สรุป company visit SINGER 12/7/55
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 458
- ผู้ติดตาม: 0
สรุป company visit SINGER 12/7/55
โพสต์ที่ 1
สรุป Company Visit ครับ สรุปตามเท่าที่ผู้บริหารพูดนะครับผมพยายามไม่ใส่ความเห็นลงไป ผิดพลาดอย่างไร เพื่อนๆช่วยกันแก้ไขเพิ่มเติมได้เต็มที่เลยครับ
SINGER
ข้อมูลทั่วๆไป : บริษัทขายและจัดจำหน่ายทั้งจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ ตู้เติมเงิน ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ ตู้แช่ เครื่องซักผ้า เน้นกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัดในประเทศ ยอดขายเกือบทั้งหมดเป็นเงินผ่อน ในสไตล์เช่าซื้อ
สภาวะตลาดโดยรวม : โดยตัวผลิตภัณฑ์ก็มีคู่แข่งเป็นอย่างๆไป เช่นอย่าง ตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือก็ต้องแข่งขันกับบริษัทอื่นๆที่ทำเรื่องนี้ แต่การแข่งขันในแง่วิธีการขายยังไม่มีคู่แข่งชัดเจน ผู้บริหารกล่าวว่าเพราะบริษัทเน้นขายในตลาด Blue Ocean หรือ White Ocean ครับ ทั้งวิธีการขายและกลุ่มลูกค้าของบริษัทจึงไม่ค่อยซ้ำกับใคร
เป้าหมายระยะยาวของบริษัท : ผู้บริหารไม่ได้พูดโดยตรง แต่บางตอนก็พูดกลายๆว่าในอดีตเคยมีบัญชีลูกหนี้กว่า 900,000 บัญชี ซึ่งตอนนี้มีไม่ถึง 200,000 บัญชีเท่านั้น และหากเปิด AEC การไปบุกตลาดประเทศเพื่อนบ้านทำได้ดี ก็ฝันเห็นยอดขาย 10,000 ล้านบาท เหมือนกัน
จุดแข็ง
1. BRAND บริษัทมีอายุนานมากกว่า 120 ปีในประเทศไทย ดังนั้นลูกค้ามักจะรู้จักบริษัทอยู่แล้ว และบางผลิตภํณฑ์ บริษัทก็ได้ชื่อว่าดีและคงทนแข็งแรง
2. NETWORK บริษัทมีสาขา 195 สาขา และมีตัวแทนประมาณ 2,000 คน กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ
3. DATA สิ่งที่บริษัทมีและสะสมไว้นานมากคือข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลฐานลูกค้า ซึ่งบริษัทคิดว่าคนที่เป็นลูกค้าแล้วจะเป็นลูกค้าตลอดไป คือซื้อของชิ้นหนึ่งแล้วจะซื้อของชิ้นอื่นๆอีก นอกจากนั้นลูกค้าสามารถเป็นกึ่งเซลล์ช่วยตัวแทนขายได้ด้วย นอกจากในเรื่องของตัวลูกค้าเอง ยังมีข้อมูลเรื่องของการชำระเงินของลูกค้าต่างๆ ทำให้การปล่อยสินเชื่อแม่นยำขึ้นไปอีก นอกจากนั้นบริษัทยังรู้ลึกไปถึง วัฒนธรรมความต้องการและธรรมชาติของพื้นที่เป็นอย่างดีซึ่งนำมาซึ่งการที่สามารถเข้าถึงเข้าใจและสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจลูกค้าได้มากขึ้น ส่วนข้อมูลของร้านต่างๆที่มีคุณภาพ ก็มีการยกระดับร้านเป็นร้าน Platinum ซึ่งจะทำให้สามารถอนุมัติสินเชื่อได้เอง บริษัทจะทำการสุ่มตรวจ ซึ่งลดภาระงานของบริษัทและกระตุ้นการพัฒนาของสาขามากขึ้นมากเพราะสาขาก็ต้องการเป็น Platinum มากขึ้น
4. SYSTEM หลังจากที่ประสบวิกฤติมอเตอร์ไซด์ บริษัทได้ปรับระบบการอนุมัติสินเชื่อผ่านส่วนกลาง ( ในอดีตพนักงานขายอนุมัติสินเชื่อเอง ) ใช้ Call Center มาเพื่อลด Cost มีการอบรม พนักงานขายใหม่เพราะผลิตภัณฑ์ที่ขายหลายๆตัวต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์มาก ลดพนักงานขายที่ไม่ active ลง Focus ในผลิตภัณฑ์ที่ถนัด ตอนนี้หลังจากปรับระบบลงตัวก็เริ่มแยกส่วนงานออกเป็น BU(Bussiness Unit) ซึ่งเห็นได้ชัดจากเรื่องของการแยก Leasing และเรื่องของ Service ออกมา นอกจากนั้นภายตัวบริษัทเองก็มีแยกย่อยออกมาในหลายผลิตภัณฑ์ เพื่อให้การบริหารมีความชัดเจนขึ้นซึ่งนำไปสู่ Net Profit นั่นเอง
5. AFTER SALE SERVICE ในช่วงระยะเวลาของการผ่อนชำระ บริษัทจะมีการรับประกันอยู่แล้ว และยังรับล้างคอยด์ร้อนของตู้แช่ฟรี ซึ่งการรับทำงานในจุดนี้ฟรีทำให้ลูกค้าประทับใจมากและซื้อสินค้าตัวอื่นๆเพิ่มขึ้น จนกระทั่งบริษัทแยกส่วนงานตรงนี้ออกเป็น Singer Service Plus ซึ่งตอนนี้เน้นเรื่องล้างแอร์
จุดอ่อน
ผู้บริหารไม่ได้พูดถึง แต่ประเด็นหนึ่งที่พูดคือ การผิดพลาดครั้งที่แล้วของมอเตอร์ไซด์ ไม่ได้เกิดจากที่ตัวมอเตอร์ไซด์ เกิดจากการที่เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพและการปล่อยสินเชื่อที่ไม่รัดกุมพอ ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนระบบครั้งใหญ่หลังจากนั้น
โอกาส
1. การพัฒนา sale ในเรื่องของความรู้ของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากว่าพนักงานขายของบริษัทมีเป็นจำนวนมาก การที่นำผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ๆเข้ามา พนักงานขายจะยังขายไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องมีความรู้ก่อนและความมั่นใจในการขายถึงจะเกิด ซึ่งบริษัทนับแยกแต่ละสินค้าว่าแต่ละตัวมีการอบรมพนักงานขายให้มีความรู้ไปเท่าไหร่ แล้วเพิ่มจำนวนพนักงานขายที่มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์นั้นๆ ยอดขายของสินค้านั้นก็จะเพิ่มขึ้นเอง โดยที่ไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงานขายไม่เพิ่ม Cost แต่เพิ่มยอดขายได้ ซึ่งปัจจุบันยังสามารถเพิ่มยอดขายจากจุดนี้ได้อีกมาก ยกตัวอย่างมีพนักงานขาย 2000 คน แต่รู้เรื่องการขายตู้เติมเงินโทรศัพท์แบบหยอดเหรียญ แค่ 500 คน ( ตัวเลขสมมติเพื่อความเข้าใจนะครับ ) เท่ากับว่าในสินค้าตัวนี้มีพนักงานขายที่ valid จริงๆแค่ 500 ซึ่งในสินค้าแต่ละตัวบริษัทก็แยกออกมาแล้วใส่ความรู้เข้าไปให้พนักงานขายเมื่อจำนวนพนักงานขายที่มีความรู้เพิ่มก็เท่ากับเพิ่มพนักงานโดยที่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยมากนั่นเอง
2. การเปิด AEC ผู้บริหารพูดถึงพม่าว่ายังมีโอกาสในหลายเรื่องหลายผลิตภัณฑ์มาก อาทิ เครื่องปั่นไฟ เพราะพม่ายังขาดไฟฟ้าเยอะมาก อุปกรณ์สำหรับเก็บความเย็นที่ไม่ใช้ไฟ เพราะอากาศที่นั่นร้อนมาก
3. การขยายเทอมของการชำระ ในบางผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเก็บข้อมูลแล้วว่าสินค้าตัวนั้นๆความเสี่ยงน้อยก็อาจจะเริ่มปรับให้เทอมการชำระยาวขึ้นทำให้ยอดบัญชีลูกหนี้มากขึ้นได้ดอกเบี้ยมากขึ้นและลดภาระของลูกค้าด้วยเพิ่มยอดขายได้
4. การหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆมาขาย เนื่องจากบริษัทไม่ได้ผลิตเอง ทำให้ไม่มีความเสี่ยงเรื่อง Stock มากนัก และแต่ละสายการผลิตก็หาร Supplier ไว้อย่างน้อย 2 รายเพื่อป้องกันความเสี่ยงในเรื่องของการส่งมอบ และสามารถหาผลิตภัณฑ์มาขายได้อย่างอิสระ เพราะไม่ต้องผลิตเอง สามารถหาบริษัทที่ดีมาเป็น Supplier ได้
5. เมื่อก่อนขายจาก Brochure แต่ตอนนี้มีสินค้าจริงๆให้เห็นซึ่งน่าจะมีผลให้ยอดขายในอนาคตเติบโตได้อย่างมาก
6.การ Mapping แล้ววิเคราะห์ว่าจัดใดยังมีสินค้า Singer น้อย ซึ่งทำให้เห็นว่ายังมีโอกาสอีกมากมายในหลายพื้นที่
7. Service ตอนนี้แยกออกมาเป็น Singer Service Plus แล้วแต่จำนวนช่างที่มียังน้อยอยู่กำลังพัฒนาตรงนี้ไปควบคู่กับโรงเรียนเทคนิคเพื่อการที่จะได้ไม่ขาดแคลนในเรื่องบุคลากร
8. การติดตามลูกค้าทำให้ลูกค้าประทับใจและสามารถขายสินค้าตัวอื่นๆเพิ่มได้ เช่น บางร้านมีตู้แช่ ก็สามารถเข้าไปขายเครื่องซักผ้า เครื่องหยอดเหรียญ .... ได้อีก ซึ่งผู้บริหารมองว่าลูกค้าแต่ละรายสามารถทำยอดขายได้ประมาณ 500,000 บาทได้หากมีการติดตามที่ดี
ปัจจัยเสี่ยง
1. ต้นทุนในงาน Service ค่อนข้างสูง บางทีขายทีวีเครื่องหนึ่งลูกค้าเปลี่ยนช่องไม่ได้พนักงานขายต้องวิ่งไปช่วยซึ่งใช้ค่าใช้จ่ายมาก
2. สินค้าบางตัวขายดีมาก Supplier ยังผลิตได้ไม่ทันกับความต้องการ
3. ยังมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรในเรื่องของการ Service
ขอบคุณผู้บริหารมากครับที่ให้การต้อนรับอย่างดีเลี้ยงอาหารเที่ยงและให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ครับ
SINGER
ข้อมูลทั่วๆไป : บริษัทขายและจัดจำหน่ายทั้งจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ ตู้เติมเงิน ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ ตู้แช่ เครื่องซักผ้า เน้นกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัดในประเทศ ยอดขายเกือบทั้งหมดเป็นเงินผ่อน ในสไตล์เช่าซื้อ
สภาวะตลาดโดยรวม : โดยตัวผลิตภัณฑ์ก็มีคู่แข่งเป็นอย่างๆไป เช่นอย่าง ตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือก็ต้องแข่งขันกับบริษัทอื่นๆที่ทำเรื่องนี้ แต่การแข่งขันในแง่วิธีการขายยังไม่มีคู่แข่งชัดเจน ผู้บริหารกล่าวว่าเพราะบริษัทเน้นขายในตลาด Blue Ocean หรือ White Ocean ครับ ทั้งวิธีการขายและกลุ่มลูกค้าของบริษัทจึงไม่ค่อยซ้ำกับใคร
เป้าหมายระยะยาวของบริษัท : ผู้บริหารไม่ได้พูดโดยตรง แต่บางตอนก็พูดกลายๆว่าในอดีตเคยมีบัญชีลูกหนี้กว่า 900,000 บัญชี ซึ่งตอนนี้มีไม่ถึง 200,000 บัญชีเท่านั้น และหากเปิด AEC การไปบุกตลาดประเทศเพื่อนบ้านทำได้ดี ก็ฝันเห็นยอดขาย 10,000 ล้านบาท เหมือนกัน
จุดแข็ง
1. BRAND บริษัทมีอายุนานมากกว่า 120 ปีในประเทศไทย ดังนั้นลูกค้ามักจะรู้จักบริษัทอยู่แล้ว และบางผลิตภํณฑ์ บริษัทก็ได้ชื่อว่าดีและคงทนแข็งแรง
2. NETWORK บริษัทมีสาขา 195 สาขา และมีตัวแทนประมาณ 2,000 คน กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ
3. DATA สิ่งที่บริษัทมีและสะสมไว้นานมากคือข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลฐานลูกค้า ซึ่งบริษัทคิดว่าคนที่เป็นลูกค้าแล้วจะเป็นลูกค้าตลอดไป คือซื้อของชิ้นหนึ่งแล้วจะซื้อของชิ้นอื่นๆอีก นอกจากนั้นลูกค้าสามารถเป็นกึ่งเซลล์ช่วยตัวแทนขายได้ด้วย นอกจากในเรื่องของตัวลูกค้าเอง ยังมีข้อมูลเรื่องของการชำระเงินของลูกค้าต่างๆ ทำให้การปล่อยสินเชื่อแม่นยำขึ้นไปอีก นอกจากนั้นบริษัทยังรู้ลึกไปถึง วัฒนธรรมความต้องการและธรรมชาติของพื้นที่เป็นอย่างดีซึ่งนำมาซึ่งการที่สามารถเข้าถึงเข้าใจและสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจลูกค้าได้มากขึ้น ส่วนข้อมูลของร้านต่างๆที่มีคุณภาพ ก็มีการยกระดับร้านเป็นร้าน Platinum ซึ่งจะทำให้สามารถอนุมัติสินเชื่อได้เอง บริษัทจะทำการสุ่มตรวจ ซึ่งลดภาระงานของบริษัทและกระตุ้นการพัฒนาของสาขามากขึ้นมากเพราะสาขาก็ต้องการเป็น Platinum มากขึ้น
4. SYSTEM หลังจากที่ประสบวิกฤติมอเตอร์ไซด์ บริษัทได้ปรับระบบการอนุมัติสินเชื่อผ่านส่วนกลาง ( ในอดีตพนักงานขายอนุมัติสินเชื่อเอง ) ใช้ Call Center มาเพื่อลด Cost มีการอบรม พนักงานขายใหม่เพราะผลิตภัณฑ์ที่ขายหลายๆตัวต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์มาก ลดพนักงานขายที่ไม่ active ลง Focus ในผลิตภัณฑ์ที่ถนัด ตอนนี้หลังจากปรับระบบลงตัวก็เริ่มแยกส่วนงานออกเป็น BU(Bussiness Unit) ซึ่งเห็นได้ชัดจากเรื่องของการแยก Leasing และเรื่องของ Service ออกมา นอกจากนั้นภายตัวบริษัทเองก็มีแยกย่อยออกมาในหลายผลิตภัณฑ์ เพื่อให้การบริหารมีความชัดเจนขึ้นซึ่งนำไปสู่ Net Profit นั่นเอง
5. AFTER SALE SERVICE ในช่วงระยะเวลาของการผ่อนชำระ บริษัทจะมีการรับประกันอยู่แล้ว และยังรับล้างคอยด์ร้อนของตู้แช่ฟรี ซึ่งการรับทำงานในจุดนี้ฟรีทำให้ลูกค้าประทับใจมากและซื้อสินค้าตัวอื่นๆเพิ่มขึ้น จนกระทั่งบริษัทแยกส่วนงานตรงนี้ออกเป็น Singer Service Plus ซึ่งตอนนี้เน้นเรื่องล้างแอร์
จุดอ่อน
ผู้บริหารไม่ได้พูดถึง แต่ประเด็นหนึ่งที่พูดคือ การผิดพลาดครั้งที่แล้วของมอเตอร์ไซด์ ไม่ได้เกิดจากที่ตัวมอเตอร์ไซด์ เกิดจากการที่เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพและการปล่อยสินเชื่อที่ไม่รัดกุมพอ ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนระบบครั้งใหญ่หลังจากนั้น
โอกาส
1. การพัฒนา sale ในเรื่องของความรู้ของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากว่าพนักงานขายของบริษัทมีเป็นจำนวนมาก การที่นำผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ๆเข้ามา พนักงานขายจะยังขายไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องมีความรู้ก่อนและความมั่นใจในการขายถึงจะเกิด ซึ่งบริษัทนับแยกแต่ละสินค้าว่าแต่ละตัวมีการอบรมพนักงานขายให้มีความรู้ไปเท่าไหร่ แล้วเพิ่มจำนวนพนักงานขายที่มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์นั้นๆ ยอดขายของสินค้านั้นก็จะเพิ่มขึ้นเอง โดยที่ไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงานขายไม่เพิ่ม Cost แต่เพิ่มยอดขายได้ ซึ่งปัจจุบันยังสามารถเพิ่มยอดขายจากจุดนี้ได้อีกมาก ยกตัวอย่างมีพนักงานขาย 2000 คน แต่รู้เรื่องการขายตู้เติมเงินโทรศัพท์แบบหยอดเหรียญ แค่ 500 คน ( ตัวเลขสมมติเพื่อความเข้าใจนะครับ ) เท่ากับว่าในสินค้าตัวนี้มีพนักงานขายที่ valid จริงๆแค่ 500 ซึ่งในสินค้าแต่ละตัวบริษัทก็แยกออกมาแล้วใส่ความรู้เข้าไปให้พนักงานขายเมื่อจำนวนพนักงานขายที่มีความรู้เพิ่มก็เท่ากับเพิ่มพนักงานโดยที่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยมากนั่นเอง
2. การเปิด AEC ผู้บริหารพูดถึงพม่าว่ายังมีโอกาสในหลายเรื่องหลายผลิตภัณฑ์มาก อาทิ เครื่องปั่นไฟ เพราะพม่ายังขาดไฟฟ้าเยอะมาก อุปกรณ์สำหรับเก็บความเย็นที่ไม่ใช้ไฟ เพราะอากาศที่นั่นร้อนมาก
3. การขยายเทอมของการชำระ ในบางผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเก็บข้อมูลแล้วว่าสินค้าตัวนั้นๆความเสี่ยงน้อยก็อาจจะเริ่มปรับให้เทอมการชำระยาวขึ้นทำให้ยอดบัญชีลูกหนี้มากขึ้นได้ดอกเบี้ยมากขึ้นและลดภาระของลูกค้าด้วยเพิ่มยอดขายได้
4. การหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆมาขาย เนื่องจากบริษัทไม่ได้ผลิตเอง ทำให้ไม่มีความเสี่ยงเรื่อง Stock มากนัก และแต่ละสายการผลิตก็หาร Supplier ไว้อย่างน้อย 2 รายเพื่อป้องกันความเสี่ยงในเรื่องของการส่งมอบ และสามารถหาผลิตภัณฑ์มาขายได้อย่างอิสระ เพราะไม่ต้องผลิตเอง สามารถหาบริษัทที่ดีมาเป็น Supplier ได้
5. เมื่อก่อนขายจาก Brochure แต่ตอนนี้มีสินค้าจริงๆให้เห็นซึ่งน่าจะมีผลให้ยอดขายในอนาคตเติบโตได้อย่างมาก
6.การ Mapping แล้ววิเคราะห์ว่าจัดใดยังมีสินค้า Singer น้อย ซึ่งทำให้เห็นว่ายังมีโอกาสอีกมากมายในหลายพื้นที่
7. Service ตอนนี้แยกออกมาเป็น Singer Service Plus แล้วแต่จำนวนช่างที่มียังน้อยอยู่กำลังพัฒนาตรงนี้ไปควบคู่กับโรงเรียนเทคนิคเพื่อการที่จะได้ไม่ขาดแคลนในเรื่องบุคลากร
8. การติดตามลูกค้าทำให้ลูกค้าประทับใจและสามารถขายสินค้าตัวอื่นๆเพิ่มได้ เช่น บางร้านมีตู้แช่ ก็สามารถเข้าไปขายเครื่องซักผ้า เครื่องหยอดเหรียญ .... ได้อีก ซึ่งผู้บริหารมองว่าลูกค้าแต่ละรายสามารถทำยอดขายได้ประมาณ 500,000 บาทได้หากมีการติดตามที่ดี
ปัจจัยเสี่ยง
1. ต้นทุนในงาน Service ค่อนข้างสูง บางทีขายทีวีเครื่องหนึ่งลูกค้าเปลี่ยนช่องไม่ได้พนักงานขายต้องวิ่งไปช่วยซึ่งใช้ค่าใช้จ่ายมาก
2. สินค้าบางตัวขายดีมาก Supplier ยังผลิตได้ไม่ทันกับความต้องการ
3. ยังมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรในเรื่องของการ Service
ขอบคุณผู้บริหารมากครับที่ให้การต้อนรับอย่างดีเลี้ยงอาหารเที่ยงและให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 458
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สรุป company visit SINGER 12/7/55
โพสต์ที่ 17
หลังจากนั้นก็ไปร่วมรับประทานอาหาร โดยผู้บริหารร่วมรับประทานกับพวกเราอย่างเป็นกันเอง (กว่าจะสำนึกหน้าที่ว่าต้องถ่ายตอนนั้นอิ่มแล้วครับ ) ขอบคุณทีมงาน ทุกท่านและ SINGER มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: สรุป company visit SINGER 12/7/55
โพสต์ที่ 18
ขอบคุณ birthboro และทีมงานมากๆ ครับ บรรยากาศดูอบอุ่นมากๆ
ชอบรูปจักรเย็บผ้าครับ ลายดู Classic มาก แต่มีปุ่มกดแบบสมัยใหม่
ปล. ห้องนี้กดบวกไม่ได้หรอครับ
ชอบรูปจักรเย็บผ้าครับ ลายดู Classic มาก แต่มีปุ่มกดแบบสมัยใหม่
ปล. ห้องนี้กดบวกไม่ได้หรอครับ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- HorseVision
- Verified User
- โพสต์: 513
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สรุป company visit SINGER 12/7/55
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณ คุณ birthboro มากๆครับ สำหรับสรุปและรูปภาพครับ
Facts are better than opinions
- kiri
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 473
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สรุป company visit SINGER 12/7/55
โพสต์ที่ 20
ขอบคุณผู้บริหาร บมจ. ซิงเกอร์ (ประเทศไทย) ทุกท่าน และขอบคุณหมอบิว และหมอเบิร์ดสำหรับสรุป Company visit ที่ละเอียดและได้บรรยากาศในครั้งนี้ค่ะ เป็นกำลังใจให้ทีมงานเหยี่ยวข่าวค่ะ
เรื่องสำคัญค่ะ
ยังมี Clip vdo จากคุณกุ๊ก (The Kob 71) ตามมาอีกนะคะ เป็นคลิปสัมภาษณ์ผู้บริหาร Singer และ สมาชิกที่ร่วมไปกิจกรรมครั้งนี้ค่ะ
เรื่องสำคัญค่ะ
ยังมี Clip vdo จากคุณกุ๊ก (The Kob 71) ตามมาอีกนะคะ เป็นคลิปสัมภาษณ์ผู้บริหาร Singer และ สมาชิกที่ร่วมไปกิจกรรมครั้งนี้ค่ะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สรุป company visit SINGER 12/7/55
โพสต์ที่ 21
อีก 2,270 ล้านบาท ก็จะถึงเป้าหมายแล้วครับbirthboro เขียน:สะดุดตากว่าด้วยเป้าหมาย ในปีนี้ครับ
ขอบคุณครับ
- 1154
- Verified User
- โพสต์: 894
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สรุป company visit SINGER 12/7/55
โพสต์ที่ 23
ขอบคุณครับ -/\-
-
- Verified User
- โพสต์: 315
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สรุป company visit SINGER 12/7/55
โพสต์ที่ 24
ขอบคุณทุกท่านด้วยครับ
-----------------------------------------
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สรุป company visit SINGER 12/7/55
โพสต์ที่ 26
ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
คุณบุญยงเริ่มนำเสนอข้อมูลของบริษัท ด้วยข่าวดี คือ SINGER ได้รับคัดเลือก จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น 1 ใน 2 บริษัทเอกชนที่จะเป็นกรณีศึกษาสำหรับนิสิตปริญญาโท
จากนั้นก็เล่าเรื่องในอดีตที่ไม่ค่อยได้เล่ามาก่อน
SINGER (thailand) ในอดีตนั้น ค่อนข้างมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล เนื่องจาก เคยดำเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้า ชื่อร้าน SINGER PLUS (คล้าย Powey Buy) เคยทำธุรกิจคล้าย SB Furniture ชื่อร้าน SINGER Furniture ขายโทรศัพท์มือถือ
ซึ่ง SINGER จากต่างประเทศก็มักจะมาดูงานที่ SINGER (Thailand) แล้วกลับไปพัฒนาจนประสบความสำเร็จ ในขณะที่ในไทยกลับล้มเหลว เช่น
ที่ศรีลังกา ดำเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ ยี่ห้อไหนจะมาขายในศรีลังกาต้องมาขายผ่านร้านซิงเกอร์ คุณบุญยงวิเคราะห์ว่า อาจเป็นเพราะที่ศรีลังกามีศูนย์การค้าห้างสรรพสินค้ารายใหญ่น้อยมาก ไม่มีห้างต่างชาติ การแข่งขันน้อยมาก
ที่มาเลเซีย หลังจากดูงานขายจักรยานยนต์ในไทย ก็กลับไปพัฒนาธรุกิจจนประสบความสำเร็จในธุกริจเช่าซื้อจักรยานยนต์ คุณบุญยงก็วิเคราะห์ให้ฟังว่า ที่มาเลเซีย ระบบเครดิตบูโรเข้มมาก ประชาชนเลยกลัวที่จะผิดนัด
ขณะที่ไทยนั้นประสบความล้มเหลวมาจากหลายปัจจัย การจำหน่ายจักรยานยนต์ยี่ห้อดังๆในต่างจังหวัดนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากแต่ละพื้นที่จะมีคนได้สัมปทานอยู่เดิมก่อนแล้ว SINGER เลยต้องไปขายยี่ห้อ TIGER ซึ่งคุณภาพและชื่อเสียงสู้ไม่ได้ การอนุมัติก็หละหลวม เมื่อมีปัญหา สภาพจักรยานยนต์ที่ยึดคืนก็แย่ และมีปัญหามาก เพราะยึดคืนเป็นหมื่นๆคัน จนหาที่เก็บลำบาก จนต้องไปเช่าโรงภาพยนต์ สวนยาง เป็นที่เก็บ ทำให้สภาพยิ่งแย่ลง และการจำหน่ายออกก็ต้องใช้การประมูลเพื่อความรวดเร็ว ทำให้ราคาลดต่าลงอีก
ตอนนี้บริษัทมีนโยบาย ทุกวันพุธ ให้พนักงานบริษัทไปช่วยล้างคอยย์ร้อนให้แก่ลูกค้าตู้แช่ เพื่อเน้นการบริการที่ประทับใจ เพราะตู้แช่ส่วนใหญ่จะไม่เคยล้าง ทำให้กินไฟสูง เมื่อมีการล้างแล้วค่าไฟจะลดลงมาก ทำให้ลูกค้าประทับใจค่อนข้างมาก ซึ่งก็นำมาซึ่งยอดขายสินค้าต่อไป
ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้พนักงานขายแข่งขันยอดขายกัน สาขาไหนทำรายได้ถึงเป้าหมายก็จะถูกปรับระดับร้านสาขาเป็น Platinum VIP มีสิทธิประโยชน์มากขึ้น เช่น พิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้เอง
ปัจจัยที่ทำให้สินค้าเชิงพาณิชย์ของ SINGER ประสบความสำเร็จ
1. เข้าถูกกลุ่ม ร้านค้าตามหมู่บ้านในชนบท มีกำลังซื้อ ใช้จ่ายเงินสด มีรายได้สม่ำเสมอไม่พึงพาธรรมชาติ
2. เข้าถูกตลาด สินค้าของ SINGER มีคู่แข่งน้อยราย ไม่ว่าจะเป็น ตู้แช่ ตู้เติมเงินมือถือ ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ในขณะที่ความต้องการสินค้ายังมีอยู่มาก
จากหมู่บ้านทั้งหมด 80,000 หมู่บ้าน ปัจจุบันเราเข้าถึงเพียง 20,000 หมู่บ้าน เนื่องจากพนักงานขายมักจะขายในพื้นที่เดิมๆ ลูกค้ารายเดิมๆ จึงมีการกระตุ้นการขาย เน้นไปขายพื้นที่ใหม่ๆ
ธุรกิจตู้หยอดเหรียญทั้ง 3 ประเภท คือ ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ตู้เติมเงินมือถือ และตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ บริษัทมีความตั้งใจจะหารายได้ที่ยั่งยืนและต่อเนื่องจากการ Service ด้านต่างๆ เช่น
ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ก็อาจจะมีการให้บริการเปลี่ยนไส้กรอง
ตู้เติมเงินมือถือ ก็อย่างที่เรารู้กัน เรื่องโครงการที่คุณ Horse Vision ช่วยนำเสนอให้บริษัท คาดว่าปีหน้าเราจะได้เห็นความชัดเจนครับ เราคงเริ่มจากตู้เติมเงินของ SINGER ก่อน แต่เราสามารถให้บริการแก่ตู้เติมเงินมือถือของบริษัทอื่นๆได้ทั้งหมด (เว้นตู้บุญเติม) ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีตู้ของ ADT (ผู้ผลิตตู้ให้เรา และมีการขายเองด้วย) มาร่วมโครงการด้วย ในอนาคตคุณบุญยงคาดว่าตู้เติมเงินมือจะเหลืออยู่ 4 ยี่ห้อ ปัจจุบันมีเงินเติมผ่านตู้ของ SINGER เดือนละ 500 ถึง 600 ล้านบาท จากจำนวนตู้ 30,000 ตู้
ยอดบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระ ณ.สิ้นเดือน มิ.ย. 55 จำนวน 158,132 บัญชี
การตั้งบริษัท SINGER Leasing ปัจจัยหลัก เพื่อแยกกิจกรรม การขาย และ การให้สินเชื่อ ออกจากกัน เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร เริ่มแรกจะยังคงทำเหมือนเดิมคือเฉพาะสินค้าของ SINGER เท่านั้น แต่เมื่อพร้อมอาจจะขยายไปยังสินค้าอื่นๆได้สะดวก เพราะเป็นบริษัทย่อย
มีความตั้งใจจะแยกเป็นบริษัทๆ กิจกรรมขายก็เป็น SINGER กิจกรรมการพิจารณาสินเชื่อก็เป็น SINGER Leasing กิจกรรมการบริการหลังการขายก็เป็น SINGER Service
ปีหน้าจะเปลี่ยนรถเดินตลาดเป็นยี่ห้อ SUZUKI เพราะไม่มีซุ้มล้อ ทำให้บรรทุกสินค้าได้เต็มที่ และจะติดตั้งแก๊ซ LPG แทนน้ำมัน ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนน้ำมันจาก 500 บาทใช้เพียง 1 วัน เป็น 4 วัน
บริษัทจะเริ่มทำตลาด เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ซึ่งเราจะขายและติดตั้งพร้อมกล่องหยอดเหรียญ ซึ่งต่างจากรายอื่นที่ขายแยกกัน ทำให้มีปัญหาเรื่องการซ่อม ผมก็แนะนำเรื่องการให้บริการล้างเครื่องซักผ้าคล้ายกับการล้างคอยย์ร้อน
งบการเงินจะประกาศช่วงค่ำๆในวันที่ 10 ส.ค. ครับ
คุณบุญยงเริ่มนำเสนอข้อมูลของบริษัท ด้วยข่าวดี คือ SINGER ได้รับคัดเลือก จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น 1 ใน 2 บริษัทเอกชนที่จะเป็นกรณีศึกษาสำหรับนิสิตปริญญาโท
จากนั้นก็เล่าเรื่องในอดีตที่ไม่ค่อยได้เล่ามาก่อน
SINGER (thailand) ในอดีตนั้น ค่อนข้างมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล เนื่องจาก เคยดำเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้า ชื่อร้าน SINGER PLUS (คล้าย Powey Buy) เคยทำธุรกิจคล้าย SB Furniture ชื่อร้าน SINGER Furniture ขายโทรศัพท์มือถือ
ซึ่ง SINGER จากต่างประเทศก็มักจะมาดูงานที่ SINGER (Thailand) แล้วกลับไปพัฒนาจนประสบความสำเร็จ ในขณะที่ในไทยกลับล้มเหลว เช่น
ที่ศรีลังกา ดำเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ ยี่ห้อไหนจะมาขายในศรีลังกาต้องมาขายผ่านร้านซิงเกอร์ คุณบุญยงวิเคราะห์ว่า อาจเป็นเพราะที่ศรีลังกามีศูนย์การค้าห้างสรรพสินค้ารายใหญ่น้อยมาก ไม่มีห้างต่างชาติ การแข่งขันน้อยมาก
ที่มาเลเซีย หลังจากดูงานขายจักรยานยนต์ในไทย ก็กลับไปพัฒนาธรุกิจจนประสบความสำเร็จในธุกริจเช่าซื้อจักรยานยนต์ คุณบุญยงก็วิเคราะห์ให้ฟังว่า ที่มาเลเซีย ระบบเครดิตบูโรเข้มมาก ประชาชนเลยกลัวที่จะผิดนัด
ขณะที่ไทยนั้นประสบความล้มเหลวมาจากหลายปัจจัย การจำหน่ายจักรยานยนต์ยี่ห้อดังๆในต่างจังหวัดนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากแต่ละพื้นที่จะมีคนได้สัมปทานอยู่เดิมก่อนแล้ว SINGER เลยต้องไปขายยี่ห้อ TIGER ซึ่งคุณภาพและชื่อเสียงสู้ไม่ได้ การอนุมัติก็หละหลวม เมื่อมีปัญหา สภาพจักรยานยนต์ที่ยึดคืนก็แย่ และมีปัญหามาก เพราะยึดคืนเป็นหมื่นๆคัน จนหาที่เก็บลำบาก จนต้องไปเช่าโรงภาพยนต์ สวนยาง เป็นที่เก็บ ทำให้สภาพยิ่งแย่ลง และการจำหน่ายออกก็ต้องใช้การประมูลเพื่อความรวดเร็ว ทำให้ราคาลดต่าลงอีก
ตอนนี้บริษัทมีนโยบาย ทุกวันพุธ ให้พนักงานบริษัทไปช่วยล้างคอยย์ร้อนให้แก่ลูกค้าตู้แช่ เพื่อเน้นการบริการที่ประทับใจ เพราะตู้แช่ส่วนใหญ่จะไม่เคยล้าง ทำให้กินไฟสูง เมื่อมีการล้างแล้วค่าไฟจะลดลงมาก ทำให้ลูกค้าประทับใจค่อนข้างมาก ซึ่งก็นำมาซึ่งยอดขายสินค้าต่อไป
ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้พนักงานขายแข่งขันยอดขายกัน สาขาไหนทำรายได้ถึงเป้าหมายก็จะถูกปรับระดับร้านสาขาเป็น Platinum VIP มีสิทธิประโยชน์มากขึ้น เช่น พิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้เอง
ปัจจัยที่ทำให้สินค้าเชิงพาณิชย์ของ SINGER ประสบความสำเร็จ
1. เข้าถูกกลุ่ม ร้านค้าตามหมู่บ้านในชนบท มีกำลังซื้อ ใช้จ่ายเงินสด มีรายได้สม่ำเสมอไม่พึงพาธรรมชาติ
2. เข้าถูกตลาด สินค้าของ SINGER มีคู่แข่งน้อยราย ไม่ว่าจะเป็น ตู้แช่ ตู้เติมเงินมือถือ ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ในขณะที่ความต้องการสินค้ายังมีอยู่มาก
จากหมู่บ้านทั้งหมด 80,000 หมู่บ้าน ปัจจุบันเราเข้าถึงเพียง 20,000 หมู่บ้าน เนื่องจากพนักงานขายมักจะขายในพื้นที่เดิมๆ ลูกค้ารายเดิมๆ จึงมีการกระตุ้นการขาย เน้นไปขายพื้นที่ใหม่ๆ
ธุรกิจตู้หยอดเหรียญทั้ง 3 ประเภท คือ ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ตู้เติมเงินมือถือ และตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ บริษัทมีความตั้งใจจะหารายได้ที่ยั่งยืนและต่อเนื่องจากการ Service ด้านต่างๆ เช่น
ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ก็อาจจะมีการให้บริการเปลี่ยนไส้กรอง
ตู้เติมเงินมือถือ ก็อย่างที่เรารู้กัน เรื่องโครงการที่คุณ Horse Vision ช่วยนำเสนอให้บริษัท คาดว่าปีหน้าเราจะได้เห็นความชัดเจนครับ เราคงเริ่มจากตู้เติมเงินของ SINGER ก่อน แต่เราสามารถให้บริการแก่ตู้เติมเงินมือถือของบริษัทอื่นๆได้ทั้งหมด (เว้นตู้บุญเติม) ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีตู้ของ ADT (ผู้ผลิตตู้ให้เรา และมีการขายเองด้วย) มาร่วมโครงการด้วย ในอนาคตคุณบุญยงคาดว่าตู้เติมเงินมือจะเหลืออยู่ 4 ยี่ห้อ ปัจจุบันมีเงินเติมผ่านตู้ของ SINGER เดือนละ 500 ถึง 600 ล้านบาท จากจำนวนตู้ 30,000 ตู้
ยอดบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระ ณ.สิ้นเดือน มิ.ย. 55 จำนวน 158,132 บัญชี
การตั้งบริษัท SINGER Leasing ปัจจัยหลัก เพื่อแยกกิจกรรม การขาย และ การให้สินเชื่อ ออกจากกัน เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร เริ่มแรกจะยังคงทำเหมือนเดิมคือเฉพาะสินค้าของ SINGER เท่านั้น แต่เมื่อพร้อมอาจจะขยายไปยังสินค้าอื่นๆได้สะดวก เพราะเป็นบริษัทย่อย
มีความตั้งใจจะแยกเป็นบริษัทๆ กิจกรรมขายก็เป็น SINGER กิจกรรมการพิจารณาสินเชื่อก็เป็น SINGER Leasing กิจกรรมการบริการหลังการขายก็เป็น SINGER Service
ปีหน้าจะเปลี่ยนรถเดินตลาดเป็นยี่ห้อ SUZUKI เพราะไม่มีซุ้มล้อ ทำให้บรรทุกสินค้าได้เต็มที่ และจะติดตั้งแก๊ซ LPG แทนน้ำมัน ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนน้ำมันจาก 500 บาทใช้เพียง 1 วัน เป็น 4 วัน
บริษัทจะเริ่มทำตลาด เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ซึ่งเราจะขายและติดตั้งพร้อมกล่องหยอดเหรียญ ซึ่งต่างจากรายอื่นที่ขายแยกกัน ทำให้มีปัญหาเรื่องการซ่อม ผมก็แนะนำเรื่องการให้บริการล้างเครื่องซักผ้าคล้ายกับการล้างคอยย์ร้อน
งบการเงินจะประกาศช่วงค่ำๆในวันที่ 10 ส.ค. ครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- HorseVision
- Verified User
- โพสต์: 513
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สรุป company visit SINGER 12/7/55
โพสต์ที่ 27
ขอบคุณพี่ฉัตรชัย เช่นกันครับ ที่สรุปเพิ่มเติมให้ ได้ข้อมูลดีๆ เพ่ิมเยอะเลยครับ
Facts are better than opinions