ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่สุมาอ
- todsapon
- Verified User
- โพสต์: 1137
- ผู้ติดตาม: 0
ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่สุมาอ
โพสต์ที่ 1
ทำไมเวลาประมาณ FCF ถึงคิดแค่ EBIT (1-T) EBIT คือกำไรปกติก่อนเสียภาษีและดอกเบี้ย T คืออัตราภาษี อย่างนี้ค่าที่ได้ก็เป็นกำไรปกติที่ยังไม่ได้พิจารณาเรื่องดอกเบี้ยสิครับ แล้ว กระแสเงินสด FCF จะใกล้เคียงได้อย่างไรครับ หรือผมคิดผิดต้องใช้กำไรสุทธิปกติในการประเมินกระแสเงินสดครับ
ความจริงผมอ่านหลายครั้งแล้ว วันนี้มาลองอ่านอีกที เพิ่งสงสัย หรือผมเข้าใจอะไรผิด อะไรที่ไม่แตกบอกได้ครับ
ความจริงผมอ่านหลายครั้งแล้ว วันนี้มาลองอ่านอีกที เพิ่งสงสัย หรือผมเข้าใจอะไรผิด อะไรที่ไม่แตกบอกได้ครับ
ผลตอบแทน 15% ต่อปีก็พอ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่ส
โพสต์ที่ 2
นิยามของ free cash flow FCF ในตำราการเงินแต่ละเล่มอาจแตกต่างกันเล็กน้อย เวลาอ่านต้องดูว่าหาไปเพื่อวัดมูลค่าหุ้นหรือกิจการแล้วคิดลดด้วยอัตราคิดลดอย่างไร EBIT*(1-t) t คืออัตราภาษี นั้นก็ถือเป็นการคิดเริ่มต้นสู่การหารกระแสเงินสดบบหนึ่งที่ง่าย ตั้งต้นแต่ยังไม่ทั้งหมด EBIT * (1-t) = EBIT-EBIT*t = EBIT-T = NI แต่รายการนี้คือ กำไรทางบัญชีคร่าวๆ เท่านั้น บางตำรา ตัวที่เข้าใกล้ FCF (ควรเป็นกระแสเงินสด หรือ วัดให้ใกล้กับ cash basis มากี่สุด) คือ ใช้ EBITDA แล้วหักด้วยภาษีที่ปรับรายการค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่าย เพราะรายการเหล่านี้ช่วยลดเงินที่ต้องจ่ายภาษีเพราะเห็นรายจ่ายไม่เป็นเงินสดจริง แต่ช่วยในการลดภาษีจ่ายได้todsapon เขียน:ทำไมเวลาประมาณ FCF ถึงคิดแค่ EBIT (1-T) EBIT คือกำไรปกติก่อนเสียภาษีและดอกเบี้ย T คืออัตราภาษี อย่างนี้ค่าที่ได้ก็เป็นกำไรปกติที่ยังไม่ได้พิจารณาเรื่องดอกเบี้ยสิครับ แล้ว กระแสเงินสด FCF จะใกล้เคียงได้อย่างไรครับ หรือผมคิดผิดต้องใช้กำไรสุทธิปกติในการประเมินกระแสเงินสดครับ
ความจริงผมอ่านหลายครั้งแล้ว วันนี้มาลองอ่านอีกที เพิ่งสงสัย หรือผมเข้าใจอะไรผิด อะไรที่ไม่แตกบอกได้ครับ
และเหตุที้ใช้ EBIT*(1-t) หรือ EBITDA*(1-t) เพราะกระแสเงินสดดังกล่าวจะนำมาคิดลดด้วย WACC (weighted average cost of capital) ซึ่งคือ Re*(E/D+E) + Rd(1-t)*(D+E) เนื่องจากต้นทุนที่ใช้คิดลดนี้ Rd คือต้นทุนดอกเบี้ยที่นำมาใช้คิดลดนี้ ได้ปรับหักด้วยอัตราภาษี และกระแสเงินสดนี้ต้องเป็นค่าใช้จ่ายก่อนอกเบี้ย เนื่องจากใช้ต้นทุนดัตราดอกเบี้ยรวมคำนวณในต้นทุนรวมด้วย (WACC) หากคุณจะใช้ กำไรสุทธิเป็ตัวเริ่มในการคำนวณมูลค่า อัตราคิดลดคุณต้องไม่ใช่ WACC แต่เป็นเฉพาะ Re และจะใช้ FCF ไม่ได้ เพราะ FCF เป็น FCF to firm คุณต้องใช้ FCF to Equity หลักการคือ ต้องใช้กระแสเงินที่จะนำมาใช้คิดลดดและต้นทุนทีใช้คิดลด ต้องสอดคล้องกันด้วย อย่างที่นักการเงินพูดกันือ apple to apple แอ๊ปเปิ้ลเปรียบเทียบได้กับแอ๊ปเปิ้ล จะเอาไปเทียบกับส้ม กล้วยไม่ได้)
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่ส
โพสต์ที่ 3
FCF => EBIT*(1-t) + DA ===> กำไรกระแสเงินสดเงินสดก่อนดอกเบี้ยและค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย
DA = Drepreciation and Amortisation
ที่บวก DA เพราะ EBIT*(1-t) เป็นกำไรก่อนดอกเบี้ยที่หักภาษี แต่ยังรวมค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ซึ่งหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ทางภาษีแต่กิจการไม่ได้จ่ายเงินออกไปจริง ทำให้กำไร ในรูหตัวเงินต่ำไป
FCF = EBIT*(1-t) +DA - changed on net working capital - CAPEX
changed on net working capital คือการเปลี่ยนแปลงในทุนหมุนเวียน หลักๆ มักพิจารณาเฉพาะ AR Inventory AP ทุนหมุนเวียนสุทธิที่เพิ่มขึ้นจะหมายถึงการจ่ายเงิยสดออกจากกิจการ ลดลงคือได้เงินเข้า หลักเดียวกับการทำ งบกระแสเงินสดทางบัญชี
CAPEX (Capital Expenditure) รายจ่ายทุนคือรายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์ PPE ถือเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ในการก่อให้เกิดรายได้หลักของกิจการ เงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ถืเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด หรือเงินสดนั่นเอง
โดยปกติการประมาณการไม่พูดถึงบริษัทยอยเพราะเวลาซื้อหุ้นเราดูงบรวม การลงทุนในบนิษัทยิอยก็เหมือนลงทุนในสาขาเท่านั้น PPE ในงบรวม ก็รวมทั้งบริษัทแม่และย่อยอยู่แล้ว
ส่วนบริษัทร่วมมักไม่พูดถึงเพราะในหลักตรรกะนั้น บริษัทจะไม่ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนตำกว่าที่บริษัทจะลงทุนได้เอง การลงทุนในบริษัทร่วมหากได้ผลตอบแทนต่ำกว่า WACC จ่ายปันผลดีกว่า ส่วนที่ลงจริงแล้วได้ต่ำกว่าก็เป็นอีกเรื่อง จึงไม่นับรวมการลงทุนในร่วม เป็น CAPEX จากแนวคิดดังกล่าว คงพอจะรู้ว่า การดู ROA ROE ทำไมสำคัญ เพราะ ROA ที่ลดลงบ่งชี้ว่า มีการลงทุนในสินทรัพ์ที่ผลตอบแทนแย่ลงหรือไม่
เอาเท่านี้นะครับ รายละเอียดเขียนกันได้กเยอะ
DA = Drepreciation and Amortisation
ที่บวก DA เพราะ EBIT*(1-t) เป็นกำไรก่อนดอกเบี้ยที่หักภาษี แต่ยังรวมค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ซึ่งหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ทางภาษีแต่กิจการไม่ได้จ่ายเงินออกไปจริง ทำให้กำไร ในรูหตัวเงินต่ำไป
FCF = EBIT*(1-t) +DA - changed on net working capital - CAPEX
changed on net working capital คือการเปลี่ยนแปลงในทุนหมุนเวียน หลักๆ มักพิจารณาเฉพาะ AR Inventory AP ทุนหมุนเวียนสุทธิที่เพิ่มขึ้นจะหมายถึงการจ่ายเงิยสดออกจากกิจการ ลดลงคือได้เงินเข้า หลักเดียวกับการทำ งบกระแสเงินสดทางบัญชี
CAPEX (Capital Expenditure) รายจ่ายทุนคือรายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์ PPE ถือเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ในการก่อให้เกิดรายได้หลักของกิจการ เงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ถืเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด หรือเงินสดนั่นเอง
โดยปกติการประมาณการไม่พูดถึงบริษัทยอยเพราะเวลาซื้อหุ้นเราดูงบรวม การลงทุนในบนิษัทยิอยก็เหมือนลงทุนในสาขาเท่านั้น PPE ในงบรวม ก็รวมทั้งบริษัทแม่และย่อยอยู่แล้ว
ส่วนบริษัทร่วมมักไม่พูดถึงเพราะในหลักตรรกะนั้น บริษัทจะไม่ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนตำกว่าที่บริษัทจะลงทุนได้เอง การลงทุนในบริษัทร่วมหากได้ผลตอบแทนต่ำกว่า WACC จ่ายปันผลดีกว่า ส่วนที่ลงจริงแล้วได้ต่ำกว่าก็เป็นอีกเรื่อง จึงไม่นับรวมการลงทุนในร่วม เป็น CAPEX จากแนวคิดดังกล่าว คงพอจะรู้ว่า การดู ROA ROE ทำไมสำคัญ เพราะ ROA ที่ลดลงบ่งชี้ว่า มีการลงทุนในสินทรัพ์ที่ผลตอบแทนแย่ลงหรือไม่
เอาเท่านี้นะครับ รายละเอียดเขียนกันได้กเยอะ
- xavi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่ส
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณคุณ Sun มากครับ
ขอถามความเห็นด้วยครับ ถ้าเราจะใช้ DCF เพื่อประมาณ Fair Value ในการซื้อหรือขายหุ้น
คุณ Sun คิดว่าควรใช้ FCF to Firm หรือ FCF to Equity ครับ
ทั้งสองค่าจะใกล้เคียงกันหรือไม่ครับ
เพราะ FCF to Firm นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ผ่านทาง WACC
ส่วน FCF to Equity นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ตั้งแต่แรกไปแล้ว
ขอบคุณเพิ่มเติมครับ
ขอถามความเห็นด้วยครับ ถ้าเราจะใช้ DCF เพื่อประมาณ Fair Value ในการซื้อหรือขายหุ้น
คุณ Sun คิดว่าควรใช้ FCF to Firm หรือ FCF to Equity ครับ
ทั้งสองค่าจะใกล้เคียงกันหรือไม่ครับ
เพราะ FCF to Firm นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ผ่านทาง WACC
ส่วน FCF to Equity นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ตั้งแต่แรกไปแล้ว
ขอบคุณเพิ่มเติมครับ

-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่ส
โพสต์ที่ 5
FCF to Firm น่าจะเหมาะสมที่สุดทางทฤษฎี ส่วน FCF to Equity จะรวมเรื่อง Debt Service เข้าไปรวมด้วย ทำให้มูลค่าของ equity จะกระทบได้หากกิจการมีการกู้ยืมสูงมากๆ และ term การชำระเงินที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อมูลค่า equity มาก สุดท้ายบางคนหันไปใช้ DDM (Dividend Discount Model) แทนxavi เขียน:ขอบคุณคุณ Sun มากครับ
ขอถามความเห็นด้วยครับ ถ้าเราจะใช้ DCF เพื่อประมาณ Fair Value ในการซื้อหรือขายหุ้น
คุณ Sun คิดว่าควรใช้ FCF to Firm หรือ FCF to Equity ครับ
ทั้งสองค่าจะใกล้เคียงกันหรือไม่ครับ
เพราะ FCF to Firm นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ผ่านทาง WACC
ส่วน FCF to Equity นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ตั้งแต่แรกไปแล้ว
ขอบคุณเพิ่มเติมครับ
- xavi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่ส
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณอีกครั้งครับ เข้าใจมากขึ้นเยอะครับsun_cisa2 เขียน:FCF to Firm น่าจะเหมาะสมที่สุดทางทฤษฎี ส่วน FCF to Equity จะรวมเรื่อง Debt Service เข้าไปรวมด้วย ทำให้มูลค่าของ equity จะกระทบได้หากกิจการมีการกู้ยืมสูงมากๆ และ term การชำระเงินที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อมูลค่า equity มาก สุดท้ายบางคนหันไปใช้ DDM (Dividend Discount Model) แทนxavi เขียน:ขอบคุณคุณ Sun มากครับ
ขอถามความเห็นด้วยครับ ถ้าเราจะใช้ DCF เพื่อประมาณ Fair Value ในการซื้อหรือขายหุ้น
คุณ Sun คิดว่าควรใช้ FCF to Firm หรือ FCF to Equity ครับ
ทั้งสองค่าจะใกล้เคียงกันหรือไม่ครับ
เพราะ FCF to Firm นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ผ่านทาง WACC
ส่วน FCF to Equity นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ตั้งแต่แรกไปแล้ว
ขอบคุณเพิ่มเติมครับ
- todsapon
- Verified User
- โพสต์: 1137
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่ส
โพสต์ที่ 7
รบกวนขอตัวอย่างการใช้ FCF to firm ได้ไหมครับ แล้วอัตราผลตอบแทนที่แทนลงไปก็จะต้องเป็นอัตราผลตอบแทนที่เราต้องการเลยใช่ไหมครับ เช่นต้องการผลตอบแทน 10% อัตราผลตอบแทนคิดลงก็ต้องเป็น 10% คิดแบบนี้ถูกไหมครับ แล้วเราก็ต้องนำเงินสดไปบวกด้วยหรือเปล่าครับ ลบด้วยหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหรือเปล่าครับsun_cisa2 เขียน:FCF to Firm น่าจะเหมาะสมที่สุดทางทฤษฎี ส่วน FCF to Equity จะรวมเรื่อง Debt Service เข้าไปรวมด้วย ทำให้มูลค่าของ equity จะกระทบได้หากกิจการมีการกู้ยืมสูงมากๆ และ term การชำระเงินที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อมูลค่า equity มาก สุดท้ายบางคนหันไปใช้ DDM (Dividend Discount Model) แทนxavi เขียน:ขอบคุณคุณ Sun มากครับ
ขอถามความเห็นด้วยครับ ถ้าเราจะใช้ DCF เพื่อประมาณ Fair Value ในการซื้อหรือขายหุ้น
คุณ Sun คิดว่าควรใช้ FCF to Firm หรือ FCF to Equity ครับ
ทั้งสองค่าจะใกล้เคียงกันหรือไม่ครับ
เพราะ FCF to Firm นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ผ่านทาง WACC
ส่วน FCF to Equity นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ตั้งแต่แรกไปแล้ว
ขอบคุณเพิ่มเติมครับ
ผลตอบแทน 15% ต่อปีก็พอ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่ส
โพสต์ที่ 8
FCF to firm เป็นกระแสเงินสดของกิจการ ต้องใช้ WACC ส่วนที่เราต้องการคือคือ Re ครับใช้แทนกันไม่ได้todsapon เขียน:รบกวนขอตัวอย่างการใช้ FCF to firm ได้ไหมครับ แล้วอัตราผลตอบแทนที่แทนลงไปก็จะต้องเป็นอัตราผลตอบแทนที่เราต้องการเลยใช่ไหมครับ เช่นต้องการผลตอบแทน 10% อัตราผลตอบแทนคิดลงก็ต้องเป็น 10% คิดแบบนี้ถูกไหมครับ แล้วเราก็ต้องนำเงินสดไปบวกด้วยหรือเปล่าครับ ลบด้วยหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหรือเปล่าครับsun_cisa2 เขียน:FCF to Firm น่าจะเหมาะสมที่สุดทางทฤษฎี ส่วน FCF to Equity จะรวมเรื่อง Debt Service เข้าไปรวมด้วย ทำให้มูลค่าของ equity จะกระทบได้หากกิจการมีการกู้ยืมสูงมากๆ และ term การชำระเงินที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อมูลค่า equity มาก สุดท้ายบางคนหันไปใช้ DDM (Dividend Discount Model) แทนxavi เขียน:ขอบคุณคุณ Sun มากครับ
ขอถามความเห็นด้วยครับ ถ้าเราจะใช้ DCF เพื่อประมาณ Fair Value ในการซื้อหรือขายหุ้น
คุณ Sun คิดว่าควรใช้ FCF to Firm หรือ FCF to Equity ครับ
ทั้งสองค่าจะใกล้เคียงกันหรือไม่ครับ
เพราะ FCF to Firm นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ผ่านทาง WACC
ส่วน FCF to Equity นั้นคิดผลตอบแทนของเจ้าหนี้ตั้งแต่แรกไปแล้ว
ขอบคุณเพิ่มเติมครับ
ส่วยเงินสดก็ไม่ต้องนำบวก ผลจากการคิดลดจะได้มูลค่ากิจการทั้งหมด แล้วนำมาลบด้วยหนี้สินจึงจะได้ มูลค่า Total Equity ครับ
- xavi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่ส
โพสต์ที่ 10
ถ้าเอาแบบง่ายๆก็ลองดู Case ที่ Buffett ซื้อหุ้น Coca Cola ตอนปี 1988 ครับ
ใช้ DCF แบบ FCF to Equity
ผมว่าง่ายดี ไม่เสียเวลาในการทำเยอะ
เพราะถ้า Valuation เต็มรูปแบบ จะเสียเวลาเยอะกว่า
และที่สำคัญ Assumption จะเยอะมากๆ ถ้าผิดตัวเดียว กระแสเงินสดก็จะผิดได้เยอะ
ผมเลยใช้การ Valuation แบบ Buffett ร่วมกับการค่าพื้นฐานเช่น PE, PBV
แต่ที่สำคัญที่สุดคือการวิเคราะห์เชิงคุณภาพครับ
พวกนโยบายผู้บริหาร จุดแข็งจุดอ่อนของกิจการ ผมว่าสำคัญกว่า
เพราะจริงๆแล้ว Growth ในอดีต ไม่สามารถบอก Growth ในอนาคตได้ครับ
ปล. File ที่แนบมาก็ได้มาจาก TVI นี่ล่ะครับ แต่จำไม่ได้จริงๆว่าของท่านใด
ใช้ DCF แบบ FCF to Equity
ผมว่าง่ายดี ไม่เสียเวลาในการทำเยอะ
เพราะถ้า Valuation เต็มรูปแบบ จะเสียเวลาเยอะกว่า
และที่สำคัญ Assumption จะเยอะมากๆ ถ้าผิดตัวเดียว กระแสเงินสดก็จะผิดได้เยอะ
ผมเลยใช้การ Valuation แบบ Buffett ร่วมกับการค่าพื้นฐานเช่น PE, PBV
แต่ที่สำคัญที่สุดคือการวิเคราะห์เชิงคุณภาพครับ
พวกนโยบายผู้บริหาร จุดแข็งจุดอ่อนของกิจการ ผมว่าสำคัญกว่า
เพราะจริงๆแล้ว Growth ในอดีต ไม่สามารถบอก Growth ในอนาคตได้ครับ

ปล. File ที่แนบมาก็ได้มาจาก TVI นี่ล่ะครับ แต่จำไม่ได้จริงๆว่าของท่านใด
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
- todsapon
- Verified User
- โพสต์: 1137
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่ส
โพสต์ที่ 11
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับxavi เขียน:ถ้าเอาแบบง่ายๆก็ลองดู Case ที่ Buffett ซื้อหุ้น Coca Cola ตอนปี 1988 ครับ
ใช้ DCF แบบ FCF to Equity
ผมว่าง่ายดี ไม่เสียเวลาในการทำเยอะ
เพราะถ้า Valuation เต็มรูปแบบ จะเสียเวลาเยอะกว่า
และที่สำคัญ Assumption จะเยอะมากๆ ถ้าผิดตัวเดียว กระแสเงินสดก็จะผิดได้เยอะ
ผมเลยใช้การ Valuation แบบ Buffett ร่วมกับการค่าพื้นฐานเช่น PE, PBV
แต่ที่สำคัญที่สุดคือการวิเคราะห์เชิงคุณภาพครับ
พวกนโยบายผู้บริหาร จุดแข็งจุดอ่อนของกิจการ ผมว่าสำคัญกว่า
เพราะจริงๆแล้ว Growth ในอดีต ไม่สามารถบอก Growth ในอนาคตได้ครับ![]()
ปล. File ที่แนบมาก็ได้มาจาก TVI นี่ล่ะครับ แต่จำไม่ได้จริงๆว่าของท่านใด
ผลตอบแทน 15% ต่อปีก็พอ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผมสงสัยเกี่ยวกับหนังสือวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของพี่ส
โพสต์ที่ 12
จากตัวอย่าง Case ที่ Buffett ซื้อหุ้น Coca Cola ที่ใช้ DCF แบบ FCF to Equity หากพิพจารราดีๆ จะพบว่า Buffett ใช้ DDM (Dividend Discount Model) แบบ umultiple stept ในการคำนวณ ซึ่งเป็นวิธี classic ในทางการเงิน
จะเห็นว่าการคำนวณบางครั้งมืออาชีพในการลงทุนจะไม่ได้ใช้วิธีการซับซ้อนมากนัก ซึ่งการทำแบบเต็มรูปแบบ จะเสียเวลาเยอะและไม่จำเป็น ที่อ่านในตำราและมากมายซับซ้อนนั้นเพราะคนเรียนจบไป ต้องไปทำงานแบบมืออาชีพในบริษัทการเงิน มาทำง่ายๆไม่ได้ครับ ต้องยากเข้าไว้ลูกค้า เจ้านายจะเชื่อถือ! และเห็นด้วยที่ว่า Assumption จะเยอะมากๆ ถ้าผิดตัวเดียว กระแสเงินสดก็จะผิดได้เยอะ
การ Valuation ของนักลงทุน วีไอนั้นควรใช้ร่วมกับการค่าพื้นฐานหลายๆอย่าง เช่น PE, PBV ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณอื่นๆ เช่นนโยบายการบริหาร ทีมและประสบการณ์ ความรู้ผู้บริหาร จุดแข็งจุดอ่อนของกิจการ ทั้งด้านการตลาด การเงิน เป็นต้น คุณภาพกำไร คุณภาพงบการเงิน มือใหม่ๆ อาจอ่านงบเป็นวันๆ แต่ถ้าเชี่ยวชาญมีความรู้มากขึ้น อาจใช้เวลาดูไม่นาน และไปเจาะลึกเรื่องอัตราส่วนการเงินได้มากขึ้น
แต่ที่บอกว่า Growth ในอดีต ไม่สามารถบอก Growth ในอนาคตได้นั้น ว่าใช่ก็ไม่ถูกนัก บางครั้งก็บอกได้ บางครั้งก็บอกไม่ได้ หลายครั้งเมื่อมองแนวโน้มอดีตก็ไม่สนใจหุ้นนั้นแล้ว บางครั้งก็ไม่ใช่เช่นนั้น ขึ้นกับประสบการณ์และคลังข้อมูลในหัวที่มี บางทีบางหุ้นบางคนว่าเน่าแต่อาจจะน่าสนใจก็ได้ แต่ก็ใช่ว่าเป็นเช่นทุกตัว
ความรู้ทางการเงินก็เหมือนกับความรู้ทางบัญชี ถ้าเข้าใจพื้นฐาน มองทีเดียวก็เข้าใจได้ทะลุนักลงทุนต้องรู้ทั้งสองเรื่องคู่กันไป และรู้ว่อะไรควรรู้ ในบางครั้งรู้ลึกก็รกสมองเกินไป ที่ว่ารกเพราะว่ารู้ไม่จริงพอรู้มากและใช้ไม่เป็นจึงกลายเป็นตัอสินใจไม่ถูกต้อง นอกจากนี้การลงทุนต้องรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ การบริหารเชิงกลยุทธ์ (strategic management) และการตลาด เพราะจะวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เช่น นโยบายการบริหาร นโยบายการบริหาร ก็ต้องเข้าใจมากกว่าบัญชีและการเงิน จะใชแค่สามัญสำนึกโดยขาดหลักวิชาก็ไม่ดี
จะเห็นว่าการคำนวณบางครั้งมืออาชีพในการลงทุนจะไม่ได้ใช้วิธีการซับซ้อนมากนัก ซึ่งการทำแบบเต็มรูปแบบ จะเสียเวลาเยอะและไม่จำเป็น ที่อ่านในตำราและมากมายซับซ้อนนั้นเพราะคนเรียนจบไป ต้องไปทำงานแบบมืออาชีพในบริษัทการเงิน มาทำง่ายๆไม่ได้ครับ ต้องยากเข้าไว้ลูกค้า เจ้านายจะเชื่อถือ! และเห็นด้วยที่ว่า Assumption จะเยอะมากๆ ถ้าผิดตัวเดียว กระแสเงินสดก็จะผิดได้เยอะ
การ Valuation ของนักลงทุน วีไอนั้นควรใช้ร่วมกับการค่าพื้นฐานหลายๆอย่าง เช่น PE, PBV ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณอื่นๆ เช่นนโยบายการบริหาร ทีมและประสบการณ์ ความรู้ผู้บริหาร จุดแข็งจุดอ่อนของกิจการ ทั้งด้านการตลาด การเงิน เป็นต้น คุณภาพกำไร คุณภาพงบการเงิน มือใหม่ๆ อาจอ่านงบเป็นวันๆ แต่ถ้าเชี่ยวชาญมีความรู้มากขึ้น อาจใช้เวลาดูไม่นาน และไปเจาะลึกเรื่องอัตราส่วนการเงินได้มากขึ้น
แต่ที่บอกว่า Growth ในอดีต ไม่สามารถบอก Growth ในอนาคตได้นั้น ว่าใช่ก็ไม่ถูกนัก บางครั้งก็บอกได้ บางครั้งก็บอกไม่ได้ หลายครั้งเมื่อมองแนวโน้มอดีตก็ไม่สนใจหุ้นนั้นแล้ว บางครั้งก็ไม่ใช่เช่นนั้น ขึ้นกับประสบการณ์และคลังข้อมูลในหัวที่มี บางทีบางหุ้นบางคนว่าเน่าแต่อาจจะน่าสนใจก็ได้ แต่ก็ใช่ว่าเป็นเช่นทุกตัว
ความรู้ทางการเงินก็เหมือนกับความรู้ทางบัญชี ถ้าเข้าใจพื้นฐาน มองทีเดียวก็เข้าใจได้ทะลุนักลงทุนต้องรู้ทั้งสองเรื่องคู่กันไป และรู้ว่อะไรควรรู้ ในบางครั้งรู้ลึกก็รกสมองเกินไป ที่ว่ารกเพราะว่ารู้ไม่จริงพอรู้มากและใช้ไม่เป็นจึงกลายเป็นตัอสินใจไม่ถูกต้อง นอกจากนี้การลงทุนต้องรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ การบริหารเชิงกลยุทธ์ (strategic management) และการตลาด เพราะจะวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เช่น นโยบายการบริหาร นโยบายการบริหาร ก็ต้องเข้าใจมากกว่าบัญชีและการเงิน จะใชแค่สามัญสำนึกโดยขาดหลักวิชาก็ไม่ดี