หนี้สิน ประมาณการหนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1
- ผู้ติดตาม: 0
หนี้สิน ประมาณการหนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
โพสต์ที่ 1
ตามปกติ เมื่อบริษัทมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายชำระ (เป็นเงิน สิ่งของ หรือบริการ) และทราบจำนวนภาระผูกพันนั้น บริษัทจะต้องบันทึกภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล
ถ้าบริษัททราบว่ามีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายชำระ แต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนและเวลาแน่นอนที่ต้องจ่ายชำระ บริษัทต้องพยายามประมาณจำนวนภาระผูกพันที่ต้องจ่ายชำระนั้น และบันทึกภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล เช่น หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน หนี้สินค่าประกันสินค้าชำรุด ในทางบัญชี เราเรียกหนี้สินชนิดนี้ว่า "ประมาณการหนี้สิน"
แต่ถ้าหากบริษัทไม่มั่นใจว่า ภาระผูกพันที่มีอยู่จำเป็นจะต้องจ่ายชำระในอนาคตหรือไม่ จนกระทั่งเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เช่น คดีความที่ผลการตัดสินไม่แน่นอนจนกระทั่งมีคำตัดสินของศาล หรือบริษัทไม่สามารถประมาณได้อย่างสมเหตุสมผลว่าภาระผูกพันนั้นมีจำนวนที่จะต้องจ่ายเท่าไร (ซึ่งทางบัญชีไม่ค่อยเชื่อบริษัทจะประมาณไม่ได้ จึงไม่ควรใช้เป็นข้ออ้างเท่าไร) บริษัทจะไม่บันทึกภาระผูกพันที่ยังไม่แน่นอนนั้นเป็นหนี้สินในงบดุล แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน รายการนี้เรียกว่า "หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น"
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีและเปิดเผยข้อมูลในกรณีต่างๆ มีดังนี้
1. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร กิจการคาดว่าโอกาสที่ตนจะแพ้มีน้อยมาก (คิดว่าตนจะชนะคดี ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย) กิจการไม่ต้องรับรู้หนี้สินดังกล่าวในงบดุล และไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลใดๆ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
2. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร กิจการคาดว่าโอกาสที่ตนจะแพ้คดีมีเท่าๆ กับที่ชนะคดี รายการนี้ถือเป็น "หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น" กิจการไม่ต้องรับรู้หนี้สินในงบดุล เพียงแต่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคดีความดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
3. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร แต่กิจการคาดว่าโอกาสที่จะแพ้คดีมีสูงกว่าไม่แพ้คดี และคาดว่าถ้าแพ้คดีกิจการต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท รายการนี้ถือเป็น "ประมาณการหนี้สิน" และกิจการต้องรับรู้หนี้สินในงบดุล และบันทึกผลขาดทุนจากประมาณหนี้สินในงบกำไรขาดทุนจำนวน 5 ล้านบาท
ถ้าบริษัททราบว่ามีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายชำระ แต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนและเวลาแน่นอนที่ต้องจ่ายชำระ บริษัทต้องพยายามประมาณจำนวนภาระผูกพันที่ต้องจ่ายชำระนั้น และบันทึกภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล เช่น หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน หนี้สินค่าประกันสินค้าชำรุด ในทางบัญชี เราเรียกหนี้สินชนิดนี้ว่า "ประมาณการหนี้สิน"
แต่ถ้าหากบริษัทไม่มั่นใจว่า ภาระผูกพันที่มีอยู่จำเป็นจะต้องจ่ายชำระในอนาคตหรือไม่ จนกระทั่งเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เช่น คดีความที่ผลการตัดสินไม่แน่นอนจนกระทั่งมีคำตัดสินของศาล หรือบริษัทไม่สามารถประมาณได้อย่างสมเหตุสมผลว่าภาระผูกพันนั้นมีจำนวนที่จะต้องจ่ายเท่าไร (ซึ่งทางบัญชีไม่ค่อยเชื่อบริษัทจะประมาณไม่ได้ จึงไม่ควรใช้เป็นข้ออ้างเท่าไร) บริษัทจะไม่บันทึกภาระผูกพันที่ยังไม่แน่นอนนั้นเป็นหนี้สินในงบดุล แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน รายการนี้เรียกว่า "หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น"
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีและเปิดเผยข้อมูลในกรณีต่างๆ มีดังนี้
1. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร กิจการคาดว่าโอกาสที่ตนจะแพ้มีน้อยมาก (คิดว่าตนจะชนะคดี ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย) กิจการไม่ต้องรับรู้หนี้สินดังกล่าวในงบดุล และไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลใดๆ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
2. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร กิจการคาดว่าโอกาสที่ตนจะแพ้คดีมีเท่าๆ กับที่ชนะคดี รายการนี้ถือเป็น "หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น" กิจการไม่ต้องรับรู้หนี้สินในงบดุล เพียงแต่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคดีความดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
3. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร แต่กิจการคาดว่าโอกาสที่จะแพ้คดีมีสูงกว่าไม่แพ้คดี และคาดว่าถ้าแพ้คดีกิจการต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท รายการนี้ถือเป็น "ประมาณการหนี้สิน" และกิจการต้องรับรู้หนี้สินในงบดุล และบันทึกผลขาดทุนจากประมาณหนี้สินในงบกำไรขาดทุนจำนวน 5 ล้านบาท
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สิน ประมาณการหนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
โพสต์ที่ 2
การประมาณการหนี้สิน และ หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น
อันนี้ส่วนใหญ่ที่เห็นมันไม่อยู่ในงบการเงินตรงๆ เว้นแต่เสียว่า
คณะกรรมการเห็นว่า จำเป็นต้องจ่ายหรือตั้งไว้เพื่อป้องกัน ว่าบริษัทไม่มีเงินจ่ายในอนาคต
ส่วนใหญ่ปรากฏในหมายเหตุประกอบงบข้อท้ายๆ ในส่วนของเรื่องการฟ้องร้องกันซักส่วนใหญ่
อันนี้ที่ที่ผมสังเกตเห็น
แต่มันมีอยู่ส่วนหนึ่งที่เห็นในกรณีของบริษัทที่รับเงินล่วงหน้ามาก่อน
บ่อยครั้งเห็นตั้งรายได้ล่วงหน้าไว้ ก็เคยเห็น หากผู้จัดทำบัญชีเห็นว่า มีนัยสำัคัญ
อันนี้ส่วนใหญ่ที่เห็นมันไม่อยู่ในงบการเงินตรงๆ เว้นแต่เสียว่า
คณะกรรมการเห็นว่า จำเป็นต้องจ่ายหรือตั้งไว้เพื่อป้องกัน ว่าบริษัทไม่มีเงินจ่ายในอนาคต
ส่วนใหญ่ปรากฏในหมายเหตุประกอบงบข้อท้ายๆ ในส่วนของเรื่องการฟ้องร้องกันซักส่วนใหญ่
อันนี้ที่ที่ผมสังเกตเห็น
แต่มันมีอยู่ส่วนหนึ่งที่เห็นในกรณีของบริษัทที่รับเงินล่วงหน้ามาก่อน
บ่อยครั้งเห็นตั้งรายได้ล่วงหน้าไว้ ก็เคยเห็น หากผู้จัดทำบัญชีเห็นว่า มีนัยสำัคัญ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สิน ประมาณการหนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
โพสต์ที่ 3
ต่อไปนี้เป็นเรื่องของศัพท์บัญชีค่ะmiracle เขียน:การประมาณการหนี้สิน และ หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น
อันนี้ส่วนใหญ่ที่เห็นมันไม่อยู่ในงบการเงินตรงๆ เว้นแต่เสียว่า
คณะกรรมการเห็นว่า จำเป็นต้องจ่ายหรือตั้งไว้เพื่อป้องกัน ว่าบริษัทไม่มีเงินจ่ายในอนาคต
ส่วนใหญ่ปรากฏในหมายเหตุประกอบงบข้อท้ายๆ ในส่วนของเรื่องการฟ้องร้องกันซักส่วนใหญ่
อันนี้ที่ที่ผมสังเกตเห็น
แต่มันมีอยู่ส่วนหนึ่งที่เห็นในกรณีของบริษัทที่รับเงินล่วงหน้ามาก่อน
บ่อยครั้งเห็นตั้งรายได้ล่วงหน้าไว้ ก็เคยเห็น หากผู้จัดทำบัญชีเห็นว่า มีนัยสำัคัญ
ั
ประมาณการณ์หนี้สินคือ หนี้สินที่ต้องบันทึกในงบการเงิน แต่จำนวนที่บันทึกได้มาจากการประมาณที่ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ในขณะนั้น
หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ยังไม่ถือเป็นหนี้สิน เนื่องจากยังขาดคุณสมบัติในการบันทึกรายการในงบการงิน บริษัทจึงยังไม่ต้องบันทึกบัญชี แต่บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในหมายเหตุประกอบงบการเงิน จะละเลยไม่ได้ (ส่วนประมาณการหนี้สินนั้น บริษัทต้องทั้งบันทึกบัญชีและเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุ)
รายได้รับล่วงหน้าคือ หนี้สินประเภทหนึ่ง บริษัทต้องบันทึกเงินสดที่รับมาแต่ยังไม่ได้ให้บริการเป็นหนี้สิน เรียก "รายได้รับล่วงหน้า" ถ้าบริษัทไม่บันทึกบัญชีถือว่าทำผิดกฎและผู้สอบต้องให้ความเห็นแบบมีเงื่อนไข
-
- Verified User
- โพสต์: 53
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สิน ประมาณการหนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
โพสต์ที่ 5
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย คืออะไรครับ
จะหาได้จากส่วนไหนของงบการเงินครับ
จะหาได้จากส่วนไหนของงบการเงินครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สิน ประมาณการหนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
โพสต์ที่ 6
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยคือหนี้สินที่บริษัทต้องจ่ายดอกเบี้ย เช่น หุ้นกู้ เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินkonkanglang เขียน:หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย คืออะไรครับ
จะหาได้จากส่วนไหนของงบการเงินครับ
รายการนี้จะบันทึกเป็นหนี้สินในงบดุลรวมอยู่กับบรรดาหนี้สินทั้งหลาย โดยแยกเป็นระยะยาวหรือระยะสั้น แล้วแต่เวลาที่เหลืออยู่ ถ้าอยากรู้ว่าหนี้สินที่มีอยู่มีภาระดอกเบี้ยหรือไม่ เท่าไร ต้องอ่านรายละเอียดในหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัทจะเปิดเผยไว้ในนั้น
ส่วนหนี้สินที่ไม่มีภาระดอกเบี้ยก็คือหนี้สินที่บริษัทไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย เช่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ระยะสั้นส่วนใหญ่ เงินกู้ยืมจากบริษัทใหญ่ (บางรายการ) หรือเงินกู้ยืมจากผู้บริหาร (บางรายการ)
-
- Verified User
- โพสต์: 53
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สิน ประมาณการหนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณครับ