รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 601

โพสต์

สัมภาษณ์พิเศษ : อธิคม เติบศิริ เปิดขุมทรัพย์ไออาร์พีซี งัดที่ดิน 1.5 หมื่นไร่ ขายทอดตลาด
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, October 11, 2012


“ไออาร์พีซี” เปิดขุมทรัพย์มหาศาล หารายได้เสริมจากสินทรัพย์ที่ไม่ใช่จากธุรกิจหลัก ประเดิมด้วยการขายที่ดิน 500 ไร่ จากทั้งหมด 15,000 ไร่ และเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าถังเก็บผลิตภัณฑ์จำนวนมาก ดันสัดส่วนรายได้ธุรกิจเสริมเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 10% การันตีผลงานปีนี้พลิกเป็นกำไรสุทธิ จากครึ่งปีแรกขาดทุนสุทธิ 3,000 ล้านบาท

"อธิคม เติบศิริ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนจะทยอยขายที่ดินในมือที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจหลักของปิโตรเคมี ซึ่งมีอยู่ประมาณ 500 ไร่ เพื่อบันทึกเข้ามาเป็นรายได้ โดยมีแผนที่จะนำที่ดินออกขายในปี 2555 เป็นที่ดินผืนใหญ่สุดมีจำนวน 100 ไร่ รวมสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งขณะนี้ประกาศเปิดประมูลซื้อขายอยู่ 20 แห่ง จากทั้งหมดที่มีอยู่จำนวน 15,000 ไร่ และยังอยู่ระหว่างการให้เอกชนเข้ามาเช่าถังเก็บผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่จำนวนมาก ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจเสริมประมาณ 10% และคาดว่าในอนาคตจะมีสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น

"ล่าสุดมีผู้ที่สนใจเข้ามาประมูลซื้อที่ดินที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทหลายราย โดยบริษัทเปิดประมูลขายที่ดินที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ อาทิ ที่ดินปั๊มน้ำมัน TPI และอื่นๆ ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ ระยอง และกทม. ซึ่งมีพื้นที่รวมประมาณ 500 ไร่ โดยบริษัทจะพยายามเปิดขายให้หมดเร็วที่สุด”

ผลประกอบการปีนี้พลิกกำไร

บริษัทยังมั่นใจว่าผลประกอบการปีนี้จะพลิกกลับมามีกำไรสุทธิได้ แม้ว่าครึ่งปีแรกจะมีผลขาดทุนถึง 3 พันล้านบาท เนื่องจากเชื่อว่าครึ่งปีหลังค่าการกลั่นรวม (GIM) รวมสต๊อก (stock) จะปรับตัวสูงขึ้นมาเป็น 7 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากครึ่งปีแรกที่ติดลบ 3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

ขณะที่บริษัทคงเป้ารายได้ในปีนี้อยู่ที่ 2.7 แสนล้านบาท เติบโต 15% เนื่องจากในปีนี้ไม่ได้มีการหยุดซ่อมบำรุง (Shut down) โดยมีกำลังการกลั่นอยู่ที่ 1.8 แสนบาร์เรลต่อวัน หรือมีกำลังการกลั่นอยู่ที่ 75-80% ของกำลังการกลั่นทั้งหมด ส่วนปิโตรเคมีมีการเดินเครื่องเต็ม 100% ทั้งนี้ เชื่อว่าผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้จะดีกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เริ่มจะคลี่คลายขึ้น เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรป

นอกจากนี้ บริษัทพยายามลดสัดส่วนธุรกิจโรงกลั่น เพิ่มสัดส่วนธุรกิจเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษ ตามโครงการฟีนิกซ์ที่จะเพิ่มความสามารถในการทำกำไร โดยคาดว่าในปี 2558 จะมีกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจัดจำหน่าย (EBITDA) จะเติบโตมากกว่า 15% แม้ว่ารายได้เติบโต 5-10% เพราะบริษัทมีโอกาสต่อยอดธุรกิจได้อีก จากการเพิ่มสัดส่วนสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ บริษัทวางแผนในอีก 4 ปี หรือในปี 2559 บริษัทจะเพิ่มสัดส่วนสินค้าเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษอีกเท่าตัวเป็น 60% จาก 30% เมื่อปีที่แล้ว โดยในปีนี้บริษัทจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 35%

ส่วนแนวโน้มผลประกอบการครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะมีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน (Stock Gain) และเชื่อในครึ่งปีหลังประเทศจีน และสหรัฐอเมริกาจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งในไตรมาส 3/55 บริษัทมียอดขายในประเทศเพิ่มมากขึ้นประมาณ 5-10% จากการที่โรงกลั่นของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP เกิดเหตุไฟไหม้

“ความน่าจะเป็นไตรมาส 3/55 น่าจะมีโอกาสบันทึกกำไรสต๊อกน้ำมัน หลังราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งในครึ่งปีหลังจะเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจ และเชื่อว่าจีนและสหรัฐอเมริกาจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น ดังนั้น คาดว่าครึ่งปีหลังรายได้จะดีกว่าครึ่งปีแรก”

ปรับตัวรับเศรษฐกิจโลกผันผวน

บริษัทมีการปรับตัวรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีการปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลง 10% หาสภาพคล่องรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยที่ผ่านมามีการออกหุ้นกู้ วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาทไปแล้ว ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก การจัดลำดับความสำคัญในการลงทุน และการหารายได้เสริมจากธุรกิจรอง

“ในช่วงระยะอันตรายจนถึงสิ้นปีนี้ เราเตรียมความพร้อมโดยเลือกที่จะจัดลำดับการลงทุน อะไรที่ไม่ก่อให้เกิดผลดีก็ชะลอไปก่อน รวมถึงหารายได้เสริมกับธุรกิจรองนอกจากธุรกิจหลักของเราคือ น้ำมันและเม็ดพลาสติก อาทิ การให้เช่าท่าเรือและถังเก็บ”

รวมทั้งชะลอแผนลงทุนสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ใน จ.ระยอง ที่มีมูลค่าลงทุนหลายร้อยล้านบาทออกไปก่อน และมีนโยบายจะลดค่าใช้จ่ายในการบริหารไม่น้อยกว่า 10% เพื่อรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

นอกจากนี้ บริษัทเชื่อว่าการที่เฟดออก QE3 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐได้ดีกว่าการออก QE1 และ QE2 เนื่องจาก QE3 เฟดจะเน้นการอัดฉีดเงินลงมาในภาคประชาชนมากกว่า QE1 และ QE2 ที่เลือกอัดฉีดไปยังสถาบันการเงิน ซึ่ง QE3 จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้มากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายที่จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำพิเศษต่อเนื่อง ถือว่าเป็นนโยบายที่จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศได้ดีมาก

ส่วนราคาน้ำมัน คาดว่าจะไม่ปรับตัวสูงเพิ่มขึ้นไปกว่าปัจจุบัน ซึ่งตลาดรับรู้และได้ซื้อขายราคาที่สะท้อนการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐไว้ล่วงหน้า ล่าสุดน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ประมาณ 116-117 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กลุ่มไออาร์พีซีประเมินว่า ราคาไตรมาส 4 น่าจะอ่อนตัวมากกว่านี้ โดยอาจจะอยู่ที่ประมาณ 104-105 ดอลลาร์สหัฐต่อบาร์เรล ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากแรงกดดันของปัญหาหนี้ในยุโรปที่ยังคงมีอยู่

หาเทคโนโลยีต่อยอดโพรพิลีน

บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับเจ้าของเทคโนโลยี 2-3 ราย ที่จะเข้ามาช่วยต่อยอดการผลิตผลิตภัณฑ์โพรพิลีน คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ เพื่อจะตั้งโรงงานผลิตที่วางเป้าหมายเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2558 ซึ่งเป็นเวลาไล่เลี่ยกับโครงการขยายกำลังการผลิตโพรพิลีนที่มาจากการอัพเกรดจากผลิตภัณฑ์ long residue ในโรงกลั่น กำลังการผลิตกว่า 3 แสนตันต่อปี จะเริ่มทดลองและเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปลายปี 2557 หรือต้นปี 2558

ประกอบกับในปีนี้บริษัทเพิ่มกำลังการผลิตโพรพิลีน (Propylene Booster) อีก 1 แสนตัน/ปี จากที่ผลิตอยู่แล้ว 3 แสนตันต่อปี ในเดือนก.ค. 55 จะทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตโพรพิลีนรวมเพิ่มเป็นประมาณ 7 แสนตัน/ปี ในปี 2558

"มีการเจรจากับเจ้าของเทคโนโลยี คิดว่าภายในปีนี้น่าจะได้ข้อสรุปว่าจะเลือกเทคโนโลยีอะไรมาพัฒนาและนำโพรพิลีนมาต่อยอด เพราะเรามี aim ที่จะผลิตสินค้า Specialty หรือสินค้าปิโตรเคมีที่มีมูลค่าเพิ่ม ให้มีสัดส่วนเพิ่มเท่าตัวจากที่เราทำ 30% ในปีนี้ เราตั้งเป้าหมายไว้ปี 2558 เราจะเพิ่มเป็น 60% ส่วนอีก 40% เป็น commodity" นายอธิคม กล่าว

งบลงทุนปีนี้ 1.9 หมื่นล้านบาท

บริษัทตั้งงบลงทุนในปี 2555 ไว้ที่ราว 1.9 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่ใช้ในโครงการฟีนิกซ์ 1.2 หมื่นล้านบาท และโครงการนอกฟีนิกซ์ 5 พันล้านบาท ขณะที่งบซ่อมบำรุงประจำปี 2 พันล้านบาท พร้อมกันนั้นตั้งงบลงทุน 5 ปี (2555-2559) ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นโครงการฟีนิกซ์ 4 หมื่นล้านบาท และนอกฟีนิกซ์ 2 หมื่นล้านบาท ส่วนงบซ่อมบำรุง 1 หมื่นล้านบาท

ส่วนโครงการฟีนิกซ์ที่ใช้งบลงทุนรวม 1,342 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้รับอนุมัติไปแล้ว 80-90% ของโครงการทั้งหมดนั้น เม็ดเงินส่วนใหญ่ 900 ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้ในการผลิตโพรพิลีนเพิ่มอีก 3.2 แสนตัน กำหนดแล้วเสร็จในปี 2558 ซึ่งจะทำให้การกลั่นทำได้เต็มกำลังที่ 2.15 แสนบาร์เรลต่อวัน ในปี 2557 จาก 1.7 แสนบาร์เรลต่อวัน ในปีนี้

และในปี 2555 บริษัทจะลงทุนโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เฟสแรก ภายใต้วงเงิน 600-700 ล้านบาท บนที่ดินขนาด 600-700 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 2.5 พันไร่ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบและทำความเข้าใจกับชุมชน โดยคาดว่ากลางปีหน้าเริ่มเปิดให้จับจองพื้นที่ได้

รวมทั้งจะลงทุนโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) 2 โรง ที่จ.ระยอง มีกำลังการผลิตรวม 200 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแบ่งขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 90 เมกะวัตต์ กำหนดแล้วเสร็จปี 2560 เป็นโครงการที่พัฒนาร่วมกับการนิคมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ส่วนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา บนพื้นที่ 2.7 พันไร่ อยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เบื้องต้นจะมีกำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์

เปิดทางพันธมิตรร่วมลงทุน

บริษัทขอปฏิเสธกระแสข่าวที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ระบุว่า บริษัทอาจเข้าควบรวมกิจการกับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC โดยยืนยันว่าไม่เคยมีการหารือเรื่องนี้ แต่ยอมรับว่าบริษัทสนใจที่จะมีพันธมิตรเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งธุรกิจ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนทางธุรกิจลง โดยต้องเป็นธุรกิจที่ส่งเสริมกันได้ และมีมูลค่าผลตอบแทนเพียงพอที่ผู้ถือหุ้นจะอนุมัติให้บริษัทร่วมลงทุนได้

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 602

โพสต์

จับตายกเลิกเบนซิน91โรงกลั่นวุ่น
Source -ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, October 11, 2012


เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมาทางคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้อนุมัติให้เลื่อนการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 ที่ปัจจุบันมีการใช้อยู่ประมาณ 8 ล้านลิตรต่อวัน

ออกไปเป็นวันที่ 1 มกราคม 2556 จากเดิมที่จะบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันบางจากเกิดไฟไหม้ ไม่สามารถผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐานหรือจีเบส เพื่อนำมาผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้อย่างเพียงพอ

สอดคล้องกับบรรดาโรงกลั่นน้ำมันได้ออกมาคัดค้านก่อนหน้านั้น ว่าหากยกเลิกใช้เบนซิน ออกเทน 91 แล้ว โรงกลั่นน้ำมันจะต้องไปลงทุนปรับปรุงกระบวนการกลั่นน้ำมันเพื่อให้ได้เบนซินพื้นฐานอีกมาก และต้องมีเวลาในการเตรียมตัวด้านการลงทุน เพราะโรงกลั่นบางรายยังมีข้อจำกัดในการผลิตจีเบสที่มีค่าความดันไอ (Vapor Pressure) ต่ำลง จากเดิมที่น้ำมันเบนซิน 91 มีค่าความดันไปอยู่ที่ไม่เกิน 9 PSI แต่เมื่อต้องนำเอทานอลที่มีค่าความดันไอประมาณ 1-2 PSI เข้าไปผสมแล้ว จะทำให้ค่าความดันไอเพิ่มสูงกว่ามาตรฐาน ส่งผลให้ช่วงที่ผ่านมาประเทศต้องนำเข้าจีเบสมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่โรงกลั่นบางจากปิดซ่อมจากไฟไหม้ มีการนำเข้าจีเบสช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555 ถึง 76 ล้านลิตร

+++พึ่งจีเบสนำเข้ามีความเสี่ยง

หลายฝ่ายมองว่า หากประเทศต้องพึ่งการนำเข้าจีเบสระยะยาว จากการยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน ออกเทน 91 จะถือเป็นความเสี่ยงในด้านการจัดหา เนื่องจากต้องไปพึ่งโรงกลั่นสิงคโปร์กลั่นจีเบสให้ ซึ่งจะส่งผลให้จีเบสมีราคาสูงเมื่อเทียบกับการกลั่นในประเทศ เพราะไม่สามารถต่อรองด้านราคาได้ การดำเนินงานของกระทรวงพลังงานที่ทำได้ขณะนี้คือ จะต้องเร่งศึกษาแนวทางรองรับหากความต้องการใช้จีเบสเพิ่มขึ้น จนเต็มขีดความสามารถของโรงกลั่น แต่ประเมินแล้วก็จะยังไม่เพียงพอ

ทางหนึ่งที่กระทรวงพลังงานกำลังจะดำเนินการ เพื่อลดการใช้จีเบสก็คือ การเพิ่มส่วนต่างราคาแก๊สโซฮอล์ อี 20 ให้แตกต่างจากแก๊สโซฮอล์ 91 จากปัจจุบันมีส่วนต่างเพียง 1 บาทต่อลิตร เพิ่มเป็น 3 บาทต่อลิตร เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้แก๊สโซฮอล์อี 20 เพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นการช่วยลดการใช้จีเบสลงได้ทางหนึ่ง ซึ่งวิธีการนี้ก็ยังถือว่ามีความเสี่ยง เพราะส่วนต่างที่เกิดขึ้นจะสามารถจูงใจให้ผู้ใช้รถยนต์หันมาเติมแก๊สโซฮอล์อี 20 ได้แค่ไหน จากปัจจุบันมียอดใช้เพียงวันละประมาณ 1 ล้านลิตรเท่านั้น จากรถยนต์ที่ใช้อี 20 ได้กว่า 1 ล้านคัน

+++หวังดึงผู้บริโภคใช้เบนซิน 95

นางพูนทรัพย์ สกุณี รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) ได้ให้ความเห็นว่า หลังจากยกเลิกการใช้เบนซิน ออกเทน 91 แล้ว มีการศึกษาพบว่า ประชาชนจะหันมาใช้น้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 17% แก๊สโซฮอล์ 91 เพิ่มขึ้น 58% และแก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 25% และจะทำให้ความต้องการใช้จีเบสเพิ่มขึ้นเป็น 530 ล้านลิตรต่อเดือน จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 500 ล้านลิตรต่อเดือน ซึ่งจะทำให้ต้องนำเข้าจีเบส 30 ล้านลิตรต่อเดือน โดยในส่วนนี้ได้ประสานกับบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ในการนำเข้าแล้ว เพราะมีคลังน้ำมัน ท่อส่งน้ำมันและท่าเรือรองรับไว้แล้ว

นอกจากนี้ หากสามารถส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้มากขึ้น และจูงใจให้หันมาใช้แก๊สโซฮอล์ อีก 20 เพิ่มขึ้นได้ และหากผู้บริโภคหันมาใช้น้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 25% จากปัจจุบันใช้อยู่ประมาณ 1 แสนลิตรต่อวัน และแก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 50% จะทำให้ความต้องการจีเบสใกล้เคียงกับศักยภาพการผลิตของโรงกลั่นในประเทศ ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำเข้าจีเบส

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้มีการหารือร่วมกับกลุ่มโรงกลั่น พบว่าโรงกลั่นเกือบทุกรายสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตเป็นจีเบสได้ ส่วนโรงกลั่นที่ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีควบคู่กันด้วยนั้น ก็อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวบ้าง ซึ่งอาจจะต้องส่งออกน้ำมันส่วนเกิน และต้องนำเข้าน้ำมันดิบที่สามารถผลิตจีเบสได้ ในเบื้องต้นภายหลังจากยกเลิกเบนซิน 91 ในช่วงระยะสั้น โรงกลั่นอาจต้องนำเข้าจีเบสก่อน เพราะน่าจะมีต้นทุนถูกกว่าการนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น

++++โรงกลั่นห่วงขาดแคลน

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (บมจ.) กล่าวว่า โรงกลั่นบางจากมีความพร้อมดำเนินการนโยบายยกเลิกเบนซิน 91 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2556 เนื่องจากสามารถผลิตจีเบส เพียงพอต่อความต้องการป้อนตลาดน้ำมันของบางจาก โดยปัจจุบันบางจากมียอดขายกลุ่มแก๊สโซฮอล์อยู่ที่ 85 ล้านลิตรต่อเดือน ซึ่งภายหลังจากยกเลิกเบนซิน 91 จะต้องนำเอทานอลมาผสมในจีเบส 10% ทำให้ต้องผลิตจีเบสอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านลิตรต่อเดือน และหากพบว่าความต้องการเพิ่มขึ้น ก็มีโอกาสที่โรงกลั่นบางจากจะเพิ่มกำลังการผลิตจีเบสมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโรงกลั่นรายอื่น ก็ต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิต และเลือกน้ำมันดิบที่มีความเหมาะสม แต่โรงกลั่นบางรายอาจจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะโรงกลั่นที่มีธุรกิจอะโรเมติกส์และปิโตรเคมี เนื่องจากต้องผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อป้อนธุรกิจในกลุ่มปิโตรเคมีด้วย ดังนั้นการปรับปรุงกระบวนการผลิตเป็นจีเบส ซึ่งจะต้องมีความดันต่ำมากๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจปิโตรเคมีด้วย นอกจากนี้หากโรงกลั่นไม่ต้องการปรับเปลี่ยนน้ำมันดิบ ก็อาจจะเลือกส่งออกผลิตภัณฑ์บางชนิด และนำเข้าผลิตภัณฑ์บางชนิดเพื่อผลิตจีเบส ซึ่งการตัดสินใจขึ้นอยู่กับโรงกลั่นแต่ละราย เพื่อให้สามารถผลิตจีเบสในต้นทุนที่ต่ำที่สุด

ทั้งนี้ ภาครัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น โดยใช้ส่วนต่างราคาในการจูงใจ แต่เชื่อว่าภายหลังจากยกเลิกเบนซิน 91 แล้ว คิดว่าประชาชนจะไม่หันไปเติมเบนซิน 95 มากนัก เนื่องจากมีราคาแพง ปัจจุบันอยู่ที่ 49.50 บาทต่อลิตร เทียบกับแก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 37 บาทต่อลิตร ต่างกัน 12 บาทต่อลิตร ขณะที่ในส่วนของผู้ค้าน้ำมันอาจจะกลับไปจำหน่ายเบนซิน 95 เพิ่มขึ้น เพราะมีค่าการตลาดสูง 5-6 บาทต่อลิตร เทียบกับค่าการตลาดกลุ่มแก๊สโซฮอล์อยู่ที่ 1.50 บาทต่อลิตร

แหล่งข่าวจากบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โรงกลั่นไทยออยล์มีความพร้อมในการผลิตจีเบสตามขีดความสามารถ แต่ก็คงไม่ผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากจะต้องผลิตสินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งจำเป็นต้องเลือกน้ำมันดิบที่สามารถป้อนธุรกิจอะโรเมติกส์ได้อย่างเหมาะสมด้วย โดยมองว่านโยบายการยกเลิกเบนซิน 91 จะส่งผลให้ปริมาณจีเบสเพื่อนำมาผสมเป็นแก๊สโซฮอล์จะขาดแคลนบ้าง แต่คงไม่มาก ซึ่งสามารถนำเข้าจากสิงคโปร์ได้

แต่หากเร่งส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ อี 20 และอี 85 เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มส่วนต่างราคาให้มากกว่าปัจจุบัน จะทำให้ความต้องการใช้เอทานอลเพิ่มสูงขึ้น และลดความต้องการจีเบสลงได้ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องนำเข้าจีเบส

อารักษ์ยันน้ำมันพื้นฐานมีพอ

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 จะไม่ส่งผลกระทบต่อจีเบส เพราะโรงกลั่นน้ำมันได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตแล้ว และอาจไม่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศในอัตราที่สูงอย่างที่คาดการณ์ไว้

นอกจากนี้กระทรวงพลังงานจะมีมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ยังจำเป็นต้องใช้เบนซิน 91 โดยเฉพาะรถเก่าที่ใช้เครื่องยนต์ระบบคาร์บูเรเตอร์ จะต้องปรับปรุงเครื่องยนต์ให้สามารถรองรับแก๊สโซฮอล์ได้ ซึ่งมีจำนวนไม่มากนักขณะเดียวกันรถยนต์รุ่นเก่า และรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ สามารถหันไปใช้เบนซิน 95 แทนได้


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,782 วันที่ 11-13 ตุลาคม พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 603

โพสต์

Thailand touted as link between Asean and Asia
Source - Bangkok Post (Eng), Thursday, October 11, 2012


The Thai government should position Thailand as a "land bridge" between Asean and other Asian countries, say leading business leaders.

Pailin Chuchottaworn, the president and chief executive of PTT Plc, said the country’s geographical location would benefit the country greatly as Asean integrates its economies under the Asean Economic Community (AEC).

He made his comments at an economics conference hosted yesterday by Fitch Ratings.

Dr Pailin told the seminar the challenge is how best to position Thailand to benefit from the AEC.

"In my opinion, constructing infrastructure to support increased trade is needed. Thailand should take advantage of the opportunity to become a hub linking Asean with China and India, which would help to support more steady long-term growth," he said.

PTT, the state-owned energy conglomerate, will continue to expand its international investments and acquisitions in support of future growth.

Dr Pailin said coal, gas and oil prices have been on an uptrend since the March 2011 Japanese tsunami, while nuclear power plans have faded.

"We would take any opportunity to acquire natural resources in any location if the price is reasonable," he added.

Win Phromphaet, head of global and real estate investment in the Social Security Office, agreed Thailand should position itself as a logistics hub linking Asean with the rest of Asia.

Cities such as Nong Khai could serve as a hub to Laos, while Kanchanaburi and Tak could reach out to Myanmar, he said.

Lertchai Kochareonrattanakul, the senior director and head of corporate ratings for Fitch Ratings (Thailand), said with rising regional demand for oil and gas, Asian companies have been active in acquiring assets to secure long-term supplies.

Chinese oil and gas firms have been the most active in the market, with US$142 billion worth of acquisitions from 2010 to this past August or 51% of total deals over the period, he said.

This was followed by Australia at 14% and Indian firms at 11%, while Thailand accounted for just 4%.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 604

โพสต์

คอลัมน์: สะเก็ดเศรษฐกิจ: จัดงานเสวนา
Source - บ้านเมือง (Th), Thursday, October 11, 2012

กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ทีม PRISM ของกลุ่ม ปตท.บมจ.ไออาร์พีซี บมจ.ไทยออยล์ บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) บมจ.บางจากปิโตรเลียม บมจ.พีทีทีโกลบอล เคมิคอล และ บจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จะจัดงานเสวนา "แนวโน้มและทิศทางน้ำมันในปี 2013" ในวันจันทร์ที่ 15 ต.ค.55 เวลา 13.00-17.30 น. ณ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 605

โพสต์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด แท่นผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งบงกชใต้ ของ ปตท.สผ. ในอ่าวไทย
ปตท.สผ., 24 ก.ย. 55
NewsImage_455HRH-BKT-banner.jpg
เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด แท่นผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งบงกชใต้ และทอดพระเนตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ซึ่งตั้งอยู่ในอ่าวไทย โดยมี นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานกรรมการ ปตท.สผ. นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. และคณะผู้บริหาร ปตท.สผ. เฝ้ารับเสด็จฯ ซึ่งการเสด็จพระราชดำเนินฯ ครั้งนี้ นำมาซึ่งความปลื้มปิติและกำลังใจแก่คณะผู้บริหารและพนักงาน ปตท.สผ. เป็นล้นพ้น

แหล่งบงกชใต้ เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่แหล่งหนึ่งของโครงการบงกชในอ่าวไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่ปิโตรเลียมนวมินทร์ ห่างจากชายฝั่งจังหวัดสงขลาประมาณ 200 กิโลเมตร ดำเนินการโดย ปตท.สผ. ทุกขั้นตอนตั้งแต่การสำรวจ การออกแบบก่อสร้าง การพัฒนาโครงการ และขั้นตอนการผลิต แท่นผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งบงกชใต้ประกอบด้วยแท่นผลิต (Central Processing Platform) 1 แท่น แท่นที่พักอาศัย (Living Quarter Platform) 1 แท่น และแท่นหลุมผลิต (Wellhead Platform) 6 แท่น ปตท.สผ. ได้เริ่มการก่อสร้างแท่นผลิตดังกล่าวเมื่อปี 2551 และเสร็จสิ้นการก่อสร้าง การติดตั้งแท่นต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์การผลิตเมื่อต้นปี 2555 โดยได้เริ่มทดลองผลิตก๊าซฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

แหล่งบงกชใต้ สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติ ตามสัญญาซื้อขาย (Daily Contract Quantity: DCQ) ที่อัตรา 320 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ตั้งแต่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา แหล่งบงกชใต้มีความสามารถในการผลิตก๊าซฯสูงสุดได้ถึง 380 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 18,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้กำลังการผลิตก๊าซฯ โดยรวมในโครงการบงกชทั้งเหนือและใต้ สูงถึงประมาณ 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 20 ของการผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจสำคัญของ ปตท.สผ. ในการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศไทยในระยะยาว

ในด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปตท.สผ. ยึดมั่นในนโยบายความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมเป็นหลักในการดำเนินงานทุก ๆ พื้นที่ การดำเนินงานในแหล่งบงกชใต้ จึงเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ปฏิบัติงานภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน รวมทั้งการนำอุปกรณ์อันทันสมัยมาใช้ในกระบวนการผลิตด้วย การดำเนินการผลิตก๊าซฯ และคอนเดนเสทบนแท่นผลิตแหล่งบงกชใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

แหล่งบงกชใต้ ประกอบด้วยผู้ร่วมทุน ดังนี้ ปตท.สผ. 44.4445% (ผู้ดำเนินการ) บริษัท โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ 33.3333% และ บริษัท บีจี เอเชีย แปซิฟิค พีทีอี จำกัด 22.2222%
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 606

โพสต์

PTT aims to explore new energy areas to meet demand
Source - The Nation (Eng), Friday, October 12, 2012


PTT Group’s chief, Pailin Chuchottaworn, has reiterated the need to explore new energy fields to cope with increasing demand in the country. The key, he says, is to balance resources from various locations. Starting with the US$2-billion (Bt61-billion) investment in Cove Energy, for a small stake in a gas field in Mozambique, PTT Group is seeking to establish greater presence in that area. Looking to the north, resources could also come from Russia or through the South China Sea. To the south, resources from Australia are in sight, even though they are becoming more expensive.

"It’s difficult to predict oil prices, but I believe that they will increase further," he said at a roundtable discussion on "Regional Opportunities and Risks - Thailand and the AEC" at the Fitch Ratings annual conference.

In Asean, PTT has also expanded into many countries, particularly Myanmar, where it first made its presence felt 20 years ago when sanctions against the military regime were still in place.

Massive investment by PTT Group has raised eyebrows among rating companies, which are concerned about its increasing debt level. PTT Exploration and Production (PTTEP) is being forced to recapitalise, expected to be completed by the end of this year, to maintain its debt-to-equity ratio or risk a credit downgrade.

Lertchai Kochareonrattanakul, senior director and Thailand head of corporate ratings for Fitch, noted that oil and gas companies in the Asia-Pacific region were building up resources aggressively. This is wise, as their ratio of oil reserves to production is the lowest according to global standards, 14 years against the 31-year global average.

In the region, only Petronas and Woodside sit on huge reserves. Others will need to replace depleting oil and gas reserves, mostly through mergers and acquisitions. In the first eight months of this year, Asia-Pacific oil companies’ M&A deals worth more than $1 billion exceeded $40 billion in total, or half of global transactions.

Of the $142 billion worth of transactions from January 2010 to August this year, 51 per cent of the value was executed by Chinese companies - Sinopec, CNOOC and CNPC/Petrochina - while Thailand’s was only 4 per cent.

Lertchai expects the companies’ capital expenditure to remain high, after showing annualised growth of 10-15 per cent in the past three years. So far, there have been limited impacts on these companies’ credit outlook.

The impact is moderate on PTTEP, which invested $2.3 billion in 2010 and is on course to complete $3.1 billion worth of deals this year. Its net debt in 2011 stood at 1.7 times.

"If the ratio remains below 2 times, this will not affect the credit rating," Lertchai said.

On the opportunities to be presented by the Asean Economic Community (AEC), Chartsiri Sophonpanich, president of Bangkok Bank, foresees increase in infrastructure funding, particularly in Thailand, Myanmar and Indonesia. Plus, project financing will also rise as Thai companies are investing more in the domestic market and overseas.

CHANGES

"The AEC will change many things for Thai organisations," he said. "I believe that this is the Century of Asia, with many significant changes. In this transition, the situation will be up and down, but output will grow."

For Bangkok Bank, he said that amid great opportunities, it was necessary to maintain healthy financial balances, from debt to equity and loan to deposit ratios to provisioning.

According to Mark Young, Fitch Ratings’ head of financial institutions for Asia and the Pacific, the credit outlook of Thai banks remains solid. Loan growth has been expanding fast since 2010, but also asset quality. They have also boosted Tier 1 capital, above 10 per cent of risk assets in the case of Bangkok Bank.

His concern is on tightening liquidity, which suggests the need to mobilise other types of funding besides deposits.

Win Phromphaet, head of global and real-estate investment for the Social Security Office, added that infrastructure development - the rail network in Thailand, mass transit in Jakarta and an airport in Manila - made a country attractive for investors who want inflation-hedging options and stable long-term returns.

At present, 3 per cent of the Social Security Fund’s $30 billion is invested in global bonds, while the rest is in Thai bonds and equities.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 607

โพสต์

ออกหุ้นกู้ทะลัก6แสนล.กลุ่มปตท.ระดมทุนสหรัฐ
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, October 13, 2012


เอกชนแห่ตุนเงิน สมาคมตลาดตราสารหนี้ฯคาดยอดออกหุ้นกู้ในประเทศ-ต่างประเทศสิ้นปีนี้ทะลุ 6 แสนล้าน "บีทีเอส กรุ๊ป" พร้อมลุยทุกรูปแบบทั้งออกหุ้นกู้ เพิ่มทุน กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เตรียมประมูลรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย "ไทยเบฟ" ดอดคัมแบ็กตลาดทุนไทยออกตํวเงินระยะสั้น 4-5 พันล้าน จากวงเงินที่ขอก.ล.ต.หมื่นล้าน จับตาปลายปี "เบอร์ลี่ ยุคเกอร์" ระดมทุน 4 พันล้าน ปิดดีลซื้อกิจการเวียดนาม "เมอร์เซเดส-เบนซ์" ตั้งเป้าออกหุ้นกู้ปีนี้หมื่นล้าน เป็นเงินทุนหมุนเวียน ให้บริษัทย่อยด้านเช่าซื้อและลีสซิ่งกู้ "ปตท."ลุยออกหุ้นกู้นอก 3-6 หมื่นล้าน

นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" จากกรณีช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ที่พบว่าภาคเอกชนได้มีการออกหุ้นกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวนมาก ทำให้สมาคมคาดว่าในปี 2555 ทั้งปีภาคเอกชนจะออกหุ้นกู้มากกว่า 4 แสนล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้จำนวน 4 แสนล้านบาท

ในรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-8 ต.ค.) มียอดการออกหุ้นกู้แล้ว 3.7-3.8 แสนล้านบาท ดังนั้นช่วงที่เหลือจองปีนี้คงไม่น่าจะมีปัญหาโดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มสื่อสาร หลังจากเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี ก็คงจะเริ่มมีแผนระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้ที่คาดว่าจะเริ่มให้เห็นปลายปีนี้จนถึงปี 2556 ซึ่งการระดมทุนของบริษัทในกลุ่มสื่อสารนี้จะทำให้ยอดออกหุ้นกู้ทั้งปีทะลุ 4 แสนล้านบาท

นายนิวัฒน์ กล่าวอีกว่า ช่วงครึ่งปีหลังถือว่าเป็นช่วงที่เหมาะสำหรับเอกชนที่สนใจออกหุ้นกู้เพื่อล็อกต้นทุนระยะยาวในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำและยังมีแนวโน้มปรับลงได้อีกจากนี้จนถึงสิ้นปี 2555 เนื่องจากปัจจัยกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง และภาคส่งออกยังชะลอตัวจนติดลบแล้ว ทำให้สะท้อนต้นทุนการออกหุ้นกู้โดยรวมยังต่ำอยู่ เช่น หุ้นกู้อายุ 5 ปี อันดับความน่าเชื่อถือ หรือเรตติ้งที่ระดับ AA อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 4% ต่อปี สูงอันดับความน่าเชื่อถือ หรือเรตติ้งที่ระดับ AA อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 4% ต่อปี สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลเพียง 0.5-0.7% เท่านั้น ส่วนหุ้นกู้เรตติ้ง BBB อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.75% ต่อปี หรือแม้หุ้นกู้อายุ 10 ปี เรตติ้ง AA อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.5% สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลเพียง 1% ต่อปี เท่านั้น เป็นต้น

นอกจากนี้สมาคมตลาดตราสารหนี้ฯคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีกอย่างน้อย 0.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ 3% และปัจจุบันต้นทุนการออกหุ้นกู้ของเอกชนยังถือว่าต่ำกว่าการขอกู้จากธนาคารพาณิชย์ด้วย แม้แต่หุ้นกู้เรตติ้ง BBB ก็ยังถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ประมาณ 1-1.5% ต่อปีโดยต้นทุนของเอกชนที่กู้ธนาคารพา- ณิชย์อยู่ที่เฉลี่ย 6%ต่อปี (MLR-1.5% )

นางสาวอริยา ตริณะประกิจ ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ฯ กล่าวเสริมว่าปีนี้เริ่มเห็นสัญญาณการระดมทุนของกลุ่มใหม่ๆเพิ่มขึ้นโดยการเริ่มหันมาออกตํวเงินระยะสั้นอายุไม่เกิน 270 วัน เช่น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน)(บมจ.) ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มตราช้าง ที่ออกตํวเงินไปแล้วประมาณ 4-5 พันล้านบาท ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นต้น ประมาณ 4-5 พันล้านบาท ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นต้น

ส่วนการออกหุ้นกู้ต่างประเทศสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯนั้น เริ่มเห็นสัญญาณช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ที่ผ่านมา เนื่องจากต้นทุนการออกหุ้นกู้ต่างประเทศต่ำกว่าการระดมทุนในประเทศหลังจากสว็อปเป็นบาทแล้วจึงทำให้มีเอกชนสนใจออกหุ้นกู้ต่างประเทศมากขึ้น และในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ย.55) มียอดขอออกหุ้นกู้ต่างประเทศโดยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมแล้วประมาณ 2.1 แสนล้านบาท โดยมีจำนวน 9 บริษัท อาทิ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมีคอล ออกหุ้นกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ วงเงิน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท) , บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทยฯ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, บมจ.อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) เป็นต้น ซึ่งรวมธนาคารพาณิชย์ด้วย

อนึ่งหากรวมการคาดการณ์การออกหุ้นกู้ในประเทศของสมาคมตลาดตราสารหนี้ฯกับการขออนุมัติออกหุ้นกู้สกุลดอลลาร์ที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มีจำนวน 2.1 แสนล้านบาท จะส่งผลให้ปี 2555 ทั้งปีเอกชนมีการออกหุ้นกู้มากกว่า 6 แสนล้านบาท

นายเลิศชัย กอเจริญรัตนกุล ผู้อำนวยการภาคธุรกิจ บริษัท ฟิทช์ เรตติ้งส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่าการออกหุ้นกู้ของบริษัทในกลุ่มสื่อสารซึ่งว่างเว้นมานาน 2-3 ปีแล้ว ดังนั้นหากมีการเปิดประมูล 3 จีได้ ก็จะทำให้ตลาดหุ้นกู้คึกคักมากขึ้น โดยเชื่อมั่นว่าบริษัทในกลุ่มสื่อสารจำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุนทั้งการประมูลไลเซนส์ และการลงทุนขยายเครือข่ายสัญญาณโดยการติดตั้งสถานีส่งไม่น้อยกว่า 3 -4 หมื่นล้านบาท และการลงทุนขยายเครือข่ายสัญญาณโดยการติดตั้งสถานีส่งอีกไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาท

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่าปีหน้าบริษัทยังสนใจลงทุนในโครง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลคือ โครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย คือสายสีเขียว การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลคือ โครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย คือสายสีเขียว สีส้ม และสีชมพู รวมมูลค่าโครงการ 1.5 แสนล้านบาท โดยบริษัทสนใจและคาดว่าจะได้ลงทุนในโครงการไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเบื้องต้นบริษัทสนใจโครงการสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) ส่วนแหล่งเงินทุนนั้นไม่กังวลเนื่องจากบริษัทเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยสนใจทั้งการออกหุ้นกู้ เพิ่มทุน และรวมถึงการออกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

นายเปรมชัย กรรณสูต กรรมการผู้จัดการ บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ กล่าวว่าสำหรับแผนการใช้เงินเพื่อลงทุนในโครงการทวายในประเทศพม่านั้น เบื้องต้นอาจจะเป็นการเพิ่มทุน โดยบริษัทจะใช้เงินลงทุนประมาณ 5 พันล้านบาท จากสัดส่วนการถือหุ้นประมาณ 25% ในบริษัท (เอสพีวี) ซึ่งเป็นนิติบุคคลหรือบริษัทจัดการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการระดมทุน สำหรับลงทุนในท่าเรือน้ำลึก-ถนนเชื่อมไทย ที่เหลือมาจากญี่ปุ่น 20% นอกจากนี้ยังมีเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไทย และรัฐบาลพม่าด้วย ส่วนเม็ดเงินในการลงทุนนิคมอุตสาหกรรมเบื้องต้นคงใช้ไม่มากประมาณ 2 พันล้านบาท ซึ่งบริษัทจะหาพันธมิตรร่วมลงทุนด้วยโดยเบื้องต้นบมจ.อมตะสนใจแล้ว

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท. กล่าวว่า บริษัทเตรียมออกหุ้นกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ วงเงินราว 1-2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 3-6 หมื่นล้านบาท) อายุ 10 ปีขึ้นไปคาดว่าจะเสนอขายในช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ โดยเสนอขายให้กับนักลงทุนต่างประเทศในตลาดนิวยอร์ก เพื่อนำเงินที่ได้มาใช้ในการรีไฟแนนซ์หุ้นกู้เดิม และทำให้อายุเฉลี่ยหุ้นกู้นานขึ้น จากปัจจุบันอยู่ที่ 7 ปี เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้เงินลงทุนของบริษัท โดยเฉพาะการ เตรียมเงินเพื่อใช้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ซึ่งบริษัทจะซื้อหุ้นเพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้นที่ 66.25% และใช้เพื่อขยายการลงทุนอื่น

ทั้งนี้ บริษัทมองว่าภาวะปัจจุบันมีความเหมาะสมในการเสนอและออกหุ้นกู้เสนอขายในต่างประเทศ เพราะตลาดเงินมีสภาพคล่องสูงจากมาตรการ QE3 ของสหรัฐฯ ประกอบกับเศรษฐกิจยุโรปยังไม่ฟื้นตัว เศรษฐกิจจีนชะลอตัว อีกทั้งสหรัฐฯอยู่ระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดี ขณะที่สถานการณ์การเมืองในไทยนิ่งกว่าเดิม และคงไม่เกิดน้ำท่วม

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 608

โพสต์

จี้รัฐขึ้นแอลพีจีหน้าโรงกลั่น ชดเชยโซฮอล์อี20เพิ่มอีก1.40บาทหวังกระตุ้นการใช้
Source -ไทยโพสต์ (Th), Saturday, October 13, 2012


ปตท.เสนอกระทรวงพลังงานขอขึ้นราคาจำหน่ายแอลพีจีหน้าโรงกลั่น หลังพบราคาต่ำกว่าตลาดโลก 130 เหรียญสหรัฐต่อตัน อ้างไม่จูงใจให้ผู้ประกอบการผลิตป้อนประเทศ เชื่อช่วยเพิ่มการผลิตและลดนำเข้าจากต่างประเทศลงได้ ด้าน กบง.เพิ่มเงินชดเชยแก๊สโซฮอล์อี 20 ดันราคาหน้าปั๊มห่างจากโซฮอล์ 91 ถึง 2 บาทต่อลิตร มีผลให้ค่ายน้ำมันประกาศลดโซฮอล์อี 20 ลงทันที 1 บาทต่อลิตร ในวันที่ 13 ต.ค.2555

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ. ปตท. ในฐานะประธานกลุ่มโรงกลั่น เปิดเผยว่า กลุ่มโรงกลั่นได้เสนอให้กระทรวงพลังงานขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) หน้าโรงกลั่น เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการโรงกลั่นหันมาผลิตแอลพีจีป้อนภายในประเทศมากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในการลดนำเข้าแอลพีจีจากตลาดโลกลง ซึ่งปัจจุบันกระทรวงพลังงานกำหนดสัดส่วนราคาขายแอลพีจีหน้าโรงกลั่น โดยอิงราคา 2 ส่วนคือ ราคาตลาดโลกที่สัดส่วน 76% และราคาในประเทศ 24% ที่กำหนดตายตัวไว้ 333 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งสัดส่วนราคาแอลพีจีดังกล่าว เป็นราคาที่ต่ำกว่าตลาดโลกถึง 130 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่งผลให้โรงกลั่นไม่นิยมกลั่นแอลพีจีออกมาจำหน่ายในประเทศ ดังนั้น ปตท.เห็นว่าควรปรับสัดส่วนการอิงราคาตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขได้อยู่ระหว่างการเจรจากับกระทรวงพลังงาน

ทั้งนี้ การที่โรงกลั่นต้องเร่งแก้ไขปัญหาแอลพีจี เนื่องจากพบว่าราคาแอลพีจีที่นำเข้าเพิ่มสูงขึ้นถึง 1,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน ทำให้รัฐต้องใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชยราคาแอลพีจี อีกทั้ง ปตท.มีถังบรรจุแอลพีจีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องขยายถังบรรจุเพิ่มอีก 2 หมื่นตัน จากปัจจุบันที่มีถังบรรจุอยู่แล้ว 2 หมื่นตัน เพื่อรองรับแอลพีจีที่ขนส่งมาทางเรือแต่ละเที่ยวประมาณ 4 หมื่นตันให้ได้หมด ดังนั้น หากปรับขึ้นราคาจำหน่ายแอลพีจีหน้าโรงกลั่นจะช่วยให้มีการผลิตแอลพีจีป้อนประเทศเพิ่มขึ้นและลดปัญหาดังกล่าวได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งขณะนี้กำลังรอการพิจารณาของกระทรวงพลังงานต่อไป

นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเห็นชอบให้เพิ่มส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 20 และแก๊สโซฮอล์ 91 มากขึ้น จากเดิมราคาห่างกัน 1 บาท ให้ราคาห่างกัน 2 บาท โดยการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชยราคาแก๊สโซฮอล์อี 20 เพิ่มขึ้น จากเดิมชดเชยอยู่ 0.90 บาทต่อลิตร ให้เพิ่มการชดเชยอีก 1.40 บาทต่อลิตร รวมชดเชยเท่ากับ 2.30 บาทต่อลิตร ซึ่งการชดเชยดังกล่าวมีผลให้ผู้ค้าน้ำมันทุกรายต้องปรับลดราคาจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 20 หน้าปั๊มลง 1 บาทต่อลิตร โดยราคาลดลงมาอยู่ที่ 33.68 บาทต่อลิตร จากราคาเดิม 34.68 บาทต่อลิตร ซึ่งจะมีผลตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 13 ต.ค.2555 นอกจากนี้ ที่ประชุม กบง.ยังมีมติเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 5% หรือจากดีเซลบี 4 เป็นดีเซลบี 5 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2555 เป็นต้นไป

สำหรับเงินส่งเข้ากองทุนฯ ปัจจุบันเป็นดังนี้ เบนซิน 95 อยู่ที่ 7 บาทต่อลิตร, เบนซิน 91 อยู่ที่ 5.70บาทต่อลิต, แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 1.30 บาทต่อลิตร, แก๊สโซฮอล์ 91 ชดเชยอยู่ที่ 1 บาทต่อลิตร, แก๊สโซฮอล์อี 20 ชดเชยอยู่ที่ 2.30 บาทต่อลิตร,แก๊สโซฮอล์อี 85 ชดเชยอยู่ที่ 11.80 บาทต่อลิตร และดีเซลชดเชย 0.10 บาทต่อลิตร.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 609

โพสต์

อาเซียนพลิกโฉมพลังงาน ผลิตป้อนภายในรับศก.ขยายตัว
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Sunday, October 14, 2012
...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์



สปอตไลต์ดวงใหญ่ซึ่งฉายสาดส่องมุ่งตรงมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)เต็มที่ ในฐานะดาวรุ่งพุ่งแรงทางเศรษฐกิจดวงใหม่ท่ามกลางภาวะซบเซาถดถอยของหลายๆ ประเทศทั่วโลกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นกุญแจเปิดประตูสู่การเปลี่ยนแปลงให้กับภูมิภาคแห่งนี้อีกครั้ง

เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนอย่างร้อนแรง การเร่งพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการโหมอัดฉีดงบประมาณภาครัฐ ส่งผลให้วงการอุตสาหกรรมพลังงานในอาเซียนจำต้องพลิกบทบาทครั้งใหญ่

จากเดิมที่เป็นเพียงแค่ผู้ผลิตเพื่อส่งออกขายไปยังต่างประเทศ มาเป็นการผลิตและนำเข้าเพื่อหันมาป้อนและรองรับความต้องการตลาดภายในภูมิภาค ที่นับวันจะยิ่งทวีความต้องการอย่างต่อเนื่องเป็นหลักแทน

ทั้งนี้ รายงานผลสำรวจด้านพลังงานโลกขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ฉบับล่าสุด ระบุ

ชัดว่า อาเซียนจะก้าวขึ้นมามีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมพลังงานมากขึ้น เพราะความต้องการใน

ภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าในระหว่างปี 2552-2578 ความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นถึง 90% หรือเฉลี่ยแต่ละปีแล้วจะมีการเติบโตที่ 2.3%สวนทางกับภาวะความต้องการในภูมิภาคอื่นๆที่เหลือ

ในโลก ที่รวมกันแล้วเพิ่มเพียงแค่ 1.2% เท่านั้น

ข้อมูลข้างต้นสอดรับกับทัศนะของ เจอร์โรมเฟอร์ริเออ ประธานสหพันธ์ก๊าซระหว่างประเทศ(ไอจียู) ที่คาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า เอเชียจะเป็นภูมิภาคที่มีการใช้ก๊าซมากที่สุด และออสเตรเลียน่าจะเป็นผู้พลิกโฉมการส่งออกก๊าซแอลเอ็นจี เนื่องจากมีปริมาณสำรองเยอะที่สุดในภูมิภาค

และจากการคาดการณ์ดังกล่าวทำให้มีความเป็นไปได้ในการสร้างโครงข่าย ระบบท่อส่งก๊าซเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ของภูมิภาคขึ้นในอนาคตอีกด้วย

แก้สัญญา สนองตลาดภายใน

เจโร วาลิกรัฐมนตรีพลังงานอินโดนีเซียที่ได้กล่าวในเวทีการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลก๊าซของกลุ่มประเทศในพื้นที่แปซิฟิกตะวันตก (ก๊าซเส็ก) ครั้งที่12 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า รัฐบาลจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ด้วยการขอปรับปรุงแก้ไขข้อตกลงด้านการผลิตและการสูบก๊าซธรรมชาติที่ปาปัว กับ บริษัท บีพียักษ์ใหญ่ด้านพลังงานจากอังกฤษใหม่ โดยกำหนดให้ปริมาณก๊าซ 40% ที่ผลิตได้ ต้องป้อนตลาดภายในประเทศ ส่วนอีก 60% ที่เหลืออนุญาตให้ส่งออก จากเดิมที่ไม่มีข้อกำหนด และสามารถส่งออกได้ 100%

ขณะที่ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวรอยเตอร์สได้รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในว่า รัฐบาลพม่าต้องการปรับแก้ข้อตกลงการส่งก๊าซให้กับไทยใหม่ จากเดิมที่ผลิตให้วันละ 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต ลดลงมาเหลืออยู่ที่ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากความขาดแคลนพลังงานในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาไฟฟ้าดับขณะเดียวกันก็เพื่อการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่ได้ดำเนินนโยบายเปิดประเทศมาอย่างต่อเนื่อง

ด้านมาเลเซีย ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่จำเป็นต้องปรับปรุงนโยบายเรื่องพลังงานจากเดิมที่มุ่งส่งออกไปจีน ญี่ปุ่นกลับมีการนำเข้าบางส่วนมากขึ้น เนื่องจากแหล่งผลิตกับพื้นที่ชายฝั่งที่ต้องการใช้ก๊าซของประเทศอยู่ห่างไกลกัน

แอลเอ็นจี คือคำตอบ

ทั้งนี้ ท่ามกลางภาวะความต้องการพลังงานที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น เพื่อนำมาใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะความต้องการที่มาจากจีนและอินเดีย แต่ศักยภาพในการผลิตและค้นหาแหล่งพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันกลับมีจำกัดและดูจะร่อยหรอลงทุกวัน

ฟาติห์ บิรอลหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ จากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) กล่าวว่า ความสามารถในการผลิตและขุดเจาะน้ำมันดิบของโลกได้เลยจุดที่สูงที่สุดมาแล้วตั้งแต่ปี 2549 ดังนั้นความหวังที่จะได้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในราคาที่ถูกจึงจบสิ้นลงเรียบร้อยแล้ว

"ยุคราคาน้ำมันถูกได้จบลงแล้ว ต่อไปรัฐบาลและผู้บริโภคจะต้องเตรียมรับมือกับภาวะน้ำมันที่จะแพงขึ้น"บิรอล กล่าว

พร้อมกันนี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากไออีเอยังเปิดเผยรายงานผลการศึกษาซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2578 ความต้องการน้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้นมากถึง 84%หรืออยู่ที่ 99 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อเทียบกับความต้องการจากความต้องการในปี 2552 ดังนั้นจึงเป็นไปได้สูงว่า ราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 240 เหรียญสหรัฐ(ราว 6,960 บาท) ต่อบาร์เรล

ด้วยเหตุดังกล่าว บรรดารัฐบาลในอาเซียนและบริษัทด้านพลังงานชั้นนำทั้งหลาย จึงเร่งคิดค้นหาทางออกจากปัญหาความไม่มั่นคงทางพลังงาน โดยเฉพาะปริมาณน้ำมันที่จะลดลงเรื่อยๆด้วยการหันไปจับจ้องพื้นที่แหล่งพลังงานในรูปแบบก๊าซธรรมชาติมากขึ้นเนื่องจากข้อได้เปรียบหลายประการ

ประการแรก คือรายงานการสำรวจโดยไออีเอ ที่พบว่า แหล่งพลังงานก๊าซในโลกนี้ยังมีเหลือใช้อีกมากกว่า200 ปี ประการต่อมา คือการเป็นเทคโนโลยีที่สะอาดไม่สร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อม และประการสุดท้าย คือความสะดวกในการเคลื่อนย้ายขนส่งที่ไม่ต้องอาศัยผ่านท่ออีกต่อไป เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้สามารถแปรสภาพก๊าซให้อยู่ในรูปของเหลว หรือที่เรียกว่า แอลเอ็นจี ได้ และสามารถขนส่งโดยผ่านทางเรือที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ

"ก๊าซเริ่มมีบทบาทมากขึ้นไม่เฉพาะในบริเวณอาเซียนเท่านั้น แต่เป็นทั้งโลก ทำให้ความต้องการมีมากขึ้น ซึ่งปริมาณสำรองที่คิดว่าจะมีให้ใช้ได้ทั้งโลกที่ประมาณ 250 ปี และข้อดีของก๊าซธรรมชาติคือเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ชาครีย์บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. กล่าว

ทั้งนี้ ชาครีย์ ยังกล่าวเสริมอีกว่า ทุกประเทศในขณะนี้ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องพลังงานมากขึ้นขณะที่อีกหลายๆ ประเทศก็เริ่มเป็นผู้นำเข้าพลังงานและพยายามพัฒนาแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอใช้งานในประเทศและส่งออกได้

การแข่งขันพัฒนาเริ่มคึกคัก

ต้องยอมรับว่าการแข่งขันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการขนส่งและการสร้างสถานีรับและแปลงสภาพก๊าซแอลเอ็นจี เริ่มเข้าสู่สภาวะการแข่งขันที่สูงมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ ปตท.ได้เปิดตัวสถานีรับก๊าซแอลพีจีแห่งแรกของภูมิภาคอาเซียนที่ จ.ระยอง เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา

ขณะที่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือนต่อมา บรรดาบริษัทด้านพลังงานทั้ง ปิโตรนาส เปอร์ตามินา และพีจีเอ็น ต่างเริ่มดำเนินการก่อสร้างเช่นเดียวกัน แต่จะต่างกันตรงที่ 3 บริษัทข้างต้นมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างสถานีรับก๊าซแอลพีจีแบบลอยน้ำ ยกเว้นปิโตรนาสที่ทำทั้งเป็นสถานีและเรือขุดเจาะหาก๊าซ หรือเอฟแอลเอ็นจี(Floating Liquid Natural Gas) ในอันเดียวกันซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้งานได้จริงในปลายปี 2558

สาเหตุที่ต้องสร้างต่างจากประเทศไทย ก็เพราะบริษัทเหล่านี้อาจเห็นว่า การสร้างสถานีลอยน้ำมีต้นทุนที่ถูกกว่าการสร้างสถานีรับก๊าซแอลเอ็นจี โดยเฉพาะในกรณีของปิโตรนาส บริษัทด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของมาเลเซีย ซึ่งสร้างเรือผลิตและสถานีรับก๊าซไว้ด้วยกันเพื่อให้สอดรับกับสภาพภูมิศาสตร์ประเทศที่แหล่งก๊าซที่เหลืออยู่เป็นลักษณะหลุมเล็กหลุมน้อย เพราะแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ในปัจจุบันแทบจะไม่มีเหลือให้ขุดอีกแล้วดังนั้นการขุดเจาะโดยใช้เรือล่องไปตามสถานที่ต่างๆ ที่คาดว่าจะมีก๊าซ จึงน่าจะเหมาะสมที่สุด

นอกจากนี้ เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนที่กรุงพนมเปญ ทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องต้องกันในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานพร้อมมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงและสภาปิโตรเลียมอาเซียนค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบการซื้อขายก๊าซแอลเอ็นจีกับสหรัฐและการแสวงหาความร่วมมือเพื่อเข้าถึงข้อมูลการพัฒนาเทคโนโลยีการขุดก๊าซแบบเชลล์แก๊ส ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการผลิตก๊าซที่แตกต่างจากแบบเดิมซึ่งสหรัฐใช้อยู่ในขณะนี้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวรุดหน้าไปไกลมากแค่ไหน หรือมีพลังงานก๊าซเหลือมากพอรองรับความต้องการไปได้อีกหลายร้อยปี ทว่าสิ่งหนึ่งที่คนไทยจะต้องตระหนักให้ดี ก็คือการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าและไม่ให้หมดเปลืองไปอย่างสูญเปล่า เพราะทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ล้วนมีต้นทุนที่ต้องแลกทั้งสิ้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 610

โพสต์

เผยสาเหตุคลังน้ำมันปากพนังปิดตัว
Source - ข่าวสด (Th), Sunday, October 14, 2012


นครศรีธรรมราช - รายงานจากจ.นครศรีธรรมราช แจ้งว่า คลังน้ำมันเชื้อเพลิงปากพนังของบริษัท ปตท.จำกัดมหาชน ที่ อ.ปากพนัง เป็นคลังน้ำมันมีความจุหลายล้านลิตร สำหรับสถานีบริการและผู้ซื้อรายใหญ่ ต้องปิดตัวเองลงกว่า 1 เดือนแล้ว เนื่องจากไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายให้กับตัวแทนสถานีบริการและลูกค้า ปัญหาคือเรือบรรทุกน้ำมันไม่สามารถเดินเรือเข้ามาในร่องน้ำปากพนังได้ สาเหตุมาจากภาวะตื้นเขินของร่องน้ำ และสิ่งกีดขวางโดยเฉพาะเสาไม้และสายสมอการทำประมงแบบผิดกฎหมายของชาวประมงหลายรูปแบบ บริษัทปตท.เกรงจะเกิดผลกระทบและเป็นอันตรายกับการขนส่งจึงต้องหยุดดำเนินกิจการ

ด้านนายกมลศักดิ์ เลิศไพบูลย์ เลขาธิการสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบจากการที่เรือน้ำมันไม่สามารถเข้ามาได้ จีพีพีของจังหวัดหายไปหมด พยายามที่จะประสานกับ ปตท.เพื่อให้บรรจุแผนเปิดการใช้คลังน้ำมันแห่งนี้ใหม่ ส่วนหนึ่งคือการขุดลอกร่องน้ำด้วยงบประมาณ 78 ล้านบาทต้องลอกร่องน้ำรวมกว่า 1.27 ล้านคิวนั้นน่าจะประสบความสำเร็จ รวมถึงการจัดการกับการประมงที่ผิดกฎหมาย เมื่อไม่มีเรือน้ำมันเข้ามานครศรีธรรมราช ต้องไปรับน้ำมันมาจากสุราษฎร์ธานีซึ่งทำให้น้ำมันแพงขึ้นไปอีก ดังนั้นต้องเร่งผลักดันให้มีการเปิดคลังน้ำมันแห่งนี้อีกครั้ง

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 611

โพสต์

IRPCจ่อลงทุนโรงอะโรเมติกส์
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Monday, October 15, 2012


ASTVผู้จัดการรายวัน - ไออาร์พีซีสยายปีกลงทุนโรงอะโรเมติกส์ขนาด5-6 แสนตัน/ปีก้าวสู่การลงทุนฟินิกซ์เฟส 2 ต่อยอดจากโครงการ HUV หลังโรงกลั่นเดินเครื่องเต็มที่ 2.15 แสนบาร์เรล/วัน ชี้ปีหน้ามีความชัดเจนทั้งเทคโนโลยีและแหล่งเงินทุน ลั่นพร้อมยื่นประมูลไอพีพีรอบใหม่ขนาด 800-1,200 เมกะวัตต์ในพื้นที่เชิงเนิน จ.ระยองและวางกลยุทธ์ทางธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับ Mega Trend

นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด

(มหาชน)(IRPC) เปิดเผยว่า บริษัทฯมีแผนลงทุนโรงงานอะโรเมติกส์ขนาดกำลังการผลิต 5-6 แสนตันต่อปี เนื่องจากบริษัทฯมีวัตถุดิบ คือ เฮฟวี่แนฟธาที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกหลังโรงกลั่นไออาร์พีซีเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต 2.15 แสนบาร์เรล/วันในปี 2558 เมื่อรวมกับเฮฟวี่แนฟธาเดิมที่มีอยู่ทำให้สามารถผลิตพาราไซลีนได้ 5-6 แสนตัน คาดว่ามีความชัดเจนในปี 2556 แม้ว่าโรงอะโรเมติกส์นี้จะมีขนาดกำลังการผลิตน้อยกว่าโรงอะโรเมติกส์ทั่วไปที่มีขนาด 1 ล้านตันต่อปี แต่เชื่อว่าจะสามารถแข่งขันได้ เพราะไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติมในระบบสาธารณูปโภคทั้งน้ำไฟฟ้าและระบบท่อ

รวมทั้งมีวัตถุดิบเพียวงพอ เพียงแต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกเทคโนโลยี และการหาแหล่งเงินทุนเนื่องจากโครงการอะโรเมติกส์ไม่อยู่ภายใต้การลงทุนฟินิกซ์เดิมหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นโครงการฟินิกซ์ เฟส 2 แต่มั่นใจว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จช้ากว่าโครงการ Upstream Project for Hygiene and Value Added Products (UHV) ผลิตโพรพิลีนปีละ 3.2 แสนตันประมาณ 6-12 เดือน

"ขณะนี้โรงกลั่นน้ำมันพยายามที่จะหันไปลงทุนอะโรเมติกส์มากขึ้นเพื่อเพิ่มมาร์จิ้นเนื่องจากค่าการกลั่นค่อนข้างต่ำ การแข่งขันสูงและมีความผันผวน การลงทุนธุรกิจอะโรเมติกส์จะช่วยสร้างรายได้และลดความผันผวนของธุรกิจการกลั่น ซึ่งไออาร์พีซีก็มีเป้าหมายเป็นบริษัท Integrated Petrochemical และต่อยอดปิโตรฯเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำรวมทั้งนำสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้มาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม"

นายอธิคม กล่าวต่อไปว่า การลงทุนอะโรเมติกส์นี้นับเป็นการต่อยอดจากโครงการUHV ที่อยู่ภายใต้โครงการฟินิกซ์ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จก.พ. 2558 โดยโครงการนี้จะผลิตโพรพิลีนอีก 3.2 แสนตันต่อปี และยังช่วยให้โรงกลั่นไออาร์พีซีเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตจากปัจจุบันที่กลั่นเพียง 1.7-1.8 แสนบาร์เรลต่อวัน เพราะได้ติดตั้งหน่วยกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทำให้มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้น้ำมันดิบด้วย

ขณะเดียวกันบริษัทฯก็มีการลงทุนต่อยอดโครงการ UHV อาทิ โครงการอินไลน์คอมพาวด์โพลีโพรพิลีน อยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยสินค้าที่ผลิตได้จะป้อนตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์, โครงการผลิต Super Absorbent Polymer (SAP) ขนาดกำลังผลิต4 หมื่นตัน/ปี เงินลงทุน 200-250 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยSAP เป็นโพลีเมอร์ที่มีคุณสมบัติดูดความชื้นใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผ้าอ้อมเด็กและผู้ใหญ่

ปัจจุบันความต้องการใช้เพิ่มสูงขึ้นมากโดยไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรทางธุรกิจ คาดว่าจะได้ข้อสรุปการร่วมลงทุนในปลายปีนี้ และโครงการผลิตฟีนอลเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้โรงคาโปรแลคตัมแห่งที่ 2 ในไทยของกลุ่มอูเบะ ประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัทฯจะใช้วัตถุดิบ คือโพรพิลีนจากโครงการUHV และเบนซีนจากโรงอะโรเมติกส์ ทำให้ไออาร์พีซีเป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีครบวงจร

นายอธิคม กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯมีแผนที่จะลงทุนโครงการที่ไม่ต้องพึ่งพาไฮโดรคาร์บอนได้แก่ ธุรกิจที่ดิน และพลังงานไฟฟ้า เพื่อลดความผันผวนของวัฏจักรธุรกิจและเพิ่มรายได้ไออาร์พีซีอีกทางหนึ่ง โดยบริษัทมีที่ดินรวม 1.5 หมื่นไร่อยู่ในต.เชิงเนิน อ.เมือง, อ.บ้านค่ายและอ.วังจันทร์ จังหวัดระยอง และอ.จะนะจังหวัดสงขลาก็มีแผนจะพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่บ้านค่ายและวังจันทร์จังหวัดระยอง

สำหรับธุรกิจไฟฟ้า บริษัทฯมีความพร้อมที่จะยื่นประมูลไอพีพีรอบใหม่ สามารถตั้งโรงไฟฟ้าขนาด 800-1,200 เมกะวัตต์ เนื่องจากมีที่ดินติดกับท่อก๊าซฯ 24 นิ้วและสายส่งไฟฟ้าพร้อมอยู่แล้ว เพราะบริษัทฯชนะประมูลโครงการผลิตไฟฟ้ารายเล็ก(SPP) 2 โรง ขนาดกำลังผลิตรวม 200 เมกะวัตต์ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมเชิงเนิน ส่วนที่ดินอ.จะนะ ก็มีแผนจะทำโซลาร์ฟาร์มร่วมกับ ปตท. รวมทั้งยังศึกษาร่วมกับจีอี ติดตั้งกังหันลม คาดว่าจะใช้เวลา 1 ปีเพื่อดูความเป็นไปได้ในการตั้งโรงไฟฟ้าพลังลม

ดังนั้น ทิศทางการทำธุรกิจของไออาร์พีซีในอนาคตจะสอดคล้องแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (Mega Trend) โดยเรื่องโลกร้อนพลังงานหมุนเวียนและอุตสาหกรรมสีเขียวการโยกย้ายถิ่นฐานของคนมาอยู่ในเมืองมากขึ้นและประชากรมีอายุยืนยาว โดยบริษัทฯจะออกผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับ Mega Trend อาทิการผลิตโพลีเมอร์เพื่อใช้เป็นฉนวนกันความร้อนการผลิตไบโอดีเซลที่นำน้ำมันปาล์มดิบมาผสมในโรงกลั่นน้ำมันได้เลย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นเอง อยู่ระหว่างการวางยุทธศาสตร์การตลาดร่วมกับ ปตท.

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 612

โพสต์

DEMCO ตั้งเป้ารายได้ปี 56 ที่ 6.6 พันลบ. เล็งปันผล 150 ลบ.จากพลังงานลม
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2555 15:50:11 น.


นายพงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.เด็มโก้(DEMCO)เปิดเผยกับ"อินโฟเควสท์"ว่า บริษัทฯตั้งเป้ารายได้ในปี 56 ไว้ประมาณ 6,600 ล้านบาท จากปีนี้คาดว่าจะสามารถทำรายได้ตามเป้าหมาย 5,800-6,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 54 ที่มีรายได้ 3,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในปี 56 บริษัทฯคาดว่าจะได้รับเงินปันผล 150 ล้านบาทเข้ามาจากการลงทุนในโครงการพลังงานลม ดังนั้น อัตรากำไรสุทธิ(Net profit ratio)จะไม่น้อยกว่าปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ในระดับ 6.5-7.0% โดยปีนี้ Net profit ratio เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มี 4.2% โดยในปัหน้าบริษัทยังได้รับอานิสงส์การเติบโตของรายได้ และภาษีนิติบุคคลที่ปรับลดลงมาเหลือ 20% จากปีนี้อัตราภาษีอยู่ที่ 23% ถือว่าเป็นบวกต่อผลประกอบการของบริษัทฯค่อนข้างมาก

"แผนงานในปี 56 บริษัทฯจะต้องดำเนินการโครงการพลังงานลม 3 โครงการ ซึ่งมีมูลค่างาน 4 พันล้านบาท ที่กฟผ.ได้ตอบรับการซื้อไฟฟ้า 270 เมกกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการละ 90 เมกกะวัตต์ โดยเราจะเร่งให้เริ่มก่อสร้างได้ในปี 57 และคาดว่าจะเสร็จในปี 58"

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในปี 56 บริษัทฯคาดว่าจะรับรู้รายได้จากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 1,800 ล้านบาท, พลังงานลมที่เขาค้อ 745 ล้านบาท และงานวิศวกรรมไฟฟ้าที่รับงานจากการไฟฟ้าฯ และนิคมอุตสาหกรรม ประมาณ 2,800 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีงานที่รอเข้าประมูลในปีหน้าอีก 8-9 พันล้านบาท มาจากงานประมูลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)ประมาณ 7 พันล้านบาท และงานในกลุ่มโรงไฟฟ้าเอกชน IPP และ SPP ที่จะมีงานประมูลไม่น้อยกว่า 12 สถานี คิดเป็นประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยเพิ่มงานในมือ(backlog)จากปัจจุบันที่มีราว 6 พันล้านบาท และคาดว่า Backlog จะเพิ่มอีก 4 พันล้านบาทในปี 57

*ยันขายหุ้นซื้อคืนไม่กระทบราคากระดานหลังจะทยอยขาย 2 แสนหุ้น/วัน
สำหรับกรณีที่บริษัทฯจะขายหุ้นซื้อคืนจำนวน 32.48 ล้านหุ้น นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ทางบริษัทฯยังมีระยะเวลาเหลือ 17 เดือนในการทยอยขายหุ้นซื้อคืนบนกระดานเทรดในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งบริษัทฯจะทยอยคราวละประมาณ 2 แสนหุ้น/วัน และการทยอยขายครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นบนกระดานเทรดหลัก

ขณะเดียวกันทางผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯก็ยังมีความสนใจที่จะเข้าซื้อหุ้น DEMCO เพิ่ม โดยหากจะซื้อก็คงจะซื้อบนกระดานเทรดของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีคุณประเดช กิตติอิสรานนท์ ได้เข้ามาซื้อหุ้น DEMCO เพิ่ม 850,000 หุ้น

"การที่ราคาหุ้น DEMCO ปรับตัวขึ้น 7-8 บาท/หุ้น ภายหลังจากที่บริษัทฯได้หันไปทำธุรกิจด้านพลังงานทดแทนมากขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาซื้อหุ้นมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่ไม่ผู้ถือหุ้นต่างชาติเลย และยังเป็นที่สนใจของบรรดากองทุนต่าง ๆ อีกด้วย โดยปัจจุบันกองทุนเข้ามาถือหุ้น DEMCO ประมาณ 13.5% และมีสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นประมาณ 40%"

อนึ่ง DEMCO ได้ซื้อหุ้นคืนในระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม 2553 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2554 เป็นจำนวน 32,479,900 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 5.91 ของทุนชำระแล้วในปัจจุบัน ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 5.09 บาท

บัดนี้ DEMCO ได้มีมติขายหุ้นซื้อคืนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเป็นช่องทางในการบริหารกระแสเงินสดของกิจการ โดยบริษัทจะทยอยขายหุ้นตามความจำเป็นในการใช้เงิน ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2557 เพื่อนำเงินไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและลดต้นทุนทางการเงิน เนื่องจากบริษัทจะต้องลงทุนโครงการพลังงานลมกว่า 1 พันล้านบาท และมีภาระดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่ง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 613

โพสต์

โรงไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์ปัญหาเพียบ
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 3 ตุลาคม 2555 06:00:00 น.

เมื่อวันที่ 2ตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และ กองทุนสภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนา “แนวทางพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย”

นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ในขณะนี้ กระทรวงพลังงานและทุกหน่วยงานกำลังเร่งแก้ปัญหา โดยหากผู้ลงทุนเดิมไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าและผลิตไฟฟ้าส่งได้ตามกำหนดระยะเวลารับซื้อจะขยายระยะเวลาการรับซื้อได้เพียง 6 เดือนเท่านั้น หากทำไม่ได้ก็จะริบใบอนุญาตมาจัดการใหม่ตามแผนพลังงานทดแทนที่จะซื้อไฟฟ้าโซล่าเซลล์รวม 2,000 เมกะวัตต์ภายใน 10 ปี ซึ่งขณะนี้ทราบว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค? (กฟภ.)? มีการยกเลิกแล้ว 120 โครงการ 472 เมกะวัตต์

ขณะที่มีเอกชนร้องเรียนต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรคกูเลเตอร์จำนวน 30 โครงการ ว่าถูกยกเลิกอย่างไม่เป็นธรรม? ขณะที่การอุดหนุนค่าไฟฟ้านั้น กำลังอยู่ระหว่างการทบทวน? เพราะหากให้อัตราสูงจะกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่ประชาชนได้รับ ดังนั้น ต้องพิจารณาให้เหมาะสมที่สุด โดยแนวทางอาจมีการเพิ่มเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์ให้มากกว่า 2,000 เมกะวัตต์ และจะเร่งคัดกรองสัญญาของรายเก่าโดยเร็ว

นายอำนวย ศิริทองสุข นักวิชาการ กรรมาธิการ ประจำองค์กรฯ กล่าวว่า ทางกรรมาธิการฯ ได้รับการร้องเรียนมาจากภาคเอกชนว่าขณะนี้การลงทุนโซล่าเซลล์เกิดการหยุดชะงัก เพราะความไม่ชัดเจนด้านนโยบาย และยังมีปัญหาผู้ที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าโซลาเซลล์มาเร่ขายในราคาสูงถึง 12 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ ทำให้นักลงทุนต่างชาติมองภาพพจน์การลงทุนในไทยเสียหาย โดยปัจจุบันทราบว่ามีเอกชนสนใจจะลงทุนเกือบ 4,000 เมกะวัตต์ แต่มีการลงทุนและขายไฟฟ้าจริงเพียง 286 เมกะวัตต์เท่านั้น จึงอยากให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเร่งด่วน เพราะหากทำได้จะทำให้ไทยลดการพึ่งพิงไฟฟ้าที่ใช้ฟอสซิลและพึ่งพาพลังงานทดแทนมากยิ่งขึ้น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 614

โพสต์

รมว.พลังงานห่วงผลกระทบหลังประเทศเพื่อนบ้านเตรียมผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555 11:00:19 น.

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน แสดงความเป็นห่วงกรณีประเทศเพื่อนบ้านของไทยมีแผนจะผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ ว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เนื่องจากอยู่ใกล้กันมาก โดยเฉพาะประเทศกัมพูชา ซึ่งล่าสุดในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่ประเทศกัมพูชา สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ได้เปิดเผยว่ามีความสนใจที่จะใช้นิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าขึ้นที่เกาะกง เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศกัมพูชามีราคาแพง เพราะส่วนใหญ่ใช้น้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้า และยังต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ ประกอบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศกัมพูชาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหากนำนิวเคลียร์มาผลิตไฟฟ้าได้ ก็จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีต้นทุนการผลิตที่ถูกลง

อย่างไรก็ตาม ทางกัมพูชายังไม่ได้แจ้งว่าจะให้ใครเป็นผู้ลงทุน แต่น่าจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องนิวเคลียร์

“การที่กัมพูชามีแนวคิดที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นจุดที่ทำให้ต้องกลับมามองประเทศไทย ว่าขณะนี้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งกัมพูชา และเวียดนาม กำลังจะทำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งถ้าเกิดปัญหาก็จะกระทบถึงประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะอยู่ใกล้กันมาก" นายอารักษ์ กล่าว

ทั้งนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีของนิวเคลียร์กำลังพัฒนาจากเจนเนอเรชั่นที่ 3 จะเข้าสู่เจนเนอเรชั่นที่ 4 ซึ่งเป็นเจนเนอเรชั่นที่เน้นในเรื่องของความปลอดภัยเป็นหลัก ทำให้การทำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคตจะมีความปลอดภัยมากขึ้น

นายอารักษ์ กล่าวว่า ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศในระยะยาว หรือ พีดีพี 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ได้มีการเลื่อนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป แต่การศึกษายังคงมีต่อไป เพื่อทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมตลอดเวลาหากมรโอกาสในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

นอกจาก แนวคิดเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว กัมพูชายังได้เปิดให้ภาคเอกชนไทย คือ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) ร่วมกับ บริษัท เกาะกง ซีบอร์ด ทำการศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาดกำลังการผลิต 1,800 เมกะวัตต์ ที่จะตั้งอยู่บริเวณเกาะกง แต่โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ ทำให้คาดว่าจะมีการขายไฟฟ้ากลับเข้ามาประเทศไทยด้วย และจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควรในการดำเนินการ เนื่องจากเป็นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งต้องมีท่าเรือน้ำลึกรองรับการขนถ่ายถ่านหิน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มี และสายส่งไฟฟ้าจากเกาะกงมายังประเทศไทยก็จะยาวมาก จึงยังไม่แน่ใจว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่ และจะเกิดได้เมื่อไร
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 615

โพสต์

120 years on, Shell hungry for Thai gas
Source - Bangkok Post (Eng), Tuesday, October 16, 2012


Royal Dutch Shell is looking to expand its business in Thailand to liquefied natural gas (LNG) and tap strong gas demand in the local market, says new country chairman Asada Harinsuit.

Mr Asada noted that gas demand has skyrocketed here because gas is cleaner and cost-competitive.

"Thailand’s power demand will double in the next decade and concerns about climate change have been growing, making gas a more promising choice for the country," he said.

Mr Asada, also global vice-president in specialties of Royal Dutch Shell, succeeded Pissawan Achanapornkul as head of Shell’s operation in Thailand since the beginning of this month.

Mrs Pissawan was assigned to a new post in Britain. The company is celebrating 120 years in Thailand.

"The government policy for allowing the private sector to invest in LNG-related businesses in Thailand will determine greater use of gas," Mr Asada said.

So far, only energy flagship PTT Plc has played a major role in gas trading.

He said Shell has advanced LNG production technology in many regions, each of which is linked to a production plant. It is also developing floating LNG in Australia and has the largest gas production project called Pearl GTL in Qatar, he added.

Energy demand in Asia will increase by half over the next 10-15 years. The world’s population will increase to from 7 billion this year to 9 billion, with an expanding middle class and new upper class leading to higher demand in the global market.

Siri Jirapongphan, executive director of the Petroleum Institute of Thailand, said Shell can become an LNG supplier in the Thai market but not a distributor. He said the domestic gas supply will be depleted within 15 years and LNG imports will become one of the major energy resources of Thailand in the future.

"As a leading energy supplier globally, we foresee that access to energy sources will be more difficult in the future with fiercer competition," he said.

Thailand’s retail oil market has been competitive, challenging companies with good technology and human resources.

Shell is the largest oil retailer in Thailand but its market share has marginally edged down recently. Mr Asada said the company will launch new products to lure more motorists.

"We believe the advanced technology of Shell oil products will enable us to keep our position as one of the top players in Thailand," said Mr Asada.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 616

โพสต์

กลุ่มปตท.ระดมเงินลงทุนแสนล้าน ออกหุ้นกู้นอก-ดันปตท.'สผ.-จีซี'หัวหอกโกยเงิน
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, October 17, 2012


กลุ่ม ปตท.เปิดแผนระดมเงินกู้ลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท พ.ย.นี้ออกหุ้นกู้ต่างประเทศ 2,000 ล้านดอลลาร์ ทุ่มรักษาสิทธิ์ผู้ถือหุ้นใหญ่เมกะโปรเจ็กต์ ปตท.สผ.ใน Cove Energy ธ.ค.นี้ลงมือทบทวนแผนธุรกิจใหม่ทั้งเครือ ด้าน ปตท.จีซีขอตุนเงินกู้สถาบันต่างประเทศเสริมทัพอีกทางกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ฉวยเศรษฐกิจโลกซบจ่ายดอกเบี้ยต่ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้บริษัทกลุ่ม ปตท.เร่งระดมเงินกู้รวมกว่าแสนล้านบาท เพื่อการลงทุนและการทบทวนแผนธุรกิจ เพื่อเตรียมพร้อมขับเคลื่อนแผนพัฒนาการลงทุนปี 2556 วงเงินที่ได้ตั้งเป้านำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3 ส่วนหลัก คือส่วนแรก บริษัทแม่จะนำไปลงทุนซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อรักษาระดับสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ส่วนที่ 2 เดินหน้ารีไฟแนนซ์เงินกู้เดิม ส่วนที่ 3 ขยายสถานี บริการน้ำมัน

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทในกลุ่ม ปตท.ได้เร่งระดมเงินเตรียมนำมาใช้ขยายธุรกิจตามแผนที่วางไว้ปี 2556 ควบคู่กันไป 2 ทาง คือออกหุ้นกู้ในและต่างประเทศ กับทบทวนแผนธุรกิจบริษัทในเครือทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะ นำเงินลงทุนในหุ้น ปตท.สผ. ซึ่งมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่หลังเข้าซื้อกิจการ Cove Energy แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติโมซัมบิก แอฟริกาใต้ และการลงทุนเปิดสถานีบริการน้ำมันครบวงจร รวมร้านสะดวกซื้อและกิจการเชิงพาณิชย์ที่ ไม่มาจากน้ำมัน (nonoil) ตามเส้นทางหลักเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน

ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ กลุ่ม ปตท.เตรียมออกหุ้นกู้ใน ต่างประเทศ วงเงิน 1,000-2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อายุ 10 ปี ในจังหวะที่เศรษฐกิจโลกกำลังซบเซาจะเป็นผลดีเพราะจะได้อัตราดอกเบี้ยคงที่ระดับต่ำ เป็นแผนงานต่อเนื่องจากเมื่อต้นปีจนถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้ออกหุ้นกู้ในประเทศไปเรียบร้อยแล้ว มูลค่า 45,000 ล้านบาท เงินที่ได้จะ นำไปใช้ลงทุนเพิ่มเพื่อรักษาสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ปตท.สผ. 65.29% รีไฟแนนซ์เงินกู้เดิม และการลงทุนใหม่อื่น ๆ

นายสุรงค์กล่าวถึงการขยับแผนธุรกิจภายในประเทศของกลุ่ม ปตท. ในฐานะประธานกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เตรียมหารือกับกระทรวงพลังงานเสนอขอปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) หน้าโรงกลั่นให้เหมาะสม เพื่อเป็นแรงจูงใจให้โรงกลั่นน้ำมันหันมาผลิตแอลพีจีออกขายมากขึ้น จากปัจจุบันภาครัฐกำหนดให้อิงราคาขายตามสูตรจาก 2 ส่วน คือตลาดโลก 76% และราคาบังคับในประเทศที่ 333 เหรียญสหรัฐต่อตัน 24% ส่งผลให้ราคาแอลพีจี ขายโรงกลั่นในประเทศขณะนี้อยู่ระดับ ต่ำกว่าตลาดโลกถึง 130 เหรียญสหรัฐ ต่อตัน

"ราคาขายแอลพีจีหน้าโรงกลั่นซึ่งต่ำกว่าตลาดโลก 130 เหรียญสหรัฐนั้นถือว่าต่ำมาก หากปรับให้เหมาะสมจะเป็นแรงกระตุ้นกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันหันมาผลิต แอลพีจีเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเดือนละ 6 หมื่นตัน ช่วยลดการนำเข้าแอลพีจีรวมถึงลดปัญหาคลังเก็บแอลพีจีมีไม่เพียงพอได้

ส่วนราคาน้ำมันในตลาดโลกคาดการณ์ช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ จะอยู่ที่ 105-110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเปราะบาง ความต้องการและกำลังการผลิตอยู่ในระดับเหมาะสม ขณะที่ปีหน้าอาจต้องรอผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ วันที่ 6 พฤศจิกายนนี้ แต่ผลจากสหรัฐสามารถผลิตก๊าซแอลพีจีได้เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง เป็นผลดีต่อราคาน้ำมันไม่ปรับเพิ่มสูงมาก"

นายสุรงค์กล่าวว่า ปตท.ได้รับอนุมัติให้ขยายคลังเก็บแอลพีจีเพิ่มอีก 2 หมื่นตัน จากที่มีถังบรรจุอยู่ 2 หมื่นตัน เพื่อรองรับแอลพีจีที่ขนส่งมาทางเรือได้หมด เที่ยวละ 4 หมื่นตัน ช่วยลดต้นทุนบริหารจัดการการนำเข้าแอลพีจีแล้วมีคลังเก็บไม่เพียงพอ

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธาน เจ้าหน้าที่บริการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. กล่าวว่า ขณะนี้มีแนวโน้ม อาจจะต้องเลื่อนการผลิตในแหล่งมอนทาร่า ออสเตรเลีย จากธันวาคมปีนี้เป็นไตรมาส 1 ปีหน้า เนื่องจากกระบวนการขออนุญาตจากรัฐบาลออสเตรเลียล่าช้า เพิ่งได้รับ ใบอนุญาต แถมตอนนี้มีพายุไซโคลน ตามแผนความปลอดภัยต้องรอเวลาอีกระยะเพื่อเข้าไปติดตั้งแท่นขุดเจาะ

ส่วนแผนการลงทุน 5 ปี ปตท.สผ. กำหนดจะทบทวนใหม่อีกครั้งในเดือนธันวาคมนี้ ระยะ 5 ปี ระหว่างปี 2555-2559 วงเงินลงทุนประมาณ 400,000 ล้านบาท หลังจากเมื่อ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา บริษัทวิเคราะห์การเงินกับผู้บริหาร ปตท.สผ. ร่วมกันประเมินผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปีนี้ จะทำกำไรได้สูงสุดถึง 18,504 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันกับปีก่อน 135%

อย่างไรก็ตาม กลุ่ม ปตท.รายงานมติคณะกรรมการ (บอร์ด) ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ 20 กรกฎาคม 2555 จนถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับ มติอนุมัติซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน ปตท.สผ. 403,395,000 หุ้น เพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้นไว้ที่ 65.29% พร้อมเป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินยืมหุ้นสามัญของ ปตท.สผ.ที่ ปตท.ถือไว้ไม่เกิน 32,162,000 หุ้น

เมื่อ 27 กันยายนแจ้งเสนอขายและจัดหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเจาะจง 650 ล้านหุ้น กำหนดปิดสมุดทะเบียนและโอนหุ้น 13 พฤศจิกายนนี้ ขณะที่บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เมื่อ 19 กันยายน 2555 ขอออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิ์ให้นักลงทุนสถาบันต่างประเทศ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 4.25 ต่อปี

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 617

โพสต์

ประธานเชลล์คนใหม่ในไทย ย้ำชัดบริหารให้โตได้อีก100ปี
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, October 17, 2012


รอยัลดัทช์ เชลล์ ส่งไม้ต่อ "อัษฎา" ประธานกรรมการเชลล์แห่งประเทศไทย คนใหม่ ชูนโยบายบริหาร ให้เติบโตอีก 100 ปี เชื่อไทยมีศักย ภาพเป็นเป้าหมายหลักสร้างรายได้ให้กับบริษัท 1 ใน 10 ของโลก ยันบริษัทแม่ทุ่มงบลงทุนไม่อั้น หากพัฒนาธุรกิจแล้วเติบโต พร้อมจับมือกับกลุ่ม ปตท.พัฒนาเทคโนโลยีนำเข้าแอลเอ็นจี สร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ

นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศ ไทย จำกัด ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ภายหลังการเข้ารับตำแหน่งต่อจากนางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ที่ไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดค้าปลีก ว่าได้รับมอบนโยบายจากบริษัท รอยัลดัทช์ เชลล์ฯ สัญชาติดัตช์และอังกฤษ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเชลล์ในประเทศ ไทย ให้เข้ามาบริหารงาน โดยกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะทำให้เชลล์ในประ เทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนอยู่ไปได้อีก 100 ปี หลังจากปีนี้ที่ครบรอบการดำเนินงานมา 120 ปี

"เนื่องจากบริษัทแม่มองว่า ประ เทศไทยยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง และยังเป็นศูนย์กลางของประเทศในอาเซียน เป็นตลาดสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทแม่ได้เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ เห็นได้จากการดำเนินงานที่ผ่านมาเชลล์ในประเทศไทยสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทแม่ติด 1 ใน 10 ของเชลล์ทั่วโลกที่ออกไปดำเนินธุรกิจ"

ขณะเดียวกันบริษัทแม่จะสนับ สนุนงบการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกน้ำมันอย่างต่อเนื่องและไม่จำกัดการลงทุน หากเห็นว่าโครงการที่เสนอไปสามารถสร้างผลตอบแทนและทำให้เชลล์มีการเติบโต จากเดิมที่ผ่านมาบริษัทแม่จะจำกัดงบลงทุนปีละประมาณ 1 พันล้านบาท ในการขยายสถานีบริการน้ำมัน การปรับปรุง ปั๊มน้ำมัน การส่งเสริมการตลาด ดังนั้น จากนี้ไป จะเห็นว่าเชลล์ในประเทศไทยจะทุ่มงบในการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจค่อนข้างมากเพื่อรับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทุกปี ถึงแม้ว่าค่าการตลาดจากจำหน่ายน้ำมันจะยังอยู่ในระดับต่ำก็ตาม

นายอัษฎา กล่าวอีกว่า จากการที่เชลล์อยู่ในประเทศไทยมานาน จะต้องมีส่วนช่วยสนับสนุนในการจัดหาพลังงานให้มีใช้อย่างเพียงพอไม่ว่าจะเป็นการจัดหาก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ โดยอาศัยเครือข่ายเชลล์ที่มีอยู่ทั่วโลกเป็นตัวเชื่อมโยง เพราะการที่ประเทศไทยจะออกไปแสวงหาแหล่งพลังงานเพียงประเทศเดียว จะทำให้แข่งขันได้ลำบาก หากสามารถจับมือกับเชลล์ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกในการหาแหล่งพลังงานได้ จะช่วยให้เกิดความเข้มแข็งในการเจรจาต่อรองได้

ทั้งนี้เพราะเชลล์ในไทย กำลังดูโอกาสถึงความเป็นไปได้ในการจัด หาก๊าซแอลเอ็นจีเข้ามาป้อนให้กับประเทศไทย เนื่องจากบริษัทแม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการก่อสร้างโรงงานแปรรูปก๊าซธรรมชาติเป็นของเหลวลอยน้ำหรือเอฟแอลเอ็นจี ที่สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติจากปากหลุมส่งลงเรือในรูปแอลเอ็นจีได้แล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานดังกล่าวใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจะช่วยให้สามารถส่งก๊าซแอลเอ็นจีที่อยู่ไกลเข้ามาที่ไทยได้ ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือกับทางกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีแผนลงทุนในการจัดหาก๊าซแอลเอ็นจีจากต่างประเทศเข้ามาเสริม หรือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ที่ออกไปลงทุนผลิตก๊าซแอลเอ็นจีที่ออสเตรเลีย ว่าจะร่วมมือกันในการจัดหาแอลเอ็นจีให้กับประเทศ ไทยได้อย่างไร

"เวลานี้เชลล์ได้มีการจัดส่งก๊าซแอลเอ็นจีให้กับประเทศไทยบ้างแล้วประมาณ 1-2 ลำเรือ ที่เป็นการนำเข้าจากประเทศกาตาร์ในราคาตลาดจร ซึ่งมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา ให้ปตท.จัดหาแอลพีจีในรูปของสัญญาระยะยาวมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อการ นำเข้าของเชลล์มากขึ้นด้วย"
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 618

โพสต์

PTT refinery units to produce extra 20,000 tonnes of LPG per month
Source - The Nation (Eng), Wednesday, October 17, 2012


PTT’s oil refinery group plans to produce an additional 20,000 tonnes of liquefied petroleum gas (LPG) per month to reduce the country’s fuel imports. Geopolitical developments surrounding Iran have led to concern that the price of crude oil could skyrocket in the first quarter of next year.

However, second- and third-quarter prices could stay below US$100 per barrel because of the worsening European economic situation.

Next year’s average Dubai crude price is estimated to be $105 per barrel.

Surong Bulakul, chief finance officer at PTT and chairman of the company’s oil refinery group, yesterday said the refinery units had discussed raising LPG production to meet the Kingdom’s rising fuel demand.

If the refinery system is improved, about an additional 20,000 of LPG will be produced a month, he said, adding that overall monthly output would be increased to 100,000 tonnes.

Perawat Tanmarpimonta, vice president of PTT subsidiary IRPC, said next year’s oil prices depended largely on the global economy. Recession in the European Union and the United States could continue in 2013, and the global economy is expected to be driven mainly by Asia and Latin America.

"Developed countries will likely see 12 per cent lower use of oil to 45.27 million barrels per day. Developing countries are expected to witness a rise in demand for oil by 0.99 per cent to 44.80 million barrels per day. Global demand is expected to increase 0.87 per cent to 90.08 million barrels per day," Perawat said



The Organisation of Petroleum Exporting Countries has the capacity to produce 30 million barrels a day, while those outside of Opec have a combined daily capacity of 60 million barrels, said Vaslika Hongthongsilapakul, an analyst at PTT.

This year’s demand for crude has increased by 900,000 barrels per day, while daily demand next year is forecast to rise by 1.2 million barrels.

Opec is expected to lower its production by 300,000 barrels per day to maintain the oil price at the current level, said the |analyst.

Non-Opec producers, particularly the US and Canada, will likely increase production thanks to new drilling technology. By 2035, they may not need to import oil and the overall picture of oil trade could then change, he added.

Next year, a close eye will need to be kept on political factors in a number of countries, particularly after the US and Israeli elections and their leaders’ policies in regard to Iran and the wider Middle East.

Pongpun Amornvivat, business manager at Thai Oil, another PTT refining unit, said that based on these factors, Dubai crude is expected to stay at $111 per barrel this quarter after likely cold winters in major consumer nations.

Early next year could see more pressure from the US on Iran over its nuclear ambitions and, if a military conflict were to break out, the oil price would surge, albeit only in the short term, he said.

In the second and third quarters of next year, oil prices could fall below $100 because of the worsening European economy, while the fourth quarter will see higher prices because of seasonal factors.

In Thailand, he said next year’s demand for oil would rise by 4 per cent. Demand for diesel will increase by 10 per cent as the government is expected to control the price at no more than Bt30 per litre, while petrol could see demand remain flat or expand by 1 per cent.

Natural gas for vehicles and LPG, meanwhile, will likely see a 10-per-cent rise in demand, while next year’s end to sales of 91-octane petrol is expected to prompt an increase in the use of E20 gasohol.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 619

โพสต์

ดันแอลพีจีเท่าตลาดโลกไม่คืบ ภาคปิโตรเคมีใช้แนฟทาสะดุด/หารือข้อสรุปสิ้นต.ค.นี้
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, October 17, 2012


ปรับขึ้นราคาแอลพีจีหน้าโรงกลั่นเท่าตลาดโลก ลดการนำเข้า ยังไร้ข้อยุติ กระทรวงพลังงานชี้ยังไม่สมเหตุสมผล ปริมาณออกมาน้อย แถมยังไม่มีทางออกให้ภาคปิโตรเคมีไปใช้แนฟทาแทน หลังดึงแอลพีจีออกสู่ระบบมากขึ้น เตรียมหารือใหม่คาดได้ข้อสรุปสิ้นเดือนต.ค. ด้านกลุ่มโรงกลั่นเชื่อราคาจูงใจหันไปผลิตเพิ่มให้แน่ พร้อมศึกษานำแนฟทามาใช้แทนให้กับปิโตรเคมีแล้ว

จากที่ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้นำเสนอข่าว "ผลาญแอลพีจีกระฉูด ทุบสถิตินำเข้าพุ่ง 2 แสนตัน/5 ปี กองทุนแบกภาระกว่าแสนล้าน" ฉบับที่ 2,783 ระหว่างวันที่ 14-17 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยที่ภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนในการแก้ปัญหาการ นำเข้าแอลพีจีที่พุ่งขึ้นสูงนี้ได้ ตลอดจนกลุ่มบรรดาโรงกลั่นน้ำมันที่ผลิตแอลพีจี ต่างออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐปรับราคาแอลพีจีหน้าโรงกลั่นน้ำมัน เพื่อจูงใจให้มีการผลิตแอลพีจีออกมาสู่ระบบมากขึ้นซึ่งจะเป็นมาตรการช่วยลดการนำเข้าได้ทางหนึ่ง

ล่าสุดนายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยถึงการเจรจาร่วมกับกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันถึงการเพิ่มความสามารถในการผลิตก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีเพื่อลดการนำเข้าว่าขณะนี้ผลของการหารือยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด เนื่องจากกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันเสนอปรับราคาก๊าซแอลพีจีหน้าโรงกลั่นมาอยู่ในระดับราคาตลาดโลกซึ่งปัจจุบันราคาในเดือนตุลาคม อยู่ที่ 1 พันดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่โรงกลั่นน้ำมันจะผลิตก๊าซแอลพีจีออกมาเพิ่มเพียง 2 หมื่นตันต่อเดือน จากเดิมที่ผลิตออกสู่ระบบ 8 หมื่นตันต่อเดือน รวมกันแล้ว 1 แสนตันต่อเดือน ซึ่งมองว่าเป็นปริมาณที่น้อยเกินไป หากปรับราคาขึ้นไปจากปัจจุบันที่อิงราคาตลาดโลกอยู่ 76% จึงไม่น่าสมเหตุสมผล

ดังนั้น หากจะมีการปรับราคาให้ขึ้นไป โรงกลั่นน้ำมันจะต้องผลิตแอลพีจีออกมาสู่ระบบมากกว่านี้ เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันผลิตแอลพีจีได้ประมาณ 1.4 แสนตันต่อเดือน นำออกสู่ระบบ 8 หมื่นตันต่อเดือน และที่เหลือนำไปใช้ในกระบวนการผลิตเอง และส่งจำหน่ายให้กับกลุ่มปิโตรเคมี เนื่องจากกลุ่มโรงกลั่นมองว่าราคาที่ขายสู่ระบบยังไม่จูงใจพอที่จะผลิตแอลพีจีเพิ่มให้ได้ จึงทำให้การเจรจาด้านราคาและปริมาณการผลิตยังไม่ได้ข้อยุติ

นอกจากนี้ยังต้องหาแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหาในส่วนของโรงกลั่นที่เซ็นสัญญาขายแอลพีจีให้กับภาคปิโตรเคมีด้วย เพราะการดึงแอลพีจีมาป้อนภาคพลังงาน จะต้องยกเลิกสัญญาดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตปิโตรเคมีด้วย ดังนั้นแนวทางหนึ่งคือการนำแนฟทามาทดแทนได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามกรมจะหารือร่วมกับกลุ่มโรงกลั่นอีกครั้งในเร็วๆ นี้ เพื่อหาข้อสรุป คาดว่าจะได้รับความชัดเจนภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้

"ตอนนี้ปริมาณการนำเข้าแอลพีจีสูงขึ้น เฉลี่ยในช่วง 2-3 เดือนสุดท้ายของปีนี้จะอยู่ที่ 1.7 แสนตันต่อเดือน ซึ่งหากตัวเลขนำเข้าเกิน 1.3 แสนตันจะต้องเช่าเรือลอยลำ ซึ่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้นจะทำอย่างไรเพื่อลดการนำเข้า เบื้องต้นได้หารือกับกลุ่มโรงกลั่นเพื่อเตรียมดึงการผลิตแอลพีจีจากโรงกลั่นเข้าระบบเพิ่ม แต่จะต้องมีแนวทางรองรับ เพราะส่วนหนึ่งจะกระทบภาคปิโตรเคมี ซึ่งอาจจะให้ภาคปิโตรเคมีเลิกใช้แอลพีจีแล้วหันไปใช้แนฟทาแทน หรืออีกแนวทางหนึ่งคือให้ภาคปิโตรเคมีนำเข้าแอลพีจีเพื่อมาใช้โดยเฉพาะ"

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มโรงกลั่นน้ำมันปตท.อยู่ระหว่างการพิจารณานำวัตถุดิบมาใช้แทนแอลพีจี โดยเฉพาะภาคปิโตรเคมีว่าจะสามารถใช้แนฟทาแทนได้หรือไม่ และใครจะเป็นผู้ป้อนวัตถุดิบให้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะต้องหารือร่วมกับกระทรวงพลังงาน หลังจากที่กลุ่มได้เสนอให้กระทรวงปรับขึ้นราคาแอลพีจีหน้าโรงกลั่นเป็นราคาตลาดโลกแล้ว เพื่อจูงใจให้โรงกลั่นหันมาผลิตแอลพีจีเพิ่มขึ้น คาดว่าจะสามารถผลิตได้เพิ่มขึ้นอีกกว่า 2 หมื่นตันต่อเดือน จากปัจจุบันอยู่ที่ 8 หมื่นตันต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม ปริมาณแอลพีจีที่ผลิตเพิ่มขึ้นอาจจะมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะหากราคาจูงใจ เชื่อว่ากลุ่มโรงกลั่นน้ำมันจะหันไปเลือกน้ำมันดิบที่สามารถผลิตแอลพีจีได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องเลือกดูชนิดน้ำมันดิบที่สามารถกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปให้เกิดความสมดุลด้วย

"การใช้แอลพีจีในภาคขนส่ง ปัจจุบันมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากยังมีราคาถูก และรัฐบาลไม่สามารถควบคุมการเกิดใหม่ของปั๊มแอลพีจีได้ แสดงให้เห็นว่าปัญหาของประเทศไทยไม่ได้อยู่ที่ราคาพลังงานประเภทไหนจะสูงหรือต่ำ แต่ปัญหาอยู่ที่ต้องจำกัดว่าใครควรจะใช้พลังงานประเภทใดมากกว่า"

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 620

โพสต์

ปตท.รุกขายปลีกอาเซียนสร้างแบรนด์ระดับภูมิภาค
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, October 17, 2012


ปตท.ลุยธุรกิจน้ำมันอาเซียน 5 ปี ตั้งเป้าเป็นเบอร์ 2-3 ของตลาด เน้นเฟสแรก "ลาวกัมพูชา-ฟิลิปปินส์"ลงทุน 5,000-6,000 ล้านบาท พร้อมผลักดันสถานีบริหารครบวงจร หวังขยายตลาดค้าปลีกเสริมทัพ ประเมินบริษัทน้ำมันแห่งชาติของอาเซียน จะขยายการลงทุนข้ามประเทศมากขึ้น

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ การตลาดพาณิชย์และต่างประเทศ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่า ปตท. มีเป้าหมายเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับภูมิภาค (Regional Top Brand) ภายในปี 2563 หรือเป็นอันดับที่ 2-3 ของอาเซียนในธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน

"ปตท. จะเดินหน้าเข้าไปลงทุนธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในอาเซียนหลังจากนี้อย่างชัดเจน โดยมีเป้าหมายจะเป็น 1 ใน 3 ของแบรนด์ค้าปลีกน้ำมันในประเทศที่เข้าไปลงทุน ส่วนที่ 1 ต้องเว้นให้กับบริษัทท้องถิ่น อย่างไรก็ตามหากเทียบศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการค้าปลีกน้ำมันในอาเซียนด้วยกันแล้ว ต้องถือว่าประเทศที่มีเขตต่อเนื่องกับไทย เราจะได้เปรียบที่สุด เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีนตอนใต้ ขณะที่ตลาดอื่นๆ อย่าง มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ บรูไน นั้น ทางสิงคโปร์จะได้เปรียบมากกว่า"

ปตท. วางแผนขยายสถานีบริการน้ำมันในอาเซียนในระยะ 5 ปี (2555-2559) รวมวงเงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 5,000 -6,000 ล้านบาทโดยในลาว มีเป้าหมายเพิ่มสถานีบริการเป็น 60 แห่ง จากปัจจุบันมีอยู่ 20 แห่ง ลงทุน 800 ล้านบาท ซึ่งเงินลงทุนดังกล่าวจะรวมการสร้างสถานีบริการและปรับปรุงคลังน้ำมันด้วย

ปัจจุบัน ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาด 13% หรือประมาณ 150 ล้านลิตรต่อปี เป็นอันดับ 3 รองจากเชื้อไฟลาว ปิโตรเวียดนาม ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดใกล้เคียงกับน้ำมันต่างชาติอื่นๆ ได้แก่ เชลล์ และตามมาด้วย ปตท.

ส่วนที่กัมพูชา มีเป้าหมายขยายให้ได้ 45 แห่ง จากปัจจุบันมีอยู่แล้ว 14 แห่ง ซึ่ง ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาด 10% หรือประมาณ 200 ล้านลิตรต่อปี เป็นอันดับ 3 เช่นเดียวกัน รองจาก ค่าย TARA บริษัทรัฐวิสาหกิจกัมพูชา SOKIMEX และตามมาด้วย ปตท. โดยกัมพูชามีแผนที่จะไปสร้างคลังน้ำมันที่เสียมราฐ พนมเปญ และเกาะกง ด้วยวงเงินลงทุนรวม 800-900 ล้านบาท

รุกลงทุนปั๊มน้ำมันพม่า

สำหรับที่พม่า ปัจจุบันขายส่งตามชายแดนให้กับผู้ค้าท้องถิ่นเป็นหลัก ยอดขายประมาณ 200 ล้านลิตรต่อปี นอกจากนี้ยังมีการทำตลาดน้ำมันหล่อลื่นด้วย ซึ่งมียอดขายประมาณ 5 ล้านลิตรต่อปี ส่วนธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ยังไม่ได้เข้าไปลงทุน เนื่องจากยังไม่เปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนโดยตรง จึงต้องรอประกาศกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ของพม่าก่อน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเปิดให้ต่างชาติลงทุนในธุรกิจนี้ได้ 100% หรือมีข้อกำหนดต้องร่วมทุนกับเอกชนท้องถิ่นของพม่า อย่างไรก็ตาม ตั้งเป้าหมายขยายสถานีบริการน้ำมันไว้ที่ 60 แห่ง ภายใน 5 ปี

นอกเหนือจาก ลาว กัมพูชา และ พม่า แล้ว ฟิลิปปินส์ เป็นอีกหนึ่งประเทศ ที่ ปตท. วางแผนลงทุนในระยะ 5 ปีนี้รวม 1,000 ล้านบาท โดยมีแผนขยาย 100 แห่ง จากปัจจุบันที่มีอยู่แล้ว 54 แห่งยอดขาย 700 ล้านลิตรต่อปี มีส่วนแบ่งการตลาด 3% เป็นที่ 6 ของตลาด รองจาก PETRON เชลล์ คาลเท็กซ์ โททาล เป็นต้น ส่วนจีนตอนใต้นั้นจะเน้นขายส่งผ่านแนวชายแดนตามเส้นทางใหม่ เช่น R 3, R3A

นายอรรถพล กล่าวต่อว่า การลงทุนขยายสถานีบริการน้ำมันจะเป็นสถานีบริการแบบมาตรฐานทั่วไปเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็จะเริ่มทยอยลงทุนสถานีบริการครบวงจรรูปแบบ PTT Life Station เนื่องจากพบว่าหลายแห่งที่ได้นำร่องเข้าไปลงทุนนั้นได้รับการตอบรับจากตลาด

ในระยะ 5 ปีนี้จะเข้าไปขยายใน 4 ประเทศก่อน ได้แก่ ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และ พม่า 4-5 แห่งต่อประเทศ เงินลงทุนประมาณแห่งละ 40-50 ล้านบาทต่อแห่ง ไม่รวมค่าที่ดิน ซึ่งในลาวจะเปิดแห่งแรกในปลายเดือนต.ค. นี้ ที่กรุงเวียงจันทน์ ซึ่งหลังจากทำตลาดมาแล้ว 2 เดือน พบว่ายอดขายเฉลี่ย 4.5 แสนลิตรต่อเดือน ซึ่งถือว่าสูง เพราะว่าเป็นช่วงฤดูฝน และคาดว่าจะขึ้นไปได้ถึง 6-8 แสนลิตรต่อเดือน ส่วน PTT Life Station ในกัมพูชาและฟิลิปปินส์นั้น จะเปิดให้บริการแห่งแรกในต้นปี 2556

เน้น 3 เฟส ลงทุนอาเซียน

ทางด้าน นายบุรณิน รัตนสมบัติ ผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. กล่าวว่า การขยายสถานีบริการน้ำมันของปตท.ในอาเซียนแบ่งออกเป็น 3 เฟส คือ เฟสแรกจะเดินหน้าลงทุนที่ฟิลิปปินส์ ลาว และ กัมพูชา เป็นหลัก เนื่องจากกลุ่มนี้มีอัตราการเติบโตของการใช้น้ำมันตามจีดีพี หรือประมาณ 4-5% ยกเว้นที่ลาวเติบโตสูงกว่า 10% ต่อปีในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่เปิดเสรีในการลงทุน และกลไกราคาน้ำมันเป็นไปตามตลาดโลก

นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ ถือเป็นตลาดที่ ปตท. สนใจมาก เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ เปิดเสรี กลไกราคาสะท้อนต้นทุน และมีความต้องการน้ำมันใกล้เคียงกับไทย

ส่วน เฟส 2 นั้น จะเป็นการลงทุนที่พม่า ที่ตลาดกำลังเติบโตเช่นเดียวกัน และมีโอกาสเปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน เพียงแต่ต้องรอกฎหมายการลงทุนของพม่าก่อน สำหรับเฟส 3 จะเป็นพื้นที่อื่นที่เหลือ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

ในส่วนของมาเลเซียนั้น ปัจจุบันมีบริษัทน้ำมันแห่งชาติ และต่างชาติครองตลาด เช่น ที่ มาเลเซีย ซึ่งมี เชลล์ และปิโตรนาสครองตลาด ขณะเดียวกันโครงสร้างราคาน้ำมันมีการตรึงราคาจากรัฐ สำหรับเวียดนามนั้น มีการตรึงราคา และยังไม่เปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนโดยตรง ส่วนที่อินโดนีเซียมีบริษัทแห่งชาติอย่างเปอร์ตามิน่า ครองตลาดกว่า 90%

"การเปิดลงทุนในอาเซียนด้วยธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน และน้ำมันหล่อลื่นจะเข้าไปได้ง่ายที่สุด และมีความเสี่ยงน้อย เพราะว่าแบรนด์ ปตท. เป็นที่รู้จัก และยอมรับอยู่แล้วในตลาด หลังจากนั้นจึงค่อยหาลู่ทางการลงทุนเพิ่มเติม โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกอื่นจะเข้าไปบุกตลาดรพร้อมกับสถานีบริการน้ำมัน เช่น กาแฟอะเมซอน ร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ เป็นต้น"

นายบุรณิน กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ บริษัทน้ำมันแห่งชาติของแต่ละประเทศในอาเซียน จะออกไปลงทุนในประเทศต่างๆ ในอาเซียนมากขึ้น ส่วนบริษัทน้ำมันต่างชาติจะมีบทบาทลดลง เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคอาเซียนที่ใกล้เคียงกัน ทำให้การสร้างตลาดง่ายกว่า

ทบทวนแผนลงทุน 5 ปี เดือนธ.ค.นี้

ขณะที่ นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการทบทวนแผนการลงทุน 5 ปีของ ปตท. ซึ่งจะมีการทบทวนแผนทุกปี ว่า แผนการลงทุน 5 ปี ที่มีการทบทวนใหม่ เพื่อใช้ระหว่างปี 2556-2560 จะดำเนินการแล้วเสร็จ และนำเสนอต่อบอร์ด ปตท. ให้พิจารณาประมาณเดือนธ.ค. นี้

ภายใต้แผนดังกล่าว ปตท.จะยังรักษากรอบวินัยการเงินไว้ไม่เกินปีละ 2,000-2,500 ล้านดอลลาร์ และปีหน้าการลงทุนในประเทศ จะชัดเจนมากขึ้นความสำคัญกับการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่การลงทุนต่างประเทศ จะให้ โดยเฉพาะประเทศพม่า

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 621

โพสต์

About ASCOPE
Link >> http://www.ascope.org/
home_about.jpg
The ASEAN Council on Petroleum or ASCOPE is the association of national oil companies in the ASEAN region.
It was established on October 15, 1975 in Jakarta, Indonesia.

The main objective of the Council is to support member countries increase their capabilities, through mutual assistance,
in all aspects and phases of the petroleum industry.
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 622

โพสต์

134460_469382543105356_876477701_o.jpg
Do you know where the world’s electricity comes from?
Find out with National Geographic's global electricity mix interactive map.


Link >> http://on.natgeo.com/V3Ka23


ที่มา : FB ของ Shell
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 623

โพสต์

ปตท.สผ.ชะลอแผนซื้อกิจการนอก
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, October 18, 2012


บริษัทในเครือ ปตท. เริ่มรัดเข็มขัด รักษาวินัยการเงินเข้ม รับมือเศรษฐกิจโลกผันผวนปีหน้า ปตท.สผ. ลดความสำคัญซื้อและควบรวมกิจการ เผยไม่จำเป็นต้องซื้อกิจการเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ 3 แสนบาร์เรล ตามแผนเดิมแต่จะเน้นการลงทุนเพิ่มศักยภาพแหล่งที่มีอยู่มากกว่า แต่ยังกันสภาพคล่องไว้ 600 ล้านดอลลาร์ ไว้ซื้อกิจการ หากเจอโอกาสดี เผยความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐและราคาน้ำมันคือความเสี่ยง คาดไตรมาส 3 รายได้โต 10%

นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. (PTTEP) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างปรับแผนการลงทุน 5 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จและประกาศแผนได้ในช่วงสิ้นปีนี้ โดยหลักๆ งบลงทุนใกล้เคียงกับของเดิม แต่จะเพิ่มในส่วนการเร่งลงทุนเจาะสำรวจแหล่งที่มีอยู่เพื่อเพิ่มสำรองปิโตรเลียมของบริษัท

ขณะที่ การลงทุนซื้อและควบรวมกิจการ (M&A) จะไม่รีบร้อน หรือลดความสำคัญลง ให้เจอโอกาสที่ดีจริงๆ จึงจะเข้าลงทุน ดังนั้นแผนการซื้อและควบรวมกิจการของบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งกำลังการผลิต 3 แสนบาร์เรล เพื่อให้ได้กำลังการผลิต 9 แสนบาร์เรล ภายในปี 2563 อาจจะไม่จำเป็นต้องทำให้ถึงตามนั้น แต่จะเน้นการลงทุนในแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว

"ขณะนี้บริษัทและบริษัทอื่นๆ ในเครือของ ปตท.ให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการเงิน เพื่อให้บริษัทเข้มแข็งสามารถรับกับความผันผวนของเศรษฐกิจและราคาน้ำมันตลาดโลกในปีหน้าได้ ไม่ให้มีการลงทุนเกินตัวเพราะไม่แน่ว่าวิกฤติจะมาอีกเมื่อใด ซึ่งยืนยันว่าการลงทุนของบริษัทไม่ใช่การลงทุนที่เกินตัว" นางสาวเพ็ญจันทร์ กล่าว

นอกจากนี้บริษัทยังได้มีการทดสอบการรับมือภาวะวิกฤติ (Stress Test) ของบริษัท โดยกรณีรุนแรงที่สุด ราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจจะปรับลดลงถึง 50-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งบริษัทก็ต้องมีการวางแผนทางด้านการเงินไว้รองรับ โดยจะต้องมีสภาพคล่องรองรับในระดับ 600 ล้านดอลลาร์ ปัจจุบันบริษัทมีสภาพคล่องสำรองอยู่ในระดับนี้อยู่แล้ว เพื่อรองรับโอกาสในการซื้อและควบรวมกิจการ

ขณะเดียวกัน บริษัทก็จะรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (DE) ให้อยู่ในระดับต่ำ โดยปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 0.7 เท่า แต่หลังจากการเพิ่มทุน DE ของบริษัทจะปรับลดลงมาอยู่ในระดับ 0.4 เท่า ซึ่งถืออยู่ในระดับกลางๆ เพราะโดยปกติบริษัทที่ทำธุรกิจสำรวจและผลิต จะต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำ โดยบริษัทขนาดใหญ่ในโลกอยู่ที่ระดับ 0.2-0.3 เท่า ในอนาคตมีโอกาสที่บริษัทอาจจะบริหารให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนปรับลดลงในระดับนั้นได้

"ความเสี่ยงหลักของบริษัทขณะนี้ ก็คือ ความผันผวนของราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะความผันผวนของดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับแคนาดาและดอลลาร์ออสเตรเลีย บริษัทก็ต้องมีการบริหารความเสี่ยงในเรื่องเหล่านี้ไว้"

ส่วนความคืบหน้าในการเพิ่มทุนนั้น รอเสนอเรื่องการเพิ่มทุนเข้าที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 29 ต.ค. นี้ หลังจากนั้นจะชี้แจงนักลงทุนและนักวิเคราะห์อีกรอบหนึ่ง เพื่อทำความเข้าใจ โดยกระบวนการเพิ่มทุนจะแล้วเสร็จภายในปีนี้

เธอกล่าวว่า สำหรับแนวโน้มผลประกอบการช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ เบื้องต้นแนวโน้มรายได้และยอดขายจะเติบโตประมาณ 10% จากช่วงไตรมาส 2 เป็นผลมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันค่อนข้างทรงตัว ส่วนแนวโน้มยอดขายปิโตรเลียมทั้งปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ 2.65 แสนบาร์เรลต่อวัน

กันสภาพคล่อง600ล้านดอลล์ไว้ซื้อกิจการหากโอกาสดี

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 624

โพสต์

Fitch rates PTTGC on wide product range, operating scale
Source - The Nation (Eng), Thursday, October 18, 2012
THE NATION



Fitch Ratings (Thailand) has affirmed PTT Global Chemical’s national long-term rating at "AA-(tha)" with a stable outlook, national short-term rating at "F1+(tha)" and national long-term rating on its senior unsecured debentures at "AA-(tha)".

PTTGC’s ratings are underpinned by its position as Thailand’s largest fully integrated petrochemical and refining company, Fitch said. The company has a wide product range and benefits from its large operating scale.

Furthermore, PTTGC enjoys competitive feedstock costs, as most of its feedstock for olefins is natural gas, which is available domestically and cheaply relative to alternatives such as naphtha, which is being used by its competitors.

Fitch has raised its expectations for PTTGC’s financial leverage over the short to medium term.

This reflects the weaker outlook of the petrochemical and refining industry and higher feedstock costs pursuant to renegotiation of gas-supply arrangements with PTT with effect from August 1. Fitch expects the petrochemical and refining businesses to remain under pressure for the rest of the year and into 2013 from weaker global economic conditions.

Based on these and the level of committed capital expenditure (Bt70 billion through 2016, including maintenance capex), Fitch now expects PTTGC’s adjusted net debt/operating EBITDAR (earnings before interest, taxes, depreciation, amortisation, and restructuring or rent costs) to be in the range of 1.5 to 2.0 times during the 2012-13 period, compared with below 1.5x previously.


Source: The Nation
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 625

โพสต์

Oil firms replace petrol 91 with gasohol
Source - Bangkok Post (Eng), Thursday, October 18, 2012


Major oil companies plan to replace petrol 91 with gasohol E20 nationwide when regular petrol is officially phased out from next January.

The move came after the Energy Ministry last week increased the subsidy for E20 by one baht a litre to encourage motorists to shift from regular petrol to biofuels.

PTT Plc, Thailand’s energy flagship, and majority-state-owned Bangchak Petroleum Plc (BCP), say they are ready to make E20 available across the country as demand is strong for ethanol-based petrol.

Saran Rangkasiri, an executive vice-president, said E20 will be available at 600 petrol stations by year-end and at 1,000 next year. It is now stocked at 394 PTT stations out of its 1,300 sites across the country.

About 300 PTT stations will stock premium gasoline 95, which is currently available at very few.

Only 20 PTT stations now sell gasohol E85 in Bangkok. By next year, the fuel will be found at a PTT station in each province.

Mr Saran said sales of E20 had more than doubled to 11 million litres a month from last year as its price became cheaper.

’’Although all locally made automobiles have been compatible with E20 since 2009, motorists have remained reluctant to switch to biofuels as they are worried about their car’s engine. This is still a major challenge for oil traders and policy makers,’’ he said.

Yodphot Wongrukmit, a senior executive vice-president of Bangchak, said E20 is available at 300 of its stations, and the number will double to 600 by the year-end and reach 800 next year. Bangchak has 1,080 stations.

He said the company expects E20 sales will increase to 20-23 million litres per month from 15 million at present.

’’Vehicles compatible with E20 have surged to 2.8 million units out of the 7 million units running on the streets,’’ said Mr Yodphot.

Kurujit Nakornthap, deputy energy permanent secretary, said ethanol demand is targeted to top 2 million litres per day, up from 1.3 million at present. However, ethanol still has a surplus, with 20 manufacturers producing 3.2 million litres daily.

Another manufacturer is due to come on stream with a capacity of 1.8 million litres.

Shares of PTT closed yesterday on the SET at 314 baht, up three baht, in heavy trade worth 1.27 billion baht. BCP finished at 26.75 baht, up 75 satang, in trade worth 194 million baht.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 626

โพสต์

พลังงานบริสุทธิ์ เตรียมขาย IPO จำนวน 560 ล้านหุ้น
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2555 เวลา 11:20:06 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) แต่งตั้งบริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ (APM) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินแอส ยื่นคำขอพร้อมแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 560 ล้านหุ้น ก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(mai) เพื่อระดมเงินทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์และพลังงานลม

EA ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล (B100) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว กลีเซอรีนบริสุทธ์ และวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล รวมถึงธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และเป็นผู้ผลิตรายต้น ๆ ที่ได้รับใบรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (RSPO) ของประเทศไทย

บริษัทมีเป้าหมายตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 4 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวม 278 เมกะวัตต์ โดยขณะนี้มีโครงการแรกขนาด 8 เมกะวัตต์ ใน จ.ลพบุรี ซึ่งสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)ได้แล้วในเดือน ต.ค.55 และจะเริ่มรับรู้รายได้เข้ามาในไตรมาส 4/55 ขณะที่โครงการต่อไปเป็นโรงไฟฟ้าขนาด 90 เมกะวัตต์ที่ จ.นครสวรรค์ อยู่ระหว่างการจัดหาเงินทุน รวมถึงใน จ.ลำปาง และ จ.พิษณุโลก อีกโครงการละ 90 เมกะวัตต์

นอกจากนั้น บริษัทยังมีแผนขยายธุรกิจไปยังโรงไฟฟ้าพลังงานลมอีก 10 โครงการในอนาคต ขนาดกำลังการผลิตรวม 404 เมกะวัตต์ ใน จ.นครศรีธรรมราช และ จ.ชัยภูมิ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 627

โพสต์

PTTGC เผยบ.ร่วมทุนทุ่ม 1.5 พันลบ.ขยายสายการผลิตไบโอ-โพลิออลในสหรัฐฯ [ ทันหุ้น, 18 ตุลาคม 2555 ]


นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) เปิดเผยว่า บริษัท เอเมอรี่ โอลีโอเคมิคอล (Emery Oleochemicals) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่ม พีทีที โกลบอล เคมิคอล และกลุ่ม ไซม์ ดาร์บี้ (Sime Darby) ประกาศลงทุนขยายสายการผลิตไบโอ-โพลิออล(Polyols) เคมีภัณฑ์พิเศษจากวัตถุดิบธรรมชาติ ที่โรงงานซินซินนาติ (Cincinnati) มลรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ด้วยเงินลงทุน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท เป้าหมายดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปลายปี 2557

กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Chemicals) ในส่วนของบริษัท เอเมอรี่ โอลีโอเคมิคอล (Emery Oleochemicals) จะดำเนินการขยายการลงทุนเพื่อผลิตเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษจากวัตถุดิบธรรมชาติ โดยเป็นการขยายสายการผลิตไบโอ-โพลิออล (Bio-Polyols) ณ โรงงานในเมืองซินซินนาติ (Cincinnati) มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะใช้เงินลงทุน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท การลงทุนนี้ เพื่อพัฒนาเคมีภัณฑ์จากธรรมชาติให้มีคุณภาพสูง เป็นเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (High-performance bio-based Polyols products) ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเอเมอรี่ โอลีโอเคมิคอล ทั้งด้านเทคโนโลยี สายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมถึงการสร้างรายได้เพิ่ม

นายอนนต์ กล่าวว่า การลงทุนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ขยายธุรกิจของบริษัทฯ ไปสู่ธุรกิจปลายน้ำซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์โพลียูรีเทน และกรีนเคมิคอล เพื่อสร้างการเติบโตในธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป ซึ่ง PTTGC ในฐานะหนึ่งในผู้ถือหุ้นหลักจึงสนับสนุนการลงทุนดังกล่าวของเอเมอรี่ โอลีโอเคมิคอล

ด้านนายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเอเมอรี่ โอลีโอเคมิคอล กล่าวว่า การขยายการผลิตไบโอ-โพลิออลคุณภาพสูงจากวัตถุดิบธรรมชาติที่โรงงานในเมืองซินซินนาติ เพื่อรองรับความต้องการในตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในครัวเรือน และอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สนับสนุนการเติบโตสู่ระดับสากล บริษัทฯ มองหาลู่ทางในตลาดใหม่ๆ และขยายสายการผลิตใหม่ที่เน้นการเพิ่มคุณค่าให้กับวัตถุดิบที่มีอยู่ รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยีและการวิจัยพัฒนา เป็นการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อการผลิตสินค้าคุณภาพให้แก่ลูกค้า ซึ่งโรงงานแห่งนี้จะสามารถเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ประมาณปลายปี 2557

อนึ่ง บริษัท เอเมอรี่ โอลีโอเคมิคอล เป็นบริษัทร่วมทุน ในสัดส่วน 50:50 ระหว่างกลุ่ม พีทีที โกลบอล เคมิคอล ผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ของประเทศไทย และ กลุ่ม Sime Darby ผู้นำธุรกิจปาล์มออยล์ของมาเลเซีย โดยในปี 2554 บริษัท เอเมอรี่ โอลีโอเคมิคอล มีรายได้รวม 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 628

โพสต์

ปตท.สผ.มั่นใจลงทุน บริษัทไม่เกิดฟองสบู่
แหล่งข่าว : เดลินิวส์, วันที่ : 19/10/2012


นางเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชีบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือปตท.สผ. เปิดเผยถึงกรณีที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า เศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่จะมีการลงทุนเกินตัวจนเกิดฟองสบู่ว่า การลงทุนของบริษัทจะไม่เกิดปัญหาฟองสบู่อย่างแน่นอน เนื่องจากบริษัทมีวินัยการเงินและไม่มีการลงทุนเกินตัว เพราะได้กำหนดนโยบายชัดเจนว่าจะต้องมีอัตราหนี้สินต่อทุน (ดีอี) ในระดับเท่าใด ซึ่ง ณ ไตรมาส 3/55 บริษัทมีดีอีที่ 0.7 เท่า จากสิ้นปี 54 ที่มีดีอี 0.5 เท่า เป็นผลจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในกรอบนโยบายของบริษัท ขณะเดียวกันบริษัทได้เตรียมเงินสดไว้ปีละ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสำรองโครงการลงทุนต่าง ๆ ด้วย

ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการจัดทำแผนงานในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 56-60) คาดจะประกาศได้ในปลายปีนี้ ในแผนงานนั้นจะเน้นนำสินทรัพย์ที่มีอยู่และได้ลงทุนไปแล้วเร่งดำเนินการให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย.

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 629

โพสต์

ลุ้นปีหน้าเลิกส่งออกน้ำมันดิบ
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, October 19, 2012


โพสต์ทูเดย์ -ส่งสัญญาณเลิกส่งออกน้ำมันดิบที่ผลิตในไทย บางจาก ออกตัวช่วยซื้อ ส่วน ปตท.ขอเวลาศึกษาข้อมูล

นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า บริษัท บางจากปิโตรเลียม ได้แจ้งให้ทราบจะขอรับซื้อน้ำมันดิบที่ผลิตในประเทศปริมาณ 2 หมื่นบาร์เรล/วัน เพื่อป้อนโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ เป็นการช่วยลดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบ จากปกติที่ส่งออก 3 หมื่นบาร์เรล/วัน เพื่อลดข้อสงสัยของนักวิชา

การที่ตั้งคำถามหลายครั้งว่า เหตุใดไทยต้องนำเข้าน้ำมันทั้งๆ ที่สามารถผลิตได้เองในประเทศ ในขณะที่ยังมีการส่งออกน้ำมันไปจำหน่ายต่างประเทศ

ปัจจุบันไทยมีแหล่งปิโตรเลียมที่ผลิตน้ำมันดิบได้ อยู่ที่ 1.5 แสนบาร์เรล/วัน แต่มีความต้องการใช้ในประเทศ 9 แสนบาร์เรล/วัน ทำให้ยังต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ แต่น้ำมันดิบที่ผลิตได้ก็ไม่สามารถใช้ในประเทศได้ทั้งหมด โดยมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 3 หมื่นบาร์เรลที่จำเป็นต้องส่งออก เนื่องจากมาตรฐานน้ำมันไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นในประเทศ

"ก่อนหน้านี้ ได้มอบหมายให้สมาคมโรงกลั่นน้ำมันไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการช่วยรับซื้อน้ำมันดิบในส่วนที่มีการส่งออกอยู่ในขณะนี้ ล่าสุดบางจากตอบรับแต่ ปตท.ขอไปศึกษารายละเอียดก่อน ซึ่งเชื่อว่าปีหน้าน้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศจะนำมาใช้เองทั้งหมด" นายทรงภพ กล่าว

สำหรับภาพรวมการใช้พลังงานของประเทศ แยกตามสัดส่วนชนิดเชื้อเพลิงพบว่า ความต้องการใช้น้ำมันดิบประมาณ9 แสนบาร์เรล/วัน โดยจัดหาจากภายในประเทศ 1.3-1.5 แสนบาร์เรล นำเข้า 7-8 แสนบาร์เรล ส่วนความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ อยู่ที่ 4,407 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน จัดหาจากภายในประเทศ 2,555 ล้าน ลบ.ฟุตนำเข้าจากพม่า 992 ล้าน ลบ.ฟุต นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) 98 ล้านลบ.ฟุต และจัดหาจากพื้นที่พัฒนาร่วม762 ล้าน ลบ.ฟุต

ด้านนายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. กล่าวว่า ปตท.อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพื่อช่วยรับซื้อน้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของต้นทุนราคาของน้ำมันดิบที่อาจจะสูงกว่าปกติ ต้องไปพิจารณาในเรื่องสัญญาซื้อขายที่เจ้าของแหล่งสัมปทานได้ตกลงไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนเรื่องคุณภาพน้ำมันดิบไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อโรงกลั่นสามารถปรับปรุงกระบวนการกลั่นได้

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 630

โพสต์

คอลัมน์: วิรัตน์ แสงทองคำ: ปตท. (1) ภาพกว้าง
Source - มติชนสุดสัปดาห์ (Th), Friday, October 19, 2012


เรื่องราว ปตท. น่าสนใจมากขึ้นๆ เป็นลำดับ ไม่เพียงสะท้อนความเป็นไปของธุรกิจไทยที่เติบโตอย่างมหัศจรรย์ ยังสะท้อนความเป็นไปของสังคมไทยในภาพใหญ่ หลายมิติ

เรื่องราว ปตท. มีมากกว่า 5 ตอน เป็นซีรี่ส์ชุดใหม่ของความพยายาม ศึกษา ปรากฏการณ์ จากข้อมูล ข่าวสารต่างๆ อย่างพรั่งพรู

เป็นบทสรุปจากข้อบกพร่องในข้อเขียนชุดใหญ่--โฉมหน้าธุรกิจไทยหลังปี 2540 โดยขาดเรื่องราวสำคัญ เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นใหญ่ แม้ว่าผมเคยเขียนถึง ปตท. มาบ้าง ให้ภาพเพียงกว้างๆ

ในฐานะองค์กร กำลังจะก้าวสู่ปีที่ 35

ปี2521 (29 ธันวาคม ) จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ในฐานะรัฐวิสาหกิจใหม่ภายใต้สถานการณ์อันยุ่งยากอย่างต่อเนื่อง สังคมไทยเผชิญวิกฤตการณ์น้ำมันถึงสองครั้งในช่วงไม่ถึง 10 ปี ด้วยการควบรวมกิจการรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ คือองค์การเชื้อเพลิง และองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย

ปตท. เกิดขึ้นในยุครัฐบาล พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ว่ากันว่าเกิดขึ้นค่อนข้างฉุกละหุก ภายใต้โครงสร้างถูกควบคุมโดยบริษัทน้ำมันต่างชาติ แต่ไม่สามารถนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้เพียงพอกับความต้องการ "เพื่อสร้างความสามารถและอำนาจในการจัดหาน้ำมันสำรองและจัดจำหน่าย เป็นช่วงเวลาเดียวกันภาคพื้นอาเซียนและทั่วโลก จะเห็นว่าเป็นช่วงเดียวกันกับที่มี ’กิจการน้ำมันแห่งชาติ’ เกิดขึ้นเพื่อต่อรองกับบริษัทต่างชาติ" บทสนทนาบางตอนจากผู้บริหาร ปตท. ในยุคก่อตั้งที่พอจำได้

ผู้บริหารคนสำคัญคนแรก ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ เข้ามาทำงานได้อย่างดี ในการรวมกิจการ-องค์การเชื้อเพลิง ซึ่งเดิมสังกัดกระทรวงกลาโหม กับองค์การก๊าซธรรมชาติฯ สังกัดกระทรวงการคลัง ซึ่งมีพันธสัญญากับบริษัทต่างชาติ อันเนื่องมาจากการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ปี 2527 ก่อตั้งบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ ดูเผินๆ เกี่ยวข้องกับ ปตท. ไม่มากนัก แต่แท้ที่จริงเป็นข้อต่อสำคัญมาก มีความเชื่อมโยงกันอย่างยาวนานตั้งแต่ ปตท. ก่อตั้งมาจนถึงยุคใหม่

การก่อตั้งบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ ถือเป็นจุดตั้งต้นสำคัญยุคใหม่ ด้วยความเชื่อของผู้มีอำนาจยุคนั้น ทั้งการสร้างโมเดลการสร้างระบบเศรษฐกิจ การสะสมความมั่งคั่งใหม่

"แผนแม่บทโครงการปิโตรเคมีของรัฐ ซึ่งก่อตั้งบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (National Petrochemical Corporation Ltd.หรือ NPC) เมือปี 2527 มีเป้าหมายสร้าง Petrochemical Complex ขั้นต้นของอุตสาหกรรม โดยนำก๊าซธรรมชาติที่เพิ่งถูกขุดขึ้นจากอ่าวไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตามความหวังอัน ’โชติช่วงชัชวาล’

ทั้งนี้ อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์อันหนักแน่นมั่นคงยุครัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยมี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้น เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญผลักดันอย่างแข็งขัน โดยคัดเลือกผู้ร่วมทุนฝ่ายเอกชนที่บุกเบิกทางการค้าและการผลิตในอุตสาหกรรมนี้ขึ้นมา 4 ราย เข้าร่วมโครงการปิโตรเคมีแห่งชาติ โดย ปตท. ถือหุ้นจำนวนมากกว่ารายอื่นในฐานะผู้มีตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ในการดูแลและจัดการเรื่องพลังงานของรัฐ" (จากเรื่อง ปตท. ที่น่าทึ่ง มติชนสุดสัปดาห์ ตุลาคม 2553)

ไม่มีใครคาดคิดว่ายุทธศาสตร์เดิมจะพลิกผัน บทบาท ปตท. ยุคใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในอีกสองทศวรรษ กลายเป็นเจ้าของเครือข่ายธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดแทนเครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี)

ในช่วงเวลาเดียวกัน ปตท. จัดตั้งบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท.สผ) เพื่อดำเนินการสำรวจ และผลิตปิโตรเลียม ถือว่ามีความสำคัญทั้งโมเดลกิจการ และการเข้าสู่วงจรตั้งต้นสำคัญของอุตสาหกรรม

จากจุดเริ่มต้นในฐานะ Holding company เข้าถือหุ้นในกิจการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันดำเนินการโดยบริษัทต่างชาติ จนพัฒนาตนเองกลายเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด (operator) ในเวลาต่อมา อีกด้านหนึ่ง ปตท. ถือหุ้น 100% ใน ปตท.สผ. ถือเป็นธุรกิจเต็มรูปแบบ เวลาต่อมาเป็นโมเดลที่น่าสนใจ เมื่อ ปตท.สผ. นำกิจการเข้าตลาดหุ้นในปี 2541 ถือเป็นบทเรียนความสำเร็จสำคัญในการระดมทุนจากตลาดทุน เป็นการชิมลางก่อน ปตท. จะเข้าสู่ตลาดหุ้นในเวลาต่อมา

ปี 2536 ปตท. ประกาศว่าสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับหนึ่งในธุรกิจค้าปลีกผลิตภัณฑ์น้ำมัน

เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เป็นความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในโมเดลการสร้างกิจการน้ำมันแห่งชาติ ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันภายใต้โครงสร้างมีทั้งอำนาจได้จากรัฐว่าด้วยจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงแล้ว ยังมีเครือข่ายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สามารถเอาชนะกิจการน้ำมันต่างชาติที่ปักหลักในประเทศไทยมานาน บางรายมากกว่าร้อยปี

ทศวรรษของบริษัทใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ปี2544 แปรสภาพรัฐวิสาหกิจ มาเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 โดยรับโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบ พนักงาน ลูกจ้าง และส่วนธุรกิจทั้งหมด (1 ตุลาคม 2544)

"พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ปี 2542 ตราขึ้นในสมัยชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นจุดเริ่มต้นที่ยังมองไม่เห็นภาพชัดเจนของยุคใหม่ของ ปตท.

’เป็นเครื่องมือของรัฐเมื่อมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจจากรูปแบบเดิมที่เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐ ... โดยการกระจายหุ้นที่รัฐถือไว้ให้แก่ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนและการบริหารจัดการในกิจการที่รัฐวิสาหกิจเดิมดำเนินการอยู่ได้ต่อไปในอนาคต’ บางตอนของหมายเหตุ ท้าย พ.ร.บ. นี้ว่าไว้"

ผมเคยสรุปเหตุการณ์สำคัญไว้แล้ว (อ้างแล้ว) เป็นที่รู้กันว่าปลายทางอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ

ในช่วงปลายปี 2544 ปตท. ได้เข้าซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงแรกดำเนินไปอย่างเป็นจังหวะและมีความสำคัญ "ในปี 2544 นอกจากจะได้รับการบันทึกเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์ของการพัฒนาขององค์กรแล้ว ยังเป็นปีแห่งความสำเร็จระดับชาติ เมื่อ ปตท. สามารถระดมทุนจากตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศได้ตามเป้าหมาย กว่า 30,000 ล้านบาท และได้รับการประกาศให้ได้รับรางวัลการ กระจายหุ้นยอดเยี่ยมแห่งปี หรือ The Best IPO of the Year โดยกี่สำรวจของนิตยสารไฟแนนซ์เอเชีย" สารจากประธานกรรมการ ปตท. (มนู เลียวไพโรจน์) จากรายงานประจำปี 2544

"หุ้น ปตท. เป็นหุ้นเด่นที่มีมูลค่าสูงสุดในตลาด

หลักทรัพย์ฯ และเป็นที่สนใจของนักลงทุน โดยมีมูลค่าประมาณ 517,445 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลค่าตลาด" สารจากประธานกรรมการ (เชิดพงษ์ สิริวิชช์) รายงานประจำปี 2546

"ในปี 2547 เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากวิกฤติครั้งใหญ่ที่ยืดเยื้อพอสมควร การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นในรอบสองทศวรรษ เช่นเดียวกับราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้น ปตท. ขยายตัวจากสินทรัพย์ระดับ 3 แสนล้านบาท ในปี 2545 เพิ่มเป็น 9 แสนล้านบาท ในปี 2547 จากกำไรประมาณ 24,000 ล้านบาท ในปี 2545 เพิ่มเป็นประมาณ 90,000 ล้านบาท ในปี 2548-2549 ขณะเดียวกันราคาหุ้นจากไม่ถึง 50 บาท ในวันเข้าตลาดหุ้นในปลายปี 2545 เพิ่มขึ้นทะลุ 400 บาท ในปี 2547" (จากงานเขียนของผม-อ้างแล้ว)

สอดคล้องกับบทวิเคราะห์และรายงานของ ปตท. เอง "การใช้น้ำมันในขยายตัวสูงสุดตั้งแต่ปี 2521 ที่ระดับ 82.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เช่นเดียวกับราคาน้ำมันดิบ (ดูไบ) ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในรอบ 20 กว่าปี จาก 26.8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 33.7 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 หรือ 6.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล กล่าวกันว่าปี 2547 เป็นปีที่เกิดวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งที่ 3" สถานการณ์ปิโตรเลียม รายงานระจำปี 2547

"เศรษฐกิจโลกในปี 2548 ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับกำลังการผลิตดึงราคาน้ำมันโลกให้สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์... ปี 2548 เป็นปี ปตท. ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานอย่างดียิ่ง อันเป็นผลจากการที่ ปตท. เข้าไปลงทุน ปรับโครงสร้างหนี้ และปรับโครงสร้างบริหาร ทั้งใน ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ตลอดช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา" สารจากคณะกรรมการ (ลงนามโดย เชิดพงษ์ สิริวิชช์ ประธานกรรมการ และ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการและเลขานุการ) รายงานประจำปี 2548

ปตท. มีรายได้ทะลุหลักล้านล้านบาทเป็นกิจการแรกของไทย เป็นการเติบโตประมาณ 10 เท่าเพียงทศวรรษเดียว ไม่เพียงเป็นความมหัศจรรย์ (ดูข้อมูลตามตาราง) หากถือว่าเป็นจังหวะก้าวกระโดดสำคัญ ในการขยายตัวด้วยโมเมนตัมแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ปตท. สามารถระดมทุนผ่านตลาดทุนอีกมาก นอกจากเข้าตลาดหุนครั้งแรกกว่า 30,000 ล้านบาทแล้ว ยังออกตราสารทางการเงิน (หุ้นกู้ ) จนถึงปัจจุบัน ปตท. ระดมทุนไปแล้ว เป็นเงินบาทมากกว่า 200,000 ล้านบาท เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอีกเกือบหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ และเงินเยนของญี่ปุ่นอีก 36,000 ล้านเยน

"โอกาสทางธุรกิจว่าด้วยยุคทองของกิจการด้านพลังงานเปิดกว้างขึ้น จากผลประกอบการที่ดี ได้กระตุ้นและเปลี่ยนแปลงเจตนารมณ์เดิมจากกิจการพลังงานที่ดูแลความมั่นคงในประเทศ ไปสู่ความทะเยอทะยานเป็นกิจการพลังงานระดับโลก"

ผมเคยสรุปเอาไว้เมื่อเกือบ 3 ปีที่แล้ว ดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น แต่ความเป็นไปในปัจจุบันขยายจินตนาการไปมากกว่านั้นมาก

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."