เห็นด้วย สนธิก็ทําเพื่อตัวเองเช่นกัน มีแต่win winCK เขียน:ออกคู่เลยครับ
ทั้งทักษิณ ทั้งสนธิ ทำให้แตกแยกทั้งคู่
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
-
- Verified User
- โพสต์: 577
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 33
แล้วเปรียบเทียบกับท่านนายกคนปัจจุบันล่ะครับครรชิต ไพศาล เขียน:เตมีใบ้ คือสมญานาม นายกเปรม
ใครด่า ใครว่า อะไรก็ ช่างเขา เราไม่ตอบ
ถ่วงดุลอำนาจ ของก๊ก ของเหล่า ต่างๆ ไว้ให้ได้
เพื่อจะนำพาประเทศไปให้รอด
ทนจนทนไม่ไหวแล้ว ก็บอก พอแล้ว พอกันที่
ใครอยากโดนด่าต่อจากฉัน ก็มารับไม้ต่อไป
แก้ไขปัญหาอย่างไร
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 34
เฮ่อ..ผมเบื่อบรรยากาศช่วงนี้จังเลย จริงๆแต่ก่อนผมก็เป็นแฟนของรายการเมืองไทยฯเหมือนกันดูมาเป็นปี แต่ช่วงหลังกลายเป็นเมืองไทยประท้วงรายสัปดาห์ไป ผมเห็นด้วยบางอย่างที่คุณสน..เสนอ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดที่ ทำให้การเมืองเข้าสู่มุมอับ และเกิดความขัดแย้งทางความคิดกันอย่างรุนแรงแบบนี้ หากเขาขอให้มีการเปลี่ยนแปลง รธน.ในแง่ที่เป็นประโยชน์ต่อการถ่วงดุล และการตรวจสอบ รบ. แล้วมีอะไรไปว่ากันในสภา ผมว่ายังจะน่าสนับสนุนกว่า การมาต่อสู้ ให้ต้องเปลี่ยนตัวนายกเลยผมว่า มันยังไม่ถึงขนาดนั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 35
พวกที่ไม่ยอมรับมติ แถวบ้านผมเค้าเรียก ขี้แพ้ชวนตี ครับครรชิต ไพศาล เขียน: เมื่อผลออกมาว่า เสียงส่วนใหญ่ทั้งแผ่นดิน ไปข้างฝ่ายไหน
ไม่ว่า จะเป็นข้างที่เราชอบหรือไม่ชอบ
เราก็ต้องยอมรับในมติ ของเสียงข้างมาก
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 36
คุณรู้มั้ยว่าที่เค้าพยายามแก้ใขรัฐธรรมนูญคราวที่แล้ว ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินด้วยวิธีการนับเสียงข้างมากเป็นผู้ชนะนี่แหละครับ เพราะที่ผ่านมาเราได้ผู้ลงคะแนนเสียงที่มีระดับการตัดสินใจไม่เท่าเทียมกันได้รับข้อมูลความรู้มาไม่เหมือนกัน(ซึ่งเป็นข้อเสียของระบบประชาธิปไตยที่นับเสียงส่วนใหญ่ว่าถูกต้องเสมอ) คนจำนวนมากสามารถถูกซื้อด้วยเงินทอง ข้อตกลง หรืออิทธิพลในท้องถิ่นนั้นๆ บางคนก็เลือกไปด้วยการหลงเชื่อคำหวานต่างๆนาๆครรชิต ไพศาล wrote:
เมื่อผลออกมาว่า เสียงส่วนใหญ่ทั้งแผ่นดิน ไปข้างฝ่ายไหน
ไม่ว่า จะเป็นข้างที่เราชอบหรือไม่ชอบ
เราก็ต้องยอมรับในมติ ของเสียงข้างมาก
พวกที่ไม่ยอมรับมติ แถวบ้านผมเค้าเรียก ขี้แพ้ชวนตี ครับ
เค้าถึงแยกพวกปาตี้ลิสต์ออกมา แยกส่วนบริหารกับส่วนนิติบัญญัติ พวก สว. พวก ปปช. ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญออกมาเป็นองกรอิสระ เพื่อพยายามแก้ปัญหาเสียงข้างมากนี่แหละครับที่เป็นประเด็นสำคัญ
คือถึงแม้ในที่สุดคุณได้ตำแหน่งมาจากเสียงข้างมากด้วยวิธีที่คาดไม่ถึงมาจนได้ แต่คุณก็ยังจะต้องถูกถ่วงดุลอำนาจ และตรวจสอบจากองกรอิสระต่างๆตามที่แยกส่วนออกมาดังกล่าว ทำให้คุณไม่อยากจะทำความผิดหรือเรียกว่าโกงนั่นเอง เพราะจะมีกระบวนการติดตามอยู่เสมอ
แต่แล้วในที่สด องกรอิสระที่ว่ามาถูกแทรกแทรงโดยฝ่ายการเมือง(แทบ)ทั้งหมด ทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสียหายไป....ถ้าสามารถแก้กลับมาได้ ผมก็ยินดีจะเห็นคุณทักษิณเป็นนายกต่อไปที่สามารถตรวจสอบได้ ไม่ได้ทำอะไรเพื่อประโยชน์ตัวเองและพวกพ้องเป็นหลักอีกต่อไปครับผม
.....ปัญหาคือทำไมถึงกลัวการตรวจสอบมากนักหละถ้าทำด้วยความบริสุทธิใจ....ทำไมครับ?
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 37
ขอแจมด้วยคนครับ
ในมุมมองของผม แม่ทัพที่นำทัพไปพ่ายแพ้ ต้องถูกปลดหรือเปลี่ยน
ไม่ต้องรอให้ครบวาระ แม่ทัพภาค 4 ยังเปลี่ยนเป็นว่าเล่นเพียงแค่แก้ปัญหาได้ไม่รวดเร็วพอ
งานนี้ว่ากันจริงๆแล้ว สิงค์โปรสามารถทำให้ประเทศไทย
ระส่ำระสายแตกแยกได้ด้วยเงินเพียงไม่เท่าไร น้อยกว่างบประมาณกระทรวงกลาโหมใน 1ปีอีก เป็นการชนะโดยไม่ต้องรบซึ่งคือสุดยอดกลยุทธ ยิ่งถ้ามีรายการคนไทยฆ่ากันเองด้วยแล้ว ถูกเหมือนได้เปล่าเลยครับ
ไม่ว่าท่านนายกจะอยู่ต่อหรือไม่ ประเทศไทยก็มีปัญหาให้แก้กันอีกยาว
ถ้าท่านนายกฯอยู่ต่อก็แสดงว่าทุกอย่างขายได้หมด เพราะเงินคือคำตอบสุดท้าย จริงอย่างที่นายกฯว่า เขาเอาของไปไม่ได้แต่เราเสียสิทธิครับ "ห้ามสุนัขและคนจีนเข้า" คุ้นไหมครับ กรณีที่เกิดขึ้นตอนนี้ไม่ใช่เรื่องของทุนต่างชาตินะครับแต่เป็นทุนของประเทศครับ เอาตัวอย่างแบบสุดขั้ว
ลงทุนเพิ่มอีกสักสี่แสนล้านบาท หนึ่งพันล้านเหรียญเอง ซื้อกิจการโทรคมนาคมทั้งหมดของประเทศไทย DTAC TRUE TT&T TOT CAT
แล้วระงับการให้บริการสัก 1ปี ขาดทุนไม่ใช่ปัญหา ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรครับ
แต่ถ้าท่านนายกฯไม่สามารถอยู่ต่อไปได้ เราก็มีปัญหาเรื่องการลงทุนอีก
ทำทุกอย่างตามกฎหมายแต่ทำไมทำไม่ได แล้วใครที่ไหนจะกล้ามาลงทุน
แต่กฎก็ต้องเป็นกฎ แม่ทัพที่นำทัพไปพ่ายแพ้ต้องมีโทษ
รบแพ้แล้วถอยมาตั้งตัวใหม่ยังมีโอกาสชนะ
อีกประเด็นหนึ่งคือการปกครองประเทศนั้นใช้รัฐศาสตรเป็นหลัก์ ถ้าผิดหลักรัฐศาสตร์โดยสิ้นเชิงก็ไม่สมควรปกครองต่อไปได้ หรือว่าจะให้ยุบคณะรัฐศาสตร์ทิ้ง
เพราะหมดความจำเป็นสำหรับประเทศไทยแล้ว
เพราะความโลภตัวเดียวเท่านั้น
ในมุมมองของผม แม่ทัพที่นำทัพไปพ่ายแพ้ ต้องถูกปลดหรือเปลี่ยน
ไม่ต้องรอให้ครบวาระ แม่ทัพภาค 4 ยังเปลี่ยนเป็นว่าเล่นเพียงแค่แก้ปัญหาได้ไม่รวดเร็วพอ
งานนี้ว่ากันจริงๆแล้ว สิงค์โปรสามารถทำให้ประเทศไทย
ระส่ำระสายแตกแยกได้ด้วยเงินเพียงไม่เท่าไร น้อยกว่างบประมาณกระทรวงกลาโหมใน 1ปีอีก เป็นการชนะโดยไม่ต้องรบซึ่งคือสุดยอดกลยุทธ ยิ่งถ้ามีรายการคนไทยฆ่ากันเองด้วยแล้ว ถูกเหมือนได้เปล่าเลยครับ
ไม่ว่าท่านนายกจะอยู่ต่อหรือไม่ ประเทศไทยก็มีปัญหาให้แก้กันอีกยาว
ถ้าท่านนายกฯอยู่ต่อก็แสดงว่าทุกอย่างขายได้หมด เพราะเงินคือคำตอบสุดท้าย จริงอย่างที่นายกฯว่า เขาเอาของไปไม่ได้แต่เราเสียสิทธิครับ "ห้ามสุนัขและคนจีนเข้า" คุ้นไหมครับ กรณีที่เกิดขึ้นตอนนี้ไม่ใช่เรื่องของทุนต่างชาตินะครับแต่เป็นทุนของประเทศครับ เอาตัวอย่างแบบสุดขั้ว
ลงทุนเพิ่มอีกสักสี่แสนล้านบาท หนึ่งพันล้านเหรียญเอง ซื้อกิจการโทรคมนาคมทั้งหมดของประเทศไทย DTAC TRUE TT&T TOT CAT
แล้วระงับการให้บริการสัก 1ปี ขาดทุนไม่ใช่ปัญหา ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรครับ
แต่ถ้าท่านนายกฯไม่สามารถอยู่ต่อไปได้ เราก็มีปัญหาเรื่องการลงทุนอีก
ทำทุกอย่างตามกฎหมายแต่ทำไมทำไม่ได แล้วใครที่ไหนจะกล้ามาลงทุน
แต่กฎก็ต้องเป็นกฎ แม่ทัพที่นำทัพไปพ่ายแพ้ต้องมีโทษ
รบแพ้แล้วถอยมาตั้งตัวใหม่ยังมีโอกาสชนะ
อีกประเด็นหนึ่งคือการปกครองประเทศนั้นใช้รัฐศาสตรเป็นหลัก์ ถ้าผิดหลักรัฐศาสตร์โดยสิ้นเชิงก็ไม่สมควรปกครองต่อไปได้ หรือว่าจะให้ยุบคณะรัฐศาสตร์ทิ้ง
เพราะหมดความจำเป็นสำหรับประเทศไทยแล้ว
เพราะความโลภตัวเดียวเท่านั้น
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 39
ผมก็คิดเหมือนคุณCK เลยครับ
ดูเหมือนอะไรๆมันง่ายไปหมด และทำได้เร็วด้วย
แต่ไม่กล้าวิจารณ์ เพราะไม่มีความรู้และมีข้อมูลไม่พอครับ
เท่าที่รู้ ตอนนี้สภาทนายความกำลังจัดทำสมุดปกขาวเตรียมออกเร็วๆนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องภาษีซึ่งไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เรื่องที่สิงค์โปร์ได้ส้มปทานดาวเทียมไปเป็นเรื่องที่อันตรายมากกว่า
จากการให้สัมภาษณ์ของนายกสภาในรายการวิทยุรายการหนึ่ง ได้ข้อมูลมาว่า สิงค์โปรนั้นอยากมีดาวเทียมมานานแล้วแต่ด้วยขนาดของประเทศที่ค่อนข้างเล็ก ทำให้ขออนุญาติไม่ได้ เค้าเคยพยายามไปซื้อจากออสเตรเลียมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ ก็มาได้ที่ประเทศไทยนี่แหละครับ(ซึ่งไทยเอง ก็ได้มาอย่างยากเย็น)
....ส่วนเรื่องความน่ากลัวน่าห่วง คงต้องรอให้สมุดปกขาวออกมาแล้วหาอ่านกันดู น่าจะละเอียดและน่าเชื่อถือกว่านะครับ
อีกตอนหนึ่งของบทสัมภาษณ์...ท่านนายกสภาให้ความเห็นว่า ดีลนี้เชื่อว่ายังจ่ายเงินกันแค่บางส่วนเท่านั้น จากประสพการณ์ของท่านในกรณีดีลใหญ่ๆแบบนี้น่าจะมีเงื่อนใขของการจ่ายเงินค่อนข้างมาก ซึ่งน่าจะรวมถึงข้อแม้ที่จะล้มดีลได้ในกรณีที่มีการประท้วงของประชาชนในประเทศ หรือการทำกำไรลดลงจากปรกติอันเกิดจากการประท้วงด้วย....ได้ฟังมาแบบนี้ครับ คิดกันต่อเอาเองแล้วกันนะครับ
ดูเหมือนอะไรๆมันง่ายไปหมด และทำได้เร็วด้วย
แต่ไม่กล้าวิจารณ์ เพราะไม่มีความรู้และมีข้อมูลไม่พอครับ
เท่าที่รู้ ตอนนี้สภาทนายความกำลังจัดทำสมุดปกขาวเตรียมออกเร็วๆนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องภาษีซึ่งไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เรื่องที่สิงค์โปร์ได้ส้มปทานดาวเทียมไปเป็นเรื่องที่อันตรายมากกว่า
จากการให้สัมภาษณ์ของนายกสภาในรายการวิทยุรายการหนึ่ง ได้ข้อมูลมาว่า สิงค์โปรนั้นอยากมีดาวเทียมมานานแล้วแต่ด้วยขนาดของประเทศที่ค่อนข้างเล็ก ทำให้ขออนุญาติไม่ได้ เค้าเคยพยายามไปซื้อจากออสเตรเลียมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ ก็มาได้ที่ประเทศไทยนี่แหละครับ(ซึ่งไทยเอง ก็ได้มาอย่างยากเย็น)
....ส่วนเรื่องความน่ากลัวน่าห่วง คงต้องรอให้สมุดปกขาวออกมาแล้วหาอ่านกันดู น่าจะละเอียดและน่าเชื่อถือกว่านะครับ
อีกตอนหนึ่งของบทสัมภาษณ์...ท่านนายกสภาให้ความเห็นว่า ดีลนี้เชื่อว่ายังจ่ายเงินกันแค่บางส่วนเท่านั้น จากประสพการณ์ของท่านในกรณีดีลใหญ่ๆแบบนี้น่าจะมีเงื่อนใขของการจ่ายเงินค่อนข้างมาก ซึ่งน่าจะรวมถึงข้อแม้ที่จะล้มดีลได้ในกรณีที่มีการประท้วงของประชาชนในประเทศ หรือการทำกำไรลดลงจากปรกติอันเกิดจากการประท้วงด้วย....ได้ฟังมาแบบนี้ครับ คิดกันต่อเอาเองแล้วกันนะครับ
- มดง่าม
- Verified User
- โพสต์: 584
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 40
สนธิ Who is he?Rocker เขียน: เห็นด้วย สนธิก็ทําเพื่อตัวเองเช่นกัน มีแต่win win
ตัว ทักสิน เองนั้นแหละที่ทำให้แคกแยก ถ้าฯพณฯ สนใจทำเพื่อส่วนรวมจริงๆ ไม่มีวาระซ่อนเร้น ไม่ปิดกั้นการรับรู้ ไม่ทำลายระบบตรวจสอบ ต่อให้พันสนทิ หมื่นสนทิ ปลุกม็อบไม่ได้หรอกครับ
เหงาให้ตาย ถ้าไม่ใช่เธอ(หุ้นดี) ไม่เอา
ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ
ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4623
- ผู้ติดตาม: 1
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 41
ถ้า ฝ่ายไม่อยากให้นายกอยู่บริหารบ้านเมืองต่อไป
มองเรื่องหุ้นของนายก ว่าผิด และ เป็นเรื่องสำคัญ ในการเป็นนายก
มองความผิดพลาดบางประการ ซึ่งเป็นธรรมดาต้องมีบ้างสำหรับคนที่ทำงาน ทำให้ไม่สมควรเป็นนายก
แต่อย่าลืมว่า คนที่ไม่ทำผิดเลย คือ คนที่ไม่ได้ลงมือทำงานด้วยตัวเอง
นั่งพูด นั่งวิจารณ์ นั่งเขียนด่า ผู้อื่นตลอดชีวิต
แต่ ฝ่ายที่อยากให้นายกอยู่บริหารบ้านเมืองต่อไป
มองเรื่องหุ้นของนายก ว่าไม่ผิด และ ไม่เป็นเรื่องสำคัญ ในการเป็นนายก
มองที่ผลงานที่นายกทำตลอดเวลา 5 ปี
มองการแก้ปัญหาทุกข์ของช่วยคนอยากจน
มองการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติบ้านเมือง
ผมเห็นว่า ถ้ามองคนละมุมอย่างนี้ คงอยากที่จะยุติ
ถ้าไม่หันมา เคารพกติกา การเลือกตั้ง ที่มีอยู่ในขณะนี้
ไม่ชอบเขายังไง ก็ขอให้อดใจ รอให้ครบวาระ 4 ปี
แล้วก็อย่าไปลงคะแนนให้เขา
ถ้าคนส่วนมากไม่ต้องการให้เขาเป็น เขาก็ได้เป็น
ถ้าคนส่วนมากต้องการให้เขาเป็น เขาก็ได้เป็น
แต่ถ้าไม่ยอมยุติ ผมว่า
คงต้องแยกประเทศ ออกเป็น ฝ่ายเหนือ กับ ฝ่ายใต้ :lol: :lol:
ใครอยากให้นายกบริหารประเทศต่อไป ให้ย้ายไปอยู่ทางเหนือ
ใครไม่อยากนายกบริหารประเทศต่อไป ให้ย้ายไปอยู่ 3 จังหวัดภาคใต้
งานนี้สงสัยผม ต้องย้ายบ้านไปอยู่ทางเหนือแน่ๆเลย
ดีเหมือนกัน ได้มีโอกาสไปประชุมผู้ถือหุ้นกับเขาบ้าง :lol: :lol:
มองเรื่องหุ้นของนายก ว่าผิด และ เป็นเรื่องสำคัญ ในการเป็นนายก
มองความผิดพลาดบางประการ ซึ่งเป็นธรรมดาต้องมีบ้างสำหรับคนที่ทำงาน ทำให้ไม่สมควรเป็นนายก
แต่อย่าลืมว่า คนที่ไม่ทำผิดเลย คือ คนที่ไม่ได้ลงมือทำงานด้วยตัวเอง
นั่งพูด นั่งวิจารณ์ นั่งเขียนด่า ผู้อื่นตลอดชีวิต
แต่ ฝ่ายที่อยากให้นายกอยู่บริหารบ้านเมืองต่อไป
มองเรื่องหุ้นของนายก ว่าไม่ผิด และ ไม่เป็นเรื่องสำคัญ ในการเป็นนายก
มองที่ผลงานที่นายกทำตลอดเวลา 5 ปี
มองการแก้ปัญหาทุกข์ของช่วยคนอยากจน
มองการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติบ้านเมือง
ผมเห็นว่า ถ้ามองคนละมุมอย่างนี้ คงอยากที่จะยุติ
ถ้าไม่หันมา เคารพกติกา การเลือกตั้ง ที่มีอยู่ในขณะนี้
ไม่ชอบเขายังไง ก็ขอให้อดใจ รอให้ครบวาระ 4 ปี
แล้วก็อย่าไปลงคะแนนให้เขา
ถ้าคนส่วนมากไม่ต้องการให้เขาเป็น เขาก็ได้เป็น
ถ้าคนส่วนมากต้องการให้เขาเป็น เขาก็ได้เป็น
แต่ถ้าไม่ยอมยุติ ผมว่า
คงต้องแยกประเทศ ออกเป็น ฝ่ายเหนือ กับ ฝ่ายใต้ :lol: :lol:
ใครอยากให้นายกบริหารประเทศต่อไป ให้ย้ายไปอยู่ทางเหนือ
ใครไม่อยากนายกบริหารประเทศต่อไป ให้ย้ายไปอยู่ 3 จังหวัดภาคใต้
งานนี้สงสัยผม ต้องย้ายบ้านไปอยู่ทางเหนือแน่ๆเลย
ดีเหมือนกัน ได้มีโอกาสไปประชุมผู้ถือหุ้นกับเขาบ้าง :lol: :lol:
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4623
- ผู้ติดตาม: 1
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 42
ถ้า ฝ่ายไม่อยากให้นายกอยู่บริหารบ้านเมืองต่อไป
มองเรื่องหุ้นของนายก ว่าผิด และ เป็นเรื่องสำคัญ ในการเป็นนายก
มองความผิดพลาดบางประการ ซึ่งเป็นธรรมดาต้องมีบ้างสำหรับคนที่ทำงาน ทำให้ไม่สมควรเป็นนายก
อย่าลืมว่า คนที่ไม่ทำผิดเลย คือ คนที่ไม่ได้ลงมือทำงานด้วยตัวเอง
นั่งพูด นั่งวิจารณ์ นั่งเขียนด่า ผู้อื่นตลอดชีวิต
แต่ ฝ่ายที่อยากให้นายกอยู่บริหารบ้านเมืองต่อไป
มองเรื่องหุ้นของนายก ว่าไม่ผิด และ ไม่เป็นเรื่องสำคัญ ในการเป็นนายก
มองที่ผลงานที่นายกทำตลอดเวลา 5 ปี
มองการแก้ปัญหาทุกข์ของคนอยากจน
มองการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติบ้านเมือง
ผมเห็นว่า ถ้ามองคนละมุมอย่างนี้ คงอยากที่จะยุติ
ถ้าไม่หันมา เคารพกติกา การเลือกตั้ง ที่มีอยู่ในขณะนี้
ไม่ชอบเขายังไง ก็ขอให้อดใจ รอให้ครบวาระ 4 ปี
แล้วก็อย่าไปลงคะแนนให้เขา
ถ้าคนส่วนมากไม่ต้องการให้เขาเป็น เขาก็ไม่ได้เป็น
ถ้าคนส่วนมากต้องการให้เขาเป็น เขาก็ได้เป็น
แต่ถ้าไม่ยอมยุติ ผมว่า
คงต้องแยกประเทศ ออกเป็น ฝ่ายเหนือ กับ ฝ่ายใต้ :lol: :lol:
ใครอยากให้นายกบริหารประเทศต่อไป ให้ย้ายไปอยู่ทางเหนือ
ใครไม่อยากนายกบริหารประเทศต่อไป ให้ย้ายไปอยู่ 3 จังหวัดภาคใต้
งานนี้สงสัยผม ต้องย้ายบ้านไปอยู่ทางเหนือแน่ๆเลย
และที่สำคัญ ผมคงต้องแยกทางกับเมียผมด้วย
เพราะเมียผมเขาเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
แต่ก็ดีเหมือนกัน จะได้มีโอกาสไปประชุมผู้ถือหุ้นกับเขาบ้าง :lol: :lol:
มองเรื่องหุ้นของนายก ว่าผิด และ เป็นเรื่องสำคัญ ในการเป็นนายก
มองความผิดพลาดบางประการ ซึ่งเป็นธรรมดาต้องมีบ้างสำหรับคนที่ทำงาน ทำให้ไม่สมควรเป็นนายก
อย่าลืมว่า คนที่ไม่ทำผิดเลย คือ คนที่ไม่ได้ลงมือทำงานด้วยตัวเอง
นั่งพูด นั่งวิจารณ์ นั่งเขียนด่า ผู้อื่นตลอดชีวิต
แต่ ฝ่ายที่อยากให้นายกอยู่บริหารบ้านเมืองต่อไป
มองเรื่องหุ้นของนายก ว่าไม่ผิด และ ไม่เป็นเรื่องสำคัญ ในการเป็นนายก
มองที่ผลงานที่นายกทำตลอดเวลา 5 ปี
มองการแก้ปัญหาทุกข์ของคนอยากจน
มองการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติบ้านเมือง
ผมเห็นว่า ถ้ามองคนละมุมอย่างนี้ คงอยากที่จะยุติ
ถ้าไม่หันมา เคารพกติกา การเลือกตั้ง ที่มีอยู่ในขณะนี้
ไม่ชอบเขายังไง ก็ขอให้อดใจ รอให้ครบวาระ 4 ปี
แล้วก็อย่าไปลงคะแนนให้เขา
ถ้าคนส่วนมากไม่ต้องการให้เขาเป็น เขาก็ไม่ได้เป็น
ถ้าคนส่วนมากต้องการให้เขาเป็น เขาก็ได้เป็น
แต่ถ้าไม่ยอมยุติ ผมว่า
คงต้องแยกประเทศ ออกเป็น ฝ่ายเหนือ กับ ฝ่ายใต้ :lol: :lol:
ใครอยากให้นายกบริหารประเทศต่อไป ให้ย้ายไปอยู่ทางเหนือ
ใครไม่อยากนายกบริหารประเทศต่อไป ให้ย้ายไปอยู่ 3 จังหวัดภาคใต้
งานนี้สงสัยผม ต้องย้ายบ้านไปอยู่ทางเหนือแน่ๆเลย
และที่สำคัญ ผมคงต้องแยกทางกับเมียผมด้วย
เพราะเมียผมเขาเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
แต่ก็ดีเหมือนกัน จะได้มีโอกาสไปประชุมผู้ถือหุ้นกับเขาบ้าง :lol: :lol:
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 43
ขอแสดงความคิดเห็นครับ....โดยความเคารพครับพี่ครรชิต
ประชาธิปไตยยังเป็นระบบที่ไม่สมบูรณ์ครับ ตราบใดที่เสียงข้างมากยังไม่ใช่เสียงที่มีคุณภาพพอ
ถึงได้เป็นปัญหาแบบนี้
ต้องพยายามแก้ใขต่อมาให้ดีขึ้น พัฒนาไปพร้อมๆกับความรู้
ทีนี้ข้อสงสัยต่อมาคือ แล้วเราเอาอะไรมาวัดว่า เสียงของใครมีคุณภาพมากกว่าของใคร....ตอบไม่ได้ครับ แต่พอมองออกอยู่บ้าง อยู่ที่ใครจะกล้ายอมรับความจริง และคงไม่มีใครกล้าออกมาพูดดูถูกเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆว่า บ้านเมืองเราระดับการศึกษาและความรู้ของคนส่วนใหญ่ยังด้อยอยู่มาก รวมถึงประเทศอื่นๆด้วยครับ
ระดับความรู้ที่น้อย(และผสมไปด้วยความหิวโหย)กลายเป็นอาหารโอชะของผู้มีอำนาจทางการเงิน กลายเป็นฐานเสียงให้ผู้มีอำนาจใช้ในการอ้างอิงได้ตลอดเวลา ว่าผมมาจากเสียงส่วนใหญ่และมาตามกติกา
แต่มันไม่แย่ขนาดนั้นสำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้ว คนเริ่มมีการศึกษามากขึ้น ความละอายกลายเป็นเรื่องสำคัญกว่าการตีความทางกฎหมาย ผู้นำจะละอายมากหากได้ทำผิดไปแม้จะโดยบังเอิญหรือไม่ได้ตั้งใจ เค้าจะสละสิทธิทันที(เนื่องจากมีความละอายสูง) เพราะความรุนแรงของปัญหาที่เค้าสร้างขึ้นเกิดจากความเอาใจใส่ไม่พอเพียง ทำให้สังคมส่วนรวมมีปัญหาตามมาจากการนำของเค้าครับ....ไม่ต้องรอการพิสูจน์จากการตีความทางตัวหนังสือของกฎหมายให้เสียเวลา เค้าจะรู้ตัวเอง
สำหรับประเทศเรา จะอ้างอิงกติกาหรือฐานเสียงก็คงยังไม่มีใครประท้วงครับ ถ้าผู้นำมีความโปร่งใสยอมให้มีการตรวจสอบได้ว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ได้ฉ้อฉลเอาประโยชน์เข้าใส่ตัวเองเป็นหลัก ก็ถือว่ายังมีความละอายอยู่บ้าง ไม่จำเป็นต้องมีความละอายสูงเหมือนประเทศพัฒนาแล้วหรอกครับ....แต่นี่นอกจากไม่ยอมเรื่องการตรวจสอบ ยังปิดกั้นและแทรกแทรงองกรอิสระและสื่อต่างๆ ซึ่งผมว่าพี่ก็น่าจะเข้าใจว่าไม่ใช่วิสัยที่คนดีๆเค้าทำกัน และอีกหลายอย่างที่ทยอยปรากฎออกมาเรื่อยๆ(ที่จริงมีมาก่อนนานแล้วและยังไม่ปรากฎให้เห็นเป็นประเด็นอีกพอสมควร)
...ผมเชื่อว่าถ้ารออีก3ปีหรือ10-20ปีในขณะที่ยังไม่มีอะไรพัฒนากว่านี้ ท่านนายกก็ยังเป็นคนเดิมอยู่ดีนั่นแหละครับไม่ว่าจะเลือกตั้งกี่ครั้ง....เพราะฉนั้นการไปหย่อนบัตรเพียงอย่างเดียวไม่คอยช่วยกันดู ผมว่าประเทศจะพัฒนายากแต่ผู้นำที่ไม่มีใครคอยสะกิดมีโอกาสที่จะพัฒนาไปในด้านมืดได้สูงมากครับ
ประชาธิปไตยยังเป็นระบบที่ไม่สมบูรณ์ครับ ตราบใดที่เสียงข้างมากยังไม่ใช่เสียงที่มีคุณภาพพอ
ถึงได้เป็นปัญหาแบบนี้
ต้องพยายามแก้ใขต่อมาให้ดีขึ้น พัฒนาไปพร้อมๆกับความรู้
ทีนี้ข้อสงสัยต่อมาคือ แล้วเราเอาอะไรมาวัดว่า เสียงของใครมีคุณภาพมากกว่าของใคร....ตอบไม่ได้ครับ แต่พอมองออกอยู่บ้าง อยู่ที่ใครจะกล้ายอมรับความจริง และคงไม่มีใครกล้าออกมาพูดดูถูกเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆว่า บ้านเมืองเราระดับการศึกษาและความรู้ของคนส่วนใหญ่ยังด้อยอยู่มาก รวมถึงประเทศอื่นๆด้วยครับ
ระดับความรู้ที่น้อย(และผสมไปด้วยความหิวโหย)กลายเป็นอาหารโอชะของผู้มีอำนาจทางการเงิน กลายเป็นฐานเสียงให้ผู้มีอำนาจใช้ในการอ้างอิงได้ตลอดเวลา ว่าผมมาจากเสียงส่วนใหญ่และมาตามกติกา
แต่มันไม่แย่ขนาดนั้นสำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้ว คนเริ่มมีการศึกษามากขึ้น ความละอายกลายเป็นเรื่องสำคัญกว่าการตีความทางกฎหมาย ผู้นำจะละอายมากหากได้ทำผิดไปแม้จะโดยบังเอิญหรือไม่ได้ตั้งใจ เค้าจะสละสิทธิทันที(เนื่องจากมีความละอายสูง) เพราะความรุนแรงของปัญหาที่เค้าสร้างขึ้นเกิดจากความเอาใจใส่ไม่พอเพียง ทำให้สังคมส่วนรวมมีปัญหาตามมาจากการนำของเค้าครับ....ไม่ต้องรอการพิสูจน์จากการตีความทางตัวหนังสือของกฎหมายให้เสียเวลา เค้าจะรู้ตัวเอง
สำหรับประเทศเรา จะอ้างอิงกติกาหรือฐานเสียงก็คงยังไม่มีใครประท้วงครับ ถ้าผู้นำมีความโปร่งใสยอมให้มีการตรวจสอบได้ว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ได้ฉ้อฉลเอาประโยชน์เข้าใส่ตัวเองเป็นหลัก ก็ถือว่ายังมีความละอายอยู่บ้าง ไม่จำเป็นต้องมีความละอายสูงเหมือนประเทศพัฒนาแล้วหรอกครับ....แต่นี่นอกจากไม่ยอมเรื่องการตรวจสอบ ยังปิดกั้นและแทรกแทรงองกรอิสระและสื่อต่างๆ ซึ่งผมว่าพี่ก็น่าจะเข้าใจว่าไม่ใช่วิสัยที่คนดีๆเค้าทำกัน และอีกหลายอย่างที่ทยอยปรากฎออกมาเรื่อยๆ(ที่จริงมีมาก่อนนานแล้วและยังไม่ปรากฎให้เห็นเป็นประเด็นอีกพอสมควร)
...ผมเชื่อว่าถ้ารออีก3ปีหรือ10-20ปีในขณะที่ยังไม่มีอะไรพัฒนากว่านี้ ท่านนายกก็ยังเป็นคนเดิมอยู่ดีนั่นแหละครับไม่ว่าจะเลือกตั้งกี่ครั้ง....เพราะฉนั้นการไปหย่อนบัตรเพียงอย่างเดียวไม่คอยช่วยกันดู ผมว่าประเทศจะพัฒนายากแต่ผู้นำที่ไม่มีใครคอยสะกิดมีโอกาสที่จะพัฒนาไปในด้านมืดได้สูงมากครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 44
คนมีการศึกษาสูงหรือต่ำ ผมว่าไม่เกี่ยวกับการจะเลือกใครเป็นสส.หรือนายก
และก็ไม่ใช่ว่าคนจบดร.หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะเลือกได้ดีกว่าชาวบ้านธรรมดา
และไม่ใช่ว่าคนจบดร.หรือเป็นอาจารย์ นิสิต นักศึกษา จะมีสิทธิมีเสียงมากกว่าชาวบ้านธรรมดา
สิ่งที่สำคัญคือธรรมะครับ
ผมไม่แน่ใจว่าคนจบดร. หรือเป็นอาจารย์ นิสิต นักศึกษา จะมีความรู้ และปฎิบัติธรรมะมากกว่าคนธรรมดา
คนจบดร. หรือเป็นอาจารย์ นิสิต นักศึกษา ก็อาจจะมีความโลภ โกรธ และหลง เห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประเทศชาติก็ได้ครับ
ผมมีเพื่อนหลายคนจบดร. หลายคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็มีความคิด ความพฤติ ที่ไม่น่าเสื่อมใส และก็ไม่ได้ดีไปกว่าชาวบ้านธรรมดาเลย
และก็ไม่ใช่ว่าคนจบดร.หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะเลือกได้ดีกว่าชาวบ้านธรรมดา
และไม่ใช่ว่าคนจบดร.หรือเป็นอาจารย์ นิสิต นักศึกษา จะมีสิทธิมีเสียงมากกว่าชาวบ้านธรรมดา
สิ่งที่สำคัญคือธรรมะครับ
ผมไม่แน่ใจว่าคนจบดร. หรือเป็นอาจารย์ นิสิต นักศึกษา จะมีความรู้ และปฎิบัติธรรมะมากกว่าคนธรรมดา
คนจบดร. หรือเป็นอาจารย์ นิสิต นักศึกษา ก็อาจจะมีความโลภ โกรธ และหลง เห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประเทศชาติก็ได้ครับ
ผมมีเพื่อนหลายคนจบดร. หลายคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็มีความคิด ความพฤติ ที่ไม่น่าเสื่อมใส และก็ไม่ได้ดีไปกว่าชาวบ้านธรรมดาเลย
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 46
[quote="ครรชิต ไพศาล"]นายกเปรม ครองอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรี จากปี 2523 ถึง 2531
รวม 8 ปี ยุบสภา 5 ครั้ง
เฉลี่ยแล้วสมัยละ
รวม 8 ปี ยุบสภา 5 ครั้ง
เฉลี่ยแล้วสมัยละ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 47
ประเด็นเรื่อง 4 ปีหรือเดี๋ยวนี้ มีท่านอื่นอภิปรายไปบ้างแล้ว คือ คุณเพื่อน คุณ CK ..
เห็นคล้าย และคล้อยตามนั้นคับ...
...ทองแท้ย่อมไม่กลัวเบ้าหลอม....
เห็นคล้าย และคล้อยตามนั้นคับ...
...ทองแท้ย่อมไม่กลัวเบ้าหลอม....
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4623
- ผู้ติดตาม: 1
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 49
การขัดแย้งทางการเมือง ทุกรูปแบบ
ก็เพื่อ ช่วงชิงอำนาจซึ่งกันและกัน ทั้งนั้นครับ
และ วิธีที่จะช่วงชิงอำนาจทางการเมืองได้
ก็คือ วิธีใส่ร้ายป้ายสี ซึ่งกันและกัน
เพื่อ ช่วงชิงเสียงข้างมากของประชาชน
ในยุค พลเอกเปรม ได้มีการเปลี่ยนพรรคการเมือง
ที่เข้าร่วมรัฐบาลบริหารประเทศ หลายครั้ง
เพราะ พรรคที่ไม่ได้ร่วมบริหารประเทศ กลายเป็นฝ่ายค้าน ก็คอยกล่าวหาว่า
พรรคที่ได้เข้าร่วมรัฐบาลทุจริต จนต้องยุบสภาเลือกตั้งใหม่
แล้วก็ได้พรรคใหม่เข้าร่วมรัฐบาลโดยมีนายกคนเดิม
แล้วเหตุการก็ซำรอยอีก แล้วต้องยุบสภาอีก หลายครั้ง
ดังนั้นทำให้ทุกพรรคการเมืองในเมืองไทยเป็นลูกป๋าหมดทุกพรรค
พวกทหารฝ่ายตรงข้าม ก็คอยจะก่อการปฏิวัติ (จำได้ว่ามีครั้งใหญ่ๆ 2 ครั้ง)
ผมจึงบอกว่า ยุค พลเอกเปรม บ้านเมืองระสำระส่าย ยิ่งกว่าสมัยนี้
ทำให้ ประเทศจะพัฒนา ไปได้ไม่ดี ไปได้ยาก
ความขัดแย้ง ในสมัยนี้ขณะนี้ จึงยังถือว่าเล็กน้อย
เมื่อเทียบกับสมัย พลเอกเปรม
เพราะในสมัยนี้ การเมืองในสภาเป็นปึกแผ่น
ได้รับเสียงข้างมากจากประชาชนสนับสนุนจากประชาชน
การทหารก็ไม่แตกแยก
ดังนั้น ประเทศจะพัฒนาไปได้ดีกว่า ในยุคของ พลเอกเปรม
ดังนั้นเราจึงควร ให้เวลาเขาบริหารให้ครบวาระ 4 ปี
ประเทศจะพัฒนาไปได้ด้วยดี เศรษฐกิจก็เจริญไปได้ด้วยดี
ถ้าเราไม่ชอบใจเขา เลือกตั้งคราวหน้า เราก็อย่าไปลงคะแนนให้เขา
แต่ถ้าเสียงข้างมากของคนทั้งแผ่นดิน มอบให้เขาบริหารประเทศต่อไป
เราก็ต้องยอมรับในเสียงข้างมากของคนทั้งประเทศ
ก็เพื่อ ช่วงชิงอำนาจซึ่งกันและกัน ทั้งนั้นครับ
และ วิธีที่จะช่วงชิงอำนาจทางการเมืองได้
ก็คือ วิธีใส่ร้ายป้ายสี ซึ่งกันและกัน
เพื่อ ช่วงชิงเสียงข้างมากของประชาชน
ในยุค พลเอกเปรม ได้มีการเปลี่ยนพรรคการเมือง
ที่เข้าร่วมรัฐบาลบริหารประเทศ หลายครั้ง
เพราะ พรรคที่ไม่ได้ร่วมบริหารประเทศ กลายเป็นฝ่ายค้าน ก็คอยกล่าวหาว่า
พรรคที่ได้เข้าร่วมรัฐบาลทุจริต จนต้องยุบสภาเลือกตั้งใหม่
แล้วก็ได้พรรคใหม่เข้าร่วมรัฐบาลโดยมีนายกคนเดิม
แล้วเหตุการก็ซำรอยอีก แล้วต้องยุบสภาอีก หลายครั้ง
ดังนั้นทำให้ทุกพรรคการเมืองในเมืองไทยเป็นลูกป๋าหมดทุกพรรค
พวกทหารฝ่ายตรงข้าม ก็คอยจะก่อการปฏิวัติ (จำได้ว่ามีครั้งใหญ่ๆ 2 ครั้ง)
ผมจึงบอกว่า ยุค พลเอกเปรม บ้านเมืองระสำระส่าย ยิ่งกว่าสมัยนี้
ทำให้ ประเทศจะพัฒนา ไปได้ไม่ดี ไปได้ยาก
ความขัดแย้ง ในสมัยนี้ขณะนี้ จึงยังถือว่าเล็กน้อย
เมื่อเทียบกับสมัย พลเอกเปรม
เพราะในสมัยนี้ การเมืองในสภาเป็นปึกแผ่น
ได้รับเสียงข้างมากจากประชาชนสนับสนุนจากประชาชน
การทหารก็ไม่แตกแยก
ดังนั้น ประเทศจะพัฒนาไปได้ดีกว่า ในยุคของ พลเอกเปรม
ดังนั้นเราจึงควร ให้เวลาเขาบริหารให้ครบวาระ 4 ปี
ประเทศจะพัฒนาไปได้ด้วยดี เศรษฐกิจก็เจริญไปได้ด้วยดี
ถ้าเราไม่ชอบใจเขา เลือกตั้งคราวหน้า เราก็อย่าไปลงคะแนนให้เขา
แต่ถ้าเสียงข้างมากของคนทั้งแผ่นดิน มอบให้เขาบริหารประเทศต่อไป
เราก็ต้องยอมรับในเสียงข้างมากของคนทั้งประเทศ
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 50
คนละบริบทกันคับ...
ความขัดแย้งเชิงอำนาจมีอยู่ทุกยุคทุกสมัย และจะยังมีต่อไปในอนาคต...
การปล่อยให้รัฐบาลบริหารประเทศไปตลอดสมัย
โดยอ้างว่าเป็นรัฐบาลที่คนส่วนใหญ่ยอมรับและมีเสียงข้างมากเด็ดขาด
ไม่อาจเป็นเหตุผลที่ยอมรับได้
ตราบใดก็ตามที่องค์กรอิสระที่เจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ถูกแทรกแซงในทุกขั้นทุกตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการสรรหา
แม้กระทั่งขั้นตอนของการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
คงไม่ต้องยกตัวอย่างกระมังว่า องค์กรอิสระใดบ้าง...มันเยอะ....
อีกทั้งวุฒิสมาชิก ที่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งของการกลั่นกรองท้วงติง ดูแลกรอบการบริหารของรัฐบาล ก็ยังถูกแทรกแซงอย่างไร้ศักดิ์ศรี สว.ด้วยกันยังยอมรับเองว่า มีสว.ส่วนหนึ่ง ราวๆ 1ใน 3 ของวุฒิสภา รับเงินเดือนจากฝ่ายการเมือง
สมัยหน้าอาจต้องเรียกว่าสภาผัวเมีย..
สตง. ชัดเจนที่สุดในเรื่องการแทรกแซง
ความจริง ถ้าสตง.อิสระจากอำนาจรัฐจริงๆ ปปช.ก็อาจไม่จำเป็นต้องมีให้ฟุ่มเฟือยเลย
หนังสือที่ผู้นำรัฐบาลมีไปถึง คตง. ถือว่าแทรกแซงหรือไม่ โปรดพิจารณา...
ประเทศชาติไม่ใช่เค้กที่จะให้ใครต่อใครมาแบ่งกันอย่างมูมมาม
ฟิลิปปินส์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของการการปล่อยให้รัฐบาลบริหารประเทศด้วยความเพลิดเพลิน เอร็ดอร่อยให้ภักษาหาร มังสาหาร เจือจานญาติพี่น้อง เพื้อนพ้องพันธมิตรของผู้นำ
กรณีที่จะให้รัฐบาลบริหารประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลและฝ่ายการเมืองจะต้องไม่แทรกแซงองค์กรอิสระตั้งแต่ขั้นตอนคณะกรรมการสรรหากรรมการองค์นั้น
ผู้นำต้องมีจริยธรรม ความจริงใจ
มาตรฐานของมโนสำนึกที่สูงกว่าการเป็นแค่นักการเมืองไปวันๆ (+การเป็นนักธุรกิจในคราบนัการเมือง)
มิเช่นนั้น มาตรฐานที่ผ่านมาของผู้นำในปัจจุบัน จะเป็นแบบอย่างให้พ่อค้า นักธุรกิจ นักการเมืองที่อาสาเข้ามาบริหารประเทศใช้เป็นข้ออ้างในการทำอะไรก็ตามที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมอันดีงามของผู้บริหาร
ขออัญเชิญพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7
เมื่อครั้งพระองค์สละราชสมบัติ
ใจความตอนหนึ่งว่า...
"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจ ที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ ยินยอมยกอำนาจทั้งหลาย ของ ข้าพเจ้าให้ แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจ โดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียง อันแท้จริงของ ประชาราษฎร"
ได้เข้าใจแนวคิดของท่านอีกวาระหนึ่ง
ขอบคุณจากใจจริง..
ความขัดแย้งเชิงอำนาจมีอยู่ทุกยุคทุกสมัย และจะยังมีต่อไปในอนาคต...
การปล่อยให้รัฐบาลบริหารประเทศไปตลอดสมัย
โดยอ้างว่าเป็นรัฐบาลที่คนส่วนใหญ่ยอมรับและมีเสียงข้างมากเด็ดขาด
ไม่อาจเป็นเหตุผลที่ยอมรับได้
ตราบใดก็ตามที่องค์กรอิสระที่เจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ถูกแทรกแซงในทุกขั้นทุกตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการสรรหา
แม้กระทั่งขั้นตอนของการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
คงไม่ต้องยกตัวอย่างกระมังว่า องค์กรอิสระใดบ้าง...มันเยอะ....
อีกทั้งวุฒิสมาชิก ที่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งของการกลั่นกรองท้วงติง ดูแลกรอบการบริหารของรัฐบาล ก็ยังถูกแทรกแซงอย่างไร้ศักดิ์ศรี สว.ด้วยกันยังยอมรับเองว่า มีสว.ส่วนหนึ่ง ราวๆ 1ใน 3 ของวุฒิสภา รับเงินเดือนจากฝ่ายการเมือง
สมัยหน้าอาจต้องเรียกว่าสภาผัวเมีย..
สตง. ชัดเจนที่สุดในเรื่องการแทรกแซง
ความจริง ถ้าสตง.อิสระจากอำนาจรัฐจริงๆ ปปช.ก็อาจไม่จำเป็นต้องมีให้ฟุ่มเฟือยเลย
หนังสือที่ผู้นำรัฐบาลมีไปถึง คตง. ถือว่าแทรกแซงหรือไม่ โปรดพิจารณา...
ประเทศชาติไม่ใช่เค้กที่จะให้ใครต่อใครมาแบ่งกันอย่างมูมมาม
ฟิลิปปินส์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของการการปล่อยให้รัฐบาลบริหารประเทศด้วยความเพลิดเพลิน เอร็ดอร่อยให้ภักษาหาร มังสาหาร เจือจานญาติพี่น้อง เพื้อนพ้องพันธมิตรของผู้นำ
กรณีที่จะให้รัฐบาลบริหารประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลและฝ่ายการเมืองจะต้องไม่แทรกแซงองค์กรอิสระตั้งแต่ขั้นตอนคณะกรรมการสรรหากรรมการองค์นั้น
ผู้นำต้องมีจริยธรรม ความจริงใจ
มาตรฐานของมโนสำนึกที่สูงกว่าการเป็นแค่นักการเมืองไปวันๆ (+การเป็นนักธุรกิจในคราบนัการเมือง)
มิเช่นนั้น มาตรฐานที่ผ่านมาของผู้นำในปัจจุบัน จะเป็นแบบอย่างให้พ่อค้า นักธุรกิจ นักการเมืองที่อาสาเข้ามาบริหารประเทศใช้เป็นข้ออ้างในการทำอะไรก็ตามที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมอันดีงามของผู้บริหาร
ขออัญเชิญพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7
เมื่อครั้งพระองค์สละราชสมบัติ
ใจความตอนหนึ่งว่า...
"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจ ที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ ยินยอมยกอำนาจทั้งหลาย ของ ข้าพเจ้าให้ แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจ โดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียง อันแท้จริงของ ประชาราษฎร"
ได้เข้าใจแนวคิดของท่านอีกวาระหนึ่ง
ขอบคุณจากใจจริง..
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 51
chatchai wrote:
ผมถึงใช้คำว่าคนที่มีความรู้ แทนที่จะใช้คำว่าคนที่มีการศึกษาไงครับ เพราะกลัวว่าจะเข้าใจผิดไป
ความรู้ตรงข้ามกับความไม่รู้ครับ...ความรู้ก็มีความหมายคล้ายๆกับธรรมะนั่นละครับ
ความรู้ในที่นี้หมายถึง รู้ในสิ่งที่เค้าคิดหรือกระทำ มีข้อมูลมากพอ มีระดับการประมวลความรู้มาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจในการกระทำที่ดีพอ..... เค้าถึงห้ามเด็กเล็กมาลงคะแนนเสียงไงครับ แต่ในระดับผู้ใหญ่นี่พูดไม่ได้เด็ดขาดว่าคนแถวนั้นห้าม แถวนี้ได้ เพราะมันไม่สามารถหาเกณฑ์มาจัดแบ่งได้ มีแต่จะก่อให้เกิดปัญหาความไม่พอใจและใช้ความรุนแรงเข้ามาแทนที่
วิธีแก้ใขต่อมาก็คือต้องยอมให้เป็นไปตามนั้นโดยใช้กฎเกณฑ์และการสื่อสารเข้ามาควบคุมพฤติกรรมการบริหารให้มากที่สุดไม่ว่าทีมบริหารจะเป็นคนดีหรือไม่ดีก็ตาม เพื่อไม่ให้หลงทางออกไป แต่ปัจจุบันมันไม่เป็นไปอย่างนั้นแล้วครับ คงเข้าใจว่าผมหมายถึงอะไร ระบบต่างๆที่ควรจะทำหน้าที่ได้มันถูกแทรกแทรงเกือบทั้งหมด
MisterK wrote:
ผมแค่ตั้งใจจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพราะเราทุกคนมีสิทธิที่จะมีความเห็นแตกต่างกันได้ ไม่ได้คิดจะเอาชนะใคร ผมเข้ามาอ่านและตอบกระทู้ในนี้ก็ได้ความรู้และมุมมองที่ไม่เหมือนเรากลับไปมาก รวมถึงได้ความรู้มุมมองของพี่ครรชิต คุณฉัตรชัย ที่กรุณาตอบชี้แจงในมุมที่ต่างออกไป ถ้าบังเอิญทำให้ใครไม่พอใจก็ขออภัยด้วยครับ ไม่ได้ตั้งใจจริงๆ
เห็นด้วยกับคุณฉัตรชัยทุกประการเลยครับ ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆทั้งสิ้นคนมีการศึกษาสูงหรือต่ำ ผมว่าไม่เกี่ยวกับการจะเลือกใครเป็นสส.หรือนายก
และก็ไม่ใช่ว่าคนจบดร.หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะเลือกได้ดีกว่าชาวบ้านธรรมดา
และไม่ใช่ว่าคนจบดร.หรือเป็นอาจารย์ นิสิต นักศึกษา จะมีสิทธิมีเสียงมากกว่าชาวบ้านธรรมดา
สิ่งที่สำคัญคือธรรมะครับ
ผมไม่แน่ใจว่าคนจบดร. หรือเป็นอาจารย์ นิสิต นักศึกษา จะมีความรู้ และปฎิบัติธรรมะมากกว่าคนธรรมดา
คนจบดร. หรือเป็นอาจารย์ นิสิต นักศึกษา ก็อาจจะมีความโลภ โกรธ และหลง เห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประเทศชาติก็ได้ครับ
ผมมีเพื่อนหลายคนจบดร. หลายคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็มีความคิด ความพฤติ ที่ไม่น่าเสื่อมใส และก็ไม่ได้ดีไปกว่าชาวบ้านธรรมดาเลย
ผมถึงใช้คำว่าคนที่มีความรู้ แทนที่จะใช้คำว่าคนที่มีการศึกษาไงครับ เพราะกลัวว่าจะเข้าใจผิดไป
ความรู้ตรงข้ามกับความไม่รู้ครับ...ความรู้ก็มีความหมายคล้ายๆกับธรรมะนั่นละครับ
ความรู้ในที่นี้หมายถึง รู้ในสิ่งที่เค้าคิดหรือกระทำ มีข้อมูลมากพอ มีระดับการประมวลความรู้มาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจในการกระทำที่ดีพอ..... เค้าถึงห้ามเด็กเล็กมาลงคะแนนเสียงไงครับ แต่ในระดับผู้ใหญ่นี่พูดไม่ได้เด็ดขาดว่าคนแถวนั้นห้าม แถวนี้ได้ เพราะมันไม่สามารถหาเกณฑ์มาจัดแบ่งได้ มีแต่จะก่อให้เกิดปัญหาความไม่พอใจและใช้ความรุนแรงเข้ามาแทนที่
วิธีแก้ใขต่อมาก็คือต้องยอมให้เป็นไปตามนั้นโดยใช้กฎเกณฑ์และการสื่อสารเข้ามาควบคุมพฤติกรรมการบริหารให้มากที่สุดไม่ว่าทีมบริหารจะเป็นคนดีหรือไม่ดีก็ตาม เพื่อไม่ให้หลงทางออกไป แต่ปัจจุบันมันไม่เป็นไปอย่างนั้นแล้วครับ คงเข้าใจว่าผมหมายถึงอะไร ระบบต่างๆที่ควรจะทำหน้าที่ได้มันถูกแทรกแทรงเกือบทั้งหมด
MisterK wrote:
สำหรับคุณMisterK ที่คุณpostมาแบบนี้ ทำให้ผมรู้สึกผิดที่คงทำให้คุณโกรธจากกระทู้ก่อนหน้านี้ เอาเป็นว่าผมขอโทษด้วยครับและขอยอมแพ้ ไม่ขอขัดแย้งกับคุณครับแต่ความจริงทุกคนก็คิดว่าคนอื่นแย่เหมือนกันหมด ความคิดตัวเองถูกต้องที่สุดได้ข้อมูลมามากที่สุด คนอื่น ๆ โดนปิดหูปิดตาหรือได้ผลประโยชน์ ----> อัตตา
ผมแค่ตั้งใจจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพราะเราทุกคนมีสิทธิที่จะมีความเห็นแตกต่างกันได้ ไม่ได้คิดจะเอาชนะใคร ผมเข้ามาอ่านและตอบกระทู้ในนี้ก็ได้ความรู้และมุมมองที่ไม่เหมือนเรากลับไปมาก รวมถึงได้ความรู้มุมมองของพี่ครรชิต คุณฉัตรชัย ที่กรุณาตอบชี้แจงในมุมที่ต่างออกไป ถ้าบังเอิญทำให้ใครไม่พอใจก็ขออภัยด้วยครับ ไม่ได้ตั้งใจจริงๆ
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 52
ส่วนในมุมมองของพี่ครรชิต ผมก็เห็นด้วยครับ และผมเห็นว่าในอดีตมีปัญหาค่อนข้างมาก นั่นก็เรื่องจริงครับ แต่ก็ต้องยอมรับมัน เพราะส่วนใหญ่เกิดจากความละโมภ+ความไม่รอบคอบในการบริหารและถูกจับได้ จนต้องมีการเปลี่ยนแปลงแทบทุกครั้ง บางครั้งก็เกิดจากการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายออกมาขัดแย้งกันจนไม่สามารถบริหารต่อไปได้ ..เราจึงต้องช่วยกันพัฒนาให้มันดีขึ้น แต่ห้ามตัดขั้นตอยการตรวจสอบออกเด็ดขาดครับ
ปัญหานี้ทำให้เกิดการแก้ใขรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่(และคงมีการแก้ใขไปเรื่อยๆเมื่อพบจุดบกพร่องใหม่ๆ)และมีความหวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เหมือนในอดีตอีก
แต่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ถูกใช้หาช่องโหว่มาเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอีกจนได้ จนกระทั่งผลปรากฎออกมาชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ และช่องโหว่ถูกใช้ไปในการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ไม่มีใครสามารถเอาผิดผู้มีอำนาจได้อีกต่อไป ....มาถึงตรงนี้ผมขอถามทุกท่านว่าเรื่องให้กลุ่มผู้มีอำนาจนี้ไม่สามารถตรวจสอบเอาผิดได้เป็นเรื่องสมควรหรือไม่ครับ....ผมสนใจประเด็นนี้มากกว่าการขับไล่เปลี่ยนนายกครับ....นายกสามารถอยู่ต่อพิสูจน์ตัวเองได้ แต่ต้องยอมที่จะไม่แทรกแทรงการตรวจสอบและองค์กรอิสระต่างๆ สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนได้อย่างโปร่งใส ไม่ว่านายกจะเป็นใคร หลังจากนี้คนที่คิดจะมาเป็นนายกจะได้เข้าใจถึงบรรทัดฐานที่ดีของผู้นำว่าควรเป็นเช่นใด และระมัดระวังที่จะทำความผิดไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ตาม
ปัญหานี้ทำให้เกิดการแก้ใขรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่(และคงมีการแก้ใขไปเรื่อยๆเมื่อพบจุดบกพร่องใหม่ๆ)และมีความหวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เหมือนในอดีตอีก
แต่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ถูกใช้หาช่องโหว่มาเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอีกจนได้ จนกระทั่งผลปรากฎออกมาชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ และช่องโหว่ถูกใช้ไปในการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ไม่มีใครสามารถเอาผิดผู้มีอำนาจได้อีกต่อไป ....มาถึงตรงนี้ผมขอถามทุกท่านว่าเรื่องให้กลุ่มผู้มีอำนาจนี้ไม่สามารถตรวจสอบเอาผิดได้เป็นเรื่องสมควรหรือไม่ครับ....ผมสนใจประเด็นนี้มากกว่าการขับไล่เปลี่ยนนายกครับ....นายกสามารถอยู่ต่อพิสูจน์ตัวเองได้ แต่ต้องยอมที่จะไม่แทรกแทรงการตรวจสอบและองค์กรอิสระต่างๆ สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนได้อย่างโปร่งใส ไม่ว่านายกจะเป็นใคร หลังจากนี้คนที่คิดจะมาเป็นนายกจะได้เข้าใจถึงบรรทัดฐานที่ดีของผู้นำว่าควรเป็นเช่นใด และระมัดระวังที่จะทำความผิดไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ตาม
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4623
- ผู้ติดตาม: 1
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 53
สรุปว่า รัฐธรรมนูญ ถูกเขียนขึ้นมา ตั้งกติกาการเลือกตั้งขึ้นมา
แล้วทำให้ผลการเลือกตั้ง มันชนะกันขาดลอย ถล่มทะลาย อย่างทุกวันนี้
รัฐธรรมนูญ นี้ ผิดใช่หรือเปล่า ครับ
ปัญหามันอยู่ที่รัฐธรรมนูญ มันเขียนล๊อก ตัวเอง
จน องค์กรกลาง ติดขัดเดี่ยงไปหมด หรือเปล่า
เหมือนขีดเขียนวงกลมไว้ล้อมรอบตัวเอง
แล้วบอกว่า กูออกไม่ได้โวย กูออกไม่ได้โวย
แล้วสมมุติว่า วันนี้ พรรคที่ชนะขาดลอย ถล่มทะลาย
ไม่ใช่ ไทยรักไทย แต่เป็น พรรคประชาธิปปัตย์
เพื่อนๆ คิดว่า ปัญหามันจะเป็นเหมือนกับ ที่เป็นอยู่ ไหม ครับ
แล้วทำให้ผลการเลือกตั้ง มันชนะกันขาดลอย ถล่มทะลาย อย่างทุกวันนี้
รัฐธรรมนูญ นี้ ผิดใช่หรือเปล่า ครับ
ปัญหามันอยู่ที่รัฐธรรมนูญ มันเขียนล๊อก ตัวเอง
จน องค์กรกลาง ติดขัดเดี่ยงไปหมด หรือเปล่า
เหมือนขีดเขียนวงกลมไว้ล้อมรอบตัวเอง
แล้วบอกว่า กูออกไม่ได้โวย กูออกไม่ได้โวย
แล้วสมมุติว่า วันนี้ พรรคที่ชนะขาดลอย ถล่มทะลาย
ไม่ใช่ ไทยรักไทย แต่เป็น พรรคประชาธิปปัตย์
เพื่อนๆ คิดว่า ปัญหามันจะเป็นเหมือนกับ ที่เป็นอยู่ ไหม ครับ
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4623
- ผู้ติดตาม: 1
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 54
หรือว่า เราต้องกลับไปแก้ไข วิธีเลือกตั้งใหม่
ให้ พรรครัฐบาล อ่อนแอ เหมือนเดิม
ให้ 1 ปี ยุบ 2 ปี ยุบ :roll:
ให้ พรรครัฐบาล อ่อนแอ เหมือนเดิม
ให้ 1 ปี ยุบ 2 ปี ยุบ :roll:
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 55
ตอนนี้ปัญหาจริงๆไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญครับพี่
ประเด็นมุ่งตรงไปที่คนใช้รัฐธรรมนูญให้ผิดเจตนารมณ์ โดยขาดความละอาย และหาช่องโหว่มาเป็นประโยชน์กับตัวเองครับ
ในเมื่อผลปรากฎออกมาว่าเค้าใช้เจตนารมณ์ไปในทางที่ผิดแบบนี้ จึงต้องหาทางแก้ใขกันต่อไปเพื่อป้องกัน ตราบใดที่กฎหมายไทยยังให้ความสำคัญของเจตนารมณ์ในการบัญญัติกฎหมายน้อยกว่าการตีความตามตัวอักษร(ซึ่งสามารถเฉฉัยออกไปใด้หลายทาง นอกเหนือจากเจตนารมณ์ที่แท้จริง) ก็คงต้องค้นหาจุดอ่อนมาแก้ใขกันต่อๆไป ถ้ามีความละอายเข้ามาแทนที่การถูสีข้างตีความอย่างเดียว ประเทศเราคงไปได้ดีกว่านี้มากครับ
ยังไงก็แล้วแต่ คำพูดที่ว่า"โจรเกิดก่อนตำรวจ" ก็มีเหตุผลของมันจริงๆครับ ถึงจะหาวิธีป้องกันอย่างดีแล้ว ก็อาจจะต้องเจอปัญหาใหม่ที่ไม่ได้คาดว่าจะเกิดได้อีกตราบเท่าที่ยังมีคนละโมภคิดจะเอาเปรียบ และไม่ละอายใจอยู่
ประเด็นมุ่งตรงไปที่คนใช้รัฐธรรมนูญให้ผิดเจตนารมณ์ โดยขาดความละอาย และหาช่องโหว่มาเป็นประโยชน์กับตัวเองครับ
ในเมื่อผลปรากฎออกมาว่าเค้าใช้เจตนารมณ์ไปในทางที่ผิดแบบนี้ จึงต้องหาทางแก้ใขกันต่อไปเพื่อป้องกัน ตราบใดที่กฎหมายไทยยังให้ความสำคัญของเจตนารมณ์ในการบัญญัติกฎหมายน้อยกว่าการตีความตามตัวอักษร(ซึ่งสามารถเฉฉัยออกไปใด้หลายทาง นอกเหนือจากเจตนารมณ์ที่แท้จริง) ก็คงต้องค้นหาจุดอ่อนมาแก้ใขกันต่อๆไป ถ้ามีความละอายเข้ามาแทนที่การถูสีข้างตีความอย่างเดียว ประเทศเราคงไปได้ดีกว่านี้มากครับ
ยังไงก็แล้วแต่ คำพูดที่ว่า"โจรเกิดก่อนตำรวจ" ก็มีเหตุผลของมันจริงๆครับ ถึงจะหาวิธีป้องกันอย่างดีแล้ว ก็อาจจะต้องเจอปัญหาใหม่ที่ไม่ได้คาดว่าจะเกิดได้อีกตราบเท่าที่ยังมีคนละโมภคิดจะเอาเปรียบ และไม่ละอายใจอยู่
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 56
ผมคิดว่า ปัญหาอยู่ที่ตัวผู้นำนะครับ
ถ้าผู้นำ มี
1. เมตตา
2. ยุติธรรม ( ไม่ได้แปลว่าทำตามกฎหมายแล้วแปลว่ายุติธรรมนะครับ )
3. วางตัวเหมาะสม ( เช่น วันมาฆะก็พาผู้นำเหล่าทัพไปวัด แทนที่จะไป ตีกอร์ฟ )
4. มีผลงาน
5. พูดให้น้อยหน่อย
ปัญหาทุกวันนี้
ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่มีคน เสียผลประโยชน์ (คำว่าเสียผลประโยชน์นี่ ต้องคิดให้ดีนะ คือ ถ้าเราไม่คิดว่าเราเสียอะไรเราคงไม่ประท้วง เช่น การขายสมบัติของชาติ เราก็คิดว่า เราเสียผลประโยชน์นะ ) และหาช่องมาเล่นงาน
อืม เผอิญมีช่องให้เล่นงานมากเกินไป
และผู้นำก็ให้สัมภาษณ์ให้เรื่องหนักขึ้นเรื่อยๆ
ในขณะที่อำนาจล้นฟ้า + เงินล้นแผ่นดิน
กฎระเบียบอะไรจะใช้ได้กับคนที่เป็นคนคุมกฎเอง
ผมคิดใหม่แล้วว่า น่าจะเลือกคนดี มีคุณธรรม ขึ้นมาครองประเทศ
อย่าไปเลือกคนเก่ง
เอาคนดี
แล้วดูอย่างไร ก็คงต้องดูประวัติกันอย่างยาวนาน ว่าท่านใดจะมาเป็นนายกก็ต้องมีประวัติความดีมาอย่างยาวนาน
ถ้าผู้นำ มี
1. เมตตา
2. ยุติธรรม ( ไม่ได้แปลว่าทำตามกฎหมายแล้วแปลว่ายุติธรรมนะครับ )
3. วางตัวเหมาะสม ( เช่น วันมาฆะก็พาผู้นำเหล่าทัพไปวัด แทนที่จะไป ตีกอร์ฟ )
4. มีผลงาน
5. พูดให้น้อยหน่อย
ปัญหาทุกวันนี้
ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่มีคน เสียผลประโยชน์ (คำว่าเสียผลประโยชน์นี่ ต้องคิดให้ดีนะ คือ ถ้าเราไม่คิดว่าเราเสียอะไรเราคงไม่ประท้วง เช่น การขายสมบัติของชาติ เราก็คิดว่า เราเสียผลประโยชน์นะ ) และหาช่องมาเล่นงาน
อืม เผอิญมีช่องให้เล่นงานมากเกินไป
และผู้นำก็ให้สัมภาษณ์ให้เรื่องหนักขึ้นเรื่อยๆ
ในขณะที่อำนาจล้นฟ้า + เงินล้นแผ่นดิน
กฎระเบียบอะไรจะใช้ได้กับคนที่เป็นคนคุมกฎเอง
ผมคิดใหม่แล้วว่า น่าจะเลือกคนดี มีคุณธรรม ขึ้นมาครองประเทศ
อย่าไปเลือกคนเก่ง
เอาคนดี
แล้วดูอย่างไร ก็คงต้องดูประวัติกันอย่างยาวนาน ว่าท่านใดจะมาเป็นนายกก็ต้องมีประวัติความดีมาอย่างยาวนาน
แก้ไขล่าสุดโดย Jeng เมื่อ อังคาร ก.พ. 14, 2006 11:22 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 57
ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ทำแบบเดียวกันกับรัฐบาลปัจจุบัน ผมก็คิดว่าจะเกิดปัญหาแบบเดียวกันครับพี่ ในที่สุดจะต้องมีการประท้วงเกิดขึ้น และอาจเกิดเร็วกว่ารัฐบาล ทรท.ด้วยครับ เพราะทรท.มีคนที่รักคุณทักษิณเยอะมาก และ ปชป.ไม่สามารถควบคุมเสียงลูกพรรคได้เต็มที่อย่าง ทรท.ครับแล้วสมมุติว่า วันนี้ พรรคที่ชนะขาดลอย ถล่มทะลาย
ไม่ใช่ ไทยรักไทย แต่เป็น พรรคประชาธิปปัตย์
เพื่อนๆ คิดว่า ปัญหามันจะเป็นเหมือนกับ ที่เป็นอยู่ ไหม ครับ
แต่มาคิดอีกที คงไม่ต้องถึงขั้นประท้วงหรอกครับ เพราะขนาดที่เล็กกว่าไม่สามารถกุมอำนาจเบ็ดเสร็จในการตรวจสอบได้ จะถูกกดดันจนอยู่ไม่ได้ก่อนที่จะมีการประท้วงครับ
ผมว่าดีออก จะได้ไม่กล้าทำผิดกันมากมายขนาดนี้
คงต้องค่อยๆพัฒนาไปครับพี่ พร้อมกับปลุกจิตสำนึกกับคนรุ่นใหม่ให้รู้จักความละอายในความผิด อย่าปล่อยให้ความคิดที่ว่าปล่อยให้เค้าโกงบ้างไม่เห็นเป็นไรเข้ามาอยู่ปลูกฝังเยาชนเลยครับ แบบนี้จะยิ่งถอยหลังกันไปใหญ่หรือว่า เราต้องกลับไปแก้ไข วิธีเลือกตั้งใหม่
ให้ พรรครัฐบาล อ่อนแอ เหมือนเดิม
ให้ 1 ปี ยุบ 2 ปี ยุบ
ปัจจุบันนี้ผมก็ว่ามีการพัฒนาขึ้นมามากกว่าแต่ก่อนแล้วนะครับ นับจาก14ตุลา เป็นต้นมา และมีความตื่นตัวที่จะพัฒนาต่อไป....ดีกว่าปล่อยให้ถอยหลังกลับไปเริ่มต้นใหม่ด้วยการซึมซับกับตัวอย่างที่ไม่ดีของผู้นำประเทศ(ไม่ว่าจะเป็น ทรท. หรือ ปชป. ก็ตาม)
- moo
- Verified User
- โพสต์: 1150
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 58
กระทู้นี้ดีมากเลยครับ
ได้แลกเปลี่ยนมุมมองและแนวคิดอย่างอิสระและกว้างขวาง
ได้รับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์
ขอบคุณพี่ครรชิตมากครับ
ผมมองว่า รัฐธรรมนูญไม่ผิดหรอกครับ
ร่างกฎหมายในเวลานั้น
ก็เป็นไปตามสถานะการณ์ที่เหมาะสมช่วงนั้นๆ
หากเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนไป
สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ร่วมสมัยได้ครับ
ขึ้นอยู่กับตัวผู้นำนั้นๆมากกว่าครับ
ได้แลกเปลี่ยนมุมมองและแนวคิดอย่างอิสระและกว้างขวาง
ได้รับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์
ขอบคุณพี่ครรชิตมากครับ
ผมมองว่า รัฐธรรมนูญไม่ผิดหรอกครับ
ร่างกฎหมายในเวลานั้น
ก็เป็นไปตามสถานะการณ์ที่เหมาะสมช่วงนั้นๆ
หากเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนไป
สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ร่วมสมัยได้ครับ
ขึ้นอยู่กับตัวผู้นำนั้นๆมากกว่าครับ
ถ้าคุณหัวเสีย คุณจะเสียหัว
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 59
เห็นมีถกกันเรื่องจริยธรรม จึงนำมาให้อ่านกันเล่นๆ....
ภาษีชินคอร์ป : ทำไมต้องถามหาจริยธรรม
คอลัมน์ ดุลยภาพดุลยพินิจ
โดย ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
นักธุรกิจจำนวนไม่น้อยมองเห็นภาษีเป็นเพียงต้นทุนทางธุรกิจ และพยายามจ่ายภาษีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้
แต่ทว่าภาครัฐต้องยึดหลักความเป็นธรรมรวมทั้งสร้างความเข้าใจแก่นักธุรกิจเหล่านั้นด้วยว่า ภาษีเป็นการแบ่งปันให้สังคมก้าวหน้าไปด้วยกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ผู้ที่ร่ำรวยย่อมต้องเอื้อเฟื้อต่อสังคมและเสียภาษีสูงกว่าผู้ที่ยากจน
การบริหารภาษีเพื่อลดภาระต้นทุนไม่ควรข้ามเส้นจริยธรรมจนกลายเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นที่มีความตรงไปตรงมา เละการหลบเลี่ยงภาษีอย่างเอาเป็นเอาตายนั้นเป็นพฤติกรรมที่สังคมพึงรังเกียจ
การขายหุ้นชินคอร์ปโดยไม่ต้องเสียภาษีทำให้ครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเทมาเส็ก โฮลดิงส์ ของสิงคโปร์ได้รับประโยชน์ แต่ความเชื่อมั่นศรัทธาที่ประชาชนมีต่อระบบภาษีและกรมสรรพากรต้องตกต่ำลง เนื่องจากผู้ได้รับรายได้เป็นเงินจำนวนมหาศาลกลับได้รับการรับรองว่าไม่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ในขณะที่ประชาชนทั่วไปต้องแบกรับภาระภาษี
พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตต้องเสียภาษีในการซื้อหุ้น กฟผ.ด้วยเหตุที่แตกต่างกันในรายละเอียดบางประการ ประชาชนและพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไม่เคยได้รับโอกาส หรือคำปรึกษาจากกรมสรรพากรอย่างเท่าเทียมกัน
กรมสรรพากรมิได้แสดงบทบาทที่เข้มแข้งในฐานะเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีของรัฐ และก็มิได้ให้ความสนใจในปัญหาจริยธรรมทางภาษี (tax ethics) และผลกระทบที่เกิดจากความล้าหลังของประมวลรัษฎากร ท่าทีที่ยอมจำนนโดยดุษฎี จึงกลายเป็นวิกฤตศรัทธาที่กรมสรรพากรไม่เคยประสบมาก่อน
ถึงแม้ว่าการที่บุคคลธรรมดาขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และทางกรมสรรพากรเคยให้คำวินิจฉัยให้แก่ชินคอร์ปว่าการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาดจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ทางการควรรับฟังคำทักท้วงของสาธารณชน หรือยอมรับว่าความซับซ้อนของการโอนขายหุ้นทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ อย่างน้อยที่สุดก็ควรส่งเรื่องหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา แทนการตีความเองและปฏิบัติเอง ซึ่งเสี่ยงต่อข้อครหาและความไม่ร่วมมือจากประชาชนผู้เสียภาษี
ถ้าหากปัญหามิได้อยู่ที่การตีความข้อกฎหมาย คำตอบของคณะกรรมการกฤษฎีกาย่อมเป็นเช่นเดียวกับที่กรมสรรพากรได้วินิจฉัยให้ทางชินคอร์ป
การเลี่ยงภาษีเชิงรุก (offensive tax avoidance) เป็นความพยายามทุ่มเททรัพยากรหรือบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อให้ตนสามารถหลบหลีกการเสียภาษีในทุกวิถีทาง ซึ่งอาจเป็นการกระทำที่จงใจกว่าการวางแผนภาษีที่พลเมืองทั่วไปมักกระทำกัน
ผู้บริหารประเทศไม่ควรยอมรับกระบวนการเลี่ยงกฎหมายเหล่านี้ หากแต่ต้องวางมาตรการป้องกันที่เข้มงวด มีการตักเตือน มีการให้แนวทางที่ส่งเสริมจริยธรรมทางภาษีอากร และประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีและเคร่งครัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายด้วย
ภายหลังจากที่ได้มีการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ.2540 การกำหนดให้มีการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินหนี้สินของนักการเมือง ทำให้นักการเมืองต้องให้นิติบุคคลหรือทรัสตีบริหารหุ้นบริษัทโดยอิสระจากตน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้จดทะเบียนก่อตั้งนิติบุคคลขึ้นคือ บริษัท แอมเพิล ริช อินเวสท์เมนท์ ที่เกาะบริติชเวอร์จิ้น ซึ่งเป็นเขตปลอดภาษี (tax heaven) และเกือบไม่มีเงื่อนไขในความเป็นบริษัท แล้วจากนั้นก็ได้โอนขายหุ้นชินคอร์ปของตนจำนวน 329.2 ล้านหุ้น ให้กับแอมเพิลริชนี้ถือไว้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 หรือก่อนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประกาศใช้อย่างเป็นทางการเพียง 5 เดือน
กรณีการขายหุ้นในเวลาต่อมาให้แก่เทมาเส็กโดยอ้างว่าบุตรชาย-บุตรสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเจ้าของแอมเพิลริช นับว่าเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ปิดเงียบแต่ลงท้ายด้วยการยืนยันจากรัฐว่าไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีอย่างแน่นอน
สำหรับครอบครัวชินวัตรในฐานะนักธุรกิจ การจัดตั้งบริษัทเพื่อถือครองหุ้นชินคอร์ปและการบริหารหุ้นชินคอร์ปน่าจะมีทางเลือกที่เป็นไปได้หลายทาง เช่น
(ก) ขายหุ้นบริษัทลูกให้นักลงทุนรายใหม่ แทนที่จะขายหุ้นชินคอร์ปซึ่งแนวทางนี้ชินคอร์ปจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (25% ภายหลังปี 2544) และผลประโยชน์ที่ได้รับบางส่วนต้องแบ่งปันให้ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ด้วย โดยเป็นทางเลือกที่ไม่เกี่ยวกับบริษัทเพื่อถือครองดังกล่าวโดยตรง
(ข) ตั้งบริษัท เช่น แอมเพิลริชในประเทศไทย แล้วค่อยขายหุ้นชินคอร์ปออกไปผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งแนวทางนี้บริษัทจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (30%) และภาษีจากเงินปันผล (10%)
(ค) ตั้งบริษัทในต่างประเทศที่มิใช่เขตปลอดภาษี แล้วค่อยขายหุ้นชินคอร์ปผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งแนวทางนี้บริษัทจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีจากเงินปันผล ตามอัตราที่กำหนดในประเทศนั้น
(ง) ตั้งบริษัทในเขตปลอดภาษี เช่น เกาะบริติชเวอร์จิ้นและเกาะเคย์แมน แล้วขายหุ้นชินคอร์ปผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งแนวทางนี้บริษัทไม่ต้องเสียทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีจากเงินปันผล
การเลือกแนวทาง (ง) จึงทำให้นักธุรกิจหรือครอบครัวชินวัตรได้ประโยชน์จากการยกเว้นภาษีจำนวนมากมาย ในขณะที่ภาครัฐคือ กระทรวงการคลังต้องสูญเสียโอกาสทางรายได้จากภาษีส่วนนี้ไป ซึ่งในแง่หนึ่งนั้นก็อาจนับเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้เสียภาษีรายอื่นๆ ที่มิได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน
ส่วนการขายหุ้นชินคอร์ปออกไปในราคาเพียง 1 บาท จะทำให้บริษัทไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะจดทะเบียนหรือดำเนินการที่ใด เกาะบริติชเวอร์จิ้น ลอนดอนหรือสิงคโปร์ การกำหนดราคาขายที่ผิดธรรมชาตินี้เป็นการกำหนดว่าประเทศที่บริษัทตั้งอยู่จะได้รับภาษีเพียงใด (ซึ่งในกรณีนี้คือ ไม่ได้เลย)
ถ้าการตีความของกรมสรรพากรตามที่ครอบครัวชินวัตรได้ขอวินิจฉัยไว้ถูกต้อง รายได้ที่ "ผู้ซื้อหุ้นชินคอร์ปจากบริษัท" หรือนายพานทองแท้ทำกำไรจากการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าตลาด (เช่น 1 บาท หรือสูงกว่านั้น) ก็จะไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษี และเมื่อขายต่อให้นักลงทุนรายใหม่อย่างเทมาเส็กก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ (ส่วนภาษีจากเงินปันผลในอนาคต สิงคโปร์หรือประเทศของนักลงทุนรายใหม่จะเป็นผู้ได้รับ)
แน่นอนที่สุด การบริหารธุรกิจที่มีต้นทุนภาษีต่ำในกรณีนี้ย่อมให้ประโยชน์มากมายแก่ครอบครัวชินวัตร แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ก่อปัญหาให้แก่ภาครัฐอันมีนายกรัฐมนตรีคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด
ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนที่ตอกย้ำมานานทำให้ผู้นำประเทศปฏิเสธได้ยากว่ามิได้รับรู้การขายแอมเพิลริชและชินคอร์ป การตัดสินใจในหนทางที่ไม่ต้องเสียภาษีแบบมืออาชีพจึงย่อมสะท้อนจิตสำนึกผู้นำในทางลบ
เพราะเป็นทั้งความอ่อนด้อยในทานและความไม่ตรงไปตรงมาในเชิงจริยธรรม
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... 2006/02/15
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เรื่องแรกที่ต้องไล่ออก
โพสต์ที่ 60
และอีก 1 ทัศนะ...
เข้าใจไหม...จริยธรรม เข้าใจไหม...ประชาธิปไตย
คอลัมน์ เดินหน้าชน
โดย นงนุช สิงหเดชะ
มีอยู่ 2-3 เรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าใจ "ความหมาย" และ "นิยาม" ไม่ตรงตามที่ "วิญญูชน" ส่วนใหญ่เข้าใจกัน นั่นคือ 1.จริยธรรม 2.ประชาธิปไตย 3.หน้าที่และวัตรปฏิบัติของผู้นำที่ดี
ท่านว่าการขายหุ้นชินคอร์ป 7.3 หมื่นล้านบาท โดยไม่เสียภาษีเป็นเรื่องถูกต้องตามกฎหมาย ถูกต้องตามกติกาทุกอย่าง แต่เลี่ยงพูดถึงเรื่องจริธรรม
อาจเป็นเพราะท่านนายกฯอยู่ในแวดวงพ่อค้ามานานหรือไม่ จึงทำให้ไม่ค่อยเข้าใจความหมายของคำว่าจริยธรรม (ทั้งที่คนจีนโบราณ และคนจีนที่เป็นพ่อค้าที่ดีนั้น เขาถือว่าเรื่องจริยธรรมและความซื่อสัตย์เป็นเรื่องสำคัญ)
แวดวงพ่อค้าในแบบฉบับของ พ.ต.ท.ทักษิณ อาจคือพ่อค้าที่เอา "กำไรสูงสุด" เป็นที่ตั้ง ดังนั้น จึงไม่ค่อยสนใจว่า "วิธีการได้มา" ซึ่งกำไรนั้น ชอบธรรม เหมาะสมหรือไม่
ถ้าพูดอย่างภาษาทางวิชาการก็ต้องบอกว่าสนใจ "ผลลัพธ์" หรือ "ผลสำเร็จ" มากกว่า "วิธีการ" คือสนใจ "ปลายทาง" มากกว่า "ต้นทางและระหว่างทาง"
เสมือนคนคนหนึ่งอยากมีภรรยา แต่ฝ่ายหญิงที่ตนหมายปองไม่เต็มใจ ผู้ชายคนนี้อาจใช้วิธีฉุดผู้หญิงคนนั้นแทน เขาสมใจที่ได้ผู้หญิงคนนั้นมาเป็นภรรยา แต่เขาไม่สนใจความรู้สึกของผู้หญิงคนนั้น ตลอดจนคนรอบข้างและญาติพี่น้องของผู้หญิงคนนั้น
ถามว่าการขายหุ้น 7.3 หมื่นล้านบาท โดยไม่ต้องเสียภาษี มันเป็นเช่นเดียวกับการฉุดคนอื่นมาเป็นภรรยาหรือไม่
ท่านนายกฯเคยบอกว่า บ้านเรากฎหมายมันเยอะเกินไป ต้องสังคายนาใหม่ โละทิ้งกันเสียบ้าง
ท่านนายกฯจะคิดหรือไม่ว่า หากคนเราโดยเฉพาะผู้นำประเทศ ข้าราชการ นักการเมืองมี "จริยธรรม" สูงแล้ว กฎหมายแทบไม่มีความจำเป็นเลย เพราะจริยธรรมนั้นมี "มาตรฐานสูง" กว่ากฎหมาย
จริยธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนกฎหมาย เกิดมาพร้อมกับมนุษย์ และมนุษย์สมัยก่อนก็อยู่กันด้วยจริยธรรม อยู่กันด้วยบรรทัดฐานและขนบประเพณี
กฎหมายไม่สามารถจารึกหรือบันทึก "จริยธรรม" ได้ครบทั้งหมด กฎหมายเป็นเพียงกรอบอย่างกว้างที่เป็นกติกาให้มนุษย์อยู่ร่วมกัน
ยกตัวอย่างพวกเราอยู่กันในครอบครัว เราไม่มีการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะต้องปฏิบัติตัวต่อสามีหรือภรรยาอย่างไร ปฏิบัติต่อพ่อ-แม่ ปู่ย่าตายายอย่างไร แต่เรารู้ได้เพราะเราเป็น "มนุษย์" ที่ได้รับการสั่งสอนขัดเกลาจิตใจให้ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะที่ควร
จริยธรรมเป็นเรื่องของนามธรรม คำนวณออกมาเป็นตัวเลขไม่ได้ คำนวณออกมาเป็น 19 ล้านเสียงไม่ได้ เอาไม้บรรทัดมาวัดไม่ได้ แต่นั่นคือสิ่งที่ "งดงามที่สุด" ของมนุษย์ ที่เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าเราเป็น "สิ่งมีชีวิต" ที่ต่างจาก "สัตว์" ทั่วไป
ถามว่า ท่านนายกฯเป็นถึงผู้นำประเทศ เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ เป็นตำแหน่งที่ต้องสร้างศรัทธา บารมี ความเชื่อถือและไว้วางใจ ท่านพอใจจะยึดถือเพียงแค่กติกาและกฎหมายเท่านั้นหรือ
ท่านไม่ต้องการจะ "ยกมาตรฐาน" ของตัวเองให้สูงไปกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือ
ทำไมสังคมต้องเรียกร้องหา "จริยธรรม" อย่างเป็นพิเศษจากผู้นำประเทศ
นั่นก็เพราะผู้นำประเทศ เป็นผู้มี "อำนาจทุกอย่าง" ในมือ การกระทำทุกอย่างย่อมส่งผลกระทบต่อคนทั้งประเทศ มีอำนาจในการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินที่ได้มาจากภาษีของประชาชน มีอำนาจออกกฎหมายต่างๆ
ในสภาพที่รัฐบาลกุมเสียงอำนาจเบ็ดเสร็จในสภา การออกกฎหมายกลายเป็นเรื่องง่ายอย่างที่เห็นๆ กันอยู่ และกฎหมายหลายอันก็มีร่องรอยว่าออกเพื่อเอื้อประโยชน์ธุรกิจของคนในรัฐบาล หลายอันก็ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
สภาพเบ็ดเสร็จเช่นนี้ ก็ยิ่งจำเป็นที่ผู้นำจะต้องมีจริยธรรมอย่างสูง ต้องใช้อำนาจที่มีอยู่อย่างเป็นธรรม ชอบธรรมให้มากที่สุด
เมื่อท่านขายหุ้นชินคอร์ปแล้วถูกโจมตีว่าไม่เสียภาษี ท่านก็อ้างว่าบริษัทโน้น บริษัทนี้ก็ไม่เสียภาษี นี่ก็ย่อมสะท้อนว่าท่านเป็นถึงผู้นำประเทศ มีสถานะพิเศษและสูงส่งกว่าคนทั่วไป แต่เมื่อถึงเวลาต้องเสียสละ ในที่นี้ก็คือการเสียภาษี ท่านกลับอ้างเอามาตรฐานของคนธรรมดามาสร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง
เหมือนคนเป็นพระที่ต้องถือศีล 227 ข้อ แต่พอถึงเวลาหนึ่งทนไม่ไหว เพราะการเป็นพระเคร่งครัดเหลือเกิน ท่านก็ขอลดศีลจาก 227 ข้อมาเหลือ 5 ข้อ และ 8 ข้อ เท่ากับฆราวาสและแม่ชีเท่านั้นหรือ ขอไปนั่งลานเบียร์ เที่ยวคาราโอเกะ เช่นนั้นหรือ
ไม่เอาเปรียบไปหน่อยหรือที่จะเอาทั้งสองอย่างคือ ทั้งสถานะนายกรัฐมนตรีที่ได้สิทธิพิเศษมากมาย (เช่น นั่งเครื่องบินแอร์ ฟอร์ซ วัน ด้วยเงินภาษีของประชาชน ได้สิทธิไปจับมือเข้าพบกับผู้นำทั่วโลก ที่หากท่านเป็นเพียงประธานชินคอร์ป ท่านไม่มีทางจะได้รับโอกาสอย่างนี้) แต่ขณะเดียวกันก็ขอประพฤติตัวตามมาตรฐานของพ่อค้า
ความไม่สามารถที่จะซาบซึ้งในสิ่งสวยงามที่เป็นนามธรรมอย่างเรื่อง "จริยธรรม" อาจส่งผลให้ท่านนายกฯไม่สามารถเข้าใจ "ประชาธิปไตย" ในเชิงนามธรรมด้วย และขาดความเข้าใจประชาธิปไตยทั้งระบบ จึงเป็นเหตุให้ท่านชอบอ้าง 19 ล้านเสียงอยู่บ่อยๆ
ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยของท่านนายกฯจำกัดอยู่เพียงวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง ทั้งที่ขั้นตอนหลังจากวันเลือกตั้งนั้นสำคัญกว่ามากนักสำหรับผู้นำ นั่นก็คือต้องใช้อำนาจการบริหารให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ถ้าไม่ทำตามรัฐธรรมนูญก็มีสิทธิถูกถอดถอน
ถ้าท่านทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ตามระบอบประชาธิปไตย มีจริยธรรม ถามว่าจะมีม็อบเกือบแสนคน คณาจารย์ของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ออกมาขับไล่อยู่ในขณะนี้หรือ
ท่านกล่าวหาคณาจารย์ที่เรียกร้องให้ท่านลาออกว่าเป็นพวก "ล้มล้าง" ประชาธิปไตย ก็มีคำถามว่าจริงๆ แล้วประชาธิปไตยมันถูกล้มล้างไปตั้งนานในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแล้วหรือไม่
นักวิชาการ คณาจารย์ เขาไม่ได้ล้มล้างประชาธิปไตย แต่กำลังกอบกู้ "ระบอบประชาธิปไตย" คืนมา เพราะไม่ต้องการ "ระบอบทักษิณ" ต่างหาก!!
http://www.matichon.co.th/news_relate/n ... paper=mctb