% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 2
เป็นข้อสังเกตที่ดีมากเลยครับ ...
ผมเองก็รู้สึกเหมือนกันว่าทุกครั้งที่ผมซื้อหุ้นตอนที่ยังไม่ค่อยมีคนสนใจ
มักจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นที่ซื้อตามคนอื่นมาก :roll:
ผมเองก็รู้สึกเหมือนกันว่าทุกครั้งที่ผมซื้อหุ้นตอนที่ยังไม่ค่อยมีคนสนใจ
มักจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นที่ซื้อตามคนอื่นมาก :roll:
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- ซาลาเปา
- Verified User
- โพสต์: 23
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 3
:oops: :oops: เป็นแนวคิดที่ดีมากคะ เพราะรู้สึกเหมือนกันว่าซื้อหุ้นที่ไม่ค่อยมีคนสนใจมักจะได้ผลตอบแทนดี.......ตลอดจะหลีกเลี่ยงหุ้นร้อนคะ....เพราะกลัวซื้อที่ยอดเขา :lovl: :lovl: :lovl: เอแล้วข้อ 4, 9-13 อยากทราบเฉลย.......
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 5
ทุกสิ่งทุกข้อมักจะกลับมาที่ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานมากๆเสมอครับ
ผมไม่เคยรังเกียจบริษัทที่มีสภาพคล่องสูง แต่มีราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานมากๆ
เพราะบางครั้ง Mr. Market อาจจะมีอารมณ์ไม่ดีจนไม่อยากจะทนลงทุนในหุ้นต่อ เลยขายถูกๆให้เราก็ได้นะครับ
ผมไม่เคยรังเกียจบริษัทที่มีสภาพคล่องสูง แต่มีราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานมากๆ
เพราะบางครั้ง Mr. Market อาจจะมีอารมณ์ไม่ดีจนไม่อยากจะทนลงทุนในหุ้นต่อ เลยขายถูกๆให้เราก็ได้นะครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 7
ข้อสี่หมายถึงหุ้นที่แยกบางส่วนของกิจการออกมา ในบางบริษัทมีแผนกที่ทำเงิน และแผนกที่ไม่ทำเงิน พอแยกแผนกที่ทำเงินออกมาเป็นบริษัทใหม่ก็สามารถแยกส่วนสร้างมูลค่าได้ครับ4. มันเป็นหุ้นที่แตกออกมา
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณคุณมนครับที่ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น เดิมทีผมก็สงสัยเหมือนกันว่าหุ้นที่แตกออกมาจะน่าสนใจกว่าหุ้นที่ไม่ได้แตกอย่างไร หรือน่าสนใจกว่าหุ้นที่เกิดใหม่อย่างไร
ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นเครื่องมือในการคัดกรองหุ้นคร่าวๆ (เพราะมีหุ้นให้เลือกเป็นหมื่นๆตัวและเขาก็ซื้อหุ้นเยอะมาก ประมาณว่า1,400 กว่าตัว และใช้เวลาคัดกรองสั้นๆตัวละ 2 นาที) ส่วนจะถึงขั้นลงมือซื้อตัวไหนต้องติดตามต่อไป อิอิ
ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นเครื่องมือในการคัดกรองหุ้นคร่าวๆ (เพราะมีหุ้นให้เลือกเป็นหมื่นๆตัวและเขาก็ซื้อหุ้นเยอะมาก ประมาณว่า1,400 กว่าตัว และใช้เวลาคัดกรองสั้นๆตัวละ 2 นาที) ส่วนจะถึงขั้นลงมือซื้อตัวไหนต้องติดตามต่อไป อิอิ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 10
นักลงทุนที่ผมประทับใจที่สุดเมื่อตอนเริ่มเล่นใหม่ๆคือ เกรแฮม ด้วยสูตรที่เลื่องลือที่สุด คือ ซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่าสองในสามของมูลค่าบริษัท(ที่นับเฉพาะสินทรัพย์หมุนเวียนเอาแค่หมุนเวียนนะครับ ลบหนี้สินทั้งหมด) หรือซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานมากๆ ซึ่งผมคิดว่าเป็นหุ้นที่มี margin of safety สุดๆ ผลการดำเนินงานของเกรแฮมก็อยู่ในเกณฑ์ทีดีมาก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง value investor
ต่อมาผมเริ่มชอบแนวบัฟเฟตต์หลังจากที่ได้มีโอกาสอ่านหนังสือเกี่ยวกับบัฟเฟตต์(ลูกศิษย์ของเกรแฮม)มากขึ้น สูตรสำเร็จของเขาก็คือ เลือกหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนและถือมันไว้ตราบเท่าที่มันยังเป็นกิจการที่ดี(ตามสโลแกนพี่ครรชิต) ผลจากแนวคิดนี้เป็นหลัก(แน่นอนว่าต้องมีแนวคิดย่อยและเทคนิคอย่างอื่นอีกมาก)ส่งผลให้เขากลายเป็นนักลงทุนในหุ้นที่รวยที่สุดในโลก และล้ำหน้าอาจารย์ลิบลับ นับถึงวันนี้ผมก็ยังคิดว่าแนวคิดของเขาดีที่สุด แต่ปัญหาก็คือ ในทางปฏิบัติแล้ว ทำตามได้ยากมาก คือว่า.....เอ่อ...สารภาพว่า... ตั้งแต่เล่นหุ้นมา ผมยังไม่เคยได้ซื้อหุ้นที่มีความได้เปรียบอย่างยั่งยืนในราคาที่ไม่แพงเลยฮ่าๆๆๆ.....(เป็นเพราะว่าผมหาไม่เจอเองแหละ.....)
ต่อมาผมเริ่มชอบแนวบัฟเฟตต์หลังจากที่ได้มีโอกาสอ่านหนังสือเกี่ยวกับบัฟเฟตต์(ลูกศิษย์ของเกรแฮม)มากขึ้น สูตรสำเร็จของเขาก็คือ เลือกหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนและถือมันไว้ตราบเท่าที่มันยังเป็นกิจการที่ดี(ตามสโลแกนพี่ครรชิต) ผลจากแนวคิดนี้เป็นหลัก(แน่นอนว่าต้องมีแนวคิดย่อยและเทคนิคอย่างอื่นอีกมาก)ส่งผลให้เขากลายเป็นนักลงทุนในหุ้นที่รวยที่สุดในโลก และล้ำหน้าอาจารย์ลิบลับ นับถึงวันนี้ผมก็ยังคิดว่าแนวคิดของเขาดีที่สุด แต่ปัญหาก็คือ ในทางปฏิบัติแล้ว ทำตามได้ยากมาก คือว่า.....เอ่อ...สารภาพว่า... ตั้งแต่เล่นหุ้นมา ผมยังไม่เคยได้ซื้อหุ้นที่มีความได้เปรียบอย่างยั่งยืนในราคาที่ไม่แพงเลยฮ่าๆๆๆ.....(เป็นเพราะว่าผมหาไม่เจอเองแหละ.....)
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 11
และแล้วผมก็ได้อ่าน one up on wall street แนวการลงทุนของ ปีเตอร์ ลินช์โดย ดร.นิเวศน์เป็นผู้แปล ผมอ่านแล้วชอบมาก อ่านแล้ววางไม่ลง และได้ความคิดหลายๆอย่าง
ที่ผมชอบแนวคิดลินช์อาจจะเป็นเพราะนำไปใช้ได้ง่ายกว่า ลินช์แบ่งหุ้นเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 6 กลุ่ม คือ หุ้นโตช้า หุ้นแข็งแกร่ง หุ้นโตเร็ว หุ้นวัฏจักร หุ้นฟื้นตัว และหุ้นทรัพย์สินมาก
หุ้นที่เขาชอบมากที่สุดคือ หุ้นโตเร็วโดยดูองค์ประกอบเหล่านี้ร่วมด้วยได้แก่
1. สินค้าที่ทำกำไรได้สูงๆนั้น เป็นตัวหลักของกำไรทั้งหมดหรือไม่
2. การเติบโตของกำไรอยู่ในช่วง 20- 25 % (ถ้ามากกว่านี้เขาจะมองมันเป็นอุตสาหกรรมร้อน)
3. บริษัทได้ก็อปปี้สูตรสำเร็จและนำไปใช้ในการขยายธุรกิจต่อได้หรือยัง ถ้ายัง...รอก่อน
4. มีช่องว่างที่จะให้บริษัทโตได้อีกหรือไม่
5. ดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อขายมีค่า p/e ใกล้เคียงกับอัตราการเติบโตหรือไม่
6. ดูว่าการขยายตัวกำลังเร่งขึ้นหรือเปล่า
ที่ผมชอบแนวคิดลินช์อาจจะเป็นเพราะนำไปใช้ได้ง่ายกว่า ลินช์แบ่งหุ้นเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 6 กลุ่ม คือ หุ้นโตช้า หุ้นแข็งแกร่ง หุ้นโตเร็ว หุ้นวัฏจักร หุ้นฟื้นตัว และหุ้นทรัพย์สินมาก
หุ้นที่เขาชอบมากที่สุดคือ หุ้นโตเร็วโดยดูองค์ประกอบเหล่านี้ร่วมด้วยได้แก่
1. สินค้าที่ทำกำไรได้สูงๆนั้น เป็นตัวหลักของกำไรทั้งหมดหรือไม่
2. การเติบโตของกำไรอยู่ในช่วง 20- 25 % (ถ้ามากกว่านี้เขาจะมองมันเป็นอุตสาหกรรมร้อน)
3. บริษัทได้ก็อปปี้สูตรสำเร็จและนำไปใช้ในการขยายธุรกิจต่อได้หรือยัง ถ้ายัง...รอก่อน
4. มีช่องว่างที่จะให้บริษัทโตได้อีกหรือไม่
5. ดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อขายมีค่า p/e ใกล้เคียงกับอัตราการเติบโตหรือไม่
6. ดูว่าการขยายตัวกำลังเร่งขึ้นหรือเปล่า
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณครับ คุณสามัญชน ที่มาช่วยย่อยข้อมูลจากหนังสือให้...ดูน่าสนใจดี ผมคงจะต้องไปหามาอ่านมั่ง
ผมมีข้อคิดส่วนตัวนิดนึงครับ
ผมว่าเราคงเปรียบเทียบวิธีการของกูรูทั้ง3มาใช้เป็นวิธีของเราได้ แต่คงเทียบเค้าไม่ได้ทั้งหมดครับเพราะ
1. วงเงินเค้ามีค่อนข้างสูง เค้าสามารถถือหุ้นแช่ไว้ได้ เมื่อมันตกลงมาเค้าก็ซื้อเพิ่มได้อีก....ในขณะที่เรามีวงเงินจำกัดกว่า บางทีเห็นหุ้นลงมาต่อหน้าต่อตา แต่ทำอะไรไม่ได้เพราะไม่มีเงินสำรอง และใช้คติถือหุ้นยาว เลยไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อของถูกแบบเค้าอีก
2. ไม่แน่ใจว่าตลาดเค้าตลาดบ้านเรา มีความน่าเชื่อถือในการเปิดเผยข้อมูลเท่าเทียมกันหรือไม่ มีความเคร่งครัดในการใช้กฎหมายต่างกันเพียงได
บางครั้งผมเลยต้องยอมตัดขายหุ้นในมือออกไปบ้างเพื่อเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ก่อน....ผมชอบวิธีใข่ห่านทองคำมากกว่า ดูเหมาะกับสภาพวงเงินจำกัดแบบเราดี
ผมมีข้อคิดส่วนตัวนิดนึงครับ
ผมว่าเราคงเปรียบเทียบวิธีการของกูรูทั้ง3มาใช้เป็นวิธีของเราได้ แต่คงเทียบเค้าไม่ได้ทั้งหมดครับเพราะ
1. วงเงินเค้ามีค่อนข้างสูง เค้าสามารถถือหุ้นแช่ไว้ได้ เมื่อมันตกลงมาเค้าก็ซื้อเพิ่มได้อีก....ในขณะที่เรามีวงเงินจำกัดกว่า บางทีเห็นหุ้นลงมาต่อหน้าต่อตา แต่ทำอะไรไม่ได้เพราะไม่มีเงินสำรอง และใช้คติถือหุ้นยาว เลยไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อของถูกแบบเค้าอีก
2. ไม่แน่ใจว่าตลาดเค้าตลาดบ้านเรา มีความน่าเชื่อถือในการเปิดเผยข้อมูลเท่าเทียมกันหรือไม่ มีความเคร่งครัดในการใช้กฎหมายต่างกันเพียงได
บางครั้งผมเลยต้องยอมตัดขายหุ้นในมือออกไปบ้างเพื่อเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ก่อน....ผมชอบวิธีใข่ห่านทองคำมากกว่า ดูเหมาะกับสภาพวงเงินจำกัดแบบเราดี
-
- Verified User
- โพสต์: 715
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 15
เรื่อง แนวทางการลงทุนของ Buffet ,Lynch ลองไปดูเพิ่มที่กระทู้นี้ก็ได้ครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=12401
พูึดถึง Lynch ก็ รวยนะครับ แต่ทำให้ เจ้าของ แมคเจแลน ฟันด์ รวย ปี 2005 นี่ก็ติดอันดับ 25 ใน World Richest's ของ forbe นะครับ ไปดูที่ link นี้ได้
http://www.forbes.com/static/bill2005/L ... ype=Person
ไม่ทราบว่า Performance ของ กองทุน Fidelity Magelland ตกลงมากรึเปล่าหลังจาก Lynch ลาออก?
ผมอ่าน One Up ฉบับภาษาไทยแล้ว ส่วนตัวคิดว่า วิธีการลงทุนแบบของ ลินซ์คือ ซื้อหุ้นเป็น พันๆตัวเลยไม่ใช่วิธีที่ถูกนักนะครับ เพราะเอาจริงๆ ตัวที่ perform ดีๆ ก็มีไม่กี่ตัวเท่านั้นเอง
อีกอย่าง Buffet ควรจะรวยกว่า Lynch อยู่แล้ว เพราะ Buffet อีกมุมนึงก็เป้นนักธุรกิจด้วย ทำธุรกิจด้วยไม่ได้ ลงทุนอย่างเดียว
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=12401
พูึดถึง Lynch ก็ รวยนะครับ แต่ทำให้ เจ้าของ แมคเจแลน ฟันด์ รวย ปี 2005 นี่ก็ติดอันดับ 25 ใน World Richest's ของ forbe นะครับ ไปดูที่ link นี้ได้
http://www.forbes.com/static/bill2005/L ... ype=Person
ไม่ทราบว่า Performance ของ กองทุน Fidelity Magelland ตกลงมากรึเปล่าหลังจาก Lynch ลาออก?
ผมอ่าน One Up ฉบับภาษาไทยแล้ว ส่วนตัวคิดว่า วิธีการลงทุนแบบของ ลินซ์คือ ซื้อหุ้นเป็น พันๆตัวเลยไม่ใช่วิธีที่ถูกนักนะครับ เพราะเอาจริงๆ ตัวที่ perform ดีๆ ก็มีไม่กี่ตัวเท่านั้นเอง
อีกอย่าง Buffet ควรจะรวยกว่า Lynch อยู่แล้ว เพราะ Buffet อีกมุมนึงก็เป้นนักธุรกิจด้วย ทำธุรกิจด้วยไม่ได้ ลงทุนอย่างเดียว
-
- Verified User
- โพสต์: 2266
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 16
คิดว่า lynch เลิกลงทุนก่อน buffet ครับ
นั่นน่าจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมเค้าไม่ได้รวยต่อเนื่อง
ผมเห็นว่า วิธีการของ lynch เป็นอะไรที่จับต้องได้มากที่สุดแล้วก็ทำได้ง่ายที่สุดด้วยครับ
เพียงแต่ว่ามันต้องเหนื่อยมากๆ ในการศึกษาหุ้นแต่ละตัวให้ดีมากๆ ตลอดเวลา
และเป็นจำนวนเยอะๆ
เค้าน่าจะดูแล หลักแค่ไม่กี่ตัว แต่ถ้าผมจำไม่ผิด เค้าถือหลักๆ ไม่กี่ตัวเหมือนกันครับ แล้วมีหุ้นเล็กๆ เอาไว้ดูว่ามี Growth opportunity มากขนาดไหนมากกว่า
ผมเชื่อว่าการลงทุนของ lynch น่าจะเหมาะกับเมืองไทยมากกว่า แต่โอกาสที่จะเป็น 10 เด้งน่าจะยากมากครับ
เพราะ scale การขยายตัวของธุรกิจในเมืองไทยใหญ่ไม่เท่าอเมริกา
เช่น โทรศัพ ถ้าเรามองว่าขายดีในเมืองไทย ปัจจุบัน มี 20ล้าน เบอร์ ผมยังงงว่า จะขยายตัวโตเป็น 10 เท่าได้อย่างไร
แต่ถ้าในอเมริกา มี 20 ล้านเบอร์ การขยายตัว10 เท่ายังเป็นไปได้ แค่ในประเทศของเค้าเอง
นอกจากนี้ คนอเมริกัน ยังมีเปรียบในเรื่องของ การทำงาน ใน ระดับ inter อีกเพราะว่าเค้าพูดภาษาอังกฤษได้ดีทุกคน
นั่นน่าจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมเค้าไม่ได้รวยต่อเนื่อง
ผมเห็นว่า วิธีการของ lynch เป็นอะไรที่จับต้องได้มากที่สุดแล้วก็ทำได้ง่ายที่สุดด้วยครับ
เพียงแต่ว่ามันต้องเหนื่อยมากๆ ในการศึกษาหุ้นแต่ละตัวให้ดีมากๆ ตลอดเวลา
และเป็นจำนวนเยอะๆ
เค้าน่าจะดูแล หลักแค่ไม่กี่ตัว แต่ถ้าผมจำไม่ผิด เค้าถือหลักๆ ไม่กี่ตัวเหมือนกันครับ แล้วมีหุ้นเล็กๆ เอาไว้ดูว่ามี Growth opportunity มากขนาดไหนมากกว่า
ผมเชื่อว่าการลงทุนของ lynch น่าจะเหมาะกับเมืองไทยมากกว่า แต่โอกาสที่จะเป็น 10 เด้งน่าจะยากมากครับ
เพราะ scale การขยายตัวของธุรกิจในเมืองไทยใหญ่ไม่เท่าอเมริกา
เช่น โทรศัพ ถ้าเรามองว่าขายดีในเมืองไทย ปัจจุบัน มี 20ล้าน เบอร์ ผมยังงงว่า จะขยายตัวโตเป็น 10 เท่าได้อย่างไร
แต่ถ้าในอเมริกา มี 20 ล้านเบอร์ การขยายตัว10 เท่ายังเป็นไปได้ แค่ในประเทศของเค้าเอง
นอกจากนี้ คนอเมริกัน ยังมีเปรียบในเรื่องของ การทำงาน ใน ระดับ inter อีกเพราะว่าเค้าพูดภาษาอังกฤษได้ดีทุกคน
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
- Eak71
- Verified User
- โพสต์: 344
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 17
เห็นด้วยครับ แต่แนวของปู่ buffet ฟังดูน่าจะง่ายกว่าแต่ทำยาก ผมคิดว่าปัญหาอยู่ที่ปู่แกไม่เคยเขียนหนังสือเองมีแต่คนรอบข้างที่ได้ฟังได้เรียนรู้จากเเกเขียนทั้งนั้น ถ้าแกเขียนเองคงจะมีมุมมองอื่นๆเพิ่มมากขึ้น....หรือว่าอาจจะเข้าใจยากกว่าคนอื่นเขียนอีกผมเห็นว่า วิธีการของ lynch เป็นอะไรที่จับต้องได้มากที่สุดแล้วก็ทำได้ง่ายที่สุดด้วยครับ
ฅนนอกกะลา&ตาสว่าง
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 18
เห็นด้วยครับผมเชื่อว่าการลงทุนของ lynch น่าจะเหมาะกับเมืองไทยมากกว่า แต่โอกาสที่จะเป็น 10 เด้งน่าจะยากมากครับ
เพราะ scale การขยายตัวของธุรกิจในเมืองไทยใหญ่ไม่เท่าอเมริกา
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 20
1. คำพังเพยมีคำว่า น้ำขึ้นให้รีบตัก แต่ก็มีคำว่า ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ดูเหมือนจะขัดแย้งกันเองกลายเป็นสอนในทางตรงกันข้ามกัน แต่ผมเห็นว่ามันถูกทั้งสองอย่างนะไม่ได้ขัดแย้งกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ในสถานการณ์ไหน
2. การวิเคราะห์ทางเทคนิคมีกราฟรูปแบบหนึ่งบอกว่า เมื่อกราฟทำตัวเป็น double top ให้เตรียมตัวขายได้เลย เพราะมันจะลง
และก็มีอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า tripple top ให้เตรียมตัวขายได้เช่นกัน เพราะมันจะลงเช่นเดียวกัน ฟังแล้วก็ดูเหมือนจะสนับสนุนกันเอง และสอนในทิศทางเดียวกัน แต่ผมกลับเห็นว่ามันขัดแย้งกันเอง เพราะถ้ามันเป็น double top แล้วมันลงแน่ๆ แล้วมันจะมีรูปแบบ tripple top ได้อย่างไร กลายเป็นว่า เจ้ารูปแบบ tripple top เป็นพยานและหลักฐานชิ้นสำคัญที่พิสูจน์ว่า เมื่อเกิดรูปแบบ double top ก็ไม่จำเป็นที่หุ้นจะลงเสมอไป
ลินช์บอกว่า เขาไม่ชอบบริษัทที่กระจายความเสี่ยงไปในอุตสาหกรรมหลายๆอย่าง เขาเรียกว่า diworseification ยิ่งกระจายยิ่งแย่ แต่เขาเองก็กระจายการลงทุนในหุ้นตั้ง 1,400 ตัว ฟังดูจะไม่เป็นการขัดแย้งกันหรือเนี่ย แม้ผมจะเชื่อว่าน่าจะเป็นแบบข้อหนึ่ง คือ อยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ไม่ค่อยเหมือนข้อสองนักก็ตามเพราะว่าเขาสามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาทำกำไรได้มหาศาล
:lol:
2. การวิเคราะห์ทางเทคนิคมีกราฟรูปแบบหนึ่งบอกว่า เมื่อกราฟทำตัวเป็น double top ให้เตรียมตัวขายได้เลย เพราะมันจะลง
และก็มีอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า tripple top ให้เตรียมตัวขายได้เช่นกัน เพราะมันจะลงเช่นเดียวกัน ฟังแล้วก็ดูเหมือนจะสนับสนุนกันเอง และสอนในทิศทางเดียวกัน แต่ผมกลับเห็นว่ามันขัดแย้งกันเอง เพราะถ้ามันเป็น double top แล้วมันลงแน่ๆ แล้วมันจะมีรูปแบบ tripple top ได้อย่างไร กลายเป็นว่า เจ้ารูปแบบ tripple top เป็นพยานและหลักฐานชิ้นสำคัญที่พิสูจน์ว่า เมื่อเกิดรูปแบบ double top ก็ไม่จำเป็นที่หุ้นจะลงเสมอไป
ลินช์บอกว่า เขาไม่ชอบบริษัทที่กระจายความเสี่ยงไปในอุตสาหกรรมหลายๆอย่าง เขาเรียกว่า diworseification ยิ่งกระจายยิ่งแย่ แต่เขาเองก็กระจายการลงทุนในหุ้นตั้ง 1,400 ตัว ฟังดูจะไม่เป็นการขัดแย้งกันหรือเนี่ย แม้ผมจะเชื่อว่าน่าจะเป็นแบบข้อหนึ่ง คือ อยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ไม่ค่อยเหมือนข้อสองนักก็ตามเพราะว่าเขาสามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาทำกำไรได้มหาศาล
:lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
% ตีความแนวคิด Peter Lynch %
โพสต์ที่ 21
เท่าที่จำได้ลางๆ รู้สึกว่าอัตราการเติบโตของกำไรแบบทบต้นของบัฟเฟตต์จะอยู่ที่31% และลินช์อยู่ที่29% นะครับ(ถ้าจำไม่ผิด ถ้าผิดก็ขออภัยด้วย)คิดว่า lynch เลิกลงทุนก่อน buffet ครับ
นั่นน่าจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมเค้าไม่ได้รวยต่อเนื่อง
บัฟเฟตต์ถือหุ้นประมาณยี่สิบตัว แต่ลินช์กระจายความเสี่ยงไปกว่า 1,400 ตัว
ลินช์เป็นอัจฉริยะ สามารถติดตามวิเคราะห์หุ้นทั้งหมดได้และแม้จะมีผู้ช่วยมากมายช่วยติดตาม แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายหรือครั้งที่สำคัญๆ เขาน่าจะเป็นคนทำเอง ผมจึงมองว่าหุ้น 1,400 ตัวเป็นจำนวนที่มากเหลือเกินแม้จะเป็นอัจฉริยะเพียงใด ตรงนี้อาจจะเป็นจุดอ่อนกระมังครับ
ที่น่าสนใจอีกเรื่องก็คือ เรื่องสัดส่วนในการลงทุน เขาไม่ได้ลงทุนในหุ้นโตเร็วทั้งหมด ที่จริงไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ เขาลงทุนในหุ้นโตช้าด้วย หุ้นแข็งแกร่งด้วย หุ้นทรัพย์สินมากด้วย ซึ่งหุ้นเหล่านี้จะสามารถช่วยได้มากในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจดีมันก็อาจจะเป็นตัวถ่วงก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องมีไว้เสมอ เพราะไม่รู้ว่าเศรษฐกิจจะแย่เมื่อใด
ถ้าลินช์เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นโตเร็วมากๆ เราก็อาจจะได้พิสูจน์ว่า ความเชื่อที่ว่าลงทุนในหุ้นโตเร็วดีกว่าลงทุนในหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนจริงหรือไม่
แต่ภายหลังการลาออกของเขาเราคงไม่มีโอกาสได้เห็นอีกต่อไปแล้ว
อ้อ.....ถึงตอนนี้นึกขึ้นได้ว่า จวนๆจะถึงกำหนดวางตลาดของ Beating The Street ของท่าน WEB แล้วนี่นา อืม......อิอิ
:lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด