** เจาะพอร์ต "วิริยะประกันภัย"ลงหุ้น 4,000 ล้าน **
- tummeng
- Verified User
- โพสต์: 3665
- ผู้ติดตาม: 0
** เจาะพอร์ต "วิริยะประกันภัย"ลงหุ้น 4,000 ล้าน **
โพสต์ที่ 1
วันนี้ว่างๆๆ เข้าไปเจอข่าวใน Biz Week เลย Copy มาให้อ่านกันน่ะครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างน่ะครับ อย่างไรโปรดใช้วิจารณยานในการอ่านข่าวด้วยนะครับ
************
เจาะพอร์ต "วิริยะประกันภัย"ลงหุ้น 4,000 ล้าน
เปิดพอร์ตลงทุน ยักษ์เบอร์ 1 ประกันวินาศภัย "วิริยะประกันภัย" ที่ขน "เบี้ยประกัน" เข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์กว่า 4 พันล้าน เลือก BGH เป็นฐานที่มั่นหลัก ขณะที่หุ้น N-PARK, SIRI, SYNTEC, FNS เจ็บหนัก ผู้บริหารเผย ลงทุนเพราะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มนี้
ปัจจุบัน บริษัท วิริยะประกันภัย เป็นบริษัทประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันสูงที่สุดอันดับ 1 ของประเทศ และเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดหุ้นอีกราย โดยบริษัทรายงานว่าในปี 2547 มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์เอกชนจำนวนมากกว่า 4,561 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ลงทุนอยู่ในตลาดหุ้น
จากการสำรวจสัดส่วนการลงทุนของ บริษัท วิริยะประกันภัย ในปีที่ผ่านมาพบว่า บริษัทมีสินทรัพย์ลงทุนจำนวน 9,168.53 ล้านบาท เน้นหนักไปการลงทุนในตลาดหุ้นมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนถึง 50% รองลงมาเป็นเงินสด และเงินฝากในสัดส่วนกว่า 21% เงินให้กู้ยืม 16% ที่เหลือเป็นพันธบัตรรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ และเงินลงทุนอื่นๆ
"กฤตวิทย์ ศรีพสุธา" กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย เปิดเผยถึง สาเหตุที่บริษัทนำเงินเข้าลงทุนในตลาดหุ้นจำนวนมาก เนื่องจากบริษัทต้องการผลตอบแทนที่จะมาชดเชยกับการขาดทุนจากการรับประกันภัย
"นโยบายของ "วิริยะประกันภัย" ไม่ได้แสวงหากำไรจากการรับประกันภัยมากนัก ทำให้บริษัทมีผลการขาดทุนจากการรับประกันภัยมาตลอดในช่วง 3 ปีหลัง โดยปี 2545-2547 บริษัทมีอัตราส่วนจากการรับประกันภัยติดลบ 0.56%, 3.99% และ 1.35% ตามลำดับ แต่ที่ผ่านมาการลงทุนของเราก็มีผลตอบแทนที่มากพอที่จะทำให้กำไรสุทธิออกมาเป็นบวก โดยปี 2547 บริษัทมีกำไร 8.83 บาทต่อหุ้น"
ในปีนี้ วิริยะ ตั้งเป้าผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ต่ำกว่า 4% หรือ 300-400 ล้านบาท โดยใช้ตลาดหุ้นเป็นกลไกหลักในการสร้างผลตอบแทน
สำหรับลักษณะการลงทุนของบริษัท กฤตวิทย์ บอกว่า บริษัทมีนโยบายในการเลือกซื้อหุ้นที่มีความมั่นคง และมีเงินปันผลเป็นส่วนใหญ่ โดยจะเน้นกระจายการลงทุนในหุ้นสามัญออกไปหลายๆ บริษัท และจะพยายามไม่ถือหุ้นเกิน 5% ของจำนวนหุ้นในหลักทรัพย์นั้นๆ
"การลงทุนของเราส่วนใหญ่จะซื้อหุ้นที่มีความมั่นคง มีเงินปันผล เราจะไม่ลงที่มีความเสี่ยงมากๆ ซึ่งตามหลักถ้าเราต้องการ High Yield เราก็ต้อง High Risk แต่เงินที่ลงทุนทั้งหมด เป็นเงินของลูกค้า เราจึงไม่ต้องการ High Risk มากนัก"
สำรวจรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กว่า 400 บริษัท พบว่า "วิริยะประกันภัย" ปรากฏชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จำนวน 8 บริษัท ประกอบด้วย อันดับ 1 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) ถือหุ้นจำนวน 89.60 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 1,845.94 ล้านบาท อันดับ 2 บริษัท แนเชอรัล พาร์ค (N-PARK) จำนวน 564.76 ล้านหุ้น มูลค่า 389.69 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ (THRE) จำนวน 57.24 ล้านหุ้น มูลค่า 289.10 ล้านบาท อันดับ 4 บริษัท แสนสิริ (SIRI) ถือหุ้นจำนวน 81.87 ล้านหุ้น มูลค่า 225.96 ล้านบาท
อันดับ 5 ลงทุนใน บริษัท ฟินันซ่า (FNS) จำนวน 4.09 ล้านหุ้น มูลค่า 74.84 ล้านบาท อันดับ 6 บริษัท ไทยวาฟูดโปรดักส์ (TWFP) จำนวน 174,900 หุ้น มูลค่า 17.66 ล้านบาท อันดับ 7 บริษัท สามัคคีประกันภัย (SMG) จำนวน 352,300 หุ้น มูลค่า 12.06 ล้านบาท และอันดับ 8 บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น (SYNTEC) จำนวน 8.76 ล้านหุ้น มูลค่า 6.75 ล้านบาท
จำนวนหุ้นทั้ง 8 บริษัทนี้มีมูลค่าเงินลงทุน ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2548 ประมาณ 2,867 ล้านบาท
จากพอร์ตจะเห็นได้ว่า "วิริยะประกันภัย" ให้ความสนใจให้หุ้นโรงพยาบาลมากที่สุด และนับเป็นขุมทรัพย์ปันผลที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท โดยในปี 2547 หุ้น BGH จ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.50 บาท วิริยะได้รับปันผล 44.80 ล้านบาท รองลงเป็นหุ้น THRE ได้รับปันผลทั้งสิ้น 20.60 ล้านบาท
ขณะที่ FNS ปันผลหุ้นละ 0.50 บาท รวมเป็นเงิน 2.04 ล้านบาท หุ้น TWFP จ่ายปันผลหุ้นละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 1.74 ล้านบาท, SMG ปันผลหุ้นละ 4.50 บาท รวมรับเงินทั้งสิ้น 1.58 ล้านบาท, SIRI ปันผลหุ้นละ 0.16 บาท เป็นเงิน 13.09 ล้านบาท ส่วน N-PARK และ SYNTEC ไม่มีปันผล
...เฉพาะหุ้น 6 ตัวที่ปรากฏ วิริยะได้รับเงินปันผลในปี 2547 ทั้งสิ้น 83.89 ล้านบาท
ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกเกี่ยวกับการเลือกหุ้นของวิริยะ โดยเฉพาะได้เข้าลงทุนในหุ้นที่มีความเกี่ยวพันกับกลุ่มของ "นางสว่าง มั่นคงเจริญ" และ "ฟินันซ่า" มากถึง 4 บริษัทได้แก่ N-PARK, SIRI, FNS และ SYNTEC ตลอดปีที่ผ่านมาราคาหุ้นทั้ง 4 ตัว ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก
โดยเฉพาะ N-PARK จากราคาซื้อขายต้นปี 2548 ที่ 1.21 บาท ล่าสุดลดลงมาอยู่ที่ 0.69 บาท ลดลงกว่า 42% เช่นเดียวกันกับ SYNTEC ที่ราคาปรับลดลงกว่า 43% ขณะที่ FNS และ SIRI ปรับลดลง 35% และ 14% ตามลำดับ
จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง พบว่า วิริยะประกันภัยได้ปรากฏชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ N-PARK ครั้งแรกเมื่อปิดสมุดทะเบียนวันที่ 20 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่ N-PARK มีปัญหาเรื่องการชำระหนี้ โดยซื้อเข้าพอร์ตทั้งสิ้น 114.76 ล้านหุ้น (ขณะนั้นราคาหุ้นอยู่ที่ 1.12 บาท)
จากนั้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2548 วิริยะได้เก็บหุ้น N-PARK รวดเดียวอีก 450 ล้านหุ้น ที่ราคา 1.01 บาท หากนับเฉพาะล็อตหลัง (ซึ่งราคาต่ำกว่าล็อตแรก) วิริยะขาดทุนจากราคาหุ้น N-PARK แล้ว 144 ล้านบาท
โดยผู้ที่ตัดสินใจนำวิริยะเข้าลงทุนหุ้นตัวนี้ คือ ธงชัย จิรอลงกรณ์ อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่งของ N-PARK ปัจจุบันเป็นรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย ดูแลในด้านการลงทุน
ก่อนหน้านี้วันที่ 24 ธันวาคม 2547 วิริยะได้เข้าเก็บหุ้น SIRI ล็อตใหญ่จำนวน 28.90 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 3 บาท ซึ่งหากคิดเฉพาะส่วนนี้เทียบกับราคาหุ้นล่าสุด เท่ากับบริษัทขาดทุนหุ้น SIRI แล้ว 6.94 ล้านบาท
กฤตวิทย์ กล่าวว่า เม็ดเงินการลงทุนใน 4 บริษัทดังกล่าว เกิดจากความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ธงชัย จิรอลงกรณ์ ซึ่งดูแลในด้านการลงทุนของบริษัท กับกลุ่มฟินันซ่า เมื่อครั้งที่ ธงชัย ได้ร่วมเป็นกรรมการใน บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น บริษัทในกลุ่มของ นางสว่าง มั่นคงเจริญ ทำให้มีการร่วมลงทุนในบริษัทอื่นๆ ตามมา
"การลงทุนของบริษัท ไม่ได้เน้นเฉพาะจะต้องเอากำไรอย่างเดียว แต่การทำธุรกิจมันจะต้องมีความสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วยกัน" กฤตวิทย์ อธิบาย
ส่วนการขาดทุนจากราคาหุ้นที่ลดลงนั้น กฤตวิทย์ บอกว่า ถือว่าเป็นเรื่องปกติของการลงทุน บางครั้งมีกำไร บางครั้งก็อาจจะขาดทุน
โดยเขายืนยันว่าเม็ดเงินที่เอาไปลงทุนใน 4 นั้นก็ไม่ได้มากมาย ไม่เกิน 10% เมื่อเทียบกับพอร์ตการลงทุนของบริษัท โดยอาจจำเป็นต้องถือหุ้นไว้ในระยะยาว
************
เจาะพอร์ต "วิริยะประกันภัย"ลงหุ้น 4,000 ล้าน
เปิดพอร์ตลงทุน ยักษ์เบอร์ 1 ประกันวินาศภัย "วิริยะประกันภัย" ที่ขน "เบี้ยประกัน" เข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์กว่า 4 พันล้าน เลือก BGH เป็นฐานที่มั่นหลัก ขณะที่หุ้น N-PARK, SIRI, SYNTEC, FNS เจ็บหนัก ผู้บริหารเผย ลงทุนเพราะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มนี้
ปัจจุบัน บริษัท วิริยะประกันภัย เป็นบริษัทประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันสูงที่สุดอันดับ 1 ของประเทศ และเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดหุ้นอีกราย โดยบริษัทรายงานว่าในปี 2547 มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์เอกชนจำนวนมากกว่า 4,561 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ลงทุนอยู่ในตลาดหุ้น
จากการสำรวจสัดส่วนการลงทุนของ บริษัท วิริยะประกันภัย ในปีที่ผ่านมาพบว่า บริษัทมีสินทรัพย์ลงทุนจำนวน 9,168.53 ล้านบาท เน้นหนักไปการลงทุนในตลาดหุ้นมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนถึง 50% รองลงมาเป็นเงินสด และเงินฝากในสัดส่วนกว่า 21% เงินให้กู้ยืม 16% ที่เหลือเป็นพันธบัตรรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ และเงินลงทุนอื่นๆ
"กฤตวิทย์ ศรีพสุธา" กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย เปิดเผยถึง สาเหตุที่บริษัทนำเงินเข้าลงทุนในตลาดหุ้นจำนวนมาก เนื่องจากบริษัทต้องการผลตอบแทนที่จะมาชดเชยกับการขาดทุนจากการรับประกันภัย
"นโยบายของ "วิริยะประกันภัย" ไม่ได้แสวงหากำไรจากการรับประกันภัยมากนัก ทำให้บริษัทมีผลการขาดทุนจากการรับประกันภัยมาตลอดในช่วง 3 ปีหลัง โดยปี 2545-2547 บริษัทมีอัตราส่วนจากการรับประกันภัยติดลบ 0.56%, 3.99% และ 1.35% ตามลำดับ แต่ที่ผ่านมาการลงทุนของเราก็มีผลตอบแทนที่มากพอที่จะทำให้กำไรสุทธิออกมาเป็นบวก โดยปี 2547 บริษัทมีกำไร 8.83 บาทต่อหุ้น"
ในปีนี้ วิริยะ ตั้งเป้าผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ต่ำกว่า 4% หรือ 300-400 ล้านบาท โดยใช้ตลาดหุ้นเป็นกลไกหลักในการสร้างผลตอบแทน
สำหรับลักษณะการลงทุนของบริษัท กฤตวิทย์ บอกว่า บริษัทมีนโยบายในการเลือกซื้อหุ้นที่มีความมั่นคง และมีเงินปันผลเป็นส่วนใหญ่ โดยจะเน้นกระจายการลงทุนในหุ้นสามัญออกไปหลายๆ บริษัท และจะพยายามไม่ถือหุ้นเกิน 5% ของจำนวนหุ้นในหลักทรัพย์นั้นๆ
"การลงทุนของเราส่วนใหญ่จะซื้อหุ้นที่มีความมั่นคง มีเงินปันผล เราจะไม่ลงที่มีความเสี่ยงมากๆ ซึ่งตามหลักถ้าเราต้องการ High Yield เราก็ต้อง High Risk แต่เงินที่ลงทุนทั้งหมด เป็นเงินของลูกค้า เราจึงไม่ต้องการ High Risk มากนัก"
สำรวจรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กว่า 400 บริษัท พบว่า "วิริยะประกันภัย" ปรากฏชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จำนวน 8 บริษัท ประกอบด้วย อันดับ 1 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) ถือหุ้นจำนวน 89.60 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 1,845.94 ล้านบาท อันดับ 2 บริษัท แนเชอรัล พาร์ค (N-PARK) จำนวน 564.76 ล้านหุ้น มูลค่า 389.69 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ (THRE) จำนวน 57.24 ล้านหุ้น มูลค่า 289.10 ล้านบาท อันดับ 4 บริษัท แสนสิริ (SIRI) ถือหุ้นจำนวน 81.87 ล้านหุ้น มูลค่า 225.96 ล้านบาท
อันดับ 5 ลงทุนใน บริษัท ฟินันซ่า (FNS) จำนวน 4.09 ล้านหุ้น มูลค่า 74.84 ล้านบาท อันดับ 6 บริษัท ไทยวาฟูดโปรดักส์ (TWFP) จำนวน 174,900 หุ้น มูลค่า 17.66 ล้านบาท อันดับ 7 บริษัท สามัคคีประกันภัย (SMG) จำนวน 352,300 หุ้น มูลค่า 12.06 ล้านบาท และอันดับ 8 บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น (SYNTEC) จำนวน 8.76 ล้านหุ้น มูลค่า 6.75 ล้านบาท
จำนวนหุ้นทั้ง 8 บริษัทนี้มีมูลค่าเงินลงทุน ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2548 ประมาณ 2,867 ล้านบาท
จากพอร์ตจะเห็นได้ว่า "วิริยะประกันภัย" ให้ความสนใจให้หุ้นโรงพยาบาลมากที่สุด และนับเป็นขุมทรัพย์ปันผลที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท โดยในปี 2547 หุ้น BGH จ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.50 บาท วิริยะได้รับปันผล 44.80 ล้านบาท รองลงเป็นหุ้น THRE ได้รับปันผลทั้งสิ้น 20.60 ล้านบาท
ขณะที่ FNS ปันผลหุ้นละ 0.50 บาท รวมเป็นเงิน 2.04 ล้านบาท หุ้น TWFP จ่ายปันผลหุ้นละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 1.74 ล้านบาท, SMG ปันผลหุ้นละ 4.50 บาท รวมรับเงินทั้งสิ้น 1.58 ล้านบาท, SIRI ปันผลหุ้นละ 0.16 บาท เป็นเงิน 13.09 ล้านบาท ส่วน N-PARK และ SYNTEC ไม่มีปันผล
...เฉพาะหุ้น 6 ตัวที่ปรากฏ วิริยะได้รับเงินปันผลในปี 2547 ทั้งสิ้น 83.89 ล้านบาท
ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกเกี่ยวกับการเลือกหุ้นของวิริยะ โดยเฉพาะได้เข้าลงทุนในหุ้นที่มีความเกี่ยวพันกับกลุ่มของ "นางสว่าง มั่นคงเจริญ" และ "ฟินันซ่า" มากถึง 4 บริษัทได้แก่ N-PARK, SIRI, FNS และ SYNTEC ตลอดปีที่ผ่านมาราคาหุ้นทั้ง 4 ตัว ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก
โดยเฉพาะ N-PARK จากราคาซื้อขายต้นปี 2548 ที่ 1.21 บาท ล่าสุดลดลงมาอยู่ที่ 0.69 บาท ลดลงกว่า 42% เช่นเดียวกันกับ SYNTEC ที่ราคาปรับลดลงกว่า 43% ขณะที่ FNS และ SIRI ปรับลดลง 35% และ 14% ตามลำดับ
จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง พบว่า วิริยะประกันภัยได้ปรากฏชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ N-PARK ครั้งแรกเมื่อปิดสมุดทะเบียนวันที่ 20 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่ N-PARK มีปัญหาเรื่องการชำระหนี้ โดยซื้อเข้าพอร์ตทั้งสิ้น 114.76 ล้านหุ้น (ขณะนั้นราคาหุ้นอยู่ที่ 1.12 บาท)
จากนั้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2548 วิริยะได้เก็บหุ้น N-PARK รวดเดียวอีก 450 ล้านหุ้น ที่ราคา 1.01 บาท หากนับเฉพาะล็อตหลัง (ซึ่งราคาต่ำกว่าล็อตแรก) วิริยะขาดทุนจากราคาหุ้น N-PARK แล้ว 144 ล้านบาท
โดยผู้ที่ตัดสินใจนำวิริยะเข้าลงทุนหุ้นตัวนี้ คือ ธงชัย จิรอลงกรณ์ อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่งของ N-PARK ปัจจุบันเป็นรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย ดูแลในด้านการลงทุน
ก่อนหน้านี้วันที่ 24 ธันวาคม 2547 วิริยะได้เข้าเก็บหุ้น SIRI ล็อตใหญ่จำนวน 28.90 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 3 บาท ซึ่งหากคิดเฉพาะส่วนนี้เทียบกับราคาหุ้นล่าสุด เท่ากับบริษัทขาดทุนหุ้น SIRI แล้ว 6.94 ล้านบาท
กฤตวิทย์ กล่าวว่า เม็ดเงินการลงทุนใน 4 บริษัทดังกล่าว เกิดจากความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ธงชัย จิรอลงกรณ์ ซึ่งดูแลในด้านการลงทุนของบริษัท กับกลุ่มฟินันซ่า เมื่อครั้งที่ ธงชัย ได้ร่วมเป็นกรรมการใน บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น บริษัทในกลุ่มของ นางสว่าง มั่นคงเจริญ ทำให้มีการร่วมลงทุนในบริษัทอื่นๆ ตามมา
"การลงทุนของบริษัท ไม่ได้เน้นเฉพาะจะต้องเอากำไรอย่างเดียว แต่การทำธุรกิจมันจะต้องมีความสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วยกัน" กฤตวิทย์ อธิบาย
ส่วนการขาดทุนจากราคาหุ้นที่ลดลงนั้น กฤตวิทย์ บอกว่า ถือว่าเป็นเรื่องปกติของการลงทุน บางครั้งมีกำไร บางครั้งก็อาจจะขาดทุน
โดยเขายืนยันว่าเม็ดเงินที่เอาไปลงทุนใน 4 นั้นก็ไม่ได้มากมาย ไม่เกิน 10% เมื่อเทียบกับพอร์ตการลงทุนของบริษัท โดยอาจจำเป็นต้องถือหุ้นไว้ในระยะยาว
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
** เจาะพอร์ต "วิริยะประกันภัย"ลงหุ้น 4,000 ล้าน **
โพสต์ที่ 2
บริษัทนี้รับประกันภัยรถยนต์อันดับหนึ่งของประเทศปัจจุบัน บริษัท วิริยะประกันภัย เป็นบริษัทประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันสูงที่สุดอันดับ 1 ของประเทศ
ซึ่งอัตราloss เรโช สูงมาก
ทำให้ต้องลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงสูง
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
** เจาะพอร์ต "วิริยะประกันภัย"ลงหุ้น 4,000 ล้าน **
โพสต์ที่ 3
รายได้หลักของบริษัทประกันมาจากเงินลงทุน
ส่วนรายได้จากธุรกิจประกันเป็นส่วนเล็กๆ นี่เป็นสาเหตุให้บริษัทไม่ค่อยใส่ใจในการรักษาฐานลูกค้าหรือเปล่านะ
ส่วนรายได้จากธุรกิจประกันเป็นส่วนเล็กๆ นี่เป็นสาเหตุให้บริษัทไม่ค่อยใส่ใจในการรักษาฐานลูกค้าหรือเปล่านะ
"Be sure you put your feet in the right place, then stand firm"
Abraham Lincoln
Abraham Lincoln
-
- ผู้ติดตาม: 0
** เจาะพอร์ต "วิริยะประกันภัย"ลงหุ้น 4,000 ล้าน **
โพสต์ที่ 6
เล่นตามวงในก็งี้แหละ