ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 241

โพสต์

GREECE:กลุ่มทรอยกาเตรียมตัดสินชะตากรีซปล่อยกู้ต่อหรือปล่อยล้มละลาย
เอเธนส์--24 ก.ค.--รอยเตอร์

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบจากกลุ่มผู้ปล่อยกู้ระหว่างประเทศจะเดินทางถึงกรุงเอเธนส์
ในวันนี้เพื่อดำเนินแผนการด้านเศรษฐกิจอีกครั้ง และตัดสินใจว่าจะให้ความช่วยเหลือกรีซ
ตามมาตรการช่วยเหลือวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรต่อไปหรือจะปล่อยให้กรีซล้มละลาย
กรีซไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดในเงื่อนไขของข้อตกลงช่วยเหลือได้
โดยมีสาเหตุหลักมาจากภาวะสุญญากาศทางการเมือง 3 เดือน ขณะที่กรีซพยายามจัดตั้ง
รัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งที่ไม่มีพรรคใดได้ครองเสียงข้างมาก และมีการคัดค้านการ
ปฏิรูปจากสหภาพและกลุ่มผลประโยชน์พิเศษด้วย
ในเดือนนี้ กลุ่มทรอยกาซึ่งประกอบด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอ
เอ็มเอฟ), คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) แจ้งต่อรัฐบาล
ผสมพรรคใต้การนำของพรรคอนุรักษ์นิยมของกรีซว่า จะไม่มีการเบิกจ่ายเงินกู้ให้กรีซอีก
จนกว่ากรีซจะแสดงให้เห็นผลของการปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือ
กรีซระบุว่าภาวะถดถอยที่รุนแรงเกินคาดซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่เกือบ 7% ของจีดีพี
ในปีนี้ ทำให้กรีซไม่บรรลุเป้าหมายด้านรายได้จากการจัดเก็บภาษีและยอดขาดดุลงบ
ประมาณ และต้องการเวลาอีก 2 ปีเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการทางการคลังที่เข้มงวดขึ้น
กับประชาชนที่กำลังแบกรับการขึ้นภาษี, การลดค่าใช้จ่ายและค่าจ้าง และอัตราว่างงานที่
สูงเป็นประวัติการณ์
ภายในสิ้นปีนี้ คาดว่าจีดีพีของกรีซจะหดตัวลงราว 1 ใน 5 นับตั้งแต่ปี 2008
ขณะที่เกือบ 1 คนจากทุก 4 คนเป็นผู้ว่างงาน
เจ้าหน้าที่จากทรอยกาเปิดเผยว่า กรีซล้มเหลวในการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ
ที่จะหนุนเศรษฐกิจ อาทิ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามแผนที่วางไว้, การปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่
และการเปิดเสรีตลาดและอาชีพต่างๆ
"โครงการดังกล่าวไม่ได้ให้ผลตามที่พึงปรารถนา เพราะไม่ได้ถูกนำมาปฏิบัติ
เราต้องเห็นก่อนว่ารัฐบาลกรีซปฏิบัติตามพันธะสัญญา และจะตัดสินใจว่า โครงการนี้
สัมฤทธิ์ผลหรือไม่ หรือจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่" แหล่งข่าวในกลุ่มทรอยกากล่าว
คณะเจ้าหน้าที่กลุ่มทรอยกาเดินทางถึงกรุงเอเธนส์เมื่อวานนี้ และจะเริ่มประชุม
หารือกับกระทรวงต่างๆ ในช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่จะเดินทางถึงกรุง
เอเธนส์ในสัปดาห์นี้ และจะเข้าพบนายยานนิส สตูร์นาราส รมว.คลังกรีซในวันพฤหัสบดีนี้
--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
kokoh
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 242

โพสต์

ซิตี้กรุ๊ปแจกข่าวร้าย คาดกรีซเสี่ยงออกจากยูโรโซนเกือบ 100% พร้อมคาดสเปน-อิตาลี
ส่อรับความช่วยเหลือทางการเงินสิ้นปีนี้


ซิตี้กรุ๊ปคาดกรีซเสี่ยงออกจากยูโรโซนเกือบจะแน่นอน ส่งผลเศรษฐกิจยุโรปทรุดนานกว่าเดิม
เชื่ออย่างเร็วที่สุดกรีซจะออกจากยูโรโซนในวันขึ้นปีใหม่ปี 2013 ขณะสเปนและอิตาลีจะต้องรับ
ความช่วยเหลือทางการเงินสิ้นปีนี้
รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า ซิตี้กรุ๊ปอิงค์คาดมีความเป็นไปได้เกือบ
100% ที่กรีซจะออกจากยูโรโซนใน 12-18 เดือนข้างหน้า และจะส่งผลให้เศรษฐกิจยุโรปอ่อนแอ
ลงมากขึ้น ขณะเดียวกันยังส่งผลกระทบลุกลามไปยังประเทศที่เหลือในยูโรโซน
โดยในบทวิเคราะห์ของซิตี้กรุ๊ประบุว่า มีความเป็นไปได้ 90% ที่กรีซจะออกจากยูโรโซน ขณะ
ที่ก่อนหน้านี้คาดว่า จะมีความเป็นไปได้ 50%-70% เท่านั้น
'การออกจากยูโรโซนของกรีซอาจเกิดขึ้นใน 2-3 ไตรมาสข้างหน้า โดยคาดว่าอย่างเร็วที่สุด
อาจเป็นวันที่ 1 มกราคมปี 2013' ในบทวิเคราะห์ของซิตี้กรุ๊ประบุ
ขณะที่ในสัปดาห์นี้ ทรอยก้า หรือ คณะผู้ตรวจสถานะการคลังจากธนาคารกลางยุโรป หรือ อีซีบี
คณะกรรมการยุโรป หรือ อีซี และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ อยู่ระหว่าง
ดำเนินการตรวจความคืบหน้าในการลดการขาดดุลงบประมาณของกรีซว่าดำเนินไปตามเป้าหมาย
ที่กำหนดหรือไม่ ขณะที่เจ้าหนี้เริ่มแสดงความลังเลที่จะให้เงินกู้งวดต่อไปกับกรีซ
'ในมุมมองอย่างกลางกรณีกรีซออกจากยูโรโซน เราคาดว่า จะส่งผลให้เศรษฐกิจยุโรป
อ่อนแอลงยาวนานมากขึ้น และจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของหลายประเทศผันผวน ทั้งยัง
ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเกิดขึ้นทั้งยูโรโซนทั้งปีนี้และปีหน้า' ซิตี้กรุ๊ประบุ
นอกจากนี้ ซิตี้กรุ๊ปคาดว่า อิตาลี และสเปนจะเป็น 2 ประเทศต่อไปที่ต้องรับความช่วยเหลือ
ทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบโดยคาดว่าจะเกิดขึ้นในสิ้นปีนี้




แปลโดย วรเชษฐ์ พันธ์ภูวงศ์




เรียบเรียง โดย วรเชษฐ์ พันธ์ภูวงศ์
อนุมัติ โดย ดวงสุรีย์ วายุบุตร์
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]




ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 26/07/12 เวลา 9:59:25
syj
Verified User
โพสต์: 4241
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 243

โพสต์

การเงิน - การลงทุน : เศรษฐกิจต่างประเทศ
วันที่ 26 กรกฎาคม 2555 07:40
กรีซออกอาการพ้นยูโรโซน

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


กูรู หวั่นกรีซถูกขับพ้นยูโรโซน หลังอียูเตือนว่าอาจสอบตกเงื่อนไขในข้อตกลงต่างๆ เพื่อรับความช่วยเหลือ

เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) กล่าวว่า กรีซ แทบไม่มีโอกาสในการบรรลุเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และสิ่งนี้ทำให้นักลงทุนตั้งข้อสงสัยต่ออนาคตของกรีซในยูโรโซน ขณะที่สเปนพยายามแก้ไขปัญหาทางการเงินของประเทศ ต้นทุนการกู้ยืมของสเปน ก็พุ่งขึ้นสู่ระดับที่สูงเกินกว่าที่จะชำระได้ในระยะยาว และสิ่งนี้เป็นผลมาจากความเชื่อที่ว่า รัฐบาลกลางของสเปน อาจจะต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้เงินทุนของยูโรโซนร่อยหรอลงเป็นอย่างมาก

ขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่สเปนในระยะนี้ กรีซ ก็ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อยูโรโซนเช่นกัน เนื่องจากถ้าหากรัฐบาลกรีซ ผิดนัดชำระหนี้ หรือกรีซ ถอนตัวออกจากยูโรโซน เหตุการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงและต่อเนื่องไปจนถึงสเปน และอิตาลี

เจ้าหน้าที่ "ทรอยกา" ซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจการจากอียู, ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้เดินทางเยือนกรีซอีกครั้ง เพื่อตัดสินใจว่าจะดำเนินมาตรการช่วยเหลือกรีซในวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรต่อไป หรือจะปล่อยให้กรีซล้มละลาย

เจ้าหน้าที่อียู 3 ราย ให้ความเห็นว่า มีแนวโน้มที่เจ้าหน้าที่จะสรุปว่า รัฐบาลกรีซ ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้กรีซ จำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มเติม และในการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งใหม่นี้ อีซีบีและรัฐบาลประเทศสมาชิกยูโรโซน มีแนวโน้มที่จะต้องปรับลดมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ที่ตนเองถือครองไว้ ลงจากระดับ 2 แสนล้านยูโร (2.40 แสนล้านดอลลาร์) ในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้กรีซ มีความสามารถในการชำระหนี้อย่างยั่งยืน แต่ทั้งอีซีบีและประเทศสมาชิกยูโรโซน ไม่มีความเต็มใจที่จะดำเนินมาตรการดังกล่าวในขั้นตอนนี้

เจ้าหน้าที่อียูคนหนึ่งกล่าวว่า "กรีซ อยู่ห่างจากเป้าหมายเป็นอย่างมาก และรายงานการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้อย่างยั่งยืนของกรีซ จะแสดงให้เห็นถึงสภาพที่เลวร้ายมาก"

นายแอนโทนิส ซามาราส นายกรัฐมนตรีกรีซ กล่าวว่า เศรษฐกิจกรีซอาจจะหดตัวลงกว่า 7 % ในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้กรีซ ยิ่งไม่มีทางบรรลุเป้าหมายในการปรับลดหนี้สินของประเทศ แต่นายซามาราสให้สัญญาว่าจะดำเนินการตามแผนต่อไป

http://bit.ly/PpIxM4
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 244

โพสต์

วิกฤตยุโรปฉุดส่งออกครึ่งปีแรก ไม่พ้นติดลบ 1.66% พาณิชย์ใจแข็งไม่ขยับเป้าหมายส่งออกทั้งปี โต 15%

วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 19:30:37 น มติชนออนไลน์

นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยเดือนมิ.ย. 2555 มีมูลค่า 20,128 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.50% เทียบกับมิ.ย. 2554 เทียบในรูปเงินบาทส่งออกมูลค่า 616,506.3 ล้านบาท ลดลง 0.69% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 20,678.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.41% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้ามิ.ย. 550.1 ล้านเหรียญเหรียญสหรัฐ



ตัวเลขดังกล่าวทำให้การส่งออกสะสมในช่วง 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ปีนี้ มีมูลค่า 112,622.3ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.66%เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 122,966.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.28% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 6 เดือน 10,344.1 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเทียบในรูปเงินบาทขาดดุลถึง 362,602.2 ล้านบาท



สำหรับการส่งออกสินค้าใน ช่วง 6 เดือนแรก พบว่า หมวดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 9.1% สินค้าส่งออกสำคัญที่ลดลง เช่น ข้าว 37.9% แต่ช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกข้าวจะขยายตัวมากขึ้น เพราะรัฐจะเร่งทยอยระบายข้าวสารในสต๊อกออกแล้ว ยางพารา ลดลง 26.8% กุ้งแช่แข็งและแปรรูป 7.8% ผักและผลไม้ 1.7%% มีเพียงน้ำตาลเพิ่มขึ้น 17.4%



ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกลดลง 3.6% เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่ม 2.2% เครื่องใช้ไฟฟ้า 2.3% วัสดุก่อสร้าง 0.7% เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ 3.3% อัญมณีและเครื่องประดับ 10.5% สิ่งทอ 15.3% สิ่งพิมพ์ลดลง 75.6% เครื่องเดินทางและเครื่งหนัง 5.6% เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ 4.9% เลนส์ 22.5% นาฬิกาและส่วนประกอบ 25.7% ของเล่น 9.9% ส่วนสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น มีเพียงกลุ่มยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้น 17.8% ผลิตภัณฑ์ยาง 5.3% เครื่องสำอางค์ 11.4% อาหารสัตว์เลี้ยง 20.7% เครื่องกีฬา 11.9% และหมวดสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น 13.7%



ด้านตลาดส่งออก ในช่วง 6 เดือนแรก พบว่าตลาดหลัก ลดลง 4.1% จากการลดลงของญี่ปุ่น 3.8% สหภาพยุโรปเดิม 15 ประเทศ 12% มีเพียงสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.7% ส่วนตลาดศักยภาพสูง ลดลง 0.9% จากการลดลงของเอเชียใต้ 8.1% ฮ่องกง 33.9% ไต้หวัน 16.4% และเกาหลีใต้ 2.1% ยกเว้นอาเซียนเพิ่มขึ้น 8.5% จีน 7.8% และตลาดศักยภาพระดับรอง เพิ่มขึ้น 3.7% จากการเพิ่มขึ้นของออสเตรเลีย 7% ลาตินอเมริกา 19.5% ตะวันออกกลาง 1% แอฟริกา 6.1% เป็นต้น ส่วนรัสเซียและซีไอเอส ลดลง 19.7% แคนาดา 10.6% และตลาดอื่นๆ ลดลง 22.5% เช่น สวิตเซอร์แลนด์ 27.8%



นายภูมิ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การส่งออกมิ.ย.ลดลง มาจากการลุกลามของปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป ส่งผลกระทบต่อการผลิตและจำหน่ายสินค้าในหลายประเทศ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญของไทย เช่น ญี่ปุ่น เอเชียใต้ เกาหลีใต้ ไต้หวัน รัสเซียและซีไอเอส รวมถึงจีน มีการส่งออกชะลตัวลง รวมถึงราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการลดลงทั้งยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น ส่วนผลกระทบจากน้ำท่วมไม่มีปัญหาแล้ว เนื่องจากอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ฟื้นกำลังการผลิตได้เกือบหมด



อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของยุโรปที่ชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการส่งออกของไทยนั้น ถือว่าเป็นการลดลงที่ไม่มากนัก คาดว่าในเดือนถัดไป หากเศรษฐกิจยุโรปไม่แย่ลงไปกว่าเดิม มูลค่าการส่งออกของไทยจะกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง และเชื่อว่าทั้งปีน่าจะโตได้ 15% ตามเป้าหมาย ถ้ายังรักษาระดับมูลค่าในแต่ละเดือนไม่ให้ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อยู่ได้ ขณะที่การขาดดุลการค้าสูงสุดนั้น เพราะมีการนำเข้านำเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิต และน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาสูงขึ้น ไม่ใช่เรื่องน่าห่วง ซึ่งในเดือนมิ.ย.นี้การขาดดุลการค้าเราลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลถึง 1,739 ล้านเหรียญสหรัฐ



พร้อมกันนี้ ได้เสนอให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดูแลการส่งออกรายสินค้าเพิ่มอีก 4 คณะ ได้ แก่ กลุ่มอาหาร กลุ่มเครื่องนุ่งนุ่งห่ม แฟชั่น และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยทั้งหมดจะมีการประชุมรับมอบแนวทางการทำงานในวันที่ 27 ก.ค.นี้
taovi
Verified User
โพสต์: 59
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 245

โพสต์

คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 2

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 246

โพสต์

ข่าวฝากขำๆ นะครับ

ตลท.ชี้วิกฤตยูโร แมงเม่าลดเทรด
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7913 ข่าวสดรายวัน

นายภากร ปีตธวัชชัย รองผู้จัดการสายงานการตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ในเดือนมิ.ย.-ก.ค. พบว่าการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนรายย่อยปรับลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับ 5 เดือนก่อนหน้า โดยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 4-5 พันล้านบาทต่อวัน เนื่องจากวิกฤตในยุโรปที่เกิดขึ้นอาจกดดันบรรยากาศการลงทุน ทำให้ช่วงนี้เป็นการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่มูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยลดลงเล็กน้อยตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความกังวลหลายเรื่อง ดังนั้น สิ่งที่ทำได้คือ การให้ความรู้นักลงทุนให้มากที่สุด เพื่อที่จะรอเศรษฐกิจดี ดังนั้น ตลท.จึงได้รุกขยายฐานผู้ลงทุนออนไลน์ ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่น่าจับตามองว่ามีคนรุ่นใหม่หันมาสนใจการซื้อขายหุ้นมากขึ้น ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนมิ.ย.มีผู้ลงทุนออนไลน์ 387,182 บัญชี คิดเป็น 52% ของนักลงทุนทั้งหมด และคาดว่าสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 4 แสนบัญชี

ด้านนางภัทรี ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรก 2555 ตลาดหุ้นไทยมีปริมาณการซื้อขายหุ้นเฉลี่ย 3 หมื่นล้านบาทต่อวัน โดยกลุ่มนักลงทุนรายย่อยมีการซื้อขายลดลงถึง 50% เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันจากภาพรวมเศรษฐกิจในยุโรป รวมถึงการเมืองในประเทศ โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 มองว่าประเด็นยุโรปยังเป็นปัจจัยที่นักลงทุนต้องจับตาอย่างต่อเนื่อง

http://www.khaosod.co.th/view_news.php? ... B5T1E9PQ==
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 247

โพสต์

ศก.มะกันยังดิ่งแรงไม่ทีท่าจะฟื้น นักเศรษฐศาสตร์เสียงแตกคิวอี3

เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามีอัตราการเติบโตชะลอตัวในไตรมาสที่ 2 จากการที่ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายน้อยที่สุดในรอบ 1 ปี เป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กองทุนสำรองแห่งรัฐ หรือธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ขยับตัวมากกว่านี้เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัว

กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาเปิดเผยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วงระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน ขยายตัว 1.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2011 ขณะที่อัตราการขยายตัวเมื่อไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 2.0 เปอร์เซ็นต์

รายงานแสดงให้เห็นรายละเอียดทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอในหลายๆ จุด การค้าต่างประเทศดิ่งลงและสินค้าคงคลังที่เหลือขายไม่ออกเพิ่มมากขึ้น นั่นยังรวมกับสัญญาณหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอีกในไตรมาสที่ 3 เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อเรียกร้องให้เฟดตัดสินใจใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้

ซุง วอน ซอห์น ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแชนแนล ไอส์แลนด์ (ซีไอ) ในเมืองคามาริลโล รัฐแคลิฟอร์เนียบอกว่า "เศรษฐกิจเริ่มสูญเสียระดับความสูงและบินอยู่ในระดับความเร็วที่ใกล้เคียงกับการหยุดนิ่ง นโยบายการเงินเป็นเรื่องเดียวในตอนนี้และการผ่อนคลายมีแนวโน้มสูงมากว่าจะเกิดขึ้น"

เศรษฐกิจที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยอาจทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา สูญเสียโอกาสในการนั่งเก้าอี้ผู้นำสมัยที่ 2 เมื่อคนอเมริกันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกันในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยคะแนนนิยมในตัวโอบามาต่อเรื่องการบริหารจัดการเศรษฐกิจกำลังลดลงเรื่อยๆ

ผลสำรวจของอิปซอสร่วมกับธอมสันรอยเตอร์ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วแสดงให้เห็นว่า 36 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่ลงทะเบียนแล้วเชื่อว่า มิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันมีแผนการในการบริหารจัดการเศรษฐกิจที่ดีกว่า ขณะที่มีเพียง 31 เปอร์เซ็นต์ที่เชื่อมั่นในนโยบายของโอบามา

และอีกสัญญาณหนึ่งที่แสดงให้เห็นภาพรวมที่มืดมนทางเศรษฐกิจ คือเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำเนียบขาวได้ปรับลดประมาณการอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้ลงเหลือ 2.3 เปอร์เซ็นต์จากที่เคยประเมินไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาที่ 2.7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2013 ถูกปรับลดลงจาก 3.0 เปอร์เซ็นต์เหลือ 2.7 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังจากช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2007-2009 อยู่ในอัตราเร็วที่ชะลอตัวที่สุดนับตั้งแต่ปี 1980-1981 และภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเมื่อช่วงที่ผ่านมานั้นก็ถือว่าถลำลึกที่สุดนับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครังที่ 2 เป็นต้นมา

คาดกันว่า จะไม่มีการประกาศมาตรการอะไรออกมาเลยในการประชุมของเฟดเป็นเวลา 2 วันในสัปดาห์นี้ ทว่านักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่าเฟดอาจจะใช้มาตรการเข้าซื้อพันธบัตรรอบที่ 3 หรือนโยบายการผ่อนปรนเชิงปริมาณ (คิวอี 3) เมื่อบรรดาผู้กำหนดนโยบายของเฟดจะมาพบกันในการประชุมซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 12-13 กันยายนนี้

อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเช่นกันที่เฟดจะขยายเวลาในการคงระดับดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์ ที่เคยสัญญาไว้ให้ขยายออกไปอีกจนถึงช่วงปลายปี 2014

เฟดได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้ว 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ ผ่านทางการซื้อสินทรัพย์และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์

แต่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมดทุกคนที่เชื่อว่าเฟดจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มอีกในเดือนกันยายนนี้ โดยให้เหตุผลว่า การชะลอตัวของอัตราการเติบโตไม่ใช่ภาวะการณ์ที่เพียงพอสำหรับการทำแบบนั้น พวกเขาบอกว่าเฟดน่าจะต้องการเก็บรักษาคลังแสงที่มีจำกัดสำหรับไว้ใช้ในยามวิกฤตจริงๆ มากกว่า

"เฟดจะงัดคิวอี 3 ออกมาใช้หากมีความรู้สึกว่าเรากำลังมีปัญหา แต่หากเราเพียงแค่อ่อนแอทว่ายังสามารถเดินอย่างกระโผลกกระเผลกไปข้างหน้าได้ พวกเขาอาจจะช่วยเหลือเพียงแค่การตบหลังเบาๆ เท่านั้น" อดอล์ฟโฟ ลอเรนติ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของเมซิโรว์ ไฟแนนเชียลในชิคาโกกล่าว

"พวกเขาไม่ต้องการที่จะใช้เงินทุนที่เหลืออยู่เร็วเกินไป แต่ต้องการที่จะเก็บไว้บ้างเพราะว่าสถานการณ์อาจจะย่ำแย่ลงไปอีกหลังจากนี้"





(ที่มา:มติชนรายวัน 30 ก.ค.2555)
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 248

โพสต์

GREECE:ธ.กลางยุโรปเล็งหั่นหนี้กรีซอีก 1 แสนล้านยูโร ป้องกันหลุดจากยูโรโซน
บรัสเซลส์--30 ก.ค.--รอยเตอร์

เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า ผู้กำหนดนโยบายของยุโรปกำลังพิจารณาเกี่ยวกับ
ทางเลือกที่เป็น"โอกาสสุดท้าย"ที่จะลดหนี้ของกรีซและรักษากรีซให้อยู่ในยูโรโซน
ต่อไป ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางของแต่ละประเทศ
กำลังพิจารณาเกี่ยวกับการยอมรับผลขาดทุนจำนวนมากจากการถือครองพันธบัตร
กรีซ
บรรดาเจ้าหนี้เอกชนได้รับผลกระทบแล้วจากการยอมลดมูลค่าพันธบัตร
กรีซภายใต้มาตรการช่วยเหลือครั้งที่ 2 สำหรับกรีซที่มีการบรรลุข้อตกลงในเดือน
ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้กรีซกลับสู่สถานะที่สามารถชำระหนี้
ขณะที่กำลังมีการเตรียมปรับโครงสร้างหนี้ต่อไป
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูโรโซนเปิดเผยว่า เป้าหมายล่าสุดก็คือการ
ลดหนี้ของกรีซลงอีก 7 หมื่น-1 แสนล้านยูโร โดยปรับลดหนี้ลงสู่ระดับ 100%
ของผลผลิตทางเศรษฐกิจต่อปีที่จะสามารถช่วยให้กรีซจัดการหนี้ได้ดีขึ้น
เป้าหมายดังกล่าวต้องอาศัยธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลาง
ของแต่ละประเทศในการยอมรับผลขาดทุนจากการถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ
และอาจเกี่ยวข้องกับรัฐบาลของประเทศต่างๆในการยอมรับการขาดทุนด้วย
เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ทางเลือกที่ได้รับการสนับสนุนนี้จะทำให้อีซีบี
และธนาคารกลางของแต่ละประเทศต้องแบกรับค่าใช้จ่าย แต่อาจบ่งชี้ว่า
ธนาคารบางแห่งและอีซีบีต้องทำการเพิ่มทุน
ทั้งนี้ แผนการดังกล่าวกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังไม่มีการหารือ
อย่างเป็นทางการเกิดขึ้น แต่มีการตระหนักว่ากรีซยังคงล่าช้าในการปรับปรุง
ฐานะการคลัง และจำเป็นต้องมีการดำเนินการในเชิงรุกเพื่อให้กรีซอยู่ในยูโรโซน
ได้ต่อไป
เจ้าหน้าที่ระบุว่า การปรับโครงสร้างหนี้กรีซนั้นเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะฟื้นฟู
กรีซกลับสู่สถานะที่สามารถชำระหนี้ ขณะที่เป้าหมายที่ตกลงกันไว้ในการปรับลดหนี้ลง
เหลือ 120% ของจีดีพีในปี 2020 นั้นกลายเป็นเป้าหมายที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับกรีซ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมในมาตรการช่วยเหลือทั้ง
2 ฉบับสำหรับกรีซนั้น สนับสนุนการยกเครื่องเงินกู้ภาครัฐของกรีซ ซึ่งเป็นกระบวนการ
ที่ผู้กำหนดนโยบายเรียกว่า OSI หรือการมีส่วนร่วมของทางการ
"หากให้เปอร์เซนต์ที่จะเกิด OSI ในกรีซนั้น ผมคิดว่าอยู่ที่ 70%" เจ้าหน้าที่
ยูโรโซนเปิดเผยกับรอยเตอร์
หนึ่งในทางเลือกคือการให้อีซีบีและธนาคารกลางในยูโรซิสเต็มปรับลดมูลค่า
พันธบัตรรัฐบาลกรีซที่ตนเองถือครองไว้ลง 30 % โดยอยู่ภายใต้กระบวนการที่เรียกว่า
"การปรับลดหนี้" (haircut)
ปริมาณสินเชื่อคงค้างที่ภาครัฐปล่อยกู้ให้แก่กรีซทั้งหมดอยู่ที่ระดับราว
2.20-2.30 แสนล้านยูโร โดยตัวเลขนี้รวมถึงสินเชื่อระดับทวิภาคีที่รัฐบาล
ยูโรโซนปล่อยกู้ให้แก่กรีซด้วย
เจ้าหน้าที่รายหนึ่งกล่าวว่า การปรับลดหนี้ลง 30 % ในกรณีนี้ จะเท่ากับ
การปรับลดหนี้ลงในระดับสูงกว่า 7 หมื่นล้านยูโรเล็กน้อย ขณะที่เจ้าหน้าที่อีกรายหนึ่ง
ระบุว่าตัวเลขนี้จะอยู่ที่ระดับ 0.7-1.0 แสนล้านยูโร โดยขึ้นอยู่กับวิธีการดำเนิน
กระบวนการ
แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่า "เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก
และยังไม่มีการตัดสินใจกำหนดวิธีการที่แน่นอนในขณะนี้ เพราะช่วงนี้ยังเป็นเพียง
ช่วงเริ่มต้นเท่านั้น"
เจ้าหน้าที่เคยพิจารณาเรื่องการปรับลดหนี้ที่ภาครัฐปล่อยกู้ให้แก่กรีซ
ในปีที่แล้ว ในช่วงที่เจ้าหน้าที่กำลังจัดเตรียมมาตรการให้ความช่วยเหลือทาง
การเงินรอบสอง โดยมาตรการดังกล่าวมุ่งเป้าไปยังการปรับโครงสร้างหนี้
กรีซที่ภาคเอกชนถือครองไว้
อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่มองว่า OSI เป็นประเด็นที่มีความล่อแหลม
ทางการเมืองมากเกินไปในช่วงนั้น และตัดสินใจไม่นำ OSI มาใช้ในช่วงนั้น
โดยเจ้าหน้าที่รายหนึ่งกล่าวว่าการตัดสินใจดังกล่าวทำให้กรีซพลาดโอกาสที่ดี
และไม่ควรจะมีการพลาดโอกาสแบบนั้นอีก
เจ้าหน้าที่กล่าวว่า "ความผิดพลาดครั้งใหญ่ก็คือการที่เราไม่ได้
ปรับลดมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลกรีซที่อยู่ในพอร์ทลงทุนของธนาคารกลางประเทศ
ต่างๆ"
ในทางการเมือง อาจจะเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับผู้กำหนดนโยบาย
ที่จะให้อีซีบีและธนาคารกลางแห่งชาติยอมรับผลขาดทุนจากการถือครองพันธบัตร
แทนที่จะเป็นรัฐบาลยูโรโซนที่ยอมรับผลขาดทุน ซึ่งหมายความว่า ผู้เสียภาษี
จะได้รับผลขาดทุนโดยตรง
อย่างไรก็ดี กระบวนการดังกล่าวจะมีความยุ่งยากเกิดขึ้น
โดยธนาคารกลางของหลายประเทศอาจจะต้องทำการเพิ่มทุน
เจ้าหน้าที่ 2 รายระบุว่า ธนาคารกลางของฝรั่งเศส, มอลต้า
และไซปรัสถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซมากที่สุด และอาจจะต้องได้รับการอัดฉีด
เงินทุน ส่วนเจ้าหน้าที่อีก 2 รายกล่าวว่า อีซีบีอาจจะต้องได้รับการสนับสนุน
งบดุล
"ข้อดีก็คือ OSI จะเกิดขึ้นกับงบดุลของอีซีบี" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าว
"ดังนั้น อีซีบีจะต้องได้รับการเพิ่มทุน แต่นั่นจะเป็นที่ยอมรับในทางการเมืองได้
มากกว่าการให้ผู้เสียภาษีแบกรับผลขาดทุน"
แหล่งข่าวอีกรายกล่าวว่า ขณะที่อีซีบีมีทุนสำรองเพื่อชดเชยการปรับ
ลดมูลค่าสินทรัพย์ของพันธบัตร แต่การปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซก็อาจจำเป็น
ที่ต้องดำเนินการเพื่อปกป้องงบดุลมากขึ้น
ต่อข้อซักถามถึงสัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซของธนาคาร
กลางชาติต่างๆ เจ้าหน้าที่รายหนึ่งกล่าวว่า "ฝรั่งเศสถือครองจำนวนมหาศาล"
--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 2

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 249

โพสต์

ขอแปะข่าวจีน พาดหัวเหมือนจะดี แต่เนื้อหาข้างใน กลายเป็นฟองสบู่ อสังหาฯ รึเปล่า... :8)

ตะลุยดง "คอนโดฯ" นครเฉิงตู ใครว่าเศรษฐกิจจีนซบเซา !!
updated: 30 ก.ค. 2555 เวลา 12:50:53 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เฉิงตูเป็นชื่อเมืองใหญ่ในมณฑลเสฉวน อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเวลานี้รัฐบาลจีนกลางได้ประกาศนโยบาย "Go West" หรือ "มุ่งสู่ตะวันตก" ทั้งนี้ เพราะต้องการพัฒนาดินแดนทางด้านแถบนี้ให้มีความเจริญรุดหน้า ทัดเทียมกับพื้นที่บริเวณริมชายฝั่งทะเล ที่เวลานี้เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างขนาดมหึมา และธุรกิจ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ผุดขึ้นแข่งกันเป็นดอกเห็ด ขณะที่ซีกฟากตะวันตกที่ราบผืนสุดท้ายแห่งนี้ยังต้องการการพัฒนาอีกมาก แม้จะมีการพัฒนามาเป็นเวลาสิบปีแล้วก็ตาม

คนจีนแปลความหมายของ "เฉิงตู" ให้ฟังว่า หมายถึงชุมชนหลาย ๆ ชุมชนมาสร้างรวมกันเป็นเมืองใหญ่ หากใครเดินทางไปเฉิงตูเวลานี้จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของเมืองอย่างเห็นได้ชัด

ในอดีตหลายสิบปีก่อน "เฉิงตู" ได้ชื่อว่าเป็นเมืองเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันกำลังพัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางทางธุรกิจและอุตสาหกรรมด้านทิศตะวันตกของจีน

รัฐบาลจีนอยู่ระหว่างการวางแผนพัฒนาเมืองซึ่งอยู่ตอนใน (In Land) ของจีน เฉิงตูเป็นหนึ่งในนั้น

สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดเวลานี้คือ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีให้เห็นทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะการก่อสร้างถนน ทั้งถนนธรรมดาและไฮเวย์ สนามบิน สถานีรถไฟที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากกรุงปักกิ่ง เมืองหลวง แล้วยังมีสนามบินแห่งที่ 2 ที่สามารถบินตรงไปยังประเทศยุโรปและสแกนดิเนเวียได้โดยตรง ไม่เพียงเท่านั้น ใครจะคิดว่าถึงวันนี้นครเฉิงตูมีถนนวงแหวนถึง 5 วงแหวน

จากนโยบายของรัฐบาลจีนกลางดังกล่าว ประกอบกับช่วงปี 2552-2553 รัฐบาลจีนมีแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจในมณฑลเสฉวน เพราะได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อ 12 พฤษภาคม 2551 จึงมีการอนุมัติงบประมาณจำนวน 4 ล้านล้านหยวน หรือราว 20 ล้านล้านบาท มาดำเนินการฟื้นฟูเมือง ส่งผลให้เศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ในย่านนี้เป็นไปด้วยความคึกคัก

ผู้คนยังคงอพยพมุ่งสู่เฉิงตู รวมทั้งนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์

สิ่งที่ตามมาคือ ความต้องการทางด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว โครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมผุดขึ้นเป็นทิวแถว จึงทำให้นครเฉิงตูเวลานี้เต็มไปด้วยคอนโดมิเนียมความสูงมากกว่า 20 ชั้นขึ้นไป และยังมีการก่อสร้างคอมเพล็กซ์ขนาดมหึมา สโลแกน "เราเห็นโลก-โลกเห็นเรา"

อย่างไรก็ตาม ด้วยระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ทำให้ที่ดินในประเทศจีนเป็นสมบัติของรัฐบาลทั้งหมด ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ครอบครอง จะครอบครองได้ก็แต่ "ใบกรรมสิทธิ์" ในที่อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่ว่าบ้านหรือคอนโดฯ ใครจะสร้างโรงงาน หรือที่อยู่อาศัย ต้องรวมกลุ่มกันเป็นผู้ประกอบการแล้วไปขอเช่าที่ดินจากรัฐบาลเพื่อมาทำโครงการ

โดยมีกฎหมายกำหนดว่า หากเป็นที่อยู่อาศัยอายุการเช่าที่ดินอยู่ที่ 70 ปี แต่ถ้าเป็นโรงงาน หรือเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ ระยะเวลาเช่าประมาณ 50 ปี จากนั้นผู้ประกอบการจึงก่อสร้างโครงการขายแก่ประชาชน

ด้วยความที่เป็นเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง แม้จะพัฒนามาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่เฉิงตูในวันนี้ยังเต็มไปด้วยโครงการก่อสร้างคอนโดฯเพื่อรองรับความต้องการของผู้คนที่หลั่งไหลเข้าไปทำมาหากิน

แม้ว่าจะมีการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์อสังหาฯทั้งหลายว่า สถานการณ์ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจีนเวลานี้น่าสุ่มเสี่ยง

นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในจีนในช่วงนี้ โดยอ้างจากข้อมูลของธนาคารกลางจีนที่ระบุถึงตัวเลขสองไตรมาสแรกว่า ยอดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารในจีนปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการอสังหาฯและผู้ซื้ออสังหาฯวงเงินกู้รวมกันสูงถึง 8.71 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 18% ของยอดสินเชื่อรวมทั้งหมดทุกประเภท


เป็นอาการบ่งชี้ที่ทำให้กังวลกันว่า อาจจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจของโลกโดยรวม แล้วยังมีตัวเลขของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มตกลงจากราคาที่เคยพุ่งไปสูงสุดในช่วงปี 2552 จนถึงต้น

ปี 2553 ทั้งที่ได้มีความพยายามของรัฐบาลจีนประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์และกำหนดให้เพิ่มสัดส่วนเงินดาวน์สำหรับลูกค้า

ความกังวลดังกล่าว หากนับเวลามาถึง ณ วันนี้ ดูเหมือนการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์อสังหาฯในจีนถูกท้าทายเสียแล้ว เพราะปรากฏว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์กระเตื้องขึ้น หลังจากรัฐบาลเริ่มใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

โดยราคาบ้านในเมืองใหญ่ของจีนขยับขึ้น และมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเห็นได้จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน ใน 70 เมืองใหญ่ของประเทศ พบว่าราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นจำนวน 25 เมือง ส่วนอีก 24 เมือง ราคายังคงทรงตัว ขณะที่อีก 21 เมืองราคาตกลง

ราคาบ้านในเมืองใหญ่อย่างเช่นปักกิ่งเพิ่มขึ้น 0.3% เซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้น 0.2% กวางเจาเพิ่มขึ้น 0.2% ซึ่งเป็นการขยับขึ้นของราคาบ้านครั้งแรกในรอบหนึ่งปีของเซี่ยงไฮ้และกวางเจา

และจากการสอบถามจากผู้อยู่อาศัย เจ้าของคอนโดฯในเมืองเฉิงตู มีตัวเลข

น่าสนใจ กล่าวคือ จากราคาที่เคยขายกัน 4,000-5,000 หยวน/ตร.ม. เวลานี้ขยับมาเป็น 6,000-8,000 หยวน/ตร.ม. ขณะที่ราคาบ้านขายกันอยู่ที่ 12,000-14,000 หยวน/ตร.ม.

ใจกลางเมืองเฉิงตูในวันนี้เบียดแน่นด้วยแท่งคอนกรีตสูงระฟ้า แท่งคอนกรีตเดียวกันนี้กำลังขยายออกสู่ชานเมืองทุกทิศทุกทาง

-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530