พฤหัสฯ. ส.ค. 11, 2005 9:54 am | 0 คอมเมนต์
ยังไม่ได้ถามผู้บริหารนะครับ แต่กลับไปนอนคิดมาคืนนึง ว่าถ้าผมบริหาร ums
ผมจะจัดการอย่างไรกับปัญหาเรื่อง capital intensive ในส่วนของการสั่งสินค้า
โดยไม่ได้เครดิต
1. เจรจากับเหมือง ขอเครดิต 30 วัน (ซึ่งเป็นอัตราที่ ums สามารถขายถ่านหิน
ได้หมด lot ที่ซื้อมาแน่ๆ) ซึ่งข้อดีคือได้เครดิต ได้เงินก่อน (แบบ bigc) แต่ข้อเสีย
คือ ต้องมี relationship ที่ดีมากกับ supplier และอาจจะต้องเสียค่า premium
ความเสี่ยง (ซึ่ง supplier จะบวกเข้าไปในราคาถ่านหิน)
2. เปิด LC-TR และ fix ค่าเงินไว้ ณ วันที่สั่งซื้อสินค้า หลังจากนั้นให้คำนวณ
ต้นทุนถ่านหินจาก spot rate ที่ซื้อ x ค่าเงินที่ fix + ดอกเบี้ยจาก LC-TR
แล้วนำมาคิดเป็นต้นทุนสินค้าก่อนจะบวก margin เข้าไป 25-30% แล้วกำหนด
ราคาขาย
3. สะสมเงินสดรับไว้เป็นทุนสำหรับการสั่งสินค้าเพิ่ม ซึ่งถ้าบริษัททะยอยเติบโต
ก็จะสามารถจัดการได้ไม่ยาก (เช่น โตปีละ 15-30%)
4. เพิ่มทุน
ผู้บริหารเคยให้หลักการกว้างๆ ไว้ว่า การเพิ่มทุนจะเป็นทางเลือกสุดท้าย ซึ่งข้อนี้
ผมมั่นใจมาก เนื่องจากผู้ถือหุ้นหลักอีกท่าน (คุณไพบูลย์) ซึ่งถือมากถึง 25 ล้านหุ้น
คงไม่อยากเพิ่มทุนง่ายๆ แน่ โดยคุณไพบูลย์มิได้ลงมาดูในระดับโอปะเรชั่น เป็น
นักลงทุน 100% เหมือนเรา แต่มีอำนาจในการคุมมติบอร์ดอย่างเด็ดขาด
ระหว่างเงินกู้กับเก็บเงินสดไว้ ผู้บริหารแจ้งว่า ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง ก็จะไม่เก็บ
เงินสดไว้มากนัก พยายามจะคืนกำไรให้ผู้ถือหุ้นมากที่สุด ทางเลือกจึงน่าจะเป็น
1 หรือ 2
เป็นผม ผมจะไม่เลือก option ที่ 1 (เจรจาขอเครดิตจาก supplier) เพราะจะทำ
ให้อำนาจต่อรอง (เรื่องราคาและการ shop around) ลดลงเล็กน้อย
การเลือกข้อสอง (ใช้วงเงินกู้ระยะสั้น) น่าจะเป็นทางออกที่ดี ตราบเท่าที่การ
ขยายยอดขายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งก็ in line กับธุรกิจนี้ครับ
การเติบโตแบบก้าวกระโดดค่อนข้างจะยาก เนื่องจากการขายต้องใช้เวลาเป็นปี
ขอบคุณข้อมูลคุณ Tiger ครับ
การติดตั้งหม้อไอน้ำใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จึงทำให้ ums สามารถ project
ยอดขายล่วงหน้าได้ค่อนข้างดี เนื่องจากลูกค้าลงทุนติดตั้งหม้อไอน้ำตาม spec
แล้ว การที่จะไม่สั่งซื้อเสียเฉยๆ หลังติดตั้งเสร็จคงไม่ใช่เกิดขึ้นบ่อยๆ (แต่คงมีบ้าง)
turnover rate ของ ums ในการขายสินค้าคือ 1 เดือน ฉะนั้น ต้นทุนของการกู้
ระยะสั้นน่าจะตกประมาณ (MLR+1)/12 หรือ 0.6% ของยอดขาย ซึ่งเทียบกับ
margin ที่ 28% แล้วน้อยมาก
ความเสี่ยงจึงไปอยู่ที่ credit ของบริษัทและกรรมการทั้งสองท่านแทน (เนื่องจาก
อาจจะต้องเซ็นค้ำประกันเมื่อวงเงินเพิ่ม) ซึ่งก็ทำให้ความเสี่ยงของธุรกิจโดยรวม
เพิ่มขึ้น (จากการขายสินค้าไม่ได้ ฯลฯ)
พายเรือกลับมาที่เดิมครับ :lovl: ความเสี่ยงของ UMS จึงอยู่ที่
1. ผู้บริหาร
2. ผู้แข่งขันรายใหม่ที่จะเข้ามาแย่งตลาด ทำให้ต้อง drop margin ลง
อย่างไรก็ตาม ผมหวังว่า ums จะรักษาอัตราการเติบโตเฉลี่ยไว้ที่ 15-20% ต่อปี
ไปเรื่อยๆ สัก 5 ปีนะครับ ก่อนที่จะมีคู่แข่ง ถึงตอนนั้น บริษัทต้องสามารถดำเนิน
ธุรกิจแบบ cash cow ให้ได้