ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 211
NETHERLANDS:มูดี้ส์หั่นเครดิต 5 แบงก์ของเนเธอร์แลนด์หลังความเสี่ยงเพิ่ม
เนเธอร์แลนด์--15 มิ.ย.--รอยเตอร์
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ
ได้ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคาร 5 แห่งของเนเธอร์แลนด์ โดย
ธนาคาร 4 แห่งถูกปรับลดอันดับลง 2 ขั้น พร้อมทั้งเตือนว่า การออกจากยูโรของกรีซ
จะทำให้มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก ซึ่งจะทำให้มีการปรับลดอันดับความ
น่าเชื่อถือของสถาบันชั้นนำของยุโรปลงอีก
ทั้งนี้ มูดี้ส์ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 2 ขั้นสำหรับราโบแบงก์ เนเดอร์
แลนด์ลงสู่ Aa2, ไอเอ็นจีลงสู่ A2, เอบีเอ็น แอมโร แบงก์ลงสู่ A2 และลีซแพลน คอร์
ปอเรชั่นลงสู่ Baa2
ขณะเดียวกัน มูดี้ส์ได้ปรับลดอันดับความ่าเชื่อถือหุ้นกู้และเงินฝากระยะยาวของ
เอ็นเอ็นเอส แบงก์ลง 1 ขั้น สู่ระดับ Baa2 แต่คงอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นสำหรับ
ธนาคารทั้ง 5 แห่งนี้
มูดี้ส์ได้ให้แนวโน้มมีเสถียรภาพแก่อันดับความน่าเชื่อถือของธนาคาร 4 แห่ง
แต่คงแนวโน้มเชิงลบสำหรับธนาคารไอเอ็นจี แบงก์ ซึ่งหมายความว่า มูดี้ส์อาจปรับลด
อันดับความน่าเชื่อถือของไอเอ็นจีลงอีก
การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งนี้จะเพิ่มแรงกดดันให้ผู้นำยุโรปแก้ไข
วิกฤติหนี้ของภูมิภาค ขณะที่บททดสอบที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในสุดสัปดาห์นี้ เมื่อชาวกรีซ
ออกไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และมูดี้ส์ยังเตือนว่า ถ้ากรีซออกจากยูโร ก็อาจจะ
จำเป็นต้องทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารในยุโรปเพิ่มเติมด้วย
ข่าวดังกล่าวแทบไม่มีผลต่อตลาดการเงินในเอเชีย โดยยูโรปรับตัวแข็งแกร่ง
ที่ 1.2616 ดอลลาร์
"การดำเนินการดังกล่าวสะท้อนมุมมองของมูดี้ส์ที่ว่า ธนาคารเนเธอร์แลนด์จะ
เผชิญกับภาวะการดำเนินงานที่ยากลำบากตลอดทั้งปีนี้ และอาจจะในปีต่อๆไป" มูดี้ส์ระบุ
มูดี้ส์ระบุอีกว่า มีความเสี่ยงมากขึ้นสำหรับเจ้าหนี้ท่ามกลางความไม่แน่อนมาก
ขึ้น และความเสี่ยงช่วงขาลงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นที่เปราะบางของ
นักลงทุนในยุโรป--จบ--
เนเธอร์แลนด์--15 มิ.ย.--รอยเตอร์
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ
ได้ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคาร 5 แห่งของเนเธอร์แลนด์ โดย
ธนาคาร 4 แห่งถูกปรับลดอันดับลง 2 ขั้น พร้อมทั้งเตือนว่า การออกจากยูโรของกรีซ
จะทำให้มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก ซึ่งจะทำให้มีการปรับลดอันดับความ
น่าเชื่อถือของสถาบันชั้นนำของยุโรปลงอีก
ทั้งนี้ มูดี้ส์ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 2 ขั้นสำหรับราโบแบงก์ เนเดอร์
แลนด์ลงสู่ Aa2, ไอเอ็นจีลงสู่ A2, เอบีเอ็น แอมโร แบงก์ลงสู่ A2 และลีซแพลน คอร์
ปอเรชั่นลงสู่ Baa2
ขณะเดียวกัน มูดี้ส์ได้ปรับลดอันดับความ่าเชื่อถือหุ้นกู้และเงินฝากระยะยาวของ
เอ็นเอ็นเอส แบงก์ลง 1 ขั้น สู่ระดับ Baa2 แต่คงอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นสำหรับ
ธนาคารทั้ง 5 แห่งนี้
มูดี้ส์ได้ให้แนวโน้มมีเสถียรภาพแก่อันดับความน่าเชื่อถือของธนาคาร 4 แห่ง
แต่คงแนวโน้มเชิงลบสำหรับธนาคารไอเอ็นจี แบงก์ ซึ่งหมายความว่า มูดี้ส์อาจปรับลด
อันดับความน่าเชื่อถือของไอเอ็นจีลงอีก
การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งนี้จะเพิ่มแรงกดดันให้ผู้นำยุโรปแก้ไข
วิกฤติหนี้ของภูมิภาค ขณะที่บททดสอบที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในสุดสัปดาห์นี้ เมื่อชาวกรีซ
ออกไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และมูดี้ส์ยังเตือนว่า ถ้ากรีซออกจากยูโร ก็อาจจะ
จำเป็นต้องทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารในยุโรปเพิ่มเติมด้วย
ข่าวดังกล่าวแทบไม่มีผลต่อตลาดการเงินในเอเชีย โดยยูโรปรับตัวแข็งแกร่ง
ที่ 1.2616 ดอลลาร์
"การดำเนินการดังกล่าวสะท้อนมุมมองของมูดี้ส์ที่ว่า ธนาคารเนเธอร์แลนด์จะ
เผชิญกับภาวะการดำเนินงานที่ยากลำบากตลอดทั้งปีนี้ และอาจจะในปีต่อๆไป" มูดี้ส์ระบุ
มูดี้ส์ระบุอีกว่า มีความเสี่ยงมากขึ้นสำหรับเจ้าหนี้ท่ามกลางความไม่แน่อนมาก
ขึ้น และความเสี่ยงช่วงขาลงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นที่เปราะบางของ
นักลงทุนในยุโรป--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 212
> ENGLAND:BOE เล็งเริ่มปล่อยกู้ฉุกเฉินภาคธนาคารอังกฤษพุธหน้า
ลอนดอน--15 มิ.ย.--รอยเตอร์
ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศในวันนี้ว่า BOE จะเปิดปฏิบัติ
การอัดฉีดสภาพคล่องฉุกเฉินครั้งแรกสำหรับธนาคารพาณิชย์ในสัปดาห์หน้า โดย
เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นการไหลเวียนของสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจ
ในขณะที่วิกฤติหนี้ยูโรโซนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
BOE แถลงว่า BOE จะเปิดปฏิบัติการอัดฉีดสภาพคล่องฉุกเฉิน
หรือ Extended Collateral Term Repo Facility นี้อย่างน้อยหนึ่ง
ครั้งต่อเดือน จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงในอนาคต และจะเสนอปล่อยกู้
อย่างน้อย 5 พันล้านปอนด์ในปฏิบัติการแต่ละครั้ง
การเปิดประมูลสินเชื่อระยะ 6 เดือนรอบแรกจะมีขึ้นในวันพุธที่
20 มิ.ย. โดยจะมีการประกาศปริมาณสินเชื่อในวันที่ 19 มิ.ย.
BOE ระบุว่า BOE จะเสนอปล่อยกู้ในครั้งนี้โดยคิดอัตราดอกเบี้ยสูง
กว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดของธนาคารอังกฤษ 0.25% โดยขณะนี้อัตราดอกเบี้ย
ต่ำสุดอยู่ที่ 0.5%--จบ--
ลอนดอน--15 มิ.ย.--รอยเตอร์
ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศในวันนี้ว่า BOE จะเปิดปฏิบัติ
การอัดฉีดสภาพคล่องฉุกเฉินครั้งแรกสำหรับธนาคารพาณิชย์ในสัปดาห์หน้า โดย
เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นการไหลเวียนของสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจ
ในขณะที่วิกฤติหนี้ยูโรโซนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
BOE แถลงว่า BOE จะเปิดปฏิบัติการอัดฉีดสภาพคล่องฉุกเฉิน
หรือ Extended Collateral Term Repo Facility นี้อย่างน้อยหนึ่ง
ครั้งต่อเดือน จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงในอนาคต และจะเสนอปล่อยกู้
อย่างน้อย 5 พันล้านปอนด์ในปฏิบัติการแต่ละครั้ง
การเปิดประมูลสินเชื่อระยะ 6 เดือนรอบแรกจะมีขึ้นในวันพุธที่
20 มิ.ย. โดยจะมีการประกาศปริมาณสินเชื่อในวันที่ 19 มิ.ย.
BOE ระบุว่า BOE จะเสนอปล่อยกู้ในครั้งนี้โดยคิดอัตราดอกเบี้ยสูง
กว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดของธนาคารอังกฤษ 0.25% โดยขณะนี้อัตราดอกเบี้ย
ต่ำสุดอยู่ที่ 0.5%--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 213
EUROPE:หุ้น,ยูโรร่วงหลังศาลชี้การตั้งกองทุนเสถียรภาพยุโรปส่อขัดรัฐธรรมนูญ
ลอนดอน--19 มิ.ย.--รอยเตอร์
ยูโรร่วงลงแตะระดับต่ำสุดของวันเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่หุ้นยุโรป
อ่อนตัวลงในวันนี้ หลังจากศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีระบุว่า รัฐสภาไม่ได้รับข้อมุล
อย่างเพียงพอเกี่ยวกับรายละเอียดของกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM)
ทั้งนี้ ยูโร/ดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.1% มาที่ 1.25685 ในระบบซื้อขาย
EBS
ดัชนี FTSEurofirst 300 ปรับตัวลงหลังจากบวกขึ้นในช่วงแรก
โดยร่วงลงสู่แดนลบในช่วงสั้นๆ แตะระดับต่ำสุดของวันที่ 993.03 ก่อนที่จะฟื้นตัว
ขึ้นมาสู่ระดับ 995.58
เทรดเดอร์กล่าวว่า ความวิตกรอบใหม่เกี่ยวกับพันธะสัญญาของกรีซ
ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรการรัดเข็มขัด และข่าวที่ว่าการตรวจสอบบัญชี
ธนาคารสเปนรอบสองจะถูกเลื่อนออกไปจนถึงเดือนก.ย.นั้น เป็นปัจจัยถ่วง
ความเชื่อมั่นในตลาดด้วย--จบ--
ลอนดอน--19 มิ.ย.--รอยเตอร์
ยูโรร่วงลงแตะระดับต่ำสุดของวันเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่หุ้นยุโรป
อ่อนตัวลงในวันนี้ หลังจากศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีระบุว่า รัฐสภาไม่ได้รับข้อมุล
อย่างเพียงพอเกี่ยวกับรายละเอียดของกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM)
ทั้งนี้ ยูโร/ดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.1% มาที่ 1.25685 ในระบบซื้อขาย
EBS
ดัชนี FTSEurofirst 300 ปรับตัวลงหลังจากบวกขึ้นในช่วงแรก
โดยร่วงลงสู่แดนลบในช่วงสั้นๆ แตะระดับต่ำสุดของวันที่ 993.03 ก่อนที่จะฟื้นตัว
ขึ้นมาสู่ระดับ 995.58
เทรดเดอร์กล่าวว่า ความวิตกรอบใหม่เกี่ยวกับพันธะสัญญาของกรีซ
ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรการรัดเข็มขัด และข่าวที่ว่าการตรวจสอบบัญชี
ธนาคารสเปนรอบสองจะถูกเลื่อนออกไปจนถึงเดือนก.ย.นั้น เป็นปัจจัยถ่วง
ความเชื่อมั่นในตลาดด้วย--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 214
SPAIN:สเปนจ่อขอเงินกู้รอบ 2 หลังบอนด์ยิลด์พุ่งเข้าโซนอันตราย
มาดริด--20 มิ.ย.--รอยเตอร์
สเปนมีแนวโน้มที่จะเป็นประเทศยูโรโซนรายใหญ่ที่สุดที่จะถูกปิดกั้นจาก
ตลาดสินเชื่อ หลังจากที่สเปนต้องจ่ายอัตราผลตอบแทนที่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์
ในการประมูลตั๋วเงินคลังเมื่อวานนี้
ทั้งนี้ สเปน ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของยูโรโซน ต้องจ่าย
อัตราผลตอบแทน 5.07% ในการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 12 เดือน และ 5.11%
สำหรับตั๋วเงินคลังอายุ 18 เดือนเมื่อวานนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 2.00% จากการประมูล
ครั้งก่อนในเดือนพ.ค. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสเปนอยู่ที่ระดับ
สูงกว่า 7%
การประมูลดังกล่าวได้ตอกย้ำเสียงเรียกร้องของรัฐบาลสเปนสำหรับ
ความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารกลางยุโรป สองวันก่อนหน้าที่สเปนจะ
ประมูลพันธบัตรอายุ 3-5 ปี
ต้นทุนการกู้ยืมที่พุ่งขึ้นบ่งชี้ว่า ข้อตกลงของยูโรโซนในการปล่อยเงินกู้
ราว 1 แสนล้านยูโร (1.26 แสนล้านดอลลาร์) ให้กับภาคธนาคารของสเปนนั้น
ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาของสเปน หรือเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และบ่งชี้ว่า
สเปนอาจจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือมากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการคลัง
"ผลตอบแทนที่ระดับสูงทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านการคลัง
ของสเปน" นายริชาร์ด แมคไกวร์ นักวิเคราะห์ของราโบแบงก์กล่าว--จบ--
มาดริด--20 มิ.ย.--รอยเตอร์
สเปนมีแนวโน้มที่จะเป็นประเทศยูโรโซนรายใหญ่ที่สุดที่จะถูกปิดกั้นจาก
ตลาดสินเชื่อ หลังจากที่สเปนต้องจ่ายอัตราผลตอบแทนที่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์
ในการประมูลตั๋วเงินคลังเมื่อวานนี้
ทั้งนี้ สเปน ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของยูโรโซน ต้องจ่าย
อัตราผลตอบแทน 5.07% ในการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 12 เดือน และ 5.11%
สำหรับตั๋วเงินคลังอายุ 18 เดือนเมื่อวานนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 2.00% จากการประมูล
ครั้งก่อนในเดือนพ.ค. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสเปนอยู่ที่ระดับ
สูงกว่า 7%
การประมูลดังกล่าวได้ตอกย้ำเสียงเรียกร้องของรัฐบาลสเปนสำหรับ
ความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารกลางยุโรป สองวันก่อนหน้าที่สเปนจะ
ประมูลพันธบัตรอายุ 3-5 ปี
ต้นทุนการกู้ยืมที่พุ่งขึ้นบ่งชี้ว่า ข้อตกลงของยูโรโซนในการปล่อยเงินกู้
ราว 1 แสนล้านยูโร (1.26 แสนล้านดอลลาร์) ให้กับภาคธนาคารของสเปนนั้น
ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาของสเปน หรือเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และบ่งชี้ว่า
สเปนอาจจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือมากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการคลัง
"ผลตอบแทนที่ระดับสูงทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านการคลัง
ของสเปน" นายริชาร์ด แมคไกวร์ นักวิเคราะห์ของราโบแบงก์กล่าว--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 215
FED:จับตาเฟดขยาย Operation Twist พร้อมหั่นคาดการณ์จีดีพีสหรัฐคืนนี้
วอชิงตัน--20 มิ.ย.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจดำเนินมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจรอบใหม่ในวันนี้ ในขณะที่ปัญหาทางเศรษฐกิจทวีความรุนแรงขึ้นในหลายประเทศ
และมีสัญญาณบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ
เฟดจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงินเป็นเวลา 2 วัน โดยเริ่มจากเมื่อวานนี้
และจะสิ้นสุดในวันนี้ โดยเจ้าหน้าที่เฟดจะประกาศการตัดสินใจด้านนโยบายในวันนี้เวลา
23.30 น.ตามเวลาไทย และจะประกาศรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจ ณ เวลา 01.00 น.
ของคืนวันนี้ตามเวลาไทย ต่อด้วยการแถลงข่าวของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด
ณ เวลา 01.15 น.
มีแนวโน้มว่าเจ้าหน้าที่เฟดจะปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ หลังจากที่
เคยคาดการณ์ในเดือนเม.ย.ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจขยายตัว 2.4-2.9 % ในปีนี้
นักเศรษฐศาสตร์หลายรายคาดว่า เฟดจะต่ออายุให้แก่มาตรการ
Operation Twist หรือมาตรการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้นประเภทที่มี
อายุไม่เกิน 3 ปี และเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปในปริมาณ
เท่ากัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อกดดันอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ลดต่ำลง
Operation Twist จะช่วยปกป้องเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังคงอยู่ในสถานะ
เปราะบาง ในขณะที่แรงกดดันทางการเงินทวีความรุนแรงขึ้นในยุโรป, นายจ้าง
สหรัฐชะลอการจ้างงาน และรัฐบาลสหรัฐเผชิญกับปัญหาทางการคลังในช่วงสิ้นปีนี้
จากการที่มาตรการปรับลดงบประมาณรายจ่ายและปรับขึ้นภาษีจะเริ่มมีผลบังคับใช้
ในปีหน้า
นายเอริค กรีน จากบล.ทีดี กล่าวว่า "เฟดยังคงมีแนวโน้มสูงที่จะ
ผ่อนคลายนโยบายลงต่อไป"
นักลงทุนมองว่าการต่ออายุ Operation Twist ถือเป็นขั้นตอนที่ไม่
แข็งกร้าวมากเท่ากับการเข้าซื้อหลักทรัพย์ใหม่ เพราะ Operation Twist
ไม่ส่งผลให้งบดุลของเฟดมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่การเข้าซื้อหลักทรัพย์ใหม่จะส่งผล
ให้งบดุลของเฟดขยายออกไป
ทั้งนี้ การประชุมของเฟดในครั้งนี้ถือเป็นการประชุมเฟดครั้งสุดท้าย
ก่อนที่ Operation Twist จะหมดอายุลงในช่วงสิ้นเดือนนี้
ทางเลือกอีกทางหนึ่งที่เฟดสามารถกระทำได้คือการปรับเปลี่ยนสัญญา
ของเฟด โดยเฟดให้สัญญาในการประชุมเดือนเม.ย.ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย
ไว้ที่ระดับต่ำอย่างน้อยจนถึงปลายปี 2014 และเฟดอาจจะเลื่อนเวลาในสัญญา
ดังกล่าวให้นานยิ่งขึ้นไปอีก
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนระบุว่า การดำเนินมาตรการทางการเงิน
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อรับมือกับความเปลี่ยน
แปลงทางเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง
อย่างไรก็ดี นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ไม่ได้ส่งสัญญาณบ่งชี้
แต่อย่างใดว่าเฟดจะดำเนินนโยบายแบบใดในการแถลงต่อสภาคองเกรสในช่วง
ต้นเดือนนี้ โดยในขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไปต่อ
ประเด็นที่ว่า เฟดจะดำเนินมาตรการหรือไม่ในการประชุมวันนี้
นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.คาดว่า มีโอกาส
42.5 % ที่เฟดจะต่ออายุ Operation Twist
ถึงแม้ผลการเลือกตั้งกรีซในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับ
การแยกตัวออกจากยูโรโซน แต่วิกฤติหนี้ยูโรโซนก็ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจ
โลก โดยเมื่อวานนี้ รัฐบาลสเปนต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการ
ใช้เงินยูโรในการประมูลตั๋วเงินคลัง
นายโดนัลด์ คอห์น อดีตรองประธานคณะกรรมการผู้ว่าการเฟด กล่าวถึง
การเลือกตั้งในกรีซว่า "ผมไม่คิดว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะช่วยลดความกังวลของ
เจ้าหน้าที่เฟดลงได้มากนัก และเราก็พบว่าสถานการณ์ในยูโรโซนยังคงตึงเครียด
มากต่อไป"
ปัจจัยที่เจ้าหน้าที่เฟดจะพิจารณารวมถึงสถานการณ์ในยุโรป และหลักฐาน
จากภาคแรงงาน, ภาคการผลิต และภาคที่อยู่อาศัยในสหรัฐ โดยเจ้าหน้าที่เฟดกังวล
อีกด้วยว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอาจได้รับผลกระทบ ถ้าหากนักการเมือง
สหรัฐยังคงมีความขัดแย้งกัน
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐสิ้นสุดลงในปี 2009 แต่เศรษฐกิจสหรัฐ
ยังไม่สามารถฟื้นฟูการจ้างงานและความมั่งคั่งที่สูญหายไปในช่วงที่เกิดภาวะถดถอย
เฟดเป็นเพียงสถาบันเดียวที่สามารถกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ
ได้ในช่วงนี้ ในขณะที่สมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐมุ่งความสนใจไปที่การหาเสียงเลือกตั้ง
ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและสมาชิกสภาคองเกรสที่กำหนดจัดขึ้นในเดือนพ.ย.นี้
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดระบุอย่างชัดเจนในช่วงนี้ว่า เฟดจะอยู่นิ่งเฉย
ก็ต่อเมื่ออัตราการว่างงานในสหรัฐลดลงต่อไป ขณะที่อัตราการว่างงานในสหรัฐขยับ
ขึ้นสู่ 8.2 % ในเดือนพ.ค.
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ถ้าหากเฟดต่ออายุ Operation Twist ออกไป
มาตรการนี้ก็อาจจะครอบคลุมหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ด้วย
เป็นครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยและขยายขอบเขตเครื่องมือของ
เฟดออกไป
นักวิเคราะห์ประเมินว่า ขณะนี้เฟดครอบครองหลักทรัพย์ของกระทรวงการคลัง
สหรัฐที่มีอายุไม่เกิน 3 ปีเพียง 1.60-1.90 แสนล้านดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำ
เกินกว่าที่จะส่งผลกระทบอย่างแท้จริงต่ออัตราดอกเบี้ย
นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นตรงกันว่า เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดของเฟด
คือการเข้าซื้อหลักทรัพย์ใหม่ โดยอาจจะเข้าซื้อทั้งพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและ MBS
รวมกัน โดยถึงแม้นักเศรษฐศาสตร์บางรายเชื่อว่าเฟดอาจเลือกใช้วิธีการนี้ในวันนี้
แต่หลายรายก็เชื่อว่าเฟดจะดำเนินมาตรการดังกล่าวก็ต่อเมื่อมีสัญญาณที่ชัดเจนกว่านี้
ที่แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐกำลังประสบปัญหา
นายเบอร์นันเก้จะพยายามโน้มน้าวผู้กำหนดนโยบายในเฟดที่มีความคิดเห็น
แตกต่างกันไปให้บรรลุความเห็นที่ตรงกัน โดยเจ้าหน้าที่เฟดบางรายสนับสนุนให้เฟด
ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในทันที แต่รายอื่นๆมองว่าเฟดดำเนินมาตรการ
มากพอแล้วหรือมากเกินไปแล้ว
อย่างไรก็ดี คาดว่านายเบอร์นันเก้จะได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกใหม่
2 คนในคณะกรรมการเฟด ซึ่งได้แก่นายเจอโรม พาวเวล ซึ่งเป็นวาณิชธนากร
และนายเจเรมี สไตน์ ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งถึงแม้ยังไม่มีใครรู้ข้อมูลมากนัก
เกี่ยวกับความคิดเห็นของนายพาวเวลและนายสไตน์ที่มีต่อนโยบายการเงิน แต่เหตุการณ์
ในอดีตก็บ่งชี้ว่าสมาชิกใหม่มักจะแสดงความเห็นสอดคล้องกับประธานเฟดในช่วงแรก
ที่เข้ารับตำแหน่ง--จบ--
วอชิงตัน--20 มิ.ย.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจดำเนินมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจรอบใหม่ในวันนี้ ในขณะที่ปัญหาทางเศรษฐกิจทวีความรุนแรงขึ้นในหลายประเทศ
และมีสัญญาณบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ
เฟดจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงินเป็นเวลา 2 วัน โดยเริ่มจากเมื่อวานนี้
และจะสิ้นสุดในวันนี้ โดยเจ้าหน้าที่เฟดจะประกาศการตัดสินใจด้านนโยบายในวันนี้เวลา
23.30 น.ตามเวลาไทย และจะประกาศรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจ ณ เวลา 01.00 น.
ของคืนวันนี้ตามเวลาไทย ต่อด้วยการแถลงข่าวของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด
ณ เวลา 01.15 น.
มีแนวโน้มว่าเจ้าหน้าที่เฟดจะปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ หลังจากที่
เคยคาดการณ์ในเดือนเม.ย.ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจขยายตัว 2.4-2.9 % ในปีนี้
นักเศรษฐศาสตร์หลายรายคาดว่า เฟดจะต่ออายุให้แก่มาตรการ
Operation Twist หรือมาตรการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้นประเภทที่มี
อายุไม่เกิน 3 ปี และเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปในปริมาณ
เท่ากัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อกดดันอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ลดต่ำลง
Operation Twist จะช่วยปกป้องเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังคงอยู่ในสถานะ
เปราะบาง ในขณะที่แรงกดดันทางการเงินทวีความรุนแรงขึ้นในยุโรป, นายจ้าง
สหรัฐชะลอการจ้างงาน และรัฐบาลสหรัฐเผชิญกับปัญหาทางการคลังในช่วงสิ้นปีนี้
จากการที่มาตรการปรับลดงบประมาณรายจ่ายและปรับขึ้นภาษีจะเริ่มมีผลบังคับใช้
ในปีหน้า
นายเอริค กรีน จากบล.ทีดี กล่าวว่า "เฟดยังคงมีแนวโน้มสูงที่จะ
ผ่อนคลายนโยบายลงต่อไป"
นักลงทุนมองว่าการต่ออายุ Operation Twist ถือเป็นขั้นตอนที่ไม่
แข็งกร้าวมากเท่ากับการเข้าซื้อหลักทรัพย์ใหม่ เพราะ Operation Twist
ไม่ส่งผลให้งบดุลของเฟดมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่การเข้าซื้อหลักทรัพย์ใหม่จะส่งผล
ให้งบดุลของเฟดขยายออกไป
ทั้งนี้ การประชุมของเฟดในครั้งนี้ถือเป็นการประชุมเฟดครั้งสุดท้าย
ก่อนที่ Operation Twist จะหมดอายุลงในช่วงสิ้นเดือนนี้
ทางเลือกอีกทางหนึ่งที่เฟดสามารถกระทำได้คือการปรับเปลี่ยนสัญญา
ของเฟด โดยเฟดให้สัญญาในการประชุมเดือนเม.ย.ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย
ไว้ที่ระดับต่ำอย่างน้อยจนถึงปลายปี 2014 และเฟดอาจจะเลื่อนเวลาในสัญญา
ดังกล่าวให้นานยิ่งขึ้นไปอีก
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนระบุว่า การดำเนินมาตรการทางการเงิน
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อรับมือกับความเปลี่ยน
แปลงทางเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง
อย่างไรก็ดี นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ไม่ได้ส่งสัญญาณบ่งชี้
แต่อย่างใดว่าเฟดจะดำเนินนโยบายแบบใดในการแถลงต่อสภาคองเกรสในช่วง
ต้นเดือนนี้ โดยในขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไปต่อ
ประเด็นที่ว่า เฟดจะดำเนินมาตรการหรือไม่ในการประชุมวันนี้
นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.คาดว่า มีโอกาส
42.5 % ที่เฟดจะต่ออายุ Operation Twist
ถึงแม้ผลการเลือกตั้งกรีซในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับ
การแยกตัวออกจากยูโรโซน แต่วิกฤติหนี้ยูโรโซนก็ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจ
โลก โดยเมื่อวานนี้ รัฐบาลสเปนต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการ
ใช้เงินยูโรในการประมูลตั๋วเงินคลัง
นายโดนัลด์ คอห์น อดีตรองประธานคณะกรรมการผู้ว่าการเฟด กล่าวถึง
การเลือกตั้งในกรีซว่า "ผมไม่คิดว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะช่วยลดความกังวลของ
เจ้าหน้าที่เฟดลงได้มากนัก และเราก็พบว่าสถานการณ์ในยูโรโซนยังคงตึงเครียด
มากต่อไป"
ปัจจัยที่เจ้าหน้าที่เฟดจะพิจารณารวมถึงสถานการณ์ในยุโรป และหลักฐาน
จากภาคแรงงาน, ภาคการผลิต และภาคที่อยู่อาศัยในสหรัฐ โดยเจ้าหน้าที่เฟดกังวล
อีกด้วยว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอาจได้รับผลกระทบ ถ้าหากนักการเมือง
สหรัฐยังคงมีความขัดแย้งกัน
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐสิ้นสุดลงในปี 2009 แต่เศรษฐกิจสหรัฐ
ยังไม่สามารถฟื้นฟูการจ้างงานและความมั่งคั่งที่สูญหายไปในช่วงที่เกิดภาวะถดถอย
เฟดเป็นเพียงสถาบันเดียวที่สามารถกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ
ได้ในช่วงนี้ ในขณะที่สมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐมุ่งความสนใจไปที่การหาเสียงเลือกตั้ง
ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและสมาชิกสภาคองเกรสที่กำหนดจัดขึ้นในเดือนพ.ย.นี้
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดระบุอย่างชัดเจนในช่วงนี้ว่า เฟดจะอยู่นิ่งเฉย
ก็ต่อเมื่ออัตราการว่างงานในสหรัฐลดลงต่อไป ขณะที่อัตราการว่างงานในสหรัฐขยับ
ขึ้นสู่ 8.2 % ในเดือนพ.ค.
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ถ้าหากเฟดต่ออายุ Operation Twist ออกไป
มาตรการนี้ก็อาจจะครอบคลุมหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ด้วย
เป็นครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยและขยายขอบเขตเครื่องมือของ
เฟดออกไป
นักวิเคราะห์ประเมินว่า ขณะนี้เฟดครอบครองหลักทรัพย์ของกระทรวงการคลัง
สหรัฐที่มีอายุไม่เกิน 3 ปีเพียง 1.60-1.90 แสนล้านดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำ
เกินกว่าที่จะส่งผลกระทบอย่างแท้จริงต่ออัตราดอกเบี้ย
นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นตรงกันว่า เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดของเฟด
คือการเข้าซื้อหลักทรัพย์ใหม่ โดยอาจจะเข้าซื้อทั้งพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและ MBS
รวมกัน โดยถึงแม้นักเศรษฐศาสตร์บางรายเชื่อว่าเฟดอาจเลือกใช้วิธีการนี้ในวันนี้
แต่หลายรายก็เชื่อว่าเฟดจะดำเนินมาตรการดังกล่าวก็ต่อเมื่อมีสัญญาณที่ชัดเจนกว่านี้
ที่แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐกำลังประสบปัญหา
นายเบอร์นันเก้จะพยายามโน้มน้าวผู้กำหนดนโยบายในเฟดที่มีความคิดเห็น
แตกต่างกันไปให้บรรลุความเห็นที่ตรงกัน โดยเจ้าหน้าที่เฟดบางรายสนับสนุนให้เฟด
ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในทันที แต่รายอื่นๆมองว่าเฟดดำเนินมาตรการ
มากพอแล้วหรือมากเกินไปแล้ว
อย่างไรก็ดี คาดว่านายเบอร์นันเก้จะได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกใหม่
2 คนในคณะกรรมการเฟด ซึ่งได้แก่นายเจอโรม พาวเวล ซึ่งเป็นวาณิชธนากร
และนายเจเรมี สไตน์ ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งถึงแม้ยังไม่มีใครรู้ข้อมูลมากนัก
เกี่ยวกับความคิดเห็นของนายพาวเวลและนายสไตน์ที่มีต่อนโยบายการเงิน แต่เหตุการณ์
ในอดีตก็บ่งชี้ว่าสมาชิกใหม่มักจะแสดงความเห็นสอดคล้องกับประธานเฟดในช่วงแรก
ที่เข้ารับตำแหน่ง--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 2011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 216
FYI
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
Add friend in Facebook https://www.facebook.com/profile.php?id ... &ref=br_tf
Group ที่อยู่ประจำ https://www.facebook.com/groups/investedinstocks/
https://www.facebook.com/groups/blaloverandgrowthstock/
Group ที่อยู่ประจำ https://www.facebook.com/groups/investedinstocks/
https://www.facebook.com/groups/blaloverandgrowthstock/
-
- Verified User
- โพสต์: 2011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 217
เงินที่กองทุนที่ช่วยพยุงยุโรปอยู่ตอนนี้มาจากไหน มีเท่าไหร่ พอหรือเปล่า?
ปราการทางการเงินโลกไม่แกร่ง เงินไม่พอกู้วิกฤตยุโรป
20 มิถุนายน 2555 เวลา 08:32 น
โดย...นันทิยา วรเพชรายุทธ
สหภาพยุโรป (อียู) อาจพยายามเดินหน้าไปสู่การรวมกลุ่มสหภาพการคลัง หรือ Fiscal Union เพื่อวางรากฐานสมดุลเรื่องการใช้จ่าย ซึ่งถือเป็นต้นตอของปัญหาทั้งมวลในยุโรปวันนี้ และยังมีแผนที่จะตั้งสหภาพธนาคาร เพื่อแก้ปัญหาระบบธนาคารในยุโรปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทว่าทั้งหมดนี้ก็ยังเป็น “แผนระยะยาว” ที่ต้องใช้เวลาอีกหลายปี ซึ่งปัจจุบันก็ยังอยู่ระหว่างนับหนึ่งหรืออาจเพิ่งตั้งไข่เท่านั้น
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของวิกฤตการณ์หนี้ยุโรปในวันนี้จึงขึ้นอยู่กับ “เงิน” ในบรรดากองทุนให้กู้ยืมหรือกลไกความช่วยเหลือ (Firewall) ทั้งหลายเป็นหลัก ทั้งกองทุนเพื่อแก้หนี้ยุโรปและกองทุนของแต่ละภูมิภาค เพื่อเป็นเกราะป้องกันผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก หากมีหลากหลายกองทุนในปริมาณเงินที่มากพอ ก็น่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั่วโลกได้
ทว่าเมื่อลองพิเคราะห์ดูแต่ละกองทุนทั่วโลกในวันนี้ก็พอจะเข้าใจได้ว่า เหตุใดนักลงทุนและผู้นำทั่วโลกจึงไม่สามารถวางใจวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในวันนี้ได้
กองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) คือกองทุนสำคัญหมายเลข 1 ที่ใช้ในการต่อสู้กับวิกฤตการณ์หนี้ยุโรป ซึ่งมีเงินอยู่ 4.4 แสนล้านยูโร (ราว 17.5 ล้านล้านบาท) แต่ในความเป็นจริงกองทุนซึ่งตั้งขึ้นมาชั่วคราวนี้จะปล่อยเงินกู้ได้จริงเพียง 2.5 แสนล้านยูโร (ราว 10 ล้านล้านบาท) เนื่องจากต้องมีเงินคงเหลือเพื่อคงสถานะความน่าเชื่อถือของกองทุนให้อยู่ในระดับสูง เพื่อให้ต้นทุนการกู้ยืมต่ำในการระดมทุนผ่านการออกพันธบัตร
ทว่าจำนวนเงินกู้ที่กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ร้องขอไปนั้น มีจำนวนมากถึง 4.03 แสนล้านยูโร (ราว 16.1 ล้านล้านบาท) ซึ่งยังไม่รวมกับการช่วยเหลือสเปน ที่คาดว่าจะขอเงินช่วยไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านยูโร (ราว 4 ล้านล้านบาท) และยังไม่รวมแนวโน้มที่ยุโรปอาจต้องการเงินเพิ่มเพื่อนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจบางส่วนตามข้อเรียกร้องของหลายประเทศในขณะนี้
ปราการป้องกันทางการเงินแห่งที่ 2 ที่ต้องเข้ามาร่วมด้วยช่วยยุโรป จึงหนีไม่พ้นกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งไอเอ็มเอฟนั้นถือเป็นกองทุนเงินกู้อันดับ 1 ของโลก ทั้งในแง่ของปริมาณเงินกู้และจำนวนผู้ที่บริจาคเงินมากที่สุด และยังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับมือวิกฤตการณ์หนี้ยุโรปในครั้งนี้ โดยมีเงินทุนในปัจจุบันราว 3.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 12 ล้านล้านบาท)
ล่าสุด ไอเอ็มเอฟได้รับการบริจาคเพิ่มมาถึง 9.55 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3 ล้านล้านบาท) จากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่นำโดย 4 ประเทศกลุ่มบริกส์ (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) ส่งผลให้ไอเอ็มเอฟมีเงินกู้ในมือเพิ่มขึ้นเป็น 4.56 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 14.3 ล้านล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นจากที่ตั้งเป้าไว้เดิมที่ 4.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
หากรวมเงินของ 2 ปราการนี้เข้าไป ปัญหายุโรปก็น่าจะแก้ได้ไม่ยาก ทว่าในความเป็นจริงนั้นล้วนเต็มไปด้วยข้อจำกัดหลายประการ
ประการแรกก็คือ สเปนไม่ต้องการขอเงินกู้จากไอเอ็มเอฟ เพราะไม่ต้องการอยู่ภายใต้ข้อจำกัดทางการคลังที่เข้มงวด โดยเฉพาะการตัดลดรายจ่ายและการปรับโครงสร้างหนี้ ที่ทำให้กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ต่างเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและยังมองไม่เห็นหนทางของการสร้างรายได้ให้มากพอที่จะใช้หนี้ได้ สเปนจึงไม่ต้องการตกอยู่ในสภาพเดียวกันกับ 3 ประเทศข้างต้น
ขณะเดียวกัน เหล่าผู้บริจาคเงินกู้ให้ไอเอ็มเอฟก็ไม่ต้องการให้กองทุนแห่งนี้ถลุงเงินของทั้งโลกไปกับการพยุงยุโรปเพียงอย่างเดียวเช่นกัน เพราะไอเอ็มเอฟมีหน้าที่ต้องปล่อยเงินกู้หลากประเภทให้กับทั่วโลก โดยเฉพาะอนาคตหลังจากนี้ที่อาจมีหลายประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยุโรปจนต้องเร่งหาเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางรากฐาน อย่างล่าสุดจอร์แดนและอาร์เมเนียก็เป็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศ ที่กำลังเจรจาเงินกู้กับไอเอ็มเอฟ
ทาง 4 ผู้บริจาคกลุ่มบริกส์ จึงได้ตั้งเงื่อนไขสำคัญของเงินบริจาคล่าสุดเกือบ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ว่า จะให้ก็ต่อเมื่อไอเอ็มเอฟใช้เงินที่มีอยู่ในปัจจุบันไปก่อน และไอเอ็มเอฟต้องไม่นำเงินไปช่วยยุโรปเพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ยังต้องปฏิรูปโครงสร้างในเรื่องสิทธิการออกเสียงที่ต้องให้สิทธิและเสียงแก่ชาติกำลังพัฒนามากขึ้นตามเงินที่บริจาคไปด้วย
ดูตามเงื่อนไขเหล่านี้แล้ว จึงดูเหมือนกับว่ายุโรปไม่สามารถดึงเงินกู้ไอเอ็มเอฟมาใช้ได้มากเท่าที่เงินมีอยู่
ปราการทางการเงินแห่งที่ 3 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาหนี้ยุโรปนั้น จึงเป็นกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (อีเอสเอ็ม) ซึ่งคาดว่าจะนำมาใช้ได้ในเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้ โดยเป็นกองทุนถาวรในการแก้ปัญหายุโรปในวงเงิน 5 แสนล้านยูโร (ราว 20 ล้านล้านบาท) มาใช้ควบคู่กันจนกว่ากองทุนเดิม อีเอฟเอสเอฟ จะค่อยๆ ปิดตัวลงอย่างถาวร โดยเป็นที่คาดการณ์ว่าอีเอสเอ็มจะมีเงินกู้ทั้งสิ้นรวม 7 แสนล้านยูโร (ราว 28 ล้านล้านบาท) หากรวมเงินที่เหลือจากอีเอฟเอสเอฟ 2 แสนล้านยูโร (ราว 8 ล้านล้านบาท)
ทว่าข้อจำกัดสำคัญที่เริ่มเห็นเค้าลางแล้วจากการเตือนของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอไอเอฟ) ก็คือ หากเข้าช่วยสเปน ยุโรปจะไม่เหลือเงินไปช่วยประเทศขนาดใหญ่อื่นๆ เช่น อิตาลี ในกรณีที่ขอกู้เงินต่อเป็นรายที่ 5
นอกจากนี้ ด้วยข้อจำกัดทางเทคนิคบางประการ จะทำให้อีเอสเอ็มสามารถปล่อยเงินกู้ได้เพียง 1.6 หมื่นล้านยูโร (ราว 6.4 แสนล้านบาท) ในช่วง 3 เดือนแรก หลังการก่อตั้งในเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้
หลังจาก 3 เดือนผ่านพ้นไปแล้ว เมื่อรวมเข้ากับเงินของกองทุนอีเอฟเอสเอฟและเงินจากกองทุนอื่นๆ ของยุโรป จะทำให้ยุโรปมีศักยภาพในการปล่อยกู้ได้ราว 3.51 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 14 ล้านล้านบาท) ซึ่งที่สุดแล้วอาจไม่เพียงพอต่อการให้เงินกู้ต่อเนื่องกับ 3 ประเทศ คือ กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส รวมไปถึงประเทศลูกหนี้หน้าใหม่อย่างสเปนและอาจรวมถึงอิตาลี
ประเด็นเรื่องเงินไม่พอจึงนับเป็นปัญหาใหญ่ของวิกฤตการณ์หนี้ยุโรปในขณะนี้ ที่ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนได้ แม้ว่าการเลือกตั้งของกรีซจะผ่านพ้นไปด้วยดีแล้วก็ตาม
เมื่อไม่สามารถคาดหวังการแก้ปัญหาของยุโรปและอาจไม่สามารถคาดหวังเงินกู้จากไอเอ็มเอฟได้ สิ่งที่ทั่วโลกต้องทำก็คือ สร้างปราการทางการเงินในภูมิภาคขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองดังที่เห็นได้จากในทวีปเอเชีย ซึ่งมีกองทุนความริเริ่มเชียงใหม่ หรือกองทุนอาเซียน+3 ซึ่งเป็นกองทุนสวอปไลน์ทำหน้าที่เสริมสภาพคล่องให้ประเทศสมาชิกอาเซียน+3 สามารถเข้าถึงเงินสกุลต่างๆ ได้ทันท่วงทีในกรณีที่จำเป็น และลดการพึ่งพาไอเอ็มเอฟลง
เนื่องจากภูมิภาคเอเชียต่างเผชิญบทเรียนที่น่าเจ็บปวดมาแล้วจากวิกฤตการณ์ทางการเงินระหว่างปี 2540–2541 จึงกลายเป็นแรงผลักดันชั้นดีให้เกิดการรวมกลุ่มความช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น โดยที่ประชุมผู้นำอาเซียน+3 ได้มีมติเพิ่มเงินกองทุนอีกเท่าตัวเป็น 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.5 ล้านล้านบาท) เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่สถานการณ์ยุโรปทวีความรุนแรงขึ้น และยังตกลงที่จะเพิ่มการเฝ้าระวังความเสี่ยงทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นด้วย
เพราะหากปราการสู้วิกฤตหนี้ในยุโรปไม่แข็งแกร่งเพียงพอ โลกก็คงไม่อาจหวังอะไรได้ นอกจากตั้งปราการเองเพื่อให้รองรับแรงกระแทกได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B ... 3%E0%B8%9B
ปราการทางการเงินโลกไม่แกร่ง เงินไม่พอกู้วิกฤตยุโรป
20 มิถุนายน 2555 เวลา 08:32 น
โดย...นันทิยา วรเพชรายุทธ
สหภาพยุโรป (อียู) อาจพยายามเดินหน้าไปสู่การรวมกลุ่มสหภาพการคลัง หรือ Fiscal Union เพื่อวางรากฐานสมดุลเรื่องการใช้จ่าย ซึ่งถือเป็นต้นตอของปัญหาทั้งมวลในยุโรปวันนี้ และยังมีแผนที่จะตั้งสหภาพธนาคาร เพื่อแก้ปัญหาระบบธนาคารในยุโรปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทว่าทั้งหมดนี้ก็ยังเป็น “แผนระยะยาว” ที่ต้องใช้เวลาอีกหลายปี ซึ่งปัจจุบันก็ยังอยู่ระหว่างนับหนึ่งหรืออาจเพิ่งตั้งไข่เท่านั้น
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของวิกฤตการณ์หนี้ยุโรปในวันนี้จึงขึ้นอยู่กับ “เงิน” ในบรรดากองทุนให้กู้ยืมหรือกลไกความช่วยเหลือ (Firewall) ทั้งหลายเป็นหลัก ทั้งกองทุนเพื่อแก้หนี้ยุโรปและกองทุนของแต่ละภูมิภาค เพื่อเป็นเกราะป้องกันผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก หากมีหลากหลายกองทุนในปริมาณเงินที่มากพอ ก็น่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั่วโลกได้
ทว่าเมื่อลองพิเคราะห์ดูแต่ละกองทุนทั่วโลกในวันนี้ก็พอจะเข้าใจได้ว่า เหตุใดนักลงทุนและผู้นำทั่วโลกจึงไม่สามารถวางใจวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในวันนี้ได้
กองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) คือกองทุนสำคัญหมายเลข 1 ที่ใช้ในการต่อสู้กับวิกฤตการณ์หนี้ยุโรป ซึ่งมีเงินอยู่ 4.4 แสนล้านยูโร (ราว 17.5 ล้านล้านบาท) แต่ในความเป็นจริงกองทุนซึ่งตั้งขึ้นมาชั่วคราวนี้จะปล่อยเงินกู้ได้จริงเพียง 2.5 แสนล้านยูโร (ราว 10 ล้านล้านบาท) เนื่องจากต้องมีเงินคงเหลือเพื่อคงสถานะความน่าเชื่อถือของกองทุนให้อยู่ในระดับสูง เพื่อให้ต้นทุนการกู้ยืมต่ำในการระดมทุนผ่านการออกพันธบัตร
ทว่าจำนวนเงินกู้ที่กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ร้องขอไปนั้น มีจำนวนมากถึง 4.03 แสนล้านยูโร (ราว 16.1 ล้านล้านบาท) ซึ่งยังไม่รวมกับการช่วยเหลือสเปน ที่คาดว่าจะขอเงินช่วยไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านยูโร (ราว 4 ล้านล้านบาท) และยังไม่รวมแนวโน้มที่ยุโรปอาจต้องการเงินเพิ่มเพื่อนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจบางส่วนตามข้อเรียกร้องของหลายประเทศในขณะนี้
ปราการป้องกันทางการเงินแห่งที่ 2 ที่ต้องเข้ามาร่วมด้วยช่วยยุโรป จึงหนีไม่พ้นกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งไอเอ็มเอฟนั้นถือเป็นกองทุนเงินกู้อันดับ 1 ของโลก ทั้งในแง่ของปริมาณเงินกู้และจำนวนผู้ที่บริจาคเงินมากที่สุด และยังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับมือวิกฤตการณ์หนี้ยุโรปในครั้งนี้ โดยมีเงินทุนในปัจจุบันราว 3.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 12 ล้านล้านบาท)
ล่าสุด ไอเอ็มเอฟได้รับการบริจาคเพิ่มมาถึง 9.55 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3 ล้านล้านบาท) จากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่นำโดย 4 ประเทศกลุ่มบริกส์ (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) ส่งผลให้ไอเอ็มเอฟมีเงินกู้ในมือเพิ่มขึ้นเป็น 4.56 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 14.3 ล้านล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นจากที่ตั้งเป้าไว้เดิมที่ 4.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
หากรวมเงินของ 2 ปราการนี้เข้าไป ปัญหายุโรปก็น่าจะแก้ได้ไม่ยาก ทว่าในความเป็นจริงนั้นล้วนเต็มไปด้วยข้อจำกัดหลายประการ
ประการแรกก็คือ สเปนไม่ต้องการขอเงินกู้จากไอเอ็มเอฟ เพราะไม่ต้องการอยู่ภายใต้ข้อจำกัดทางการคลังที่เข้มงวด โดยเฉพาะการตัดลดรายจ่ายและการปรับโครงสร้างหนี้ ที่ทำให้กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ต่างเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและยังมองไม่เห็นหนทางของการสร้างรายได้ให้มากพอที่จะใช้หนี้ได้ สเปนจึงไม่ต้องการตกอยู่ในสภาพเดียวกันกับ 3 ประเทศข้างต้น
ขณะเดียวกัน เหล่าผู้บริจาคเงินกู้ให้ไอเอ็มเอฟก็ไม่ต้องการให้กองทุนแห่งนี้ถลุงเงินของทั้งโลกไปกับการพยุงยุโรปเพียงอย่างเดียวเช่นกัน เพราะไอเอ็มเอฟมีหน้าที่ต้องปล่อยเงินกู้หลากประเภทให้กับทั่วโลก โดยเฉพาะอนาคตหลังจากนี้ที่อาจมีหลายประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยุโรปจนต้องเร่งหาเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางรากฐาน อย่างล่าสุดจอร์แดนและอาร์เมเนียก็เป็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศ ที่กำลังเจรจาเงินกู้กับไอเอ็มเอฟ
ทาง 4 ผู้บริจาคกลุ่มบริกส์ จึงได้ตั้งเงื่อนไขสำคัญของเงินบริจาคล่าสุดเกือบ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ว่า จะให้ก็ต่อเมื่อไอเอ็มเอฟใช้เงินที่มีอยู่ในปัจจุบันไปก่อน และไอเอ็มเอฟต้องไม่นำเงินไปช่วยยุโรปเพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ยังต้องปฏิรูปโครงสร้างในเรื่องสิทธิการออกเสียงที่ต้องให้สิทธิและเสียงแก่ชาติกำลังพัฒนามากขึ้นตามเงินที่บริจาคไปด้วย
ดูตามเงื่อนไขเหล่านี้แล้ว จึงดูเหมือนกับว่ายุโรปไม่สามารถดึงเงินกู้ไอเอ็มเอฟมาใช้ได้มากเท่าที่เงินมีอยู่
ปราการทางการเงินแห่งที่ 3 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาหนี้ยุโรปนั้น จึงเป็นกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (อีเอสเอ็ม) ซึ่งคาดว่าจะนำมาใช้ได้ในเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้ โดยเป็นกองทุนถาวรในการแก้ปัญหายุโรปในวงเงิน 5 แสนล้านยูโร (ราว 20 ล้านล้านบาท) มาใช้ควบคู่กันจนกว่ากองทุนเดิม อีเอฟเอสเอฟ จะค่อยๆ ปิดตัวลงอย่างถาวร โดยเป็นที่คาดการณ์ว่าอีเอสเอ็มจะมีเงินกู้ทั้งสิ้นรวม 7 แสนล้านยูโร (ราว 28 ล้านล้านบาท) หากรวมเงินที่เหลือจากอีเอฟเอสเอฟ 2 แสนล้านยูโร (ราว 8 ล้านล้านบาท)
ทว่าข้อจำกัดสำคัญที่เริ่มเห็นเค้าลางแล้วจากการเตือนของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอไอเอฟ) ก็คือ หากเข้าช่วยสเปน ยุโรปจะไม่เหลือเงินไปช่วยประเทศขนาดใหญ่อื่นๆ เช่น อิตาลี ในกรณีที่ขอกู้เงินต่อเป็นรายที่ 5
นอกจากนี้ ด้วยข้อจำกัดทางเทคนิคบางประการ จะทำให้อีเอสเอ็มสามารถปล่อยเงินกู้ได้เพียง 1.6 หมื่นล้านยูโร (ราว 6.4 แสนล้านบาท) ในช่วง 3 เดือนแรก หลังการก่อตั้งในเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้
หลังจาก 3 เดือนผ่านพ้นไปแล้ว เมื่อรวมเข้ากับเงินของกองทุนอีเอฟเอสเอฟและเงินจากกองทุนอื่นๆ ของยุโรป จะทำให้ยุโรปมีศักยภาพในการปล่อยกู้ได้ราว 3.51 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 14 ล้านล้านบาท) ซึ่งที่สุดแล้วอาจไม่เพียงพอต่อการให้เงินกู้ต่อเนื่องกับ 3 ประเทศ คือ กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส รวมไปถึงประเทศลูกหนี้หน้าใหม่อย่างสเปนและอาจรวมถึงอิตาลี
ประเด็นเรื่องเงินไม่พอจึงนับเป็นปัญหาใหญ่ของวิกฤตการณ์หนี้ยุโรปในขณะนี้ ที่ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนได้ แม้ว่าการเลือกตั้งของกรีซจะผ่านพ้นไปด้วยดีแล้วก็ตาม
เมื่อไม่สามารถคาดหวังการแก้ปัญหาของยุโรปและอาจไม่สามารถคาดหวังเงินกู้จากไอเอ็มเอฟได้ สิ่งที่ทั่วโลกต้องทำก็คือ สร้างปราการทางการเงินในภูมิภาคขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองดังที่เห็นได้จากในทวีปเอเชีย ซึ่งมีกองทุนความริเริ่มเชียงใหม่ หรือกองทุนอาเซียน+3 ซึ่งเป็นกองทุนสวอปไลน์ทำหน้าที่เสริมสภาพคล่องให้ประเทศสมาชิกอาเซียน+3 สามารถเข้าถึงเงินสกุลต่างๆ ได้ทันท่วงทีในกรณีที่จำเป็น และลดการพึ่งพาไอเอ็มเอฟลง
เนื่องจากภูมิภาคเอเชียต่างเผชิญบทเรียนที่น่าเจ็บปวดมาแล้วจากวิกฤตการณ์ทางการเงินระหว่างปี 2540–2541 จึงกลายเป็นแรงผลักดันชั้นดีให้เกิดการรวมกลุ่มความช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น โดยที่ประชุมผู้นำอาเซียน+3 ได้มีมติเพิ่มเงินกองทุนอีกเท่าตัวเป็น 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.5 ล้านล้านบาท) เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่สถานการณ์ยุโรปทวีความรุนแรงขึ้น และยังตกลงที่จะเพิ่มการเฝ้าระวังความเสี่ยงทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นด้วย
เพราะหากปราการสู้วิกฤตหนี้ในยุโรปไม่แข็งแกร่งเพียงพอ โลกก็คงไม่อาจหวังอะไรได้ นอกจากตั้งปราการเองเพื่อให้รองรับแรงกระแทกได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B ... 3%E0%B8%9B
Add friend in Facebook https://www.facebook.com/profile.php?id ... &ref=br_tf
Group ที่อยู่ประจำ https://www.facebook.com/groups/investedinstocks/
https://www.facebook.com/groups/blaloverandgrowthstock/
Group ที่อยู่ประจำ https://www.facebook.com/groups/investedinstocks/
https://www.facebook.com/groups/blaloverandgrowthstock/
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 218
SPAIN:สเปนเผยผลประมูลพันธบัตรทะลุเป้า แต่บอนด์ยิลด์พุ่งสูงสุดในรอบ 15 ปี
มาดริด--21 มิ.ย.--รอยเตอร์
กระทรวงการคลังของสเปนจำหน่ายพันธบัตรระยะกลางมูลค่า
2.2 พันล้านยูโร (2.8 พันล้านดอลลาร์) ในวันนี้ สูงกว่าเป้าหมายที่ระดับ
2 พันล้านยูโร โดยจ่ายผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีที่ระดับสูงสุดในรอบ
15 ปี
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังสามารถขายพันธบัตรอายุ 2 ปีคิดเป็น
มูลค่า 700 ล้านยูโร, พันธบัตรอายุ 3 ปีคิดเป็นมูลค่า 918 ล้านยูโร
และพันธบัตรอายุ 5 ปีคิดเป็นมูลค่า 602 ล้านยูโร ขณะที่สัดส่วนความต้องการ
ซื้อต่อปริมาณพันธบัตรที่ออกขายอยู่สูงกว่าการประมูลในรอบที่แล้ว
พันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนเม.ย.ปี 2014 มีอัตราผลตอบแทน
เฉลี่ย 4.706% มากกว่า 2 เท่าในการประมูลเดือนมี.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.069%
ส่วนพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนก.ค.ปี 2015 มีอัตราผลตอบแทน
เฉลี่ย 5.457% เทียบกับเดือนพ.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4.876%
ขณะที่พันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนก.ค.ปี 2017 มีอัตราผลตอบแทน
เฉลี่ย 6.072% เทียบกับเดือนพ.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4.960%--จบ--
มาดริด--21 มิ.ย.--รอยเตอร์
กระทรวงการคลังของสเปนจำหน่ายพันธบัตรระยะกลางมูลค่า
2.2 พันล้านยูโร (2.8 พันล้านดอลลาร์) ในวันนี้ สูงกว่าเป้าหมายที่ระดับ
2 พันล้านยูโร โดยจ่ายผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีที่ระดับสูงสุดในรอบ
15 ปี
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังสามารถขายพันธบัตรอายุ 2 ปีคิดเป็น
มูลค่า 700 ล้านยูโร, พันธบัตรอายุ 3 ปีคิดเป็นมูลค่า 918 ล้านยูโร
และพันธบัตรอายุ 5 ปีคิดเป็นมูลค่า 602 ล้านยูโร ขณะที่สัดส่วนความต้องการ
ซื้อต่อปริมาณพันธบัตรที่ออกขายอยู่สูงกว่าการประมูลในรอบที่แล้ว
พันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนเม.ย.ปี 2014 มีอัตราผลตอบแทน
เฉลี่ย 4.706% มากกว่า 2 เท่าในการประมูลเดือนมี.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.069%
ส่วนพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนก.ค.ปี 2015 มีอัตราผลตอบแทน
เฉลี่ย 5.457% เทียบกับเดือนพ.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4.876%
ขณะที่พันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนก.ค.ปี 2017 มีอัตราผลตอบแทน
เฉลี่ย 6.072% เทียบกับเดือนพ.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4.960%--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 219
EUROPE:ยูโรอ่อนยวบแตะระดับต่ำสุดของวัน หลังภาคผลิตเยอรมนีทรุดต่ำสุด 3 ปี
ลอนดอน--21 มิ.ย.--รอยเตอร์
ยูโรร่วงแตะระดับต่ำสุดของวันเมื่อเทียบดอลลาร์ หลังมีการเปิดเผยว่า
กิจกรรมในภาคการผลิตของเยอรมนีดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งสร้าง
ความวิตกว่าเยอรมนีอาจเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะวิกฤติหนี้ยูโรโซน
มีความรุนแรงขึ้น
ทั้งนี้ยูโรดิ่งแตะ 1.2650 ดอลลาร์ จากแรงขายของธนาคารยุโรป
หลังมีการเปิดเผยรายงานดังกล่าว
ผลสำรวจระบุในวันนี้ว่า ภาคเอกชนของเยอรมนีหดตัวลงเป็นเดือนที่ 2
ติดต่อกันในเดือนมิ.ย. โดยกิจกรรมในภาคการผลิตดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี
ซึ่งบ่งชี้ว่า เยอรมนี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป อาจเผชิญภาวะเศรษฐกิจ
หดตัวในไตรมาสที่ 2 โดยได้รับผลกระทบจากวิกฤติยูโรโซน
ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตร่วงลงสู่ระดับ 48.5
ในเดือนมิ.ย.จาก 49.3 ในเดือนพ.ค. ขณะที่ดัชนียังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50
ซึ่งบ่งชี้ถึงการหดตัว--จบ--
ลอนดอน--21 มิ.ย.--รอยเตอร์
ยูโรร่วงแตะระดับต่ำสุดของวันเมื่อเทียบดอลลาร์ หลังมีการเปิดเผยว่า
กิจกรรมในภาคการผลิตของเยอรมนีดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งสร้าง
ความวิตกว่าเยอรมนีอาจเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะวิกฤติหนี้ยูโรโซน
มีความรุนแรงขึ้น
ทั้งนี้ยูโรดิ่งแตะ 1.2650 ดอลลาร์ จากแรงขายของธนาคารยุโรป
หลังมีการเปิดเผยรายงานดังกล่าว
ผลสำรวจระบุในวันนี้ว่า ภาคเอกชนของเยอรมนีหดตัวลงเป็นเดือนที่ 2
ติดต่อกันในเดือนมิ.ย. โดยกิจกรรมในภาคการผลิตดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี
ซึ่งบ่งชี้ว่า เยอรมนี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป อาจเผชิญภาวะเศรษฐกิจ
หดตัวในไตรมาสที่ 2 โดยได้รับผลกระทบจากวิกฤติยูโรโซน
ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตร่วงลงสู่ระดับ 48.5
ในเดือนมิ.ย.จาก 49.3 ในเดือนพ.ค. ขณะที่ดัชนียังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50
ซึ่งบ่งชี้ถึงการหดตัว--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 483
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 220
กระสุนนัดสุดท้าย 'เฟด' เก็บไว้ใช้ยามจำเป็น
วันที่ 22 มิถุนายน 2555 06:14
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"เฟด" เลือกใช้ "โอเปอเรชั่น ทวิสต์" เก็บกระสุนนัดสุดท้าย "คิวอี 3" ไว้ใช้ยามจำเป็น หลังเศรษฐกิจมะกันส่งสัญญาณไม่ฟื้นปีนี้ พ่วงวิกฤตหนี้ยุโรป
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบ โดยเลือกต่ออายุมาตรการโอเปอเรชั่น ทวิสต์ 2.67 แสนล้านดอลลาร์ ไปถึงสิ้นปีนี้ จากเดิมที่มีกำหนดสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน ซึ่งภายใต้มาตรการนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด จะขายพันธบัตรระยะสั้น และเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวในปริมาณเท่ากัน เพื่อกดให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวต่ำลง
นอกจากนี้ เฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0-0.25% ต่อไป และจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเป็นพิเศษจนถึงปลายปี 2557 อีกทั้งปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้อยู่ที่ระดับ 1.9-2.4% จากเดิมที่ประเมินไว้ในเดือนเมษายนที่ 2.4-2.9% รวมถึงปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2556-2557 เหลือ 2.2-2.8% และ 3.0-3.5% ตามลำดับ
แม้หลายฝ่ายจะผิดหวังกับท่าทีของเฟด แต่นี่ก็ไม่ได้เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่า เฟดจะเก็บกระสุนนัดสำคัญ นั่นคือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (คิวอี 3) เอาไว้ใช้ยามจำเป็น โดยมีโอกาสถึง 50% ที่จะใช้คิวอี 3 ในไม่ช้าไม่นาน หลังกว้านซื้อพันธบัตรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมา 2 รอบแล้ว คิดเป็นมูลค่ามากถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์
"เบน เบอร์นันเก้" ประธานเฟด แสดงความไม่เห็นด้วยกับคำวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่า มาตรการเข้าซื้อพันธบัตรก่อนหน้านี้ไม่ได้ผล และกระสุนของเฟดกำลังจะหมด พร้อมกับส่งสัญญาณชัดเจนว่า เฟดพร้อมจะดำเนินการมากกว่านี้หากจำเป็น
มีคำถามว่า ทำไมเฟดไม่ใช้ยาแรงในการประชุมหนนี้ คำตอบอยู่ที่มาตรการคิวอีไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน และไม่ได้ผลที่จะใช้ในเงื่อนไขเศรษฐกิจตอนนี้ แม้ว่ามาตรการคิวอีอาจมีประโยชน์ในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงิน เพราะจะช่วยยับยั้งสถานการณ์เลวร้าย ด้วยการเติมสภาพคล่องในห้วงเวลาที่ตลาดต้องการมากที่สุด แต่หากไม่ใช่สถานการณ์เช่นนี้ คิวอีก็อาจไม่มีประโยชน์มากนัก
ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้ฟื้นตัวอย่างที่คาดหวัง เมื่อดูจากคำกล่าวของ "เบอร์นันเก้" ที่ระบุว่า เฟดมีความกังวลว่าวิกฤตหนี้ยุโรปที่ยืดเยื้อ จะกระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของสหรัฐ
ตัวเลขว่างงานในสหรัฐเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 8.2% และมีแนวโน้มที่ผู้ว่างงานอาจไม่มีโอกาสได้งานมากนักในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพราะการจ้างงานชะลอตัวลงในช่วง 2-3 เดือนมานี้ โดยในเดือนพฤษภาคม ยอดจ้างงานเพิ่มอยู่ที่ 69,000 ตำแหน่ง น้อยกว่าช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้วถึงกุมภาพันธ์ปีนี้ที่จ้างงานเพิ่มเฉลี่ย 252,000 ตำแหน่ง ล่าสุดเฟดประเมินว่าอัตราว่างงานไม่น่าจะลดต่ำกว่าระดับ 8% ในปีนี้
ไม่นับรวมสารพัดปัจจัยท้าทายเศรษฐกิจพญาอินทรี ทั้งการผลิตในโรงงานก็ลดลง เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ถูกสั่นคลอน ความเป็นไปได้ที่รัฐบาลสหรัฐจะปรับขึ้นภาษี รวมถึงการปรับลดรายจ่ายของภาครัฐ และการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปลายปีนี้ ซึ่งล้วนทอดเงาบดบังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ดังนั้น แม้เบอร์นันเก้จะยืนยันว่า เฟดไม่ได้กระสุนหมด แต่ดูเหมือนไม่ได้มีคนคล้อยตามมากนัก เพราะต่างรู้ดีว่าเฟดได้ทำทุกสิ่งเท่าที่จะทำได้แล้ว และเฟดก็กำลังจะไม่มีหลักทรัพย์ระยะสั้นที่จะเอามาขายแล้ว หลังจากขยายมาตรการโอเปอเรชั่น ทวิสต์ ครั้งนี้ หมายความว่า เฟดไม่น่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลักษณะนี้ก็มีต้นทุนและความเสี่ยงต่องบดุลของสหรัฐ
วันที่ 22 มิถุนายน 2555 06:14
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"เฟด" เลือกใช้ "โอเปอเรชั่น ทวิสต์" เก็บกระสุนนัดสุดท้าย "คิวอี 3" ไว้ใช้ยามจำเป็น หลังเศรษฐกิจมะกันส่งสัญญาณไม่ฟื้นปีนี้ พ่วงวิกฤตหนี้ยุโรป
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบ โดยเลือกต่ออายุมาตรการโอเปอเรชั่น ทวิสต์ 2.67 แสนล้านดอลลาร์ ไปถึงสิ้นปีนี้ จากเดิมที่มีกำหนดสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน ซึ่งภายใต้มาตรการนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด จะขายพันธบัตรระยะสั้น และเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวในปริมาณเท่ากัน เพื่อกดให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวต่ำลง
นอกจากนี้ เฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0-0.25% ต่อไป และจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเป็นพิเศษจนถึงปลายปี 2557 อีกทั้งปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้อยู่ที่ระดับ 1.9-2.4% จากเดิมที่ประเมินไว้ในเดือนเมษายนที่ 2.4-2.9% รวมถึงปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2556-2557 เหลือ 2.2-2.8% และ 3.0-3.5% ตามลำดับ
แม้หลายฝ่ายจะผิดหวังกับท่าทีของเฟด แต่นี่ก็ไม่ได้เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่า เฟดจะเก็บกระสุนนัดสำคัญ นั่นคือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (คิวอี 3) เอาไว้ใช้ยามจำเป็น โดยมีโอกาสถึง 50% ที่จะใช้คิวอี 3 ในไม่ช้าไม่นาน หลังกว้านซื้อพันธบัตรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมา 2 รอบแล้ว คิดเป็นมูลค่ามากถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์
"เบน เบอร์นันเก้" ประธานเฟด แสดงความไม่เห็นด้วยกับคำวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่า มาตรการเข้าซื้อพันธบัตรก่อนหน้านี้ไม่ได้ผล และกระสุนของเฟดกำลังจะหมด พร้อมกับส่งสัญญาณชัดเจนว่า เฟดพร้อมจะดำเนินการมากกว่านี้หากจำเป็น
มีคำถามว่า ทำไมเฟดไม่ใช้ยาแรงในการประชุมหนนี้ คำตอบอยู่ที่มาตรการคิวอีไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน และไม่ได้ผลที่จะใช้ในเงื่อนไขเศรษฐกิจตอนนี้ แม้ว่ามาตรการคิวอีอาจมีประโยชน์ในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงิน เพราะจะช่วยยับยั้งสถานการณ์เลวร้าย ด้วยการเติมสภาพคล่องในห้วงเวลาที่ตลาดต้องการมากที่สุด แต่หากไม่ใช่สถานการณ์เช่นนี้ คิวอีก็อาจไม่มีประโยชน์มากนัก
ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้ฟื้นตัวอย่างที่คาดหวัง เมื่อดูจากคำกล่าวของ "เบอร์นันเก้" ที่ระบุว่า เฟดมีความกังวลว่าวิกฤตหนี้ยุโรปที่ยืดเยื้อ จะกระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของสหรัฐ
ตัวเลขว่างงานในสหรัฐเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 8.2% และมีแนวโน้มที่ผู้ว่างงานอาจไม่มีโอกาสได้งานมากนักในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพราะการจ้างงานชะลอตัวลงในช่วง 2-3 เดือนมานี้ โดยในเดือนพฤษภาคม ยอดจ้างงานเพิ่มอยู่ที่ 69,000 ตำแหน่ง น้อยกว่าช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้วถึงกุมภาพันธ์ปีนี้ที่จ้างงานเพิ่มเฉลี่ย 252,000 ตำแหน่ง ล่าสุดเฟดประเมินว่าอัตราว่างงานไม่น่าจะลดต่ำกว่าระดับ 8% ในปีนี้
ไม่นับรวมสารพัดปัจจัยท้าทายเศรษฐกิจพญาอินทรี ทั้งการผลิตในโรงงานก็ลดลง เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ถูกสั่นคลอน ความเป็นไปได้ที่รัฐบาลสหรัฐจะปรับขึ้นภาษี รวมถึงการปรับลดรายจ่ายของภาครัฐ และการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปลายปีนี้ ซึ่งล้วนทอดเงาบดบังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ดังนั้น แม้เบอร์นันเก้จะยืนยันว่า เฟดไม่ได้กระสุนหมด แต่ดูเหมือนไม่ได้มีคนคล้อยตามมากนัก เพราะต่างรู้ดีว่าเฟดได้ทำทุกสิ่งเท่าที่จะทำได้แล้ว และเฟดก็กำลังจะไม่มีหลักทรัพย์ระยะสั้นที่จะเอามาขายแล้ว หลังจากขยายมาตรการโอเปอเรชั่น ทวิสต์ ครั้งนี้ หมายความว่า เฟดไม่น่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลักษณะนี้ก็มีต้นทุนและความเสี่ยงต่องบดุลของสหรัฐ
-
- Verified User
- โพสต์: 483
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 221
วันที่ 22 มิถุนายน 2555 05:55
มูดีส์หั่นเรตติ้งเครดิต15สถาบันการเงินโลก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
มูดีส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ 15 สถาบันการเงินชั้นนำโลก อ้างมีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุนเพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป
มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับชั้นนำ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้สถาบันการเงินชั้นนำโลก 15 แห่ง โดยให้เหตุผลว่า มีความเสี่ยงสูง ที่สถาบันการเงินเหล่านี้ จะขาดทุนเพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป ในจำนวนนี้ รวมถึง โกลด์แมน แซคส์ บาร์เคลย์ ซิติกรุ๊ป เอชเอสบีซี ดอยต์ช์ แบงก์ ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของสถาบันการเงินเหล่านี้สูงขึ้น
ทั้งนี้่ เครดิต สวิส ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือมากที่สุด 3 ขั้นจาก Aa1 ไปเป็น A1 ส่วนสถาบันการเงินอื่นๆ 4 แห่ง ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 1 ขั้น และอีก 10 แห่ง ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นหู้ลง 2 ขั้น พร้อมกันนี้ มูดีส์ ยังลดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทโฮลดิงในเครือของสถาบันการเงินเดียวกันลงด้วย
มูดีส์ เริ่มทำการทบทวนฐานะการเงินของบรรดาสถาบันการเงินเหล่านี้ตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมาและการประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินครั้งนี้เป็นไปอย่างที่ตลาดคาดการณ์
นอกจากนี้ มูดีส์ ยังปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ธนาคารลอยด์ส์ ทีบีเอส ของอังกฤษด้วย
15 สถาบันการเงินที่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจากมูดีส์ครั้งนี้ ประกอบด้วย แบงก์ ออฟ อเมริกา บาร์เคลย์ ซิติกรุ๊ป เครดิตสวิส โกลด์แมน แซคส์ เอชเอสบีซี เจพีมอร์แกน เชส มอร์แกน สแตนเลย์ โรยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ บีเอ็นพี พาริบาส์ เครดิต อกริโคล ดอยต์ช์ แบงก์ โรยัล แบงก์ ออฟ แคนาดา โซซิเอเต เจเนอราล และยูบีเอส
มูดีส์หั่นเรตติ้งเครดิต15สถาบันการเงินโลก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
มูดีส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ 15 สถาบันการเงินชั้นนำโลก อ้างมีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุนเพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป
มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับชั้นนำ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้สถาบันการเงินชั้นนำโลก 15 แห่ง โดยให้เหตุผลว่า มีความเสี่ยงสูง ที่สถาบันการเงินเหล่านี้ จะขาดทุนเพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป ในจำนวนนี้ รวมถึง โกลด์แมน แซคส์ บาร์เคลย์ ซิติกรุ๊ป เอชเอสบีซี ดอยต์ช์ แบงก์ ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของสถาบันการเงินเหล่านี้สูงขึ้น
ทั้งนี้่ เครดิต สวิส ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือมากที่สุด 3 ขั้นจาก Aa1 ไปเป็น A1 ส่วนสถาบันการเงินอื่นๆ 4 แห่ง ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 1 ขั้น และอีก 10 แห่ง ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นหู้ลง 2 ขั้น พร้อมกันนี้ มูดีส์ ยังลดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทโฮลดิงในเครือของสถาบันการเงินเดียวกันลงด้วย
มูดีส์ เริ่มทำการทบทวนฐานะการเงินของบรรดาสถาบันการเงินเหล่านี้ตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมาและการประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินครั้งนี้เป็นไปอย่างที่ตลาดคาดการณ์
นอกจากนี้ มูดีส์ ยังปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ธนาคารลอยด์ส์ ทีบีเอส ของอังกฤษด้วย
15 สถาบันการเงินที่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจากมูดีส์ครั้งนี้ ประกอบด้วย แบงก์ ออฟ อเมริกา บาร์เคลย์ ซิติกรุ๊ป เครดิตสวิส โกลด์แมน แซคส์ เอชเอสบีซี เจพีมอร์แกน เชส มอร์แกน สแตนเลย์ โรยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ บีเอ็นพี พาริบาส์ เครดิต อกริโคล ดอยต์ช์ แบงก์ โรยัล แบงก์ ออฟ แคนาดา โซซิเอเต เจเนอราล และยูบีเอส
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 222
ส่งออกไทยไปยุโรป"ระส่ำ" เหตุแบงก์"หยุดเปิด L/C งดปล่อยสินเชื่อ-งดค้ำประกันอัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 20:53:56 น.
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมาได้ประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference ) กับหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(ทูตพาณิชย์) โดยมอบหมายให้ทูตพาณิชย์ทั่วโลกจับตาสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างใกล้ชิดและความผันผวนของยุโรปและเศรษฐกิจโลก รวมถึงติดตามแนวโน้มและโอกาสการทำตลาดในประเทศนั้นว่า มีช่องทางอะไรบ้าง และการหาตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์และเชื่อมโยงซับพลายเชนในการพัฒนาสินค้าและการส่งออก โดยให้จัดส่งข้อมูลมาเป็นรายสัปดาห์ เพื่อประกอบแนวทางในการออกมาตรการและลดอุปสรรคปัญหา
"ให้ทูตพาณิชย์ทำงานให้หนักขึ้น เพื่อพยุงการส่งออกและผลัดกันเป้าหมายการส่งออกให้ได้ตามเป้าอย่างน้อย 15% โดยในการประชุมเวิร์กช้อปแก้ปัญหาส่งออก 29 มิถุนายนนี้ นายกรัฐมนตรีก็มารวมรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะรายงานสถานการณ์และเสนอแนวทางช่วยเหลือภาคส่งออก ซึ่งกรมส่งเสริมการส่งออกเตรียมจัดทำอยู่"นายบุญทรง กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากที่ได้หารือกับภาคเอกชน ต้องการให้รัฐบาลดูแลในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการปล่อยสินค้ามากสุด เพราะปัจจุบันสถาบันการเงินได้ชะลอหรือหยุดการปล่อยสินเชื่อและเปิดบัญชีซื้อขายระหว่างประเทศ( แอลซี ) รวมถึงค้ำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะตลาดยุโรปทำให้หลายธุรกิจเกิดปัญหาแล้ว รวมถึงดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวน ส่วนปัญหาอื่นๆ คือหาตลาดใหม่ทดแทนตลาดยุโรป ลดอุปสรรคกฎระเบียบนำเข้าสินค้าจากไทย และลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายของรัฐ อาทิ การชะลอการปรับเพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำ
"เอกชนอยากให้รัฐบาลจี้ธนาคารพาณิชย์ในเรื่องการปล่อยสินค้าและรับค้ำประกันความเสี่ยงการเงิน ของการส่งออกไปยุโรป ที่หลายแห่งเข้มงวดและชลอแล้ว เพราะวิตกว่าจะเป็นปัญหาต่อธนาคาร ก็อยากให้ธนาคารของรัฐเข้ามาร่วมแก้ปัญหาในเรื่องนี้เป็นการด่วน ไม่อย่างนั้นธุรกิจขนาดกลางและเอสเอ็มอี จะเกิดปัญหาสะสมและกระทบต่อสภาพคล่องธุรกิจในอนาคต"
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมาได้ประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference ) กับหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(ทูตพาณิชย์) โดยมอบหมายให้ทูตพาณิชย์ทั่วโลกจับตาสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างใกล้ชิดและความผันผวนของยุโรปและเศรษฐกิจโลก รวมถึงติดตามแนวโน้มและโอกาสการทำตลาดในประเทศนั้นว่า มีช่องทางอะไรบ้าง และการหาตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์และเชื่อมโยงซับพลายเชนในการพัฒนาสินค้าและการส่งออก โดยให้จัดส่งข้อมูลมาเป็นรายสัปดาห์ เพื่อประกอบแนวทางในการออกมาตรการและลดอุปสรรคปัญหา
"ให้ทูตพาณิชย์ทำงานให้หนักขึ้น เพื่อพยุงการส่งออกและผลัดกันเป้าหมายการส่งออกให้ได้ตามเป้าอย่างน้อย 15% โดยในการประชุมเวิร์กช้อปแก้ปัญหาส่งออก 29 มิถุนายนนี้ นายกรัฐมนตรีก็มารวมรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะรายงานสถานการณ์และเสนอแนวทางช่วยเหลือภาคส่งออก ซึ่งกรมส่งเสริมการส่งออกเตรียมจัดทำอยู่"นายบุญทรง กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากที่ได้หารือกับภาคเอกชน ต้องการให้รัฐบาลดูแลในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการปล่อยสินค้ามากสุด เพราะปัจจุบันสถาบันการเงินได้ชะลอหรือหยุดการปล่อยสินเชื่อและเปิดบัญชีซื้อขายระหว่างประเทศ( แอลซี ) รวมถึงค้ำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะตลาดยุโรปทำให้หลายธุรกิจเกิดปัญหาแล้ว รวมถึงดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวน ส่วนปัญหาอื่นๆ คือหาตลาดใหม่ทดแทนตลาดยุโรป ลดอุปสรรคกฎระเบียบนำเข้าสินค้าจากไทย และลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายของรัฐ อาทิ การชะลอการปรับเพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำ
"เอกชนอยากให้รัฐบาลจี้ธนาคารพาณิชย์ในเรื่องการปล่อยสินค้าและรับค้ำประกันความเสี่ยงการเงิน ของการส่งออกไปยุโรป ที่หลายแห่งเข้มงวดและชลอแล้ว เพราะวิตกว่าจะเป็นปัญหาต่อธนาคาร ก็อยากให้ธนาคารของรัฐเข้ามาร่วมแก้ปัญหาในเรื่องนี้เป็นการด่วน ไม่อย่างนั้นธุรกิจขนาดกลางและเอสเอ็มอี จะเกิดปัญหาสะสมและกระทบต่อสภาพคล่องธุรกิจในอนาคต"
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 223
EUROPE:ผู้นำ 4 ชาติยุโรปเห็นพ้องแผนกระตุ้นศก.วงเงิน 1.3 แสนล้านยูโร
โรม--25 มิ.ย.--รอยเตอร์
นายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนีได้บรรลุข้อตกลงกับผู้นำ
ของฝรั่งเศส, อิตาลี และสเปนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.30
แสนล้านยูโร (1.56 แสนล้านดอลลาร์)
ทั้งนี้ หลังการเจรจา 4 ฝ่ายในวันศุกร์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีมาริโอ
มอนติของอิตาลีกล่าวว่า สหภาพยุโรปควรออกมาตรการส่งเสริมการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจที่มีมูลค่าราว 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของ
ภูมิภาคในการประชุมสุดยอดผู้นำอียูในวันที่ 28-29 มิ.ย.นี้
นอกจากนี้ ผู้นำทั้ง 4 ยังได้ตกลงกันที่จะเดินหน้าเรื่องการจัดเก็บภาษี
ต่อการทำธุรกรรมทางการเงิน แม้มีสมาชิกอียูเพียง 12 ประเทศที่สนับสนุนการ
จัดตั้งระบบภาษี Tobin tax ดังกล่าว แต่ก็มากกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำที่ระบุว่า
ต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 9 ประเทศที่ให้ความเห็นชอบ
อย่างไรก็ดี ผู้นำฝรั่งเศส, อิตาลี และสเปนยังไม่สามารถผลักดันให้
นางเมอร์เคลเห็นพ้องกับการออกพันธบัตรยูโรโซน หรือให้มีการใช้กองทุนช่วยเหลือ
ของยุโรปอย่างยืดหยุ่นมากขึ้น--จบ--
โรม--25 มิ.ย.--รอยเตอร์
นายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนีได้บรรลุข้อตกลงกับผู้นำ
ของฝรั่งเศส, อิตาลี และสเปนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.30
แสนล้านยูโร (1.56 แสนล้านดอลลาร์)
ทั้งนี้ หลังการเจรจา 4 ฝ่ายในวันศุกร์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีมาริโอ
มอนติของอิตาลีกล่าวว่า สหภาพยุโรปควรออกมาตรการส่งเสริมการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจที่มีมูลค่าราว 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของ
ภูมิภาคในการประชุมสุดยอดผู้นำอียูในวันที่ 28-29 มิ.ย.นี้
นอกจากนี้ ผู้นำทั้ง 4 ยังได้ตกลงกันที่จะเดินหน้าเรื่องการจัดเก็บภาษี
ต่อการทำธุรกรรมทางการเงิน แม้มีสมาชิกอียูเพียง 12 ประเทศที่สนับสนุนการ
จัดตั้งระบบภาษี Tobin tax ดังกล่าว แต่ก็มากกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำที่ระบุว่า
ต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 9 ประเทศที่ให้ความเห็นชอบ
อย่างไรก็ดี ผู้นำฝรั่งเศส, อิตาลี และสเปนยังไม่สามารถผลักดันให้
นางเมอร์เคลเห็นพ้องกับการออกพันธบัตรยูโรโซน หรือให้มีการใช้กองทุนช่วยเหลือ
ของยุโรปอย่างยืดหยุ่นมากขึ้น--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 224
วิกฤตยุโรปทุบลงทุนดิ่ง! แบงก์ผวาครึ่งปีหลังเสี่ยงสูงสินเชื่อหด
แบงก์พาณิชย์ สถาบันการเงิน จับตาสัญญาณอันตรายคู่ค้าธุรกิจยุโรปเสี่ยงผิดนัดจ่ายเงิน กสิกรไทยเผยคู่ค้าต่างชาติเริ่มดึงสภาพคล่องพยายามยืดเครดิตเทอม หลังอัตราความเสี่ยงพุ่งกระฉูดเท่าตัวใน 3 เดือน เตือนลูกค้าเร่งป้องกันความเสี่ยงขอเปิด L/C พร้อมทำประกันสินเชื่อการค้าดันผู้ส่งออกต้นทุนเพิ่ม ฟากบิ๊กบอสแบงก์กรุงไทยหวั่นครึ่งปีหลังการลงทุนในประเทศชะลอตัว
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีวิกฤตหนี้ของยุโรปที่ทำให้สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศเริ่มมีสัญญาณความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระที่สูงขึ้นโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งอิตาลี สเปน และกรีซ พบว่าคู่ค้าในต่างประเทศพยายามยืดเทอมการชำระเงินให้ยาวขึ้น เพื่อพยายามจัดการสภาพคล่องในระยะนี้ที่กำลังตึงตัวมาก
โดยสัญญาณความเสี่ยงของประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีความชัดเจนมากขึ้นสะท้อนจากอัตราราคา Credit Default Swap (CDS) ซึ่งเป็นความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยอ้างอิงเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ พบว่าอัตราราคาของ CDS ระยะ 5 ปี ของสเปนอยู่ที่ 6% และอิตาลีอยู่ที่ 5.28% ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนว่าความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระสูงขึ้นมาก ขณะที่กรีซถือว่าเสี่ยงสูงมากจนไม่สามารถโควตราคา CDS แล้ว
นายทรงพลกล่าวว่า ผู้ส่งออกอาจจะหารูปแบบการซื้อขายอื่น ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ เช่น การขอ L/C (Letter of Credit) การซื้อประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade Credit Insurance) หรือการเรียกเงินประกันล่วงหน้าก่อนส่งมอบสินค้า ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกมีปัญหาเรื่องภาระต้นทุนที่สูงขึ้น
"ในมุมของธุรกิจแบงก์เองก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น ต้องระมัดระวังการปล่อยวงเงินเบิกเกินบัญชี" นายทรงพลกล่าว
การลงทุนครึ่งปีหลังชะลอตัว
ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ทุกธนาคารน่าจะเตรียมรับมือไว้อยู่แล้ว เพราะหากเหตุการณ์เลวร้ายจะทำให้สภาพคล่องหายไปบางส่วน ต้องดูแลลูกค้าที่เป็นคู่ค้ากับยุโรป ซึ่งต้องระวังเรื่องเก็บหนี้ไม่ได้
"ธุรกิจจากไทยส่งออกไปยุโรปสัดส่วนไม่สูงมาก ผลกระทบธุรกิจอาจจะขายของได้น้อยลง แต่ก็คงไม่ถึงกับเป็นหนี้เสีย แบงก์ก็ยังคงแผนการรับมือเอาไว้เช่นเดิม"
นายอภิศักดิ์มองว่า ปัญหาวิกฤตหนี้ในยุโรปน่าจะถูกยืดออกไปอีกระยะหนึ่ง เชื่อว่ากรีซน่าจะเจรจาต่อรองกับอียูอีกครั้ง และอียูที่น่าจะผ่อนปรนกฎเกณฑ์ให้หากสถานการณ์ของกรีซอยู่ได้ ประเทศสเปน โปรตุเกส และอิตาลีก็น่าจะยังอยู่ได้
นายอภิศักดิ์กล่าวว่า ผลจากวิกฤตยุโรปทำให้ลูกค้าหลายรายเริ่มไม่มั่นใจว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยมากแค่ไหน ทำให้หลายรายก็ชะลอแผนขยายการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ให้ชัดเจนก่อน
เบ้ยประกันสินเชื่อการค้าขยับ
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยสินเชื่อทางการค้ากล่าวว่าสถานการณ์ความเสี่ยงในปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการระดับกลางและใหญ่เริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจการทำประกันภัยสินเชื่อทางการค้ามากขึ้นกว่าเดิม
ส่วนสถานการณ์อัตราเบี้ยประกันภัยสินเชื่อทางการค้าในขณะนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า เบี้ยอาจจะถูกปรับขึ้นบ้างในบางพอร์ต โดยเฉพาะประเทศปลายทางมีปัญหา เพราะการประเมินความเสี่ยงก็จะดูจากปัจจัยความเสี่ยงประเทศและเรตติ้งของประเทศด้วย ถ้าประเทศถูกลดอันดับเครดิตเรตติ้งก็ทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น เบี้ยเฉพาะส่วนนี้ก็จะขยับขึ้นไปโดยอัตโนมัติเช่นกัน
"ปกติแล้วเราจะรับประกันทั้งพอร์ตที่ลูกค้าทำธุรกิจส่งออกไม่ได้เลือกรับเฉพาะประเทศ เพราะความเสี่ยงจะสูงเกินไป เมื่อเฉลี่ยทั้งพอร์ตก็จะทำให้ความเสี่ยงเฉลี่ยกันไป ไม่กระทบต่อค่าเบี้ย
มากนัก อัตราเบี้ยปัจจุบันก็ยังอยู่ในระดับเดิม ประมาณ 0.1-0.4% ของวงเงินคุ้มครอง" แหล่งข่าวกล่าว
ลูกค้ารายใหญ่ไม่มีปัญหา
นายคนิสร์ สุคนธมาน กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมา ธสน.ได้เตรียมแผนรับมือผลกระทบจากยุโรปเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่อาจมีผลกระทบในการประกอบธุรกิจ รวมถึงได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารพาณิชย์เพื่อเฝ้าติดตามปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
เบื้องต้นจากที่สอบถามลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกโดยเฉพาะในยุโรปยังไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เพราะบางส่วนก็มีการเตรียมแผนรับมือและบริหารความเสี่ยงของบริษัทแล้ว โดยเฉพาะบริษัทใหญ่อย่างกลุ่มปิโตรเลียมและอาหารรายใหญ่ ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่อาจประสบปัญหาวิกฤตดังกล่าว แต่ยังไม่ถือว่ารุนแรง
"ที่ผ่านมาเราประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกในยุโรปมาทำประกันความเสี่ยงในการทำธุรกิจแต่ลูกค้าก็ไม่ได้ทำเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งการประเมินความเสี่ยงของเบี้ยประกัน ธสน.จะต้องพิจารณาเป็นรายบริษัท เพราะความเสี่ยงของธุรกิจไม่เหมือนกัน หากความเสี่ยงสูงเบี้ยการทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ก็ต้องสูงตามความเสี่ยง" นายคนิสร์กล่าว
ด้านนายจารุพัฒน์ พานิชยิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายรับประกันความเสี่ยงการส่งออกของ ธสน. เปิดเผยว่า ยอดทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ (เทรดเครดิต) สิ้น พ.ค. 55 อยู่ที่ 63,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นยอดใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ สัดส่วนการทำเทรดเครดิตในปีนี้แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นจากปริมาณการทำธุรกิจมากขึ้น หากเทียบกับปีก่อนที่มียอดเทรดเครดิตรวมทั้งปีที่ 134,000 ล้านบาท
รับมือ ธ.ยุโรปขาดสภาพคล่อง
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทรกล่าวว่า ปีนี้เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัว 0.5% ซึ่งภายใต้ประมาณการดังกล่าวเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2% และ 5.7% ตามลำดับ แต่หากสถานการณ์ในยุโรปย่ำแย่ลง การหดตัวอาจจะมากถึง 2.5-4.5% ซึ่งจะฉุดให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงเหลือราว 2% เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพิงการส่งออกมูลค่าสูงถึง 70% ของจีดีพี
"ผลกระทบต่อประเทศไทยคือเรื่องการส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งมีความเสี่ยงระยะสั้นคือการขาดสภาพคล่องของธนาคารในยุโรป ซึ่งอาจทำให้ภาคการค้าสะดุดตามไปด้วย"
นายศุภวุฒิกล่าวว่า ใน 5-10 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับการชะลอตัวของภาคต่างประเทศ ซึ่งภาคธุรกิจไทยจะต้องยืดหยุ่นกับภาวะดังกล่าว โดยนโยบายภาครัฐเองก็ต้องยืดหยุ่นเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนด้วยเช่นกัน เช่น การสนับสนุนให้มีการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีการเติบโตดี
หอค้าไทยยันไม่ซื้อเบี้ยยุโรปวิกฤต
นายพรศิลป์พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทผู้ผลิตและส่งออกสินค้าจากไทยในกลุ่มสมาชิกของหอการค้าไทย จะเกี่ยวข้องกับการปรับเบี้ยประกันภัยก็เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์บางประเทศเกิดสงคราม หรือต้องลำเลียงสินค้าผ่านน่านน้ำที่มีความเสี่ยงเรื่องโจรสลัด
ส่วนกรณีวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปถูกประเมินสถานการณ์จะลุกลามบานปลายจนถึงขั้นต้องขึ้นเบี้ยประกันภัยความเสี่ยงประเภทประกันภัยลูกค้านั้นคงไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำ และตอนนี้ก็ยังไม่มีบริษัทรายใดมาหารือกับกลุ่มผู้ส่งออก แนวทางนี้จะทำได้เป็นรายกรณีไป เช่น ผู้ส่งออกบางบริษัทกับคู่ค้าปลายทางในกลุ่มสหภาพยุโรปยังค้าขายกันโดยมีความสัมพันธ์ไม่เหนียวแน่นแล้วเกรงเหตุวิกฤตครั้งนี้เมื่อส่งสินค้าไปแล้วจะถูกเบี้ยวจ่ายเงินบริษัทเหล่านั้นก็อาจจะตัดสินใจทำประกันเครดิตลูกค้าได้ แต่ในทางปฏิบัติธนาคารนำเข้าและส่งออกหรือเอ็กซิมแบงก์ จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเรื่องนี้ เพราะหากจะทำให้ทั่วประเทศต้องจ่ายเบี้ยประกันความเสี่ยงจากเหตุผลเรื่องวิกฤตคงเป็นไปไม่ได้
โฆสิต แนะรัฐ-เอกชนรับมือ
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ควรประมาท และต้องเตรียมเครื่องมือรองรับ เพราะเศรษฐกิจของยุโรปยังไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นบวกได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งภูมิคุ้มกันที่สามารถทำได้คือ รัฐต้องรักษาฐานะการคลังให้ขาดดุลน้อยลง ส่วนภาคเอกชนและธุรกิจต้องปรับตัว เช่น เพิ่มสัดส่วนส่งออกตลาดอาเซียนมากขึ้น ส่วนสถาบันการเงินก็ต้องเตรียมสภาพคล่องทั้งเงินบาทและเงินดอลลาร์ให้เพียงพอ เพื่อบรรเทาความตึงตัว เมื่อปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าวิกฤตซับไพรม
ปี 2550 ในส่วนของการรับมือของประเทศไทยนั้น ทางรัฐบาลไทยต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ เพราะปัจจุบันนโยบายประชานิยมของรัฐบาลยังไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ ส่วนการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ก็ยังมีแผนงานการเบิกจ่ายไม่ชัดเจน ทำให้รัฐบาลมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ขาดดุลงบประมาณสูง แต่ไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเท่าที่ควร ดังนั้นการลดขาดดุลจะช่วยให้รัฐบาลไทยมีกระสุนเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รองรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของวิกฤตในครั้งนี้
ประกันยื้อค่าชดเชย
นายสมพงษ์ กิติเรียงลาภ ประธานกรรมการบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 300 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทได้ทำประกันภัยกับบริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด ได้รับเงินชดเชยเพียง 5 ล้านบาท จากการประกันความเสียหายไว้ 45 ล้านบาท
แบงก์พาณิชย์ สถาบันการเงิน จับตาสัญญาณอันตรายคู่ค้าธุรกิจยุโรปเสี่ยงผิดนัดจ่ายเงิน กสิกรไทยเผยคู่ค้าต่างชาติเริ่มดึงสภาพคล่องพยายามยืดเครดิตเทอม หลังอัตราความเสี่ยงพุ่งกระฉูดเท่าตัวใน 3 เดือน เตือนลูกค้าเร่งป้องกันความเสี่ยงขอเปิด L/C พร้อมทำประกันสินเชื่อการค้าดันผู้ส่งออกต้นทุนเพิ่ม ฟากบิ๊กบอสแบงก์กรุงไทยหวั่นครึ่งปีหลังการลงทุนในประเทศชะลอตัว
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีวิกฤตหนี้ของยุโรปที่ทำให้สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศเริ่มมีสัญญาณความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระที่สูงขึ้นโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งอิตาลี สเปน และกรีซ พบว่าคู่ค้าในต่างประเทศพยายามยืดเทอมการชำระเงินให้ยาวขึ้น เพื่อพยายามจัดการสภาพคล่องในระยะนี้ที่กำลังตึงตัวมาก
โดยสัญญาณความเสี่ยงของประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีความชัดเจนมากขึ้นสะท้อนจากอัตราราคา Credit Default Swap (CDS) ซึ่งเป็นความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยอ้างอิงเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ พบว่าอัตราราคาของ CDS ระยะ 5 ปี ของสเปนอยู่ที่ 6% และอิตาลีอยู่ที่ 5.28% ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนว่าความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระสูงขึ้นมาก ขณะที่กรีซถือว่าเสี่ยงสูงมากจนไม่สามารถโควตราคา CDS แล้ว
นายทรงพลกล่าวว่า ผู้ส่งออกอาจจะหารูปแบบการซื้อขายอื่น ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ เช่น การขอ L/C (Letter of Credit) การซื้อประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade Credit Insurance) หรือการเรียกเงินประกันล่วงหน้าก่อนส่งมอบสินค้า ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกมีปัญหาเรื่องภาระต้นทุนที่สูงขึ้น
"ในมุมของธุรกิจแบงก์เองก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น ต้องระมัดระวังการปล่อยวงเงินเบิกเกินบัญชี" นายทรงพลกล่าว
การลงทุนครึ่งปีหลังชะลอตัว
ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ทุกธนาคารน่าจะเตรียมรับมือไว้อยู่แล้ว เพราะหากเหตุการณ์เลวร้ายจะทำให้สภาพคล่องหายไปบางส่วน ต้องดูแลลูกค้าที่เป็นคู่ค้ากับยุโรป ซึ่งต้องระวังเรื่องเก็บหนี้ไม่ได้
"ธุรกิจจากไทยส่งออกไปยุโรปสัดส่วนไม่สูงมาก ผลกระทบธุรกิจอาจจะขายของได้น้อยลง แต่ก็คงไม่ถึงกับเป็นหนี้เสีย แบงก์ก็ยังคงแผนการรับมือเอาไว้เช่นเดิม"
นายอภิศักดิ์มองว่า ปัญหาวิกฤตหนี้ในยุโรปน่าจะถูกยืดออกไปอีกระยะหนึ่ง เชื่อว่ากรีซน่าจะเจรจาต่อรองกับอียูอีกครั้ง และอียูที่น่าจะผ่อนปรนกฎเกณฑ์ให้หากสถานการณ์ของกรีซอยู่ได้ ประเทศสเปน โปรตุเกส และอิตาลีก็น่าจะยังอยู่ได้
นายอภิศักดิ์กล่าวว่า ผลจากวิกฤตยุโรปทำให้ลูกค้าหลายรายเริ่มไม่มั่นใจว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยมากแค่ไหน ทำให้หลายรายก็ชะลอแผนขยายการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ให้ชัดเจนก่อน
เบ้ยประกันสินเชื่อการค้าขยับ
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยสินเชื่อทางการค้ากล่าวว่าสถานการณ์ความเสี่ยงในปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการระดับกลางและใหญ่เริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจการทำประกันภัยสินเชื่อทางการค้ามากขึ้นกว่าเดิม
ส่วนสถานการณ์อัตราเบี้ยประกันภัยสินเชื่อทางการค้าในขณะนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า เบี้ยอาจจะถูกปรับขึ้นบ้างในบางพอร์ต โดยเฉพาะประเทศปลายทางมีปัญหา เพราะการประเมินความเสี่ยงก็จะดูจากปัจจัยความเสี่ยงประเทศและเรตติ้งของประเทศด้วย ถ้าประเทศถูกลดอันดับเครดิตเรตติ้งก็ทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น เบี้ยเฉพาะส่วนนี้ก็จะขยับขึ้นไปโดยอัตโนมัติเช่นกัน
"ปกติแล้วเราจะรับประกันทั้งพอร์ตที่ลูกค้าทำธุรกิจส่งออกไม่ได้เลือกรับเฉพาะประเทศ เพราะความเสี่ยงจะสูงเกินไป เมื่อเฉลี่ยทั้งพอร์ตก็จะทำให้ความเสี่ยงเฉลี่ยกันไป ไม่กระทบต่อค่าเบี้ย
มากนัก อัตราเบี้ยปัจจุบันก็ยังอยู่ในระดับเดิม ประมาณ 0.1-0.4% ของวงเงินคุ้มครอง" แหล่งข่าวกล่าว
ลูกค้ารายใหญ่ไม่มีปัญหา
นายคนิสร์ สุคนธมาน กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมา ธสน.ได้เตรียมแผนรับมือผลกระทบจากยุโรปเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่อาจมีผลกระทบในการประกอบธุรกิจ รวมถึงได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารพาณิชย์เพื่อเฝ้าติดตามปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
เบื้องต้นจากที่สอบถามลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกโดยเฉพาะในยุโรปยังไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เพราะบางส่วนก็มีการเตรียมแผนรับมือและบริหารความเสี่ยงของบริษัทแล้ว โดยเฉพาะบริษัทใหญ่อย่างกลุ่มปิโตรเลียมและอาหารรายใหญ่ ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่อาจประสบปัญหาวิกฤตดังกล่าว แต่ยังไม่ถือว่ารุนแรง
"ที่ผ่านมาเราประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกในยุโรปมาทำประกันความเสี่ยงในการทำธุรกิจแต่ลูกค้าก็ไม่ได้ทำเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งการประเมินความเสี่ยงของเบี้ยประกัน ธสน.จะต้องพิจารณาเป็นรายบริษัท เพราะความเสี่ยงของธุรกิจไม่เหมือนกัน หากความเสี่ยงสูงเบี้ยการทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ก็ต้องสูงตามความเสี่ยง" นายคนิสร์กล่าว
ด้านนายจารุพัฒน์ พานิชยิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายรับประกันความเสี่ยงการส่งออกของ ธสน. เปิดเผยว่า ยอดทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ (เทรดเครดิต) สิ้น พ.ค. 55 อยู่ที่ 63,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นยอดใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ สัดส่วนการทำเทรดเครดิตในปีนี้แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นจากปริมาณการทำธุรกิจมากขึ้น หากเทียบกับปีก่อนที่มียอดเทรดเครดิตรวมทั้งปีที่ 134,000 ล้านบาท
รับมือ ธ.ยุโรปขาดสภาพคล่อง
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทรกล่าวว่า ปีนี้เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัว 0.5% ซึ่งภายใต้ประมาณการดังกล่าวเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2% และ 5.7% ตามลำดับ แต่หากสถานการณ์ในยุโรปย่ำแย่ลง การหดตัวอาจจะมากถึง 2.5-4.5% ซึ่งจะฉุดให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงเหลือราว 2% เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพิงการส่งออกมูลค่าสูงถึง 70% ของจีดีพี
"ผลกระทบต่อประเทศไทยคือเรื่องการส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งมีความเสี่ยงระยะสั้นคือการขาดสภาพคล่องของธนาคารในยุโรป ซึ่งอาจทำให้ภาคการค้าสะดุดตามไปด้วย"
นายศุภวุฒิกล่าวว่า ใน 5-10 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับการชะลอตัวของภาคต่างประเทศ ซึ่งภาคธุรกิจไทยจะต้องยืดหยุ่นกับภาวะดังกล่าว โดยนโยบายภาครัฐเองก็ต้องยืดหยุ่นเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนด้วยเช่นกัน เช่น การสนับสนุนให้มีการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีการเติบโตดี
หอค้าไทยยันไม่ซื้อเบี้ยยุโรปวิกฤต
นายพรศิลป์พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทผู้ผลิตและส่งออกสินค้าจากไทยในกลุ่มสมาชิกของหอการค้าไทย จะเกี่ยวข้องกับการปรับเบี้ยประกันภัยก็เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์บางประเทศเกิดสงคราม หรือต้องลำเลียงสินค้าผ่านน่านน้ำที่มีความเสี่ยงเรื่องโจรสลัด
ส่วนกรณีวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปถูกประเมินสถานการณ์จะลุกลามบานปลายจนถึงขั้นต้องขึ้นเบี้ยประกันภัยความเสี่ยงประเภทประกันภัยลูกค้านั้นคงไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำ และตอนนี้ก็ยังไม่มีบริษัทรายใดมาหารือกับกลุ่มผู้ส่งออก แนวทางนี้จะทำได้เป็นรายกรณีไป เช่น ผู้ส่งออกบางบริษัทกับคู่ค้าปลายทางในกลุ่มสหภาพยุโรปยังค้าขายกันโดยมีความสัมพันธ์ไม่เหนียวแน่นแล้วเกรงเหตุวิกฤตครั้งนี้เมื่อส่งสินค้าไปแล้วจะถูกเบี้ยวจ่ายเงินบริษัทเหล่านั้นก็อาจจะตัดสินใจทำประกันเครดิตลูกค้าได้ แต่ในทางปฏิบัติธนาคารนำเข้าและส่งออกหรือเอ็กซิมแบงก์ จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเรื่องนี้ เพราะหากจะทำให้ทั่วประเทศต้องจ่ายเบี้ยประกันความเสี่ยงจากเหตุผลเรื่องวิกฤตคงเป็นไปไม่ได้
โฆสิต แนะรัฐ-เอกชนรับมือ
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ควรประมาท และต้องเตรียมเครื่องมือรองรับ เพราะเศรษฐกิจของยุโรปยังไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นบวกได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งภูมิคุ้มกันที่สามารถทำได้คือ รัฐต้องรักษาฐานะการคลังให้ขาดดุลน้อยลง ส่วนภาคเอกชนและธุรกิจต้องปรับตัว เช่น เพิ่มสัดส่วนส่งออกตลาดอาเซียนมากขึ้น ส่วนสถาบันการเงินก็ต้องเตรียมสภาพคล่องทั้งเงินบาทและเงินดอลลาร์ให้เพียงพอ เพื่อบรรเทาความตึงตัว เมื่อปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าวิกฤตซับไพรม
ปี 2550 ในส่วนของการรับมือของประเทศไทยนั้น ทางรัฐบาลไทยต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ เพราะปัจจุบันนโยบายประชานิยมของรัฐบาลยังไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ ส่วนการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ก็ยังมีแผนงานการเบิกจ่ายไม่ชัดเจน ทำให้รัฐบาลมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ขาดดุลงบประมาณสูง แต่ไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเท่าที่ควร ดังนั้นการลดขาดดุลจะช่วยให้รัฐบาลไทยมีกระสุนเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รองรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของวิกฤตในครั้งนี้
ประกันยื้อค่าชดเชย
นายสมพงษ์ กิติเรียงลาภ ประธานกรรมการบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 300 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทได้ทำประกันภัยกับบริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด ได้รับเงินชดเชยเพียง 5 ล้านบาท จากการประกันความเสียหายไว้ 45 ล้านบาท
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 225
wiss42 เขียน:วิกฤตยุโรปทุบลงทุนดิ่ง! แบงก์ผวาครึ่งปีหลังเสี่ยงสูงสินเชื่อหด
แบงก์พาณิชย์ สถาบันการเงิน จับตาสัญญาณอันตรายคู่ค้าธุรกิจยุโรปเสี่ยงผิดนัดจ่ายเงิน กสิกรไทยเผยคู่ค้าต่างชาติเริ่มดึงสภาพคล่องพยายามยืดเครดิตเทอม หลังอัตราความเสี่ยงพุ่งกระฉูดเท่าตัวใน 3 เดือน เตือนลูกค้าเร่งป้องกันความเสี่ยงขอเปิด L/C พร้อมทำประกันสินเชื่อการค้าดันผู้ส่งออกต้นทุนเพิ่ม ฟากบิ๊กบอสแบงก์กรุงไทยหวั่นครึ่งปีหลังการลงทุนในประเทศชะลอตัว
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีวิกฤตหนี้ของยุโรปที่ทำให้สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศเริ่มมีสัญญาณความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระที่สูงขึ้นโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งอิตาลี สเปน และกรีซ พบว่าคู่ค้าในต่างประเทศพยายามยืดเทอมการชำระเงินให้ยาวขึ้น เพื่อพยายามจัดการสภาพคล่องในระยะนี้ที่กำลังตึงตัวมาก
โดยสัญญาณความเสี่ยงของประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีความชัดเจนมากขึ้นสะท้อนจากอัตราราคา Credit Default Swap (CDS) ซึ่งเป็นความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยอ้างอิงเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ พบว่าอัตราราคาของ CDS ระยะ 5 ปี ของสเปนอยู่ที่ 6% และอิตาลีอยู่ที่ 5.28% ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนว่าความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระสูงขึ้นมาก ขณะที่กรีซถือว่าเสี่ยงสูงมากจนไม่สามารถโควตราคา CDS แล้ว
นายทรงพลกล่าวว่า ผู้ส่งออกอาจจะหารูปแบบการซื้อขายอื่น ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ เช่น การขอ L/C (Letter of Credit) การซื้อประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade Credit Insurance) หรือการเรียกเงินประกันล่วงหน้าก่อนส่งมอบสินค้า ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกมีปัญหาเรื่องภาระต้นทุนที่สูงขึ้น
"ในมุมของธุรกิจแบงก์เองก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น ต้องระมัดระวังการปล่อยวงเงินเบิกเกินบัญชี" นายทรงพลกล่าว
การลงทุนครึ่งปีหลังชะลอตัว
ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ทุกธนาคารน่าจะเตรียมรับมือไว้อยู่แล้ว เพราะหากเหตุการณ์เลวร้ายจะทำให้สภาพคล่องหายไปบางส่วน ต้องดูแลลูกค้าที่เป็นคู่ค้ากับยุโรป ซึ่งต้องระวังเรื่องเก็บหนี้ไม่ได้
"ธุรกิจจากไทยส่งออกไปยุโรปสัดส่วนไม่สูงมาก ผลกระทบธุรกิจอาจจะขายของได้น้อยลง แต่ก็คงไม่ถึงกับเป็นหนี้เสีย แบงก์ก็ยังคงแผนการรับมือเอาไว้เช่นเดิม"
นายอภิศักดิ์มองว่า ปัญหาวิกฤตหนี้ในยุโรปน่าจะถูกยืดออกไปอีกระยะหนึ่ง เชื่อว่ากรีซน่าจะเจรจาต่อรองกับอียูอีกครั้ง และอียูที่น่าจะผ่อนปรนกฎเกณฑ์ให้หากสถานการณ์ของกรีซอยู่ได้ ประเทศสเปน โปรตุเกส และอิตาลีก็น่าจะยังอยู่ได้
นายอภิศักดิ์กล่าวว่า ผลจากวิกฤตยุโรปทำให้ลูกค้าหลายรายเริ่มไม่มั่นใจว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยมากแค่ไหน ทำให้หลายรายก็ชะลอแผนขยายการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ให้ชัดเจนก่อน
เบ้ยประกันสินเชื่อการค้าขยับ
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยสินเชื่อทางการค้ากล่าวว่าสถานการณ์ความเสี่ยงในปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการระดับกลางและใหญ่เริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจการทำประกันภัยสินเชื่อทางการค้ามากขึ้นกว่าเดิม
ส่วนสถานการณ์อัตราเบี้ยประกันภัยสินเชื่อทางการค้าในขณะนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า เบี้ยอาจจะถูกปรับขึ้นบ้างในบางพอร์ต โดยเฉพาะประเทศปลายทางมีปัญหา เพราะการประเมินความเสี่ยงก็จะดูจากปัจจัยความเสี่ยงประเทศและเรตติ้งของประเทศด้วย ถ้าประเทศถูกลดอันดับเครดิตเรตติ้งก็ทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น เบี้ยเฉพาะส่วนนี้ก็จะขยับขึ้นไปโดยอัตโนมัติเช่นกัน
"ปกติแล้วเราจะรับประกันทั้งพอร์ตที่ลูกค้าทำธุรกิจส่งออกไม่ได้เลือกรับเฉพาะประเทศ เพราะความเสี่ยงจะสูงเกินไป เมื่อเฉลี่ยทั้งพอร์ตก็จะทำให้ความเสี่ยงเฉลี่ยกันไป ไม่กระทบต่อค่าเบี้ย
มากนัก อัตราเบี้ยปัจจุบันก็ยังอยู่ในระดับเดิม ประมาณ 0.1-0.4% ของวงเงินคุ้มครอง" แหล่งข่าวกล่าว
ลูกค้ารายใหญ่ไม่มีปัญหา
นายคนิสร์ สุคนธมาน กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมา ธสน.ได้เตรียมแผนรับมือผลกระทบจากยุโรปเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่อาจมีผลกระทบในการประกอบธุรกิจ รวมถึงได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารพาณิชย์เพื่อเฝ้าติดตามปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
เบื้องต้นจากที่สอบถามลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกโดยเฉพาะในยุโรปยังไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เพราะบางส่วนก็มีการเตรียมแผนรับมือและบริหารความเสี่ยงของบริษัทแล้ว โดยเฉพาะบริษัทใหญ่อย่างกลุ่มปิโตรเลียมและอาหารรายใหญ่ ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่อาจประสบปัญหาวิกฤตดังกล่าว แต่ยังไม่ถือว่ารุนแรง
"ที่ผ่านมาเราประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกในยุโรปมาทำประกันความเสี่ยงในการทำธุรกิจแต่ลูกค้าก็ไม่ได้ทำเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งการประเมินความเสี่ยงของเบี้ยประกัน ธสน.จะต้องพิจารณาเป็นรายบริษัท เพราะความเสี่ยงของธุรกิจไม่เหมือนกัน หากความเสี่ยงสูงเบี้ยการทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ก็ต้องสูงตามความเสี่ยง" นายคนิสร์กล่าว
ด้านนายจารุพัฒน์ พานิชยิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายรับประกันความเสี่ยงการส่งออกของ ธสน. เปิดเผยว่า ยอดทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ (เทรดเครดิต) สิ้น พ.ค. 55 อยู่ที่ 63,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นยอดใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ สัดส่วนการทำเทรดเครดิตในปีนี้แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นจากปริมาณการทำธุรกิจมากขึ้น หากเทียบกับปีก่อนที่มียอดเทรดเครดิตรวมทั้งปีที่ 134,000 ล้านบาท
รับมือ ธ.ยุโรปขาดสภาพคล่อง
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทรกล่าวว่า ปีนี้เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัว 0.5% ซึ่งภายใต้ประมาณการดังกล่าวเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2% และ 5.7% ตามลำดับ แต่หากสถานการณ์ในยุโรปย่ำแย่ลง การหดตัวอาจจะมากถึง 2.5-4.5% ซึ่งจะฉุดให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงเหลือราว 2% เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพิงการส่งออกมูลค่าสูงถึง 70% ของจีดีพี
"ผลกระทบต่อประเทศไทยคือเรื่องการส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งมีความเสี่ยงระยะสั้นคือการขาดสภาพคล่องของธนาคารในยุโรป ซึ่งอาจทำให้ภาคการค้าสะดุดตามไปด้วย"
นายศุภวุฒิกล่าวว่า ใน 5-10 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับการชะลอตัวของภาคต่างประเทศ ซึ่งภาคธุรกิจไทยจะต้องยืดหยุ่นกับภาวะดังกล่าว โดยนโยบายภาครัฐเองก็ต้องยืดหยุ่นเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนด้วยเช่นกัน เช่น การสนับสนุนให้มีการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีการเติบโตดี
หอค้าไทยยันไม่ซื้อเบี้ยยุโรปวิกฤต
นายพรศิลป์พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทผู้ผลิตและส่งออกสินค้าจากไทยในกลุ่มสมาชิกของหอการค้าไทย จะเกี่ยวข้องกับการปรับเบี้ยประกันภัยก็เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์บางประเทศเกิดสงคราม หรือต้องลำเลียงสินค้าผ่านน่านน้ำที่มีความเสี่ยงเรื่องโจรสลัด
ส่วนกรณีวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปถูกประเมินสถานการณ์จะลุกลามบานปลายจนถึงขั้นต้องขึ้นเบี้ยประกันภัยความเสี่ยงประเภทประกันภัยลูกค้านั้นคงไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำ และตอนนี้ก็ยังไม่มีบริษัทรายใดมาหารือกับกลุ่มผู้ส่งออก แนวทางนี้จะทำได้เป็นรายกรณีไป เช่น ผู้ส่งออกบางบริษัทกับคู่ค้าปลายทางในกลุ่มสหภาพยุโรปยังค้าขายกันโดยมีความสัมพันธ์ไม่เหนียวแน่นแล้วเกรงเหตุวิกฤตครั้งนี้เมื่อส่งสินค้าไปแล้วจะถูกเบี้ยวจ่ายเงินบริษัทเหล่านั้นก็อาจจะตัดสินใจทำประกันเครดิตลูกค้าได้ แต่ในทางปฏิบัติธนาคารนำเข้าและส่งออกหรือเอ็กซิมแบงก์ จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเรื่องนี้ เพราะหากจะทำให้ทั่วประเทศต้องจ่ายเบี้ยประกันความเสี่ยงจากเหตุผลเรื่องวิกฤตคงเป็นไปไม่ได้
โฆสิต แนะรัฐ-เอกชนรับมือ
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ควรประมาท และต้องเตรียมเครื่องมือรองรับ เพราะเศรษฐกิจของยุโรปยังไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นบวกได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งภูมิคุ้มกันที่สามารถทำได้คือ รัฐต้องรักษาฐานะการคลังให้ขาดดุลน้อยลง ส่วนภาคเอกชนและธุรกิจต้องปรับตัว เช่น เพิ่มสัดส่วนส่งออกตลาดอาเซียนมากขึ้น ส่วนสถาบันการเงินก็ต้องเตรียมสภาพคล่องทั้งเงินบาทและเงินดอลลาร์ให้เพียงพอ เพื่อบรรเทาความตึงตัว เมื่อปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าวิกฤตซับไพรม
ปี 2550 ในส่วนของการรับมือของประเทศไทยนั้น ทางรัฐบาลไทยต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ เพราะปัจจุบันนโยบายประชานิยมของรัฐบาลยังไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ ส่วนการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ก็ยังมีแผนงานการเบิกจ่ายไม่ชัดเจน ทำให้รัฐบาลมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ขาดดุลงบประมาณสูง แต่ไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเท่าที่ควร ดังนั้นการลดขาดดุลจะช่วยให้รัฐบาลไทยมีกระสุนเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รองรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของวิกฤตในครั้งนี้
ประกันยื้อค่าชดเชย
นายสมพงษ์ กิติเรียงลาภ ประธานกรรมการบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 300 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทได้ทำประกันภัยกับบริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด ได้รับเงินชดเชยเพียง 5 ล้านบาท จากการประกันความเสียหายไว้ 45 ล้านบาท
updated: 25 มิ.ย. 2555 เวลา 09:29:28 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 226
GREECE:กรีซเผชิญภาวะชะงักงันเจรจาต่อรองเจ้าหนี้ หลังรมว.คลังลาออกกะทันหัน
เอเธนส์--26 มิ.ย.--รอยเตอร์
นายวาสซิลิส ราปานอส ซึ่งเป็นรมว.คลังคนใหม่ของกรีซได้ลาออกจาก
ตำแหน่งเมื่อวานนี้เนื่องจากเหตุผลด้านสุขภาพ ส่งผลให้ความพยายามของรัฐบาลกรีซ
ที่จะเจรจาผ่อนปรนเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือทางการเงินที่กรีซทำไว้กับทาง
สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต้องเผชิญ
กับความสับสนในเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์หลังจากรัฐบาลเข้ารับตำแหน่ง
นายราปานอส วัย 64 ปี ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน
เมื่อวันศุกร์ก่อนการทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง โดยระบุว่าเขามีอาการปวดท้อง,
คลื่นไส้และเวียนศีรษะ
สำนักงานของนายแอนโทนิส ซามาราส ซึ่งเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันพุธที่ผ่านมาหลังการเลือกตั้งวันที่ 17 มิ.ย.ระบุว่า ทางสำนักงานได้ยอมรับ
การลาออกของนายราปานอสด้วยเหตุผลด้านสุขภาพแล้ว
ด้านนายกรัฐมนตรีซามาราสเองก็เพิ่งออกจากโรงพยาบาลหลังการผ่าตัด
ดวงตาเพื่อฟื้นฟูกระจกตาที่ได้รับความเสียหาย โดยทั้งนายซามาราสและนายราปานอส
ระบุว่า พวกเขาจะไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปในวันที่
28-29 มิ.ย.นี้
ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนการลาออกของนายราปานอสนั้น รายงานของ
โรงพยาบาลระบุว่า นายราปานอสจะออกจากโรงพยาบาลได้ในวันนี้ โดยเจ้าหน้าที่
รายหนึ่งของโรงพยาบาล Hygeia เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า นายราปานอสได้ทำการ
ตรวจกระเพาะและลำไส้ใหญ่ และผลการตรวจพบว่าปกติ
แหล่งข่าวจาก 1 ใน 3 พรรคร่วมรัฐบาลใหม่ระบุว่า นายราปานอส
เผชิญแรงกดดันอย่างหนักจากครอบครัวของเขาให้ปฏิเสธการรับตำแหน่งรมว.คลัง
ซึ่งเขาจะต้องทำการเจรจาต่อรองเพื่อขอผ่อนผันเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือ
เมื่อวานนี้ผู้นำทั้ง 3 พรรคได้ประกาศการทำโรดโชว์เพื่อพยายามที่จะ
โน้มน้าวให้ทางเจ้าหนี้ให้เวลาแก่กรีซมากขึ้นในการชำระคืนหนี้จำนวนมหาศาล
ปัญหาด้านสุขภาพของนายซามาราสและนายราปานอสทำให้รัฐบาลกรีซ
ต้องเลื่อนการประชุมครั้งแรกที่กำหนดไว้เมื่อวานนี้ระหว่างรัฐบาลใหม่กับกลุ่มทรอยกา
ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าหนี้ของกรีซที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของอียู, ธนาคารกลางยุโรป
(อีซีบี) และไอเอ็มเอฟ ขณะที่ยังไม่ได้มีการกำหนดวันประชุมใหม่แต่อย่างใด
รัฐบาลของนายซามาราสได้ให้สัญญาต่อประชาชนชาวกรีซว่าจะผ่อนปรน
เงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือ แต่เยอรมนีซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินช่วยเหลือรายใหญ่
ได้ส่งสัญญาณเมื่อวานนี้ว่า ยุโรปจะรอรายงานของทรอยกาเกี่ยวกับกรีซก่อนที่จะ
ทำการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับการปรับเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือ
สำหรับการประชุมสุดยอดของอียูเป็นเวลา 2 วันซึ่งจะเริ่มขึ้นในวัน
พฤหัสบดีนี้นั้น กรีซจะส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมประชุมซึ่งประกอบด้วยนายดิมิทริส
เอราโมโปลอส รมว.ต่างประเทศ และนายจอร์จ ซานิแอส รมว.คลังคนก่อน
ของกรีซ โดยมีประธานาธิบดีคาโรลอส ปาโปลิแอสเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน--จบ--
เอเธนส์--26 มิ.ย.--รอยเตอร์
นายวาสซิลิส ราปานอส ซึ่งเป็นรมว.คลังคนใหม่ของกรีซได้ลาออกจาก
ตำแหน่งเมื่อวานนี้เนื่องจากเหตุผลด้านสุขภาพ ส่งผลให้ความพยายามของรัฐบาลกรีซ
ที่จะเจรจาผ่อนปรนเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือทางการเงินที่กรีซทำไว้กับทาง
สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต้องเผชิญ
กับความสับสนในเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์หลังจากรัฐบาลเข้ารับตำแหน่ง
นายราปานอส วัย 64 ปี ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน
เมื่อวันศุกร์ก่อนการทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง โดยระบุว่าเขามีอาการปวดท้อง,
คลื่นไส้และเวียนศีรษะ
สำนักงานของนายแอนโทนิส ซามาราส ซึ่งเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันพุธที่ผ่านมาหลังการเลือกตั้งวันที่ 17 มิ.ย.ระบุว่า ทางสำนักงานได้ยอมรับ
การลาออกของนายราปานอสด้วยเหตุผลด้านสุขภาพแล้ว
ด้านนายกรัฐมนตรีซามาราสเองก็เพิ่งออกจากโรงพยาบาลหลังการผ่าตัด
ดวงตาเพื่อฟื้นฟูกระจกตาที่ได้รับความเสียหาย โดยทั้งนายซามาราสและนายราปานอส
ระบุว่า พวกเขาจะไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปในวันที่
28-29 มิ.ย.นี้
ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนการลาออกของนายราปานอสนั้น รายงานของ
โรงพยาบาลระบุว่า นายราปานอสจะออกจากโรงพยาบาลได้ในวันนี้ โดยเจ้าหน้าที่
รายหนึ่งของโรงพยาบาล Hygeia เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า นายราปานอสได้ทำการ
ตรวจกระเพาะและลำไส้ใหญ่ และผลการตรวจพบว่าปกติ
แหล่งข่าวจาก 1 ใน 3 พรรคร่วมรัฐบาลใหม่ระบุว่า นายราปานอส
เผชิญแรงกดดันอย่างหนักจากครอบครัวของเขาให้ปฏิเสธการรับตำแหน่งรมว.คลัง
ซึ่งเขาจะต้องทำการเจรจาต่อรองเพื่อขอผ่อนผันเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือ
เมื่อวานนี้ผู้นำทั้ง 3 พรรคได้ประกาศการทำโรดโชว์เพื่อพยายามที่จะ
โน้มน้าวให้ทางเจ้าหนี้ให้เวลาแก่กรีซมากขึ้นในการชำระคืนหนี้จำนวนมหาศาล
ปัญหาด้านสุขภาพของนายซามาราสและนายราปานอสทำให้รัฐบาลกรีซ
ต้องเลื่อนการประชุมครั้งแรกที่กำหนดไว้เมื่อวานนี้ระหว่างรัฐบาลใหม่กับกลุ่มทรอยกา
ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าหนี้ของกรีซที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของอียู, ธนาคารกลางยุโรป
(อีซีบี) และไอเอ็มเอฟ ขณะที่ยังไม่ได้มีการกำหนดวันประชุมใหม่แต่อย่างใด
รัฐบาลของนายซามาราสได้ให้สัญญาต่อประชาชนชาวกรีซว่าจะผ่อนปรน
เงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือ แต่เยอรมนีซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินช่วยเหลือรายใหญ่
ได้ส่งสัญญาณเมื่อวานนี้ว่า ยุโรปจะรอรายงานของทรอยกาเกี่ยวกับกรีซก่อนที่จะ
ทำการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับการปรับเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือ
สำหรับการประชุมสุดยอดของอียูเป็นเวลา 2 วันซึ่งจะเริ่มขึ้นในวัน
พฤหัสบดีนี้นั้น กรีซจะส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมประชุมซึ่งประกอบด้วยนายดิมิทริส
เอราโมโปลอส รมว.ต่างประเทศ และนายจอร์จ ซานิแอส รมว.คลังคนก่อน
ของกรีซ โดยมีประธานาธิบดีคาโรลอส ปาโปลิแอสเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 227
EUROPE:ผู้นำยุโรปเห็นพ้องให้ธนาคารยูโรโซนได้เงินกู้โดยตรงจากกองทุนยุโรป
บรัสเซลส์--29 มิ.ย.--รอยเตอร์
ผู้นำยุโรปได้บรรลุข้อตกลงที่จะจัดตั้งหน่วยงานแห่งหนึ่งขึ้นเพื่อกำกับดูแล
ภาคธนาคารของยูโรโซน และอนุญาตให้ธนาคารเหล่านี้ได้รับการเพิ่มทุนโดยตรง
จากกองทุนช่วยเหลือของยูโรโซน โดยไม่ต้องเพิ่มหนี้สินให้แก่รัฐบาล--จบ
บรัสเซลส์--29 มิ.ย.--รอยเตอร์
ผู้นำยุโรปได้บรรลุข้อตกลงที่จะจัดตั้งหน่วยงานแห่งหนึ่งขึ้นเพื่อกำกับดูแล
ภาคธนาคารของยูโรโซน และอนุญาตให้ธนาคารเหล่านี้ได้รับการเพิ่มทุนโดยตรง
จากกองทุนช่วยเหลือของยูโรโซน โดยไม่ต้องเพิ่มหนี้สินให้แก่รัฐบาล--จบ
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 228
EUROPE:นายกฯเยอรมนีมีท่าทีประนีประนอมแล้ว หลังขานรับผลประชุมอียูซัมมิท
บรัสเซลส์--29 มิ.ย.--รอยเตอร์
นางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวว่า เขารู้สึกพอใจ
กับผลการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) แม้ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ เขาได้ยืนยัน
ว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการฉุกเฉินเพื่อพยุงพันธบัตรของอิตาลีและสเปน
"เรามีการตัดสินใจที่ดีเมื่อวานนี้ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ
และการจัดการกับการว่างงาน และมาตรการในอนาคตสำหรับกองทุนรักษาเสถียรภาพ
การเงินยุโรป (EFSF) และกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) โดยเรา
จะยังคงจัดทำมาตรการระยะยาวต่อไป ซึ่งดิฉันเชื่อว่าเราจะได้ข้อสรุปที่ดีในวันนี้"
เขากล่าว
ท่าทีของนางเมอร์เคลถือว่าแตกต่างจากเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ซึ่งเขาระบุว่า
ยุโรปจะไม่แบ่งปันภาระหนี้ทั้งหมดร่วมกัน "ตราบใดที่ดิฉันยังมีชีวิตอยู่"
ในวันนี้ ผู้นำยูโรโซนจะหารือถึงแผนระยะยาวเพื่อสร้างสหภาพการคลัง
และธนาคารที่สอดคล้องกันมากขึ้น โดยพวกเขาได้ขอให้นายเฮอร์แมน แวน รอมพาย
ประธานสภายุโรป รวมทั้งประธานคณะกรรมาธิการยุโรป, ประธานธนาคารกลาง
ยุโรป (อีซีบี) และรมว.คลังยูโรกรุ๊ปยื่นข้อเสนอที่มีรายละเอียดภายในเดือนต.ค.
ทั้งนี้ ผู้นำยูโรโซนสามารถบรรลุข้อตกลงที่จะดำเนินมาตรการฉุกเฉิน
เพื่อทำให้ต้นทุนการกู้ยืมที่พุ่งขึ้นอย่างมากของอิตาลีและสเปนลดลง และจัดตั้ง
หน่วยงานแห่งหนึ่งขึ้นเพื่อกำกับดูแลภาคธนาคารของยูโรโซนภายในสิ้นปีนี้
ซึ่งเป็นมาตรการแรกที่จะนำไปสู่การจัดตั้งสหภาพธนาคารของยุโรป
นายแวน รอมพาย กล่าวว่า เป้าหมายของข้อตกลงนี้คือการจัดตั้ง
กลไกกำกับดูแลที่อีซีบีมีส่วนร่วมด้วยก่อนสิ้นปีนี้ และทำลาย "วงจรอุบาทว์"
ระหว่างธนาคารพาณิชย์และหนี้รัฐบาล
เขากล่าวว่า ประเทศที่ปฏิบัติตามนโยบายงบประมาณของสหภาพยุโรป
จะสามารถเข้าถึงกองทุน EFSF และกองทุน ESM เพื่อพยุงพันธบัตรรัฐบาลใน
ตลาดการเงิน
"เรากำลังเปิดโอกาสให้ประเทศที่ประพฤติดีสามารถใช้ประโยชน์จาก
เครื่องมือสร้างเสถียรภาพทางการเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตลาด และ
ฟื้นฟูเสถียรภาพของพันธบัตรรัฐบาลของประเทศสมาชิกของเรา" นายแวน รอมพาย
กล่าวในการแถลงข่าว หลังการประชุมร่วมกับผู้นำยูโรโซน 17 ประเทศ
ด้านนายมาริโอ มอนติ นายกรัฐมนตรีอิตาลี ขานรับการตัดสินใจของผู้นำ
ยูโรโซนในวันนี้ที่อนุญาตให้กองทุนช่วยเหลือของยูโรโซนสามารถเข้าซื้อพันธบัตรของ
ประเทศที่มีสถานะย่ำแย่ได้ และระบุว่ามาตรการต่างๆในการประชุมสุดยอดครั้งนี้
ได้เปิดโอกาสไปสู่การออกพันธบัตรร่วมกันของยูโรโซน
ทั้งนี้ หลังการหารือเป็นเวลาหลายชั่วโมง ผู้นำยูโรโซนก็ได้เห็นพ้องกันว่า
กองทุน ESM จะได้รับอนุญาตให้เพิ่มทุนธนาคารได้โดยตรง ทันทีที่มีการจัดตั้งหน่วยงาน
กำกับดูแลภาคธนาคาร ซึ่งจะอยู่ภายใต้การดูแลของอีซีบี
การดำเนินการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือสเปนในการแก้ไขปัญหา
ในภาคธนาคาร
นายมอนติกล่าวต่อผู้สื่อข่าวหลังการบรรลุข้อตกลงว่า "สิ่งนี้จะทำให้ยูโรโซน
มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น" และกล่าวเสริมว่า ข้อตกลงนี้และข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นการวางพื้นฐานสำหรับการออกพันธบัตรยูโรโซนในอนาคต
นายมอนติกล่าวว่า ประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือจาก ESM และ EFSF
สามารถขอความช่วยเหลือดังกล่าวได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือทางการเงิน
อย่างเต็มรูปแบบจากอียูและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตราบใด
ที่ประเทศนั้นปฏิบัติตามเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่กำหนดไว้
นายมอนติกล่าวว่า "ประเทศที่ต้องการใช้ประโยชน์จากกลไกรักษาเสถียรภาพ
เหล่านี้สามารถทำเช่นนั้นได้ โดยไม่ต้องมีโครงการหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม และไม่ต้อง
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทรอยกา"
ทั้งนี้ "ทรอยกา" ประกอบด้วยคณะเจ้าหน้าที่ของอียู, อีซีบี และไอเอ็มเอฟ
เอกสารที่รอยเตอร์ได้รับมาระบุว่า เจ้าหน้าที่การเงินระดับสูงของยุโรป
ได้ประชุมกันในระหว่างการประชุมสุดยอดครั้งนี้ และได้เสนอให้จัดตั้งหน่วยงานเดียว
ในการกำกับดูแลธนาคารทั่วยูโรโซน โดยที่อีซีบีจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ด้วย และ
เจ้าหน้าที่การเงินเสนอให้กองทุนคุ้มครองยูโรโซนสามารถเพิ่มทุนแก่ธนาคารพาณิชย์
ได้โดยตรง
เอกสารที่จะส่งให้ผู้นำอียูพิจารณาในครั้งนี้ระบุว่า ควรมีการใช้กองทุน EFSF
และกองทุน ESM "อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ" เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาด
รัฐบาลอิตาลีและสเปนต้องการให้มีการอนุญาตให้กองทุน EFSF และ ESM
สามารถเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและสเปน และอนุญาตให้กองทุนทั้ง 2 แห่งนี้
ปล่อยกู้โดยตรงเพื่อเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์สเปน โดยที่ไม่ส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณ
ของรัฐบาลต้องเพิ่มสูงขึ้น
หลังจากการหารือกันนาน 8 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่อียูคนหนึ่งกล่าวว่า "มีการ
ต่อสู้กันอย่างยืดยาวระหว่างผู้ที่ต้องการให้มีการดำเนินมาตรการร่วมกันในทันทีอย่าง
ไม่มีเงื่อนไข และผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารเศรษฐกิจยุโรปขั้นพื้นฐาน
และต้องการให้ยุโรปก้าวไปสู่เสถียรภาพ, วินัย และการเติบโตทางเศรษฐกิจ"
การประชุมสุดยอดของอียูในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 20 นับตั้งแต่วิกฤติหนี้
เริ่มต้นขึ้นในปี 2010 เมื่อรัฐบาลกรีซประกาศว่ายอดขาดดุลงบประมาณอยู่ในระดับ
ที่สูงกว่าที่เคยรายงานไว้เป็นอย่างมาก
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ
สูงสุดในรอบ 6 เดือนในการประมูลเมื่อวานนี้ และเหตุการณ์นี้เป็นการเพิ่มแรงกดดัน
ต่อนายกรัฐมนตรีมอนติ
รัฐบาลอิตาลีและสเปนได้ขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆสำหรับตลาด
พันธบัตรในช่วงที่ผ่านมา แต่รัฐบาลเยอรมนีและรัฐบาลประเทศอื่นๆนิ่งเฉยต่อเรื่องนี้
ทั้งนี้ กองทุนคุ้มครองยูโรโซนจะมีขนาดทุนทรัพย์สูงสุด 5 แสนล้านยูโร
(6.25 แสนล้านดอลลาร์) เมื่อมีการจัดสรรเงินให้แก่ ESM อย่างเต็มที่ในปี 2013
แหล่งข่าวกล่าวว่า มีแนวโน้มที่จะมีการปลดสถานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิของ ESM
ในการปล่อยกู้แก่สเปน ถ้าหากรัฐบาลสเปนออกตราสารหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันจาก
สินทรัพย์ของรัฐบาลหรือรายได้จากการจัดเก็บภาษี โดยนักลงทุนกังวลต่อสถานะเจ้าหนี้
บุริมสิทธิของ ESM เพราะสถานะดังกล่าวส่งผลให้ ESM จะได้รับการชำระหนี้จาก
รัฐบาลสเปนก่อนนักลงทุนเอกชนในกรณีที่สเปนผิดนัดชำระหนี้
แหล่งข่าวกล่าวว่า อิตาลีและสเปนยังคงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ
จากต่างประเทศ ถึงแม้สองประเทศนี้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ในช่วงที่ผ่านมา
โดยการขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศจะส่งผลให้ประเทศทั้งสองต้องปฏิบัติ
ตามเงื่อนไขทางการคลังและต้องอยู่ภายใต้การสอดส่องดูแลของต่างประเทศ
อย่างไรก็ดี สองประเทศนี้อาจจะไม่ต้องดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดหรือมาตรการ
ปฏิรูปโครงสร้างมากไปกว่าที่ได้ทำไปแล้ว
ทางด้านนายกรัฐมนตรีเมอร์เคลได้รับแรงกดดันจากภายในเยอรมนีให้
ต่อต้านความพยายามใดๆก็ตามที่จะให้เยอรมนีค้ำประกันหนี้ยุโรปหรือธนาคารพาณิชย์
ในยุโรป โดยหนังสือพิมพ์ฮันเดลส์บลาทท์ของเยอรมนีลงข้อความในพาดหัวข่าวว่า
"Nein! No! Non!" เพื่อย้ำให้นางเมอร์เคลปฏิเสธแนวคิดนี้
นางเมอร์เคลยืนยันว่า ก่อนที่จะมีการแบกรับภาระหนี้ร่วมกันในอียู
อียูจำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูปขั้นพื้นฐานก่อน เพื่อให้อียูมีอำนาจควบคุมงบประมาณ
และนโยบายเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
นายมอนติก็ได้รับแรงกดดันจากภายในอิตาลีเช่นกัน โดยเขาต้องพยายาม
กดดันต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีให้ลดต่ำลง ไม่เช่นนั้นรัฐบาลเทคโนแครตของเขาอาจ
จะล่มสลายลงภายในเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้า ในขณะที่พรรคการเมืองที่สนับสนุนเขา
เตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งใหม่ในอิตาลี
ยูโรร่วงลงไปแตะจุดต่ำสุดรอบ 3 สัปดาห์เมื่อวานนี้ และตลาดหุ้นทั่วโลก
ก็ดิ่งลงด้วยเช่นกัน ในขณะที่นักลงทุนคาดว่าการประชุมสุดยอดในครั้งนี้จะไม่ส่งผล
ให้มีการดำเนินมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้วิกฤติ โดยปัจจัยนี้ส่งผลให้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือระดับอันตราย
ที่ 7 %
ปธน.ออลลองด์ของฝรั่งเศสสนับสนุนการออกพันธบัตรยูโรโซนร่วมกัน
เพราะจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอลดต่ำลง เนื่องจาก
เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในยูโรโซนจะร่วมค้ำประกัน
พันธบัตรดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ดี เยอรมนีไม่ต้องการให้มีการใช้อันดับความน่าเชื่อถือขั้นสูงสุด
ของเยอรมนีในการช่วยเหลือประเทศอื่นๆ นอกจากว่าประเทศอื่นๆจะแบ่งปันอำนาจ
ควบคุมภาษีและงบใช้จ่ายของประเทศตนเองก่อน ขณะที่นายมาร์ค รัทเทอ นายก
รัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์เห็นพ้องกับนางเมอร์เคลในการคัดค้านการแบกรับภาระหนี้
ร่วมกันในระยะอันใกล้นี้
นายรัทเทอกล่าวว่า "สิ่งที่สำคัญสำหรับเราคือการหลีกเลี่ยงมาตรการ
ใดๆก็ตามที่จะเป็นการลดแรงกดดันต่อประเทศทางตอนใต้ของยุโรปในการปฏิรูป"
นายอเล็กซ์ สตับบ์ รัฐมนตรียุโรปของฟินแลนด์กล่าวว่า ยุโรปควร
เตรียมพร้อมที่จะอยู่กับภาวะวิกฤติต่อไปจนถึงสิ้นทศวรรษนี้ แต่เขากล่าวว่า
ยุโรปจะกลายเป็นทวีปที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นใน
อนาคต
นายสตับบ์กล่าวว่า "วิกฤติครั้งนี้อาจจะเป็นวิกฤติที่ดีที่สุดเท่าที่เรา
เคยประสบมา เพราะจะบีบบังคับให้ผู้นำยุโรปต้องตัดสินใจในเรื่องที่ยากลำบาก
และเราทุกคนต่างก็รู้ดีว่าแทบไม่เคยมีการตัดสินใจในประเด็นที่ยากลำบาก
ถ้าหากสถานการณ์อยู่ในภาวะผ่อนคลาย"--จบ--
บรัสเซลส์--29 มิ.ย.--รอยเตอร์
นางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวว่า เขารู้สึกพอใจ
กับผลการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) แม้ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ เขาได้ยืนยัน
ว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการฉุกเฉินเพื่อพยุงพันธบัตรของอิตาลีและสเปน
"เรามีการตัดสินใจที่ดีเมื่อวานนี้ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ
และการจัดการกับการว่างงาน และมาตรการในอนาคตสำหรับกองทุนรักษาเสถียรภาพ
การเงินยุโรป (EFSF) และกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) โดยเรา
จะยังคงจัดทำมาตรการระยะยาวต่อไป ซึ่งดิฉันเชื่อว่าเราจะได้ข้อสรุปที่ดีในวันนี้"
เขากล่าว
ท่าทีของนางเมอร์เคลถือว่าแตกต่างจากเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ซึ่งเขาระบุว่า
ยุโรปจะไม่แบ่งปันภาระหนี้ทั้งหมดร่วมกัน "ตราบใดที่ดิฉันยังมีชีวิตอยู่"
ในวันนี้ ผู้นำยูโรโซนจะหารือถึงแผนระยะยาวเพื่อสร้างสหภาพการคลัง
และธนาคารที่สอดคล้องกันมากขึ้น โดยพวกเขาได้ขอให้นายเฮอร์แมน แวน รอมพาย
ประธานสภายุโรป รวมทั้งประธานคณะกรรมาธิการยุโรป, ประธานธนาคารกลาง
ยุโรป (อีซีบี) และรมว.คลังยูโรกรุ๊ปยื่นข้อเสนอที่มีรายละเอียดภายในเดือนต.ค.
ทั้งนี้ ผู้นำยูโรโซนสามารถบรรลุข้อตกลงที่จะดำเนินมาตรการฉุกเฉิน
เพื่อทำให้ต้นทุนการกู้ยืมที่พุ่งขึ้นอย่างมากของอิตาลีและสเปนลดลง และจัดตั้ง
หน่วยงานแห่งหนึ่งขึ้นเพื่อกำกับดูแลภาคธนาคารของยูโรโซนภายในสิ้นปีนี้
ซึ่งเป็นมาตรการแรกที่จะนำไปสู่การจัดตั้งสหภาพธนาคารของยุโรป
นายแวน รอมพาย กล่าวว่า เป้าหมายของข้อตกลงนี้คือการจัดตั้ง
กลไกกำกับดูแลที่อีซีบีมีส่วนร่วมด้วยก่อนสิ้นปีนี้ และทำลาย "วงจรอุบาทว์"
ระหว่างธนาคารพาณิชย์และหนี้รัฐบาล
เขากล่าวว่า ประเทศที่ปฏิบัติตามนโยบายงบประมาณของสหภาพยุโรป
จะสามารถเข้าถึงกองทุน EFSF และกองทุน ESM เพื่อพยุงพันธบัตรรัฐบาลใน
ตลาดการเงิน
"เรากำลังเปิดโอกาสให้ประเทศที่ประพฤติดีสามารถใช้ประโยชน์จาก
เครื่องมือสร้างเสถียรภาพทางการเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตลาด และ
ฟื้นฟูเสถียรภาพของพันธบัตรรัฐบาลของประเทศสมาชิกของเรา" นายแวน รอมพาย
กล่าวในการแถลงข่าว หลังการประชุมร่วมกับผู้นำยูโรโซน 17 ประเทศ
ด้านนายมาริโอ มอนติ นายกรัฐมนตรีอิตาลี ขานรับการตัดสินใจของผู้นำ
ยูโรโซนในวันนี้ที่อนุญาตให้กองทุนช่วยเหลือของยูโรโซนสามารถเข้าซื้อพันธบัตรของ
ประเทศที่มีสถานะย่ำแย่ได้ และระบุว่ามาตรการต่างๆในการประชุมสุดยอดครั้งนี้
ได้เปิดโอกาสไปสู่การออกพันธบัตรร่วมกันของยูโรโซน
ทั้งนี้ หลังการหารือเป็นเวลาหลายชั่วโมง ผู้นำยูโรโซนก็ได้เห็นพ้องกันว่า
กองทุน ESM จะได้รับอนุญาตให้เพิ่มทุนธนาคารได้โดยตรง ทันทีที่มีการจัดตั้งหน่วยงาน
กำกับดูแลภาคธนาคาร ซึ่งจะอยู่ภายใต้การดูแลของอีซีบี
การดำเนินการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือสเปนในการแก้ไขปัญหา
ในภาคธนาคาร
นายมอนติกล่าวต่อผู้สื่อข่าวหลังการบรรลุข้อตกลงว่า "สิ่งนี้จะทำให้ยูโรโซน
มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น" และกล่าวเสริมว่า ข้อตกลงนี้และข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นการวางพื้นฐานสำหรับการออกพันธบัตรยูโรโซนในอนาคต
นายมอนติกล่าวว่า ประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือจาก ESM และ EFSF
สามารถขอความช่วยเหลือดังกล่าวได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือทางการเงิน
อย่างเต็มรูปแบบจากอียูและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตราบใด
ที่ประเทศนั้นปฏิบัติตามเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่กำหนดไว้
นายมอนติกล่าวว่า "ประเทศที่ต้องการใช้ประโยชน์จากกลไกรักษาเสถียรภาพ
เหล่านี้สามารถทำเช่นนั้นได้ โดยไม่ต้องมีโครงการหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม และไม่ต้อง
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทรอยกา"
ทั้งนี้ "ทรอยกา" ประกอบด้วยคณะเจ้าหน้าที่ของอียู, อีซีบี และไอเอ็มเอฟ
เอกสารที่รอยเตอร์ได้รับมาระบุว่า เจ้าหน้าที่การเงินระดับสูงของยุโรป
ได้ประชุมกันในระหว่างการประชุมสุดยอดครั้งนี้ และได้เสนอให้จัดตั้งหน่วยงานเดียว
ในการกำกับดูแลธนาคารทั่วยูโรโซน โดยที่อีซีบีจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ด้วย และ
เจ้าหน้าที่การเงินเสนอให้กองทุนคุ้มครองยูโรโซนสามารถเพิ่มทุนแก่ธนาคารพาณิชย์
ได้โดยตรง
เอกสารที่จะส่งให้ผู้นำอียูพิจารณาในครั้งนี้ระบุว่า ควรมีการใช้กองทุน EFSF
และกองทุน ESM "อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ" เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาด
รัฐบาลอิตาลีและสเปนต้องการให้มีการอนุญาตให้กองทุน EFSF และ ESM
สามารถเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและสเปน และอนุญาตให้กองทุนทั้ง 2 แห่งนี้
ปล่อยกู้โดยตรงเพื่อเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์สเปน โดยที่ไม่ส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณ
ของรัฐบาลต้องเพิ่มสูงขึ้น
หลังจากการหารือกันนาน 8 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่อียูคนหนึ่งกล่าวว่า "มีการ
ต่อสู้กันอย่างยืดยาวระหว่างผู้ที่ต้องการให้มีการดำเนินมาตรการร่วมกันในทันทีอย่าง
ไม่มีเงื่อนไข และผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารเศรษฐกิจยุโรปขั้นพื้นฐาน
และต้องการให้ยุโรปก้าวไปสู่เสถียรภาพ, วินัย และการเติบโตทางเศรษฐกิจ"
การประชุมสุดยอดของอียูในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 20 นับตั้งแต่วิกฤติหนี้
เริ่มต้นขึ้นในปี 2010 เมื่อรัฐบาลกรีซประกาศว่ายอดขาดดุลงบประมาณอยู่ในระดับ
ที่สูงกว่าที่เคยรายงานไว้เป็นอย่างมาก
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ
สูงสุดในรอบ 6 เดือนในการประมูลเมื่อวานนี้ และเหตุการณ์นี้เป็นการเพิ่มแรงกดดัน
ต่อนายกรัฐมนตรีมอนติ
รัฐบาลอิตาลีและสเปนได้ขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆสำหรับตลาด
พันธบัตรในช่วงที่ผ่านมา แต่รัฐบาลเยอรมนีและรัฐบาลประเทศอื่นๆนิ่งเฉยต่อเรื่องนี้
ทั้งนี้ กองทุนคุ้มครองยูโรโซนจะมีขนาดทุนทรัพย์สูงสุด 5 แสนล้านยูโร
(6.25 แสนล้านดอลลาร์) เมื่อมีการจัดสรรเงินให้แก่ ESM อย่างเต็มที่ในปี 2013
แหล่งข่าวกล่าวว่า มีแนวโน้มที่จะมีการปลดสถานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิของ ESM
ในการปล่อยกู้แก่สเปน ถ้าหากรัฐบาลสเปนออกตราสารหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันจาก
สินทรัพย์ของรัฐบาลหรือรายได้จากการจัดเก็บภาษี โดยนักลงทุนกังวลต่อสถานะเจ้าหนี้
บุริมสิทธิของ ESM เพราะสถานะดังกล่าวส่งผลให้ ESM จะได้รับการชำระหนี้จาก
รัฐบาลสเปนก่อนนักลงทุนเอกชนในกรณีที่สเปนผิดนัดชำระหนี้
แหล่งข่าวกล่าวว่า อิตาลีและสเปนยังคงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ
จากต่างประเทศ ถึงแม้สองประเทศนี้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ในช่วงที่ผ่านมา
โดยการขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศจะส่งผลให้ประเทศทั้งสองต้องปฏิบัติ
ตามเงื่อนไขทางการคลังและต้องอยู่ภายใต้การสอดส่องดูแลของต่างประเทศ
อย่างไรก็ดี สองประเทศนี้อาจจะไม่ต้องดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดหรือมาตรการ
ปฏิรูปโครงสร้างมากไปกว่าที่ได้ทำไปแล้ว
ทางด้านนายกรัฐมนตรีเมอร์เคลได้รับแรงกดดันจากภายในเยอรมนีให้
ต่อต้านความพยายามใดๆก็ตามที่จะให้เยอรมนีค้ำประกันหนี้ยุโรปหรือธนาคารพาณิชย์
ในยุโรป โดยหนังสือพิมพ์ฮันเดลส์บลาทท์ของเยอรมนีลงข้อความในพาดหัวข่าวว่า
"Nein! No! Non!" เพื่อย้ำให้นางเมอร์เคลปฏิเสธแนวคิดนี้
นางเมอร์เคลยืนยันว่า ก่อนที่จะมีการแบกรับภาระหนี้ร่วมกันในอียู
อียูจำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูปขั้นพื้นฐานก่อน เพื่อให้อียูมีอำนาจควบคุมงบประมาณ
และนโยบายเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
นายมอนติก็ได้รับแรงกดดันจากภายในอิตาลีเช่นกัน โดยเขาต้องพยายาม
กดดันต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีให้ลดต่ำลง ไม่เช่นนั้นรัฐบาลเทคโนแครตของเขาอาจ
จะล่มสลายลงภายในเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้า ในขณะที่พรรคการเมืองที่สนับสนุนเขา
เตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งใหม่ในอิตาลี
ยูโรร่วงลงไปแตะจุดต่ำสุดรอบ 3 สัปดาห์เมื่อวานนี้ และตลาดหุ้นทั่วโลก
ก็ดิ่งลงด้วยเช่นกัน ในขณะที่นักลงทุนคาดว่าการประชุมสุดยอดในครั้งนี้จะไม่ส่งผล
ให้มีการดำเนินมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้วิกฤติ โดยปัจจัยนี้ส่งผลให้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือระดับอันตราย
ที่ 7 %
ปธน.ออลลองด์ของฝรั่งเศสสนับสนุนการออกพันธบัตรยูโรโซนร่วมกัน
เพราะจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอลดต่ำลง เนื่องจาก
เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในยูโรโซนจะร่วมค้ำประกัน
พันธบัตรดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ดี เยอรมนีไม่ต้องการให้มีการใช้อันดับความน่าเชื่อถือขั้นสูงสุด
ของเยอรมนีในการช่วยเหลือประเทศอื่นๆ นอกจากว่าประเทศอื่นๆจะแบ่งปันอำนาจ
ควบคุมภาษีและงบใช้จ่ายของประเทศตนเองก่อน ขณะที่นายมาร์ค รัทเทอ นายก
รัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์เห็นพ้องกับนางเมอร์เคลในการคัดค้านการแบกรับภาระหนี้
ร่วมกันในระยะอันใกล้นี้
นายรัทเทอกล่าวว่า "สิ่งที่สำคัญสำหรับเราคือการหลีกเลี่ยงมาตรการ
ใดๆก็ตามที่จะเป็นการลดแรงกดดันต่อประเทศทางตอนใต้ของยุโรปในการปฏิรูป"
นายอเล็กซ์ สตับบ์ รัฐมนตรียุโรปของฟินแลนด์กล่าวว่า ยุโรปควร
เตรียมพร้อมที่จะอยู่กับภาวะวิกฤติต่อไปจนถึงสิ้นทศวรรษนี้ แต่เขากล่าวว่า
ยุโรปจะกลายเป็นทวีปที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นใน
อนาคต
นายสตับบ์กล่าวว่า "วิกฤติครั้งนี้อาจจะเป็นวิกฤติที่ดีที่สุดเท่าที่เรา
เคยประสบมา เพราะจะบีบบังคับให้ผู้นำยุโรปต้องตัดสินใจในเรื่องที่ยากลำบาก
และเราทุกคนต่างก็รู้ดีว่าแทบไม่เคยมีการตัดสินใจในประเด็นที่ยากลำบาก
ถ้าหากสถานการณ์อยู่ในภาวะผ่อนคลาย"--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 229
อัตราว่างงาน"ยูโรโซน"พุ่ง 11.1% ทำสถิติใหม่ "สเปน"หนักสุด ปชช.ตกงานเกือบ 1 ใน 4
อัตราการว่างงานของกลุ่มยูโรโซน หรือ 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโร ทำสถิติพุ่งสูงครั้งใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
โดยยูโรสแตท หรือสำนักงานสถิติแห่งยุโรป เผยว่า อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.1 ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เทียบกับร้อยละ 11 เมื่อเดือนเมษายน ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการใช้งินสกุลยูโรเมื่อปี 1999 และสูงกว่าสหรัฐฯที่ร้อยละ 8.2 และญี่ปุ่นที่ร้อยละ 4.4
สเปนถือเป็นประเทศที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดที่ร้อยละ 24.6 หรือเกือบ 1 ใน 4 ของประชากร โดยเฉพาะในกลุ่มคนหนุ่มสาว ซึ่งสูงถึงร้อยละ 52.1 รองลงมา คือ กรีซที่ร้อยละ 21.9, ลัตเวีย ร้อยละ 15.3 และโปรตุเกส ร้อยละ 15.2 ขณะที่เยอรมนี ประเทศที่แข็งแกร่งที่สุดในกลุ่ม อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 5.6
ขณะที่ประเทศในยุโรปนอกกลุ่มยูโรโซนอย่างสหราชอาณาจักรและโปแลนด์ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 10.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ข้อมูลจากยูโรสแตท ระบุว่า จำนวนผู้ว่างงานใน 17 ประเทศยูโรโซนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีมากกว่า 17.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.1 ของประชากรในกลุ่มประเทศยูโรโซนทั้งหมด ถือเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 11.0 ขณะที่ตัวเลขของผู้ว่างงานที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีลงมาในกลุ่มยูโรโซนในเดือนพฤษภาคม ยังคงเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านคน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 254,000 คน
ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาถึงอัตราการว่างงานทั่วทั้งสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งมีสมาชิกทั้งสิ้น 27 ประเทศ ในเดือนพฤษภาคมพบว่าเพิ่มขึ้นกว่า 151,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 10.3 จากเมื่อเดือนเมษายน ที่มีผู้ว่างงานในอียูร้อยละ 10.2
ทั้งนี้ ออสเตรียถือเป็นประเทศที่อัตราการว่างงานต่ำสุดที่ร้อยละ 4.1 ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก และเยอรมนีที่ร้อยละ 5.1, 5.4 และ 5.6 ตามลำดับ
วันที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 22:00:40 น มติชน ออนไลน์
อัตราการว่างงานของกลุ่มยูโรโซน หรือ 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโร ทำสถิติพุ่งสูงครั้งใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
โดยยูโรสแตท หรือสำนักงานสถิติแห่งยุโรป เผยว่า อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.1 ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เทียบกับร้อยละ 11 เมื่อเดือนเมษายน ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการใช้งินสกุลยูโรเมื่อปี 1999 และสูงกว่าสหรัฐฯที่ร้อยละ 8.2 และญี่ปุ่นที่ร้อยละ 4.4
สเปนถือเป็นประเทศที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดที่ร้อยละ 24.6 หรือเกือบ 1 ใน 4 ของประชากร โดยเฉพาะในกลุ่มคนหนุ่มสาว ซึ่งสูงถึงร้อยละ 52.1 รองลงมา คือ กรีซที่ร้อยละ 21.9, ลัตเวีย ร้อยละ 15.3 และโปรตุเกส ร้อยละ 15.2 ขณะที่เยอรมนี ประเทศที่แข็งแกร่งที่สุดในกลุ่ม อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 5.6
ขณะที่ประเทศในยุโรปนอกกลุ่มยูโรโซนอย่างสหราชอาณาจักรและโปแลนด์ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 10.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ข้อมูลจากยูโรสแตท ระบุว่า จำนวนผู้ว่างงานใน 17 ประเทศยูโรโซนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีมากกว่า 17.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.1 ของประชากรในกลุ่มประเทศยูโรโซนทั้งหมด ถือเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 11.0 ขณะที่ตัวเลขของผู้ว่างงานที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีลงมาในกลุ่มยูโรโซนในเดือนพฤษภาคม ยังคงเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านคน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 254,000 คน
ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาถึงอัตราการว่างงานทั่วทั้งสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งมีสมาชิกทั้งสิ้น 27 ประเทศ ในเดือนพฤษภาคมพบว่าเพิ่มขึ้นกว่า 151,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 10.3 จากเมื่อเดือนเมษายน ที่มีผู้ว่างงานในอียูร้อยละ 10.2
ทั้งนี้ ออสเตรียถือเป็นประเทศที่อัตราการว่างงานต่ำสุดที่ร้อยละ 4.1 ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก และเยอรมนีที่ร้อยละ 5.1, 5.4 และ 5.6 ตามลำดับ
วันที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 22:00:40 น มติชน ออนไลน์
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 230
ยูโรโซน"เห็นพ้องเงินช่วยแบงก์สเปน มูลค่า 30,000 ล้านยูโร
วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 10:02:11 น. มติชนออนไลน์
ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศยูโซน เห็นชอบที่จะให้เงินช่วยเหลือสเปนเป็นมูลค่า 30,000 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารที่กำลังประสบปัญหา
ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ที่กรุงบรัสเซลส์ของเบลเยี่ยม วานนี้ (9 ก.ค.)ได้ตกลงกันในเงื่อนไขที่จะให้ความช่วยเหลือธนาคารที่ประสบปัญหาของสเปน โดยระบุว่า ยูโรโซนพร้อมที่จะจัดหาเงินมูลค่า 3 หมื่นล้านยูโรให้กับธนาคารเหล่านี้ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ แต่รัฐมนตรีคลังยูโรโซน หรือยูโรกรุ๊ป จะหารือกันอีกครั้งในวันที่ 20 ก.ค. เพื่อทำข้อตกลงในขั้นตอนสุดท้าย
นายฌอง-คล็อด ยุงค์เกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ป กล่าวว่า กลุ่มยังเห็นชอบ โดยกำหนดให้รัฐบาลสเปนต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ตามเป้าของสหภาพยุโรปที่ร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2013 แต่สามารถขยายออกไปได้กระทั่งปี 2014
ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังยูโรโซน ได้เริ่มประชุมร่วมกันเมื่อวานนี้ ตามเวลายุโรป ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อหาลู่ทางในการช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจของสเปน รวมถึงหารือความคืบหน้าของมาตรการการปล่อยเงินกู้เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารของสเปน และการผ่อนปรนเป้าหมายด้านงบประมาณของรัฐบาลสเปน
วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 10:02:11 น. มติชนออนไลน์
ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศยูโซน เห็นชอบที่จะให้เงินช่วยเหลือสเปนเป็นมูลค่า 30,000 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารที่กำลังประสบปัญหา
ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ที่กรุงบรัสเซลส์ของเบลเยี่ยม วานนี้ (9 ก.ค.)ได้ตกลงกันในเงื่อนไขที่จะให้ความช่วยเหลือธนาคารที่ประสบปัญหาของสเปน โดยระบุว่า ยูโรโซนพร้อมที่จะจัดหาเงินมูลค่า 3 หมื่นล้านยูโรให้กับธนาคารเหล่านี้ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ แต่รัฐมนตรีคลังยูโรโซน หรือยูโรกรุ๊ป จะหารือกันอีกครั้งในวันที่ 20 ก.ค. เพื่อทำข้อตกลงในขั้นตอนสุดท้าย
นายฌอง-คล็อด ยุงค์เกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ป กล่าวว่า กลุ่มยังเห็นชอบ โดยกำหนดให้รัฐบาลสเปนต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ตามเป้าของสหภาพยุโรปที่ร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2013 แต่สามารถขยายออกไปได้กระทั่งปี 2014
ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังยูโรโซน ได้เริ่มประชุมร่วมกันเมื่อวานนี้ ตามเวลายุโรป ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อหาลู่ทางในการช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจของสเปน รวมถึงหารือความคืบหน้าของมาตรการการปล่อยเงินกู้เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารของสเปน และการผ่อนปรนเป้าหมายด้านงบประมาณของรัฐบาลสเปน
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 231
SPAIN:ยูโรกรุ๊ปเห็นชอบยืดเวลาสเปนถึงปี 2014 เพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณ
บรัสเซลส์--10 ก.ค.--รอยเตอร์
รัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) เห็นพ้องกันในช่วงเช้าวันนี้ว่าจะให้เวลา
สเปนเพิ่มขึ้นอีก 1 ปีจนถึงปี 2014 ในการบรรลุเป้าหมายการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ
โดยแลกกับการที่สเปนต้องตัดงบประมาณมากยิ่งขึ้น
การตัดสินใจในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลสเปนต้องขอความ
ช่วยเหลือทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ เพราะอาจส่งผลให้กองทุนคุ้มครองยูโรโซน
มีเงินเหลือไม่มากพอ และจะส่งผลให้วิกฤติหนี้ยูโรโซนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
รัฐมนตรีคลังยูโรโซนระบุในแถลงการณ์ว่า "ยูโรกรุ๊ปสนับสนุนคำแนะนำ
ของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ให้ยืดเส้นตายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณของ
สเปนออกไปอีก 1 ปีจนถึงปี 2014"
รัฐมนตรีคลังอียูจะประชุมกันในวันนี้ และที่ประชุมแห่งนี้จะให้การอนุมัติ
อย่างเป็นทางการสำหรับการผ่อนคลายเป้าหมายด้านการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ
สำหรับสเปน โดยอียูประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศ ส่วนยูโรโซนประกอบด้วยสมาชิก
17 ประเทศ
ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลียังคงพุ่งขึ้นเมื่อวานนี้ โดยอัตราผลตอบแทน
พันธบัตรรัฐบาลสเปนประเภทอายุ 10 ปีทะยานขึ้นเหนือระดับสำคัญที่ 7 %
นายลูอิส เด กวินโดส รมว.เศรษฐกิจสเปนชี้แจงให้ที่ประชุมยูโรกรุ๊ปฟัง
เกี่ยวกับแผนการของรัฐบาลสเปนในการปรับลดงบใช้จ่ายและปรับขึ้นภาษีในช่วง 2-3 ปี
ข้างหน้า โดยรัฐบาลสเปนจะประกาศแผนการวงเงิน 3 หมื่นล้านยูโรนี้ออกมาในวันพรุ่งนี้
แหล่งข่าวกล่าวว่า รัฐบาลสเปนจะปรับลดงบใช้จ่ายลงราว 1 หมื่นล้านยูโร
ในปีนี้ โดยมาตรการของรัฐบาลสเปนรวมถึงการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), การ
ปรับลดการจ่ายเงินสวัสดิการสังคม, การปรับลดการจ่ายเงินสวัสดิการว่างงาน และ
การปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณเงินบำนาญ
เพื่อเป็นการตอบแทนรัฐบาลสเปน คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอที่จะผ่อนคลาย
เป้าหมายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสเปน โดยระบุให้รัฐบาลสเปน
ปรับลดยอดขาดดุลลงสู่ 6.3 % ของผลผลิตทางเศรษฐกิจในปีนี้, 4.5 % สำหรับปี 2013
และ 2.8 % สำหรับปี 2014
นายโอลลี เรห์น กรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของยุโรปกล่าวว่า สเปน
ควรที่จะดำเนินมาตรการตัดงบประมาณเพิ่มเติมในเร็วๆนี้เพื่อรับประกันว่าสเปนจะบรรลุ
เป้าหมายใหม่
ประเทศอื่นๆในยุโรประบุว่า สเปนอาจจะยังคงประสบความยากลำบากในการ
บรรลุเป้าหมายใหม่นี้ และมีการเสนอแนะให้มีการตรวจสอบสเปนทุกๆ 3 เดือนด้วย
ตัวเลขเป้าหมายใหม่นี้ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหาของสเปนในการบรรลุเป้าหมาย
ทางการคลังท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ ในตอนแรกนั้นได้มีการกำหนดให้
รัฐบาลสเปนปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงสู่ 4.4 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ แต่นายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราจอยของสเปนได้ตัดสินใจ
เพียงฝ่ายเดียวในการปรับเป้าหมายดังกล่าวเป็น 5.8 % ของจีดีพีในช่วงต้นเดือน
มี.ค. ก่อนที่จะตกลงยอมรับเป้าหมายใหม่ที่ 5.3 % ของจีดีพีในช่วงกลางเดือนมี.ค.
--จบ--
บรัสเซลส์--10 ก.ค.--รอยเตอร์
รัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) เห็นพ้องกันในช่วงเช้าวันนี้ว่าจะให้เวลา
สเปนเพิ่มขึ้นอีก 1 ปีจนถึงปี 2014 ในการบรรลุเป้าหมายการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ
โดยแลกกับการที่สเปนต้องตัดงบประมาณมากยิ่งขึ้น
การตัดสินใจในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลสเปนต้องขอความ
ช่วยเหลือทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ เพราะอาจส่งผลให้กองทุนคุ้มครองยูโรโซน
มีเงินเหลือไม่มากพอ และจะส่งผลให้วิกฤติหนี้ยูโรโซนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
รัฐมนตรีคลังยูโรโซนระบุในแถลงการณ์ว่า "ยูโรกรุ๊ปสนับสนุนคำแนะนำ
ของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ให้ยืดเส้นตายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณของ
สเปนออกไปอีก 1 ปีจนถึงปี 2014"
รัฐมนตรีคลังอียูจะประชุมกันในวันนี้ และที่ประชุมแห่งนี้จะให้การอนุมัติ
อย่างเป็นทางการสำหรับการผ่อนคลายเป้าหมายด้านการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ
สำหรับสเปน โดยอียูประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศ ส่วนยูโรโซนประกอบด้วยสมาชิก
17 ประเทศ
ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลียังคงพุ่งขึ้นเมื่อวานนี้ โดยอัตราผลตอบแทน
พันธบัตรรัฐบาลสเปนประเภทอายุ 10 ปีทะยานขึ้นเหนือระดับสำคัญที่ 7 %
นายลูอิส เด กวินโดส รมว.เศรษฐกิจสเปนชี้แจงให้ที่ประชุมยูโรกรุ๊ปฟัง
เกี่ยวกับแผนการของรัฐบาลสเปนในการปรับลดงบใช้จ่ายและปรับขึ้นภาษีในช่วง 2-3 ปี
ข้างหน้า โดยรัฐบาลสเปนจะประกาศแผนการวงเงิน 3 หมื่นล้านยูโรนี้ออกมาในวันพรุ่งนี้
แหล่งข่าวกล่าวว่า รัฐบาลสเปนจะปรับลดงบใช้จ่ายลงราว 1 หมื่นล้านยูโร
ในปีนี้ โดยมาตรการของรัฐบาลสเปนรวมถึงการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), การ
ปรับลดการจ่ายเงินสวัสดิการสังคม, การปรับลดการจ่ายเงินสวัสดิการว่างงาน และ
การปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณเงินบำนาญ
เพื่อเป็นการตอบแทนรัฐบาลสเปน คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอที่จะผ่อนคลาย
เป้าหมายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสเปน โดยระบุให้รัฐบาลสเปน
ปรับลดยอดขาดดุลลงสู่ 6.3 % ของผลผลิตทางเศรษฐกิจในปีนี้, 4.5 % สำหรับปี 2013
และ 2.8 % สำหรับปี 2014
นายโอลลี เรห์น กรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของยุโรปกล่าวว่า สเปน
ควรที่จะดำเนินมาตรการตัดงบประมาณเพิ่มเติมในเร็วๆนี้เพื่อรับประกันว่าสเปนจะบรรลุ
เป้าหมายใหม่
ประเทศอื่นๆในยุโรประบุว่า สเปนอาจจะยังคงประสบความยากลำบากในการ
บรรลุเป้าหมายใหม่นี้ และมีการเสนอแนะให้มีการตรวจสอบสเปนทุกๆ 3 เดือนด้วย
ตัวเลขเป้าหมายใหม่นี้ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหาของสเปนในการบรรลุเป้าหมาย
ทางการคลังท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ ในตอนแรกนั้นได้มีการกำหนดให้
รัฐบาลสเปนปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงสู่ 4.4 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ แต่นายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราจอยของสเปนได้ตัดสินใจ
เพียงฝ่ายเดียวในการปรับเป้าหมายดังกล่าวเป็น 5.8 % ของจีดีพีในช่วงต้นเดือน
มี.ค. ก่อนที่จะตกลงยอมรับเป้าหมายใหม่ที่ 5.3 % ของจีดีพีในช่วงกลางเดือนมี.ค.
--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 232
GERMANY:คาดศาลเยอรมนีใช้เวลา 2-3 เดือนพิจารณากองทุนยุโรปขัดต่อรธน.หรือไม่
เบอร์ลิน--11 ก.ค.--รอยเตอร์
นายวูลฟ์กัง แชร์เบิล รมว.คลังของเยอรมนี เปิดเผยในวันนี้ว่า
เขาหวังว่าศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีจะให้คำตัดสินเกี่ยวกับกองทุนกลไก
รักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรปก่อน
ฤดูใบไม้ร่วง โดยเขาคาดว่าการตัดสินเรื่องดังกล่าวจะใช้เวลาหลายเดือน
ทั้งนี้ ศาลสูงของเยอรมนีได้เห็นชอบเมื่อวานนี้ที่จะพิจารณาคำร้อง
ของโจทก์ที่คัดค้านการให้สัตยาบันของรัฐสภาเยอรมนีต่อกองทุน ESM และ
สนธิสัญญาทางการคลังของยุโรป แต่ยังไม่ได้กำหนดวันอ่านคำพิพากษา
ขั้นสุดท้าย
ด้านนายแอนเดรียส วอสสคูห์ล ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ระบุถึง
ความเป็นไปได้ที่ศาลจะต้องทำการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งอาจจะต้อง
ใช้เวลาถึง 2-3 เดือน
นักลงทุนกำลังจับตาการการตัดสินใจดังกล่าวอย่างใกล้ชิดซึ่งจะบ่งชี้ว่า
ยุโรปจะหลุดพ้นจากวิกฤติหนี้ยุโรปได้หรือไม่ โดยนายแชร์เบิลกล่าวว่า ความล่าช้า
ในการตัดสินเรื่องดังกล่าวจะทำให้ตลาดการเงินปั่นป่วนและบั่นทอนความเชื่อมั่น
ในยูโร
"ผมหวังว่าศาลจะทำการตัดสินเร็วขึ้น" นายแชร์เบิลกล่าวกับสถานีวิทยุ
Deutschlandfunk ของเยอรมนี อย่างไรก็ตาม เขากล่าวเสริมว่า เขาจะไม่
สร้างแรงกดดันต่อศาล
นายแชร์เบิลกล่าวว่า เขาเชื่อมั่นว่าศาลจะตัดสินว่า กองทุน ESM
และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรปไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของเยอรมนี เนื่องจาก
ศาลไม่เคยตัดสินว่าสนธิสัญญาของยุโรปขัดต่อรัฐธรรมนูญ
นายแชร์เบิลยังกล่าวว่า "ผมคิดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจยังคงน่าเป็น
ห่วงอย่างมาก เราอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก อันตรายที่เราจะได้รับจาก
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงนั้นยังไม่สิ้นสุด"
ยูโรทรงตัวที่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้
ขณะที่นักลงทุนวิตกต่อผลการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีเกี่ยวกับกองทุน
ช่วยเหลือยูโรโซน ซึ่งนับเป็นอุปสรรคล่าสุดสำหรับผู้กำหนดนโยบาย ขณะที่
พวกเขาพยายามหาแนวทางแก้ไขวิกฤติหนี้
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีเปิดเผยวานนี้ว่า ทางศาลจะพิจารณา
คำร้องของโจทก์ที่คัดค้านการให้สัตยาบันของรัฐสภาเยอรมนีต่อกองทุน ESM และ
สนธิสัญญาทางการคลังของยุโรป ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญ 2 ประการของยูโรโซน
สำหรับการจัดการกับวิกฤติหนี้ แต่ศาลยังไม่ได้กำหนดวันอ่านคำพิพากษาขั้นสุดท้าย
ขณะสิ้นสุดการไต่สวนของศาลวานนี้นั้น นายแชร์เบิล ได้กล่าวย้ำข้อ
เรียกร้องของเขาต่อคณะผู้พิพากษา 8 คน เพื่อให้ทำการตัดสินเรื่องดังกล่าว
โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ขณะที่ตลาดการเงินมีความวิตกเกี่ยวกับอนาคต
ของกองทุน ESM และกฏเกณฑ์ด้านงบประมาณใหม่ที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขวิกฤติหนี้
"เราอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดอย่างมาก ไม่มีใครสามารถคาดการณ์
ว่าอะไรจะเกิดขึ้น" เขากล่าว
ผู้พิพากษาในเมืองคาร์ลสรูห์มีชื่อเสียงในการคัดค้านการรวมตัวของยุโรป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่พวกเขาเคยตัดสินคัดค้านสนธิสัญญาลิสบอนในการปรับปรุง
รัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรป (อียู) ในปี 2009 ขณะที่ศาลต้องการปกป้องบทบาทของ
สภาล่างของเยอรมนี
"สภาล่างยังคงต้องเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจทางการเมือง โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งที่เกี่ยวกับอำนาจที่สำคัญ อาทิ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาล
กลาง" นายอูโด ดิ ฟาบิโอ ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
Der Spiegel
นายวอสสคูห์ล ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นประธานคณะผู้พิพากษา
8 คนในการพิจารณาเรื่อง ESM/สนธิสัญญาทางการคลังนั้น ได้ระบุว่า กรณีนี้เป็น
"เส้นแดง" ที่จะกระทบต่อการตัดสินใจทั้งหมดของศาลต่อประเด็นในยุโรป
ศาลรัฐธรรมนูญได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของนางแองเจลา เมอร์เคล
นายกรัฐมนตรีเยอรมนี หลายครั้งเกี่ยวกับการตั้งกองทุนช่วยเหลือยุโรปนับตั้งแต่
วิกฤติหนี้เริ่มขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยแม้ไม่ได้มีคำพิพากษาคัดค้านการตั้งกองทุน
ช่วยเหลือสำหรับกรีซหรือ ประเทศอื่นๆในยูโรโซนว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายก็ตาม
แต่ศาลแนะนำให้นางเมอร์เคลทำการปรึกษาหารือกับสภาล่างมากขึ้น
ท่ามกลางรายงานข่าวที่ว่า นางเมอร์เคลมีความไม่พอใจมากขึ้นต่อศาล
หลังการเตือนให้มีการปรึกษาหารือกับสภามากขึ้นนั้น นางเมอร์เคลกล่าวว่า เธอ
สนับสนุนสิทธิของฝ่ายโจทก์ที่จะนำมาตรการแก้ไขวิกฤติยูโรโซนเข้ามาตรวจสอบ
ในศาล
ด้านประธานาธิบดีโจอาคิม ก็อคของเยอรมนี ซึ่งจำเป็นต้องลงนามรับรอง
สัตยาบัน กล่าวว่า เขายินดีที่มีการดำเนินการพิจารณาในเรื่องนี้--จบ--
เบอร์ลิน--11 ก.ค.--รอยเตอร์
นายวูลฟ์กัง แชร์เบิล รมว.คลังของเยอรมนี เปิดเผยในวันนี้ว่า
เขาหวังว่าศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีจะให้คำตัดสินเกี่ยวกับกองทุนกลไก
รักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรปก่อน
ฤดูใบไม้ร่วง โดยเขาคาดว่าการตัดสินเรื่องดังกล่าวจะใช้เวลาหลายเดือน
ทั้งนี้ ศาลสูงของเยอรมนีได้เห็นชอบเมื่อวานนี้ที่จะพิจารณาคำร้อง
ของโจทก์ที่คัดค้านการให้สัตยาบันของรัฐสภาเยอรมนีต่อกองทุน ESM และ
สนธิสัญญาทางการคลังของยุโรป แต่ยังไม่ได้กำหนดวันอ่านคำพิพากษา
ขั้นสุดท้าย
ด้านนายแอนเดรียส วอสสคูห์ล ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ระบุถึง
ความเป็นไปได้ที่ศาลจะต้องทำการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งอาจจะต้อง
ใช้เวลาถึง 2-3 เดือน
นักลงทุนกำลังจับตาการการตัดสินใจดังกล่าวอย่างใกล้ชิดซึ่งจะบ่งชี้ว่า
ยุโรปจะหลุดพ้นจากวิกฤติหนี้ยุโรปได้หรือไม่ โดยนายแชร์เบิลกล่าวว่า ความล่าช้า
ในการตัดสินเรื่องดังกล่าวจะทำให้ตลาดการเงินปั่นป่วนและบั่นทอนความเชื่อมั่น
ในยูโร
"ผมหวังว่าศาลจะทำการตัดสินเร็วขึ้น" นายแชร์เบิลกล่าวกับสถานีวิทยุ
Deutschlandfunk ของเยอรมนี อย่างไรก็ตาม เขากล่าวเสริมว่า เขาจะไม่
สร้างแรงกดดันต่อศาล
นายแชร์เบิลกล่าวว่า เขาเชื่อมั่นว่าศาลจะตัดสินว่า กองทุน ESM
และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรปไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของเยอรมนี เนื่องจาก
ศาลไม่เคยตัดสินว่าสนธิสัญญาของยุโรปขัดต่อรัฐธรรมนูญ
นายแชร์เบิลยังกล่าวว่า "ผมคิดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจยังคงน่าเป็น
ห่วงอย่างมาก เราอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก อันตรายที่เราจะได้รับจาก
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงนั้นยังไม่สิ้นสุด"
ยูโรทรงตัวที่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้
ขณะที่นักลงทุนวิตกต่อผลการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีเกี่ยวกับกองทุน
ช่วยเหลือยูโรโซน ซึ่งนับเป็นอุปสรรคล่าสุดสำหรับผู้กำหนดนโยบาย ขณะที่
พวกเขาพยายามหาแนวทางแก้ไขวิกฤติหนี้
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีเปิดเผยวานนี้ว่า ทางศาลจะพิจารณา
คำร้องของโจทก์ที่คัดค้านการให้สัตยาบันของรัฐสภาเยอรมนีต่อกองทุน ESM และ
สนธิสัญญาทางการคลังของยุโรป ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญ 2 ประการของยูโรโซน
สำหรับการจัดการกับวิกฤติหนี้ แต่ศาลยังไม่ได้กำหนดวันอ่านคำพิพากษาขั้นสุดท้าย
ขณะสิ้นสุดการไต่สวนของศาลวานนี้นั้น นายแชร์เบิล ได้กล่าวย้ำข้อ
เรียกร้องของเขาต่อคณะผู้พิพากษา 8 คน เพื่อให้ทำการตัดสินเรื่องดังกล่าว
โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ขณะที่ตลาดการเงินมีความวิตกเกี่ยวกับอนาคต
ของกองทุน ESM และกฏเกณฑ์ด้านงบประมาณใหม่ที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขวิกฤติหนี้
"เราอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดอย่างมาก ไม่มีใครสามารถคาดการณ์
ว่าอะไรจะเกิดขึ้น" เขากล่าว
ผู้พิพากษาในเมืองคาร์ลสรูห์มีชื่อเสียงในการคัดค้านการรวมตัวของยุโรป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่พวกเขาเคยตัดสินคัดค้านสนธิสัญญาลิสบอนในการปรับปรุง
รัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรป (อียู) ในปี 2009 ขณะที่ศาลต้องการปกป้องบทบาทของ
สภาล่างของเยอรมนี
"สภาล่างยังคงต้องเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจทางการเมือง โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งที่เกี่ยวกับอำนาจที่สำคัญ อาทิ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาล
กลาง" นายอูโด ดิ ฟาบิโอ ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
Der Spiegel
นายวอสสคูห์ล ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นประธานคณะผู้พิพากษา
8 คนในการพิจารณาเรื่อง ESM/สนธิสัญญาทางการคลังนั้น ได้ระบุว่า กรณีนี้เป็น
"เส้นแดง" ที่จะกระทบต่อการตัดสินใจทั้งหมดของศาลต่อประเด็นในยุโรป
ศาลรัฐธรรมนูญได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของนางแองเจลา เมอร์เคล
นายกรัฐมนตรีเยอรมนี หลายครั้งเกี่ยวกับการตั้งกองทุนช่วยเหลือยุโรปนับตั้งแต่
วิกฤติหนี้เริ่มขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยแม้ไม่ได้มีคำพิพากษาคัดค้านการตั้งกองทุน
ช่วยเหลือสำหรับกรีซหรือ ประเทศอื่นๆในยูโรโซนว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายก็ตาม
แต่ศาลแนะนำให้นางเมอร์เคลทำการปรึกษาหารือกับสภาล่างมากขึ้น
ท่ามกลางรายงานข่าวที่ว่า นางเมอร์เคลมีความไม่พอใจมากขึ้นต่อศาล
หลังการเตือนให้มีการปรึกษาหารือกับสภามากขึ้นนั้น นางเมอร์เคลกล่าวว่า เธอ
สนับสนุนสิทธิของฝ่ายโจทก์ที่จะนำมาตรการแก้ไขวิกฤติยูโรโซนเข้ามาตรวจสอบ
ในศาล
ด้านประธานาธิบดีโจอาคิม ก็อคของเยอรมนี ซึ่งจำเป็นต้องลงนามรับรอง
สัตยาบัน กล่าวว่า เขายินดีที่มีการดำเนินการพิจารณาในเรื่องนี้--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 2011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 233
การเตรียมการสำหรับวิกฤติของสหภาพยุโรป
ที่มา : คอลัมน์ อนาคตเศรษฐกิจไทย
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำเดือนกรกฏาคม 2555
http://www.kobsak.com/?p=5590
ช่วงนี้หน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ มักจะพาดหัวข่าวเกี่ยวกับวิกฤติในสหภาพยุโรป กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอยู่เป็นประจำ ทำให้หลายคนอยากรู้ต่อไปว่า “วิกฤติครั้งนี้จะกระทบต่อไทยแรงแค่ไหน และเราควรเตรียมการอย่างไร”
จะแรงแค่ไหน
การเตรียมการที่เหมาะสม ต้องเริ่มจากคำถาม “วิกฤติครั้งนี้ จะคล้ายกับครั้งไหน” ก่อนอื่น รอบนี้ไทยจะไม่เป็นต้มยำกุ้ง เพราะต้มยำกุ้งเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นจากปัญหาภายในประเทศของเราเอง จากการใช้จ่ายเกินตัว จากความเปราะบางที่สะสมเอาไว้มาก พอเกิดวิกฤติ ทุกอย่างจึงล้มลงอย่างระเนระนาด
ปัญหาครั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากต่างประเทศ เกิดขึ้นในขณะที่ Balance sheet ของภาคส่วนต่างๆ ของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ซึ่งสถานการณ์มีบริบทคล้ายๆ กับสิ่งที่เราเคยเผชิญมาแล้วเมื่อ 4 ปีก่อน โดยครั้งนั้น ยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบเศรษฐกิจโลก คือ สหรัฐ ล้มลง เราจึงพลอยเซ ได้รับผลกระทบไปด้วย ส่วนครั้งนี้ ยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของโลก หรือ ยุโรปกำลังมีปัญหา เมื่อยักษ์ตัวนี้ล้มลง เราก็จะเซไปด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากยักษ์ตัวนี้เล็กกว่า ผลกระทบก็จะน้อยกว่า
สำหรับสิ่งที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับปี 2008 ก็คือ
1. Surprise Factor ตอนที่ Lehman Brothers ล้ม และตามมาด้วย Citibank, Bank of America, AIA และสถาบันการเงินขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง กล่าวได้ว่า ทุกคนต่างตกใจ ต่างไม่ได้เตรียมการมาก่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น (Aftershocks) จึงมีความรุนแรงอย่างยิ่ง ทำให้สถาบันการเงินในหลายประเทศ ต้องเร่งปรับลดการให้สินเชื่อ ลดขนาดของพอร์ตตนเองลง เร่งหาสภาพคล่องมาเตรียมไว้เพื่อให้สามารถอยู่รอดให้ได้
ครั้งนี้ ทุกคนมีเวลาเตรียมการมา 2 ปีกว่าๆ นับแต่เกิดปัญหาในกรีซ ทำให้ทุกคนสามารถเตรียมการได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะในส่วนสภาพคล่อง พร้อมกับได้ปรับพอร์ตลด Position เรียบร้อยไปแล้วระดับหนึ่ง ซึ่งหมายความว่า หากยุโรปล้มลงวันนี้ Aftershocks จะไม่รุนแรงเท่ากับรอบที่แล้ว
2. วงของปัญหา จากเวลาที่มีและการเตรียมการของทุกคน มีความหมายต่อไปว่า ปัญหารอบนี้จะหนักหน่วงที่ยุโรปเป็นสำคัญ เนื่องจากผู้ที่เคยไปปล่อยกู้หรือลงทุนในยุโรป สามารถออกตัวไปมากพอสมควรแล้วในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งยิ่งสหภาพยุโรปตัดสินใจเข้าอุ้มแบงก์ อุ้มประเทศที่เกิดปัญหา พยายามยื้อปัญหา พยายามซื้อเวลาเอาไว้อย่างเช่นที่ทำอยู่ นักลงทุนและสถาบันการเงินที่เข้าไปลงทุนในช่วงก่อนหน้า ก็จะสามารถ Exit ออกมาได้ โดยมีรัฐบาล ธนาคารกลาง หรือกองทุนช่วยเหลือของสหภาพยุโรปเข้ามารับแทน ดังนั้น ปัญหารอบนี้ ไม่น่าจะกระจายวงกว้างเท่ากับที่เกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว
3. ความสามารถของผู้ที่จะมาช่วย ที่เศรษฐกิจโลกสามารถฟื้นตัวได้ โดยใช้เวลาไม่นานหลังเกิดวิกฤติที่สหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการร่วมมือกันกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ที่ยอมใช้จ่ายขาดดุลเพิ่มเติม และลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ ชัดเจนว่า ประเทศส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรปจะไม่สามารถเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มกำลังเหมือนครั้งที่แล้ว (จากปัญหาหนี้ภาครัฐที่กำลังเผชิญอยู่) อีกทั้ง ECB ก็มี Room อีกไม่มากในการลดดอกเบี้ยและอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบ จากการที่ได้อัดฉีดสภาพคล่องช่วยเหลือไปมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่า วิกฤติภายในสหภาพยุโรปรอบนี้จะกินเวลายาวนานพอสมควร
ผลกระทบต่อประเทศไทยและการเตรียมการ
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและกระทบมาถึงไทยนั้น จะเข้ามาในช่องทางที่คล้ายคลึงกับเมื่อปี 2008 โดยเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบผ่าน (1) กลุ่มผู้ส่งออก ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤติครั้งนี้ (2) ความผันผวนของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดการเงิน ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ที่จะเพิ่มขึ้น (3) สภาพคล่องที่จะไหลย้อนกลับไปที่สหภาพยุโรปในบางช่วงเวลา และ (4) นักท่องเที่ยวที่จะหายไป โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากยุโรป
ปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อปี 2008 เราก็เคยได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่ครั้งนี้ เนื่องจากปัญหาจะหนักหน่วงที่ยุโรปเป็นสำคัญ ไม่กระจายวงกว้าง ไม่ล้มกันเป็น Domino ไปทั้งโลก ทุกภูมิภาค ดังนั้น ผู้ส่งออกจะมีทางเลือกในการหาตลาดอื่นมาทดแทน โดยเฉพาะตลาดในเอเชียที่ยังจะพอไปได้ ซึ่งยิ่งวิกฤติที่จะเกิดในสหภาพยุโรปจะมีความยาวนานมากกว่าปกติ ผู้ส่งออกที่เน้นตลาดสหภาพยุโรปเป็นสำคัญ ก็ยิ่งต้องคิดที่จะหาทาง Diversify ไปตลาดอื่นแทน
ส่วนผลกระทบอื่นๆ นั้น จะเกิดเป็นครั้งคราว โดยค่าเงินบาทจะผันผวนเป็นพิเศษในช่วงต่อไป อ่อนค่ามากในช่วงที่วิกฤติกำลังลุกลามในยุโรป แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อยุโรปยอมถอย มีมาตรการออกมา สลับไปมา ยืดเยื้อไม่จบลงง่ายไปอีกระยะ ก่อนที่วิกฤติจะบานปลายไปมากกว่านี้ โดยความแรงของวิกฤตินั้น ขณะนี้ คิดว่าน่าจะประมาณครึ่งหนึ่งของเมื่อปี 2008 เนื่องจากการกระจายตัวจะไม่กว้างขวางเท่ากับเมื่อครั้งที่แล้ว (แต่ถ้ายื้อกันเอาไว้นาน ไม่ยอมแพ้สักที ท้ายสุด ผลกระทบก็อาจจะแรงกว่าที่คิดไว้ได้ ก็ต้องไม่ประมาท)
ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะว่าไปแล้ว การเตรียมการของภาครัฐและเอกชนรอบนี้ จึงมี Playbook จาก 2008 มาเป็นตัวช่วย โดยครั้งนั้น วิกฤติสหรัฐ วิกฤติยักษ์ตัวใหญ่ล้ม เป็นสิ่งที่เราไม่เคยประสบมาก่อน การแก้ไขปัญหาจึงต้องทำประเภทคิดไปทำไป แต่รอบนี้ กล่าวได้ว่า ประสบการณ์จากปี 2008 จะเป็นตัวช่วยสำคัญ
อะไรที่เราทำได้ดีเมื่อครั้งที่แล้ว ในส่วนของเอกชน เช่น การหาตลาดใหม่ การใช้เงินตราสกุลท้องถิ่นในการชำระเงิน การทำ FX Hedging การพยายามลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สิ่งเหล่านี้ก็ต้องขอให้ทำใหม่
อะไรที่เราพลาดไป เช่น เสียหายจากราคาวัตถุดิบที่ผันผวนมากจากการ Stock สินค้าไว้มาก จาก Order ที่ลูกค้าไม่ยอมจ่ายเงินเข้าช้อนหุ้นเร็วเกินไป จนช้อนหัก ก็ขอให้นำมาเป็นบทเรียน เรียนรู้ที่จะป้องกันความเสี่ยงจากการเหวี่ยงของราคาวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ราคาทองคำ Stock สินค้าไว้แต่พอประมาณ เรียนรู้ที่จะป้องกันความเสี่ยงจากการส่งสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศที่เกิดปัญหา และอดใจรอ
อะไรที่เราคิดได้ช้าไป ทำไม่ทัน ครั้งนี้ก็จะเป็นโอกาส ให้ได้นำข้อคิดดังกล่าวมาใช้ อาทิ กว่าจะเริ่มลงทุนใหม่ ก็ช้าไปเสียแล้ว เศรษฐกิจฟื้นไปไกลแล้ว โดยรอบนี้ก็เช่นกัน หลังจากมรสุมยุโรป ซึ่งแม้จะยืดเยื้อบ้าง ได้ผ่านไปแล้ว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทย ก็น่าจะสดใส สามารถฟื้นกลับมาได้อย่างรวดเร็ว และเป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนที่สุดของโลก
สำหรับภาครัฐ มาตรการดีๆ ที่เคยออกมา เช่น การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ ไทยเข้มแข็ง 1 และ 2 การลดดอกเบี้ยนโยบาย การปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลง การออกมาตรการช่วยค้ำประกันสินเชื่อให้กับ SME การช่วยประกันสินเชื่อส่งออก เป็นต้น ก็ควรที่จะเตรียมมาตรการเหล่านี้ไว้แต่เนิ่นๆ
ถ้าเราทุกคนหมั่นทบทวนบทเรียนที่ได้จากปี 2008 รู้จักนำบทเรียนมาใช้เตรียมการเพื่อรับมือกับวิกฤติรอบนี้โดยไม่ประมาท เราก็น่าจะสามารถผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ ขอเอาใจช่วยครับ
ที่มา : คอลัมน์ อนาคตเศรษฐกิจไทย
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำเดือนกรกฏาคม 2555
ที่มา : คอลัมน์ อนาคตเศรษฐกิจไทย
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำเดือนกรกฏาคม 2555
http://www.kobsak.com/?p=5590
ช่วงนี้หน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ มักจะพาดหัวข่าวเกี่ยวกับวิกฤติในสหภาพยุโรป กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอยู่เป็นประจำ ทำให้หลายคนอยากรู้ต่อไปว่า “วิกฤติครั้งนี้จะกระทบต่อไทยแรงแค่ไหน และเราควรเตรียมการอย่างไร”
จะแรงแค่ไหน
การเตรียมการที่เหมาะสม ต้องเริ่มจากคำถาม “วิกฤติครั้งนี้ จะคล้ายกับครั้งไหน” ก่อนอื่น รอบนี้ไทยจะไม่เป็นต้มยำกุ้ง เพราะต้มยำกุ้งเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นจากปัญหาภายในประเทศของเราเอง จากการใช้จ่ายเกินตัว จากความเปราะบางที่สะสมเอาไว้มาก พอเกิดวิกฤติ ทุกอย่างจึงล้มลงอย่างระเนระนาด
ปัญหาครั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากต่างประเทศ เกิดขึ้นในขณะที่ Balance sheet ของภาคส่วนต่างๆ ของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ซึ่งสถานการณ์มีบริบทคล้ายๆ กับสิ่งที่เราเคยเผชิญมาแล้วเมื่อ 4 ปีก่อน โดยครั้งนั้น ยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบเศรษฐกิจโลก คือ สหรัฐ ล้มลง เราจึงพลอยเซ ได้รับผลกระทบไปด้วย ส่วนครั้งนี้ ยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของโลก หรือ ยุโรปกำลังมีปัญหา เมื่อยักษ์ตัวนี้ล้มลง เราก็จะเซไปด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากยักษ์ตัวนี้เล็กกว่า ผลกระทบก็จะน้อยกว่า
สำหรับสิ่งที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับปี 2008 ก็คือ
1. Surprise Factor ตอนที่ Lehman Brothers ล้ม และตามมาด้วย Citibank, Bank of America, AIA และสถาบันการเงินขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง กล่าวได้ว่า ทุกคนต่างตกใจ ต่างไม่ได้เตรียมการมาก่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น (Aftershocks) จึงมีความรุนแรงอย่างยิ่ง ทำให้สถาบันการเงินในหลายประเทศ ต้องเร่งปรับลดการให้สินเชื่อ ลดขนาดของพอร์ตตนเองลง เร่งหาสภาพคล่องมาเตรียมไว้เพื่อให้สามารถอยู่รอดให้ได้
ครั้งนี้ ทุกคนมีเวลาเตรียมการมา 2 ปีกว่าๆ นับแต่เกิดปัญหาในกรีซ ทำให้ทุกคนสามารถเตรียมการได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะในส่วนสภาพคล่อง พร้อมกับได้ปรับพอร์ตลด Position เรียบร้อยไปแล้วระดับหนึ่ง ซึ่งหมายความว่า หากยุโรปล้มลงวันนี้ Aftershocks จะไม่รุนแรงเท่ากับรอบที่แล้ว
2. วงของปัญหา จากเวลาที่มีและการเตรียมการของทุกคน มีความหมายต่อไปว่า ปัญหารอบนี้จะหนักหน่วงที่ยุโรปเป็นสำคัญ เนื่องจากผู้ที่เคยไปปล่อยกู้หรือลงทุนในยุโรป สามารถออกตัวไปมากพอสมควรแล้วในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งยิ่งสหภาพยุโรปตัดสินใจเข้าอุ้มแบงก์ อุ้มประเทศที่เกิดปัญหา พยายามยื้อปัญหา พยายามซื้อเวลาเอาไว้อย่างเช่นที่ทำอยู่ นักลงทุนและสถาบันการเงินที่เข้าไปลงทุนในช่วงก่อนหน้า ก็จะสามารถ Exit ออกมาได้ โดยมีรัฐบาล ธนาคารกลาง หรือกองทุนช่วยเหลือของสหภาพยุโรปเข้ามารับแทน ดังนั้น ปัญหารอบนี้ ไม่น่าจะกระจายวงกว้างเท่ากับที่เกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว
3. ความสามารถของผู้ที่จะมาช่วย ที่เศรษฐกิจโลกสามารถฟื้นตัวได้ โดยใช้เวลาไม่นานหลังเกิดวิกฤติที่สหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการร่วมมือกันกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ที่ยอมใช้จ่ายขาดดุลเพิ่มเติม และลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ ชัดเจนว่า ประเทศส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรปจะไม่สามารถเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มกำลังเหมือนครั้งที่แล้ว (จากปัญหาหนี้ภาครัฐที่กำลังเผชิญอยู่) อีกทั้ง ECB ก็มี Room อีกไม่มากในการลดดอกเบี้ยและอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบ จากการที่ได้อัดฉีดสภาพคล่องช่วยเหลือไปมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่า วิกฤติภายในสหภาพยุโรปรอบนี้จะกินเวลายาวนานพอสมควร
ผลกระทบต่อประเทศไทยและการเตรียมการ
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและกระทบมาถึงไทยนั้น จะเข้ามาในช่องทางที่คล้ายคลึงกับเมื่อปี 2008 โดยเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบผ่าน (1) กลุ่มผู้ส่งออก ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤติครั้งนี้ (2) ความผันผวนของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดการเงิน ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ที่จะเพิ่มขึ้น (3) สภาพคล่องที่จะไหลย้อนกลับไปที่สหภาพยุโรปในบางช่วงเวลา และ (4) นักท่องเที่ยวที่จะหายไป โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากยุโรป
ปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อปี 2008 เราก็เคยได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่ครั้งนี้ เนื่องจากปัญหาจะหนักหน่วงที่ยุโรปเป็นสำคัญ ไม่กระจายวงกว้าง ไม่ล้มกันเป็น Domino ไปทั้งโลก ทุกภูมิภาค ดังนั้น ผู้ส่งออกจะมีทางเลือกในการหาตลาดอื่นมาทดแทน โดยเฉพาะตลาดในเอเชียที่ยังจะพอไปได้ ซึ่งยิ่งวิกฤติที่จะเกิดในสหภาพยุโรปจะมีความยาวนานมากกว่าปกติ ผู้ส่งออกที่เน้นตลาดสหภาพยุโรปเป็นสำคัญ ก็ยิ่งต้องคิดที่จะหาทาง Diversify ไปตลาดอื่นแทน
ส่วนผลกระทบอื่นๆ นั้น จะเกิดเป็นครั้งคราว โดยค่าเงินบาทจะผันผวนเป็นพิเศษในช่วงต่อไป อ่อนค่ามากในช่วงที่วิกฤติกำลังลุกลามในยุโรป แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อยุโรปยอมถอย มีมาตรการออกมา สลับไปมา ยืดเยื้อไม่จบลงง่ายไปอีกระยะ ก่อนที่วิกฤติจะบานปลายไปมากกว่านี้ โดยความแรงของวิกฤตินั้น ขณะนี้ คิดว่าน่าจะประมาณครึ่งหนึ่งของเมื่อปี 2008 เนื่องจากการกระจายตัวจะไม่กว้างขวางเท่ากับเมื่อครั้งที่แล้ว (แต่ถ้ายื้อกันเอาไว้นาน ไม่ยอมแพ้สักที ท้ายสุด ผลกระทบก็อาจจะแรงกว่าที่คิดไว้ได้ ก็ต้องไม่ประมาท)
ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะว่าไปแล้ว การเตรียมการของภาครัฐและเอกชนรอบนี้ จึงมี Playbook จาก 2008 มาเป็นตัวช่วย โดยครั้งนั้น วิกฤติสหรัฐ วิกฤติยักษ์ตัวใหญ่ล้ม เป็นสิ่งที่เราไม่เคยประสบมาก่อน การแก้ไขปัญหาจึงต้องทำประเภทคิดไปทำไป แต่รอบนี้ กล่าวได้ว่า ประสบการณ์จากปี 2008 จะเป็นตัวช่วยสำคัญ
อะไรที่เราทำได้ดีเมื่อครั้งที่แล้ว ในส่วนของเอกชน เช่น การหาตลาดใหม่ การใช้เงินตราสกุลท้องถิ่นในการชำระเงิน การทำ FX Hedging การพยายามลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สิ่งเหล่านี้ก็ต้องขอให้ทำใหม่
อะไรที่เราพลาดไป เช่น เสียหายจากราคาวัตถุดิบที่ผันผวนมากจากการ Stock สินค้าไว้มาก จาก Order ที่ลูกค้าไม่ยอมจ่ายเงินเข้าช้อนหุ้นเร็วเกินไป จนช้อนหัก ก็ขอให้นำมาเป็นบทเรียน เรียนรู้ที่จะป้องกันความเสี่ยงจากการเหวี่ยงของราคาวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ราคาทองคำ Stock สินค้าไว้แต่พอประมาณ เรียนรู้ที่จะป้องกันความเสี่ยงจากการส่งสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศที่เกิดปัญหา และอดใจรอ
อะไรที่เราคิดได้ช้าไป ทำไม่ทัน ครั้งนี้ก็จะเป็นโอกาส ให้ได้นำข้อคิดดังกล่าวมาใช้ อาทิ กว่าจะเริ่มลงทุนใหม่ ก็ช้าไปเสียแล้ว เศรษฐกิจฟื้นไปไกลแล้ว โดยรอบนี้ก็เช่นกัน หลังจากมรสุมยุโรป ซึ่งแม้จะยืดเยื้อบ้าง ได้ผ่านไปแล้ว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทย ก็น่าจะสดใส สามารถฟื้นกลับมาได้อย่างรวดเร็ว และเป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนที่สุดของโลก
สำหรับภาครัฐ มาตรการดีๆ ที่เคยออกมา เช่น การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ ไทยเข้มแข็ง 1 และ 2 การลดดอกเบี้ยนโยบาย การปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลง การออกมาตรการช่วยค้ำประกันสินเชื่อให้กับ SME การช่วยประกันสินเชื่อส่งออก เป็นต้น ก็ควรที่จะเตรียมมาตรการเหล่านี้ไว้แต่เนิ่นๆ
ถ้าเราทุกคนหมั่นทบทวนบทเรียนที่ได้จากปี 2008 รู้จักนำบทเรียนมาใช้เตรียมการเพื่อรับมือกับวิกฤติรอบนี้โดยไม่ประมาท เราก็น่าจะสามารถผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ ขอเอาใจช่วยครับ
ที่มา : คอลัมน์ อนาคตเศรษฐกิจไทย
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำเดือนกรกฏาคม 2555
Add friend in Facebook https://www.facebook.com/profile.php?id ... &ref=br_tf
Group ที่อยู่ประจำ https://www.facebook.com/groups/investedinstocks/
https://www.facebook.com/groups/blaloverandgrowthstock/
Group ที่อยู่ประจำ https://www.facebook.com/groups/investedinstocks/
https://www.facebook.com/groups/blaloverandgrowthstock/
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 234
ITALY:"มูดี้ส์"เตือนอิตาลีเผชิญวิกฤติหนี้ ขณะเศรษฐกิจอาจหดตัว 2% ปีนี้
นิวยอร์ค--13 ก.ค.--รอยเตอร์
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง
ประเทศ ประกาศปรับลดอันดับอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี
ลง 2 ขั้นสู่ Baa2 จาก A3 และเตือนว่า อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
ลงอีก หากอิตาลีไม่สามารถเข้าระดมทุนในตลาดตราสารหนี้
การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวทำให้อันดับความน่าเชื่อถือ
ของอิตาลีอยู่เหนืออันดับขยะเพียง 2 ขั้น และอาจเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลี
ก่อนการประมูลขายพันธบัตรในวันนี้
ข่าวนี้ส่งผลให้ยูโรร่วงลงราว 0.0025 ดอลลาร์ สู่ 1.2190 ดอลลาร์
ในช่วงการซื้อขายที่ตลาดเอเชีย
อันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีที่มูดี้ส์จัดให้ในครั้งนี้อยู่ต่ำกว่าอันดับความ
น่าเชื่อถือล่าสุดที่จัดโดยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) และฟิทช์ เรทติ้งส์ โดย
S&P จัดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีไว้ที่ BBB+ ในเดือนม.ค. ส่วนฟิทช์จัด
อันดับอิตาลีไว้ที่ A- ในเดือนม.ค.
มูดี้ส์ระบุเตือนว่า "อาจจะมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตร
รัฐบาลอิตาลีลงไปอีกในอนาคต ถ้าหากแนวโน้มเศรษฐกิจของอิตาลีตกต่ำลงอย่าง
รุนแรง หรืออิตาลีประสบความยากลำบากในการดำเนินการปฏิรูป"
"ถ้าหากโอกาสของอิตาลีในการระดมทุนจากตลาดหนี้สาธารณะลดลง
ไปอีกในอนาคต และอิตาลีจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อันดับ
ความน่าเชื่อถือของอิตาลีก็อาจร่วงลงสู่ระดับที่ต่ำกว่าเดิมเป็นอย่างมาก"
มูดี้ส์ระบุว่า ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากอิตาลีประสบความสำเร็จ
ในการดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ และในการดำเนินมาตรการทาง
การคลังที่ช่วยส่งเสริมงบดุลของรัฐบาล และส่งเสริมแนวโน้มการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของอิตาลีให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลบวก
ต่อความน่าเชื่อถือและจะส่งผลให้อันดับความน่าเชื่อถือมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ
มูดี้ส์ปรับลดเพดานอันดับความน่าเชื่อถือขั้นสูงสุดที่ผู้ออกตราสารใน
อิตาลีอาจได้รับลงจากเดิมด้วย โดยปรับลดเพดานลงสู่ A2 จาก Aaa เพื่อ
สะท้อนความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเงินและเศรษฐกิจ
มูดี้ส์ระบุว่า การปรับลดอันดับในครั้งนี้ได้รับแรงกระตุ้นมาจากการที่
อิตาลีอาจได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นจากเหตุการณ์ทางการเมือง เช่น การที่กรีซ
ถอนตัวออกจากยูโรโซน หรือการที่สเปนขอความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม
มูดี้ส์เปิดเผยว่าอิตาลีเผชิญปัญหาทางการระดมทุนมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก
มีหนี้สินสูง และมีความจำเป็นต้องกู้เงินรายปีในระดับสูงถึง 4.15 แสนล้านยูโร
(5.06 แสนล้านดอลลาร์) ในปี 2012-2013 นอกจากนี้ ฐานนักลงทุนในต่าง
ประเทศก็ลดลงด้วย
มูดี้ส์ยังเตือนว่าเศรษฐกิจอิตาลีอาจตกต่ำลงต่อไป โดยขณะนี้มูดี้ส์คาดว่า
เศรษฐกิจอิตาลีอาจหดตัว 2 % ในปี 2012 ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถของ
อิตาลีในการบรรลุเป้าหมายทางการคลัง--จบ--
นิวยอร์ค--13 ก.ค.--รอยเตอร์
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง
ประเทศ ประกาศปรับลดอันดับอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี
ลง 2 ขั้นสู่ Baa2 จาก A3 และเตือนว่า อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
ลงอีก หากอิตาลีไม่สามารถเข้าระดมทุนในตลาดตราสารหนี้
การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวทำให้อันดับความน่าเชื่อถือ
ของอิตาลีอยู่เหนืออันดับขยะเพียง 2 ขั้น และอาจเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลี
ก่อนการประมูลขายพันธบัตรในวันนี้
ข่าวนี้ส่งผลให้ยูโรร่วงลงราว 0.0025 ดอลลาร์ สู่ 1.2190 ดอลลาร์
ในช่วงการซื้อขายที่ตลาดเอเชีย
อันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีที่มูดี้ส์จัดให้ในครั้งนี้อยู่ต่ำกว่าอันดับความ
น่าเชื่อถือล่าสุดที่จัดโดยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) และฟิทช์ เรทติ้งส์ โดย
S&P จัดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีไว้ที่ BBB+ ในเดือนม.ค. ส่วนฟิทช์จัด
อันดับอิตาลีไว้ที่ A- ในเดือนม.ค.
มูดี้ส์ระบุเตือนว่า "อาจจะมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตร
รัฐบาลอิตาลีลงไปอีกในอนาคต ถ้าหากแนวโน้มเศรษฐกิจของอิตาลีตกต่ำลงอย่าง
รุนแรง หรืออิตาลีประสบความยากลำบากในการดำเนินการปฏิรูป"
"ถ้าหากโอกาสของอิตาลีในการระดมทุนจากตลาดหนี้สาธารณะลดลง
ไปอีกในอนาคต และอิตาลีจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อันดับ
ความน่าเชื่อถือของอิตาลีก็อาจร่วงลงสู่ระดับที่ต่ำกว่าเดิมเป็นอย่างมาก"
มูดี้ส์ระบุว่า ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากอิตาลีประสบความสำเร็จ
ในการดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ และในการดำเนินมาตรการทาง
การคลังที่ช่วยส่งเสริมงบดุลของรัฐบาล และส่งเสริมแนวโน้มการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของอิตาลีให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลบวก
ต่อความน่าเชื่อถือและจะส่งผลให้อันดับความน่าเชื่อถือมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ
มูดี้ส์ปรับลดเพดานอันดับความน่าเชื่อถือขั้นสูงสุดที่ผู้ออกตราสารใน
อิตาลีอาจได้รับลงจากเดิมด้วย โดยปรับลดเพดานลงสู่ A2 จาก Aaa เพื่อ
สะท้อนความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเงินและเศรษฐกิจ
มูดี้ส์ระบุว่า การปรับลดอันดับในครั้งนี้ได้รับแรงกระตุ้นมาจากการที่
อิตาลีอาจได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นจากเหตุการณ์ทางการเมือง เช่น การที่กรีซ
ถอนตัวออกจากยูโรโซน หรือการที่สเปนขอความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม
มูดี้ส์เปิดเผยว่าอิตาลีเผชิญปัญหาทางการระดมทุนมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก
มีหนี้สินสูง และมีความจำเป็นต้องกู้เงินรายปีในระดับสูงถึง 4.15 แสนล้านยูโร
(5.06 แสนล้านดอลลาร์) ในปี 2012-2013 นอกจากนี้ ฐานนักลงทุนในต่าง
ประเทศก็ลดลงด้วย
มูดี้ส์ยังเตือนว่าเศรษฐกิจอิตาลีอาจตกต่ำลงต่อไป โดยขณะนี้มูดี้ส์คาดว่า
เศรษฐกิจอิตาลีอาจหดตัว 2 % ในปี 2012 ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถของ
อิตาลีในการบรรลุเป้าหมายทางการคลัง--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 235
GERMANY:จับตาศาลเยอรมนีชี้ชะตากองทุนยุโรปขัดต่อรธน.หรือไม่ 12 ก.ย.นี้
เบอร์ลิน--16 ก.ค.--รอยเตอร์
ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีแถลงในวันนี้ว่า ศาลจะประกาศคำวินิจฉัยเกี่ยวกับ
กองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรปในวันที่
12 ก.ย.นี้
ทั้งนี้ ศาลได้จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมาเพื่อ
พิจารณาคำร้องจากนักวิชาการฝ่ายต่อต้านยุโรป และสมาชิกสภานิติบัญญัติบางคนจาก
รัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลที่ว่า กองทุน ESM และสนธิสัญญา
ทางการคลังละเมิดกฎหมายของเยอรมนีด้วยการดึงความรับผิดชอบสำหรับงบประมาณ
ไปจากรัฐสภาหรือไม่--จบ--
เบอร์ลิน--16 ก.ค.--รอยเตอร์
ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีแถลงในวันนี้ว่า ศาลจะประกาศคำวินิจฉัยเกี่ยวกับ
กองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรปในวันที่
12 ก.ย.นี้
ทั้งนี้ ศาลได้จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมาเพื่อ
พิจารณาคำร้องจากนักวิชาการฝ่ายต่อต้านยุโรป และสมาชิกสภานิติบัญญัติบางคนจาก
รัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลที่ว่า กองทุน ESM และสนธิสัญญา
ทางการคลังละเมิดกฎหมายของเยอรมนีด้วยการดึงความรับผิดชอบสำหรับงบประมาณ
ไปจากรัฐสภาหรือไม่--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 236
ประท้วงต้านรัดเข็มขัดจบไม่สวย ปชช.สเปนปะทะเดือดจนท.กลางกรุง
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 12:20:59 น มติชน ออนไลน์
ตำรวจสเปนยิงกระสุนยางขับไล่ผู้ประท้วงในกรุงมาดริด ในช่วงเช้ามืดวันนี้(20 ก.ค.) หลังการนัดชุมนุมใหญ่ของสหภาพแรงงานทั่วประเทศเพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของนายกรัฐมนตรี มาเรียโน ราฮอย สิ้นสุดลง ผู้ได้รับบาดเจ็บและถูกจับกุมหลายราย
สถานการณ์ในกรุงมาดริด เมืองหลวงของสเปน เกิดขึ้นพร้อมกับอีกกว่า 80 จุดทั่วประเทศ หลังสหภาพแรงงานเชิญชวนประชาชนให้ออกมาแสดงพลังต่อต้านแผนลดเงินเดือนพนักงานรัฐและขึ้นภาษีสินค้า
โดยหลังการชุมนุมสิ้นสุดลง ผู้ประท้วงหลายสิบคนยังคงเตร็ดเตรอบริเวณจตุรัส ปูเอร์ตา เดล ซอล กลางกรุงมาดริด ขณะที่ผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่งดึงดันที่จะฝ่าด่านเจ้าหน้าที่เข้าไปยังอาคารรัฐสภา บ้างก็ขว้างปาขวดน้ำเข้าใส่เจ้าหน้าที่ที่พยายามสกัดกั้น และสลายฝูงชน จนเหตุลุกลามบานปลาย กลายเป็นการปะทะกัน ตำรวจปราบจลาจลต้องยิงปืนกระสุนยางเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และถูกจับกุมหลายคน
ตำรวจปราบจลาจลเข้าจับกุมและใช้กระบองทุบตีผู้ประท้วงที่พยายามจะเข้าไปก่อกวนอาคารรัฐสภา ซึ่งมีเจ้าหน้าที่คุ้มกันอยู่อย่างหนาแน่น ขณะที่ผู้ประท้วงอีกจำนวนหนึ่งวิ่งหนีตำรวจไปตามท้องถนน เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า ตำรวจจับกุมผู้ประท้วงได้ 7 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีก 6 คน
การชุมนุมประท้วงวานนี้ ถือเป็นครั้งล่าสุดและครั้งใหญ่ที่สุด หลังจากนายกรัฐมนตรี ราฮอย ประกาศมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อลดรายจ่ายลง 6.5 หมื่นล้านยูโร และบรรเทาปัญหาหนี้สาธารณะของสเปน
โดยหนึ่งในมาตรการ คือการตัดเงินโบนัสของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่จะออกในทุกๆเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งจะทำให้รายได้ต่อปีลดลงราว 7% หลังจากที่เมื่อปี 2010 รัฐบาลสเปนก็ได้สั่งลดเงินเดือนข้าราชการ และประกาศอัตราเงินเดือนคงที่มาแล้ว นอกจากนั้น สเปนยังประกาศลดเงินอุดหนุนในกรณีว่างงาน และขึ้นเพดานภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 18% เป็น 21%
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 12:20:59 น มติชน ออนไลน์
ตำรวจสเปนยิงกระสุนยางขับไล่ผู้ประท้วงในกรุงมาดริด ในช่วงเช้ามืดวันนี้(20 ก.ค.) หลังการนัดชุมนุมใหญ่ของสหภาพแรงงานทั่วประเทศเพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของนายกรัฐมนตรี มาเรียโน ราฮอย สิ้นสุดลง ผู้ได้รับบาดเจ็บและถูกจับกุมหลายราย
สถานการณ์ในกรุงมาดริด เมืองหลวงของสเปน เกิดขึ้นพร้อมกับอีกกว่า 80 จุดทั่วประเทศ หลังสหภาพแรงงานเชิญชวนประชาชนให้ออกมาแสดงพลังต่อต้านแผนลดเงินเดือนพนักงานรัฐและขึ้นภาษีสินค้า
โดยหลังการชุมนุมสิ้นสุดลง ผู้ประท้วงหลายสิบคนยังคงเตร็ดเตรอบริเวณจตุรัส ปูเอร์ตา เดล ซอล กลางกรุงมาดริด ขณะที่ผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่งดึงดันที่จะฝ่าด่านเจ้าหน้าที่เข้าไปยังอาคารรัฐสภา บ้างก็ขว้างปาขวดน้ำเข้าใส่เจ้าหน้าที่ที่พยายามสกัดกั้น และสลายฝูงชน จนเหตุลุกลามบานปลาย กลายเป็นการปะทะกัน ตำรวจปราบจลาจลต้องยิงปืนกระสุนยางเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และถูกจับกุมหลายคน
ตำรวจปราบจลาจลเข้าจับกุมและใช้กระบองทุบตีผู้ประท้วงที่พยายามจะเข้าไปก่อกวนอาคารรัฐสภา ซึ่งมีเจ้าหน้าที่คุ้มกันอยู่อย่างหนาแน่น ขณะที่ผู้ประท้วงอีกจำนวนหนึ่งวิ่งหนีตำรวจไปตามท้องถนน เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า ตำรวจจับกุมผู้ประท้วงได้ 7 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีก 6 คน
การชุมนุมประท้วงวานนี้ ถือเป็นครั้งล่าสุดและครั้งใหญ่ที่สุด หลังจากนายกรัฐมนตรี ราฮอย ประกาศมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อลดรายจ่ายลง 6.5 หมื่นล้านยูโร และบรรเทาปัญหาหนี้สาธารณะของสเปน
โดยหนึ่งในมาตรการ คือการตัดเงินโบนัสของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่จะออกในทุกๆเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งจะทำให้รายได้ต่อปีลดลงราว 7% หลังจากที่เมื่อปี 2010 รัฐบาลสเปนก็ได้สั่งลดเงินเดือนข้าราชการ และประกาศอัตราเงินเดือนคงที่มาแล้ว นอกจากนั้น สเปนยังประกาศลดเงินอุดหนุนในกรณีว่างงาน และขึ้นเพดานภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 18% เป็น 21%
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 237
SPAIN:สื่อเผยวิกฤติหนี้ลามทั่วสเปน หลังคาดอีก 6 แคว้นจ่อคิวขอเงินช่วยเหลือ
มาดริด--23 ก.ค.--รอยเตอร์
รัฐบาลแคว้นบาเลนเซียซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสเปนแถลงในวันศุกร์ว่า
ทางแคว้นต้องการความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลกลางสเปน ซึ่งแถลงการณ์
ในครั้งนี้ได้สร้างความกังวลให้แก่ตลาดการเงิน และสร้างความยุ่งยากให้แก่ความ
พยายามของรัฐบาลกลางในการหลีกเลี่ยงการขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก
ต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้ แคว้นมูร์เซียเป็นแคว้นที่ 2 ที่ประกาศความช่วยเหลือทาง
การเงินจากรัฐบาลกลางเมื่อวานนี้ ขณะที่สื่อรายงานว่า รัฐบาลระดับภูมิภาคอีก
6 แห่งอาจจะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความวิตก
มากขึ้นต่อเสถียรภาพของสเปนและภาคธนาคารของประเทศ
แคว้นบาเลนเซียและแคว้นคาตาโลเนียถือเป็นสองแคว้นที่มีหนี้สินสูงที่สุด
ในสเปน โดยแคว้นบาเลนเซียขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางสเปนภายใต้
โครงการวงเงิน 1.8 หมื่นล้านยูโร (2.21 หมื่นล้านดอลลาร์) ที่เพิ่งได้รับการ
อนุมัติในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยโครงการนี้ตั้งเป้าที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เขต
ปกครองตนเอง โดยงบรายจ่ายสำหรับรัฐบาลระดับแคว้นและรัฐบาลระดับท้องถิ่น
ครองสัดส่วนราวครึ่งหนึ่งของงบรายจ่ายสาธารณะทั้งหมดของสเปน
รัฐบาลบาเลนเซียออกแถลงการณ์ระบุว่า "แคว้นบาเลนเซียประสบ
ความยากลำบากจากภาวะขาดแคลนสภาพคล่องในตลาด ซึ่งเป็นผลจากวิกฤติ
เศรษฐกิจ ในขณะที่เขตปกครองตนเองเขตอื่นๆก็ประสบปัญหาแบบเดียวกัน"
โครงการช่วยเหลือนี้ได้รับเงินทุนจากกระทรวงการคลังสเปน
แต่รัฐบาลแคว้นต่างๆยังคงต้องรับผิดชอบต่อหนี้ดังกล่าว
ปัญหาหนี้สินของรัฐบาลระดับแคว้นและปัญหาในภาคธนาคารสเปน
ซึ่งได้รับความเสียหายจากภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้
ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และอาจทำให้
รัฐบาลกลางสเปนต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศอย่าง
เต็มรูปแบบในอนาคต
ขณะเดียวกัน รัฐบาลกลางสเปนประกาศในช่วงบ่ายวันศุกร์ว่า
ทางรัฐบาลได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปี
2013 และส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสเปนจะยังคงอยู่ในภาวะถดถอยต่อไปในปีหน้า
หลังจากมีแนวโน้มหดตัว 1.5 % ในปีนี้
ในวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้อนุมัติเงื่อนไขของสินเชื่อ
วงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านยูโร (1.23 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อให้รัฐบาลกลาง
สเปนนำไปใช้เพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ของประเทศ โดยจะมีการกำหนดวงเงิน
ที่แน่นอนของสินเชื่อดังกล่าวในเดือนก.ย.
อย่างไรก็ดี ข่าวเรื่องแคว้นบาเลนเซียส่งผลให้ค่าพรีเมียมความเสี่ยง
ของพันธบัตรรัฐบาลสเปนพุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี
ของสเปนพุ่งขึ้นแตะ 7.317 % ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการใช้เงินสกุล
ยูโร และเป็นระดับที่ตลาดมองว่าสูงเกินไป โดยไม่มีแนวโน้มว่าอัตราผลตอบแทน
จะลดลงในเร็วๆนี้
ยูโรร่วงลงแตะ 1.2103 ดอลลาร์ในวันนี้ ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดรอบ 25 เดือน
ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปร่วงลงในวันศุกร์
ถึงแม้รัฐบาลสเปนปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(จีดีพี) แต่ทางรัฐบาลก็ยังคงเป้าหมายยอดขาดดุลงบประมาณประจำปี 2012 และ
2013 ไว้ตามเดิม แต่รัฐบาลไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่ารัฐบาลกลางและรัฐบาล
ระดับแคว้นจะแบ่งกันทำงานอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในปีนี้
รัฐบาลสเปนจะใช้ตัวเลขคาดการณ์ใหม่นี้เป็นพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ
ประจำปี 2013 โดยมีการกำหนดเพดานงบประมาณไว้ที่ 1.27 แสนล้านยูโร เทียบกับ
1.19 แสนล้านยูโรในปีนี้
รัฐบาลหลายแคว้นของสเปนไม่สามารถกู้เงินจากตลาดระหว่างประเทศได้
ดังนั้นรัฐบาลแคว้นต่างๆเหล่านี้จึงเรียกร้องมาเป็นเวลานานหลายเดือนแล้วให้มีการ
ดำเนินกลไกทางการเงินเพื่อช่วยให้รัฐบาลกลุ่มนี้สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันทาง
การเงิน
นายโฆเซ่ ซิสคาร์ รองมุขมนตรีแคว้นบาเลนเซีย กล่าวว่า ขณะนี้แคว้น
บาเลนเซียอยู่ในสถานะที่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันทางการเงินได้แล้ว โดยเขา
กล่าวเสริมว่า "กองทุนสภาพคล่องของรัฐบาลกลางสเปนได้ช่วยสร้างความเชื่อมั่น"
แคว้นบาเลนเซียได้ใช้วงเงินสินเชื่อของรัฐบาลกลางไปแล้ว 2-3 ครั้ง
ในช่วงครึ่งปีแรกเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ของทางแคว้น ขณะที่ยังคงต้องชำระหนี้อีก
2.85 พันล้านยูโรก่อนสิ้นปีนี้
นายคริสโตบาล มอนโตโร รมว.คลังสเปน กล่าวหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี
รายสัปดาห์ว่า โครงการให้เงินทุนแก่รัฐบาลระดับแคว้นเป็นโครงการที่กำหนดเงื่อนไข
ทางการคลังอย่างเข้มงวด และผู้รับเงินจากโครงการนี้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว
รวมทั้งต้องรายงานสถานะการเงินอย่างสม่ำเสมอ
นายมอนโตโรกล่าวว่า "รัฐบาลบาเลนเซียจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
ใหม่นี้เพื่อแลกกับการเข้าถึงสภาพคล่องดังกล่าว"
นายมอนโตโรกล่าวว่า ต้นทุนในการระดมทุนเพื่อชำระหนี้ของสเปนมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น 9.1 พันล้านยูโรในปี 2013
ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา รัฐบาลสเปนได้ประกาศใช้มาตรการส่วนใหญ่ที่อยู่ใน
โครงการปรับลดงบรายจ่ายและปรับขึ้นภาษีวงเงิน 6.5 หมื่นล้านยูโร โดยรัฐบาลสเปน
จะระดมทุนจากตลาดในวันพรุ่งนี้ด้วยการเสนอขายตั๋วเงินคลังประเภทอายุ 3 เดือนและ
6 เดือน และรัฐบาลจะขายพันธบัตรประเภท 3 ปีและ 5 ปีในวันพฤหัสบดีที่ 2 ส.ค.
รัฐบาลบางแคว้นของสเปนต่อต้านมาตรการปรับลดงบรายจ่ายครั้งล่าสุด
โดยรัฐบาลแคว้นคาตาโลเนีย, แคว้นบาสค์ และแคว้นอันดาลูเซียแถลงว่า ทางรัฐบาล
จะไม่นำมาตรการปรับลดงบรายจ่ายมาใช้ทั้งหมด เพราะการทำเช่นนั้นจะเป็นการทำลาย
ระบบสาธารณสุขและการศึกษาภาครัฐที่รัฐบาลระดับแคว้นเป็นผู้ควบคุม
นักวิเคราะห์เชื่อว่า แคว้นปกครองตนเองส่วนใหญ่ในสเปนจะไม่สามารถบรรลุ
เป้าหมายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงสู่ 1.5 % ของผลผลิตทางเศรษฐกิจในปีนี้
ในสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลกลางสเปนได้ขอให้รัฐบาลระดับแคว้นอย่างน้อย 8 จาก
17 แคว้นปรับทบทวนแผนงบประมาณประจำปีนี้ของตนเองเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านขาดดุล
งบประมาณ โดยรัฐบาลกลางสเปนขู่ที่จะเข้าควบคุมการคลังของแคว้นบางแคว้นด้วย
มีสัญญาณบ่งชี้ถึงความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อความยากลำบากทางเศรษฐกิจ
โดยมีชาวสเปนหลายแสนคนเดินขบวนประท้วงต่อต้านมาตรการล่าสุดของรัฐบาลฝ่ายกลาง-
ขวาของสเปนในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
สเปนระดมทุนไปแล้ว 69 % ของเป้าหมายเดิมในการออกพันธบัตรระยะกลาง
และระยะยาวทั้งหมดสำหรับปีนี้ โดยเป้าหมายเดิมอยู่ที่ 8.5 หมื่นล้านยูโร
อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดกันว่าสเปนอาจเพิ่มเป้าหมายในการออกพันธบัตรอีกราว
2 หมื่นล้านยูโร โดยเป็นผลจากการกำหนดเป้าหมายใหม่ด้านการขาดดุลงบประมาณและ
ภาระในการช่วยเหลือรัฐบาลระดับแคว้น และปัจจัยนี้อาจส่งผลกระทบต่ออันดับความน่า
เชื่อถือของสเปน ซึ่งอยู่สูงกว่าสถานะ"ขยะ"เพียง 1 ขั้นเท่านั้น--จบ--
มาดริด--23 ก.ค.--รอยเตอร์
รัฐบาลแคว้นบาเลนเซียซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสเปนแถลงในวันศุกร์ว่า
ทางแคว้นต้องการความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลกลางสเปน ซึ่งแถลงการณ์
ในครั้งนี้ได้สร้างความกังวลให้แก่ตลาดการเงิน และสร้างความยุ่งยากให้แก่ความ
พยายามของรัฐบาลกลางในการหลีกเลี่ยงการขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก
ต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้ แคว้นมูร์เซียเป็นแคว้นที่ 2 ที่ประกาศความช่วยเหลือทาง
การเงินจากรัฐบาลกลางเมื่อวานนี้ ขณะที่สื่อรายงานว่า รัฐบาลระดับภูมิภาคอีก
6 แห่งอาจจะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความวิตก
มากขึ้นต่อเสถียรภาพของสเปนและภาคธนาคารของประเทศ
แคว้นบาเลนเซียและแคว้นคาตาโลเนียถือเป็นสองแคว้นที่มีหนี้สินสูงที่สุด
ในสเปน โดยแคว้นบาเลนเซียขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางสเปนภายใต้
โครงการวงเงิน 1.8 หมื่นล้านยูโร (2.21 หมื่นล้านดอลลาร์) ที่เพิ่งได้รับการ
อนุมัติในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยโครงการนี้ตั้งเป้าที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เขต
ปกครองตนเอง โดยงบรายจ่ายสำหรับรัฐบาลระดับแคว้นและรัฐบาลระดับท้องถิ่น
ครองสัดส่วนราวครึ่งหนึ่งของงบรายจ่ายสาธารณะทั้งหมดของสเปน
รัฐบาลบาเลนเซียออกแถลงการณ์ระบุว่า "แคว้นบาเลนเซียประสบ
ความยากลำบากจากภาวะขาดแคลนสภาพคล่องในตลาด ซึ่งเป็นผลจากวิกฤติ
เศรษฐกิจ ในขณะที่เขตปกครองตนเองเขตอื่นๆก็ประสบปัญหาแบบเดียวกัน"
โครงการช่วยเหลือนี้ได้รับเงินทุนจากกระทรวงการคลังสเปน
แต่รัฐบาลแคว้นต่างๆยังคงต้องรับผิดชอบต่อหนี้ดังกล่าว
ปัญหาหนี้สินของรัฐบาลระดับแคว้นและปัญหาในภาคธนาคารสเปน
ซึ่งได้รับความเสียหายจากภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้
ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และอาจทำให้
รัฐบาลกลางสเปนต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศอย่าง
เต็มรูปแบบในอนาคต
ขณะเดียวกัน รัฐบาลกลางสเปนประกาศในช่วงบ่ายวันศุกร์ว่า
ทางรัฐบาลได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปี
2013 และส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสเปนจะยังคงอยู่ในภาวะถดถอยต่อไปในปีหน้า
หลังจากมีแนวโน้มหดตัว 1.5 % ในปีนี้
ในวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้อนุมัติเงื่อนไขของสินเชื่อ
วงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านยูโร (1.23 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อให้รัฐบาลกลาง
สเปนนำไปใช้เพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ของประเทศ โดยจะมีการกำหนดวงเงิน
ที่แน่นอนของสินเชื่อดังกล่าวในเดือนก.ย.
อย่างไรก็ดี ข่าวเรื่องแคว้นบาเลนเซียส่งผลให้ค่าพรีเมียมความเสี่ยง
ของพันธบัตรรัฐบาลสเปนพุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี
ของสเปนพุ่งขึ้นแตะ 7.317 % ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการใช้เงินสกุล
ยูโร และเป็นระดับที่ตลาดมองว่าสูงเกินไป โดยไม่มีแนวโน้มว่าอัตราผลตอบแทน
จะลดลงในเร็วๆนี้
ยูโรร่วงลงแตะ 1.2103 ดอลลาร์ในวันนี้ ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดรอบ 25 เดือน
ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปร่วงลงในวันศุกร์
ถึงแม้รัฐบาลสเปนปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(จีดีพี) แต่ทางรัฐบาลก็ยังคงเป้าหมายยอดขาดดุลงบประมาณประจำปี 2012 และ
2013 ไว้ตามเดิม แต่รัฐบาลไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่ารัฐบาลกลางและรัฐบาล
ระดับแคว้นจะแบ่งกันทำงานอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในปีนี้
รัฐบาลสเปนจะใช้ตัวเลขคาดการณ์ใหม่นี้เป็นพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ
ประจำปี 2013 โดยมีการกำหนดเพดานงบประมาณไว้ที่ 1.27 แสนล้านยูโร เทียบกับ
1.19 แสนล้านยูโรในปีนี้
รัฐบาลหลายแคว้นของสเปนไม่สามารถกู้เงินจากตลาดระหว่างประเทศได้
ดังนั้นรัฐบาลแคว้นต่างๆเหล่านี้จึงเรียกร้องมาเป็นเวลานานหลายเดือนแล้วให้มีการ
ดำเนินกลไกทางการเงินเพื่อช่วยให้รัฐบาลกลุ่มนี้สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันทาง
การเงิน
นายโฆเซ่ ซิสคาร์ รองมุขมนตรีแคว้นบาเลนเซีย กล่าวว่า ขณะนี้แคว้น
บาเลนเซียอยู่ในสถานะที่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันทางการเงินได้แล้ว โดยเขา
กล่าวเสริมว่า "กองทุนสภาพคล่องของรัฐบาลกลางสเปนได้ช่วยสร้างความเชื่อมั่น"
แคว้นบาเลนเซียได้ใช้วงเงินสินเชื่อของรัฐบาลกลางไปแล้ว 2-3 ครั้ง
ในช่วงครึ่งปีแรกเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ของทางแคว้น ขณะที่ยังคงต้องชำระหนี้อีก
2.85 พันล้านยูโรก่อนสิ้นปีนี้
นายคริสโตบาล มอนโตโร รมว.คลังสเปน กล่าวหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี
รายสัปดาห์ว่า โครงการให้เงินทุนแก่รัฐบาลระดับแคว้นเป็นโครงการที่กำหนดเงื่อนไข
ทางการคลังอย่างเข้มงวด และผู้รับเงินจากโครงการนี้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว
รวมทั้งต้องรายงานสถานะการเงินอย่างสม่ำเสมอ
นายมอนโตโรกล่าวว่า "รัฐบาลบาเลนเซียจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
ใหม่นี้เพื่อแลกกับการเข้าถึงสภาพคล่องดังกล่าว"
นายมอนโตโรกล่าวว่า ต้นทุนในการระดมทุนเพื่อชำระหนี้ของสเปนมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น 9.1 พันล้านยูโรในปี 2013
ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา รัฐบาลสเปนได้ประกาศใช้มาตรการส่วนใหญ่ที่อยู่ใน
โครงการปรับลดงบรายจ่ายและปรับขึ้นภาษีวงเงิน 6.5 หมื่นล้านยูโร โดยรัฐบาลสเปน
จะระดมทุนจากตลาดในวันพรุ่งนี้ด้วยการเสนอขายตั๋วเงินคลังประเภทอายุ 3 เดือนและ
6 เดือน และรัฐบาลจะขายพันธบัตรประเภท 3 ปีและ 5 ปีในวันพฤหัสบดีที่ 2 ส.ค.
รัฐบาลบางแคว้นของสเปนต่อต้านมาตรการปรับลดงบรายจ่ายครั้งล่าสุด
โดยรัฐบาลแคว้นคาตาโลเนีย, แคว้นบาสค์ และแคว้นอันดาลูเซียแถลงว่า ทางรัฐบาล
จะไม่นำมาตรการปรับลดงบรายจ่ายมาใช้ทั้งหมด เพราะการทำเช่นนั้นจะเป็นการทำลาย
ระบบสาธารณสุขและการศึกษาภาครัฐที่รัฐบาลระดับแคว้นเป็นผู้ควบคุม
นักวิเคราะห์เชื่อว่า แคว้นปกครองตนเองส่วนใหญ่ในสเปนจะไม่สามารถบรรลุ
เป้าหมายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงสู่ 1.5 % ของผลผลิตทางเศรษฐกิจในปีนี้
ในสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลกลางสเปนได้ขอให้รัฐบาลระดับแคว้นอย่างน้อย 8 จาก
17 แคว้นปรับทบทวนแผนงบประมาณประจำปีนี้ของตนเองเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านขาดดุล
งบประมาณ โดยรัฐบาลกลางสเปนขู่ที่จะเข้าควบคุมการคลังของแคว้นบางแคว้นด้วย
มีสัญญาณบ่งชี้ถึงความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อความยากลำบากทางเศรษฐกิจ
โดยมีชาวสเปนหลายแสนคนเดินขบวนประท้วงต่อต้านมาตรการล่าสุดของรัฐบาลฝ่ายกลาง-
ขวาของสเปนในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
สเปนระดมทุนไปแล้ว 69 % ของเป้าหมายเดิมในการออกพันธบัตรระยะกลาง
และระยะยาวทั้งหมดสำหรับปีนี้ โดยเป้าหมายเดิมอยู่ที่ 8.5 หมื่นล้านยูโร
อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดกันว่าสเปนอาจเพิ่มเป้าหมายในการออกพันธบัตรอีกราว
2 หมื่นล้านยูโร โดยเป็นผลจากการกำหนดเป้าหมายใหม่ด้านการขาดดุลงบประมาณและ
ภาระในการช่วยเหลือรัฐบาลระดับแคว้น และปัจจัยนี้อาจส่งผลกระทบต่ออันดับความน่า
เชื่อถือของสเปน ซึ่งอยู่สูงกว่าสถานะ"ขยะ"เพียง 1 ขั้นเท่านั้น--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 238
EUROPE:หุ้นยุโรปเปิดตลาดดิ่ง 1% ผวาวิกฤติหนี้ลามทั่วสเปน
ลอนดอน--23 ก.ค.--รอยเตอร์
หุ้นยุโรปร่วงลงในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้ นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคาร
ของยูโรโซน หลังจากแนวโน้มทางการเงินของสเปนเลวร้ายลงอีกครั้งในช่วง
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และทำให้สเปนใกล้ที่จะต้องขอความช่วยเหลือทางการเงิน
อย่างเต็มรูปแบบ
ณ เวลา 14.13 น.ตามเวลาไทย ดัชนี FTSEurofirst ร่วงลง 1%
มาที่ 1,038.83 ส่วนดัชนี Euro STOXX สำหรับหุ้นกลุ่มธนาคารยูโรโซน ดิ่งลง
2.9%
หลังจากที่แคว้นบาเลนเซียเปิดเผยว่าจะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล
กลางของสเปนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แคว้นมูร์เซียก็เตรียมดำเนินการตาม ขณะที่
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า มีรัฐบาลระดับภูมิภาคอีก 6 แห่งที่อาจจะขอความช่วยเหลือ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนอายุ 10 ปีพุ่งแตะระดับสูงสุดใหม่
นับตั้งแต่มีการใช้สกุลเงินยูโร โดยอยู่ที่ระดับ 7.33% ในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้
"มีแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างมากช่วงเช้านี้ ขณะที่มีความวิตกครั้งใหม่
เกี่ยวกับยุโรป ซึ่งความวิตกเหล่านี้ก็ไม่ได้หายไปไหนอยู่แล้ว" นายโจ เนเบอร์
โบรกเกอร์อาวุโสจากเซ็นทรัล มาร์เกตส์ กล่าว--จบ--
ลอนดอน--23 ก.ค.--รอยเตอร์
หุ้นยุโรปร่วงลงในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้ นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคาร
ของยูโรโซน หลังจากแนวโน้มทางการเงินของสเปนเลวร้ายลงอีกครั้งในช่วง
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และทำให้สเปนใกล้ที่จะต้องขอความช่วยเหลือทางการเงิน
อย่างเต็มรูปแบบ
ณ เวลา 14.13 น.ตามเวลาไทย ดัชนี FTSEurofirst ร่วงลง 1%
มาที่ 1,038.83 ส่วนดัชนี Euro STOXX สำหรับหุ้นกลุ่มธนาคารยูโรโซน ดิ่งลง
2.9%
หลังจากที่แคว้นบาเลนเซียเปิดเผยว่าจะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล
กลางของสเปนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แคว้นมูร์เซียก็เตรียมดำเนินการตาม ขณะที่
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า มีรัฐบาลระดับภูมิภาคอีก 6 แห่งที่อาจจะขอความช่วยเหลือ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนอายุ 10 ปีพุ่งแตะระดับสูงสุดใหม่
นับตั้งแต่มีการใช้สกุลเงินยูโร โดยอยู่ที่ระดับ 7.33% ในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้
"มีแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างมากช่วงเช้านี้ ขณะที่มีความวิตกครั้งใหม่
เกี่ยวกับยุโรป ซึ่งความวิตกเหล่านี้ก็ไม่ได้หายไปไหนอยู่แล้ว" นายโจ เนเบอร์
โบรกเกอร์อาวุโสจากเซ็นทรัล มาร์เกตส์ กล่าว--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 239
SPAIN:มูร์เซียจ่อขอความช่วยเหลือจากรบ.กลางสเปนต่อจากบาเลนเซีย
มาดริด--24 ก.ค.--รอยเตอร์
มูร์เซียเป็นแคว้นที่ 2 ของสเปนที่จะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางเพื่อ
ทำให้มีความสามารถในการชำระหนี้ต่อไป ขณะที่สื่อรายงานว่า รัฐบาลระดับภูมิภาค 6
แห่งพร้อมที่จะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางตามแคว้นบาเลนเซีย
แคว้นปกครองตนเองที่ประสบภาวะหนี้สิน 17 แคว้นของสเปน จะทำการรีไฟ
แนนซ์หนี้ 3.6 หมื่นล้านยูโรได้อย่างไรในปีนี้ กลายเป็นสาเหตุหลักที่สร้างความวิตกให้
แก่นักลงทุน เนื่องจากแคว้นเหล่านี้ไม่บรรลุเป้าหมายยอดขาดดุลในปีที่แล้ว ขณะที่แคว้น
เหล่านี้ไม่มีช่องทางในการเข้าถึงตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศ
รัฐบาลกลางของสเปนได้จัดตั้งกองทุน 1.8 หมื่นล้านยูโร (2.2 หมื่นล้าน
ดอลลาร์) ในเดือนนี้เพื่อบรรเทาปัญหาการระดมทุน
นายรามอน ลูอิส วัลคาร์เซล หัวหน้ารัฐบาลแคว้นมูร์เซียกล่าวให้สัมภาษณ์
กับหนังสือพิมพ์ว่า มูร์เซียมีแผนที่จะใช้เงินในกองทุนที่รัฐบาลตั้งขึ้นหรือไม่ว่า
"ใช่แน่นอน" และเสริมว่า เขาหวังว่ากองทุนดังกล่าวจะใช้ได้ในเดือนก.ย.นี้
"ไม่มีใครควรคิดว่าเงินนี้เป็นของขวัญ เพราะเงื่อนไขที่ตั้งไว้นั้นจะเข้มงวด
อย่างมาก" เขากล่าว "จะมีการของบ 200-300 ล้านยูโร แต่ผมก็ยังไม่ทราบ"
มูร์เซีย ซึ่งมีประชากร 1.4 ล้านคน และตั้งอยู่บนชายฝั่งทางใต้-ตะวันออก
ของสเปน ออกแถลงการณ์ว่า กำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะใช้กลไกเงินกองทุน แต่ก็
ยังไม่ได้ตัดสินใจ--จบ--
มาดริด--24 ก.ค.--รอยเตอร์
มูร์เซียเป็นแคว้นที่ 2 ของสเปนที่จะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางเพื่อ
ทำให้มีความสามารถในการชำระหนี้ต่อไป ขณะที่สื่อรายงานว่า รัฐบาลระดับภูมิภาค 6
แห่งพร้อมที่จะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางตามแคว้นบาเลนเซีย
แคว้นปกครองตนเองที่ประสบภาวะหนี้สิน 17 แคว้นของสเปน จะทำการรีไฟ
แนนซ์หนี้ 3.6 หมื่นล้านยูโรได้อย่างไรในปีนี้ กลายเป็นสาเหตุหลักที่สร้างความวิตกให้
แก่นักลงทุน เนื่องจากแคว้นเหล่านี้ไม่บรรลุเป้าหมายยอดขาดดุลในปีที่แล้ว ขณะที่แคว้น
เหล่านี้ไม่มีช่องทางในการเข้าถึงตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศ
รัฐบาลกลางของสเปนได้จัดตั้งกองทุน 1.8 หมื่นล้านยูโร (2.2 หมื่นล้าน
ดอลลาร์) ในเดือนนี้เพื่อบรรเทาปัญหาการระดมทุน
นายรามอน ลูอิส วัลคาร์เซล หัวหน้ารัฐบาลแคว้นมูร์เซียกล่าวให้สัมภาษณ์
กับหนังสือพิมพ์ว่า มูร์เซียมีแผนที่จะใช้เงินในกองทุนที่รัฐบาลตั้งขึ้นหรือไม่ว่า
"ใช่แน่นอน" และเสริมว่า เขาหวังว่ากองทุนดังกล่าวจะใช้ได้ในเดือนก.ย.นี้
"ไม่มีใครควรคิดว่าเงินนี้เป็นของขวัญ เพราะเงื่อนไขที่ตั้งไว้นั้นจะเข้มงวด
อย่างมาก" เขากล่าว "จะมีการของบ 200-300 ล้านยูโร แต่ผมก็ยังไม่ทราบ"
มูร์เซีย ซึ่งมีประชากร 1.4 ล้านคน และตั้งอยู่บนชายฝั่งทางใต้-ตะวันออก
ของสเปน ออกแถลงการณ์ว่า กำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะใช้กลไกเงินกองทุน แต่ก็
ยังไม่ได้ตัดสินใจ--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 240
"มูดีส์"เตือน"เยอรมนี"ปรับลดมุมมองอนาคตศก."เป็นลบ"
วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 10:20:22 น มติชน ออนไลน์
มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือการลงทุนได้ปรับมุมมองอนาคตของเศรษฐกิจเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก จากเดิมซึ่งอยู่ในระดับ "มีเสถียรภาพ" เป็น "ลบ" ซึ่งเป็นขั้นแรกของมูดีส์ที่อาจนำไปสู่การลดอันดับความน่าเชื่อถือของเยอรมนี ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยูโรโซนในอนาคต
คำแถลงของมูดีส์เป็นการส่งสัญญาณเตือนว่า ไม่มีประเทศใดในกลุ่มยูโรโซนที่จะรอดพ้นจากวิกฤตหนี้ในครั้งนี้ แม้เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดอย่างเช่นเยอรมนี และก่อนหน้านี้มูดีส์ได้ปรับลดมุมมองอนาคตเศรษฐกิจของ 2 ประเทศ คือเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก
มูดีส์กล่าวว่า ทั้ง 3 ประเทศเผชิญความเสี่ยงจากกรีซจะถอนตัวออกจากยูโรโซน และเตือนว่าเยอรมนีและประเทศอื่นๆ อาจต้องเพิ่มความช่วยเหลือในการอัดฉีดอัดฉีดเงินสดเพื่อช่วยเหลือสเปนและอิตาลี และภาระในการช่วยเหลือดังกล่าวนี่เองจะกลายเป็นสิ่งที่ประเทศชั้นนำของยูโรโซนต้องแบกรับไว้
มูดีส์ระบุว่าความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้ไม่อาจคงมุมมองว่าเศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพได้อีกต่อไป เพราะถึงแม้กรีซรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ประเทศร่ำรวยในยูโรโซนก็จะต้องแบกรับภาระหนักขึ้นในอนาคตเช่นกัน ดังนั้นทุกประเทศในยูโรโซนจะเกิดปัญหา แต่อยู่ในระดับที่แตกต่างกันออกไป
อย่างไรก็ดี มูดีส์ ยังคงระดับความน่าเชื่อถือของฟินแลนด์ไว้ที่ Aaa หรือมีเสถียรภาพ แต่ยังคงเตือนว่าอาจได้รับผลกระทบที่คาดไม่ถึงจากวิกฤตหนี้ครั้งนี้
ทางด้านกระทรวงการคลังของเยอรมนี ตอบโต้คำประกาศของมูดีส์ด้วยคำยืนยันว่า เยอรมนียังคงเป็นเหมือนสมอเรือที่สร้างเสถียรภาพให้กับยูโรโซน และว่ามูดีส์มองแต่เฉพาะความเสี่ยงในระยะสั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงเสถียรภาพที่จะเกิดขึ้นระยะยาว
อย่างไรก็ดี สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ สถาบันจัดอันดับชั้นนำอีกแห่ง ยังคงมุมมองอนาคตเศรษฐกิจเยอรมนีไว้ที่"มีเสถียรภาพ" แต่ปรับให้ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ และฟินแลนด์ มีมุมมองเป็นลบ โดยทั้งหมดยังคงอยู่ในระดับ AAA
วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 10:20:22 น มติชน ออนไลน์
มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือการลงทุนได้ปรับมุมมองอนาคตของเศรษฐกิจเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก จากเดิมซึ่งอยู่ในระดับ "มีเสถียรภาพ" เป็น "ลบ" ซึ่งเป็นขั้นแรกของมูดีส์ที่อาจนำไปสู่การลดอันดับความน่าเชื่อถือของเยอรมนี ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยูโรโซนในอนาคต
คำแถลงของมูดีส์เป็นการส่งสัญญาณเตือนว่า ไม่มีประเทศใดในกลุ่มยูโรโซนที่จะรอดพ้นจากวิกฤตหนี้ในครั้งนี้ แม้เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดอย่างเช่นเยอรมนี และก่อนหน้านี้มูดีส์ได้ปรับลดมุมมองอนาคตเศรษฐกิจของ 2 ประเทศ คือเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก
มูดีส์กล่าวว่า ทั้ง 3 ประเทศเผชิญความเสี่ยงจากกรีซจะถอนตัวออกจากยูโรโซน และเตือนว่าเยอรมนีและประเทศอื่นๆ อาจต้องเพิ่มความช่วยเหลือในการอัดฉีดอัดฉีดเงินสดเพื่อช่วยเหลือสเปนและอิตาลี และภาระในการช่วยเหลือดังกล่าวนี่เองจะกลายเป็นสิ่งที่ประเทศชั้นนำของยูโรโซนต้องแบกรับไว้
มูดีส์ระบุว่าความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้ไม่อาจคงมุมมองว่าเศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพได้อีกต่อไป เพราะถึงแม้กรีซรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ประเทศร่ำรวยในยูโรโซนก็จะต้องแบกรับภาระหนักขึ้นในอนาคตเช่นกัน ดังนั้นทุกประเทศในยูโรโซนจะเกิดปัญหา แต่อยู่ในระดับที่แตกต่างกันออกไป
อย่างไรก็ดี มูดีส์ ยังคงระดับความน่าเชื่อถือของฟินแลนด์ไว้ที่ Aaa หรือมีเสถียรภาพ แต่ยังคงเตือนว่าอาจได้รับผลกระทบที่คาดไม่ถึงจากวิกฤตหนี้ครั้งนี้
ทางด้านกระทรวงการคลังของเยอรมนี ตอบโต้คำประกาศของมูดีส์ด้วยคำยืนยันว่า เยอรมนียังคงเป็นเหมือนสมอเรือที่สร้างเสถียรภาพให้กับยูโรโซน และว่ามูดีส์มองแต่เฉพาะความเสี่ยงในระยะสั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงเสถียรภาพที่จะเกิดขึ้นระยะยาว
อย่างไรก็ดี สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ สถาบันจัดอันดับชั้นนำอีกแห่ง ยังคงมุมมองอนาคตเศรษฐกิจเยอรมนีไว้ที่"มีเสถียรภาพ" แต่ปรับให้ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ และฟินแลนด์ มีมุมมองเป็นลบ โดยทั้งหมดยังคงอยู่ในระดับ AAA