เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 61

โพสต์

อันนี้ค่อนข้างยาว...

8 ปีกับการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540

โดย ปฏิยุทธ์ อุกฤษกานต์ [email protected]  
มติชนรายวัน วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10146

รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน น่าจะถือได้ว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ที่ดีกว่าทุกฉบับ เพราะบทบัญญัติของทุกมาตรามีเหตุผล และมีคำตอบของที่มาชัดเจน

กล่าวถึงการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากสุดถึง 60 มาตรา เทียบกับฉบับอื่นๆ อีก 15 ฉบับ

ฉบับมากสุดจะบัญญัติไว้ไม่เกิน 30 มาตรา เท่านั้น

และยังมีบทบัญญัติใหม่ๆ ที่สำคัญคือ หมวดการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น และโดยเฉพาะการตั้ง "องค์กรอิสระ" ขึ้นมาตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเมินว่าแม้รัฐธรรมนูญจะมีบทบัญญัติใหม่ดีเพียงใด แต่ถ้าไม่มีการกำหนดองค์กรอิสระขึ้นมาตรวจสอบ ควบคุมการบังคับใช้อำนาจ หรือใช้กฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญก็จะเหมือนเศษกระดาษเปล่าไม่มีความหมาย จึงต้องเร่งออกกฎหมายพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อให้องค์กรอิสระทำหน้าที่ได้ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

ควรแก้รัฐธรรมนูญให้กำหนดระยะเวลาในการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้แน่ชัด เพื่อไม่ให้มีการเตะถ่วง หรือตีความออกกฎหมายเบี่ยงเบนไปจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

ตัวอย่างการตีความผิดหรือออกกฎหมายเบี่ยงเบนจากรัฐธรรมนูญ อาทิ การบัญญัติเรื่องการตั้งพรรคการเมือง ไม่เป็นไปตามหลัก "ตั้งได้ง่าย ยุบเลิกได้ยาก" แม้จะกำหนดให้คนเพียง 15 คนรวมกันก็สามารถตั้งพรรคการเมืองได้ตาม ม.328 (1) แต่กฎหมาย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตั้งพรรคการเมือง แต่กับมีการกำหนดเพิ่มเติมให้พรรคการเมืองต้องมีสมาชิกมากถึง 5,000 คน กระจายไปตามภาค เป็นต้น

การเตะถ่วงไม่ออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับ อาทิ การเวนคืนที่ดินแล้วไม่ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ ต้องคืนที่ดินให้เจ้าของ หรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำประชาพิจารณ์ การตั้งองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น

การใช้อำนาจของผู้มีอำนาจไม่เป็นไปตามหลัก "เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น" และมีข่าวคอร์รัปชั่น ของแวดวงคนในภาครัฐ อื้ออึง ทั้งๆ ที่สงครามปราบคอร์รัปชั่น เป็นหนึ่งในสามยุทธศาสตร์หลักของพรรคผู้ใช้อำนาจ

อีกทั้งมีข่าว ส.ว.ส่วนใหญ่ถูกครองงำโดยฝ่ายรัฐบาล ทำให้ ส.ว.ที่มีหน้าที่คัดเลือกและถอดถอนกรรมการองค์กรอิสระ ดูเหมือนจะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ใช้อำนาจ

ส่งผลกระทบถึงการทำงานขององค์กรอิสระหลายองค์กรทั้ง สตง., กกต., ป.ป.ช.ต้องสะดุด ไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของผู้มีอำนาจฝ่ายบริหารได้

การบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาจึงเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า บังเอิญอานิสงส์ของรัฐธรรมนูญใหม่ตกเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะหัวหน้ารัฐบาลมากที่สุด

การปฏิรูปเมืองในรูปแบบใหม่ซึ่งประชาชนคาดหวังในเรื่องกระบวนการใช้อำนาจที่โปร่งใส มีการคุ้มครองเสรีภาพของประชาชนและส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น กับการเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น ไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติหรือบังคับใช้เท่าที่ควร

และยังก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจของหัวหน้ารัฐบาลฝ่ายบริหาร ค่อนไปทางเป็นเผด็จการทางรัฐสภาด้วย

ทำให้ขาดอำนาจการถ่วงดุลตรวจสอบ ระหว่างรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ที่หลอมรวมเป็นกลุ่มเดียวกันภายใต้อิทธิพลของกลุ่มธุรกิจทางการเมือง

จึงเกิดข่าวอื้ออึงเกี่ยวกับการทุจริตในแวดวงใกล้ชิดผู้มีอำนาจ เป็นเหตุให้มีเสียงเรียกร้องจากภาคประชาสังคม ให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ

นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 (สสร.) แสดงความเห็นว่าผู้ใช้อำนาจ ย่อมไม่อยากให้องค์กรอิสระเติบโต เพราะองค์กรอิสระมีไว้ถ่วงดุลตรวจสอบผู้ใช้อำนาจโดยตรง เน้นคุ้มครองประโยชน์ และสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงอย่าหวังพึ่งรัฐบาลในการแก้ หน้าที่ผลักดันเรื่องนี้ นักวิชาการ และสื่อมวลชน ซึ่งรู้เท่าทันต้องช่วยกันหาทางแก้ไขไม่ให้มีการชี้นำ หรือบงการครอบงำกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระ เพื่อให้ได้ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้และความดีเป็นที่ประจักษ์เข้าไปเป็นกรรมการในองค์กรอิสระ จะได้ทำหน้าที่ได้เต็มที่

"แต่ที่ผ่านมากระบวนการสรรหามักส่อไปในทางถูก Block Vote ชัดเจน เหมือนกำหนดให้คัดเลือกมะนาว แต่กลับส่งแต่ส้มไปทั้งกระจาด ก็เลือกมะนาวไม่ได้ เพราะทั้งกระจาดมีแต่ส้ม" นายอุทัยกล่าวในการสัมมนาที่คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (9 ธ.ค.48)

อย่างไรก็ตาม สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ที่มีหน้าที่คัดเลือกถอดถอนองค์กรอิสระ ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด ล้วนแล้วแต่สังกัดใกล้ชิดฟากรัฐบาล รวมทั้ง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลที่มีมากถึง 377 เสียง ทำให้กระบวนการสรรหา มักเอื้อประโยชน์ต่อหัวหน้ารัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

หลายฝ่ายจึงเรียกร้องให้ลดจำนวนของวุฒิสภาลงเหลือไม่เกิน 100 คน

บางคนเสนอให้นายองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ที่ประชาชนแต่ละท้องถิ่นเลือกกันทางตรงอยู่แล้ว เป็นวุฒิสภาโดยตำแหน่ง ทั้ง 76 จังหวัด

และให้ตั้งจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจากอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา รวมกันไม่ให้เกิน 100 คน เพื่อประหยัดงบประมาณแผ่นดิน แทนที่จะมีมากถึง 200 คน และยังส่อว่ามักจะถูกผูกขาด โดยเครือญาติ ส.ส.หรือคนในสังกัดรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ด้วย

นอกจากนี้ การกำหนดให้ผู้สมัคร ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนการเลือกตั้งตาม ม.107(4) และต้องพ้นสภาพ ส.ส.ตามมติพรรคที่สังกัดตาม ม.118(8) อีกทั้งกำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจาก ส.ส.เท่านั้น ตาม ม.201 และการกำหนดให้ ส.ส.ออกเสียงลงคะแนนตามมติของพรรคเท่านั้น ทำให้นายทุนนักธุรกิจหัวหน้าพรรคการเมืองผูกขาดอำนาจได้เบ็ดเสร็จ

จึงน่าจะแก้รัฐธรรมนูญให้ ส.ส.ผูกพันพรรค ต้องออกเสียงตามนโยบายพรรคที่ได้แถลงต่อรัฐสภาไว้เท่านั้น และ ส.ส.ต้องพ้นสภาพสมาชิกสภาผู้แทนโดยการยุบสภาพร้อมๆ กับการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี

แต่การถอดถอนนายกรัฐมนตรี(Impeachment) จากปัญหาการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือทุจริตคอร์รัปชั่น ส.ส.ไม่ต้องพ้นสภาพ เพราะไม่ได้เกิดจากการยุบสภา โดยกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ควรจะกำหนดไม่ให้เกิน 5 ปี หรือสองวาระ วาระละ 5 ปี เหมือนสหรัฐ หรือเกาหลี

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจ และการหาเสียงโดยใช้นโยบายประชานิยม

โดยขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ตามแนวทางดังกล่าว นายสมยศ เชื้อไทย อาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอว่าควรร่างโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญเป็นกลาง และร่างดังกล่าวต้องเสนอเปิดโอกาส ให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยต้องทำเป็นประชามติ (Referendum) และให้ลงมติโดยผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วประเทศ เป็นสำคัญ

สรุปแล้ว หลายฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ไม่ได้เลวร้ายมากนัก ออกจะก้าวหน้ามากสุด ซึ่งนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาคณะรัฐมนตรี ถึงกับสรุปว่าดีที่สุดในโลก เพียงแต่หลายฝ่ายก็แย้งเช่นกันว่าปัญหาอยู่ที่การบังคับใช้ และการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ถูกเตะถ่วง ไม่ก็บิดเบือน ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

"บางคนถึงกับตั้งข้อสังเกตด้วยว่า จะไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญก็ได้ เพียงแต่เปลี่ยนคน หรือเปลี่ยนหัวหน้า ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายที่กุมอำนาจฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติแบบเบ็ดเสร็จคนเดียว ก็แก้ปัญหาปัจจุบันได้เกือบทั้งหมดเหมือนกัน"
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 62

โพสต์

พิเศษสุด...
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล" วิพากษ์ "จุดดี" การเมืองภาคประชาชน "จุดด้อย" การเมืองทุนนิยม

มติชนรายวัน วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10103

*หมายเหตุ* : นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาปิดในงานการประชุมทางวิชาการของสถาบันพระปกเกล้า เรื่อง "ประเทศไทยกับความยั่งยืนของการเมืองฐานประชาชน" ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน

ที่ผ่านมาระบอบประชาธิปไตยไม่อาศัยฐานรากของประชาชน แต่กลับเป็นเวทีของกลุ่มบุคคลในระดับบน ดังนั้น เมื่อเทียบกับอุดมคติของประชาธิปไตยจึงยังไม่เพียงพอ ตราบใดที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการใช้อำนาจและนโยบาย ตราบนั้นเรายังพูดไม่เต็มปากว่า ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ซึ่งประชาธิปไตยต้องรวมถึงการควบคุมอำนาจและการตรวจสอบ

หากจะดูว่าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ จะดูที่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องดูถึงการใช้อำนาจ ซึ่งที่ผ่านมาประชาธิปไตยของไทยเน้นภาครัฐมากกว่าภาคประชาชน เช่น เราอยากเห็นการเลือกตั้งที่มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม อยากเห็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง อยากมีสมาชิกรัฐสภาที่เอาการเอางาน แต่สำหรับการขยายบทบาททางการเมืองภาคประชาชน มีอยู่ในความสนใจ แต่ถูกตั้งแง่รังเกียจ โดยผู้คุมอำนาจหรือนักการเมืองอาชีพจำนวนไม่น้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ ระบอบประชาธิปไตยของไทย จึงไม่เพียงเบี่ยงเบนไปจากอุดมคติ แต่ยังไม่สามารถตอบสนองประชาชนได้อย่างทั่วถึง เป็นระบบที่ยังไม่สามารถดูแลปัญหาของประชาชนได้ครบทุกหมู่เหล่าอย่างมีประสิทธิภาพ

การเมืองภาคตัวแทนที่กระจุกอยู่ในนักการเมืองที่สร้างสรรค์สังคม แม้จะประกอบด้วยนักการเมืองน้ำดีจำนวนไม่น้อย แต่โดยพื้นฐานการเมืองแบบนี้ ทำได้อย่างมากก็แค่ดูแลระบบการเมืองอุปถัมภ์ เราเคยแก้ปัญหาด้วยการปฏิรูปการเมืองจนเป็นรัฐธรรมนูญปัจจุบัน แต่ตอนนี้เป็นที่ชัดเจนว่า เป็นการสร้างฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง พรรคการเมืองมีเสถียรภาพ แต่การปฏิรูปด้านอื่นที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับไม่มีความคืบหน้า

โดยเฉพาะช่วงที่ประเทศเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจและตกอยู่ในสังคมโลกาภิวัตน์ และตกอยู่ภายในระบบสังคมทุนนิยม หลังจากนั้นปัญหาของประเทศก็ยิ่งหนักหน่วง และซับซ้อนขึ้น หากยังปล่อยอย่างนี้บางทีระบอบประชาธิปไตยของเราคงเหลือแค่ในนามเท่านั้น เพราะหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ประเทศไทยได้พลัดหลงเข้าไปสู่อำนาจนิยมและลิทธิเสรีนิยมใหม่ สุดท้ายรัฐบาลต้องเพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจและลดบทบาทในการดูแลสังคมลง โดยมอบอำนาจส่วนนั้นให้กับกลไกตลาด ซึ่งส่วนใหญ่ของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ทำให้ประชาชนไม่สามารถฝากความหวังไว้กับภาครัฐได้ สุดท้ายเมื่อตกอยู่ภายใต้กลุ่มเสรีนิยมของกลุ่มทุนใหม่ ประชาชนก็จะเป็นแค่ปัจเจกบุคคลในท้องตลาด ไม่ใช่อยู่ในสถานะที่เคียงคู่กับสถาบันการเมือง ซึ่งระบบทั้ง 2 ไม่สามารถเข้ากันได้

ผลกระทบจากการเปิดเสรีด้านทุนของประเทศไทย ส่งผลกระทบ 3 ด้าน คือ 1.ทำให้มีปัญหาที่สถิตของอธิปไตย ทำให้มีการเปลี่ยนรูปการรัฐชาติไปจากเดิม 2.ทำให้มีความคลุมเครือในผลประโยชน์แห่งชาติรัฐ 3.มีปัญหาเรื่องความเห็นพ้องต้องกันของฉันทามติ

จากอำนาจอธิปไตยที่ถูกลดบทบาทไปจากอำนาจตลาดเสรี ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ระบอบประชาธิปไตยจะมีความหมายอันใด และจะมีประโยชน์อะไรถ้าประชาชนออกนอกกรอบกลไกตลาดไม่ได้

ที่ผ่านมาปัญหาการถ่ายโอนอำนาจให้กับประชาชนก็เป็นเรื่องยากอยู่แล้ว แต่เมื่อนำกลไกตลาดเสรีเข้ามาปัญหาก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้น เพราะระบบนี้คนที่ได้รับการตอบสนองคือลูกค้าที่มีกำลังซื้อ ทำให้คนไทยจำนวนมหาศาลที่ไม่มีอำนาจซื้อจะมีชีวิตอยู่อย่างไร ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้กระทบต่อคนไทยเท่านั้นแต่กระทบไปถึงรัฐชาติด้วย

กล่าวได้ว่า รัฐชาติในปัจจุบันเปลี่ยนรูปแบบไปมากขึ้น เพราะต้องไปดูแลผลประโยชน์ของนานาชาติด้วย



ปัจจุบันผลประโยชน์ในประเทศไทยได้ถูกถือครองโดยกลุ่มทุนต่างชาติในสัดส่วนมหาศาล แต่รัฐยังอาศัยแนวคิดนี้เพื่อสร้างความชอบธรรม นี่ยังไม่ต้องพูดถึงช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยในประเทศอีกมหาศาล และถ้าประชาชนหมดความชื่อถือในข้ออ้างเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติเมื่อไหร่ ก็อาจจะปฏิเสธอำนาจของรัฐบาลได้ ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้วในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบด้านลบ จากโครงการใหญ่ๆ ของรัฐบาล

สภาพปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมากำลังก่อตัวเป็นวิกฤตที่กัดกร่อนระบอบประชาธิปไตยของไทย การทำให้ประชาธิปไตยหมดความหมายก็จะมีการปรับปรุง ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนภาคตัวแทน กับการเมืองภาคประชาชน

ในความเห็นผม การเมืองภาคตัวแทนที่ประกอบไปด้วยพรรคการเมืองและนักการเมืองไม่ควรรังเกียจการเมืองภาคประชาชน และควรจะเข้าไปเชื่อมโยงความเคลื่อนไหวของภาคประชาชน อาศัยพลังประชาชนมาเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขปัญหา ชดเชยข้อเสียในยุคโลกาภิวัตน์ ต้องเปิดพื้นที่และรับเข้ามาให้เป็นองค์กรที่ถาวร ทำงานร่วมกับสถาบันการเมืองต่างๆ ที่มีอยู่

เพราะการเมืองภาคประชาชนเป็นประชาธิปไตยทางตรง ที่จะช่วยการเมืองในระบบตัวแทนในการประกอบการตัดสินใจ เรื่องต่างๆ ของรัฐ มีการโอนอำนาจรัฐไปสู่ประชาชนมากขึ้น ถ่วงดุลกลไกตลาดและขยายระบอบประชาธิปไตยออกไป นอกจากนี้ ยังช่วยปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งจะช่วยสร้างทัศนคติและความชอบธรรมใหม่ในกระบวนการใช้อำนาจของรัฐได้ ต้องยอมรับด้วยว่า การเมืองภาคประชาชน ไม่สามารถเดินตามกลไกตลาดได้ และภาคประชาชนต้องอาศัยการกระจายอำนาจ ไปสู่ท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย ช่วยลดความสัมพันธ์ในแนวดิ่งแต่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ในแนวราบ

เราไม่ควรสับสนระหว่างการเมืองภาคประชาชนกับแนวคิดประชานิยม เพราะนโยบายประชานิยม แม้จะเป็นความหวังดี ในระบบอุปถัมภ์ แต่ก็ไม่ได้ช่วยสร้างความเข้มแข็งของระบบรากฐาน หากเราทำให้เป็นจริงได้ ก็จะสร้างสมดุล ความเชื่อถือระหว่างภาครัฐกับสังคม

เพราะขณะนี้ถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่เราต้องสร้างให้เร็วที่สุด และสุดท้ายก็หนีไม่พ้นความเห็นชอบ และความร่วมมือร่วมใจของบรรดาพรรคการเมืองและนักการเมืองที่อยู่บนเวที

แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เราต้องทำให้กระจ่างชัดในสังคม

ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 63

โพสต์

เพื่อนๆ ยังจำ สมัยที่ นายกบรรหาร ชนะ พรรคประชาธิปปัตย์ ได้หรือเปล่า

เพื่อล้มล้าง นายกบรรหาร ให้ได้ทุกวิถึทาง
พรรค ปชป. พยายายยัดเยียด ข้อหาคนต่างด้าว ให้ นายกบรรหาร
ขุดโครต พ่อแม่ ของนายกบบรรหาร มาประจาน
จะเอา นายกบรรหาร ออกจากตำแหน่งให้ได้

ผมว่า ปชป. พาล เสียงแพ้ คนไม่แพ้
เพียงเพื่อหวังให้ พรรค ให้ พวก ของตัวเอง
ได้กลับมาเป็นพรรค รัฐบาล

ผมว่า กรณี ของ นายกทักษิณ ผมก็ว่า พอๆกัน
ประชาชนส่วนใหญ่ เขาเลือกตั้ง มอบหมายอำนาจให้ใครบริหารแผ่นดิน
เพราะเขาเห็นว่า คนๆนั้นทำประโยชน์ให้เขา มากกว่าอีกคนหนึ่ง
พอผลการเลือกตั้ง สมัยแรก ออกมาว่า ทรท. ชนะ

สิ่งแรกที่ ปชป. แสดงออกมา คือ  เสียงแพ้ คนไม่แพ้
พุ่งเป้าโจมตีทันที  ถึง ทรท. ชนะ แต่ หัวหน้าพรรค ไม่สมควรเป็นนายก
จึงทำทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้ นายกทักษิณ ขึ้นเป็นนายก

จนลืมไปว่า
อำนาจการปกครอง มาจากความเห็นเสียงข้างมากของประชาชนทั้งแผ่นดิน
อำนาจการปกครอง ไม่ได้มาจากความเห็นของพวกใดพวกหนึ่ง
อำนาจการปกครอง ไม่ได้มาจากศาลรัฐธรรมนูญ

ดังนั้นผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ จึงออกมา คล้อยตามเสียงข้างมากของประชาชนทั้งแผ่นดิน

ก็ผ่านไปได้สมัยหนึ่ง เมื่อเขาทำงาน ผลงานมันก็ออกมา
คนเราเมื่อทำงาน มันก็ต้อง มีผิด มีถูก บ้าง
ไม่มีใครทำถูกไปทุกเรื่อง  สำคัญที่ว่า ทำถูกมากกว่าทำผิดหรือเปล่า
(ก็เหมือนกับเรา ลงทุนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ นั้นแหละ)

เมื่อจบวาระ 4 ปี เลือกตั้งใหม่ ประชาชนเขาก็ดูผลงานของรัฐบาล
เขาพอใจ เขาก็ลงมติ ด้วยเสียงข้างมากอย่างถล่มทลาย
ให้ นายกทักษิณ บริหารประเทศ

ปชป. พาล เสียงแพ้ คนไม่แพ้
เพียงเพื่อหวังให้ พรรค ให้ พวก ของตัวเอง
ได้กลับมาเป็นพรรค รัฐบาล

ปชป. แสดงออกมา คือ  เสียงแพ้ คนไม่แพ้
พุ่งเป้าโจมตีทันที  ถึง ทรท. ชนะ แต่ หัวหน้าพรรค ไม่สมควรเป็นนายก
จึงทำทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้ นายกทักษิณ ขึ้นเป็นนายก
ถึงขายหุ้นไม่ผิดกฏหมาย ก็ไม่สมควรเป็นนายกเพราะไม่สง่างาม


จนลืมไปว่า
อำนาจการปกครอง มาจากความเห็นเสียงข้างมากของประชาชนทั้งแผ่นดิน
อำนาจการปกครอง ไม่ได้มาจากความเห็นของพวกใดพวกหนึ่ง
อำนาจการปกครอง ไม่ได้มาจากศาลรัฐธรรมนูญ
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 64

โพสต์

ใน ความเห็นของผม

ปัญหา องค์กรกลาง ถ้าจะไม่ให้มีการ กล่าวหากันว่า เป็นฝ่ายบริหาร

ก็ตัดปัญหาโดยเปลี่ยนวิธี คัดสรรใหม่
แทนที่จะให้ ผ่านรัฐสภา ฝ่ายการเมือง ฝ่ายราชการ ฝ่ายประชาชน คัดสรร
ก็เปลี่ยนเป็นให้ คณะองค์มนตรี คัดสรรกลั่นกรอง นำทูลเกล้าโปรดแต่งตั้ง
จะได้หมดข้อกล่าวหาว่า รัฐบาลไปก้าวก่ายการแต่งตั้ง องค์กรกลาง
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 65

โพสต์

เรื่องปชป.พยายามโค่นบรรหารช่วงนั้น ผมจำได้ดีครับพี่ครรชิต
เผอิญอยู่วงในดิวิชั่นสาม

ตอนนั้น คุณบรรหารไม่ได้แค้นพรรคปชป.แม้แต่น้อยครับ
แต่แค้นนายกคนถัดมาครับ

คุณบรรหารบอกว่า ปชป.เล่นแรง แต่เล่นในเกมครับ
คืออภิปรายในสภาอย่างเดียว

แต่คุณนายกคนถัดมารับปากคุณบรรหารว่า จะยกมือให้
แต่พอปิดอภิปราย ก็ไปบอกท่านบรรหารว่า พรรคจะไม่ยกมือให้
นอกจากคุณบรรหารจะรับปากสละเก้าอี้ให้เขา

คุณบรรหารเลยยุบสภาซะเลย

ภาษิตโรมันต้องบอกว่า Et Tu Brute!
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 66

โพสต์

เจอเสนาะ ดัดหลังด้วยนิครับ
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 67

โพสต์

เสนาะ ก็พรรคเดียวกับ บรรหาร
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 68

โพสต์

จงอย่าตัดสินคน ที่ชาติกำเนิด

แต่

จงตัดสินคน ที่ผลของงาน
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
MisterK
Verified User
โพสต์: 857
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 69

โพสต์

เพื่อน เขียน:สำหรับคุณMisterK ที่คุณpostมาแบบนี้ ทำให้ผมรู้สึกผิดที่คงทำให้คุณโกรธจากกระทู้ก่อนหน้านี้ เอาเป็นว่าผมขอโทษด้วยครับและขอยอมแพ้ ไม่ขอขัดแย้งกับคุณครับ

ผมแค่ตั้งใจจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพราะเราทุกคนมีสิทธิที่จะมีความเห็นแตกต่างกันได้ ไม่ได้คิดจะเอาชนะใคร ผมเข้ามาอ่านและตอบกระทู้ในนี้ก็ได้ความรู้และมุมมองที่ไม่เหมือนเรากลับไปมาก รวมถึงได้ความรู้มุมมองของพี่ครรชิต คุณฉัตรชัย ที่กรุณาตอบชี้แจงในมุมที่ต่างออกไป ถ้าบังเอิญทำให้ใครไม่พอใจก็ขออภัยด้วยครับ ไม่ได้ตั้งใจจริงๆ

กำ ด้วยความสัตย์จริง  ผมไม่เคยโกรธใครที่โพสต์ในบอร์ดนี้เลย   ผมโพสต์เพราะมีความคิดที่อยากแสดง  และสนุกที่ได้อ่านความเห็นคนอื่น    กระทู้ที่คุณเพื่อนบอกผมนึกไม่ออกด้วยซ้ำว่าหมายถึงกระทู้ไหน  :oops:    

ผมโพสต์แต่ภาพรวม ๆ ไม่ได้หมายถึงใครโดยเฉพาะเจาะจงแน่นอนครับ   ถ้าทำให้ใครเข้าใจผิดต้องขออภัยด้วย    :bow:  :bow:  :bow:
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 70

โพสต์

CK เขียน:เรื่องปชป.พยายามโค่นบรรหารช่วงนั้น ผมจำได้ดีครับพี่ครรชิต
เผอิญอยู่วงในดิวิชั่นสาม

ตอนนั้น คุณบรรหารไม่ได้แค้นพรรคปชป.แม้แต่น้อยครับ
แต่แค้นนายกคนถัดมาครับ

คุณบรรหารบอกว่า ปชป.เล่นแรง แต่เล่นในเกมครับ
คืออภิปรายในสภาอย่างเดียว

แต่คุณนายกคนถัดมารับปากคุณบรรหารว่า จะยกมือให้
แต่พอปิดอภิปราย ก็ไปบอกท่านบรรหารว่า พรรคจะไม่ยกมือให้
นอกจากคุณบรรหารจะรับปากสละเก้าอี้ให้เขา

คุณบรรหารเลยยุบสภาซะเลย

ภาษิตโรมันต้องบอกว่า Et Tu Brute!
แล้วหลักฐานที่ ปชป.กล่าวหาว่าคุณบรรหารเป็นต่างด้าว  เป็นหลักฐานจริงหรือสร้างหลักฐานเท็จละครับ

ถ้าเป็นหลักฐานเท็จ  เท่ากับ ปชป.โกหกประชาชนทั้งประเทศเพื่อล้มรัฐบาลเชียวนะ

ถ้าเป็นจริง  เรื่องทำไมเงียบหายไปกับสายลม
MisterK
Verified User
โพสต์: 857
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 71

โพสต์

chatchai เขียน:
แล้วหลักฐานที่ ปชป.กล่าวหาว่าคุณบรรหารเป็นต่างด้าว
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 72

โพสต์

[quote="chatchai"]แล้วหลักฐานที่ ปชป.กล่าวหาว่าคุณบรรหารเป็นต่างด้าว
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 73

โพสต์

ผมว่า คุณ chatchai รู้จุดมุ่งหมายของ ปชป. อยู่แล้วครับ
แค่ถามกลับ ให้คิดกันเท่านั้นครับ

.......................................................................................

เห็นวันก่อน เจิมศักดิ์ - สนธิ แทบจะไซ้ซอกคอกันแล้ว
ทีเมื่อก่อนใส่โคลนกันน่าดู พอมีจุดมุ่งหมายเหมือนกันหน่อย "เอาเรามารัก"  :D
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 74

โพสต์

ในการที่รัฐบาลจะบริหารกิจการบ้านเมืองให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยราบรื่น ตลอดรอดฝั่งตามความต้องการของคณะรัฐบาลนั้น  ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้ด้วย คือ มาดี  อยู่ดี และไปดี

ประการที่ 1 มาดี  ..คือการได้รับการเลือตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมากจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้  ทั้งนี้ไม่ได้หมายรวมถึง การกวาดต้อนส.ส.เข้าคอก จูงใจให้ยุบพรรครวมพรรค เพื่อไม่ให้เสียงทางซีกฝ่ายค้านมีไม่เพียงพอ  อย่าว่าแต่อภิปรายไม่ไว้ใจนายกรัฐมนตรีเลย แค่การอภิปรายเรื่องทุจริตประพฤติมิชอบของรัฐมนตรี ยังไม่สามารถทำได้เลย ด้วยเสียงที่มีไม่เพียงพอ....

 แต่เมื่อมีช่องทางให้นักการเมืองรวบรวมเสียงเช่นนั้นได้แล้ว ก็คงต้องปล่อยให้กระบวนการดำเินินต่อไป  เพราะการชอบอ้างว่ามาถูก ทำถูกต้องตามกฏหมาย ดูเหมือนจะเป็นคำพูดและท่าทีที่คนในรัฐบาล ตลอดจนส.ส.ใช้เป็นยันต์กันตัวอยู่แล้ว

รัฐบาลมาดีหรือไม่  ก็ขอให้พิจารณากันเอง

ประการที่ 2 อยู่ดี .. .เมื่อได้รับความไว้วางใจให้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศแล้ว  สิ่งที่คณะผู้บริหารประเทศต้องยึดไว้เป็นหลักชัย คือ ผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ตลอดจนต้องปกป้อง รักษาและสร้างความมั่นคงให้เกิดกับสถาบันหลักของสังคม ได้แก่ ชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์

       บัดนี้ มหาชนทั้งหลายคงได้รับทราบกันมาบ้างแล้วว่า รัฐบาลบริหารประเทศโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน หรือสร้างความมั่นคงให้แก่ไพร่พลพ้อง ญาติพี่น้องที่แวดล้อมเท่านั้น

ในด้านของการปกป้องสถาบัน โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพเทอดทูนบูชาของประชาชนไทย รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะบั่นทอนสถาบันฯ จากการแสดงออกทั้งการพูดและการกระทำ

      ผู้นำรัฐบาลเอง แสดงสถานะตนเองทั้งจากการพูดและการกระทำ โดยไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ดังที่หลายท่านได้ประจักษ์กันมาแล้ว แม้กระทั่งเร็วๆนี้ ตรงนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับดาวพุธก็เป็นได้

หากไม่มีการท้วงติง เชื่อว่าจะเกิดกรณีทำนองนี้อีกต่อไปในอนาคต

 จริงๆแล้ว ผู้นำประเทศอาจจะไม่ต้องฟังเสียง หรืออาจฟังแต่จะไม่ทำตามคำท้วงติงของผู้ปรารถนาดีต่อบ้านเมืองโดยมีอคติว่า เป็นพวกที่ผิดหวัง ไม่เคารพเสียงข้างมาก จ้องล้มล้างรัฐบาลที่มาจาก 19 ล้านเสียง จะยังงั้นก็ได้...

 แต่ผู้นำที่ดี ควรได้น้อมนำกระแสพระราชดำรัส พระบรมราโชวาทของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใส่เกล้าใส่กระหม่อมและนำไปปฏิบัติให้เกิดผล เพราะเป็นสิ่งประเสริฐ เป็นสัจธรรม เป็นศิริมงคลแก่ผู้ที่เปิดใจรับฟัง เพราะนี่คือประสบการณ์ต่อเนื่องยาวนานถึง 60 ปีแห่งการครองราชย์ของพระองค์ท่าน  

รัฐบาลที่ไม่ชอบรับสิ่งที่เป็นศิริมงคลมาปฏิบัติ...

จึงได้เกิดสถานการณ์ดังเช่นวันนี้...
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 75

โพสต์

ในด้านขององค์กร  การใช้อิทธิพลทั้งในเชิงอำนาจและเงินตรา เพื่อให้องค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารถูกครอบงำ ควบคุมและกำหนดทิศทาง จนกระบวนการต่างๆเกิดความล่าช้าหรือชะงักงัน

     ผู้นำรัฐบาลเคยบอกว่า การสรรหาผู้ว่าการสตง.เป็นเรื่องของสภาสูง ส.ส.หรือใครก็ตามไม่ควรก้าวล่วง แต่ท้ายที่สุด ตัวท่านเองกลับมีหนังสือด่วนส่งไปยังคตง.เพื่อขอให้ทบทวนสถานะคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เพียงชั่วข้ามคืน คตง. มีมติเป็นเอกฉันท์ รับรองสถานะและคืนตำแหน่งให้คุณหญิง ทั้งที่ก่อนหน้านี้เนิ่นนาน คตง.ไม่มีทีท่าอ่อนน้อมและรับฟังเสียงท้วงติงจากผู้ใดเลยแม้แต่น้อย

การหยุชะงักของ สตง.เกือบ 2 ปี ในขณะที่กระบวนการทุจริตคอรับชั่นยังดำเนินต่อไปอย่างเอิกเกริกลำพอง

ใครจะรับผิดชอบกับความเสียหายของชาติ...


 ปัญหาของปปช. ความดื้อดึง หรือดันทุรังของคนบางคน จนเกิดกรณีที่คล้ายกับสตง. คือ ราชเลขาธิการฯ ส่งเรื่องกลับคืนวุฒิสภา (กรณีผู้ว่า สตง. นายวิสุทธิ์ มนตรีวัต ขอถอนตัว หลังจากประธานวุฒิสภา ส่งเรื่องไปยังสำนักราชเลขาธิการฯ แต่ไม่มีการตอบกลับมา นานร่วม 100 วัน)

 ตลอดเวลาที่ปปช. ไม่สามารถทำงานได้นับเนื่องจากกรณีขึ้นเงินเดือนให้ตัวเองจนมาถึงขั้นตอนการสรรหาปปช.ชุดใหม่ แต่กระบวนการทุจริตคอรัปชั่นยังทำงานอย่างแข็งขันไม่มีวันหยุด

ความเสียหายของชาติที่ประเมินไม่ได้นี้

ใครควรรับผิดชอบ..
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 76

โพสต์

การอ้างเสียง 19 ล้านเสียง

การอ้างว่ามาด้วยเสียงส่วนใหญ่  

การอ้างว่าถูกกฎหมาย  

ดูเหมือนจะเป็นสูตรสำเร็จที่ผู้นำและคณะผู้บริหาร

ตลอดจนไพร่พลทั้งหลายท่องจำจนขึ้นใจ

......แผ่นเสียงตกร่องก็จะเป็นเช่นนี้ต่อไป.......

ความภักดีต่อนักเลือกตั้งของประชาชนนั้น จะไม่ยั่งยืน

ตราบใดที่นักการเมืองนักเลือกตั้ง ยังคงเข้ามาปกป้องผลประโยชน์ กอบโกยและผลาญสมบัติของชาติและประชาชน

.......บางที 19 ล้านเสียงในวันนี้ อาจแปรเป็น 40 ล้านยี้ในวันหน้า.......


ประการที่ 3 ไปดี  ...ถ้ารัฐบาลมาดีในเบื้องต้น   อยู่ดีในท่ามกลาง

รัฐบาลย่อมไปดีในบั้นปลาย.....


........แต่คนละความหมายกับเนื้อเพลง "ไปดีเถิดนะ พี่ขออวยพร..."


ใครอยากอยู่ อยากดูและชื่นชมไปตลอด 4 ปี ก็จงอยู่ดูต่อไปเถิด...

คนอื่นเขาก็รักชาติและสถาบันหลักไม่น้อยกว่าพวกท่านหรอก....

ส่วนนักวิชาการ อาจารย์รัฐศาสตร์ทั้งหลายที่ออกมาเย้วๆ  ก็คงไม่ต้องกลับไปแก้ไขตำรารัฐศาสตร์ ว่าด้วย ปรัชญาทางการเมือง ในส่วนของการเมืองการปกครอง

จอห์น ล็อคและรุสโซก็ขอให้หลับให้สบายเถิด อย่าได้อายม้วนต้วนเลย


....อะไรที่ฝืนและท้าทายธรรม(ชาติ) ย่อมก่อเกิดภัยพิบัติแก่ตนเอง.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 77

โพสต์

CK เขียน:เรื่องของนักการเมืองไทย มันก็แบบนี้แหละครับ
เป็นมาทุกยุคทุกสมัย

ถ้าให้เดา ก็เหมือนกรณีอื่นๆ ครับ
คือ ข้อมูลเป็นความจริง แต่งเติมสีนิดหน่อย 10%
หลักฐานคงจะไม่จริง
8) ผมก็นั่งดูอยู่วันนั้นที่อภิปราย
    ผมจำได้แม่นว่าเป็น สส.ภาคใต้ที่ชื่อเสียโด่งดัง
    มาอภิปราย
    หลักฐานที่นำมาแสดง
    เห็นว่าเป็นสำเนาเอกสารที่แสดงว่ามีบิดาเป็นคนต่างด้าว
    แต่โอละพ่อ ภายหลังมาเฉลยว่าขี้ฮกทั้งเพ...
    ทุกวันนี้ไม่รู้เวรกรรมตามทัน
    หายไปไหนแล้วไม่รุ้...
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
moo
Verified User
โพสต์: 1150
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 78

โพสต์

เสียงข้างมาก สามารถตัดสินแพ้ ชนะได้

แต่อาจไม่สามารถตัดสินความถูกต้องได้ครับ
ถ้าคุณหัวเสีย คุณจะเสียหัว
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 79

โพสต์

ผิดอยู่ตรงไหน ถูกอยู่ตรงไหน ในทางการเมือง

นโยบายเดียวกัน ฝ่ายหนึ่งบอกว่าดี อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่าไม่ดี
พูดอย่างสิ่งเดียวกัน ฝ่านหนึ่งว่าถูก อีกฝ่ายว่าผิด

ไม่มีทางออก ถ้าความเห็นนั้น เป็นความเห็น ระหว่างคนสองคน
มีทางเดียว ท้าต่อยกัน ให้เห็นดำเห็นแดง

เขาไม่ต้องการให้เกิด รบราฆ่าฟันกัน ในคนหมู่มาก
เขาจึงคิดกติกา ประชาธิปไตย ขึ้นมา
ให้ยอมรับในกติกาเสียงข้างมาก เป็นอันยุติ
แล้วไม่ต้องพูดอีกว่าใครถูกใครผิด
จะได้ไม่ต้องกลับมาเถียงกันอีก จะได้ไม่ต้องรบราฆ่าฟันกัน


วันจันทร ที่ 13 กพ. 49 ผมดู ประวัติ ประธานาธิปดี ลิงคอน ทางช่อง 9
มีประโยคหนึ่งของท่านประธานาธิปดี ที่ว่า

"หากข้าพเจ้า ไม่ต้องปลดปล่อยทาส เพื่อรักษาสหพันธรัฐ ให้คงอยู่ ข้าพเจ้าก็จะทำ
หากข้าพเจ้า ต้องปลดปล่อยทาส เพื่อรักษาสหพันธรัฐ ให้คงอยู่ ข้าพเจ้าก็จะทำ"

จะเห็นว่า ความเห็นเรื่องการ ปลดปล่อยทาส แตกออกเป็นสองฝ่าย
รัฐฝ่ายเหนือซึ่งมีเสียงมากกล่าว ต้องการปลดปล่อยทาส
รัฐฝ่ายใต้ซึ่งมีเสียงน้อยกว่า ไม่ต้องการปลดปล่อยทาส

ในประโยคท่านปรัธานาธิปดี ลิงคอน ไม่ได้สนใจว่า การปลดปล่อยทาส ในสมัยนั้นว่าถูกหรือผิด

แต่สนใจที่เสียงข้างมากบอกว่า ต้องปลดปล่อยทาส

เมื่อเถียงกันไปเถียงกันมาในรัฐสภา
ฝ่ายใต้เสียงข้างน้อย ก็ไม่ยอมแพ้ ฝ่ายเหนือเสียงข้างมาก
แพ้เสียง แต่คนไม่แพ้ ประกาศแยกประเทศ

ฝ่ายใต้เปิด ฉากยิงใส่ ฝ่ายเหนือก่อน เป็นการเปิดสงคราม

ทางเลือกทางเดียวที่เหลืออยู่ของประธานาธิปดี ลิงคอน ที่จะรักษาสหพันธรัฐไว้  คือ สงคราม
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 80

โพสต์

ถ้าฝ่ายใต้ ยอมรับกติกา เสียงข้างมากในสภา สงครามก็ไม่เกิด

ฝ่ายเหนือ กำลังมากกว่า ฝ่ายใต้
ในที่สุดก็ชนะบังคับให้ ปลดปล่อยทาส สำเร็จ
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 81

โพสต์

ใครทำลาย"ความเชื่อมั่น"

คอลัมน์ สถานีคิดที่12

โดย ทวี มีเงิน


"ความเชื่อมั่น" เป็นคำที่ได้ยินบ่อยที่สุดในรอบ 5 ปี จนกลายเป็น "ยาวิเศษ" ที่ "รัฐบาลนายกฯทักษิณ" ใช้ฟื้นเศรษฐกิจมาตลอด

ขณะเดียวกันก็ใช้เป็น "คาถา" สยบคนที่ต่อต้านรัฐบาล ด้วยข้ออ้างว่า "ทำลายความเชื่อมั่น" ทำลายเศรษฐกิจประเทศ

ความคิดนี้ถูกนำมาอ้างไล่ลงมาตั้งแต่นายกฯ... รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ข้าราชการ นักวิเคราะห์ นักธุรกิจบางคน

ประหนึ่งว่าใครทำให้นักลงทุนต่างชาติ "ขาดความเชื่อมั่น" คนนั้นทำลายเศรษฐกิจ คนนั้นทำลายชาติ

สปอตไลท์โฟกัสไปที่กลุ่มผู้ประท้วงขับไล่นายกฯทักษิณเป็นพิเศษ กล่าวหาว่าเป็นผู้สร้างความไม่มั่นใจให้นักลงทุน เป็นผู้ทำลายความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีผู้ใหญ่ระดับสูงที่ดูแลหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจของชาติออกมาตอกย้ำว่า

"หากปัญหาการเมืองพัฒนาไปสู่ความรุนแรงจะเป็นการทำลายความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เกิดขึ้นแล้วอาจจะแก้ไขได้ยากกว่าการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540"

พร้อมย้ำว่า "รัฐธรรมนูญถือเป็นกฎเกณฑ์ของสังคม หากมีการดำเนินการทำให้กติกาล้ม ก็จะลบความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งความเชื่อมั่นนี้ถือเป็นกลไกสำคัญของทุนนิยมซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจหลักของประเทศ"

คนที่ออกมาพูดเช่นนี้นอกจากจะยึดแค่ "เศรษฐกิจ" เป็นเสาหลักหนึ่งเดียวแล้ว ยังทำลายเครดิตของกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงโดยขาดความรู้ความเข้าใจของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

การชุมนุมประท้วง การมีความคิดเห็นแตกต่าง เป็นกระบวนการปกติของระบอบประชาธิปไตย แต่ต้องอยู่ในกรอบกติกากำหนด

แต่ถ้าสถานการณ์รุนแรงถึงขั้นก่อจลาจล ปั่นป่วนวุ่นวายกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจคุมสถานการณ์ไม่อยู่ นั่นแหละจึงจะส่งผลกระทบกับ "ความเชื่อมั่น"

ถ้ายังไม่รุนแรงถึงขั้นนี้ เป็นเรื่องที่นักลงทุนฝรั่งเข้าใจได้ รับได้

ผมคุยกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฝรั่งระดับโลกในเมืองไทยรายหนึ่ง คุยกับที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่ติดต่อกับนักลงทุนต่างประเทศอยู่ 2-3 ราย

ผมถามว่าระหว่าง "ม็อบ" ที่ประท้วงทุกวัน กับ "ผู้นำถูกตั้งข้อสงสัยไม่โปร่งใส" ประเด็นไหนทำลาย "ความเชื่อมั่น" ในสายตานักลงทุนฝรั่งมากกว่ากัน

เขาบอกว่า หากคุยกันแบบ "ไม่เป็นข่าว" ต้องบอกว่าฝรั่งเขากลัว "ความไม่โปร่งใส" มากที่สุด ไม่ว่าความไม่โปร่งใสนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้นำ อย่างที่กำลังเกิดในบ้านเรา

หรือความไม่โปร่งใสของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. และกรมสรรพากรที่มีหน้าที่กำกับดูแล

นอกจากนี้มีบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งที่เผยแพร่ให้กับลูกค้าเป็นการภายใน เมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า

"แนวโน้มระยะยาวนักลงทุนต่างประเทศเริ่มไม่มั่นใจถึงความโปร่งใสการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากกรณีครอบครัวของนายกรัฐมนตรีขายหุ้นให้กับกลุ่มเทมาเส็ก จนกลายเป็นประเด็นถกเถียงถึงความไม่ชอบมาพากลต่างๆ นานา ไม่ว่าเรื่องจำนวนหุ้น หรือการใช้ข้อมูลภายในก่อนจะมีการขายหุ้นชินคอร์ปอย่างเป็นทางการ

ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ได้แสดงอะไรออกมาที่จะสร้างความมั่นใจถึงความโปร่งใสได้ ซึ่งน่าจะมีผลให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุน ในตลาดหลักทรัพย์ไทยในระยะยาวได้ และอาจจะมีผลถึงเมกะโปรเจ็คต์ของรัฐบาลด้วย

นี่คือบทวิเคราะห์ หลังการขายหุ้นไม่กี่วัน ยังไม่มีกรณี "โอ๊ค-เอม" ไม่ส่งเอกสารข้อมูลเพิ่มเติมให้ ก.ล.ต.ตามกำหนดเวลาจนเป็นใบ้กระทั่งทุกวันนี้ ยังไม่มี "แอมเพิล ริชฯ" และอื่นๆ

การประท้วงแสดงความไม่พอใจของประชาชนจึงเป็นแค่กระบวนการหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น

ดูอย่าง "เกาหลีใต้" ประท้วงกันเป็นรายวัน ไม่ว่าเป็นกรรมกรโรงงาน นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ล่าสุดเกษตรกร เหล่าดารา ศิลปินทุกแขนงประท้วงเอฟทีเอเกาหลีใต้-สหรัฐ

แต่เขาก็ฟื้นตัวจาก "โรคต้มยำกุ้ง" เร็วที่สุด มีระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่งระดับแถวหน้าของโลก กระทั่งยังรักษาตำแหน่งสี่เสือเอเชียได้อย่างเหนียวแน่น

"หัวใจ" ที่สร้างความเชื่อมั่นของ "เกาหลีใต้" คือ ระบบการตรวจสอบที่แข็งแกร่ง กระบวนการยุติธรรม เข้มแข็ง ผู้นำในอดีตคนแล้วคนเล่าที่อื้อฉาวจากปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ผลประโยชน์ทับซ้อน จะถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด ดำเนินการจริงจังตรงไปตรงมา

"อิตาลี" เป็นอีกตัวอย่างที่น่าสนใจ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นยุค "มุสโสลินี" นับรวมเวลาประมาณ 50 ปี แต่มีรัฐบาลมากถึง 48 ชุด เฉลี่ยรัฐบาลแต่ละชุดบริหารประเทศแค่ปีเศษๆ เท่านั้น

แต่ "อิตาลี" กลับติดอันดับ 1 ใน 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก

อย่าวิตก...ครับ ฝรั่งเขาไม่ได้กลัว "ม็อบ" จนขึ้นสมองอย่างที่เราคิด แต่เขากลัว "ความไร้จริยธรรม" ของผู้มีอำนาจมากกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 82

โพสต์

5 คณบดีรัฐศาสตร์ แจงจุดยืนให้"ทักษิณ"ออก

หมายเหตุ : เป็นครั้งแรกที่คณบดีคณะรัฐศาสตร์ 5 มหาวิทยาลัยมาร่วมกันเสวนา และประชุมกำหนดทิศทางการเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง ประกอบด้วย รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.), ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (มร.) และ รศ.ปิยะ กิจถาวร คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตปัตตานี มีนักศึกษาและประชาชนกว่า 300 คน เข้าร่วมรับฟัง



@ ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์

คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


ในวันที่ 23 มกราคม 2549 ที่มีการขายหุ้นล็อตใหญ่ของบริษัทชินคอร์ป ถือเป็นจุดหักเหที่ทำให้คณาจารย์คณะรัฐศาสตร์ออกมาทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง เพราะเห็นเป็นหน้าที่ที่เราต้องทำและเป็นเสรีภาพที่พึงทำได้ ซึ่งนอกเหนือจากเหตุการณ์ครั้งนี้มีหลายเหตุการณ์ที่เป็นพื้นฐานสะสมมา อาทิ การเมืองในการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในสภามหาวิทยาลัย การสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีคณบดีคณะรัฐศาสตร์เข้าไปเป็นคณะกรรมการสรรหาโดยตำแหน่ง ทำให้ได้เรียนรู้ว่าในกระบวนการสรรหากรรมการองค์กรอิสระมีอะไรบ้าง และไม่ได้ตรงไปตรงมาอย่างที่รัฐธรรมนูญต้องการให้เป็น

สิ่งเหล่านี้โดยเฉพาะเหตุการณ์ขายหุ้นชินคอร์ปทำให้เห็นประเด็นทางรัฐศาสตร์ชัดมาก และดิฉันคิดว่าเป็นบทเรียนที่นิสิตนักศึกษาด้านรัฐศาสตร์จะต้องทำความเข้าใจ เพราะมีปัญหาในเรื่องธรรมาภิบาลเกิดขึ้น การบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร การปิดกั้นสื่อ การใช้อำนาจครอบงำ เหมือนกับเป็นรัฐบาลเผด็จการ ทั้งที่เราอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น ในฐานะนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จึงต้องออกมาทำหน้าที่ คิดว่าอาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ทุกคนควรสำนึกว่านำประเด็นดังกล่าวไปสู่นิสิตนักศึกษา เพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจได้อย่างไร

ในส่วนของดิฉันนั้นได้หยิบยกกรณีดังกล่าวเข้าไปสอนในห้องเรียนตั้งแต่สัปดาห์แรก อีกทั้งในฐานะคนสอนรัฐศาสตร์ที่รู้สึกถึงหน้าที่ที่จะต้องนำประเด็นดังกล่าวปรากฏต่อสังคม และเชื่อในเสรีภาพจึงจำเป็นที่จะต้องหยิบยกประเด็นเหล่านี้มาหารือกันในวงกว้างขึ้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวคณาจารย์คณะรัฐศาสตร์ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และขอปฏิเสธว่าไม่ใช่การโหนกระแสคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์แต่อย่างใด

ส่วนที่มีการระบุว่าการที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินการครั้งนี้เป็นการรังแกลูกศิษย์นั้น รู้สึกงงมากว่าเหตุใดคำกล่าวหาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งจากที่ได้รับหนังสือให้กำลังใจจำนวนมาก มีฉบับหนึ่งจากครูระบุว่า เมื่อผู้นำไม่มีจริยธรรม แล้วอาจารย์มีจริยธรรมหรือไม่ เพราะจริยธรรมของอาจารย์คือการดูแลลูกศิษย์ ไม่ทำเหตุการณ์ใดที่จะทำให้ลูกศิษย์รู้สึกลำบากใจ บางครั้งพ่อขโมยของ ครูก็จำเป็นต้องปกปิดเพื่อดูแลสภาพจิตใจของเด็กไม่ให้ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ซึ่งก็เห็นด้วยว่าครูจะต้องดูแลจิตใจของลูกศิษย์เท่าที่ทำได้ แต่กรณีนี้มี 2 ประเด็นที่ทับซ้อนอยู่ คือ การดูแลลูกศิษย์ และประเด็นความรับผิดชอบต่อประเทศ ซึ่งคณาจารย์ทุกคนไม่มีความคิดไม่ดูแลลูกศิษย์ จึงขอปฏิเสธว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่มีมูลความจริง และขณะนี้คณาจารย์คณะรัฐศาสตร์พูดคุยกันถึงเรื่องบ้านเมืองก็ไม่ได้นำประเด็นนี้มาอยู่ในความคิด และอะไรที่เกิดขึ้นตามมาก็ไม่ได้เป็นการเตรียมการไว้แต่อย่างใด

คณาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้ลดทอนข้อเรียกร้อง ยังคงเรียกร้อง 2 ข้อคือ 1.ให้นายกฯ ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นกระบวนการเริ่มต้นของการถอดถอน และ 2.ปรับแก้กลไกและกระบวนการที่บกพร่อง ซึ่งหมายรวมถึงรัฐธรรมนูญด้วย แต่ยอมรับว่ากระบวนถอดถอนนายกฯ ในประวัติศาสตร์ทำได้ยาก แต่ยืนยันว่าเราอยากทำทั้งสองข้อ เพียงแต่จะใช้สันติวิธีที่อาจสำเร็จได้ยากแต่ต้องยอมรับในจุดนี้ ส่วนที่ถามถึงปรากฏการณ์สนธิว่าเป็นลมหายใจของคนที่เพิ่งเกิด หรือลมหายใจเฮือกสุดท้ายของคนที่กำลังจะตาย มองว่าไม่ใช่ทั้งสองข้อ แต่เป็นเรื่องของคนวัยกลางคนที่ต้องการพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น

เราเคยพูดไม่ใช่หรือว่า ทุนนิยมต้องไม่มุ่งกอบโกย ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ทุกสิ่งต้องเอื้อต่อเสรีภาพ แต่ตอนนี้กำลังเกิดข้องสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย

นี่คือจุดยืนของดิฉัน ไม่ได้โหนกระแสคุณสนธิ เพราะที่ผ่านมาก็ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมของคุณสนธิ แต่จุดหักเหที่เข้ามามีบทบาทคัดค้านการโอนหุ้นของครอบครัวนายกฯ



@ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์


ขณะนี้ประชาธิปไตยแบบกรีกโบราณในประเทศไทยได้หมดไปแล้ว แต่ปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยตัวแทนซึ่งเป็นประชาธิปไตยสมัยใหม่ ที่เกิดยากและอยู่ยากในขณะเดียวกัน เพราะประชาธิปไตยสมัยใหม่มีเงื่อนไขมาก อาทิ การเลือกตั้งจะต้องมีระบบที่ดี หากการเลือกตั้งไม่ยุติธรรมก็จบ นอกจากนั้นคือระบบการตรวจสอบคือระบบรัฐสภา ถ้าไม่มีหรือมีแล้วทำอะไรไม่ได้ ประเทศมีผู้นำที่เข้มแข็งแต่ไม่ไปสภาเลยก็เป็นเรื่องที่น่าตกใจ

ประชาธิปไตยในสังคมขณะนี้เป็นสมัยใหม่มากๆ มีโครงสร้างรูปแบบ แต่ไม่มีเนื้อหา ซึ่งเสรีภาพเปรียบเสมือนน้ำมันเครื่องที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยดำเนินไปได้ แต่ขณะนี้นักวิชาการหรือประชาชนทั่วไปกลับไม่มีเสรีภาพ หรือมีก็น้อยมาก ทำให้สังคมได้รับทราบข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือที่ได้รับก็น่าสงสัย เพราะบางเรื่องที่เราถามท่านไม่ตอบ แต่ท่านตอบในเรื่องที่เราไม่ได้ถาม

รัฐธรรมนูญปี 2540 ใช้มานานกว่า 9 ปีแล้ว ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุไว้ชัดเจนว่าเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญครบ 5 ปี จะต้องชำระปรับปรุงแก้ไขกฎหมายใหม่ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ที่ชัดเจน เพราะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็ยอมรับว่ารัฐธรรมนูญยังมีความไม่สมบูรณ์ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียงส่วนมากในสภาควรเป็นผู้ริเริ่มตั้งต้นรับฟังความคิดเห็นประชาชนว่าจะต้องแก้ไขในประเด็นในบ้าง ไม่ใช่ถามว่าจะแก้หรือไม่แก้ อย่างไรก็ตาม การที่นายกฯจะให้ลูกพรรคเดินสายเปิดเวทีชี้แจงประชาชนทั่วประเทศนั้น คิดว่าควรใช้ระบบรัฐสภา โดยเปิดสภาถ่ายทอดสด เพื่อให้นายกฯได้ชี้แจงให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับฟัง นอกจากนี้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาคดีซุกหุ้นภาค 2 ของนายกฯไว้ เพื่อให้กลไกรัฐธรรมนูญได้ทำงานไปตามปกติ ส่วนผลจะออกมาเป็นอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ในส่วนของคณาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ยืนยันว่าต้องการให้นายกฯลาออก เพียงแต่ต้องทำอย่างละมุนละม่อม ทำควบคู่ไปกับกระบวนการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้



@ ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล

คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มสธ.


นักวิชาการก็คือคนมีอารมณ์ความรู้สึกร้อนหนาวกับบ้านเมือง ซึ่งที่ผ่านมาก็อดทนเก็บความรู้สึก กลืนเลือดมาตลอด แต่ขณะนี้จำเป็นต้องออกมามีบทบาททางสังคม เพราะรัฐบาลถือว่าเป็นลูกศิษย์ที่เห็นว่าอย่างน้อยก็ต้องมีจริยธรรม และเป็นตัวอย่างที่ดี รู้จักมารยาททางสังคม การเมือง รัฐศาสตร์ เมื่อเห็นว่าโครงสร้าง องค์กร และบุคคลบิดเบือนจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ นักวิชาการก็ไม่สามารถทนได้จึงจำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวในฐานะปุถุชนที่ไม่เห็นดีงามกับความเลวทราม ไม่ถูกต้องของนักการเมือง ซึ่งการแสดงบทบาทของนักวิชาการถือเป็นการสอนโดยใช้สถานการณ์และปรากฏการณ์ทางสังคม รวมถึงใช้ตัวบุคคลที่อยู่ในการเมืองชี้ว่าอะไรถูก อะไรไม่ถูก ยืนยันว่าไม่ได้ทำเพราะไม่ได้อิจฉา แต่ไม่ต้องการให้สังคมไขว้เขวในด้านคุณธรรมจริยธรรม

ประเด็นในเรื่องเสรีภาพ ใน มสธ.เองมีความคิดเห็นหลากหลาย แม้แต่การรวบรวมรายชื่อเพื่อเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่ง ก็ยังมีอาจารย์บางท่านไม่เห็นด้วยเพราะคิดว่าเป็นการทุบหม้อข้าวตัวเอง เดี๋ยวก็ซวย เพราะรัฐบาลเป็นผู้ให้งบฯสนับสนุนมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่การเสนอชื่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่เสนอไปตั้งแต่เดือน พ.ย.2548 แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เพราะหนึ่งในนั้นเป็นผู้บริหารสื่อที่คุณสมบัติไม่ถูกใจรัฐบาล และรัฐบาลคงไม่ชอบ เรื่องจึงยังค้างอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯแต่งตั้ง

ส่วนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่าให้มีปรากฏการณ์ประชาชนมาชนกัน เพราะรัฐบาลไม่ยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ผ่านมา รู้กันดีว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญคือผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น เชื่อว่ารัฐบาลคงไม่ปล่อยให้องค์กรอิสระหรือประชาชนไปแก้ไขรัฐธรรมนูญตามอำเภอใจ และเชื่อว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจในเรื่องนี้อย่างแน่นอน เป็นเพียงการปล่อยลมจากลูกโป่งให้หายอึดอัดในสถานการณ์ขณะนี้เท่านั้น

ดังนั้น ผมขอเร่งเร้าให้ประชาชนช่วยกันรักษาประชาธิปไตยและรักษาระบบไว้ กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น ในปี 2540 จะต้องกลับมาอีกและจะต้องดีกว่าเดิม



@ รศ.ปิยะ กิจถาวร

คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี


ได้รับฉันทานุมัติจากคณาจารย์รัฐศาสตร์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มาร่วมพูดคุยกับคณบดีคณะรัฐศาสตร์ในเวทีนี้ ซึ่งเครือข่ายสมาพันธ์รัฐศาสตร์ชายแดนใต้ ได้ออกแถลงการณ์ขอให้ พ.ต.ท.ทักษิณลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเห็นว่าเป็นผู้นำที่มีปัญหาเรื่องคุณธรรมในการบริหารประเทศ และขอให้ใช้กลไกตรวจสอบทั้งในและนอกรัฐสภา เป็นเครื่องมือในการทำให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย

ขอยืนยันว่าคณาจารย์คณะรัฐศาสตร์มิได้ลดทอนเป้าหมายจากการเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่งเหลือเพียงแค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรายังต้องดำเนินการถอดถอนนายกฯต่อไป และหากทำอะไรแล้วจะเกิดวิกฤตการณ์นั้น ผมไม่กลัว เพราะมนุษย์ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด อย่างไรก็ดี ขณะนี้เริ่มมีการปล่อยข่าวว่าถ้าประชาชนทะเลาะกับฝ่ายการเมือง ทหารจะออกมาปฏิวัติ จึงมีการปล่อยข่าวว่าอย่าเข้าข้างคุณสนธิ และมีการพูดให้ทหารไม่พอใจ เพื่อจะดำเนินการอะไรบางอย่าง ซึ่งยังเชื่อว่าทหารก็เป็นประชาชนคนหนึ่งและคงไม่ทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียเอง

นายกฯเป็นผู้ทำลายระบอบประชาธิปไตย เพราะเวลาพูดถึงประชาธิปไตยมักอ้างคนส่วนมาก ไม่ให้ความสำคัญคนส่วนน้อย และยังบอกว่าถ้าล้มนายกฯก็คือการล้มประชาธิปไตย อยากบอกว่าท่านยิ่งใหญ่เกินไปแล้ว ขอให้คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อรัฐธรรมนูญของเรา





@ ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์

คณบดีคณะรัฐศาสตร์ รามคำแหง


สังคมอาจมองว่าช่วงแรกเราเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้นายกฯลาออก แต่ปัจจุบันกลายเป็นการเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ จริงๆ แล้วต้องยอมรับว่าการขับไล่ผู้นำในระบอบประชาธิปไตยเป็นเรื่องทำได้ยาก บทเรียนที่ผ่านมาพบว่าเราไม่เคยขับไล่ผู้นำได้สำเร็จโดยไม่เกิดความขัดแย้งรุนแรง มักมีการเผชิญหน้าระหว่างผู้บริหารประเทศและประชาชนเสมอ เพระฉะนั้นอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้สติและความอดกลั้นอย่างสูง เพราะปัจจุบันการเผชิญหน้ากันเป็นเรื่องของการใช้อารมณ์ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ครั้งนี้จะเป็นบทเรียนให้กับประชาชนได้เรียนรู้ว่าถ้าหากเลือกพรรคการเมืองใดแล้วอยู่ครบ 4 ปี จะเกิดปัญหาอะไรตามมาบ้าง

ทุกวันนี้บ้านเมืองฉ้อฉล กินรวบ ไม่กินแบ่ง เป็นเรื่องที่น่าละอายมาก ทั้งๆ ที่เราสร้างรัฐธรรมนูญให้มีระบบตรวจสอบ ให้องค์กรอิสระมาทำหน้าที่ทรงเกียรติแต่ไม่ได้เป็นที่หวังของประชาชนสักอย่าง ตอนนี้มีการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลายฝ่ายมองว่าเป็นการซื้อเวลาหรือไม่ ก็ยังเป็นปัญหาที่ขัดแย้งในสังคมนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 83

โพสต์

ครรชิต ไพศาล เขียน:ใน ความเห็นของผม

ปัญหา องค์กรกลาง ถ้าจะไม่ให้มีการ กล่าวหากันว่า เป็นฝ่ายบริหาร

ก็ตัดปัญหาโดยเปลี่ยนวิธี คัดสรรใหม่
แทนที่จะให้ ผ่านรัฐสภา ฝ่ายการเมือง ฝ่ายราชการ ฝ่ายประชาชน คัดสรร
ก็เปลี่ยนเป็นให้ คณะองค์มนตรี คัดสรรกลั่นกรอง นำทูลเกล้าโปรดแต่งตั้ง
จะได้หมดข้อกล่าวหาว่า รัฐบาลไปก้าวก่ายการแต่งตั้ง องค์กรกลาง
เจตนารมณ์ของคณะผู้ร่างรธน. คงไม่อยากให้กระบวนการใดๆตัดขาดจากประชาชนโดยสิ้นเชิงมังคับ  

และถ้าคณะองคมนตรีเป็นผู้คัดเลือกแล้วทูลเกล้าเพื่อให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าลงมา

ใครจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

เป็นกรณีที่หมิ่นเหม่ ดังที่พระเจ้าอยู่หัวได้เคยทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเมื่อคราวร่างรธน. 2517 มาแล้วคับ...เป็นกรณีคล้ายๆกัน...
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 84

โพสต์

ฝ่ายเสียงข้างน้อย ก็บอกว่า ฝ่ายเสียงข้างมาก ไม่ฟังเสียงข้างน้อย
ฝ่ายเสียงข้างมาก ก็บอกว่า ฝ่ายเสียงข้างน้อย ไม่ฟังเสียงข้างมาก

เรื่องนี้เถียงกันไม่จบ

แต่เมื่อ กติกามันบอกว่า
ต้องทำตามเสียงข้างมากของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ก็ต้องทำตามนั้น


ผมว่าเราดูที่ผลของงานดีกว่า
ว่าใครทำประโยชน์ให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มากกว่ากัน
ก็ให้คนนั้น บริหารประเทศ
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
คนเรือ VI
Verified User
โพสต์: 1647
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 85

โพสต์

เฮ้อ คนเรา

เอาใจยากจริง.......................

มีกฎไว้ทำไมครับถ้าจะตามใจกันทุกเรื่อง ฮ่ะ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 86

โพสต์

ฝ่ายเสียงข้างน้อย ก็บอกว่า ฝ่ายเสียงข้างมาก ไม่ฟังเสียงข้างน้อย
ฝ่ายเสียงข้างมาก ก็บอกว่า ฝ่ายเสียงข้างน้อย ไม่ฟังเสียงข้างมาก

เรื่องนี้เถียงกันไม่จบ  เป็นปัญหาโลกแตก สุดท้ายตีกัน
เหมือน กรณี สงครามกลางเมืองของสหรัฐ นั้นแหละ ครับ

แต่เมื่อ กติกามันบอกว่า
ต้องทำตามเสียงข้างมากของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ก็ต้องทำตามนั้น

ผมว่าเราดูที่ผลของงานดีกว่า
ว่าใครทำประโยชน์ให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มากกว่ากัน
ก็ให้คนนั้น บริหารประเทศ
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 87

โพสต์

เห็นด้วยคับ..

แต่ทั้งนี้ผู้รักษากติกา จะต้องได้รับความเชื่อถือ มีความชอบธรรม (code ethics)

ไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของผู้กุมอำนาจรัฐ (abuse of power)

เท่านั้นจริงๆ...


ส่วนประเด็นเรื่องผลงานนั้น ก็คงตามมาภายหลังอยู่แล้ว

เมื่อความชอบธรรมได้รับการพิสูจน์


อะไรคือความชอบธรรม ....

อะไรคือจริยธรรมที่ผู้คนถามหา.... :?:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 88

โพสต์

พวกนักการเมือง เขาก็กล่าวหากันไปเรื่อยไป ไม่รู้จบ
พอ กรรมการ ตัดสิน ไม่เป็นไปตามความต้องการของตัวเอง
ก็หาว่า กรรมการ เข้าข้างฝ่ายตรงข้าม
ประเภท ขี้แพ้ชวนตี กันทั้งนั้น  

ผมถึงว่า ปัญหา องค์กรกลาง ถ้าจะไม่ให้มีการ กล่าวหากันว่า เป็นฝ่ายบริหาร

ก็ตัดปัญหาโดยเปลี่ยนวิธี คัดสรรใหม่
แทนที่จะให้ ผ่านรัฐสภา ฝ่ายการเมือง ฝ่ายราชการ ฝ่ายประชาชน คัดสรร
ก็เปลี่ยนเป็นให้ คณะองค์มนตรี คัดสรรกลั่นกรอง นำทูลเกล้าโปรดแต่งตั้ง
จะได้หมดข้อกล่าวหาว่า รัฐบาลไปก้าวก่ายการแต่งตั้ง องค์กรกลาง

องค์กรกลาง ก็ให้เหมือนกับ คณะองค์มนตรี
ผมก็ไม่ทราบว่า การแต่งตั้งองค์มนตรี ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ก็ให้คนนั้นแหละเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

หรือว่าก็คือ นายก
เพราะ นายก เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการบังคับให้เป็นไปตามกฏหมาย
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 89

โพสต์

คำว่า ความชอบธรรม  
ความชอบธรรมของใคร ?

ผมก็ว่า มันเป็นปัญหาโลกแตก ว่ากันไปเรื่อยไป ไม่รู้จบ
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก

โพสต์ที่ 90

โพสต์

คำว่า ความชอบธรรม  
ความชอบธรรม  ในความคิดของใคร ?

ฝ่ายรัฐบาล เขาก็บอกว่า เขาชอบธรรม
ฝ่ายค้าย ก็บอกว่า ไม่ชอบธรรม

ผมก็ว่า มันเป็นปัญหาโลกแตก ว่ากันไปเรื่อยไป ไม่รู้จบ อยู่ดี

ถ้า แน่จริง ฝ่ายค้าน ต้องฟ้องอาญา เอา นายกเข้าคุกให้ได้
นั้นแหละ นายก ถึงจะ ไม่มีความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศ

ถ้าไม่เช่นนั้น ต้องตัดสินกันด้วย
ความเห็นเสียงข้างมากของประชาชนทั้งแผ่นดิน อยู่ดี
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN