ผมต้องตอบคำถามแรกว่าทำไมมา review หนังสือเล่มนี้
เพราะว่าตอนนี้ เป็นช่วงนี้เป็นช่วงที่ไม่แน่นอนในตัวธุรกิจประกันภัยว่าเครมประกันจากน้ำท่วมเสร็จกันหรือยัง
เลยต้องหาหนังสือมาอ่านเพื่อเพิ่มความรู้ด้านประกันภัยในส่วนของการรับประกันภัยต่อโดยเฉพาะ
เรียกได้ว่า ขอให้มีความรู้พื้้นฐาน เพื่อเอาไปคุยกับผู้บริหารในการประชุมได้ว่า ศัพท์แต่ละคำคืออะไรกัน
จะได้พูดภาษาเดียวกัน (เหมือนต้องการอ่านงบการเงินก็ต้องรู้ภาษาทางบัญชี)
หนังสือ "Reinsurance Make it Easy!" การประกันภัยต่อ ไม่ยากอย่างที่คิด
จัดทำโดย สมาคมวินาศภัย (The General Insurance Association)
เรียบเรียงโดย คุณธโนดม โลกาพัฒนา และ คุณ ดวงดาว วิกขณ์จารุ
หนังสือเล่มนี้เป็นข้อมูลเก่า เป็นข้อมูลถึงวันที่ 30 เมษายน 2552 เท่านั้น ดังนั้นปัจจุบันอาจจะมีความแตกต่างไปบ้าง
หรือมีการพัฒนาในด้านประกันภัยต่อในประเทศและต่างประเทศไปมาก เนื่องจาก พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา ที่ทำความเสียหายให้แ่ก่สหรัฐอเมริกา ในปีั 2548 หรือภัยอื่นๆที่ตามมาภายหลังจากนั้น
จำนวนพิมพ์มีแค่ 5000 เล่ม
พิมพ์ครั้งแรก พค 2552 (เรียกได้ว่าเขียนเสร็จแล้วพิมพ์เลย)
จำนวนหน้า 266 หน้า ราคา 390 บาท (แต่ผมซื้อมาแค่ 200 บาทจากงานสัปดาห์ประกันภัย จัดที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์เมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ แต่เพิ่งมีเวลาอ่านในช่วงที่หยุดยาวนี้)
หนังสือเล่มนี้ดีอย่างไง
เปิดเผยรูปแบบการประกันภัยต่อว่ามีกี่แบบ
ทำแล้วใครได้ประโยชน์จุดไหนบ้าง บริษัทรับประกันภัยต่อทำไมรับเพราะอะไร
แล้วเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแบบรุนแรงทำอย่างไง ขึ้นเบี้ยหรือปล่อยเลย
หนังสือเล่มนี้บอกให้รับรู้เรื่องเหล่านั้นเลยว่า แบบสัดส่วนคิดความสูญเสียอย่างไง แบบไม่เป็นสัดส่วนคิดอย่างไง
ความถ้าหากบริษัทที่เอาประกันภัยอยากจะเก็บเบี้ยในส่วนที่ดีไว้กับตัว แล้วส่งเบี้ยไม่ดีมาให้บริัษัทประกันภัยต่อ มันทำอะไรได้บ้าง
การป้องกันความเสียหายจัดกี่ชั้นแต่ละชั้นครอบคลุมอะไรบ้าง เล่มนี้มีเฉลยให้
แต่ขอเตือนท่านๆก่อนว่า อ่านแล้วไม่ค่อยทรมาน ไม่เหมือนอ่าน Paper ของ Sharp , FAMA หรือ มาโควิช คนที่เรียนทางการเงินต้องเจอให้อ่าน (พวกสายแข็งเจอ) Paper พวกนี้เป็น Paper ของที่สุดของความทรมานเลย อ่านหน้าหนึ่งหลายชั่วโมง เขียนภาษาคนแต่อ่านแล้ว มึนไปหมด แต่เล่มนี้ไม่มันแน่นอนครับ การันตี แต่ค่อยทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ อ่านซ้ำๆ ละกัน
คำศัพท์ที่ท่านต้องรู้คือ
Reinsured
Reinsurer
Reinsurance Broker
Retrocedant
Retrocecessionaire
รูปแบบของการประกันภัยต่อ
Facultative
Treaty
Proportional
ความเสียหาย (เป็นจุดที่ใครจ่าย)
Excess point (Deductible)
Cover Limit
Net Retention
Quota Share
Retention
Surplus
Pool
XOL
เป็นต้น
ผู้อ่านจะได้รู้ว่าศัพท์เหล่านี้คืออะไร
แล้วทำไมผมถึงบอกว่า เครมกันไม่จบ เพราะว่ารูปแบบการรับประกันภัยต่อนี้เองละครับ
ต้องอ่านดูแล้วจะรู้ ถึงแม้นว่าข้อมูลมันเป็นข้อมูลเก่าเมื่อสามปีที่แล้วก็ตาม แต่อ่านไปก็ได้ความรู้เชิงลึกที่ควรจะรู้
ถ้าหากคุณจำเป็นต้องซื้อหุ้นกลุ่มประกันภัย (และประกันชีวิตที่เริ่มเห็นการส่งต่อประกันชีวิตต่อ)
สุดท้ายนี้ ด้วยเหตุบังเิอิญที่ผมได้หนังสือเล่มนี้ เป็นความโชคดี ทำให้ผมต้องมา review ให้นักลงทุนคนอื่นๆเกิดความอยากอ่านหนังสือเล่มนี้ละครับ
จบหน้าที่ผมแล้วล่ะ ตอ่ไปนี้คุณตัดสินใจเอาเองล่ะกันว่าหาความรู้ด้วยการอ่านดีหรือเปล่า
หรือถอดใจในการลงทุนหุ้นกลุ่มประกันภัยต่อไปละ ก็ขึ้นอยู่กับคุณเป็นคนให้คำตอบแล้วละ
"ความรู้นั้นเรียนรู้กันไม่หมด แต่เรียนรู้ในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ก็แค่เพียงใบไม้เพียงกำมือเดียว"