจะต้องมีการทดสอบระบบความปลอดภัยก่อน
"ปัญหาการใช้ไฟฟ้าบนเกาะสมุยและเกาะพะงันมีมาก เนื่องจากในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวขยายตัว 3-4 เท่าตัว เพื่อความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยว กฟภ.ได้สั่งให้รถโมบาย (เครื่องกำเนิดไฟฟ้า) มาติดตั้งในพื้นที่ยาวต่อเนื่องถึงช่วงเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลปีใหม่" นายดำรงศักดิ์กล่าว
ผู้ว่าฯสุราษฎร์ประกาศภัยพิบัติ
ต่อมาเวลา 10.00 น. นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อม พล.ต.กิจจา ศรีทองกุล ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี และนายวรินทร์ ศิษยนเรนทร์ รองผู้ว่าการ กฟภ.ฝ่ายจำหน่ายและบริการภาค 4 เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์กองทัพบกไปยังอ.เกาะสมุย เรียกประชุมด่วนเจ้าหน้าที่ กฟภ.เทศบาลนครเกาะสมุย ฝ่ายปกครอง อ.เกาะสมุยรวมทั้งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุยเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่เกิดขึ้น
นายฉัตรป้องกล่าวว่า ได้ประกาศให้พื้นที่อ.เกาะสมุย และ อ.เกาะพะงัน เป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติ โดยอนุมัติงบจำนวน 50 ล้านบาท เข้าแก้ปัญหาทั้ง 2 อำเภอ และได้ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องพื้นที่เกาะสมุยและเกาะพะงัน ที่เทศบาลนครเกาะสมุย พร้อมให้ประชาชนแจ้งความเดือดร้อนที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-7742-6005 สายด่วน199 รวมทั้งตั้งโรงครัว ปรุงอาหารแจกจ่ายประชาชน และให้สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย สมาคมโรงแรมภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ดูแลอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว
ไฟยังไม่มาแต่ประปาต้องไหล
"สำหรับน้ำประปาในพื้นที่เกาะสมุยมีปัญหาน้ำไม่ไหลและน้ำไหลอ่อนในบางพื้นที่ รวมทั้งโรงผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล (RO) ที่บ้านปลายแหลม ต.บ่อผุด หยุดผลิตเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าได้สั่งให้ส่งรถผลิตน้ำประปาสนามลงไปช่วยที่เกาะสมุยและเกาะพะงันเพื่อแก้ปัญหาน้ำดื่ม"นายฉัตรป้องกล่าว
นายฉัตรป้องกล่าวว่า สำหรับความปลอดภัยในทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยวได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสนธิกำลังกับอ.เกาะสมุย ส่งกำลังอาสาสมัครรักษาดินแดนเจ้าหน้าที่ อปพร. และอาสาสมัครตำรวจชุมชนออกตรวจความปลอดภัยในพื้นที่ไฟฟ้าดับ
ขน’รถปั่นไฟ’ลงอีก30คัน
นายวรินทร์กล่าวว่า กฟภ.ได้สั่งระดมรถโบมายจากทั่วประเทศลงมายังเกาะสมุยและเกาะพะงัน อีกจำนวน 30 คัน ล่าสุดรถโมบายได้ลงพื้นที่เกาะสมุยและเกาะพะงันไปแล้วกว่า20 คัน ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 10,300 กิโลโวลต์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนได้ในระดับหนึ่ง
นายทนงศักดิ์ สมวงศ์ นายกสมาคมท่องเที่ยวเกาะสมุย กล่าวในที่ประชุมว่า วิตกกังวลถึงปัญหาที่จะส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยวเนื่องจากกระแสไฟฟ้าขัดข้องมากว่า 2 วัน อยากให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ใช้3ผู้เชี่ยวชาญนอร์เวย์
นายวัฒนา แพกุล ผู้ช่วย ผอ.ฝ่ายบริการลูกค้า กฟภ.เขต 2 ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราชหัวหน้าชุดซ่อมแซมสายเคเบิลไฟฟ้าใต้ดิน กล่าวว่า การซ่อมสายเคเบิลเสร็จแล้ว 85 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือเป็นงานด้านเทคนิคการเชื่อมต่อซึ่งเป็นงานเฉพาะด้านต้องใช้วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญของบริษัท แมกซาน จำกัด จากประเทศนอร์เวย์ 3 คน ที่มาติดตั้งสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำที่สถานีไฟฟ้าบ้านแม่น้ำ อ.เกาะสมุย เข้ามาดำเนินการโดยจะต้องใช้เวลา 3-5 ชั่วโมง
"สาเหตุที่ต้องใช้เวลามากเป็นเหตุผลทางด้านวิศวกรรม ซึ่งบริษัทแมกซานเป็นผู้ผลิตสายเคเบิลดังกล่าวจะเชี่ยวชาญกว่าเป็นผู้วิเคราะห์ปัญหา เบื้องต้นวิศวกรจะคำนึงความปลอดภัยต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล" นายวัฒนากล่าว และว่า หลังจากนี้ในเดือนมีนาคม 2556 กฟภ.จะดำเนินการเปิดจ่ายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำเส้นใหม่ระบบที่ 3 ขนาด 115 กิโลโวลต์ เชื่อมจากอ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช มาที่สถานีไฟฟ้าบ้านแม่น้ำ อ.เกาะสมุย และเชื่อมต่อส่งไฟไปยังอ.เกาะพะงันด้วย โดยมีกำลังไฟจ่ายได้ 200 เมกะวัตต์ จะทำให้เกาะสมุยและเกาะพะงันมีความมั่นคงในระบบไฟฟ้ามากขึ้น
ภาคท่องเที่ยวบ่นเสียหายยับ
นางวรรณี ไทยพาณิชย์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะพะงัน กล่าวว่า เหตุขัดข้องกระแสไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ การผลิตอาหารสำเร็จรูปและสินค้าอุปโภค ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ระบบการสื่อสาร อินเตอร์เน็ต ร้านอาหารทำให้นักท่องเที่ยวไม่มีความมั่นใจ จนล่าสุดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศได้เดินทางออกไปจากเกาะพะงันจนหมด
"ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีกำหนดจะเดินทางเข้ามาใหม่ก็เกิดการลังเล ล่าสุด บริษัทนำเที่ยวได้เลื่อนกำหนดเดินทางออกไปจนกว่าการแก้ไขปัญหาจะแล้วเสร็จ เบื้องต้นคาดว่าเกิดความเสียหายต่อธุรกิจท่องเที่ยวเกาะพะงันทั้งระบบไม่น้อยกว่า 4,000-5,000 ล้านบาท" นางวรรณีกล่าว
ด้านนายทนงศักดิ์ สมวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย กล่าวว่า ต้องยอมรับว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะอ่อนไหวต่อสถานการณ์เช่นนี้ ยิ่งไม่สามารถให้ความมั่นใจในการแก้ไขปัญหา จะส่งผลต่อจิตวิทยาของนักท่องเที่ยว คาดว่าจะส่งผลต่อฤดูกาลท่องเที่ยวที่กำลังจะเกิดขึ้นในกลางเดือนธันวาคมนี้อย่างแน่นอนภาพรวมคาดว่าจะเสียหายต่อธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องรวมถึงประชาชนในพื้นที่บนเกาะสมุยไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท
โรงไฟฟ้าขนอมยังจ่ายไฟปกติ
รายงานข่าวจากโรงไฟฟ้าขนอม อ.ขนอมจ.นครศรีธรรมราช เผยว่า โรงไฟฟ้าขนอมได้ปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะสมุย ด้วยสายกำลังส่ง 2 เส้นคือ เส้นขนาด33 กิโลวัตต์ และ 115 กิโลวัตต์ และเกาะสมุยใช้เส้นแรงส่งขนาด 33 กิโลวัตต์ ส่งต่อไปยังเกาะพะงัน
นายไพโรจน์ บุญมาก ผจก.ฝ่ายบริหารทั่วไปบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ทางโรงไฟฟ้าขนอมยังคงทำหน้าที่ผลิตจ่ายกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เหตุที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องของทางบริษัท เนื่องจากบริษัทเป็นคู่สัญญากับ กฟผ. ส่วน กฟผ.จะนำไปจำหน่ายให้กับใครทางบริษัทไม่รับทราบ
"โรงไฟฟ้าของเราผลิตกำลังไฟฟ้าตามสัญญาที่ทำกันไว้เป็นระยะเวลา 20 ปี จะหมดสัญญาในปี 2559 มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 7 ตัว ผลิตไฟฟ้าได้824 เมกะวัตต์ ขณะนี้หยุดการผลิตลงไป 1 ตัว จึงเหลือกำลังผลิตกว่า 700 เมกะวัตต์ เหลือเวลาตามสัญญาเพียง 4 ปีเท่านั้น" นายไพโรจน์กล่าว
นายไพโรจน์กล่าวว่า ทางบริษัทแม่ได้ทำหนังสือชี้แจงไปทางสื่อมวลชนถึงเรื่องที่เกิดขึ้นยอมรับว่าช่วงเกิดเรื่องทางบริษัทตกใจ ตอนแรกโดยไม่ทราบว่าที่เกาะสมุยและพะงันไม่มีไฟฟ้าใช้เพราะเครื่องปั่นไฟของเรายังคงทำงานและไฟไม่ดับด้วย และหากไฟฟ้าดับที่โรงไฟฟ้าขนอม ก็คงดับหมดทั่วภาคใต้อย่างแน่นอน
โต้ไม่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าขนอม
นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป กล่าวกรณีไฟฟ้าดับบนเกาะสมุยและเกาะพะงันไม่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าขนอมในกลุ่มเอ็กโก เพราะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ยังคงเดินเครื่องและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเป็นปกติตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีการหยุดซ่อมบำรุงรักษาในวันที่ 4 ธันวาคม แต่อย่างใด เพราะโรงไฟฟ้าขนอมได้หยุดบำรุงรักษาตั้งแต่เดือนกันยายนถึงตุลาคม2555 ดังนั้น การที่ กฟภ.ระบุว่าสาเหตุมาจากการหยุดซ่อมบำรุงอาจเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งเอ็กโกได้ชี้แจงกับทาง กฟภ.แล้ว
ผอ.ไฟฟ้าเขต2ขอโทษชาวสมุย
นายวราห์ จันทร์เจ้า ผู้อำนวยการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 ภาคใต้ (นครศรีธรรมราช)เปิดเผยว่า เหตุที่เกิดขึ้นไม่มีใครคาดคิดมาก่อนต้องกล่าวคำว่าขอโทษกับชาวเกาะสมุยเป็นอย่างมาก ก่อนหน้านี้ทางสำนักงานได้ออกประชาสัมพันธ์มาแล้วระยะหนึ่ง รณรงค์ลดการใช้ไฟฟ้า เนื่องจากหลังวันที่ 20 ธันวาคมของทุกปี การใช้ไฟฟ้าในเกาะสมุยจะสูงมากและขยายตัวมากขึ้นทุกปี ขณะที่สายเคเบิลใต้น้ำ เดิมกว้างเพียง 240 ตร.มม.เท่านั้น ส่วนการรองรับเรื่องนี้ได้เพิ่มสายเคเบิลอีก 1 สาย โดยเดินสายเคเบิลขนาดใหญ่หน้าตัดพื้นที่ 500 ตร.มม. อีก 1 เส้นและลากไปยังเกาะพะงัน เกาะเต่าด้วย ซึ่งสั่งตรงมาจากประเทศนอร์เวย์ จะมาถึงในวันที่ 9 ธันวาคมนี้ จะเดินสายเคเบิลแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
มท.1สั่งจว.-ปภ.จูบปากทำงาน
ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แถลงถึงกรณีการแก้ไขเหตุไฟฟ้าดับที่เกาะสมุยและเกาะพะงันจ.สุราษฎร์ธานี ว่า นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงได้สอบถามและสั่งการให้แก้ไขปัญหาโดยด่วนให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์ นอกจากนี้ ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และ ปภ.จังหวัด ร่วมกันทำงานทั้งนี้การแก้ไขปัญหาแบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วนคือ การแก้ไขให้มีไฟฟ้าใช้ มอบหมายให้ กฟภ.รับผิดชอบ ส่วนการช่วยประชาชนให้ผู้ว่าฯดูแล ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ ทั้งนี้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัยประชาชนและนักท่องเที่ยวโดยจัดหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองและการจัดหาน้ำมันจากเหตุที่เกิดขึ้นได้ย้ำกับผู้ว่าฯ ในจังหวัดที่มีการท่องเที่ยวและทุกจังหวัดให้เตรียมความพร้อมในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลปีใหม่ให้ความสำคัญกับระบบป้องกัน การเตรียมทรัพยากรเพื่อให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะการดูแลโรงพยาบาล
ผู้ว่ากปภ.ยันจ่ายน้ำปกติ
ต่อมาเวลา 13.00 น. นายจารุพงศ์เดินทางมาตรวจเยี่ยมการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในระหว่างการรับฟังการดำเนินภารกิจ นางรัตนากิจกรรณ ผู้ว่าการ กปภ. ได้แจ้งต่อนายจารุพงศ์ว่า กรณีเกิดเหตุกระแสไฟฟ้าดับที่เกาะสมุยและเกาะพะงัน ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม ไม่มีผลกระทบกับการผลิตน้ำประปาในพื้นที่ ล่าสุด มีกำลังการผลิตได้ร้อยละ 70 จะรักษากำลังการผลิตในระดับนี้ เบื้องต้นได้ให้สำนักงาน กปภ.ในพื้นที่นำน้ำประปาไปแจกและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนแล้ว
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกาะสมุย และโรงพยาบาลเกาะพะงัน ว่า ทั้ง 2 โรงพยาบาลยังคงเปิดให้บริการประชาชนได้ตามปกติ การทำงานของเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งวัคซีนหรือยาที่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและสำรองไว้ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เนื่องจากมีเครื่องปั่นไฟฟ้าสำรองใช้ในโรงพยาบาล
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 760
PTTจ่ายเช็ค6หมื่นล้าน
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, December 07, 2012
ซื้อหุ้นเพิ่มทุนปตท.สผ.
"ปตท." ซื้อหุ้นเพิ่มทุน PTTEP กว่า 6 หมื่นล้านบาท “สุรงค์” ลั่นการเงินยังแกร่ง มีเงินสดเหลืออีก 3-4 หมื่นล้านบาท ชี้แม้จะเพิ่มราคาขาย NGV แต่ PTT ยังคงขาดทุนเหมือนเดิม วงการเงินย้ำ PTTEP เพิ่มทุนสำเร็จแน่ กองทุนจองซื้อล้น
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ในขณะนี้ทางบริษัทได้ใช้สิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ไปแล้วด้วยวงเงินกว่า 6 หมื่นล้านบาท โดยหลังการใช้ลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุน PTTEP ในครั้งนี้ ทางบริษัทยังมีกระแสเงินสดคงเหลืออยู่ประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท แต่ยังถือเป็นกระแสเงินสดที่อยู่ในระดับปกติและสามารถบริหารจัดการได้แบบไม่มีปัญหา เนื่องจากใช้เงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ PTT ได้เตรียมความพร้อมและวางแผนมาเป็นระยะเวลานานแล้ว
“ในส่วนหุ้นเพิ่มทุนของ PTTEP ทาง PTT เองจะใช้เงินไปประมาณ 6 หมื่นล้านบาทเศษๆ ส่วนกระแสเงินเราจะคงเหลืออยู่แถว 3-4 หมื่นล้านบาท แต่ก็ยังถือเป็นระดับปกติที่สามารถบริหารจัดการได้ไม่มีปัญหา เพราะทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้แนวทางและแผนงานของธุรกิจบริษัทที่ได้เตรียมการกันมาอย่างยาวนานแล้ว” นายสุรงค์ กล่าว
นายสุรงค์ กล่าวอีกว่า ในช่วงอนาคตทางบริษัทจะต้องดำเนินการออกหุ้นกู้เพิ่มเติมอีกหรือไม่นั้นคงจะต้องไปพิจารณาตามสถานการณ์อีกครั้ง ส่วนกรณีที่บริษัทให้ความสนใจขยายการลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะสายงานกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี เนื่องจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก
อย่างไรก็ตาม แผนขยายการลงทุนเพิ่มเติมจะยังต้องศึกษาและพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องต่อสถานการณ์ เพราะถือเป็นแผนการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแบบระยะยาวระดับ 10 ปี และเป็นช่วงเวลาที่รองรับต่อภาวะเศรษฐกิจที่กลับมาพลิกฟื้นได้อีกครั้งในช่วงอนาคต
ส่วนประเด็นที่กระทรวงพลังงานจะดำเนินการปรับเพิ่มราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV) ขึ้นเป็นระดับ 12.41 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบัน 10.50 บาทต่อกิโลกรัม นายสุรงค์กล่าวให้ความเห็นว่า ถึงแม้จะมีการปรับเพิ่มราคา NGV สูงขึ้น แต่ทางกลุ่ม PTT เองจะยังคงประสบภาวะขาดทุนเหมือนเช่นเดิม
โดยปัจจุบันทางบริษัทมีผลขาดทุนของ NGV เฉลี่ยต่อไตรมาสอยู่ที่ประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งหากมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ภาวะขาดทุนลดลงมาเหลืออยู่ในระดับเท่าไหร่นั้นคงยังให้คำตอบสรุปไม่ได้ภายในทันที เพราะต้องรอดูตัวเลขภาพรวมเสียก่อน ส่วนราคาขายที่บริษัทมองว่าเหมาะสม ควรอยู่ในแถวระดับ 15-16 บาทต่อกิโลกรัม
ทั้งนี้ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน กล่าวในช่วงที่ผ่านมาว่า งวดกลางเดือนก.พ.2556 จะมีการปรับขึ้นราคา NGV ขึ้นจาก 10.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 12.41 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นไปตามที่ได้มอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ศึกษาร่วมกับผู้ประกอบการรถสาธารณะใช้เอ็นจีวี
โดยเบื้องต้นจะเริ่มทยอยปรับขึ้นราคาเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม และจะนำประเด็นดังกล่าวเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภายในช่วงปลายเดือนธ.ค.2555 อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ ทางกระทรวงพลังงานจะช่วยเหลือด้วยการให้ส่วนลด 2 บาทต่อกิโลกรัม
ด้านแหล่งข่าวจากวงการเงิน เปิดเผยว่า สำหรับการเพิ่มทุนของ PTTEP ในครั้งนี้มีแนวโน้มประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน หลังจากมีกระแสตอบรับเข้ามาอย่างหนาแน่น ตั้งแต่ช่วงการเปิดจองใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนงวดเริ่มต้นของวันที่ 3 ธ.ค. จนถึงกำหนดเวลาสุดท้ายเมื่อเที่ยงวันที่ 6 ธ.ค. 55 อีกทั้งผู้ถือหุ้นเดิมยังสามารถใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้มากเกินกำหนดได้
ดังนั้น ถึงแม้จะมีนักลงทุนบางส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิ แต่ทางกลุ่มสถาบันและกองทุนจะเข้ามารับสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวแทน รวมถึงยังใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนในฐานะผู้เดิมอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากราคาขายหุ้นเพิ่มทุนที่ระดับ 142 บาทถือว่าไม่ได้สูงมากเกินไปนักเมื่อเทียบกับพื้นฐานธุรกิจของ PTTEP ที่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีอีกมากในช่วงอนาคต โดย PTTEP จะประกาศผลการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนกันออกมาอย่างเป็นทางการภายในช่วงวันที่ 7 ธ.ค.นี้
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, December 07, 2012
ซื้อหุ้นเพิ่มทุนปตท.สผ.
"ปตท." ซื้อหุ้นเพิ่มทุน PTTEP กว่า 6 หมื่นล้านบาท “สุรงค์” ลั่นการเงินยังแกร่ง มีเงินสดเหลืออีก 3-4 หมื่นล้านบาท ชี้แม้จะเพิ่มราคาขาย NGV แต่ PTT ยังคงขาดทุนเหมือนเดิม วงการเงินย้ำ PTTEP เพิ่มทุนสำเร็จแน่ กองทุนจองซื้อล้น
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ในขณะนี้ทางบริษัทได้ใช้สิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ไปแล้วด้วยวงเงินกว่า 6 หมื่นล้านบาท โดยหลังการใช้ลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุน PTTEP ในครั้งนี้ ทางบริษัทยังมีกระแสเงินสดคงเหลืออยู่ประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท แต่ยังถือเป็นกระแสเงินสดที่อยู่ในระดับปกติและสามารถบริหารจัดการได้แบบไม่มีปัญหา เนื่องจากใช้เงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ PTT ได้เตรียมความพร้อมและวางแผนมาเป็นระยะเวลานานแล้ว
“ในส่วนหุ้นเพิ่มทุนของ PTTEP ทาง PTT เองจะใช้เงินไปประมาณ 6 หมื่นล้านบาทเศษๆ ส่วนกระแสเงินเราจะคงเหลืออยู่แถว 3-4 หมื่นล้านบาท แต่ก็ยังถือเป็นระดับปกติที่สามารถบริหารจัดการได้ไม่มีปัญหา เพราะทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้แนวทางและแผนงานของธุรกิจบริษัทที่ได้เตรียมการกันมาอย่างยาวนานแล้ว” นายสุรงค์ กล่าว
นายสุรงค์ กล่าวอีกว่า ในช่วงอนาคตทางบริษัทจะต้องดำเนินการออกหุ้นกู้เพิ่มเติมอีกหรือไม่นั้นคงจะต้องไปพิจารณาตามสถานการณ์อีกครั้ง ส่วนกรณีที่บริษัทให้ความสนใจขยายการลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะสายงานกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี เนื่องจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก
อย่างไรก็ตาม แผนขยายการลงทุนเพิ่มเติมจะยังต้องศึกษาและพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องต่อสถานการณ์ เพราะถือเป็นแผนการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแบบระยะยาวระดับ 10 ปี และเป็นช่วงเวลาที่รองรับต่อภาวะเศรษฐกิจที่กลับมาพลิกฟื้นได้อีกครั้งในช่วงอนาคต
ส่วนประเด็นที่กระทรวงพลังงานจะดำเนินการปรับเพิ่มราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV) ขึ้นเป็นระดับ 12.41 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบัน 10.50 บาทต่อกิโลกรัม นายสุรงค์กล่าวให้ความเห็นว่า ถึงแม้จะมีการปรับเพิ่มราคา NGV สูงขึ้น แต่ทางกลุ่ม PTT เองจะยังคงประสบภาวะขาดทุนเหมือนเช่นเดิม
โดยปัจจุบันทางบริษัทมีผลขาดทุนของ NGV เฉลี่ยต่อไตรมาสอยู่ที่ประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งหากมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ภาวะขาดทุนลดลงมาเหลืออยู่ในระดับเท่าไหร่นั้นคงยังให้คำตอบสรุปไม่ได้ภายในทันที เพราะต้องรอดูตัวเลขภาพรวมเสียก่อน ส่วนราคาขายที่บริษัทมองว่าเหมาะสม ควรอยู่ในแถวระดับ 15-16 บาทต่อกิโลกรัม
ทั้งนี้ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน กล่าวในช่วงที่ผ่านมาว่า งวดกลางเดือนก.พ.2556 จะมีการปรับขึ้นราคา NGV ขึ้นจาก 10.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 12.41 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นไปตามที่ได้มอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ศึกษาร่วมกับผู้ประกอบการรถสาธารณะใช้เอ็นจีวี
โดยเบื้องต้นจะเริ่มทยอยปรับขึ้นราคาเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม และจะนำประเด็นดังกล่าวเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภายในช่วงปลายเดือนธ.ค.2555 อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ ทางกระทรวงพลังงานจะช่วยเหลือด้วยการให้ส่วนลด 2 บาทต่อกิโลกรัม
ด้านแหล่งข่าวจากวงการเงิน เปิดเผยว่า สำหรับการเพิ่มทุนของ PTTEP ในครั้งนี้มีแนวโน้มประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน หลังจากมีกระแสตอบรับเข้ามาอย่างหนาแน่น ตั้งแต่ช่วงการเปิดจองใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนงวดเริ่มต้นของวันที่ 3 ธ.ค. จนถึงกำหนดเวลาสุดท้ายเมื่อเที่ยงวันที่ 6 ธ.ค. 55 อีกทั้งผู้ถือหุ้นเดิมยังสามารถใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้มากเกินกำหนดได้
ดังนั้น ถึงแม้จะมีนักลงทุนบางส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิ แต่ทางกลุ่มสถาบันและกองทุนจะเข้ามารับสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวแทน รวมถึงยังใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนในฐานะผู้เดิมอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากราคาขายหุ้นเพิ่มทุนที่ระดับ 142 บาทถือว่าไม่ได้สูงมากเกินไปนักเมื่อเทียบกับพื้นฐานธุรกิจของ PTTEP ที่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีอีกมากในช่วงอนาคต โดย PTTEP จะประกาศผลการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนกันออกมาอย่างเป็นทางการภายในช่วงวันที่ 7 ธ.ค.นี้
--จบ--
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 761
ทันหุ้น, 7 ธ.ค. 55
GUNKUL ยึดพม่าปั้นกำไร ซื้อกิจการพลังงาน 100 MW
GUNKUL จับตาเข้าซื้อโครงการพลังงานทดแทนใหม่ในปีหน้า คาดจะมีกำลังการผลิตใหม่ 100
เมกะวัตต์ จากปัจจุบัน 83 เมกะวัตต์ หนุนกำไรปี 2556 โต 61% และ 72% ในปี 2557 ผู้บริหาร
"สมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย" ลุยสร้างโรงไฟฟ้าในพม่า คาดปีหน้ารู้ผล โบรกแนะ "ซื้อ" เป้า 29 บาท
'UAC' ลั่นกำไรปีนี้ทะลุเป้า 15% ปี 56 จ่อรับรู้รายได้โครงการใหม่อื้อ
บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ คาดกำไรปีนี้เกินเป้าหมาย 15% หลัง 9 เดือนบริษัทมีกำไร
103 ล้านบาท เหตุได้แรงหนุนจากราคาปิโตรเคมีในตลาดปรับเพิ่ม และลดต้นทุนบริหารได้ดีขึ้น สำหรับปี
2556 เตรียมรับรู้รายได้โครงการ CBG โครงการแรกเต็มปี พร้อมเดินหน้าสร้างต่ออีก 10 โครงการ
GUNKUL ยึดพม่าปั้นกำไร ซื้อกิจการพลังงาน 100 MW
GUNKUL จับตาเข้าซื้อโครงการพลังงานทดแทนใหม่ในปีหน้า คาดจะมีกำลังการผลิตใหม่ 100
เมกะวัตต์ จากปัจจุบัน 83 เมกะวัตต์ หนุนกำไรปี 2556 โต 61% และ 72% ในปี 2557 ผู้บริหาร
"สมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย" ลุยสร้างโรงไฟฟ้าในพม่า คาดปีหน้ารู้ผล โบรกแนะ "ซื้อ" เป้า 29 บาท
'UAC' ลั่นกำไรปีนี้ทะลุเป้า 15% ปี 56 จ่อรับรู้รายได้โครงการใหม่อื้อ
บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ คาดกำไรปีนี้เกินเป้าหมาย 15% หลัง 9 เดือนบริษัทมีกำไร
103 ล้านบาท เหตุได้แรงหนุนจากราคาปิโตรเคมีในตลาดปรับเพิ่ม และลดต้นทุนบริหารได้ดีขึ้น สำหรับปี
2556 เตรียมรับรู้รายได้โครงการ CBG โครงการแรกเต็มปี พร้อมเดินหน้าสร้างต่ออีก 10 โครงการ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 762
'EA' เดินสายโรดโชว์ 11 จ. แห่ฟังดีเอ็นเอ [ โพสต์ทูเดย์, 7 ธ.ค. 55 ]
พลังงานบริสุทธิ์เดินสายโรดโชว์เตรียมขายไอพีโอ 560 ล้านหุ้น ด้าน "ดีเอ็นเอ" มั่นใจขายเกลี้ยง
นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ ที่ปรึกษา
การเงิน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เปิดเผยว่า EA เริ่มเดินสายนำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) 11 จังหวัด
ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. ที่ จ.ชลบุรี จังหวัดแรก ก่อนเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้ประชาชน (ไอพีโอ) จำนวน 560
ล้านหุ้น นำเงินไปลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาดกำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ ที่ จ.นครสวรรค์
พลังงานบริสุทธิ์เดินสายโรดโชว์เตรียมขายไอพีโอ 560 ล้านหุ้น ด้าน "ดีเอ็นเอ" มั่นใจขายเกลี้ยง
นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ ที่ปรึกษา
การเงิน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เปิดเผยว่า EA เริ่มเดินสายนำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) 11 จังหวัด
ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. ที่ จ.ชลบุรี จังหวัดแรก ก่อนเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้ประชาชน (ไอพีโอ) จำนวน 560
ล้านหุ้น นำเงินไปลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาดกำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ ที่ จ.นครสวรรค์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 763
**PTTGC เซ็น MOU "เปอร์ตามีนา"ศึกษาสร้างปิโตรเคมีคอมเล็กซ์ในอินโดฯ
อินโฟเควสท์ (7 ธ.ค. 55)--นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) เปิดเผยว่า บริษัทลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding:MOU) กับ Mr. Hahung Budya, Marketing and Trading Director และ Mr. Chrisna Damayanto, Refinery Director, PT Pertamina (Persero) โดยมี Ms. Karen Agustiawan, CEO ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายการลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ครบวงจรที่มีสายการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในประเทศอินโดนีเซีย
การลงนาม MOU ดังกล่าว สอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางของบริษัทฯ ในการขยายโอกาสทางธุรกิจออกไปยังต่างประเทศ การลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย จะเป็นโอกาสอันดีในการขยายธุรกิจสู่ตลาดอาเซียน โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนมากถึงเกือบ 300 ล้านคนและมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่มีอัตราเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กำลังการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมากถึงประมาณ 50 % ของความต้องการทั้งหมด
บริษัทฯ มีทิศทางและเป้าหมายในการลงทุนขยายธุรกิจ 3 ด้านหลัก คือ การขยายธุรกิจสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (High Volume Specialties : HVS) และธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Chemicals) และการลงทุนเพิ่มในธุรกิจปิโตรเคมีซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่อยู่ในแผนการลงทุน การร่วมเป็นพันธมิตรระหว่าง พีทีที โกลบอล เคมิคอล กับเปอร์ตามีนา (Pertamina) ในโครงการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์อย่างครบวงจร จะสร้างประโยชน์ให้ทั้ง 2 ผ่ายและนำไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน
"บริษัทฯ มีความภูมิใจที่ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 3 บริษัทที่เข้าร่วมศึกษาการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลอินโดนีเซียให้การสนับสนุน ซึ่งสะท้อนถึงการเป็น Strategic Partner ทั้งในด้านกลยุทธ์ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจปิโตรเคมี การลงนามความร่วมมือในโครงการนี้ ครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีในธุรกิจปิโตรเคมีร่วมกัน เพื่อสร้างปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ระดับโลกให้เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย"นายอนนต์ กล่าว
Ms. Karen กล่าวว่า เปอร์ตามีนา มีโรงกลั่นใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีขนาดธุรกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ในเอเชีย ทำให้มีศักยภาพในด้านธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจร รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติของอินโดนีเซีย การมองหาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะช่วยสร้างโอกาสในการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นและนำไปสู่การเป็นผู้นำของตลาดปิโตรเคมีในประเทศ
ทั้งนี้ เปอร์ตามีนา พิจารณาคัดเลือก Stategic Partner อย่างจริงจังและพิถีพิถันเพื่อร่วมศึกษาการลงทุนและเห็นว่า PTTGC เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพตรงตามที่เราต้องการ ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายธุรกิจปิโตรเคมีร่วมกัน โดยคาดหวังว่าการร่วมดำเนินการจะบรรลุถึงแผนการก่อสร้างและปฏิบัติการในโรงงานปิโตรเคมี รวมทั้งขยายความร่วมมือในอนาคตในด้านอื่นๆ อาทิ การตลาด การวิจัยผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาไปสู่ทิศทางใหม่ของธุรกิจปิโตรเคมีในอินโดนีเซีย
ธุรกิจปิโตรเคมีเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของเปอร์ตามีนาที่กำลังเติบโตตามวิสัยทัศน์ซึ่งมุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านพลังงานในอาเซียนและผู้นำด้านพลังงานระดับโลก(World Class Energy and Asian Energy Champion) ปัจจุบันเศรษฐกิจของอินโดนีเซียมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความต้องการปิโตรเคมีที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตใหม่ๆ ในอินโดนีเซีย รวมทั้งสร้างโอกาสในการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจ
อนึ่ง เปอร์ตามีนา เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศอินโดนีเซีย ที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลอินโดนีเซีย มีโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนและมีขนาดธุรกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในเอเซีย โดยมีกำลังการกลั่นน้ำมันมากกว่า 1,000,000 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้เปอร์ตามีนา มีเป้าหมายที่จะเป็น ผู้นำในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศ
--จบ--
อินโฟเควสท์ (7 ธ.ค. 55)--นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) เปิดเผยว่า บริษัทลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding:MOU) กับ Mr. Hahung Budya, Marketing and Trading Director และ Mr. Chrisna Damayanto, Refinery Director, PT Pertamina (Persero) โดยมี Ms. Karen Agustiawan, CEO ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายการลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ครบวงจรที่มีสายการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในประเทศอินโดนีเซีย
การลงนาม MOU ดังกล่าว สอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางของบริษัทฯ ในการขยายโอกาสทางธุรกิจออกไปยังต่างประเทศ การลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย จะเป็นโอกาสอันดีในการขยายธุรกิจสู่ตลาดอาเซียน โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนมากถึงเกือบ 300 ล้านคนและมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่มีอัตราเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กำลังการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมากถึงประมาณ 50 % ของความต้องการทั้งหมด
บริษัทฯ มีทิศทางและเป้าหมายในการลงทุนขยายธุรกิจ 3 ด้านหลัก คือ การขยายธุรกิจสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (High Volume Specialties : HVS) และธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Chemicals) และการลงทุนเพิ่มในธุรกิจปิโตรเคมีซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่อยู่ในแผนการลงทุน การร่วมเป็นพันธมิตรระหว่าง พีทีที โกลบอล เคมิคอล กับเปอร์ตามีนา (Pertamina) ในโครงการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์อย่างครบวงจร จะสร้างประโยชน์ให้ทั้ง 2 ผ่ายและนำไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน
"บริษัทฯ มีความภูมิใจที่ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 3 บริษัทที่เข้าร่วมศึกษาการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลอินโดนีเซียให้การสนับสนุน ซึ่งสะท้อนถึงการเป็น Strategic Partner ทั้งในด้านกลยุทธ์ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจปิโตรเคมี การลงนามความร่วมมือในโครงการนี้ ครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีในธุรกิจปิโตรเคมีร่วมกัน เพื่อสร้างปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ระดับโลกให้เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย"นายอนนต์ กล่าว
Ms. Karen กล่าวว่า เปอร์ตามีนา มีโรงกลั่นใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีขนาดธุรกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ในเอเชีย ทำให้มีศักยภาพในด้านธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจร รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติของอินโดนีเซีย การมองหาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะช่วยสร้างโอกาสในการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นและนำไปสู่การเป็นผู้นำของตลาดปิโตรเคมีในประเทศ
ทั้งนี้ เปอร์ตามีนา พิจารณาคัดเลือก Stategic Partner อย่างจริงจังและพิถีพิถันเพื่อร่วมศึกษาการลงทุนและเห็นว่า PTTGC เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพตรงตามที่เราต้องการ ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายธุรกิจปิโตรเคมีร่วมกัน โดยคาดหวังว่าการร่วมดำเนินการจะบรรลุถึงแผนการก่อสร้างและปฏิบัติการในโรงงานปิโตรเคมี รวมทั้งขยายความร่วมมือในอนาคตในด้านอื่นๆ อาทิ การตลาด การวิจัยผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาไปสู่ทิศทางใหม่ของธุรกิจปิโตรเคมีในอินโดนีเซีย
ธุรกิจปิโตรเคมีเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของเปอร์ตามีนาที่กำลังเติบโตตามวิสัยทัศน์ซึ่งมุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านพลังงานในอาเซียนและผู้นำด้านพลังงานระดับโลก(World Class Energy and Asian Energy Champion) ปัจจุบันเศรษฐกิจของอินโดนีเซียมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความต้องการปิโตรเคมีที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตใหม่ๆ ในอินโดนีเซีย รวมทั้งสร้างโอกาสในการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจ
อนึ่ง เปอร์ตามีนา เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศอินโดนีเซีย ที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลอินโดนีเซีย มีโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนและมีขนาดธุรกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในเอเซีย โดยมีกำลังการกลั่นน้ำมันมากกว่า 1,000,000 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้เปอร์ตามีนา มีเป้าหมายที่จะเป็น ผู้นำในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 764
พลังงานขาดแคลนนักวิชาการจี้ปรับโครงสร้างรับ AEC
Source - สยามธุรกิจ (Th), Saturday, December 08, 2012
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดม นักวิชาการ พร้อมผู้แทนองค์กรเศรษฐกิจพลังงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง จัดเสวนานโยบายเศรษฐกิจพลังงานส่งท้ายปี ชูประเด็นวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจพลังงานของประเทศไทย หลังเข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน (AEC) จะยังคงสถานการณ์พลังงานไม่เพียงพอต่อไป เนื่องด้วย ความต้องการพลังงานในประเทศมีเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานนำเข้าต่อไป วอนภาครัฐเตรียมรับมือ ปรับนโยบายพลังงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่การแข่งขันสูงขึ้น พร้อม ชวนภาคประชาชนร่วมมือกันใช้พลังงานอย่างประหยัดและรู้คุณค่า
ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ประธานเปิดงานเสวนา นโยบายเศรษฐกิจพลังงาน กล่าวว่า การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมพลังงานและประชาชนคนไทยเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งทำความเข้าใจ สร้างองค์ความรู้ พร้อมปลูกฝังแนวคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมในการบริโภคพลังงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ทั้งในด้านของอุตสาหกรรมพลังงานที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานที่ใหม่ๆ การหาพลังงานทดแทน ตลอดจนหาพลังงานประยุกต์จากประเภทอื่นๆ ในขณะที่ภาคประชาชน ที่เป็นผู้บริโภคพลังงานก็ต้องรู้จักประหยัด และใช้พลังงานให้คุ้มค่า เพื่อให้ประเทศเราสามารถแข่งขันและลดช่องว่างในทาง เศรษฐกิจจากประเทศคู่แข่งอื่นๆ ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้
ในปี 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) โดยการเปิดเสรีภายใต้ AEC จะก่อให้เกิด การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ตลอดจนทุนและแรงงานได้อย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม แต่ก็จะทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง ระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียน เพื่อเป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคพลังงาน ซึ่งไทยถือเป็นประเทศนำเข้าพลังงานสุทธิที่สูงเป็นอันดับสองของภูมิภาครองจากประเทศสิงคโปร์ โดยมีปริมาณการ นำเข้าพลังงานขั้นต้น สูงถึง 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน และมีสัดส่วนการบริโภคพลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศอื่น เมื่อเทียบกับรายได้ ตลอดจนการดำเนินนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศของรัฐบาลที่มีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทั้งนี้หากการอุดหนุนราคาพลังงานในระดับต่ำยังดำเนินอยู่ก็เท่ากับว่า การอุดหนุนนั้นจะแปรสภาพจากการอุดหนุนแก่ประชากรไทย 60 ล้านคน เป็นการอุดหนุนแก่ประชากรอาเซียนทั้ง 600 ล้านคน ซึ่งจะยิ่งทำให้ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่รวดเร็วกว่าเดิมได้ในอนาคต
ขณะที่ภาครัฐได้ดำเนินนโยบายแผนด้านพลังงาน ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 โดยดันยุทธศาสตร์ แผนจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงฯ ภายใน 15 ปี, แผนส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด, แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานฯ และแผนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาฯ ในขณะที่ภาพรวมราคาน้ำมันดิบและเชื้อเพลิงเหลวมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับประเทศไทย มีแนวโน้มการใช้พลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานรวมกันสูงถึงกว่าร้อยละ 70 และภาคส่วนอื่นๆ รวมกันอีกประมาณร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ทั้งประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้นำเข้าพลังงานชนิดต่างๆ ทั้ง ไฟฟ้า, ถ่านหิน, ก๊าซธรรมชาติ, น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เพื่อรองรับการใช้งานภายในประเทศ
จากการคาดการณ์ดังกล่าวนี้ ทางนักวิชาการด้านพลังงานเล็งเห็นว่า แนวโน้มสถานการณ์พลังงานและผลกระทบต่อภาคธุรกิจหลังการเข้าสู่ AEC ย่อมเกิด ขึ้นอย่างแน่นอน โดยจะมาจากปัญหาการแข่งขันที่สูงขึ้น ทำให้พลังงานที่เป็นปัจจัยสำคัญด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรมจะถูกนำมาใช้เป็นตัวแปรในการแข่งขัน ดังนั้น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องวางแนวทางการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC ใน อนาคต พร้อมทั้งต้องเร่งบริหารจัดการพลังงาน (Demand Side Management) เพื่อการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ โดยอาจจะต้องนำร่องนโยบายเร่งด่วนในการสนับสนุนพลังงานทดแทน หรือพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อรองรับการขาดแคลนพลังงานหลักในอนาคต ตลอดจนเตรียมมาตรการรับมือ และแนวทางการเตรียมความพร้อมต่อ AEC ของภาครัฐและเอกชนต่อไป
--จบ--
Source - สยามธุรกิจ (Th), Saturday, December 08, 2012
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดม นักวิชาการ พร้อมผู้แทนองค์กรเศรษฐกิจพลังงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง จัดเสวนานโยบายเศรษฐกิจพลังงานส่งท้ายปี ชูประเด็นวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจพลังงานของประเทศไทย หลังเข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน (AEC) จะยังคงสถานการณ์พลังงานไม่เพียงพอต่อไป เนื่องด้วย ความต้องการพลังงานในประเทศมีเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานนำเข้าต่อไป วอนภาครัฐเตรียมรับมือ ปรับนโยบายพลังงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่การแข่งขันสูงขึ้น พร้อม ชวนภาคประชาชนร่วมมือกันใช้พลังงานอย่างประหยัดและรู้คุณค่า
ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ประธานเปิดงานเสวนา นโยบายเศรษฐกิจพลังงาน กล่าวว่า การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมพลังงานและประชาชนคนไทยเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งทำความเข้าใจ สร้างองค์ความรู้ พร้อมปลูกฝังแนวคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมในการบริโภคพลังงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ทั้งในด้านของอุตสาหกรรมพลังงานที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานที่ใหม่ๆ การหาพลังงานทดแทน ตลอดจนหาพลังงานประยุกต์จากประเภทอื่นๆ ในขณะที่ภาคประชาชน ที่เป็นผู้บริโภคพลังงานก็ต้องรู้จักประหยัด และใช้พลังงานให้คุ้มค่า เพื่อให้ประเทศเราสามารถแข่งขันและลดช่องว่างในทาง เศรษฐกิจจากประเทศคู่แข่งอื่นๆ ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้
ในปี 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) โดยการเปิดเสรีภายใต้ AEC จะก่อให้เกิด การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ตลอดจนทุนและแรงงานได้อย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม แต่ก็จะทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง ระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียน เพื่อเป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคพลังงาน ซึ่งไทยถือเป็นประเทศนำเข้าพลังงานสุทธิที่สูงเป็นอันดับสองของภูมิภาครองจากประเทศสิงคโปร์ โดยมีปริมาณการ นำเข้าพลังงานขั้นต้น สูงถึง 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน และมีสัดส่วนการบริโภคพลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศอื่น เมื่อเทียบกับรายได้ ตลอดจนการดำเนินนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศของรัฐบาลที่มีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทั้งนี้หากการอุดหนุนราคาพลังงานในระดับต่ำยังดำเนินอยู่ก็เท่ากับว่า การอุดหนุนนั้นจะแปรสภาพจากการอุดหนุนแก่ประชากรไทย 60 ล้านคน เป็นการอุดหนุนแก่ประชากรอาเซียนทั้ง 600 ล้านคน ซึ่งจะยิ่งทำให้ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่รวดเร็วกว่าเดิมได้ในอนาคต
ขณะที่ภาครัฐได้ดำเนินนโยบายแผนด้านพลังงาน ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 โดยดันยุทธศาสตร์ แผนจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงฯ ภายใน 15 ปี, แผนส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด, แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานฯ และแผนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาฯ ในขณะที่ภาพรวมราคาน้ำมันดิบและเชื้อเพลิงเหลวมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับประเทศไทย มีแนวโน้มการใช้พลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานรวมกันสูงถึงกว่าร้อยละ 70 และภาคส่วนอื่นๆ รวมกันอีกประมาณร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ทั้งประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้นำเข้าพลังงานชนิดต่างๆ ทั้ง ไฟฟ้า, ถ่านหิน, ก๊าซธรรมชาติ, น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เพื่อรองรับการใช้งานภายในประเทศ
จากการคาดการณ์ดังกล่าวนี้ ทางนักวิชาการด้านพลังงานเล็งเห็นว่า แนวโน้มสถานการณ์พลังงานและผลกระทบต่อภาคธุรกิจหลังการเข้าสู่ AEC ย่อมเกิด ขึ้นอย่างแน่นอน โดยจะมาจากปัญหาการแข่งขันที่สูงขึ้น ทำให้พลังงานที่เป็นปัจจัยสำคัญด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรมจะถูกนำมาใช้เป็นตัวแปรในการแข่งขัน ดังนั้น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องวางแนวทางการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC ใน อนาคต พร้อมทั้งต้องเร่งบริหารจัดการพลังงาน (Demand Side Management) เพื่อการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ โดยอาจจะต้องนำร่องนโยบายเร่งด่วนในการสนับสนุนพลังงานทดแทน หรือพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อรองรับการขาดแคลนพลังงานหลักในอนาคต ตลอดจนเตรียมมาตรการรับมือ และแนวทางการเตรียมความพร้อมต่อ AEC ของภาครัฐและเอกชนต่อไป
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 765
PTTGC to invest in US$5bn Java complex
Source - Bangkok Post (Eng), Saturday, December 08, 2012
YUTHANA PRAIWAN
The SET-listed PTT Global Chemical Plc (PTTGC) yesterday signed a memorandum of understanding with Indonesia’s national oil company, PT Pertamina (Persero), to invest jointly in a US$5-billion integrated oil refinery and chemical complex on Java.
"We’re confident that a partnership between PTTGC and Pertamina in a petrochemical complex will be mutually beneficial as it reflects the shared strategic intent of both companies," said Anon Sirisaengtaksin, chief executive of PTTGC,majority-owned by giant PTT Plc.
He said PTTGC plans to diversify its business into downstream specialties and green chemicals.
More details are not yet available,but an official agreement is expected to be signed by the two in April.
Pertamina chief executive Karen Agustiawan said the partnership will provide an opportunity to increase Pertamina’s refinery economics and to lead the domestic petrochemicals market.
The link-up between these two Southeast Asian national champions will also include collaboration in areas such as marketing, product research and development.
"Petrochemicals are one of Pertamina’s core growth pillars to achieve its 2025 vision as a World Class Energy and Asian Energy Champion. Pertamina is serious about this partnership and the Indonesian authorities are showing strong support towards Pertamina," said Ms Agustiawan.
"As Indonesia’s economy continues to grow strongly, so does demand for petrochemicals. Stable and cost-effective domestic supply is needed to encourage companies to invest in new manufacturing industries in Indonesia, creating jobs and spurring economic growth."
She said Pertamina plans to become Indonesia’s leading petrochemical manufacturing and marketing player,providing Indonesian industry with reliable and cost-effective supply.
Pertamina plans to integrate five oil refineries with petrochemicals.
Shares of PTTGC closed yesterday on the SET at 66 baht, down 1.25 baht, in trade worth 697 million baht.
Source: Bangkok Post
Source - Bangkok Post (Eng), Saturday, December 08, 2012
YUTHANA PRAIWAN
The SET-listed PTT Global Chemical Plc (PTTGC) yesterday signed a memorandum of understanding with Indonesia’s national oil company, PT Pertamina (Persero), to invest jointly in a US$5-billion integrated oil refinery and chemical complex on Java.
"We’re confident that a partnership between PTTGC and Pertamina in a petrochemical complex will be mutually beneficial as it reflects the shared strategic intent of both companies," said Anon Sirisaengtaksin, chief executive of PTTGC,majority-owned by giant PTT Plc.
He said PTTGC plans to diversify its business into downstream specialties and green chemicals.
More details are not yet available,but an official agreement is expected to be signed by the two in April.
Pertamina chief executive Karen Agustiawan said the partnership will provide an opportunity to increase Pertamina’s refinery economics and to lead the domestic petrochemicals market.
The link-up between these two Southeast Asian national champions will also include collaboration in areas such as marketing, product research and development.
"Petrochemicals are one of Pertamina’s core growth pillars to achieve its 2025 vision as a World Class Energy and Asian Energy Champion. Pertamina is serious about this partnership and the Indonesian authorities are showing strong support towards Pertamina," said Ms Agustiawan.
"As Indonesia’s economy continues to grow strongly, so does demand for petrochemicals. Stable and cost-effective domestic supply is needed to encourage companies to invest in new manufacturing industries in Indonesia, creating jobs and spurring economic growth."
She said Pertamina plans to become Indonesia’s leading petrochemical manufacturing and marketing player,providing Indonesian industry with reliable and cost-effective supply.
Pertamina plans to integrate five oil refineries with petrochemicals.
Shares of PTTGC closed yesterday on the SET at 66 baht, down 1.25 baht, in trade worth 697 million baht.
Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 766
โรงกลั่นทำใจรอคิวปรับราคาLPG
Source - ไทยโพสต์ (Th), Monday, December 10, 2012
โรงกลั่น ยอมต่อ คิวรอปรับขึ้นราคาขายแอลพีจีหน้าโรงกลั่นหลังปี 2556 ระบุภาครัฐขึ้นราคาภาคครัวเรือนและขน ส่ง ช่วยลดภาระโรงกลั่นลงได้บางส่วนแม้ยังขาดทุน 200 เหรียญสหรัฐต่อตัน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประ ธาน กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประ เทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพ ศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เตรียมปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) เฉพาะภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง ในปี 2556 แต่ส่วนภาคอุตสาหกรรมจะยังไม่ปรับเปลี่ยนราคา โดยให้คงราคาเพดานสูงสุดไว้ไม่เกิน 30.13 บาทต่อกิโลกรัม พร้อมควบคุมราคาจำหน่ายหน้าโรงกลั่น โดยให้คิดราคาตลาดโลกเพียง 76% และราคาในประเทศ 24% หรือ 333 เหรียญต่อตัน สำหรับตลาดปี 2556 นั้น ทางกลุ่มธุรกิจโรงกลั่นพร้อมที่จะรอการปรับขึ้นราคาในโอกาสต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับขึ้นราคาจำหน่ายปลายทางของภาคครัวเรือนและภาคขนส่งนั้น ได้ช่วยลดภาระต้นทุนโรงกลั่นไปได้ บางส่วน จากเดิมที่โรงกลั่นได้ซื้อ น้ำมันดิบมากลั่นและได้แอลพีจีโดยรวม 1.3 แสนตันต่อเดือน เมื่อนำมาขายตามสัดส่วนที่ภาครัฐกำหนดทำให้ขาดทุนประมาณ 880 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อเทียบกับเนื้อน้ำมันที่ซื้อตามราคาตลาดโลก แต่เมื่อรัฐปรับเพิ่มราคาจำหน่ายปลายทางบางส่วน จะช่วยให้ลดภาระขาดทุนลงเหลือการขาดทุนประมาณ 200 เหรียญสหรัฐต่อตัน
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตหากภาครัฐปรับราคาจำหน่ายหน้าโรงกลั่นให้เป็นไปตามตลาดโลกได้สมบูรณ์ จะช่วยให้โรงกลั่นผลิตแอลพีจีออกมาป้อนระบบภาคครัวเรือนและขนส่งได้มากขึ้น โดยจากเดิมที่โรงกลั่นส่วนใหญ่จะทำสัญญาระยะยาวเพื่อขายแอลพีจีป้อนโรงงานปิโตรเคมี ก็จะตัดสินใจนำแอลพีจีมาขายให้ผู้บริโภคแทน และ นำแนฟทาซึ่งมีคุณสมบัติคล้าย น้ำมันไปทดแทนให้ภาคอุตสาห กรรมปิโตรเคมีแทนได้
"วันนี้ราคาแอลพีจีตลาดโลกอยู่ที่ 900-1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือคิดเป็นราคา 38 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้น เมื่อภาครัฐจะขึ้นราคาขายแอลพีจีสูงสุดที่ 24.82 บาทต่อกิโลกรัม ในปี 2556 ก็ยังไม่ครอบคลุมราคาตลาดโลกอยู่ดี แต่การที่ภาครัฐปรับราคาปลายทางขึ้นบ้างจากเดิม ที่กำ หนดให้ขายภาคครัวเรือนแค่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม มายาว นาน ก็จะทำให้ลดภาระโรงแยกก๊าซและโรงกลั่นในการผลิตแอลพีจีได้บางส่วน" นายสุรงค์ กล่าว.
--จบ--
Source - ไทยโพสต์ (Th), Monday, December 10, 2012
โรงกลั่น ยอมต่อ คิวรอปรับขึ้นราคาขายแอลพีจีหน้าโรงกลั่นหลังปี 2556 ระบุภาครัฐขึ้นราคาภาคครัวเรือนและขน ส่ง ช่วยลดภาระโรงกลั่นลงได้บางส่วนแม้ยังขาดทุน 200 เหรียญสหรัฐต่อตัน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประ ธาน กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประ เทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพ ศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เตรียมปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) เฉพาะภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง ในปี 2556 แต่ส่วนภาคอุตสาหกรรมจะยังไม่ปรับเปลี่ยนราคา โดยให้คงราคาเพดานสูงสุดไว้ไม่เกิน 30.13 บาทต่อกิโลกรัม พร้อมควบคุมราคาจำหน่ายหน้าโรงกลั่น โดยให้คิดราคาตลาดโลกเพียง 76% และราคาในประเทศ 24% หรือ 333 เหรียญต่อตัน สำหรับตลาดปี 2556 นั้น ทางกลุ่มธุรกิจโรงกลั่นพร้อมที่จะรอการปรับขึ้นราคาในโอกาสต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับขึ้นราคาจำหน่ายปลายทางของภาคครัวเรือนและภาคขนส่งนั้น ได้ช่วยลดภาระต้นทุนโรงกลั่นไปได้ บางส่วน จากเดิมที่โรงกลั่นได้ซื้อ น้ำมันดิบมากลั่นและได้แอลพีจีโดยรวม 1.3 แสนตันต่อเดือน เมื่อนำมาขายตามสัดส่วนที่ภาครัฐกำหนดทำให้ขาดทุนประมาณ 880 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อเทียบกับเนื้อน้ำมันที่ซื้อตามราคาตลาดโลก แต่เมื่อรัฐปรับเพิ่มราคาจำหน่ายปลายทางบางส่วน จะช่วยให้ลดภาระขาดทุนลงเหลือการขาดทุนประมาณ 200 เหรียญสหรัฐต่อตัน
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตหากภาครัฐปรับราคาจำหน่ายหน้าโรงกลั่นให้เป็นไปตามตลาดโลกได้สมบูรณ์ จะช่วยให้โรงกลั่นผลิตแอลพีจีออกมาป้อนระบบภาคครัวเรือนและขนส่งได้มากขึ้น โดยจากเดิมที่โรงกลั่นส่วนใหญ่จะทำสัญญาระยะยาวเพื่อขายแอลพีจีป้อนโรงงานปิโตรเคมี ก็จะตัดสินใจนำแอลพีจีมาขายให้ผู้บริโภคแทน และ นำแนฟทาซึ่งมีคุณสมบัติคล้าย น้ำมันไปทดแทนให้ภาคอุตสาห กรรมปิโตรเคมีแทนได้
"วันนี้ราคาแอลพีจีตลาดโลกอยู่ที่ 900-1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือคิดเป็นราคา 38 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้น เมื่อภาครัฐจะขึ้นราคาขายแอลพีจีสูงสุดที่ 24.82 บาทต่อกิโลกรัม ในปี 2556 ก็ยังไม่ครอบคลุมราคาตลาดโลกอยู่ดี แต่การที่ภาครัฐปรับราคาปลายทางขึ้นบ้างจากเดิม ที่กำ หนดให้ขายภาคครัวเรือนแค่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม มายาว นาน ก็จะทำให้ลดภาระโรงแยกก๊าซและโรงกลั่นในการผลิตแอลพีจีได้บางส่วน" นายสุรงค์ กล่าว.
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 767
ปตท.เร่งจัดทัพธุรกิจ ยุบรวมในเครือรับAEC
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Tuesday, December 11, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.เร่งจัดทัพธุรกิจก้าวสู่บริษัทพลังงานข้ามชาติรับAEC ปี 2558 เพื่อความคล่องตัวเร่งปรับโฉม 39 บริษัทในเครือเป้าหมายให้เหลือ เพียง 29 บริษัทใน 3 กลุ่มธุรกิจคาดภาพทั้งหมดจะชัดเจนปี 2556 พร้อมวางเป้าจัดหาพลังงาน 50% ของความต้องการประเทศในปี 2563
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปตท.อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรปตท.เพื่อความคล่องตัวในการทำธุรกิจที่จะมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้นในอนาคตโดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ปี 2558 ซึ่งเป้าหมายปตท.ที่เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติจะต้องก้าวสู่บริษัทพลังงานข้ามชาติ
โดยปตท.มีแผนปรับลดขนาดและปรับโครงสร้างองค์กร 39 บริษัทในเครือให้เหลือ 29 บริษัทจากบริษัทในเครือที่มีทั้งสิ้นประมาณ 250 บริษัท
"การลดขนาดและปรับโครงสร้างก็มีทั้งการควบรวมกิจการ การยุบบริษัทลง ซึ่งระยะแรกก็ได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้วเช่น การควบรวม บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้(PTTUT)และบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ(ประเทศไทย) จำกัด (IPT) เป็นต้น โดยภาพทั้งหมดน่าจะเห็นชัดเจนมากขึ้นในปี 2556 ทั้งหมดก็เพื่อความคล่องตัวและสามารถแสวงหาโอกาสในการลงทุนใหม่ๆ ที่เป็นอนาคตได้มากขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับการปรับโครงสร้างบริษัทในเครือปตท. 39 บริษัทเป้าหมายแบ่งแยกตามกลุ่มธุรกิจดังนี้ ธุรกิจน้ำมันและการค้า(Oil&Trading) 12 บริษัท ธุรกิจก๊าซฯและไฟฟ้า(Gas&Power) 15 บริษัท และธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น(P&R) จำนวน 9 บริษัท และเมื่อปรับโครงสร้างแล้วมีเป้าหมายจะเหลือ 29 บริษัทนั้นแบ่งตามกลุ่มธุรกิจดังนี้คือ 1. กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าจาก 12 บริษัทจะเหลือเพียง 5 บริษัทซึ่งส่วนใหญ่จะมีการนำบริษัทที่ดำเนินธุรกิจคล้ายกันมาควบรวมเป็นบริษัทเดียวโดยบริษัทที่จะเหลือ เช่น บ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ(FPT) บ.ท่อส่งปิโตรเลียมไทย(แทปไลน์)ฯลฯ
2. กลุ่มธุรกิจก๊าซฯและไฟฟ้าจาก 15 บริษัทเป้าหมายจะเหลือ 14 บริษัท โดยจะจัดตั้งบริษัทธุรกิจไฟฟ้าขึ้นมาใหม่รวมบริษัทที่ผลิตไฟฟ้า 5 บริษัทมาจัดไว้ในบริษัทดังกล่าวและ 3. กลุ่ม P&R จาก 9 บริษัทจะเหลือ 7 บริษัทโดยมีการยุบรวมส่วนของระบบคลังเข้ามาเป็นบริษัทเดียวกัน เป็นต้น
สำหรับทิศทางการจัดหาพลังงานของปตท.ได้ตั้งเป้าหมายที่จะจัดหาพลังงานให้สอดรับกับความต้องการพลังงานของประเทศโดยอิงกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี) โดยมีเป้าหมายจัดหาพลังงานให้ได้ 50% ของความต้องการพลังงานประเทศในปี 2563 ที่คาดว่าจะมีความต้องการพลังงานรวมอยู่ที่ 2.84 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบจากในปี 2555 ที่จัดหาอยู่ในระดับ 17% ของความต้องการใช้พลังงานรวมของประเทศที่ประมาณ 2.23 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบ
แหล่งข่าวกล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ปตท.แปรรูปตั้งแต่ปี 2544-2554 ปตท.ได้ส่งรายได้เข้ารัฐในรูปของเงินปันผลและภาษีเงินรวมประมาณ 4.6 แสนล้านบาทและเมื่อรวมกับปี 2555 คาดว่าจะสูงกว่า 5 แสนล้านบาทและกลุ่มปตท.ยังมีส่วนสำคัญต่อการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศเพราะมีมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสูงถึง 2 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็น 19% ในตลาดฯ
--จบ--
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Tuesday, December 11, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.เร่งจัดทัพธุรกิจก้าวสู่บริษัทพลังงานข้ามชาติรับAEC ปี 2558 เพื่อความคล่องตัวเร่งปรับโฉม 39 บริษัทในเครือเป้าหมายให้เหลือ เพียง 29 บริษัทใน 3 กลุ่มธุรกิจคาดภาพทั้งหมดจะชัดเจนปี 2556 พร้อมวางเป้าจัดหาพลังงาน 50% ของความต้องการประเทศในปี 2563
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปตท.อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรปตท.เพื่อความคล่องตัวในการทำธุรกิจที่จะมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้นในอนาคตโดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ปี 2558 ซึ่งเป้าหมายปตท.ที่เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติจะต้องก้าวสู่บริษัทพลังงานข้ามชาติ
โดยปตท.มีแผนปรับลดขนาดและปรับโครงสร้างองค์กร 39 บริษัทในเครือให้เหลือ 29 บริษัทจากบริษัทในเครือที่มีทั้งสิ้นประมาณ 250 บริษัท
"การลดขนาดและปรับโครงสร้างก็มีทั้งการควบรวมกิจการ การยุบบริษัทลง ซึ่งระยะแรกก็ได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้วเช่น การควบรวม บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้(PTTUT)และบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ(ประเทศไทย) จำกัด (IPT) เป็นต้น โดยภาพทั้งหมดน่าจะเห็นชัดเจนมากขึ้นในปี 2556 ทั้งหมดก็เพื่อความคล่องตัวและสามารถแสวงหาโอกาสในการลงทุนใหม่ๆ ที่เป็นอนาคตได้มากขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับการปรับโครงสร้างบริษัทในเครือปตท. 39 บริษัทเป้าหมายแบ่งแยกตามกลุ่มธุรกิจดังนี้ ธุรกิจน้ำมันและการค้า(Oil&Trading) 12 บริษัท ธุรกิจก๊าซฯและไฟฟ้า(Gas&Power) 15 บริษัท และธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น(P&R) จำนวน 9 บริษัท และเมื่อปรับโครงสร้างแล้วมีเป้าหมายจะเหลือ 29 บริษัทนั้นแบ่งตามกลุ่มธุรกิจดังนี้คือ 1. กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าจาก 12 บริษัทจะเหลือเพียง 5 บริษัทซึ่งส่วนใหญ่จะมีการนำบริษัทที่ดำเนินธุรกิจคล้ายกันมาควบรวมเป็นบริษัทเดียวโดยบริษัทที่จะเหลือ เช่น บ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ(FPT) บ.ท่อส่งปิโตรเลียมไทย(แทปไลน์)ฯลฯ
2. กลุ่มธุรกิจก๊าซฯและไฟฟ้าจาก 15 บริษัทเป้าหมายจะเหลือ 14 บริษัท โดยจะจัดตั้งบริษัทธุรกิจไฟฟ้าขึ้นมาใหม่รวมบริษัทที่ผลิตไฟฟ้า 5 บริษัทมาจัดไว้ในบริษัทดังกล่าวและ 3. กลุ่ม P&R จาก 9 บริษัทจะเหลือ 7 บริษัทโดยมีการยุบรวมส่วนของระบบคลังเข้ามาเป็นบริษัทเดียวกัน เป็นต้น
สำหรับทิศทางการจัดหาพลังงานของปตท.ได้ตั้งเป้าหมายที่จะจัดหาพลังงานให้สอดรับกับความต้องการพลังงานของประเทศโดยอิงกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี) โดยมีเป้าหมายจัดหาพลังงานให้ได้ 50% ของความต้องการพลังงานประเทศในปี 2563 ที่คาดว่าจะมีความต้องการพลังงานรวมอยู่ที่ 2.84 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบจากในปี 2555 ที่จัดหาอยู่ในระดับ 17% ของความต้องการใช้พลังงานรวมของประเทศที่ประมาณ 2.23 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบ
แหล่งข่าวกล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ปตท.แปรรูปตั้งแต่ปี 2544-2554 ปตท.ได้ส่งรายได้เข้ารัฐในรูปของเงินปันผลและภาษีเงินรวมประมาณ 4.6 แสนล้านบาทและเมื่อรวมกับปี 2555 คาดว่าจะสูงกว่า 5 แสนล้านบาทและกลุ่มปตท.ยังมีส่วนสำคัญต่อการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศเพราะมีมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสูงถึง 2 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็น 19% ในตลาดฯ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 768
PTTGCเซ็นMOU เปอร์ตามีนา
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, December 11, 2012
ศึกษาลงทุน"ปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์"ในอินโดนีเซีย
"PTTGC" เซ็นเอ็มโอยูกับ "เปอร์ตามีนา" บริษัทน้ำมันแห่งชาติของอินโดนีเซีย ศึกษาการร่วมลงทุนสร้างปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ครบวงจรในอินโดนีเซีย รองรับความต้องการของประชากรเกือบ 300 ล้านคน และขยายธุรกิจสู่ตลาดอาเซียน
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC เปิดเผยว่า บริษัทฯลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) กับ Mr. Hahung Budya, Marketing and Trading Director และ Mr. Chrisna Damayanto, Refinery Director, PT Pertamina (Persero) โดยมี Ms. Karen Agustiawan, CEO, Pertamina ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายการลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ครบวงจรที่มีสายการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในประเทศอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ การลงนาม MOU ดังกล่าว สอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางของบริษัทฯ ในการขยายโอกาสทางธุรกิจออกไปยังต่างประเทศ การลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย จะเป็นโอกาสอันดีในการขยายธุรกิจสู่ตลาดอาเซียน โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนมากถึงเกือบ 300 ล้านคน และมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่มีอัตราเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กำลังการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมากถึงประมาณ 50 % ของความต้องการทั้งหมด
โดยบริษัทฯ มีทิศทางและเป้าหมายในการลงทุนขยายธุรกิจ 3 ด้านหลัก คือ การขยายธุรกิจสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (High Volume Specialties : HVS) และธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Chemicals) และการลงทุนเพิ่มในธุรกิจปิโตรเคมีซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่อยู่ในแผนการลงทุน
"การร่วมเป็นพันธมิตรระหว่างพีทีที โกลบอล เคมิคอล กับเปอร์ตามีนา (Pertamina) ในโครงการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์อย่างครบวงจร จะสร้างประโยชน์ให้ทั้ง 2 ผ่ายและนำไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน บริษัทฯ มีความภูมิใจที่ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 3 บริษัทที่เข้าร่วมศึกษาการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลอินโดนีเซียให้การสนับสนุน ซึ่งสะท้อนถึงการเป็น Strategic Partner ทั้งในด้านกลยุทธ์ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจปิโตรเคมี การลงนามความร่วมมือในโครงการนี้ ครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีในธุรกิจปิโตรเคมีร่วมกัน เพื่อสร้างปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ระดับโลกให้เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย” นายอนนต์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม PTTGC เป็นบริษัทผู้นำด้านเคมีภัณฑ์ ในกลุ่ม ปตท. มีกำลังการผลิตเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี 8.45 ล้านตัน / ปี กำลังการกลั่นน้ำมันดิบและคอนเดนเสจรวม 280,000 บาร์เรล/ วัน บริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกจาก ICIS ให้อยู่ในอันดับ 24 ใน TOP 100 ของบริษัทเคมีภัณฑ์จากทั่วโลก โดยบริษัทฯ มีกลยุทธ์และทิศทางการลงทุนในการขยายธุรกิจสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (specialties) และธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green) โดยมีการร่วมทุนกับบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้บริษัทฯ ขยายธุรกิจสู่ระดับนานาชาติ
Ms. Karen Agustiawan ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปอร์ตามีนา (Pertamina) กล่าวว่า เปอร์ตามีนา มีโรงกลั่นใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีขนาดธุรกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ในเอเชีย ทำให้มีศักยภาพในด้านธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจร รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติของอินโดนีเซีย การมองหาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะช่วยสร้างโอกาสในการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นและนำไปสู่การเป็นผู้นำของตลาดปิโตรเคมีในประเทศ
“เปอร์ตามีนา พิจารณาคัดเลือก Stategic Partner อย่างจริงจังและพิถีพิถันเพื่อร่วมศึกษาการลงทุนและเห็นว่า พีทีที โกลบอล เคมิคอล เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพตรงตามที่เราต้องการ ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายธุรกิจปิโตรเคมีร่วมกัน โดยคาดหวังว่าการร่วมดำเนินการจะบรรลุถึงแผนการก่อสร้างและปฏิบัติการในโรงงานปิโตรเคมี รวมทั้งขยายความร่วมมือในอนาคตในด้านอื่นๆ อาทิ การตลาด การวิจัยผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาไปสู่ทิศทางใหม่ของธุรกิจปิโตรเคมีในอินโดนีเซีย โดยธุรกิจปิโตรเคมีเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของเปอร์ตามีนาที่กำลังเติบโตตามวิสัยทัศน์ซึ่งมุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านพลังงานในอาเซียนและผู้นำด้านพลังงานระดับโลก ( World Class Energy and Asian Energy Champion)
ปัจจุบันเศรษฐกิจของอินโดนีเซียมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความต้องการปิโตรเคมีที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตใหม่ๆ ในอินโดนีเซีย รวมทั้งสร้างโอกาสในการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเปอร์ตามีนามีเป้าหมายในการขึ้นเป็นผู้นำในการผลิตปิโตรเคมีและผู้นำด้านการตลาดของอินโดนีเซีย ที่ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจ
เปอร์ตามีนา เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศอินโดนีเซีย ที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลอินโดนีเซีย มีโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนและมีขนาดธุรกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในเอเซีย โดยมีกำลังการกลั่นน้ำมันมากกว่า 1,000,000 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้เปอร์ตามีนา มีเป้าหมายที่จะเป็น ผู้นำในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศ
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, December 11, 2012
ศึกษาลงทุน"ปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์"ในอินโดนีเซีย
"PTTGC" เซ็นเอ็มโอยูกับ "เปอร์ตามีนา" บริษัทน้ำมันแห่งชาติของอินโดนีเซีย ศึกษาการร่วมลงทุนสร้างปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ครบวงจรในอินโดนีเซีย รองรับความต้องการของประชากรเกือบ 300 ล้านคน และขยายธุรกิจสู่ตลาดอาเซียน
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC เปิดเผยว่า บริษัทฯลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) กับ Mr. Hahung Budya, Marketing and Trading Director และ Mr. Chrisna Damayanto, Refinery Director, PT Pertamina (Persero) โดยมี Ms. Karen Agustiawan, CEO, Pertamina ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายการลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ครบวงจรที่มีสายการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในประเทศอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ การลงนาม MOU ดังกล่าว สอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางของบริษัทฯ ในการขยายโอกาสทางธุรกิจออกไปยังต่างประเทศ การลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย จะเป็นโอกาสอันดีในการขยายธุรกิจสู่ตลาดอาเซียน โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนมากถึงเกือบ 300 ล้านคน และมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่มีอัตราเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กำลังการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมากถึงประมาณ 50 % ของความต้องการทั้งหมด
โดยบริษัทฯ มีทิศทางและเป้าหมายในการลงทุนขยายธุรกิจ 3 ด้านหลัก คือ การขยายธุรกิจสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (High Volume Specialties : HVS) และธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Chemicals) และการลงทุนเพิ่มในธุรกิจปิโตรเคมีซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่อยู่ในแผนการลงทุน
"การร่วมเป็นพันธมิตรระหว่างพีทีที โกลบอล เคมิคอล กับเปอร์ตามีนา (Pertamina) ในโครงการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์อย่างครบวงจร จะสร้างประโยชน์ให้ทั้ง 2 ผ่ายและนำไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน บริษัทฯ มีความภูมิใจที่ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 3 บริษัทที่เข้าร่วมศึกษาการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลอินโดนีเซียให้การสนับสนุน ซึ่งสะท้อนถึงการเป็น Strategic Partner ทั้งในด้านกลยุทธ์ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจปิโตรเคมี การลงนามความร่วมมือในโครงการนี้ ครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีในธุรกิจปิโตรเคมีร่วมกัน เพื่อสร้างปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ระดับโลกให้เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย” นายอนนต์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม PTTGC เป็นบริษัทผู้นำด้านเคมีภัณฑ์ ในกลุ่ม ปตท. มีกำลังการผลิตเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี 8.45 ล้านตัน / ปี กำลังการกลั่นน้ำมันดิบและคอนเดนเสจรวม 280,000 บาร์เรล/ วัน บริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกจาก ICIS ให้อยู่ในอันดับ 24 ใน TOP 100 ของบริษัทเคมีภัณฑ์จากทั่วโลก โดยบริษัทฯ มีกลยุทธ์และทิศทางการลงทุนในการขยายธุรกิจสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (specialties) และธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green) โดยมีการร่วมทุนกับบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้บริษัทฯ ขยายธุรกิจสู่ระดับนานาชาติ
Ms. Karen Agustiawan ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปอร์ตามีนา (Pertamina) กล่าวว่า เปอร์ตามีนา มีโรงกลั่นใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีขนาดธุรกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ในเอเชีย ทำให้มีศักยภาพในด้านธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจร รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติของอินโดนีเซีย การมองหาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะช่วยสร้างโอกาสในการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นและนำไปสู่การเป็นผู้นำของตลาดปิโตรเคมีในประเทศ
“เปอร์ตามีนา พิจารณาคัดเลือก Stategic Partner อย่างจริงจังและพิถีพิถันเพื่อร่วมศึกษาการลงทุนและเห็นว่า พีทีที โกลบอล เคมิคอล เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพตรงตามที่เราต้องการ ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายธุรกิจปิโตรเคมีร่วมกัน โดยคาดหวังว่าการร่วมดำเนินการจะบรรลุถึงแผนการก่อสร้างและปฏิบัติการในโรงงานปิโตรเคมี รวมทั้งขยายความร่วมมือในอนาคตในด้านอื่นๆ อาทิ การตลาด การวิจัยผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาไปสู่ทิศทางใหม่ของธุรกิจปิโตรเคมีในอินโดนีเซีย โดยธุรกิจปิโตรเคมีเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของเปอร์ตามีนาที่กำลังเติบโตตามวิสัยทัศน์ซึ่งมุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านพลังงานในอาเซียนและผู้นำด้านพลังงานระดับโลก ( World Class Energy and Asian Energy Champion)
ปัจจุบันเศรษฐกิจของอินโดนีเซียมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความต้องการปิโตรเคมีที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตใหม่ๆ ในอินโดนีเซีย รวมทั้งสร้างโอกาสในการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเปอร์ตามีนามีเป้าหมายในการขึ้นเป็นผู้นำในการผลิตปิโตรเคมีและผู้นำด้านการตลาดของอินโดนีเซีย ที่ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจ
เปอร์ตามีนา เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศอินโดนีเซีย ที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลอินโดนีเซีย มีโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนและมีขนาดธุรกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในเอเซีย โดยมีกำลังการกลั่นน้ำมันมากกว่า 1,000,000 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้เปอร์ตามีนา มีเป้าหมายที่จะเป็น ผู้นำในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 769
PTTEPขึ้นแท่นเบอร์3
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, December 11, 2012
มาร์เก็ตแคป6แสนล้าน
"ปตท.สผ." มาร์เก็ตแคปเพิ่มอีก 9.9 หมื่นล้านบาท หลังขายหุ้นเพิ่มทุน 650 ล้านหุ้นหมดเกลี้ยง ช่วยดันมาร์เก็ตแคป รวมพุ่งทะยานเกิน 6 แสนล้านบาท รอขึ้นแท่นอันดับ 3 หุ้นมาร์เก็ตแคปสูงสุดของตลาดหลักทรัพย์ฯ แซงหน้า SCB
นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทดำเนินการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 650 ล้านหุ้นไปแล้ว จะส่งผลให้ทางบริษัทมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหรือมาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้นอีกกว่า 9 หมื่นล้านบาท
สำหรับหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 650 ล้านหุ้นที่ได้ประกาศในครั้งนี้ ทางบริษัทสามารถดำเนินการขายได้ทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการ ALLOCATE (จัดสรรสัดส่วน) ให้กับผู้ถือหุ้น และหุ้นเพิ่มทุนจำนวนดังกล่าวจะเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในช่วงวันที่ 19 ธ.ค.นี้
นางสาวเพ็ญจันทร์ ได้เสริมอีกว่า การบริษัทได้ดำเนินการออกหุ้นเพิ่มทุน นอกจากจะส่งผลให้ฐานะทางการเงินของ PTTEP มีความแข็งแกร่งมากขึ้นแล้ว ยังช่วยผลักดันให้บริษัทมีขนาดขององกรค์ใหญ่ขึ้นตามมาร์เก็ตแคป และภาพลักษณ์ที่จะได้รับความน่าเชื่อถือสูงกว่าเดิม
“หลังจากที่บริษัทได้ขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 650 ล้านหุ้น จะส่งผลให้ PTTEP มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง และสิ่งที่จะได้ตามมาด้วย คือไซต์ขนาดขององกรค์ที่ใหญ่ขึ้นตามเช่นกัน รวมถึงภาพลักษณ์ของความน่าเชื่อถือ ส่วนเรื่องการขายหุ้นเพิ่มทุนขณะนี้ก็ยังอยู่ในการALLOCATE ไปตามกระบวนการ”นางสาวเพ็ญจันทร์กล่าว
ทั้งนี้ หุ้นเพิ่มทุนที่ทาง PTTEP ได้เปิดจองซื้อในช่วงที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 650 ล้านหุ้น ในอัตราส่วน 1 หุ้นสามัญเดิม ต่อ 0.195783 หุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ กำหนดราคาขาย 142 บาทต่อหุ้น โดยจะส่งผลให้ทางบริษัทจะได้รับเงินเพิ่มทุนเข้ามาทั้งสิ้นประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ เท่ากับมูลค่า 9.2 หมื่นล้านบาท
ขณะที่การสำรวจมาร์เก็ตแคปของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ประจำงวดสิ้นสุดวันที่ 7 ธ.ค. 55พบว่า อันดับหนึ่ง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT มีมาร์เก็ตแคปรวมทั้งสิ้น 9.31 แสนล้านบาท อันดับสอง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC มีมาร์เก็ตแคป 6.33 แสนล้านบาท
อันดับสาม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB มีมาร์เก็ตแคป 5.8 แสนล้านบาท อันดับสี่ PTTEP มีมาร์เก็ตแคป 5.07 แสนล้านบาท อันดับห้า บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC มีมาร์เก็ตแคป 4.76 แสนล้านบาท
ดังนั้น หากอิงตามราคาปิดล่าสุดของ PTTEP ที่จำนวน 153บาท ซึ่งบริษัทได้ขายหุ้นเพิ่มทุนของจำนวน 650 ล้านหุ้น จะส่งผลให้ทางบริษัทมีมาร์เก็ตแคปเพิ่มอีก 9.9 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับมาร์เก็ตแคปปัจจุบันที่ 5.07 แสนล้านบาท จะผลักดัน PTTEP มีมาร์เก็ตแคปกลายเป็น 6.06 แสนล้านบาทในทันที
อีกทั้ง ยังส่งผลให้ PTTEP กลายเป็นหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปสูงกว่า SCBพร้อมเปลี่ยนมาอยู่ที่อันดับสามแทน รวมทั้งยังมีส่วนต่างมาร์เก็ตแคปตามหลัง ADVANC เหลือเพียงแค่ไม่ถึง 3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
ขณะที่นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTEP ระบุในเอกสารว่า บริษัท เซ็ทเทรด ดอทคอม จำกัด ได้ทำการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทให้กับผู้จองซื้อหุ้นที่เป็นผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท (ผู้จองซื้อหุ้น) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้จองซื้อหุ้นสามารถตรวจสอบผลการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ได้ตั้งแต่ช่วงวันที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา
โดยใช้ข้อมูลของผู้จองซื้อหุ้นที่ใช้ในการตรวจสอบผลการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ ได้แก่ เลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก หรือ เลขทะเบียนผู้ถือหุ้น หรือ เลขที่ใบจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน ส่วนช่องทางในการตรวจสอบผลของการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ ผ่านทางเว็ปไซต์ www.settrade.com และCall Center บริษัท ปตท.สผ. 02-537-4000 รวมถึงตัวแทนจำหน่ายหุ้นและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, December 11, 2012
มาร์เก็ตแคป6แสนล้าน
"ปตท.สผ." มาร์เก็ตแคปเพิ่มอีก 9.9 หมื่นล้านบาท หลังขายหุ้นเพิ่มทุน 650 ล้านหุ้นหมดเกลี้ยง ช่วยดันมาร์เก็ตแคป รวมพุ่งทะยานเกิน 6 แสนล้านบาท รอขึ้นแท่นอันดับ 3 หุ้นมาร์เก็ตแคปสูงสุดของตลาดหลักทรัพย์ฯ แซงหน้า SCB
นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทดำเนินการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 650 ล้านหุ้นไปแล้ว จะส่งผลให้ทางบริษัทมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหรือมาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้นอีกกว่า 9 หมื่นล้านบาท
สำหรับหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 650 ล้านหุ้นที่ได้ประกาศในครั้งนี้ ทางบริษัทสามารถดำเนินการขายได้ทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการ ALLOCATE (จัดสรรสัดส่วน) ให้กับผู้ถือหุ้น และหุ้นเพิ่มทุนจำนวนดังกล่าวจะเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในช่วงวันที่ 19 ธ.ค.นี้
นางสาวเพ็ญจันทร์ ได้เสริมอีกว่า การบริษัทได้ดำเนินการออกหุ้นเพิ่มทุน นอกจากจะส่งผลให้ฐานะทางการเงินของ PTTEP มีความแข็งแกร่งมากขึ้นแล้ว ยังช่วยผลักดันให้บริษัทมีขนาดขององกรค์ใหญ่ขึ้นตามมาร์เก็ตแคป และภาพลักษณ์ที่จะได้รับความน่าเชื่อถือสูงกว่าเดิม
“หลังจากที่บริษัทได้ขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 650 ล้านหุ้น จะส่งผลให้ PTTEP มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง และสิ่งที่จะได้ตามมาด้วย คือไซต์ขนาดขององกรค์ที่ใหญ่ขึ้นตามเช่นกัน รวมถึงภาพลักษณ์ของความน่าเชื่อถือ ส่วนเรื่องการขายหุ้นเพิ่มทุนขณะนี้ก็ยังอยู่ในการALLOCATE ไปตามกระบวนการ”นางสาวเพ็ญจันทร์กล่าว
ทั้งนี้ หุ้นเพิ่มทุนที่ทาง PTTEP ได้เปิดจองซื้อในช่วงที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 650 ล้านหุ้น ในอัตราส่วน 1 หุ้นสามัญเดิม ต่อ 0.195783 หุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ กำหนดราคาขาย 142 บาทต่อหุ้น โดยจะส่งผลให้ทางบริษัทจะได้รับเงินเพิ่มทุนเข้ามาทั้งสิ้นประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ เท่ากับมูลค่า 9.2 หมื่นล้านบาท
ขณะที่การสำรวจมาร์เก็ตแคปของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ประจำงวดสิ้นสุดวันที่ 7 ธ.ค. 55พบว่า อันดับหนึ่ง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT มีมาร์เก็ตแคปรวมทั้งสิ้น 9.31 แสนล้านบาท อันดับสอง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC มีมาร์เก็ตแคป 6.33 แสนล้านบาท
อันดับสาม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB มีมาร์เก็ตแคป 5.8 แสนล้านบาท อันดับสี่ PTTEP มีมาร์เก็ตแคป 5.07 แสนล้านบาท อันดับห้า บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC มีมาร์เก็ตแคป 4.76 แสนล้านบาท
ดังนั้น หากอิงตามราคาปิดล่าสุดของ PTTEP ที่จำนวน 153บาท ซึ่งบริษัทได้ขายหุ้นเพิ่มทุนของจำนวน 650 ล้านหุ้น จะส่งผลให้ทางบริษัทมีมาร์เก็ตแคปเพิ่มอีก 9.9 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับมาร์เก็ตแคปปัจจุบันที่ 5.07 แสนล้านบาท จะผลักดัน PTTEP มีมาร์เก็ตแคปกลายเป็น 6.06 แสนล้านบาทในทันที
อีกทั้ง ยังส่งผลให้ PTTEP กลายเป็นหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปสูงกว่า SCBพร้อมเปลี่ยนมาอยู่ที่อันดับสามแทน รวมทั้งยังมีส่วนต่างมาร์เก็ตแคปตามหลัง ADVANC เหลือเพียงแค่ไม่ถึง 3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
ขณะที่นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTEP ระบุในเอกสารว่า บริษัท เซ็ทเทรด ดอทคอม จำกัด ได้ทำการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทให้กับผู้จองซื้อหุ้นที่เป็นผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท (ผู้จองซื้อหุ้น) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้จองซื้อหุ้นสามารถตรวจสอบผลการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ได้ตั้งแต่ช่วงวันที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา
โดยใช้ข้อมูลของผู้จองซื้อหุ้นที่ใช้ในการตรวจสอบผลการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ ได้แก่ เลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก หรือ เลขทะเบียนผู้ถือหุ้น หรือ เลขที่ใบจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน ส่วนช่องทางในการตรวจสอบผลของการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ ผ่านทางเว็ปไซต์ www.settrade.com และCall Center บริษัท ปตท.สผ. 02-537-4000 รวมถึงตัวแทนจำหน่ายหุ้นและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 770
ขอความชัดเจนนโยบายพลังงานกฟผ.ซื้อไฟลาวเพิ่ม-ปตท.หวั่นดีลLNGเชลก๊าซล่ม
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, December 12, 2012
ปตท.หวั่นเจรจาซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากแหล่งเชลก๊าซสหรัฐสะดุด หลังกระทรวงพลังงานประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่ม ส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซลดลง จี้รัฐขอความมั่นใจ พร้อมให้การสนับสนุนสัญญาซื้อก๊าซ และยอมรับความเสี่ยงจากราคาปรับขึ้น-ลงในอนาคตร่วมกัน คาดราคาซื้อขายไม่เกิน 12 เหรียญ/ล้านบีทียู
แหล่งข่าวในบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในฐานะผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP ฉบับล่าสุด (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อซื้อก๊าซ LNG จากแหล่งเชลก๊าซ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากราคาเนื้อก๊าซ LNG อยู่ที่ 3.5-4 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายเพื่อทำให้สถานะก๊าซเป็นของเหลวติดลบที่อุณหภูมิ 160 องศา กับค่าขนส่งทางเรือที่ 7-8 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู จนกระทั่งขนส่งมาถึงไทยราคาจะอยู่ที่ 12 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู
ราคาก๊าซ LNG จากแหล่งดังกล่าวถือว่าค่อนข้างถูก เพราะอ้างอิง Henry Hub หรือตลาดก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก แทนที่จะอ้างอิงกับราคาน้ำมันตลาดโลก เหตุผลสำคัญที่ทำให้บริษัท ปตท.สนใจซื้อก๊าซจากแหล่งนี้ เพราะมีการเตรียมที่จะผลิตก๊าซจากหลายโครงการ ทำให้มั่นใจในแง่ของความมั่นคง หากการผลิตในโครงการใดมีปัญหา ก็สามารถส่งก๊าซจากโครงการอื่น ๆ มาเสริมได้ ที่สำคัญการผลิตจากแหล่งนี้ในเฟสที่ 2 จะเข้าระบบภายใน ปี 2560 ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้จากโรงไฟฟ้าใหม่ในประเทศไทยด้วย
"แหล่งเชลก๊าซค่อนข้างตรงกับ ความต้องการของ ปตท. คือราคาต่ำเมื่อเทียบกับแหล่งอื่น รวมถึงโครงการนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งมั่นใจได้ว่าจะมี การผลิตเกิดขึ้นแน่นอน และภายหลัง การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐแล้วเสร็จ ในระดับนโยบายของสหรัฐจะชัดเจนขึ้นว่าจะมีการผลักดันให้เดินหน้าพัฒนาแหล่งดังกล่าว และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเริ่มเข้ามาเจรจามากขึ้น"
แหล่งข่าวกล่าวว่า ที่น่าห่วงคือขณะนี้ก็คือแผนเจรจาอาจจะ "สะดุด" เนื่องจากบริษัท ปตท.ค่อนข้างกังวลใน 2 ประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลและกระทรวงพลังงานมีนโยบายที่ชัดเจน คือ 1) การปรับแผนรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มเป็น 20,000 เมกะวัตต์ ตลอดทั้งแผน PDP ของนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งอาจจะกระทบต่อความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ จึงขอความชัดเจนว่า ตามแผน PDP ความต้องการปริมาณก๊าซ LNG จะเป็นอย่างไร
และ 2) เงื่อนไขสัญญาซื้อขายก๊าซ LNG ที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา อาจจะมีรายละเอียดในบางเงื่อนไขที่อาจจะมีความ "เสี่ยง" อยู่บ้าง จึงต้องการให้กระทรวงพลังงานให้การสนับสนุนสัญญาซื้อขายดังกล่าว และเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ โดยเฉพาะในประเด็นราคาที่อาจจะมีโอกาสปรับขึ้น-ลง ตามกลไกตลาดได้
ยกตัวอย่างเงื่อนไขสัญญาซื้อขาย คือ ราคาซื้อขายก๊าซ LNG ต้องเป็นไปตามกลไกตลาด ฉะนั้นต้อง "ยอมรับ" ราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคตด้วย นอกจากนี้ในสัญญาระบุว่า หากมีเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของปริมาณก๊าซธรรมชาติภายในประเทศสหรัฐ อาจจำเป็นต้องระงับการซื้อขาย-ส่งออกจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ซึ่งผู้ซื้อจะต้อง แบกรับต้นทุนในกรณีเช่าเรือขนส่งก๊าซ LNG มาลอยลำรอไว้ โดยต้นทุนขนส่ง ด้วยเรือปัจจุบันอยู่ที่ 7-8 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู
"ปตท.ทำหน้าที่แทนรัฐบาล ต้อง ยอมรับว่าการเจรจาซื้อขายก๊าซ LNG ในแต่ละแหล่งนั้นมีข้อดี-ข้อเสีย เชลก๊าซเป็นแหล่งใหญ่ที่ซัพพอร์ตได้ในระยะยาว แต่เรื่องสัญญายังต้องดูในรายละเอียดอีกมาก และก่อนที่จะมีการตกลงกันก็อยากจะขอคำแนะนำจากกระทรวงพลังงาน เพราะกฎหมายของสหรัฐอาจยังไม่ค่อยคุ้นเคยกัน เพื่อให้ยอมรับร่วมกันถึงผลที่จะ เกิดขึ้นไม่ว่าราคา LNG จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ตาม"
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า แหล่งเชลก๊าซได้กลายเป็นแหล่งพลังงานที่ทั่วโลกจับตามองและต้องการจะเข้ามาเจรจาซื้อก๊าซ ทั้งนี้รัฐบาลของสหรัฐจะประกาศชัดเจนในช่วงต้นปี 2556 นี้ว่าจะพัฒนาแหล่งเชลก๊าซ นี้อย่างไรต่อไป และอาจจะเปิดให้กับ ผู้สนใจเข้ามาเจรจา ฉะนั้นในช่วงนี้รัฐบาลไทยจะต้องชัดเจนแล้วว่า มีความสนใจที่จะซื้อก๊าซ LNG จากแหล่งดังกล่าวหรือไม่ เพราะกระบวนการของไทยค่อนข้างใช้เวลา หากระดับนโยบายไม่ชัดเจน ทางสหรัฐอาจจะเปิดโอกาสให้กับผู้สนใจรายอื่น ๆ ก่อน ซึ่งหากไทยต้องการจะซื้อก๊าซจากแหล่งนี้ต่อไป อาจจะต้องรอการพัฒนาในระยะที่ 3 และอาจต้องใช้เวลามากขึ้น ในขณะที่บริษัท ปตท.อาจจะต้องไปเจรจาซื้อก๊าซ LNG ในตลาดจรเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับ ความต้องการใช้ในปี 2560
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การพัฒนาแหล่งเชลก๊าซครั้งนี้ของประเทศสหรัฐ ทำให้ปริมาณสำรองพลังงานของประเทศสูงขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการในอนาคต ส่งผลกระทบต่อราคาก๊าซธรรมชาติให้ลดต่ำลงในรอบทศวรรษ ราคาแตะ อยู่ที่ 2 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู เบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าแหล่งเชลก๊าซมีปริมาณมหาศาล และค่อนข้างดึงดูดความสนใจจากบริษัทพลังงานจากทั่วโลก
โดยล่าสุด ไฟแนนเชียล ไทมส์รายงานว่า มีทั้งบริษัท ซาอุดี เบสิก อินดัสทรีส์ เป็นบริษัทปิโตรเคมีรายใหญ่ของโลกกำลังเจรจาเข้าไปลงทุนในสหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทดาว เคมีคอล, โคโนโคฟิลิปส์, เชฟรอน, รอยัล ดัตช์ เชลล์ และลีออน เดลบาเซลล์ ที่สนใจจะขยายการลงทุนเชลก๊าซด้วย
ทั้งนี้ ตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนดให้บริษัท ปตท.นำเข้าก๊าซ LNG ในปริมาณ 5 ล้านตัน/ปี ตั้งแต่ปี 2559 ทั้งที่เป็นสัญญา Spot (ตลาดจร) แบบสัญญาระยะสั้น และระยะยาว โดยก่อนหน้านี้ได้ลงนามสัญญา ซื้อขายก๊าซกับบริษัท Qatar Liqueed Gas Company Limited ในปริมาณ 2 ล้านตัน/ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2558 ในปริมาณ 1 ล้านตัน/ปี และให้เพิ่มขึ้นเป็น 2-3 ล้านตัน/ปี ในช่วงปี 2556-2557
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, December 12, 2012
ปตท.หวั่นเจรจาซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากแหล่งเชลก๊าซสหรัฐสะดุด หลังกระทรวงพลังงานประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่ม ส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซลดลง จี้รัฐขอความมั่นใจ พร้อมให้การสนับสนุนสัญญาซื้อก๊าซ และยอมรับความเสี่ยงจากราคาปรับขึ้น-ลงในอนาคตร่วมกัน คาดราคาซื้อขายไม่เกิน 12 เหรียญ/ล้านบีทียู
แหล่งข่าวในบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในฐานะผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP ฉบับล่าสุด (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อซื้อก๊าซ LNG จากแหล่งเชลก๊าซ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากราคาเนื้อก๊าซ LNG อยู่ที่ 3.5-4 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายเพื่อทำให้สถานะก๊าซเป็นของเหลวติดลบที่อุณหภูมิ 160 องศา กับค่าขนส่งทางเรือที่ 7-8 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู จนกระทั่งขนส่งมาถึงไทยราคาจะอยู่ที่ 12 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู
ราคาก๊าซ LNG จากแหล่งดังกล่าวถือว่าค่อนข้างถูก เพราะอ้างอิง Henry Hub หรือตลาดก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก แทนที่จะอ้างอิงกับราคาน้ำมันตลาดโลก เหตุผลสำคัญที่ทำให้บริษัท ปตท.สนใจซื้อก๊าซจากแหล่งนี้ เพราะมีการเตรียมที่จะผลิตก๊าซจากหลายโครงการ ทำให้มั่นใจในแง่ของความมั่นคง หากการผลิตในโครงการใดมีปัญหา ก็สามารถส่งก๊าซจากโครงการอื่น ๆ มาเสริมได้ ที่สำคัญการผลิตจากแหล่งนี้ในเฟสที่ 2 จะเข้าระบบภายใน ปี 2560 ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้จากโรงไฟฟ้าใหม่ในประเทศไทยด้วย
"แหล่งเชลก๊าซค่อนข้างตรงกับ ความต้องการของ ปตท. คือราคาต่ำเมื่อเทียบกับแหล่งอื่น รวมถึงโครงการนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งมั่นใจได้ว่าจะมี การผลิตเกิดขึ้นแน่นอน และภายหลัง การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐแล้วเสร็จ ในระดับนโยบายของสหรัฐจะชัดเจนขึ้นว่าจะมีการผลักดันให้เดินหน้าพัฒนาแหล่งดังกล่าว และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเริ่มเข้ามาเจรจามากขึ้น"
แหล่งข่าวกล่าวว่า ที่น่าห่วงคือขณะนี้ก็คือแผนเจรจาอาจจะ "สะดุด" เนื่องจากบริษัท ปตท.ค่อนข้างกังวลใน 2 ประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลและกระทรวงพลังงานมีนโยบายที่ชัดเจน คือ 1) การปรับแผนรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มเป็น 20,000 เมกะวัตต์ ตลอดทั้งแผน PDP ของนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งอาจจะกระทบต่อความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ จึงขอความชัดเจนว่า ตามแผน PDP ความต้องการปริมาณก๊าซ LNG จะเป็นอย่างไร
และ 2) เงื่อนไขสัญญาซื้อขายก๊าซ LNG ที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา อาจจะมีรายละเอียดในบางเงื่อนไขที่อาจจะมีความ "เสี่ยง" อยู่บ้าง จึงต้องการให้กระทรวงพลังงานให้การสนับสนุนสัญญาซื้อขายดังกล่าว และเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ โดยเฉพาะในประเด็นราคาที่อาจจะมีโอกาสปรับขึ้น-ลง ตามกลไกตลาดได้
ยกตัวอย่างเงื่อนไขสัญญาซื้อขาย คือ ราคาซื้อขายก๊าซ LNG ต้องเป็นไปตามกลไกตลาด ฉะนั้นต้อง "ยอมรับ" ราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคตด้วย นอกจากนี้ในสัญญาระบุว่า หากมีเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของปริมาณก๊าซธรรมชาติภายในประเทศสหรัฐ อาจจำเป็นต้องระงับการซื้อขาย-ส่งออกจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ซึ่งผู้ซื้อจะต้อง แบกรับต้นทุนในกรณีเช่าเรือขนส่งก๊าซ LNG มาลอยลำรอไว้ โดยต้นทุนขนส่ง ด้วยเรือปัจจุบันอยู่ที่ 7-8 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู
"ปตท.ทำหน้าที่แทนรัฐบาล ต้อง ยอมรับว่าการเจรจาซื้อขายก๊าซ LNG ในแต่ละแหล่งนั้นมีข้อดี-ข้อเสีย เชลก๊าซเป็นแหล่งใหญ่ที่ซัพพอร์ตได้ในระยะยาว แต่เรื่องสัญญายังต้องดูในรายละเอียดอีกมาก และก่อนที่จะมีการตกลงกันก็อยากจะขอคำแนะนำจากกระทรวงพลังงาน เพราะกฎหมายของสหรัฐอาจยังไม่ค่อยคุ้นเคยกัน เพื่อให้ยอมรับร่วมกันถึงผลที่จะ เกิดขึ้นไม่ว่าราคา LNG จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ตาม"
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า แหล่งเชลก๊าซได้กลายเป็นแหล่งพลังงานที่ทั่วโลกจับตามองและต้องการจะเข้ามาเจรจาซื้อก๊าซ ทั้งนี้รัฐบาลของสหรัฐจะประกาศชัดเจนในช่วงต้นปี 2556 นี้ว่าจะพัฒนาแหล่งเชลก๊าซ นี้อย่างไรต่อไป และอาจจะเปิดให้กับ ผู้สนใจเข้ามาเจรจา ฉะนั้นในช่วงนี้รัฐบาลไทยจะต้องชัดเจนแล้วว่า มีความสนใจที่จะซื้อก๊าซ LNG จากแหล่งดังกล่าวหรือไม่ เพราะกระบวนการของไทยค่อนข้างใช้เวลา หากระดับนโยบายไม่ชัดเจน ทางสหรัฐอาจจะเปิดโอกาสให้กับผู้สนใจรายอื่น ๆ ก่อน ซึ่งหากไทยต้องการจะซื้อก๊าซจากแหล่งนี้ต่อไป อาจจะต้องรอการพัฒนาในระยะที่ 3 และอาจต้องใช้เวลามากขึ้น ในขณะที่บริษัท ปตท.อาจจะต้องไปเจรจาซื้อก๊าซ LNG ในตลาดจรเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับ ความต้องการใช้ในปี 2560
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การพัฒนาแหล่งเชลก๊าซครั้งนี้ของประเทศสหรัฐ ทำให้ปริมาณสำรองพลังงานของประเทศสูงขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการในอนาคต ส่งผลกระทบต่อราคาก๊าซธรรมชาติให้ลดต่ำลงในรอบทศวรรษ ราคาแตะ อยู่ที่ 2 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู เบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าแหล่งเชลก๊าซมีปริมาณมหาศาล และค่อนข้างดึงดูดความสนใจจากบริษัทพลังงานจากทั่วโลก
โดยล่าสุด ไฟแนนเชียล ไทมส์รายงานว่า มีทั้งบริษัท ซาอุดี เบสิก อินดัสทรีส์ เป็นบริษัทปิโตรเคมีรายใหญ่ของโลกกำลังเจรจาเข้าไปลงทุนในสหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทดาว เคมีคอล, โคโนโคฟิลิปส์, เชฟรอน, รอยัล ดัตช์ เชลล์ และลีออน เดลบาเซลล์ ที่สนใจจะขยายการลงทุนเชลก๊าซด้วย
ทั้งนี้ ตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนดให้บริษัท ปตท.นำเข้าก๊าซ LNG ในปริมาณ 5 ล้านตัน/ปี ตั้งแต่ปี 2559 ทั้งที่เป็นสัญญา Spot (ตลาดจร) แบบสัญญาระยะสั้น และระยะยาว โดยก่อนหน้านี้ได้ลงนามสัญญา ซื้อขายก๊าซกับบริษัท Qatar Liqueed Gas Company Limited ในปริมาณ 2 ล้านตัน/ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2558 ในปริมาณ 1 ล้านตัน/ปี และให้เพิ่มขึ้นเป็น 2-3 ล้านตัน/ปี ในช่วงปี 2556-2557
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 771
'ปตท.สผ.'ชงแผนลงทุน5ปีบอร์ดพิจารณาสิ้นเดือนนี้
Source กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, December 12, 2012
ปตท.สผ.เตรียมเสนอแผนลงทุน 5 ปี ให้บอร์ดพิจารณาสิ้นเดือนนี้ เน้นพัฒนาโครงการที่มีอยู่ และรักษาระดับกำลังการผลิต คาดปี 2563 กำลังการผลิตทะลุ 6 แสนบาร์เรลต่อวัน จะมาจากต่างประเทศ 60% ที่เหลือจากภายในประเทศ ปลื้มขายหุ้นเพิ่มทุนฉลุยยอดจองซื้อล้นกว่า 2 เท่าของมูลค่าหุ้น ระดมทุนได้กว่า 9.2 หมื่นล้านบาท
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือปตท.สผ. เปิดเผยว่าบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการเสนอแผนการลงทุน 5 ปี ให้กับคณะกรรมการบริษัทในวันที่ 29 ธ.ค.นี้ โดยจะเน้น 2 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.การให้ความสำคัญกับโครงการที่เป็นเจ้าของอยู่แล้ว โดยเข้าไปสำรวจและผลิต ซึ่งเน้นหนักในโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดย ต้นปี 2556 จะเดินเครื่องผลิตในแหล่ง มอนทารา ในออสเตรเลีย และปลายปีจะเดินเครื่องเริ่มผลิตในแหล่งซอติก้า ในพม่า รวมทั้งเดินหน้าโครงการในแอลจีเรีย
นอกจากนี้จะพัฒนาแหล่งออยล์แซง ในแคนาดาให้เป็นแหล่งผลิต ซึ่งปตท.สผ. ได้เข้าไปถือหุ้นอยู่ 40% ส่วนโครงการ แคสเมเปิล ก็ขุดเจอแหล่งก๊าซธรรมชาติแล้ว และจะผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี ส่งต่อไทย ขณะที่แหล่งก๊าซ ธรรมชาติของบริษัทโคฟฯ ในโมซัมบิก อยู่ระหว่างการคัดเลือกบริษัทผู้รับเหมาเพื่อผลิตเป็นแอลเอ็นจี ส่งให้กับไทย จีน และญี่ปุ่น โดยคาดแหล่งของโคฟฯจะใช้เงิน 1.3 พันล้านดอลลาร์ในการพัฒนาตลอด 5 ปีนี้
2.รักษาระดับการผลิตให้เติบโตต่อเนื่อง และไม่ปิดหยุดชะงัก โดยบริษัทจะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อให้มีปริมาณกำลังการผลิตที่เติบโต เพิ่มศักยภาพการผลิตในแหล่งที่มีอยู่ให้เพิ่มมากขึ้น โดยที่ผ่านมาบริษัทได้พัฒนาเทคนิคในการผลิต ทำให้แหล่งปิโตรเลียมสิริกิติ์ที่มีอายุ 30 ปี เพิ่มกำลังการผลิตได้ถึง 3.3 หมื่นบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่มีกำลังการผลิตในเดือนพ.ค.2555 ที่มีกำลังการผลิต 3 หมื่นบาร์เรลต่อวัน
ขณะที่ยอดขายปีนี้คาดว่าจะมียอดขายรวม 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ในช่วงต้นปีที่คาดจะมียอดขาย 2.84 แสนบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากโครงการมอนทารา เข้าสู่แผนการผลิตล่าช้ากว่าที่วางไว้ แต่ยอดขายในปีนี้ยังขยายตัวสูงกว่าปีที่ผ่านมา 4% ที่มียอดขาย 2.65 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่วนปีหน้าคาดยอดการผลิตจะขยายตัว 10% เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่ผลิตได้ 3 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งคาดว่ายอดขายจะขยายตัวตามยอดการผลิตที่เพิ่มขึ้น 10% เช่นกัน
ส่วนโครงการที่ ปตท.สผ. จะให้ความสำคัญ อันดับ 1.แหล่งภายในประเทศ จะรักษาระดับการผลิต และหาศักยภาพการผลิตเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้กำลังการผลิตถดถอย และสร้างความมั่นคงทางการผลิตก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบันสัดส่วนกำลังการผลิตภายในประเทศมีประมาณ 2.5 แสนบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นสัดส่วน 70-80% ของกำลังการผลิตทั้งหมด
แหล่งในต่างประเทศจะค่อยๆ เพิ่มกำลังการผลิต จะมีสัดส่วนมากกว่าแหล่งภายในประเทศใน ปี 2020 โดยจะมีกำลังการผลิตรวม 6 แสนบาร์เรลต่อวัน จะมาจากแหล่งภายในประเทศ 2.5 แสนบาร์เรลต่อวัน และต่างประเทศอีก 3.5 แสนบาร์เรลต่อวัน หรือมีสัดส่วน 60:40
อันดับ 2 กลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะพม่า จะเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่สำคัญอันดับ 2 ของไทย ซึ่งในปัจจุบันมี 2 โครงการผลิต 1 โครงการพัฒนา และ 5 แปลงสำรวจ ขณะนี้แปลงเอ็ม 3 สำรวจพบก๊าซธรรมชาติแล้ว กำลังเจาะหลุมพิสูจน์ปริมาณสำรองว่าจะคุ้มค่ากับการพัฒนาหรือไม่
อันดับ 3 ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งแหล่ง มอนทารามีความชัดเจนแล้วว่า จะดำเนินการผลิตได้ในไตรมาส 1 ของปี2556 และยังมีศักยภาพในการสำรวจและผลิตอีกหลายแหล่ง
อันดับ 4 ประเทศแคนาดา ที่ปตท.สผ.ได้เข้าไปลงทุนในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีศักยภาพการผลิตอีกมาก มีปริมาณสำรองน้ำมันออยล์แซงมากเป็นอันดับ 2 รองจากซาอุดีอาระเบีย โดยจะพัฒนาจากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ 1.6 หมื่นบาร์เรลต่อวัน เพิ่มเป็น 7 หมื่นบาร์เรลต่อวันในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ และอันดับ 5 แอฟริกา โดยเฉพาะในประเทศแอลจีเรีย เคนยา และโมซัมบิก ขณะนี้ได้พบแหล่งแอลเอ็นจีหลายแหล่งแล้ว และยังอยู่ระหว่างเจาะสำรวจพิสูจน์ศักยภาพอีกหลายแหล่ง
นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงแผนการเพิ่มทุนของบริษัทว่า จากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็น ผู้ถือหุ้นเดิมของปตท.สผ. ได้รับการตอบรับท่วมท้น โดยผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทไม่รวมบริษัทปตท.ได้แสดงความจำนงจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทกว่า 2 เท่า ของมูลค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนทั้งหมดที่เสนอขาย โดยปตท. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ได้สนับสนุนแผนการระดมทุน โดยจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน 424,359,789 หุ้นตามสิทธิการจองซื้อ คิดเป็นมูลค่า 60,259 ล้านบาท เพื่อรักษาสัดส่วนหุ้นที่ 65.29% ซึ่งการเพิ่มทุนครั้งนี้ ปตท.สผ.สามารถระดมทุนได้ทั้งหมด 92,300 ล้านบาท
บริษัทจะนำเงินดังกล่าวไปชำระคืนเงิน กู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ใช้เข้าซื้อกิจการโคฟ เอ็นเนอร์ยี (Cove Energy) 8.5% และนำไปใช้พัฒนาโครงการทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการลงทุนในอนาคต รวมทั้งการขยายกิจการของบริษัท และเป็นเงินทุนหมุนเวียนทั่วไป โดยหุ้นสามัญเพิ่มทุนจะโอนเข้าบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้จองซื้อได้ในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ และจะเริ่มเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 19 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, December 12, 2012
ปตท.สผ.เตรียมเสนอแผนลงทุน 5 ปี ให้บอร์ดพิจารณาสิ้นเดือนนี้ เน้นพัฒนาโครงการที่มีอยู่ และรักษาระดับกำลังการผลิต คาดปี 2563 กำลังการผลิตทะลุ 6 แสนบาร์เรลต่อวัน จะมาจากต่างประเทศ 60% ที่เหลือจากภายในประเทศ ปลื้มขายหุ้นเพิ่มทุนฉลุยยอดจองซื้อล้นกว่า 2 เท่าของมูลค่าหุ้น ระดมทุนได้กว่า 9.2 หมื่นล้านบาท
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือปตท.สผ. เปิดเผยว่าบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการเสนอแผนการลงทุน 5 ปี ให้กับคณะกรรมการบริษัทในวันที่ 29 ธ.ค.นี้ โดยจะเน้น 2 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.การให้ความสำคัญกับโครงการที่เป็นเจ้าของอยู่แล้ว โดยเข้าไปสำรวจและผลิต ซึ่งเน้นหนักในโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดย ต้นปี 2556 จะเดินเครื่องผลิตในแหล่ง มอนทารา ในออสเตรเลีย และปลายปีจะเดินเครื่องเริ่มผลิตในแหล่งซอติก้า ในพม่า รวมทั้งเดินหน้าโครงการในแอลจีเรีย
นอกจากนี้จะพัฒนาแหล่งออยล์แซง ในแคนาดาให้เป็นแหล่งผลิต ซึ่งปตท.สผ. ได้เข้าไปถือหุ้นอยู่ 40% ส่วนโครงการ แคสเมเปิล ก็ขุดเจอแหล่งก๊าซธรรมชาติแล้ว และจะผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี ส่งต่อไทย ขณะที่แหล่งก๊าซ ธรรมชาติของบริษัทโคฟฯ ในโมซัมบิก อยู่ระหว่างการคัดเลือกบริษัทผู้รับเหมาเพื่อผลิตเป็นแอลเอ็นจี ส่งให้กับไทย จีน และญี่ปุ่น โดยคาดแหล่งของโคฟฯจะใช้เงิน 1.3 พันล้านดอลลาร์ในการพัฒนาตลอด 5 ปีนี้
2.รักษาระดับการผลิตให้เติบโตต่อเนื่อง และไม่ปิดหยุดชะงัก โดยบริษัทจะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อให้มีปริมาณกำลังการผลิตที่เติบโต เพิ่มศักยภาพการผลิตในแหล่งที่มีอยู่ให้เพิ่มมากขึ้น โดยที่ผ่านมาบริษัทได้พัฒนาเทคนิคในการผลิต ทำให้แหล่งปิโตรเลียมสิริกิติ์ที่มีอายุ 30 ปี เพิ่มกำลังการผลิตได้ถึง 3.3 หมื่นบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่มีกำลังการผลิตในเดือนพ.ค.2555 ที่มีกำลังการผลิต 3 หมื่นบาร์เรลต่อวัน
ขณะที่ยอดขายปีนี้คาดว่าจะมียอดขายรวม 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ในช่วงต้นปีที่คาดจะมียอดขาย 2.84 แสนบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากโครงการมอนทารา เข้าสู่แผนการผลิตล่าช้ากว่าที่วางไว้ แต่ยอดขายในปีนี้ยังขยายตัวสูงกว่าปีที่ผ่านมา 4% ที่มียอดขาย 2.65 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่วนปีหน้าคาดยอดการผลิตจะขยายตัว 10% เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่ผลิตได้ 3 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งคาดว่ายอดขายจะขยายตัวตามยอดการผลิตที่เพิ่มขึ้น 10% เช่นกัน
ส่วนโครงการที่ ปตท.สผ. จะให้ความสำคัญ อันดับ 1.แหล่งภายในประเทศ จะรักษาระดับการผลิต และหาศักยภาพการผลิตเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้กำลังการผลิตถดถอย และสร้างความมั่นคงทางการผลิตก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบันสัดส่วนกำลังการผลิตภายในประเทศมีประมาณ 2.5 แสนบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นสัดส่วน 70-80% ของกำลังการผลิตทั้งหมด
แหล่งในต่างประเทศจะค่อยๆ เพิ่มกำลังการผลิต จะมีสัดส่วนมากกว่าแหล่งภายในประเทศใน ปี 2020 โดยจะมีกำลังการผลิตรวม 6 แสนบาร์เรลต่อวัน จะมาจากแหล่งภายในประเทศ 2.5 แสนบาร์เรลต่อวัน และต่างประเทศอีก 3.5 แสนบาร์เรลต่อวัน หรือมีสัดส่วน 60:40
อันดับ 2 กลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะพม่า จะเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่สำคัญอันดับ 2 ของไทย ซึ่งในปัจจุบันมี 2 โครงการผลิต 1 โครงการพัฒนา และ 5 แปลงสำรวจ ขณะนี้แปลงเอ็ม 3 สำรวจพบก๊าซธรรมชาติแล้ว กำลังเจาะหลุมพิสูจน์ปริมาณสำรองว่าจะคุ้มค่ากับการพัฒนาหรือไม่
อันดับ 3 ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งแหล่ง มอนทารามีความชัดเจนแล้วว่า จะดำเนินการผลิตได้ในไตรมาส 1 ของปี2556 และยังมีศักยภาพในการสำรวจและผลิตอีกหลายแหล่ง
อันดับ 4 ประเทศแคนาดา ที่ปตท.สผ.ได้เข้าไปลงทุนในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีศักยภาพการผลิตอีกมาก มีปริมาณสำรองน้ำมันออยล์แซงมากเป็นอันดับ 2 รองจากซาอุดีอาระเบีย โดยจะพัฒนาจากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ 1.6 หมื่นบาร์เรลต่อวัน เพิ่มเป็น 7 หมื่นบาร์เรลต่อวันในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ และอันดับ 5 แอฟริกา โดยเฉพาะในประเทศแอลจีเรีย เคนยา และโมซัมบิก ขณะนี้ได้พบแหล่งแอลเอ็นจีหลายแหล่งแล้ว และยังอยู่ระหว่างเจาะสำรวจพิสูจน์ศักยภาพอีกหลายแหล่ง
นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงแผนการเพิ่มทุนของบริษัทว่า จากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็น ผู้ถือหุ้นเดิมของปตท.สผ. ได้รับการตอบรับท่วมท้น โดยผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทไม่รวมบริษัทปตท.ได้แสดงความจำนงจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทกว่า 2 เท่า ของมูลค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนทั้งหมดที่เสนอขาย โดยปตท. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ได้สนับสนุนแผนการระดมทุน โดยจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน 424,359,789 หุ้นตามสิทธิการจองซื้อ คิดเป็นมูลค่า 60,259 ล้านบาท เพื่อรักษาสัดส่วนหุ้นที่ 65.29% ซึ่งการเพิ่มทุนครั้งนี้ ปตท.สผ.สามารถระดมทุนได้ทั้งหมด 92,300 ล้านบาท
บริษัทจะนำเงินดังกล่าวไปชำระคืนเงิน กู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ใช้เข้าซื้อกิจการโคฟ เอ็นเนอร์ยี (Cove Energy) 8.5% และนำไปใช้พัฒนาโครงการทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการลงทุนในอนาคต รวมทั้งการขยายกิจการของบริษัท และเป็นเงินทุนหมุนเวียนทั่วไป โดยหุ้นสามัญเพิ่มทุนจะโอนเข้าบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้จองซื้อได้ในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ และจะเริ่มเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 19 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 772
PTT ลงนามสัญญาซื้อ LNG จาก Qatargas เป็นเวลา 20 ปี เริ่มรับม.ค.58
ข่าวหุ้น, วันพุธที่ 12 ธันวาคม 2555 เวลา 13:46:27 น.
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามสัญญากับบริษัท QatarLiquefied Gas Company Limited (3) (Qatargas) เพื่อซื้อ LNG ในปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี ตลอดอายุสัญญา 20 ปี กำหนดเริ่มรับ LNG ได้ตั้งแต่ม.ค.58 เป็นต้นไป
ทั้งนี้นับเป็นสัญญาซื้อขาย LNG ระยะยาวฉบับแรกของไทย ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับไทยในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อปริมาณก๊าซฯที่ผลิตได้จากอ่าวไทยและการนำเข้าก๊าซฯ จากประเทศเพื่อนบ้านเริ่มมีจำกัด ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้ก๊าซฯในประเทศสูงขึ้นต่อเนื่อง จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ข่าวหุ้น, วันพุธที่ 12 ธันวาคม 2555 เวลา 13:46:27 น.
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามสัญญากับบริษัท QatarLiquefied Gas Company Limited (3) (Qatargas) เพื่อซื้อ LNG ในปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี ตลอดอายุสัญญา 20 ปี กำหนดเริ่มรับ LNG ได้ตั้งแต่ม.ค.58 เป็นต้นไป
ทั้งนี้นับเป็นสัญญาซื้อขาย LNG ระยะยาวฉบับแรกของไทย ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับไทยในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อปริมาณก๊าซฯที่ผลิตได้จากอ่าวไทยและการนำเข้าก๊าซฯ จากประเทศเพื่อนบ้านเริ่มมีจำกัด ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้ก๊าซฯในประเทศสูงขึ้นต่อเนื่อง จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 773
ปตท.-บริษัทQatargasลงนามสัญญาซื้อขายLNGระยะยาว เสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศเริ่มรับก๊าซต้นปี2558
Source - พิมพ์ไทย (Th), Thursday, December 13, 2012
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. ได้ลงนามสัญญากับบริษัท บริษัท Qatar Liquefied Gas Company Limited (3) (Qatargas)เพื่อซื้อ LNG ในปริมาณ 2 ล้านตันต่อปีตลอดอายุสัญญา 20 ปี กำหนดเริ่มรับ LNG ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เป็นต้นไป นับเป็นสัญญาซื้อขาย LNG ระยะยาวฉบับแรกของไทย ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทยในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อปริมาณก๊าซฯ ที่ผลิตได้จากอ่าวไทยและการนำเข้าก๊าซฯ จากประเทศเพื่อนบ้านเริ่มมีจำกัด ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้ก๊าซฯ ในประเทศสูงขึ้นต่อเนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
"ปตท.และบริษัท Qatargas มีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่กลางปี 2554 ที่บริษัท Qatargas จำหน่าย LNG ให้กับ ปตท. เพื่อใช้ทดสอบระบบสถานีรับ-จ่าย LNGแห่งแรกในอาเซียน ซึ่งที่ตั้งอยู่ ณ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท Qatargas ได้ให้ความช่วยเหลือประเทศไทย ด้วยการส่งมอบ LNG เพื่อใช้ทดแทนก๊าซฯที่หายไปจากระบบ เมื่อครั้งระบบท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลของไทยประสบปัญหาซึ่งความสำเร็จในการร่วมมือระหว่าง ปตท. และบริษัท Qatargas ครั้งนี้ เกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งสองประเทศ และจะเป็นก้าวสำคัญของการสานต่อความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างกันด้านพลังงานในอนาคต" นายไพรินทร์ กล่าวเพิ่มเติม
สำหรับประเทศไทย ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2553-2573 (พีดีพี 2010 ฉบับที่3) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกภาคส่วน ทั้งภาคไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม ภาคปิโตรเคมี และภาคขนส่ง ส่งผลให้ไทยจำเป็นต้องนำเข้า LNG จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในอนาคต และทำให้ ปตท. ต้องเริ่มขยายศักยภาพของสถานีรับ-จ่าย LNG ให้สามารถรองรับการนำเข้า LNG เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 5 ล้านตันเป็น 10 ล้านตันต่อปี โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560 ทั้งนี้ บริษัท Qatargas เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติของประเทศกาตาร์ ถือหุ้นโดยรัฐบาลประมาณ 70% นับเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย LNG รายใหญ่ที่สุดของโลก รวมกำลังการผลิตLNG คิดเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของปริมาณ LNG ที่ค้าขายทั่วโลกมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติกว่า 900 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการใช้ก๊าซฯ ได้มากกว่า 100 ปี ถือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่งของไทยบนเวทีอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติระดับโลก
--จบ--
Source - พิมพ์ไทย (Th), Thursday, December 13, 2012
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. ได้ลงนามสัญญากับบริษัท บริษัท Qatar Liquefied Gas Company Limited (3) (Qatargas)เพื่อซื้อ LNG ในปริมาณ 2 ล้านตันต่อปีตลอดอายุสัญญา 20 ปี กำหนดเริ่มรับ LNG ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เป็นต้นไป นับเป็นสัญญาซื้อขาย LNG ระยะยาวฉบับแรกของไทย ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทยในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อปริมาณก๊าซฯ ที่ผลิตได้จากอ่าวไทยและการนำเข้าก๊าซฯ จากประเทศเพื่อนบ้านเริ่มมีจำกัด ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้ก๊าซฯ ในประเทศสูงขึ้นต่อเนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
"ปตท.และบริษัท Qatargas มีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่กลางปี 2554 ที่บริษัท Qatargas จำหน่าย LNG ให้กับ ปตท. เพื่อใช้ทดสอบระบบสถานีรับ-จ่าย LNGแห่งแรกในอาเซียน ซึ่งที่ตั้งอยู่ ณ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท Qatargas ได้ให้ความช่วยเหลือประเทศไทย ด้วยการส่งมอบ LNG เพื่อใช้ทดแทนก๊าซฯที่หายไปจากระบบ เมื่อครั้งระบบท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลของไทยประสบปัญหาซึ่งความสำเร็จในการร่วมมือระหว่าง ปตท. และบริษัท Qatargas ครั้งนี้ เกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งสองประเทศ และจะเป็นก้าวสำคัญของการสานต่อความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างกันด้านพลังงานในอนาคต" นายไพรินทร์ กล่าวเพิ่มเติม
สำหรับประเทศไทย ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2553-2573 (พีดีพี 2010 ฉบับที่3) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกภาคส่วน ทั้งภาคไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม ภาคปิโตรเคมี และภาคขนส่ง ส่งผลให้ไทยจำเป็นต้องนำเข้า LNG จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในอนาคต และทำให้ ปตท. ต้องเริ่มขยายศักยภาพของสถานีรับ-จ่าย LNG ให้สามารถรองรับการนำเข้า LNG เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 5 ล้านตันเป็น 10 ล้านตันต่อปี โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560 ทั้งนี้ บริษัท Qatargas เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติของประเทศกาตาร์ ถือหุ้นโดยรัฐบาลประมาณ 70% นับเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย LNG รายใหญ่ที่สุดของโลก รวมกำลังการผลิตLNG คิดเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของปริมาณ LNG ที่ค้าขายทั่วโลกมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติกว่า 900 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการใช้ก๊าซฯ ได้มากกว่า 100 ปี ถือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่งของไทยบนเวทีอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติระดับโลก
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 774
ทันหุ้น, 13 ธ.ค. 55
'EPCO' เจรจาโรงไฟฟ้าลาว กำไรโต 50%-โชว์เป้า 3.60 บาท
EPCO คิดการณ์ใหญ่หลังเจรจาพันธมิตรลาวรุกโรงไฟฟ้า มั่นใจเห็นความคืบหน้าครึ่งปีแรก 2556 นี้
แถมเดินสายซื้อกิจการโรงไฟฟ้าในประเทศอีก 10 เมกะวัตต์ ขึ้นแท่นรายได้หลักธุรกิจไฟฟ้าเกิน 50% ด้าน
งบไตรมาส 4/2555 หรูหรารับอานิสงส์ไฮซีซันดันรายได้พุ่ง 20% กูรูคาดปี 2556 ปั๊มกำไรโตก้าวกระโดด
กว่า 50% วิ่งชนเป้า 3.60 บาท
GLOW เล็งประมูล IPP ไซซ์ 1,800 เมกะวัตต์
GLOW จ่อยื่นประมูล IPP ที่จะเปิดขายซอง 20 ธันวาคมนี้ ขนาด 1,800 เมกะวัตต์ พร้อมเล็ง
ลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมและน้ำเพิ่ม ล่าสุดเดินเครื่องเอสพีพี 12 แล้วหนุน EBITDA โตเท่าตัวเป็น
1,000 ล้านบาท ฟากโบรกแนะ "ถือ" ลุ้นประมูล IPP เป้า 72 บาท
'EPCO' เจรจาโรงไฟฟ้าลาว กำไรโต 50%-โชว์เป้า 3.60 บาท
EPCO คิดการณ์ใหญ่หลังเจรจาพันธมิตรลาวรุกโรงไฟฟ้า มั่นใจเห็นความคืบหน้าครึ่งปีแรก 2556 นี้
แถมเดินสายซื้อกิจการโรงไฟฟ้าในประเทศอีก 10 เมกะวัตต์ ขึ้นแท่นรายได้หลักธุรกิจไฟฟ้าเกิน 50% ด้าน
งบไตรมาส 4/2555 หรูหรารับอานิสงส์ไฮซีซันดันรายได้พุ่ง 20% กูรูคาดปี 2556 ปั๊มกำไรโตก้าวกระโดด
กว่า 50% วิ่งชนเป้า 3.60 บาท
GLOW เล็งประมูล IPP ไซซ์ 1,800 เมกะวัตต์
GLOW จ่อยื่นประมูล IPP ที่จะเปิดขายซอง 20 ธันวาคมนี้ ขนาด 1,800 เมกะวัตต์ พร้อมเล็ง
ลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมและน้ำเพิ่ม ล่าสุดเดินเครื่องเอสพีพี 12 แล้วหนุน EBITDA โตเท่าตัวเป็น
1,000 ล้านบาท ฟากโบรกแนะ "ถือ" ลุ้นประมูล IPP เป้า 72 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 775
HYDRO ลงทุนไฮโดรพาวเวอร์ในลาวต้นปี56,รุกรับงานอินโดฯ คาดสรุปราวกลางปี
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 11 ธันวาคม 2555 10:30:50 น.
นายสลิบ สูงสว่าง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไฮโดรเท็ค (HYDRO) เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปี 56 บริษัทมีแผนเข้าลงทุนธุรกิจพลังงานในประเทศ สปป.ลาว ในโครงการไฮโดรเพาเวอร์ มูลค่าโครงการ 500-1,000 ล้านบาท โดยจะชักชวนพันธมิตรในประเทศ ได้แก่ บมจ.ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น(TRC) บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์(UAC) และ บมจ.ผลธัญญะ(PHOL)เข้าร่วมลงทุน
อย่างไรก็ดี หากประเทศที่เข้าไปลงทุนวางกฎเกณฑ์ที่ต้องให้มีพันธมิตรท้องถิ่นก็ไม่มีปัญหา โดย HYDRO จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
นอกจากนี้ บริษัทเตรียมเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียเพื่อเข้าไปรับบริหารจัดการระบบน้ำ เพราะเห็นว่าเป็นตลาดใหญ่ และยังมีความต้องการใช้ระบบการจัดการน้ำ โดยเฉพาะการทำน้ำจืดจากน้ำทะเล โดยต้นปีจะลงพื้นที่ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปในกลางปี 56
สำหรับแผนการลงทุนในประเทศ นายสลิบ กล่าวว่า งานในประเทศจะขยายตัว เพราะคาดว่าจะมีงานประมูลเข้ารับเหมาทำระบบน้ำประปาจากเทศบาลที่ปัจจุบันมีประมาณ 7 หมื่นกว่าแห่ง โดยเป้าหมายบริษัทก็ยังเป็นหัวเมืองหลักเช่น นครราชสีมา นครสวรรค์ เนื่องจากการขยายงานประปาส่วนภูมิภาคมีข้อจำกัดเรื่องการลงทุน
ทั้งนี้ บริษัทวางแผน 5 ปีข้างหน้า (เริ่มปี 56) จะหันมาเน้นกมาลงทุนมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป็นเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนแน่นอนและชัดเจน แทนที่จะเข้าไปรับจ้างบริหารจัดการน้ำ และรับเหมาอย่างเดียว ซึ่งการลงทุนดังกล่าวได้ทยอยไปบ้างและคาดว่าจะเห็นผลรายได้ของการลงทุนชัดเจนในปลายปี 56 และในปี 57 จะมีสัดส่วนรายได้เข้ามา 10% และเพิ่มขึ้น 20% ในปี 58 และคาดว่าอีก 5 ปีสัดส่วนรายได้จากการลงทุนขยับเป็น 50% ขณะที่คาดวว่าการลงทุนจะใช้เวลาคืนทุนประมาณ 7-10 ปี
นายสลิบคาดว่า ในช่วง 5 ปีนี้รายได้จะเติบโต 30% และในปี 55 คาดรายได้จะเติบโต 30% เช่นกัน จากงานในมือ (Backlog) มีอยู่ 1.8 พันล้านบาท โดยในส่วน 8 พันล้านบาทเป็นงานจากเทศบาลเชียงใหม่ 4 แห่งซึ่งจะทยอยรับรู้ใน 30 ปี อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ ผู้บริหารได้คาดรายได้ปีนี้จะเติยโต 50% มาที่ 1 พันล้านบาท
"ทุกปี บริษัทตั้งเป้าการเติบโตรายได้โต 30% อัตรากำไรสุทธิ 6-7% จากการปริมาณการใช้น้ำตามการขยายตัวของคน และ การลงทุนใช้งบ 300-500 ล้านบาท แต่หากมีวเงินมากกว่านั้นจะใช้การลงทุนร่วมกับพันธมิตร ที่มีอยู่ UAC, TRC, PHOL "นายสลิบ กล่าว
นายสลิบ กล่าวว่า เหตุผลที่บริษัทหันมาเน้นการลงทุน เพราะจะเพิ่มอัตรากำไรสุทธิได้ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นชัดในปี 57 รวมทั้งบริษัทจะยังเน้นเรื่องสาธารณูปโภค
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 11 ธันวาคม 2555 10:30:50 น.
นายสลิบ สูงสว่าง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไฮโดรเท็ค (HYDRO) เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปี 56 บริษัทมีแผนเข้าลงทุนธุรกิจพลังงานในประเทศ สปป.ลาว ในโครงการไฮโดรเพาเวอร์ มูลค่าโครงการ 500-1,000 ล้านบาท โดยจะชักชวนพันธมิตรในประเทศ ได้แก่ บมจ.ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น(TRC) บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์(UAC) และ บมจ.ผลธัญญะ(PHOL)เข้าร่วมลงทุน
อย่างไรก็ดี หากประเทศที่เข้าไปลงทุนวางกฎเกณฑ์ที่ต้องให้มีพันธมิตรท้องถิ่นก็ไม่มีปัญหา โดย HYDRO จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
นอกจากนี้ บริษัทเตรียมเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียเพื่อเข้าไปรับบริหารจัดการระบบน้ำ เพราะเห็นว่าเป็นตลาดใหญ่ และยังมีความต้องการใช้ระบบการจัดการน้ำ โดยเฉพาะการทำน้ำจืดจากน้ำทะเล โดยต้นปีจะลงพื้นที่ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปในกลางปี 56
สำหรับแผนการลงทุนในประเทศ นายสลิบ กล่าวว่า งานในประเทศจะขยายตัว เพราะคาดว่าจะมีงานประมูลเข้ารับเหมาทำระบบน้ำประปาจากเทศบาลที่ปัจจุบันมีประมาณ 7 หมื่นกว่าแห่ง โดยเป้าหมายบริษัทก็ยังเป็นหัวเมืองหลักเช่น นครราชสีมา นครสวรรค์ เนื่องจากการขยายงานประปาส่วนภูมิภาคมีข้อจำกัดเรื่องการลงทุน
ทั้งนี้ บริษัทวางแผน 5 ปีข้างหน้า (เริ่มปี 56) จะหันมาเน้นกมาลงทุนมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป็นเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนแน่นอนและชัดเจน แทนที่จะเข้าไปรับจ้างบริหารจัดการน้ำ และรับเหมาอย่างเดียว ซึ่งการลงทุนดังกล่าวได้ทยอยไปบ้างและคาดว่าจะเห็นผลรายได้ของการลงทุนชัดเจนในปลายปี 56 และในปี 57 จะมีสัดส่วนรายได้เข้ามา 10% และเพิ่มขึ้น 20% ในปี 58 และคาดว่าอีก 5 ปีสัดส่วนรายได้จากการลงทุนขยับเป็น 50% ขณะที่คาดวว่าการลงทุนจะใช้เวลาคืนทุนประมาณ 7-10 ปี
นายสลิบคาดว่า ในช่วง 5 ปีนี้รายได้จะเติบโต 30% และในปี 55 คาดรายได้จะเติบโต 30% เช่นกัน จากงานในมือ (Backlog) มีอยู่ 1.8 พันล้านบาท โดยในส่วน 8 พันล้านบาทเป็นงานจากเทศบาลเชียงใหม่ 4 แห่งซึ่งจะทยอยรับรู้ใน 30 ปี อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ ผู้บริหารได้คาดรายได้ปีนี้จะเติยโต 50% มาที่ 1 พันล้านบาท
"ทุกปี บริษัทตั้งเป้าการเติบโตรายได้โต 30% อัตรากำไรสุทธิ 6-7% จากการปริมาณการใช้น้ำตามการขยายตัวของคน และ การลงทุนใช้งบ 300-500 ล้านบาท แต่หากมีวเงินมากกว่านั้นจะใช้การลงทุนร่วมกับพันธมิตร ที่มีอยู่ UAC, TRC, PHOL "นายสลิบ กล่าว
นายสลิบ กล่าวว่า เหตุผลที่บริษัทหันมาเน้นการลงทุน เพราะจะเพิ่มอัตรากำไรสุทธิได้ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นชัดในปี 57 รวมทั้งบริษัทจะยังเน้นเรื่องสาธารณูปโภค
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 776
[InfoQuest] TRC ขาขึ้นซดแบ็กล็อกอื้อปิดดีลลุยพลังงาน
11 ธันวาคม 2555
ทันหุ้น - TRC จ่อปิดดีลลงทุนพลังงานทดแทนไตรมาส 1/2556 กวาดรายได้เข้ากระเปาปีละ 100 ล้านบาท แถมรุกเก็บงานใหม่ต่อเนื่อง เสริมรายรับอนาคต พร้อมมั่นใจปี 2555 รายได้ตามฝัน 4 พันล้านบาท ด้านนักวิเคราะห์ชี้ธุรกิจเข้าช่วงขาขึ้นกอดแบ็กล็อก ไตรมาส 3/2555 เต็มมือ 3.4 พันล้านบาท บุ๊กเข้าไตรมาส 4/2555 ที่ 1.4 พันล้านบาท มีลุ้นชนะการประมูลอีกราว 1.1 หมื่นล้านบาท เคาะเป้าไกล 10.00 บาท
แหล่งข่าวจาก บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRC เปิดเผยว่า เรื่องการลงทุนพลังงานทดแทนในลักษณะการตั้งโรงงานเอทานอลร่วมกับพันธมิตรในต่างประเทศ ขณะนี้คืบหน้าไปค่อนข้างมากแล้ว จึงคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปช่วง 1/2556 ทั้งนี้หากทุกอย่างเป็นตามที่วางไว้ทาง TRC ประเมินว่าคงจะช่วยสร้างรายได้ให้กับธุรกิจอย่างต่ำปีละ 100 ล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน ปี 2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้ 3,324 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 135% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 1,414 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิงวด 9 เดือนที่ 221 ล้านบาท กำไรเติบโตขึ้นถึง 204% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่ากำไรทั้งปีของปี 2554 ที่อยู่ที่ 149 ล้านบาท
ธุรกิจเติบโตโดดเด่น
ส่วนการเติบโตโดดเด่นนั้นมาจากความ ก้าวหน้าของโครงการขนาดใหญ่ต่อเนื่องจากปีก่อนของบริษัท และบริษัท สหการวิศวกร จำกัด คือ โครงการงานวางท่อก๊าซไปยังโรงไฟฟ้า จากกลุ่มบริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด มูลค่า 2,016 ล้านบาท และ 21.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล กำลังการผลิต 400,000 ลิตรต่อวัน (งานก่อสร้างนอกเหนือจากกระบวนการผลิต) จากบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด มูลค่า 2,134 ล้านบาท ตามลำดับ โดยโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปีนี้ ทั้งนี้รายได้ในไตรมาส 3 ยังไม่ได้รวมรายได้จากโครงการ ใหม่ขนาดใหญ่ที่บริษัทได้รับในไตรมาส 3 คือ GUT Gas Pipeline Project จากบริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จำกัด มูลค่า 1,547 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2555 เป็นต้นไป ขณะที่แนวโน้มธุรกิจในช่วงที่เหลือของปี 2555 คาดว่า จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการเข้าไปรับงานโครงการขนาดใหญ่ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีมูลค่างานในมือ (Backlog) 3,415 ล้านบาท
ดังนั้นยังคงมั่นใจว่าผลการดำเนินงานทั้งปีของกลุ่มบริษัทจะเป็นไปตามเป้าหมายที่คาดว่าจะมีรายได้กว่า 4,000 ล้านบาท "ที่ธุรกิจเติบโตขึ้นมาจากการได้รับงานโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงบริษัทยังมีโอกาสที่จะประมูลโครงการใหม่ๆ ได้จากแผนการขยายท่อก๊าซของปตท. รวมถึงการขยายตัวของโรงไฟฟ้า และพลังงานทดแทนที่ยังมีการ ขยายตัวสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ที่ผ่านมาบริษัท มีงานในมือเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ"
ด้านนักวิเคราะห์เทคนิค บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง มองสัญญาณหุ้น TRC มีโอกาสแกว่งตัวเพิ่มขึ้น จึงแนะนำ "เก็งกำไร" ให้แนวต้านที่ 8.30 บาท ส่วนแนวรับอยู่ที่ 7.00 บาท นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการเข้าพบผู้บริหาร บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) TRC มี Backlog ณ สิ้นไตรมาส 3/2555 เท่ากับ 3.4 พันล้านบาท และคาดว่าจะรับรู้รายได้ในไตรมาส 4/2555 ราว 1.4 พันล้านบาท เหลือ Backlog ณ สิ้นปีเท่ากับ 2 พันล้านบาท
ทั้งนี้ผู้บริหารเผย TRC มีงานที่อยู่ระหว่างประมูลและคาดว่าจะชนะการประมูลรวม 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทยอยประกาศผลตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ และเริ่มรับรู้รายได้ในปี 2556-2558 อาทิ งานก่อสร้างท่อแก๊ซของ PTT งานปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงานเก่าของลูกค้ากลุ่ม PTT งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะ เป็นต้น เราประเมินกรอบราคาเหมาะสมปี 2556 เท่ากับ 8.6-10.0 บาท อิง PER 11-13 เท่า Backlog มูลค่ารวม 3.4 ล้านบาท ปริมาณงานในมือ (Backlog) ณ สิ้นไตรมาส 3/2555 ของ TRC เท่ากับ 3.4 พันล้านบาท เราคาดว่าจะมีการรับรู้รายได้ราว 1.4 พันล้านบาทในไตรมาส 4/2555 ทำให้คาดว่าสิ้นปี 2555 TRC จะมี Backlog เท่ากับ 2 พันล้านบาท
ลุ้นประกาศ Backlog อีก 1.1 หมื่นล้านบาท
ผู้บริหารเผยมูลค่างานก่อสร้างที่อยู่ระหว่างยื่นประมูลและคาดว่าจะชนะการประมูลรวมทั้งสิ้น 1.17 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะทยอยประกาศผลตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้
1. โรงงานเอทานอลที่ประเทศกัมพูชา มูลค่า 1.7 พันล้านบาท (ทราบผลภายในเดือน ธ.ค.)
2. โครงการก่อสร้างท่อแก๊ซ PTT มูลค่า 4-5 พันล้านบาท แบ่งเป็น 1. โครงการท่อแก๊ซจาก จ.สระบุรีไป จ.นครสวรรค์ (ทราบผลในไตรมาส 1/56) และ 2. โครงการท่อแก๊ซจาก จ.สระบุรีไป จ.นครราชสีมา (ทราบผลในไตรมาส 3/56) ทั้งนี้เราประเมินว่า TRC จะไม่เลือกงานในโครงการแรกเพราะคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะต่ำกว่าที่ต้องการ
3. โครงการโรงไฟฟ้าจากขยะมูลค่า 2 พันล้านบาท (ทราบผลปลายไตรมาส 1/2556 ถึงไตรมาส 2/56)
4. โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงานเก่าของกลุ่มลูกค้า PTT มูลค่า 1.3 พันล้านบาท (ทราบผลปลายไตรมาส 1/2556 ถึงไตรมาส 2/56)
5. โครงการอื่นๆ อาทิ ท่อแก๊สย่อยไปยังโรงไฟฟ้าพลังแก๊ส ท่อย่อยเข้าโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม อีกประมาณ 1 พันล้านบาท
6. โครงการที่ประเทศโอมาน มูลค่าราว 700 ล้านบาท
กรอบราคาเหมาะสม 8.6-10.0 บาท
เราประเมินกรอบราคาเหมาะสม 8.6-10.0 บาท อิง P/E 11-13 เท่า (1.0 เท่า และ 1.5 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าเฉลี่ย P/E ในอดีต 5 ปีย้อนหลัง) ปัจจัยเสี่ยงการลงทุนระยะสั้นอยู่ที่การเพิ่มทุนแบบ General Mandate จำนวน 133.8 ล้านหุ้น (EPS Dilution 28% หากมีการใช้สิทธิ ซึ่งคาดว่ามีโอกาสที่ TRC จะใช้สิทธิหากตัดสินใจร่วมทุนในโครงการผลิตเอทานอลที่ประเทศกัมพูชา) ทั้งนี้เราประเมินราคาเหมาะสมบนสมมติฐานจำนวนหุ้น 471.5 ล้านหุ้น (Fully-Dilute) เรายังไม่ออกบทวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหุ้น TRC
11 ธันวาคม 2555
ทันหุ้น - TRC จ่อปิดดีลลงทุนพลังงานทดแทนไตรมาส 1/2556 กวาดรายได้เข้ากระเปาปีละ 100 ล้านบาท แถมรุกเก็บงานใหม่ต่อเนื่อง เสริมรายรับอนาคต พร้อมมั่นใจปี 2555 รายได้ตามฝัน 4 พันล้านบาท ด้านนักวิเคราะห์ชี้ธุรกิจเข้าช่วงขาขึ้นกอดแบ็กล็อก ไตรมาส 3/2555 เต็มมือ 3.4 พันล้านบาท บุ๊กเข้าไตรมาส 4/2555 ที่ 1.4 พันล้านบาท มีลุ้นชนะการประมูลอีกราว 1.1 หมื่นล้านบาท เคาะเป้าไกล 10.00 บาท
แหล่งข่าวจาก บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRC เปิดเผยว่า เรื่องการลงทุนพลังงานทดแทนในลักษณะการตั้งโรงงานเอทานอลร่วมกับพันธมิตรในต่างประเทศ ขณะนี้คืบหน้าไปค่อนข้างมากแล้ว จึงคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปช่วง 1/2556 ทั้งนี้หากทุกอย่างเป็นตามที่วางไว้ทาง TRC ประเมินว่าคงจะช่วยสร้างรายได้ให้กับธุรกิจอย่างต่ำปีละ 100 ล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน ปี 2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้ 3,324 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 135% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 1,414 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิงวด 9 เดือนที่ 221 ล้านบาท กำไรเติบโตขึ้นถึง 204% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่ากำไรทั้งปีของปี 2554 ที่อยู่ที่ 149 ล้านบาท
ธุรกิจเติบโตโดดเด่น
ส่วนการเติบโตโดดเด่นนั้นมาจากความ ก้าวหน้าของโครงการขนาดใหญ่ต่อเนื่องจากปีก่อนของบริษัท และบริษัท สหการวิศวกร จำกัด คือ โครงการงานวางท่อก๊าซไปยังโรงไฟฟ้า จากกลุ่มบริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด มูลค่า 2,016 ล้านบาท และ 21.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล กำลังการผลิต 400,000 ลิตรต่อวัน (งานก่อสร้างนอกเหนือจากกระบวนการผลิต) จากบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด มูลค่า 2,134 ล้านบาท ตามลำดับ โดยโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปีนี้ ทั้งนี้รายได้ในไตรมาส 3 ยังไม่ได้รวมรายได้จากโครงการ ใหม่ขนาดใหญ่ที่บริษัทได้รับในไตรมาส 3 คือ GUT Gas Pipeline Project จากบริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จำกัด มูลค่า 1,547 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2555 เป็นต้นไป ขณะที่แนวโน้มธุรกิจในช่วงที่เหลือของปี 2555 คาดว่า จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการเข้าไปรับงานโครงการขนาดใหญ่ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีมูลค่างานในมือ (Backlog) 3,415 ล้านบาท
ดังนั้นยังคงมั่นใจว่าผลการดำเนินงานทั้งปีของกลุ่มบริษัทจะเป็นไปตามเป้าหมายที่คาดว่าจะมีรายได้กว่า 4,000 ล้านบาท "ที่ธุรกิจเติบโตขึ้นมาจากการได้รับงานโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงบริษัทยังมีโอกาสที่จะประมูลโครงการใหม่ๆ ได้จากแผนการขยายท่อก๊าซของปตท. รวมถึงการขยายตัวของโรงไฟฟ้า และพลังงานทดแทนที่ยังมีการ ขยายตัวสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ที่ผ่านมาบริษัท มีงานในมือเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ"
ด้านนักวิเคราะห์เทคนิค บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง มองสัญญาณหุ้น TRC มีโอกาสแกว่งตัวเพิ่มขึ้น จึงแนะนำ "เก็งกำไร" ให้แนวต้านที่ 8.30 บาท ส่วนแนวรับอยู่ที่ 7.00 บาท นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการเข้าพบผู้บริหาร บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) TRC มี Backlog ณ สิ้นไตรมาส 3/2555 เท่ากับ 3.4 พันล้านบาท และคาดว่าจะรับรู้รายได้ในไตรมาส 4/2555 ราว 1.4 พันล้านบาท เหลือ Backlog ณ สิ้นปีเท่ากับ 2 พันล้านบาท
ทั้งนี้ผู้บริหารเผย TRC มีงานที่อยู่ระหว่างประมูลและคาดว่าจะชนะการประมูลรวม 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทยอยประกาศผลตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ และเริ่มรับรู้รายได้ในปี 2556-2558 อาทิ งานก่อสร้างท่อแก๊ซของ PTT งานปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงานเก่าของลูกค้ากลุ่ม PTT งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะ เป็นต้น เราประเมินกรอบราคาเหมาะสมปี 2556 เท่ากับ 8.6-10.0 บาท อิง PER 11-13 เท่า Backlog มูลค่ารวม 3.4 ล้านบาท ปริมาณงานในมือ (Backlog) ณ สิ้นไตรมาส 3/2555 ของ TRC เท่ากับ 3.4 พันล้านบาท เราคาดว่าจะมีการรับรู้รายได้ราว 1.4 พันล้านบาทในไตรมาส 4/2555 ทำให้คาดว่าสิ้นปี 2555 TRC จะมี Backlog เท่ากับ 2 พันล้านบาท
ลุ้นประกาศ Backlog อีก 1.1 หมื่นล้านบาท
ผู้บริหารเผยมูลค่างานก่อสร้างที่อยู่ระหว่างยื่นประมูลและคาดว่าจะชนะการประมูลรวมทั้งสิ้น 1.17 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะทยอยประกาศผลตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้
1. โรงงานเอทานอลที่ประเทศกัมพูชา มูลค่า 1.7 พันล้านบาท (ทราบผลภายในเดือน ธ.ค.)
2. โครงการก่อสร้างท่อแก๊ซ PTT มูลค่า 4-5 พันล้านบาท แบ่งเป็น 1. โครงการท่อแก๊ซจาก จ.สระบุรีไป จ.นครสวรรค์ (ทราบผลในไตรมาส 1/56) และ 2. โครงการท่อแก๊ซจาก จ.สระบุรีไป จ.นครราชสีมา (ทราบผลในไตรมาส 3/56) ทั้งนี้เราประเมินว่า TRC จะไม่เลือกงานในโครงการแรกเพราะคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะต่ำกว่าที่ต้องการ
3. โครงการโรงไฟฟ้าจากขยะมูลค่า 2 พันล้านบาท (ทราบผลปลายไตรมาส 1/2556 ถึงไตรมาส 2/56)
4. โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงานเก่าของกลุ่มลูกค้า PTT มูลค่า 1.3 พันล้านบาท (ทราบผลปลายไตรมาส 1/2556 ถึงไตรมาส 2/56)
5. โครงการอื่นๆ อาทิ ท่อแก๊สย่อยไปยังโรงไฟฟ้าพลังแก๊ส ท่อย่อยเข้าโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม อีกประมาณ 1 พันล้านบาท
6. โครงการที่ประเทศโอมาน มูลค่าราว 700 ล้านบาท
กรอบราคาเหมาะสม 8.6-10.0 บาท
เราประเมินกรอบราคาเหมาะสม 8.6-10.0 บาท อิง P/E 11-13 เท่า (1.0 เท่า และ 1.5 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าเฉลี่ย P/E ในอดีต 5 ปีย้อนหลัง) ปัจจัยเสี่ยงการลงทุนระยะสั้นอยู่ที่การเพิ่มทุนแบบ General Mandate จำนวน 133.8 ล้านหุ้น (EPS Dilution 28% หากมีการใช้สิทธิ ซึ่งคาดว่ามีโอกาสที่ TRC จะใช้สิทธิหากตัดสินใจร่วมทุนในโครงการผลิตเอทานอลที่ประเทศกัมพูชา) ทั้งนี้เราประเมินราคาเหมาะสมบนสมมติฐานจำนวนหุ้น 471.5 ล้านหุ้น (Fully-Dilute) เรายังไม่ออกบทวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหุ้น TRC
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 777
โบรกคาดขึ้นราคาแอลพีจีปตท.กำไรพุ่ง5พันล.
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 13 ธันวาคม 2555
โบรกเกอร์คาดหากรัฐขึ้นราคาแอลพีจี 6 บาทในปีหน้า หนุนกำไรปตท.เพิ่ม 5.7 พันล้านบาท
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) วิเคราะห์ว่า หากมีการปรับขึ้นราคาแอลพีจี ตามแนวทางที่รัฐบาลกำหนด จะทำให้ปตท.ไม่ต้องแบกรับผลการขาดทุน จากปัจจุบันที่ปตท.ขายแอลพีจีต่ำกว่าต้นทุน เนื่องจากมีการกำหนดราคาเพดานขายไว้ โดย ตามแผนรัฐบาลคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มราคาแอลพีจีภาคครัวเรือน ในอัตราเดือนละ 0.50 บาท ตั้งแต่ ก.พ.2556 เป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 12เดือน และจะส่งผลให้ราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 18.13 บาทต่อกิโลกรัท เป็น 24.13 บาทต่อกิโลกรัม
ทั้งนี้ บริษัทประเมินเบื้องต้นว่า หากมีการปรับราคาแอลพีจีขึ้นทุกๆ 0.50 บาท จะส่งผลบวกต่อกำไรปตท.ประมาณ 457 ล้านบาท หรือประมาณ 5.7 พันล้านบาท หากมีการปรับขึ้นราคาแอลพีจี 6 บาทต่อกิโลกรัม โดยในส่วนนี้ยังไม่ได้รวมอยู่ในประมาณการณ์ที่ทำไว้
ด้านบล.ธนชาต วิเคราะห์ว่า จากกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีนโยบายปรับขึ้นราคาแอลพีจี เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัมในปีหน้า แต่ยังไม่มีนโยบายปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีในปีหน้านั้น มองว่าข่าวดังกล่าวเป็นลบต่อปตท. แต่ก็ไม่ได้อยู่เหนือการคาดหมาย โดยในกรณีการปรับขึ้นราคาแอลพีจี ปตท. จะไม่ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นราคา เนื่องจากเป็นการปรับขึ้นราคาปลีก ขณะที่ปตท. เป็นผู้ค้าส่ง ซึ่งยังคงถูกกำหนดราคาเพดานไว้ที่ 330 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
แต่การปรับขึ้นราคาจะช่วยลดผลขาดทุนของกองทุนน้ำมันฯ สำหรับเอ็นจีวี นั้น นอกจากจะไม่ได้รับเงินอุดหนุนแล้ว ปตท. อาจจะต้องลงทุนเปิดสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นโดยปัจจุบันปตท.มีผลขาดทุน 5.0-5.5 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาทในปีนี้
ทั้งนี้ ความกังวลของเราในเรื่องผลตอบแทนที่ต่ำจากการลงทุนในอนาคตของปตท.ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นจริงเนื่องจากงบลงทุนจำนวนมหาศาลในอนาคตน่าจะถูกริเริ่มโดยรัฐบาล โดยหนึ่งโครงการคือ LPG terminal
แม้ต้นทุนลงทุนจะไม่มาก แต่ปตท. อาจจะต้องถูกขอให้ออกเงินเพื่อนำเข้าแอลพีจี สำหรับรัฐบาลล่วงหน้าไปก่อน
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 13 ธันวาคม 2555
โบรกเกอร์คาดหากรัฐขึ้นราคาแอลพีจี 6 บาทในปีหน้า หนุนกำไรปตท.เพิ่ม 5.7 พันล้านบาท
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) วิเคราะห์ว่า หากมีการปรับขึ้นราคาแอลพีจี ตามแนวทางที่รัฐบาลกำหนด จะทำให้ปตท.ไม่ต้องแบกรับผลการขาดทุน จากปัจจุบันที่ปตท.ขายแอลพีจีต่ำกว่าต้นทุน เนื่องจากมีการกำหนดราคาเพดานขายไว้ โดย ตามแผนรัฐบาลคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มราคาแอลพีจีภาคครัวเรือน ในอัตราเดือนละ 0.50 บาท ตั้งแต่ ก.พ.2556 เป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 12เดือน และจะส่งผลให้ราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 18.13 บาทต่อกิโลกรัท เป็น 24.13 บาทต่อกิโลกรัม
ทั้งนี้ บริษัทประเมินเบื้องต้นว่า หากมีการปรับราคาแอลพีจีขึ้นทุกๆ 0.50 บาท จะส่งผลบวกต่อกำไรปตท.ประมาณ 457 ล้านบาท หรือประมาณ 5.7 พันล้านบาท หากมีการปรับขึ้นราคาแอลพีจี 6 บาทต่อกิโลกรัม โดยในส่วนนี้ยังไม่ได้รวมอยู่ในประมาณการณ์ที่ทำไว้
ด้านบล.ธนชาต วิเคราะห์ว่า จากกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีนโยบายปรับขึ้นราคาแอลพีจี เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัมในปีหน้า แต่ยังไม่มีนโยบายปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีในปีหน้านั้น มองว่าข่าวดังกล่าวเป็นลบต่อปตท. แต่ก็ไม่ได้อยู่เหนือการคาดหมาย โดยในกรณีการปรับขึ้นราคาแอลพีจี ปตท. จะไม่ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นราคา เนื่องจากเป็นการปรับขึ้นราคาปลีก ขณะที่ปตท. เป็นผู้ค้าส่ง ซึ่งยังคงถูกกำหนดราคาเพดานไว้ที่ 330 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
แต่การปรับขึ้นราคาจะช่วยลดผลขาดทุนของกองทุนน้ำมันฯ สำหรับเอ็นจีวี นั้น นอกจากจะไม่ได้รับเงินอุดหนุนแล้ว ปตท. อาจจะต้องลงทุนเปิดสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นโดยปัจจุบันปตท.มีผลขาดทุน 5.0-5.5 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาทในปีนี้
ทั้งนี้ ความกังวลของเราในเรื่องผลตอบแทนที่ต่ำจากการลงทุนในอนาคตของปตท.ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นจริงเนื่องจากงบลงทุนจำนวนมหาศาลในอนาคตน่าจะถูกริเริ่มโดยรัฐบาล โดยหนึ่งโครงการคือ LPG terminal
แม้ต้นทุนลงทุนจะไม่มาก แต่ปตท. อาจจะต้องถูกขอให้ออกเงินเพื่อนำเข้าแอลพีจี สำหรับรัฐบาลล่วงหน้าไปก่อน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 778
ปตท.เตรียมถอนSARจากตลาดหุ้นสิงคโปร์
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Friday, December 14, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท. เตรียมยื่นเพิกถอนหุ้น Sakari Resources Limited ออกจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ หลังสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ SAR พร้อมแจ้งเปลี่ยนสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว กับ Qatargas เพื่อซื้อ LNG ในปริมาณ2 ล้านตันต่อปี โดยมีอายุสัญญา 20 ปี เริ่มรับ LNG ม.ค. 58 เป็นต้นไป
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT แจ้งว่า ตามที่บริษัทได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 เรื่องสิ้นสุดระยะเวลาเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท Sakari Resources Limited (SAR) โดยบริษัท PTT Mining Limited (PTTML) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท. เป็นผลให้สัดส่วนการถือหุ้นSAR รวมทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เกินกว่าร้อยละ 90 โดย PTTML ขอสงวนสิทธิในการพิจารณาดำเนินการเพิกถอนหุ้น SAR ออกจากตลาด หลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX-ST) นั้น
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการ บริษัท SAR มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการยื่นขอเพิกถอนหุ้นของบริษัทฯออกจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ อนึ่ง การเพิกถอนหุ้นจะสมบรูณ์ เมื่อ (1) การยื่นขอเพิกถอนได้รับการอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (2) ได้รับยกเว้นกฎของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ข้อ 1307 เรื่องการขออนุมัติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในการเพิกถอนหุ้นและกฎข้อ 1309 เรื่องการทำ exist offer กับผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ ปตท. จะดำเนินการแจ้งผลของการยื่นเพิกถอนหุ้น SAR รวมทั้งวันที่คาดว่าจะเพิกถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ต่อไป
พร้อมกันนี้ ปตท. ยังแจ้งอีกว่า ปตท. ในฐานะผู้ซื้อได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) กับบริษัท Qatar Liquefied Gas Company Limited (3)(Qatargas) เพื่อซื้อ LNG ในปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี โดยมีอายุสัญญา 20 ปี ซึ่งจะเริ่มรับLNG ได้ในเดือนมกราคม 2558 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การลงนามในสัญญาซื้อขาย LNG สามารถช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศไทยในระยะยาว ให้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการใช้ก๊าซฯ ในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
--จบ--
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Friday, December 14, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท. เตรียมยื่นเพิกถอนหุ้น Sakari Resources Limited ออกจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ หลังสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ SAR พร้อมแจ้งเปลี่ยนสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว กับ Qatargas เพื่อซื้อ LNG ในปริมาณ2 ล้านตันต่อปี โดยมีอายุสัญญา 20 ปี เริ่มรับ LNG ม.ค. 58 เป็นต้นไป
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT แจ้งว่า ตามที่บริษัทได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 เรื่องสิ้นสุดระยะเวลาเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท Sakari Resources Limited (SAR) โดยบริษัท PTT Mining Limited (PTTML) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท. เป็นผลให้สัดส่วนการถือหุ้นSAR รวมทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เกินกว่าร้อยละ 90 โดย PTTML ขอสงวนสิทธิในการพิจารณาดำเนินการเพิกถอนหุ้น SAR ออกจากตลาด หลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX-ST) นั้น
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการ บริษัท SAR มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการยื่นขอเพิกถอนหุ้นของบริษัทฯออกจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ อนึ่ง การเพิกถอนหุ้นจะสมบรูณ์ เมื่อ (1) การยื่นขอเพิกถอนได้รับการอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (2) ได้รับยกเว้นกฎของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ข้อ 1307 เรื่องการขออนุมัติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในการเพิกถอนหุ้นและกฎข้อ 1309 เรื่องการทำ exist offer กับผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ ปตท. จะดำเนินการแจ้งผลของการยื่นเพิกถอนหุ้น SAR รวมทั้งวันที่คาดว่าจะเพิกถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ต่อไป
พร้อมกันนี้ ปตท. ยังแจ้งอีกว่า ปตท. ในฐานะผู้ซื้อได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) กับบริษัท Qatar Liquefied Gas Company Limited (3)(Qatargas) เพื่อซื้อ LNG ในปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี โดยมีอายุสัญญา 20 ปี ซึ่งจะเริ่มรับLNG ได้ในเดือนมกราคม 2558 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การลงนามในสัญญาซื้อขาย LNG สามารถช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศไทยในระยะยาว ให้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการใช้ก๊าซฯ ในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 779
'พงษ์ศักดิ์'เล็งเพิ่มพลังงานทดแทนถึง20%
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 13 ธันวาคม 2555 13:15
"พงษ์ศักดิ์"ประกาศหนุนชุมชนตั้งโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ 7 พันเมกะวัตต์ ภายใน 10 ปี เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนได้ถึง 20%
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แนวนโยบายพลังงานที่สำคัญก็คือการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะพลังงานทดแทนจากก๊าซชีวภาพ โดยกระทรวงพลังงานจะสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ หรือหญ้าเลี้ยงช้าง ซึ่งหญ้าชนิดนี้เพาะปลูกง่ายให้ผลผลิต 36-80 ตันต่อไร่ และสามารถปลูกได้ในพื้นที่แห้งแล้ง และมีราคาขายไม่ต่ำกว่า 300 บาทต่อตัน โดยผลผลิตในระดับต่ำสุดที่ 36 ตันต่อไร่ จะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากกว่าการปลูกมันสำปะหลัง
ทั้งนี้จากการประเมินของกระทรวงพลังงาน พบว่าการปลูกหญ้าซีเปีย 1 พันไร่ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท โดยกระทรวงพลังงานมีเป้าหมายที่จะตั้งกองทุนสนับสนุนด้านการเงินให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล สหกรณ์การเกษตร และเกษตรกรรายย่อย เข้ามาร่วมมือกับภาคเอกชนในการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนนี้ โดยเกษตรกรเป็นผู้ปลูกหญ้า และโรงไฟฟ้าจะเข้ามารับซื้อในราคาประกันรวมทั้งเป็นผู้เก็บเกี่ยวเอง ซึ่งจะเป็นการกระจายผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม
สำหรับเป้าหมายของการสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพจากหญ้าซีเปียนี้ ในเบื้องต้นจะส่งเสริมให้ผลิตไฟฟ้าให้ได้ถึง 7 พันเมกะวัตต์ จากชุมชนต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนทั้งประเทศ 20% จากเป้าหมายแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี(พ.ศ.2555-2564) โดยมั่นใจว่าจะทำได้ตามเป้าหมาย เพราะประเทศเยอรมันซึ่งเป็นแม่แบบในโครงการนี้ มีศักยภาพในการปลูกเญ้าต่ำกว่าไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 7 พันเมกะวัตต์ ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่ และภูมิอากาศที่เหมาะสมกว่า จึงเชื่อว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 13 ธันวาคม 2555 13:15
"พงษ์ศักดิ์"ประกาศหนุนชุมชนตั้งโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ 7 พันเมกะวัตต์ ภายใน 10 ปี เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนได้ถึง 20%
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แนวนโยบายพลังงานที่สำคัญก็คือการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะพลังงานทดแทนจากก๊าซชีวภาพ โดยกระทรวงพลังงานจะสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ หรือหญ้าเลี้ยงช้าง ซึ่งหญ้าชนิดนี้เพาะปลูกง่ายให้ผลผลิต 36-80 ตันต่อไร่ และสามารถปลูกได้ในพื้นที่แห้งแล้ง และมีราคาขายไม่ต่ำกว่า 300 บาทต่อตัน โดยผลผลิตในระดับต่ำสุดที่ 36 ตันต่อไร่ จะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากกว่าการปลูกมันสำปะหลัง
ทั้งนี้จากการประเมินของกระทรวงพลังงาน พบว่าการปลูกหญ้าซีเปีย 1 พันไร่ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท โดยกระทรวงพลังงานมีเป้าหมายที่จะตั้งกองทุนสนับสนุนด้านการเงินให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล สหกรณ์การเกษตร และเกษตรกรรายย่อย เข้ามาร่วมมือกับภาคเอกชนในการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนนี้ โดยเกษตรกรเป็นผู้ปลูกหญ้า และโรงไฟฟ้าจะเข้ามารับซื้อในราคาประกันรวมทั้งเป็นผู้เก็บเกี่ยวเอง ซึ่งจะเป็นการกระจายผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม
สำหรับเป้าหมายของการสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพจากหญ้าซีเปียนี้ ในเบื้องต้นจะส่งเสริมให้ผลิตไฟฟ้าให้ได้ถึง 7 พันเมกะวัตต์ จากชุมชนต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนทั้งประเทศ 20% จากเป้าหมายแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี(พ.ศ.2555-2564) โดยมั่นใจว่าจะทำได้ตามเป้าหมาย เพราะประเทศเยอรมันซึ่งเป็นแม่แบบในโครงการนี้ มีศักยภาพในการปลูกเญ้าต่ำกว่าไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 7 พันเมกะวัตต์ ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่ และภูมิอากาศที่เหมาะสมกว่า จึงเชื่อว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 780
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."