การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ขอบคุณครับที่ช่วยย้ายกระทู้ให้
ตั้งใจไว้ว่าจะก็อปปี้มาเก็บในห้องนี้เหมือนกันครับ
เพื่อนท่านใดที่สนใจ การลงทุนในตลาดล่วงหน้าก็สามารถมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ครับในกระทู้นี้

ส่วนตัวผมก็คงศึกษาการลงทุนนี้เพิ่มขึ้นอีกครับ แต่ส่วนใหญ่ก็คงลงทุนในหุ้นเช่นเดิม ตลาดล่วงหน้าเป็นทางเลือกในการลงทุนครับ หวังว่าคงจะเพิ่มผลตอบแทนพอร์ตรวมได้บ้างครับ :D




เร็วๆนี้ผมได้เปิดบัญชีซื้อขายสัญญาสินค้าเกษตรล่วงหน้า
และได้เข้าทำการซื้อขายจริงเมื่อไม่กี่วันมานี้
ผลการลงทุนเป็นดังนี้ครับ

เมื่อวานนี้ผมซื้อสัญญายางแผ่นรมควันชั้น 3 จำนวน 1 สัญญาที่ราคา 68.4 บาทต่อกก.

วันนี้ขายสัญญาคืนเพื่อปิดสถานะที่ราคา 69.8 บาท

กำไร 1.4 บาทต่อกิโลกรัม
1 สัญญามี 5,000 กก. หรือ 5 ตัน
กำไรคือ 1.4*5000= 7,000 บาท
หักค่านายหน้า 0.15% ทั้งตอนซื้อและขายประมาณ 1,100 บาท
กำไรสุทธิ 5,900 บาท


ผลตอบแทนการลงทุน(เพียง 1 วัน) = กำไร/เงินประกันขั้นต้น= 5,900/12,000= 49% :shock: :shock:

กำไรอย่างนี้ ไม่รู้ว่าจะเป็นสัญญานที่ดีหรือเปล่า หรือจะทำให้ถลำตัวลงทุนไปมากขึ้น :lol:

การซื้อขายสัญญาสินค้าเกษตรล่วงหน้า เป็นทางเลือกการลงทุนที่ดีทางหนึ่งครับ ในยามที่ตลาดหุ้นซบเซาอย่างนี้ เพราะสารารถซื้อขายได้ทั้ง ขาขึ้นและขาลง ใช้เงินต้นน้อย ราคาเปลี่ยนไปเล็กน้อยก็ทำกำไรหรือขาดทุนได้มหาศาล

มีเพื่อนๆสนใจหรือได้ลงทุนแล้วหรือยังครับ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหน่อย เพราะผมก็เพิ่งลงทุนครั้งแรก ยังไม่มีความรู้มากนัก กำไรที่ทำได้ก็ดูเหมือนเป็นโชคซะมากกว่า :D
แก้ไขล่าสุดโดย ลูกอิสาน เมื่อ อาทิตย์ ก.ค. 24, 2005 1:19 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ทันสมัยจริงๆ ครับ ผมยังไม่เคยเลย
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
Oatarm
Verified User
โพสต์: 1266
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 3

โพสต์

วิธีเปิดบัญชีซื้อขาย ทำอย่างไรกัน อธิบายหน่อยก็จะดีมาก
ความรู้คู่เปรียบด้วย
pa_chit
Verified User
โพสต์: 224
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ติดตามอยู่เหมือนกันครับ

เท่าที่สังเกตุ ราคายางตอนนี้พุ่งสูงมากเลย ผมเคยเห็นราคาแถว 50 ต้นๆ เมื่อไม่นานนี้เอง ผมไม่รู้ว่าเป็นเพราะเริ่มมีคนเข้าไปเทรดมากขึ้น หรือเป็นเพราะปัจจัยอื่น

ส่วนตัวผมยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องสินค้าเกษตรเท่าไหร่ ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าทิศทางราคาขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง เลยยังดูๆอยู่ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ถ้าผมจะกระโดดเข้าไปเล่นคงต้องแก้ไข slogan ใหม่สิ

_________________
To BLASH is not the point of equity investments.
เรื่องทางโลกผมละหมดแล้วยกเว้นตลาดหุ้น ตลาดเกษตรล่วงหน้า และตลาดอนุัพันธ์

ยาวจริงๆ เนอะ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
iscssn
Verified User
โพสต์: 428
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อยากลองเหมือนกันครับ ทั้งอนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า
ztep
Verified User
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 7

โพสต์

:P ผมว่าถ้าเราไม่ได้ข้อมูลดิบที่จะนำมาวิเคราะห์จริงๆ นี่คือการเก็งกำไรเห็นๆครับ ซึ่งไม่ใช่ว่าจะไม่ดี แต่สถานการณือย่างนี้สร้างวีรบุรุษมาแล้ว ถ้าเคยอ่านประวัติของ โคโนะสุเกะ มัตสึชิตะ ผู้ก่อตั้ง พานาโซนิค พ่อของเขาหมดตัวกับการเก็งกำไรสินค้าเกษตรล่วงหน้าครับ ทำให้ลูกกลายเป็นวีรบุรุษของคนญี่ปุ่นครับ :lol:
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 8

โพสต์

Oatarm เขียน:วิธีเปิดบัญชีซื้อขาย ทำอย่างไรกัน อธิบายหน่อยก็จะดีมาก
ออกตัวว่าผมก็เพิ่งศึกษาไม่นาน ยังเป็นมื่อใหม่นะครับ ผิดถูกอย่างไรก็ช่วยท้วงติงด้วยครับ

การเปิดบัญชีก็ทำได้โดยการติดต่อโบรคเกอร์ หารายชื่อได้จาก www.afet.or.th ครับ (กรณีผมมาร์ได้รายชื่อและติดต่อผมโดยตรงครับ)
หลังจากเราขอเปิดบัญชี มาร์ก็จะจัดส่งเอกสารมาให้เซ็นเหมือนเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น ผมเลือกที่จะตัดเงินแบบ ats และผมเข้าใจว่าต้องใช้วิธีนี้เท่านั้น เพราะจะมีการตัดเงินบ่อยๆ ในกรณีขาดทุน ต้องวางเงินประกันเพิ่ม

การขอวงเงินซื้อขาย คิดเฉพาะที่เป็นเงินประกันขั้นต่ำ ไม่ได้คิดวงเงินซื้อขายเต็มทั้งสัญญา เช่นยางพารา 1 สัญญา 5,000 ตัน ราคากก.ละ 69 บาท ราคาจริงคือ 345,000 บาท แต่เงินประกันคือ 12,000 บาท เงินประกันนี้คือวงเงินซื้อขาย แต่เราควรจะขอวงเงินซื้อขายที่สูงกว่าเงินประกัน 2-3 เท่า ในกรณีที่เกิดขาดทุน โดนเรียกเงินประกันเพิ่ม จะได้มีเงินจ่าย

เมื่อเราจะซื้อขาย ก็แจ้งมาร์ให้ตัดเงินเพื่อเข้าสำนักอะไรก็จำไม่ได้ ไม่ใช่เข้าบัญชีโบรคโดยตรง อย่างผมให้ตัดเงิน 100,000 บาท ก็สามารถซื้อขายสัญญายางพาราได้ประมาณ 2-3 สัญญา แต่หากมีการขาดทุนมากจนเงิน 100,000 ไม่พอก็ต้องตัดเงินเพิ่มเข้าไป

การซื้อขายกรณียางพาราเงินประกันขั้นต่ำ 12,000 บาทต่อ 1 สัญญา
หรือใช้เงินต้นประมาณ 3.5% อีก 96.5 % เป็นมาร์จิน
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 9

โพสต์

การซื้อขายสามารถทำให้ทั้งขาขึ้นและลง

กรณีเรามองว่าราคายางจะขึ้น ก็ทำการซื้อล่วงหน้า หากเป็นไปตามที่เราคาด ราคายางเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนเราเห็นว่าสูงสุดแล้ว เราก็ทำสัญญาขายเพื่อปิดสถานะ ส่วนต่างราคาขาย-ราคาซื้อคือกำไร

หลังจากซื้อคืนไปแล้ว เรามองว่าราคายางน่าจะลง เราก็ทำการขายล่วงหน้า หากเป็นไปตามที่เราคาด ราคายางลงจนถึงระดับที่เราพอใจ เราก็ซื้อคืนเพื่อปิดสถานะ ส่วนต่างของราคาขาย-ราคาซื้อคือกำไร

ข้อดีคือเราสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้น ขาลง

แต่หากราคาไม่เป็นไปตามที่เราคาด ผลก็คือการขาดทุน และหากเราไม่รีบปิดสถานะเราอาจจะขาดทุนจนหมดตัวได้ :lol:
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เพราะฉะนั้น technical analysis จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ future markets ครับ

และวินัยการ cut loss สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ถ้าคิดแบบวีไอ คือไม่ขายตราบใด
ที่พื้นฐานไม่เปลี่ยน และราคาไม่ได้สะท้อนมูลค่าจริง อาจจะได้แพ๊คกระเป๋า
กลับบ้านก่อนราคาจะไปถึงมูลค่าจริง
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 11

โพสต์

pa_chit เขียน:ติดตามอยู่เหมือนกันครับ

เท่าที่สังเกตุ ราคายางตอนนี้พุ่งสูงมากเลย ผมเคยเห็นราคาแถว 50 ต้นๆ เมื่อไม่นานนี้เอง ผมไม่รู้ว่าเป็นเพราะเริ่มมีคนเข้าไปเทรดมากขึ้น หรือเป็นเพราะปัจจัยอื่น

ส่วนตัวผมยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องสินค้าเกษตรเท่าไหร่ ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าทิศทางราคาขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง เลยยังดูๆอยู่ครับ
ต้นปีนี้ราคายางยังอยู่แถว 45-46 บาท กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาราคายังอยู่ที่ประมาณ 50-51 บาท หลังจากนั้นราคาก็ถีบตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง ราคาทำนิวไฮท์ทุกวัน แม้จนกระทั่งวันนี้ ปริมาณการซื้อขายก็คึกคักขึ้นมาก ทำสถิติทั้งตลาดของไทย และตลาดโตเกียว (TOCOM)

คนที่ทำสัญญาซื้อเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว และยังไม่ขายจะกำไร 7.5 เท่าของเงินลงทุนต่อ 1 สัญญา และดูเหมือนจะมีคนที่กำไรอย่างนี้ค่อนข้างเยอะนะครับ เพราะหากราคาขึ้นไปเรื่อยๆ เราก็คงปล่อยไปเรื่อยๆ เช่นกัน คงไม่มีใครคิดจะขาย เนื่องจากมีต้นทุนราคาซื้อที่ต่ำมาก

ที่ราคายางเพิ่มขึ้นมากเท่าที่ติดตามมีสาเหตุดังนี้ครับ..

1.ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นทำให้ราคายางสังเคราะห์เพิ่มขึ้น ผู้ผลิตยางรถยนต์หันมาใช้ยางธรรมชาติมากขึ้น

2.ไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก และมีสัดส่วน 60% ของประมาณความต้องการของญี่ปุ่น ต้นปีที่ผ่านมาไทยประสบภัยแล้งทำให้ปริมาณยางออกสู่ตลาดลดลง พ่อค้าที่ทำสัญญาขายล่วงหน้าเอาไว้ ต้องรีบจัดหายางส่งมอบ มีการแย่งกันซื้อยางแผ่นมาก

3.ปริมาณฝนที่ตกมากในระยะนี้ ยิ่งซ้ำเติมให้ราคายางเพิ่มขึ้น เพราะชาวสวนกรีดยางไม่ได้เพราะฝนตก
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ztep เขียน::P ผมว่าถ้าเราไม่ได้ข้อมูลดิบที่จะนำมาวิเคราะห์จริงๆ นี่คือการเก็งกำไรเห็นๆครับ ซึ่งไม่ใช่ว่าจะไม่ดี แต่สถานการณือย่างนี้สร้างวีรบุรุษมาแล้ว ถ้าเคยอ่านประวัติของ โคโนะสุเกะ มัตสึชิตะ ผู้ก่อตั้ง พานาโซนิค พ่อของเขาหมดตัวกับการเก็งกำไรสินค้าเกษตรล่วงหน้าครับ ทำให้ลูกกลายเป็นวีรบุรุษของคนญี่ปุ่นครับ :lol:

คือการเกร็งกำไรแน่นอนครับ
ซึ่งก็มีทั้งคุณและโทษเหมือนทุกๆอย่างในโลกนี้ ผมอ่านในเอกสารของตลาดล่วงหน้า

ประโยชน์ของนักเก็งกำไรคือเพื่อเพิ่มสภาพคล่องและลดความเสี่ยงให้กับผู้ประกันความเสี่ยงจริงๆ เช่นผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ผลิต ผู้ใช้ เกษตกร

หากได้อ่านหลักการของตลาดล่วงหน้า จะทราบว่ามีประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องมาก เป็นการลดความเสี่ยงของผู้ที่เกี่ยวข้องครับ น่าจะตั้งตลาดนี้มาตั้งนานแล้วเหมือนที่โตเกียว หรือมาเลเซีย
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
JoJotaro
Verified User
โพสต์: 213
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ถ้าเราคิดว่าราคาจะขึ้นเราก็ซื้อสัญญา (Long position) เมื่อราคาขึ้นก็กำไร
ถ้าเราคิดว่าราคาจะลงเราก็ขายสัญญา (Short position) เมื่อราคาลงก็กำไร

แต่ตลาดซื้อขาย commodity จะใช้วิธี mark-to-market ทุกวันครับคือคิดกำไรขาดทุนทุกวัน
ดังนั้นถ้าวันไหนกำไรก็จะมีเงินเข้ามาในบัญชีอีกไม่กี่วัน
ส่วนขาดทุนก็จะตัดบัญชีเราไปจน ถึง limit ก็จะมีการเรียกเงินมาเพื่อรักษา position ไม่งั้นจะถูก close position ไปครับ

ส่วนการซื้อหรือขายสัญญานั้น ไม่ต้องจ่ายเงินครับ เสียแค่ commission

เห็น web นี้มีการลงทุนแบบ Turtle นี่ครับ คุณลูกอีสานไม่ลองเอาไปทำกับ commodity เหมือนกันเหรอครับ เพราะ turtle ใช้กับ commodity

แล้วจะถามอีกอย่างว่า จะดูราคาแบบ real time ได้มั้ยครับ เหมือนเป็น internet trading แบบหุ้นน่ะครับ
to be the best professional golfer.
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 14

โพสต์

Turtle Trading ออกแบบมาสำหรับ commodity markets โดยตรงเลยครับ
ถ้าศึกษาจนถ่องแท้และนำไปใช้ ความเสี่ยงต่ำมาก

แต่สำหรับเมืองไทย คงยังไม่ค่อย work มังครับ เพราะวอลลุ่มไม่มากพอ

กฎสำคัญของ turtle trading คือ ราคาและภาวะการซื้อขายเป็นไปตามกลไก
ตลาดโดยสมบูรณ์ ซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่สามารถกำหนดหรือมีอิทธพลต่อ
ราคาตลาดได้ (รวมทั้งรบ.ด้วย)

สำหรับตลาดยางในประเทศไทย อาจจะพอเข้าข่าย กลัวแต่ว่าเกิดวันไหนวอลลุ่ม
หดขึ้นมา จะยุ่งยากมากเลย เพราะตลาดยังไม่ active พอ

แต่ turtle trading รายละเอียดดีนะครับ คำนวณให้หมดเลยว่า จะต้องซื้อกี่สัญญา
ที่ราคาเท่าไหร่ และต้องขาย (ตัดขาดทุน) เมื่อราคาเป็นเท่าไหร่ และขาย (ทำกำไร)
เมื่อไหร่
Penguins
Verified User
โพสต์: 366
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ผมขอคำแนะนำจากพี่ลูกอิสานด้วยครับ
คือ
1. ถ้าสมมติว่าเป็น หุ้น เขาก็จะมี บ. ผู้ออกเอกสารทางการเงิน (หุ้น) ออกมาและกำหนดราคาขายในครั้งแรก (ipo) แล้วตลาดเกษตรล่วงหน้า ใครเป็นผู้กำหนดราคา และ ใครเป็นเจ้าของ สินค้าในครั้งแรกครับ

2. ผมเข้าใจว่า ผู้ประกันความเสี่ยง (hedger) เขามีตัวสินค้าอยู่ แล้วเขานำมาขอวางประกัน กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ แล้วหน่วยงานนั้นเขาก็จะ ใส่สัญญา เพิ่มเข้าไปในการซื้อขาย - ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ
.........ปัจจุบันมีประมาณกี่สัญญาครับ (ไม่เกี่ยวกับจำนวนการซื้อขายที่เกิดขึ้น)...และเราสามารถค้นหาความรู้ตรงส่วนนี้ได้จากที่ไหนครับ

3. จากข้อ 2 ในประเทศไทยมี hedger มากขนาดใหนครับ และเขาเหล่านั้นสามารถยังนำสินค้าไปซื้อขายนอกตลาดได้หรือไม่ และตลาด tocom มีกี่สัญญาซื้อขาย และมี hedger มากขนาดใหนครับ

4.สมมติว่าถึงเวลาวันส่งมอบ ผู้ที่มีสัญญาซื้อ กับ ผู้ที่มีสัญญาขาย เป็นเพียง นักเก็งกำไร แล้วเราจะต้องถูก Force Sell ถ้าเป็นดังข้อ 3 ก็ไม่ต่างอะไรกับที่นักเก็งกำไรถูกมัดมือไว้อะครับ เพราะในตลาดไม่มี hedger - ผมคิดถูกหรือเปล่าครับ

จากด้านบนผมตั้งสมมติฐานไว้ว่าปัจจุบันตลาดเป็นของ hedger และถ้าไม่มี hedger เข้ามาซื้อขายแล้ว อย่างไรเขาก็น่าจะสามารถสร้างแนวโน้มราคาได้อยู่ ถึงแม้นว่าปัจจุบันจะมีการกล่าวไว้ว่าให้อิงกับราคา tocom

:( ผมคุยกับ marketing ม่ายรู้เรื่องอะครับ เลยเสียวๆ อยู่ :? กลัวโดนตุ๊บอะครับ

ขอบคุณครับ
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 16

โพสต์

CK เขียน:เพราะฉะนั้น technical analysis จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ future markets ครับ

และวินัยการ cut loss สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ถ้าคิดแบบวีไอ คือไม่ขายตราบใด
ที่พื้นฐานไม่เปลี่ยน และราคาไม่ได้สะท้อนมูลค่าจริง อาจจะได้แพ๊คกระเป๋า
กลับบ้านก่อนราคาจะไปถึงมูลค่าจริง
เห็นด้วยครับพี่ CK :D
สัญชาตญานนักลงทุนเล็กๆอย่างผมบอกว่า
ในการซื้อขายล่วงหน้า การ cut loss เป็นสิ่งจำเป็นหากตลาดไม่เป็นไปตามที่คาด และหากตลาดเป็นไปตามคาด ก็ควรใช้วิธี let profit run เพื่อที่จะได้มีกำไรมากๆ พอที่จะชดเชยกับการขาดทุนเล็กๆน้อยๆแต่บ่อยๆได้


ก็ว่ากันไปตามทฏษฎีนะครับ ในทางปฎิบัติคงไม่ง่ายอย่างนั้น


ผมคงต้องกลับไปทบทวนความรู้ด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิคบ้างแล้วครับ เผื่อจะมีประโยชน์ในการลงทุนตลาดล่วงหน้า

ขอบคุณสำหรับการแนะนำ turtle trading ไม่ทราบว่าพอจะไปศึกษาวิธีนี้ได้ที่ไหนครับ ในพันพิพย์มีหรือเปล่าครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 17

โพสต์

อยากลองเหมือนกันครับ แต่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย จึงเว้นไว้ก่อนครับ
Expecto Patronum!!!!!!
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 18

โพสต์

Penguins เขียน:ผมขอคำแนะนำจากพี่ลูกอิสานด้วยครับ
คือ
1. ถ้าสมมติว่าเป็น หุ้น เขาก็จะมี บ. ผู้ออกเอกสารทางการเงิน (หุ้น) ออกมาและกำหนดราคาขายในครั้งแรก (ipo) แล้วตลาดเกษตรล่วงหน้า ใครเป็นผู้กำหนดราคา และ ใครเป็นเจ้าของ สินค้าในครั้งแรกครับ

2. ผมเข้าใจว่า ผู้ประกันความเสี่ยง (hedger) เขามีตัวสินค้าอยู่ แล้วเขานำมาขอวางประกัน กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ แล้วหน่วยงานนั้นเขาก็จะ ใส่สัญญา เพิ่มเข้าไปในการซื้อขาย - ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ
.........ปัจจุบันมีประมาณกี่สัญญาครับ (ไม่เกี่ยวกับจำนวนการซื้อขายที่เกิดขึ้น)...และเราสามารถค้นหาความรู้ตรงส่วนนี้ได้จากที่ไหนครับ

ขอบคุณครับ
เท่าที่ศึกษามานะครับ ผมก็กำลังอยู่ในช่วงเรียนรู้เช่นกันครับ

1.ราคาที่ซื้อขายก็เกิดจากผู้ซื้อ-ผู้ขาย เห็นตรงกันครับ ไม่มีราคา IPO เหมือนหุ้น ส่วนที่ว่าราคาที่เกิดการซื้อขาย มาได้อย่างไรก็เกิดปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อปริมาณ-ความต้องการของสินค้านั้น แต่ละคน(ผู้ซื้อ-ขาย)เมื่อได้รับข่าวสารก็ตีความแตกต่างกันไปทำให้มีรายการซื้อขายเกิดขึ้น ส่วนประเด็นสินค้าจริงๆ (ยางพารา ข้าว มัน) จะมีหรือไม่มีก็ได้ครับ..

-กรณีผู้ประกันความเสี่ยง Hedger อาจจะมีสินค้าจริง และเข้ามาทำสัญญาลดความเสี่ยงของราคาในตลาดล่วงหน้า
-กรณีนักเก็งกำไรอย่างเราๆท่านๆ ไม่มีสินค้านะครับ เราสร้างสถานะขึ้นมาเองเสมือนว่ามีสินค้า เมื่อเราต้องการปิดสถานะก็ต้องทำรายการในทางตรงกันข้ามกับครั้งแรก

หากเราไม่ล้างสัญญา และประสงค์จะส่งมอบ-รับมอบสินค้าจริงๆ ต้องแจ้งตลาดครับ เพื่อที่จะได้ดำเนินการเตรียมการส่งมอบต่อไป ซึ่งการส่งมอบจริงๆ ไม่ได้เป็นจุดประสงค์ของตลาดครับ ตลาดมีขึ้นมาเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของสินค้าครับ เท่าที่เปิดตลาดมา ผมจำได้ว่ามีการส่งมอบจริงๆ 1 ครั้งหรือเปล่าไม่แน่ใจ และน่าจะเป็นการจัดฉากมากกว่าครับ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

2. การนับสัญญา หมายถึงสัญญาที่คงค้างอยู่ (open interest) คือสัญญาที่ยังไม่ได้ทำการล้างสถานะ สามารถดูได้จากข้อมูลที่นี่ครับ
http://www.afet.or.th/dataDelayed03.php

ช่อง open interest คอลัม current
แก้ไขล่าสุดโดย ลูกอิสาน เมื่อ อังคาร ก.ค. 19, 2005 3:29 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 19

โพสต์

จะเห็นได้ว่าวันนี้ราคายางทำ ceiling อีกแล้วนะครับ
ทุกสัญญาเพิ่มขึ้นติดเพดานที่ 1.9 บาทต่อกก.
หากขึ้นติดเพดานหลายวัน จะขยับเป็น 2.4 บาทต่อกก.ครับ


ผมทำขายปิดสถานะ RU0511 ที่ 68.8 บาท
ราคาตลาดปิดที่ 70.1 ขาดทุนกำไรไปแล้ว 0.3 บาทต่อกก. :evil:

RU0511 คือสัญญายางส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2005
วันที่ 1 สิงหานี้จะเปลี่ยนสัญลักษ์เป็น RSS 05 Nov ประมาณนี้ครับไม่แน่ใจ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 20

โพสต์

Penguins เขียน:ผมขอคำแนะนำจากพี่ลูกอิสานด้วยครับ
คือ
3. จากข้อ 2 ในประเทศไทยมี hedger มากขนาดใหนครับ และเขาเหล่านั้นสามารถยังนำสินค้าไปซื้อขายนอกตลาดได้หรือไม่ และตลาด tocom มีกี่สัญญาซื้อขาย และมี hedger มากขนาดใหนครับ

4.สมมติว่าถึงเวลาวันส่งมอบ ผู้ที่มีสัญญาซื้อ กับ ผู้ที่มีสัญญาขาย เป็นเพียง นักเก็งกำไร แล้วเราจะต้องถูก Force Sell ถ้าเป็นดังข้อ 3 ก็ไม่ต่างอะไรกับที่นักเก็งกำไรถูกมัดมือไว้อะครับ เพราะในตลาดไม่มี hedger - ผมคิดถูกหรือเปล่าครับ

จากด้านบนผมตั้งสมมติฐานไว้ว่าปัจจุบันตลาดเป็นของ hedger และถ้าไม่มี hedger เข้ามาซื้อขายแล้ว อย่างไรเขาก็น่าจะสามารถสร้างแนวโน้มราคาได้อยู่ ถึงแม้นว่าปัจจุบันจะมีการกล่าวไว้ว่าให้อิงกับราคา tocom

:( ผมคุยกับ marketing ม่ายรู้เรื่องอะครับ เลยเสียวๆ อยู่ :? กลัวโดนตุ๊บอะครับ

ขอบคุณครับ
3.ในตลาดไทยและตลาด Tokyo Commodity Exchange หรือ Tocom ผมไม่ทราบว่ามีนักเก็งกำไรเปรียบเทียบกับผู้ประกันความเสี่ยงเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ครับ แต่คาดว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นนักเก็งกำไรมากกว่า สามารถดูราคายาง จำนวนสัญญาที่ซื้อขายได้ที่นี่ครับ

http://www.tocom.or.jp/souba/rubber/index.html

สังเกตุว่าราคาทำ ceiling สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์เช่นกันนะครับ

4.ปกติเมื่อใกล้ถึงเวลาส่งมอบ นักเก็งกำไรซึ่งไม่ประสงค์จะทำการส่งมอบสินค้าจริงๆ ก็จะทำการปิดสถานะโดยการทำสัญญาในทางตรงกันข้ามครับ เมื่อปิดแล้วเราก็ไม่มีพันธะใดๆทั้งสิ้นครับ แต่หากเราไม่ได้ทำการล้างสัญญา ก็จะปรากฎเป็น open interest ต่อไปครับ ซึ่งผมก็ไม่ทราบเช่นกันว่าจะเป็นอย่างไร อย่างสัญญายางส่งมอบเดือนสิงหาคมนี้ ยังมี open interest อีกหลายสัญญา อาจจะต้องการส่งมอบสินค้ากันจริงก็ได้ หรือต้องการกั๊กให้ได้ราคาที่ดี ผมไม่แน่ใจนะครับ :?

ปกิติราคาตลาดล่วงหน้าไทย ก็จะตามตลาด Tocom ครับ เพราะตลาดเราเล็กกว่ามาก ยังไม่สะท้อนราคาที่แท้จริง ส่วนการบิดเบือนราคาในตลาดล่วงหน้าทำได้ยากครับ เพราะมีกฎห้ามซื้อเกิน 100 สัญญา และมีกลใกที่จะป้องกันการปั่นราคาครับ ผมไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร ลองช่วยกันศึกษาครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
Penguins
Verified User
โพสต์: 366
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณพี่ลูกอิสานครับ

http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... rtle#64383

ผมพยายามตามลิงก์ ของพี่ CK เรื่อง turtle trading แต่ลิงก์เสียอะครับ
ถ้าพี่ CK เข้ามาอีกครั้งหนึ่งผมขอ ลิงก์เอกสารของ turtle trading อีกรอบนะครับ เพราะของเก่า e-books ผมโดนไวร้ายเล่นงานจนเกลี้ยง HDD เลยครับ

ขอบคุณพี่ทั้งสองครับ :wink:
janelovehoon
Verified User
โพสต์: 485
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 22

โพสต์

เพราะฉะนั้น technical analysis จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ future markets ครับ
แล้วตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้านี้ จะมีกราฟ + Indicator ที่ไหนให้เราดูไหมคะ
:?:
JoJotaro
Verified User
โพสต์: 213
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 23

โพสต์

จริงๆ พวก Hedger นั้นจริงๆ ไม่ต้องส่งมอบให้เสียเวลาก็ได้ครับ
เพราะว่าถ้า Close position ไปก่อนวันส่งมอบพอดีก็จะได้กำไรหรือขาดทุนในส่วนต่างราคาอยู่แล้ว
ดังนั้นถ้าเอาไปขายจริงๆ ก็ไม่ต่างกับไปส่งมอบครับ

แต่ผมยังไม่แน่ใจว่าตลาดจะมีการส่งมอบจริงๆ หรือเปล่าหรือแค่ Close position ให้ทั้งผู้ซื้อขายจ่ายรับเฉพาะส่วนต่างไม่ต้องส่งมอบจริงๆ ให้วุ่นวาย
to be the best professional golfer.
JoJotaro
Verified User
โพสต์: 213
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 24

โพสต์

สำหรับ web turtle นั้น link เสียเข้าไป Download ไม่ได้แล้ว
ใครอยากได้เอาจากที่นี่ละกันครับ จะทิ้งไว้ให้สักพัก

http://www.cp.eng.chula.ac.th/~u43aww/turtlerules.pdf
to be the best professional golfer.
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 25

โพสต์

อืมม์ แจกใน public ไม่กลัวโดนฟ้องเรื่องลิขสิทธิ์หรือครับ
JoJotaro
Verified User
โพสต์: 213
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 26

โพสต์

งั้นเอายังไงดีครับ งั้น PM ส่ง E-Mail มาละกันครับ ดีกว่ามั้ย
to be the best professional golfer.
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 27

โพสต์

JoJotaro เขียน:จริงๆ พวก Hedger นั้นจริงๆ ไม่ต้องส่งมอบให้เสียเวลาก็ได้ครับ
เพราะว่าถ้า Close position ไปก่อนวันส่งมอบพอดีก็จะได้กำไรหรือขาดทุนในส่วนต่างราคาอยู่แล้ว
ดังนั้นถ้าเอาไปขายจริงๆ ก็ไม่ต่างกับไปส่งมอบครับ

แต่ผมยังไม่แน่ใจว่าตลาดจะมีการส่งมอบจริงๆ หรือเปล่าหรือแค่ Close position ให้ทั้งผู้ซื้อขายจ่ายรับเฉพาะส่วนต่างไม่ต้องส่งมอบจริงๆ ให้วุ่นวาย
น่าจะถูกต้องตามที่คุณโจโจทาโร่ว่าไว้ครับ

ผมจะคัดลอกบางส่วนเรื่องการส่งมอบ จากหนังสือความสำคัญและกลไกการทำงานของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ซึ่งเป็นหนังสือเผยแพร่ทั่วไป(มาร์จะให้หนังสือนี้แก่ลูกค้าเพื่อศึกษา)
ข้อสังเกตประการหนึ่งเกี่ยวกับการส่งมอบคือ แท้จริงแล้ว วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า คือเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคเกษตรกรรมได้ใช้กลไกในการซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรในตลาดปัจจุบัน มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกในการซื้อ (รับมอบ) และขาย (ส่งมอบ) สินค้าเกษตรในตลาดจริงแต่อย่างใด

ดังจะเห็นได้ว่าในทางปฎิบัติแล้ว การใช้ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพื่อการส่งมอบสินค้าตามแนวทางที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ซื้อขายสินค้าเกษตร เนื่องจากข้อจำกัดหลายประการเช่น คุณภาพและชนิดของสินค้าที่ซื้อขายกันในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า อาจมิได้มีคุณสมบัติตรงตามที่ผู้ซื้อต้องการ ในขณะที่สถานที่ส่งมอบสินค้าที่ระบุในสัญญาก็อาจมิได้เป็นจุดส่งมอบที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของผู้ซื้อและผู้ขาย นอกจากนั้นแล้ว วันที่ระบุให้มีการส่งมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจจะไม่ตรงกับช่วงเวลาที่ผู้ซื้อและผู้ขายต้องการทำธุรกรรมจริงๆ เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า โดยปกติแล้ว ผู้ทำธุรกรรมซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าต่างประเทศ มักจะทำการล้างสถานะของตัวเองด้วยการทำสัญญาในด้านตรงข้าม (Offset Position) เป็นส่วนใหญ่ สำหรับกระบวนการส่งมอบสินค้านั้นมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อสนับสนุนกระบวนการเคลื่อนไหวเข้าหากัน (Convergence) ของราคาล่วงหน้าและราคาปัจจุบัน เมื่อสัญญาหมดอายุ

ถึงแม้ว่านักลงทุนที่ซื้อขายในตลาดล่วงหน้าส่วนใหญ่ มักจะเลือกที่จะล้างฐานะของตนเองด้วยการเข้าทำสัญญาในด้านตรงกันข้ามดังกล่าวข้างต้น แต่ความเข้าใจในกระบวนการส่งมอบ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการซื้อขายในตลาด สามารถใช้ข้อมูลตลาดเกี่ยวกับการส่งมอบที่เกิดขึ้น เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการซื้อขายที่ผิดปกติในตลาดได้
อ่านมาถึงตอนนี้ เพื่อนๆที่ไม่เคยได้ศึกษากลใกการทำงานในตลาดล่วงหน้า อาจจะสับสนกับศัพท์แสง และการกลใกทำงานของตลาดล่วงหน้าใช่ใหมครับ แม้ส่วนตัวผมจะเคยลงทุนในตลาดหุ้นมาเกือบ 10 ปี แต่พอมาศึกษาตลาดล่วงหน้า ก็รู้สึกว่าเข้าใจได้ยากจริงๆ :oops: ต้องใช้เวลาพอสมควรในการทำความเข้าใจ เหมือนการลงทุนในตลาดหุ้นครั้งแรกๆก็เช่นกัน ซึ่งน่าจะเข้าใจยากกว่าหลายเท่า เพราะนักลงทุนที่เคยลงทุนในตลาดหุ้น พอจะมีพื้นฐานความรู้บ้างแล้ว เปรียบเทียบกับประชาชนทั่วไปที่เข้าไปลงทุนในตลาดล่วงหน้าโดยไม่มีพื้นฐานเลย

ผมมองว่าหลายคนคงไม่เหมาะสมที่จะซื้อขายสัญญาล่วงหน้า แต่ก็คงมีหลายคนเช่นกันที่ดูจะมีนิสัยการลงทุนที่น่าจะลองศึกษาตลาดล่วงหน้าครับ :D
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ข้อเปรียบเทียบระหว่างหุ้นและสัญญาล่วงหน้า

1. หุ้นลงทุนทำกำไรได้เฉพาะขาขึ้น แต่สัญญาล่วงหน้าทำได้ทั้งขาขึ้นขาลง
2. หุ้นใช้เงินลงทุนมาก สัญญาล่วงหน้าใช้เงินลงทุนน้อยมาก (มาร์จินสูง)
3. หุ้นกำไรยาก ขาดทุนง่าย สัญญาล่วงหน้ากำไร-ขาดทุนมากๆได้เท่าๆกัน
4. หุ้นมีปันผล สัญญาล่วงหน้าไม่มี
5. หุ้นถือยาวได้ สัญญาล่วงหน้ามีวันหมดอายุ (ปกติ 6 เดือน)
6. หุ้นมีหลายบริษัทให้เลือก ดูแลยาก สัญญาล่วงหน้ามีสินค้าน้อยตัว ดูแลง่าย
7. หุ้นราคาผันผวนมากจากข่าวที่มีผลทางจิตวิทยา สัญญาล่วงหน้าผันผวนตามดินฟ้าอากาศ
8. หุ้นมี insider สัญญาล่วงหน้าไม่มี
9. หุ้นปั่นราคาได้ง่าย สัญญาล่วงหน้าทำได้ยาก เพราะจำกัดการถือครองสัญญา และซื้อเก็บเหมือนหุ้นไม่ได้
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ามีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแน่นอน โดยเฉพาะประเทศไทยที่ทำเกษตรกรรมอยู่เยอะ

แต่ผมไม่ชอบนักที่มีผู้บริหารของตลาด มักจะออกมาเชิญชวนนักเก็งกำไรทั้งหลายให้เข้าไปซื้อขายเก็งกำไร โดยแนะนำชักจูงว่าดีกว่าเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ เพราะมีสวนได้เสียเยอะมากเมื่อเทียบกับเงินทุน

ทำไมผู้บริหารของไทยมักจะมีวิสัยทัศน์สั้นๆ มองแต่ตัวเลขฉาบฉวย ไม่มองถึงผลดีผลเสียต่อคนส่วนรวม

ในอนาคตคงมีคนหมดตัวเยอะกว่าตลาดหุ้นแน่นอน เพราะ Margin มากเหลือเกิน

ผมคงไม่เห็นด้วยที่ว่าต้องมีนักเก็งกำไรเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาด


แล้วสินค้าเกษตรเราจะคำนวณหาราคาพื้นฐานอย่างไรครับ มีหลักในการคิดอย่างไรครับ

ดูผลกระทบจากราคาน้ำมันกันซิครับ หลายคนก็บอกว่าเป็นผลจากกองทุนนักเก็งกำไร
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ที่ 30

โพสต์

แล้วสินค้าเกษตรเราจะคำนวณหาราคาพื้นฐานอย่างไรครับ มีหลักในการคิดอย่างไรครับ

ดูผลกระทบจากราคาน้ำมันกันซิครับ หลายคนก็บอกว่าเป็นผลจากกองทุนนักเก็งกำไร
ราคาพื้นฐานไม่ต้องคิดครับ ประเด็นสำคัญคือ markets ที่เรามอง แนวโน้มใน 6 เดือนถึงหนึ่งปีข้างหน้าเป็นอย่างไร จะแพงขึ้น หรือถูกลง แค่นี้เองครับ

เรื่องราคาน้ำมันที่ว่าเป็นผลจากกองทุนนักเก็งกำไร เป็นข้ออ้างห่วยๆ ของนักการเมืองที่ต้องการปัดความรับผิดชอบ

ส่วนการหาแนวโน้มของสินค้าตลาดโภคภัณฑ์ Singaporians เก่งมากครับ

เขาไปซื้อภาพถ่ายดาวเทียมจากสหรัฐฯของพื้นที่เกษตรทั้งโลก (ราคาแพงพอควร) แล้วเอามาวิเคราะห์ว่า region ไหนจะผลิตอะไรได้มากน้อยเท่าไหร่ในปีนี้และปีหน้า เสร็จแล้วก็จะเข้าซื้อ contracts ของพืชไร่ที่กำลังการผลิตลดลง (ดูภัยแล้งและพื้นที่เพาะปลูก เป็นต้น) และขาย contracts ของพืชไร่ที่ขาดตลาดในปีนี้ แต่ในปีหน้าจะมี supplies ออกมามาก (เพราะจากภาพถ่ายจะเห็นเลยว่ามีการปลูกพืชชนิดนั้นมากแค่ไหน)

ทำให้ชาวสิงคโปร์ทำกำไรจากการค้าพืชไร่เป็นจำนวนมากมายมหาศาลในแต่ละปี

The power of information!