อิฐมวลเบา Q-CON-SUPER เปิดศึกราคา ร่อแร่ ทั้งคู่
- BerZerK
- Verified User
- โพสต์: 128
- ผู้ติดตาม: 0
อิฐมวลเบา Q-CON-SUPER เปิดศึกราคา ร่อแร่ ทั้งคู่
โพสต์ที่ 1
แกะรอย "หนังชีวิต" ธุรกิจ.."อิฐมวลเบา" "Q-CON-SUPER" เปิดศึกราคา "ร่อแร่" ทั้งคู่
ธุรกิจอิฐมวลเบาเดือด "Q-CON" เปิดเกมหั่นราคา 10% ขณะที่ "SUPER" ปรับราคาสู้ 15% ต้อนรับน้องใหม่ "DCON" ร่วมวงไพบูลย์ปลายปีนี้
ท่ามกลางธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่ช่วงชะลอตัว การฟาดฟันในธุรกิจ "ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา" นับวันยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จาก 2 คู่ชกสำคัญระหว่าง บริษัท ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดักส์ (Q-CON) กับ บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก (SUPER)
แม้ธุรกิจนี้จะมีคู่แข่งขันโดยตรงเพียงแค่ 2 รายในตลาด แต่กลุ่มผู้ใช้ก็ยังอยู่ในวงจำกัด และแนวโน้มการเติบโตเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ทั้ง 2 ฝ่ายจึงต้องใช้ "กลยุทธ์ลดราคา" เพื่อขยายตลาดอิฐมวลเบา เพราะก่อนหน้านี้ต่างฝ่ายต่างก็เร่งขยายกำลังการผลิตของตัวเอง
เพียงแค่ยกแรกทั้ง "Q-CON" และ "SUPER" ต่างก็บาดเจ็บไปทั้งคู่
ผลประกอบการ "ไตรมาส 2" ของ "Q-CON" ลดลงอย่างมาก "กำไรสุทธิ" งวดครึ่งปี 2548 ดิ่งลงจาก 152.83 ล้านบาท เหลือเพียง 29.49 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ทำได้ต่ำมากเพียงแค่ 1.38 ล้านบาท เพราะฉะนั้นในไตรมาส 3 และ 4 โอกาสที่สถานการณ์ของบริษัทจะดีขึ้นจึงเป็นไปได้ยาก
เช่นเดียวกับ "SUPER" ตัวเลขกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ลดเหลือ 29.75 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรปกติ 37.83 ล้านบาท (หากรวมกำไรพิเศษจากการยกเลิกสัญญาต่างตอบแทน ปี 2547 จะมีกำไรสุทธิ 352.83 ล้านบาท) ลดลง 21%
ทั้งหมดนี้เป็นการเปิดเกมของผู้นำตลาด "คิว-คอน" ที่ครองมาร์เก็ตแชร์กว่า 70% เพื่อหวังปิดอนาคต "คู่แข่ง" ทางธุรกิจ
"คิว-คอน" ได้เริ่มลดราคาอิฐมวลเบาลง 10% มาตั้งแต่ต้นไตรมาส 2 ที่ผ่านมา หลังจาก "มาร์จิน" ของอิฐมวลเบา ที่ "หอมหวาน" ได้ เริ่มดึงดูดให้คู่แข่งสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้เพิ่ม
"ซุปเปอร์บล๊อก" หลังเข้าตลาดก็เร่งขยายกำลังการผลิตโรงงานแห่งที่ 3 ที่จังหวัดพังงา ซึ่งหากแล้วเสร็จบริษัทจะมีกำลังการผลิตรวมที่ 5.7 ล้านตร.ม./ปี ยังมีคู่แข่งอย่าง บริษัท ดีคอน โปรดักส์ (DCON) ที่กำลังเข้ามาในธุรกิจนี้ด้วยการตั้งโรงงานผลิต 4 ล้านตร.ม./ปี ซึ่งกำหนดเปิดปลายปี
การลดราคาของ "คิว-คอน" ได้ทำควบคู่ไปกับการเร่งขยายไลน์การผลิต เพื่อให้ไปตามหลัก Economy of scale ยิ่งผลิตมาก "ต้นทุนยิ่งต่ำ"
จากไตรมาส 2 ปี 2547 มีโรงงานผลิตโรงเดียวมีกำลังการผลิต 3 ล้านตร.ม./ปี แต่ปัจจุบันคิว-คอนมี 3 โรงงานกำลังการผลิตรวม 9 ล้านตร.ม./ปี และปลายปีนี้จะเปิดอีกแห่งจะทำให้มีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 12 ตร.ม./ปี
"การที่บริษัทปรับลดราคานั้น เนื่องจากเห็นว่า เรามีกำลังการผลิตมาก คุ้มค่าเพียงพอที่จะลดราคาได้ อีกทั้งการขยายตัวของคู่แข่งก็มีมากขึ้นเพราะเห็นมาร์จินสูง จึงมีการเข้ามาเรื่อยๆ" กิตติ สุนทรมโนกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดและการขาย เปิดเผยกับ "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek"
กิตติ อธิบายวิธีคิดของคิว-คอนให้ฟังว่า การรักษาแชมป์จะต้องทำไปพร้อมกับการขยายตลาด นั่นคือ ต้องเร่งขยายกำลังการผลิตให้เร็ว เพื่อยึดครอง "มาร์เก็ตแชร์" ให้มากที่สุด รวมถึงการนำ "อิฐมวลเบา" เร่งเข้าไปเจาะ "ตลาดอิฐมอญ" ให้ได้มากที่สุด
ในที่สุดแล้วต้องลดราคาเพื่อให้ลูกค้าไม่เห็นความแตกต่างระหว่าง อิฐมวลเบา และ อิฐมอญ นอกจากนี้ คิว-คอน ยังต้องเร่งสร้างแบรนด์ ให้ลูกค้าเกิดการจดจำให้เร็วที่สุด
นับเป็นการเดินเกมตามแผนกลยุทธ์ Economy of speed "เร็วกว่า..ยิ่งได้เปรียบ" ตามรูปแบบการเดินเกมของกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่มี "อนันต์ อัศวโภคิน" เป็นหัวเรือใหญ่
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า "คิว-คอน" เดินเกมขยายธุรกิจ "ผิดจังหวะ" ถ้าตลาดบ้านระดับบน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักชะลอตัว ขณะที่ตลาดระดับกลาง และล่างยังนิยม "อิฐมอญ" ในภาวะอสังหาริมทรัพย์ "ขาลง" กำลังการผลิตของ "คิว-คอน" จะเหลือมหาศาล
เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็นกำลังการผลิต "เหลือเฟือ" แต่ยอดขาย "ลดลง" ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ตัวเลขกำไรสุทธิของบริษัทออกมาไม่ดีนับต่อจากนี้
กิตติ บอกว่า การปรับราคาลงเมื่อเทียบกับยอดขายแล้ว ถือว่าเราพอใจ แม้ว่าตัวเลขจะไม่ได้ตามที่ต้องการ แต่ถ้าไม่ลดราคาตัวเลขยอดขายอาจจะติดลบลงไปอีก
เมื่อมองในมุมของ "คู่แข่ง" ทั้ง "ซุปเปอร์บล๊อก" และ "ดีคอน" ก็อยู่ในภาวะกดดันอย่างหนักถ้าจะลงมาเล่นสงครามราคานานๆ กับ "เจ้าตลาด" อย่าง "คิว-คอน"
อย่างไรก็ตาม กิตติ ยังหวังว่าในอนาคตโอกาสของอิฐมวลเบายังมีอีกมาก เพราะรัฐบาลมีนโยบายประหยัดพลังงาน อิฐมวลเบาซึ่งมีคุณสมบัติประหยัดพลังงานไฟฟ้าก็ยังคงมีแนวโน้มที่ดี
ฝั่ง "ซุปเปอร์บล๊อก" หลังจากที่ "คิว-คอน" ลดราคา "อิฐมวลเบา" ก็ถูกผลกระทบทันที
"จอมทรัพย์ โลจายะ" กรรมการผู้จัดการ ซุปเปอร์บล๊อก เปิดเผยว่า ภายหลังจากทาง คิว-คอน ลดราคาลงมาทางบริษัทก็ได้มีการลดราคาลงมาตามประมาณ 15% เพื่อแข่งขัน ซึ่งการลดราคาดังกล่าวไม่ได้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพราะสินค้าของบริษัทเกรดค่อนข้างดี
เขายอมรับว่า มาร์จินของธุรกิจอิฐมวลเบาคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันจะสูงขึ้น แต่ทั้งนี้บริษัทตั้งใจที่จะเลี่ยงการแข่งขันเรื่องราคา เนื่องจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายอาจจะสู้ไม่ได้
ดังนั้นซุปเปอร์บล๊อกจะปรับตัวโดยเน้นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อรักษามาร์จินโดยภาพรวมของบริษัทอาจจะมาเน้น "ผนังมวลเบา" หรือ การสร้างบ้านประเภทกึ่งสำเร็จรูป (พรีแฟบ) ที่ใช้อิฐมวลเบาสร้าง
"ไตรมาส 3 และ 4 นี้ ต้องเปลี่ยนสินค้าใหม่ออกมา เนื่องจากการแข่งขันของอิฐมวลเบาคงจะแข่งขันกันที่ราคา ในแง่การบริหารจึงควรที่จะปรับไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่น เพื่อให้ได้มาร์จินเข้ามาทดแทน"
ขณะที่กลยุทธ์การแข่งขันเพื่อแย่งชิงมาร์เก็ตแชร์ในตลาดอิฐมวลเบานั้น บริษัทก็จะยังคงมีการแข่งขันทางด้านการประมูลเพื่อรับงานด้วย โดยขณะนี้มีช่องทางขายผ่านทั้งตัวแทนจำหน่าย และนายหน้า ซึ่งนับว่ามีประสิทธิภาพที่ดี
จอมทรัพย์ บอกว่า การแข่งขันทางด้านราคานั้นจะเกิดผลดีในระยะยาว ที่ผู้บริโภคจะหันมาใช้สินค้าอิฐมวลเบา แทนอิฐมอญมากขึ้น แต่ในระยะสั้นบริษัทจะต้องมีฝีมือในการบริหาร และควบคุมต้นทุน
จอมทรัพย์ ยังกล่าวถึงการเข้ามีเล่นตลาดอิฐมวลเบาของ ดีคอน ในปลายปีนี้ว่าคงจะไม่ทำให้ตลาดมีการแข่งขันรุนแรงขึ้นเพราะเชื่อว่าจะเป็นตลาดคนละเซ็กเมนท์กัน
ด้านแหล่งข่าวจาก บริษัท ดีคอน โปรดักส์ (DCON) เปิดเผยว่า ถึงแม้สถานการณ์ของอิฐมวลเบาจะแข่งขันด้านราคากันรุนแรง แต่บริษัทก็จะเปิดตามกำหนดปลายปี โดยมีกลยุทธ์การแข่งขันอยู่แล้ว.."ถ้าเราไม่แน่ใจเราก็คงไม่เปิด"
http://www.bangkokbizweek.com/20050803/ ... 58619.html
ธุรกิจอิฐมวลเบาเดือด "Q-CON" เปิดเกมหั่นราคา 10% ขณะที่ "SUPER" ปรับราคาสู้ 15% ต้อนรับน้องใหม่ "DCON" ร่วมวงไพบูลย์ปลายปีนี้
ท่ามกลางธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่ช่วงชะลอตัว การฟาดฟันในธุรกิจ "ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา" นับวันยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จาก 2 คู่ชกสำคัญระหว่าง บริษัท ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดักส์ (Q-CON) กับ บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก (SUPER)
แม้ธุรกิจนี้จะมีคู่แข่งขันโดยตรงเพียงแค่ 2 รายในตลาด แต่กลุ่มผู้ใช้ก็ยังอยู่ในวงจำกัด และแนวโน้มการเติบโตเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ทั้ง 2 ฝ่ายจึงต้องใช้ "กลยุทธ์ลดราคา" เพื่อขยายตลาดอิฐมวลเบา เพราะก่อนหน้านี้ต่างฝ่ายต่างก็เร่งขยายกำลังการผลิตของตัวเอง
เพียงแค่ยกแรกทั้ง "Q-CON" และ "SUPER" ต่างก็บาดเจ็บไปทั้งคู่
ผลประกอบการ "ไตรมาส 2" ของ "Q-CON" ลดลงอย่างมาก "กำไรสุทธิ" งวดครึ่งปี 2548 ดิ่งลงจาก 152.83 ล้านบาท เหลือเพียง 29.49 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ทำได้ต่ำมากเพียงแค่ 1.38 ล้านบาท เพราะฉะนั้นในไตรมาส 3 และ 4 โอกาสที่สถานการณ์ของบริษัทจะดีขึ้นจึงเป็นไปได้ยาก
เช่นเดียวกับ "SUPER" ตัวเลขกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ลดเหลือ 29.75 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรปกติ 37.83 ล้านบาท (หากรวมกำไรพิเศษจากการยกเลิกสัญญาต่างตอบแทน ปี 2547 จะมีกำไรสุทธิ 352.83 ล้านบาท) ลดลง 21%
ทั้งหมดนี้เป็นการเปิดเกมของผู้นำตลาด "คิว-คอน" ที่ครองมาร์เก็ตแชร์กว่า 70% เพื่อหวังปิดอนาคต "คู่แข่ง" ทางธุรกิจ
"คิว-คอน" ได้เริ่มลดราคาอิฐมวลเบาลง 10% มาตั้งแต่ต้นไตรมาส 2 ที่ผ่านมา หลังจาก "มาร์จิน" ของอิฐมวลเบา ที่ "หอมหวาน" ได้ เริ่มดึงดูดให้คู่แข่งสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้เพิ่ม
"ซุปเปอร์บล๊อก" หลังเข้าตลาดก็เร่งขยายกำลังการผลิตโรงงานแห่งที่ 3 ที่จังหวัดพังงา ซึ่งหากแล้วเสร็จบริษัทจะมีกำลังการผลิตรวมที่ 5.7 ล้านตร.ม./ปี ยังมีคู่แข่งอย่าง บริษัท ดีคอน โปรดักส์ (DCON) ที่กำลังเข้ามาในธุรกิจนี้ด้วยการตั้งโรงงานผลิต 4 ล้านตร.ม./ปี ซึ่งกำหนดเปิดปลายปี
การลดราคาของ "คิว-คอน" ได้ทำควบคู่ไปกับการเร่งขยายไลน์การผลิต เพื่อให้ไปตามหลัก Economy of scale ยิ่งผลิตมาก "ต้นทุนยิ่งต่ำ"
จากไตรมาส 2 ปี 2547 มีโรงงานผลิตโรงเดียวมีกำลังการผลิต 3 ล้านตร.ม./ปี แต่ปัจจุบันคิว-คอนมี 3 โรงงานกำลังการผลิตรวม 9 ล้านตร.ม./ปี และปลายปีนี้จะเปิดอีกแห่งจะทำให้มีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 12 ตร.ม./ปี
"การที่บริษัทปรับลดราคานั้น เนื่องจากเห็นว่า เรามีกำลังการผลิตมาก คุ้มค่าเพียงพอที่จะลดราคาได้ อีกทั้งการขยายตัวของคู่แข่งก็มีมากขึ้นเพราะเห็นมาร์จินสูง จึงมีการเข้ามาเรื่อยๆ" กิตติ สุนทรมโนกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดและการขาย เปิดเผยกับ "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek"
กิตติ อธิบายวิธีคิดของคิว-คอนให้ฟังว่า การรักษาแชมป์จะต้องทำไปพร้อมกับการขยายตลาด นั่นคือ ต้องเร่งขยายกำลังการผลิตให้เร็ว เพื่อยึดครอง "มาร์เก็ตแชร์" ให้มากที่สุด รวมถึงการนำ "อิฐมวลเบา" เร่งเข้าไปเจาะ "ตลาดอิฐมอญ" ให้ได้มากที่สุด
ในที่สุดแล้วต้องลดราคาเพื่อให้ลูกค้าไม่เห็นความแตกต่างระหว่าง อิฐมวลเบา และ อิฐมอญ นอกจากนี้ คิว-คอน ยังต้องเร่งสร้างแบรนด์ ให้ลูกค้าเกิดการจดจำให้เร็วที่สุด
นับเป็นการเดินเกมตามแผนกลยุทธ์ Economy of speed "เร็วกว่า..ยิ่งได้เปรียบ" ตามรูปแบบการเดินเกมของกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่มี "อนันต์ อัศวโภคิน" เป็นหัวเรือใหญ่
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า "คิว-คอน" เดินเกมขยายธุรกิจ "ผิดจังหวะ" ถ้าตลาดบ้านระดับบน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักชะลอตัว ขณะที่ตลาดระดับกลาง และล่างยังนิยม "อิฐมอญ" ในภาวะอสังหาริมทรัพย์ "ขาลง" กำลังการผลิตของ "คิว-คอน" จะเหลือมหาศาล
เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็นกำลังการผลิต "เหลือเฟือ" แต่ยอดขาย "ลดลง" ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ตัวเลขกำไรสุทธิของบริษัทออกมาไม่ดีนับต่อจากนี้
กิตติ บอกว่า การปรับราคาลงเมื่อเทียบกับยอดขายแล้ว ถือว่าเราพอใจ แม้ว่าตัวเลขจะไม่ได้ตามที่ต้องการ แต่ถ้าไม่ลดราคาตัวเลขยอดขายอาจจะติดลบลงไปอีก
เมื่อมองในมุมของ "คู่แข่ง" ทั้ง "ซุปเปอร์บล๊อก" และ "ดีคอน" ก็อยู่ในภาวะกดดันอย่างหนักถ้าจะลงมาเล่นสงครามราคานานๆ กับ "เจ้าตลาด" อย่าง "คิว-คอน"
อย่างไรก็ตาม กิตติ ยังหวังว่าในอนาคตโอกาสของอิฐมวลเบายังมีอีกมาก เพราะรัฐบาลมีนโยบายประหยัดพลังงาน อิฐมวลเบาซึ่งมีคุณสมบัติประหยัดพลังงานไฟฟ้าก็ยังคงมีแนวโน้มที่ดี
ฝั่ง "ซุปเปอร์บล๊อก" หลังจากที่ "คิว-คอน" ลดราคา "อิฐมวลเบา" ก็ถูกผลกระทบทันที
"จอมทรัพย์ โลจายะ" กรรมการผู้จัดการ ซุปเปอร์บล๊อก เปิดเผยว่า ภายหลังจากทาง คิว-คอน ลดราคาลงมาทางบริษัทก็ได้มีการลดราคาลงมาตามประมาณ 15% เพื่อแข่งขัน ซึ่งการลดราคาดังกล่าวไม่ได้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพราะสินค้าของบริษัทเกรดค่อนข้างดี
เขายอมรับว่า มาร์จินของธุรกิจอิฐมวลเบาคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันจะสูงขึ้น แต่ทั้งนี้บริษัทตั้งใจที่จะเลี่ยงการแข่งขันเรื่องราคา เนื่องจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายอาจจะสู้ไม่ได้
ดังนั้นซุปเปอร์บล๊อกจะปรับตัวโดยเน้นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อรักษามาร์จินโดยภาพรวมของบริษัทอาจจะมาเน้น "ผนังมวลเบา" หรือ การสร้างบ้านประเภทกึ่งสำเร็จรูป (พรีแฟบ) ที่ใช้อิฐมวลเบาสร้าง
"ไตรมาส 3 และ 4 นี้ ต้องเปลี่ยนสินค้าใหม่ออกมา เนื่องจากการแข่งขันของอิฐมวลเบาคงจะแข่งขันกันที่ราคา ในแง่การบริหารจึงควรที่จะปรับไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่น เพื่อให้ได้มาร์จินเข้ามาทดแทน"
ขณะที่กลยุทธ์การแข่งขันเพื่อแย่งชิงมาร์เก็ตแชร์ในตลาดอิฐมวลเบานั้น บริษัทก็จะยังคงมีการแข่งขันทางด้านการประมูลเพื่อรับงานด้วย โดยขณะนี้มีช่องทางขายผ่านทั้งตัวแทนจำหน่าย และนายหน้า ซึ่งนับว่ามีประสิทธิภาพที่ดี
จอมทรัพย์ บอกว่า การแข่งขันทางด้านราคานั้นจะเกิดผลดีในระยะยาว ที่ผู้บริโภคจะหันมาใช้สินค้าอิฐมวลเบา แทนอิฐมอญมากขึ้น แต่ในระยะสั้นบริษัทจะต้องมีฝีมือในการบริหาร และควบคุมต้นทุน
จอมทรัพย์ ยังกล่าวถึงการเข้ามีเล่นตลาดอิฐมวลเบาของ ดีคอน ในปลายปีนี้ว่าคงจะไม่ทำให้ตลาดมีการแข่งขันรุนแรงขึ้นเพราะเชื่อว่าจะเป็นตลาดคนละเซ็กเมนท์กัน
ด้านแหล่งข่าวจาก บริษัท ดีคอน โปรดักส์ (DCON) เปิดเผยว่า ถึงแม้สถานการณ์ของอิฐมวลเบาจะแข่งขันด้านราคากันรุนแรง แต่บริษัทก็จะเปิดตามกำหนดปลายปี โดยมีกลยุทธ์การแข่งขันอยู่แล้ว.."ถ้าเราไม่แน่ใจเราก็คงไม่เปิด"
http://www.bangkokbizweek.com/20050803/ ... 58619.html
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 360
- ผู้ติดตาม: 0
อิฐมวลเบา Q-CON-SUPER เปิดศึกราคา ร่อแร่ ทั้งคู่
โพสต์ที่ 2
การขยายกำลังการผลิตจาก 1 เป็น 4 line ของ q-con ใน 3 ปีมันทำให้
ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
หรือ
ยิ่งผลิตมาก ยิ่ง margin ต่ำ
หรือ
ยิ่งผลิตมาก ราคาหุ้นยิ่งต่ำ
ก็ไม่ทราบนะครับ
เพราะมัน oversupply หนักแล้ว
ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
หรือ
ยิ่งผลิตมาก ยิ่ง margin ต่ำ
หรือ
ยิ่งผลิตมาก ราคาหุ้นยิ่งต่ำ
ก็ไม่ทราบนะครับ
เพราะมัน oversupply หนักแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
อิฐมวลเบา Q-CON-SUPER เปิดศึกราคา ร่อแร่ ทั้งคู่
โพสต์ที่ 4
สงคราม กระเบื้อง ก็ไม่ธรรมดาครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
อิฐมวลเบา Q-CON-SUPER เปิดศึกราคา ร่อแร่ ทั้งคู่
โพสต์ที่ 10
มีข้อเสียเพิ่มอีกหรือเปล่าครับ? เพราะผู้รับเหมาให้เลือกใช้ได้ทั้งสองแบบ
ถ้าเลือกอิฐมวลเบา ก็มีข้อดีคือ อาคารจะรับน้ำหนักน้อยลง (แต่ฐานเราก็คำนวณเผื่อรับน้ำหนักไปแล้ว จึงไม่ค่อยจำเป็น) ที่สนใจในข้อดีคือ สามารถลดเสียงได้ และ ลดความร้อน ไม่รู้จริงเท็จอย่างไร??
และถ้าก่อเป็นผนังห้องน้ำ จะซึมน้ำง่ายกว่าอิฐมอญหรือเปล่าครับ? เพราะเกรงว่าสีทาผนังจะชื้นขึ้นราได้ง่าย
ถ้าเลือกอิฐมวลเบา ก็มีข้อดีคือ อาคารจะรับน้ำหนักน้อยลง (แต่ฐานเราก็คำนวณเผื่อรับน้ำหนักไปแล้ว จึงไม่ค่อยจำเป็น) ที่สนใจในข้อดีคือ สามารถลดเสียงได้ และ ลดความร้อน ไม่รู้จริงเท็จอย่างไร??
และถ้าก่อเป็นผนังห้องน้ำ จะซึมน้ำง่ายกว่าอิฐมอญหรือเปล่าครับ? เพราะเกรงว่าสีทาผนังจะชื้นขึ้นราได้ง่าย
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
อิฐมวลเบา Q-CON-SUPER เปิดศึกราคา ร่อแร่ ทั้งคู่
โพสต์ที่ 11
ที่ผมเคยใช้ และเห็นนะคับ
ด้านนอกอาคารบางที่ เขาใช้อิฐมวลเบา แต่ต้องความหนามากว่า7.5ซม
แต่บางที่ลักไก่ ใช้7.5ซม แทนเพราะถูกกว่า เท่ากับใช้ไปได้ผลดีเท่าที่ควร
ถ้าต้องการใช้ใช้ลดความร้อน
ด้านนอกใช้อิฐมวลเบา หนากว่า7.5ซม ส่วนมากจะใช้10ซมกัน
ด้านใน ใช้เป็นอิฐมอญก็ได้คับ เพราะก่อง่าย ตอกตะปูและยึกเกาะแข็งแรงกว่า
เรื่องโครงสร้าง ผมลองดูแล้วส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเอาวัสดุแบบใด
ก็ไม่ได้ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างถูกหรือแพงขึนมาก เพราะ
ปัญหา น่าอยู่การออกแบบแต่แรกมากกว่านะผมว่า
ด้านนอกอาคารบางที่ เขาใช้อิฐมวลเบา แต่ต้องความหนามากว่า7.5ซม
แต่บางที่ลักไก่ ใช้7.5ซม แทนเพราะถูกกว่า เท่ากับใช้ไปได้ผลดีเท่าที่ควร
ถ้าต้องการใช้ใช้ลดความร้อน
ด้านนอกใช้อิฐมวลเบา หนากว่า7.5ซม ส่วนมากจะใช้10ซมกัน
ด้านใน ใช้เป็นอิฐมอญก็ได้คับ เพราะก่อง่าย ตอกตะปูและยึกเกาะแข็งแรงกว่า
เรื่องโครงสร้าง ผมลองดูแล้วส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเอาวัสดุแบบใด
ก็ไม่ได้ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างถูกหรือแพงขึนมาก เพราะ
ปัญหา น่าอยู่การออกแบบแต่แรกมากกว่านะผมว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 158
- ผู้ติดตาม: 0
อิฐมวลเบา Q-CON-SUPER เปิดศึกราคา ร่อแร่ ทั้งคู่
โพสต์ที่ 14
อิฐมวลเบามีคุณสมบัติ ในแง่กันความร้อน กันเสียง ได้ดีกว่าอิฐมอญครับ เพราะโครงสร้างโพรงอากาศในอิฐมวลเบาเป็นโพรงอากาศ (void) ที่ไม่ต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่เลียนแบบกันยาก เท่าที่ผมทราบเห็นว่าคงเป็น คิวคอนที่ทำได้ดีครับ
ในส่วนความแข็งแรงของโครงสร้างบ้านหรืออาคารคงไม่เกี่ยวเพราะ บ้านเรายังใช้ระบบเสาคานอยู่ ซึ่งเป็นตัวรับน้ำหนักโดยตรง แต่ถ้าพูดถึงเรื่องว่าจะตอกผนังติดรูปหรือภาพแขวน เท่าที่ทราบในความเป็นจริงแล้ว Strength ของอิฐมวลเบาไม่แพ้ผนังอิฐมอญเลยครับ อย่างไรก็ตามตรงนี้ลองเช็คข้อมูลด้าน ความแข็งแรง strength กับทางผู้ผลิตได้ครับ เพราะเห็นว่าเค้าวิจัย และพัฒนาด้านนี้อยู่เหมือนกัน
นอกจากข้อดีที่ว่ามา ผนังอิฐมวลเบา ต้องใช้ปูนพิเศษเฉพาะ ซึ่งผมคิดว่าไม่ใช่ปัญหาครับ เพราะ ผนังอิฐมวลเบา นอกจากประหยัดต่อขนาดโครงสร้างแล้ว การทำงานก็รวดเร็ว ประหยัดค่าแรง และไม่ต้องใช้ช่างฝีมือเหมือนกับผนังอิฐมอญครับ
ผนังอิฐมอญถ้าฝีมือไม่ดี เอียงไม่ได้ระนาบก็มีให้เห็นเยอะแล้วครับ
สุดท้ายผมว่าราคาต่อตารางเมตร ของอิฐมอญ ลงมาใกล้เคียงกับผนังอิฐมวลเบา เนื่องจากสงครามราคา น่าจะเป็นโอกาสอันดีที่ได้ของดีราคาถูกน่ะครับ
ในส่วนความแข็งแรงของโครงสร้างบ้านหรืออาคารคงไม่เกี่ยวเพราะ บ้านเรายังใช้ระบบเสาคานอยู่ ซึ่งเป็นตัวรับน้ำหนักโดยตรง แต่ถ้าพูดถึงเรื่องว่าจะตอกผนังติดรูปหรือภาพแขวน เท่าที่ทราบในความเป็นจริงแล้ว Strength ของอิฐมวลเบาไม่แพ้ผนังอิฐมอญเลยครับ อย่างไรก็ตามตรงนี้ลองเช็คข้อมูลด้าน ความแข็งแรง strength กับทางผู้ผลิตได้ครับ เพราะเห็นว่าเค้าวิจัย และพัฒนาด้านนี้อยู่เหมือนกัน
นอกจากข้อดีที่ว่ามา ผนังอิฐมวลเบา ต้องใช้ปูนพิเศษเฉพาะ ซึ่งผมคิดว่าไม่ใช่ปัญหาครับ เพราะ ผนังอิฐมวลเบา นอกจากประหยัดต่อขนาดโครงสร้างแล้ว การทำงานก็รวดเร็ว ประหยัดค่าแรง และไม่ต้องใช้ช่างฝีมือเหมือนกับผนังอิฐมอญครับ
ผนังอิฐมอญถ้าฝีมือไม่ดี เอียงไม่ได้ระนาบก็มีให้เห็นเยอะแล้วครับ
สุดท้ายผมว่าราคาต่อตารางเมตร ของอิฐมอญ ลงมาใกล้เคียงกับผนังอิฐมวลเบา เนื่องจากสงครามราคา น่าจะเป็นโอกาสอันดีที่ได้ของดีราคาถูกน่ะครับ