ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 1
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โดย รสนา โตสิตระกูล 15 ธันวาคม 2548
ดิฉันได้อ่านบทความคอลัมน์ ชีวิตที่เลือกได้ เรื่อง กฟผ โดยคุณชัยอนันต์ สมุทวณิช ในนสพ. ผู้จัดการ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา นานๆ ทีจะถูกกล่าวพาดพิงถึง โดยเฉพาะจากอดีตนักวิชาการรุ่นใหญ่ อย่างคุณชัยอนันต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานบอร์ด บมจ. กฟผ แม้ว่าจะด้วยวาจาอันรุนแรงเกินกว่าเหตุก็ตาม
อ่านบทความนั้นแล้ว ดิฉันขอแสดงความเห็น และชี้แจง ดังนี้
1) คุณชัยอนันต์ รู้สึกไม่พอใจที่ดิฉันเรียกการกระจายหุ้น กฟผ ในตลาดหลักทรัพย์ ว่าเป็นการขายสมบัติชาติ ที่จริงเป็นคำเรียกขานที่เป็นกลางที่สุดแล้ว ถ้าจะพูดให้ตรงใจดิฉันกว่านั้น อยากใช้คำว่า นำสมบัติชาติไปขายทอดตลาด หรือเป็นการฉ้อราษฏร์บังหลวงด้วยซ้ำไป
คุณชัยอนันต์ ในฐานะประธานบอร์ด กฟผ ควรจะบอกประชาชนว่าเหตุใดจึงประเมินทรัพย์สินของ กฟผ ด้วยวิธีตีมูลค่าตามบัญชีเพราะโดยหลักสากลแล้ว ในการประเมินทรัพย์สินเพื่อขาย ไม่มีใครเขาใช้วิธีประเมินมูลค่าตามบัญชีอย่างแน่นอน เพราะสินทรัพย์จำนวนมากของกฟผ. เมื่อตัดค่าเสื่อมปีละ 20 % ภายใน 5 ปี มูลค่าทางบัญชีก็เท่ากับศูนย์ แต่ทรัพย์สินเหล่านี้ยังมีมูลค่าอยู่ ถ้าจะนำไปขาย หรือสินทรัพย์อย่างที่ดินมีการประเมินมูลค่าตามราคาตลาด หรือคิดแบบหักค่าเสื่อม หรือตีมูลค่าตามราคาที่เคยซื้อมา เรื่องการตีมูลค่าทรัพย์สิน รัฐบาลและผู้บริหารของ กฟผ ควรจะออกมาชี้แจงให้ประชาชนหายคลางแคลงใจ องค์กรผู้บริโภคทำหนังสือขอข้อมูลซึ่งนอกจากไม่ได้รับคำตอบแล้ว ผู้บริหารทั้งฝ่ายรัฐบาลและกฟผ ยังหลีกเลี่ยงการออกมาพูดคุยในเวทีสาธารณะ ร่วมกับฝ่ายองค์กรผู้บริโภคในสื่อทีวีและหนังสือพิมพ์ที่เชิญอีกด้วย
ไหนๆ ถ้าจะต้องตัดเฉือนเนื้อไปขาย หรือที่เรียกแบบวิชาการว่า การระดมทุน ในตลาดหลักทรัพย์ เหตุใดจึงตีราคาทรัพย์สินของตัวเองต่ำจนน่าสงสัย รัฐบาลอนุมัติราคาหุ้นกฟผ อยู่ที่ราคา 25 28 บาท ในขณะที่บรรดาโบรกเกอร์หลายบริษัทไม่ว่า เจพี มอร์แกน มอร์แกนสแตนเลย์ ซิตี้กรุ๊ป SCBS และทิสโก้ ล้วนแต่ประเมินมูลค่าหุ้นของ กฟผ อยู่ที่ 27 40 บาท ถ้าจะต้องขาย กฟผ รัฐบาลควรดูตัวอย่างรัฐบาลฝรั่งเศสที่ขายหุ้นบริษัทไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ เขาประกาศชัดเจนว่าขายไม่เกินร้อยละ 15 และการขายหุ้นเพียง 15 % รัฐบาลฝรั่งเศสได้เงินมาเท่ากับงบประมาณรายได้ของประเทศถึง 2 ปี
แต่อย่างเราขาย กฟผ ถึง 25 % หรือ 2,000 ล้านหุ้น จะมีรายได้เพียง 50,000 56,000 ล้านบาท เท่านั้น ถ้าลองคิดเล่นๆ ว่ารัฐบาลขายหุ้น กฟผ ทั้ง 100 % คือ 8,000 ล้านหุ้น ก็จะได้เงินรายได้เพียง 200,000 224,000 ล้านบาท ในขณะที่มูลค่าทรัพย์สินของ กฟผ ในการทำกำไรในอนาคต ประเมินว่า มีมูลค่าสูงถึง 3.8 ล้านล้านบาท แล้วอย่างนี้จะไม่เรียกว่าเป็นการเอาทรัพย์สินของชาติมาขายทอดตลาดละหรือ ในเมื่อ กฟผ สมัยเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่งรายได้เข้ารัฐ ปีละ 30,000 ล้านบาท แต่เฉือนเนื้อตัวเองขายไปถึง 25 % ยังได้เงินน้อยกว่ารายได้ที่เคยส่งให้รัฐเพียง 2 ปี ดิฉันว่าคิดอย่างคนธรรมดาที่ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงและยังไม่เสียสติ ก็ไม่มีใครคิดจะขายกิจการของตัวเองในมูลค่าเพียงเท่านี้อย่างแน่นอน
2) คุณชัยอนันต์ กล่าวถึงคนที่คัดค้านการขาย กฟผ ว่ายังติดอยู่กับความคิดแบบ รัฐอุปถัมภ์ ไปจนถึงการตีตราว่าเป็น ความคิดทาส ที่ปล่อยไม่ไปนั้น ดิฉันอยากถามว่า คุณชัยอนันต์เข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่า เพราะดิฉันเห็น มีแต่ประชาชนเท่านั้นที่อุปถัมภ์รัฐมาตลอด ไม่ใช่เพราะภาษีและแรงงานของประชาชนดอกหรือที่ทำให้รัฐและนักวิชาการที่รับใช้รัฐอยู่ดีมีสุขกันทุกวันนี้ แต่ไม่เคยเห็นบุญคุณของประชาชนที่เป็นผู้อุปถัมภ์ที่แท้จริง ยังคงจำวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540ได้ใช่ไหมที่บรรดาบริษัทเอกชนที่ล้มบนฟูก แล้วกลับมาซื้อหนี้เน่าของตัวเองในราคาเพียง 20-30% ส่วนที่เหลือกลายเป็นภาระของประชาชนที่ต้องช่วยจ่ายหนี้ให้ใครอุปถัมภ์ใครกันแน่ คนที่อ้างว่าไม่ต้องการรัฐอุปถัมภ์ แท้จริงแล้วก็ยังแฝงเร้นอาศัยให้รัฐอุปถัมภ์ การกล่าวอ้างว่า การขายหุ้นกฟผ ออกไป 25 % ไม่ถือเป็นการแปรรูป แต่เป็นเพียงการระดมทุน คำพูดแบบนี้ ดิฉันว่าเป็นคำพูดที่ไม่ตรงไปตรงมา ไม่เหมาะที่จะถือตนว่าเป็นนักวิชาการ
ความหมายของการแปรรูป คือการเปลี่ยนโอนสิทธิในการประกอบกิจการที่เคยเป็นของรัฐ ให้เป็นของเอกชน เพื่อลดการผูกขาดโดยรัฐ เพื่อให้มีการแข่งขันจะได้มีประสิทธิภาพ และราคาเป็นธรรม การแปรรูปแบบครึ่งๆ กลางๆ เช่นการขายหุ้นออกไป 25 % คือการเปิดให้เอกชน 25 % เข้ามาแอบแฝงใช้อำนาจรัฐ หรือเข้ามาเป็นการฝากให้รัฐอุปถัมภ์นั่นเอง ด้านหนึ่งคุณชัยอนันต์ให้สัมภาษณ์ว่า กฟผ ไม่ได้เป็นองค์กรของรัฐบาลแล้ว ศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณา แต่ในอีกด้านหนึ่ง อ้างว่าเพราะรัฐถือหุ้นใหญ่ ก็เลยยังเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ ตกลงจะเอาอะไรกันแน่ แต่ที่แน่ๆ คือ เอกชนที่เข้ามาอาศัยรัฐอุปถัมภ์ จะได้ประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง เป็นองค์กรประเภทนกมีหูหนูมีปีกคือเลือกเฉพาะที่เป็นประโยชน์กับตัวเองเท่านั้น การกล่าวอ้างว่ายัง เป็นรัฐวิสาหกิจ ก็หมายความว่า บมจ. กฟผ ที่เป็นเอกชน 25 % ยังคงมีสิทธิผูกขาดการผลิตไฟ 50 % โดยไม่ต้องแข่งขันกับใคร พูดให้ง่ายกว่านั้นคือ การอ้างความเป็นรัฐวิสาหกิจก็เพื่อจะคงสิทธินั่งอยู่บนหลังของประชาชนต่อไป เพื่อให้รัฐหรือประชาชนค้ำประกันหนี้สิน และเงินกู้ ของ กฟผ ต่อไป และต้องให้ผูกขาดการผลิตไฟฟ้า แม้ว่าต้นทุนการผลิตไฟของ กฟผ จะแพงกว่าของเอกชนถึง 0.61 บาท ต่อหน่วย ตามรายงานประจำปีของ บมจ. กฟผ ปี 2547 เฉพาะต้นทุนค่าเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียวของกฟผ ราคาหน่วยละ 1.59 บาท ถ้าบวกกับต้นทุนค่าการผลิตไฟฟ้าอีก 0.37 บาท ต่อหน่วย ต้นทุนที่ยังไม่บวกกำไรของกฟผ จะเท่ากับ 1.96 บาท ต่อหน่วย ในขณะที่กฟผ รับซื้อกระแสไฟฟ้าที่ผลิตโดยบริษัทเอกชน ซึ่งบวกกำไรแล้ว ราคาเพียง 1.35 บาทต่อหน่วย แต่ประชาชนก็ต้องช่วยแบกต้นทุนของกฟผ เอาไว้ ในฐานะที่รัฐยังถือหุ้นใหญ่อยู่ ใช่หรือไม่
ลองพิจารณาดูตัวอย่างของ ปตท ก็ได้ แม้ว่ารัฐจะถือหุ้นใน ปตท เพียง 52 % ในปัจจุบัน แต่เพราะอ้างว่ารัฐถือหุ้นใหญ่ เลยยังถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ ปตทเลยได้สิทธิผูกขาดขายแก๊ส 100 % ให้กับ กฟผ และขายในราคาแพงกว่าที่ ปตท ขายแก๊สให้กับบริษัทในเครือของตน แก๊สที่ปตท ขายให้ กฟผ ราคา 177 บาท ต่อ 1 ล้าน BTU แยกเป็นค่าเนื้อแก๊ส 155 บาท ค่าท่อ 20 บาท และกำไร 2 บาท แต่ ปตท ขายให้กับบริษัทในเครือ ในราคา 135 บาท โดยแยกเป็นค่าเนื้อแก๊ส 125 บาท ค่าท่อ 8 บาท และกำไร 2 บาท กฟผ ไม่สามารถไม่ซื้อแก๊สจากปตท เพราะอะไร เพราะปตท เป็นรัฐวิสาหกิจอย่างนั้น ใช่หรือไม่
นอกจากแก๊สแล้ว กฟผ ยังถูกบังคับให้ต้องซื้อน้ำมันเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า 80 % จาก ปตท เหลืออีก 20 % จึงจะสามารถซื้อโดยวิธีประมูลได้ และประมูลทีไร ปตท สู้ราคาบริษัทน้ำมันต่างประเทศไม่ได้
คุณชัยอนันต์เป็นประธานบอร์ด กฟผ เหตุใดไม่เคยต่อสู้ให้หน่วยงานของตัวเอง ซื้อเชื้อเพลิงในราคาที่ยุติธรรมจาก ปตท สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องแบกพวกคุณอยู่บนหลังของเราใช่ไหม ในฐานะของความเป็น รัฐวิสาหกิจ แต่ถ้าประชาชนจะเรียกร้องขอให้ลดค่าน้ำมันลง รัฐวิสาหกิจนั้น จะกลายเป็นบริษัทเอกชนทันที และจะอ้างว่ารัฐไม่สามารถแทรกแซงราคาน้ำมันได้ รัฐบาลแม้ถือหุ้นใหญ่ก็ไม่อาจแทรกแซงนโยบายเรื่องราคาน้ำมันได้ ในกรณีของ ปตท รัฐบาลต้องตั้งกองทุนน้ำมันขึ้นมาพยุงราคา ซึ่งคือหนี้ที่ประชาชนต้องแบก เพื่อให้ปตท ได้กำไร ปีละ 90,000 ล้านบาท
หาก ปตท เป็นรัฐวิสาหกิจ 100 % เราก็ไม่ต้องมีหนี้ในกองทุนน้ำมันเป็นแสนล้านบาทอย่างในขณะนี้ เพราะรัฐบาลสามารถกำหนดนโยบายให้ปตทไม่ต้องหากำรสูงสุดเช่นในปัจจุบันและสามารถเป็นผู้ตรึงราคาน้ำมันได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทน้ำมันต่างชาติไม่กล้าขึ้นราคาน้ำมันมากเกินไป แต่เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจแบบครึ่งๆ กลางๆ จึงกลายเป็นว่ารัฐบาลต้องชดเชยราคาน้ำมันให้กับ ปตท และรวมไปถึงต้องชดเชยให้กับบริษัทน้ำมันต่างชาติไปด้วย ดิฉันอยากถามว่า การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เช่นนี้ ประชาชนได้ประโยชน์อะไรบ้าง
และถ้าจะกล่าวอ้างว่า การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่มีดอกเบี้ย ทำให้รัฐไม่มีภาระที่ต้องแบกรับต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ ก็ควรพิจารณาว่าส่วนแบ่งกำไร 40% ให้กับผู้ลงทุนจะสูงกว่าดอกเบี้ยหรือไม่ และเป็นเงินที่ต้องจ่ายตลอดไป ไม่เหมือนดอกเบี้ยเงินกู้ที่มีวันสิ้นสุด และในกรณีของปตท.ควรพิจารณาว่าการที่ประชาชนและรัฐต้องแบกรับภาระหนี้สินของกองทุนน้ำมัน เนื่องจากการขายหุ้นปตท ในตลาดหลักทรัพย์นั้น เทียบกับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ อย่างไหนเป็นภาระหนักกว่ากัน
3) สิ่งที่เกิดขึ้นกับ ปตท พอจะเป็นบทเรียนที่เทียบเคียงกับ กฟผ ได้หรือไม่ หรือยังเป็นสิ่งที่คุณชัยอนันต์ เรียกว่า เป็นความกังวลในอนาคต
กรณีเขื่อนปากมูลที่คุณชัยอนันต์ ถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่ข้อวิตกกังวลในอนาคตนั้น คุณชัยอนันต์สามารถเปลี่ยนแปลงให้ชาวบ้านกลับไปสู่สภาพเดิมได้หรือไม่ กรณีเขื่อนปากมูลมีการต่อต้านตั้งแต่ก่อนสร้างหลายปี แต่สู้ไม่ได้ เพราะทัศนะ หรือข้ออ้าง เช่นนี้แหละที่เห็นว่า เป็นความกังวลในอนาคต แล้วในที่สุดเมื่อความกังวลในอนาคตไม่ได้รับการพิจารณา จึงกลายเป็นความจริงอันขมขื่นสำหรับชาวบ้านในวันนี้ ชาวบ้านต้องประสบกับความทุกข์ยาก ชาวบ้านสูญเสียโอกาสในการทำมาหากิน ประเมินว่าสูญเสียรายได้ปีละ 100 กว่าล้านบาทจากเขื่อนปากมูล กฟผ ทำได้เพียงจ่ายเงินชดเชยเป็นเงินครอบครัวละไม่กี่หมื่นบาท แต่เงินเพียงเท่านี้ ไม่สามารถชดเชยกับการสูญเสียแหล่งทรัพยากรที่ชาวบ้านอาศัยในการดำรงชีวิตได้ แต่เวลานี้ บมจ. กฟผ ทำสัญญาเช่าเขื่อนปากมูลเพื่อผลิตไฟฟ้าจากกรมธนารักษ์ ในราคาเพียงปีละ 4 ล้านบาท ทั้งที่มูลค่าก่อสร้างเขื่อนปากมูลเป็นเงิน 6,600 ล้านบาท ถ้าคิดอายุการใช้งานของเขื่อน ว่ามีเวลา 40 ปี ราคาค่าเช่าไม่ควรต่ำกว่าปีละ 165 ล้านบาท
ถ้าหากคำกล่าวอ้างของคุณชัยอนันต์ว่า กฟผ ไม่มีอำนาจรัฐ ไม่ได้ใช้อำนาจรัฐ เป็นความจริง ชาวบ้านเขื่อนปากมูลควรจะขอเช่าเขื่อนปากมูล แข่งกับ กฟผ โดยเสนอค่าเช่าให้กับรัฐสูงกว่า กฟผ แล้วดูว่ารัฐจะให้ชาวบ้านเช่าหรือไม่
ประการสุดท้าย ดิฉันอยากเตือนความจำคุณชัยอนันต์ ถึงการประชุมเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2547 ที่โรงแรมสยามซิตี้ที่จัดร่วมกับสหภาพแรงงาน กฟผ และฝ่ายรัฐที่เกี่ยวข้อง รายงานข่าวที่ดิฉันได้อ่านในวันนั้น มีดังนี้
นายชัยอนันต์ สมุทวณิช แถลงว่า ขบวนการเกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ ขณะนี้จะหยุดจนกระทั่งการดำเนินการจัดทำ พ.ร.บ. การปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เสร็จเรียบร้อย โดยจะแสวงหาแนวทางในการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะยังไม่มีการนำ กฟผ เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ในระหว่างที่เรากำลังทำเรื่องนี้ รับประกันได้ว่าจะไม่มีการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะมีข่าวลือว่า รัฐบาลจะนำเข้าตลาดฯ ผมไม่ได้มาบอกว่า ต้องเชื่อรัฐบาล แต่คนเราควรมีความเชื่อใจกันบ้าง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า เขาไม่ทำตามข้อตกลง
ดิฉันอยากขอเรียนถามว่า มาถึงวันนี้ เรายังควรเชื่อใจรัฐบาลและคุณชัยอนันต์ หรือไม่
โดย รสนา โตสิตระกูล 15 ธันวาคม 2548
ดิฉันได้อ่านบทความคอลัมน์ ชีวิตที่เลือกได้ เรื่อง กฟผ โดยคุณชัยอนันต์ สมุทวณิช ในนสพ. ผู้จัดการ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา นานๆ ทีจะถูกกล่าวพาดพิงถึง โดยเฉพาะจากอดีตนักวิชาการรุ่นใหญ่ อย่างคุณชัยอนันต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานบอร์ด บมจ. กฟผ แม้ว่าจะด้วยวาจาอันรุนแรงเกินกว่าเหตุก็ตาม
อ่านบทความนั้นแล้ว ดิฉันขอแสดงความเห็น และชี้แจง ดังนี้
1) คุณชัยอนันต์ รู้สึกไม่พอใจที่ดิฉันเรียกการกระจายหุ้น กฟผ ในตลาดหลักทรัพย์ ว่าเป็นการขายสมบัติชาติ ที่จริงเป็นคำเรียกขานที่เป็นกลางที่สุดแล้ว ถ้าจะพูดให้ตรงใจดิฉันกว่านั้น อยากใช้คำว่า นำสมบัติชาติไปขายทอดตลาด หรือเป็นการฉ้อราษฏร์บังหลวงด้วยซ้ำไป
คุณชัยอนันต์ ในฐานะประธานบอร์ด กฟผ ควรจะบอกประชาชนว่าเหตุใดจึงประเมินทรัพย์สินของ กฟผ ด้วยวิธีตีมูลค่าตามบัญชีเพราะโดยหลักสากลแล้ว ในการประเมินทรัพย์สินเพื่อขาย ไม่มีใครเขาใช้วิธีประเมินมูลค่าตามบัญชีอย่างแน่นอน เพราะสินทรัพย์จำนวนมากของกฟผ. เมื่อตัดค่าเสื่อมปีละ 20 % ภายใน 5 ปี มูลค่าทางบัญชีก็เท่ากับศูนย์ แต่ทรัพย์สินเหล่านี้ยังมีมูลค่าอยู่ ถ้าจะนำไปขาย หรือสินทรัพย์อย่างที่ดินมีการประเมินมูลค่าตามราคาตลาด หรือคิดแบบหักค่าเสื่อม หรือตีมูลค่าตามราคาที่เคยซื้อมา เรื่องการตีมูลค่าทรัพย์สิน รัฐบาลและผู้บริหารของ กฟผ ควรจะออกมาชี้แจงให้ประชาชนหายคลางแคลงใจ องค์กรผู้บริโภคทำหนังสือขอข้อมูลซึ่งนอกจากไม่ได้รับคำตอบแล้ว ผู้บริหารทั้งฝ่ายรัฐบาลและกฟผ ยังหลีกเลี่ยงการออกมาพูดคุยในเวทีสาธารณะ ร่วมกับฝ่ายองค์กรผู้บริโภคในสื่อทีวีและหนังสือพิมพ์ที่เชิญอีกด้วย
ไหนๆ ถ้าจะต้องตัดเฉือนเนื้อไปขาย หรือที่เรียกแบบวิชาการว่า การระดมทุน ในตลาดหลักทรัพย์ เหตุใดจึงตีราคาทรัพย์สินของตัวเองต่ำจนน่าสงสัย รัฐบาลอนุมัติราคาหุ้นกฟผ อยู่ที่ราคา 25 28 บาท ในขณะที่บรรดาโบรกเกอร์หลายบริษัทไม่ว่า เจพี มอร์แกน มอร์แกนสแตนเลย์ ซิตี้กรุ๊ป SCBS และทิสโก้ ล้วนแต่ประเมินมูลค่าหุ้นของ กฟผ อยู่ที่ 27 40 บาท ถ้าจะต้องขาย กฟผ รัฐบาลควรดูตัวอย่างรัฐบาลฝรั่งเศสที่ขายหุ้นบริษัทไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ เขาประกาศชัดเจนว่าขายไม่เกินร้อยละ 15 และการขายหุ้นเพียง 15 % รัฐบาลฝรั่งเศสได้เงินมาเท่ากับงบประมาณรายได้ของประเทศถึง 2 ปี
แต่อย่างเราขาย กฟผ ถึง 25 % หรือ 2,000 ล้านหุ้น จะมีรายได้เพียง 50,000 56,000 ล้านบาท เท่านั้น ถ้าลองคิดเล่นๆ ว่ารัฐบาลขายหุ้น กฟผ ทั้ง 100 % คือ 8,000 ล้านหุ้น ก็จะได้เงินรายได้เพียง 200,000 224,000 ล้านบาท ในขณะที่มูลค่าทรัพย์สินของ กฟผ ในการทำกำไรในอนาคต ประเมินว่า มีมูลค่าสูงถึง 3.8 ล้านล้านบาท แล้วอย่างนี้จะไม่เรียกว่าเป็นการเอาทรัพย์สินของชาติมาขายทอดตลาดละหรือ ในเมื่อ กฟผ สมัยเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่งรายได้เข้ารัฐ ปีละ 30,000 ล้านบาท แต่เฉือนเนื้อตัวเองขายไปถึง 25 % ยังได้เงินน้อยกว่ารายได้ที่เคยส่งให้รัฐเพียง 2 ปี ดิฉันว่าคิดอย่างคนธรรมดาที่ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงและยังไม่เสียสติ ก็ไม่มีใครคิดจะขายกิจการของตัวเองในมูลค่าเพียงเท่านี้อย่างแน่นอน
2) คุณชัยอนันต์ กล่าวถึงคนที่คัดค้านการขาย กฟผ ว่ายังติดอยู่กับความคิดแบบ รัฐอุปถัมภ์ ไปจนถึงการตีตราว่าเป็น ความคิดทาส ที่ปล่อยไม่ไปนั้น ดิฉันอยากถามว่า คุณชัยอนันต์เข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่า เพราะดิฉันเห็น มีแต่ประชาชนเท่านั้นที่อุปถัมภ์รัฐมาตลอด ไม่ใช่เพราะภาษีและแรงงานของประชาชนดอกหรือที่ทำให้รัฐและนักวิชาการที่รับใช้รัฐอยู่ดีมีสุขกันทุกวันนี้ แต่ไม่เคยเห็นบุญคุณของประชาชนที่เป็นผู้อุปถัมภ์ที่แท้จริง ยังคงจำวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540ได้ใช่ไหมที่บรรดาบริษัทเอกชนที่ล้มบนฟูก แล้วกลับมาซื้อหนี้เน่าของตัวเองในราคาเพียง 20-30% ส่วนที่เหลือกลายเป็นภาระของประชาชนที่ต้องช่วยจ่ายหนี้ให้ใครอุปถัมภ์ใครกันแน่ คนที่อ้างว่าไม่ต้องการรัฐอุปถัมภ์ แท้จริงแล้วก็ยังแฝงเร้นอาศัยให้รัฐอุปถัมภ์ การกล่าวอ้างว่า การขายหุ้นกฟผ ออกไป 25 % ไม่ถือเป็นการแปรรูป แต่เป็นเพียงการระดมทุน คำพูดแบบนี้ ดิฉันว่าเป็นคำพูดที่ไม่ตรงไปตรงมา ไม่เหมาะที่จะถือตนว่าเป็นนักวิชาการ
ความหมายของการแปรรูป คือการเปลี่ยนโอนสิทธิในการประกอบกิจการที่เคยเป็นของรัฐ ให้เป็นของเอกชน เพื่อลดการผูกขาดโดยรัฐ เพื่อให้มีการแข่งขันจะได้มีประสิทธิภาพ และราคาเป็นธรรม การแปรรูปแบบครึ่งๆ กลางๆ เช่นการขายหุ้นออกไป 25 % คือการเปิดให้เอกชน 25 % เข้ามาแอบแฝงใช้อำนาจรัฐ หรือเข้ามาเป็นการฝากให้รัฐอุปถัมภ์นั่นเอง ด้านหนึ่งคุณชัยอนันต์ให้สัมภาษณ์ว่า กฟผ ไม่ได้เป็นองค์กรของรัฐบาลแล้ว ศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณา แต่ในอีกด้านหนึ่ง อ้างว่าเพราะรัฐถือหุ้นใหญ่ ก็เลยยังเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ ตกลงจะเอาอะไรกันแน่ แต่ที่แน่ๆ คือ เอกชนที่เข้ามาอาศัยรัฐอุปถัมภ์ จะได้ประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง เป็นองค์กรประเภทนกมีหูหนูมีปีกคือเลือกเฉพาะที่เป็นประโยชน์กับตัวเองเท่านั้น การกล่าวอ้างว่ายัง เป็นรัฐวิสาหกิจ ก็หมายความว่า บมจ. กฟผ ที่เป็นเอกชน 25 % ยังคงมีสิทธิผูกขาดการผลิตไฟ 50 % โดยไม่ต้องแข่งขันกับใคร พูดให้ง่ายกว่านั้นคือ การอ้างความเป็นรัฐวิสาหกิจก็เพื่อจะคงสิทธินั่งอยู่บนหลังของประชาชนต่อไป เพื่อให้รัฐหรือประชาชนค้ำประกันหนี้สิน และเงินกู้ ของ กฟผ ต่อไป และต้องให้ผูกขาดการผลิตไฟฟ้า แม้ว่าต้นทุนการผลิตไฟของ กฟผ จะแพงกว่าของเอกชนถึง 0.61 บาท ต่อหน่วย ตามรายงานประจำปีของ บมจ. กฟผ ปี 2547 เฉพาะต้นทุนค่าเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียวของกฟผ ราคาหน่วยละ 1.59 บาท ถ้าบวกกับต้นทุนค่าการผลิตไฟฟ้าอีก 0.37 บาท ต่อหน่วย ต้นทุนที่ยังไม่บวกกำไรของกฟผ จะเท่ากับ 1.96 บาท ต่อหน่วย ในขณะที่กฟผ รับซื้อกระแสไฟฟ้าที่ผลิตโดยบริษัทเอกชน ซึ่งบวกกำไรแล้ว ราคาเพียง 1.35 บาทต่อหน่วย แต่ประชาชนก็ต้องช่วยแบกต้นทุนของกฟผ เอาไว้ ในฐานะที่รัฐยังถือหุ้นใหญ่อยู่ ใช่หรือไม่
ลองพิจารณาดูตัวอย่างของ ปตท ก็ได้ แม้ว่ารัฐจะถือหุ้นใน ปตท เพียง 52 % ในปัจจุบัน แต่เพราะอ้างว่ารัฐถือหุ้นใหญ่ เลยยังถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ ปตทเลยได้สิทธิผูกขาดขายแก๊ส 100 % ให้กับ กฟผ และขายในราคาแพงกว่าที่ ปตท ขายแก๊สให้กับบริษัทในเครือของตน แก๊สที่ปตท ขายให้ กฟผ ราคา 177 บาท ต่อ 1 ล้าน BTU แยกเป็นค่าเนื้อแก๊ส 155 บาท ค่าท่อ 20 บาท และกำไร 2 บาท แต่ ปตท ขายให้กับบริษัทในเครือ ในราคา 135 บาท โดยแยกเป็นค่าเนื้อแก๊ส 125 บาท ค่าท่อ 8 บาท และกำไร 2 บาท กฟผ ไม่สามารถไม่ซื้อแก๊สจากปตท เพราะอะไร เพราะปตท เป็นรัฐวิสาหกิจอย่างนั้น ใช่หรือไม่
นอกจากแก๊สแล้ว กฟผ ยังถูกบังคับให้ต้องซื้อน้ำมันเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า 80 % จาก ปตท เหลืออีก 20 % จึงจะสามารถซื้อโดยวิธีประมูลได้ และประมูลทีไร ปตท สู้ราคาบริษัทน้ำมันต่างประเทศไม่ได้
คุณชัยอนันต์เป็นประธานบอร์ด กฟผ เหตุใดไม่เคยต่อสู้ให้หน่วยงานของตัวเอง ซื้อเชื้อเพลิงในราคาที่ยุติธรรมจาก ปตท สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องแบกพวกคุณอยู่บนหลังของเราใช่ไหม ในฐานะของความเป็น รัฐวิสาหกิจ แต่ถ้าประชาชนจะเรียกร้องขอให้ลดค่าน้ำมันลง รัฐวิสาหกิจนั้น จะกลายเป็นบริษัทเอกชนทันที และจะอ้างว่ารัฐไม่สามารถแทรกแซงราคาน้ำมันได้ รัฐบาลแม้ถือหุ้นใหญ่ก็ไม่อาจแทรกแซงนโยบายเรื่องราคาน้ำมันได้ ในกรณีของ ปตท รัฐบาลต้องตั้งกองทุนน้ำมันขึ้นมาพยุงราคา ซึ่งคือหนี้ที่ประชาชนต้องแบก เพื่อให้ปตท ได้กำไร ปีละ 90,000 ล้านบาท
หาก ปตท เป็นรัฐวิสาหกิจ 100 % เราก็ไม่ต้องมีหนี้ในกองทุนน้ำมันเป็นแสนล้านบาทอย่างในขณะนี้ เพราะรัฐบาลสามารถกำหนดนโยบายให้ปตทไม่ต้องหากำรสูงสุดเช่นในปัจจุบันและสามารถเป็นผู้ตรึงราคาน้ำมันได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทน้ำมันต่างชาติไม่กล้าขึ้นราคาน้ำมันมากเกินไป แต่เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจแบบครึ่งๆ กลางๆ จึงกลายเป็นว่ารัฐบาลต้องชดเชยราคาน้ำมันให้กับ ปตท และรวมไปถึงต้องชดเชยให้กับบริษัทน้ำมันต่างชาติไปด้วย ดิฉันอยากถามว่า การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เช่นนี้ ประชาชนได้ประโยชน์อะไรบ้าง
และถ้าจะกล่าวอ้างว่า การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่มีดอกเบี้ย ทำให้รัฐไม่มีภาระที่ต้องแบกรับต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ ก็ควรพิจารณาว่าส่วนแบ่งกำไร 40% ให้กับผู้ลงทุนจะสูงกว่าดอกเบี้ยหรือไม่ และเป็นเงินที่ต้องจ่ายตลอดไป ไม่เหมือนดอกเบี้ยเงินกู้ที่มีวันสิ้นสุด และในกรณีของปตท.ควรพิจารณาว่าการที่ประชาชนและรัฐต้องแบกรับภาระหนี้สินของกองทุนน้ำมัน เนื่องจากการขายหุ้นปตท ในตลาดหลักทรัพย์นั้น เทียบกับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ อย่างไหนเป็นภาระหนักกว่ากัน
3) สิ่งที่เกิดขึ้นกับ ปตท พอจะเป็นบทเรียนที่เทียบเคียงกับ กฟผ ได้หรือไม่ หรือยังเป็นสิ่งที่คุณชัยอนันต์ เรียกว่า เป็นความกังวลในอนาคต
กรณีเขื่อนปากมูลที่คุณชัยอนันต์ ถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่ข้อวิตกกังวลในอนาคตนั้น คุณชัยอนันต์สามารถเปลี่ยนแปลงให้ชาวบ้านกลับไปสู่สภาพเดิมได้หรือไม่ กรณีเขื่อนปากมูลมีการต่อต้านตั้งแต่ก่อนสร้างหลายปี แต่สู้ไม่ได้ เพราะทัศนะ หรือข้ออ้าง เช่นนี้แหละที่เห็นว่า เป็นความกังวลในอนาคต แล้วในที่สุดเมื่อความกังวลในอนาคตไม่ได้รับการพิจารณา จึงกลายเป็นความจริงอันขมขื่นสำหรับชาวบ้านในวันนี้ ชาวบ้านต้องประสบกับความทุกข์ยาก ชาวบ้านสูญเสียโอกาสในการทำมาหากิน ประเมินว่าสูญเสียรายได้ปีละ 100 กว่าล้านบาทจากเขื่อนปากมูล กฟผ ทำได้เพียงจ่ายเงินชดเชยเป็นเงินครอบครัวละไม่กี่หมื่นบาท แต่เงินเพียงเท่านี้ ไม่สามารถชดเชยกับการสูญเสียแหล่งทรัพยากรที่ชาวบ้านอาศัยในการดำรงชีวิตได้ แต่เวลานี้ บมจ. กฟผ ทำสัญญาเช่าเขื่อนปากมูลเพื่อผลิตไฟฟ้าจากกรมธนารักษ์ ในราคาเพียงปีละ 4 ล้านบาท ทั้งที่มูลค่าก่อสร้างเขื่อนปากมูลเป็นเงิน 6,600 ล้านบาท ถ้าคิดอายุการใช้งานของเขื่อน ว่ามีเวลา 40 ปี ราคาค่าเช่าไม่ควรต่ำกว่าปีละ 165 ล้านบาท
ถ้าหากคำกล่าวอ้างของคุณชัยอนันต์ว่า กฟผ ไม่มีอำนาจรัฐ ไม่ได้ใช้อำนาจรัฐ เป็นความจริง ชาวบ้านเขื่อนปากมูลควรจะขอเช่าเขื่อนปากมูล แข่งกับ กฟผ โดยเสนอค่าเช่าให้กับรัฐสูงกว่า กฟผ แล้วดูว่ารัฐจะให้ชาวบ้านเช่าหรือไม่
ประการสุดท้าย ดิฉันอยากเตือนความจำคุณชัยอนันต์ ถึงการประชุมเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2547 ที่โรงแรมสยามซิตี้ที่จัดร่วมกับสหภาพแรงงาน กฟผ และฝ่ายรัฐที่เกี่ยวข้อง รายงานข่าวที่ดิฉันได้อ่านในวันนั้น มีดังนี้
นายชัยอนันต์ สมุทวณิช แถลงว่า ขบวนการเกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ ขณะนี้จะหยุดจนกระทั่งการดำเนินการจัดทำ พ.ร.บ. การปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เสร็จเรียบร้อย โดยจะแสวงหาแนวทางในการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะยังไม่มีการนำ กฟผ เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ในระหว่างที่เรากำลังทำเรื่องนี้ รับประกันได้ว่าจะไม่มีการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะมีข่าวลือว่า รัฐบาลจะนำเข้าตลาดฯ ผมไม่ได้มาบอกว่า ต้องเชื่อรัฐบาล แต่คนเราควรมีความเชื่อใจกันบ้าง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า เขาไม่ทำตามข้อตกลง
ดิฉันอยากขอเรียนถามว่า มาถึงวันนี้ เรายังควรเชื่อใจรัฐบาลและคุณชัยอนันต์ หรือไม่
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 2
นายคณิน บุญสุวรรณ อดีตสสร.ได้ให้ความเห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากการแปรรูป กฟผ.ว่า นอกเหนือจากค่าไฟฟ้า
ที่ประชาชนต้องแบกรับภาระเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้แล้ว การแปรรูปและยุบเลิก กฟผ. รวมทั้ง
การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ผลประโยชน์ของชาติ
และวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยในอนาคตอย่างรุนแรง ชนิดที่เราอาจคาดไม่ถึง
ประการที่หนึ่ง การจัดกระจายกระแสไฟฟ้าเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือการกุศล รวมทั้งผลักดันให้ทุกหมู่บ้าน
ในชนบทห่างไกลและตามหัวไร่ปลายนา ชาวป่าชาวเขา ได้มีไฟฟ้าใช้ ตลอดจนจ่ายกระแสไฟฟ้าในราคาถูก
ให้แก่ประชาชนในชุมชนยากจนและผู้มีรายได้น้อยจะต้องยุติลง เนื่องจากกิจการต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมดจะส่ง
ผลกระทบขาดทุนต่อบริษัท ซึ่งผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ๆ คงไม่ยอม
ประการที่สอง จะเกิดภาวะขาดแคลนกระแสไฟฟ้าในเมืองใหญ่ที่เรียกว่า BLACK OUT คือไฟฟ้าดับทั้งเมือง
เป็นเวลานาน จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมโดยทั่วไป รวมทั้งกระทบต่อวิธี
การดำเนินชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับที่เกิดในหลายประเทศที่มีการแปรรูปกิจการไฟฟ้าแก่เอกชน
ทั้งนี้เพราะ อำนาจรัฐไม่สามารถลงไปแทรกแซงหรือควบคุมใด ๆ ได้เลย โดยเหตุที่บริษัท กฟผ.
และกิจการไฟฟ้าทั้งหมดไม่ใช่ของรัฐ (แม้จะมีคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้าอยู่ด้วยก็ตาม)
ประการที่สาม ในยามที่บ้านเมืองประสบกับสถานการณ์ความไม่สงบ ยามมีศึกสงคราม เหตุจลาจลวุ่นวาย
หรือแม้แต่เกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการด้านไฟฟ้าเป็นอย่างมาก
สถานการณ์จะเลวร้ายและเสื่อมทรุดลงอย่างรวดเร็ว และประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ซึ่งอำนาจรัฐ
จะไม่สามารถลงไปจัดการอะไรได้เลย เพราะหน่วยงาน อาคาร สถานที่ โรงจักร สถานีจ่ายกระแสไฟฟ้า หรือแม้แต่
บรรดาเขื่อนทั้งหลายย่อมถูกจัดให้เป็นเขตหวงห้ามของบริษัท ไม่ใช่สถานที่ราชการเหมือนก่อนที่จะแปรรูป
การส่งกำลังทหารหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจไปควบคุมพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งนี้ในเรื่องข้อมูลข่าวสาร
และความสัมพันธ์กับหน่วยราชการ ซึ่งแปลกแยกออกไป ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดภาวะหลุมดำขึ้น
ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่งอย่างแน่นอน
ประการที่สี่ ภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือแม้แต่องค์กรที่ปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งต้องเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน อันเป็นภาษีอากรของราษฎรจะต้องเพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ภายหลังการแปรรูป ขณะเดียวกันความอลุ่มอล่วย ผ่อนปรน ติดค้าง หรือลดหย่อนที่มีต่อกันในฐานะเป็นหน่วยงาน
ของรัฐด้วยกันเมื่อก่อนการแปรรูปก็จะหมดสิ้นไป ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายทั้งในด้านความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
ประการที่ห้า จะเกิดอันตรายอย่างใหญ่หลวง ต่อสภาพความปลอดภัยโดยรวมในการใช้ไฟฟ้าทั้งของครัวเรือนและของโรงงาน
สถานที่ชุมชน และอาคารต่าง ๆ เพราะพนักงานรวมทั้งผู้บริหารทุกคนของบริษัท กฟผ. และกิจการไฟฟ้าไม่ต้องคำนึงถึง
ภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการอย่างทั่วถึง และให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การปัดความรับผิดชอบและโยนกลองกันไปมา ระหว่างพนักงานหรือผู้บริหารจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนส่งผลกระทบกระเทือนอย่าง
รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลา 4-5 ปี หลังการแปรรูป ซึ่งพนักงานเก่า ๆ ของ กฟผ. ได้ทยอยกันลาออกจากงาน
หรือถูกปลดออกไป และถูกแทนที่โดยพนักงานรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมาจากภาคธุรกิจเอกชนและเป็นลูกหลานของผู้ถือหุ้น
จะส้รางความร้าวฉานและขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จะกระทบกระเทือนถึงการบริหารจัดการภายในองค์กรอย่างแน่นอน
เพราะวัฒนธรรมในการทำงาน ตลอดจนความเชื่อ วิธีคิด การฝึกอบรม แนวทางการบริหารและความระมัดระวังในการใช้จ่าย
แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เข้าตำราร้อยพ่อพันแม่ไม่มีใครยอมใคร ต่างคนต่างก็คิดว่าตัวเองแน่ เพราะเส้นใหญ่กว่า รวยกว่า
ถือหุ้นมากกว่า ในไม่ช้าการบริหารองค์กรก็จะเข้าสู่ภาวะกลียุค
ประการที่หก จะเป็นภัยอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศและการรักษาความสงบเรียบร้อย รวมทั้งการป้องกันและ
ปราบปรามอาชญากรรมร้ายแรงประเภทปล้นฆ่า ข่มขืน ชิงทรัพย์ หรือก่อวินาศกรรม เพราะผู้บริหารและพนักงานทุกคน
ของบริษัท กฟผ. และกิจการไฟฟ้าทุกแห่งมิได้ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของฝ่ายบ้านเมืองที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ
แต่จะบริหารและปฏิบัติงานโดยมุ่งแสวงหาผลกำไรมาก ๆ เพื่อนำไปสังเวยผู้ถือหุ้นและนายทุนเจ้าของบริษัท
ในขณะที่ปล่อยให้สถานที่สำคัญ ที่สาธารณะ หมู่บ้าน ชุมชน ถนนหนทาง ตามตรอกซอกซอยตกอยู่ในความมืดเพราะ
ไม่มีไฟฟ้าใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าผู้บริหารระดับสูงหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่เกิดขัดแย้งแย่งชิงอำนาจหรือฉ้อโกงกันเอง
ก็จะส่งให้เกิดผลกระทบให้เกิดไฟดับทั้งเมืองเป็นเวลานาน ๆ อย่างที่เกิดกับมหานครใหญ่ทางเหนือของสหรัฐฯ
และทางใต้ของแคนาดาเมื่อไม่นานมานี้
ประการที่เจ็ด การเปลี่ยนแปลงสถานะของ กฟผ. และกิจการไฟฟ้าจากความเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีประชาชน
ทั้งประเทศเป็นเจ้าของและมี เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวนหลายหมื่นคนเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษา
ผลประโยชน์ของส่วนรวม อำนวยความสะอวดและบริการประชาชน ภายใต้การกำกับดูแล อำนาจรัฐ ที่มาจากการเลือกตั้ง
ของประชาชนตามวิถีทางประชาธิปไตยไปเป็นบริษัทเอกชน ซึ่งมีนายทุน ผู้ถือหุ้น และนักเก็งกำไร ทั้งต่างชาติและ
ในประเทศเพียงหยิบมือเดียวเป็นเจ้าของ โดยมี ลูกจ้าง และ CEO ซึ่งบริหารและปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้ถือหุ้น
และเจ้าของบริษัท ซึ่งมุ่งแต่จะแสวงหาความมั่งคั่งและร่ำรวยจากกิจการนี้โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ อำนาจรัฐ
และโดยไม่ต้องแคร์ด้วยว่าประชาชนจะคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร เดือดร้อนหรือไม่ เป็นธรรมหรือไม่ นับเป็นหนทางอันนำไปสู่
ความหายนะของประเทศชาติและคนไทย ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความมั่นคง รวมทั้งเอกราชอธิปไตยของชาติ
อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดและยัดเยียดสภาวะเช่นว่านั้นให้แก่ประเทศชาติและคนไทยโดยไม่ยอม
รับฟังแม้แต่กระแสคัดค้านของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ก็สมควรแล้วที่ถูกตราหน้าว่าเป็นคน ขายชาติ
และไม่ควรอยู่ในตำแหน่งสำคัญของบ้านเมืองอีกต่อไป
ประการที่แปด อันเป็นประการสุดท้าย ถือเป็นความสูญเสียยิ่งใหญ่ที่มรดกของชาติซึ่งตกทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษที่
บูรพมหากษัตริย์ บรรพบุรุษ และคนไทยหลายรุ่นได้ต่อสู้เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส
จากการถูกเวนคืนและรักษาให้ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้ อันเป็นวันที่แผ่นดิน ที่ราชพัสดุ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ที่ดิน และทรัพย์สินทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขื่อนทั้งหลายที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานให้แก่พสกนิกรชาวไทย
รวมทั้งหน่วยงานราชการและหน่วยงานของรัฐได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันในทุก ๆ ด้าน ไม่เฉพาะใช้แต่ผลิตกระแสไฟฟ้า
แต่รวมถึงบรรเทาความแห้งแล้งบันดาลความชุ่มชื้น ป้องกันปัญหาน้ำท่วม ส่งเสริมอาชีพการประมงให้แก่ราษฎร
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การชลประทานเพื่อการเกษตร การผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และอื่น ๆ
จะต้องตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท กฟผ. ซึ่งมีทั้งนายทุนต่างชาติ และคนไทย รวมทั้งนักเก็งกำไรเพียงหยิบมือเดียว
เป็นเจ้าของโดยสิ้นเชิง
ต่อจากนี้ไป บรรดาเขื่อน สายส่งกระแสไฟฟ้าแรงสูง และทรัพย์สินทั้งหลายที่เคยเป็นของรัฐ ของชาติ ของประชาชน
และเป็นมรดกของลูกหลานไทย ก็จะไม่ใช่ของคนไทยอีกต่อไป ถึงแม้อ้างว่า บรรดาเขื่อนและกระแสไฟฟ้าตกเป็น
ของกระทรวงการคลัง โดยบริษัท กฟผ. จะเป็นผู้เช่า ก็ไม่ผิดอะไรกับประเทศไทยและคนไทยได้สูญเสียเอกราชอธิปไตย
และแผ่นดิน รวมทั้งสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่หวงแหนไปแล้วอย่างเป็นทางการถาวร เพราะการเช่าก็หมายถึ
งสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์แต่เพียงผู้เดียวตลอดไป จนกว่าจะสิ้นแผ่นดินไทยนั่นเอง (กรณีนี้เหมือนกับที่ประเทศจีน
ถูกบีบให้อังกฤษเช่าเกาะฮ่องกง และโปรตุเกสเช่ามาเก๊า โดยผ่านทางบริษัทเอกชนของประเทศทั้งสองในยุคล่าอาณานิคม
เป็นการสูญเสียอธิปไตยและดินแดนที่คนจีนทั้งชาติต้องเจ็บปวดกันมาแล้ว )
นับเป็นความสูญเสียที่หนักหนาสาหัสพอ ๆ กับสูญชาติทีเดียว เพราะเป็นการยึดครองแผ่นดินไทยและสมบัติของชาติ
โดยไม่ต้องทำสงคราม เพราะฉะนั้น การแปรรูป กฟผ. รวมทั้งกิจการไฟฟ้าและยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ
ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 จึงเป็นขบวนการเอาสมบัติของชาติไปขาย หรือเรียกว่าเป็นการ
ขายชาติเชิงนโยบาย ก็คงไม่ผิดนัก
ที่ประชาชนต้องแบกรับภาระเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้แล้ว การแปรรูปและยุบเลิก กฟผ. รวมทั้ง
การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ผลประโยชน์ของชาติ
และวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยในอนาคตอย่างรุนแรง ชนิดที่เราอาจคาดไม่ถึง
ประการที่หนึ่ง การจัดกระจายกระแสไฟฟ้าเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือการกุศล รวมทั้งผลักดันให้ทุกหมู่บ้าน
ในชนบทห่างไกลและตามหัวไร่ปลายนา ชาวป่าชาวเขา ได้มีไฟฟ้าใช้ ตลอดจนจ่ายกระแสไฟฟ้าในราคาถูก
ให้แก่ประชาชนในชุมชนยากจนและผู้มีรายได้น้อยจะต้องยุติลง เนื่องจากกิจการต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมดจะส่ง
ผลกระทบขาดทุนต่อบริษัท ซึ่งผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ๆ คงไม่ยอม
ประการที่สอง จะเกิดภาวะขาดแคลนกระแสไฟฟ้าในเมืองใหญ่ที่เรียกว่า BLACK OUT คือไฟฟ้าดับทั้งเมือง
เป็นเวลานาน จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมโดยทั่วไป รวมทั้งกระทบต่อวิธี
การดำเนินชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับที่เกิดในหลายประเทศที่มีการแปรรูปกิจการไฟฟ้าแก่เอกชน
ทั้งนี้เพราะ อำนาจรัฐไม่สามารถลงไปแทรกแซงหรือควบคุมใด ๆ ได้เลย โดยเหตุที่บริษัท กฟผ.
และกิจการไฟฟ้าทั้งหมดไม่ใช่ของรัฐ (แม้จะมีคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้าอยู่ด้วยก็ตาม)
ประการที่สาม ในยามที่บ้านเมืองประสบกับสถานการณ์ความไม่สงบ ยามมีศึกสงคราม เหตุจลาจลวุ่นวาย
หรือแม้แต่เกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการด้านไฟฟ้าเป็นอย่างมาก
สถานการณ์จะเลวร้ายและเสื่อมทรุดลงอย่างรวดเร็ว และประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ซึ่งอำนาจรัฐ
จะไม่สามารถลงไปจัดการอะไรได้เลย เพราะหน่วยงาน อาคาร สถานที่ โรงจักร สถานีจ่ายกระแสไฟฟ้า หรือแม้แต่
บรรดาเขื่อนทั้งหลายย่อมถูกจัดให้เป็นเขตหวงห้ามของบริษัท ไม่ใช่สถานที่ราชการเหมือนก่อนที่จะแปรรูป
การส่งกำลังทหารหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจไปควบคุมพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งนี้ในเรื่องข้อมูลข่าวสาร
และความสัมพันธ์กับหน่วยราชการ ซึ่งแปลกแยกออกไป ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดภาวะหลุมดำขึ้น
ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่งอย่างแน่นอน
ประการที่สี่ ภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือแม้แต่องค์กรที่ปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งต้องเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน อันเป็นภาษีอากรของราษฎรจะต้องเพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ภายหลังการแปรรูป ขณะเดียวกันความอลุ่มอล่วย ผ่อนปรน ติดค้าง หรือลดหย่อนที่มีต่อกันในฐานะเป็นหน่วยงาน
ของรัฐด้วยกันเมื่อก่อนการแปรรูปก็จะหมดสิ้นไป ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายทั้งในด้านความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
ประการที่ห้า จะเกิดอันตรายอย่างใหญ่หลวง ต่อสภาพความปลอดภัยโดยรวมในการใช้ไฟฟ้าทั้งของครัวเรือนและของโรงงาน
สถานที่ชุมชน และอาคารต่าง ๆ เพราะพนักงานรวมทั้งผู้บริหารทุกคนของบริษัท กฟผ. และกิจการไฟฟ้าไม่ต้องคำนึงถึง
ภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการอย่างทั่วถึง และให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การปัดความรับผิดชอบและโยนกลองกันไปมา ระหว่างพนักงานหรือผู้บริหารจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนส่งผลกระทบกระเทือนอย่าง
รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลา 4-5 ปี หลังการแปรรูป ซึ่งพนักงานเก่า ๆ ของ กฟผ. ได้ทยอยกันลาออกจากงาน
หรือถูกปลดออกไป และถูกแทนที่โดยพนักงานรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมาจากภาคธุรกิจเอกชนและเป็นลูกหลานของผู้ถือหุ้น
จะส้รางความร้าวฉานและขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จะกระทบกระเทือนถึงการบริหารจัดการภายในองค์กรอย่างแน่นอน
เพราะวัฒนธรรมในการทำงาน ตลอดจนความเชื่อ วิธีคิด การฝึกอบรม แนวทางการบริหารและความระมัดระวังในการใช้จ่าย
แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เข้าตำราร้อยพ่อพันแม่ไม่มีใครยอมใคร ต่างคนต่างก็คิดว่าตัวเองแน่ เพราะเส้นใหญ่กว่า รวยกว่า
ถือหุ้นมากกว่า ในไม่ช้าการบริหารองค์กรก็จะเข้าสู่ภาวะกลียุค
ประการที่หก จะเป็นภัยอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศและการรักษาความสงบเรียบร้อย รวมทั้งการป้องกันและ
ปราบปรามอาชญากรรมร้ายแรงประเภทปล้นฆ่า ข่มขืน ชิงทรัพย์ หรือก่อวินาศกรรม เพราะผู้บริหารและพนักงานทุกคน
ของบริษัท กฟผ. และกิจการไฟฟ้าทุกแห่งมิได้ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของฝ่ายบ้านเมืองที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ
แต่จะบริหารและปฏิบัติงานโดยมุ่งแสวงหาผลกำไรมาก ๆ เพื่อนำไปสังเวยผู้ถือหุ้นและนายทุนเจ้าของบริษัท
ในขณะที่ปล่อยให้สถานที่สำคัญ ที่สาธารณะ หมู่บ้าน ชุมชน ถนนหนทาง ตามตรอกซอกซอยตกอยู่ในความมืดเพราะ
ไม่มีไฟฟ้าใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าผู้บริหารระดับสูงหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่เกิดขัดแย้งแย่งชิงอำนาจหรือฉ้อโกงกันเอง
ก็จะส่งให้เกิดผลกระทบให้เกิดไฟดับทั้งเมืองเป็นเวลานาน ๆ อย่างที่เกิดกับมหานครใหญ่ทางเหนือของสหรัฐฯ
และทางใต้ของแคนาดาเมื่อไม่นานมานี้
ประการที่เจ็ด การเปลี่ยนแปลงสถานะของ กฟผ. และกิจการไฟฟ้าจากความเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีประชาชน
ทั้งประเทศเป็นเจ้าของและมี เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวนหลายหมื่นคนเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษา
ผลประโยชน์ของส่วนรวม อำนวยความสะอวดและบริการประชาชน ภายใต้การกำกับดูแล อำนาจรัฐ ที่มาจากการเลือกตั้ง
ของประชาชนตามวิถีทางประชาธิปไตยไปเป็นบริษัทเอกชน ซึ่งมีนายทุน ผู้ถือหุ้น และนักเก็งกำไร ทั้งต่างชาติและ
ในประเทศเพียงหยิบมือเดียวเป็นเจ้าของ โดยมี ลูกจ้าง และ CEO ซึ่งบริหารและปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้ถือหุ้น
และเจ้าของบริษัท ซึ่งมุ่งแต่จะแสวงหาความมั่งคั่งและร่ำรวยจากกิจการนี้โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ อำนาจรัฐ
และโดยไม่ต้องแคร์ด้วยว่าประชาชนจะคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร เดือดร้อนหรือไม่ เป็นธรรมหรือไม่ นับเป็นหนทางอันนำไปสู่
ความหายนะของประเทศชาติและคนไทย ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความมั่นคง รวมทั้งเอกราชอธิปไตยของชาติ
อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดและยัดเยียดสภาวะเช่นว่านั้นให้แก่ประเทศชาติและคนไทยโดยไม่ยอม
รับฟังแม้แต่กระแสคัดค้านของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ก็สมควรแล้วที่ถูกตราหน้าว่าเป็นคน ขายชาติ
และไม่ควรอยู่ในตำแหน่งสำคัญของบ้านเมืองอีกต่อไป
ประการที่แปด อันเป็นประการสุดท้าย ถือเป็นความสูญเสียยิ่งใหญ่ที่มรดกของชาติซึ่งตกทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษที่
บูรพมหากษัตริย์ บรรพบุรุษ และคนไทยหลายรุ่นได้ต่อสู้เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส
จากการถูกเวนคืนและรักษาให้ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้ อันเป็นวันที่แผ่นดิน ที่ราชพัสดุ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ที่ดิน และทรัพย์สินทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขื่อนทั้งหลายที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานให้แก่พสกนิกรชาวไทย
รวมทั้งหน่วยงานราชการและหน่วยงานของรัฐได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันในทุก ๆ ด้าน ไม่เฉพาะใช้แต่ผลิตกระแสไฟฟ้า
แต่รวมถึงบรรเทาความแห้งแล้งบันดาลความชุ่มชื้น ป้องกันปัญหาน้ำท่วม ส่งเสริมอาชีพการประมงให้แก่ราษฎร
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การชลประทานเพื่อการเกษตร การผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และอื่น ๆ
จะต้องตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท กฟผ. ซึ่งมีทั้งนายทุนต่างชาติ และคนไทย รวมทั้งนักเก็งกำไรเพียงหยิบมือเดียว
เป็นเจ้าของโดยสิ้นเชิง
ต่อจากนี้ไป บรรดาเขื่อน สายส่งกระแสไฟฟ้าแรงสูง และทรัพย์สินทั้งหลายที่เคยเป็นของรัฐ ของชาติ ของประชาชน
และเป็นมรดกของลูกหลานไทย ก็จะไม่ใช่ของคนไทยอีกต่อไป ถึงแม้อ้างว่า บรรดาเขื่อนและกระแสไฟฟ้าตกเป็น
ของกระทรวงการคลัง โดยบริษัท กฟผ. จะเป็นผู้เช่า ก็ไม่ผิดอะไรกับประเทศไทยและคนไทยได้สูญเสียเอกราชอธิปไตย
และแผ่นดิน รวมทั้งสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่หวงแหนไปแล้วอย่างเป็นทางการถาวร เพราะการเช่าก็หมายถึ
งสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์แต่เพียงผู้เดียวตลอดไป จนกว่าจะสิ้นแผ่นดินไทยนั่นเอง (กรณีนี้เหมือนกับที่ประเทศจีน
ถูกบีบให้อังกฤษเช่าเกาะฮ่องกง และโปรตุเกสเช่ามาเก๊า โดยผ่านทางบริษัทเอกชนของประเทศทั้งสองในยุคล่าอาณานิคม
เป็นการสูญเสียอธิปไตยและดินแดนที่คนจีนทั้งชาติต้องเจ็บปวดกันมาแล้ว )
นับเป็นความสูญเสียที่หนักหนาสาหัสพอ ๆ กับสูญชาติทีเดียว เพราะเป็นการยึดครองแผ่นดินไทยและสมบัติของชาติ
โดยไม่ต้องทำสงคราม เพราะฉะนั้น การแปรรูป กฟผ. รวมทั้งกิจการไฟฟ้าและยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ
ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 จึงเป็นขบวนการเอาสมบัติของชาติไปขาย หรือเรียกว่าเป็นการ
ขายชาติเชิงนโยบาย ก็คงไม่ผิดนัก
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 3
ข้อเท็จจริงผลเสียหากมีการขายการไฟฟ้าในตลาดหลักทรัพย์
รัฐบาลตอบคำถาม ว่า หากไม่มีการขายการไฟฟ้าในตลาดหลักทรัพย์ ภายในวันที่ ๑๖-๑๗ พฤศจิกายนนี้จะทำให้
ประเทศเสียภาพพจน์ สูญเสียบรรยากาศการลงทุน กระทบกระเทือนหน้าตาของรัฐบาล สะท้อนให้เห็นว่า
ฐบาลไม่ได้สนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในอนาคต และไม่ได้ตอบคำถาม ว่า ขายการไฟฟ้าในอนาคต
จะเกิดประโยชน์อะไรกับประชาชน หรือแม้แต่
๑) ประชาชนทำผิดอะไรถึงถูกยึดทรัพย์และนำไปขายในตลาดหลักทรัพย์
๒) ประชาชนทั่วไปกับพนักงานการไฟฟ้าทำไมถึงมีสิทธิประโยชน์ต่างกัน
๓) ประชาชนที่ไม่มีเงินในการซื้อหุ้นจะสามารถได้รับผลประโยชน์ในการขายการไฟฟ้าครั้งนี้อย่างไร
กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต ขอเสนอข้อมูลผลเสียต่องบประมาณแผ่นดินและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชน
ทุกคนหากมีการขายการไฟฟ้าในตลาดหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
1. สูญเสียงบประมาณและทรัพย์สินไปแล้วในปัจจุบัน ได้แก่
o รัฐบาลใช้งบประมาณในการทำประชาสัมพันธ์ และจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาในการแต่งตัวกฟผ.เข้าไปขายในตลาดหลักทรัพย์
มากกว่า ๑,๕๐๐ ล้านบาท(ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานแห่งชาติ)
o พนักงาน กฟผ.ได้รับการจัดสรรหุ้นไปแล้ว ๕๑๐.๓๑ ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ ๑๐ บาท เมื่อวันที่ ๒๕-๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๘
ราคาขายเบื้องต้น ประมาณ ๒๕-๒๘ บาทต่อหุ้น เฉพาะกำไรของพนักงานที่รัฐบาลได้กระจายหุ้นไปแล้ว ทำให้รัฐต้องรับภาระ
ค่าใช้จ่ายจำนวน ๗,๖๕๔.๖๕ ๙,๑๘๕.๕๘ ล้านบาทซึ่งสุดท้ายเป็นภาระงบประมาณของรัฐ หรือผลักเป็นภาระของผู้ใช้ไฟ
หรือผู้บริโภค
o การประเมินมูลค่าทรัพย์สินต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ เช่น การประเมินมูลค่าทรัพย์สินของระบบสื่อสาร
เพื่อการควบคุมระบบไฟฟ้า(สายไฟเบอร์ออฟติก) ไว้เพียง ๒,๒๔๑.๔ ล้านบาท โดยไม่ได้มีการประเมินมูลค่าในอนาคต
หรือโอกาสการสร้างรายได้ที่มากกว่าในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นการลงทุนโดยรัฐและโดยเฉพาะจากผู้ใช้ไฟ
2. รายได้ของรัฐหรือของประชาชนที่จะหายไปเป็นของคนบางกลุ่มและในแวดวงการเมือง
o เงินเดือนของพนักงานและผู้บริหารการไฟฟ้า หลังจากเปลี่ยนเป็นบริษัท จะเพิ่มขึ้นทันทีปีละ ๒,๐๐๐ ล้านบาท
o การจ่ายค่าเช่าเขื่อนที่ไม่คุ้มกับการลงทุนของรัฐในการก่อสร้าง เช่น กรณีเขื่อนปากมูล บริษัทกฟผ. จำกัด
ได้รับปากจะจ่ายค่าเช่าเพียงปีละ ๔ ล้านบาท ซึ่งต้นทุนก่อสร้างประมาณ ๖,๖๐๐ ล้านบาท หากคิดอายุเขื่อน ๓๐ ปี
งบลงทุนประมาณปีละ ๒๒๐ ล้านบาท
o หนังสือชี้ชวน ได้เขียนไว้ชัดเจนว่า หากมีกำไรจะนำส่งรายได้ให้กับรัฐจำนวน ร้อยละ ๒๕ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ๒๕๕๒
ขณะที่ในปัจจุบันการไฟฟ้ามีการนำส่งรายได้ให้กับรัฐ ร้อยละ ๓๕
o หนังสือชี้ชวนได้เสนอผลประโยชน์ในการปันผลหุ้น ณ สิ้นปี ๒๕๔๘ หุ้นละ ๗๕ สตางค์ ซึ่งขณะนี้ได้มีการกระจายหุ้น
จำนวน ๒,๐๐๐ ล้านหุ้น จะทำให้มีกำไรต่อนักลงทุนโดยรวมประมาณ ๑,๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งต้องทำให้ต้องควักเงินกำไร
สะสมของการไฟฟ้ามาจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นซึ่งส่งผลต่อภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้า
o หนังสือชี้ชวนได้ระบุไว้ว่า บมจ.กฟผ. จะต้องปันผลหุ้นจากกำไรสุทธิ ร้อยละ ๔๐ ให้กับผู้ถือหุ้น
3. ไม่มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค
o ไม่มีหลักประกันเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค จากกรณีตัวอย่างการไม่ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาชี้ชวนในกรณีของปตท.
ที่ได้สัญญาไว้ก่อนการแปรรูปว่า จะแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากธุรกิจส่วนอื่นภายใน ๑ ปี เพื่อเปิดทางให้มีการแข่งขันลด
การผูกขาดในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ และ จะจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
แต่จนปัจจุบันได้ดำเนินการแปรรูปปตท.มานานกว่า ๔ ปี ยังไม่มีการดำเนินการออกมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
o การโฆษณาในหนังสือหลายฉบับเกี่ยวกับการชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของการไฟฟ้าในตลาดหลักทรัพย์ เป็นการโฆษณาเกินจริง
ถือเป็นส่วนหนึ่งของ คำมั่นสัญญา นับเป็นการละเมิดสิทธิสัญญาต่อผู้บริโภคตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
o บริษัท กฟผ. จำกัดต้องทำหน้าที่รับประกันกำไร ร้อยละ ๘.๓ ซึ่งสูงกว่าการประกันกำไรในกรณีปตท.
โดยต้องมีการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าประมาณร้อยละ ๔
o รัฐบาลและข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงานให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องกับประชาชนโดยตลอดที่บอกว่า
ประเทศไทยมีราคาค่าไฟถูกกว่าประเทศอื่น เพราะความจริงแล้วเมื่อเทียบรายได้ต่อหัวปรากฏว่าคนไทยต้องจ่ายค่าไฟ
แพงมากว่า คนมาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง และ ญี่ปุ่น
รัฐบาลตอบคำถาม ว่า หากไม่มีการขายการไฟฟ้าในตลาดหลักทรัพย์ ภายในวันที่ ๑๖-๑๗ พฤศจิกายนนี้จะทำให้
ประเทศเสียภาพพจน์ สูญเสียบรรยากาศการลงทุน กระทบกระเทือนหน้าตาของรัฐบาล สะท้อนให้เห็นว่า
ฐบาลไม่ได้สนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในอนาคต และไม่ได้ตอบคำถาม ว่า ขายการไฟฟ้าในอนาคต
จะเกิดประโยชน์อะไรกับประชาชน หรือแม้แต่
๑) ประชาชนทำผิดอะไรถึงถูกยึดทรัพย์และนำไปขายในตลาดหลักทรัพย์
๒) ประชาชนทั่วไปกับพนักงานการไฟฟ้าทำไมถึงมีสิทธิประโยชน์ต่างกัน
๓) ประชาชนที่ไม่มีเงินในการซื้อหุ้นจะสามารถได้รับผลประโยชน์ในการขายการไฟฟ้าครั้งนี้อย่างไร
กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต ขอเสนอข้อมูลผลเสียต่องบประมาณแผ่นดินและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชน
ทุกคนหากมีการขายการไฟฟ้าในตลาดหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
1. สูญเสียงบประมาณและทรัพย์สินไปแล้วในปัจจุบัน ได้แก่
o รัฐบาลใช้งบประมาณในการทำประชาสัมพันธ์ และจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาในการแต่งตัวกฟผ.เข้าไปขายในตลาดหลักทรัพย์
มากกว่า ๑,๕๐๐ ล้านบาท(ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานแห่งชาติ)
o พนักงาน กฟผ.ได้รับการจัดสรรหุ้นไปแล้ว ๕๑๐.๓๑ ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ ๑๐ บาท เมื่อวันที่ ๒๕-๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๘
ราคาขายเบื้องต้น ประมาณ ๒๕-๒๘ บาทต่อหุ้น เฉพาะกำไรของพนักงานที่รัฐบาลได้กระจายหุ้นไปแล้ว ทำให้รัฐต้องรับภาระ
ค่าใช้จ่ายจำนวน ๗,๖๕๔.๖๕ ๙,๑๘๕.๕๘ ล้านบาทซึ่งสุดท้ายเป็นภาระงบประมาณของรัฐ หรือผลักเป็นภาระของผู้ใช้ไฟ
หรือผู้บริโภค
o การประเมินมูลค่าทรัพย์สินต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ เช่น การประเมินมูลค่าทรัพย์สินของระบบสื่อสาร
เพื่อการควบคุมระบบไฟฟ้า(สายไฟเบอร์ออฟติก) ไว้เพียง ๒,๒๔๑.๔ ล้านบาท โดยไม่ได้มีการประเมินมูลค่าในอนาคต
หรือโอกาสการสร้างรายได้ที่มากกว่าในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นการลงทุนโดยรัฐและโดยเฉพาะจากผู้ใช้ไฟ
2. รายได้ของรัฐหรือของประชาชนที่จะหายไปเป็นของคนบางกลุ่มและในแวดวงการเมือง
o เงินเดือนของพนักงานและผู้บริหารการไฟฟ้า หลังจากเปลี่ยนเป็นบริษัท จะเพิ่มขึ้นทันทีปีละ ๒,๐๐๐ ล้านบาท
o การจ่ายค่าเช่าเขื่อนที่ไม่คุ้มกับการลงทุนของรัฐในการก่อสร้าง เช่น กรณีเขื่อนปากมูล บริษัทกฟผ. จำกัด
ได้รับปากจะจ่ายค่าเช่าเพียงปีละ ๔ ล้านบาท ซึ่งต้นทุนก่อสร้างประมาณ ๖,๖๐๐ ล้านบาท หากคิดอายุเขื่อน ๓๐ ปี
งบลงทุนประมาณปีละ ๒๒๐ ล้านบาท
o หนังสือชี้ชวน ได้เขียนไว้ชัดเจนว่า หากมีกำไรจะนำส่งรายได้ให้กับรัฐจำนวน ร้อยละ ๒๕ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ๒๕๕๒
ขณะที่ในปัจจุบันการไฟฟ้ามีการนำส่งรายได้ให้กับรัฐ ร้อยละ ๓๕
o หนังสือชี้ชวนได้เสนอผลประโยชน์ในการปันผลหุ้น ณ สิ้นปี ๒๕๔๘ หุ้นละ ๗๕ สตางค์ ซึ่งขณะนี้ได้มีการกระจายหุ้น
จำนวน ๒,๐๐๐ ล้านหุ้น จะทำให้มีกำไรต่อนักลงทุนโดยรวมประมาณ ๑,๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งต้องทำให้ต้องควักเงินกำไร
สะสมของการไฟฟ้ามาจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นซึ่งส่งผลต่อภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้า
o หนังสือชี้ชวนได้ระบุไว้ว่า บมจ.กฟผ. จะต้องปันผลหุ้นจากกำไรสุทธิ ร้อยละ ๔๐ ให้กับผู้ถือหุ้น
3. ไม่มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค
o ไม่มีหลักประกันเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค จากกรณีตัวอย่างการไม่ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาชี้ชวนในกรณีของปตท.
ที่ได้สัญญาไว้ก่อนการแปรรูปว่า จะแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากธุรกิจส่วนอื่นภายใน ๑ ปี เพื่อเปิดทางให้มีการแข่งขันลด
การผูกขาดในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ และ จะจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
แต่จนปัจจุบันได้ดำเนินการแปรรูปปตท.มานานกว่า ๔ ปี ยังไม่มีการดำเนินการออกมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
o การโฆษณาในหนังสือหลายฉบับเกี่ยวกับการชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของการไฟฟ้าในตลาดหลักทรัพย์ เป็นการโฆษณาเกินจริง
ถือเป็นส่วนหนึ่งของ คำมั่นสัญญา นับเป็นการละเมิดสิทธิสัญญาต่อผู้บริโภคตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
o บริษัท กฟผ. จำกัดต้องทำหน้าที่รับประกันกำไร ร้อยละ ๘.๓ ซึ่งสูงกว่าการประกันกำไรในกรณีปตท.
โดยต้องมีการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าประมาณร้อยละ ๔
o รัฐบาลและข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงานให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องกับประชาชนโดยตลอดที่บอกว่า
ประเทศไทยมีราคาค่าไฟถูกกว่าประเทศอื่น เพราะความจริงแล้วเมื่อเทียบรายได้ต่อหัวปรากฏว่าคนไทยต้องจ่ายค่าไฟ
แพงมากว่า คนมาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง และ ญี่ปุ่น
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 4
เรื่องขายไม่ขาย ผมไม่ออกความเห็น
แต่เรื่อง อภิสิทธิ์ กับ สวัสดิการควรปรับลดดลง
พนักงานก็พูดใหญ่โต ไม่สนใจฟังประชาชน
เวลาไปติดตั้งเดินสำรวจ ก็มักง่าย รับเงินทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
แบบเห็นแก่ตัว เอาเปรียบผู้อื่น
โดยเฉพาะ ผู้รับเหมาช่วงต่อมาติดตั้ง
มีปัญหากันหลายครั้งแต่ไม่ได้สนใจ
ร้องเรียนไปก็เงียบ
เดินทางไปคุย ก็บอกทรัพย์สินเป็นของการไฟฟ้า
คนอะไรเป็นถึงระดับผู้บริหาร จะบ้าอำนาจปานนั้น
โดยเฉพาะที่ขอนแก่น
การทำงานทั้งระบบต้องยกเครื่องใหม่และได้รับการแก้ไขโดยมืออาชีพ
แต่เรื่อง อภิสิทธิ์ กับ สวัสดิการควรปรับลดดลง
พนักงานก็พูดใหญ่โต ไม่สนใจฟังประชาชน
เวลาไปติดตั้งเดินสำรวจ ก็มักง่าย รับเงินทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
แบบเห็นแก่ตัว เอาเปรียบผู้อื่น
โดยเฉพาะ ผู้รับเหมาช่วงต่อมาติดตั้ง
มีปัญหากันหลายครั้งแต่ไม่ได้สนใจ
ร้องเรียนไปก็เงียบ
เดินทางไปคุย ก็บอกทรัพย์สินเป็นของการไฟฟ้า
คนอะไรเป็นถึงระดับผู้บริหาร จะบ้าอำนาจปานนั้น
โดยเฉพาะที่ขอนแก่น
การทำงานทั้งระบบต้องยกเครื่องใหม่และได้รับการแก้ไขโดยมืออาชีพ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 5
กฟผ.-พึงรักษาสมบัติของชาติ ไว้ให้ปวงชนชาวไทย
โดย ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำเป็นตัวอย่าง "พระมหากษัตริย์ประชาธิปไตย" เป็นตัวอย่างให้แก่พสกนิกรชาวไทยทุกคนให้เปิดใจกว้าง รับฟังความเห็นและคำวิจารณ์ของผู้อื่น เพื่อนำมาปรับปรุงตนเอง ปรับปรุงการบริหารงานทุกระดับ
ความเห็นต่อไปนี้ขอเสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยด้วยความเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทยทั่วไปทั้งประเทศ
การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ(กฟผ.)นี้ หากประมวลจากความเห็นของนักวิชาการ นักหนังสือพิมพ์(ของเกือบทุกสำนักพิมพ์) รวมทั้งประชาชนจำนวนมาก จะเห็นว่า ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการแปรรูป กฟผ. หากผู้บริหาร กฟผ. รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย และรัฐบาล พิจารณาปัญหานี้จากหลายๆ มิติ ทั้งด้านความยุติธรรม เมตตาธรรม ความมั่นคงของระบบการบริการเพื่อสาธารณประโยชน์ ความสงบสุขของสังคม ผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ รวมทั้งความยากจนของรากหญ้า ย่อมจะสรุปได้ว่า ไม่สมควรนำ กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์
กฟผ.เป็นมรดกอันล้ำค่าซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มา พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย มรดกชิ้นนี้สร้างโดยบรรพบุรุษ และงอกเงยขึ้นจากการเสียสละอันใหญ่หลวงของประชาชนชาวไทยนับแสน ซึ่งถูกเวนคืนที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์ด้วยราคาถูกมาก เพื่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขื่อน และสายส่งไฟฟ้า
นอกจากนี้ ภาษีอากรที่ประชาชนทั่วประเทศจ่ายให้แก่รัฐบาลในเวลาที่ผ่านมา ได้มีส่วนทำให้มรดกชิ้นนี้มีคุณค่ามากขึ้น จนปัจจุบันอาจมีมูลค่าเกือบหนึ่งล้านล้านบาท(หากประเมินอย่างถูกต้องและเป็นธรรม)
กฟผ.จึงเป็นสมบัติของคนไทยทุกคนที่ต้องหวงแหนและช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลาน
ระบบทุนนิยมในกระแสโลภาภิวัตน์ ในลักษณะการค้าเสรี รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นๆ จากนักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์ชั้นนำของโลก อาทิ ศาสตราจารย์ Joseph Stiglitz ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2001 Dani Rodrik แห่งฮาร์วาร์ด และ Robert Wade จาก London School of Economics. Joseph Stiglitz กล่าวในหนังสือ Globalization and Its Discontents(แปลได้ใจความว่า โลกาภิวัตน์และผลความไม่พอใจที่ตามมา) ว่าความไม่พอใจของผู้ประท้วงในหลายปีที่ผ่านมา มีพื้นฐานที่หนักแน่น ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงการค้าเสรี ซึ่งมักเอื้อประโยชน์แก่คนรวยเป็นสำคัญ หรือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่นำหายนะมาสู่หลายประเทศ(ที่กำลังพัฒนา) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ช่องว่างคนรวยกับคนจนกว้างมากขึ้น นำไปสู่การเสียสมดุลในสังคม(จาก http://www.thenation.com/doc/20020610/press)
นักลงทุนต่างชาติเคยถามพนักงานของรัฐเมื่อเร็วๆ นี้ ในทำนองว่า เมื่อแปรรูป กฟผ. แล้วรัฐจะเข้าแทรกแซงการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าหรือไม่?
หาก กฟผ.ถูกนำเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วแน่นอนจะถูกระบบทุนนิยมกลืนไปเป็นผลประโยชน์ของนายทุนใหญ่เพียงหยิบมือหนึ่งในระบบตลาดหลักทรัพย์ เมื่อ กฟผ.ตกอยู่ในกำมือของนายทุนใหญ่แล้ว การบริการจำหน่ายไฟฟ้าแก่ประชาชน จะอยู่บนพื้นฐานของการทำกำไรให้แก่บริษัทมหาชนให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้ประชาชนต้องรับภาระค่าไฟฟ้าแพงขึ้น เป็นภาระหนักสำหรับคนยากจน ดังที่มีตัวอย่างให้เห็นในบ้านเราแล้วจากบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งซึ่งมาจากการแปรรูป
นอกจากนั้น การเอาเขื่อนพร้อมทั้งสายส่งไฟฟ้าไปแปรรูป จะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายแน่นอน เขื่อนส่วนใหญ่เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ น้ำที่เก็บกักในเขื่อนเป็นสมบัติของชาติ ส่วนหนึ่งชาวนา ชาวไร่ ผู้ยากจนได้ใช้เพื่อเกษตรกรรม ชาวประมงก็ได้ประโยชน์จากสัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำ ทรัพยากรแหล่งน้ำอาจถูกฮุบไป ชาวบ้านรากหญ้าจำนวนมากจะได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรมในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรต่างๆ
ประชาชนอาจสูญเสียสิทธิในป่าไม้ อุทยาน แหล่งท่องเที่ยว การคมนาคมทางน้ำ รวมถึงทรัพยากรล้ำค่าอื่นๆ (ทั้งบนดินและใต้ดิน) ความขัดแย้ง ความไม่สงบในสังคมจะตามมา
ประเทศไทยได้ประสบวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ.2540 จากอิทธิพลของกลุ่มนายทุนอำมหิตข้ามชาติจากความอ่อนหัดในการเปิดเสรีทางการเงิน รวมทั้งจากผลการคอร์รัปชั่นทุกระดับในประเทศ
การนำ กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ย่อมเปิดทางให้กลุ่มทุนต่างประเทศ(ซึ่งมีอำนาจเงินมากและไม่มีความปรานี) เข้ามามีอิทธิพลใน กฟผ.ระบบพลังงานหลักของประเทศ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ก็เสี่ยงต่อการถูกยึดครองโดยกลุ่มทุนต่างชาติ ส่งผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ผลกระทบอาจร้ายแรงยิ่งกว่าวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ด้วยซ้ำ เพราะส่งผลไปถึงระดับรากหญ้า และเป็นผลระยะยาว ประเทศในละตินอเมริกาบางประเทศ เคยประสบชะตากรรมมาแล้ว น่าจะนำมาเป็นอุทาหรณ์ที่ดีแก่เรา
รัฐบาลประกาศว่าจะขจัดความยากจนให้หมดไปในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า สิ่งนี้จะเป็นไปได้อย่างไร หากไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของทุกคน ทั้งยากดีมีจน จะต้องแพงขึ้นเมื่อ กฟผ.ถูกแปรรูป หากปราศจากความเป็นธรรมและเมตตาธรรมแล้ว สังคมก็จะไม่มีความสงบสุข
รัฐบาลสามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมได้ทันทีเพื่อนำไปสู่การขจัดความยากจนตามเจตนารมณ์ ด้วยการประกาศยกเลิกการแปรรูป กฟผ. ให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ปวงชนชาวไทยทุกคน
โดย ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำเป็นตัวอย่าง "พระมหากษัตริย์ประชาธิปไตย" เป็นตัวอย่างให้แก่พสกนิกรชาวไทยทุกคนให้เปิดใจกว้าง รับฟังความเห็นและคำวิจารณ์ของผู้อื่น เพื่อนำมาปรับปรุงตนเอง ปรับปรุงการบริหารงานทุกระดับ
ความเห็นต่อไปนี้ขอเสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยด้วยความเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทยทั่วไปทั้งประเทศ
การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ(กฟผ.)นี้ หากประมวลจากความเห็นของนักวิชาการ นักหนังสือพิมพ์(ของเกือบทุกสำนักพิมพ์) รวมทั้งประชาชนจำนวนมาก จะเห็นว่า ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการแปรรูป กฟผ. หากผู้บริหาร กฟผ. รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย และรัฐบาล พิจารณาปัญหานี้จากหลายๆ มิติ ทั้งด้านความยุติธรรม เมตตาธรรม ความมั่นคงของระบบการบริการเพื่อสาธารณประโยชน์ ความสงบสุขของสังคม ผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ รวมทั้งความยากจนของรากหญ้า ย่อมจะสรุปได้ว่า ไม่สมควรนำ กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์
กฟผ.เป็นมรดกอันล้ำค่าซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มา พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย มรดกชิ้นนี้สร้างโดยบรรพบุรุษ และงอกเงยขึ้นจากการเสียสละอันใหญ่หลวงของประชาชนชาวไทยนับแสน ซึ่งถูกเวนคืนที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์ด้วยราคาถูกมาก เพื่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขื่อน และสายส่งไฟฟ้า
นอกจากนี้ ภาษีอากรที่ประชาชนทั่วประเทศจ่ายให้แก่รัฐบาลในเวลาที่ผ่านมา ได้มีส่วนทำให้มรดกชิ้นนี้มีคุณค่ามากขึ้น จนปัจจุบันอาจมีมูลค่าเกือบหนึ่งล้านล้านบาท(หากประเมินอย่างถูกต้องและเป็นธรรม)
กฟผ.จึงเป็นสมบัติของคนไทยทุกคนที่ต้องหวงแหนและช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลาน
ระบบทุนนิยมในกระแสโลภาภิวัตน์ ในลักษณะการค้าเสรี รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นๆ จากนักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์ชั้นนำของโลก อาทิ ศาสตราจารย์ Joseph Stiglitz ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2001 Dani Rodrik แห่งฮาร์วาร์ด และ Robert Wade จาก London School of Economics. Joseph Stiglitz กล่าวในหนังสือ Globalization and Its Discontents(แปลได้ใจความว่า โลกาภิวัตน์และผลความไม่พอใจที่ตามมา) ว่าความไม่พอใจของผู้ประท้วงในหลายปีที่ผ่านมา มีพื้นฐานที่หนักแน่น ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงการค้าเสรี ซึ่งมักเอื้อประโยชน์แก่คนรวยเป็นสำคัญ หรือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่นำหายนะมาสู่หลายประเทศ(ที่กำลังพัฒนา) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ช่องว่างคนรวยกับคนจนกว้างมากขึ้น นำไปสู่การเสียสมดุลในสังคม(จาก http://www.thenation.com/doc/20020610/press)
นักลงทุนต่างชาติเคยถามพนักงานของรัฐเมื่อเร็วๆ นี้ ในทำนองว่า เมื่อแปรรูป กฟผ. แล้วรัฐจะเข้าแทรกแซงการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าหรือไม่?
หาก กฟผ.ถูกนำเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วแน่นอนจะถูกระบบทุนนิยมกลืนไปเป็นผลประโยชน์ของนายทุนใหญ่เพียงหยิบมือหนึ่งในระบบตลาดหลักทรัพย์ เมื่อ กฟผ.ตกอยู่ในกำมือของนายทุนใหญ่แล้ว การบริการจำหน่ายไฟฟ้าแก่ประชาชน จะอยู่บนพื้นฐานของการทำกำไรให้แก่บริษัทมหาชนให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้ประชาชนต้องรับภาระค่าไฟฟ้าแพงขึ้น เป็นภาระหนักสำหรับคนยากจน ดังที่มีตัวอย่างให้เห็นในบ้านเราแล้วจากบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งซึ่งมาจากการแปรรูป
นอกจากนั้น การเอาเขื่อนพร้อมทั้งสายส่งไฟฟ้าไปแปรรูป จะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายแน่นอน เขื่อนส่วนใหญ่เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ น้ำที่เก็บกักในเขื่อนเป็นสมบัติของชาติ ส่วนหนึ่งชาวนา ชาวไร่ ผู้ยากจนได้ใช้เพื่อเกษตรกรรม ชาวประมงก็ได้ประโยชน์จากสัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำ ทรัพยากรแหล่งน้ำอาจถูกฮุบไป ชาวบ้านรากหญ้าจำนวนมากจะได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรมในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรต่างๆ
ประชาชนอาจสูญเสียสิทธิในป่าไม้ อุทยาน แหล่งท่องเที่ยว การคมนาคมทางน้ำ รวมถึงทรัพยากรล้ำค่าอื่นๆ (ทั้งบนดินและใต้ดิน) ความขัดแย้ง ความไม่สงบในสังคมจะตามมา
ประเทศไทยได้ประสบวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ.2540 จากอิทธิพลของกลุ่มนายทุนอำมหิตข้ามชาติจากความอ่อนหัดในการเปิดเสรีทางการเงิน รวมทั้งจากผลการคอร์รัปชั่นทุกระดับในประเทศ
การนำ กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ย่อมเปิดทางให้กลุ่มทุนต่างประเทศ(ซึ่งมีอำนาจเงินมากและไม่มีความปรานี) เข้ามามีอิทธิพลใน กฟผ.ระบบพลังงานหลักของประเทศ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ก็เสี่ยงต่อการถูกยึดครองโดยกลุ่มทุนต่างชาติ ส่งผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ผลกระทบอาจร้ายแรงยิ่งกว่าวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ด้วยซ้ำ เพราะส่งผลไปถึงระดับรากหญ้า และเป็นผลระยะยาว ประเทศในละตินอเมริกาบางประเทศ เคยประสบชะตากรรมมาแล้ว น่าจะนำมาเป็นอุทาหรณ์ที่ดีแก่เรา
รัฐบาลประกาศว่าจะขจัดความยากจนให้หมดไปในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า สิ่งนี้จะเป็นไปได้อย่างไร หากไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของทุกคน ทั้งยากดีมีจน จะต้องแพงขึ้นเมื่อ กฟผ.ถูกแปรรูป หากปราศจากความเป็นธรรมและเมตตาธรรมแล้ว สังคมก็จะไม่มีความสงบสุข
รัฐบาลสามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมได้ทันทีเพื่อนำไปสู่การขจัดความยากจนตามเจตนารมณ์ ด้วยการประกาศยกเลิกการแปรรูป กฟผ. ให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ปวงชนชาวไทยทุกคน
-
- Verified User
- โพสต์: 2326
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 7
รัฐวิสาหกิจมีรูปแบบเหมือนกันหมดเลยครับ
อย่าง THAI เมื่อก่อน พนักงานสวัสดิการเพียบ คนทำงานมีแต่เครือญาติกัน หลังๆเริ่มดูดีขึ้น เห็นพอแปรรูปแล้วล่าสุด แอร์ทำงานเซ้นสัญญา 3 เดือน แตกต่างจากเมื่อก่อนที่ทำงานจนเกษียณ
เรื่องราคาที่ไม่เหมาะสมพูดยากนะ ถ้าจะอ้างอิงราคาจากโบรกเกอร์ให้มา นั้นตอนนี้ มีหลายตัวในตลาดที่โบรกฯให้ราคาสูงกว่าราคาตลาดเยอะมาก ไม่เห็นมีใครออกมาพูดกันเลย
คนต่อต้าน ก็จะเอาแต่ข้อเสียมาพูด ข้อดีไม่เห็นเอามาพูดมั่ง มาถั่วน้ำหนักกัน
อย่าง THAI เมื่อก่อน พนักงานสวัสดิการเพียบ คนทำงานมีแต่เครือญาติกัน หลังๆเริ่มดูดีขึ้น เห็นพอแปรรูปแล้วล่าสุด แอร์ทำงานเซ้นสัญญา 3 เดือน แตกต่างจากเมื่อก่อนที่ทำงานจนเกษียณ
เรื่องราคาที่ไม่เหมาะสมพูดยากนะ ถ้าจะอ้างอิงราคาจากโบรกเกอร์ให้มา นั้นตอนนี้ มีหลายตัวในตลาดที่โบรกฯให้ราคาสูงกว่าราคาตลาดเยอะมาก ไม่เห็นมีใครออกมาพูดกันเลย
คนต่อต้าน ก็จะเอาแต่ข้อเสียมาพูด ข้อดีไม่เห็นเอามาพูดมั่ง มาถั่วน้ำหนักกัน
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 9
เรื่องการไฟฟ้า คุยกับหลายๆคนหลายๆระดับ พูดให้จบคงยาก
ในสายตา คนหาเช้ากินค่ำ ระดับแม่ค้าร้านค้าที่ใช้ไฟไม่ถึง2พันบาท
เขาไม่สนใจว่าจะแปรรูปแปรแบบอะไร เพราะมีส่วนกระทบน้อย
ระดับที่มีแอร์เครื่องอำนวยความสดวกพร้อม มีการศึกษาระดับปานกลาง
เขากมองกันว่า เรื่องแปรรูปแล้ว จะไม่ขึ้นค่าไฟฟ้า คงเป็นไปไม่ได้
ในเมื่อต้นทุนการผลิต ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซ ค่าบำรุงรักษาเขื่อน
สุดท้ายที่... ก็คือสวัสดิการพนักงานนั่นล่ะคือตัวต้นทุนแบบผันแปร
ระดับเจ้าของบริษัทห้างร้าน ก็มองแบบเดียวกันกับคนระดับกลาง
แต่ที่มองลึกลงไปก็คงในแวดวงใน ที่มีการบอกกันต่อๆไปว่า...
พอการไฟฟ้าแปรรูป
ก็จะมีการจัดตั้งบริษัทเข้าไปขอใช้สายไฟฟ้า ของการไฟฟ้า
เพื่อให้บริการ อินเตอร์เน็ตความเร็วแสงเคเบิ้ลใยแก้วและอื่นๆ
พูดแบบชาวบ้าน จะมีการจัดตั้งบริษัทของนายกนายักษ์
เข้ามาหาสัมปทานและผลประโยชน์กว่าแสนล้านบาท
ทุกวันนี้จึงมีแต่พนักงานการไฟฟ้ารักษาผลประโยชน์อันน้อยนิดของตัวเอง
ซึ่งเป็นพนักงานระดับล่าง ส่วนระดับบนก็นั่งดูเป็นไผ่ ส่ายตามลม
เงินของการขอหม้อมิเตอร์ไฟฟ้ากว่าแสนล้านบ้าน
ยังไม่มีการชี้แจงว่าการไฟฟ้าเก็บเป็นค่าติดตั้งค่าประกันมิเตอร์
เงินส่วนนี้ ฝากกินดอกได้เดือนละเท่าไหร่ หรือนำไปใช้หาประโยชน์ด้วยวิธีใด
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 12
เห็นด้วยคับว่าควรจะฟังความทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งข้อดีและข้อเสีย
ทุกท่านคงจะได้เห็นและพบว่า ก่อนที่จะมีคำสั่งศาลให้ชะลอการขายหุ้นกฟผ. ภาครัฐโดยกฟผ.เอง ได้ทุ่มประชาสัมพันธ์ ซื้อสื่อเพื่อลงโฆษณาแทบจะทุกช่องทาง เพื่อให้เห็นว่าเมื่อนำกฟผ.เข้าตลาดแล้วจะมีผลดีอย่างไร นั่นคือสิ่งที่ได้ประสบพบจริง
วันนี้จึงนำความเห็นของฝ่ายค้านการระดมทุนกฟผ.ซึ่งทุนน้อยกว่ามากๆ ช่องทางในการเผยแพร่และเข้าถึงประชาชนก็น้อยกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ เพื่อให้ทุกท่านได้เปรียบเทียบกับที่ได้รับข้อมูลจากกฟผ. ว่าประเด็นอยู่ที่ใด ทำไมจึงค้าน
อย่างไรก็ตาม คุณรสนาผู้เขียนบทความนี้และทีมงานถือว่าเป็นผู้หญิงเก่งและกล้าหาญมากที่ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองคัดค้านการขายหุ้นกฟผ.และนำเข้าตลาด
ถ้าปีที่ผ่านๆมา สังคมยกย่องยายไฮ ขันจันทา หรือคุณรัตนา สัจเทพ ในการต่อสู้เรียกร้อง หาความเป็นธรรม เรียกร้องในสิทธิของตนเอง เรียกร้องต่อสู้กับอำนาจรัฐ
ปีนี้มหาชนก็ขอยกย่องคุณรัตนา โตสิตระกูลและทีมทำงาน เช่นคุณสารี อ๋องสมหวัง ในนามมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ที่ต่อสู้เรียกร้อง ให้ข้อเท็จจริงและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของคนไทยทั้งในกรณีทุจริตยาที่ผ่านมา และอีกหลายๆกรณี ช่วยให้งบประมาณแผ่นดินถูกนำไปใช้เพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
ขอสดุดี...
ทุกท่านคงจะได้เห็นและพบว่า ก่อนที่จะมีคำสั่งศาลให้ชะลอการขายหุ้นกฟผ. ภาครัฐโดยกฟผ.เอง ได้ทุ่มประชาสัมพันธ์ ซื้อสื่อเพื่อลงโฆษณาแทบจะทุกช่องทาง เพื่อให้เห็นว่าเมื่อนำกฟผ.เข้าตลาดแล้วจะมีผลดีอย่างไร นั่นคือสิ่งที่ได้ประสบพบจริง
วันนี้จึงนำความเห็นของฝ่ายค้านการระดมทุนกฟผ.ซึ่งทุนน้อยกว่ามากๆ ช่องทางในการเผยแพร่และเข้าถึงประชาชนก็น้อยกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ เพื่อให้ทุกท่านได้เปรียบเทียบกับที่ได้รับข้อมูลจากกฟผ. ว่าประเด็นอยู่ที่ใด ทำไมจึงค้าน
อย่างไรก็ตาม คุณรสนาผู้เขียนบทความนี้และทีมงานถือว่าเป็นผู้หญิงเก่งและกล้าหาญมากที่ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองคัดค้านการขายหุ้นกฟผ.และนำเข้าตลาด
ถ้าปีที่ผ่านๆมา สังคมยกย่องยายไฮ ขันจันทา หรือคุณรัตนา สัจเทพ ในการต่อสู้เรียกร้อง หาความเป็นธรรม เรียกร้องในสิทธิของตนเอง เรียกร้องต่อสู้กับอำนาจรัฐ
ปีนี้มหาชนก็ขอยกย่องคุณรัตนา โตสิตระกูลและทีมทำงาน เช่นคุณสารี อ๋องสมหวัง ในนามมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ที่ต่อสู้เรียกร้อง ให้ข้อเท็จจริงและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของคนไทยทั้งในกรณีทุจริตยาที่ผ่านมา และอีกหลายๆกรณี ช่วยให้งบประมาณแผ่นดินถูกนำไปใช้เพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
ขอสดุดี...
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 13
พิมพ์ผิด ...
คุณรสนา โตสิตระกูล ไม่ใช่คุณรัตนา โตสิตระกูลคับ
ขออภัย
คุณรสนา โตสิตระกูล ไม่ใช่คุณรัตนา โตสิตระกูลคับ
ขออภัย
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 14
ที่จริง กฟผ จ่ายค่าโฆษณาไปเกิน100ล้าน
ทั้งทีวีหนังสือพิมพ์ป้ายโฆษณา และหนังสือชี้ชวน พร้อมเดินสายทั่วประเทศ
คงหมดทั้งทางตลาดและ กฟผ
น่าจะทำประชาพิจารณ์ ทีละอำเภอ หรือจังหวัด
จัดเวที ให้ฝ่ายตลาดหลักทรัพย์และ กฟผ
ให้ตอบข้อซักถาม กับประชาชนที่สนใจ
สงสัยอะไรจะได้เคลียร์
ทั้งทีวีหนังสือพิมพ์ป้ายโฆษณา และหนังสือชี้ชวน พร้อมเดินสายทั่วประเทศ
คงหมดทั้งทางตลาดและ กฟผ
น่าจะทำประชาพิจารณ์ ทีละอำเภอ หรือจังหวัด
จัดเวที ให้ฝ่ายตลาดหลักทรัพย์และ กฟผ
ให้ตอบข้อซักถาม กับประชาชนที่สนใจ
สงสัยอะไรจะได้เคลียร์
- ขงเบ้ง
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเสนอระดมทุนพันธบัตร กฟผ
โพสต์ที่ 15
ขอเสนอระดมทุนพันธบัตร กฟผ
1.ให้ดอกเบี้ยมากกว่าเงินฝากส่วนตัวคิดว่ากฟผใช้เงินน้อยกว่าให้ปันผลถ้าออกหุ้น
2.รัฐคําประกันเพื่อความมั่นใจ
3.ดีกว่าออกกองทุนนํามันอีกซึ่งขายหมดในพริบตา
4.ส่งเสริมให้รักชาติหรือช่องทางหนึ่งให้คนที่มีเกินเพียงพอ(อภิมหาเศรษฐี)บริจาคเพื่อชาติดีกว่าสึนามิอีกได้แค่ปลาแต่นี่บริจาคให้เครื่องจับปลา
5.รัฐบาลได้เงินลงทุนแต่ประชาชนทุกคนยังเป็นเจ้าของ
6.ในอนาคตมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันถ้ากลัวขาดทุน จำเป็นก็ขึ้นค่าไฟได้ตามความจำเป็นไม่มีใครว่าเพราะทุกคนเป็นเจ้าของ อัฐยายซื้อขนมยาย
ยังมีช่องทางอื่นระดมทุนได้อีกเช่น ถ้าอยากให้รายย่อยมีส่วนร่วมก็ออกหวย
ดีกว่าหวยหงอีก หรือออกสลาก
แต่ถ้าเข้าตลาดหุ้นผมก็คงซื้อบ้างครับเพราะถ้าเข้าแล้วก็คงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และคงซื้อเก็บไว้ตราบเท่าที่พื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลงและราคาเหมาะสมครับซึ่งคนอื่นอาจไม่คิดเหมือนผมหรือคิดเหมือนแต่เป็นเงินร้อนก็คงขายแต่ถ้าไม่เข้าตลาดหุ้นผมว่าดีกว่าครับ ลูกหลานเหลนโหลนเราได้เป็นเจ้าของด้วย
เป็นแค่ความคิดเห็นแลกเปลี่ยนนะครับไม่เห็นด้วยก็ได้ครับ
1.ให้ดอกเบี้ยมากกว่าเงินฝากส่วนตัวคิดว่ากฟผใช้เงินน้อยกว่าให้ปันผลถ้าออกหุ้น
2.รัฐคําประกันเพื่อความมั่นใจ
3.ดีกว่าออกกองทุนนํามันอีกซึ่งขายหมดในพริบตา
4.ส่งเสริมให้รักชาติหรือช่องทางหนึ่งให้คนที่มีเกินเพียงพอ(อภิมหาเศรษฐี)บริจาคเพื่อชาติดีกว่าสึนามิอีกได้แค่ปลาแต่นี่บริจาคให้เครื่องจับปลา
5.รัฐบาลได้เงินลงทุนแต่ประชาชนทุกคนยังเป็นเจ้าของ
6.ในอนาคตมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันถ้ากลัวขาดทุน จำเป็นก็ขึ้นค่าไฟได้ตามความจำเป็นไม่มีใครว่าเพราะทุกคนเป็นเจ้าของ อัฐยายซื้อขนมยาย
ยังมีช่องทางอื่นระดมทุนได้อีกเช่น ถ้าอยากให้รายย่อยมีส่วนร่วมก็ออกหวย
ดีกว่าหวยหงอีก หรือออกสลาก
แต่ถ้าเข้าตลาดหุ้นผมก็คงซื้อบ้างครับเพราะถ้าเข้าแล้วก็คงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และคงซื้อเก็บไว้ตราบเท่าที่พื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลงและราคาเหมาะสมครับซึ่งคนอื่นอาจไม่คิดเหมือนผมหรือคิดเหมือนแต่เป็นเงินร้อนก็คงขายแต่ถ้าไม่เข้าตลาดหุ้นผมว่าดีกว่าครับ ลูกหลานเหลนโหลนเราได้เป็นเจ้าของด้วย
เป็นแค่ความคิดเห็นแลกเปลี่ยนนะครับไม่เห็นด้วยก็ได้ครับ
ไม่มีกลยุทธ์ใดตายตัวขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์
เวลารุกคิดให้นานแต่เวลาถอยต้องเร็วไร้เงา
อิสรภาพทางการเงินเป็นแค่การเริ่มต้น
ปลายทาง คือ ความหลุดพ้น
ชีวิต คือ ความว่างเปล่า
ไม่มีใครหนีพ้นความตาย
แม้เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1ของโลก
เวลารุกคิดให้นานแต่เวลาถอยต้องเร็วไร้เงา
อิสรภาพทางการเงินเป็นแค่การเริ่มต้น
ปลายทาง คือ ความหลุดพ้น
ชีวิต คือ ความว่างเปล่า
ไม่มีใครหนีพ้นความตาย
แม้เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1ของโลก
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 16
การแปรรูป กฟผ. : บทเรียนจาก ปตท.
โดย ประสาท มีแต้ม 31 ตุลาคม 2548 18:35 น.
1. ความเป็นมา
เมื่อเดือนมีนาคม 2547 นายกฯทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวอย่างเกรี้ยวกราดว่า ตายเป็นตาย รัฐบาลจะไม่ยอมถอยเด็ดขาด ประเด็นการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยให้เหตุผล 2 ด้าน คือ
ด้านที่เป็นเหตุผลหลักที่ต้องแปรรูปมี 3 ข้อ คือ (1) เพื่อความมีประสิทธิภาพและให้เกิดการแข่งขัน (2) เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ (3) เพื่อให้เกิดการระดมทุนในการลงทุนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ต่อไป โดยรัฐบาลจะไม่ต้องค้ำประกันเงินกู้ให้ หรือไม่ต้องการเพิ่มหนี้สาธารณะให้แก่ประเทศอีก
สำหรับเหตุผลของด้านที่ไม่ยอมถอยก็เพราะกลัวว่าจะเสียความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่างประเทศ หรือเกรงว่าหุ้นจะร่วงอย่างมโหฬารนั่นเอง
แต่ในที่สุดรัฐบาลทักษิณก็ต้องยอมถอยเพราะเกรงจะเสียคะแนนนิยมในช่วงการเลือกตั้งใหญ่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 จนหลังจากชนะการเลือกตั้ง รัฐบาลทักษิณกลับเตรียมแปรรูปอย่างเงียบเชียบ พร้อมกับการใช้เล่ห์เหลี่ยมสารพัด เช่น ตอบแทนผลประโยชน์ก้อนโตให้แก่พนักงานที่เคยคัดค้าน ในส่วนที่ยืนหยัดคัดค้านก็จะถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นานาจากผู้บริหาร
บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุผลในการแปรรูปว่า ข้ออ้างของนายกฯทั้ง 3 ข้อนั้นว่าแท้ที่จริงแล้วมีเหตุผลหรือไม่ นอกจากนี้จะนำเสนอบทเรียนจากการแปรรูป ปตท.มาประกอบด้วย
2. สถานภาพของ กฟผ.
กฟผ. (อายุองค์กรประมาณ 35 ปี) เป็นกิจการของรัฐหรือของประชาชนเพื่อจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประชาชน ทรัพย์สินของ กฟผ. ไม่ว่าจะเป็นที่ดินบริเวณที่สายไฟฟ้าผ่าน หรือเขื่อนต่างๆ ล้วนได้มาจากการเวนคืนหรือรอนสิทธิ์มาจากประชาชน
จากรายงานประจำปี 2547 กฟผ. มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 3.7 แสนล้านบาท มีรายได้รวมในปีนั้นเท่ากับ 2.3 แสนล้านบาท โดยมีกำไรขั้นต้น 42,000 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 3 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 18.2% และ 12.9% ของรายได้ ตามลำดับ
กิจการที่มีขนาดใหญ่และทำกำไรสุทธิอย่างงามมาตลอดจะไม่มีปัญญาลงทุนเองเชียวหรือ
ในด้านการขยายการลงทุนเพิ่มเติม จากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือ PDP (2547-2558) ได้ปรับลดลงมาจากการสร้างโรงไฟฟ้าที่ระดับ 1,860 มาเป็น 1,000เมกกะวัตต์ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการขยายตัวลดลง ซึ่งหากประเมินค่าก่อสร้างอย่างคร่าวๆ ก็พบว่ากำไรสุทธิที่ กฟผ.ได้รับก็พอๆ กับต้นทุนค่าสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ นั่นคือไม่ต้องกู้เพิ่มก็สามารถสร้างได้
ในด้านความโปร่งใสหรือการตรวจสอบได้ ระบบระเบียบการเงินการคลังของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายก็เข้มงวดพอใช้ได้ไม่ใช่หรือ อย่างไรก็ตาม หากนักการเมืองคิดจะโกงกิน พวกเขาก็มีวิธีการที่แยบยลจนยากที่ ระเบียบการเงิน ใดๆ จะจับได้ (แต่สังคมจับได้) อยู่ดี
ในด้านการแข่งขัน แม้ กฟผ.กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯอยู่แล้ว แต่ก็พยายามหามาตรการเพื่อให้ กฟผ. มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 50% นับว่าเป็นมาตรการที่ไม่เป็นธรรมกับเอกชนรายอื่น ระบบสายส่งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งไฟฟ้าและเคยเป็นสมบัติของประชาชนมาก่อน แทนที่จะถูกกันไว้เป็นสมบัติของส่วนรวม บริษัท กฟผ. จำกัด(มหาชน) กลับยึดเอาไปด้วย
ดังนั้นเหตุผลในการแปรรูป กฟผ. ที่ท่านนายกฯกล่าว ล้วนไม่น่าเชื่อถือ
3. ผลประโยชน์ 4 ชั้นของกลุ่มทุน
ในกระบวนการขายรัฐวิสาหกิจต้องมีการว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งปกติมักจะคิดค่าปรึกษา (advisory fee) ประมาณ 1% ของมูลค่าทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่จะขาย และอีกไม่เกิน 3% เป็นค่าประกันการขายหุ้น (underwriting fee) กฟผ. มีทรัพย์ถึง 3.7 แสนล้านบาท เงินก้อนนี้จะโตขนาดไหน นี่เป็นผลประโยชน์ชั้นที่หนึ่ง
จากบทเรียนในการแปรรูป ปตท. หุ้นเข้าตลาดในราคา 35 บาทต่อหุ้น ปัจจุบันขึ้นไปอยู่ที่ 230 บาท จำนวน 2,850 ล้านหุ้น ถ้าคิดว่ามีการซื้อขายกันเพียง 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เราสามารถคำนวณได้ว่าส่วนต่างของราคามีค่าถึงกว่า 1.3 แสนล้านบาท นี่เป็นผลประโยชน์ขั้นที่สอง
แม้ท่านนายกฯทักษิณได้ประกาศเตือนในที่ประชุม ครม.ว่า ห้ามญาติพี่น้องของรัฐมนตรีเข้าไปซื้อ แต่ก็เป็นการยากที่จะห้ามคนขับรถของรัฐมนตรี
สำหรับผลประโยชน์ชั้นที่สาม คือการส่งคนของตนเข้าไปเป็นคณะกรรมการประจำ รวมทั้งเป็นผู้บริหารด้วย ในกรณีของ ปตท. ซึ่งมีคณะกรรมการ 15 คน ปรากฏว่ามีอยู่ 3 ท่านเป็นผู้ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับท่านนายกฯทักษิณ เช่น ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และที่ปรึกษานายกฯ เป็นต้น นอกจากนี้ระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.ก็มีนามสกุลเดียวกับท่านนายกฯ ด้วย
เมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ปตท.กับ กฟผ. แล้ว จะพบสิ่งที่น่าสนใจ 2 อย่าง คือ (1) กรรมการ ปตท.บางคนยังเป็นกรรมการ กฟผ. ด้วย เช่น คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นต้น และ (2) ประมาณ 70% ของเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ กฟผ. ใช้อยู่ต้องซื้อมาจาก ปตท. ในราคาที่แพงมากโดยเฉพาะค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ ส่งผลให้ทุก 100 บาทที่คนไทยจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าจะกลับเข้าสู่กระเป๋าของ ปตท.ถึง 43 บาท
ผมเข้าใจว่า นี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ กฟผ. ไม่ยอมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ
สำหรับผลประโยชน์ชั้นที่สี่ คือระบบอินเทอร์เน็ตที่จะมากับสายส่งไฟฟ้าซึ่งสามารถเข้าถึงเกินกว่า 98% ของพื้นที่ทั้งหมด เมื่อวันนั้นมาถึงผู้ประกอบการด้านคอมพิวเตอร์คงจะเข้ามาร่วมทุนด้วย
4. บทเรียน(อีกอย่างหนึ่ง) จาก ปตท.
ท่านนายกฯทักษิณกล่าวว่า หุ้นของ กฟผ. จะนำออกมาขายเพียง 30% เท่านั้น ที่เหลือยังคงเป็นของกระทรวงการคลังอยู่
เรื่องนี้ก็เป็นกลลวงอีกอย่างหนึ่ง จากรายงานของ ปตท. พบว่าในเดือนเมษายน 2546 กระทรวงการคลังถือหุ้น 69.28% แต่พอมาถึง กันยายน 2547 กลับลดลงเหลือเพียง 52.48% เท่านั้น
แปลเป็นไทยได้ว่า ขณะนี้กำไรสุทธิหลังหักภาษีของ ปตท. ในปี 2547 ซึ่งสูงถึง 62,666 ล้านบาท แทนที่จะเป็นของประชาชนทั้งหมดก็ต้องตกเป็นของผู้ถือหุ้นไม่กี่คนถึงเกือบครึ่งหนึ่ง
คาดกันว่าในปี 2548 ปตท.จะมีกำไรสุทธิเกือบหนึ่งแสนล้านบาท ในขณะที่คนไทยทั้งประเทศต้องแบกรับจ่ายค่าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ผมจะขอจบบทความนี้ด้วยการเปรียบเทียบค่าตอบแทนของกรรมการ (เบี้ยประชุมและโบนัส) ของ ปตท. (ซึ่งแปรรูปไปแล้ว) และ กฟผ. (ซึ่งยังไม่แปรรูป) ในปีเดียวกันคือ 2547
พบว่า ของ กฟผ. มีจำนวน 2.69 ล้านบาท ในขณะที่ ปตท. 22.9 ล้านบาท คิดเป็นกว่า 8 เท่าตัว ส่วนเงินเดือนและโบนัสของผู้บริหาร ปตท. จำนวน 8 คน รับไปเบาะๆ รวม 60.2 ล้านบาท
เรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว สามารถสรุปได้ง่ายๆ ว่าเป็นกระบวนการดังในหนังสือ ซื้อรัฐวิสาหกิจแถมประเทศไทย โดย ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ นั่นคือ ชง-เสิรฟ์-จ่าย หรือเป็นกระบวนการที่เรียกว่า สามเหลี่ยมทรราชย์ นั่นเอง.-
***************************
โครงการการจัดการความรู้เรื่องพลังงาน
สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข(สวรส.) ภาคใต้
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โดย ประสาท มีแต้ม 31 ตุลาคม 2548 18:35 น.
1. ความเป็นมา
เมื่อเดือนมีนาคม 2547 นายกฯทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวอย่างเกรี้ยวกราดว่า ตายเป็นตาย รัฐบาลจะไม่ยอมถอยเด็ดขาด ประเด็นการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยให้เหตุผล 2 ด้าน คือ
ด้านที่เป็นเหตุผลหลักที่ต้องแปรรูปมี 3 ข้อ คือ (1) เพื่อความมีประสิทธิภาพและให้เกิดการแข่งขัน (2) เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ (3) เพื่อให้เกิดการระดมทุนในการลงทุนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ต่อไป โดยรัฐบาลจะไม่ต้องค้ำประกันเงินกู้ให้ หรือไม่ต้องการเพิ่มหนี้สาธารณะให้แก่ประเทศอีก
สำหรับเหตุผลของด้านที่ไม่ยอมถอยก็เพราะกลัวว่าจะเสียความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่างประเทศ หรือเกรงว่าหุ้นจะร่วงอย่างมโหฬารนั่นเอง
แต่ในที่สุดรัฐบาลทักษิณก็ต้องยอมถอยเพราะเกรงจะเสียคะแนนนิยมในช่วงการเลือกตั้งใหญ่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 จนหลังจากชนะการเลือกตั้ง รัฐบาลทักษิณกลับเตรียมแปรรูปอย่างเงียบเชียบ พร้อมกับการใช้เล่ห์เหลี่ยมสารพัด เช่น ตอบแทนผลประโยชน์ก้อนโตให้แก่พนักงานที่เคยคัดค้าน ในส่วนที่ยืนหยัดคัดค้านก็จะถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นานาจากผู้บริหาร
บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุผลในการแปรรูปว่า ข้ออ้างของนายกฯทั้ง 3 ข้อนั้นว่าแท้ที่จริงแล้วมีเหตุผลหรือไม่ นอกจากนี้จะนำเสนอบทเรียนจากการแปรรูป ปตท.มาประกอบด้วย
2. สถานภาพของ กฟผ.
กฟผ. (อายุองค์กรประมาณ 35 ปี) เป็นกิจการของรัฐหรือของประชาชนเพื่อจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประชาชน ทรัพย์สินของ กฟผ. ไม่ว่าจะเป็นที่ดินบริเวณที่สายไฟฟ้าผ่าน หรือเขื่อนต่างๆ ล้วนได้มาจากการเวนคืนหรือรอนสิทธิ์มาจากประชาชน
จากรายงานประจำปี 2547 กฟผ. มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 3.7 แสนล้านบาท มีรายได้รวมในปีนั้นเท่ากับ 2.3 แสนล้านบาท โดยมีกำไรขั้นต้น 42,000 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 3 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 18.2% และ 12.9% ของรายได้ ตามลำดับ
กิจการที่มีขนาดใหญ่และทำกำไรสุทธิอย่างงามมาตลอดจะไม่มีปัญญาลงทุนเองเชียวหรือ
ในด้านการขยายการลงทุนเพิ่มเติม จากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือ PDP (2547-2558) ได้ปรับลดลงมาจากการสร้างโรงไฟฟ้าที่ระดับ 1,860 มาเป็น 1,000เมกกะวัตต์ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการขยายตัวลดลง ซึ่งหากประเมินค่าก่อสร้างอย่างคร่าวๆ ก็พบว่ากำไรสุทธิที่ กฟผ.ได้รับก็พอๆ กับต้นทุนค่าสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ นั่นคือไม่ต้องกู้เพิ่มก็สามารถสร้างได้
ในด้านความโปร่งใสหรือการตรวจสอบได้ ระบบระเบียบการเงินการคลังของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายก็เข้มงวดพอใช้ได้ไม่ใช่หรือ อย่างไรก็ตาม หากนักการเมืองคิดจะโกงกิน พวกเขาก็มีวิธีการที่แยบยลจนยากที่ ระเบียบการเงิน ใดๆ จะจับได้ (แต่สังคมจับได้) อยู่ดี
ในด้านการแข่งขัน แม้ กฟผ.กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯอยู่แล้ว แต่ก็พยายามหามาตรการเพื่อให้ กฟผ. มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 50% นับว่าเป็นมาตรการที่ไม่เป็นธรรมกับเอกชนรายอื่น ระบบสายส่งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งไฟฟ้าและเคยเป็นสมบัติของประชาชนมาก่อน แทนที่จะถูกกันไว้เป็นสมบัติของส่วนรวม บริษัท กฟผ. จำกัด(มหาชน) กลับยึดเอาไปด้วย
ดังนั้นเหตุผลในการแปรรูป กฟผ. ที่ท่านนายกฯกล่าว ล้วนไม่น่าเชื่อถือ
3. ผลประโยชน์ 4 ชั้นของกลุ่มทุน
ในกระบวนการขายรัฐวิสาหกิจต้องมีการว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งปกติมักจะคิดค่าปรึกษา (advisory fee) ประมาณ 1% ของมูลค่าทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่จะขาย และอีกไม่เกิน 3% เป็นค่าประกันการขายหุ้น (underwriting fee) กฟผ. มีทรัพย์ถึง 3.7 แสนล้านบาท เงินก้อนนี้จะโตขนาดไหน นี่เป็นผลประโยชน์ชั้นที่หนึ่ง
จากบทเรียนในการแปรรูป ปตท. หุ้นเข้าตลาดในราคา 35 บาทต่อหุ้น ปัจจุบันขึ้นไปอยู่ที่ 230 บาท จำนวน 2,850 ล้านหุ้น ถ้าคิดว่ามีการซื้อขายกันเพียง 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เราสามารถคำนวณได้ว่าส่วนต่างของราคามีค่าถึงกว่า 1.3 แสนล้านบาท นี่เป็นผลประโยชน์ขั้นที่สอง
แม้ท่านนายกฯทักษิณได้ประกาศเตือนในที่ประชุม ครม.ว่า ห้ามญาติพี่น้องของรัฐมนตรีเข้าไปซื้อ แต่ก็เป็นการยากที่จะห้ามคนขับรถของรัฐมนตรี
สำหรับผลประโยชน์ชั้นที่สาม คือการส่งคนของตนเข้าไปเป็นคณะกรรมการประจำ รวมทั้งเป็นผู้บริหารด้วย ในกรณีของ ปตท. ซึ่งมีคณะกรรมการ 15 คน ปรากฏว่ามีอยู่ 3 ท่านเป็นผู้ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับท่านนายกฯทักษิณ เช่น ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และที่ปรึกษานายกฯ เป็นต้น นอกจากนี้ระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.ก็มีนามสกุลเดียวกับท่านนายกฯ ด้วย
เมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ปตท.กับ กฟผ. แล้ว จะพบสิ่งที่น่าสนใจ 2 อย่าง คือ (1) กรรมการ ปตท.บางคนยังเป็นกรรมการ กฟผ. ด้วย เช่น คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นต้น และ (2) ประมาณ 70% ของเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ กฟผ. ใช้อยู่ต้องซื้อมาจาก ปตท. ในราคาที่แพงมากโดยเฉพาะค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ ส่งผลให้ทุก 100 บาทที่คนไทยจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าจะกลับเข้าสู่กระเป๋าของ ปตท.ถึง 43 บาท
ผมเข้าใจว่า นี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ กฟผ. ไม่ยอมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ
สำหรับผลประโยชน์ชั้นที่สี่ คือระบบอินเทอร์เน็ตที่จะมากับสายส่งไฟฟ้าซึ่งสามารถเข้าถึงเกินกว่า 98% ของพื้นที่ทั้งหมด เมื่อวันนั้นมาถึงผู้ประกอบการด้านคอมพิวเตอร์คงจะเข้ามาร่วมทุนด้วย
4. บทเรียน(อีกอย่างหนึ่ง) จาก ปตท.
ท่านนายกฯทักษิณกล่าวว่า หุ้นของ กฟผ. จะนำออกมาขายเพียง 30% เท่านั้น ที่เหลือยังคงเป็นของกระทรวงการคลังอยู่
เรื่องนี้ก็เป็นกลลวงอีกอย่างหนึ่ง จากรายงานของ ปตท. พบว่าในเดือนเมษายน 2546 กระทรวงการคลังถือหุ้น 69.28% แต่พอมาถึง กันยายน 2547 กลับลดลงเหลือเพียง 52.48% เท่านั้น
แปลเป็นไทยได้ว่า ขณะนี้กำไรสุทธิหลังหักภาษีของ ปตท. ในปี 2547 ซึ่งสูงถึง 62,666 ล้านบาท แทนที่จะเป็นของประชาชนทั้งหมดก็ต้องตกเป็นของผู้ถือหุ้นไม่กี่คนถึงเกือบครึ่งหนึ่ง
คาดกันว่าในปี 2548 ปตท.จะมีกำไรสุทธิเกือบหนึ่งแสนล้านบาท ในขณะที่คนไทยทั้งประเทศต้องแบกรับจ่ายค่าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ผมจะขอจบบทความนี้ด้วยการเปรียบเทียบค่าตอบแทนของกรรมการ (เบี้ยประชุมและโบนัส) ของ ปตท. (ซึ่งแปรรูปไปแล้ว) และ กฟผ. (ซึ่งยังไม่แปรรูป) ในปีเดียวกันคือ 2547
พบว่า ของ กฟผ. มีจำนวน 2.69 ล้านบาท ในขณะที่ ปตท. 22.9 ล้านบาท คิดเป็นกว่า 8 เท่าตัว ส่วนเงินเดือนและโบนัสของผู้บริหาร ปตท. จำนวน 8 คน รับไปเบาะๆ รวม 60.2 ล้านบาท
เรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว สามารถสรุปได้ง่ายๆ ว่าเป็นกระบวนการดังในหนังสือ ซื้อรัฐวิสาหกิจแถมประเทศไทย โดย ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ นั่นคือ ชง-เสิรฟ์-จ่าย หรือเป็นกระบวนการที่เรียกว่า สามเหลี่ยมทรราชย์ นั่นเอง.-
***************************
โครงการการจัดการความรู้เรื่องพลังงาน
สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข(สวรส.) ภาคใต้
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 17
ปลดพนักงานไฟฟ้าสหรัฐอเมริกา : บทเรียนที่พนักงานไฟฟ้าไทยต้องรับรู้
โดย ประสาท มีแต้ม 5 ธันวาคม 2548
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
บทความนี้จะนำผลการศึกษาวิจัยในการปลดพนักงานไฟฟ้ากว่า 1 แสนคนในประเทศสหรัฐอเมริกาหลังการปฏิรูประบบการกำกับดูแลระบบไฟฟ้า ระหว่างปี ค.ศ.1990-2000 มาเตือนสติพนักงานการไฟฟ้าไทยทั้งระบบ ท่ามกลางกระแสการคัดค้านการแปรรูปการไฟฟ้าในบ้านเรา
เมื่อพูดถึงพนักงานการไฟฟ้า เราหมายรวมถึง พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ที่ทำหน้าที่ผลิตและส่งกระแสไฟฟ้า พนักงานการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และพนักงานการไฟฟ้าภูมิภาค(กฟภ.) ที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชนในเขตของตนเอง แต่ที่กำลังถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในบ้านเราก็คือ การที่พนักงานของ กฟผ.ได้รับอนุญาตให้ซื้อหุ้น กฟผ. คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาทในราคาพาร์ ซึ่งเป็นราคาเพียงประมาณ 1 ใน 3 ของราคาเข้าตลาดเท่านั้น
ความจริงแล้วพนักงานการไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงานข้างต้น ได้ร่วมกันคัดค้านการแปรรูป กฟผ.มาตลอด แต่อาจจะเป็นเพราะคิดเอาเองว่า ต้านไม่ไหวแล้ว หรือเพราะ ผลประโยชน์ที่ทางรัฐบาลหยิบยื่นให้ ก็ไม่อาจทราบได้ พนักงาน กฟผ. ส่วนใหญ่จึงได้ยุติการคัดค้านร่วมกับประชาชนกลุ่มต่างๆ ในขณะนี้
นอกจากนี้ทางรัฐบาลอาจจะมีคำมั่นสัญญาลับๆ กับพนักงาน กฟผ.ว่า ในอนาคตจะไม่ปรับลดจำนวนพนักงานลง ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนทุกหน่วยงานต่างก็รู้สึกกลัวกันทั้งนั้น
บทความนี้ผมจะนำเสนอข้อมูลบางส่วนที่ได้มีการศึกษาวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาในเรื่องที่คล้ายกัน และได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว เพื่อเป็นการเตือนสติว่า คำมั่นสัญญา ของรัฐบาลที่มีฐานคิดเพื่อกำไรของนายทุนนั้น เชื่อถือไม่ได้
ข้อมูลส่วนใหญ่ต่อไปนี้มาจาก Monthly Labor Review ฉบับเดือนพฤษภาคม 2546 (2003) เรื่อง Regulatory reform and labor outcomes in the U.S. electricity sector เขียนโดย M. Scott Niederjohn ท่านที่สนใจสามารถค้นได้ google.com ครับ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 (1990) เป็นต้นมา หลายมลรัฐในสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นแผน การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า เหตุผลหลักที่ใช้อ้างในการปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวก็คล้ายกับในบ้านเราบางส่วนคือ เพื่อกระตุ้นการแข่งขันสำหรับการขายส่งในตลาดกิจการไฟฟ้า
สำหรับรายละเอียดและผลสัมฤทธิ์ด้านอื่นๆ เราจะไม่สนใจ แต่บทความนี้จะสนใจเฉพาะที่เกี่ยวกับการปลดพนักงานและเงินเดือนพนักงาน รวมทั้งที่เกี่ยวกับกิจการสหภาพแรงงานเท่านั้น
ตอนเริ่มต้นการปฏิรูป ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกามีพนักงานการไฟฟ้า (ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ 3 หน่วยงานของบ้านเรา) รวมกันประมาณ 4 แสน 5 หมื่นคน ในปีถัดมา มีการปลดพนักงานออกเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อผ่านไป 2 ปี พนักงานถูกปลดไปถึง 25,000 คน และก็ถูกปลดต่อมาเกือบทุกปี เมื่อนับจำนวนพนักงานไฟฟ้าจนถึงปี 2543 พนักงานของกิจการไฟฟ้าลดลงถึง 1 แสน 5 พันคน หรือลดลงถึง 24% ของจำนวนพนักงานในตอนเริ่มต้นปฏิรูป ทั้งๆ ที่ ในช่วงเวลาดังกล่าว คนอเมริกันใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 25% (ข้อมูลจาก Energy Information Administration)
ในด้านรายได้ของพนักงาน ผลการศึกษาพบว่า ผลจากการปฏิรูปดังกล่าว แม้ไม่ได้ทำให้รายได้ของพนักงานลดลง แต่รายได้ที่แท้จริงก็เพิ่มจากสัปดาห์ละ $482 ในปี 2335 เป็น $529 ในปี 2543 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.2% เท่านั้นหลังจากหักค่าเงินเฟ้อไปเรียบร้อยแล้ว
ในด้านเปอร์เซ็นต์ของพนักงานการไฟฟ้าที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานก็ลดลงมาอยู่ที่ 30% จากเดิมที่เคยมีถึงเกือบ 40% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด
จำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานย่อมสะท้อนอำนาจในการต่อรองของพนักงานกับเจ้าของกิจการนั่นเอง
ในปี 2544 คนอเมริกันทั่วประเทศ (293 ล้านคน) ใช้พลังงานไฟฟ้า 3.8 ล้านล้านหน่วย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 9 แสน 5 พันเมกะวัตต์ มีพนักงานไฟฟ้าทั้งสิ้น 339,000 คน
ลองนำมาเปรียบเทียบกับประเทศในปี 2547 แม้ข้อมูลคนละปีกันแต่ก็พอจะเห็นอะไรได้บ้าง
คนไทยทั่วประเทศ (63 ล้านคน) ใช้พลังงานไฟฟ้า 1.25 แสนล้านหน่วย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 26,000 เมกกะวัตต์ มีพนักงานไฟฟ้าที่เป็น กฟผ. (25,700 คน) กฟน. (9,913 คน) และ กฟภ. (26,970 คน) รวมทั้งสิ้นรวม 62,583 คน (ไม่นับพนักงานของบริษัทผลิตไฟฟ้าของเอกชน-เพราะผมไม่ทราบ ในการวิเคราะห์ต่อไปจะถือ พนักงานไฟฟ้าทั้งประเทศมี 64,000 คน)
จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ทุกๆ หนึ่งหน่วยเมกะวัตต์ของกำลังการผลิต สหรัฐอเมริกาว่าจ้างพนักงานเพียง 0.37 คนเท่านั้น (ในประเทศญี่ปุ่นเท่ากับ 0.5 คน) ในขณะที่ของประเทศเราใช้พนักงานถึง 2.46 คน
หรือทุกๆ หนึ่งเมกกะวัตต์ ใช้พนักงานมากถึงเกือบ 7 เท่าของสหรัฐอเมริกา
จริงอยู่ครับว่า ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศเรากับของสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกันในการกำหนดจำนวนพนักงานในการบริการประชาชนในชนบท แต่ตัวเลขที่แตกต่างกันขนาดนี้ย่อมเป็นเงื่อนไขให้เจ้าของกิจการไฟฟ้าอ้างได้
ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้มีเจตนาจะทำลายเครดิตของพนักงานการไฟฟ้า ตรงกันข้ามผมกลับยกย่องว่า องค์กรทั้ง 3 นี้เป็นองค์กรชั้นเลิศของประเทศไทยเมื่อเทียบกับองค์กรอื่นๆ
ปัญหาประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกานั้น เป็นเพราะปัจจัยต่างๆ มากมาย รวมทั้งการแทรกแซงของนักการเมืองในการจัดซื้อ จัดจ้าง และนโยบายด้านเชื้อเพลิงที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ค่าไฟฟ้าแพงมากกว่าค่าแรงงานของพนักงานหลายเท่านัก
แม้ว่าค่าแรงมีสัดส่วนไม่ถึง 6% ของต้นทุนค่าไฟฟ้าทั้งหมด แต่ด้วยแนวคิดของผู้ประกอบการที่มีเป้าหมายเพื่อกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้น วิธีการปลดพนักงานที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แล้วทำไมเรื่องแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยผู้เดินตามลูกพี่ใหญ่เกือบทุกกระเบียดนิ้ว
แต่ที่ต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ ดัชนีความโปร่งใสในการบริหารประเทศของไทยเราต่ำกว่าของสหรัฐอเมริกามาก กล่าวคือ ในปี 2547 สหรัฐได้คะแนน 7.5 แต่ไทยได้ 3.6 จากคะแนนเต็ม 10
ในสถานการณ์ที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งที่ประชาชนร่วมกันคัดค้านและยื่นต่อศาลปกครองเพื่อให้รัฐบาลระงับการขายกิจการไฟฟ้า พนักงาน กฟผ. ควรจะต้องเก็บรับบทเรียนจากสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ มาพิจารณา ว่าแท้ที่จริงแล้ว ผลประโยชน์ที่ทางรัฐบาลหยิบยื่นให้นั้น เป็นเพียงเพื่อให้วัตถุประสงค์ของเขาได้บรรลุไปก่อนเท่านั้น และเชื่อได้เลยว่า หลังจากนั้นเขาก็จะถีบไสไล่ส่งพวกท่านอย่างแน่นอน
ผมคิดคร่าวๆ จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้ว การปลดพนักงานการไฟฟ้าของไทย น่าจะมีจำนวนมากกว่า 24% เยอะเลย.-
****************
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โดย ประสาท มีแต้ม 5 ธันวาคม 2548
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
บทความนี้จะนำผลการศึกษาวิจัยในการปลดพนักงานไฟฟ้ากว่า 1 แสนคนในประเทศสหรัฐอเมริกาหลังการปฏิรูประบบการกำกับดูแลระบบไฟฟ้า ระหว่างปี ค.ศ.1990-2000 มาเตือนสติพนักงานการไฟฟ้าไทยทั้งระบบ ท่ามกลางกระแสการคัดค้านการแปรรูปการไฟฟ้าในบ้านเรา
เมื่อพูดถึงพนักงานการไฟฟ้า เราหมายรวมถึง พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ที่ทำหน้าที่ผลิตและส่งกระแสไฟฟ้า พนักงานการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และพนักงานการไฟฟ้าภูมิภาค(กฟภ.) ที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชนในเขตของตนเอง แต่ที่กำลังถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในบ้านเราก็คือ การที่พนักงานของ กฟผ.ได้รับอนุญาตให้ซื้อหุ้น กฟผ. คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาทในราคาพาร์ ซึ่งเป็นราคาเพียงประมาณ 1 ใน 3 ของราคาเข้าตลาดเท่านั้น
ความจริงแล้วพนักงานการไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงานข้างต้น ได้ร่วมกันคัดค้านการแปรรูป กฟผ.มาตลอด แต่อาจจะเป็นเพราะคิดเอาเองว่า ต้านไม่ไหวแล้ว หรือเพราะ ผลประโยชน์ที่ทางรัฐบาลหยิบยื่นให้ ก็ไม่อาจทราบได้ พนักงาน กฟผ. ส่วนใหญ่จึงได้ยุติการคัดค้านร่วมกับประชาชนกลุ่มต่างๆ ในขณะนี้
นอกจากนี้ทางรัฐบาลอาจจะมีคำมั่นสัญญาลับๆ กับพนักงาน กฟผ.ว่า ในอนาคตจะไม่ปรับลดจำนวนพนักงานลง ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนทุกหน่วยงานต่างก็รู้สึกกลัวกันทั้งนั้น
บทความนี้ผมจะนำเสนอข้อมูลบางส่วนที่ได้มีการศึกษาวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาในเรื่องที่คล้ายกัน และได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว เพื่อเป็นการเตือนสติว่า คำมั่นสัญญา ของรัฐบาลที่มีฐานคิดเพื่อกำไรของนายทุนนั้น เชื่อถือไม่ได้
ข้อมูลส่วนใหญ่ต่อไปนี้มาจาก Monthly Labor Review ฉบับเดือนพฤษภาคม 2546 (2003) เรื่อง Regulatory reform and labor outcomes in the U.S. electricity sector เขียนโดย M. Scott Niederjohn ท่านที่สนใจสามารถค้นได้ google.com ครับ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 (1990) เป็นต้นมา หลายมลรัฐในสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นแผน การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า เหตุผลหลักที่ใช้อ้างในการปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวก็คล้ายกับในบ้านเราบางส่วนคือ เพื่อกระตุ้นการแข่งขันสำหรับการขายส่งในตลาดกิจการไฟฟ้า
สำหรับรายละเอียดและผลสัมฤทธิ์ด้านอื่นๆ เราจะไม่สนใจ แต่บทความนี้จะสนใจเฉพาะที่เกี่ยวกับการปลดพนักงานและเงินเดือนพนักงาน รวมทั้งที่เกี่ยวกับกิจการสหภาพแรงงานเท่านั้น
ตอนเริ่มต้นการปฏิรูป ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกามีพนักงานการไฟฟ้า (ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ 3 หน่วยงานของบ้านเรา) รวมกันประมาณ 4 แสน 5 หมื่นคน ในปีถัดมา มีการปลดพนักงานออกเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อผ่านไป 2 ปี พนักงานถูกปลดไปถึง 25,000 คน และก็ถูกปลดต่อมาเกือบทุกปี เมื่อนับจำนวนพนักงานไฟฟ้าจนถึงปี 2543 พนักงานของกิจการไฟฟ้าลดลงถึง 1 แสน 5 พันคน หรือลดลงถึง 24% ของจำนวนพนักงานในตอนเริ่มต้นปฏิรูป ทั้งๆ ที่ ในช่วงเวลาดังกล่าว คนอเมริกันใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 25% (ข้อมูลจาก Energy Information Administration)
ในด้านรายได้ของพนักงาน ผลการศึกษาพบว่า ผลจากการปฏิรูปดังกล่าว แม้ไม่ได้ทำให้รายได้ของพนักงานลดลง แต่รายได้ที่แท้จริงก็เพิ่มจากสัปดาห์ละ $482 ในปี 2335 เป็น $529 ในปี 2543 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.2% เท่านั้นหลังจากหักค่าเงินเฟ้อไปเรียบร้อยแล้ว
ในด้านเปอร์เซ็นต์ของพนักงานการไฟฟ้าที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานก็ลดลงมาอยู่ที่ 30% จากเดิมที่เคยมีถึงเกือบ 40% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด
จำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานย่อมสะท้อนอำนาจในการต่อรองของพนักงานกับเจ้าของกิจการนั่นเอง
ในปี 2544 คนอเมริกันทั่วประเทศ (293 ล้านคน) ใช้พลังงานไฟฟ้า 3.8 ล้านล้านหน่วย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 9 แสน 5 พันเมกะวัตต์ มีพนักงานไฟฟ้าทั้งสิ้น 339,000 คน
ลองนำมาเปรียบเทียบกับประเทศในปี 2547 แม้ข้อมูลคนละปีกันแต่ก็พอจะเห็นอะไรได้บ้าง
คนไทยทั่วประเทศ (63 ล้านคน) ใช้พลังงานไฟฟ้า 1.25 แสนล้านหน่วย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 26,000 เมกกะวัตต์ มีพนักงานไฟฟ้าที่เป็น กฟผ. (25,700 คน) กฟน. (9,913 คน) และ กฟภ. (26,970 คน) รวมทั้งสิ้นรวม 62,583 คน (ไม่นับพนักงานของบริษัทผลิตไฟฟ้าของเอกชน-เพราะผมไม่ทราบ ในการวิเคราะห์ต่อไปจะถือ พนักงานไฟฟ้าทั้งประเทศมี 64,000 คน)
จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ทุกๆ หนึ่งหน่วยเมกะวัตต์ของกำลังการผลิต สหรัฐอเมริกาว่าจ้างพนักงานเพียง 0.37 คนเท่านั้น (ในประเทศญี่ปุ่นเท่ากับ 0.5 คน) ในขณะที่ของประเทศเราใช้พนักงานถึง 2.46 คน
หรือทุกๆ หนึ่งเมกกะวัตต์ ใช้พนักงานมากถึงเกือบ 7 เท่าของสหรัฐอเมริกา
จริงอยู่ครับว่า ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศเรากับของสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกันในการกำหนดจำนวนพนักงานในการบริการประชาชนในชนบท แต่ตัวเลขที่แตกต่างกันขนาดนี้ย่อมเป็นเงื่อนไขให้เจ้าของกิจการไฟฟ้าอ้างได้
ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้มีเจตนาจะทำลายเครดิตของพนักงานการไฟฟ้า ตรงกันข้ามผมกลับยกย่องว่า องค์กรทั้ง 3 นี้เป็นองค์กรชั้นเลิศของประเทศไทยเมื่อเทียบกับองค์กรอื่นๆ
ปัญหาประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกานั้น เป็นเพราะปัจจัยต่างๆ มากมาย รวมทั้งการแทรกแซงของนักการเมืองในการจัดซื้อ จัดจ้าง และนโยบายด้านเชื้อเพลิงที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ค่าไฟฟ้าแพงมากกว่าค่าแรงงานของพนักงานหลายเท่านัก
แม้ว่าค่าแรงมีสัดส่วนไม่ถึง 6% ของต้นทุนค่าไฟฟ้าทั้งหมด แต่ด้วยแนวคิดของผู้ประกอบการที่มีเป้าหมายเพื่อกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้น วิธีการปลดพนักงานที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แล้วทำไมเรื่องแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยผู้เดินตามลูกพี่ใหญ่เกือบทุกกระเบียดนิ้ว
แต่ที่ต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ ดัชนีความโปร่งใสในการบริหารประเทศของไทยเราต่ำกว่าของสหรัฐอเมริกามาก กล่าวคือ ในปี 2547 สหรัฐได้คะแนน 7.5 แต่ไทยได้ 3.6 จากคะแนนเต็ม 10
ในสถานการณ์ที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งที่ประชาชนร่วมกันคัดค้านและยื่นต่อศาลปกครองเพื่อให้รัฐบาลระงับการขายกิจการไฟฟ้า พนักงาน กฟผ. ควรจะต้องเก็บรับบทเรียนจากสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ มาพิจารณา ว่าแท้ที่จริงแล้ว ผลประโยชน์ที่ทางรัฐบาลหยิบยื่นให้นั้น เป็นเพียงเพื่อให้วัตถุประสงค์ของเขาได้บรรลุไปก่อนเท่านั้น และเชื่อได้เลยว่า หลังจากนั้นเขาก็จะถีบไสไล่ส่งพวกท่านอย่างแน่นอน
ผมคิดคร่าวๆ จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้ว การปลดพนักงานการไฟฟ้าของไทย น่าจะมีจำนวนมากกว่า 24% เยอะเลย.-
****************
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 18
ปลดพนักงานไฟฟ้าสหรัฐอเมริกา : บทเรียนที่พนักงานไฟฟ้าไทยต้องรับรู้
โดย ประสาท มีแต้ม 6 กุมภาพันธ์ 2549
บทความนี้จะนำผลการศึกษาวิจัยในการปลดพนักงานไฟฟ้ากว่า 1 แสนคนในประเทศสหรัฐอเมริกาหลังการปฏิรูประบบการกำกับดูแลระบบไฟฟ้า ระหว่างปี ค.ศ.1990-2000 มาเตือนสติพนักงานการไฟฟ้าไทยทั้งระบบ ท่ามกลางกระแสการคัดค้านการแปรรูปการไฟฟ้าในบ้านเรา
เมื่อพูดถึงพนักงานการไฟฟ้า เราหมายรวมถึง พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ที่ทำหน้าที่ผลิตและส่งกระแสไฟฟ้า พนักงานการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และพนักงานการไฟฟ้าภูมิภาค(กฟภ.) ที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชนในเขตของตนเอง แต่ที่กำลังถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในบ้านเราก็คือ การที่พนักงานของ กฟผ.ได้รับอนุญาตให้ซื้อหุ้น กฟผ. คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาทในราคาพาร์ ซึ่งเป็นราคาเพียงประมาณ 1 ใน 3 ของราคาเข้าตลาดฯเท่านั้น
ความจริงแล้วพนักงานการไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงานข้างต้น ได้ร่วมกันคัดค้านการแปรรูป กฟผ.มาตลอด แต่อาจจะเป็นเพราะคิดเอาเองว่า ต้านไม่ไหวแล้ว หรือเพราะ ผลประโยชน์ที่ทางรัฐบาลหยิบยื่นให้ ก็ไม่อาจทราบได้ พนักงาน กฟผ. ส่วนใหญ่จึงได้ยุติการคัดค้านร่วมกับประชาชนกลุ่มต่างๆ ในขณะนี้
นอกจากนี้ทางรัฐบาลอาจจะมีคำมั่นสัญญาลับๆ กับพนักงาน กฟผ.ว่า ในอนาคตจะไม่ปรับลดจำนวนพนักงานลง ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนทุกหน่วยงานต่างก็รู้สึกกลัวกันทั้งนั้น
บทความนี้ผมจะนำเสนอข้อมูลบางส่วนที่ได้มีการศึกษาวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาในเรื่องที่คล้ายกัน และได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว เพื่อเป็นการเตือนสติว่า คำมั่นสัญญา ของรัฐบาลที่มีฐานคิดเพื่อกำไรของนายทุนนั้น เชื่อถือไม่ได้
ข้อมูลส่วนใหญ่ต่อไปนี้มาจาก Monthly Labor Review ฉบับเดือนพฤษภาคม 2546 (2003) เรื่อง Regulatory reform and labor outcomes in the U.S. electricity sector เขียนโดย M. Scott Niederjohn ท่านที่สนใจสามารถค้นได้ google.com ครับ
นับตั่งแต่ปี พ.ศ.2533 (1990) เป็นต้นมา หลายมลรัฐในสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นแผน การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า เหตุผลหลักที่ใช้อ้างในการปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวก็คล้ายกับในบ้านเราบางส่วนคือ เพื่อกระตุ้นการแข่งขันสำหรับการขายส่งในตลาดกิจการไฟฟ้า
สำหรับรายละเอียดและผลสัมฤทธิ์ด้านอื่นๆ เราจะไม่สนใจ แต่บทความนี้จะสนใจเฉพาะที่เกี่ยวกับการปลดพนักงานและเงินเดือนพนักงาน รวมทั้งที่เกี่ยวกับกิจการสหภาพแรงงานเท่านั้น
ตอนเริ่มต้นการปฏิรูป ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกามีพนักงานการไฟฟ้า (ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ 3 หน่วยงานของบ้านเรา) รวมกันประมาณ 4 แสน 5 หมื่นคน ในปีถัดมา มีการปลดพนักงานออกเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อผ่านไป 2 ปี พนักงานถูกปลดไปถึง 25,000 คน และก็ถูกปลดต่อมาเกือบทุกปี เมื่อนับจำนวนพนักงานไฟฟ้าจนถึงปี 2543 พนักงานของกิจการไฟฟ้าลดลงถึง 1 แสน 5 พันคน หรือลดลงถึง 24% ของจำนวนพนักงานในตอนเริ่มต้นปฏิรูป ทั้งๆ ที่ ในช่วงเวลาดังกล่าว คนอเมริกันใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 25% (ข้อมูลจาก Energy Information Administration)
ในด้านรายได้ของพนักงาน ผลการศึกษาพบว่า ผลจากการปฏิรูปดังกล่าว แม้ไม่ได้ทำให้รายได้ของพนักงานลดลง แต่รายได้ที่แท้จริงก็เพิ่มจากสัปดาห์ละ $482 ในปี 2335 เป็น $529 ในปี 2543 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.2% เท่านั้นหลังจากหักค่าเงินเฟ้อไปเรียบร้อยแล้ว
ในด้านเปอร์เซ็นต์ของพนักงานการไฟฟ้าที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานก็ลดลงมาอยู่ที่ 30% จากเดิมที่เคยมีถึงเกือบ 40% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด
จำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานย่อมสะท้อนอำนาจในการต่อรองของพนักงานกับเจ้าของกิจการนั่นเอง
ในปี 2544 คนอเมริกันทั่วประเทศ (293 ล้านคน) ใช้พลังงานไฟฟ้า 3.8 ล้านล้านหน่วย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 9 แสน 5 พันเมกกะวัตต์ มีพนักงานไฟฟ้าทั้งสิ้น 339,000 คน
ลองนำมาเปรียบเทียบกับประเทศในปี 2547 แม้ข้อมูลคนละปีกันแต่ก็พอจะเห็นอะไรได้บ้าง
คนไทยทั่วประเทศ (63 ล้านคน) ใช้พลังงานไฟฟ้า 1.25 แสนล้านหน่วย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 26,000 เมกกะวัตต์ มีพนักงานไฟฟ้าที่เป็น กฟผ. (25,700 คน) กฟน. (9,913 คน) และ กฟภ. (26,970 คน) รวมทั้งสิ้นรวม 62,583 คน (ไม่นับพนักงานของบริษัทผลิตไฟฟ้าของเอกชน-เพราะผมไม่ทราบ ในการวิเคราะห์ต่อไปจะถือ พนักงานไฟฟ้าทั้งประเทศมี 64,000 คน)
จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ทุกๆ หนึ่งหน่วยเมกกะวัตต์ของกำลังการผลิต สหรัฐอเมริกาว่าจ้างพนักงานเพียง 0.37 คนเท่านั้น (ในประเทศญี่ปุ่นเท่ากับ 0.5 คน) ในขณะที่ของประเทศเราใช้พนักงานถึง 2.46 คน
หรือทุกๆ หนึ่งเมกกะวัตต์ ใช้พนักงานมากถึงเกือบ 7 เท่าของสหรัฐอเมริกา
จริงอยู่ครับว่า ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศเรากับของสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกันในการกำหนดจำนวนพนักงานในการบริการประชาชนในชนบท แต่ตัวเลขที่แตกต่างกันขนาดนี้ย่อมเป็นเงื่อนไขให้เจ้าของกิจการไฟฟ้าอ้างได้
ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้มีเจตนาจะทำลายเครดิตของพนักงานการไฟฟ้า ตรงกันข้ามผมกลับยกย่องว่า องค์กรทั้ง 3 นี้เป็นองค์กรชั้นเลิศของประเทศไทยเมื่อเทียบกับองค์กรอื่นๆ
ปัญหาประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกานั้น เป็นเพราะปัจจัยต่างๆ มากมาย รวมทั้งการแทรกแซงของนักการเมืองในการจัดซื้อ จัดจ้าง และนโยบายด้านเชื้อเพลิงที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ค่าไฟฟ้าแพงมากกว่าค่าแรงงานของพนักงานหลายเท่านัก
แม้ว่าค่าแรงมีสัดส่วนไม่ถึง 6% ของต้นทุนค่าไฟฟ้าทั้งหมด แต่ด้วยแนวคิดของผู้ประกอบการที่มีเป้าหมายเพื่อกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้น วิธีการปลดพนักงานที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แล้วทำไมเรื่องแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยผู้เดินตามลูกพี่ใหญ่เกือบทุกกระเบียดนิ้ว
แต่ที่ต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ ดัชนีความโปร่งใสในการบริหารประเทศของไทยเราต่ำกว่าของสหรัฐอเมริกามาก กล่าวคือ ในปี 2547 สหรัฐได้คะแนน 7.5 แต่ไทยได้ 3.6 จากคะแนนเต็ม 10
ในสถานการณ์ที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งที่ประชาชนร่วมกันคัดค้านและยื่นต่อศาลปกครองเพื่อให้รัฐบาลระงับการขายกิจการไฟฟ้า พนักงาน กฟผ. ควรจะต้องเก็บรับบทเรียนจากสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ มาพิจารณา ว่าแท้ที่จริงแล้ว ผลประโยชน์ที่ทางรัฐบาลหยิบยื่นให้นั้น เป็นเพียงเพื่อให้วัตถุประสงค์ของเขาได้บรรลุไปก่อนเท่านั้น และเชื่อได้เลยว่า หลังจากนั้นเขาก็จะถีบไสไล่ส่งพวกท่านอย่างแน่นอน
ผมคิดคร่าวๆ จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้ว การปลดพนักงานการไฟฟ้าของไทย น่าจะมีจำนวนมากกว่า 24% เยอะเลย.-
********************
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โดย ประสาท มีแต้ม 6 กุมภาพันธ์ 2549
บทความนี้จะนำผลการศึกษาวิจัยในการปลดพนักงานไฟฟ้ากว่า 1 แสนคนในประเทศสหรัฐอเมริกาหลังการปฏิรูประบบการกำกับดูแลระบบไฟฟ้า ระหว่างปี ค.ศ.1990-2000 มาเตือนสติพนักงานการไฟฟ้าไทยทั้งระบบ ท่ามกลางกระแสการคัดค้านการแปรรูปการไฟฟ้าในบ้านเรา
เมื่อพูดถึงพนักงานการไฟฟ้า เราหมายรวมถึง พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ที่ทำหน้าที่ผลิตและส่งกระแสไฟฟ้า พนักงานการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และพนักงานการไฟฟ้าภูมิภาค(กฟภ.) ที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชนในเขตของตนเอง แต่ที่กำลังถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในบ้านเราก็คือ การที่พนักงานของ กฟผ.ได้รับอนุญาตให้ซื้อหุ้น กฟผ. คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาทในราคาพาร์ ซึ่งเป็นราคาเพียงประมาณ 1 ใน 3 ของราคาเข้าตลาดฯเท่านั้น
ความจริงแล้วพนักงานการไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงานข้างต้น ได้ร่วมกันคัดค้านการแปรรูป กฟผ.มาตลอด แต่อาจจะเป็นเพราะคิดเอาเองว่า ต้านไม่ไหวแล้ว หรือเพราะ ผลประโยชน์ที่ทางรัฐบาลหยิบยื่นให้ ก็ไม่อาจทราบได้ พนักงาน กฟผ. ส่วนใหญ่จึงได้ยุติการคัดค้านร่วมกับประชาชนกลุ่มต่างๆ ในขณะนี้
นอกจากนี้ทางรัฐบาลอาจจะมีคำมั่นสัญญาลับๆ กับพนักงาน กฟผ.ว่า ในอนาคตจะไม่ปรับลดจำนวนพนักงานลง ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนทุกหน่วยงานต่างก็รู้สึกกลัวกันทั้งนั้น
บทความนี้ผมจะนำเสนอข้อมูลบางส่วนที่ได้มีการศึกษาวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาในเรื่องที่คล้ายกัน และได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว เพื่อเป็นการเตือนสติว่า คำมั่นสัญญา ของรัฐบาลที่มีฐานคิดเพื่อกำไรของนายทุนนั้น เชื่อถือไม่ได้
ข้อมูลส่วนใหญ่ต่อไปนี้มาจาก Monthly Labor Review ฉบับเดือนพฤษภาคม 2546 (2003) เรื่อง Regulatory reform and labor outcomes in the U.S. electricity sector เขียนโดย M. Scott Niederjohn ท่านที่สนใจสามารถค้นได้ google.com ครับ
นับตั่งแต่ปี พ.ศ.2533 (1990) เป็นต้นมา หลายมลรัฐในสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นแผน การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า เหตุผลหลักที่ใช้อ้างในการปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวก็คล้ายกับในบ้านเราบางส่วนคือ เพื่อกระตุ้นการแข่งขันสำหรับการขายส่งในตลาดกิจการไฟฟ้า
สำหรับรายละเอียดและผลสัมฤทธิ์ด้านอื่นๆ เราจะไม่สนใจ แต่บทความนี้จะสนใจเฉพาะที่เกี่ยวกับการปลดพนักงานและเงินเดือนพนักงาน รวมทั้งที่เกี่ยวกับกิจการสหภาพแรงงานเท่านั้น
ตอนเริ่มต้นการปฏิรูป ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกามีพนักงานการไฟฟ้า (ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ 3 หน่วยงานของบ้านเรา) รวมกันประมาณ 4 แสน 5 หมื่นคน ในปีถัดมา มีการปลดพนักงานออกเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อผ่านไป 2 ปี พนักงานถูกปลดไปถึง 25,000 คน และก็ถูกปลดต่อมาเกือบทุกปี เมื่อนับจำนวนพนักงานไฟฟ้าจนถึงปี 2543 พนักงานของกิจการไฟฟ้าลดลงถึง 1 แสน 5 พันคน หรือลดลงถึง 24% ของจำนวนพนักงานในตอนเริ่มต้นปฏิรูป ทั้งๆ ที่ ในช่วงเวลาดังกล่าว คนอเมริกันใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 25% (ข้อมูลจาก Energy Information Administration)
ในด้านรายได้ของพนักงาน ผลการศึกษาพบว่า ผลจากการปฏิรูปดังกล่าว แม้ไม่ได้ทำให้รายได้ของพนักงานลดลง แต่รายได้ที่แท้จริงก็เพิ่มจากสัปดาห์ละ $482 ในปี 2335 เป็น $529 ในปี 2543 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.2% เท่านั้นหลังจากหักค่าเงินเฟ้อไปเรียบร้อยแล้ว
ในด้านเปอร์เซ็นต์ของพนักงานการไฟฟ้าที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานก็ลดลงมาอยู่ที่ 30% จากเดิมที่เคยมีถึงเกือบ 40% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด
จำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานย่อมสะท้อนอำนาจในการต่อรองของพนักงานกับเจ้าของกิจการนั่นเอง
ในปี 2544 คนอเมริกันทั่วประเทศ (293 ล้านคน) ใช้พลังงานไฟฟ้า 3.8 ล้านล้านหน่วย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 9 แสน 5 พันเมกกะวัตต์ มีพนักงานไฟฟ้าทั้งสิ้น 339,000 คน
ลองนำมาเปรียบเทียบกับประเทศในปี 2547 แม้ข้อมูลคนละปีกันแต่ก็พอจะเห็นอะไรได้บ้าง
คนไทยทั่วประเทศ (63 ล้านคน) ใช้พลังงานไฟฟ้า 1.25 แสนล้านหน่วย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 26,000 เมกกะวัตต์ มีพนักงานไฟฟ้าที่เป็น กฟผ. (25,700 คน) กฟน. (9,913 คน) และ กฟภ. (26,970 คน) รวมทั้งสิ้นรวม 62,583 คน (ไม่นับพนักงานของบริษัทผลิตไฟฟ้าของเอกชน-เพราะผมไม่ทราบ ในการวิเคราะห์ต่อไปจะถือ พนักงานไฟฟ้าทั้งประเทศมี 64,000 คน)
จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ทุกๆ หนึ่งหน่วยเมกกะวัตต์ของกำลังการผลิต สหรัฐอเมริกาว่าจ้างพนักงานเพียง 0.37 คนเท่านั้น (ในประเทศญี่ปุ่นเท่ากับ 0.5 คน) ในขณะที่ของประเทศเราใช้พนักงานถึง 2.46 คน
หรือทุกๆ หนึ่งเมกกะวัตต์ ใช้พนักงานมากถึงเกือบ 7 เท่าของสหรัฐอเมริกา
จริงอยู่ครับว่า ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศเรากับของสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกันในการกำหนดจำนวนพนักงานในการบริการประชาชนในชนบท แต่ตัวเลขที่แตกต่างกันขนาดนี้ย่อมเป็นเงื่อนไขให้เจ้าของกิจการไฟฟ้าอ้างได้
ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้มีเจตนาจะทำลายเครดิตของพนักงานการไฟฟ้า ตรงกันข้ามผมกลับยกย่องว่า องค์กรทั้ง 3 นี้เป็นองค์กรชั้นเลิศของประเทศไทยเมื่อเทียบกับองค์กรอื่นๆ
ปัญหาประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกานั้น เป็นเพราะปัจจัยต่างๆ มากมาย รวมทั้งการแทรกแซงของนักการเมืองในการจัดซื้อ จัดจ้าง และนโยบายด้านเชื้อเพลิงที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ค่าไฟฟ้าแพงมากกว่าค่าแรงงานของพนักงานหลายเท่านัก
แม้ว่าค่าแรงมีสัดส่วนไม่ถึง 6% ของต้นทุนค่าไฟฟ้าทั้งหมด แต่ด้วยแนวคิดของผู้ประกอบการที่มีเป้าหมายเพื่อกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้น วิธีการปลดพนักงานที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แล้วทำไมเรื่องแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยผู้เดินตามลูกพี่ใหญ่เกือบทุกกระเบียดนิ้ว
แต่ที่ต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ ดัชนีความโปร่งใสในการบริหารประเทศของไทยเราต่ำกว่าของสหรัฐอเมริกามาก กล่าวคือ ในปี 2547 สหรัฐได้คะแนน 7.5 แต่ไทยได้ 3.6 จากคะแนนเต็ม 10
ในสถานการณ์ที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งที่ประชาชนร่วมกันคัดค้านและยื่นต่อศาลปกครองเพื่อให้รัฐบาลระงับการขายกิจการไฟฟ้า พนักงาน กฟผ. ควรจะต้องเก็บรับบทเรียนจากสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ มาพิจารณา ว่าแท้ที่จริงแล้ว ผลประโยชน์ที่ทางรัฐบาลหยิบยื่นให้นั้น เป็นเพียงเพื่อให้วัตถุประสงค์ของเขาได้บรรลุไปก่อนเท่านั้น และเชื่อได้เลยว่า หลังจากนั้นเขาก็จะถีบไสไล่ส่งพวกท่านอย่างแน่นอน
ผมคิดคร่าวๆ จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้ว การปลดพนักงานการไฟฟ้าของไทย น่าจะมีจำนวนมากกว่า 24% เยอะเลย.-
********************
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 19
บทความเกี่ยวเนื่องโดยประสาท มีแต้ม
[ur=http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews ... 000128066l]-ไฟฟ้าจากขี้หมู-ขี้วัวค่านับพันล้านบาท : ไร้ค่าเพราะอะไร?[/url]
-โรงไฟฟ้านิวเคลียร์: กับดักพลังงาน ที่สังคมไทยต้องข้ามให้พ้น
-แก้ปัญหาความยากจน: ทำไมไม่แปลงลมให้เป็นไฟฟ้า?
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
บทความเกี่ยวเนื่องอื่น
-ร่วมกันคัดค้านค่าไฟฟ้าที่ไม่เป็นธรรม
โดย คณะทำงานศึกษาการขึ้นค่าไฟฟ้า
[ur=http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews ... 000128066l]-ไฟฟ้าจากขี้หมู-ขี้วัวค่านับพันล้านบาท : ไร้ค่าเพราะอะไร?[/url]
-โรงไฟฟ้านิวเคลียร์: กับดักพลังงาน ที่สังคมไทยต้องข้ามให้พ้น
-แก้ปัญหาความยากจน: ทำไมไม่แปลงลมให้เป็นไฟฟ้า?
แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
บทความเกี่ยวเนื่องอื่น
-ร่วมกันคัดค้านค่าไฟฟ้าที่ไม่เป็นธรรม
โดย คณะทำงานศึกษาการขึ้นค่าไฟฟ้า
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 20
ขอแก้ไขลิงค์ข้างบนที่ผิดพลาดใหม่ดังนี้...
-ไฟฟ้าจากขี้หมู-ขี้วัวค่านับพันล้านบาท : ไร้ค่าเพราะอะไร?
****************************************************************************
แปรรูปรัฐวิสาหกิจดีจริงหรือ?
ไพศาล สุริยะวงศ์ไพศาล
กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2549
วิธีคิดที่ต้องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชนเอกชนเป็นความผิดพลาดตั้งแต่เริ่มคิด เพราะรัฐวิสาหกิจคือ หน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการต่อสาธารณชนและสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรสูงสุดเพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้น เนื่องจากสร้างขึ้นมาจากภาษีของประชาชน
ขณะที่บริษัทมหาชนเอกชนเป็นองค์กรที่แสวงหากำไรสูงสุด เพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้นเพื่อเก็งกำไร หรือรับเงินปันผล บริษัทมหาชนเอกชนก็ไม่ได้ตั้งมาเพื่อให้บริการต่อสาธารณชน แต่มุ่งให้บริการกับกลุ่มลูกค้าที่มีอำนาจในการซื้อสูง ฉะนั้น แค่วัตถุประสงค์ หรือวิธีคิดพื้นฐานก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงแล้ว
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ก่อตัวขึ้นมาด้วยเงินภาษีประชาชนทั้งประเทศ และโอนรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชนเอกชนที่มีผู้ถือหุ้นเพียงไม่กี่หมื่นคนถือ ว่า เป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้เสียภาษี เพราะผู้ถือหุ้นคือกลุ่มคนส่วนน้อยที่ได้รับผลประโยชน์ เพราะเข้ามาลงทุน หรือซื้อหุ้นในขณะที่รัฐวิสาหกิจแห่งนั้นเติบโตแข็งแรง และมีผลประกอบการดี
ผู้ลงทุนจึงเสมือนผู้ชุบมือเปิบเพราะไม่ได้เป็นผู้ลงทุน หรือมีความเสี่ยงในการก่อตั้งรัฐวิสาหกิจตั้งแต่เริ่มแรก เช่นกรณีของ ปตท.ซึ่งตอนก่อร่างสร้างตนขึ้นมาในสมัยรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ รัฐบาลใช้เงินภาษีประชาชนหลายพันล้านบาทลงทุน และให้อภิสิทธิ์บางอย่างกับ ปตท.เพื่อสร้างความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้า
ส่วนข้ออ้างที่ว่า แปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้วจะทำให้รัฐวิสาหกิจทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นนั้นก็หาเป็นความจริงแต่อย่างไร หากองค์กรแห่งนั้นหลังจากแปรรูปยังผูกขาดการดำเนินธุรกิจอยู่เหมือนเดิม สรุปก็คือ หลังจากแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนเอกชน หากการดำเนินธุรกิจยังมีลักษณะผูกขาดเหมือนเดิม ก็เหมือนกับการโอนการผูกขาดจากภาครัฐมาเป็นเอกชน
ประสิทธิภาพการดำเนินงานก็ไม่เปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจนไม่มีความแตกต่าง ยกเว้นบริษัทมหาชนเอกชนจะมีกำไรเพิ่มขึ้นเท่านั้น และผู้บริโภคต้องรับภาระจ่ายเงินเพิ่มขึ้น ที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ หลังจากแปรรูป ผู้บริหารจะคิดถึงแต่การทำกำไรสูงสุด จึงมักละเลยปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และความปลอดภัย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นในอังกฤษ อาร์เจนตินา ญี่ปุ่น เม็กซิโก เปรู และโดยเฉพาะในจีน หลังจากแปรรูปรัฐวิสาหกิจเหมืองแร่ คนงานเหมืองแร่ชาวจีนล้มตายเพราะอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นปีละหลายหมื่นคน หรือโรงงานประเภทอื่นๆ คนงานชาวจีนตาย และบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในระหว่างทำงานปีละหลายสิบล้านคน
หรือกรณีอุบัติเหตุรถไฟในญี่ปุ่นซึ่งทำให้คนญี่ปุ่นตาย และบาดเจ็บหลายร้อยคน ก็เกิดจากการที่ผู้บริหารห่วงผลกำไรจากผลประกอบการมากกว่าความปลอดภัยของผู้โดยสาร
หรือกรณีแปรรูปโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าในอังกฤษ ทันทีที่แปรรูปคนอังกฤษต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น และต้องจ่ายเพิ่มขึ้นทุกปี
ข้ออ้างที่ว่า หลังจากการแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนเอกชนแล้ว องค์กรจะปราศจากการแซงแทรกจากนักการเมือง หรือการคอร์รัปชันซึ่งก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน
Joseph Stiglitz นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2001 ได้กล่าวยืนยันในการศึกษาวิจัยในหลายประเทศขณะที่ทำงานอยู่กับธนาคารโลก ว่า การแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจไปเป็นบริษัทมหาชนเอกชน นอกจากจะไม่สามารถทำให้การแทรกแซงจากนักการเมือง และคอร์รัปชันลดลงแล้ว การแทรกแซงจากนักการเมือง และการโกงกินในรูปแบบต่างๆ ที่แยบ
ยลมากขึ้นกลับเพิ่มขึ้น
กรณีการตกแต่งบัญชีของบริษัทมหาชนเอกชนในตลาดหลักทรัพย์อเมริกา ซึ่งมีกฎกติกาเข้มงวด และรัดกุมกว่าตลาดหลักทรัพย์ของไทยหลายเท่าตัวเป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างดีว่า
บริษัทมหาชนเอกชนในตลาดหลักทรัพย์สามารถโกง หรือหลอกลวงประชาชน หรือผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ตลอดเวลา ฉะนั้น ผู้ที่ด่วนสรุปว่า การแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนเอกชนแล้ว ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน การแทรกแซงจากนักการเมือง การทุจริตประพฤติมิชอบ หรือความโปร่งใสของการทำงานจะดีขึ้น เป็นเรื่องแค่ฝันกลางวัน หรือทฤษฎีลมๆ แล้งๆ ที่ล้วนแต่แอบอ้างเกินจริงทั้งสิ้น
ความถามยังมีอีกว่า ขบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่กำลังแปรรูปใช้สิทธิหรืออำนาจจากกฎหมายข้อไหนกำหนดให้ผู้บริหาร และพนักงานมีสิทธิซื้อหุ้นในราคาพาร์ หรือถูกกว่าราคา IPO (Initial Price Offered) ที่เสนอขายให้กับสาธารณชนทั่วไป เพราะผู้บริหารและพนักงานต่างก็ได้รับเงินเดือน และโบนัสจากการทำงานเป็นผลตอบแทนอยู่แล้ว ไม่ได้มาทำงานให้รัฐวิสาหกิจฟรีๆ
นอกจากนั้น เงินเดือน โบนัส หรือผลตอบแทนอื่นที่ให้กับผู้บริหาร และพนักงานก็เพิ่มขึ้นทันที หลังจากจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนเอกชน ก่อนที่จะขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ด้วยซ้ำไป
ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ก่อนแปรรูป เงินเดือนแสนกว่าบาทหลังแปรรูป เงินเดือน 8 แสนกว่าบาท หรือเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ส่วนพนักงาน อสมท ก็มีเงินเดือนเพิ่มคนละ 50% นี่ยังไม่นับจำนวนหุ้น และผลประโยชน์อื่น
กับข้ออ้างที่ว่า เมื่อแปรรูปไปแล้ว บริษัทมหาชนเอกชนจะสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น คำถามแรกก็คือ เมื่อไม่มีการแข่งขันยังเป็นการผูกขาด หรือกระทรวงการคลังยังคงถือหุ้นใหญ่ บริษัทเอกชนอื่นๆ จะไปแข่งขันได้อย่างไร
คำถามข้อที่สองคือ กรณีธุรกิจพลังงานของ ปตท.จะไปแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติอย่าง ExxonMobil (Esso) Shell Chevron ได้อย่างไร เพราะบริษัทข้ามชาติเหล่านี้เหนือกว่าปตท.ทั้งรายได้ กำไร ประสบการณ์ เทคโนโลยี และเครือข่าย กล่าวคือ ทั้งสามบริษัทดังกล่าว แต่ละบริษัทมีรายได้มากกว่า GDP หรือรายได้รวมประชาชาติของประเทศไทย
อดีตนายกรัฐมนตรี มหาธีร์ของมาเลเซีย ตระหนักถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงไม่ยอมแปรรูป Petronas เหมือนที่ไม่ยอมนำประเทศมาเลเซียไปเข้าโครงการของ IMF อย่างประเทศไทยสมัยของรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งต้องถูกบังคับให้ปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวในสมัยรัฐมนตรีคลังที่ชื่อ ดร.ทนง พิทยะ (รมว.คลังคนปัจจุบัน)
และนอกจากไม่แปรรูปแล้ว มหาธีร์ยังเพิ่มอำนาจให้กับ Petronas เสมือนเป็นกระทรวงพลังงานของมาเลเซีย เพื่อให้สามารถทำการแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติมหายักษ์นี้ได้ หากไม่มีอภิสิทธิ์ Petronas ย่อมไม่อาจสามารถต่อกรกับอภิมหาบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ได้เลย เพราะบริษัทเหล่านี้ร่ำรวยกว่าประเทศมาเลเซียทั้งประเทศ มีประสบการณ์สะสมมายาวนานเป็นร้อยปี มีเครือข่ายกว้างขวางครอบคลุมทั่วโลก มีวิทยาการเทคโนโลยี และ Management Know-How ที่ทันสมัยเหนือกว่า
ข้อสังเกตอีกข้อก็คือ กติกาของ WTO ซึ่งกำหนดว่า รัฐไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ หากกฎการค้าเสรีได้นำมาปฏิบัติเต็มที่แล้ว กระทรวงการคลังหรือหน่วยงานของรัฐใดๆ ย่อมไม่อาจถือหุ้น ปตท. หรือ กฟผ. (กรณีสามารถนำหุ้นไปขายในตลาดได้) หรือการบินไทยได้อีกต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้นกฎ WTO ยังบังคับมิให้กีดกันสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติ หรือหมายความว่า ผู้ถือหุ้นต่างชาติมีสิทธิซื้อหุ้นบริษัทมหาชนเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเท่าเทียมกับคนไทย
หมายความว่า ต่อไปในอนาคตอันใกล้ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทชั้นนำที่มีผลประกอบการที่ดีในตลาดหลักทรัพย์ไทยคงตกอยู่ในมือของผู้ลงทุนต่างชาติ เพราะมีอำนาจการซื้อเหนือกว่าคนไทยหลายสิบเท่า
นี่เองเป็นเหตุผลว่า ทำไมจีนจึงไม่นำหุ้นรัฐวิสาหกิจชั้นดีของตนไปขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศจีน แต่ไปขายในตลาดดาวน์โจนในสหรัฐ เพราะจีนต้องเลี่ยงกฎข้อบังคับของ WTO
-ไฟฟ้าจากขี้หมู-ขี้วัวค่านับพันล้านบาท : ไร้ค่าเพราะอะไร?
****************************************************************************
แปรรูปรัฐวิสาหกิจดีจริงหรือ?
ไพศาล สุริยะวงศ์ไพศาล
กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2549
วิธีคิดที่ต้องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชนเอกชนเป็นความผิดพลาดตั้งแต่เริ่มคิด เพราะรัฐวิสาหกิจคือ หน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการต่อสาธารณชนและสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรสูงสุดเพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้น เนื่องจากสร้างขึ้นมาจากภาษีของประชาชน
ขณะที่บริษัทมหาชนเอกชนเป็นองค์กรที่แสวงหากำไรสูงสุด เพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้นเพื่อเก็งกำไร หรือรับเงินปันผล บริษัทมหาชนเอกชนก็ไม่ได้ตั้งมาเพื่อให้บริการต่อสาธารณชน แต่มุ่งให้บริการกับกลุ่มลูกค้าที่มีอำนาจในการซื้อสูง ฉะนั้น แค่วัตถุประสงค์ หรือวิธีคิดพื้นฐานก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงแล้ว
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ก่อตัวขึ้นมาด้วยเงินภาษีประชาชนทั้งประเทศ และโอนรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชนเอกชนที่มีผู้ถือหุ้นเพียงไม่กี่หมื่นคนถือ ว่า เป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้เสียภาษี เพราะผู้ถือหุ้นคือกลุ่มคนส่วนน้อยที่ได้รับผลประโยชน์ เพราะเข้ามาลงทุน หรือซื้อหุ้นในขณะที่รัฐวิสาหกิจแห่งนั้นเติบโตแข็งแรง และมีผลประกอบการดี
ผู้ลงทุนจึงเสมือนผู้ชุบมือเปิบเพราะไม่ได้เป็นผู้ลงทุน หรือมีความเสี่ยงในการก่อตั้งรัฐวิสาหกิจตั้งแต่เริ่มแรก เช่นกรณีของ ปตท.ซึ่งตอนก่อร่างสร้างตนขึ้นมาในสมัยรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ รัฐบาลใช้เงินภาษีประชาชนหลายพันล้านบาทลงทุน และให้อภิสิทธิ์บางอย่างกับ ปตท.เพื่อสร้างความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้า
ส่วนข้ออ้างที่ว่า แปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้วจะทำให้รัฐวิสาหกิจทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นนั้นก็หาเป็นความจริงแต่อย่างไร หากองค์กรแห่งนั้นหลังจากแปรรูปยังผูกขาดการดำเนินธุรกิจอยู่เหมือนเดิม สรุปก็คือ หลังจากแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนเอกชน หากการดำเนินธุรกิจยังมีลักษณะผูกขาดเหมือนเดิม ก็เหมือนกับการโอนการผูกขาดจากภาครัฐมาเป็นเอกชน
ประสิทธิภาพการดำเนินงานก็ไม่เปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจนไม่มีความแตกต่าง ยกเว้นบริษัทมหาชนเอกชนจะมีกำไรเพิ่มขึ้นเท่านั้น และผู้บริโภคต้องรับภาระจ่ายเงินเพิ่มขึ้น ที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ หลังจากแปรรูป ผู้บริหารจะคิดถึงแต่การทำกำไรสูงสุด จึงมักละเลยปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และความปลอดภัย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นในอังกฤษ อาร์เจนตินา ญี่ปุ่น เม็กซิโก เปรู และโดยเฉพาะในจีน หลังจากแปรรูปรัฐวิสาหกิจเหมืองแร่ คนงานเหมืองแร่ชาวจีนล้มตายเพราะอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นปีละหลายหมื่นคน หรือโรงงานประเภทอื่นๆ คนงานชาวจีนตาย และบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในระหว่างทำงานปีละหลายสิบล้านคน
หรือกรณีอุบัติเหตุรถไฟในญี่ปุ่นซึ่งทำให้คนญี่ปุ่นตาย และบาดเจ็บหลายร้อยคน ก็เกิดจากการที่ผู้บริหารห่วงผลกำไรจากผลประกอบการมากกว่าความปลอดภัยของผู้โดยสาร
หรือกรณีแปรรูปโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าในอังกฤษ ทันทีที่แปรรูปคนอังกฤษต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น และต้องจ่ายเพิ่มขึ้นทุกปี
ข้ออ้างที่ว่า หลังจากการแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนเอกชนแล้ว องค์กรจะปราศจากการแซงแทรกจากนักการเมือง หรือการคอร์รัปชันซึ่งก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน
Joseph Stiglitz นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2001 ได้กล่าวยืนยันในการศึกษาวิจัยในหลายประเทศขณะที่ทำงานอยู่กับธนาคารโลก ว่า การแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจไปเป็นบริษัทมหาชนเอกชน นอกจากจะไม่สามารถทำให้การแทรกแซงจากนักการเมือง และคอร์รัปชันลดลงแล้ว การแทรกแซงจากนักการเมือง และการโกงกินในรูปแบบต่างๆ ที่แยบ
ยลมากขึ้นกลับเพิ่มขึ้น
กรณีการตกแต่งบัญชีของบริษัทมหาชนเอกชนในตลาดหลักทรัพย์อเมริกา ซึ่งมีกฎกติกาเข้มงวด และรัดกุมกว่าตลาดหลักทรัพย์ของไทยหลายเท่าตัวเป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างดีว่า
บริษัทมหาชนเอกชนในตลาดหลักทรัพย์สามารถโกง หรือหลอกลวงประชาชน หรือผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ตลอดเวลา ฉะนั้น ผู้ที่ด่วนสรุปว่า การแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนเอกชนแล้ว ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน การแทรกแซงจากนักการเมือง การทุจริตประพฤติมิชอบ หรือความโปร่งใสของการทำงานจะดีขึ้น เป็นเรื่องแค่ฝันกลางวัน หรือทฤษฎีลมๆ แล้งๆ ที่ล้วนแต่แอบอ้างเกินจริงทั้งสิ้น
ความถามยังมีอีกว่า ขบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่กำลังแปรรูปใช้สิทธิหรืออำนาจจากกฎหมายข้อไหนกำหนดให้ผู้บริหาร และพนักงานมีสิทธิซื้อหุ้นในราคาพาร์ หรือถูกกว่าราคา IPO (Initial Price Offered) ที่เสนอขายให้กับสาธารณชนทั่วไป เพราะผู้บริหารและพนักงานต่างก็ได้รับเงินเดือน และโบนัสจากการทำงานเป็นผลตอบแทนอยู่แล้ว ไม่ได้มาทำงานให้รัฐวิสาหกิจฟรีๆ
นอกจากนั้น เงินเดือน โบนัส หรือผลตอบแทนอื่นที่ให้กับผู้บริหาร และพนักงานก็เพิ่มขึ้นทันที หลังจากจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนเอกชน ก่อนที่จะขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ด้วยซ้ำไป
ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ก่อนแปรรูป เงินเดือนแสนกว่าบาทหลังแปรรูป เงินเดือน 8 แสนกว่าบาท หรือเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ส่วนพนักงาน อสมท ก็มีเงินเดือนเพิ่มคนละ 50% นี่ยังไม่นับจำนวนหุ้น และผลประโยชน์อื่น
กับข้ออ้างที่ว่า เมื่อแปรรูปไปแล้ว บริษัทมหาชนเอกชนจะสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น คำถามแรกก็คือ เมื่อไม่มีการแข่งขันยังเป็นการผูกขาด หรือกระทรวงการคลังยังคงถือหุ้นใหญ่ บริษัทเอกชนอื่นๆ จะไปแข่งขันได้อย่างไร
คำถามข้อที่สองคือ กรณีธุรกิจพลังงานของ ปตท.จะไปแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติอย่าง ExxonMobil (Esso) Shell Chevron ได้อย่างไร เพราะบริษัทข้ามชาติเหล่านี้เหนือกว่าปตท.ทั้งรายได้ กำไร ประสบการณ์ เทคโนโลยี และเครือข่าย กล่าวคือ ทั้งสามบริษัทดังกล่าว แต่ละบริษัทมีรายได้มากกว่า GDP หรือรายได้รวมประชาชาติของประเทศไทย
อดีตนายกรัฐมนตรี มหาธีร์ของมาเลเซีย ตระหนักถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงไม่ยอมแปรรูป Petronas เหมือนที่ไม่ยอมนำประเทศมาเลเซียไปเข้าโครงการของ IMF อย่างประเทศไทยสมัยของรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งต้องถูกบังคับให้ปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวในสมัยรัฐมนตรีคลังที่ชื่อ ดร.ทนง พิทยะ (รมว.คลังคนปัจจุบัน)
และนอกจากไม่แปรรูปแล้ว มหาธีร์ยังเพิ่มอำนาจให้กับ Petronas เสมือนเป็นกระทรวงพลังงานของมาเลเซีย เพื่อให้สามารถทำการแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติมหายักษ์นี้ได้ หากไม่มีอภิสิทธิ์ Petronas ย่อมไม่อาจสามารถต่อกรกับอภิมหาบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ได้เลย เพราะบริษัทเหล่านี้ร่ำรวยกว่าประเทศมาเลเซียทั้งประเทศ มีประสบการณ์สะสมมายาวนานเป็นร้อยปี มีเครือข่ายกว้างขวางครอบคลุมทั่วโลก มีวิทยาการเทคโนโลยี และ Management Know-How ที่ทันสมัยเหนือกว่า
ข้อสังเกตอีกข้อก็คือ กติกาของ WTO ซึ่งกำหนดว่า รัฐไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ หากกฎการค้าเสรีได้นำมาปฏิบัติเต็มที่แล้ว กระทรวงการคลังหรือหน่วยงานของรัฐใดๆ ย่อมไม่อาจถือหุ้น ปตท. หรือ กฟผ. (กรณีสามารถนำหุ้นไปขายในตลาดได้) หรือการบินไทยได้อีกต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้นกฎ WTO ยังบังคับมิให้กีดกันสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติ หรือหมายความว่า ผู้ถือหุ้นต่างชาติมีสิทธิซื้อหุ้นบริษัทมหาชนเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเท่าเทียมกับคนไทย
หมายความว่า ต่อไปในอนาคตอันใกล้ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทชั้นนำที่มีผลประกอบการที่ดีในตลาดหลักทรัพย์ไทยคงตกอยู่ในมือของผู้ลงทุนต่างชาติ เพราะมีอำนาจการซื้อเหนือกว่าคนไทยหลายสิบเท่า
นี่เองเป็นเหตุผลว่า ทำไมจีนจึงไม่นำหุ้นรัฐวิสาหกิจชั้นดีของตนไปขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศจีน แต่ไปขายในตลาดดาวน์โจนในสหรัฐ เพราะจีนต้องเลี่ยงกฎข้อบังคับของ WTO
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 21
[quote="ปรัชญา"]ที่จริง
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 22
bsk(มหาชน) เขียน:
อย่างไรก็ตาม คุณรสนาผู้เขียนบทความนี้และทีมงานถือว่าเป็นผู้หญิงเก่งและกล้าหาญมากที่ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองคัดค้านการขายหุ้นกฟผ.และนำเข้าตลาด
ถ้าปีที่ผ่านๆมา สังคมยกย่องยายไฮ ขันจันทา หรือคุณรัตนา สัจเทพ ในการต่อสู้เรียกร้อง หาความเป็นธรรม เรียกร้องในสิทธิของตนเอง เรียกร้องต่อสู้กับอำนาจรัฐ
ปีนี้มหาชนก็ขอยกย่องคุณรสนา โตสิตระกูลและทีมทำงาน เช่นคุณสารี อ๋องสมหวัง ในนามมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ที่ต่อสู้เรียกร้อง ให้ข้อเท็จจริงและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของคนไทยทั้งในกรณีทุจริตยาที่ผ่านมา และอีกหลายๆกรณี ช่วยให้งบประมาณแผ่นดินถูกนำไปใช้เพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
ขอสดุดี...
คนแห่งปี รสนา โฆสิตระกูล ดอกไม้ปลายปืน Switch off ทุนฮุบกฟผ. ตรวจสอบขุมพลัง NGO แถวหน้า "รสนา" ที่นายกฯ เรียกว่าฝ่ายดี แต่ร่วมกับพวกเป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลปกคลอง ขวางนโยบายแปรรูป กฟผ. ของรัฐบาล
โต๊ะข่าวถูกจัดเป็นกองบัญชาการ Academy Fantasia โดยฉบับพลัน เมื่อบรรณาธิการมีคำสั่งให้คัดสรรบุคคลที่เป็นเลิศใต้ฟ้าเมืองไทย เลือกผู้บทบาทนำทางความคิดสั่นสะเทือนให้มีเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงกว้างและลึกแก่สังคมไทย ด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทำให้ผู้บริหารงานข่าวสายต่างๆ จ้องตากันซอนไชหาคนที่เพื่อนคิดในใจเป็นใคร ของฉันใช่เด๊ะ เปิดไปเธอหงายผึ่ง !
"ฐานเศรษฐกิจ"ยกให้เป็นคนบุคคลแห่งปี
อ่านต่อ คลิก..
- ภรรโยโฟเบีย
- Verified User
- โพสต์: 253
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 23
เรียนนายห้างที่รัก,bsk(มหาชน) เขียน:
วันนี้ขออนุญาตข้ามห้วยจากคาเฟ่มาเสวนาด้วยสักหน่อย
เคยได้คุยกับคุณรสนา ตั้งแต่ประมาณปี 36-37 เรื่องชาสมุนไพร
เห็นด้วยกะท่านมหาฯ ว่าแกเป็นคนมีอุดมการณ์ และ เสียสละ
กระผมห่วงอยู่นี๊ดเดียว
เสียวว่าปีนี้แกจะลงสมัคร สว.
จะโดนครหาว่าtake action หลายๆเรื่องช่วงปีสองปีนี้
เพื่อหาเสียงเอานาท่านนา
ปล. ว่าด้วยเรื่องคนมีอุดมการณ์
ว่างๆจะไปชวนนายห้างสนทนาที่คาเฟ่เรานะท่านนะ
คุยแถวนี้เผลอๆเดี๋ยวโดนลูกหลง ฮี่ ฮี่ ฮี่ :lol:
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 24
สวัสดีคับป๋า..
สิ่งที่ป๋าเป็นห่วงอาจน่ากังวลบ้างเหมือนกันคับ
แต่อย่างที่ทราบ ว่าการเลือกตั้งสว.ปีนี้ มีการวางคนของพรรคการเมืองลงแทบจะทุกเขตแล้ว
เรียกว่าต้อนเข้าคอกกันตั้งแต่ไก่โห่
ถ้าไม่มีเงินก็ไม่มีทางจะสู้ได้คับ
การที่จะชนะเลือกตั้งสว.ได้นั้น ต้องคนที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของมหาชนจริงๆ จึงจะมีสิทธิเดินเข้าสภาใช่มั้ยคับ
ถามว่าคนแบบนี้มีมากมั้ยคับที่มาลงสมัครรับเลือกตั้ง...น้อยมากนะคับ
เมื่อเข้าสภาแล้ว ยังเป็นชนกลุ่มน้อยอีกต่างหาก..เฮ้อ...
ได้ยินข่าวว่าป๋าหมักอาจจะลงสว. ...โอ... take action ทุกวันมาหลายปีแล้วนะเนี่ย...
ปล. คาเฟ่เรายินดีเสมอคับป๋า คนกันเอง...
ลูกหลง พ่อต้องดีใจนะคับ...
สิ่งที่ป๋าเป็นห่วงอาจน่ากังวลบ้างเหมือนกันคับ
แต่อย่างที่ทราบ ว่าการเลือกตั้งสว.ปีนี้ มีการวางคนของพรรคการเมืองลงแทบจะทุกเขตแล้ว
เรียกว่าต้อนเข้าคอกกันตั้งแต่ไก่โห่
ถ้าไม่มีเงินก็ไม่มีทางจะสู้ได้คับ
การที่จะชนะเลือกตั้งสว.ได้นั้น ต้องคนที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของมหาชนจริงๆ จึงจะมีสิทธิเดินเข้าสภาใช่มั้ยคับ
ถามว่าคนแบบนี้มีมากมั้ยคับที่มาลงสมัครรับเลือกตั้ง...น้อยมากนะคับ
เมื่อเข้าสภาแล้ว ยังเป็นชนกลุ่มน้อยอีกต่างหาก..เฮ้อ...
ได้ยินข่าวว่าป๋าหมักอาจจะลงสว. ...โอ... take action ทุกวันมาหลายปีแล้วนะเนี่ย...
ปล. คาเฟ่เรายินดีเสมอคับป๋า คนกันเอง...
ลูกหลง พ่อต้องดีใจนะคับ...
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 25
ทางออกอื่น ที่ กฟผ.และรัฐบาลไม่ยอมคิด
โดย ประสาท มีแต้ม 23 มกราคม 2549
ผมได้อ่านบทความเรื่อง กฟผ. ซึ่งเขียนโดยท่านอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช (ผู้จัดการรายวัน 4 ธันวาคม 2548) แล้วรู้สึกไม่ค่อยสบายใจหลายอย่าง ที่รู้สึกอย่างนี้ก็เพราะในสายตาของผม ท่านเป็นนักวิชาการที่ผมเคารพนับถือมานาน ขณะเขียนบทความนี้ก็ยังนับถืออยู่ แม้จะไม่เคยรู้จักท่านเป็นส่วนตัวก็ตามแต่ในฐานะที่ท่านเป็นประธานคณะกรรมการ กฟผ. และเป็นผู้เขียนบทความชิ้นนี้ ผมมีข้อมูลและความเห็นที่แตกต่างไปจากท่านรวม 4 ประการนี่คือความรู้สึกจริงๆที่ขัดแย้งกันอยู่ในใจของผมเอง ผมอาจจะติดกับความคิดเชิง อุปถัมภ์ ตามที่ท่านว่าไว้ก็เป็นได้ต่อไปนี้ ผมจะแจงทีละประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง ตอนหนึ่งในบทความท่านได้กล่าวว่า กฟผ.มีหน้าที่ดูแลให้คนไทยมีไฟฟ้าใช้อย่างพอเพียงโดยไม่มีไฟดับ เท่าที่ผ่านมาก็ทำได้ดี ในรัฐแคลิฟอร์เนียก็ยังมีไฟดับทั่วรัฐ ของเรายังดี และค่าไฟเราก็นับว่าถูกกว่าหลายประเทศรอบบ้านกล่าวอย่างกระชับ ผมเห็นด้วยข้อความเกือบทั้งหมดนี้ แต่สิ่งที่ท่านอาจารย์ชัยอนันต์ไม่ได้บอกก็คือ ทำไมบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชน(หรือที่เรียกกันย่อๆว่าไอพีพี) จึงสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในราคาที่ต่ำกว่าที่ กฟผ.ผลิตเองเยอะเลย กล่าวคือ เฉพาะต้นทุนค่าเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียวของ กฟผ.ราคาหน่วยละ 1.59 บาท ในขณะที่ กฟผ. รับซื้อจากบริษัทเอกชน(ซึ่งบวกกำไรแล้ว)เพียง 1.35 บาทต่อหน่วยเท่านั้น (คำนวณโดยใช้ข้อมูลจาก รายงานประจำปีของ บมจ. กฟผ. ปี 2547) ถ้าคิดต้นทุนที่ไม่ใช่ค่าเชื้อเพลิงแต่เป็นค่าการผลิตไฟฟ้า(ไม่รวมค่าสายส่ง) อีก 0.37 บาทต่อหน่วย รวมเป็น 1.96 บาทต่อหน่วยสรุปสั้น ๆ ได้ความว่า เฉพาะขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว พบว่าต้นทุนบวกกำไรของบริษัทเอกชนยังต่ำกว่าต้นทุนอย่างเดียวของ กฟผ. ถึง 0.61 บาทต่อหน่วยปัจจุบันคนไทยใช้ไฟฟ้าปีละประมาณ 1.25 แสนล้านหน่วย ดังนั้น ทุก ๆ 10 สตางค์ต่อหน่วยที่ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ย่อมหมายถึงเงินจำนวน 1 หมื่น 2 พัน 500 ล้านบาทเลยทีเดียว การที่ท่านประธานบอร์ด กฟผ. นำค่าไฟฟ้าในประเทศไทยไปเปรียบเทียบกับของประเทศเพื่อนบ้าน โดยไม่ยอมเปรียบเทียบระหว่าง กฟผ. กับบริษัทเอกชนในประเทศไทย(ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจเดียวกัน)เลยนั้น เป็นการให้ข้อมูลเพียงครึ่งเดียว และเป็นการหลีกเลี่ยงการปรับปรุงและพัฒนาตนเองขององค์กรผมไม่ทราบว่าท่านอาจารย์ชัยอนันต์ได้ทราบข้อมูลที่ผมได้กล่าวถึงนี้หรือไม่ แต่นี่คือโจทย์สำคัญมากที่กฟผ.จะต้องนำไปปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรของตน และลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนสำหรับเรื่องไฟฟ้าดับในรับแคลิฟอร์เนีย นั้นจากเอกสารที่แปลเป็นภาษาไทยว่า http://www.fridaycollege.org/index.php? ... ม่เป็นข่าว ปี 2546-2547 ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยโซโนมาสเตท สหรัฐอเมริกา ผมขอคัดลอกมาบางตอนที่สำคัญ ดังนี้ตลาดไฟฟ้าของรัฐแคลิฟอร์เนียดำเนินการแปรรูปให้เอกชนเข้ามาจัดการและแข่งขัน โดยเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1996 ในสมัยผู้ว่าการรัฐพีท วิลสัน ทันทีที่ยกเลิกเพดานราคาในปี 1999 ภายในปีเดียว ราคาไฟฟ้าพุ่งขึ้นไปถึง 3 เท่า ส่วนเรื่องไฟฟ้าดับครั้งใหญ่(กระทบประชาชนกว่า 3 แสนครัวเรือน) นั้นเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ.2544) หลังการแปรรูปแล้ว เหตุผลที่ไฟฟ้าดับเพราะกำลังผลิตสำรองต่ำกว่า 5% เพราะโรงไฟฟ้าปิดทำการซ่อมบำรุงพร้อมๆ กัน สำหรับเหตุผลที่มากกว่านี้ ท่านผู้อ่านสามารถค้นหาได้จากอินเตอร์เนตสรุปอีกครั้งครับว่า ไฟฟ้าดับครั้งใหญ่เกิดขึ้นหลังการแปรรูปครับ
ประเด็นที่สอง เป็นประเด็นชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ท่านประธานบอร์ด กฟผ. กล่าวว่า
ขณะนี้เราใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงประมาณ 70% ที่เหลือเป็นน้ำมันเตาบ้าง และพลังน้ำบ้าง ในสิบปีข้างหน้า เราคงซื้อกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำงึม และน้ำเทินในลาวเพิ่มมากขึ้น ยิ่งโครงการสาละวินเกิดขึ้นในอนาคตด้วยแล้ว เราก็ยิ่งจะได้อาศัยไฟจากเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำจะต่ำกว่าก๊าซเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากๆ ที่เป็นปัญหาทั้งระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะมองในเชิงรัฐศาสตร์หรือเชิงสิ่งแวดล้อมก็ตาม เราจำเป็นต้องมีกรอบความคิดที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทั้ง 3 ระดับนี้พร้อม ๆ กัน เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือเขื่อนขนาดใหญ่ ล้วนส่งผลกระทบที่ทำให้โลกร้อนและกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆกันอีกแล้วหลายประเทศทั่วโลก จึงได้หันมาใช้พลังงานหมุนเวียน(ซึ่งได้แก่ พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล) ในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้นกระทรวงพลังงานของเราเองรวมทั้งธนาคารโลกก็ได้ศึกษาพบว่าประเทศไทยเรามีศักยภาพที่จะทำกังหันลมได้ถึง 1600 ถึง 3067 เมกกะวัตต์ กฟผ.เองก็ได้ข้อสรุปจากการทดลองที่แหลมพรหมเทพ (จังหวัดภูเก็ต) ว่า ผลการศึกษาเป็นที่น่าพอใจ เมื่อหลายปีก่อน แต่ก็ยังไม่มีการขยับใดๆ จาก กฟผ.เวทีประชุมพลังงานหมุนเวียนระดับโลก ทั้งที่เยอรมนี(2004) และปักกิ่ง(2005) ที่เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของชาวโลก แต่ก็แทบจะไม่มีผู้แทนจากประเทศไทยเข้าร่วมเลย(ครั้งแรกมี 15 ท่าน(รวมนักข่าว และภรรยารัฐมนตรี) แต่เข้าร่วมประชุมเพียงเพื่อฟังรัฐมนตรีของไทยอ่านคำแถลงประมาณ 5 นาที ครั้งที่สองมีระดับรองอธิบดี 1 ท่าน ทั้งๆที่มีการเชิญระดับรัฐมนตรี ไม่มีผู้แทน กฟผ.เลย)ในขณะที่ประเทศอินเดีย จีน ได้เริ่มต้นไปแล้วเมื่อ 4-5 ปีก่อน ล่าสุดประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้มีฟาร์มกังหันลมขนาด 27 เมกกะวัตต์ไปแล้วเมื่อกลางปีนี้เองต้นทุนการผลิตที่ผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ.อ้างว่ายังแพงมากนั้นก็ไม่เป็นความจริง ปัจจุบัน(2548)ประสิทธิภาพของกังหันลมสูงกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้วถึง 200 เท่า ผลการศึกษาของ American Wind Power Association (http://www.awea.org/pubs/factsheets/Eco ... ch2002.pdf) พบว่า ถ้าความเร็วลมเฉลี่ยที่ 7.15 เมตรต่อวินาทีและเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ ต้นทุนจะอยู่ที่ 1.50 บาทต่อหน่วยเท่านั้น และสามารถได้ทุนคืนภายใน 8 ปีเท่านั้นในด้านการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล ไม่ว่าจะเป็นของฟาร์มหมู ก็สามารถคุ้มทุนเชิงการเงินได้ภายใน 4 ปี ถ้านับถึงการลดกลิ่นไปด้วยก็ถือว่าคุ้มเกินคุ้มทั้งกังหันลม ขี้หมู และชีวมวลอื่นๆ องค์กรชุมชนขนาดเล็ก เช่น อบต. ก็สามารถเป็นผู้ประกอบการเองได้ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาความยากจน คนว่างงาน และมลพิษอีกด้วยกฟผ.เองก็ไม่ต้องลงทุนสร้างโรงไฟฟ้ามาก
เหตุผลหลักที่โรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไม่เกิดขึ้นก็เพราะ กฟผ. พยายามกีดกันไว้นั่นเอง(หากมีโอกาสจะกล่าวถึงอีกสักบทความต่างหาก)
ประเด็นที่สาม ท่านอาจารย์ชัยอนันต์กล่าวว่า การกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นวิธีการทางการทำธุรกิจที่ต้องการระดมทุนที่ไม่มีอัตราดอกเบี้ยเพื่อมาลงทุนในกิจการไฟฟ้า หาก กฟผ.ต้องไปกู้เงินจากธนาคารทั้งภายใน และต่างประเทศมาลงทุนทั้งหมด ค่าดอกเบี้ยก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูง สู้ระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้จากรายงานประจำปี 2547 ของ กฟผ. พบว่า กฟผ. มีกำไรขั้นต้นถึง 52,332 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิหลังหักษีแล้วถึง 28,198 ล้านบาทสำหรับแผนการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ในช่วงปี 2547 -2558 ประเทศเรามีความจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มปีละ 1,000 เมกกะวัตต์ จากที่เคยวางแผนว่า 1,860 เมกกะวัตต์ เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว (ผู้จัดการออนไลน์-20 ตุลาคม 2548)ถ้าคิดจะลงทุนกันจริงๆ ด้วยกำไรขนาดนี้ ไม่ต้องกู้เงินใครเลยก็ยังสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้มิใช่เหรอครับ
ประเด็นที่สี่ ท่านกล่าวว่า การขายหุ้นออกไปเพียง 25% และใน 25% นั้น ต่างชาติซื้อได้เพียง 30% คือหนึ่งในสามจะเรียกว่า ขายสมบัติของชาติได้อย่างไรท่านอาจารย์ไม่ทราบเลยหรือครับว่า ตอนที่ ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น กระทรวงการคลังถือหุ้นไว้ถึง 70% แต่อีก 3 ปีต่อมาก็ต้องขายไปอีกจนเหลือเพียง 52%ท่านอาจารย์ไม่คิดบ้างหรือครับว่า แรงขับเคลื่อนที่ผลักดันให้มีการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนขนาดใหญ่เพียงไม่กี่คนเท่านั้นถึงคราว กฟผ. คำถามไม่ได้อยู่ที่ว่าจะขายออกไปสักกี่เปอร์เซ็นต์ แต่อยู่ที่ว่ามีความจำเป็นต้องขายหรือไม่ ถ้าจะลงทุนเพิ่มก็มีเงินกำไรอยู่แล้ว หรือให้เอกชนลงทุนด้วยพลังงานหมุนเวียนก็ยิ่งดีขึ้นอีกถ้าคิดจะปรับปรุงประสิทธิภาพหลังการขาย ก็โปรดปรับปรุงเสียแต่เดี๋ยวนี้ นั่นคือทำต้นทุนให้ต่ำลงมาอีก 0.61 บาทต่อหน่วยให้เท่ากับเอกชนไทยก่อน แล้วค่อยเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภายหลัง
ทั้งหมดนี้ผมเรียนมาด้วยความเครารพต่อท่านอาจารย์เสมอมา ไม่เคยคิดจะดูหมิ่นแม้แต่น้อย และแอบยังหวังอยู่ลึกๆว่า ท่านจะเป็นจุดเริ่มต้นของพลังการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์ในโอกาสต่อไป
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เรื่อง กฟผ. โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช นสพ.ผู้จัดการ 4 ธันวาคม 2548
เรื่อง กฟผ.อีกครั้ง โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช นสพ ผู้จัดการ 12 ธันวาคม 2548
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 26
มหา'ลัยนี้เปิดสอนกันดึกจัง...To: ประชาชนไทย
จดหมายเปิดผนึก กรณี กฟผ. ประชาชน และศาลปกครองสูงสุด
ถึงประชาชนและสังคมไทย
สืบเนื่องจากการที่รัฐบาล โดยกระทรวงพลังงานฯ ซึ่งต้องการแปรรูป กฟผ. เพื่อเพิ่มทุนโดยผ่านการดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์นั้น และศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ให้ระงับการเปิดให้มีการจองหุ้นเป็นการชั่วคราว
เราในฐานะบุคคล องค์กร และภาคประชาชน ดังรายชื่อข้างท้ายจดหมายเปิดผนึกฯ มีความเห็นเพิ่มเติมที่ต้องการนำเสนอต่อสังคมไทยดังนี้
1.เราไม่เห็นด้วยกับการแปรรูป กฟผ. ในลักษณะการนำรัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะผูกขาดเข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะวิธีการระดมทุนนั้น มีได้ด้วยกันหลายวิธีนับจากการขายพันธบัตร ไปจนกระทั่งการชักชวนให้เอกชนแข่งขันกันเข้ามาลงทุนในกิจการเดียวกันกับรัฐ ซึ่งในที่นี้หมายถึงการผลิตไฟฟ้าและระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.การแปรรูปของรัฐวิสาหกิจ ดังกรณี กฟผ.นั้น ยังคงเป็นวิธีการดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามภายหลังการผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว เนื่องจากมีวิธีการหลายอย่างที่สามารถระดมทุนได้ดังชี้แจงข้างต้น การที่รัฐบาลยังคงใช้วิธีการดังกล่าว เป็นการย้ำชัดว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทย มีแนวทางการเปิดโอกาสให้ทุนต่างชาติและภายในชาติเข้ามาฮุบกิจการรัฐวิสาหกิจได้ในอนาคต ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติขาดความมั่นคงทางด้านพลังงานและการให้บริการอย่างทั่วถึง
3.ปรกติแล้ว กิจการใดก็ตามซึ่งเกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคซึ่งมีลักษณะผูกขาด (monopoly) อยู่ในปัจจุบัน อย่างเช่น กฟผ. โดยหลักจริยธรรมแล้วไม่สมควรนำเข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างสิ้นเชิง เพราะจะทำให้เกิดการเก็งกำไร การทำธุรกิจในลักษณะผูกขาด และความไม่เป็นธรรมขึ้นแก่ผู้บริโภค ทั้งในเรื่องการกำหนดราคาตามใจชอบ และการเลือกให้บริการแก่ประชาชน
4.ตลอดเวลาที่ผ่านมา กฟผ. ไม่ว่าภายใต้การบริหารของรัฐบาลชุดใดก็ตาม มีลักษณะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเป็นเอกเทศในตัว นับจากการกำหนดราคาค่าไฟฟ้า และการให้บริการตามใจชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้บริการแก่คนในบางชนชั้นที่ได้เปรียบทางสังคมก่อนคนอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีความเห็นว่า ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแลการบริหาร และการให้บริการที่เป็นธรรม เพื่อความโปร่งใสและรับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญ 2540
5.ในส่วนของตลาดหุ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้องค์กรธุรกิจ บริษัท และรัฐวิสาหกิจ เข้ามาระดมทุนในตลาดหุ้นนั้น เรามีความเห็นว่า ต้องมีมาตรการจริยธรรมทางเศรษฐกิจในการดูแลเรื่องการที่องค์กรธุรกิจต่างๆเข้ามาระดมทุน โดยเฉพาะกิจการที่มีลักษณะผูกขาด มอมเมาประชาชน และเป็นไปเพื่อความเสื่อมทรามของสังคม ตลาดหลักทรัพย์จะต้องมีหน้าที่สกัดกั้นองค์กรธุรกิจดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการสร้างสรรค์โครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่ดีงาม
6.การที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ระงับการเปิดให้มีการจองหุ้น กฟผ. เป็นการชั่วคราวนั้น เรา (ดังรายนามที่ระบุข้างท้าย) เห็นด้วยกับการตัดสินดังกล่าว ซึ่งเท่ากับกระบวนการยุติธรรมของสังคมไทยได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง ในการเข้ามามีบทบาทอย่างชัดเจนในการวางนโยบายรัฐและสังคม ด้วยเหตุนี้ จึงขอสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมทั้งปวง ให้ดำรงเจตคติที่สร้างสรรค์ดังกล่าวไว้เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจการบริหารที่ไม่เป็นธรรมซึ่งอาจเกิดมีขึ้นในอนาคต
ลงชื่อ สมเกียรติ ตั้งนโม
(มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
Sincerely,
The Undersigned
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมประชาชนจึงควรร่วมกันคัดค้านการขายทอดตลาด กฟผ
โพสต์ที่ 27
เวลาที่เราต่อสู้ อย่าไปสนใจว่าจะแพ้หรือชนะ ให้ดูว่ามันเป็นเรื่องที่ถูกต้องไหม ถ้าถูกต้อง ก็ต้องสู้อย่างเต็มที่
รสนา โตสิตระกูล
:welcome:
รสนา โตสิตระกูล
:welcome: