*** 30บาททำหนี้ท่วม5พันล้าน ***

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
Britannica
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

*** 30บาททำหนี้ท่วม5พันล้าน ***

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมา สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลัง ของสถานบริการสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า จากการรวบรวมข้อมูลสถานการณ์การเงินการคลัง ณ เดือน เม.ย.2548 และดึงข้อมูลออกจากระบบ ในวันที่ 30 มิ.ย. 2548 พบว่า สถานบริการในสังกัดกระทรวง จำนวน 172 แห่ง มีหนี้สิน รวม 4,863.50 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาดัชนีสภาพคล่องการใช้ทรัพยากรการบริการ ของสถานบริการพบว่า มีถึง 98 แห่ง เกิดภาวะวิกฤตทางการเงิน โดยมีหนี้สินรวม 2777.69 ล้านบาท อีก 38 แห่ง มีสภาพคล่องที่จะพอใช้ไปไม่ถึง 3 เดือน มีหนี้สินรวม 1084.66 ล้านบาท และ 36 แห่ง มีสภาพคล่องที่จะพอใช้ไป 3-6 เดือน มีหนี้สินรวม 1,001.05 ล้านบาท

โดยจากการวิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลัง ในรายละเอียดของจำนวนหนี้สิ้นเกือบ 5,000 ล้านบาท ของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แยกเป็นภาคเหนือ ขาดสภาพคล่อง 52 แห่ง มีหนี้สิน 1,181.87 ล้านบาท ภาคกลางขาดสภาพคล่อง 27 แห่ง หนี้สินรวม 797.72 ล้านบาท สถานบริการในภาคอีสานขาดสภาพคล่อง 74 แห่ง หนี้สิน 2,335.34 ล้านบาท ภาคใต้ ขาดสภาพคล่อง 19 แห่ง หนี้สินรวม 548.57 ล้านบาท ในจำนวนหนี้สินทั้งหมดพบว่า โรงพยาบาลศูนย์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประสบภาวะการขาดสภาพคล่องทางการเงินสูงสุดถึง 1,886.64 ล้านบาท รองลงมาได้แก่โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10-30 เตียง ขาดสภาพคล่อง 1,107.03 ล้านบาท ตามด้วยโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60-150 เตียง ขาดสภาพคล่อง 760.76 ล้านบาท โรงพยาบาลทั่วไปมากกว่า 300 เตียง ขาดสภาพคล่อง 595.23 ล้านบาท และโรงพยาบาลทั่วไป ขนาดตั้งแต่ 300 เตียงลงมา ขาดสภาพคล่อง 513.85 ล้านบาท

นอกจากนี้ การประมวลภาพรวมการบริหารหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า 30 บาท ของกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้วิเคราะห์เรื่องการบริหารหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า 30 บาท และพบว่าตั้งแต่มีโครงการ 30 บาท ระหว่างปี 2544-2546 รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายรายหัวในจำนวน 1,202.4 บาท และเพิ่มเป็น 1,308.5 บาท ต่อคนต่อปี ในปี 2547 และ ปี 2548 อยู่ที่ 1,396.3 บาท ต่อคนต่อปี ซึ่งเงินจำนวนนี้ ได้รวมเงินเดือนบุคลากรไว้ด้วยทำให้สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงส่วนใหญ่ประสบกับภาวะขาดทุน

ทั้งนี้ สนย. ได้ประเมินว่าจากที่รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณในโครงการไว้ที่ 62,727 ล้านบาท ในปี 2547 เพิ่มเป็น 72,768 ล้านบาท ในปี 2548 ส่วนในปี 2549 ที่ได้ขอสนับสนุนงบประมาณรายหัวเพิ่มเป็น 1,659.2 บาท ทำให้คาดว่าต้องใช้งบประมาณสูงถึง 81,329 ล้านบาท และในปี 2550-2551 คาดว่างบประมาณในโครงการจะเพิ่มถึง 87,029 ล้านบาท และ 93,130 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการจัดสรรงบประมาณรายหัวเพิ่มขึ้น แต่สนย.วิเคราะห์ พบว่า งบประมาณรายหัวที่ได้รับยังคงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เช่น ในปี 2549 หากได้รับจัดสรรงบที่ 1,659.2 บาท แต่ตัวเลขตามจริงควรอยู่ที่ 1,901 บาท ขณะที่ในปี 2548 คือปีปัจจุบัน ได้รับจัดสรรงบที่ 1,396.3 บาท แต่ตัวเลขที่ควรจะเป็นและใช้จ่ายจริง กลับสูงถึง 1,788 บาท เช่นเดียวกับในปี 2550 ที่คาดการณ์ว่า จะได้รับจัดสรร 1,813 บาท ต่อคนต่อปี แต่ตัวเลขที่ควรจะเป็นคือ 2,012 บาท

นอกจากนี้ ในการวิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลังยังระบุอีกว่าภายหลังมีโครงการ 30 บาท หนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินทรัพย์และเงินทุนหมุนเวียนสุทธิลดลง จึงส่งผลให้เกิดปัญหาด้านกำลังคนด้านสาธารณสุขอย่างรุนแรง พิจารณาได้จาก จำนวนแพทย์ที่ลาออกสูงมากถึง 795 คน ในปี 2546 ส่งผลให้อัตรากำลังของแพทย์ในระบบบริการสาธารณสุขต่ำกว่า 70% ของความต้องการที่แท้จริง ขณะที่ทันตแพทย์ มีอัตรากำลังต่ำกว่า 40% ของความต้องการ ส่วนเภสัชกร หลังจากที่ไม่มีสัญญาชดใช้ทุน ก็ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเภสัชกรที่จะไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเช่นกัน ที่สำคัญที่สุด คือพยาบาลและวิชาชีพสายอื่นๆ ในระบบสาธารณสุขหลังจากยกเลิกสัญญาชดใช้ทุนและไม่มีตำแหน่งรองรับ ทำให้เกิดการลาออกมาก โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพ ที่สำเร็จการศึกษาในปี 2548 ไม่ยินยอมไปปฏิบัติในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงถึง 30% ทำให้กระทรวงสาธารณสุขคำนวณว่า ในระยะ 10 ปี นับจากปี 2547-2556 จะต้องเพิ่มการผลิตแพทย์ให้ได้ถึง 10,678 คน และพยาบาลวิชาชีพที่จะต้องผลิตเพิ่มอีกเป็น 10,000 คน เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะให้มีพยาบาลวิชาชีพ ประจำในสถานีอนามัยทุกแห่งในขณะที่ความเป็นจริงไม่สามารถทำได้
Concert
Verified User
โพสต์: 44
ผู้ติดตาม: 0

*** 30บาททำหนี้ท่วม5พันล้าน ***

โพสต์ที่ 2

โพสต์

4 ปีแรกเสนอโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ------------จินตนาการ ความฝัน

ความเป็นจริงแล้ว:
โครงการ 30 บาทรักษาไม่หายตายทุกโรค

ปรับปรุงสโลแกนใหม่ เป็น 30 บาท คนไทย ห่างไกลโรค

สิ่งที่กลัว เมื่อความจริงปรากฏ:
โครงการ 30 บาท คนไทย ห่างไกลโลก
ล็อคหัวข้อ