เวียดนามเช็คบิลรัฐมนตรีงาบสินบน!
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 10 กุมภาพันธ์ 2549
กรุงเทพฯ- การสอบสวนสืบสวนกรณีสินบนโควตาส่งออกเสื้อผ้าที่ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปี ในขณะนี้ได้สาวเข้าถึงตัว รัฐมนตรีกระทรวงการค้าเวียดนาม นายเจื่อง ดิ่ง เตวียน (Truong Dinh Tuyen) แล้วโดยพบว่ารัฐมนตรีคนนี้มีส่วนพัวพันกับการทุจริตซึ่งถือเป็นกรณีที่สั่นสะเทือนอย่างมากต่ออุตสาหกรรมและการส่งออกของเวียดนาม
การสอบสวนกรณีอื้อฉาวช่วงที่ผ่านมาพบว่ามีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการค้าจำนวนหลายคนร่วมกัน รับสินบนจากบริษัทเวียดนามหลายบริษัทเพื่อจัดหาโควต้าส่งออกเสื้อผ้าไปยังตลาดสหรัฐฯ โดยผู้ส่งออกซึ่งเป็นผู้ประกอบการตัดเย็บเสื้อผ้าบางรายไม่ได้รับโควตาส่งออก แต่บริษัทที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการกลับได้รับการจัดสรรโควตา
ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและสิ่งทอเป็นสินค้าส่งออกของเวียดนามที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำมันดิบ แต่การส่งออกเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไปยังประเทศสหรัฐฯ ที่เป็นตลาดสำคัญของเวียดนามนั้น ถูกกำหนดโดยทางการสหรัฐฯ
"พนักงานสอบสวนได้กล่าวหาว่า นายเตวียนได้กระทำการบางอย่างที่ไม่ยุติธรรมทางด้านเอกสารที่เขาเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบของรัฐ" สำนักข่าวทางการเวียดนาม (VNA) รายงานโดยอ้างหนังสือพิมพ์ "ผู้บุกเบิก" (Tien Phong) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการระบุความผิดของรัฐมนตรีโดยตรง นับตั้งแต่เรื่องอื้อฉาวนี้ได้ปะทุขึ้นในปี 2547
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสอบสวนนักธุรกิจเวียดนาม 45 ราย ซึ่งได้เปิดเผยให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมในโควต้าการส่งออกสินค้า ซึ่งวีเอ็นเอระบุว่า บางบริษัทไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกตามโควต้าที่ได้รับ ในขณะที่บริษัทอื่นกลับได้รับอนุญาตในโควต้าที่ได้อยู่แล้ว และได้ในปริมาณที่มากกว่าปกติตามขอบเขตกฎหมาย
กระทรวงการค้าปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ ในเรื่องดังกล่าว "เราได้ยินเรื่องการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เราจะปล่อยให้เจ้าหน้าที่ทำตามหน้าที่ของเขาไปอย่างเหมาะสมที่สุด" เจ้าหน้าที่กระทรวงกล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีในวันพฤหัสบดี (9 ก.พ.) ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้า นายมายวันเดิว (Mai Van Dau) ได้ถูกจับกุมในเดือน พ.ย. 2547 ในข้อหา "ใช้อำนาจในทางที่ผิด" และข้อหารับสินบน ขณะนี้ยังคงถูกคุมขังและกลายเป็นเจ้าหน้าที่ในตำแหน่งที่สูงที่สุดที่ถูกจับกุมในกรณีนี้
สำนักข่าวของทางการเวียดนามยังระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอบปากคำเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ อีก 6 คน ที่รวมถึงนายเดิวกับนักธุรกิจ 11 คน ที่ประกอบด้วยนักธุรกิจสัญชาติจีนและไต้หวัน ซึ่งจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยเช่นกัน สำนักงานคณะกรรมการควบคุมและตรวจตราของรัฐได้ระบุชื่อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าอีกคน คือ นายเลืองวันตู๋ (Luong Van Tu) กับ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบุ่ยซวนคู (Bui Xuan Khu) ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
หนังสือพิมพ์ "เตี่ยนฟง" (Tien Phong) ได้ระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนำผลการสอบสวนสืบสวนกรณีอื้อฉาวนี้ รายงานต่อนายกรัฐมนตรีเวียดนาม นายฟานวันข่าย โดยจะขอเสนอให้นายกรัฐมนตรีจัดให้มีการสอบปากคำบรรดารัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะประเมินความผิด และดำเนินการกับคนเหล่านั้นต่อไป
กำลังจะมีการประชุมใหญ่ (Congress) หรือ การประชุมสมัชชา ครั้งที่ 10 ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม พรรคปกครองเพียงพรรคเดียวของประเทศ ซึ่งเชื่อกันว่า ประธานาธิบดีเจิ่นดึ๊กเลือง (Tran Duc Luong) และ นายกรัฐมนตรี นายฟานวันข่าย (Phan Van Khai) สองผู้นำอาวุโสกำลังจะก้าวลงจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้กับผู้นำรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาดีและได้รับการบ่มเพาะอยู่ในพรรคมานาน เข้ามารับตำแหน่งสำคัญในพรรคและรัฐบาล
แหล่งข่าวในเวียดนามต่างกล่าวว่า การต่อสู้กับปัญหาการคอร์รัปชั่น จะเป็นระเบียบวาระการประชุมที่สำคัญที่สุด ในการประชุมพรรค ที่จะจัดขึ้นในเดือน เม.ย. นี้.
นายเจื่องดิ่งเตวียน ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีการค้าอาเซียนที่กรุงเวียงจันทน์เมื่อเดือน ก.ย.2548 รัฐมนตรีกระทรวงการค้าเวียดนามถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับกรณีรับสินบนอื้อฉาวแลกโควตาส่งออกเสื้อผ้าเมื่อปี 2547
การคอรัปชั่นก็เป็นปัญหาใหญ่ของเวียดนาม
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การคอรัปชั่นก็เป็นปัญหาใหญ่ของเวียดนาม
โพสต์ที่ 1
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
การคอรัปชั่นก็เป็นปัญหาใหญ่ของเวียดนาม
โพสต์ที่ 2
เป็นกันทุกประเทศ แล้วแต่ว่าที่ไหนจะแนบเนียนกว่ากัน
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การคอรัปชั่นก็เป็นปัญหาใหญ่ของเวียดนาม
โพสต์ที่ 3
อาจารย์ผมเคยบอกว่า ประเทศประชาธิปไตยหรือคอมมิสนิสต์(สมั้ย 10 กว่าปีที่แล้ว)ต่างก็มีปัญหาคอรัปชั่นทั้งนั้น
เพียงแต่ว่า ...
ระดับของความรุนแรงของปัญหา ระดับของการจัดการปัญหา ความจริงจังจริงในการแก้ปัญหาต่างกัน เท่านั้นเอง....
เพียงแต่ว่า ...
ระดับของความรุนแรงของปัญหา ระดับของการจัดการปัญหา ความจริงจังจริงในการแก้ปัญหาต่างกัน เท่านั้นเอง....
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การคอรัปชั่นก็เป็นปัญหาใหญ่ของเวียดนาม
โพสต์ที่ 4
บ้านเขาเมืองเรา:ไทยใหญ่กว่าอเมริกัน
9 กุมภาพันธ์ 2549
ดร.ไสว บุญมา
การชุมนุมของคนไทยเพื่อหวังขับไล่รัฐบาล ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ เป็นข่าวแพร่กระจายไปทั่วโลก รวมทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ตามเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกาด้วย หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ นำรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ไปลงพิมพ์ไว้ในหน้า A18
รายงานนั้นอ้างข้อมูลของตำรวจไทยว่า มีคนเข้าร่วมชุมนุมประมาณ 4 หมื่นคน ผู้ที่ติดตามการรายงานของสำนักข่าวต่างๆ อาจทราบแล้วว่า ตัวเลขนี้เป็นหนึ่งในหลายตัวที่ผู้สื่อข่าวรายงานกลับไปให้สำนักงานใหญ่ของตน บางคนรายงานตัวเลขใกล้ 1 แสนคนซึ่งเป็นจำนวนที่ผู้นำในการชุมนุมคาดหวัง
วอชิงตันโพสต์รายงานด้วยว่า การชุมนุมโดยสันติครั้งนี้ใหญ่ที่สุดในรอบ 14 ปีหลังเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งมีคนไทยเสียชีวิตไปหลายสิบคน และต้นเหตุของการชุมนุมเกิดจากความไม่พอใจของคนไทยในการขายบริษัทของทายาทของนายกรัฐมนตรีเป็นเงิน 1,900 ล้านดอลลาร์โดยไม่เสียภาษีประกอบกับการมองว่า นายกรัฐมนตรีบริหารประเทศเพื่อมุ่งสร้างความร่ำรวยให้ตัวเองและพรรคพวก ส่วนนายกรัฐมนตรีปฏิเสธข้อกล่าวหาผ่านรายการวิทยุในตอนเช้าของวันเสาร์นั้นและประกาศว่า จะไม่มีวันลาออกนอกเสียจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงกระซิบให้ทำ
แม้เรื่องการชุมนุมของคนไทยจะถูกนำไปลงไว้ในภาคข่าวต่างประเทศในหน้า A18 ซึ่งบ่งว่า บรรณาธิการให้ความสำคัญในระดับปานกลาง แต่ก็ยังสำคัญกว่าเรื่องการชุมนุมของคนอเมริกันในกรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งถูกนำไปลงพิมพ์ไว้ในภาคข่าวท้องถิ่นหน้า C5 ปัจจัยที่ทำให้บรรณาธิการให้ความสำคัญของเรื่องนี้เพียงเท่ากับข่าวท้องถิ่น คงเนื่องมาจากคนอเมริกันไปร่วมชุมนุมไม่กี่พันคนส่วนหนึ่งเพราะฝนเทลงมาตลอดทั้งวัน
นอกจากนั้นแม้การชุมนุมนี้จะมีการเผาหุ่นขนาดสูงเกือบ 10 เมตรของประธานาธิบดีบุช ตามด้วยการเดินขบวนรอบทำเนียบขาว แต่บรรณาธิการคงอ่านว่า มันไม่น่าจะมีผลถึงขนาดขับไล่ให้ประธานาธิบดีบุชก้าวลงจากตำแหน่งก่อนหมดสมัยในเดือนมกราคม 2552 เพราะต้นเหตุของการชุมนุมได้แก่สงครามในอิรัก ประธานาธิบดีบุชเองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการชุมนุมมากนัก จึงไม่ได้กล่าวถึงในรายการวิทยุประจำเช้าวันเสาร์ของเขา
ในช่วงนี้การเมืองในเมืองไทยและในสหรัฐ มีส่วนคล้ายคลึงกันหลายอย่าง นายกรัฐมนตรีไทยเคยไปเรียนที่มหาวิทยาลัยในรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดีอเมริกัน ผู้นำทั้งสองร่ำรวยมาจากการทำธุรกิจ ตามข้อมูลที่พอหาได้ ผู้นำไทยดูจะร่ำรวยกว่าผู้นำอเมริกัน แม้ผู้นำไทยจะโอนทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่ไปให้สมาชิกในครอบครัวแล้วก็ตาม ทั้งคู่เข้าบริหารประเทศครั้งแรกในปีเดียวกัน
หลังจากบริหารประเทศครบ 4 ปี ก็ได้รับเลือกให้บริหารประเทศต่อไปอีกหนึ่งสมัยในเวลาไล่เลี่ยกัน อย่างไรก็ตามผู้นำไทยได้รับเลือกในสมัยที่สองอย่างท่วมท้น ส่วนผู้นำอเมริกันชนะการเลือกตั้งแบบเฉียดฉิว
ในช่วงเวลา 5 ปีที่ทั้งสองบริหารประเทศ ผู้นำไทยมักถูกกล่าวหาว่าฉ้อฉล แม้จะไม่ได้ฉ้อฉลโดยตรงก็ฉ้อฉลทางนโยบายจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะครอบครัวของผู้นำและของผู้ร่วมรัฐบาลยังทำธุรกิจต่างๆ ซึ่งในบางครั้งทำงานกับรัฐบาลโดยตรง
ส่วนผู้นำอเมริกันไม่เคยถูกกล่าวหาเช่นนั้น เพราะมาตรฐานทางจรรยาบรรณของเขากับของผู้ร่วมรัฐบาลต่างกับของผู้นำไทย ฉะนั้นความไม่โปร่งใสในการบริหารประเทศของพวกเขาจึงมีน้อย
การเขียนเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า ชนชั้นผู้นำอเมริกันจะโปร่งใสไปเสียทุกคนตลอดประวัติศาสตร์ของเขา ย้อนไปเมื่อปี 2516 รองประธานาธิบดีชื่อสปิโร แอกนิว ต้องลาออกจากตำแหน่งเพราะถูกอัยการส่งฟ้องศาลฐานฉ้อฉล อย่างไรก็ตามความฉ้อฉลของเขาเกิดขึ้นในระหว่างที่เขายังเป็นผู้ว่าการรัฐแมรีแลนด์ มิใช่ขณะที่อยู่ในตำแหน่งรองประธานาธิบดี
กลับมาด้านการให้ความสำคัญซึ่งมองจากการนำเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ บรรณาธิการของเขาน่าจะอ่านเหตุการณ์จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การชุมนุมประท้วงการทำสงครามในอิรักเป็นการเคลื่อนไหวที่เล็กมากเมื่อเทียบกับการประท้วงในระหว่างสงครามเวียดนามเมื่อเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา
ในครั้งนั้นการประท้วงแพร่กระจายไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะตามมหาวิทยาลัยและบางครั้งรุนแรงมากถึงขนาดเลือดตกยางออก โดยเฉพาะในปี 2513 เมื่อนักศึกษา 4 คนถูกทหารยิงตายในเขตมหาวิทยาลัยเคนต์ของรัฐโอไฮโอ
จริงอยู่การประท้วงของผู้ต่อต้านสงครามทำให้ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน ตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 แต่ก็ไม่มีผลทำให้รัฐบาลลาออก อีกประการหนึ่ง การชุมนุมในเมืองไทยนอกจากจะใหญ่กว่าการชุมนุมในกรุงวอชิงตันในวันเดียวกันแล้ว การชุมนุมแนวนี้เคยมีประวัติในการขับไล่รัฐบาลไทยให้พ้นจากตำแหน่งหลายครั้งในระหว่าง 30 กว่าปีที่ผ่านมา
นอกเหนือจากนั้นบรรณาธิการคงอ่านเหตุการณ์ด้วยว่า การประท้วงในเมืองไทยจะมีโอกาสบานปลายสูงกว่าการประท้วงในสหรัฐ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ต้นเหตุของการประท้วงสร้างความแตกแยกในสังคมไทยได้มากกว่าในสังคมอเมริกัน เพราะความฉ้อฉลและความไม่เป็นธรรมในสังคมอันเกิดจากพฤติกรรมของชนชั้นผู้นำและจากนโยบายของรัฐบาลทยอยกันออกมาปรากฏแก่สายตาคนไทยอย่างแจ้งชัดเพิ่มขึ้นทุกวัน
ส่วนจำนวนทหารอเมริกันในอิรักค่อยๆ ลดลงทำให้ผู้ประท้วงในวอชิงตันขาดข้ออ้าง อีกด้านหนึ่งพฤติกรรมของผู้นำทั้งสองต่างกันมาก ผู้นำไทยมักออกมาท้าทายและบริภาษผู้ประท้วงอย่างเผ็ดร้อน นั่นเปรียบดังการราดน้ำมันเข้าไปในกองไฟอย่างไม่หยุดหย่อน
ส่วนผู้นำอเมริกันไม่เคยแสดงปฏิกิริยาแนวหยาบคายเช่นนั้นออกมาให้ใครเห็น ยิ่งกว่านั้นการต่อต้านรัฐบาลไทยเริ่มระบาดเข้าไปในสถาบันการศึกษาแล้ว ส่วนในสหรัฐ สถาบันการศึกษายังไม่มีทีท่าว่าจะเข้ามาร่วม
เราคงต้องดูกันต่อไปว่า บรรณาธิการของวอชิงตันโพสต์ให้น้ำหนักของข่าวทั้งสองถูกต้องหรือไม่ ถ้าจะให้ฟันธงผมคงต้องบอกว่าเขาทำถูกแล้ว และอยากจะฟันธงต่อไปด้วยว่าถ้าผู้นำไทยไม่ลาออกในเร็ววัน หรือไม่เปลี่ยนพฤติกรรม การประท้วงจะนำไปสู่จลาจล
m
I live in the US and read Washington Post very often. I think the simple reason the Post cares about this news because it is "very rare" that Thais will protest for something !!!! Thais are simply famous for our SABAI SABAI attitude. It is as simple as that. Americans protest more frequently, why bother?
11 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 04:21:50
Well, Thailand was also on the Washington Post for the alleged secret CIA prison too! We are not necessarily the center of the universe by the way.
11 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 04:25:10
m
I disagree about the following comment: ในช่วงเวลา 5 ปีที่ทั้งสองบริหารประเทศ ผู้นำไทยมักถูกกล่าวหาว่าฉ้อฉล แม้จะไม่ได้ฉ้อฉลโดยตรงก็ฉ้อฉลทางนโยบายจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะครอบครัวของผู้นำและของผู้ร่วมรัฐบาลยังทำธุรกิจต่างๆ ซึ่งในบางครั้งทำงานกับรัฐบาลโดยตรง ส่วนผู้นำอเมริกันไม่เคยถูกกล่าวหาเช่นนั้น เพราะมาตรฐานทางจรรยาบรรณของเขากับของผู้ร่วมรัฐบาลต่างกับของผู้นำไทย ฉะนั้นความไม่โปร่งใสในการบริหารประเทศของพวกเขาจึงมีน้อย George Bush is also under attack about corruption. However, the check and balance process here works better than in Thailand. I am not saying that the US system is perfect. But you can see in the Washington Post almost everyday about alleged links betwen Bush and corruption scandal connected to lobbyist in Washington. The corruption related to the defense companies operating in Iraq which is connected to Bush and his aids are also under investigation.
11 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 04:34:27