รวม "พม่า"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Jim Rogers เคยเล่าว่าในปี 1962 พม่าเคยเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในเอเซีย ในตอนนั้นคงไม่มีใครเชื่อหากบอกว่า อีกประมาณห้าสิบปีต่อมา Per Capita GDP ของพม่าจะต่ำกว่าของลาว

และเขมรเสียอีก เรียกได้ว่าต่ำสุดในกลุ่ม ASEAN จากรายงานล่าสุดของ Asian Development Bank (ADB) ในประชากร 1000 คนของพม่ามีแค่ 18 คนที่มียานพาหนะเป็นของตัวเอง

เทียบกับอินโดนีเซีย 250 คนและ ไทย 370 คน เราจะเห็นได้ว่ายังมีช่องทางที่พม่าจะพัฒนามาใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน ตอนนี้ราคารถยนต์ที่ถูกที่สุดของพม่าได้ลดลงจาก 100,000USD

ต่อคันมาเหลือแค่ 14,000 USD (source:Bloomberg) นโยบายเปิดประเทศได้ทำให้สินค้าต่างๆมีราคาถูกลง และ ผมเชื่อว่าการลงทุนและการบริโภคก็จะเติบโตตามมา ดังนั้นผมเลยตั้ง

กระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อชวนเพื่อนๆพี่ๆน้องๆthaiviรวบรวมข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับพม่าไว้ในที่เดียวเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลใช้ในการลงทุนต่อไปในอนาคตครับ :D
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอเริ่มด้วยรายงานล่าสุดจาก ASIAN DEVELOPMENT BANK นะครับ เพิ่งออกมาเมื่อเดือนสิงหาคมนี้เอง มีข้อมูลที่น่าสนใจหลายตัว

ใครสนใจสามารถ download ได้จาก link นี้ครับ

http://www.adb.org/sites/default/files/ ... sition.pdf
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 3

โพสต์

พม่าเตรียมเปิดธุรกิจประกันให้ต่างชาติลงทุนได้ในปี 2015

(Source:Reuters: http://in.reuters.com/article/2012/09/1 ... BM20120914)

(Reuters) - Myanmar will allow foreign investors into its insurance sector by around 2015 once local private insurers have had time to establish themselves, a senior government official told Reuters.

"We need to give these local companies a chance to gain some experience in this business. And then, we will allow foreign investors to do insurance. I think it will happen around 2015," Dr. Maung Maung Thein, deputy minister of finance and revenue, said on the sidelines of an investment forum in the nation's capital.

His comments come after the head of Prudential Plc (PRU.L), Britain's leading insurer, expressed interest in Myanmar, and roughly a week after Myanmar's government issued insurance licenses to 12 privately-owned domestic companies.

As Western economies slow and the developed economies in Asia become saturated, insurers are increasingly turning to Southeast Asia, drawn by its growing middle classes and lack of insurance policy holders.

Few in the industry expect major revenues from individual Southeast Asian countries, but they acknowledge the growth potential within the 10-member Association of Southeast Asian Nations (ASEAN).

Myanmar, with its population of around 60 million, is expected to post real GDP growth of around 6 percent over the next five years, according to the International Monetary Fund.

Prudential, which recently won in-principle approval from the Cambodian government to open a wholly foreign-owned life insurance operation there, said last month it was also considering a move into Myanmar. "We are looking all the time at global opportunities and Myanmar is on our radar," CEO Tidjane Thiam said.

The 160-year-old insurer generates 45 percent of its sales in Asia, and Thiam said less-developed Asian economies, where take-up of insurance is low, have stronger growth potential as more people will insure themselves and others will take on more cover.

European insurers will probably stay away from Myanmar at first, but the Japanese could be interested, said Fitch Ratings' Asia Pacific head of insurance Jeffrey Liew.

"You see insurers like Aviva(AV.L) pulling out of their non-dominant markets," he said. "European insurers are still exposed to sovereign debt crises in their home markets and need to preserve capital."

"The Japanese could be more aggressive. You see them venturing into Southeast Asia, especially Indonesia," Liew said, adding, however, that while foreign insurers may secure licenses they will be cautious about committing resources in a market with such a recent fractious past.

Both Sompo Japan Insurance Inc and Tokio Marine & Nichido Fire Insurance Co Ltd MILEAA.UL have representative offices in Yangon, according to the Insurance Directory of Asia 2013, published by the Asia Insurance Review.

Before the former military government launched a sweeping nationalization in 1963, there were more than 70 local and foreign private insurance companies operating in Myanmar. Only the government-owned Myanma Insurance Enterprise has been doing insurance business since then.

In the year to end-March, Myanma Insurance wrote gross premiums totalling 24.1 trillion kyat - around $28 million at official exchange rates.

(Reporting by Aung Hla Tun in NAYPYITAW. Additional reporting by Clare Baldwin in HONG KONG. Editing by Jason Szep and Ian Geoghegan)

SOUTH ASIAECONOMY
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 4

โพสต์

มาดู penetration ของ telecom segment ดูนะครับ (หากตัวเลขใดไม่ update ต้องขออภัยด้วย)

1) % ประชากรที่มีมือถือ 3%
2) % ประชากรมีโทรศัพท์ fixed line 1.3%
3) % ประชากรทีมี Internet Broadband 0.03%

รัฐบาลพม่ามีแผนที่จะเพิ่มจำนวนผู้ใช้มือจาก 3 ล้านคนในปีนี้(2012) เป็น40 ล้านคนในปี 2016 (SOURCE: Paul Budde Communication PTY Research)
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ไปพม่าต้องมีพันธมิตร
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, October 05, 2012
พณิตศรณ์ หวังจงชัยชนะ

บงกชรัตน์ สร้อยทอง



ชมรมบริหารความเสี่ยง สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยได้จัด Forum พิเศษ เตรียมความพร้อมให้บริษัทจดทะเบียน(บจ.) มองโอกาสและความเสี่ยงการเข้าไปลงทุนในพม่า และได้จัด "Risk Management Forum ครั้งที่ 2/2555 Myanmar:Crossroads of Asia: What Are The Business Opportunities? What Are The Risks" ขึ้นเมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเจาะลึกถึงโอกาสในการทำธุรกิจในประเทศพม่า

"สุรงค์ บูลกุล"ในฐานะประธานชมรมบริหารความเสี่ยงสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า บริษัทที่สนใจเข้าไปลงทุนในประเทศพม่าก็จะต้องเตรียมการวางแผนการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเริ่มต้นธุรกิจในประเทศพม่า การมองหาบริษัทร่วมทุน การมองหาพันธมิตร รวมถึงการศึกษาถึงอุปนิสัยและวัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจซึ่งล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญ

"สุรงค์" ยังกล่าวในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัทปตท. (PTT) ว่าในส่วนของปตท.มองว่าการไปลงทุนในพม่าเป็นโอกาสมากกว่าโดยเรื่องความเสี่ยงไม่มีเลย เนื่องจากบริษัทลูกคือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)ได้เข้าไปลงทุนในพม่าด้านการขุดเจาะแหล่งก๊าซธรรมชาติมานานจึง

มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งขณะนี้บริษัทก็พยายามดูและเชื่อมโยงการทำธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำคือการขุดเจาะกลางน้ำคือโรงกลั่น และธุรกิจปลายน้ำคือการบริการ

อย่างไรก็ดี ถ้าจะไปลงทุนในพม่าก็ควรไปลักษณะที่เหมือนญี่ปุ่นได้เข้ามาทำธุรกิจกับไทย ที่เข้าไปแล้วต้องไปในลักษณะให้การช่วยเหลือเขามากขึ้น หรือเป็นการร่วมกันพัฒนาอย่างเพื่อนเนื่องจากที่ผ่านมาเราใช้แหล่งก๊าซธรรมชาติพม่า ซึ่งขณะนี้บริษัทกำลังพิจารณาเบื้องต้นว่า รูปแบบที่เข้าไปคงเป็นการเข้าไปเสริมระบบไฟฟ้า เนื่องจากที่พม่าระบบไฟฟ้ายังมีปัญหาติดขัดซึ่งสวนทางกับความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเบื้องต้นถ้าจะไปคงเป็นที่ย่างกุ้งก่อนเพราะมีความต้องการมาก

นอกจากนั้น ยังมองว่าการเข้าไปพม่า จากนี้ไปบริษัทไทยควรเป็นพันธมิตรและเข้าไปลงทุนด้วยกัน โดยมองแผนธุรกิจอย่างเป็นระบบ เช่น การไปนิคมอุตสาหกรรมก็ควรไปด้วยกันทั้งหมดตั้งแต่ระบบพลังงาน การพาธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ของไทย หรือแม้แต่หน่วยงานภาครัฐของไทยได้ไปด้วย เช่น ถ้าไปลงทุนด้านโรงไฟฟ้าก็ควรไปกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)

"ชนิตร ชาญชัยณรงค์"รองผู้จัดการ สายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ตลท.ได้ไปพม่ามาตั้งแต่ก่อนที่พม่าจะมีการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการไปในแบบเดียวกันกับประเทศกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่มีมุมทั้งความเสี่ยงและโอกาสการลงทุน เพียงแต่ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถ "ตีโจทย์ได้แตก"ขนาดไหน

ที่ผ่านมามีบริษัทญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ได้เห็นโอกาสและเข้ามาลงทุนในประเทศพม่ามานาน โดยใช้เวลาคลุกคลีนานเป็นระยะเวลาหลายปี ทางสิงคโปร์กับเกาหลีใต้ส่วนใหญ่เป็นการเข้ามาลงทุนส่วนบุคคล (ไพรเวตอิควิตี) และเป็นการทำแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งทางเกาหลีได้เข้ามาฝังตัวและมีการตั้งโรงเหล็กอยู่ที่พม่าแล้ว ขณะที่ประเทศมาเลเซียได้เข้ามาทำโรงงานแบตเตอรี่เพราะมองว่าอนาคตถ้าพม่าเปิดให้มีรถใหม่เข้ามาในประเทศมากขึ้นธุรกิจแบตเตอรี่ก็ต้องบูมมากขึ้น ซึ่งตอนนี้มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือ 2

ขณะที่ด้านตลาดทุน พบว่าบริษัทหลักทรัพย์ไดวาของประเทศญี่ปุ่นได้เข้าไปเป็นพันธมิตรร่วมกันทำงานกับพม่ามานานแล้ว แต่ ตลท.ได้เริ่มเข้ามาเจรจากับพม่า 3-4 ปีมาแล้วเพราะคณะกรรมการ ตลท.ตั้งแต่ชุดก่อนให้นโยบายว่าควรให้ความสำคัญในการช่วยเหลือประทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่องทำให้เร็วๆ นี้ ตลท.และธนาคารกลางของทั้งสองประเทศจะมีการตกลงเซ็นสัญญาความร่วมมือในการพัฒนาให้ความรู้ความเข้าใจบุคลากรขึ้น

พม่าในปัจจุบันมีความคล้ายกับประเทศไทยเมื่อ30 ปีก่อนการที่ประเทศถูกปกครองด้วยระบบทหารฉะนั้นไม่เคยได้ทำธุรกิจมาก่อน ทำให้ต้องขายธุรกิจไปยังนักธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่ตระกูล ซึ่งปัจจุบันลูกหลานมีความรู้และเข้าใจในธุรกิจมากขึ้นเพราะได้ไปเรียนที่สหรัฐ ออสเตรเลียหรือสิงคโปร์

การที่นักลงทุนไทยจะไปลงทุนในประเทศพม่าถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก แต่พม่าก็มีความเสี่ยงในเรื่องของทรัพยากรบุคคลที่ยังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร เพราะคนที่มีช่วงอายุ35-45 ปีน้อยมาก ทำให้มีช่องว่างในช่วงอายุ ทำให้เกิดการพัฒนาหรือเดินเรื่องอื่นได้ลำบากโดยเฉพาะระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งรวมถึงแรงงานในพม่านั้นยังขาดทักษะในการทำงาน ซึ่งตรงจุดนี้ถือเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะส่งออกคนของเราไป

แต่การที่ไทยจะเข้าไปลงทุนในประเทศพม่า ควรเอา

รูปแบบของประเทศญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในบ้านเรา คือการเข้ามาอย่างจริงใจ และเข้ามาร่วมกันพัฒนาพม่าด้วย และจากการได้พูดคุยกับทางการพม่า ก็ได้เห็นถึงความจริงใจในการปฏิรูปประเทศให้มีการพัฒนามากขึ้น

ขณะเดียวกัน ทั้งโอกาสและความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ดังนั้นต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะอาจเกิดคำถามขึ้นมาว่าในที่สุดพม่าจะขาดความน่าสนใจเหมือนกับที่นักกลงทุนเคยแห่กันเข้าไปลงทุนในประเทศเวียดนามก่อนหน้านี้หรือไม่

"ปณิธาน ปวโรฬารวิทยา"กรรมการผู้จัดการ บริษัทบูติคนิวซิตี้ บริษัทในเครือสหพัฒน์ ให้มุมมองว่าถึงความเสี่ยงในการเข้าไปลงทุนในพม่ามีทั้งหมด 3 เรื่องคือ

ประการแรกความเสี่ยงที่ไม่ไป เพราะปัจจุบันพม่ามีอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจเพียง 3% แต่ในอนาคตหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ถึง 25% ขณะที่ประเทศไทยมีการขยายกำลังการผลิตได้เต็มที่แล้ว แต่ไทยกลับใช้แรงงานทั้งหมดถึง 5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า ทั้งนี้ในระยะนี้ควรฝึกงานแรงงานพม่าที่เมืองไทยเพื่อเตรียมตัวที่เอาคนที่ฝึกงานไปทำที่พม่า

ประการที่สองความเสี่ยงจากที่มีการคาดหวังมากเกินไป อย่างโครงการทวายที่หลายคนให้ความคาดหวังว่าโครงการนี้ใหญ่กว่าโครงการมาบตาพุดของไทย 10 เท่า

ประการที่สามความเสี่ยงเรื่องระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่นโยบายหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ยังไม่มีความมั่นคงและความพร้อมเท่าที่ควร ทำให้นัก

ลงทุนต้องศึกษาและติดตามการแก้ไขกฎหมายอย่างใกล้ชิดนอกจากนั้น มีปัญหาชนกลุ่มน้อยเพราะยังมีการสู้รบกันบ่อยขณะที่ระบบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าของทางการยังไม่เข้าถึงเท่าที่ควร

เครือสหพัฒน์มีร้าน 108 ช็อปในประเทศพม่า แต่บริษัทไม่ได้ไปขายของแต่เป็นในรูปแบบขายระบบ การไปทำธุรกิจจะเป็นลักษณะที่ต้องไปเป็นเพื่อนที่ทำโรงงานมาม่าร่วมกับเขา เพราะในอนาคตอาจให้เพื่อนคนนี้ได้เข้าไปทำธุรกิจได้

"การเข้าไปในพม่าเราต้องคำนึงถึงจิตใจเขาด้วย ไม่ได้เข้าไปสูบเลือดสูบเนื้อ ควรไปอย่างสุภาพบุรุษ แต่ก็ไม่ควรขี้อายเกินไป ซึ่งเหมือนเวลาที่ญี่ปุ่นมาทำธุรกิจกับไทยเขารักเมืองไทย เพราะเขาก็อยู่ในเมืองไทยมานาน ฉะนั้นก็ควรรักพม่าและการเข้าไปควรเลือกพันธมิตรดีๆ ด้วย" ปณิธาน กล่าว

"สุทธาภา อมรวิวัฒน์" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายการลงทุนของทางพม่าจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับบริษัทต่างชาติที่ไปจัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนในประเทศพม่า แต่บริษัทเหล่านี้จะมีแรงกดดันในเรื่องการระดมทุนในประเทศพม่าเนื่องจากสิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดสำหรับระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศพม่านั่นก็คือความเชื่อมั่นโดยพบว่ามีสัดส่วนเพียง 25% หรือ 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรนำเงินไปฝากไว้กับระบบธนาคารพาณิชย์

เมื่อประชาชนไม่มีความมั่นใจในเงินฝากทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีปัญหาทางด้านสภาพคล่อง ย่อมส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการลงทุน และการร่วมทุนของบริษัทร่วมลงทุน และแม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีธนาคารต่างชาติเข้าไปให้บริการ แต่ก็เป็นเพียงสำนักงานตัวแทน และในระยะต่อไปทางพม่าจะเปิดให้ธนาคารจากต่างชาติเข้าไปร่วมทุนกับธนาคารของพม่า

"โอกาสในการทำธุรกิจในพม่าถือว่ามีมาก แต่ก็ต้องให้กฎหมายมีความชัดเจน เช่นปัจจุบันชาวต่างชาติยังไม่สามารถถือครองที่ดิน ดังนั้นการยึดทรัพย์ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ รวมไปถึงการแข่งชันเชิงดอกเบี้ย ซึ่งทุกวันนี้ดอกเบี้ยเงินกู้และฝากยังไม่เกิดขึ้น และสุดท้ายคือเรื่องประกันกฎหมายก็ยังไม่ชัดเจนอยู่มาก" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ SCB กล่าว

ในภาวะที่กฎหมายยังไม่มีความจัดเจน ดังนั้นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจในพม่าขณะนี้คือ "Know Who" อย่างไรก็ตามการจะไปทำธุรกิจควรจะทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่ควรรีบร้อน โดยขั้นแรกอาจเป็นเพียงการเข้าขายสินค้าเพียงอย่างเดียวเพื่อทดลองตลาดขั้นต่อมาอาจเป็นการเข้าไปซื้อตัวแทนจำหน่ายที่จุดแข็งทางด้านการขนส่งและบริหารคลังสินค้าลำดับต่อมาจึงค่อยคิดเรื่องการเข้าไปร่วมลงทุนหรือการซื้อกิจการในประเทศพม่า

"สุทธาภา" กล่าวว่า การทำธุรกิจทั้งสามขั้นตอนนั้น ทางธนาคารหรือแม้แต่ SCB พร้อมให้การสนับสนุนในการให้คำปรึกษา และให้บริการเทรดไฟแนนซ์

อย่างไรก็ตาม พม่าจะเป็นประเทศที่มีโอกาสทางธุรกิจสูงแต่ก็มีความเสี่ยงสูงในเรื่องของการเมืองและข้อกฎหมายดังนั้นทางภาครัฐควรเข้ามาให้ความช่วยเหลือโดยควรเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า ไม่ควรปล่อยให้เอกชนลุยเดี่ยวไปเองเหมือนที่ผ่านมา

"วิรัตน์ ศิริขจรกิจ" หุ้นส่วน เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าวว่า ในอดีตเมื่อ30 ปีก่อน กฎหมายภาษีของไทยก็สามารถตีความได้ 3-4 มุม คล้ายกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับพม่าในขณะนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการตีความว่าจะมองมุมไหน และผลที่จะเกิดขึ้นมีความเสี่ยงอย่างไร และเท่าที่ได้มีโอกาสไปตรวจสอบฐานะทางการเงินการควบรวมกิจการในประเทศพม่า พบว่าธุรกิจไม่มีงบการเงินเล่มเดียว และการจะไปลงทุนในพม่าควรมองหาพันธมิตร


-จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4740
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ทันหุ้น - ITD แย้มหาพันธมิตรใหม่เพิ่มเข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าทวาย เผยเอกชนไทย-เทศรุมสนใจเข้าจองซื้อที่ดินในนิคมราวกว่า 600 ไร่ พร้อมส่งซิกเปิดโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรมเร็วขึ้นเป็นปี 2557 จากเดิมสิ้นปี 2558 หนุนธุรกิจแกร่ง นายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่าเพิ่มเติมนอกเหนือจากบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH เข้ามาร่วม 30% โดยจะนำส่วนที่ ITD ถือ 60% มาจัดสรรให้พันธมิตรใหม่เข้ามาถือหุ้น ทั้งนี้จะเร่งเปิดโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรมในประเทศพม่าให้เร็วขึ้นเป็นต้นปี 2557 จากเดิมที่กำหนดไว้ช่วงสิ้นปี 2558 ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของรัฐบาลพม่า โดยคาดว่าจะลงนามกับรัฐบาลพม่าภายในเดือนตุลาคมนี้เพื่อพัฒนาถนนและท่าเรือน้ำลึก ขณะที่ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรม ขณะนี้มีภาคเอกชนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศกว่า 60 ราย แสดงความสนใจจองซื้อที่ดินราวกว่า 600 ไร่ ส่วนโครงการก่อสร้างถนนที่มุ่งสู่โครงการทวาย ระยะทาง 160 กม. มูลค่าก่อสร้าง 1 พันล้านดอลลาร์ และโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย มูลค่าก่อสร้าง 2 พันล้านดอลลาร์ นั้นได้ผ่านกระบวนการรายงานผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว และรอรัฐบาลตอบกลับ โดยคาดว่าภายในเดือนตุลาคมนี้ บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนท์ (DDC) จะเซ็นสัญญากับรัฐบาลพม่าในการดำเนินโครงการก่อสร้างดังกล่าว โครงการทั้ง 2 ส่วนจะใช้เงินกู้จากญี่ปุ่น 80% ส่วน 20% มาจากการระดมทุนผ่าน SPV ที่รัฐบาลไทยจัดตั้งขึ้น จากนั้นจะโอนสิทธิการดำเนินการและสินทรัพย์ใน 2 โครงการนี้ไปยัง SPV ซึ่ง ITD จะเข้าถือ 25% และคาดว่าจะให้ญี่ปุ่นเข้าถือหุ้นอย่างน้อย 20% ในฐานะเจ้าหนี้ ส่วนผู้ถือหุ้นรายอื่นขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทยที่จะดึงเข้ามาใน SPV "ตอนนี้ความคืบหน้าที่ทวายคืบหน้าไปมาก รัฐบาลพม่าก็อยากที่จะเร่งให้เราทำเร็วขึ้นมาเป็นปี 2557 จากเดิมปี 2558 ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ส่วนการ SPV จะเป็นเจ้าของโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและถนนก่อน เพราะเราต้องการเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำและระยะยาว"นายเปรมชัย กล่าว หากการก่อสร้าง 2 โครงการดังกล่าวเสร็จก็จะนำไปสู่การพัฒนาโครงการ อื่นๆ ในทวายตามมา ได้แก่ โรงไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรม ระบบน้ำ ระบบไอที ทางรถไฟ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลพม่าพร้อมสนับสนุน เพราะต้องการให้โครงการทวายเกิดขึ้นได้โดยเร็ว ซึ่งกำหนดเปิดดำเนินการโครงการนิคมอุตสาหกรรมในทวายต้นปี 2557 จากเดิมกำหนดเปิดช่วงปลายปี 2558 ปัจจุบันมีผู้ประกอบการราว 60 รายสนใจติดต่อจองซื้อที่ดินในนิคมฯทวายแล้วกว่า 600 ไร่ โดยเป็นผู้ประกอบการไทย 57 ราย ในส่วนโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ขณะนี้ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น (AMATA) แสดงความสนใจเข้าร่วมการพัฒนาด้วย ด้านการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมเปิดประมูลรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ 3 เส้นทาง มูลค่าลงทุนรวมกว่า 1.4 แสนล้านบาท โดยต้นปีหน้าจะมีการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 25 กม. มูลค่าลงทุน 3.4 หมื่นล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 34 กม. มูลค่าลงทุน 5.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 เส้นทางจะเสนอ ครม.อนุมัติโครงการภายในปลายปีนี้ ส่วนความเคลื่อนไหวราคาหุ้น ITD ปิดตลาดวานนี้ (4 ต.ค.55) อยู่ที่ 3.82 บาท เพิ่มขึ้น 0.08% ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 386.58 ล้านบาท
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 7

โพสต์

"HYDRO" ราศีเศรษฐีจับ ฮุบงานยักษ์พม่าพันล้าน [ ทันหุ้น, 5 ต.ค. 55 ]

"ไฮโดรเท็ค" เปล่งแสงเจิดจรัส ใกล้ปิดดีลงานยักษ์ในพม่าเกินพันล้าน สัปดาห์หน้าจ่อเซ็นสัญญารับ
งานแรกบำบัดน้ำเสียนิคมอุตสาหกรรม 500 ล้านบาท เด้งสองอยู่ระหว่างรอผลประมูลงานพันล้านคาดได้
ข้อสรุปภายในปีนี้ พร้อมเดินหน้าสอยงานในไทยอีกพันล้านคาดกำไรทั้งปีกระหึ่มพุ่งทะยาน 50% จากปีก่อน
แง้มอยู่ระหว่างศึกษาแผนระดมทุนนำเงินรองรับโปรเจ็กต์ใหญ่ โบรกประเมินแนวต้าน 8.20 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ช่วงนี้งานเยอะ เลยไม่ค่อยมีเวลามานั่ง post
แต่เห็นคุณคนขายของตั้งใจ เลยช่วยเสริมข้อมูล
เพราะผมเข้าๆ-ออกๆ พม่ามาหลายรอบ เพราะมีโครงการที่ต้องทำในพม่า ตั้งแต่อองซานซูจี ยังโดนกักตัว


สิ่งที่เป็นห่วงไว้ล่วงหน้าที่ผมได้ยินระหว่้างอยู่ที่นั่น ตั้งแต่ไม่มีใครเคยคิดว่ามาจะมาเป็นจริงได้เร็วขนาดนี้
แต่ว่าตอนนี้ยังไม่เห็นมีใครพูดถึงคือ ทุกวันนี้ที่พม่า เรียกตัวเองว่าสหภาพพม่า เพราะหมายถึงเกิดจากการรวมหลากหลายชาติพันธุ์

ถ้าจะกลายเป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ต้องระวังไม่ให้เกิดกรณีแบบติมอร์เลสเต้ ขอแยกจากอินโด หรือทิเบตที่อยากแยกตัวจากจีน
การรวมกันอยู่ได้ของสหภาพพม่าตอนนี้ เพราะอำนาจปืน อำนาจทหาร ก็อย่างรัฐบาลจีนทำได้ เพราะไม่ใช่หลักการประชาธิปไตย
แต่ในพม่าไม่ได้มีแค่นั้น ทางการเองก็ยอมรับว่ามีความแตกต่าง เอกสารเป็นทางการระบุว่า สหภาพพม่าเกิดจากชนเผ่า รวมถึง 135 ชนเผ่า

ที่ผ่านมา เราถึงได้ยินการสู้รบระหว่้างชนกลุ่มน้อยกับทหารบ่อยๆ

ที่คลาสสิก เข้าหูคนไทยมากสุด คงเคยได้ยินเพลง "ฉานเสตท" ที่แอ๊ด คาราบาวแต่งเอามาร้อง
หมายถึงรัฐฉาน หรือไทยใหญ่ที่เป้นรัญพื้นที่ใหญ่สุด พรมแดนติดด้านตะวันตกไปถึงตอนเหนือของไทยยาวที่สุด
"เจ้ายอดศึก" ซึ่งเป็นผู้นำไทยใหญ่และผู้นำกองกำลัง SSA (Shan State Army) คนปัจจุบัน ก็เคยมาเป็นนักศึกษาจุฬาด้วย

นั่นเป็นแค่หนังตัวอย่างกรณีเดียวเท่านั้น

ใครสนใจ ที่เป็นเรื่องรวม มองภาพใหญ่ได้คือ ลองใช้ google หาคำว่า "สนธิสัญา ปางโหลง" หรือ เวียงปางหลวง ดู
http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8 ... 5%E0%B8%87

สรุปกว้างๆ คือชนเผ่าอื่น บอกว่า ถูกหลอกให้ผูกติดกับสนธิสัญญานี้ แล้วพอได้เอกราช ก็ไม่ปล่อยอำนาจ ชนเผ่าต่างๆ เลยต่อต้าน
ส่วนเผ่า "พม่า" จริงๆ ไม่ใช่คนทั้งประเทศ แต่มีอำนาจปกครองในมือ


ถ้าเปิด "แผนที่สหภาพพม่า" ตอนไหน เราจะเห็นการแบ่งการเขตแดนระหว่างจังหวัดหรือรัฐต่างจากประเทศอื่นๆ
ถ้าพื้นที่ไหน เรียก "State" หรือรัฐ นั่นคือแต่ละรัฐ มีเชื้อชาติหนึ่งที่เป็นกลุ่มใหญ่มาก
ที่เราคุ้นหูกัน ก็รัฐฉาน มอญ กระเหรี่ยง เป็นต้น
แต่ถ้าพื้นที่ไหน อยู่ได้อำนาจรัฐบาลกลางโดยสมบูรณ์ จะเรียก "Division" หรือเขต
ตัวอย่าง ลองไปดูใน wikipedia
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B% ... D.E0.B8.87


ช่วงนี้ ผมไม่ได้เดินทางไป แต่ก่อนหน้า เคยมีการร่างรัฐธรรมนูญ เคยมีเสียงค่อนขอดออกมาว่ารัฐธรรมนูญนี้ถ้าผ่านมา คงโดนชาวโลกหัวเราะเยาะ ตรงที่ว่าจะให้ผู้นำแต่ละรัฐเป็นนายก ถึงจะมีผู้นำสหภาพฯ เป็นประธานาธิบดีก็ตาม แต่จะเป็นประเทศที่มีนายกฯ มากที่สุดในโลกอย่างน้อย 7-8 คน


แต่นั่นมันก็รูปแบบหนึ่งของการปรองดอง ขึ้นกับเนื้อหาจริง ถ้าทุกรัฐ ทุกเผ่า ข้ามจุดขัดแย้งตรงนี้ไปได้ รับรองรุ่งอย่่างที่คนอื่นมอง เพราะความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน และอัญมณี (ถ้าไปถามวงการอัญมณี หยกมาจากพม่า ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในโลก)




เดี๋ยวอนาคตเสร็จจากโครงการสุดท้ายที่ผมจะทำให้เขา (น่าจะไม่เกินครึ่งปี) จะมีเวลามานั่งช่วย post เสริมข้อมูล ที่ออกไปลุยกันมาก่อน ในหลายๆด้าน

ตอนนี้เกริ่นนำเล็กน้อย ระบบสื่อสารที่คุณคนขายของพูดถึง ผมมีข้อมูลถึงขนาดว่าโครงข่ายใยแก้วเชื่อมต่อที่ไหนในประเทศ และใช้ supplier จากจีนบริษัทไหน วางตรงตำหน่งสถานี Latitude Longitude ไหนบ้าง เพราะผมเป็นทีมที่ไปติดต่อวางแผนระบบกับกระทรวงสื่อสาร

แต่ผมคงไม่เล่าจุดนั้น เพราะคงไม่มีประโยชน์ในแง่การลงทุน เอาไว้เป็นแค่ความรู้ประกอบ..... ที่พูดกว้างๆ ก่อนได้ว่าการสื่อสารมันอัตคัตทั้งโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต เพราะไม่เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ที่ผ่านมาทหารคุมกำเนิด กลัวเป็นเครื่องมือปลุกระดมถ้าการสื่อสารดี
อย่างเครืิอข่ายสื่อสารใยแก้วของกลาโหม มีมานานทั่วประเทศพอๆ กับของในไทย 3G ก็มีพร้อมๆ กับลาวและเขมร แต่ปล่อยให้คนระดับปกครองใช้กันไม่ถึง 50 เบอร์ ตั้งกำแพงการเพิ่มลูกข่ายมือถือทั่วไป ไปขอก็ต้องรอคิวยังไม่พอ ตั้งราคา SIM แพงมาก ต้องระวังไม่ให้ SIM หาย เพราะเหมือนทำทองหายเลยทีเดียว


จึงต้องคอยจับตากลุ่มสื่อสาร ว่าอาศัยสายสัมพันธ์เก่าได้ดีขนาดไหน ถ้าเปิดประเทศและสารพัดชนเผ่าสามัคคีกันได้จริง สื่อสารก็เป็นหนึ่งในขุมทองจริงๆ ที่ประชากรทั้ง "สหภาพพม่า" น้อยกว่าไทยไม่เท่าไหร่ แต่ตลาดยังแทบจะเรียกได้ว่าว่้างโล่ง ตัวเลข penetartion ที่คุณคนขายของพูดถึง แทบไม่ต้องตีความหรือหาความแม่นยำของตัวเลข เพราะสรุปว่าตอนนี้ ระบบสื่อสารมีก็แทบเหมือนไม่มี
แต่ก็อย่าคิดว่าไทยอยู่ใกล้ พม่าจะเป็นหมูในอวย คนพม่าฉลาดเก่งๆ มีเยอะ เราอย่าไปมองภาพคนพม่า โดยเอาคนด้อยการศึกษาที่มาเป็นชนชั้นแรงงานในประเทศเรา แล้วจะคิดว่าเป็นตัวแทนคนพม่าทั้งประเทศ
รัฐบาลไทยสมัยก่อน ที่ให้ soft loan ขนาดนั้น ยังไม่ได้โครงการอะไรใหญ่ที่ได้เป็นเจ้าของจริง การลงทุนของไทย เพิ่งมาเป็นอันดับสองรองจากจีน ครั้งแรกก็เมื่อได้ลงมือทำเขื่อน แล้วต่อมาก็ทวาย
ด้านโทรคมนาคมและ ICT ขนาดจีนพี่ใหญ่ บริจาคเป็นหลักร้อยล้าน "ดอลล่าร์" ยังทำได้แค่ขายอุปกรณ์เครือข่ายให้รัฐบาล กองทัพเวียดนามอาศัยความเป็นทหารด้วยกันจะไปขอทำมือถือ ก็ยังมือเปล่าเลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 9

โพสต์

Ii'8N เขียน:ช่วงนี้งานเยอะ เลยไม่ค่อยมีเวลามานั่ง post
แต่เห็นคุณคนขายของตั้งใจ เลยช่วยเสริมข้อมูล
เพราะผมเข้าๆ-ออกๆ พม่ามาหลายรอบ เพราะมีโครงการที่ต้องทำในพม่ารัฐบาล
ขอบคุณคุณ Ii'8N มากครับสำหรับข้อมูลในเชิงลึก เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะประเด็นของชนกลุ่มน้อยและการปกครองหลักรัฐบาลทหารเริ่มถอยมายืนหลังฉากแทน

ไว้ว่างอีกเมื่อไหร่ช่วยเข้ามา update ด้วยนะครับ :bow:
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 10

โพสต์

SWOT ANALYSIS ของสินค้าอุปโภคบริโภคไทยในตลาดพม่า (จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)

จุดแข็ง
สินค้าไทย เป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในสหภาพพม่า

จุดอ่อน
มีราคาที่ค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าในกลุ่มเดียวกันจากประเทศคู่แข่ง ซึ่งประเทศคู่แข่งที่สำคัญคือประเทศจีน

โอกาส
ลูกค้าพม่ามีค่านิยมชื่นชมและมีความจงรักภักดีต่อสินค้าไทย ชอบสินค้าอุปโภคบริโภคจากประเทศไทยเพราะเห็นว่ามีคุณภาพสูง

ความเสี่ยง
การถูกลอกเลียนแบบและถูกตัดราคาจากผู้ผลิตหรือผู้ขายจากประเทศคู่แข่ง
ระบบการขนส่งสินค้าจากไทยมายังสหภาพพม่าก็ยังไม่ค่อยสะดวกนักโดยส่วนใหญ่จะขนผ่านทางรถ ซึ่งจะทำให้มีความเสียหายเกิดขึ้น ในแต่ละเที่ยวการขนส่ง
ชาวพม่ามีกำลังซื้อน้อย เมื่อมีสินค้าราคาถูกทางเลือกใหม่อาจตัดสินใจทดลองและอาจซื้อซ้ำ
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
chode
Verified User
โพสต์: 590
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 11

โพสต์

7-11 น่าจะเริ่มเปิดที่ท่าขี้เหล็ก
ภาพประจำตัวสมาชิก
kabu
Verified User
โพสต์: 2149
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เคยเขียนบทความสั้นๆเกี่ยวกับประเทศพม่าไว้ครับ
http://kabuvi.wordpress.com/2012/03/30/ ... d-country/

ตอนนี้หลายๆบริษัทในประเทศญี่ปุ่นต่างให้ความสนใจกับประเทศพม่ามากๆ
โดยเฉพาะทางด้านค่าแรงที่ต่ำกว่าประเทศไทยค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตามถ้ามองถึงความพร้อมทางด้าน Infrastructure ที่ส่งผลต่อ Logistic cost ที่สูง
หรือมองถึง Total Initial Investment Cost ทั้งราคาที่ดินหรือออฟฟิสเช่าแล้ว ประเทศไทยยังดูมีภาษีมากกว่า

ตอนนี้รัฐบาลไทยกำลังดูเรื่องนโยบายให้ผลประโยชน์กับบริษัทที่มาลงทุนในกลุ่ม AEC และให้ประเทศไทยเป็น Regional Hub โดยส่วนใหญ่จะเป็นผลประโยชน์ทางด้านภาษี (อันนี้นอกเหนือไปจาก BOI)

โดยรวมแล้วก็น่าติดตามครับ สำหรับเป็นเทศพม่า น่าจะเป็นโอกาสกับหลายๆบริษัทในประเทศไทยที่จะขยายธุรกิจไปยังประเทศข้างเคียงแห่งนี้
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1464
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ผมเคยทำ research ไว้พอสมควร จะเอามาแปะ ๆ ไว้ครับ

เคยไปพม่า เห็น Homepro ของปลอมด้วย ทำเหมือนมาก :x ถ้าหารูปเจอจะแปะไว้ให้ดูครับ

อันนี้เป็น potential ประตูสินค้าจากไทยสู่พม่าเข้าทางบ้านพุน้ำร้อนครับ ถ้าสำเร็จก็จะช่วยให้สินค้าไทยเข้าได้ง่ายขึ้นมาก
dawei.JPG
อีกด้านคงเป็นด่านแม่สอด จ.ตาก ที่ Lotus ไปปักธงไว้แล้ว แต่ด้านนั้นศักยภาพน้อยกว่าเนื่องจากผ่านเทือกเขาหลายช่วง

ประตูทางเหนืออย่างแม่สายก็ไกลจากแหล่งผลิตสินค้าของไทยไปหน่อย
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 14

โพสต์

พม่าไฟเขียวภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานไฟฟ้า
(Source:http://www.bangkokbiznews.com)

ทางการพม่าอนุมัติให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบของกลุ่มผู้ผลิตอิสระ ในขอบเขตที่สามารถจัดการได้ เพื่อที่จะบรรเทาภาวะการขาดแคลนพลังงานภายในประเทศ ล่าสุด หนังสือพิมพ์นิวไลท์ ออฟ เมียนมาร์ รายงานโดยอ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่ด้านพลังงานว่า องค์กรเอกชนจะต้องผลิตไฟฟ้า 230 กิโลโวลท์ และ 66 กิโลโวลท์ เพื่อจัดหาไฟฟ้าให้สอดคล้องกับปริมาณที่ได้มีการกำหนด

แต่องค์กรต่างๆจะต้องดำเนินการผลิตพลังงาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน และหลีกเลี่ยงการผูกขาดทั้งนี้ พม่าต้องเผชิญกับวิกฤตด้านพลังงานนับตั้งแต่เดือนพ.ค. โดยมีการเดินขบวนประท้วงด้วยการจุดเทียนในเมืองต่างๆ เช่น ตองกัว มัณฑเลย์ โมนีวา บาโก ปาเย ร่างกุ้ง และปาเทียน
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
ภาพประจำตัวสมาชิก
kabu
Verified User
โพสต์: 2149
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 15

โพสต์

เส้นทางที่น้องหลินแปะไว้น่าสนใจครับ
ตอนนี้รัฐบาลไทยมีแผนพัฒนาถนนที่เชี่ยมต่อ พม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม เพื่อสนับสนุนการขนส่งทางรถยนต์
ถ้าตรงนี้เสร็จเรียบร้อย การหมุนเวียนของสินค้าคงทำได้ทั่วไปหมด โดยเฉพาะที่หลายๆบริษัทคาดหวังเอาไว้คือการส่งออกไปยังประเทศอินเดีย ผ่านท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่า

ลิงค์ด้านล่างเป็นแนวทางและนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆครับ ลองโหลดไปอ่านกันดู

http://www.thaiembassy.jp/rte1/images/s ... e_mod1.pdf
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ข่าวจากหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจครับ
พม่า..ลุยนา ไทย..ลุยโรงสี

นาทีนี้ใครก็อยากไปลงทุนพม่า ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างกลุ่มซีพี กลุ่มปตท.และกลุ่มเอสซีจี แต่ธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมก็อยากลอง
เพราะพม่ามีประชากรมากกว่า 80 ล้านคน เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปเป็นสินค้าได้มากมายหลายชนิด

ยกตัวอย่าง ปาล์มน้ำมัน สินค้าดาว รุ่งแห่งศตวรรษใหม่ ในพม่าปลูกกันมาก แต่ไม่มีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม จึงต้องนำเข้าน้ำมันปาล์มไปบริโภค การเข้าไปตั้ง โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มจึงน่าสนใจ รวมถึงโรงงานแปรรูปอาหาร แปรรูปสินค้าเกษตรทั่วไป

หรือโรงสีข้าวก็มีลู่ทางสดใส เนื่อง จากพม่ามีพื้นที่ปลูกข้าวจำนวนมาก เคยส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่มาเสียตำแหน่งแชมป์ให้ไทยเพราะการปิดประเทศ ถ้าพม่าหันมาปลูกข้าวมากขึ้น การ ใช้บริการโรงสีก็ต้องมากขึ้นเป็นธรรมดา

ปราโมทย์ วณิชานนท์ นายกกิตติม ศักดิ์โรงสีข้าวไทย เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่ามีโรงสีไทยนับไม่ถ้วนอยากเข้าไปตั้ง ในพม่า อย่างน้อย 30-40 บริษัท เริ่มเข้าไปดูลู่ทางแล้ว และน่าจะเข้าไปลงทุนภายใน 1-2 ปีนับจากนี้ มาตรฐานโรงสีไทยไม่แพ้ใครในโลกนี้ รัฐบาลพม่าจึง ไฟเขียวให้เข้าไปทำธุรกิจได้เต็มที่

“วันนี้มีอุปสรรคเรื่องเดียวคือไฟฟ้า ไม่เพียงพอ ติดๆ ดับๆ ทำให้มีปัญหาในการนึ่งข้าวไม่ต่อเนื่อง (ข้าวนึ่งคือข้าวที่อบแห้งก่อนนำไปสีเป็นข้าวสาร) โรงสีบางแห่งจึงคิดลงทุนตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าจากแกลบในพม่าด้วย ใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท ไม่เกิน 5 ปี ปัญหาไฟฟ้าจะหมดไป” นายปราโมทย์ กล่าว

นายปราโมทย์ กล่าวอีกว่า ข้าวพม่า มีเมล็ดสวย เพียงแต่สั้นกว่าข้าวไทย ความ ยาวประมาณ 6.5 มิลลิเมตร ในขณะที่ข้าวไทยความยาวของเมล็ด 7 มิลลิเมตรขึ้นไป โรงสีไทยแห่กันไปเพราะทำมาหา กินในเมืองไทยไม่ไหว เนื่องจากปัญหา มาก โดยเฉพาะเรื่องการรับจำนำข้าว โรงสีกลายเป็นลูกจ้างสีข้าวให้กับรัฐ เขาเลยคิดว่าย้ายไปพม่าดีกว่า

อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ความงาม ก็น่าสนใจ อีกสองธุรกิจที่ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำคือ ธุรกิจร้านอาหารและร้านน้ำชา ซึ่งชาวพม่าให้ความนิยมสูง

แต่เมื่อมีด้านบวก ก็ต้องมีด้านลบ

ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะเลขาธิการสภาธุรกิจไทย-พม่า แนะว่าการเข้าไปลงทุนในพม่าจะต้องพิจารณาข้อมูลสำคัญ คือ

กฎหมายการลงทุนที่มีรายละเอียดต่างจากประเทศอื่น รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนยังขาดความชัดเจน โดยกฎหมายการลงทุนฉบับเดิมมีขีดจำกัดด้านการลงทุนชาวต่าง ชาติหลายประการ เช่น ไม่สามารถถือหุ้นในกิจการได้ 100% นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถเช่าที่ดินจากเอกชนได้ ต้องเช่าจากรัฐ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม คนในพื้นที่บอกว่า พม่าได้ปรับปรุงกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่แล้ว และเริ่มใช้เมื่อ 3-4 เดือนที่ผ่านมา กฎหมายฉบับใหม่มีรายละเอียดแตกต่างจากฉบับเดิมคือ อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าถือหุ้นในบริษัทท้องถิ่นได้ 35-100% โดยผู้ที่ต้องการถือหุ้น 100% จะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียดในเรื่องสิทธิพิเศษทางภาษี กฎหมายฉบับใหม่กำหนดให้มีการลดหย่อนภาษีแก่นักลงทุนต่างชาติ 5 ปี จากเดิมที่ให้แค่เพียง 2 ปีเท่านั้น พร้อมกับอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าที่ดินจาก เอกชนได้จากเดิมเช่าได้เฉพาะที่ดินของรัฐ

ส่วนปัญหาอื่นก็อย่างเช่นอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันระหว่างในระบบและนอกระบบ ไฟฟ้าไม่เพียงพอกับความต้องการทำให้มีการสลับเวลาการใช้ไฟฟ้าในแต่ ละพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการลงทุนยังไม่พร้อม เช่น ท่าเรือ

ดร.นรินทร์ สาระโนทยาน กรรมการคณะทำงานการวางแผนแม่บทเศรษฐกิจการค้า ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ทุกคนเข้าใจว่าพม่าเป็นประเทศล้าหลังกว่าไทย 30 ปี แต่ผมอยากบอกว่าเขาไม่ได้ล้าหลังถึงขั้นนั้น การที่เขาปิดประเทศมายาวนาน และอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ แสดงว่าต้องมีดี

“สหภาพพม่ามีหลายปัจจัยดึง ดูดให้เข้าไปลงทุน ทั้งอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมเบา การผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค เป็นต้น”

อย่างไรก็ตาม ถ้าตัดสินใจจะเข้า ไปลงทุนจริงๆ ก็ต้องตรวจสอบรายละเอียดอย่างถ้วนถี่หลายๆ รอบ เพราะ คนที่เคยเข้าไปลงทุนเจ๊งกลับมายังมอง ว่าปัญหาเบี้ยบ้ายรายทางยังเป็นปัญหา ใหญ่ของพม่า เหมือนสโลแกน “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษา ข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน”
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ประวัติของอุตสาหกรรมเบียร์ในพม่า จาก website (http://www.myanmar2day.com)

http://www.myanmar2day.com/myanmar-life ... n-myanmar/

เบียร์ที่ขายดีที่สุดในพม่าตอนนี้ชื่อ Myanmar Beer มีโครงข่ายกระจายสินค้าครอบคลุมเมื่องใหญ่ เมืองเล็กในพม่า บริษัทนี้เป็น JV ระหว่างรัฐกับ F&N ซึ่งเป็นของ F&N โดยตรง

ไม่ขึ้นกับ APB ที่ขายให้ Heinekenไป

Beer culture in Myanmar
January 24, 2009


Last 20 years saw the establishment of beer culture in Myanmar. Before 1988, beer is a rare commodity in Myanmar. The government produced Mandalay beer was always in short supply. It was available only in a very few hotels and restaurants. Foreign brands like Heineken and Tiger beer were available in black markets at a high price. Most Myanmar people cannot afford to buy a can of beer then. With the opening of economy in 1988 saw the introduction of a number of locally produced beer brands in Myanmar. These Myanmar beer brands include Myanmar Beer, Mandalay Beer (now a private venture), Dagon Beer, as well as Tiger Beer, ABC Stout and Anchor Beer which are produced under license from the parent brands. With the introduction of cheap locally made beer, people in Myanmar saw a new trend of beer bars in Myanmar. Called Beer Stations in Myanmar, these sell beer at a cheaper price than bottled beer. They also sell food at a cheap price, but mostly are of low quality. Within a few years time, Myanmar Beer established itself as the most successful beer in Myanmar. Hundreds of Myanmar Beer stations appeared in Yangon, Mandalay and all over the country, even in small towns of Myanmar. As there are now more beer stations than the customers, some of the beer stations attract customers by live shows. These live shows invariably consist of scantily clad girls singing and dancing on stage, while the drunk rich men bought flowers and bouquet at an expensive price to give these singers. Call girls and prostitutes are also common in these places. Beer at these stations (bars) are also more expensive. As a result, most people in Myanmar cannot go to these expensive live show beer stations. For most of us who have some money, a normal beer station providing cheap beer and low quality food at a cheap price is enough.

Although beer culture has firmly established in Myanmar now, it is till uncommon to see many teenagers at the beer stations (bars). Most of the customers are yound adults or middle aged men. The reason mainly is possibly because of still higher price of beer for most teenagers. And beer culture still cannot take the place of Tea shop culture in Myanmar which has already become the everyday life for Myanmar people.
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ธ.โลก-เอดีบีประกาศลดหนี้พม่าเริ่มปีหน้า

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 12 ตุลาคม 2555 06:50

ธ.โลก-เอดีบีประกาศลดหนี้พม่าเริ่มตั้งแต่ม.ค. 2556

นายโกริกิ โจจิมะ รมว.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยวันนี้ว่า ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และธนาคารโลก จะเริ่มปรับลดหนี้ค้างชำระของพม่าในม.ค. ซึ่งถ้อยแถลงของนายโจจิมะ มีขึ้นเมื่อตอนต้นการประชุมกับทางการพม่าและจำหนี้รายใหญ่ ซึ่งจัดขึ้นในกรุงโตเกียว เพื่อหารือหาแนวทางการชำระหนี้ราว 900 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของพม่า

ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งมีเจ้าภาพคือญี่ปุ่นนั้น จัดขึ้นนอกรอบการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและองค์กรการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดทางให้ประชาคมโลกเริ่มมอบความช่วยเหลือการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบให้แก่พม่า ซึ่งเป็นประเทศโดดเดี่ยวมายาวนาน

การชำระหนี้ของพม่าให้แก่ธนาคารโลกและเอดีบี ถือเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของพม่า รอคอยมานาน โดยญี่ปุ่นเห็นชอบชำระหนี้ให้แก่พม่าราว 5 แสนล้านเยน แต่ยังไม่มีการออกโครงการบรรเทาผลกระทบ

นอกจากนี้ นายโจจิมะ ยังเรียกร้องให้นานาประเทศ ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาเศรษฐกิจแก่พม่าด้วย

พม่า เป็นหนี้เอดีบี 500 ล้านดอลลาร์ และเป็นหนี้ธนาคารโลก 400 ล้านดอลลลาร์ และประเทศต่างๆที่กู้ยืมจากเจ้าหนี้เหล่านี้ จะต้องสะสางหนี้ที่ค้างชำระก่อน จึงจะสามารถขอรับความช่วยเหลือทางการเงินรอบใหม่ได้

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B2.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 19

โพสต์

สายการบิน ANA เริ่มให้บริการเที่ยวบินจากญี่ปุ่นไปพม่าหลังจากหยุดมานานถึง 12 ปี

All Nippon Airways restarts Myanmar flights
(AFP) – 3 hours ago
TOKYO — Japan's All Nippon Airways (ANA) on Monday restarted direct flights to Myanmar's commercial capital Yangon after a 12-year hiatus, underscoring renewed interest in the fast-reforming nation.

อ่านข่าวเต็มได้ที่ link นี้ครับ
http://www.google.com/hostednews/afp/ar ... 90d977.301
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
ภาพประจำตัวสมาชิก
romee
Verified User
โพสต์: 1850
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 20

โพสต์

http://www.youtube.com/watch?v=A6sVETeqapw อันนี้เป็นรายการหนังพาไป เขาไปเที่ยวพม่า ได้เห็นแบบ scuttlebutt กันเลยทีเดียว
You only live once, but if you do it right, once is enough.
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 21

โพสต์

แรงงานพม่ากลับประเทศ ลุยสร้างสนามกีฬาซีเกมส์ ๒๕๕๖

แรงงานฝีมือต่างด้าวชาวพม่า ทยอยกลับบ้านเกิดมากกว่าปกติ เพื่อสร้างสนามกีฬา ต้อนรับการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ๒๕๕๖ คาดว่าต้องใช้แรงงานไม่ต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน

รายละเอียดข่าว http://www.thairath.co.th/content/region/298899
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 22

โพสต์

พม่าไฟเขียวบัตรเครดิตต่างชาติเปิดบริการ

พม่าอนุญาตบัตรเครดิตต่างชาติ วีซา มาสเตอร์การ์ด เจซีบี ยูเนียนเพย์ ให้บริการได้ หวังอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว-เดินทาง ด้านสหรัฐเตรียมเชิญพม่าเข้าร่วมสังเกตการณ์ซ้อมรบ "คอบราโกลด์"

หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์รายงานว่ากระทรวงการเงินและเงินได้ของพม่าอนุญาตให้มีการใช้บัตรวีซา มาสเตอร์การ์ดของสหรัฐ ยูเนียนเพย์ของจีน และเจบีซีของญี่ปุ่น เพื่อความสะดวกสำหรับการชำระเงินในประเทศ แต่ไม่ได้ระบุว่าจะเริ่มใช้ได้เมื่อไร

แผนกไปรษณีย์-โทรคมนาคมและบริษัทเมียนมาร์อินฟอร์เมชันเทคโนโลยี จะดูแลด้านเทคนิคสำหรับการให้บริการบัตรเครดิตตามธนาคารและเอทีเอ็มท้องถิ่น รวมถึงตามโรงแรมและภัตตาคาร

บริษัทบัตรเครดิตระหว่างประเทศไม่สามารถเสนอบริการในพม่าตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ตามเงื่อนไขการคว่ำบาตรเศรษฐกิจที่สหรัฐใช้กับพม่าในช่วงที่มีรัฐบาลทหารปกครองประเทศ แต่เมื่อเร็วๆ นี้สหรัฐได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินหลังจากเห็นว่าประธานาธิบดีเต็ง เส่ง จริงจังกับการผลักดันปฏิรูปการเมือง

การไม่มีบริการบัตรเครดิตถือเป็นเรื่องไม่สะดวกสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของพม่าที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะทำให้นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจต้องพกเงินสด

เมื่อเดือนที่แล้ว มาสเตอร์การ์ดลงนามข้อตกลงกับธนาคารโคออปเปอเรทีฟ หวังจะปูทางไปสู่การชำระเงินทางอิเลกทรอนิก อันเป็นการเคลื่อนไหวที่จะมีผลกระทบมหาศาลต่อการท่องเที่ยวและการเดินทาง

ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่จากประเทศที่เข้าร่วมการซ้อมรบ "คอบราโกลด์" เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่าสหรัฐจะเชิญพม่าเข้าร่วมสังเกตการณ์การซ้อมรบ "คอบราโกลด์" ซึ่งนับเป็นการแสดงท่าทีเชิงสัญลักษณ์ครั้งใหญ่ต่อพม่า

แหล่งข่าวเผยว่าการเชิญพม่าครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการติดต่อกับกองทัพพม่าอีกครั้งภายใต้บริบทของการเจรจาด้านมนุษยธรรม ทั้งยังถูกมองว่าเป็นก้าวแรกไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพสหรัฐกับกองทัพพม่าที่ตัดขาดไปเมื่อปี 2531 หลังจากทหารพม่าเปิดฉากยิงผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยและกักบริเวณนางออง ซาน ซูจี แกนนำเรียกร้องประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม แผนการนี้อาจเรียกเสียงกล่าวหาว่าสหรัฐเคลื่อนไหวเร็วเกินไปเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์กับกองทัพ ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนในดินแดนของชนกลุ่มน้อยอย่างคะฉิ่น

แผนการเชิญพม่าสังเกตการณ์ "คอบราโกลด์" มีขึ้นหลังจากคณะผู้แทนนำโดยนายไมเคิล พอสเนอร์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านสิทธิมนุษยชนประจำกระทรวงต่างประเทศ เดินทางไปกรุงเนย์ปิดอว์ และหารือกับพม่าเกี่ยวกับระดับและปฏิบัติการของสถาบันกลาโหมพม่ากับสหรัฐ รวมถึงแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการเจรจาและความร่วมมือในอนาคต
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ทูตไทยแนะเอกชนคว้า3ปีทองหา'ที่ยืน'ในเมียนมาร์

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2012 เวลา 22:37 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก - คอลัมน์ : เศรษฐกิจโลก


ในโอกาสที่เดินทางกลับมาประเทศไทยเพื่อร่วมการสัมมนา Invest in a New Myanmar – Time to Take the First Step! ซึ่งจัดโดยธนาคารกรุงเทพ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ท่านเอกอัครราชทูต พิษณุ สุวรรณะชฏ ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับโอกาส และข้อพึงระวังที่ผู้ประกอบการไทยควรตระหนักก่อนเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ ที่กำลังเปิดประเทศต้อนรับการลงทุนหลากแขนง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมการเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร ตลอดจนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมากที่จะก่อให้เกิดการสร้างงานในเมียนมาร์

ท่านทูตย้ำว่าโอกาสทองที่ผู้ประกอบการไทยควรจะรีบเข้าไปหา "ที่ยืน" ในเมียนมาร์ท่ามกลางกระแสแห่งการปฏิรูปนั้นคือระยะ 3 ปีนับจากนี้ เนื่องจากในปีหน้า (2556) เมียนมาร์กำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันซีเกมส์ ถัดไปปี 2557 เมียนมาร์ได้วาระเป็นประธานอาเซียน และปี 2558 ก็จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศ พลวัตการเปลี่ยนแปลงในช่วง 3 ปีสำคัญนี้เชื่อว่าจะเป็นพัฒนาการในเชิงบวกและเปิดโอกาสใหม่ๆให้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการลงทุน

+สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยพึงระวัง
กระนั้นก็ตาม พัฒนาการในเมียนมาร์ขณะนี้เป็นช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการทุกคนที่สนใจจะเข้าไปในเมียนมาร์ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะคนไทย จะต้องเจอแน่นอนคือข้ออุปสรรคอย่างน้อย 3 เรื่อง เรื่องแรกคือ ข้อมูลต่างๆที่จะใช้ตัดสินใจในเรื่องของการทำธุรกิจในเมียนมาร์นั้นยังมีอยู่อย่างจำกัดและหาได้ยาก เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีการทำเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนประชากร ข้อมูลด้านกำลังซื้อ และอื่นๆ ประการที่สอง คือเรื่องของต้นทุนการทำธุรกิจซึ่งยังสูงอยู่ แต่เป็นเรื่องปกติของประเทศที่เพิ่งเปิดใหม่ๆ ปัจจุบันค่าครองชีพในกรุงย่างกุ้งถือว่าสูงเป็นอันดับ 36 ของโลก ค่าครองชีพที่นั่นแพงกว่าที่ปารีสและมิลาน

นอกจากนี้ ราคาที่ดินในเมียนมาร์ยังถีบตัวขึ้นไป 230-330% เมื่อเทียบกับระยะเวลาปีครึ่งที่ผ่านมาในจุดที่มีศักยภาพทางด้านการผลิตและทางเศรษฐกิจ ที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือที่ย่างกุ้ง ราคาที่ดินแพงมาก ในทำเลทองที่ดินอาจราคาสูงได้ถึง 690 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 20,000 บาทต่อตารางฟุต (แต่ต่างชาติยังไม่สามารถซื้อที่ดิน ต้องทำสัญญาเช่า หรือซื้อผ่านบริษัทร่วมทุน) ส่วนเมืองใหญ่อื่นๆ ราคาค่าเช่าอาคารสำนักงานก็สูงขึ้นตามลำดับ เพราะกลไกตลาดกำลังทำงานอย่างเต็มที่ ความต้องการมีมากแต่ว่าปริมาณสิ่งที่ต้องการมีน้อย ราคาจึงแพงขึ้น
altบรรยากาศการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือนเมียนมาร์โดยสถาบันเดล คาร์เนกี้ ไทยแลนด์ เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่กล่าวมา ยังไม่รวมต้นทุนด้านอื่นๆที่กำลังเป็นพัฒนาการใหม่ๆในสังคมเมียนมาร์ เช่น ปัจจุบันนี้ มีการชุมนุมเรียกร้องในเรื่องของค่าแรง สวัสดิการแรงงานต่างๆ ซึ่งเริ่มมีเกิดขึ้นแล้วหลังจากที่เมียนมาร์เปิดประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย

ประการที่สามเป็นเรื่องของข้อกฎหมายต่างๆ ที่อาจจะไม่มีหรือมีเหมือนกันแต่ไม่ทันสมัย หรือมีแต่ยังไม่ครบถ้วน "จริงๆแล้วผมอยากจะเรียนเกี่ยวกับกฎหมายการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ที่กำลังมีการพูดถึงกันมากและเชื่อว่าจะผ่านการรับรองของรัฐสภาอีกครั้งภายในเดือนตุลาคมนี้และประกาศใช้เป็นกฎหมายภายในปีนี้ ว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่เป็นกฎหมายตัวเดียวที่จำเป็นเพราะว่าการทำธุรกิจมีปัจจัยรายละเอียดที่ต้องพิจารณาหลายด้าน เช่น ขนาดของธุรกิจจะเป็นเล็ก กลาง หรือใหญ่ แล้วประเภทของธุรกิจเป็นธุรกิจประเภทอะไร ขายสินค้ากินใช้ในครัวเรือน (consumer products) หรือเป็นการลงทุนผลิต หรือเป็นธุรกิจบริการ ฉะนั้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายการลงทุนของต่างชาติฉบับเดียวอาจจะไม่เพียงพอ อาจจะมีกฎหมายตัวอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น กฎหมายแรงงาน กฎหมายสวัสดิการและประกันสังคม กฎหมายภาษีศุลกากรประเภทต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดและผู้ประกอบการควรจะต้องให้ความสนใจ" ท่านทูตกล่าว

+ความตื่นตัวของเอกชนเมียนมาร์
เอกอัครราชทูตไทยประจำเมียนมาร์กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยต้องถือว่าโชคดีที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราได้พยายามประคับประคองและพัฒนาความสัมพันธ์กับเมียนมาร์มาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญก็คือ ทัศนคติของคนเมียนมาร์ส่วนใหญ่ที่มีต่อคนไทยนั้นเป็นไปในทางบวก และเป็นไปในทิศทางที่ดีมากขึ้นตามลำดับ สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย เอกชนของพม่าเองก็พร้อมที่จะเป็นหุ้นส่วนหรือพันธมิตรท้องถิ่นให้กับเรา ถามว่าเราจะหาหุ้นส่วนท้องถิ่นได้อย่างไร ทางสถานทูตอาจช่วยได้ในระดับหนึ่ง หากผู้ประกอบการแจ้งรายละเอียดและความต้องการเข้ามา อีกจุดคือสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาร์ (UMFCCI) ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทท้องถิ่น

"ผมคิดว่าสิ่งที่นักธุรกิจไทยควรจะได้ใคร่ครวญดูให้ดีก็คือในช่วงสามปีต่อจากนี้น่าจะเป็นสามปีทองสำหรับประเทศไทย เราควรจะเข้ามาหาที่ยืนในเมียนมาร์ ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ เข้าไปเล็กๆก่อนก็ได้ แล้วค่อยต่อยอดธุรกิจในภายหลัง หากลังเลชักช้าก็อาจจะไม่ทันยกตัวอย่างโคคา-โคลาและเป๊ปซี่ ซึ่งตัดสินใจกลับเข้าไปในเมียนมาร์อีกครั้ง เขาก็ไปจ้างโรงงานท้องถิ่นผลิตก่อนก็ได้ หรือเราอาจจะเข้าไปร่วมทุนเพื่อขยายการผลิตที่ท้องถิ่นเขามีอยู่แล้ว อย่างนี้เป็นต้น"

หรือการเข้าไปทำธุรกิจแฟรนไชส์ก็มีความเป็นไปได้สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อย่างเวลานี้ก็มีผู้ประกอบการไทยเข้าไปขยายสาขาร้านก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยอยู่ในเมียนมาร์แล้ว อีกด้านที่มีศักยภาพและไทยควรเข้าไปให้มากขึ้นคือด้านโรงแรมและการท่องเที่ยวซึ่งเมียนมาร์กำลังบูม ผู้ประกอบการไทยควรเข้าไปดูลู่ทางและศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวขึ้นในเมียนมาร์ เพราะเขามีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่ยังสดและสมบูรณ์มาก เพียงแต่ต้องการทุนและโนว์ฮาวเข้าไปพัฒนา เมียนมาร์ยังต้องการสิ่งรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวอีกมาก เช่นจำนวนห้องพักและโรงแรม รีสอร์ตต่างๆ ปัจจุบัน รัฐบาลเมียนมาร์มีแผนขอจดทะเบียนสถานที่ต่างๆจำนวนมากภายในประเทศให้เป็นมรดกโลก เช่น เชียงตุงที่มีความบริสุทธิ์สวยงามคล้ายหลวงพระบาง นอกจากนี้ เมียนมาร์ยังมีเมืองชายทะเลในรัฐยะไข่ที่เป็นแหล่งปะการังงดงามและสมบูรณ์ และอาจจะมีน้อยคนที่รู้ว่า ในเมืองพูอาโต้ของเมียนมาร์มีสกีรีสอร์ตแห่งเดียวในอาเซียน เมียนมาร์เป็นหนึ่งในสองประเทศของอาเซียนที่มีหิมะตก อีกประเทศคือเวียดนาม แต่เวียดนามยังไม่มีสกีรีสอร์ต

อีกเมืองหนึ่งของเมียนมาร์ที่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวของไทยควรให้ความสนใจคือ มัณฑะเลย์ ซึ่งมีสนามบินนานาชาติใหญ่กว่าที่ย่างกุ้ง และมีเที่ยวบินตรงจากไทยไปยังมัณฑะเลย์ จากที่นี่สามารถเดินทางด้วยรถไปยังเมืองหลวงเนย์ปิตอว์ใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง ซึ่งสะดวกกว่าการเดินทางจากย่างกุ้งไปยังเนย์ปิตอว์ซึ่งต้องเสียเวลาถึง 4 ชั่วโมง ขณะนี้มีหลายประเทศจับจ้องอยากเข้าไปพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรมในเมียนมาร์กัน ผมจึงอยากกระตุ้นเตือนให้ผู้ประกอบการของไทยซึ่งมีความเชี่ยวชาญและเก่งในธุรกิจด้านบริการอยู่แล้ว ได้มองเห็นโอกาสดีๆที่มีอยู่และเข้าไปใช้โอกาสที่มีอยู่นี้ให้เกิดประโยชน์ก่อนที่จะแน่นขนัดไปด้วยคู่แข่ง

+กุญแจสองดอกสู่ความสำเร็จ
ท่านทูตพิษณุกล่าวว่า สิ่งที่น่าจะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จสำหรับการทำธุรกิจในเมียนมาร์นั้นมีอยู่สองเรื่องด้วยกัน นั่นคือ หนึ่ง ผู้ประกอบการไทยควรตระหนักถึงการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควรมีกิจกรรมด้านซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility) โดยไม่ต้องรอว่าต้องทำธุรกิจให้ได้กำไรก่อนแล้วค่อยแบ่งงบมาทำซีเอสอาร์ เพราะนอกจากจะทำให้การดำเนินธุรกิจมุ่งไปในทิศทางที่มีวิสัยทัศน์ในระยะยาวและยั่งยืนแล้ว ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ ความไว้เนื้อเชื่อใจและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรธุรกิจนั้นๆ "ถ้ายังมีงบไม่มากสำหรับการทำกิจกรรมซีเอสอาร์ หรือไม่แน่ใจว่าจะเริ่มอย่างไร ผมแนะนำว่าให้ผู้ประกอบการมาร่วมกิจกรรมกับทางสถานทูตซึ่งมีการจัดกิจกรรมด้านซีเอสอาร์ในเมียนมาร์หลายกิจกรรมด้วยกัน เราจะขึ้นป้ายชื่อหรือโลโกบริษัทให้อย่างเด่นชัดเพื่อที่จะเป็นการสร้างความรับรู้ให้คนเมียนมาร์ได้รู้จักบริษัทของไทย" ท่านทูตยังกล่าวด้วยว่า ระหว่างวันที่ 10-14 กันยายนที่ผ่านมา ทางสถานทูตได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับข้าราชการพลเรือนระดับสูงจากหลายกระทรวงของเมียนมาร์ โดยได้รับความสนับสนุนจากบริษัท เดล คาร์เนกี้ ไทยแลนด์ฯ ในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรรองรับการพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงในเมียนมาร์ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและผู้เข้ารับการอบรมต่างอยากให้มีการจัดกิจกรรมแบบนี้ขึ้นอีกเพราะเป็นประโยชน์อย่างมาก และเป็นโอกาสที่หาได้ไม่ง่ายนักในเมียนมาร์ซึ่งถูกโลกตะวันตกแซงก์ชันมานาน ที่บุคลากรจะได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรที่ทันสมัยระดับสากลอย่างของเดล คาร์เนกี้

ส่วนกุญแจความสำเร็จดอกที่สองคือ การหาหุ้นส่วนหรือพันธมิตรท้องถิ่นที่ดี ดังที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่า หุ้นส่วนท้องถิ่นที่ไว้วางใจได้ จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจในเมียนมาร์มีความสะดวกและง่ายขึ้น แต่กว่าจะหาพบ ผู้ประกอบการไทยก็จะต้องเข้าไปลงพื้นที่ ไปทำความรู้จักและมองหาหุ้นส่วนที่ใช่ด้วยตัวเอง ซึ่งไม่ใช่เพียงครั้งสองครั้ง แต่ควรจะให้ความสำคัญและเข้าไปสำรวจโอกาสที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด "ก่อนลงพื้นที่จริง ผู้ประกอบการอาจหาข้อมูลเบื้องต้นและเตรียมความพร้อมจากเว็บไซต์ของสถานทูต (http://www.thaiembassy.org/yangon) ที่รวบรวมและประมวลข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ไว้ให้แล้วในระดับหนึ่ง"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,875 วันที่ 21-24 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 788
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 24

โพสต์

วาโก้ศึกษาลงทุนตั้งโรงงานในพม่าพร้อมกลุ่มสหพัฒน์รับ​เออีซี
updated: 06 ก.ค. 2555 เวลา 16:24:33 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

นายธรรมรัตน์ ​โชควัฒนา กรรม​การ บมจ.​ไทยวา​โก้(WACOAL)​เปิด​เผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษา​เรื่อง​การ​เข้า​ไปจัดตั้ง​โรงงานผลิตสินค้า​ในประ​เทศพม่า ​เพื่อรองรับ​การ​เกิดประชาคม​เศรษฐกิจอา​เซียน(AEC)​ในปี 58 ​โดย​เบื้องต้นคง​เข้า​ไปลงทุนพร้อมกับกลุ่มบมจ.​ไอ.ซี.ซี.อิน​เตอร์​เนชั่น​แนล(ICC) ​ซึ่งอยู่​ใน​เครือสหพัฒน์ด้วยกัน

​ในปีนี้บริษัทตั้ง​เป้ายอดขายปี 55 ​เติบ​โต​ไม่ต่ำกว่า 10% ​หรือมียอดขายกว่า 3 พันล้านบาท ​แม้​ในช่วงครึ่งปี​แรกยอดขายจะต่ำกว่า​เป้าหมาย​โดย​เติบ​โต​เพียง 4-5% จากช่วง​เดียวกันของปีก่อน ​เนื่องจากอยู่​ในช่วงของ​การปรับตัวหลังบริษัทหันมาผลิตสินค้าที่​เป็น​แฟชั่นมากขึ้นตั้ง​แต่ปี 54 ที่ผ่านมา ​จึงต้อง​ใช้​เวลา​ใน​การ​ทำตลาดพอสมควร

​แต่​เชื่อว่ายอดขาย​ในช่วงครึ่งปีหลังจะสูงกว่าช่วงครึ่งปี​แรก ​โดย​เป็น​ไปตามฤดูกาล ประกอบกับ บริษัทมี​แผนออกสินค้า​ใหม่ๆ ​ซึ่งจะมี​การปรับ​เปลี่ยนสินค้า​ให้ทันสมัยมากขึ้น รวม​ทั้งจะมี​การ​ทำ​การตลาด​และขยายช่องทางขายอย่างต่อ​เนื่อง

"ครึ่งปี​แรก​เรา​โตน้อยกว่า​เป้า อาจจะ​เป็น​เพราะสินค้ายัง​ไม่ตรง​ใจกับลูกค้า หลังปีที่​แล้ว​เราหันมาผลิตสินค้าที่​เป็น​แฟชั่นมากขึ้น ​ซึ่งสินค้า​แฟชั่นค่อนข้างมี​ความ​เสี่ยง ถ้า​โดน​ใจลูกค้า​ก็คือ​ใช่​เลย ​แต่ถ้า​ไม่​โดน​ก็ลำบาก ​เรา​ก็ต้องปรับตัว​ไป​เรื่อยๆ"นายธรรมรัตน์ กล่าว

​ทั้งนี้ ​การที่บริษัทผลิตสินค้าที่​เป็น​แฟชั่นมากขึ้น ​จึง​ทำ​ให้สัดส่วนยอดขาย​ในกลุ่มวัยรุ่น​เพิ่ม​เป็นกว่า 30% ​ในปีที่ผ่านมา จากอดีตมีสัดส่วน​แค่ประมาณ 10%
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 25

โพสต์

พม่าได้ใช้ตู้เอทีเอ็มเป็นครั้งแรก

26 ต.ค. 2555 เวลา 15:33:56 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ธนาคารความร่วมมือแห่งพม่า หรือ CB Bank ได้เริ่มติดตั้งเครื่องกดเงินสด หรือเอทีเอ็ม ในนครย่างกุ้งของพม่า โดยแต่ละเครื่องจะบรรจุเงินสดพร้อมให้เบิกได้อยู่ประมาณ 300,000บาท

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา พม่าก็เพิ่งจะมีบัตรเดบิตใช้เป็นครั้งแรกในประเทศ ทำให้ชาวพม่าต้องเริ่มหัดจับจ่ายซื้อของกันด้วยบัตรพลาสติกเป็นครั้งแรก ซึ่ง จะเป็นการส่งเสริมการใช้เงินในประเทศมากขึ้น ด้าน ธนาคารความร่วมมือแห่งพม่า หรือ CB Bank ระบุว่า ในแต่ละวัน จะมีลูกค้ารายใหม่ๆ ขอมาลงทะเบียนใช้บัตรเดบิต ไม่ต่ำกว่า 250 ราย ซึ่งทางธนาคารคาดว่า อีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ จะเตรียมนำเครดิตการ์ด มาให้บริการชาวพม่า หลังจาก CB Bank และมาสเตอร์การ์ด ตกลงกันได้สำเร็จ ซึ่งผู้บริการของ CB Bank คาดว่า น่าจะทำให้เศรษฐกิจของพม่าขยายตัวขึ้นอย่างมาก

ขณะที่บรรดานักธุรกิจของพม่ากำลังหาช่องทางใหม่ๆ เพื่อทำให้การติดต่อทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารให้สะดวกและรวดเร็วยิ่ง ขึ้น ซึ่ง ทาง CB Bank จะเพิ่มจำนวนตู้เอทีเอ็มให้ได้ 27 ตู้ภายในปีนี้ อีกด้วย

ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0000
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 26

โพสต์

แบงก์โลกพร้อมอัดฉีดพม่า $245 ล้าน เป็นครั้งแรกใน 25 ปี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2555 07:59 น.


นางพาเมลา ค็อกซ์ รองประธานธนาคารโลกฝ่ายเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (กลาง) นางคาเรน ฟินเคลสตัน (Karin Finkelston) รองประธาน IMF ฝ่ายเอเชียแปซิฟิก (ซ้าย) กับนายคาร์ล แฮนลอน (Carl Hanlon) ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสารของเวิลด์แบงก์ ระหว่างแถลงข่าวในกรุงย่างกุ้งวันที่ 1 ส.ค.2555 ครั้งนั้นแบงก์โลกได้ประกาศจะช่วยพม่า 85 ล้านดอลลาร์เป็นเงินทุนเพื่อการพัฒนา ช่วยประเทศนี้ชำระหนี้สินที่ติดค้างอยู่กับสถาบันการเงินแห่งนี้ วันพฤหัสบดี 1 พ.ย.ที่ผ่านธนาคารโลกำด้ประกาศแผนการที่ใหญ่กว่า ยื่นความช่วยเหลือให้ประเทศนี้รวม 245 ล้านดอลลาร์. -- AFP PHOTO / Ye Aung Thu
.

วอชิงตันดีซี (รอยเตอร์) -- ในวันพฤหัสบดีธนาคารโลกได้อนุมัติสินเชื่อกับเงินช่วยเหลือให้เปล่าแก่พม่ารวม 245 ล้านดอลลาร์ ภายใต้แผนการทำงาน 18 เดือน ซึ่งเป็นการปล่อยกู้ให้กับประเทศนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี อันเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งของการเปิดศักราชใหม่หลังการปกครองโดยระบอบทหาร

คณะกรรมการของแบงก์โลกได้อนุมัติยุทธศาสตร์ใหม่ในการประชุมในกรุงวอชิงตันดีซี ซึ่งจะชี้นำแนวทางการทำงานของสถาบันการเงินแห่งนี้ในพม่า เวิลด์แบงก์ยังอนุมัติเงินช่วยเหลือให้เปล่า 80 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการพัฒนาชนบทอีกด้วย

พาเมลา ค็อกซ์ รองประธานเวิลด์แบงก์ฝ่ายเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าวว่า พม่าจะได้รับเงินอีก 165 ล้านดอลลาร์ ทันทีเมื่อ การชดใช้หนี้สินที่ค้างอยู่ ราว 400 ล้านดอลลาร์เรียบร้อยแล้ว การเจรจาหารือเกี่ยวกับการปล่อยกู้ 165 ล้านดอลลาร์จะมีขึ้นในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

"บนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ดังกล่าวเราได้เพิ่มการสนับสนุนให้แก่การปฏิรูปที่เราได้เน้นถึง เพื่อสร้างโอกาสต่างๆ ให้แก่ประชาชนชาวพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ยากจนและกลุ่มที่มีความสุ่มเสี่ยงต่างๆ" นางค็อกซ์บอกกับผู้สื่อข่าวในห้องประชุม

โฆษกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) ผู้หนึ่งกล่าวในขณะเดียวกันว่า IMF จะส่งคณะเจ้าหน้าที่เข้าพม่าในต้นเดือน พ.ย.นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการเฝ้าตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ โดยแผนการนี้จะไม่รวมอยู่ในการช่วยเหลือทางการเงิน แต่เพื่อช่วยพม่าจัดการกับปัญหาการเงินในกลุ่มประเทศผู้ปล่อยกู้ หรือ Paris Club of creditors.

หลังการปกครองอันโหดร้ายโดยเผด็จการทหารเป็นเวลา 5 ทศวรรษพม่าได้ทำให้โลกตะลึงด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจกับประชาธิปไตยอย่างรวดเร็ว ซึ่งนำไปสู่การผ่อนคลายการคว่ำบาตรโดยสหรัฐและสหภาพยุโรป เพื่อส่งเสริมการปฏิรูปขั้นต่อไป

ภาพพจน์เลวร้ายของพม่าเปลี่ยนไปจากการปล่อยนางอองซานซูจีพ้นจากการกักบริเวณภายในบ้าน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2534 ได้ไปเยือนสหรัฐในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา นางได้รับรางวัลเหรียญทองรัฐสภาสหรัฐ (US Congress Gold Medal) และ เรียกร้องให้สหรัฐผ่อนคลายการคว่ำบาตรและสนับสนุนขบวนการปฏิรูปในพม่า

พม่าเป็นประเทศยากจนอันดับ 2 ในเอเชีย แต่เมื่อเปิดกว้างเศรษฐกิจได้กลายเป็นหน้าด่านสุดท้ายแห่งหนึ่งในเอเชียทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยความรุ่มรวยทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและด้านอื่นๆ

"ผมประทับใจการปฏิรูปที่เกิดขึ้นในพม่าและสนับสนุนให้รัฐบาลผลักดันต่อไปด้วยพลังความพยายาม" นายจิมยองคิม (Jim Yong Kim) ประธานธนาคารโลกกล่าวในคำแถลงฉบับหนึ่ง

ยุทธศาสตร์ของเวิลด์แบงก์จะช่วยเหลือพม่าในการบริหารควบคุมเศรษฐกิจและสร้างเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับประเทศนี้เพื่อการเติบโตและการสร้างงาน โดยจะเน้นไปยัง 3 ขอบเขตด้วยกันได้ซึ่งก็คือ งบประมาณกับการใช้จ่ายเงินรัฐ การปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อสร้างเสริมความโปร่งใสและการพัฒนาภาคเอกชน

ธนาคารโลกยังเกี่ยวข้องในการศึกษาวิเคราะห์ซึ่งรวมทั้ง การตรวจสอบทางการเงิน ตรวจตราการใช้จ่ายของภาครัฐและการประเมินบรรยากาศของการลงทุน

นางค็อกซ์กล่าวว่าความพยายามของเวิลด์แบงก์จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของประชาคมระหว่างประเทศต่อพม่าให้สูงยิ่งขึ้น

ประเทศนี้เพิ่งเปิดตัวเองออกสู่โลกหลังเกือบ 50 ปีของการปกครองโดยทหาร นักลงทุนระหว่างประเทศกำลังเข้าแถวเพื่อเข้าไปใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มากมาย บริษัทในเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจีน ไทย และอินเดีย ได้นำหน้าการลงทุนจากต่างประเทศในแขนงน้ำมันและก๊าซ แม้ว่าทั้งเชฟรอนและโตตาลจะมีกิจการอยู่ในพม่าด้วยก็ตาม

"สิ่งหนึ่งในหลายสิ่งที่เราจะต้องดำเนินการก็คือ ทำให้เกิดมีความโปร่งใสขึ้นที่นั่น" นางค็อกซ์กล่าว ทั้งยังระบุอีกว่ารัฐบาลพม่าได้เริ่มดำเนินการเผยแพร่เกี่ยวกับเงินงบประมาณของรัฐแล้วเมื่อต้นปีนี้

นอกจากนั้นพม่ายังได้ลงนามเข้าร่วมใน Extractive Industries Transparency Initiative หรือ EITI อันเป็นแผนการระหว่างประเทศที่ช่วยประเทศต่างๆ พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรกับความรุ่มรวยต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น อีกด้วย.

ที่มา http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews ... 0000133971
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ประจำวันที่ 30 ตุลาคม 2555


Summary:

1. พม่าตั้งเป้าเพิ่มการส่งออกข้าวจาก 1.5 ล้านตัน/ปี เป็น 3 ล้านตัน/ปีในปี 2560

2. เอเซียความหวังฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก

3. นายกฯอิตาลีบินถกนายกฯสเปนมุ่งหารือวิกฤตหนี้ Highlight


Highlight:

1. พม่าตั้งเป้าเพิ่มการส่งออกข้าวจาก 1.5 ล้านตัน/ปี เป็น 3 ล้านตัน/ปีในปี 2560

- เลขาธิการสมาพันธ์ข้าวแห่งชาติพม่ากล่าวว่า พม่ามีเป้าหมายจะส่งออกข้าวราว 3 ล้านตันในปี 2560 จากปัจจุบันที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.5 ล้านตันในปีเพาะปลูก 2555 โดยตลาดข้าวมีปริมาณอุปทานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากผู้ส่งออกรายใหม่ เช่น บราซิล รัสเซีย และอิยิปต์ หากไม่มีภัยธรรมชาติในแหล่งเพาะปลูกสาคัญ เราจะเห็นปริมาณอุปทานที่เพียงพอตลอดปีนี้จนถึงปี 2556 ส่วนด้านองค์การเกษตรและอาหารโลกของสหประชาชาติ (UN) กล่าว พม่ามีแผนที่จะเพิ่มปริมาณผลผลิตข้าวให้ได้ 4 ตันต่อเอเคอร์ในปี 2560 จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.25 ตันต่อเอเคอร์

- สศค. วิเคราะห์ว่า ประเทศพม่าได้วางยุทธศาสตร์ในการกลับมาเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสาคัญของตลาดโลกอีกครั้งหลังจากที่เคยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 1 ของโลกในช่วงปี 2503-2506 แต่การส่งออกได้หยุดชะงักลง เนื่องจากเกิดการยึดอานาจโดยรัฐบาลทหาร จนเป็นเหตุให้ถูกคว่าบาตรทางการค้าจากนานาชาติ ส่วนของประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้นาการส่งออกในตลาดข้าวระดับบน ควรรักษาลูกค้ากลุ่มระดับบนไว้โดยการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตแทนการแข่งขันด้านปริมาณ ทั้งนี้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 55 ไทยส่งออกได้แล้ว 5.2 ล้านตัน มีมูลค่าสูงกว่า 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เวียดนาม และอินเดีย แม้จะมีปริมาณส่งออกสูงกว่าไทยในช่วงเวลาเดียวกัน แต่มีมูลค่าการส่งออกรวมต่ากว่าข้าวไทยมาก


2. เอเซียความหวังฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก

- ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยในงานเสวนา อนาคต 1 ทศวรรษ เอเชีย ว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและเป็นปัญหาสาคัญของโลกในขณะนี้ สะท้อนให้เห็นว่าวิถีการทาธุรกิจแบบทุนนิยม ที่แสวงหากาไรสูงที่สุด ไม่ใช่คาตอบที่ถูกสุดอีกต่อไป เพราะการดาเนินธุรกิจที่ไม่ระมัดระวังจะก่อให้เกิดความผิดพลาดและนาไปสู่วิกฤตต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นและกาลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง 1 ใน 3 ของโลก โดยมี ประเทศจีน และ ญี่ปุ่น เป็นผู้นาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และมีการคาดการณ์กันว่า ในอีก 50 ปี ข้างหน้า GDP เฉพาะภูมิภาคเอเซีย จะมีขนาด 50% ของ GDP โลก จากกาลังซื้อที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว

- สศค. วิเคราะห์ว่า จากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและปัญหาความเสี่ยงด้านการคลังของสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงประเทศกาลังพัฒนาในเอเชีย อย่างไรก็ตาม ประเทศกาลังพัฒนาในเอเชียจะต้องมีการปรับตัวกับสภาวะของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง โดยประเทศต่าง ๆ ในเอเชียจะต้องพยายามมากขึ้นที่จะพึ่งพาการส่งออกให้น้อยลง สร้างดุลยภาพของปัจจัยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการผลิตให้มากขึ้น นอกจากนี้ ในปี 2558 จะมีการร่วมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชียมากยิ่งขึ้น ซึ่งภูมิภาคเอเซียก็จะมีบทบาทสาคัญต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าแนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 55 และ 56 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.6 และ 4.1 ตามลาดับ (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย. 55)


3. นายกฯอิตาลีบินถกนายกฯสเปนมุ่งหารือวิกฤตหนี้

- ผู้นาอิตาลีและสเปน สองประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยุโรปรุนแรงที่สุด จะพบปะหารือกันที่กรุงมาดริดในวันนี้ โดยนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ ของอิตาลี เดินทางเยือนประเทศสเปน เพื่อหารือกับนายกรัฐมนตรี มาเรียโน ราฮอย และจะมีการจัดแถลงข่าวร่วมกันภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ทั้งนี้ การหารือระหว่างผู้นาสองประเทศมีขึ้นหลังจากที่เมื่อ 3 เดือนก่อน นายมาริโอ มอนติ ประธานอีซีบี ได้ให้คามั่นว่าจะทาทุกอย่างที่ทาได้เพื่อปกป้องยูโร ตามด้วยการประกาศโครงการซื้อพันธบัตรสาหรับประเทศที่กาลังประสบปัญหาทางการเงินเมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา

- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจของอิตาลีและสเปนกาลังเผชิญปัจจัยกระทบด้านการเงินและด้านการผลิต เนื่องจากภาวะต้นทุนทีสูงขึ้นจากการเรียกร้องของนักลงทุนให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อชดเชยความเชื่อมั่นและความเสี่ยง หากต้องถือครองพันธบัตรและตราสารหนี้ของทั้งสองประเทศ ซึ่งต้นทุนเงินกู้ที่สูงขึ้นย่อมจะย้อนกลับมากระทบต่อความยั่งยืนและระดับของหนี้สาธารณะตลอดจนกระทบต่อภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เมื่อพิจารณาภาคการผลิตโดยรวมในยุโรปยังคงเปราะบางสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Markit’s Comp. PMI) เดือน ต.ค. 55 ปรับตัวลดลงต่าสุดในรอบ 39 เดือนที่ระดับ 45.8 จุด



ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 28

โพสต์

การเงิน - การลงทุน : ASEAN+
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 06:22

ผ่ากฎหมายลงทุนต่างชาติของพม่า

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์



อนุญาตให้ธุรกิจต่างชาติ และพันธมิตรท้องถิ่น เป็นผู้ตัดสินใจถึงสัดส่วนการเข้าลงทุนเอง

หลังจากที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลายรอบ ในที่สุดกฎหมายการลงทุนต่างชาติฉบับใหม่ของรัฐบาลพม่าได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว เพียงรอให้ประธานาธิบดีเต็งเส่งลงนามก็จะมีผลบังคับใช้ได้ทันที อาจเป็นสัญญาณนับหนึ่งในการเข้าลงทุนในพม่าภายหลังเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ

รัฐสภาผ่านร่างกฎหมายลงทุนต่างชาติฉบับทบทวน ที่เอื้อต่อการเข้าลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อหนุนเศรษฐกิจของประเทศ หลังอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาลทหารมานานหลายสิบปี

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ภายหลังการประชุมเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง รัฐสภาพม่าก็ได้อนุมัติร่างกฎหมายในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง 10 รายการ จากทั้งหมด 11 รายการที่ทางประธานาธิบดีได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ผู้นำพม่า จะลงนามผ่านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ก่อนหน้านี้ ผู้นำหัวปฏิรูปของพม่า ได้ส่งร่างกฎหมายฉบับก่อนหน้านี้ กลับคืนให้รัฐสภาทบทวนใหม่ เพราะวิตกว่ามีเนื้อหาที่เป็นการปกป้องธุรกิจท้องถิ่นมากเกินไป โดยนายซอว์ ฮเตย์ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานประธานาธิบดี แสดงความเห็นว่า ร่างกฎหมายฉบับทบทวนข้างต้น ค่อนข้างจะยืดหยุ่นอย่างมาก และทำให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ง่ายขึ้น

"ร่างกฎหมายฉบับก่อนหน้านี้ มีการคุมเข้มในบางเรื่อง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคขวางการเข้าลงทุน ซึ่งแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศบางราย ยังกล่าวถึงกฎหมายฉบับนั้นว่าเป็น กฎหมายที่ไม่เปิดให้มีการลงทุน" นายฮเตย์ ระบุ

ความเห็นดังกล่าว สอดคล้องกับนายม๊าต นานา โซ สมาชิกสภาผู้แทนจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางอองซาน ซูจี แกนนำฝ่ายค้านพม่า ที่มองว่า ร่างกฎหมายฉบับใหม่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สำหรับนักลงทุนต่างประเทศ โดยร่างฉบับเก่านั้นมีกฎข้อบังคับมากเกินไป

เนื้อหาของร่างกฎหมายฉบับทบทวนนี้ ยังรวมถึงการแก้ไขในเรื่องการกำหนดเพดาน การเข้าลงทุนในบริษัทร่วมทุนของธุรกิจต่างชาติ ในภาคธุรกิจที่มีความอ่อนไหวไว้ที่ 50% เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติตัดสินใจที่จะยกเลิกเงื่อนไขนี้ทิ้งไป ตามคำขอของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง โดยเปลี่ยนเป็นการอนุญาตให้ธุรกิจต่างชาติ และพันธมิตรท้องถิ่น เป็นผู้ตัดสินใจถึงสัดส่วนการเข้าลงทุนเอง

ส่วนเรื่องการกำหนดสัดส่วนเงินลงทุนที่บริษัทต่างชาติต้องเข้าลงทุน ในบริษัทร่วมทุนตั้งใหม่ที่ 35% ซึ่งร่างกฎหมายฉบับทบทวนก็ได้ยกเลิกข้อนี้ และเปิดให้ 2 ฝ่ายตัดสินใจกันเองเช่นเดียวกัน

ขณะที่รายละเอียดเพิ่มเติมในร่างกฎหมาย สำหรับแต่ละภาคธุรกิจนั้น รัฐสภาได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการเพื่อการลงทุนพม่าเป็นผู้ดำเนินการจัดทำขึ้นต่อไป

การเคลื่อนไหวข้างต้น ยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่บริษัทข้ามชาติรายใหญ่ระดับโลก ไล่ตั้งแต่ โคคา โคลา โค หนึ่งใน 2 ผู้ผลิตน้ำอัดลมรายใหญ่สุดของโลก จากสหรัฐ ไปจนถึงเจนเนอรัล อิเล็คทริค (จีอี) กลุ่มการค้าอันดับต้นๆ ของโลก ต่างมีแผนที่จะเข้าลงทุนในพม่า ที่ร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และเพิ่งหลุดพ้นจากการโดนหลายประเทศ โดยเฉพาะในโลกตะวันตกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจมานานหลายปี

ปัญหาหลักอย่างหนึ่ง ที่ภาคธุรกิจซึ่งอยากเข้าลงทุนในพม่า ร้องเรียนเข้ามามากที่สุด คือการขาดกรอบกฎหมายการลงทุนที่ชัดเจน โดยบรรดานักลงทุนพากันมองพม่าว่า เป็นตลาดแถวหน้ารายต่อไปของภูมิภาค จากการที่มีทรัพยากรจำนวนมหาศาล ประชากรจำนวนมาก และสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม เพราะอยู่ระหว่างจีน กับอินเดีย

สำหรับข้อเสนออื่นๆที่ทางประธานาธิบดีได้เสนอมาและได้รับการอนุมัติคือ ใจความที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ การใช้ประโยชน์จากที่ดิน คอนแทรค ฟาร์มมิ่ง เพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ส่วนเนื้อหาที่ไม่ได้รับการอนุมัติเพียงข้อเดียวคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับการกำหนดเงินเดือนของผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่น

ก่อนหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็น ถึงกฎหมายการลงทุนต่างชาติฉบับใหม่ของพม่าว่า มีข้อดีอยู่ตรงที่ว่า ได้กำหนดกิจกรรมที่ต้องห้ามหรือต้องจำกัดไว้ คือ ไม่ต้องอาศัยดุลพินิจของสำนักงานจดทะเบียนธุรกิจในการพิจารณาออกใบอนุญาตการค้าให้กับบริษัทจากต่างชาติอีกต่อไป

แต่ยังมีข้อเสียอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการให้ต่างชาติทำที่ต้องการทำการค้าผ่านพรมแดนทางบก ยกเว้นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลพม่าก่อน นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดที่เข้มงวดในการจ้างบุคลากรในท้องถิ่น อาทิเช่น ตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการด้านเทคนิคหรือมีทักษะพิเศษ ภายใน 2 ปีจะต้องมีบุคลากรชาวพม่าในตำแหน่งนั้นอย่างน้อย 25 % และภายใน 4 ปีต้องมีบุคลากรในตำแหน่งนั้นอย่างน้อย 50 % และสุดท้ายภายใน 6 ปีจะต้องมีบุคลากรชาวพม่าในตำแหน่งนั้นอย่างน้อย 75 %

กระนั้นก็ตาม กฎหมายการลงทุนจากต่างชาติฉบับใหม่ ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับประเภทธุรกิจต้องห้าม สำหรับการลงทุนของชาวต่างชาติ ซึ่งคณะกรรมการการลงทุนต่างชาติเป็นผู้มีอำนาจและดุลพินิจในการตัดสินใจ ทั้งการกระตุ้นทางภาษียังไม่ดีเท่าที่ควร และมีความน่าสนใจน้อยกว่าที่การกระตุ้นทางภาษี ที่กำหนดไว้ในกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีกทั้งยังคงขาดความชัดเจนใน

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B2.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 29

โพสต์

share some doc krub
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 30

โพสต์

... ของ 1 ใน big 4
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
โพสต์โพสต์