มั่งคั่งด้วยหุ้น ลงทุนอย่างมีคุณค่า

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
viหัดคลาน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 229
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4201

โพสต์

มายินดีพี่พอลด้วยอีกคน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4202

โพสต์

เพื่อนๆหมอ ช่วยเพื่อนท่านนี้ด้วยครับ

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=14&t=53047
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4203

โพสต์

ok ครับพี่ครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4204

โพสต์

noooon010 เขียน:ok ครับพี่ครับ
ขอบคุณหมอนุ่นมากครับ ทั้งหล่อทั้งใจดี :cool:

ยังไม่ได้เจอตัวจริงซักที เห็นแต่ในรูปที่ FB นะครับ

แต่พี่ว่าบางทีก็ดูเฮ้วๆดีนะครับ เอาแว่นดำมาใส่ดีดกีตาร์ เท่ห์มากๆครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4205

โพสต์

เอาความรู้มาฝากจาก TSI ครับ ลองคลิ๊กเข้าไปดูครับ :D


http://www.tsi-thailand.org/newsletter/ ... ugust.html
wigraipat
Verified User
โพสต์: 210
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4206

โพสต์

ขอบคุณคับพี่พอล
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4207

โพสต์

พรุ่งนี้มีนัดกันที่งานนี้นะครับ ใครลงทะเบียนไปแล้วอย่าลืมไปนะครับ

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=52848
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4208

โพสต์

ตัวอย่างข้อมูลดีๆ ที่วิทยากรวันพรุ่งนี้จะพูดคุยครับ แค่เห็นหัวข้อ ก็อยู่ไม่ติดแล้วครับ :D
11. หุ้น

(ผมจะพูดถึงการลงทุนในหุ้นในแนวปัจจัยพื้นฐานนะครับ อาจจะมีพูดถึงเทคนิคอลบ้างแต่ผมรู้น้อยมากครับ)

11.1 ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้น
- ซื้อหุ้นด้วยมุมมองของการซื้อธุรกิจ หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มีคนทำงานอยู่จริงๆ
- ผู้ถือหุ้นคือเจ้าของธุรกิจ (ตามสัดส่วนการถือหุ้น)
- คนรวยในโลกส่วนใหญ่รวยจากหุ้น ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจที่เอากิจการเข้าตลาด หรือนักลงทุนอาชีพที่ไม่ได้ทำธุรกิจเอง
- หุ้นต่างกับสินทรัพย์อย่างอื่น คือหุ้นสามารถทำกำไรและสร้างกระเงินสดได้ ถ้าเป็นพวกทองคำหรือที่ดินต้องให้คนมาสนใจและร่วมกันตีมูลค่าให้สูงขึ้น
- ระยะยาวตลาดหุ้นกำไร 10% ต่อปี (กรณีเล่นกองทุนดัชนีก็เป็นทางเลือกนึงที่น่าสนใจมาก)
- หุ้นดูง่าย เปิดบัญชีซื้อขาย ใครก็ทำได้ แต่อะไรดูเหมือนยิ่งง่ายนี่แหละครับยิ่งยาก เหมือนหมากล้อม กติกาสุดง่าย เล่นจริงยากมาก ใช้เวลาทั้งชีวิตก็เรียนรู้ไม่หมด ตลาดหุ้นไม่ง่ายครับ การทำกำไรให้ชนะตลาดหลายปีติดต่อกันเป็นเรื่องที่ยากมาก

11.2 ก่อนเล่นหุ้นพิจารณา
- 1.) เงินที่ลงทุนเป็นเงินเย็น ไม่มีความเร่งรีบในการใช้ในช่วง 3 ปี และมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เดือน (เงินทั้ง 2 ก้อนมาจากเงินออม)
- 2.) มีบ้าน (ถึงเจ๊งหุ้นก็ยังมีบ้านอยู่)
- 3.) หาความรู้เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน

11.3 การจะลงทุนในหุ้นต้องพิจารณา 4 ปัจจัย
- 1. Stock selection
- 2. Market or Stock timing
- 3. Portfolio management
- 4. Psychology

Stock selection

1. การ approach หุ้น
- มี 2 วิธี 1. Top down 2. Bottom up
- Top down – มองจากภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ เลือกกลุ่มอุตสาหกรรมและเลือกบริษัทที่น่าจะได้ผลตอบแทนคาดหวังสูงสุดในสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น
- Bottom up – มองจากบริษัทที่เราเข้าใจหรือสนใจ แล้วดูว่าบริษัทนั้นจะได้รับการกระทบอย่างไรในสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า

2. หุ้น 6 ประเภท
- Peter lynch เซียนหุ้นระดับโลก ได้แบ่งบริษัทต่างๆ ในการลงทุนได้ 6 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. หุ้นโตช้า (Slow growers) การเติบโตของกำไรจะสูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเล็กน้อย ประมาณ 2-4% ต่อปี ให้ซื้อที่ PE ต่ำและหวังปันผลเป็นหลัก
2. หุ้นแข็งแกร่ง (Stalwarts) บริษัทที่แข็งแกร่งมีอัตราการเติบโตประมาณ 10 - 20% ต่อปี เหมาะที่จะถือระยะยาว
3. หุ้นโตเร็ว (Fast growers) บริษัทขนาดเล็กขนาดกลางที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมากประมาณ 20 -25% ต่อปี เป็นหุ้นที่เหมาะจะถือในระยะยาว
4. ประเภทขึ้นลงตามวัฎจักร (Cyclicals) บริษัทที่กำไรขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ
5. ประเภทเริ่มฟื้นตัว (Turnarounds) บริษัทที่ประสบปัญหา แต่มีสัญญาณแห่งการฟื้นตัวที่ชัดเจน
6. ประเภทสินทรัพย์แฝง (Asset plays) บริษัทที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีที่เราทราบแต่อีกหลายคนในตลาดยังไม่ทราบ เช่น ที่ดินที่มีอยู่อาจมีมูลค่าตลาดสูงมาก แต่บันทึกบัญชีเป็นราคาทุน หรือในบริษัทประกันภัยที่ตั้งสำรองเงินประกันสูงๆ

3. การประเมินมูลค่าหุ้น
มีความสำคัญ ให้เลือกหุ้นที่ราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง มี margin of safety และมี upside ให้ทำกำไร

วิธีการประเมินมูลค่าหุ้น
1. P/E Ratio ดูความสามารถในการทำกำไรเป็นหลัก
2. P/BV ดูสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นหลัก
3. DCF ดูกระแสเงินสดในอนาคตที่ทำได้เป็นหลัก
4. P/E/G ดูการเติบโตของกำไรเป็นหลัก
5. ดู Market caps ดูขนาดของบริษัทเป็นหลัก

4. หลักการดูหุ้นเติบโต
- 1. Demand trend แนวโน้มความต้องการสินค้าและบริการสูงขึ้น (ตลาดรวมโตขึ้น)
- 2. DCA (Durable competative adventage) ความสามารถในการแข่งขันระยะยาว (รักษาและชิงส่วนแบ่งการตลาดได้มากขึ้น)

Demand trend
แนวโน้มความต้องสินค้าและบริการในภาพใหญ่ระดับประเทศระดับโลกจะล้อไปตาม Megatrend

แนวโน้มธุรกิจในอนาคต
1. Aging economy สังคมคนแก่ โครงสร้างประชากรเป็นพีรามิดหัวกลับ เด็กน้อยลงต้องทำงานเลี้ยงดูคนแก่มากขึ้น
2. Female economy สังคมผู้หญิง ผู้หญิงรายได้เพิ่มมีบทบาทในสังคมและครอบครัวมากขึ้น
3. Raising of China การเติบโตของประเทศจีนและประเทศในแถบเอเชีย
4. Urbanization การที่มนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น
5. คนแต่งงานลดลง มีลูกน้อยลงแต่เลี้ยงดีขึ้น ให้การศึกษาลูกอย่างดี
6. Energy and Green energy พลังงานและพลังงานทางเลือก
7. Modern trade พ่อค้าคนกลางยุคใหม่
8. Internet, Social network, E-commerce คนใช้เวลากับอินเตอร์เนตมากขึ้น
9. Transport การขนส่ง เนื่องจากการเกิด FTA เขตการค้าเสรี ไม่มีการตั้งกำแพงภาษี การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการทำได้อย่างอิสระ ต้นทุนที่เกิดคือค่าขนส่ง
10. Food ประชาการโลกอยู่ดีกินดีขึ้น มีแนวโน้มบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น
11. การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง เมื่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาดีขึ้น ผู้คนอยู่ดีกินดี สินค้าและบริการเพื่อความบันเทิง ท่องเที่ยว สุขภาพ จะมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น
12. Investment ผู้คนหันมาสนใจการลงทุนมากขึ้น, การทำงานแบบเข้าออฟฟิตลดลง ทำงานที่บ้านแบบออนไลน์

DCA (Durable competative adventage)
-การประเมินความสามารถในการแข่งขันของบริษัท โดยการใช้ 5 forces ร่วมกับ SWOT analysis

1. Michael E. Porter's five forces
ศ. พอร์เตอร์แห่ง ม. ฮาวาร์ด ได้พูดถึง แรงทั้ง 5 ที่ส่งผลต่อการทำกำไรของบริษัท และอุตสาหกรรมโดยรวม
a framework for the industry analysis and business strategy development
1. The threat of the entry of new competitors การเข้ามาแข่งขันของผู้เล่นรายใหม่
2. The intensity of competitive rivalry การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม
3. The threat of substitute products or services สินค้าทดแทน
4. The bargaining power of customers (buyers) อำนาจการต่อรองจากลูกค้า
5. The bargaining power of suppliers อำนาจในการต่อรองจากซัพพลายเออร์

2. SWOT analysis
การวิเคราะห์บริษัทสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน
- Strengths จุดแข็ง
- Weaknesses จุดอ่อน
- Opportunities โอกาส
- Threats ความเสี่ยง

โดยจุดอ่อนจุดแข็ง เป็นการมองจากปัจจัยภายในของบริษัท โอกาสและความเสี่ยงเป็นการมองสภาพแวดล้อมภายนอก ให้วิเคราะห์ว่าบริษัทจะกลยุทธ์ในการแข่งขันหรือแนวทางใด ที่ใช้จุดแข็งคว้าโอกาส และป้องกันจุดอ่อนจากความเสี่ยง

5. ปัจจัยที่ Drive ราคาหุ้น
ถ้าไม่มีตัวขับดันราคา ราคาก็จะต่ำกว่ามูลค่าไปตลอด การพิจารณาปัจจัยขับดันราคาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
- ผลประกอบการณ์ดีขึ้น กำไรเพิ่มขึ้น (ถ้าดีกว่าคาดยิ่งดี)
- ปันผลมากขึ้น
- Structural change เช่น ขายบ.ที่ขาดทุนออก การควบรวมกิจการ การลดต้นทุนการผลิต à ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น
- แตกพาร์
- ถูก Tender offer โดยสูงกว่าราคาตลาด

6. การเลือกตัวหุ้นของผม
- เลือกหุ้นจากชีวิตประจำวันโดยดูว่าสินค้าอะไรมาแรงและขายดี
- ผู้คนใช้จ่ายเงินไปกับอะไรบ้าง
- พฤติกรรมผู้บริโภคที่พบเห็น
- จัดหุ้นให้เป็นหมวดหมู่ แล้วเปรียบเทียบ
- คุยกับคนที่รู้เรื่องสินค้าหรือธุรกิจนั้นๆ
- ใช้จินตนาการมองไปในอนาคต

การเลือกหุ้นของผม (แบบละเอียด)
- อ่านรายงานประจำปี, แบบ 56-1, งบการเงินรายไตรมาสและปี
- ข้อมูลซื้อขายของผู้บริหาร (ซื้อ)
- บริษัทนี้จัดเป็นหุ้นแบบใดใน 6 แบบ
- เจาะตัวเลขที่สำคัญ ROA, ROE, Net profit margin, EBITDA, Gross profit margin, Cash, Free cash flow, D/E ratio etc. (เรื่องบัญชีงบการเงินจะต้องแยกพูดอีกบทความต่างหากเลยครับ โดยส่วนใหญ่ผมจะเลือกหุ้นโดยใช้ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานมากกว่าน่ะครับ แล้วค่อยตรวจสอบด้วยงบการเงิน)
- เพดานการเติบโตของรายได้อยู่ที่เท่าไร บริษัทใช้กลยุทธ์ใดในการเติบโต
- จุดเด่นของบริษัทนี้คืออะไร (DCA = Durable competative adventage)
- อะไรจะเป็นตัว Drive ราคาหุ้น
(ปล. ไม่มีข้อไหนที่บอกว่าซื้อตามเซียนนะครับ)

7. การวิเคราะห์หุ้น
- หาข้อมูลของบริษัทที่เราสนใจ
- ประเมินปัจจัยเชิงคุณภาพ
- ประเมินปัจจัยเชิงปริมาณ
- ประเมินมูลค่าของหุ้นตัวนั้นในเวลาที่เรามองออก เช่น 3-5 ปี เป็นต้น

ทั้งหมดคือหัวข้อการเลือกหุ้นนะครับ (Stock selection) บางคนเล่นง่ายข้ามขั้นตอนที่ยากลำบากนี้ไปโดยซื้อตามเซียน คอยถามพอร์ตชาวบ้าน เป็นสิ่งที่ผมไม่สนับสนุนเลยครับ ผมอยากสอนให้จับปลาเองเป็นมากกว่า อย่าดูถูกศักยภาพตัวเองเลยครับ ผมเล่นมา 2 ปียังทำได้ เพื่อนๆก็ต้องทำได้เหมือนกัน

แต่การเลือกหุ้นนั้นไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของการเล่นหุ้น Stock selection isn’t everything.

Market timing / Stock timing

การเลือกหุ้นถูกตัว(ซึ่งอาจจะไปลอกเค้ามา) แต่ไม่มีจังหวะซื้อขายที่ถูกต้องจะทำให้กำไรลดลงหรือถึงขั้นขาดทุนได้

หลักในการมองจังหวะซื้อขายนะครับ
- ซื้อเมื่อคนอื่นกลัวขายเมื่อคนอื่นโลภ ให้คิดต่างจากคนส่วนใหญ่
- ซื้อเมื่อราคาถูกและมี MOS มากพอ ขายเมื่อราคาเต็มหรือเกินมูลค่า
- ซื้อตอนคนคาดหวังน้อยๆ ให้ระวังตอนที่คนคาดหวังมากๆ
- ซื้อตอน Downside น้อย Upside มาก, ขายตอน Upside น้อย Downside มาก

การดู Fund flow, Technical (ผมดู Fund flow บ้าง เช่น เรื่อง Spread ดอกเบี้ยระยะยาว-สั้น, real interest rate, earning yield gap แต่เทคนิคอลผมไม่ได้ดูเลย ผมคิดว่าเป็นเครื่องมือที่ดีในการช่วยบอกจังหวะซื้อขายได้ ถ้ามีความชำนาญ)

การซื้อขาย
- Bid (การซื้อ)
- ซื้อทีละน้อยก่อน + มี limit ว่าซื้อเก็บถึงราคาเท่าไร
- ซื้อตอนราคานิ่งๆ ไม่ใช่ช่วงที่ราคาเคลื่อนไหวรุนแรง
- ซื้อตอนคนคาดหวังน้อยๆ
- พยายามไม่ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง ยกเว้น ประเมินมาอย่างดีแล้ว

- Offer (การขาย)
- ขายเมื่อเต็มมูลค่าหรือเกินมูลค่า
- ขายตอนประเมินพื้นฐานผิด
- ขายถ้าเห็นว่าลงแรงและมี downside มากกว่าราคาตลาด
- ขายถ้าหากมีตัวอื่นที่ upside สูงกว่า

Portfolio management

การเลือกหุ้นถูกตัวและจังหวะซื้อขายถูกต้อง ยังไม่ใช่ทั้งหมดของการเล่นหุ้น มีคนมากมายที่ซื้อถูกตัวจังหวะซื้อขายดี แต่ทำกำไรโดยรวมของพอร์ตได้น้อยหรือขาดทุนเพราะตัวที่ควรซื้อกลับซื้อน้อย แต่ดันซื้อตัวที่ขาดทุนไว้มาก ทำให้ผลตอบแทนแย่ ต่างกับคนที่บริหารพอร์ตได้ดีผลตอบแทนจะสูงขึ้นมาก

1. หลักการทั่วไปของการบริหารพอร์ต
- รักษาสมดุลของการถือเงินสดกับการถือหุ้น
- การกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ถือกระจายความเสี่ยงไปหลายๆอุตสาหกรรม
- ระวัง...กระจายความเสี่ยงหรือกระจายความเสียหาย ให้ทุกบริษัทต้องเป็นการลงทุนที่ดี ไม่ใช่กระจายเพราะตำราบอกให้กระจาย
- โดยมากถือกระจายความเสี่ยง 5-10 ตัว ไม่มากจนไม่เข้าใจบริษัทที่ลงทุน ไม่น้อยจนเสี่ยงเกินไป
- ถือหุ้นตัวนี้เป็นกี่ % ของพอร์ต มั่นใจมากถือถือมาก มั่นใจน้อยถือน้อย ไม่มั่นใจเลยก็ไม่ต้องซื้อ
- ทำให้ผลตอบแทนดีขึ้นผิดหูผิดตาเลยครับ

2. หลักการ Portfolio management
- ใช้ Kelly’s formula
- ดู downside ว่าอยู่ที่เท่าไร Probability กี่% ดู upside ว่าอยู่ที่เท่าไร Probability กี่ % แล้วคิดรวมออกมาเป็น Expected profit ว่าควรจะ bet เป็นกี่ % ของ port

3. การปรับพอร์ต
- ให้สัดส่วนพอร์ตเป็นไปตาม Expected profit
- ถ้าสัดส่วนเปลี่ยนไป ขายตัวที่ expect profit น้อยมาซื้อตัวที่ expect profit มากกว่า
- ได้กำไรเพิ่ม มากกว่าการถือหุ้นไว้เฉยๆ

ระวัง!!!
-ตัวเลขในพอร์ตเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลใหม่ๆ เช่น Target price
- วิเคราะห์แต่ละตัวเป็นอย่างดี (ไม่อย่างนั้นวิธีนี้จะไม่มีประโยชน์เลยครับ)
- ลืมต้นทุนไป ให้เปรียบเทียบราคาตลาดกับราคาเป้าหมาย
- บางทีอาจจะพลาดได้ถ้าขายแล้วตัวที่ขายขึ้นต่อ หรือตัวที่ซื้อแล้วลงต่อ (ต้องวิเคราะห์แต่ละตัวเป็นอย่างดี)

Psychology จิตวิทยาการลงทุน

มีคนมากมายที่วิเคราะห์ได้ถูกต้อง เลือกหุ้นได้ถูก วางแผนและบริหารพอร์ตได้ดี แต่กลับหวั่นไหวไปตามตลาดและทำไม่ได้ตามแผนที่วางไว้ ถูกความโลภและความกลัวเข้าครอบงำ ทำให้ผลตอบแทนไม่ดีเท่าที่ควรหรือถึงขั้นแย่ ยกกรณีศึกษา อัจฉริยะนิวตัน

การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล มองตามความจริง ช่วยเพิ่มผลตอบแทนได้มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันได้ !!!

การฝึกพัฒนาจิตสำหรับนักลงทุน
-ให้มองโลกตามความจริง ลด bias ลง
Bias (Cognitive error) ที่สำคัญ
1. Overconfidence เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป
2. Loss aversion กลัวขาดทุน กลัวกำไรหาย
3. Hindsight bias มองย้อนหลัง
4. Selective bias มองแค่ด้านเดียว
5. Anchoring การยึดติด

ฝึกได้โดย
- มีสติสมาธิให้มากขึ้น, ฝึกอ่านอารมณ์ตัวเองให้ออก, อ่านอารมณ์ตลาด
- อย่าไปยินดียินร้ายมาก, หุ้นขึ้นแรงก็ดีใจนิดหน่อย หุ้นลงแรงก็เสียใจนิดหน่อย ให้มองไปที่พื้นฐานกิจการ การผันผวนในช่วงสั้นๆ ไม่มีผลกับนักลงทุนระยะยาว
- Focus ที่กิจการมากกว่าราคาหุ้น, อย่าดูราคาบ่อย อยู่ห่างๆจอหุ้นบ้าง
- อย่าหลอกตัวเองเพราะ sense การรับรู้ความจริงจะถูกบิดเบือนไป

เมื่อจิตใจเราพัฒนาขึ้น จะทำให้ผลตอบแทนดีขึ้นมาก เพราะไม่ถูกปั่นหัวด้วยความโลภและความกลัว ไม่หลงไปกับอคติ

ทั้ง 4 ปัจจัย Stock selection, Timing, Portfolio management, Psychology ต่างก็เป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันในเรื่องการลงทุนในหุ้น

กฏพื้นฐานของการลงทุน
-ข้อที่ 1 อย่าขาดทุน ข้อที่ 2 ให้ไปดูข้อแรก เพราะการขาดทุนจะทำให้ผลตอบแทนแย่ในระยะยาว ถึงแม้ว่าจะได้เคยกำไรมากๆก็ตาม ดังนั้นให้ดู downside ด้วยเสมอ
- แต่จริงๆแล้วไม่มีใครไม่เคยขาดทุน เพียงแต่เราต้องขาดทุนให้น้อย แต่ตอนกำไรต้องให้มาก ไม่ได้ให้สอนให้เพื่อนใช้ความโลภนำหน้า แต่ต้องใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมตามจริง
- อย่าถอนดอกไม้แล้วรดน้ำให้หญ้า, อย่าขายหมูไปซื้อควาย…Cut loss and let profit run !!!
- เมื่อคิดผิดต้องยอมรับว่าเราผิดให้เร็ว...แล้วรีบแก้ไขเสีย อย่าเถียงหรือเอาชนะคะคานแบบไร้เหตุผลหรือหลอกตนเอง

ก่อนจะลงทุนให้ถามตัวเองว่า...
- เราจะลงทุนอะไร...เพราะอะไร...นานแค่ไหน...จำนวนเงินเท่าไร...คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของport...จะเข้าตอนไหน...เพราะอะไร...จะขายตอนไหน...เพราะอะไร...มีความเสี่ยงอะไรบ้างที่จะลงทุน...ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ราคาขึ้น...ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ราคาลง...ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดมีแผนรับมืออย่างไร...?

ทัศนคติเรื่องความล้มเหลว
- ความล้มเหลวคือบันไดของความสำเร็จ อย่าหยุดฝันอย่าหยุดพยายาม
- ในรร.บทเรียนมาก่อนแล้วจึงมีการทดสอบ...ชีวิตจริงบททดสอบมาก่อนแล้วจึงได้บทเรียนตามมา อย่าปล่อยบทเรียนให้ผ่านไป เรียนรู้จากทั้งความผิดพลาดและความสำเร็จ
- “จดบันทึกความผิดพลาดและเรียนรู้”
- เรียนรู้จากความล้มเหลวของคนอื่น
wigraipat
Verified User
โพสต์: 210
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4209

โพสต์

ขอบคุณคับพี่ประมุขที่นำความรู้มาแบ่งปัน
ถ้ามีโอกาสผมคงได้ขอความรู้พี่พอลน่ะคับบ
torpongpak
Verified User
โพสต์: 2595
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4210

โพสต์

ขอบคุณมากครับพี่มุข :D
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
Khunchat
Verified User
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 0

ปรึกษาแพทย์วิธีรักษาลิ้นหัวใจรั่ว

โพสต์ที่ 4211

โพสต์

ปรึกษาคุณหมอทุกๆท่าน
ขอบคุณครับ รายละเอียดที่โทรคุยกับคุณพ่ออายุ57ปี หนัก 69 Kg สูง 163 CM. จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนผมอยู่กทม.
1. ตรวจและรักษา รพ.ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ มหาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
2.หมอให้ยา Cozaar 100 mg เป็นแคปซูล ทานหลังอาหารเช้า เย็น ครั้งละ1เม็ด
3.หมอให้ยา Madiplot 20 mg ทานเช้าหลังอาหาร 1 เม็ด
ซองยาเขียนว่ายาลดความดันโลหิตสูง
4.หมอแจ้งผลอุลตาซาวว่าเป็นลิ้นหัวใจรั่ว
อาการปัจจุบัน ไม่ดีขึ้นหลังจากไปพบแพทย์ดังนี้
1. อาการมักเป็นตอนเย็นถึงประมาณ 3 ทุ่ม ความดันขึ้น เครียด นอนไม่หลับ
ทานข้าวไม่อร่อย เหนื่อยง่าย
2.ตอนเช้าถึงกลางวันอาการปกติ ไม่ได้ทำงานหนักมาก รับราชการครู
3.ถ้าอากาศร้อนความดันจะขึ้นสูง
ขอบคุณทุกท่านที่ให้คำเสนอแนะครับ
ขอคำแนะนำการรักษาเพิ่มเติมครับเพราะทานยาแล้วยังไม่ดีขึ้นครับ เป็นห่วงพ่อมากครับ
torpongpak
Verified User
โพสต์: 2595
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4212

โพสต์

เห็นใจkunchatนะครับ จริงๆหลังคุณpostถามมา ผมได้พิมพ์คำเเนะนำเสร็จเเล้ว จะpmไปเเต่ก็ตัดสินใจไม่ส่งเพราะผมคิดว่าเเพทย์หลายท่านคงคิดเหมือนผม ว่ามันเสี่ยงเกินไปที่จะให้คำปรึกษาทางinternetเพราะพวกเราไม่เห็นคนไข้ เเละที่สำคัญถ้าใช้คำเเนะนำที่ให้ไปเป็นreferenceเเล้วเกิดความเสียหายเกรงว่าจะมีปัญหาหลายๆเรื่อง

ถ้าไม่ดีขึ้นผมเเนะนำง่ายๆว่าพาคุณพ่อกลับไปพบเเพทย์ที่รักษาอยู่ประจำดีที่สุดครับ :D
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
Khunchat
Verified User
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4213

โพสต์

ขอบคถณครับ
torpongpak
Verified User
โพสต์: 2595
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4214

โพสต์

"เเก่นVI"ในมุมมองผมครับ

...พอดีวันศุกร์ที่ผ่านมาผมได้ดูคลิป A here ที่สัมภาษณ์Toon Bodyslam
อยู่ๆก็รู้สึก เหมือนเฮียเเกสอนการลงทุนให้ผมทางอ้อม...


นาทีที่ 1:30
คุณโหน่งถามว่ารู้สึกอย่างไร กับคนที่มาละเมิดลิขสิทธิ์"เพลง"ของตนเอง ตูนตอบว่าเฉยๆ ถ้าเราไปนั่งเศร้ากับมันเราก็จะไม่มีเเรงบันดาลใจดีๆ

นาทีที่ 7:30 อีกคำถามคือถ้าวันหนึ่งชื่อเสียงหมดไปจะเตรียมรับมืออย่างไร?
ตูนตอบประมาณว่า เราต้องกลับมายึดความสุขเเรกของเราก่อน ทำเเก่นนี้ให้เเข็งเเรงก่อนถ้าเกิดอะไรขึ้นเราจะทุกข์น้อย ซึ่งถ้าไปยึดติดกับเปลือกเช่นชื่อเสียงเงินทองพอเราเสียมันไปจะทุกข์มาก

กลับมามองตัวเอง ผมอยากรู้ว่าเเก่นของการลงทุนของผมคืออะไร
ผมลองถามตัวเองว่าผมลงทุนเพราะอะไร? ตอบง่ายมากครับ...ผมลงทุนเพราะอยากได้เงิน

เเล้วมันคือ"เเก่น"ของการลงทุนในหุ้นรึเปล่า?...ถ้าเราใช้"เงิน"ตั้งนำ ไม่ว่างานไหนมันอันตราย เพราะจะมาคู่กับโลภ กลัว เเละนำไปสู่ความเสี่ยง ทำให้ตัดสินใจซื้อขายผิดพลาดเเละถ้าเรายึดติดกับเงิน พอเสียเงินก็จะมีทุกข์มากดังนั้นการเอาเเค่"เงิน"หรือผลตอบเเทนเป็นที่ตั้ง ผมว่ามันก็มาผิดทางตั้งเเต่เเรกเเล้ว สรุปในมุมมองผม"เงิน"เป็นเเค่เปลือกของ"หุ้น"เท่านั้น

ส่วนเเก่นของมันคืออะไร? ก็ต้องลองกลับไปดูความหมายของ"หุ้น"ดูครับเเละผมมองว่านั่นคือเเก่นของการลงทุนเเบบVIเช่นกัน
...โดยเเก่นของVIมีประโยคเดียวเท่านั้นในมุมมองผมคือทัศนคติ"การลงทุนเเบบเป็นเจ้าของกิจการ"ครับ

ส่วน"วิธีการ"หรือ"เเนวทาง"การลงทุนเเบบVI ก็เป็นอีกเรื่องนึงซึ่งหาอ่านหรือไปเข้าอบรมเอาได้ เเต่เรื่องของทัศนคติผมว่าสอนกันไม่ได้เเละมันสำคัญกว่าวิธีการมากๆ

เพื่อนๆลองดูVIที่ประสบความสำเร็จซิครับ มันต่างจากนักลงทุนดาดๆเเบบผม อย่างไร?...มันก็ต่างกันที่"ทัศนคติ"อันนี้นี่เอง

ถ้าปรับ"ทัศนคติ"ตรงนี้ได้ ผมจะเรียกตัวเองว่าVIเสียที :D
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4215

โพสต์

ผมว่าหมอแป๊กเป็น vi ที่เน้น fundamental อยู่แล้วนะ

หมอแป๊กมีวิธีคิด วิเคราะห์ แยกแยะแบบแนว vi อยู่แล้ว

และนั่นก็คือการเลือกลงทุนในฐานะเจ้าของการ ซึ่งเป็นแก่นแท้ข้อหนึ่งของ vi อยู่แล้วครับ
torpongpak
Verified User
โพสต์: 2595
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4216

โพสต์

ขอบคุณมากครับ ผมอ่านบทความที่สัมภาษณ์พี่เเล้วครับ...หล่อครับพี่

ปล.ดูภาพพี่ที่ออกMoney talk, ดูภาพmeetingครั้งที่2ที่น้องmarch ถ่ายมาลงเเละดูรูปในหนังสือพิมพ์ ผมว่าไม่เหมือนกันซักครั้ง คราวต่อไปคงต้องขอเจอตัวจริงครับในงานของสมาคมที่ไหนซักเเห่งซะเเล้ว

trt Com visit พี่ไปป่าวครับ?
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4217

โพสต์

torpongpak เขียน:ขอบคุณมากครับ ผมอ่านบทความที่สัมภาษณ์พี่เเล้วครับ...หล่อครับพี่

ปล.ดูภาพพี่ที่ออกMoney talk, ดูภาพmeetingครั้งที่2ที่น้องmarch ถ่ายมาลงเเละดูรูปในหนังสือพิมพ์ ผมว่าไม่เหมือนกันซักครั้ง คราวต่อไปคงต้องขอเจอตัวจริงครับในงานของสมาคมที่ไหนซักเเห่งซะเเล้ว

trt Com visit พี่ไปป่าวครับ?

ไม่ได้ไปครับแป๊ก

ตอนนี้ทั้งงานที่คลินิก งานสมาคม แล้วก็เรื่องเรียนลูกๆ ก็มัดตัวพี่แทบจะทั้งหมดแล้วครับ

ปล. ภาพไม่เหมือนกันนี่คือหล่อขึ้นเรื่อยๆ ใช่เปล่า :mrgreen:

ต้องโทษนายก ธันวา ใช้งานพี่ซะผอมเลย อิอิ
torpongpak
Verified User
โพสต์: 2595
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4218

โพสต์

ใช่ครับ รอบที่ลงหนังสือพิมพ์ดีสุดฮับ (ขนลุกไหมพี่ผู้ชายชม)
ปล. "หุ้นที่โลกลืม" ผมชอบคำนี้มากครับ พยายามหาหุ้นเเบบนี้เหมือนกัน :D
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
ภาพประจำตัวสมาชิก
raynus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 716
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4219

โพสต์

ทักทายครับ

ในงานเจอหมอไม่กี่คนเอง รึผมหาไม่เจอหว่า :mrgreen:
สายปันผลครับ

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4220

โพสต์

raynus เขียน:ทักทายครับ

ในงานเจอหมอไม่กี่คนเอง รึผมหาไม่เจอหว่า :mrgreen:
ผมนั่งอยู่ด้านหน้าสุดครับ

คราวหน้าเจอกันก็ทักทายกันได้เลยนะครับ :D
praew
Verified User
โพสต์: 3
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4221

โพสต์

7 วิธีดูหุ้น 'นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ'


จากหมอสูติ-นรีเวช ก้าวสู่เส้นทาง “เซียนหุ้นวีไอ” ต้องการมีอิสระภาพทางการเงิน นายแพทย์ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ คุณหมอวัยกลางคนวัย 43 ปี เคยล้มเหลวจากการลงทุนเพราะยึดนโยบาย “ไม่ขาย ไม่ขาดทุน” ทำให้ “ขาดทุน” จากวอร์แรนท์ตัวหนึ่งถือไว้จนราคาหุ้นแทบเป็น "ศูนย์" จากนั้นก็หยุดเล่นหุ้นไปพักใหญ่ก่อนจะกลับมาซื้อขายอีกครั้งในปี 2544 ด้วยแนวทาง Value Investor อย่างเต็มตัว ปัจจุบันคุณหมอเป็นเจ้าของพอร์ตหุ้นหลักเท่าไร “ไม่รู้” เพราะเจ้าตัวกอดความลับนี้ไม่ยอมเปิดเผย บอกเพียงว่าไม่แตกต่างอะไรจากคณะกรรมการสมาคมวีไอคนอื่นๆ...ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า "พอร์ตคงใหญ่ไม่ใช่เล่น"

หมอมุขเจ้าของชื่อล็อกอิน Paul vi ในเว็บไซต์ไทยวีไอ เปิดเผยกลยุทธ์การลงทุนส่วนตัวให้ฟังว่า หลักๆ จะเน้นดู 7 ข้อ คือ 1.หุ้นตัวนั้นต้องมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) สูง 15-20% ขึ้นไป ROE จะบ่งบอกความสามารถของผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น “ยิ่งสูง ยิ่งดี” แต่บางครั้งก็มีตัวหลอกเหมือนกัน หากบริษัทนั้นมีหนี้สินจำนวนมาก ฉะนั้นต้องดูดีๆ อย่ารีบเชื่อทันที!

ข้อ 2. หุ้นตัวนั้นต้องมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) สูงกว่า 10% ข้อ 3.ต้องมี PEG ratio น้อยกว่า 1 เท่า คือการเทียบค่า P/E ratio กับการเจริญเติบโตของกำไรสุทธิ (Growth) หาโดยเอาค่า P/E ratio ตั้งหารด้วยเปอร์เซ็นต์การเจริญเติบโตนั้น บริษัทใดที่ราคาหุ้นต่ำจะน่าซื้อ ถ้าค่า PEG ratio เกิน 1 แสดงว่าราคาหุ้นสูงเกินไป

ข้อ 4.ต้องมีอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) อยู่ในระดับ 3.5-4% ขึ้นไป ถามว่าทำไมต้องเป็นตัวเลขนี้ เพราะเป็นตัวเลขที่มากกว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปกติจะอยู่ระดับ 3% ข้อ 5. หุ้นตัวนั้นต้องมีกระแสเงินสดสูงๆ ยิ่งไม่ต้องจ่ายหนี้ "ผมจะชอบมากเป็นพิเศษ"

ข้อ 6. ผู้บริหารต้องไว้ใจได้ (โปร่งใส) พูดแล้วทำได้จริง ซึ่งเราต้องไปคุยกับผู้บริหารบ่อยๆ ยิ่งเขาถือหุ้น 20-25% ผมยิ่งชอบเพราะมันจะบ่งบอกว่า เขาจะทุ่มเทในการทำงานมากขนาดไหน ข้อสุดท้าย จะดูปัจจัยทางกายภาพ ธุรกิจนี้มีความแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน โอกาสเติบโตของรายได้และกำไรเป็นอย่างไร สินค้าหรือธุรกิจหลักจะเติบโตไปตามชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และลูกค้านิยมชมชอบสินค้ามากหรือน้อยแค่ไหน ที่สำคัญจะดูว่าคู่แข่งของเขามีใครบ้าง หากจะมีคู่แข่งเกิดขึ้นใหม่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ได้ง่ายหรือยาก

“ผมไม่นิยมดูเส้นเทคนิคและไม่เคยนำมาประยุกต์ใช้ เพราะไม่เข้าใจในหลักการ ส่วนใหญ่จะดูเพียงราคา ณ ปัจจุบัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับมูลค่าที่ประเมินไว้ว่ามันมีส่วนลด (Margin of Safety) เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ เช่น ถ้ามีส่วนลด 40-50% จากมูลค่าที่คิดไว้ก็พอใจที่จะซื้อแล้ว”

เซียนหุ้นคุณพ่อลูกสอง กล่าวต่อว่า ในพอร์ตมีหุ้นที่สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ประมาณ 4-5 เท่า อยู่ใน 3 กลุ่มหลักๆ คือ 1.กลุ่มโมเดิร์นเทรด (ไม่บอกชื่อหุ้น) ตัวนี้ชอบมากที่สุด เพราะเป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดค่อนข้างมาก มีอำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์สูง ที่สำคัญการขยายสาขาส่วนใหญ่จะใช้โมเดลเดิมๆ ใช้เงินลงทุนไม่มากสามารถทำซ้ำๆ ได้ตลอดเวลา

ข้อดีของหุ้นโมเดิร์นเทรดตัวที่ลงทุนเขายังสามารถขยายสาขาได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะตามจังหวัดหัวเมืองขนาดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา และหาดใหญ่ รวมถึงหัวเมืองรองๆ เช่น ราชบุรี และนครปฐม เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อโมเดิร์นเทรดรายใหญ่ไปเปิดสาขาใหม่ พวกโมเดิร์นเทรดเล็กๆ ก็จะตามไปเปิดด้วย

รองลงมา คือ กลุ่มที่จะได้ผลประโยชน์จากการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ เช่น กลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทย เพราะเขาจะมีอำนาจการต่อรองกับผู้บริโภคสูง และมีแนวโน้มจะเติบโตไปตามวิถีชีวิตของประชาชน

“จุดเด่นของหุ้นสื่อสารตัวนี้ (ที่ลงทุน) คือเขาจะมีกระแสเงินสดเยอะ ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อยี่ห้อสูงไม่ค่อยเปลี่ยนค่าย รวมถึงได้เปรียบในความใหญ่ ที่สำคัญสเปกทางการเงินของเขาตรงใจผมทุกอย่าง (หัวเราะ)"

กลุ่มที่สาม คือ หุ้นเทิร์นอะราวด์ กลุ่มนี้เคยสร้างผลตอบแทนได้ดีมาก โดยมักจะเข้าไปซื้อในช่วงที่ไม่มีนักลงทุนรายใดสนใจ หลังพบว่าธุรกิจนั้นเกิดความผิดพลาดเพียงชั่วคราวหากศึกษาแล้วพบว่าอนาคตเขากำลังจะดีขึ้นจะเข้าไปซื้อไว้ จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า นพ.ประมุข เคยเข้าไปลงทุนในหุ้นเทิร์นอะราวด์ อาทิ หุ้นทาพาโก้, ไดเมท (สยาม), พรีบิลท์ และ ซิงเกอร์ประเทศไทย เป็นต้น

“นอกจากนี้ผมก็ชอบลงทุนหุ้นปันผลที่ให้ผลตอบแทน 7-10% เพราะมันจะทำให้พอร์ตของผมมั่งคงมากขึ้น ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนของผมอยู่ในรูปเงินสด หุ้นกู้ และสินทรัพย์อื่นๆ 10-20% ที่เหลือ 80% จะลงทุนในหุ้น โดยจะเน้นลงทุนหุ้นเติบโต 80% อีก 10-20% จะลงทุนหุ้นปันผล"

หมอมุข เล่าต่อว่า ตอนนี้มีหุ้นอยู่ในพอร์ต 8 ตัว ปกติจะถือลงทุนไม่เกิน 10 ตัว มากกว่านี้จะดูไม่ทัน หลังจากที่ซื้อหุ้นตัวไหนแล้วก็จะถือไปจนกว่าราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ถ้าราคาหุ้นขึ้นมาถึงราคาที่เหมาะสมแล้วแต่ยังหาตัวใหม่ที่ดีกว่าไม่ได้ ก็จะยังไม่ขาย บางตัวเคยถือนาน 2-3 ปี ระยะสั้นที่สุด 8 เดือน

"ตั้งแต่ผมเปลี่ยนมาลงทุนแนว VI "ผมไม่เคยขาดทุน" เพราะราคาที่ซื้อจะพิจารณาด้วยความระมัดระวัง ไม่ค่อยไล่ราคา..ผมรอได้ ไม่อยากติดบนรถไฟนานๆ (หัวเราะ) อีกอย่างราคาที่ซื้อคิดแล้วไม่แพงเกินไป และทุกครั้งที่ซื้อหุ้นตัวไหนผมจะจดไว้เสมอว่า ซื้อเมื่อไร ซื้อเพราะอะไร ราคาเป้าหมายเท่าไร และจะขายเมื่อไร”

นพ.ประมุข บอกว่า เมื่อราคาหุ้นขึ้นไปถึงเป้าหมาย ก็จะย้อนกลับไปดูว่าหุ้นตัวนั้นขึ้นเพราะเหตุผลนี้(ที่จดไว้)หรือไม่ ถ้าขึ้นมาเร็วเพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบของนักลงทุน แต่ราคายังไม่ถึงเป้าหมายก็อาจจะขายออกไปก่อน แล้วอาจกลับมาซื้อใหม่ถ้าราคาลดลง ตรงกันข้ามหากราคาหุ้นขึ้นเพราะจะมีข่าวดีที่ไม่เคยรับรู้มาก่อนก็จะถือต่อไป การลงทุนจะถือคติว่า “การเป็นนักลงทุนแนว VI ไม่จำเป็นต้องซื้อจุดต่ำสุด ขายจุดสุงสุดเสมอไป”

คุณหมอ อธิบายยุทธวิธีการซื้อหุ้นของตัวเองให้ฟังว่า หากมั่นใจ 100% จะเข้าซื้อหุ้นตัวนั้น 30% ของพอร์ต (ไม่เกินนี้) วิธีการซื้อจะไม่ซื้อครั้งเดียว 30% แต่จะแบ่งซื้อเป็น 5-10 ไม้ ไม้ละ 10-20% มีทั้งเคาะซื้อทันที และตั้งรอ (ช่อง Bid) เพื่อเฉลี่ยต้นทุนและเพื่อความปลอดภัย เพราะถ้าซื้อทีเดียวบางครั้งความคิดเราอาจยังไม่ตกผลึกพอ แม้จะทำการบ้านมาดีแค่ไหนก็มีโอกาสพลาดได้

"บางคนใจร้อนไม่ยอมรอ..อาจพลาดได้ เวลาซื้อหุ้นกรุณาใจเย็นๆ จงให้ความสำคัญกับการรักษาเงินต้นก่อนเสมอ ทุกครั้งที่ผมลงทุนถ้ามีความมั่นใจ 100% มักจะได้กำไร 3-4 เท่า แต่หากมั่นใจหุ้นตัวนั้นเพียง 50% ผมจะซื้อเพียง 10% ของพอร์ต เน้นซื้อแบบตั้งรับ (ตั้งรอ) ไม่ซื้อทันที โดยจะถอยไป 2-3 ช่องราคา บางครั้งก็ไม่ซื้อเลย ขอดูเรื่อยๆ ขอต่อรองราคา ผมจะไม่รู้สึกเสียดายถ้าตกรถไฟ เพราะถ้าเราไม่เข้าใจธุรกิจ..อย่าซื้อ!!”

จากสถิติการลงทุนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คุณหมอได้รับผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจมาก ในปี 2553 ได้กำไร 100% ปี 2554 ทำกำไรได้ประมาณ 75% น้อยกว่าปี 2553 เพราะราคาหุ้นหลายตัวขึ้นมาสูงแล้ว และหาหุ้นดีๆ ได้ยากขึ้น รวมถึงมูลค่าพอร์ตเริ่มใหญ่ขึ้น ส่วนในปี 2555 ตอนต้นปีตั้งเป้าผลตอบแทนไว้ 40-50% แต่มาถึง ณ วันนี้ กำไรเกินมามากแล้ว เจ้าตัวบอกถ้าเฉลี่ยแต่ละปีได้กำไร 20% ก็ถือว่า “หรู” มากแล้ว

ส่วนคำถามประจำ..คุณหมอมีพอร์ตลงทุนเท่าไร? ความลับนี้เจ้าตัวไม่ยอมเปิดเผยโดยบอกเพียงว่า ทุกวันนี้ได้พบกับ “อิสระภาพทางการเงิน” แล้ว (อยู่ได้โดยให้เงินทำงานให้) คุณหมอบอกว่า กำลังค้นหา "หุ้นที่โลกลืม" ที่มีแนวโน้มจะเติบโตสูงในอนาคต ถ้าใครค้นพบหุ้นลักษณะนี้จะให้ผลตอบแทนที่สูงมาก บางครั้งได้กำไร 3-4 เด้ง ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีครึ่ง นั่นเป็นเพราะไม่มีใครสนใจ

"ผมเคยซื้อหุ้นตัวหนึ่ง ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่เขาเข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้น เพราะงบการเงินเขาตรงสเปกผมทุกอย่าง โดยเฉพาะในแง่ของกระแสเงินสด เขามีเยอะมาก ตอนนั้นมีคนบอกผมว่า ประเมินหุ้นตัวนี้ยากนะ แต่หลังจากผมหาข้อมูลจนครบถ้วนก็ซื้อเลยเพราะเชื่อว่าหุ้นตัวนี้ไปได้ไกลแน่นอน สุดท้ายก็เป็นจริง"

สำหรับหุ้นที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวด้วยเลย นพ.ประมุข กล่าวว่า หุ้นที่มีการฟ้องร้องทางกฎหมายมีคดียาวเป็นหางว่าว รวมถึงหุ้นที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง และหุ้นที่มีปัญหาด้านศีลธรรม ยิ่งเป็นหุ้นที่มีผู้บริหารไม่โปร่งใสออกแนวสีเทาๆ "ผมไม่ซื้อเลย"

"ผมไม่ค่อยชอบพวกหุ้นโรงงานที่มีการลงทุนเยอะๆ และหุ้นวัฎจักร เช่น คอมมูนิตี้ น้ำมัน และเหล็ก เพราะคาดการณ์ลำบาก ต้องติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา แต่หากเป็นธุรกิจที่มีวัฎจักรยาวๆ เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์บางตัวที่ราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่า ก็ยังพอลงทุนได้"

แม้ชีวิตจะพบกับอิสระภาพทางการเงินแล้ว แต่คุณหมอและภรรยาจะยังยึดอาชีพ "หมอรักษาคนไข้" ต่อไป แต่อาจลดเวลาการทำงานลงบ้างตามอายุ ทุกวันนี้คุณหมอจะสอนลูกทั้ง 2 คน (ผู้หญิงคนโตอายุ 14 ปี และลูกชายอายุ 8 ปี) เกี่ยวกับการลงทุนโดยคนโตเริ่มซึมซับบางแล้ว ส่วนลูกๆจะเลือกเดินทางไหนทั้งสองหมอให้อิสระเต็มที

สุดท้าย นพ.ประมุข ฝากบอกนักลงทุนมือใหม่ว่า นักลงทุนที่ดีควรจะเป็น “นักสำรวจ” ที่ดีด้วย ต้องหมั่นไปดูสินค้าที่เราเป็นเจ้าของ เช่น ไปเยี่ยมชมเคาน์เตอร์ หรือไปดูสินค้าตามห้าง และไปถามว่าเขาขายดีหรือไม่ เราจะได้กลับมาประเมินอนาคตของหุ้นตัวนั้นได้ถูก
"หนทางนี้จะนำท่านไปสู่คำว่า "อิสระภาพทางการเงิน" ได้หรือไม่..อยู่ที่ตัวของท่านเองแล้ว” คุณหมอกล่าวปิดท้าย
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4222

โพสต์

จะมาบอกเพื่อนๆครับ ว่าตอนนี้ห้องบทความ ของเราไม่ธรรมดานะครับ

เริ่มมีบทความของเพื่อนๆนักลงทุน VI ของเรา และนักเขียนที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมาลงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งห้องบทความนี้ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจาก คุณ Little wing

นี่คือตััวอย่างบทความของเพื่อนนักลงทุนเราท่านนึง ผมเอามาฝากครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่าคือใคร ดร.ชาคริต สุวรรณโชติ แต่ถ้าบอกว่าคือ คุณ Kabu หลายคนก็จะอ๋อ เลยนะครับ !!!

หุ้นนอกสายตา

ดร.ชาคริต สุวรรณโชติ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อนเก่าที่เคยเรียนอยู่มหาลัยเดียวกันปัจจุบันหลายๆ คนก็มีเส้นทางชีวิตของตัวเองบ้างก็อยู่ในสายงานวิศวกรรมโยธาอย่างที่ได้เรียนมาบ้างออกทำงานในสายการเงิน บ้างก็ไปเป็นผู้จัดการกองทุนและบ้างก็ออกมาลงทุนเต็มเวลาแปลกที่เมื่อก่อนสมัยที่เรียนอยู่มหาลัยหรือจบใหม่ๆเรื่องที่มักจะถูกนำมาพูดคุยกันในโต๊ะอาหารมักจะเป็นเรื่อง แฟนคนนั้นคนนี้ อกหัก ดารา ภาพยนต์ หรือแม้แต่เรื่องเกมส์ออนไลน์แต่วันนั้นที่เจอกันเรื่องที่นำมาคุยกัน 90%จะเกี่ยวกับเรื่องหุ้นและการลงทุน

กลับมาเรื่องที่ผมอยากจะพูดถึงวันนี้ เรื่อง หุ้นนอกสายตาซึ่งผมได้ไอเดียนี้มาจากเพื่อนคนนึงซึ่งตอนนี้ออกมาลงทุนเต็มตัวแล้วผมคิดว่าน่าสนใจดีเลยนำมาเล่าสู่กันฟังปกติผมก็เป็นคนนึงที่ชอบหาหุ้นนอกสายตาเพื่อเข้าลงทุนโดยหลักๆแล้วหุ้นนอกสายตาอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. นอกสายตานักลงทุนรายย่อยหุ้นพวกนี้มักจะเป็นหุ้นที่ไม่มีโวลุ่ม และมี Market Cap ค่อนข้างเล็กหรือ น้อยกว่า 1,000 ล้านถ้าลองสังเกตดูจะพบว่ามักมีการซื้อขายต่อวันน้อยกว่า 0.5% ของ Market Capทั้งหมด หรือบางครั้งอาจจะน้อยกว่านั้นมากๆ พูดได้ว่าสภาพคล่องน้อยหุ้นประเภทนี้มักจะยังไม่อยู่ในสายตาของนักลงทุนรายย่อยนักลงทุนที่มีพอร์ตขนาด 10 ล้านบาทขึ้นไปอาจใช้เวลานานในการสะสมหุ้นประเภทนี้ ข้อดีของหุ้นประเภทนี้ คือ มักจะมีMargin of Safety หรือพูดอีกแง่นึงคือ Downside risk ไม่สูงนักส่วนข้อเสียของหุ้นประเภทนี้คือ มักมองเห็น upside ได้ไม่ชัดเจนราคาอาจจะ +-10% มาเป็นช่วงเวลานาน หรือ กำไรอาจโตเพียงตามเงินเฟ้อทุกๆปีแม้ว่าหุ้นบางตัวอาจจะให้ปันผลไม่แย่นักเพราะฉะนั้นจุดสำคัญที่สุดในการเลือกลงทุนในหุ้นประเภทนี้คือ ตัวเร่งที่จะสามารถทำให้หุ้นนอกสายตานักลงทุนรายย่อย กลายเป็น หุ้นเข้าตาไม่ว่าจะเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากวงจรเศรษฐกิจหรือการเปลี่ยนแปลงภายในบริษัทที่เราคาดการว่าจะนำไปสู่งการเปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีอย่างถาวรของบริษัทเช่น เปลี่ยนผู้บริหาร ปรับโครงสร้างหนี้ ขายบริษัทย่อย (ตัดเนื้อร้าย)เปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชี เปลี่ยนนโยบายทางการเงินบางอย่าง หรืออื่นๆ

2. นอกสายตานักลงทุนสถาบันหุ้นพวกนี้จะแตกต่างจากหุ้นประเภทแรก คือเมื่อมองในมุมของนักลงทุนรายย่อยนั้นโวลุ่มเพียงพอที่จะซื้อขายได้ภายในครั้งเดียวโดยไม่กระทบกับการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดในขณะนั้นมากนักโดย Market Cap จะไม่เกิน 10,000ล้านบาทและมีการซื้อขายต่อวันโดยเฉลี่ยไม่เกิน 50 ล้านบาทหุ้นประเภทนี้อาจจะยังอยู่นอกสายตานักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศเนื่องจากมี เงื่อนไขไม่ตรงกับเงื่อนไขที่สามารถลงทุนได้หุ้นประเภทนี้เป็นหุ้นที่น่าสนใจลงทุนอย่างมากสำหรับนักลงทุนที่มีพอร์ตเกิน10 ล้านบาท เนื่องจากปัญหาการซื้อขายของหุ้นจากสภาพคล่องน้อยกว่าประเภทแรกและยังมีโอกาสทำกำไรได้มากเมื่อหุ้นดังกล่าวทำกำไรได้มากและทำให้ Marketcap เข้าเงื่อนไขของนักลงทุนสถาบันหุ้นประเภทนี้สังเกตได้จากการดูรายชื่อผู้ถือหุ้นในปัจจุบันและบางบริษัทอาจจะมีตัวเร่งที่เกี่ยวข้องกับ Free float ในตลาด เช่นบริษัทมีการแตกพาร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ประกาศลดสัดส่วนการถือหุ้น และอื่นๆ

หุ้นนอกสายตาทั้งสองประเภทมีโอกาสทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นกอบเป็นกำเมื่อมันเปลี่ยนสภาพเป็น หุ้นเข้าตาการลงทุนในหุ้นนอกสายตานั้นอาจจะใช้เวลาและความพยายามค่อนข้างมากโดยเฉพาะหุ้นนอกสายตาประเภทแรก เนื่องจากมักจะไม่มีบทวิเคราะห์ ไม่มีOppday และไม่ค่อยมีบทสัมภาษน์จากผู้บริหารบางครั้งก็ต้องใช้ความอดทนรอคอยนักลงทุนรายอื่นหันมาสนใจในหุ้นดังกล่าวซึ่งจะกลายเป็นต้นทุนทางด้านเวลาของเราส่วนหุ้นนอกสายตานักลงทุนสถาบันนั้น แม้ว่าหาข้อมูลได้ไม่ยากนักแต่ก็มีความเสี่ยงทางด้าน Downside risk ที่มากขึ้นกว่าประเภทแแรกเนื่องจากว่าหุ้นอาจจะเข้าตานักลงทุนรายย่อยไปนานแล้ว และนำไปสู่ง Marginof Safety ที่ลดลง ทำให้เราต้องพิจารณาอย่างถ้วนถี่ก่อนการลงทุนสุดท้ายการหาความรู้และฝึกฝนอย่างเป็นประจำโดยเฉพาะการพิจารณาถึงกุญแจ 5ดอกของการลงทุนที่ได้พูดไปในบทความที่ผ่านมาจะช่วยให้เราป้องกันการสูญเสียเงินต้นและสร้างความมั่งคั่งได้อย่างมั่นคงในระยะยาว
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=53132
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4223

โพสต์

โลกในมุมมองของ Value Investor 1 กันยายน 2555
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นขั้นเทพ

การวิเคราะห์หุ้นนั้น มีปัจจัยที่ต้องพิจารณามากมายทั้งในด้านเชิงปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับนักลงทุนบางคนที่อาจจะมีความรู้ในเชิงธุรกิจไม่มากเนื่องจากอาจจะไม่ได้เรียนมาทางสายธุรกิจหรืออาจจะเพิ่งเข้าสู่ตลาดหุ้นเป็นนักลงทุนมือใหม่ และนี่คงเป็นเหตุผลว่าทำไมข้อสรุปของหุ้นแต่ละตัวจึงไม่เหมือนกันระหว่างนักลงทุนแต่ละคน หุ้นตัวหนึ่งนักลงทุนคนหนึ่งอาจจะดูว่าดีมากเป็นซุปเปอร์สต็อกในขณะที่อีกคนหนึ่งมองว่าเป็นหุ้นธรรมดา ๆ หรือหุ้นตัวหนึ่งนักเล่นหุ้นคนหนึ่งบอกว่ามันเป็น Growth Stock หรือหุ้นโตเร็ว ในขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่ามันเป็นหุ้นวัฎจักรที่เพียงแต่อยู่ในช่วงขาขึ้นและพร้อมที่จะลงในอนาคต วิธีที่จะดูว่าหุ้นหรือบริษัทที่เราสนใจนั้นน่าจะดีหรือไม่อย่างง่าย ๆ ก็คือ หาปัจจัยสำคัญที่สำคัญมาก ๆ บางตัวมาเป็นเครื่องชี้ที่จะบอกว่ามันเป็นหุ้นดีหรือหุ้นแย่ ตัวอย่างเช่น ถ้าการตลาดหรือยี่ห้อของสินค้าของบริษัทนั้นแข็งแกร่งสุดยอดเหนือกว่าคู่แข่งมาก โอกาสก็สูงว่าหุ้นของบริษัทก็น่าจะดีโดยที่เราอาจจะไม่ค่อยต้องพิจารณาปัจจัยอื่นมากหรือละเอียดนัก เป็นต้น
เครื่องชี้วัดที่สำคัญและวิเคราะห์ได้ง่ายตัวหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจและสามารถนำมาใช้ได้ในหุ้นเกือบทุกตัวก็คือตัวเลขของผลประกอบการหรือกำไรในอดีตเพราะนี่คือผลงานที่บริษัททำได้มาแล้ว มันเป็น “ของจริง” ที่เกิดขึ้น และมันสามารถบอกไปถึงอนาคตได้โดยเฉพาะถ้ากำไรที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากผลการทำงานของบริษัทจริง ๆ ไม่ได้เกิดจากภาวะแวดล้อมที่ทำให้บริษัทกำไรดี พูดง่าย ๆ บริษัทไม่ได้กำไรดีเพราะบริษัท “โชคดี” แต่บริษัทกำไรดีเพราะบริษัทมีฝีมือดีมีความสามารถเหนือคู่แข่ง
วิธีที่จะตัดประเด็นของ “โชค” ออกจากตัวเลขผลประกอบการก็คือ การดูกำไรย้อนหลังไปหลาย ๆ ปี เพราะถ้าเป็นเรื่องของโชคแล้ว มันคงไม่เกิดติดต่อกันหลาย ๆ ปี มันน่าจะเกิดขึ้นอย่างมากก็น่าจะไม่เกิน 2-3 ปี หลังจากนั้นก็น่าจะกลับมาเป็นปกติซึ่งเราก็จะเห็นว่ากำไรหลังจากนั้นก็จะแย่ลงและเราก็สรุปได้ว่าบริษัทคงไม่เก่งอะไรนัก ตรงกันข้าม ถ้าเรามองผลประกอบการย้อนหลังไปยาว ๆ แล้วพบว่าบริษัทมีผลงานหรือผลประกอบการที่น่าประทับใจมาตลอด เราก็น่าจะสรุปได้ว่าบริษัทนี้มีความสามารถในการแข่งขันสูงและแน่นอนในอนาคตต่อไปมันก็น่าจะสามารถทำกำไรได้ต่อเนื่องยาวนาน เพราะบริษัทก็เหมือนคน ถ้าเก่งและมีความสามารถ อย่างไรก็ทำเงินได้ต่อไปในอนาคต
ข้อมูลผลกำไรย้อนหลังที่ผมคิดว่าน่าจะเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าบริษัทดีจริงหรือไม่น่าจะไม่น้อยกว่า 7-10 ปีขึ้นไป เพราะนี่นอกจากจะตัดประเด็นเรื่องโชคของบริษัทแล้ว มันยังตัดประเด็นของเรื่องวัฏจักร์ของธุรกิจที่มักจะมีเวลาขึ้นลงไม่เกิน 3-5 ปีด้วย ดังนั้น ถ้าจะหาปัจจัยสำคัญบางตัวที่จะบอกว่าบริษัทหรือหุ้นดีหรือไม่ ผมคิดว่าข้อมูลผลกำไรย้อนหลังประมาณ 7-10 ปี เป็นตัวที่สำคัญมากตัวหนึ่ง และข้อเสนอของผมก็คือ ถ้าบริษัทไหนมีกำไรสม่ำเสมอและเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราตั้งแต่ 10% ต่อปีขึ้นไป มาตลอดโดยที่บริษัทไม่ต้องเรียกเงินจากผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเลย ก็ถือว่าบริษัทนั้นหรือหุ้นตัวนั้นเป็นหุ้นที่ดีเยี่ยมโดยไม่ต้องไปดูปัจจัยอื่นมากมาย ถ้าจะใช้คำหรู ๆ แบบที่วัยรุ่นใช้กับดาราชายที่หน้าตาดีมากว่า “หล่อขั้นเทพ” ผมก็อยากจะเรียกหุ้นที่มีผลประกอบการดังกล่าวว่าเป็น “หุ้นขั้นเทพ”
นอกจากตัวเลขผลกำไรแล้ว ปันผลก็เป็นตัวเลขหนึ่งที่สำคัญ เพราะถ้าบริษัทจ่ายปันผลออกมาน้อย กำไรในอนาคตก็ต้องมากขึ้นอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าบริษัทจ่ายปันผลในแต่ละปีในอัตราสูงเช่นเกิน 50% ของกำไรแต่ละปีด้วย นี่ก็เป็นตัวเสริมให้เป็นหุ้นเทพมากขึ้น ถ้าอัตราการจ่ายปันผลต่ำความเป็นหุ้นขั้นเทพก็ควรจะลดลง นอกจากนั้น ความเป็นเทพมากหรือน้อยยังขึ้นอยู่กับการเติบโตของกำไรเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมา ถ้ากำไรโตปีละถึง 15% ขึ้นไป เราก็อาจจะเรียกว่าเป็นหุ้นเทพมาก แต่ถ้ากำไรโตต่ำกว่า 10% แบบนี้ก็อาจจะเรียกว่าเทพธรรมดาหรืออาจจะไม่เทพเลยถ้ากำไรโตน้อยมากเพียงแค่ 4-5% เป็นต้น เช่นเดียวกัน ความสม่ำเสมอของกำไรในแต่ละปีก็เป็นตัวบอกความเป็นเทพมากหรือน้อยได้ บริษัทที่มีกำไรแทบจะเพิ่มขึ้นทางเดียวปีต่อปี ไตรมาศต่อไตรมาศ แบบนี้ก็เทพมาก แต่บริษัทที่มีกำไรสลับขึ้นลงและโดยเฉพาะที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงท้าย ๆ แบบนี้ความเป็นเทพก็ด้อยลง
หุ้นเทพนั้น โดยปกติราคาจะวิ่งขึ้นเสมอและต่อเนื่องยาวนานตราบที่แนวโน้มของกำไรยังโตขึ้นในอัตราใกล้เคียงกับอดีต ดังนั้นการถือหุ้นเทพนั้นบางครั้งเราสามารถถือยาวเป็น 5 ปี 10 ปีได้โดยไม่ต้องทำอะไร ในช่วงสั้น ๆ นั้น แน่นอน หุ้นเทพอาจจะมีราคาสูงหรือต่ำจนดูเหมือนกับว่ามันจะ Overvalue หรือ Undervalue แต่เราก็ไม่ควรที่จะต้องมีปฏิกิริยาอะไรนักยกเว้นว่ามันจะเกินไปมาก เหตุผลก็คือ ในที่สุดมันก็จะ “กลับมา” คือหุ้นก็จะขึ้นต่อไปตามผลประกอบการของมัน ผมเองเคยพบนักลงทุนหลายคนที่พยายาม “เล่นสั้น ๆ” ในหุ้นเทพ นั่นคือ เขาจะขายเมื่อหุ้นขึ้นไปแรง เสร็จแล้วก็กลับเข้าไปเก็บเมื่อหุ้นเทพปรับตัวลงมา ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่แน่ใจว่าสุดท้ายมันคุ้มค่าไหม เพราะบางครั้งต้องกลับไปซื้อในราคาแพงขึ้นเพราะหุ้นไม่ตกกลับลงมาตามที่คาด บางคนที่ “ขายหมู” ไปแล้วก็ไม่กลับมาซื้ออีกและทำให้พลาด “กำไร” มหาศาลที่ตามมาอีกหลาย ๆ ปี
ข้อจำกัดของการลงทุนในหุ้นเทพนั้นมีพอสมควร เหตุผลหนึ่งก็คือหุ้นเทพนั้นมักจะไม่ถูก นั่นทำให้VI จำนวนมากหลีกเลี่ยงที่จะลงทุน พวกเขามักจะดูว่ากำไรที่โตขึ้นต่อปีของหุ้นขั้นเทพนั้นมักจะ “ไม่ใคร่สูง” เช่น “แค่ 15%” แต่ค่า PE ของหุ้นนั้นอาจจะสูงถึง 20 เท่าหรือมากกว่า และดังนั้น ค่า PEG หรือค่า PE เมื่อเทียบกับการเติบโตนั้นสูงกว่า 1 เท่า ดังนั้น ตาม “ตำรา” ก็ต้องบอกว่าไม่คุ้มที่จะลงทุน สำหรับประเด็นนี้ผมเองคิดว่าค่า PEG นั้นอาจจะใช้ไม่ได้กับเรื่องของหุ้นเทพ และส่วนใหญ่ที่ใช้กันก็มักจะมอง Growth หรือการเติบโตของกำไรไปแค่ 3-4 ปี ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของหุ้นเทพ
ข้อจำกัดต่อมาของหุ้นเทพก็คือ บางบริษัทเพิ่งเข้าจดทะเบียนไม่นาน ดังนั้นจึงมีข้อมูลไม่พอ แต่ถ้าบริษัทนั้นกลายเป็นหุ้นเทพจริง ๆ ในเวลาต่อมา การลงทุนในหุ้นขั้นเทพตั้งแต่ตอนต้นอาจจะสามารถทำกำไรได้มหาศาล เพราะราคาหุ้นในขณะนั้นอาจจะไม่สูง และนี่นำมาสู่ข้อที่ต้องระวังที่สำคัญสำหรับการลงทุนในหุ้นเทพก็คือ เราต้องพิจารณาดูว่าหุ้นเทพที่เราดูอยู่นั้นกำลังอยู่ในหุ้นเทพ “ขั้นสุดท้าย” หรือเปล่า นั่นก็คือ การเติบโตของกำไรของหุ้นเทพนั้นใกล้สิ้นสุดหรือยังในขณะที่ราคาหุ้นเทพขึ้นไปสูงมาก เพราะถ้าเราเข้าไปลงทุนในช่วงที่บริษัทเริ่มอิ่มตัวไม่สามารถโตต่อไปได้แล้วด้วยเหตุผลต่าง ๆ ในที่สุดราคาหุ้นก็อาจจะปรับตัวลงไปเรื่อย ๆ โดยไม่กลับขึ้นมาอีก อย่างไรก็ตาม หุ้นเทพส่วนมากก็มักจะมีอายุค่อนข้างยาว บางบริษัทอย่างหุ้นวอลมาร์ทในอเมริกานั้นเติบโตยาวนานหลายสิบปี ดังนั้น การสรุปว่าหุ้นขั้นเทพตัวที่มองอยู่นั้น “หมดยุค” แล้ว จะต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยทั่วไปแล้ว หุ้นขั้นเทพที่ไม่ใช่หุ้นไฮเท็คนั้น ถ้าจะตกต่ำลง ก็มักจะใช้เวลาเป็นปี ๆ หรือหลาย ๆ ปี ความจำเป็นที่จะต้องรีบขายนั้นมักจะไม่มี
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=53213
ภาพประจำตัวสมาชิก
raynus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 716
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4224

โพสต์

ใครไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทางมั่งครับเนี่ย :mrgreen:
สายปันผลครับ

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4225

โพสต์

raynus เขียน:ใครไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทางมั่งครับเนี่ย :mrgreen:

จะเข้ามาตอบหมอ raynus ว่า ผมเรียน OBGYN ครับ :mrgreen:

แต่ที่สะดุดกว่าคือ ผมค่อนข้างประทับใจ ชาร์ลี มังเกอร์ แล้วก็ชอบ ฟิลลิป ฟิชชเชอร์ อยู่ไม่น้อยครับ :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4226

โพสต์

มาช่วยโปรโมตรายการ ทีวีใหม่ของพวกเราชาว VI

ณ Thaivi.org แห่งนี้ครับ

รายการ VI สายดำ

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=53243


ที่ กรุงเทพธุรกิจทีวี ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4227

โพสต์

รูปภาพ

รูปภาพ


ความร่วมมือระหว่างสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) กับ กรุงเทพธุรกิจทีวี
สำหรับนักลงทุนที่มุ่งมั่น ที่ฝึกฝนทั้งกายและใจสู่การเป็นนักลงทุน VI "สายดำ"

ON AIR ครั้งแรก ทีม VI สายดำได้ปรมาจารย์ ดร.นิเวศน์ มาปูทางเล่าเส้นทางวิถึสู่การเป็น VI สายดำ

วันอาทิตย์ที่ 9/9/55 เวลา 17.00 - 17.30 น.
สำหรับนักลงทุนที่อยากจะประสบความสำเร็จตามแนวทาง ดร. นิเวศน์ ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง!!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4228

โพสต์

เอาข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรมาฝาก ถือโอกาสทำการบ้านไว้ตรงนี้เลยละกัน

ผมชอบทำการบ้านส่วนหนึ่งผ่านทางนี้ กลับมาอ่านง่ายดี :D

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4229

โพสต์

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4230

โพสต์

รูปภาพ

รูปภาพ