เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
- bigshow
- Verified User
- โพสต์: 730
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 1
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
วันนี้มีข่าว และเรื่องราว การสัมภาษณ์เจ๊เล้ง ผู้เริ่มธุรกิจจาก 1200 บาท และได้ต่อสู้มุมานะฝ่าฟัน สู่ธุรกิจหลายล้าน ในปัจจุบัน ได้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งมีแง่คิดหลาย ๆ อย่าง แต่ที่น่าสนใจ อยู่ที่เรื่องหนี้บัตรครับ ลองไปอ่านกันครับ
.......... : ในสายตาของเจ๊เล้ง ภาวะเศรษฐกิจทุกวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง
เจ้เล้ง : ไม่ดี ดีเป็นบางกลุ่ม ไม่ได้ดีทุกคน มันดีแค่กลุ่มย่อย แต่ประชาชนไม่ดี เศรษฐกิจตอนนี้คือ... มันเหมือนจะช่วยให้คนจนได้มีโอกาสใช้ตังค์ แต่ไม่ได้สอนว่าคนจนต้องใช้ตังค์แบบไหนถึงจะถูกวิธี คนจนไม่เคยมีโอกาสที่จะได้กู้เงินหรือใช้ตังค์ก้อนใหญ่ๆ เพราะว่าความรู้ไม่มี รายได้น้อย โอกาสที่จะใช้อย่างนั้นไม่มี แต่ขณะนี้โอกาสมีให้คนจนเยอะไป คนจนก็ไม่สามารถที่จะสอนตัวเองหรือจะบังคับตัวเองให้ใช้เงินให้ถูกทาง ขณะนี้คนจนจริงๆ ทั่วไปเป็น
หนี้เยอะมาก...อนาคตน่ากลัว อีกสอง-สามปีข้างหน้าจะเป็นคนจนล้มละลาย! เยอะมาก จนแล้วล้มละลาย นึกออกไหม ชีวิตไม่มีค่าไปเลย คนดูแลอพาร์ตเมนต์ที่บ้านฉันเขามีที่อยู่กระแบะ
มือหนึ่ง ขณะนี้ไปเข้าธนาคาร เขารับเลย ให้สองแสนห้า ให้ง่ายๆ เพราะขณะนี้ธนาคารเงินเยอะ
อยากจะทำแบบตามสนองนโยบาย คือให้คนจนกู้ กู้แบบง่ายๆ กู้มาสองแสนห้า เอาไปทำอะไรล่ะ
เอาไปซื้อรถ เฮ้ย!ซื้อรถได้ไง ก็ปรากฏว่าเอาไปซื้อรถ ซื้อรถสามแสนบาท สามแสนบาทจ่ายเงิน
แสนห้า ก็เป็นหนี้บริษัทรถยนต์แสนห้า เฮ้ยทำไมไม่จ่ายไป มันเอาไปหมุนทำการค้าเท่ากับเป็น
หนี้สี่แสน หลังจากเป็นหนี้สี่แสนเสร็จ ไอ้เงินหนึ่งแสนที่ได้มา คนมันไม่เคยมีรถแล้วไม่เคยมี
ตังค์ติดตัวเป็นแสนๆ โอ้โห...ตอนนี้ก็พากันกินกันเที่ยวสิ ฉันก็อยากทำตัวแบบเจ้านายที่รวย
เขาทำยังไง กูก็อยากทำอย่างนั้น ก็ไปเที่ยวไปกิน เงินหนึ่งแสนเจ้าตัวใช้ไม่ถึงสองเดือนก็หมด
และยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก ?
พอเงินไม่พอ เอ้า!ทำงานสิ มาขอใบรับรองเงินเดือนไปทำอะไร ไปทำบัตรเครดิต!
ลื้อจะไปซื้ออะไร ผมจะเอาไปซื้อของมาหมุนขาย ทำบัตรเครดิตได้เงินมาห้าหมื่น ก็เอาเงินมาใช้
พอใช้เสร็จ ถึงเวลาจะผ่อนบัตรเครดิตไม่มี ก็ไปทำไอ้นอนแบงก์ (non bank) สิ บริษัทนอนแบงก์
ทั้งหลายคุณทำได้คนละกี่ใบ ทำได้หมด อย่างน้อยคนละสองหมื่นห้า กู้เงินตามเสาเงินด่วนอีกล่ะ
แค่คุณมีบัตรเครดิต และบัตรเครดิตคุณไปรูดเลยร้อยหนึ่งและยังใช้ได้ นี่มันมีการเคลื่อนไหว
ใช้อยู่ได้ เขาเรียกว่ามีการอนุมัติ ไปกู้ได้เลยตามที่แบงก์กำหนดคุณเท่าไหร่ สมมติคุณรูดแบงก์
มาห้าหมื่น คุณผ่อนใช้แบงก์อยู่ขณะนี้คุณก็มีสิทธิกู้เขาได้อีกห้าหมื่น ...ลูกน้องฉันหกเดือน
เป็นหนี้เจ็ดแสน แล้วเงินเดือนมันหมื่นสามเอง ทั้งผัวทั้งเมียรวมกันหมื่นสามนะ ไม่ใช่คนเดียว
หมื่นสาม แล้วจะเอาเงินจากไหนไปผ่อนล่ะ เพราะไม่ได้เป็นหนี้ที่เดียว ไหนจะเป็นหนี้ธนาคาร
เป็นหนี้รถยนต์ เป็นหนี้บัตรวีซ่า เป็นหนี้อีอ้อน เป็นหนี้เฟิสต์ช้อยซ์ หนี้อะไรต่อมิอะไรก็ไม่รู้
สารพัดหนี้ ฉันก็เก็บบัตรของมันอยู่ที่ฉันสี่ใบ เฮ้ย เอามานี่เดี๋ยวเอ็งต้องหนีไม่มีแผ่นดินจะอยู่
ฉันก็ไปผ่อนใช้ให้มันซะ
........ : ต้องเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอีกรอบแน่ๆ ?
เจ้เล้ง : แน่นอน! ทุกคนก็รู้ ทุกคนก็หลอกตัวเอง ไม่มีใครไม่รู้ ทุกคนรู้หมด ทุกคนก็หลอกตัวเองว่าไม่ แต่จริงๆ แล้ว... ใครก็เอาไม่อยู่...
วันนี้มีข่าว และเรื่องราว การสัมภาษณ์เจ๊เล้ง ผู้เริ่มธุรกิจจาก 1200 บาท และได้ต่อสู้มุมานะฝ่าฟัน สู่ธุรกิจหลายล้าน ในปัจจุบัน ได้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งมีแง่คิดหลาย ๆ อย่าง แต่ที่น่าสนใจ อยู่ที่เรื่องหนี้บัตรครับ ลองไปอ่านกันครับ
.......... : ในสายตาของเจ๊เล้ง ภาวะเศรษฐกิจทุกวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง
เจ้เล้ง : ไม่ดี ดีเป็นบางกลุ่ม ไม่ได้ดีทุกคน มันดีแค่กลุ่มย่อย แต่ประชาชนไม่ดี เศรษฐกิจตอนนี้คือ... มันเหมือนจะช่วยให้คนจนได้มีโอกาสใช้ตังค์ แต่ไม่ได้สอนว่าคนจนต้องใช้ตังค์แบบไหนถึงจะถูกวิธี คนจนไม่เคยมีโอกาสที่จะได้กู้เงินหรือใช้ตังค์ก้อนใหญ่ๆ เพราะว่าความรู้ไม่มี รายได้น้อย โอกาสที่จะใช้อย่างนั้นไม่มี แต่ขณะนี้โอกาสมีให้คนจนเยอะไป คนจนก็ไม่สามารถที่จะสอนตัวเองหรือจะบังคับตัวเองให้ใช้เงินให้ถูกทาง ขณะนี้คนจนจริงๆ ทั่วไปเป็น
หนี้เยอะมาก...อนาคตน่ากลัว อีกสอง-สามปีข้างหน้าจะเป็นคนจนล้มละลาย! เยอะมาก จนแล้วล้มละลาย นึกออกไหม ชีวิตไม่มีค่าไปเลย คนดูแลอพาร์ตเมนต์ที่บ้านฉันเขามีที่อยู่กระแบะ
มือหนึ่ง ขณะนี้ไปเข้าธนาคาร เขารับเลย ให้สองแสนห้า ให้ง่ายๆ เพราะขณะนี้ธนาคารเงินเยอะ
อยากจะทำแบบตามสนองนโยบาย คือให้คนจนกู้ กู้แบบง่ายๆ กู้มาสองแสนห้า เอาไปทำอะไรล่ะ
เอาไปซื้อรถ เฮ้ย!ซื้อรถได้ไง ก็ปรากฏว่าเอาไปซื้อรถ ซื้อรถสามแสนบาท สามแสนบาทจ่ายเงิน
แสนห้า ก็เป็นหนี้บริษัทรถยนต์แสนห้า เฮ้ยทำไมไม่จ่ายไป มันเอาไปหมุนทำการค้าเท่ากับเป็น
หนี้สี่แสน หลังจากเป็นหนี้สี่แสนเสร็จ ไอ้เงินหนึ่งแสนที่ได้มา คนมันไม่เคยมีรถแล้วไม่เคยมี
ตังค์ติดตัวเป็นแสนๆ โอ้โห...ตอนนี้ก็พากันกินกันเที่ยวสิ ฉันก็อยากทำตัวแบบเจ้านายที่รวย
เขาทำยังไง กูก็อยากทำอย่างนั้น ก็ไปเที่ยวไปกิน เงินหนึ่งแสนเจ้าตัวใช้ไม่ถึงสองเดือนก็หมด
และยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก ?
พอเงินไม่พอ เอ้า!ทำงานสิ มาขอใบรับรองเงินเดือนไปทำอะไร ไปทำบัตรเครดิต!
ลื้อจะไปซื้ออะไร ผมจะเอาไปซื้อของมาหมุนขาย ทำบัตรเครดิตได้เงินมาห้าหมื่น ก็เอาเงินมาใช้
พอใช้เสร็จ ถึงเวลาจะผ่อนบัตรเครดิตไม่มี ก็ไปทำไอ้นอนแบงก์ (non bank) สิ บริษัทนอนแบงก์
ทั้งหลายคุณทำได้คนละกี่ใบ ทำได้หมด อย่างน้อยคนละสองหมื่นห้า กู้เงินตามเสาเงินด่วนอีกล่ะ
แค่คุณมีบัตรเครดิต และบัตรเครดิตคุณไปรูดเลยร้อยหนึ่งและยังใช้ได้ นี่มันมีการเคลื่อนไหว
ใช้อยู่ได้ เขาเรียกว่ามีการอนุมัติ ไปกู้ได้เลยตามที่แบงก์กำหนดคุณเท่าไหร่ สมมติคุณรูดแบงก์
มาห้าหมื่น คุณผ่อนใช้แบงก์อยู่ขณะนี้คุณก็มีสิทธิกู้เขาได้อีกห้าหมื่น ...ลูกน้องฉันหกเดือน
เป็นหนี้เจ็ดแสน แล้วเงินเดือนมันหมื่นสามเอง ทั้งผัวทั้งเมียรวมกันหมื่นสามนะ ไม่ใช่คนเดียว
หมื่นสาม แล้วจะเอาเงินจากไหนไปผ่อนล่ะ เพราะไม่ได้เป็นหนี้ที่เดียว ไหนจะเป็นหนี้ธนาคาร
เป็นหนี้รถยนต์ เป็นหนี้บัตรวีซ่า เป็นหนี้อีอ้อน เป็นหนี้เฟิสต์ช้อยซ์ หนี้อะไรต่อมิอะไรก็ไม่รู้
สารพัดหนี้ ฉันก็เก็บบัตรของมันอยู่ที่ฉันสี่ใบ เฮ้ย เอามานี่เดี๋ยวเอ็งต้องหนีไม่มีแผ่นดินจะอยู่
ฉันก็ไปผ่อนใช้ให้มันซะ
........ : ต้องเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอีกรอบแน่ๆ ?
เจ้เล้ง : แน่นอน! ทุกคนก็รู้ ทุกคนก็หลอกตัวเอง ไม่มีใครไม่รู้ ทุกคนรู้หมด ทุกคนก็หลอกตัวเองว่าไม่ แต่จริงๆ แล้ว... ใครก็เอาไม่อยู่...
เป็นคนเลว ในสายตาคนอื่น ดีกว่าโกหกตัวเอง ให้เทิดทูนบูชา ติดกับมายาคติ ที่กะลาครอบ
-
- Verified User
- โพสต์: 1435
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 2
บอกตรงๆ ว่า ที่เจ๊เล้งพูด ผมก็เห็นจากคนรอบๆ ข้างผม
ผมเห็นด้วยกับเจ๊เล้งครับ
เพื่อนๆ ระวังตัวกันไว้ไม่เสียหายนะครับ
ผมเห็นด้วยกับเจ๊เล้งครับ
เพื่อนๆ ระวังตัวกันไว้ไม่เสียหายนะครับ
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 3
ใช่ ตอนนี้เดาไม่ออกจริงๆ ว่าเศรษฐกิจมันยังลงอยู่หรือว่ามันเริ่มทรงตัวกันแน่ ดูจากรอบๆ ตัวรู้สึกว่ามันยังลงอยู่ แต่ตัวเลขทางเศรษฐกิจดูทรงๆ ตัว
ส่วนราคาหุ้นมาขึ้นมาแล้ว
ส่วนราคาหุ้นมาขึ้นมาแล้ว
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1734
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 4
เจ๊เล้งอาจจะทำนายแม่นกว่าพวกดอกเตอร์ทั้งหลาย
เพราะมันสอดคล้องกับมาม่าอินเด็กส์เลยครับ
เพราะมันสอดคล้องกับมาม่าอินเด็กส์เลยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1250
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 6
ผมเชื่อนะครับแต่ไม่ใช่เวลานี้ ต้องเป็นอีก2-4 ปี
เพราะผลของหนี้ที่ปล่อยง่ายตอนนี้ ยังไม่ออกน่ะครับ
ที่บ้านผม Std ชาเตอร์ โทรมาเกือบทุกวันอยู่ช่วงนึง (1-2 เดือนที่แล้ว)ทั้งที่บ้านก็เลิกขายของส่งไปนานแล้วเหลือแต่ขายเล็กๆน้อยๆ
อยากปล่อยกู้ 200000-1000000 โดยไม่ต้องมี อะไรไปวางประกัน
ยังไม่รวมหนี้จ่ากบัตรเครดิตที่ตอนนี้ ออกมาให้เกลือ่นจากหลายสำนัก
ดูจะทำให้ฟุ้งเฟ้อเกินเหตุ
แต่ก็อย่างว่าครับ หนี้แบบนี้มันอยู่ที่คน มากกว่า จะก่อหนี้เท่าไหร่ก็ได้เมื่อ ใช้คืนได้
เพราะผลของหนี้ที่ปล่อยง่ายตอนนี้ ยังไม่ออกน่ะครับ
ที่บ้านผม Std ชาเตอร์ โทรมาเกือบทุกวันอยู่ช่วงนึง (1-2 เดือนที่แล้ว)ทั้งที่บ้านก็เลิกขายของส่งไปนานแล้วเหลือแต่ขายเล็กๆน้อยๆ
อยากปล่อยกู้ 200000-1000000 โดยไม่ต้องมี อะไรไปวางประกัน
ยังไม่รวมหนี้จ่ากบัตรเครดิตที่ตอนนี้ ออกมาให้เกลือ่นจากหลายสำนัก
ดูจะทำให้ฟุ้งเฟ้อเกินเหตุ
แต่ก็อย่างว่าครับ หนี้แบบนี้มันอยู่ที่คน มากกว่า จะก่อหนี้เท่าไหร่ก็ได้เมื่อ ใช้คืนได้
-
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 7
เจ๊ชอบเงินสด ใครอยากรูดบัตรซื้อของ เจ๊แกชาร์จ 3%
ผมไม่ค่อยพกเงินสด ไปซื้อของเจ๊ ต้องไปกดเอทีเอ็มตรงข้ามร้าน
ร้านเจ๊แก ผมว่าราคาไม่ค่อยมาตราฐาน ไหลได้ตามดีมานซัพพลาย
เคยซื้อชาเขียวเข้ม กล่องละ 150 มาดูอีกที 280 ใครเป็นลูกค้าทำใจนิดนึง
ให้ตายเถอะโรบิน ร้านด้านหน้าของเจ๊ขายดีชะมัด ต้องจ้างคนมาเฝ้าของจนเยอะกว่าลูกค้า แต่แผงที่ตึกหลังนี่สิ แมวไม่มองเลย
บ่นในฐานะลูกค้าประจำ ไปนอกไม่อยากแบกของกลับ ก็ช๊อปเจ๊เล้งไปฝากเพื่อนฝูงได้ ราคาไม่แตกต่าง แต่ขนของขึ้นเครื่องเบาตัวกว่ากันเยอะครับ ซื้อของฝากญาติผู้ใหญ่ ก็ชื่นใจทุกคน :lovl: ยังไงก็รักเจ๊นะจ้ะ ..
ผมไม่ค่อยพกเงินสด ไปซื้อของเจ๊ ต้องไปกดเอทีเอ็มตรงข้ามร้าน
ร้านเจ๊แก ผมว่าราคาไม่ค่อยมาตราฐาน ไหลได้ตามดีมานซัพพลาย
เคยซื้อชาเขียวเข้ม กล่องละ 150 มาดูอีกที 280 ใครเป็นลูกค้าทำใจนิดนึง
ให้ตายเถอะโรบิน ร้านด้านหน้าของเจ๊ขายดีชะมัด ต้องจ้างคนมาเฝ้าของจนเยอะกว่าลูกค้า แต่แผงที่ตึกหลังนี่สิ แมวไม่มองเลย
บ่นในฐานะลูกค้าประจำ ไปนอกไม่อยากแบกของกลับ ก็ช๊อปเจ๊เล้งไปฝากเพื่อนฝูงได้ ราคาไม่แตกต่าง แต่ขนของขึ้นเครื่องเบาตัวกว่ากันเยอะครับ ซื้อของฝากญาติผู้ใหญ่ ก็ชื่นใจทุกคน :lovl: ยังไงก็รักเจ๊นะจ้ะ ..
-
- Verified User
- โพสต์: 1688
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 8
เมื่อไหร่เจ๊เล้งพลาซ่า จะเข้าตลาดหุ้น
==หากบริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดฯ หุ้นยังน่าซื้อหรือไม่ ==
-
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 9
อย่าเลยครับเฮียเต่า ก็ไอ้ตึกหลังที่ว่าเงียบๆนั่นแหละ เจ๊เล้งพลาซ่า :lovl:
-
- Verified User
- โพสต์: 1688
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 10
[quote="jaychou"]อย่าเลยครับเฮียเต่า ก็ไอ้ตึกหลังที่ว่าเงียบๆนั่นแหละ เจ๊เล้งพลาซ่า
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 11
เจ๊เล้งพูดโดนใจมากเลยครับ ... ฟังแล้วเข้าใจง่ายดีไม่ต้องตีลังกาคิดเหมือนนักวิชาการพูด
ส่วนเรื่องเข้าตลาดสงสัยจะยาก เจ้แก anti ตลาดหุ้นมาแต่ไหนแต่ไร
ส่วนเรื่องเข้าตลาดสงสัยจะยาก เจ้แก anti ตลาดหุ้นมาแต่ไหนแต่ไร
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 15
แหม เจ้เล้งแกเล่นเข้ามาฟันธงแบบนี้ เราน่าจะมาลองดูข้อมูลจริงๆดูหน่อยซิว่า เท็จจริง มันเป็นอย่างที่แกว่ามารึเปล่า
ตัวเลขชุดนี้เป็นตัวเลขจำนวนสัญญาเงินกู้ของAEONTS ซึ่งสัญญาเสี่ยงคือสัญญาที่มีค้างชำระเกิน 3 เดือน ลองมาดูกัน
วันที่ เสี่ยง G% สัญญารวม G%
20/2/02 1.7852% 0.00% 1,283,079 0.00%
20/5/02 1.9268% 7.93% 1,497,747 16.73%
20/8/02 2.1945% 13.90% 1,708,437 14.07%
20/11/02 2.1281% -3.02% 1,899,828 11.20%
20/2/03 2.1905% 2.93% 2,021,240 6.39%
20/5/03 2.7244% 24.37% 1,947,554 -3.65%
20/8/03 2.6481% -2.80% 1,898,831 -2.50%
20/11/03 2.1825% -17.58% 1,907,111 0.44%
20/2/04 2.1187% -2.92% 1,691,559 -11.30%
20/5/04 2.1987% 3.78% 1,737,423 2.71%
20/8/04 2.4133% 9.76% 1,766,903 1.70%
20/11/04 2.4997% 3.58% 1,790,273 1.32%
20/2/05 2.5959% 3.85% 1,650,816 -7.79%
20/5/05 2.6012% 0.21% 1,730,049 4.80%
20/8/05 2.6782% 2.96% 1,909,216 10.36%
ตัวเลขชุดนี้เป็นตัวเลขจำนวนสัญญาเงินกู้ของAEONTS ซึ่งสัญญาเสี่ยงคือสัญญาที่มีค้างชำระเกิน 3 เดือน ลองมาดูกัน
วันที่ เสี่ยง G% สัญญารวม G%
20/2/02 1.7852% 0.00% 1,283,079 0.00%
20/5/02 1.9268% 7.93% 1,497,747 16.73%
20/8/02 2.1945% 13.90% 1,708,437 14.07%
20/11/02 2.1281% -3.02% 1,899,828 11.20%
20/2/03 2.1905% 2.93% 2,021,240 6.39%
20/5/03 2.7244% 24.37% 1,947,554 -3.65%
20/8/03 2.6481% -2.80% 1,898,831 -2.50%
20/11/03 2.1825% -17.58% 1,907,111 0.44%
20/2/04 2.1187% -2.92% 1,691,559 -11.30%
20/5/04 2.1987% 3.78% 1,737,423 2.71%
20/8/04 2.4133% 9.76% 1,766,903 1.70%
20/11/04 2.4997% 3.58% 1,790,273 1.32%
20/2/05 2.5959% 3.85% 1,650,816 -7.79%
20/5/05 2.6012% 0.21% 1,730,049 4.80%
20/8/05 2.6782% 2.96% 1,909,216 10.36%
- bigshow
- Verified User
- โพสต์: 730
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 16
น้องผมก็เข้าข่ายนี้เหมือนกัน ทำงานได้เดือนละ 2 หมื่นกว่า ทำบัตรเครคดิตเกือบทุกอย่าง มีเป็น 10 กว่าใบ แล้วก็ใช้เต็มวงเงินทุกใบ เวลาจ่ายก็จ่ายแต่ขั้นต่ำ 1000 - 2000 บาท ตลอด เคยว่ากล่าวตักเตือนก็จะเงียบเฉย เปลี่ยนงานบ่อยเกือบทุกเดือน ไม่รู้หนีเจ้าหนี้หรือเปล่า วันๆผมรับโทรศัพท์จากพวกบัตรเครดิต
เฉพาะ อิออน พูดจาไม่ดีมากๆ จริงๆน่าจะพกคนละใบสองใบก็พอ
เฉพาะ อิออน พูดจาไม่ดีมากๆ จริงๆน่าจะพกคนละใบสองใบก็พอ
เป็นคนเลว ในสายตาคนอื่น ดีกว่าโกหกตัวเอง ให้เทิดทูนบูชา ติดกับมายาคติ ที่กะลาครอบ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 17
ตอนนี้ ถ้า GDP สามารถโตได้สัก 5%-6% ต่อปีไปเรื่อยๆ
หนี้คนจนนี้อาจจะไม่ร้ายแรงจนเกินไปนัก
เพราะอีกไม่นานคงเข็นกฎหมายล้มละลายฉบับคนจนออกมาช่วย
เพื่อให้ก่อหนี้ได้อีกรอบทั้งๆ ยังไม่มีปัญญาจ่ายหนี้เก่า
แต่ถ้า
1. เกิดพายุ category 3 - 4 เข้ากรุงเทพ
2. หวัดนกกลายพันธุ์ ติดจากคนสู่คน
3. FTA เริ่มสำแดงเดช สินค้าราคาถูกหลั่งไหลเข้าประเทศ
ผู้ประกอบการรายเล็กเริ่มล้มหายตายจาก
4. ก่อการร้ายเริ่มออกจากภาคใต้
5. เจอสึนามิอีกรอบ ฝั่งอ่าวไทย
6. เม็กกะโปรเจ็กเริ่มไปแล้ว แต่ไม่มีเงินทำให้เสร็จ
7. ราคาน้ำมันแกว่งอยู่ช่วง $50 - %70 ไปอีก 3 ปี
8. จีนผันน้ำจากเขื่อนเข้าภาคกลางของประเทศ
9. FTA ไทยอเมริกา ผลออกมาไทยเสียเปรียบ
10. เรื่องใหญ่....
ไม่อยากจะคิดครับ ว่าเมื่อไหร่ ขนาดไหน
หนี้คนจนนี้อาจจะไม่ร้ายแรงจนเกินไปนัก
เพราะอีกไม่นานคงเข็นกฎหมายล้มละลายฉบับคนจนออกมาช่วย
เพื่อให้ก่อหนี้ได้อีกรอบทั้งๆ ยังไม่มีปัญญาจ่ายหนี้เก่า
แต่ถ้า
1. เกิดพายุ category 3 - 4 เข้ากรุงเทพ
2. หวัดนกกลายพันธุ์ ติดจากคนสู่คน
3. FTA เริ่มสำแดงเดช สินค้าราคาถูกหลั่งไหลเข้าประเทศ
ผู้ประกอบการรายเล็กเริ่มล้มหายตายจาก
4. ก่อการร้ายเริ่มออกจากภาคใต้
5. เจอสึนามิอีกรอบ ฝั่งอ่าวไทย
6. เม็กกะโปรเจ็กเริ่มไปแล้ว แต่ไม่มีเงินทำให้เสร็จ
7. ราคาน้ำมันแกว่งอยู่ช่วง $50 - %70 ไปอีก 3 ปี
8. จีนผันน้ำจากเขื่อนเข้าภาคกลางของประเทศ
9. FTA ไทยอเมริกา ผลออกมาไทยเสียเปรียบ
10. เรื่องใหญ่....
ไม่อยากจะคิดครับ ว่าเมื่อไหร่ ขนาดไหน
- YUT
- Verified User
- โพสต์: 42
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 19
อย่าว่าแต่เจ๊เล้งเลย ผมก็ทำนายได้ เพราะ "วัฏจักรเศรษฐกิจ" มีขึ้นก็มีลง....ขึ้นประมาณ 8-10 ปี ลงประมาณ 4-5 ปี
ถ้าเริ่มนับลงจากปี 2540-2545 เป็นขาลง ปี 2546 ถึง 2554-2556 ก็น่าจบวัฏจักรขาขึ้น แล้วก็ลงอีก
ถ้าเริ่มนับลงจากปี 2540-2545 เป็นขาลง ปี 2546 ถึง 2554-2556 ก็น่าจบวัฏจักรขาขึ้น แล้วก็ลงอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 20
ตัวเลขที่ผมlistให้ดูเป็นตัวเลขจำนวนสัญญาที่ค้างชำระมากกว่าสามเดือน เทียบกับจำนวนสัญญาทั้งหมดของบมจ. อิออน โดยใช้เป็นสมมุติฐานของบัตรเครดิตทั่วไป ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ราวๆ 2.7% ของสัญญาทั้งหมดซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลหนี้ค้างรับเกิน 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งถ้ามองในเชิงอัตราส่วนยังถือว่าไม่น่าวิตกนัก แต่ก็สมควรเฝ้าระวัง เพราะตัวเลขตั้งแต่ปี'02ถึงปี'05 สัดส่วนหนี้ที่มากกว่า 3 เดือนเพิ่มขึ้นจาก ~1.7%เป็น~2.6% หรือมีสัดส่วนขยายตัวเพิ่มขึ้น ~53%ใน 3 ปี ดังนั้นสิ่งที่เราควรพิจารณาหรือเฝ้าติดตามคือ ภาครัฐมีนโยบายอะไรที่จะควบคุมระดับหนี้เสี่ยงไม่ให้สูงกว่าในปัจจุบัน(กระบวนการด้านอุปสงค์) และ/หรือมีมาตรการใดที่สนับสนุนการออมหรือลงทุนระยะยาวมากขึ้น(กระบวนการด้านอุปทาน)หรือไม่ เพื่อสร้างความสมดุลให้แก่เสถียรภาพทางการเงินของระบบเศรษฐกิจ
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 21
โหคุณCK....นับถือๆ
ทีแรกผมเรียงลำดับให้หวัดนกอยู่อันดับ1 แต่เห็นคุณCKให้ภัยธรรมชาติอยู่อันดับแรก....น่าคิดๆ
เอาที่ผมเคยเรียงลำดับความน่ากลัวให้ดูบ้างดีกว่า
1.หวัดนกกลายพันธุ์ หรือโรคระบาดชนิดใหม่ที่ติดต่ออย่างรวดเร็วและควบคุมไม่ได้
2.ก่อการร้ายขนาดรุนแรงในพื้นที่สำคัญๆ
3.วิกฤตราคาน้ำมัน
4.ขาดดุลการค้าต่อเนื่อง
5.ภัยธรรมชาติ
คุณCKนี่คิดได้ละเอียดกว่ามากเลย แต่ยังไงๆผมว่าหวัดนกนี่น่ากลัวที่สุดอยู่ดีนะเนี่ย
ทีแรกผมเรียงลำดับให้หวัดนกอยู่อันดับ1 แต่เห็นคุณCKให้ภัยธรรมชาติอยู่อันดับแรก....น่าคิดๆ
เอาที่ผมเคยเรียงลำดับความน่ากลัวให้ดูบ้างดีกว่า
1.หวัดนกกลายพันธุ์ หรือโรคระบาดชนิดใหม่ที่ติดต่ออย่างรวดเร็วและควบคุมไม่ได้
2.ก่อการร้ายขนาดรุนแรงในพื้นที่สำคัญๆ
3.วิกฤตราคาน้ำมัน
4.ขาดดุลการค้าต่อเนื่อง
5.ภัยธรรมชาติ
คุณCKนี่คิดได้ละเอียดกว่ามากเลย แต่ยังไงๆผมว่าหวัดนกนี่น่ากลัวที่สุดอยู่ดีนะเนี่ย
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 22
ขอโทษนะครับพี่CK ผมว่าพี่มองเหตุต่างๆที่พูดถึง มุมเดียวเกินไปนะครับ
เช่น
3. ผู้ผลิตบางส่วนอาจหายไป แต่บางส่วนอาจมีประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น เนื่องจากได้วัตถุดิบที่ดีขึ้น และ/หรือ ได้วัตถุดิบที่มีราคาถูกลง และถ้ามองในภาพใหญ่ ตามทฤษฎีการที่ต้นทุนการผลิตถูกลงย่อมทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนตัวไปทางขวา นั่นย่อมหมายความว่าผู้บริโภคจะได้บริโภคสินค้าในจำนวนที่มากขึ้นในราคาที่ลดลง นั่นหมายถึงผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์มากขึ้น
6.ถามว่าปัจจุบันรัฐมีเงินไหม คำตอบคือมีเหลือครับ มากด้วย ปัจจุบันรัฐบาลใช้มาตรการงบประมาณแบบสมดุล (รายจ่ายภาครัฐ=รายได้หลักภาครัฐ(เช่น ภาษี)) ซึ่งรัฐมีเป้าหมายที่จะใช้งบประมาณอยู่ที่ 92% แต่ทว่าปัจจุบันใช้ไปเพียง 69% ซึ่งตอนนี้เลยเป็นปัญหาอยู่ว่าจะใช้งบประมาณที่เหลืออย่างไร ในขณะที่อีก 3 เดือนก็จะปิดงบประมาณอยู่แล้ว
7.ราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวนและมีแนวโน้มขาขึ้น ประเด็นนี้แม้จะเป็นระเด็นที่ก่อให้เกิดปัญหาทั่วโลก(ไม่ใช่พี่ไทยเจ้าเดียว) แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการกระตุ้นในการพัฒนาและวิจัยทรัพยากรพลังงานใหม่ๆขึ้นมาเช่นกัน และไม่เป็นที่น่าประหลาดใจถ้าพลังงานหลักในอนาคตจะไม่ใช้น้ำมัน (ประวัติศาสตร์มนุษย์มีมาหลายพันปี แต่เราเพิ่งมาใช้น้ำมันไม่กี่ร้อยปีนี่เอง) และนี่อาจเป็นรอยต่อแห่งวิวัฒนาการแห่งการสรรหาพลังงานชนดใหม่ก็เป็นได้
เรื่องอื่นๆ
ภัยธรรมชาติ ถือเป็นeventsครับ มาแล้วก็ไป ส่งผลกระทบช่วงสั้น แต่ที่น่าห่วงจริงๆคือเขื่อนในจีน อันนี้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แหล่งน้ำ และวิถีชีวิตโดยตรง และถาวรด้วย อันนี้น่ากลัวครับ
เช่น
3. ผู้ผลิตบางส่วนอาจหายไป แต่บางส่วนอาจมีประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น เนื่องจากได้วัตถุดิบที่ดีขึ้น และ/หรือ ได้วัตถุดิบที่มีราคาถูกลง และถ้ามองในภาพใหญ่ ตามทฤษฎีการที่ต้นทุนการผลิตถูกลงย่อมทำให้เส้นอุปทานเคลื่อนตัวไปทางขวา นั่นย่อมหมายความว่าผู้บริโภคจะได้บริโภคสินค้าในจำนวนที่มากขึ้นในราคาที่ลดลง นั่นหมายถึงผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์มากขึ้น
6.ถามว่าปัจจุบันรัฐมีเงินไหม คำตอบคือมีเหลือครับ มากด้วย ปัจจุบันรัฐบาลใช้มาตรการงบประมาณแบบสมดุล (รายจ่ายภาครัฐ=รายได้หลักภาครัฐ(เช่น ภาษี)) ซึ่งรัฐมีเป้าหมายที่จะใช้งบประมาณอยู่ที่ 92% แต่ทว่าปัจจุบันใช้ไปเพียง 69% ซึ่งตอนนี้เลยเป็นปัญหาอยู่ว่าจะใช้งบประมาณที่เหลืออย่างไร ในขณะที่อีก 3 เดือนก็จะปิดงบประมาณอยู่แล้ว
7.ราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวนและมีแนวโน้มขาขึ้น ประเด็นนี้แม้จะเป็นระเด็นที่ก่อให้เกิดปัญหาทั่วโลก(ไม่ใช่พี่ไทยเจ้าเดียว) แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการกระตุ้นในการพัฒนาและวิจัยทรัพยากรพลังงานใหม่ๆขึ้นมาเช่นกัน และไม่เป็นที่น่าประหลาดใจถ้าพลังงานหลักในอนาคตจะไม่ใช้น้ำมัน (ประวัติศาสตร์มนุษย์มีมาหลายพันปี แต่เราเพิ่งมาใช้น้ำมันไม่กี่ร้อยปีนี่เอง) และนี่อาจเป็นรอยต่อแห่งวิวัฒนาการแห่งการสรรหาพลังงานชนดใหม่ก็เป็นได้
เรื่องอื่นๆ
ภัยธรรมชาติ ถือเป็นeventsครับ มาแล้วก็ไป ส่งผลกระทบช่วงสั้น แต่ที่น่าห่วงจริงๆคือเขื่อนในจีน อันนี้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แหล่งน้ำ และวิถีชีวิตโดยตรง และถาวรด้วย อันนี้น่ากลัวครับ
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 23
ที่คุณgenieโพสก็น่าคิดครับ
ส่วนเรื่องFTA ที่น่ากลัวก็คือ เรายอมให้ของถูกจากนอกใหลเข้ามาสู้กับสิ่งที่เราก็ผลิตอยู่ด้วยเหมือนกัน เช่นผลิตผลทางการเกษตร สื่งทอฯลฯ
ผมเคยดูของออสเตรเลีย เค้าจะยอมลดภาษีให้ต่างประเทศในเรื่องที่เค้าไม่ผลิตเองหรือไม่ถนัดอยู่แล้ว และไม่ได้ลดให้ประเทศไทยอย่างเดียวนะครับ เค้าลดให้จีน อินโด อินเดีย และศรีลังกาด้วย เพื่อให้ประเทศเหล่านี้ดั้มพ์ราคาสู้กันเอง กลายเป็นประโยชน์กับเค้าซะอีกครับ
ส่วนของเรานะครับ เอาสัญญาณดาวเทียมไปแลกกับผลิตผลเกษตรจากจีน ฯลฯ
ส่วนเรื่องFTA ที่น่ากลัวก็คือ เรายอมให้ของถูกจากนอกใหลเข้ามาสู้กับสิ่งที่เราก็ผลิตอยู่ด้วยเหมือนกัน เช่นผลิตผลทางการเกษตร สื่งทอฯลฯ
ผมเคยดูของออสเตรเลีย เค้าจะยอมลดภาษีให้ต่างประเทศในเรื่องที่เค้าไม่ผลิตเองหรือไม่ถนัดอยู่แล้ว และไม่ได้ลดให้ประเทศไทยอย่างเดียวนะครับ เค้าลดให้จีน อินโด อินเดีย และศรีลังกาด้วย เพื่อให้ประเทศเหล่านี้ดั้มพ์ราคาสู้กันเอง กลายเป็นประโยชน์กับเค้าซะอีกครับ
ส่วนของเรานะครับ เอาสัญญาณดาวเทียมไปแลกกับผลิตผลเกษตรจากจีน ฯลฯ
-
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 24
ถ้า...เม็กกะโปรเจ็กถ้าเริ่มแล้ว แ่ต่ไม่มีเงินทำให้เสร็จ ? เห็นมีการลดขนาด
คุณ genie ว่ารัฐบาลเหลือเงินมาก ... เอ ตกลงเหลือมากน้อยเท่าไหร่
ชักจะงงๆครับ
คุณ genie ว่ารัฐบาลเหลือเงินมาก ... เอ ตกลงเหลือมากน้อยเท่าไหร่
ชักจะงงๆครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 25
วิกฤติทางการเงินของโลกนั้นจะเกิดขึ้นทุกๆสิบปี
ระดับความรุนแรงมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆๆ
รอบสุดท้ายที่เกิดกันนั้น(ต้มยำกุ้ง) ลามมากเกินไป
ยาที่ใช้แก้ไขนั้นยังคงเป็นยาแผนโบราณ แต่รับมือกับ
ปัญหาที่สั่งสมได้หรือน่าคิดอยู่
วงจรเศรษฐกิจไทยนั้น มีปัญหาหาทุกสิบปีอยู่แล้ว
ประมาณ 2500 ธนาคารเกษตร
2518 วิกฤติน้ำมัน
2523 ลดค่าเงินบาท
2528 เข้าIMF(ปลดหนี้ตอนพลเอกชาติชายเป็นนายก)+ลดค่าเงินบาท
2535 ตระกล้าเงินแบบfixเพราะเกิดวิกฤติที่เม็กซิโกทำให้ตลาดเงินผันผวนมากเกินไป ต้องทำให้เกิดเสถียรภาพเลย fixซักเลย แต่ไม่ยอมแก้ไขตอนเปิดBIBF
2540 เข้าIMF(ปลดหนี้เมื่อปีที่แล้ว)+ลอยค่าเงินบาท
ระดับความรุนแรงมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆๆ
รอบสุดท้ายที่เกิดกันนั้น(ต้มยำกุ้ง) ลามมากเกินไป
ยาที่ใช้แก้ไขนั้นยังคงเป็นยาแผนโบราณ แต่รับมือกับ
ปัญหาที่สั่งสมได้หรือน่าคิดอยู่
วงจรเศรษฐกิจไทยนั้น มีปัญหาหาทุกสิบปีอยู่แล้ว
ประมาณ 2500 ธนาคารเกษตร
2518 วิกฤติน้ำมัน
2523 ลดค่าเงินบาท
2528 เข้าIMF(ปลดหนี้ตอนพลเอกชาติชายเป็นนายก)+ลดค่าเงินบาท
2535 ตระกล้าเงินแบบfixเพราะเกิดวิกฤติที่เม็กซิโกทำให้ตลาดเงินผันผวนมากเกินไป ต้องทำให้เกิดเสถียรภาพเลย fixซักเลย แต่ไม่ยอมแก้ไขตอนเปิดBIBF
2540 เข้าIMF(ปลดหนี้เมื่อปีที่แล้ว)+ลอยค่าเงินบาท
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 26
ผมชอบวิธีคิดของ genie นะ ในแง่ใช้ข้อเท็จจริงค่อนข้างมาก ของเจ๊เล้งใช้ความรู้สึก(แม้จะมาจากการสังเกตุของจริง)บวกอารมณ์บางอย่างเข้าไป(การให้สัมภาษณ์แบบนี้ถ้าไม่ทำให้ตื่นเต้นน่ากลัว คนอ่านอาจจะไม่สนใจก็เลยต้องใส่สีสันเข้าไปหน่อย ) และทำให้เกิดbias โดยอาจจะรู้หรือไม่รู้ตัว
คนที่กู้เงินไปลงทุนออกดอกออกผลก็มีนี่ครับ หรือก่อนหน้าที่บัตรเครดิตจะเกร่อขนาดนี้ ก็มีการกู้เงินมากเหมือนกันแต่ไปกู้นอกระบบดอกเบี้ยมหาโหดไงครับ จำไม่ได้หรือ ทำไมไม่พูดถึง(เพราะพูดแล้วไม่มันส์ หรือเพราะพูดแล้วจะไปขัดแย้งกับความคิดตัวเอง)
อนาคตอาจจะเป็นอย่างเจ๊ว่าก็ได้ ถ้ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตายไปแล้วในทางความคิด ตายไปแล้วในเรื่องการเรียนรู้และก็การแก้ปัญหาและใช้แต่กิเลสและความโลภเป็นตัวนำในการดำเนินชีวิต
แต่ผมยังเชื่อว่ามนุษย์ยังไม่ตายและยังมีความสามารถในการดิ้นรนเอาตัวรอด แหม.......ถ้าไม่แน่จริง มนุษย์มาไม่ถึงขั้นนี้หรอกน่า ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยเจอวิกฤติการณ์หนักๆเสียเมื่อไหร่ ก็ยังฟื้นกันได้นี่นา อิอิ หนักกว่าเธอก็เจอมาแล้ว
ผมนึกถึงบทความที่ดอกเตอร์นิเวศน์พูดในเรื่องข่าวร้าย ที่มักจะเกินจริง
คนที่กู้เงินไปลงทุนออกดอกออกผลก็มีนี่ครับ หรือก่อนหน้าที่บัตรเครดิตจะเกร่อขนาดนี้ ก็มีการกู้เงินมากเหมือนกันแต่ไปกู้นอกระบบดอกเบี้ยมหาโหดไงครับ จำไม่ได้หรือ ทำไมไม่พูดถึง(เพราะพูดแล้วไม่มันส์ หรือเพราะพูดแล้วจะไปขัดแย้งกับความคิดตัวเอง)
อนาคตอาจจะเป็นอย่างเจ๊ว่าก็ได้ ถ้ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตายไปแล้วในทางความคิด ตายไปแล้วในเรื่องการเรียนรู้และก็การแก้ปัญหาและใช้แต่กิเลสและความโลภเป็นตัวนำในการดำเนินชีวิต
แต่ผมยังเชื่อว่ามนุษย์ยังไม่ตายและยังมีความสามารถในการดิ้นรนเอาตัวรอด แหม.......ถ้าไม่แน่จริง มนุษย์มาไม่ถึงขั้นนี้หรอกน่า ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยเจอวิกฤติการณ์หนักๆเสียเมื่อไหร่ ก็ยังฟื้นกันได้นี่นา อิอิ หนักกว่าเธอก็เจอมาแล้ว
ผมนึกถึงบทความที่ดอกเตอร์นิเวศน์พูดในเรื่องข่าวร้าย ที่มักจะเกินจริง
ข่าวร้ายของตลาดหุ้นเมื่อสักสองสามปีมาแล้ว
ข่าวการขยายตัวของโรค SARS หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่าหวัดมรณะกำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นหลาย ๆ ประเทศในเอเซียซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของโรคและเป็นบริเวณที่มีคนติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก
ผมคิดว่าเรายังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า SARS จะส่งผลกระทบมากแค่ไหนกับโลกของเรา อาจจะเสียหายเพียงเล็กน้อยถ้าโรคร้ายถูกควบคุมได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน หรืออาจจะเสียหายอย่างใหญ่หลวงถ้าโรคนี้ลุกลามจนเป็นกลียุค
นักลงทุนในตลาดหุ้นคงจะต้องจับตามองเรื่องของเจ้าหวัดมรณะนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อดูว่าจะทำอย่างไรกับหุ้นที่ถืออยู่ แต่ในขณะนี้ก็คงยังไม่ต้องตกใจมากนัก เพราะข่าวร้ายของตลาดหุ้นนั้นเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ค่าที่ว่าโลกเรานั้นใหญ่โตและซับซ้อนมากจึงมีโอกาสที่จะเกิดเรื่องร้ายแรงได้ตลอดเวลา ณ จุดใดจุดหนึ่งของโลก และด้วยความจริงที่ว่าโลกในปัจจุบันเป็นโลกาภิวัฒน์ ข่าวและผลกระทบในจุดหนึ่งสามารถส่งผลไปถึงจุดอื่น ๆ ทั่วโลกภายในระยะเวลาอันสั้น
ด้วยเหตุดังกล่าว นักลงทุนจึงต้องปรับตัวเองให้มีความใจเย็น มั่นคง และพินิจพิจารณา ข่าวร้าย ทุกเรื่อง เพื่อดูว่าข่าวร้ายใดที่น่าจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยอย่างรุนแรงและข่าวร้ายใดเป็นเรื่องที่ คิดไปเอง หรือเป็นเรื่องไกลตัว
ว่าที่จริง ข่าวร้ายที่มีผลกระทบจริงต่อการลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น Value Investment นั้น ผมคิดว่ามีไม่มากนัก เพราะฉะนั้น Value Investor หรือนักลงทุนที่เน้นคุณค่าของหุ้นจึงไม่ควรปริวิตกกับข่าวร้ายมากเกินไป และการขายหุ้นทิ้งเพื่อหนีข่าวร้ายน่าจะเป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก
อย่างไรก็ตามการติดตามเรื่องร้ายแรงของตลาดหุ้นนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องทำเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดหายนะกับพอร์ตหุ้นของเรา แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เพื่อที่จะฉวยโอกาสซื้อหุ้นคุณภาพดี ราคาถูกมากซึ่งเป็นผลจากการที่คนส่วนใหญ่ทิ้งหุ้นเพื่อหนี ข่าวร้าย ที่ไม่เป็นจริง
ผมจะลองลิสต์รายการที่เป็น ข่าวร้าย ที่รุนแรงซึ่งนักลงทุนควรจะต้องให้ความสนใจมากดังต่อไปนี้
เรื่องแรกก็คือ สงครามซึ่งแม้กระทั่งถึง พ.ศ. นี้แล้วก็ยังเกิดขึ้นบ่อย ๆ ล่าสุดก็คือสงครามระหว่างสหรัฐกับอิรักซึ่งก็จบลงแล้วโดยที่ผลกระทบนั้นมีไม่มากนักเพราะเป็นสงครามที่ไม่ลุกลาม และผลของสงครามนั้นเป็นที่เห็นได้ชัดตั้งแต่แรก
ว่าที่จริง สงครามในช่วงหลัง ๆ ดูเหมือนว่าจะไม่ร้ายแรงนักเพราะมักจะเป็นสงครามจำกัดขอบเขต เพราะฉะนั้นคราวหน้าถ้าเกิดสงครามอีกควรคิดถึงโอกาสซื้อหุ้นมากกว่าที่จะขาย
ถัดจากสงครามก็คือเรื่องการก่อการร้ายซึ่งดูเหมือนว่าจะน่ากลัวกว่าสงครามและมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่ามาก
การก่อการร้ายนั้น ถ้าเป็นการเกิดขึ้นนอกประเทศคงจะมีผลกระทบเฉพาะกับหุ้นบางตัวที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหรือการขนส่ง แต่ถ้าเกิดในประเทศก็เป็นข่าวร้ายที่มีผลพอสมควรทีเดียว
นอกจากการสงครามและการก่อการร้ายแล้ว ผมคิดว่าการปฎิวัติรัฐประหารถ้าเกิดขึ้นในประเทศก็เป็นเรื่องร้ายแรงมากโดยเฉพาะในยุคนี้ที่กระแสประชาธิปไตยพัดไปทั่วโลก อย่างไรก็ตามผมคิดว่าเมืองไทยคงมีโอกาสที่จะเกิดน้อยลงไปมาก
เรื่องร้ายแรงต่อมาเป็นเรื่องที่เกิดจากการกระทำของคนบางกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจดทะเบียนหรือตลาดหุ้น เรื่องแรกก็คือ เรื่องฉาวโฉ่ในด้านของธรรมาภิบาลโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นกับบริษัทใหญ่ ๆ
ในสหรัฐเองเรื่องของเอนรอนและเวิร์ลคอมได้ทำให้ตลาดหุ้นตกลงไปไม่ใช่น้อย โชคดีที่เมืองไทยยังไม่มีบริษัทใหญ่ ๆ ที่เกิดปัญหารุนแรงขนาดที่ทำให้บริษัทล้มด้วยเหตุของธรรมาภิบาลชัด ๆ แต่เรื่องนี้ก็ประมาทไม่ได้ เพราะเกรดของธรรมาภิบาลในตลาดหุ้นไทยนั้น ผมคิดว่าคงได้ไม่เกิน C หรือแค่พอสอบผ่าน
ในด้านของตลาดหุ้นเองนั้นเรื่องที่จะมีผลร้ายแรงน่าจะเป็นเรื่องที่กระทบต่อการซื้อขายหุ้นและผลประโยชน์ของนักลงทุน และที่มีโอกาสเกิดขึ้นก็คือเรื่องของภาษีโดยเฉพาะภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้นซึ่งปัจจุบันไม่ต้องเสียแต่ก็เคยมีคนพูดถึงว่าน่าจะเก็บ
สำหรับตลาดหุ้นไทย ผมคิดว่าการประกาศเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้นคงจะมีผลร้ายแรงต่อตลาดหุ้นอย่างประมาณไม่ได้ เพราะนั่นจะทำลายการลงทุนโดยเฉพาะแบบเก็งกำไรทั้งหมด และตลาดคงโกลาหล ดัชนีตลาดหุ้นคงจะตกลงมามหาศาลจนถึงขั้นวิกฤต
เหตุการณ์ร้ายแรงกลุ่มต่อมาผมจะเรียกว่า นโยบายของรัฐที่ต่อต้านระบบทุนนิยมหรือการทำให้ตลาดเสรีมีปัญหา เรื่องนี้มีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของตลาดหุ้นในระยะยาว และกระทบต่องการลงทุนของ Value Investor มาก
ผมคิดว่ายิ่งเศรษฐกิจเปิดมากเท่าไร ระบบเสรีนิยมแข็งแรงมากเท่าไรก็จะเป็นผลดีต่อบริษัทจดทะเบียนและตลาดหุ้นมากเท่านั้น เพราะระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันจะทำให้กิจการของเอกชนมีประสิทธิภาพ และทำให้เศรษฐกิจเติบโตเร็วต่อเนื่องยาวนานซึ่งจะทำให้หุ้นและตลาดหุ้นเติบโตตาม
ตรงกันข้ามเศรษฐกิจที่ปิด เศรษฐกิจที่เป็นสังคมนิยมหรือรัฐที่เน้นด้านสสวัสดิการมากเกินไปจะบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ลดการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและไม่เป็นผลดีต่อหุ้นและตลาดหุ้น
ว่าที่จริงตลาดหุ้นนั้นอาจจะเรียกได้ว่าเป็นเป็นสัญญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของระบบทุนนิยม ถ้าเปรียบให้ตลาดหุ้นเหมือนปลาระบบทุนนิยมก็เหมือนน้ำ ปลาขาดน้ำไม่ได้ฉันใด ตลาดหุ้นก็ขาดระบบทุนนิยมไม่ได้ฉันนั้นเพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ผมเห็นรัฐบาลออกกฎหมายหรือแทรกแซงการทำงานของตลาดเสรี ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การควบคุมราคาสินค้า การให้บริการรักษาพยาบาลในราคาต่ำกว่าต้นทุน การขายบ้านหรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด รวมไปถึงเรื่องของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ด้อยลง ผมมักจะเกิดความกังวลใจ เพราะเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ถ้ามีมากขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้ายอาจจะทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอไปไม่ไหว และเมื่อนั้นตลาดหุ้นก็หมดอนาคต
เรื่องสุดท้ายซึ่งผมได้พูดไปบ้างแล้วในตอนต้นของบทความก็คือเรื่องของโรคติดต่อร้ายแรงและยังรักษาไม่ได้กว่า 10 ปีเรื่องของโรค SARS ซึ่งมองกันขณะนี้ค่อนข้างน่ากลัวและก็ได้เริ่มส่งผลต่อตลาดหุ้นกันบ้างแล้ว แต่ถ้าถามว่าควรจะขายหรือซื้อหุ้น คำตอบของผมก็คือ ซื้อ โดยเฉพาะถ้าตลาดหุ้นยังตกลงมาเรื่อย
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 27
อีกอันหนึ่งครับ
เศรษฐกิจกับตลาดหุ้น โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
นักลงทุนในตลาดหุ้นส่วนใหญ่จะวิตกกังวลกับเรื่องของภาวะเศรษฐกิจของประเทศมากเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจากตลาดหุ้น เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ถ้าเศรษฐกิจแย่ ตลาดหุ้นก็พัง ถ้าเศรษฐกิจดี ตลาดหุ้นก็จะวิ่งระเบิด เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่มีการสัมมนาเรื่องหุ้น ก็มักจะมีคำถามว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร และเศรษฐกิจแบบนี้เราควรจะลงทุนในตลาดหุ้นไหม?
คำตอบของผมทุกครั้งก็คือ ผมไม่สนใจภาวะเศรษฐกิจ สิ่งที่ผมสนใจก็คือตัวหุ้นที่ผมจะลงทุน ถ้าพบหุ้นของบริษัทดีที่มีราคาถูกกว่ามูลค่าพื้นฐาน ผมก็จะลงทุน เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร ผมไม่สนใจ เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ ผมไม่สามารถคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจได้ถูกต้อง และถ้าพูดถึงดัชนีหุ้นแล้ว ผมยิ่งไม่รู้ใหญ่ว่าดัชนีจะไปทางไหน ผมรู้แต่ว่าถ้าหุ้นผมมีคุณภาพดี ราคาถูกกว่าพื้นฐาน หุ้นก็จะดูแลตัวของมันเอง
คำถามต่อมาที่อาจจะเกิดขึ้นในใจของหลายคนก็คือ ถ้าเรารู้ หรือคาดการณ์ได้ถูกต้องว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร จะไม่ดีกว่าหรือในการที่จะสามารถเข้าหรือออกจากตลาดในเวลาที่ถูกต้องแทนที่จะปล่อยให้หุ้นที่ถืออยู่มีราคาตกต่ำลงเพราะภาวะเศรษฐกิจแย่ ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นตกต่ำ ซึ่งจะดึงให้หุ้นของเราขาดทุนไปด้วย?
คำตอบของผมก็คือ เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง และถึงจะคาดการณ์ได้ถูกต้องจริง ก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องรับประกันว่าเศรษฐกิจดีแล้วหุ้นต้องดี เศรษฐกิจแย่แล้วหุ้นต้องแย่ ไม่เคยมีการศึกษาไหนที่บอกว่าดัชนีหุ้นจะต้องตามภาวะเศรษฐกิจ ว่าที่จริงมีการศึกษาที่บอกว่าเศรษฐกิจดี ดัชนีหุ้นมักจะแย่ และถ้าภาวะเศรษฐกิจแย่ตลาดหุ้นมักจะกลับดี ซึ่งฟังดูก็น่าประหลาด เพราะเรามักจะได้ยินผู้นำประเทศและนักวิเคราะห์ชั้นนำพูดกันเสมอว่าตลาดหุ้นจะดีแน่เพราะเศรษฐกิจจะดี จนเราคิดว่านี่คือความจริงที่เที่ยงแท้โดยไม่คิดที่จะพิสูจน์หรือหาหลักฐานมายืนยัน
ถ้าคำพูดที่ว่าเศรษฐกิจดีแล้วหุ้นต้องดีเป็นจริง นักลงทุนคงจะรวยกันได้ง่ายมาก คุณเพียงแต่หาเงินไปลงทุนในประเทศจีนซึ่งเศรษฐกิจโตระเบิดปีละเกือบ 10% และทุกคนต่างก็มั่นใจว่าเศรษฐกิจของจีนจะโตต่อไปอีกนานจากที่ดีมาแล้วเป็นเวลานานนับสิบปี แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ตลาดหุ้นของจีนนั้นให้ผลตอบแทนที่แย่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในช่วงเวลานับ 10 ปีที่ผ่านมา ปัญหาก็คือเรื่องราคาของหุ้นในตลาดที่แพงกว่าพื้นฐานเพราะนักลงทุนต่างก็มองโลกในแง่ดีเข้าซื้อหุ้นลงทุนกันมาก และเมื่อหุ้นในตลาดมีราคาแพงมาก ถึงภาวะเศรษฐกิจจะดี มันก็ไม่คุ้มที่จะลงทุน
ตรงกันข้าม ในภาวะที่เศรษฐกิจย่ำแย่ คนมองโลกในแง่ร้ายเทขายหุ้นจนหุ้นในตลาดมีราคาตกต่ำลงมาก ค่า PE ของตลาดเหลือเพียง 8-9 เท่า ซึ่งมีราคาถูกมาก แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะไม่ดี แต่การลงทุนก็อาจจะคุ้มค่ามากกว่า
ถ้าจะเปรียบให้เข้าใจง่าย เราก็เพียงแต่มองตลาดหุ้นให้เหมือนกับหุ้นตัวหนึ่ง และดัชนีตลาดก็คือราคาของหุ้นตัวนั้น ในภาวะที่เศรษฐกิจดี เราอาจจะบอกว่าหุ้นตลาดกำลังเติบโตเร็วเป็นหุ้น Growth Stock แต่หุ้นโตเร็วนั้นก็มักจะเป็นหุ้นร้อนแรงราคาแพง คือมี PE สูงกว่าพื้นฐาน การซื้อหุ้นร้อนนั้นโอกาสขาดทุนก็มีสูง แต่หุ้นตลาดในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีนั้นมักจะมีราคาต่ำกว่าปกติ เป็นหุ้น PE ต่ำ ซึ่งจะเรียกว่าเป็นหุ้น Value ก็ไม่น่าจะผิด และถ้าเรากล้าที่จะลงทุน โอกาสที่จะทำกำไรกลับจะมีมากกว่า
ทั้งหมดนี้ผมก็หวังว่าจะทำให้นักลงทุนทั้งหลาย โดยเฉพาะ Value Investor เลิกวิตกกังวลกับภาวะเศรษฐกิจเวลาคิดจะลงทุน หรือถ้าจะคิดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจก็ควรจะมองว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ดูเลวร้ายนั้น จริง ๆ แล้วมันคือโอกาสที่จะทำกำไรมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่เชียร์ให้ซื้อหุ้นโดยการพิจารณาภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก การลงทุนโดยเฉพาะของนักลงทุนรายย่อยที่ลงทุนระยะยาวนั้น ไม่มีประโยชน์ที่จะนำภาวะเศรษฐกิจในช่วงสั้น ๆ เพียงปีสองปีมาพิจารณา
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 28
บทสรุปผู้บริหาร
ด้านรายได้
- เดือนกรกฎาคม 2548 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 โดยจัดเก็บได้สุทธิ 82,343 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,125 ล้านบาท ภาษีที่มีการขยายตัวในอัตราที่สูงคือ ภาษีจากฐานรายได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ในช่วง 10 เดือนแรกรัฐบาลจัดเก็บรายได้ จำนวน 1,007,691 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 58,721 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.6) และได้จัดสรรรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนฯ ไปแล้วจำนวน 38,177 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 16,039 ล้านบาท
- จากแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ที่เกินเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนภาพรวมภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เชื่อมั่นว่าในปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้จำนวน 1,250,000 ล้านบาท ได้ตามที่คาดการณ์ไว้
ด้านรายจ่าย
- ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้วจำนวน 926,644 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.9 โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปี 843,565 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67.5 ของวงเงินงบประมาณ (1,250,000 ล้านบาท)
- คาดว่าในปีงบประมาณ 2548 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีมีจำนวน 1,129,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 90.4 ของวงเงินงบประมาณ 1,250,000 ล้านบาท ดุลการคลังตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (ระบบ สศค.)
ดุลการคลังตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (ระบบ สศค.)
- ดุลการคลังรัฐบาล (Central Government) ตามระบบ สศค.เบื้องต้น ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 เกินดุลทั้งสิ้น 37,868 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP ขณะที่ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วขาดดุล 53,030 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของ GDP
- ปีงบประมาณ 2548 คาดว่าดุลการคลังของภาครัฐบาลตามระบบ สศค. จะเกินดุล 29,629 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.4 ของ GDP (ปีที่แล้วเกินดุลร้อยละ 0.1 ของ GDP) ทั้งนี้เป็นผลจากการ เกินดุลของรัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 24,705 และ 22,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 และ 0.3 ของ GDP ตามลำดับ
- ในปีงบประมาณ 2548 คาดว่าดุลเงินงบประมาณของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดจะเกินดุล 20,300 ล้านบาท ขณะที่เป้าหมายที่ตั้งไว้จะเป็นงบประมาณสมดุล
ด้านรายได้
- เดือนกรกฎาคม 2548 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 โดยจัดเก็บได้สุทธิ 82,343 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,125 ล้านบาท ภาษีที่มีการขยายตัวในอัตราที่สูงคือ ภาษีจากฐานรายได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ในช่วง 10 เดือนแรกรัฐบาลจัดเก็บรายได้ จำนวน 1,007,691 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 58,721 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.6) และได้จัดสรรรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนฯ ไปแล้วจำนวน 38,177 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 16,039 ล้านบาท
- จากแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ที่เกินเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนภาพรวมภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เชื่อมั่นว่าในปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้จำนวน 1,250,000 ล้านบาท ได้ตามที่คาดการณ์ไว้
ด้านรายจ่าย
- ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้วจำนวน 926,644 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.9 โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปี 843,565 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67.5 ของวงเงินงบประมาณ (1,250,000 ล้านบาท)
- คาดว่าในปีงบประมาณ 2548 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีมีจำนวน 1,129,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 90.4 ของวงเงินงบประมาณ 1,250,000 ล้านบาท ดุลการคลังตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (ระบบ สศค.)
ดุลการคลังตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (ระบบ สศค.)
- ดุลการคลังรัฐบาล (Central Government) ตามระบบ สศค.เบื้องต้น ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 เกินดุลทั้งสิ้น 37,868 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP ขณะที่ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วขาดดุล 53,030 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของ GDP
- ปีงบประมาณ 2548 คาดว่าดุลการคลังของภาครัฐบาลตามระบบ สศค. จะเกินดุล 29,629 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.4 ของ GDP (ปีที่แล้วเกินดุลร้อยละ 0.1 ของ GDP) ทั้งนี้เป็นผลจากการ เกินดุลของรัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 24,705 และ 22,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 และ 0.3 ของ GDP ตามลำดับ
- ในปีงบประมาณ 2548 คาดว่าดุลเงินงบประมาณของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดจะเกินดุล 20,300 ล้านบาท ขณะที่เป้าหมายที่ตั้งไว้จะเป็นงบประมาณสมดุล
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 29
ข้อมูลข้างบนเป็นข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ซึ่งจุดต่างๆที่ผมได้underlineเอาไว้ จะเห็นได้ว่า
1. รัฐบาลขณะนี้เก็บภาษีได้เกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้
2. รายจ่ายงบประมาณยังไม่เป็นไปตามเป้า (ตั้งงบไว้ 1.25ล้านล้านบาท แต่เบิกจ่ายไปจริงแค่ 0.84ล้านล้านบาท)
ซึ่งการที่เกิดงบประมาณเกินดุลนั้นไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดีนะครับ เพราะนั่นหมายความว่า"เงิน"ถูกดึงออกไปจากระบบเศรษฐกิจมากกว่าฉีดเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ มันต่างกับการเงินบุคคลนะครับ
อีกทั้งถ้าเศรษฐกิจไม่ดีจริงทำไมเก็บภาษีได้สูงกว่าเป้าละ คงคิดได้ 2 แง่
1. เศรษฐกิจเติบโตขึ้น (เศรษฐกิจเรายังคงโตอยู่นะครับ แต่โตน้อยกว่าปีที่แล้วเท่านั้น)
2. ระบบการจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้นบอกได้เลยครับว่าตอนนี้รัฐบาลกำลังปวดหัวอยู่ว่าจะใช้เงินยังไง ไม่ใช่ไม่มีเงินใช้นะครับ ส่วนเรื่องที่ว่าเมกะโปรเจคไม่มีเงินทำให้เสร็จ อันนี้ไม่ใช่นะครับ ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลทักษิณแกประเภทนักธุรกิจจ๋า ดังนั้นเลยกลายเป็นว่า โครงการณ์ต่างๆนั้นใช้เวลาคืนทุนขนาดไหน จะทำFinanceยังไงให้ปีประสิทธิภาพสูงสุด เลยกลายเป็นว่า เงินเหลือ หรืออย่างเจ้าหนองงูเห่า งบจากเดิมตั้งไว้ที่ 1.9หมื่นล้าน พอตอนนี้กลายเป็นว่าใช้แค่ 1.8หมื่นล้านก็สร้างเสร็จ พอเจอเรื่องCTXคนเลยลืมข้อเท็จจริงอันนี้หมด
สรุปเรื่องรัฐบาลไม่มีตังค์ อันนี้ฟันธงได้เลยครับ "ไม่จริง" แต่ปัญหาคือไม่รู้จะเอาเงินไปใช้ที่ไหนต่างหาก
ซึ่งจุดต่างๆที่ผมได้underlineเอาไว้ จะเห็นได้ว่า
1. รัฐบาลขณะนี้เก็บภาษีได้เกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้
2. รายจ่ายงบประมาณยังไม่เป็นไปตามเป้า (ตั้งงบไว้ 1.25ล้านล้านบาท แต่เบิกจ่ายไปจริงแค่ 0.84ล้านล้านบาท)
ซึ่งการที่เกิดงบประมาณเกินดุลนั้นไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดีนะครับ เพราะนั่นหมายความว่า"เงิน"ถูกดึงออกไปจากระบบเศรษฐกิจมากกว่าฉีดเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ มันต่างกับการเงินบุคคลนะครับ
อีกทั้งถ้าเศรษฐกิจไม่ดีจริงทำไมเก็บภาษีได้สูงกว่าเป้าละ คงคิดได้ 2 แง่
1. เศรษฐกิจเติบโตขึ้น (เศรษฐกิจเรายังคงโตอยู่นะครับ แต่โตน้อยกว่าปีที่แล้วเท่านั้น)
2. ระบบการจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้นบอกได้เลยครับว่าตอนนี้รัฐบาลกำลังปวดหัวอยู่ว่าจะใช้เงินยังไง ไม่ใช่ไม่มีเงินใช้นะครับ ส่วนเรื่องที่ว่าเมกะโปรเจคไม่มีเงินทำให้เสร็จ อันนี้ไม่ใช่นะครับ ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลทักษิณแกประเภทนักธุรกิจจ๋า ดังนั้นเลยกลายเป็นว่า โครงการณ์ต่างๆนั้นใช้เวลาคืนทุนขนาดไหน จะทำFinanceยังไงให้ปีประสิทธิภาพสูงสุด เลยกลายเป็นว่า เงินเหลือ หรืออย่างเจ้าหนองงูเห่า งบจากเดิมตั้งไว้ที่ 1.9หมื่นล้าน พอตอนนี้กลายเป็นว่าใช้แค่ 1.8หมื่นล้านก็สร้างเสร็จ พอเจอเรื่องCTXคนเลยลืมข้อเท็จจริงอันนี้หมด
สรุปเรื่องรัฐบาลไม่มีตังค์ อันนี้ฟันธงได้เลยครับ "ไม่จริง" แต่ปัญหาคือไม่รู้จะเอาเงินไปใช้ที่ไหนต่างหาก
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
เจ๊เล้ง กับมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟันธง วิกฤติอีกรอบ
โพสต์ที่ 30
ส่วนในกรณีของFTAที่มีการหวั่นวิตกกันมาก อันนี้มันมีมุมอีกด้านที่เล่นได้ อย่างเช่นเรื่องนม การขนส่งนมจากออสเตเรียมาไทย คุณคิดว่าขนถ่ายในรูปของเหลวหรือเป็นผงครับ ฟันธงได้เลยครับขืนส่งมาใรรูปของเหลวเน่าคาcargoแน่ๆ แถมต้นทุนก็สูงด้วย ดังนั้นต้องมาเป็นผงแน่นอน แล้วยังไงหรือครับ แทนที่จะเรียกร้องต่อต้านทำไมไม่เรียกร้องให้ออกข้อกำหนดที่อยู่บนฉลากว่า นิยามของคำว่านมสดคือนมที่ไม่ได้ผ่านการแปรสภาพของสสารเดิม หรือพูดง่ายๆก็คือ นมสดต้องเป็นนมที่มาแบบเหลวๆแล้วผ่านวิธีการฆ่าเชื้อ ไม่ใช่มาเป็นผงแล้วแปรสภาพกลับเป็นเหลวอีกครั้ง ลงอย่างนี้นมไทยกับนมออสฯกลายเป็นคนละตลาดเลยนะครับ แถมเพิ่มmarginให้เกษตรกรไทยต่างหาก ดังนั้นรัฐบาลที่ฉลาดจะไม่กลัวFTA แต่จะใช้มาตรการที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีมาใช้แทน เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย มาตรการควบคุมปริมาณสินค้า มาตรการป้องกันการทุ่มตลาด ฯลฯ เพาะหัวใจหลักของการเปิดเสรีคือ ทำให้ผู้บริโภคสามารถบริโภคสินค้าได้มากขึ้นในขณะที่ราคาลดลง นั่นทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์ไม่ใช่หรือ