บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
-
little wing
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
จุดวัดใจ หุ้นไอพีโอ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ในชีวิตประจำวันเราประสบกับช่วงที่เรียกว่า “จุดวัดใจ” บ่อยครั้ง เวลาขับหรือโดยสารรถยนต์ จุดวัดใจนั้นได้แก่ สี่แยกไม่มีสัญญาณไฟจราจร จุดกลับรถ การแซงในช่วงขับขัน การรับลูกโทษของการแข่งขันฟุตบอล ผู้รักษาประตูต้องวัดใจนักเตะเพื่อตัดสินใจว่าจะพุ่งไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง หรือเพียงรักษาพื้นที่ตรงกลางไว้ การเล่นไพ่เป็นการวัดใจระหว่างเจ้ามือกับผู้เล่นหรือระหว่างผู้เล่นด้วยกัน การซื้อขายหุ้นทางเทคนิคมีจุดวัดใจที่ต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งบริเวณแนวรับแนวต้าน จะเห็นว่าจุดวัดใจคือ จุดเวลาที่เหตุการณ์หนึ่งจะเปลี่ยนแปลงและส่งผลอย่างหนึ่งอย่างใดโดยไม่อาจคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
การกระจายหุ้นเพื่อเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ครั้งแรกเรียกว่า ไอพีโอ (Initial Public Offering) และเรียกหุ้นนั้นว่า หุ้นไอพีโอ ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมานี้ มีหุ้นไอพีโอเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้แก่ หุ้นปัญจวัฒนาพลาสติก(PJW) ซื้อขายวันแรกเมื่อ 28 ก.พ. 55 ปิดที่ 4.24 บาท สูงกว่าราคาจอง 3.60 บาทถึง 18% ปัจจุบันซื้อขายที่ 3.80 บาทสูงกว่าเพียง 5% หุ้นบริษัทศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ (VIH) เข้าซื้อขายเมื่อ 9 พ.ค. 55 โดยปิดที่ราคา 3.04 บาทสูงกว่าราคาจอง 1.75 บาทถึง 73% เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 5.10 บาท ราคาปัจจุบันคือ 3.36 บาทยังสูงกว่าจองถึง 92% ทีเดียว หุ้นขนาดใหญ่ที่มีความต้องการจองซื้อสูงกว่า 11 เท่าของปริมาณจัดสรรคือ บริษัทเอเชีย เอวิชั่น (AAV) ซื้อขายวันแรก 31 พ.ค.55 และปิดเท่าราคาจองที่ 3.70 บาท ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 3.14 บาทหรือต่ำจองกว่า 15% ในยุคโลกาภิวัฒน์และกระแสความนิยมสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊คเป็นหุ้นไอพีโอที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมาก แม้ราคาขึ้นไปถึง 45 เหรียญสหรัฐในช่วงเปิดการซื้อขายเทียบกับราคาจองที่ 38 เหรียญ แต่ปัจจุบันราคากลับตกลงอย่างมากที่ 27.10 เหรียญ จะเห็นได้ว่า หุ้นไอพีโอสร้างทั้งความสมหวังและความผิดหวังให้กับผู้จองซื้อหุ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
หากพิจารณารายละเอียดถึงกระบวนการไอพีโอหุ้น เราจะพบจุดวัดใจอยู่หลายแห่ง จุดแรกคือการเลือกบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทจดทะเบียนต้องการบริษัทที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์เพื่อให้การไอพีโอประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และต้องตอบสนองเพื่อประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องของบริษัท ส่วนบริษัทที่ปรึกษานั้นนอกเหนือจากรายได้ค่าบริการ ยังมีแรงจูงใจอื่นคือ สิทธิในการจัดสรรหุ้นซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการตอบแทนผู้มีอุปการคุณ จุดวัดใจนี้เปรียบเสมือนการตกลงแต่งงานโดยที่ทั้งสองฝ่ายอาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน แต่ต้องทำงานร่วมกันในการจัดสรรผลประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม
จุดที่สองคือ การกำหนดราคาเสนอขาย โดยทั่วไปบริษัทที่ปรึกษาต้องให้ส่วนลดทางราคาเทียบกับมูลค่าที่ประเมินเพื่อจูงใจและแลกกับความเสี่ยงของผู้จองซื้อ ราคาสูงหรือต่ำกว่าที่ควรให้คุณหรือโทษกับผู้เกี่ยวข้อง กรณีที่ต้องการตอบแทนผู้เกี่ยวข้องในรูปส่วนต่างราคามาก ราคาเสนอขายอาจจะที่ต่ำเกินจริง ส่งผลให้ผู้จองซื้อได้กำไรแต่บริษัทเสียโอกาสที่จะนำเงินส่วนหนึ่งมาใช้ในกิจการ กรณีที่ผู้บริหารนำหุ้นที่ตนถือครองมาจำหน่ายพร้อมกับการทำไอพีโอ อาจเพิ่มแรงจูงใจที่ทำให้ราคาเสนอขายสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทและผู้บริหารได้รับเงินมากขึ้นแต่ผู้จองซื้อหุ้นจะขาดทุน ในระหว่างการทำไอพีโอนั้น สภาวะตลาด ความถูกแพงของหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ความต้องการซื้อที่มากบิดเบือนจากความจริง ต่างก็มีผลต่อการกำหนดราคาเสนอขาย นี่ก็คือจุดวัดใจที่สำคัญที่ผู้จองซื้อหุ้นไม่รู้ได้เลยว่าแรงจูงใจแต่ละอย่างมีมากหรือน้อยและมีผลต่อการกำหนดราคาอย่างไร
จุดวัดใจที่มีผลมากที่สุดต่อราคาซื้อขายวันแรกคือ วันและช่วงเวลา แม้การประเมินมูลค่าเพื่อกำหนดราคาพร้อมส่วนลดในช่วงไอพีโอนั้นอาจเหมาะสมในช่วงเวลาดังกล่าว แต่เมื่อเวลาผ่านไป สภาวะตลาด ความเชื่อมั่น มุมมองและอารมณ์ที่แตกต่างกัน จะส่งผลให้ราคาซื้อขายวันแรกอาจจะดีหรือแย่กว่าที่คาดไว้ การที่เราไม่สามารถคาดการณ์ปัจจัยต่างๆ ในวันแรกของการซื้อขาย นั้นถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างมากสำหรับการจองซื้อหุ้นไอพีโอ นี่คือจุดวัดใจที่สำคัญเพราะผู้จองซื้อหุ้นไม่ได้กำหนดวันซื้อขายหรือคาดการณ์สภาวะตลาดล่วงหน้าได้ แตกต่างจากการซื้อหุ้นในตลาดที่มีข้อมูลพร้อมมากกว่าอย่างสิ้นเชิง
หากไม่นับเรื่องคุณภาพของกิจการแล้ว เป็นการยากที่จะสรุปว่า ราคาซื้อขายวันแรกของหุ้นไอพีโอจะสูงหรือต่ำกว่าราคาเสนอขายด้วยปัจจัยและแรงจูงใจต่างๆ ดังนั้น หากได้รับการจัดสรร คำแนะนำของผมคือ ต้องศึกษารายละเอียดตามหนังสือชี้ชวนอย่างดี ยิ่งได้รับจัดสรรในปริมาณที่มีนัยสำคัญ ยิ่งต้องศึกษาเป็นพิเศษทั้งด้านคุณภาพและราคาเช่นเดียวกับการซื้อเพื่อลงทุนในระยะยาวทั่วไป ต้องนึกไว้เสมอว่า หุ้นไอพีโอนั้นไม่มีประวัติและผลงานที่เปิดเผยมากนัก การเสนอขายส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีของกิจการ และต้องไม่ลืมว่า การทำไอพีโอนั้นเป็นโอกาสครั้งสำคัญในการลดสัดส่วนถือครองของผู้ถือหุ้นเดิมหรือผู้บริหาร หากมองโลกในแง่ร้ายสุดๆ นี่คือการเริ่มต้นของกระบวนการ Exit Strategy อย่างหนึ่ง
ในฐานะ Value Investor เราต้อง คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ถึงแรงจูงใจต่างๆ นอกจาการประเมินมูลค่าด้วยวิธีต่างๆ ก่อนตัดสินใจจองซื้อหุ้น บ่อยครั้งหุ้นไอพีโอคุณภาพดี ราคาเหมาะสม เรามักจะไม่ได้รับการจัดสรร เราไม่จำเป็นต้องเสียใจเพราะอาจจะไม่ใช่การเสียโอกาสได้กำไรส่วนต่างเสมอไป ดังที่หลายคนเปรียบเปรยว่า IPO ย่อมาจาก It’s Probably Overpriced หรือราคาสูงเกินจริงแล้ว การจองซื้อหุ้นที่ได้รับจัดสรรโดยไม่ได้ศึกษาหรือไตร่ตรองให้ดี หลายคนอาจมองว่าเป็นการซื้อแบบขำๆ แต่หลายครั้งก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นการขำไม่ออก ได้เช่นกัน !!
[/size]
-
humdrum
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
ผมลองใช้ code กับบทความของพี่ธันวา ผลออกมาอย่างที่แสดงครับ คำสั่ง code มันแยกเส้นเชื่อมต่อระหว่างตัวอักษร ทำให้แต่ละตัวแยกออกจากกัน ด้วยวิธีนี้ ตัวอักษรหนาขึ้น เด่นขึ้น ทำให้ปรากฏชัดบนหน้าจอ คำสั่ง Code จัดเรียงให้ตัวอักษรสม่ำเสมอ ความสม่ำเสมอของตัวอักษรนำสายตาของเราไปตามบรรทัดโดยอัตโนมัติ ช่วยทำให้อ่านง่ายขึ้น มีสมาธิมากขึ้น และในที่สุดคนอ่านก็ไม่อ่อนล้า โดยสรุปเป็นตัวหนังสือที่สวยงามและดึงดูดสายตาได้ดีกว่า มันไม่เพียงจูงให้น่าอ่านเท่านั้น มันทำให้คน "อ่านได้ " ลองดูนะครับ มันน่าอ่านกว่า เหมือนอ่านบทกวี มันมีสุนทรียภาพมากกว่า ทั้งที่เป้นบทความเดียวกันครับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
จุดวัดใจ หุ้นไอพีโอ/ธันวา เลาหศิริวงศ์
ในชีวิตประจำวันเราประสบกับช่วงที่เรียกว่า “จุดวัดใจ” บ่อยครั้ง
เวลาขับหรือโดยสารรถยนต์ จุดวัดใจนั้นได้แก่ สี่แยกไม่มีสัญญาณไฟจราจร จุดกลับรถ การแซงในช่วงขับขัน การรับลูกโทษของการแข่งขันฟุตบอล ผู้รักษาประตูต้องวัดใจนักเตะเพื่อตัดสินใจว่าจะพุ่งไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง หรือเพียงรักษาพื้นที่ตรงกลางไว้ การเล่นไพ่เป็นการวัดใจระหว่างเจ้ามือกับผู้เล่นหรือระหว่างผู้เล่นด้วยกัน การซื้อขายหุ้นทางเทคนิคมีจุดวัดใจที่ต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งบริเวณแนวรับแนวต้าน จะเห็นว่าจุดวัดใจคือ จุดเวลาที่เหตุการณ์หนึ่งจะเปลี่ยนแปลงและส่งผลอย่างหนึ่งอย่างใดโดยไม่อาจคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
การกระจายหุ้นเพื่อเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ครั้งแรกเรียกว่า ไอพีโอ (Initial Public Offering) และเรียกหุ้นนั้นว่า หุ้นไอพีโอ ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมานี้ มีหุ้นไอพีโอเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้แก่
หุ้นปัญจวัฒนาพลาสติก(PJW) ซื้อขายวันแรกเมื่อ 28 ก.พ. 55 ปิดที่ 4.24 บาท สูงกว่าราคาจอง 3.60 บาทถึง 18% ปัจจุบันซื้อขายที่ 3.80 บาทสูงกว่าเพียง 5%
หุ้นบริษัทศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ (VIH) เข้าซื้อขายเมื่อ 9 พ.ค. 55 โดยปิดที่ราคา 3.04 บาทสูงกว่าราคาจอง 1.75 บาทถึง 73% เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 5.10 บาท ราคาปัจจุบันคือ 3.36 บาทยังสูงกว่าจองถึง 92% ทีเดียว
หุ้นขนาดใหญ่ที่มีความต้องการจองซื้อสูงกว่า 11 เท่าของปริมาณจัดสรรคือ บริษัทเอเชีย เอวิชั่น (AAV) ซื้อขายวันแรก 31 พ.ค.55 และปิดเท่าราคาจองที่ 3.70 บาท ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 3.14 บาทหรือต่ำจองกว่า 15%
ในยุคโลกาภิวัฒน์และกระแสความนิยมสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊คเป็นหุ้นไอพีโอที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมาก แม้ราคาขึ้นไปถึง 45 เหรียญสหรัฐในช่วงเปิดการซื้อขายเทียบกับราคาจองที่ 38 เหรียญ แต่ปัจจุบันราคากลับตกลงอย่างมากที่ 27.10 เหรียญ จะเห็นได้ว่า หุ้นไอพีโอสร้างทั้งความสมหวังและความผิดหวังให้กับผู้จองซื้อหุ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
หากพิจารณารายละเอียดถึงกระบวนการไอพีโอหุ้น เราจะพบจุดวัดใจอยู่หลายแห่ง
จุดแรกคือการเลือกบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทจดทะเบียนต้องการบริษัทที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์เพื่อให้การไอพีโอประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และต้องตอบสนองเพื่อประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องของบริษัท ส่วนบริษัทที่ปรึกษานั้นนอกเหนือจากรายได้ค่าบริการ ยังมีแรงจูงใจอื่นคือ สิทธิในการจัดสรรหุ้นซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการตอบแทนผู้มีอุปการคุณ จุดวัดใจนี้เปรียบเสมือนการตกลงแต่งงานโดยที่ทั้งสองฝ่ายอาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน แต่ต้องทำงานร่วมกันในการจัดสรรผลประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม
จุดที่สองคือ การกำหนดราคาเสนอขาย โดยทั่วไปบริษัทที่ปรึกษาต้องให้ส่วนลดทางราคาเทียบกับมูลค่าที่ประเมินเพื่อจูงใจและแลกกับความเสี่ยงของผู้จองซื้อ ราคาสูงหรือต่ำกว่าที่ควรให้คุณหรือโทษกับผู้เกี่ยวข้อง กรณีที่ต้องการตอบแทนผู้เกี่ยวข้องในรูปส่วนต่างราคามาก ราคาเสนอขายอาจจะที่ต่ำเกินจริง ส่งผลให้ผู้จองซื้อได้กำไรแต่บริษัทเสียโอกาสที่จะนำเงินส่วนหนึ่งมาใช้ในกิจการ กรณีที่ผู้บริหารนำหุ้นที่ตนถือครองมาจำหน่ายพร้อมกับการทำไอพีโอ อาจเพิ่มแรงจูงใจที่ทำให้ราคาเสนอขายสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทและผู้บริหารได้รับเงินมากขึ้นแต่ผู้จองซื้อหุ้นจะขาดทุน ในระหว่างการทำไอพีโอนั้น สภาวะตลาด ความถูกแพงของหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ความต้องการซื้อที่มากบิดเบือนจากความจริง ต่างก็มีผลต่อการกำหนดราคาเสนอขาย นี่ก็คือจุดวัดใจที่สำคัญที่ผู้จองซื้อหุ้นไม่รู้ได้เลยว่าแรงจูงใจแต่ละอย่างมีมากหรือน้อยและมีผลต่อการกำหนดราคาอย่างไร
จุดวัดใจที่มีผลมากที่สุดต่อราคาซื้อขายวันแรกคือ วันและช่วงเวลา
แม้การประเมินมูลค่าเพื่อกำหนดราคาพร้อมส่วนลดในช่วงไอพีโอนั้นอาจเหมาะสมในช่วงเวลาดังกล่าว แต่เมื่อเวลาผ่านไป สภาวะตลาด ความเชื่อมั่น มุมมองและอารมณ์ที่แตกต่างกัน จะส่งผลให้ราคาซื้อขายวันแรกอาจจะดีหรือแย่กว่าที่คาดไว้ การที่เราไม่สามารถคาดการณ์ปัจจัยต่างๆ ในวันแรกของการซื้อขาย นั้นถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างมากสำหรับการจองซื้อหุ้นไอพีโอ นี่คือจุดวัดใจที่สำคัญเพราะผู้จองซื้อหุ้นไม่ได้กำหนดวันซื้อขายหรือคาดการณ์สภาวะตลาดล่วงหน้าได้ แตกต่างจากการซื้อหุ้นในตลาดที่มีข้อมูลพร้อมมากกว่าอย่างสิ้นเชิง
หากไม่นับเรื่องคุณภาพของกิจการแล้ว เป็นการยากที่จะสรุปว่า ราคาซื้อขายวันแรกของหุ้นไอพีโอจะสูงหรือต่ำกว่าราคาเสนอขายด้วยปัจจัยและแรงจูงใจต่างๆ
ดังนั้น หากได้รับการจัดสรร คำแนะนำของผมคือ ต้องศึกษารายละเอียดตามหนังสือชี้ชวนอย่างดี ยิ่งได้รับจัดสรรในปริมาณที่มีนัยสำคัญ ยิ่งต้องศึกษาเป็นพิเศษทั้งด้านคุณภาพและราคาเช่นเดียวกับการซื้อเพื่อลงทุนในระยะยาวทั่วไป
ต้องนึกไว้เสมอว่า หุ้นไอพีโอนั้นไม่มีประวัติและผลงานที่เปิดเผยมากนัก การเสนอขายส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีของกิจการ และต้องไม่ลืมว่า การทำไอพีโอนั้นเป็นโอกาสครั้งสำคัญในการลดสัดส่วนถือครองของผู้ถือหุ้นเดิมหรือผู้บริหาร หากมองโลกในแง่ร้ายสุดๆ นี่คือการเริ่มต้นของกระบวนการ Exit Strategy อย่างหนึ่ง
ในฐานะ Value Investor เราต้อง คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ถึงแรงจูงใจต่างๆ นอกจาการประเมินมูลค่าด้วยวิธีต่างๆ ก่อนตัดสินใจจองซื้อหุ้น บ่อยครั้งหุ้นไอพีโอคุณภาพดี ราคาเหมาะสม เรามักจะไม่ได้รับการจัดสรร เราไม่จำเป็นต้องเสียใจเพราะอาจจะไม่ใช่การเสียโอกาสได้กำไรส่วนต่างเสมอไป
ดังที่หลายคนเปรียบเปรยว่า IPO ย่อมาจาก It’s Probably Overpriced หรือราคาสูงเกินจริงแล้ว การจองซื้อหุ้นที่ได้รับจัดสรรโดยไม่ได้ศึกษาหรือไตร่ตรองให้ดี หลายคนอาจมองว่าเป็นการซื้อแบบขำๆ แต่หลายครั้งก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นการขำไม่ออก ได้เช่นกัน !!
-
KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
little wing เขียน:
ในฐานะ Value Investor เราต้อง คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ถึงแรงจูงใจต่างๆ นอกจาการประเมินมูลค่าด้วยวิธีต่างๆ ก่อนตัดสินใจจองซื้อหุ้น บ่อยครั้งหุ้นไอพีโอคุณภาพดี ราคาเหมาะสม เรามักจะไม่ได้รับการจัดสรร เราไม่จำเป็นต้องเสียใจเพราะอาจจะไม่ใช่การเสียโอกาสได้กำไรส่วนต่างเสมอไป ดังที่หลายคนเปรียบเปรยว่า IPO ย่อมาจาก It’s Probably Overpriced หรือราคาสูงเกินจริงแล้ว การจองซื้อหุ้นที่ได้รับจัดสรรโดยไม่ได้ศึกษาหรือไตร่ตรองให้ดี หลายคนอาจมองว่าเป็นการซื้อแบบขำๆ แต่หลายครั้งก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นการขำไม่ออก ได้เช่นกัน !!
ผมเคยวัดใจกับหุ้น IPO มา 4 ตัวด้วยกัน ได้แก่ SYMC KBS PHOL CHOW
สามตัวแรก ทำให้ผมได้กำไร แต่ก็คงไม่เยอะเท่าไหร่ เพราะได้จำนวนหุ้นมาไม่มาก
และขายไปตั้งแต่ วัน สองวันแรก ซึ่งราคาก็ไม่ได้วิ่งแรงมากมาย
แต่ตัวสุดท้ายนี่ ทำให้ผมเจ็บแสบน่าดู ถึงกับขำไม่ออกแบบในบทความ เพราะได้หุ้นมาจำนวนมากพอสมควร
จนเงินในกระเป๋า ไม่พอซื้อ แต่จากการที่ไม่เคยขาดทุน ในหุ้น IPO เลยทำให้ชะล่าใจ ไปกู้มาซื้อจนได้ครบ
สุดท้าย ก็ได้ขำไม่ออกจริง ๆ เพราะขาดทุนทั้งราคาหุ้น และดอกเบี้ยเงินกู้ ถือว่าขาดทุนสองเด้งเลยทีเดียวเชียว
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
-
xavi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
ผมไม่เคยซื้อหุ้น IPO เลยครับ ส่วนใหญ่เล่นหุ้นตัวที่รู้จักมานาน เพราะทำให้เรามั่นใจได้มากกว่า
แต่เคยได้คุยกับ ผจก.กองทุน ได้ความมาว่าพวกหุ้น IPO นี่กองทุนจะได้มาเยอะ โดยส่วนใหญ่จะได้เป็นของ "สมนาคุณ" และในบางครั้งถือไว้เป็นหลักแค่ "วินาที" ด้วยซ้ำ และจะรีบขายมากๆหากได้ราคาดี เพราะคิดเป็นผลตอบแทนแล้วได้สูงมาก
พอฟังมาแบบนี้ส่วนตัวผมเลยไม่ค่อยชอบหุ้น IPO เท่าไร เพราะรู้สึกว่าการซื้อขายมันไม่ค่อยแฟร์ และเป็นเรื่องที่ "นายตลาด" เข้ามามีส่วนกับหุ้นมากๆ เลยคิดว่าถ้าหุ้นดีจริง เราซื้อช้าไปหน่อยก็ได้ ใช้เวลาศึกษากิจการ บริษัท หรือ ผู้บริหาร ให้ดี ถ้าเข้าตลาดแล้วข้อมูลข่าวสารน่าจะเยอะขึ้น งบต่างๆก็น่าจะปรับแต่งได้ยากขึ้น ยอมกำไรช้าหรือกำไรน้อยหน่อยก็ยังดีกว่า เหมือนกับการที่เราซื้อหุ้น PE สูง แต่เรามั่นใจกิจการในอนาคตนั่นเองครับ
-
somkiad999
- Verified User
- โพสต์: 249
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
[quote="KGYF"][quote="little wing"]
ในฐานะ Value Investor เราต้อง คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ถึงแรงจูงใจต่างๆ นอกจาการประเมินมูลค่าด้วยวิธีต่างๆ ก่อนตัดสินใจจองซื้อหุ้น บ่อยครั้งหุ้นไอพีโอคุณภาพดี ราคาเหมาะสม เรามักจะไม่ได้รับการจัดสรร เราไม่จำเป็นต้องเสียใจเพราะอาจจะไม่ใช่การเสียโอกาสได้กำไรส่วนต่างเสมอไป ดังที่หลายคนเปรียบเปรยว่า IPO ย่อมาจาก It’s Probably Overpriced หรือราคาสูงเกินจริงแล้ว การจองซื้อหุ้นที่ได้รับจัดสรรโดยไม่ได้ศึกษาหรือไตร่ตรองให้ดี หลายคนอาจมองว่าเป็นการซื้อแบบขำๆ แต่หลายครั้งก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นการขำไม่ออก ได้เช่นกัน !![/quote]
ผมเคยวัดใจกับหุ้น IPO มา 4 ตัวด้วยกัน ได้แก่ SYMC KBS PHOL CHOW
สามตัวแรก ทำให้ผมได้กำไร แต่ก็คงไม่เยอะเท่าไหร่ เพราะได้จำนวนหุ้นมาไม่มาก
และขายไปตั้งแต่ วัน สองวันแรก ซึ่งราคาก็ไม่ได้วิ่งแรงมากมาย
แต่ตัวสุดท้ายนี่ ทำให้ผมเจ็บแสบน่าดู ถึงกับขำไม่ออกแบบในบทความ เพราะได้หุ้นมาจำนวนมากพอสมควร
จนเงินในกระเป๋า ไม่พอซื้อ แต่จากการที่ไม่เคยขาดทุน ในหุ้น IPO เลยทำให้ชะล่าใจ ไปกู้มาซื้อจนได้ครบ
สุดท้าย ก็ได้ขำไม่ออกจริง ๆ เพราะขาดทุนทั้งราคาหุ้น และดอกเบี้ยเงินกู้ ถือว่าขาดทุนสองเด้งเลยทีเดียวเชียว
:wall: :wall: :wall:[/quote]
โดนตัวเดียวกันเลยครับท่าน C เหล็ก
-
good to great
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 379
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
กรณีที่ผู้บริหารนำหุ้นที่ตนถือครองมาจำหน่ายพร้อมกับการทำไอพีโอ อาจเพิ่มแรงจูงใจที่ทำให้ราคาเสนอขายสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทและผู้บริหารได้รับเงินมากขึ้นแต่ผู้จองซื้อหุ้นจะขาดทุน
อันนี้ขอท่านผู้รู้อธิบายหน่อยครับ เพราะเข้าใจว่าผู้บริหารมีกำหนดเวลาห้ามซื้อขาย และ มีผลทำให้ราคาสูงใด้ยังไงครับ ขอบคุณครับ