การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โดย สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ในปี 2512 หรือ 36 ปีก่อน นักวิชาการคนสำคัญของประเทศ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้วิจารณ์ระบบการจัดการศึกษาไทยในสมัยรัฐบาลเผด็จการถนอม-ประภาส ว่า เกิดภาวะวิบัติ

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษทำการปฏิรูปการศึกษาตามข้อเรียกร้องของนักเรียน นิสิตนักศึกษา โดยมี ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต เป็นประธาน แต่ทว่าการศึกษาไทยก็ไม่อาจปฏิรูปได้ เพราะทุกฝ่าย ทั้งศึกษาธิการ และมหาดไทยต่างต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

แต่กระนั้น ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่เฉพาะส่วนของครูประชาบาล เมื่อรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ด้วยการประสานล็อบบี้ของ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ(นักรัฐศาสตร์คนสำคัญผู้ก่อตั้งพรรคพลังใหม่) ก็ยินยอมให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(สปช.) ขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เป็นอันสิ้นสุดยุคขมขื่นของครูประชาบาลในช่วงปี 2509-2523

การศึกษาไทยเดินหน้าอย่างช้าๆ จนกระทั่งปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงพร้อมๆ กับการเริ่มต้นปฏิรูปการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กฎหมายสูงสุดฉบับที่ 16 นี้กำหนดให้รัฐตรากฎหมายการศึกษาแห่งชาติโดยมอบหมายให้องค์การมหาชนอิสระสำนักงานปฏิรูปการศึกษา(สปศ.) เป็นผู้ออกแบบดำเนินการ

สปศ.หรือ 9 อรหันต์ ได้ออกแบบพิมพ์เขียวที่เรียกว่า "การปฏิรูปศึกษาทั้งระบบ" นักวิชาการคนสำคัญ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ศาสตราจารย์ทางกฎหมายแห่งธรรมศาสตร์ ถึงขนาดลงทุนเขียนบทความเรื่อง "ทำไมการปฏิรูปการศึกษาต้องทำทั้งระบบ" แล้วเสนอแผนการพิมพ์เขียว(blue-print) ปฏิรูปอย่างถ้วนทั่ว และรอบด้าน

ในขณะที่นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์การศึกษาศาสตราจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์(ธรรมศาสตร์) ได้เขียนบทความส่งสัญญาณเตือนสังคมไทยในปี 2544 ความตอนหนึ่งว่า "หากการปฏิรูปการศึกษาเดินตามกระบวนการที่กำหนดโดยคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา(สปศ.) จะนำมาซึ่งหายนภัย และความฉิบหายแก่บ้านเมือง"
จากวันที่กฎหมายการศึกษาแห่งชาติประกาศใช้จนถึงวันนี้(2542-2548) 6 ปีกว่า การปฏิรูปกลายเป็นปฏิเลอะ เกิดภาวะวิบัติ ยุ่งเหยิงโกลาหล ความร้าวฉานของคนในชาติ การแย่งชิงอำนาจผลประโยชน์ทางการศึกษา ความจงเกลียดจงชังต่อหน่วยงานทางการศึกษาใหม่ เกิดขึ้นในหมู่ครูนับแสนคน และคนในวังจันทรเกษมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน นับแต่ก่อตั้งกระทรวงนี้เมื่อปี 2435 เป็นต้นมา
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ในบทความนี้ แน่นอนที่สุดว่าไม่อาจเสนอภาวะวิบัติการศึกษาทั้งระบบได้ ดังนั้น เราจึงขอเลือกสื่อต่อสาธารณะเพียง 4 เรื่องเท่านั้นที่คิดว่าอยู่ในกระแสร้อนแรงของสังคม

1.แรงเหวี่ยงหนีออกจากศูนย์กลาง

6 ปีที่ผ่านมา พิมพ์เขียวยุบรวมหน่วยงาน(จับไก่หลายพันธุ์มาขังในเข่ง) ทั้ง สปช., กรมสามัญศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน(สช.), กรมการศึกษานอกโรงเรียน(กศน.) และกรมอาชีวศึกษา เพื่อจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ปรากฏว่าทำไม่ได้เลย ล้มเหลวสิ้นเชิง

สช.และ กศน.พากันเปลี่ยนชื่อใหม่หลบพายุร้ายปฏิรูปเพื่อเอาตัวให้รอด หนีซมซานไปซุกในอุ้งปีกของสำนักงานปลัด ศธ.วันนี้สองหน่วยงานรู้แล้วว่าการลี้ภัยทางการศึกษามาอยู่สำนักปลัด ศธ.เป็นการหนีเสือปะจระเข้

กรมอาชีวศึกษา ต่างดิ้นสุดฤทธิ์เป็นตายร้ายดีก็ไม่ขออยู่ร่วมกับครูประชาบาลใน สพฐ.จนกระทั่งรัฐบาลยินยอมแก้ไขกฎหมายการศึกษาแห่งชาติเพิ่มเป็นแท่งที่ 5 ในชื่อว่าสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณเพิ่มให้เป็นพิเศษสูงถึงปีละ 11,000 ล้านบาท

กรมสามัญศึกษา(เดิม) ของครูกว่า 1.2 แสนคน โรงเรียน 2,669 แห่ง และนักเรียนกว่า 2 ล้านคน ดูเหมือนจะประสบโชคร้ายที่สุด พวกเขาถูกพายุร้ายปฏิเลอะพัดพาไปเป็นคนกลุ่มน้อยใน สพฐ.อยู่ใต้เบี้ยล่างของครูประชาบาล พากันทนทุกข์อยู่อย่างคับใจ และไร้ศักดิ์ศรี

ทั้ง สช.และ กศน.ต่างต้องการลี้ภัย และพร้อมใจบินออกจากเข่ง สช.ต้องการความเป็นอิสระ มีสำนักงานนิติบุคคลเป็นของตนเอง ในขณะที่ กศน.ต้องการเป็นหน่วยงานอิสระ มีกฎหมายเฉพาะเพื่อจัดการศึกษาตลอดชีวิต

2.องค์กรไส้ติ่ง : เขตพื้นที่การศึกษา

ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ได้เขียนบทความทางการศึกษาวิพากษ์องค์กรนี้ว่า "ขณะนี้เขตการศึกษาของเราเป็นการลอกเลียนแบบของอเมริกัน และอังกฤษมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา หากไม่แก้ไขกลับจะเป็นผลร้าย และต้องแก้กฎหมายการศึกษาด้วย หาไม่แล้วการศึกษาจะเป็นมิคสัญญี" (ผู้จัดการรายวัน 10 พฤศจิกายน 2548)

เรื่องเขตพื้นที่การศึกษานี้ ครูส่วนใหญ่ไม่ค่อยพึงปรารถนานัก เพราะเป็นระบบรวมศูนย์อำนาจ และมีการบิดเบือนการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารเสมอ สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย(ส.บ.ม.ท.) ได้รายงานล่าสุดในงานวิจัยเต็มพื้นที่เรื่อง การศึกษาสภาพ และปัญหาการบริหารมัธยมศึกษาสังกัด สพฐ.ข้อค้นพบบางตอนสรุปได้ว่า
1.ภายหลังมีเขตพื้นที่ฯ สิ่งต่างๆ ที่ทำดีได้ขาดหายไป การพัฒนางานวิชาการหยุดนิ่งอย่างเห็นได้ชัด เขตพื้นที่ฯทั้ง 175 เขต บริหารงานวิชาการแล้วคุณภาพวิชาการที่เคยโดดเด่นต้องลดลง และหยุดการพัฒา
2.ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่ฯขาดความรู้ความเข้าใจหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย งานนิเทศก์ขาดความเชี่ยวชาญหาคำตอบที่ถูกต้องไม่ได้ บุคลากรขาดการพัฒนา
3.การจัดสรรงบประมาณใช้เสียงข้างมาก ขาดความเป็นธรรม ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเยาวชน และประเทศชาติ
4.การบรรจุ แต่งตั้งโยกย้ายครู ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพการศึกษา นักเรียนสูญเสียประโยชน์จากการลงทุนทางการศึกษา และอื่นๆ อีกมาก(จำนวน 103 หน้า) หากผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่ฯจะพากันอ่านดูเสียบ้างก็จะรู้ว่าสภาพการณ์วิบัติจริงๆ เป็นกันถึงขนาดนี้ จะไม่ให้ครูกรมสามัญศึกษาเขาคิดลี้ภัยทางการศึกษาได้อย่างไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

3.สงครามการถ่ายโอนอำนาจการศึกษา

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา รวมทั้งสิ้น 7,855 องค์กร อ้างว่ามีอำนาจตามกฎหมายทั้งรัฐธรรมนูญ กฎหมายลูก กฎกระทรวง(ศึกษาธิการ) และคำสั่งศาลปกครองกลางจังหวัดพิษณุโลกรับถ่ายโอนการศึกษาจากรัฐบาลกลาง(กรมต่างๆ) มายัง อปท.ได้

ฝ่ายครูเสื้อเหลืองแรกๆ พากันชุมนุมวันที่ 5 และ 8 เดือนนี้ โดยมีมติเด็ดขาดว่าไม่ไป ไม่ถ่าย ไม่โอน และให้แก้กฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ต่อมาที่ชุมนุมได้แต่งตั้งตัวแทน 9 คน ไปเป็นกรรมการร่วมกับรัฐบาล กรรมการทั้ง 9 คน ถูกรัฐบาลล็อบบี้จนอ่อนปวกเปียก โอนอ่อนผ่อนตามรัฐบาล ให้แก้กฎหมายว่าให้ไปให้ถ่ายให้โอนได้ตามความสมัครใจ แล้วนัดชุมนุมใหญ่นับแสนคนในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้

ต่อมาครูเสื้อเหลืองก็แตกกันเองอย่างที่สังคมคาดไว้ตั้งแต่แรก ฝ่ายเหลืองแก่(ไม่ไป ไม่ถ่าย ไม่โอน) ยืนยันชุมนุมใหญ่วันที่ 29 พฤศจิกายนนี้ แต่ผู้แทน 9 คน กลับประกาศจะพากลุ่มครูเหลืองอ่อนไปชุมนุมให้กำลังใจ มอบดอกไม้ให้นายกรัฐมนตรีในวันถัดไป คือวันที่ 30 พฤศจิกายน ครูทั่วประเทศจะถูกต้มหรือไม่ และใครเป็นผู้ทรยศ จะได้รู้กันก็ในคราวนี้

4.หน่วยกล้าตายลี้ภัยการศึกษา

ภาวะถูกกระทำการจากระบบพวกมากลากไปจนไร้ศักดิ์ศรี ความร้าวฉาน ความจงเกลียดจงชังต่อหน่วยงานเขตพื้นที่ฯ เป็นปัจจัยหลักนำไปสู่การแตกตัวครั้งใหญ่ของ ศธ.

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ พัทยา คณะผู้บริหารกว่า 1 พันคน มีมติอย่างขมขื่นที่จะถ่ายโอนไปสู่ อบจ.ตามแนวทางของ จ.ลำพูน และชัยภูมิ และจะมีพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) อันยิ่งใหญ่ในเร็ววันนี้

สถานการณ์บ่งบอกว่าเป็นการสูญเสียโรงเรียนคุณภาพครั้งแรก และครั้งใหญ่ที่สุดของกระทรวงไดโนเสาร์เต่าล้านปี การอพยพลี้ภัยทางการศึกษา การบินออกจากเข่งเป็นทางรอดเดียวที่เหลืออยู่เพื่อธำรงศักดิ์ศรีของครูส่วนน้อยมัธยมศึกษา

ที่กล่าวมาเพียง 4 ข้อ ก็นับเป็นโศกนาฏกรรมการศึกษาที่นักเรียน 12 ล้านคน ต้องตกเป็นรับเคราะห์กรรมไปเต็มๆ แม้รัฐบาลทักษิโณมิกส์จะปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีใหม่เป็นคนที่ 7 ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความร้าวฉาน และแบ่งแยกแตกฝูง ซึ่งลุกลามจนไร้ขอบเขต หรือจะทำอะไรให้ดีขึ้นได้

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์คนสำคัญของประเทศซึ่งส่งสัญญาณเตือนเมื่อ 4 ปีก่อนว่าการศึกษาของชาติไทยนั้น วิบัติจริงๆ และวันนี้เราหลงเดินตามเส้นทางปฏิเลอะจนใกล้หายนะตามคำพยากรณ์ล่วงหน้าแล้ว

ไม่อาจจะโทษใครได้ เพราะสังคมพากันหลงเชื่อเองตามคำโฆษณาการที่กระพือโหมว่ากฎหมายการศึกษาแห่งชาติ และองค์กรการศึกษาใหม่ทั้งหลายนั้น เป็นนวัตกรรมการออกแบบดีที่สุดในประวัติศาสตร์การศึกษาไทย!!


ที่มา :
หน้า 26
มติชนรายวัน
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10124
Viewtiful Investor
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ไม่เข้าใจว่า

รบ. ยอมให้ย้ายได้ตามความพร้อม + ความพอใจ แล้ว ทำไมไม่ยอมอีก แต่ไม่มีความรู้เรื่องนี้ครับ มีใครในนี้เป็นครูมั่งเนี่ย?
I do not sleep. I dream.
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เหมือนเมื่อก่อนมหาลัยจะออกนอกระบบนั่นล่ะ
เห็นท่าไม่ไหวก็แล้วแต่สมัครใจ

เอาเงินเดือนกับโบนัสมาอ่อย  เพื่อให้เปลี่ยนแปรง
แต่สุดท้ายน่าจะไปตัดสวัสดิการ  อื่นๆ
เรื่องแบบนี้ละเอียดอ่อน
ผมยังไม่ได้ศึกษาให้ลึก  ก็ขอแสดงความคิดเห็นเพียงนี้ครับ





แต่ที่คลางแคลงใจ

แต่ระบบใหม่นั่นน่ะ
มันมีช่องว่างช่องโหว่หรือเปล่า
หากเปลี่ยนสังกัด  จะถูกกลั่นแกล้งไหม
ลูกใครหลานใคร  ก็ลากกันไป  ลากกันมาหรือเปล่า
เรื่องการเงินมั่นคงแต่แรกๆแล้วตอนหลังมีปัญหาเรื่องงบประมาณเปล่า
ยังมีเรื่องน่าเป็นห่วงอีกหลายอย่างครับ
ปุย
Verified User
โพสต์: 2032
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

โห อ่านดูแล้ว ระบบ มันมั่วมากเลย

ตั้งแต่รุ่นผม สิบกว่าปีแล้ว
อยู่ รร. ม.ปลาย อย่างดี แต่สอบเทียบ กศน. ผ่านตั้งแต่ ม.4 พอ ม.5 ก็ ent ติด (ม.6 เหลือ อยู่ไม่ถึง ครึ่งรุ่น)

นึกแล้ว สงสาร อาชีพครู จริงๆ
ครูประจำชั้น ตอน ผม อยู่ ประถม 1
รู้สึกว่า ท่านจะเป็นครูใหม่ ปีแรกด้วย
ท่านมีส่วนทำให้ผมรักการเรียน รักโรงเรียน

ผ่านไป เป็น10-20 ปี จากเด็ก ป.1 เรียนรู้ เติบโต ได้เงินเดือนหลักหมื่น หลักแสน

ทราบข่าวจากแม่ที่ไปพบครูโดยบังเอิญว่า คุณครูก็ยังสอนอยู่เหมือนเดิม  ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงนัก  :cry:  :cry:
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากครับ  ปัญหาแบบนี้นับวันจะใหญ่โตและซับซ้อนมากขึ้นทุกที และจะมีปัญหาแบบนี้สำหรับเรื่องอื่นๆอีกเรื่อยๆ  จนกว่าจะเปลี่ยนกรอบความคิดใหม่

ไม่เห็นทางออกเหมือนกัน  แต่เห็นทางตันที่ไม่ควรเดินครับ

1.ถ้ารอให้ระบบใหม่สมบูรณ์พร้อม(เพอร์เฟค)แล้วค่อยเดิน  จะไม่มีทางได้เดินไปข้างหน้า

2.ถ้ารอให้ทุกคนพร้อมแล้วค่อยเดิน จะไม่มีทางได้เดินอีก

3.ผู้ที่มีส่วนได้เสีย(stakeholder) มักไม่สามารถมองเห็นทางออกของตัวเอง  เพราะว่าตัวเองกำลังชุลมุนอยู่  และมักไม่อยู่ในฐานะที่เป็นกลางที่จะตัดสินใจให้ได้ผลดีกับทุกฝ่าย(ก็เพราะตัวเองมีส่วนได้เสียนั่นเอง)

4.ผู้เป็นกลางที่อยู่ในฐานะตัดสินได้ ก็จะไม่ได้รับการยอมรับ และถูกมองอย่างคลางแคลงใจในความบริสุทธิ์ใจ  

แต่สุดท้ายก็จะมีทางออก  คงจะไม่นานนักถ้าไม่เดินเข้าสู่ทางตันให้เสียเวลา

life has a way  ไม่นานเกินรอ  เหมือนคนท้องแก่ครับ  ยังไงก็ต้องคลอด  แต่คลอดแล้วเด็กจะรอดหรือพิการหรือตายก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  แต่คงไม่ตายมั้งครับ บ้านเราไม่เคยเจอทางตันจริงๆสักที  สุดท้ายก็มีทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ทางออกที่ว่ารับได้น่าจะเกิดจาก

1. เรียงลำดับความสำคัญ  จะเอาอะไรสำคัญที่สุด ได้แก่

1.1 นักเรียน  
1.2 ครู
1.3 อบท. อบต.
1.4 กระทรวงศึกษา รัฐบาล

2. ลดอัตตาแต่ละฝ่าย (พูดง่ายแต่ทำยาก  แต่ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้)
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผมเข้าใจว่า ขวัญและกำลังใจของคุณครูทั้งหลายคงเสียไปไม่น้อย กับการต้องมากังวลวิตกต่ออนาคตทางวิชาชีพ เกิดความระส่ำระสายแตกแยก ผลก็คงตกไปที่เด็กนักเรียนที่จะได้รับคุณภาพทางการศึกษาที่อาจด้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต ..

บางคนก็เปรียบเปรยว่า ระบบการศึกษาของเราเป็นแบบ "การศึกษาหมาหางด้วน" คือ ไม่รู้ว่าจะไปทิศทางไหนกันแน่ ตุปัดตุเป่ ไม่มาไม่ไป งงๆก่งก๊ง :roll:

วันนี้ครูเดินทางมาเมืองหลวงแล้ว จะมากจะน้อย จะมีผลลงเอยอย่างไร เชิญติดตามกันต่อไปคับ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

bsk(มหาชน) เขียน:ในบทความนี้ แน่นอนที่สุดว่าไม่อาจเสนอภาวะวิบัติการศึกษาทั้งระบบได้ ดังนั้น เราจึงขอเลือกสื่อต่อสาธารณะเพียง 4 เรื่องเท่านั้นที่คิดว่าอยู่ในกระแสร้อนแรงของสังคม......

2.องค์กรไส้ติ่ง : เขตพื้นที่การศึกษา

ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ได้เขียนบทความทางการศึกษาวิพากษ์องค์กรนี้ว่า "ขณะนี้เขตการศึกษาของเราเป็นการลอกเลียนแบบของอเมริกัน และอังกฤษมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา หากไม่แก้ไขกลับจะเป็นผลร้าย และต้องแก้กฎหมายการศึกษาด้วย หาไม่แล้วการศึกษาจะเป็นมิคสัญญี" (ผู้จัดการรายวัน 10 พฤศจิกายน 2548)
พอดีไปอ่านเจอบทความนี้ที่อ.สมเกียรติ อ้างอิงถึง จึงขอยกมาให้ทุกท่านได้อ่านกันคับ..

****************************************************************

รัฐบาลขี้เกียจคิด ติดกับปฏิรูป เอียงวูบเข้าข้างหัวคะแนน เหยียบแบนการศึกษา : การโอนครูสู่องค์กรท้องถิ่น

โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 10 พฤศจิกายน 2548


สี่ห้าวันที่ผ่านมานี้ วุฒิสมาชิกจากอุดรธานีท่านหนึ่งโทร.มาหา และขอมาปรึกษาผม เนื่องจากท่านได้รับฉันทานุมัติจากนักการศึกษาในรัฐสภา และบรรดาตัวแทนครูทั่วประเทศให้เป็นแกนนำคัดค้านการโอนการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น ท่านถามว่าท่านสมควรจะกระทำหน้าที่หรือไม่ ผมตอบว่า ดีแล้ว เอาเลย

ท่านถามต่อว่า ผมเห็นด้วยหรือไม่ในการโอนการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น ผมตอบว่า ในด้านหลักการ ผมเห็นด้วยครึ่งหนึ่ง-ไม่เห็นด้วยครึ่งหนึ่ง แต่ในเรื่องเงื่อนเวลา ผมไม่เห็นด้วยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากจะโอนไปที่ อบต.หรือ อบจ.ถ้าเป็นเทศบาลเมืองขึ้นไปละก้อให้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

ท่านจะให้ผมช่วยเขียนหรือไปพูดเพื่อคัดค้านการโอนดังกล่าว ตามข้ออ้างของรัฐบาลว่าจำเป็นต้องกระทำ ตามพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายลูกของกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ผมลืมบอกท่านไปว่า นายกฯ ท่านเป็นคนไม่กลัวกฎหมาย ท่านเคยบอกว่ากฎหมายอะไรที่เป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญ ก็แก้ไขยกเลิกเสียไม่เห็นจะยากอะไร

ผมขอโทษที่ไม่อาจไปร่วมพูดด้วยได้ หรือจะเขียนอะไร ก็ยังไม่ถนัด เพราะอยู่ในระหว่างกำลังพักฟื้น แต่ก็ได้ให้ข้อคิดท่านไป 2-3 ประการเพื่อจะได้ให้ไปเล่าให้หมู่คณะฟัง

ผมได้ฟื้นความจำของท่านในเรื่องที่ท่านบอกว่ายังไม่ลืมและจำได้ดี เรื่องนี้คือเรื่องที่ผมอยากให้ขบวนการครูรำลึกถึงบุญคุณของอดีตนายกฯ เกรียงศักดิ์ผู้ล่วงลับ นายกฯ เกรียงศักดิ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ยอมสูญเสียอำนาจ งบประมาณและอัตรากำลัง (คน) จำนวนมหาศาล โดยคำนึงถึงความถูกต้องและอนาคตของประเทศชาติ แทนที่จะปกปักรักษาผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องบริวาร

ท่านยอมให้โอนการศึกษาประชาบาลออกมาจากกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานในสังกัด นั่นก็คือ องค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีชื่อว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งในขณะนั้นเป็นการปกครองท้องถิ่นจำบัง ความจริงอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัดและนายอำเภออย่างเคร่งครัด

หากไม่มีนายกฯ ที่มีจิตใจเสียสละ มองการณ์ไกลและเป็นนักปฏิรูปอย่างแท้จริงแบบพลเอกเกรียงศักดิ์แล้ว คงไม่มีทางที่จะโอนการศึกษาออกจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดของกระทรวงมหาดไทยสำเร็จ

ก่อนที่จะตัดสินใจเด็ดขาดครั้งสุดท้าย พลเอกเกรียงศักดิ์คุยกันกับผมอยู่สองต่อสองกว่าสามชั่วโมง ผมยังจำได้ที่ท่านทุบโต๊ะ ทีแรกผมนึกว่าท่านจะปฏิเสธเสียอีก แต่ท่านกลับบอกว่าตกลง ก่อนหน้านั้นท่านขอเวลาไปคิดเป็นเดือน พบปะนักการศึกษา ครู นักการเมือง และที่ปรึกษาหลายคณะ ผมกราบเรียนท่านว่า ประเทศไทยเผชิญทางเลือกอยู่ 3 ทาง คือ 1. ให้กระทรวงมหาดไทยหรือกอ.รมน.เป็นผู้จัดตั้งและควบคุมครูประชาบาลต่อไป 2. พรรคคอมมิวนิสต์ย่อมจะอาสาเข้าแข่งขันทำการจัดตั้ง และควบคุมครูประชาบาลหนักขึ้น โดยเฉพาะในท้องถิ่นกันดารและห่างไกล 3. ให้บรรดาครูจัดตั้งและควบคุมกันเอง โดยรัฐบาลเป็นผู้อนุเคราะห์

พลเอกเกรียงศักดิ์ขอให้ผมไปร่างความคิดและเสนอชื่อกรรมการ โดยชั้นแรกอาจจะให้อยู่ในกระทรวงศึกษาไปชั่วคราวก่อน แต่ให้รีบพัฒนาองค์การศึกษาในรูปคณะกรรมการผสมกับการเลือกตั้งโดยมีผู้แทนครูทุกระดับ ผมเสียดายเมื่อผมร่างแนวความคิดให้แล้ว ผมไม่ยอมรับเป็นกรรมการหรือตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ท่านยังเขียนมาขอบคุณผมบอกว่าอาจารย์นี่แปลก คนอื่นมีแต่เขาขอเป็นโน่นเป็นนี่กันทั้งนั้น รายละเอียดบางอย่างของเรื่องนี้ขอให้ไปหาอ่านได้จากหนังสือเรื่อง คำขานรับของครูประชาบาล โดย สุชน ชาลีเครือ และพิสิฐ สร้อยธุหร่ำ


วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 เป็นวันที่คณะรัฐประหารได้ทำลายวิวัฒนาการประชาธิปไตยรวมทั้งการศึกษาไทยด้วย ผมยังไม่มีเวลาที่จะแจงรายละเอียด นอกจากจะบอกสั้นๆ ว่า เป็นการเปิดศักราชที่เราแยกโรงเรียนออกมาจากวัดและชุมชน กลายเป็นโรงเรียนข้างถนน (แบบอเมริกัน แต่ไม่เหมือนอเมริกัน เพราะของเขาเป็นถนนที่ประชาคมเข้าถึงเพราะมีรถยนต์และความสะดวกต่างๆ นานา รวมทั้งองค์กรท้องถิ่นเพื่อการศึกษาที่เข้มแข็งและหลากหลาย องค์กรดังกล่าวมิใช่องค์กรปกครอง)

และในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 นับเป็นเวลาได้ 58 ปี ผมได้ข่าวว่ามีครูจากทั่วราชอาณาจักรมาชุมนุมกันใน กทม. เป็นจำนวนพันหรือหมื่น เพื่อคัดค้านมิให้โอนครูไปอยู่ใต้การบังคับบัญชาขององค์กรปกครองท้องถิ่น มีเพื่อนครูหลายคนอยากมาเยี่ยมผม ผมต้องขอโทษที่ไม่ค่อยจะสบาย แต่ผมได้ให้ข้อคิดกับวุฒิสมาชิกคำพันธ์ไปแล้ว เป็นความย่อๆ ดังนี้

1. ผมเห็นด้วยที่ครูสมควรจะอยู่ในท้องถิ่น (อันเป็นหน่วยภูมิศาสตร์) แต่มิใช่สังกัดองค์กรท้องถิ่นแบบ อบต.หรือ อบจ.ในปัจุบัน แต่ขอให้เพื่อนครูโปรดระมัดระวัง อย่าให้เกิดความเข้าใจผิดหรือแปลกแยกว่าครูดูถูกชาวบ้านหรือตัวแทนของชาวบ้าน

2. กระทรวงศึกษาธิการอาจจะมิใช่องค์กรในอุดมคติในระยะยาว เพราะกระทรวงศึกษาฯ ไม่ควรจะทำหน้าที่เป็นนายครู ควรเป็นเพียงที่ปรึกษาทางวิชาการ-การวิจัย ผู้สนับสนุนงบประมาณ อีกประการหนึ่งกระทรวงศึกษาขณะนี้เป็นองค์กรที่ล้าหลัง ใหญ่โตเทอะทะ ไม่นับหรือตัดจำนวนครูที่ทำการสอนในโรงเรียนออกแล้ว ขุนนางการศึกษาของไทยมีขนาดใหญ่กว่ากระทรวงศึกษาของ 5 มหาประเทศคือ อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่นรวมกันหนึ่งเท่าตัว ดูดงบประมาณไปจากโรงเรียนหมด

3. ขณะนี้เขตการศึกษาของเราก็เป็นการลอกเลียนแบบของอเมริกันกับอังกฤษมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา หากไม่แก้ไขกลับจะเป็นผลร้าย หากแก้ไขให้ดีอาจเป็นโอกาสทองของการศึกษาไทย หากสามารถวางจุดหนักได้ที่นักเรียน โรงเรียน ครู ประชาคมและประชาธิปไตย พ.ร.บ.การศึกษา ที่เราใช้เป็นคัมภีร์อยู่เดี๋ยวนี้ มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย มีหลายอย่างจำเป็นต้องแก้ไข หาไม่แล้วการศึกษาจะเป็นมิคสัญญี

4. องค์กรบริหารการศึกษาในท้องถิ่นนั้นจะต้องเป็นองค์กรบริการที่ชำนาญเฉพาะอย่างคือช่ำชองในการให้ศึกษาตั้งแต่เริ่มมีชีวิตและตลอดชีวิตของบุคคล ครอบครัวและชุมชน จะมีลักษณะและองค์ประกอบเป็นแบบใดนั้นต้องเป็นผลของการศึกษาหาข้อมูลอย่างจริงจัง เพื่อจะให้เกิดความยุติธรรมทั่วถึง มาตรฐานและคุณภาพ ตลอดจนความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและสังคม
5. ในข้อ 4 นั้นถึงจะต้องใช้ความรอบคอบและเวลา แต่ก็ต้องเริ่มต้นนับหนึ่ง
อย่างค่อยเป็นค่อยไป ปล่อยให้กระบวนการเป็นผู้ผลิตรูปแบบ ซึ่งอาจจะแตกต่างไม่จำเป็นต้องเหมือนเป็นพิมพ์เดี๋ยวกันหมด กระบวนการนั้นไม่ต้องรอจะต้องเริ่มเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้ โดยตั้งต้นที่นักเรียน โรงเรียนและครู และต้องดูเสียก่อนว่าอะไรที่ผิดและบกพร่องต้องรีบแก้ไขเสียก่อน อย่ามัวแต่เอาวิสัยทัศน์ ซึ่งเป็นรหัสของฝรั่งมาอ้างเหมือนท่องคาถา

ปัญหาการศึกษามีมากเกินกว่าที่เราคิด บังเอิญเราเป็นพวกที่ขี้เกียจคิด ถ้าเรา
คิดเป็น รัฐบาลที่มีเสียงข้างมากล้นหลามของเราคงจะไม่เปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาคนแล้วคนเล่า และทำอะไรแย่ๆเกี่ยวกับการศึกษาออกมานับไม่ถ้วน
ก่อนจะเขียนต่อเรื่องนี้ในฉบับหน้า ผมขอเชิญท่านผู้อ่านที่มีเวลาว่างไปเยี่ยม
กระทรวงศึกษา และโปรดสังเกตความสามารถในทางบริหารกระทรวงสมองของประเทศดังต่อไปนี้
(1)การบริหารการจอดรถและการจราจรภายในกระทรวง
(2) การบริหารเอกสารทางปัญญาหรือผลงานอาจารย์ระดับสูงที่กองเป็นภูเขาเลากาอยู่ตามระเบียงตึกในกระทรวง
(3) การบริหารเนื้อที่สำนักงานสัดส่วนระหว่างที่คับแคบกับที่ว่างที่มีอยู่หลายตึกหลายชั้น รวมทั้งห้องผู้บริหาร สต๊าฟ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์สำนักงานสารพัดอย่าง อีก 7 วันผมจะส่งคนไปถ่ายรูปและวีดีโอมาเสนอท่านผู้อ่าน ประกอบกับบทความตอนสอง

ตอนนี้ผมขออนุญาตตั้งหัวข้อล่วงหน้าเป็นปริศนาไว้ก่อน ดังนี้

รัฐบาลขี้เกียจคิด ติดกับปฏิรูป เอียงวูบเข้าข้างหัวคะแนน เหยียบแบนการศึกษา : การโอนครูสู่องค์กรท้องถิ่น

ท่านผู้อ่านอาจร่วมกับผมบรรยายโดยพิสดารโดยส่งความเห็นไปที่ผู้จัดการ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

รัฐบาลขี้เกียจ..

โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 29 พฤศจิกายน 2548

ผมสัญญาว่าจะเขียนเรื่องรัฐบาลขี้เกียจ..ให้จบ

ปรากฏว่า ไปติดหล่ม ปรากฏการณ์สนธิ คุ้มหรือเปล่า ก็ไม่รู้

แต่ถ้าหากเรารู้หลักอิทัปปัจจยตา เรื่องทั้งหมดที่กำลังพูดกันอยู่นี้ ในที่สุดก็กลายเป็นคนละเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ

ก็เป็นเพราะ รัฐบาลขี้เกียจ จึงเกิดปรากฏการณ์สนธิ

ก็เป็นเพราะ รัฐบาลขี้เกียจ จึงเกิดปรากฏการณ์ ครูชุมนุมคัดค้านการโอน

ก็เป็นเพราะ รัฐบาลขี้เกียจ จึงเกิดปรากฏการณ์ศาลปกครองระงับการขายหุ้น

ก็เป็นเพราะ รัฐบาลขี้เกียจ จึงเกิดปรากฏการณ์ไม่ลงพระปรมาภิไธย คตง.

ก็เป็นเพราะ รัฐบาลขี้เกียจ จึงเกิดปรากฏการณ์ ป.ป.ช.

ก็เป็นเพราะ รัฐบาลขี้เกียจ จึงเกิดปรากฏการณ์ กสช.
ฯลฯ

ขี้เกียจอย่างเดียวไม่พอ แถมยัง มักได้ และมักง่ายอีกด้วย

ความมักได้กับความมักง่ายนี้ ทำให้เกิดความ active แข็งขัน แบบ ไม่พูดพร่ำทำเพลง โครงการใดมีผลประโยชน์ก็จ้ำเอาๆ เรียกว่าขยันทำมาหากิน แต่ขี้เกียจศึกษาหา ความผิดความถูก ผลดีผลเสีย ต่อส่วนรวมหรือชาติบ้านเมือง แม้แต่กฎระเบียบขัด ผู้คนท้วงติงก็ไม่ฟัง

อีกอย่างหนึ่ง เรื่องที่ตนจะไม่ได้ไม่เสียและไม่มีผลประโยชน์ ก็สักแต่ว่าปัดสวะให้พ้นๆตัวไป ไม่คำนึงถึงแบบอย่างที่เคยมีมา ไม่คำนึงว่าสิ่งทีดีที่พึงปรารถนาควรรีบช่วยกันสร้างให้ประชาชน มิใช่ปล่อยตามยถากรรมในน้ำมือของข้าราช การระบบเช้าชาม-เย็นชาม ฯลฯ

ปรากฏการณ์ หรือความขัดข้องต่างๆ จึงเกิดได้บ่อยๆด้วยประการฉะนี้

แต่วันนี้เราจะพูดแต่เรื่องการโอนครูและการปฏิรูปศึกษาเพียงอย่างเดียว

ก่อนอื่น คนไทยอย่ามัวหลงใหลได้ปลื้มว่าการศึกษาของเราก้าวหน้า เด็กของเราเก่ง ได้รางวัลโอลิมปิกคณิต-วิทยาศาสตร์กันเยอะ นั่นเป็นข้อยกเว้นสำหรับเด็กฐานะดี เข้าโรงเรียนดี มีครูดี-สอนพิเศษดี หรือมีสมองดีเป็นพิเศษ ถึงระบบจะเลวอย่างไร เด็กพวกนี้ก็สามารถเอาดีด้วยโอกาสและความสามารถพิเศษของตนได้

แต่เด็กที่ยากจนกระจัดกระจายอยู่ในโรงเรียนที่ต่ำต้อยทั่วประเทศไทยเป็นอย่างไร เขาโง่เง่าเต่าตุ่นกว่าหรือ เขาไม่สมควรเผยอหน้าไขว่คว้า เช่นนั้นหรือ

เราอย่าติดยึดสถิติหรือตัวชี้วัดของฝรั่งจนเกินไป เราชอบโม้ว่าเรามีผู้รู้หนังสือเกือบร้อยทั้งร้อย เรามีการศึกษาภาคบังคับก่อนหน้าใครในเอเชีย ตั้งแต่ปี 1921 โน่น ยูเนสโกสรรเสริญไทยเป็นตัวอย่าง สิงคโปร์เขาทิ้งเราไปถึงไหนๆ เขาเพิ่งจะมีการศึกษาภาคบังคับ 6 ปีเมื่อปี 2003 นี่เอง มิหนำซ้ำเขาไม่สน ลาออกจากยูเนสโกมาแต่ปีมะโว้ จะมีประโยชน์อะไร ถ้าอ่านออกเขียนได้แต่ยังโง่เขลายากจน หมักหมมอมโรค ปล่อยให้ถูกหลอกและกดขี่อยู่ไม่เว้น ยอมรับเสียเถอะว่านี่เป็นเพราะระบบเลว

ถ้าจะบอกว่าระบบของเราดี เด็กของเราเฉลี่ยแล้วต้องเก่งทุกๆวิชา เหมือนกับลูกศิษย์ของครูสังคม ทองมี ที่เก่งวิชาศิลปะ วาดรูปประกวดได้รางวัลนานาชาติกันเกือบทั้งโรงเรียน ครับ..โรงเรียนไกลปืนเที่ยงจังหวัดเลยของครูสังคม ทองมี

ครูสังคม ทองมี มีตัวตนและจิตวิญญาณผูกติดอยู่กับโรงเรียนในท้องถิ่น โดยไม่คำนึงว่า จะอยู่ใต้สังกัดอะไร

ถ้าหากเรามีครูและโรงเรียนอย่างนี้ ทุกหนทุกแห่ง ทุกวิชา ความล้มเหลวและล้าหลังของการศึกษาบ้านเราคงจะไม่สาหัสถึงเพียงนี้

สาหัสแค่ไหน

เร็วๆนี้ มีประกาศสัมฤทธิผลของการเรียนภาษา อังกฤษทั่วโลก โดยวัดจากการสอบ TOEFL ปรากฏว่าวันนี้เด็กของเราแพ้เด็กเวียดนามกับ ลาว เรียบวุธไปหมดแล้ว เหลือแต่เขมร

เรื่องนี้ รัฐบาล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีศึกษา ฝ่ายค้าน หรือแม้แต่กระทรวงพากันคิดหรือไม่ คงไม่ เพราะฝรั่งไม่ใช่พ่อ มันจะว่าอะไรก็ชั่งหัวมัน

แท้ที่จริงใครๆวิจารณ์ท่านก็ไขหูทั้งนั้น เพราะท่านขี้เกียจคิด ขาดโยนิโสมนสิการ แม้แต่คำวิจารณ์ข้างล่างนี้ ท่านก็หูตึง ไม่ได้ยิน

เดี๋ยวนี้เขาว่าเด็กๆไม่เรียน เด็กๆ แม้แต่ถึงขั้นมหาวิทยาลัย ไม่ค่อยได้- ใช้ความเหมือนคำว่า- ไม่ได้ความ เมื่อไม่ได้ความ อนาคตของชาติอยู่ไหน
ฯลฯ

แต่ก่อนนี้เมืองไทย พวกที่เรียนเลขเมื่อ 50 ปี นับว่าเรียนเก่ง ต่อมาค่อยๆด้อยลง


ถ้าหาก มีหิริโอตัปปะกันบ้าง อย่างน้อย ถึงนายกรัฐมนตรี ไม่ลาออก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯก็อยู่ไม่ได้แล้ว เพราะนั่นคือจริยธรรมของผู้นำในระบบประชาธิปไตย

เพราะนั่นคือ พระราชดำรัสของในหลวง เมื่อ 4 ธันวาคม 2547 กำลังจะครบปีพอดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ก่อนเฉลยปริศนา 4 ข้อในหัวเรื่อง ผมขอเล่าให้ฟังว่า ผู้นำองค์กรครูได้แสดงความคับอกคับใจเรื่องการโอนครูให้ผมฟัง ผมเห็นว่าฟังได้ จึงให้กำลังใจเขาว่า ผมสนับสนุน อยากทำอะไรที่คิดดีแล้วก็ทำเถิด แต่ระวังอย่าให้สังคมเข้าใจผิดว่า ครูคัดค้านการกระจายอำนาจและประชาธิปไตย ครูดูถูก อบต. อบจ.หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครูดูถูกผู้แทนที่ราษฎรที่เลือกขึ้นมาฯลฯ เขาสัญญาว่าไม่ เรื่องนี้ชัดเจน ครูต้องการร่วมมือกับท้องถิ่นและตัวแทนของประชาชน แต่จะต้องหารูปแบบที่ไม่เป็นการทำลายการศึกษา

ในชีวิตนี้ไม่มีอะไรที่ผมเกาะติดเท่าการศึกษา ผมติดต่อกับเครือข่ายผู้นำครูประชาธิปไตยทั่วโลกอยู่เป็นประจำ เพื่อเอาไว้สนับสนุนครูไทย เรื่องนี้ผู้นำองค์กรครูทราบดี และผมก็เปิดกว้างให้กับผู้นำครูไทยตลอดเวลา ผมใช้คำว่าเปิดกว้างเพื่อแสดงว่าผมเน้นความสมัครใจและความเป็นอิสระต่อกัน ผมไม่เคยไปอี๋อ๋อหรือปลุกปั่นเขา ถ้าไม่มีอะไรบางทีเป็นปีก็ไม่ได้เจอกัน หลายอย่างที่พวกเขาเรียกร้องผมก็ไม่เห็นด้วยและตำหนิเขาอย่างตรงไปตรงมาเสมอ ครั้งหนึ่งที่หอประชุมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ใหญ่ทั้งอดีตปัจจุบันของกระทรวงถูกครูโห่ ผมเป็นคนเดียวที่เขายกเว้น ทั้งๆที่ผมวิพากษ์เขาหนักกว่า ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อว่าผมจริงใจ แน่นอน กลุ่มครูที่ตามผู้นำที่มีเป้าหมายการเมืองส่วนตัวก็มีอยู่เหมือนกัน แต่เราจะต้องหวังดีและไม่ค่อนขอดคอยจับผิดครู เหมือนสมุนบางคนของรัฐบาล หากเราไม่ช่วยกันสนับสนุนผู้ที่กำอนาคตลูกหลานเรา เรามีทางเลือกอื่นหรือ อย่างน้อยเราก็ต้องเชื่อว่าครูส่วนใหญ่มีจิตวิญญาณเป็นครู เป็นผู้เสียสละและทำงานหนัก ถ้าไม่เหลืออดจริงๆ คงไม่มีใครทิ้งชั้นมาชุมนุมประท้วง

มีเวลาตั้งเกือบ 5 ปี รัฐบาลมัวทำอะไรอยู่ ดีแต่เปลี่ยนรัฐมนตรีคนแล้วคนเล่า ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานไม่สนใจจัดการ เมื่อเกิดปัญหาจวนตัวจึงค่อย เต้นเหมือนไฟลนก้น

ผมขอเปลี่ยนถ้อยคำ และเฉลยปริศนาทั้ง 4 ต่อไป ดังนี้

1. รัฐบาลขี้เกียจคิด เปลี่ยนเป็น รัฐขี้เกียจคิด เพื่อแสดงว่ามิใช่รัฐบาลไทยรักไทยเท่านั้น รัฐบาลประชาธิปัตย์ ความหวังใหม่และชาติไทย ก็ด้วย กระทรวงศึกษาและระบบราชการก็ด้วย สภาทั้งสองก็ด้วย ไม่เชื่อขอให้องค์กรครูไปติดต่อพรรคไทยรักไทย ขอดูสุนทรพจน์ของหัวหน้าหรือบรรดาผู้นำและกรรมการที่พูดถึงหรือประชุมเรื่องนี้ ขอดูรายงานการประชุม ขอดูเอกสาร ข้อมูล สถิติ การศึกษาวิจัยและหนังสือของพรรคที่ใช้เป็นคู่มือ หรือประชาสัมพันธ์ โทรไปที่ 1212 ของไทยรักไทย ไปประชาธิปัตย์ ไปกระทรวง ฯลฯ ปรากฏว่าไปที่ไหนก็คว้าน้ำเหลว ไม่มี ไม่มี ไม่มี เรื่องสำคัญอย่างนี้จะให้พึ่งแต่อัจฉริยะของผู้นำ หรือกฎหมาย 3-4 วรรคเป็นบรรทัดฐานได้อย่างไร พรรคการเมืองในระบบประชาธิปไตยเขาไม่เป็นอย่างนี้ดอก เขาไม่ขี้เกียจ เขาประชุมนับครั้งไม่ถ้วน เขาตั้งกรรมการศึกษาอย่างละเอียด เขาเสนอทางเลือกที่ดีที่สุดและรองลงมา มีเหตุผลและข้อมูลอ้างอิงทุกๆทางให้เปรียบเทียบกัน และคณะกรรมาธิการในสภาก็ยิ่งต้องขยันกว่านี้ เพราะจะต้องเป็นผู้กลั่นกรองและนำมาให้สภาเลือก

2. ติดกับปฏิรูป เปลี่ยนเป็น ติดหล่มปฏิรูป เพื่อให้เห็นว่าการศึกษาก็เหมือนเรื่องอื่นๆ ที่ต้องติดหล่มรัฐธรรมนูญ ติดหล่มกฎหมาย(ลูก)ประกอบรัฐธรรมนูญ ทำให้ปฏิบัติไม่ได้ หรือปฏิบัติแล้วเสีย ปฏิรูปการศึกษานี้ รับมรดกมาจากประชาธิปัตย์ แต่รัฐขี้เกียจ ทั้งรัฐบาลเก่าและรัฐบาลใหม่ ปล่อยให้ข้าราชการและนักวิชาการที่ร้อนวิชากับอยากจะเอาใจผู้มีอำนาจลากจูงไปเหมือนวัวควาย ปฏิรูปออกมาแล้วการเรียนการสอนไม่ดีขึ้น นักเรียนไม่ดีขึ้น ครูไม่ดีขึ้น เป็นการปฏิรูปโต๊ะเก้าอี้ ยายที่ทำการ เพิ่มงบประมาณและขยายตำแหน่ง ล้วนแต่จะดูดเงินออกจากห้องเรียนทั้งสิ้น

3. เอียงวูบเข้าข้างหัวคะแนน เปลี่ยนเป็น สูบแต่หัวคะแนน เพื่อให้เข้ากับ
บุคลิกของพรรคไทยรักไทย ที่เล่นการเมืองโดยวิธีดูด ดูดทุกอย่างที่ขวางหน้า คำว่าสูบนี้ก็แปลว่าดูดนั่นเอง บรรดาครูทั้งหลายมารายงานว่า ตั้งแต่เลือกตั้งอบต.อบจ.มาแล้ว พรรคไทยรักไทย ดูดๆๆสูบๆๆๆ ไม่มีเลือก คือซื้อทั้ง2 ฝ่ายที่แข่งขันกัน ใครชนะก็เอาไว้เป็นพวก ใครแพ้ก็เอาไว้เป็นหัวคะแนน งบที่ประเคนไปให้นั้น รวมทั้งงบศึกษาที่จะโอนไปตามรัฐธรรมนูญเกรงว่าจะไปแจกหาเสียงวุฒิสมาชิกหมด ดร.บุญทัน ดอกไธสง อดีตรองประธานวุฒิสภาเห็นว่าการต่อสู้ของครู เป็นการต่อสู้เพื่อสถาน ภาพเดิม คือกระทรวงศึกษา แต่ก็เห็นใจ เพราะเห็นว่าการเมืองแบบสูบหรือดูดนี้ได้ทำลายวุฒิสภาจน dysfunctional แปลว่าทำหน้าที่มิได้อยู่แล้ว วุฒิสภาที่จะเลือกใหม่มีนาคมนี้จะยิ่งกว่า เพราะจะเป็นทายาทอสูรถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเงื่อนไขและเงื่อนเวลาดังนี้ คำคัดค้านของครูจึงมีน้ำหนัก

4. เหยียบแบนการศึกษา เปลี่ยนเป็น บี้แบนการศึกษา เพื่อแสดงว่าไม่มีตัวบุคคลที่ต้องการเหยียบการศึกษา แต่การศึกษาต้องบี้แบนเพราะ ระบบ คือระบบการเมืองที่ขี้เกียจคิด มักได้และมักง่าย ตกอยู่ใต้เวทมนต์และกลไกของกระทรวงศึกษา ซึ่งดูดเงินจากห้องเรียนไปให้การบริหารที่ไร้ปัญญาที่แม้จะบริหารเนื้อที่ ห้องทำงานและระเบียงของกระทรวงเอง ก็ไม่เป็น(ดูรูป)

เพราะฉะนั้น การชุมนุมของครูในวันที่ 29-30 พฤศจิกายนนี้ จะต้องไม่หยุดอยู่แค่การแก้กฎหมาย ให้ครูอยู่ใต้สถานภาพเดิมเท่านั้น ครูกับรัฐบาลคือรัฐมนตรีว่าการศึกษาจะต้องร่วมกันตั้งคณะกรรมการที่ไม่ขี้เกียจและสามารถคิดเรื่องการปฏิรูปการศึกษาให้ตลอด จนกระทั่งสามารถจัดโครงสร้างที่จะส่งเสริมการกระจายอำนาจ ประชาธิปไตย และการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ปราศจาก 3 สิ่งนี้ ทำอย่างไร นักเรียน โรงเรียน และชุมชนของเราก็ไม่มีวันดีขึ้น

ปราศจาก 3 สิ่งนี้ ทำอย่างไร ความยุติธรรมทั่วถึง คุณภาพและมาตรฐาน ความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน ก็ไม่มีวันเกิดขึ้นได้ในวงการศึกษาไทย

รูปภาพ
การบริหารพื้นที่ภายในกระทรวง กองหนังสือผลงาน(ทางปัญญา) ที่กองอยู่เป็นปีๆบนระเบียง  
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

รากเหง้าของปัญหา การถ่ายโอนการศึกษาให้อปท.

โดย จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย นักวิจัยสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

"ศึกแห่งศักดิ์ศรี" ระหว่างกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ออกมาคัดค้านการถ่ายโอนอำนาจการศึกษาไปสังกัดองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) กับสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกทับบลั๊ฟฟ์แหลกกันด้วยจำนวนคนและพลังอำนาจว่าใครมีมากกว่าใคร

เป็นสงครามตัวแทนระหว่างรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากการถ่ายโอนอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น พ.ศ.2542 ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 284

ซึ่งเป็นกฎหมายที่คลอดออกมาในสมัยที่นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลผสม โดยมีพรรคร่วมรัฐบาลประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคเสรีธรรม พรรคเอกภาพ และพรรคชาติพัฒนา และสมัยนั้นกระทรวงศึกษาธิการอยู่ในความรับผิดชอบหลักของพรรคชาติไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เริ่มจากนายชุมพล ศิลปอาชา ต่อมาคือนายปัญจะ เกสรทอง และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล

แม้ว่าโดยหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หรือรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนจะมีบทบัญญัติหลายมาตราที่มีคุณูปการต่อการปฏิรูปการเมืองการปกครองหรือการบริหารราชการแผ่นดินไทย เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย

แต่ด้วยวิธีการ กระบวนการของวัฒนธรรมทางการเมืองและวัฒนธรรมข้าราชการไทย ก็มีส่วนทำให้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่บางคนบอกว่าดีที่สุดหนึ่งในสิบของรัฐธรรมนูญของโลกปัจจุบัน กลายเป็นดาบสองคม

และสร้างความเสียหายร้ายแรงอย่างคาดไม่ถึง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

โดยเฉพาะการถ่ายโอนอำนาจการจัดการศึกษาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อ้างว่าดำเนินการตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอันเป็นหัวใจสำคัญในสาระบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

อันที่จริง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยที่มีอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ยังไม่ใช่ "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ตามสาระบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้มีมาก่อนรัฐธรรมนูญ

และที่สำคัญมีที่มา โครงสร้างอำนาจหน้าที่ที่ยังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะความเป็นอิสระในการบริหารจัดการหรือการตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นตามเจตนารมณ์และหลักการของการปกครองตนเอง อันเป็นสาระหลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับสากลของนานาอารยประเทศ

ดังตัวอย่างในบางมาตราของรัฐธรรมนูญ 2540 ต่อไปนี้

มาตรา 78 "รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐาน สารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น"

มาตรา 282 "ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น"

มาตรา 283 "ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ย่อมมีสิทธิได้รับจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่จำเป็นตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่ต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม ทั้งนี้จะกระทบถึงสาระสำคัญแห่งหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือนอกเหนือจากกฎหมายบัญญัติไว้มิได้"

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงได้ชื่อว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการปกครองตนเองในระบอบประชาธิปไตย แต่การปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยที่มีมานานนับร้อยปีในหลากหลายรูปแบบทั้งสุขาภิบาล เทศบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล

ล่าสุดกระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะสุขาภิบาลทั่วประเทศเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 อันเป็นการยกเลิกสุขาภิบาลไปโดยปริยาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ล้วนตกอยู่ภายใต้การครอบงำ การแทรกแซงจากราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนกลางโดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยมาโดยตลอด

ปัญหาของการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีมาตลอดกว่าหนึ่งศตวรรษ มีดังนี้

หนึ่ง-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกทำให้อ่อนแอ เนื่องจากถูกครอบงำจากราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีการรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลาง เป็นการลดอำนาจของชุมชนและท้องถิ่นไปโดยปริยาย

สอง-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแต่หน้าที่แต่ไม่มีอำนาจที่แท้จริงในหลายๆ ด้าน เช่น การกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง การจราจร เป็นต้น

สาม-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกทำให้ยากจนเนื่องจากไม่มีอิสระในเรื่องการเงินการคลัง ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจัดเก็บและการจัดสรรภาษีเงินได้ของตนเอง

สี่-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกแบ่งแยกแล้วปกครองด้วยการจัดให้มีการปกครองหลายรูปแบบ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล สร้างความสับสนซับซ้อนทั้งในเรื่องโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และพื้นที่รับผิดชอบ เป็นการสร้างความแตกแยกจนยากที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น ทันการ และมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของการปกครองส่วนท้องถิ่นที่แท้จริง

ห้า-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรอบประมาณกว่าหนึ่งศตวรรษ ถูกบังคับบัญชาจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมากกว่าการกำกับดูแลและสนับสนุนตามที่ควรจะเป็น เนื่องจากความไม่เสมอภาคกันในระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางโดยระบบราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคกับรัฐบาลท้องถิ่นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีฐานะเป็นแค่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาของราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค เช่น ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดีที่เกี่ยวข้อง ปลัดกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี

หก-ประชาชนไม่ค่อยมีส่วนร่วมและไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาต่างๆ ข้างต้น และเงื่อนปนอื่นๆ อีกมากมายซึ่งเป็นข้อจำกัดในวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมไทย

ด้วยเหตุและปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเป็นพื้นฐาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันจึงได้บัญญัติเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ความเป็นอิสระของท้องถิ่น และเจตนารมณ์ ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นไว้ในหลายมาตรา ได้แก่ มาตรา 78, 283 และ 284 เป็นต้น โดยเฉพาะมาตรา 284 ถือได้ว่าเป็นแม่บทของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง ดังบทบัญญัติที่ว่า

"องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลายย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การบริหารบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ" และการที่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว มาตรา 284 วรรคสองบัญญัติว่า "การกำหนดอำนาจและหน้าที่ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ" เช่นเดียวกับวรรคสามที่บัญญัติว่า "เพื่อพัฒนาการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ..."

แม้ว่ารัฐบาลปัจจุบันจะประสบความสำเร็จในการดำเนินนโยบายแบบประชานิยม "ลดแลกแจกแถม" ตามยุทธศาสตร์การนำแผนการตลาดมาใช้กับการบริหารบ้านเมืองและการบริหารการเมือง(จนแยกไม่ออกว่าอันไหนเป็นภารกิจของพรรคการเมือง อันไหนเป็นภารกิจของรัฐบาล และอันไหนเป็นธุรกิจของครอบครัว-วงศาคณาญาติ)

แต่รัฐบาลนี้ก็ประสบความล้มเหลวในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษา การแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดเท่าที่ประเทศนี้เคยมีมา

ดังนั้น ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการถ่ายโอนอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งที่สะท้อนธาตุแท้ของวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยที่ยังเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า-คับแคบ ยังไม่พัฒนาไปสู่การเมืองแบบมีส่วนร่วมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากคุณภาพของประชากรทุกภาคส่วนยังไม่เอื้อต่อการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มิหนำซ้ำ ในบางกรณีกลับดำเนินการไปในลักษณะตรงกันข้ามเพื่อตอบสนองระบบอำนาจนิยมภายใต้โครงสร้างสังคมแบบอุปถัมภ์ ศักดินาสวามิภักดิ์

อันเป็นการยืนยันสัจพจน์ที่ ดร.สาโรช บัวศรี ผู้อาวุโสทางการศึกษาไทย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เคยกล่าวว่า "คุณภาพของประเทศจะมีเกินคุณภาพของประชากรไปไม่ได้"
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

นโยบาย ทรท.-รัฐบาล ไม่มีเรื่องถ่ายโอนการศึกษา

โดย บุญเลิศ ช้างใหญ่

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้มีการถ่ายโอนการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนดให้การจัดการศึกษาอบรมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนเข้ามีส่วนร่วม

ทั้งๆ ที่พระราชบัญญัติ 2 ฉบับที่ออกโดยรัฐสภาสมัยที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งเขียนไว้ต่างกัน

และทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ก็มิได้มีการบัญญัติเรื่องการถ่ายโอนการศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแม้แต่คำเดียว

แต่รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เลือกที่จะถือเอาพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้มีการถ่ายโอนการศึกษา


ความจริง รัฐบาล "ทักษิณ 1" ในช่วงปลายเทอม (นายอดิศัย โพธารามิก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) มีสิทธิที่จะรับฟังความเห็นของครูและผู้เกี่ยวข้องในวงการศึกษาว่า รัฐบาลควรจะหาทางออกที่ดีที่สุดต่อการศึกษาของชาติอย่างไร ตรงกันข้าม เมื่อครูรวมตัวกันคัดค้าน คณะรัฐมนตรีกลับมีมติให้ชะลอการถ่ายโอนไว้ก่อน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบ "ซื้อเวลา" เพราะรู้ว่าถ้าขืนดันทุรังต่อไป อาจเกิดผลกระทบต่อคะแนนเสียงของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง ส.ส.

ในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา (6 กุมภาพันธ์ 2548) พรรคไทยรักไทยมิได้นำเสนอนโยบายด้านการศึกษาอย่างเป็นกิจจะลักษณะและมิได้แสดงท่าทีว่าจะเอาอย่างไรกับปัญหาการถ่ายโอนการศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ย้อนกลับไปพลิกดู แผ่นปลิว แผ่นพับ ของพรรคไทยรักไทยที่พิมพ์เผยแพร่ต่อประชาชนทั่วประเทศเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งที่ผ่านมาเมื่อตอนต้นปี มีพูดถึงเรื่องการศึกษาดังนี้

"สร้างโอกาส สังคมคุณภาพ...พัฒนาและขยายโรงเรียน โรงพยาบาล สู่มาตรฐานที่ดีขึ้น"

"สร้างโอกาสทางปัญญา เปิดโอกาสทางความคิดให้เด็กไทยทุกระดับ ให้ทุกโรงเรียนติดอินเตอร์เน็ต เด็กไทยทุกคนได้เรียนถึงมหาวิทยาลัย

o เด็กโตต้องได้เรียนจนถึงมหาวิทยาลัย (ถ้าเรียนได้ เงินไม่มียังไม่ต้องจ่าย จบแล้วค่อยผ่อนใช้คืนเมื่อมีงานทำ)

o เด็กเล็ก จะมีคาราวานเสริมสร้างเด็ก บุกทุกบ้าน ให้ความรู้ในการเลี้ยงดูลูกเพื่อเติบโตอย่างมีคุณภาพ

o ทุกโรงเรียนทั่วประเทศติดคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต"

สำหรับแผ่นพับ "ก้าวสู่อนาคตที่มั่นคง เลือกเบอร์ 9 ทั้งคนทั้งพรรค" ได้กล่าวถึงภารกิจของพรรคไทยรักไทยในการสร้างชาติให้แข็งแกร่งยั่งยืน ในจำนวน 16 ข้อนั้นมีอยู่ข้อหนึ่ง ระบุว่า "ติดคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต"

นี่คือนโยบายพรรคไทยรักไทยใน "4 ปีสร้าง" ที่ไม่มีนโยบายเรื่องการถ่ายโอนการศึกษาซึ่งเป็นปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่ นโยบายการศึกษามีแต่เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเท่านั้น

น่าเสียดายที่การหาเสียงของพรรคไทยรักไทย วงการครูไม่ได้แสดงพลังเพื่อจะสอบถามความชัดเจนจากพรรคไทยรักไทยว่าจะเอาอย่างไรเรื่องการถ่ายโอนการศึกษาเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือพรรคอื่น ผลการเลือกตั้งผ่านไป พรรคไทยรักไทยกวาด ส.ส.ไปได้ถึง 377 เสียง

หลังการเลือกตั้งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พ.ต.ท.ทักษิณยังแต่งตั้งนายอดิศัยให้กลับมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งๆ ที่นายอดิศัยไม่อยากจะกลับมาอีกและบรรดาครูก็ต้องการรัฐมนตรีที่เข้าใจครู เข้าใจการศึกษา จะถือเป็นความผิดพลาด บกพร่องของ พ.ต.ท.ทักษิณหรือเปล่าที่นายอดิศัยอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่เดือนก็มีอันปรับ ครม.ให้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแทน

เมื่อไม่มีนโยบายของพรรคไทยรักไทยที่ให้ความกระจ่างก็เท่ากับไม่มีข้อผูกมัดในลักษณะสัญญาประชาคม

ทีนี้มาดูที่นโยบายของคณะรัฐมนตรี "ทักษิณ 2" ที่ พ.ต.ท.ทักษิณยืนขึ้นแถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาน่าจะอยู่ในข้อ 2 ว่าด้วย "นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ" อ่านดูทั้งหมดก็ไม่เห็นมีข้อความใดกล่าวถึงปัญหาการถ่ายโอนการศึกษา

นโยบายการศึกษาของคณะรัฐมนตรี มีดังนี้

"รัฐบาลจะเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอนทุกรูปแบบสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และสนับสนุนให้มีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต โดยคำนึงถึงคุณค่าของลักษณะเฉพาะเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รัฐบาลจะส่งเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสืออย่างจริงจังตั้งแต่เด็กจนตลอดชีวิต เพื่อรองรับสังคมเศรษฐกิจบนฐานความรู้ พัฒนาทักษะและการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในช่วงวัยทำงานอย่างเป็นระบบ และพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของแรงงาน เยาวชนไทยทุกคนจะได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างน้อย 12 ปี รัฐบาลจะจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต สนับสนุนการศึกษาของเยาวชนตั้งแต่ ปวส.ถึงอุดมศึกษา โดยรัฐจะให้โอกาสในการศึกษาและผ่อนชำระเมื่อมีรายได้

รัฐบาลจะสนับสนุนให้โรงเรียนที่มีชื่อเสียงสามารถระดมทุนเองได้ เพื่อสร้างเครือข่ายของโรงเรียนและเป็นพี่เลี้ยงให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ต่างๆ ที่มีความต้องการร่วมสร้างคุณภาพการศึกษา..."

สรุปแล้วทั้งนโยบายพรรคไทยรักไทยและนโยบายคณะรัฐมนตรี "ทักษิณ 2" ไม่มีอะไรที่จะถูกทวงถามจากวงการครูว่าไม่รักษาสัจจะวาจาเพราะไม่เคยให้สัจจะวาจาอะไรเอาไว้ ซึ่งเป็นการเปิดทางให้คณะรัฐมนตรีจะบริหารงานในกระทรวงศึกษาธิการอย่างไรก็ได้

อะไรที่ทำไปแล้วหรือคิดแล้วไม่เข้าท่าถูกคัดค้านจากสังคม คณะรัฐมนตรีก็สามารถประกาศยกเลิกได้ทันทีทันใด เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณเคยพูดไว้ว่า ไม่กลัวการเสียหน้า อะไรที่ผิดก็จะยกเลิก สำหรับการถ่ายโอนการศึกษา พ.ต.ท.ทักษิณเห็นว่าต้องดำเนินการต่อไป แต่ยอมให้แก้พระราชบัญญัติกำหนดแผนฯเป็น "ความสมัครใจ" ของผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา ไม่มีการบังคับ แต่ครูจำนวนหนึ่งไม่ยอมรับ ต้องการให้ตัดคำว่า "ความสมัครใจ" ทิ้งไป ซึ่งประเด็นนี้กลายเป็นความขัดแย้งในวงการครูด้วยกัน

โดยหลักแล้ว รัฐบาล "ทักษิณ 2" ที่พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นจนตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียว ควรจะเสนอนโยบายการศึกษาให้เป็นระบบว่า 4 ปี จะทำอะไร อย่างไร ทิศทางการศึกษาจะไปทางไหน เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร ไม่ใช่จะมีแต่เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต และการให้กู้เงินไปเรียน ดังที่เสนอขึ้นมา
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ดังตัวอย่างในบางมาตราของรัฐธรรมนูญ 2540 ต่อไปนี้

มาตรา 78 "รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐาน สารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น"

มาตรา 282 "ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น"

มาตรา 283 "ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ย่อมมีสิทธิได้รับจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่จำเป็นตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่ต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม ทั้งนี้จะกระทบถึงสาระสำคัญแห่งหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือนอกเหนือจากกฎหมายบัญญัติไว้มิได้"

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงได้ชื่อว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการปกครองตนเองในระบอบประชาธิปไตย แต่การปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยที่มีมานานนับร้อยปีในหลากหลายรูปแบบทั้งสุขาภิบาล เทศบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล

ล่าสุดกระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะสุขาภิบาลทั่วประเทศเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 อันเป็นการยกเลิกสุขาภิบาลไปโดยปริยาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ล้วนตกอยู่ภายใต้การครอบงำ การแทรกแซงจากราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนกลางโดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยมาโดยตลอด

ปัญหาของการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีมาตลอดกว่าหนึ่งศตวรรษ มีดังนี้

หนึ่ง-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกทำให้อ่อนแอ เนื่องจากถูกครอบงำจากราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีการรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลาง เป็นการลดอำนาจของชุมชนและท้องถิ่นไปโดยปริยาย

สอง-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแต่หน้าที่แต่ไม่มีอำนาจที่แท้จริงในหลายๆ ด้าน เช่น การกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง การจราจร เป็นต้น

สาม-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกทำให้ยากจนเนื่องจากไม่มีอิสระในเรื่องการเงินการคลัง ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจัดเก็บและการจัดสรรภาษีเงินได้ของตนเอง

สี่-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกแบ่งแยกแล้วปกครองด้วยการจัดให้มีการปกครองหลายรูปแบบ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล สร้างความสับสนซับซ้อนทั้งในเรื่องโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และพื้นที่รับผิดชอบ เป็นการสร้างความแตกแยกจนยากที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น ทันการ และมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของการปกครองส่วนท้องถิ่นที่แท้จริง

ห้า-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรอบประมาณกว่าหนึ่งศตวรรษ ถูกบังคับบัญชาจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมากกว่าการกำกับดูแลและสนับสนุนตามที่ควรจะเป็น เนื่องจากความไม่เสมอภาคกันในระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางโดยระบบราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคกับรัฐบาลท้องถิ่นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีฐานะเป็นแค่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาของราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค เช่น ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดีที่เกี่ยวข้อง ปลัดกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี

หก-ประชาชนไม่ค่อยมีส่วนร่วมและไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาต่างๆ ข้างต้น และเงื่อนปนอื่นๆ อีกมากมายซึ่งเป็นข้อจำกัดในวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมไทย

ด้วยเหตุและปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเป็นพื้นฐาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันจึงได้บัญญัติเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ความเป็นอิสระของท้องถิ่น และเจตนารมณ์ ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นไว้ในหลายมาตรา ได้แก่ มาตรา 78, 283 และ 284 เป็นต้น โดยเฉพาะมาตรา 284 ถือได้ว่าเป็นแม่บทของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง
แล้วอย่างนี้ ที่ครูเขาประท้วงไม่ยอมไปอยู่กับ อปท.ถือว่าผิดเจตนารมภ์รัฐธรรมนูญไหมครับ

มิน่าหละ  สส.ทั้งสภาไม่ว่า ทรท. ปชป.ถึงยกมือเห็นด้วยเกือบหมด  มีอยู่ 29 คนที่ยกมือคัดค้านเท่านั้นเอง
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ดังนั้น.....ถ้าครูยังใช้วิธีเดิมๆละก็ จะไปชนตอชิ้นเบ้อเริ่มเลยทีเดียว เพราะมันคือตอรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม  วิธีแก้ปัญหาก็ยังพอมีทางอยู่มั้งครับ ถ้าจะทำในสิ่งที่ทุกคนยอมรับตรงกันว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่าและรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้เขียนไว้เจาะจงนัก

ผมจะลองเปรียบเทียบประสบการณ์ที่เจอจากกระทรวงสาธารณสุขกับกระทรวงศึกษาธิการดู  ผิดถูกอย่าว่ากันนะครับ

ในแง่นโยบายการปฎิรูป    นโยบาย30บาทนี้มีที่มาที่ไปที่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบรายละเอียด กล่าวคือ  เริ่มต้นจากกลุ่มนักวิชาการในกระทรวงและ ผอ.โรงพยาบาลหลายท่าน(หมอเลี้ยบเป็นคนหนึ่งในทีม ตอนหลังก็ถูกดึงไปเป็นรัฐมนตรี)ได้ช่วยกันคิดหาวิธีที่จะปฏิรูประบบสาธารณสุขให้ดีขึ้นโดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเป็นเครื่องมือหลักในการแก้ปัญหาสาสุขทั้งระบบ  

แต่กลุ่มผู้บริหารระดับสูงไม่เห็นด้วย เพราะว่าระบบใหม่ไปลดอำนาจของกระทรวงลง  ทำให้ไม่มีโอกาสเกิดสักที  แต่ระบบนี้ไปถูกใจคุณทักษินเข้า(ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นนายก) จึงนำมาปรับเป็นโครงการ 30 บาทแล้วก็ใช้โฆษณาหาเสียง เมื่อได้รับเลือกตั้งนโยบายนี้จึงถูกนำมาปฏิบัติ  และเกินกำลังที่ผู้บริหารจะคัดค้าน แต่ว่าแม้จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการคัดค้านเล็กน้อยประปรายอยู่บ้าง
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ถ้าเปรียบเทียบประเด็นนี้กับกระทรวงศึกษา  ก็จะมีประเด็นที่แตกต่างพอสมควร เช่น ของศึกษา

1 ผู้บริหารไม่ได้คัดค้าน เพราะไม่กล้าค้านนักการเมือง  

2 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย

3 นโยบายไม่ได้มีการลองใช้  ของสาสุขมีการทดลองใช้หลายพื้นที่ตั้งแต่ก่อนที่คุณทักษิณจะได้เป็นนายก

4 ระบบใหม่นี้เกิดจากรัฐธรรมนูญบังคับ  เข้าทำนองผู้ซื้อไม่ได้ใช้ ผู้ใช้ไม่ได้ซื้อ  ครูเลยไม่ค่อยชอบใจและรู้สึกเหมือนถูกบังคับ เพราะไม่ได้มาจากคิดเองทำเอง
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

5 สำคัญที่สุด(ในความคิดผม) ระบบใหม่นี้มีความชัดเจนในเรื่องอำนาจว่าใครจะไปที่ไหน เจ้านายใหม่จะเป็นใครและเงินจะโอนโดยวิธีใด  แต่เรื่องเหล่านี้ล้วนแต่เป็นหัวข้อที่สร้างจุดแตกต่างทางความคิด  และมีเรื่องให้ทะเลาะกันได้ทุกเรื่อง

สิ่งที่จะเป็นจุดร่วมไม่ค่อยมีการพูดถึงและไม่มีความชัดเจน  การเปลี่ยนความคิดมาสู่การปฏิบัติโดยคนหมู่มากจึงสำเร็จได้ยาก


จุดร่วมที่ควรจะนำมาเป็นประเด็นหลักและจะทำให้อีกฝ่ายเถียงไม่ออกหรือเถียงไม่ค่อยขึ้น  ก็คือ ระบบใหม่นี้จะดีต่อนักเรียนอย่างไร  และจะดีต่อระบบการศึกษาอย่างไร ประเด็นอื่นๆน่าจะเป็นเรื่องรอง  อปท.ก็มัวแต่ห่วงตัวเอง  ครูก็มัวแต่ห่วงตัวเอง  ทั้งที่ผู้ที่มีความสำคัญอันดับหนึ่ง คือ นักเรียนและระบบการศึกษา ในฐานะคนไทยคนหนึ่งผมเองก็อยากให้มีการปฏิรูปการศึกษาให้ดีกว่าทุกวันนี้ เพราะทุกวันนี้ไม่ค่อยดีนัก
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ถ้าเอานักเรียนเป็นตัวตั้ง  แล้วลดอัตตาของตัวเองลง ก็จะมีจุดร่วมมากมายให้เลือกคิดเลือกทำ และเมื่อได้ผลสรุปถึงวิธีที่ดีที่สุดแล้ว(เท่าที่ทำได้) จะย้ายจะโอนหรือไม่ก็เป็นเรื่องรอง

ในแง่ความสำคัญรองลงมา ถ้าให้เปรียบเทียบระหว่างครูกับอปท. ผมก็ว่าครูมีความสำคัญมากกว่าอปท.ที่จะมีส่วนทำให้ระบบใหม่มีโอกาสสำเร็จลงได้ ถ้าเรียงลำดับความสำคัญผิดก็เป็นเรื่องยากที่จะสำเร็จได้อย่างราบรื่น(แต่รัฐสภากลับให้ความสำคัญกับ อปท.มากกว่าเพราะเป็นฐานเสียงของทั้ง ทรท.และปชป. ที่จริงเรื่องบริหารแบบนี้ควรจะเป็นบทบาทหลักของรัฐบาล ทรท. แต่ไม่ยอมทำ)

ตอนเริ่มนโยบาย 30 บาทใหม่ๆ ก็มีเสียงค้านกันมากมาย  แต่พอบอกว่า เอาประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก อย่างอื่นเป็นเรื่องรอง  เสียงค้านต่างๆก็เริ่มมีน้ำหนักน้อยลงๆ  จนกระทั่งการคัดค้านในช่วงหลังๆเป็นเรื่องของวิธีการปฏิบัติ(เทคนิค)เท่านั้นไม่ใช่เรื่องของหลักการ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

เป็นแง่คิด ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มากคับ ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยคับ...

มหาชนคนรู้น้อย ไม่ค่อยได้ศึกษาอย่างละเอียดมากนัก ได้มาอ่านความคิดเห็นของท่านแล้วรู้สึกดี มีโลกทัศน์กว้างขึ้น..

อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกและความคาดหวังส่วนตัวก็คือ อยากจะให้เด็กไทยรุ่นต่อๆไป มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา มีความเป็นเลิศทางการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานของศีลธรรมและความมีอิสระในการเลือกที่หลากหลายโดยรัฐมีหน้าที่สนับสนุนทุกด้าน มิใช่ถ่วงต้านโดยอาศัยอำนาจทางการเมืองเพียงหวังผลในการเลือกตั้งในอนาคต...

สำหรับประเด็นการชุมนุมของครูที่เดินทางเข้ามาที่ก.ท.ม.นั้น อยากให้ทุกท่านลองอ่านความคิดของคุณครูทั้งหลาย ว่าทำไมต้องมา และคาดหวังอะไร จากกระทู้ 3 หัวข้อที่จะนำมาให้อ่านกัน..ในหลายคำตอบนั้นเป็นคำตอบจากคุณครูจริงๆที่เข้าใจปัญหาและเข้าใจบทบาทของเพื่อนครู..และแน่นอนมีป่วนบ้างตามประสาบอร์ดสาธารณะ...

อาจจะทำความเข้าใจอะไรได้บ้าง ไม่มากก็น้อย เชิญทัศนา...

- คุณเห็นด้วยหรือไม่กับการโอนครูจาก ศธ. ไปสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น


-ม๊อบ คุณครู มาแล้ว 3หมื่น แต่ก้อยังมีอะไรน่าแปลกใจนะครับลองมาออกความเห็นกันครับ


- ม็อบครู มา ช่วยกัยอธิบายหน่อย

ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นคับ..
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ส่วนบทความต่อไปนี้ อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับการประท้วงถ่ายโอนการศึกษาของครูก็ได้ ...อาจจะบอกความรู้สึกของครูก็ได้ อ่านเป็นเกร็ดก็แล้วกันคับทุกท่าน...

*************************************************************************

ครูกับการประท้วง

โดย วรศักดิ์ มหัทธโนบล 7 ธันวาคม 2548  


      ช่วงนี้มีข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการประท้วงของคุณครูออกมาอย่างต่อเนื่อง เป็นการประท้วงเรื่องที่ตนกำลังจะถูกย้ายไปสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)      
      ตอนแรกของการประท้วงก็ยังดูว่าคุณครูกลมเกลียวกันอยู่ แต่แล้วจู่ๆ ก็ปรากฏว่ามีกลุ่มครูในส่วนที่เป็นโรงเรียนมัธยมออกมาแสดงความต้องการที่จะไปสังกัด อปท. ขึ้นมา ทำให้เสียงของครูทั่วประเทศแตกออกเป็นสองส่วนขึ้นมาทันที ส่วนเรื่องราวจะลงเอยอย่างไรนั้น คิดว่าคงต้องใช้เวลาอีกนาน
     
      ตอนนี้ก็ได้แต่นั่งดูว่า รัฐบาลจะแก้ปัญหาอย่างไร?
     
      ผมขึ้นต้นอย่างนี้อย่าเพิ่งเข้าใจไปว่าผมกำลังจะแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ จริงๆ แล้วความเห็นนั้นมีอยู่ แต่ต้องเขียนต่างหากเป็นบทความอีกชิ้นหนึ่ง
     
      แต่ที่เกริ่นนำเรื่องขึ้นมาก็เพราะนึกขึ้นมาได้ว่า ในช่วงต้นของการประท้วงนั้นได้มีครูอยู่จำนวนหนึ่งได้ทำการโกนหัวและกรีดเลือดประท้วง จากนั้นก็มีเสียงติติงว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมกับความเป็นครู ซึ่งจะต้องเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์
     
      ต่อมา, กลุ่มครูที่ประท้วงแบบนั้นก็ออกมาชี้แจงว่า ที่ตนทำเช่นนั้นเป็นไปโดยสำนึกอยู่ตลอด และยืนยันถึงแนวทางสันติวิธีของการต่อสู้ประท้วงในครั้งนี้ ซึ่งฟังดูแล้วเข้าใจว่า ครูกลุ่มนี้เชื่อว่าสิ่งที่ตนทำไปไม่เสียหายตามเสียงติติงดังกล่าว
     
       ก่อนที่เราจะหาข้อสรุปถึงความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมต่อรูปแบบการประท้วงดังกล่าว ผมใคร่ขอเล่าเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องจริงในประวัติศาสตร์สมัยใหม่และเกี่ยวข้องกับรูปแบบการประท้วงที่ว่าอยู่พอสมควร
     
       เรื่องที่ว่านี้เกิดขึ้นในแผ่นดินจีนสมัยที่ เจียงไคเช็ก ยังเป็นผู้นำปกครองประเทศอยู่ในแผ่นดินใหญ่ เวลานั้นคนทั้งโลกต่างเห็นตรงกันว่า เจียง ใช้อำนาจการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ และที่รู้กันโดยทั่วไปก็คือ รู้ว่า เจียง ได้ใช้อำนาจของตนทำการฉ้อฉลแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและพรรคพวกหยิบมือเดียว  
   
       การใช้อำนาจดังกล่าวของ เจียง นั้นเกิดขึ้นอย่างจริงๆ จังๆ หลังจากที่เขาเผด็จอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จนับแต่ปี ค.ศ.1927 เรื่อยมา และกลุ่มที่ได้ผลประโยชน์จากอำนาจของ เจียง ก็มีอยู่เพียงไม่กี่กลุ่มตระกูล (ซึ่งรวมทั้งตัวเขาเองด้วย) การฉ้อฉลเรื่องหนึ่งที่อื้อฉาวมากก็คือ การฉ้อฉลที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ เจียง ได้เปิดให้มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาขายให้แก่คนจีน เรื่องเช่นนี้คงไม่เป็นเรื่องขึ้นมาหากเป็นการค้าขายกันตามปกติ แต่ที่ไม่ปกติก็คือว่า สินค้าที่นำเข้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่จีนเองก็ผลิตได้ เช่น แป้งสาลี เหล็กกล้า ปูนซิเมนต์ เป็นต้น
     
       ที่ว่าไม่ปกติก็คือว่า ทั้งๆ ที่เป็นสินค้าที่จีนก็ผลิตได้เอง แต่รัฐบาล เจียง กลับไปเก็บภาษีนำเข้าของสินค้าเหล่านี้ต่ำสุดๆ จนทำให้สินค้าเหล่านี้สามารถตั้งราคาขายได้ถูกกว่าที่จีนผลิตเอง และที่ว่าถูกนี้ไม่ใช่ถูกแค่บาทสองบาท แต่ถูกกว่าเป็นเท่าตัว
     
       ยิ่งเมื่อเป็น ของนอก ด้วยแล้ว คนจีนต่างก็พากันแห่ไปซื้อสินค้าจากเมืองนอกเหล่านี้ และทำให้สินค้าที่ผลิตเองในจีนขายไม่ได้ จนโรงงานหลายแห่งต้องปิดไปตามๆ กัน
     
       สิ่งที่ผมควรบอกด้วยก็คือว่า บริษัทที่นำเข้าสินค้าเหล่านี้นั้นไม่ใช่ใครที่ไหน หากคือบริษัทของคนไม่กี่ตระกูลที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในขณะนั้น พูดง่ายๆ ก็คือว่า ตระกูลเหล่านี้ไม่สนใจว่าผู้ประกอบการชาวจีนจะเป็นตายร้ายดีอย่างไร ขอแต่ให้ตนได้ผลประโยชน์เป็นพอ
     
       เรียกได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่อายฟ้าดินกันจริงๆ!
     
       แล้วเรื่องนี้มาเกี่ยวกับครูบาอาจารย์ได้อย่างไร? เกี่ยวอย่างนี้ครับ...คือปรากฏว่า ในขณะที่รัฐบาลไม่อายฟ้าดินนั้น คนที่เป็นครูกลับอับอายแทน เวลานั้นครูบาอาจารย์ตามสถานศึกษาจำนวนมากต่างพากันเรียกร้องให้ชาวจีนซื้อสินค้าจีนที่มีราคาแพงกว่า และตัวของครูก็ทำเป็นตัวอย่างให้เห็น
     
       บรรดาครูบาอาจารย์ทำไปทั้งๆ ที่รู้ว่ายาก เพราะโดยอาชีพครูแล้วยังอยู่ในวิสัยที่จะกัดฟันซื้อสินค้าจีนที่แพงกว่าได้ แต่กับชาวจีนส่วนใหญ่แล้วกลับตรงข้าม เพราะในภาวะที่ข้าวยากหมากแพงหลังสงครามนั้น ชาวจีนไม่อยู่ในวิสัยที่จะไปซื้อสินค้าที่จำเป็นด้วยราคาที่สูงกว่า สินค้าที่ว่าก็คือ แป้งสาลี ที่ชาวจีนต้องนำมาทำเป็นอาหารเลี้ยงตัวเอง
     
       เมื่อแป้งสาลีของจีนขายไม่ได้ โรงงานที่ผลิตก็อยู่ไม่ได้ เมื่อโรงงานอยู่ไม่ได้ เกษตรกรผู้ปลูกช้าวสาลีก็ล่มจมไปด้วย
     
      ถึงตรงนี้, สถานการณ์ก็เขม็งเกลียวขึ้นมา เมื่อมีครูในมหาวิทยาลัยคนหนึ่งทนอับอายที่มีรัฐบาลแบบนี้ไม่ไหว ลุกขึ้นมาประท้วงด้วยการผูกคอตาย แต่ถึงกระนั้นก็ไม่เป็นผล เพราะรัฐบาลของ เจียงไคเช็ก ยังคงนโยบายดังกล่าวต่อไป
     
       จะเห็นได้ว่า ครูจีนประท้วงแรงขนาดไหน ไม่ใช่ประท้วงแค่โกนหัวหรือกรีดเลือดอย่างที่คุณครูของเราทำกัน
     
      แต่ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าจะให้ครูไทยทำแบบครูจีน หากแต่ต้องการจะบอกว่า เอาเข้าจริงแล้วระดับความรุนแรงของการประท้วงนั้นมักจะมีเหตุผลและที่มาที่ไปดำรงอยู่ ไม่ใช่ไปสรุปผลเฉพาะหน้าเอาง่ายๆ ว่า อย่างนั้นควรหรือไม่ควรอย่างไร มิฉะนั้นแล้วเราก็อาจจะกล่าวหาครูจีนได้ว่า การผูกคอตายประท้วงรัฐบาลไม่ใช่เยี่ยงอย่างที่ดีสำหรับนักเรียนได้เช่นกัน
     
       อันที่จริงแล้วระดับความรุนแรงของการประท้วงนั้นมักจะมีเงื่อนไขและวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระตุ้นสำนึกของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายให้ตระหนักในปัญหา ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล คนที่ได้รับผลจากอาชีพที่ตนทำอยู่ (ในกรณีนี้คือนักเรียนและผู้ปกครอง) คนที่อยู่ในอาชีพเดียวกัน และสังคมทั่วไป ฯลฯ ว่าที่ตนประท้วงนั้นเป็นเพราะรู้สึกเดือดร้อนจริงๆ ไม่ใช่สักแต่ทำไปเพื่อความสะใจหรือเอาเท่
     
       ด้วยเหตุนี้ผมจึงไม่ได้เห็นว่า การโกนหัวหรือกรีดเลือดประท้วงของครูจะเกี่ยวอะไรกับการเป็นเยี่ยงอย่างหรือไม่เป็นเยี่ยงอย่างดังที่มีเสียงติติง และเห็นว่าเสียงที่ติติงนั้นเป็นเพียง การเมือง ที่หวังจะทำลายความน่าเชื่อถือของผู้ประท้วงเท่านั้น
     
       แน่นอนว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการผูกคอตายประท้วงของครูจีนคนนั้น แต่ผมไม่ประณาม โดยเฉพาะกับเจตนารมณ์ที่เขาต้องการสื่อไปถึงผู้เกี่ยวข้อง หาไม่แล้วเราก็ต้องประณามขบวนการ 14 ตุลา, 6 ตุลา, พฤษภาทมิฬ ฯลฯ ไปด้วย
     
       รัฐบาล เจียงไคเช็ก ก็คล้ายกับที่ว่ามา ตรงที่ไม่ใส่ใจหรือแม้กระทั่งติติงการประท้วงด้วยการผูกคอตายของครูคนนั้น แล้วก็ทำการฉ้อฉลต่อไปจนถึงวินาทีสุดท้าย ก่อนที่จะถูกพรรคคอมมิวนิสต์จีนรุกไล่ออกจากแผ่นดินใหญ่ไปอยู่ที่เกาะไต้หวันในปี ค.ศ.1949
     
       ของไทยตอนนี้ยังไม่แรงเท่าของจีน แต่ถ้าสถานการณ์ต่างๆ ยังเป็นอย่างที่เห็นอยู่นี้ก็ไม่แน่เหมือนกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ไม่สมัครใจถ่ายโอนการศึกษา

โดย บุญเลิศ ช้างใหญ่   มติชน 15/12/48

เป็นเพราะพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไปกำหนดให้มีการถ่ายโอนการศึกษา และรัฐบาลโดยพรรคไทยรักไทยพยายามจะดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น แม้จะยืดหยุ่น ผ่อนปรนให้เป็นเรื่อง "ความสมัครใจ" ของผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษาและ "ความพร้อม" ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แต่กระนั้น ก็มิได้ทำให้เกิดการยอมรับจากวงการศึกษาโดยเฉพาะครู มิหนำซ้ำเหตุการณ์ได้บานปลายไปไกลเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด เช่น การทูลเกล้าถวายฎีกา และมาตรการอื่นๆ ที่ติดตามมา เป็นต้นว่า

เมื่อผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการขู่จะลงโทษครูที่หยุดการเรียนการสอนไปชุมนุมประท้วงการถ่ายโอน บรรดาครูก็เปลี่ยนยุทธวิธีด้วยการนัดประชุมประท้วงอย่างต่อเนื่องโดยไม่ให้กระทบต่อการเรียนการสอน

มีการเผาบัตรสมาชิกพรรคไทยรักไทย

เผาซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือบริษัทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ประการเลิกสังฆกรรมกับพรรคไทยรักไทยและไม่ต้อนรับ ส.ส.พรรคไทยรักไทย

หากมองในแง่กำไร-ขาดทุน แค่จะใส่ข้อความ "สมัครใจ" และ "ความพร้อม" ไว้ใน พ.ร.บ.กำหนดแผนฯ แล้วมาถูกประท้วงจากวงการครูซึ่งมิได้สั่นคลอนต่อกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น หากสะเทือนไปถึงคณะรัฐมนตรี พรรคไทยรักไทยและธุรกิจมือถือของนายกรัฐมนตรีก็ต้องถือว่ารัฐบาล "ขาดทุน" ย่อยยับ

สถานศึกษาเพียงส่วนน้อยนิดที่อาจจะสมัครใจไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) แต่รัฐบาลต้องขาดทุนอย่างมหาศาล เพราะต้องสูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธาจากวงการศึกษาและประชาชนโดยทั่วไป

นับแต่เกิดข้อขัดแย้งเรื่องการถ่ายโอนมาตั้งแต่รัฐบาล "ทักษิณ 1" และผ่อนปรนมาเป็นเรื่องของความสมัครใจและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาถึงรัฐบาล "ทักษิณ 2" ที่พรรคไทยรักไทย(รัฐบาลพรรคเดียวที่บริหารประเทศ) ดำเนินการให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.กำหนดแผนฯ รัฐบาลพรรคไทยรักไทยยังไม่สามารถสร้างความกระจ่างให้กับประชาชนได้ว่า

การปฏิรูปการศึกษาจะเดินหน้าไปอย่างไร

ทิศทางการศึกษาของชาติจะให้เดินไปทางไหน

ความไม่เสมอภาคในการได้รับการศึกษา คนยากจนขาดโอกาสในการเรียนต่อ ความตกต่ำของวิชาชีพครู ขวัญและกำลังใจของครูที่สูญเสียไปจากความไม่เป็นธรรมในระบบราชการ ภาระงานที่หนักอึ้งของครูจากการสอน งานธุรการ(หลังจากครูส่วนหนึ่งลาออกก่อนเกษียณแล้วไม่มีอัตรามาทดแทน) การขวนขวายเรียนต่อเพื่อเพิ่มวิทยฐานะ การเตรียมการสอน การเป็นหนี้เป็นสิน ระบบการแข่งขันแบบแพ้คัดออก การวัดความรู้จากความในวิชาที่เรียนเพื่อสอบเข้าเรียนต่อ การไม่สนับสนุน ส่งเสริมงบประมาณอย่างเพียงพอให้กับโรงเรียนเพื่อการพัฒนาด้านต่างๆ

สิ่งเหล่านี้จะจัดการอย่างไร

เคยมีข่าวให้ได้ยินบ้างไหมว่า ส.ส.พรรคไทยรักไทย 377 หรือ 375 คน ไปสำรวจสภาพปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในเขตเลือกตั้งและจังหวัดของตนโดยสอบถามผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน หรือแม้แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาสะท้อนในที่ประชุมพรรคและให้คณะรัฐมนตรีมานั่งฟังแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเพื่อให้การศึกษาในยุคปฏิรูปไม่ถูกปล่อยให้เดินไปตามยถากรรม

เห็นมีแต่เอาเรื่องความขัดแย้งกันภายในกลุ่ม มุ้งในพรรคของตนเอง หรือไม่ก็คิดจะหาทางตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามไปพูดในที่ประชุมพรรคเพื่อซักฟอกกันเอง หรือแก้เกมการเมืองเพื่อปกป้องความบกพร่องฉ้อฉลในการใช้อำนาจของนักการเมืองและข้าราชการซึ่งล้วนแต่เรื่องไม่เป็นโล้เป็นพาย ไร้สาระและไม่ใช่เจตนารมณ์ของการให้มี "ตัวแทนประชาชน" มาจากการเลือกตั้งทั้งสิ้น

มีเสียงมากแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแบบนี้ ขอถามทีว่ามีประโยชน์อะไร?

ณ ปัจจุบัน ภายใต้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้นำ ความสมัครใจและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องการถ่ายโอนการศึกษา มีเพียงเรื่องเดียวคือ "เงิน"

โรงเรียนที่รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเหลียวแลจากกระทรวงศึกษาธิการ ไม่มีเงินมาเจือจุนเพื่อทำให้การจัดการศึกษาดำเนินไปได้อันจะยังประโยชน์ให้เกิดกับนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่ทรุดโทรม การขาดแคลนอุปกรณ์การศึกษา ความไม่ก้าวหน้าของครูหรืออื่นๆ ย่อมไม่อยากสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอีกต่อไป

ก็ทำไม กระทรวงศึกษาฯไม่ดูแลเอาใจใส่สถานศึกษาเหล่านี้ให้ดีเพื่อให้ผู้บริหาร ครูมีความสมัครใจที่จะไม่ย้ายไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งๆ ที่เป็นหน้าที่โดยตรงของกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องจัดการศึกษาของชาติให้เป็นแบบแผนเดียวกัน

หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความพร้อมที่จะตั้งโรงเรียน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยของตนเองก็ชอบที่จะทำได้ แม้กระนั้นก็ยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย ไม่ใช่อยากจะตั้งก็ตั้งไปตามใจชอบเหมือนในอดีตที่ ส.ส.ในต่างจังหวัดพยายามผลักดันให้มีสนามบินและตั้งมหาวิทยาลัยในจังหวัดของตนเอง โดยไม่คำนึงว่า ถ้าเปิดสนามบินแล้วจะมีผู้โดยสารมากพอในการเดินทางไปลงที่สนามบินนั้นหรือไม่

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ เช่นเดียวกับเอกชนและรวมถึงการบริการทางสาธารณสุขที่รัฐจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนเข้ามีส่วนร่วมเท่าที่กระทำได้

เหตุที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในการศึกษาอบรมและการบริการทางสาธารณสุขเพราะ อบต.เทศบาล และ อบจ. หรือแม้แต่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของการปกครองท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในชุมชนและท้องถิ่น ที่สำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้มีรายได้จากเงินภาษีที่เก็บจากท้องถิ่นและรัฐบาลให้การสนับสนุนอีกส่วนหนึ่ง

เวลานี้ อบจ.หลายจังหวัดทั่วประเทศจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียนในการปรับปรุงอาคารสถานที่การจัดซื้อคอมพิวเตอร์ การให้เงินเป็นค่าจ้างกับครูที่มาสอนพิเศษ ฯลฯ โดยที่โรงเรียนไม่ได้ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นอกเหนือไปจากนี้ผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษาและสมาคมผู้ปกครอง-ครูของแต่ละโรงเรียนต้องดิ้นรน ขวนขวายหาเงินนี้เพื่อแก้ปัญหากันเองด้วยการรับเงินจากผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกหลานมาเข้าเรียนการจัดทอดผ้าป่าการศึกษา การจัดเลี้ยงโต๊ะจีน ฯลฯ

นี่คือปัญหาของการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาที่ภาครัฐ โดยรัฐบาลและ ส.ส. ส.ว.ควรจะคิดในเรื่องใหญ่ๆ และเป็นหลักระดับนโยบายของชาติในการแก้ไขปัญหาซึ่งรัฐธรรมนูญวางกรอบไว้แล้ว ไม่ใช่มาขัดแย้งแค่เรื่องความสมัครใจและความพร้อมจนเกิดวิกฤตอยู่ในขณะนี้

ยังไม่พูดว่า พ.ร.บ.กำหนดแผนฯยังมีอะไรที่ต้องแก้ไขอีกหรือไม่ สภาพความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ เช่น คุณภาพของผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเพียงไร ความสุจริตมีแค่ไหน ประชาชนตรวจสอบการทำงานได้จริงหรือเปล่า ฯลฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลกลางและรัฐสภาที่จะต้องดูแลและแก้ไข แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ความเห็นแย้ง "ถ่ายโอน" (1)

โดย เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์

เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายนนี้ ผมได้แสดงความคิดเห็นไว้ในคอลัมน์นี้เรื่อง "เสียดายครับ - คุณครู" ยังไม่ทันที่ก้นจะร้อน ก็ได้รับโทรสารจากคุณพรสวรรค์ หวานอ่อน สพท.(สำนักงานเขตพื้นที่)อำนาจเจริญ เขียนมาถึง

คุณพรสวรรค์เขียนเหตุผลโต้แย้งมา 3 ข้อ ผมขอนำลงรายละเอียดเพื่อเป็นความคิดเห็นแย้งดังนี้

ตามที่คุณเรืองชัยลงบทความในคอลัมน์ เสียดายครับ - คุณครู กล่าวถึงการโอนการจัดการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกล่าวว่า เสียดายที่คุณครูไม่เห็นความสำคัญของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้รัฐต้องมีภาระแทนนั้น ผมขอทำความเข้าใจและให้ความเห็นดังนี้

1.ตามที่ท่านได้อ้างรัฐธรรมนูญ ว่ามีการกำหนดให้โอนงานการศึกษาให้ท้องถิ่นนั้น ผมได้ตรวจสอบแล้ว ไม่มีมาตราใดบัญญัติตามที่คุณกล่าวอ้างถึง ที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญๆ ที่พบคือ

มาตรา 43 วรรค 2 กล่าวถึงการจัดการศึกษาว่า รัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของเอกชน ตามกฎหมายกำหนด

มาตรา 78 กล่าวถึงว่า รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองในเรื่องเศรษฐกิจ สาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐาน

มาตรา 81 กล่าวถึงว่า รัฐต้องจัดการศึกษาฯ สนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาฯ ให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

มาตรา 289 วรรค 2 กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาฯ และเข้าไปมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของรัฐ แต่ต้องไม่ขัดต่อมาตรา 43 และ 81

ไม่มีมาตราใดเลยที่บอกให้ "โอน" การจัดการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีแต่ใช้คำว่า "ให้มีส่วนร่วม" คำสองคำนี้คงไม่ต้องแปลไทยเป็นไทย มีแต่ กกถ. แปลเองว่ามีส่วนร่วม คือ โอนให้ไปทำแทน

ในกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายการศึกษาฉบับปัจจุบัน ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการศึกษาให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เอกชน ชุมชน ผู้ปกครอง การเขียนกฎหมายรองตีความไปต่างกัน คือ

- การมีส่วนร่วมของท้องถิ่น กกถ.ว่าให้โอนให้ท้องถิ่น ?

- การมีส่วนร่วมของเอกชน กฎหมายว่าให้ขออนุญาตตั้งเอง รับอุดหนุนค่าใช้จ่าย

- การมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง ก็เอาลูกหลานไปสอนเอง รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่าย ถ้าหากตีความตาม กกถ. การมีส่วนร่วมคือการโอนให้ ทำไมไม่มีกติกาโอนโรงเรียนรัฐให้เอกชน หรือมูลนิธิที่เขาช่วยการศึกษา ที่เขาพร้อมจะทำ กกถ.ตีความเข้าข้างตนเองเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ คน เงิน ต่างหาก (ไม่ทิ้งลายมหาดไทยเลย)

2.ท่านอ้างว่าครูไม่เห็นความสำคัญของท้องถิ่น เดินตามหลังนักการเมือง ท่านมองในภาพของท่าน แต่เป็นการดูแคลนผู้เป็นครูยิ่ง ณ วันนี้หรือวันไหนๆ ครูก็ยังคงมีความสำคัญและเห็นความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสมอ นับแต่เกิด อบต. หรือท้องถิ่นไหนๆ ครูเข้าไปมีบทบาทให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะ ท้องถิ่นก็ช่วยด้านงบประมาณสนับสนุนส่วนที่ขาดแคลน ท้องถิ่นและโรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันโดยตลอด ช่วยเหลือกันโดยตลอด ที่ทำให้แตกแยกเพราะ กกถ.มาถ่างเอกต่างหาก

ครูบางคนเดินตามหลังนักการเมืองที่ท่านอ้าง ก็อาจมีบ้าง (แต่ไม่มีครูคนไหนเขาชื่นชมว่าเป็นครูดีดอก) นั่นเพราะยังมีการเมืองเข้ามาให้คุณให้โทษกับครูได้ ทั้งที่การเมืองก็อยู่ห่างจากครูพอสมควรอยู่แล้ว แต่ถ้าเอาครูไปอยู่กับการเมืองส่วนท้องถิ่นและให้คุณให้โทษได้ และการเมืองก็อยู่ใกล้ๆ ครู คุณจะเชื่อหรือไม่ว่า จะได้เห็นครู (บางคน) เดินตามหลังสมาชิก อบต. เดินตามหลัง นายก อบต. เดินตามหลังปลัด อบต. ซี 4 เพราะให้คุณให้โทษเขาได้ มันจึงเป็นการไม่สมควรยิ่งที่จะเอาการเมืองกับครูมาอยู่ใกล้ๆ กัน ปัจจุบันโรงเรียนอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ไม่ว่าใครจะมาบริหารส่วนท้องถิ่น กลุ่มไหน พรรคไหน ครูก็อยู่อย่างมีความสุข ทำงานได้อย่างมีอิสระในทางวิชาการ "เพราะวางตัวเป็นกลางทางการเมือง"

ในส่วนแรกของคุณพรสวรรค์เฉพาะข้อ 1. กับข้อ 2. เป็นเรื่องที่มีข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญก็กำหนดเพิ่มเติมไว้ว่า การมีส่วนร่วม หรือการอื่นใดตามรัฐธรรมนูญนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ

กฎหมายการศึกษาที่กำหนดในรัฐธรรมนูญคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นประการสำคัญที่กำหนดเวลาและมีคำว่า "ถ่ายโอน" ปรากฏ จึงขอให้คุณพรสวรรค์กับพวกไปศึกษากันใหม่ว่าจะทำอย่างไรกันดี ดังที่จะให้มีการแก้ไขในเรื่องการ "สมัครใจ" ขณะนี้ด้วยหรือไม่ ส่วนข้อต่อจากนี้ไปขอยกยอดไปฉบับหน้า
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ความเห็นแย้ง"ถ่ายโอน" (2)

โดย เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์

มาต่อกันที่ข้อ 3 ในเรื่องของการบริหารราชการและความคิดเห็นปิดท้าย กับความเห็นต่อเนื่อง

3.ในส่วนของการกระจายอำนาจลงสู่ส่วนท้องถิ่น ผมและครูทุกคนเห็นความสำคัญยิ่ง และเชื่อว่าเป็นผลดีต่อการบริหารบ้านเมือง ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารดังนี้

3.1 การบริหารราชการแผ่นดิน มี 3 ระดับ คือการบริหารราชการส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาค และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เราก็มีความเชื่อว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นใกล้ชิดประชาชน ย่อมรู้ถึงปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างดี เห็นด้วยกับการที่รัฐต้องจัดสรรงบประมาณสู่ท้องถิ่นเพื่อช่วยเหลือดูแลประชาชนของเขา

3.2 การบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มี 3 ระดับ คือการบริหารราชการส่วนกลาง การบริหารเขตพื้นที่การศึกษา และการบริหารราชการในสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาโดยตรง อำนาจบังคับบัญชา งบประมาณ อยู่ที่สถานศึกษาแล้ว โรงเรียนขาดแคลนสิ่งใด ต้องการสิ่งใด จัดหาได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเสนอขอ อำเภอ จังหวัด จึงสนองความต้องการของโรงเรียนในฐานะผู้ปฏิบัติได้ทันที หากไปอยู่ภายใต้ท้องถิ่น การซื้อ การจ้าง การจัดหามันเป็นอำนาจของท้องถิ่น มันไม่ใช่การกระจายแล้ว แต่มันกระจุกอยู่ที่ท้องถิ่น โรงเรียนต้องการกระดาษสักรีมต้องเสนอผ่าน อบต.ซื้อให้นะครับ ถึงจะได้

ไม่ทราบว่าท่านเคยเป็นครูหรือไม่ การศึกษาสมัยหนึ่งเคยอยู่ในความดูแลของท้องถิ่น ครูองค์การฯ(ในคราบมหาดไทย) เจ็บปวดจากการกดขี่ข่มเหงมากมาย ภาพเหล่านั้นยังคงอยู่ในความทรงจำไม่รู้เลือน ท้องถิ่นในวันนี้คือมหาดไทยใช่หรือไม่ หรือเป็นการปกครองรูปแบบพิเศษเหมือนกรุงเทพมหานคร หรือเป็นอิสระขึ้นกับรัฐบาล ขอให้คุณเรืองชัยพินิจ พิเคราะห์ ด้วยความรอบรู้ที่แท้จริงแล้วนำเสนอให้ประชาชนได้รู้ตามภูมิรู้จริงด้วยครับ

ความทั้งหลายทั้งปวงคงไม่ต้องมีประเด็นโต้แย้งดอกนะครับ หากแต่ผมเองก็มีความคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อให้นำความคิดเห็นออกไปสู่ประเด็นที่สร้างการศึกษาของชาติให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกับอารยประเทศ อย่างน้อยไม่น้อยหน้าเพื่อนบ้านในแถบอินโดจีนด้วยกัน ดังนี้

ประการแรก ขอตอบคำถามประการสุดท้ายก่อน ที่ว่าผมเคยเป็นครูหรือไม่

จะว่าเคยก็ไม่ใช่ จะว่าไม่เคยก็ไม่เชิง

คืออย่างนี้ครับ หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนสายสามัญที่เรียกกันว่า ม.8 ผมก็หันเหตัวเองไปเรียนวิชาครูสมัยที่ยังเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา การเรียนวิชาครูเป็นการเรียนวิชาชีพ เรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ที่เรียกว่า ป.กศ.ต้น 2 ปี เทียบเท่า ม.8 มีโอกาสสอบเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยได้

การเรียนวิชาครูต้องมีการฝึกสอน ทำให้มีโอกาสออกไปฝึกสอนเช่นเดียวกับนักเรียนครูทุกคน

ผมอาจไม่ประสบผลสำเร็จในการฝึกสอน แต่การเรียนฝึกหัดครูก็ทำให้เริ่มสนใจการศึกษามาตั้งแต่นั้น และทำให้มีโอกาสเรียนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทสาขาศึกษาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หลังจากนั้นอีกหลายปีต่อมา

ยิ่งเมื่อมีโอกาสทำงานเขียนหนังสือและงานหนังสือพิมพ์ ก็ยิ่งให้ความสนใจกับการศึกษามากขึ้น เพราะเห็นว่าการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตคนไทยและต่อประเทศชาติ เมื่อมีโอกาสจึงพยายามเขียนแสดงความคิดเห็นทางการศึกษามาโดยตลอด

ผมทราบดีว่า หลักสูตรการศึกษาของไทยมีการปรับเปลี่ยนมาหลายครั้ง โดยเฉพาะระบบการเรียนการสอน กระทั่งหลังสุดที่ดีใจและแอบภาคภูมิใจนิดๆ ที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการเห็นความสำคัญและให้ความสำคัญกับการศึกษาของชาติ ด้วยการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเพื่อกำหนดนโยบายทางการศึกษาให้ชัดเจนและแผ่กระจายการศึกษาให้กว้างขวางไปสู่ลูกหลานไทยทั่วประเทศให้จงได้

นโยบายนั้นมีแม้กระทั่งกำหนดให้การศึกษาของชาติทุกระดับตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาตรีรวมอยู่ในกระทรวงเดียวกัน และให้โรงเรียนซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดทางการศึกษาเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกับสถาบันการศึกษาระดับปริญญา(มหาวิทยาลัย) แม้ไม่ค่อยจะเห็นด้วยเต็มร้อยนักก็ตาม

ดังนั้น ในประการที่ 1 และประการที่ 2 เรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ ตลอดจนพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องของกฎหมายที่จะต้องแก้หรือไม่แก้กันต่อไป ดังเช่นกรณีที่ครูพยายามจะไม่ให้มีคำว่า "สมัครใจ" นั่นแหละ ส่วนประการที่ 3 คงต้องขอว่ากันในวันศุกร์หน้าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

เหตุผลของ"ครู"

โดย นฤตย์ เสกธีระ [email protected]

หลังจากที่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของครูในการคัดค้านการโอนโรงเรียนจากส่วนกลางไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ปรากฏมีความเห็นจากท่านผู้อ่าน เขียนแสดงความเห็นเข้ามาในเว็บไซต์ www.matichon.co.th หลายคน

ในที่นี้ขอคัดย่อความเห็นของคุณ "ครูบ้านป่า" ที่แสดงจุดยืนในการเคลื่อนไหวครั้งนี้

"ครูบ้านป่า" ท่านบอกว่า "...การต่อสู้ของครูในครั้งนี้ เกิดจากความห่วงใยในการจัดการศึกษาของชาติอย่างแท้จริง ความห่วงใยที่มาพร้อมกับความตื่นตระหนก ขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งขอสรุปเป็นประเด็นที่ชัดเจน ดังนี้

1.นับตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งได้กำหนดให้มี พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 และถือว่าเป็นการเริ่มต้นการปฏิรูปการศึกษา มีความเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ มีการปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปการเรียนรู้

ในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย เนื่องจากการปฏิรูปนี้ได้เดินตามแนวทางของ 9 อรหันต์ นักวิชาการระดับชาติ ของ สปศ. ที่ไปลอกรูปแบบการจัดการศึกษามาจากต่างประเทศ โดยไม่ดูสภาพสังคม ความพร้อมของตนเอง

ถึงวันนี้ถ้าพูดแบบไม่เกรงใจรัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการ ต้องยอมรับว่าล้มเหลว !!!!

2.การโอนอำนาจการจัดการศึกษาให้กับท้องถิ่นนั้น เป็นแนวคิดที่ดี แต่หากนำสู่การปฏิบัติ ครูมีความเป็นห่วงว่าจะประสบปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย

อยากเรียนว่า วันนี้ ครูที่ออกไปต่อสู้เรียกร้อง เป็นครูระดับรากหญ้า ที่เห็นความเป็นมาของการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างดี ซึ่งส่วนมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การคอร์รัปชั่น การฮั้วประมูล การเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม การข่มขู่คุกคาม ฯลฯ

ที่สำคัญคือ ยังไม่มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมใดๆ เกิดขึ้นเลย

จึงเป็นเรื่องที่น่าสังเกตว่า เหตุใดจึงเอาการศึกษาเป็นหนูลองยา เพราะการศึกษานั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเด็กโดยตรง

ท่ามกลางความขัดแย้งของการเมืองท้องถิ่น ท่ามกลางการคอร์รัปชั่น การเมืองที่มีปัญหา จะจัดการศึกษาดีได้อย่างไร ?

3.ตัวอย่างหนึ่งที่เป็นปัญหา คือ นมโรงเรียนที่โอนให้ อปท.ดำเนินการ ถึงวันนี้ ได้นมที่ไม่มีคุณภาพ(หางนมต้มใส่น้ำตาล) เด็กต้องทนกินแต่ไม่ได้รับคุณค่าทางอาหาร

แล้วมาสงสัยว่า ทำไมเด็กไอคิวต่ำ บ้านเมืองนี้เป็นอะไรไปแล้ว!!!

เมื่อผู้บริหารโรงเรียนมีโอกาสเข้าร่วมประชุมขออนุเคราะห์งบประมาณเพิ่มเติมเพื่อเปลี่ยนเป็นนมกล่อง(อย่างดีปีละหน) ก็อ้างว่าไม่มีงบประมาณ เอาไปทำโครงสร้างพื้นฐานหมดแล้ว(ถนนคอนกรีต, ทางระบายน้ำ, วางท่อ ฯลฯ) แล้วอย่างนี้จะให้ครูคิดอย่างไร

คิดว่า อปท.จริงใจต่อการศึกษาอย่างนั้นหรือ?

3.ที่ว่ามา ทั้งข้อ 1 และ 2 นั้น ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจะเกิดขึ้นต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากการปฏิรูปการศึกษา การถ่ายโอนอำนาจการจัดการศึกษานั้น ล้วนแต่ลอกแบบมาจากต่างประเทศที่คนของเขามีคุณภาพ ทำงานมีประสิทธิภาพ ไม่มีการคอร์รัปชั่นเหมือนประเทศไทย

4.ครูรากหญ้าที่ออกมาประท้วงอยู่ขณะนี้ เคยประสบเคราะห์กรรมแสนสาหัสมาแล้ว ในช่วงปี 2509-2521 ภายใต้การบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

ครูในวันนั้นต้องอยู่อย่างยากลำบาก ทำงานรับใช้เจ้านายของกระทรวงมหาดไทยจนไม่เป็นอันสอน งบประมาณ อุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ ขาดคุณภาพ

กว่าที่จะตกถึงโรงเรียนไม่รู้ว่ากินกันมากี่ทอด วันนี้ ครูต้องสู้ และจะสู้จนถึงที่สุด ไม่ว่าบ้านเมืองนี้จะดูถูกเหยียดหยาม ด่าทอ อย่างไร

5.อยากเรียนอีกครั้งว่า ครู ถึงแม้จะเป็นอาชีพที่ไม่ร่ำรวย สังคมนี้ดูถูกว่ายากจน แต่หัวใจของครูนั้น มีความรักและห่วงใยการศึกษายิ่งนัก ในขณะที่การปฏิรูปการศึกษายังมีปัญหา วันนี้จะให้โอนไปสังกัด อปท.อีกแล้ว

ปัญหาเดิมยังไม่แก้ แต่จะไปหาปัญหาใหม่อีกแล้ว จะให้ครูคิดอย่างไร..."

สุดท้าย "ครูบ้านป่า" ท่านสรุปว่า จะสู้ต่อไปเพื่อลูกศิษย์ของท่าน

วันนี้ขอใช้เนื้อที่แห่งนี้ลงเผยแพร่เหตุผลที่ครูออกมาคัดค้านการโอนโรงเรียนให้รับทราบกันถ้วนทั่ว

เป็นคำถามที่คงคาใจอีกหลายคนเหมือนกัน เพราะพฤติกรรมที่ครูท่านว่า มันก็ปรากฏให้เห็นอยู่จริงๆ ในปัจจุบัน

แต่ถ้าสมมุติว่าพฤติกรรมเช่นที่ว่านั้นหมดไป การให้โรงเรียนยังคงจะอยู่กับส่วนกลาง กับการโอนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล อย่างไรมันจะดีกว่ากันล่ะ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

การถ่ายโอนอำนาจการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการใด

คอลัมน์ จดหมายจากคุณครู

โดย กมล สุดประเสริฐ อดีตผู้ตรวจฯศธ. อาจารย์มหาวิทยาลัยสยาม


ขณะนี้บ้านเมืองตกอยู่ในสภาพสับสนในเรื่องการถ่ายโอนอำนาจการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าถ่ายโอนอำนาจการจัดการศึกษาเพื่อการใด เพื่อการปฏิรูปการศึกษาหรือการปฏิรูปการปกครอง การปฏิรูปการศึกษาเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ครูอาจารย์จัดการให้ผู้เรียนมีความเป็นเลิศ ผู้เรียนสามารถเอาความรู้ไปปฏิบัติพัฒนาการคิด การสร้างสรรค์ และวันหนึ่งในอนาคตก็เป็นพลเมืองที่ดีในระบบการปกครองของบ้านเมือง การจะสร้างคนให้เป็นพลเมืองดีได้ดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือของฝ่ายต่างๆ ทุกฝ่าย และระบบต่างๆ ทุกระบบ ไม่ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม หรือระบบการปกครอง ความร่วมมือจากทุกฝ่ายและทุกระบบจึงเป็นเรื่องสำคัญของการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้ถึงมือผู้ปฏิบัติ ดังคำกล่าวสั้นๆ ว่าคืนความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้ผู้มีส่วนใกล้ชิดผู้เรียน

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม 2545 สร้างเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นมาโดยหวังมอบอำนาจการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แต่ละเขตซึ่งมีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการ(มาตรา 39) โดยมิได้เกี่ยวพันกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หากสร้างเขตพื้นที่การศึกษาให้ชัดเจนเสียว่าเป็นองค์การการศึกษาท้องถิ่น และมีประชาชนเข้ามาเป็นกรรมการทำงานควบคู่เป็นฝาแฝดกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมช่วยเหลือ ดังตัวอย่างเขตพื้นที่การศึกษาในสหรัฐที่เรียกว่า School District หรือองค์กรการศึกษาท้องถิ่นในอังกฤษในชื่อว่า Local Education Authorities(LEAs) ซึ่งทำหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแยกจากการปกครองแต่ทำงานคู่กันไปกับองค์การปกครองท้องถิ่น ความยุ่งยากก็ดูจะหมดไป เพราะองค์กรการศึกษาท้องถิ่นเหล่านี้ จะทำงานควบคู่กับเมืองต่างๆ ที่ทำหน้าที่จัดการบ้านเมือง

ที่ใดมีเมืองที่นั้นมีองค์กรการศึกษาท้องถิ่น แล้วแต่ขนาดของเมือง นับเป็นการแบ่งงานกันทำชัดเจน นักการศึกษาปฏิรูปการศึกษา นักการปกครองปฏิรูปการปกครอง แต่ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและมาตรฐานการศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่ให้ชัดเจนและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม คิดร่วมกันและแบ่งกันทำอย่างมีพันธสัญญา ผู้ทำต้องรับประกันในคุณภาพที่ทำขึ้น

ยิ่งกว่านั้น พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม 2545 ได้คิดกระจายอำนาจถึงสถานศึกษาโดยกำหนดให้สถานศึกษามีคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งจะตรงกับแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาที่ว่า คืนความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้ผู้มีส่วนใกล้ชิดผู้เรียน คือผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ชุมชน และนักเรียน การมอบอำนาจถึงระดับสถานศึกษานี้จะเป็นการดีมากที่ทุกฝ่ายต้องลงถึงสถานศึกษา เงินงบประมาณจัดลงไปพัฒนาสถานศึกษาได้มากที่สุด ส่วนหนึ่งมาจากท้องถิ่น ส่วนหนึ่งมาจากจังหวัด และส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาลกลาง ควรคิดเสมอว่าการพัฒนาการศึกษาทั้งหลายตั้งต้นที่สถานศึกษาและการพัฒนาที่ยั่งยืนอยู่บนพื้นฐานของประชาชน

หากมีการแก้ไขการใดก็ควรคิดแก้ไขที่จะทำให้สถานศึกษาเข้มแข็งในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในเขตพื้นที่ของตนให้สูงส่ง ควรมาแข่งขันกันด้วยการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานในเมืองของตนสู่ความเป็นเลิศได้แล้ว เลิกคิดเห็นแก่ตัวแต่หันมาคิดเห็นแก่เด็กเป็นสำคัญจะดีกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

การจัดการศึกษาของท้องถิ่น "แตกหน่อ ก่อใหม่ ให้ทางเลือกแก่ผู้เรียน"

โดย ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ทางเลือกที่ไม่เคยตีบตัน

หลักเศรษฐศาสตร์สนับสนุนให้ผู้บริโภคมีหนทางเลือก และกล่าวว่าการแข่งขันหรือการประกวดนั้นดีกว่าผูกขาด หลักการนี้ใช้กับการจัดการศึกษาด้วยเช่นกัน ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นเสมอมาว่า การจัดการศึกษาของท้องถิ่นย่อมจะมีทางออก-ไม่ว่าจะมีการถ่ายโอนโรงเรียนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) หรือไม่ก็ตาม

พร้อมกันนี้ขอเสนอความคิดให้เป็นทางเลือก เป็นประเด็นสาธารณะ ดังต่อไปนี้

A อปท.ที่เคยจัดการศึกษาอยู่แล้ว ขยายบริการออกไป พูดง่ายๆ ว่า "แตกหน่อ"

B อปท.ที่ไม่เคยจัดการศึกษาแต่มีความประสงค์จะจัดการศึกษา มีกำลังเงินพอ มีความพร้อม และมีนักเรียนต้องการ ก็จัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา เฉกเช่นเดียวกับการจัดตั้งโรงเรียนเอกชน พูดง่ายๆ ว่า "ก่อใหม่"

C อปท.ร่วมมือกับโรงเรียนเอกชนในการจัดการศึกษา ทำนองเดียวกับการ takeover กิจการของภาคธุรกิจ

D อปท.รับถ่ายโอนโรงเรียนจากโรงเรียนที่เคยสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามความสมัครใจอย่างค่อยเป็นค่อยไป(คำว่า "สมัครใจ" จะนิยามว่าอย่างไร? ใครเป็นคนลงคะแนนเสียง? เฉพาะผู้จัดการศึกษาเป็นคนโหวต หรือว่าจะให้นักเรียน-ผู้ปกครองในพื้นที่การศึกษานั้นๆ มีส่วนร่วมลงคะแนนด้วย?)


ทางเลือกจึงไม่เคยตีบตัน เพียงแต่ว่านัยต่อการคลังของรัฐบาล และผลลัพธ์ของบริการการศึกษาแต่ละทางเลือก อาจจะแตกต่างกัน

ประเด็นสำคัญ คือ ผู้เรียนควรจะมีหนทางเลือก ให้มีการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ตามสภาพของท้องถิ่น ยอมรับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และทำให้คุณภาพของบริการการศึกษาเข้าขั้น "ดี" "ได้มาตรฐาน" เป็นที่ยอมรับได้(ซึ่งจะไม่ขออภิปรายในที่นี้ว่ามาตรฐานอะไร? และใครกำหนด?)

การเมืองและการคลังของการจัดการศึกษา

เนื่องจากการจัดการศึกษานั้นเป็นบริการที่ภาครัฐเกี่ยวข้อง ตามหลักการรัฐธรรมนูญ รัฐบาลมีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้จัดการศึกษาเสมอไป แต่อย่างน้อยก็เป็นที่เข้าใจว่าปัจจุบันเป็นระบบผสม คือ มีการจัดการศึกษาของภาคเอกชน และมีการจัดการศึกษาโดยภาครัฐ-ซึ่ง อปท.ก็เป็นส่วนหนึ่งของภาครัฐ

ทางเลือก A คิดว่าน่าสนใจ และมีข้อดีตรงที่ไม่ต้องการบทพิสูจน์อะไรอีก เพราะว่า กทม. และเทศบาลหลายแห่งก็จัดการศึกษาอยู่แล้ว คุณภาพของการศึกษาของโรงเรียนเหล่านี้ไม่ด้อยไปกว่าโรงเรียนอื่นๆ

(เคยมีรายงานวิจัยที่ระบุว่า ค่าเฉลี่ยของคุณภาพโรงเรียนที่จัดการโดย อปท.สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโรงเรียนที่จัดการโดยกระทรวงศึกษาธิการ ก็ว่ากันไป)

ถ้าหากรัฐบาลสนับสนุนให้ อปท.ที่เคยจัดการศึกษาแล้วก็เป็นทางออกที่น่าสนใจ อย่าไปจำกัดว่าจะต้องตั้งโรงเรียนอยู่ในเขตพื้นที่เท่านั้น ถ้าจะขยายโรงเรียนออกไปนอกเขตก็ได้ถ้ามีคนต้องการ

เช่น เทศบาล P ร่วมมือกับ อบต.Q ที่อาณาเขตติดต่อกัน ร่วมกันจัดบริการใหม่จะตั้งอยู่ในพื้นที่ของฝ่ายใดก็ได้ โดยอาจจะใช้ brandname ของโรงเรียนเทศบาล ก็เป็นทำนองเดียวกันกับขยายสาขาใหม่ หรือการขยาย "โรงเรียนดัง" ออกไปตั้งในหลายพื้นที่ในหลายจังหวัด

ทางเลือก B อาจจะยากกว่าบ้าง แต่ก็น่าสนใจและน่าจะเป็นไปได้เช่นกัน เพียงแต่จะต้องพิสูจน์และผ่านการประเมิน ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ(คณะกรรมการประเมินความพร้อม) ซึ่งในขณะนี้ อปท.หลายสิบหรือหลายร้อยแห่งได้แสดงความประสงค์ไปแล้ว

ทางเลือก C ไม่แน่ใจว่าเป็นไปได้หรือไม่ในทางระเบียบและกฎหมาย แต่ถ้าเราจะ "คิดนอกกรอบ" ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ-แนวทางหนึ่งคือ อปท. ช่วยให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชน พร้อมกับกำหนดเงื่อนไขว่าค่าเล่าเรียนจะต้องลดลง ก็จะเป็นผลดีต่อผู้เรียนและผู้ปกครอง คือจัดการเป็นแบบโรงเรียนเอกชนโดยที่สนับสนุนโดย อปท.เพื่อให้ค่าใช้จ่ายไม่แพง

ข้อดีคือไม่ต้องลงทุนก่อสร้างโรงเรียน/อาคาร อาจจะปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ และชื่อเสียงของโรงเรียนมีอยู่แล้ว

หรืออีกแนวทางหนึ่งคือ อปท.ซื้อกิจการโรงเรียนเอกชนมาดำเนินการ โดยใช้เงินสะสมของ อปท. หรือถ้ารัฐบาลเห็นด้วยจะสนับสนุนก็ยิ่งดี...ถึงอย่างไรรัฐบาลก็มีหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้คนไทยมีโอกาสทางการศึกษาครบ 12 ปีตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว

ทางเลือก D คือการถ่ายโอนโรงเรียนที่เคยสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัด อปท.ตามความสมัครใจที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในขณะนี้นั้น...ครูที่ไม่เห็นด้วยอาจจะไม่เข้าใจ นึกว่าจะถูกบังคับให้ถ่ายโอนทั้งหมดทั้งสิ้น ความจริงฝ่ายสนับสนุนการกระจายอำนาจ และ อปท.เองก็เข้าใจว่าเป็นความสมัครใจ ค่อยเป็นค่อยไปบาง อปท.ไม่มีความประสงค์ที่จะรับถ่ายโอนโรงเรียน(เข้าใจว่าเป็นส่วนใหญ่)

แต่เมื่อกลายเป็นประเด็นการเมือง เลยถูกบิดเบือนให้ดูเสมือนว่าจะต้องตัดสินและเลือกข้างว่า 0 กับ 1 ซึ่งเป็นความคิดแบบสุดขั้ว

คิดตามแบบทฤษฎีเกม ถ้าหากรัฐบาลต้องการจะขับเคลื่อนและเปิดโอกาสให้ อปท.เข้ามาจัดการศึกษาเพิ่มขึ้น ให้เป็นทางเลือกใหม่ การขับเคลื่อนนโยบายควรจะมีวางแผนโดยให้มีหลาย options เช่นนี้(ทั้ง A, B, C และ D) จะช่วยให้ง่ายขึ้น พร้อมกับเป็นการส่งสัญญาณ(signal) ให้กับฝ่ายคิดแบบสุดขั้วว่า ถึงอย่างไรก็ไม่ตีบตัน เรื่องนี้ย่อมจะมีทางออกอย่างแน่นอน

บางทีอาจจะเปลี่ยนรูปเกมจากแบบเดิม "เกมไม่ร่วมมือ" (non-cooperative game) ให้กลายเป็น "เกมแห่งความร่วมมือ" (cooperative game) ก็เป็นได้

"พร้อม-ไม่พร้อม" ขอโอกาส-เวลา และประชาตัดสิน

หน่วยราชการส่วนกลาง มักจะมีทัศนคติที่ว่า "อปท.ไม่มีความพร้อม" ดังนั้น ไม่ถ่ายโอน ซึ่งมักจะเป็นความคิดข้างเดียว และ "นึกเอาเอง" แต่อย่างน้อยที่สุดในเวลาเพียง 3-4 ที่ผ่านมาได้พิสูจน์พอสมควรว่า อปท.สามารถจัดการงานถ่ายโอนหลายอย่างได้ดี และ "ดีกว่า" ระบบจัดการแบบเดิม

ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน(และมีงานวิจัยสนับสนุน) คือ การจัดสวัสดิการคนชรา โดยที่รัฐบาลตัดงบฯที่เคยให้กับราชการส่วนกลาง เปลี่ยนคนจัดการเสียใหม่ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ดี ตัวอย่างเช่น

ก)ความโปร่งใสว่าจัดสรรเบี้ยคนชราให้ใคร ระบุเป็นตัวบุคคลชัดเจน บางแห่งจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคารสะดวกต่อผู้รับเงิน

ข)อปท.หลายแห่ง จ่ายเบี้ยคนชราให้เป็นประจำทุกเดือน แทนที่จะเป็นทุก 6 เดือน เพราะว่าใช้หลักวิชาการจัดการ ไม่ติดกรอบระเบียบราชการมากเกินไป ความจริงคือ อปท.ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลทุกหกเดือน แต่ว่าจ่ายเงินให้คนชราออกไปก่อน(อออกจากงบกลาง) เพราะว่าผู้บริหารท้องถิ่นเขาคำนึงถึงความสะดวกและความต้องการของคนชรา การจ่ายเบี้ยให้กับคนชราและยากจน 6 เดือนต่อครั้งนี่ ไม่รู้ว่าคิดกันได้อย่างไร ช่าง "ไร้จินตนาการ" เสียจริงในทรรศนะของกระผม

ค)ใช้กระบวนการชุมชนในการคัดเลือกว่า ใครสมควรได้รับเบี้ยคนชราและฐานะยากจน

"พร้อมหรือไม่พร้อม" ในแง่หนึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นความคิดความชอบเหมือนกับชอบฟังเพลงลูกทุ่งลูกกรุงเพลงแจ๊ซหรือคลาสสิค ขึ้นกับทัศนคติ ความเคยชิน และการรับรู้ของแต่ละบุคคล เป็นธรรมดาครับใครๆ ก็มีอคติได้ด้วยกันทั้งนั้นเราไม่ว่ากัน แต่เมื่อเรื่องนี้จะต้องกลายเป็นการตัดสินใจของสังคม(social choices/social decision) ก็ควรจะลดความเป็นตัวตนลงไป ใช้หลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ใช้ตัวชี้วัดหลายตัว และการตัดสินโดยตัวแทนจากหลายฝ่าย

แต่ความพร้อมก็มักจะเริ่มจากความไม่พร้อม

ให้โอกาสให้เวลาและประชาตัดสิน ดีกว่าความคิดแบบสุดขั้วอย่างแน่นอน
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

การศึกษาไทยในภาวะวิบัติ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ความเข้าใจเรื่องการโอนย้ายครู ไปสู่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น

โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

มีผู้คนหลายต่อหลายคนมาบ่นเชิงถามกับผู้เขียนว่า ไม่เข้าใจเรื่องการโอนย้ายครูไปสู่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีการต่อต้านจากพวกครูอย่างดุเดือดถึงขนาดกรีดเลือด โกนหัวประท้วงกันเป็นที่เอิกเกริก จนกระทั่งทางรัฐบาลยอมแก้ไขกฎหมายเรื่องการโอนย้ายครูไปสู่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นว่า การโอนย้ายนั้นต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของคุณครูทั้งหลาย ว่าจะยอมไปหรือไม่ยอม

ซึ่งก็มีครูเป็นจำนวนมากยินดีและเต็มใจที่จะโอนย้ายไปอยู่กับ อบจ.(องค์การบริหารส่วนจังหวัด) ในขณะที่ครูส่วนใหญ่ยืนกรานไม่ยอมโอนย้ายไปอย่างเด็ดขาด และต้องการให้รัฐบาลตัดคำว่าสมัครใจออกไปเสีย ซึ่งรัฐบาลไม่ยอม ก็เห็นพวกครูก็ขู่ว่าจะเผาซิมการ์ดของเอไอเอส??? (ไม่รู้ว่ามันเกี่ยวกันยังไงเหมือนกัน!)

ผู้เขียนบังเอิญเป็นคนแก่ที่พอจะจำอะไรได้บ้าง เลยต้องอธิบายประวัติศาสตร์และการเมืองการปกครองไทยเสียยืดยาวจนรำคาญตัวเองเต็มทีแล้ว เลยขอชี้แจงให้ท่านทั้งหลายที่ยังงงๆ อยู่ ไม่เข้าใจเรื่องวุ่นวายเกี่ยวกับการโอนย้ายอย่างว่านี้ให้เข้าใจโดยทั่วกัน

คืออย่างนี้ เมื่อสมัย พ.ศ.2500 ต้นๆ นั้น ได้มีการโอนย้ายครูระดับประถมศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ ไปขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย นัยว่าจะได้ให้ท้องถิ่นมีส่วนมีเสียงในการจัดการศึกษาตามแบบประชาธิปไตย อะไรอย่างนั้นแหละ

แต่ความจริงคือ พวกมหาดไทยส่วนภูมิภาคเขาไม่มีคนใช้แบบเป็นมือเป็นเท้าให้กับพวกนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างหาก ก็เลยต้องเอาพวกครูประถมที่มีอยู่ทั่วไป ไปขึ้นกับการปกครองส่วนภูมิภาคนั่นเอง

ซึ่งพวกกระทรวงมหาดไทยก็เข้ามาจัดการโขกสับพวกครูประถมตามแบบเจ้าขุนมูลนายที่อยู่ใกล้ชิดกว่าเจ้าขุนมูลนายแบบกระทรวงศึกษาธิการ(จึงหนักกว่ามาก) ซึ่งสร้างความขมขื่นในความทรงจำของพวกครูประถมมาโดยตลอด

จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็มีการเคลื่อนไหวเอาครูประถมกลับคืนสู่กระทรวงศึกษาธิการจนเป็นผลสำเร็จ

แต่ครูประถมเขาก็ไม่อยากกลับไปอยู่ภายใต้ระบบเจ้าขุนมูลนายของกระทรวงศึกษาธิการเหมือนกัน จึงได้มีการเสนอรูปแบบการบริหารครูประถมในรูปคณะกรรมการ โดยมีการกระจายอำนาจไปอยู่ที่จังหวัด ไม่ต้องยอมหงอจากส่วนกลางในกรม กอง ที่กรุงเทพฯ เท่ากับพวกข้าราชการที่สังกัดกรมอื่นๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ

พวกครูประถมก็เลยมีอิสรเสรีในการบริหารปกครองกันเองมากกว่าข้าราชการทั้งหลายในกระทรวงศึกษาธิการมาจนปัจจุบันนี้

ส่วนครูมัธยมก็อยู่ภายใต้การบริหารของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการมาโดยตลอด ซึ่งการบริหารก็เหมือนกับระบบราชการทั่วไปก็คือ มีเจ้าขุนมูลนายมาจากกรมเป็นหลักนั่นเอง จนกระทั่งปัจจุบันเช่นกัน(แม้จะเปลี่ยนชื่อไปอย่างไรก็ตาม)

อีทีนี้พอมีกฎหมายเกี่ยวกับการโอนย้ายครูขึ้นมา พวกครูประถมส่วนใหญ่ก็ต้องโอนไปอยู่กับ อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) ซึ่งมีพื้นที่การบริหารที่แจ้งชัดคือในเขตของตำบลแต่ละตำบลโดยความจริงอันประจักษ์แจ้งอยู่แก่สาธารณชนทั่วไปคือ อบต.นั้นส่วนใหญ่จะจน ไม่ค่อยมีสตางค์ และออกจะชื่นชอบสไตล์การบริหารแบบเจ้าขุนมูลนายของกระทรวงมหาดไทย

ซึ่งแน่นอนทีเดียวที่พวกครูประถมต้องเกิดความหวาดกลัวแบบจนพองสยองเกล้าที่จะต้องสูญเสียอิสรเสรีที่เอ็นจอยมาร่วมสามสิบปีและยังจำความขมขื่นของการบริหารแบบมหาดไทยได้อยู่

อีกทั้งยังต้องไปอยู่กับพวก อบต.ที่ไม่มีสตางค์อีก มันก็เข้าทำนองบังคับให้สาวเปรี้ยวที่ต้องเที่ยวเธค เที่ยวผับทุกคืนไปแต่งงานกับผู้ชายเชยๆ ติดจะอัปลักษณ์ แถมยังจนสิ้นดีอีก

ซึ่งก็น่าเห็นใจที่พวกครูประถมที่มีปณิธานว่า หัวเด็ดตีนขาดยังไงก็ไม่ยอมโอนย้ายไปอย่างเด็ดขาดถึงจะถูกหลอกว่าให้สมัครใจเองก็ตาม เพราะว่าเรื่องที่จะบีบให้สมัครใจนี่ทำได้ไม่ยาก เนื่องจากพวกครูคือกลุ่มที่มีหนี้สินรุงรังสูงที่สุดในบรรดาข้าราชการทุกหมู่เหล่าอยู่แล้ว

ส่วนครูมัธยมที่จะต้องโอนย้ายไปอยู่กับ อบจ.(องค์การบริหารส่วนจังหวัด) ตามกฎหมายนั้นดูจะไม่ค่อยเดือดร้อนสักเท่าไรนัก ซ้ำยังมีท่าทีว่ายินดีที่จะโอนย้ายไปด้วยซ้ำไป ซึ่งทำให้บรรดาสาธุชนชาวไทยทั่วไปงุนงง ไม่เข้าใจ

ซึ่งท่าทีของพวกครูมัธยมนี้ก็พออธิบายให้กระจ่างได้ไม่ยากคือ บรรดาครูมัธยมนั้นอยู่ภายใต้ระบบเจ้าขุนมูลนายของกระทรวงศึกษาธิการมาตั้งแต่ต้นแล้ว และไม่เคยถูกพวกมหาดไทยภูมิภาคปกครองอย่างใกล้ชิด จึงไม่มีประสบการณ์เหมือนพวกครูประถม

นอกจากนั้น อบจ.ก็ไม่ใช่ อบต. กล่าวคือ อบจ.รวยมีเงินงบประมาณมากแต่ไม่มีพื้นที่ที่จะบริหาร เพราะทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศไทยในปัจจุบันมีหน่วยงานรับผิดชอบหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล หรือ อบต. (เดิมที อบจ.จะทำหน้าที่แทนผู้ว่าราชการจังหวัดยังไงล่ะ แต่กระทรวงมหาดไทยท่านไม่ยอมยกเลิกตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ก็เลยมีซ้อนกันเล่นโก้ๆ นั่นเอง)

ดังนั้น พวกครูมัธยมจึงไม่ค่อยรู้สึกวิตกอะไรมากนักกับการที่จะไปอยู่กับมูลนายใหม่ หากจะให้อุปมาอุปไมยก็ได้ว่า ครูมัธยมก็เหมือนสาวๆ ที่ถูกบังคับให้อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ทำงานหนักสารพัด ทำกับข้าว ปัดกวาดเช็ดถู ฯลฯ ตลอดเช้าเย็นค่ำ เที่ยวก็ไม่ได้เที่ยว ครั้นมีโอกาสจะได้แต่งงานกับหนุ่มรูปงาม(เป็นตุ๊ด เป็นเกย์หรือเปล่าก็ไม่รู้) แถมยังเป็นลูกคนรวยอีกด้วย

ดังนั้น คิดดูแล้วน่าจะลองเสี่ยงไปดีกว่า

นอกจากนี้ ยังมีครูมัธยมจำนวนหมู่น้อยที่รู้สึกว่าการไปจากกระทรวงศึกษาการนั้นเป็นการประกาศเอกราช เป็นการปลดแอกที่หนักอึ้งมานานแล้วเสียที(โปรดอย่าลืมนึกถึงค่าแป๊ะเจี๊ยะกินเปล่าในการเข้าโรงเรียนมัธยมด้วยนะเรื่องเงินแบบนี้ใครๆ ก็รู้ว่ามีอยู่ แต่หาใบเสร็จไม่ได้นั่นนะ เป็นเงินจำนวนมหาศาลทุกปีนะ)

อีทีนี้ท่านผู้อ่านที่เคารพคงจะหายงงงันไปบ้างนะ
ล็อคหัวข้อ