"ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 61

โพสต์

1. หุ้น IPO นี่ใช่หุ้นที่ขายให้ประชาชนเป็นครั้งแรกนอกตลาดหลักทรัพย์หรือเปล่าครับ แล้วพอขายแล้วก็นำหุ้นที่ขายไปจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์

2. หุ้น : PTT
ราคาจอง : 35
วันแรกที่เข้าตลาด : 6 ธค 44
ราคาเปิดวันแรก : 35.75
ราคา ณ วันที่ 26 มิย. 45 : 35.75
คำถาม
2.1 จากข้อมูลข้างบน ราคาจอง 35 บาทนี่ใช่ราคาพาร์ไหมครับ ถ้าไม่ใช่คือราคาอะไรครับแล้วราคานี้มาจากไหน
2.2 ราคาเปิดวันแรก 35.75 บาทคืออะไรครับ
1. ใช่ครับ
2.1 ราคาพาร์ของ PTT คือ 10 บาท ราคา 35 บาทคือราคาที่เสนอจำหน่ายครับ
2.2 ราคาเปิดวันแรกที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครั
guhungry
Verified User
โพสต์: 567
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 62

โพสต์

INDEPENDENT82 เขียน: 2.1 จากข้อมูลข้างบน ราคาจอง 35 บาทนี่ใช่ราคาพาร์ไหมครับ ถ้าไม่ใช่คือราคาอะไรครับแล้วราคานี้มาจากไหน
ไม่ใช่ครับ คนละตัว 35 บาทคือราคาขายหุ้น เวลาเราซื้อขายหุ้นก็ซื้อราคาตลาด ส่วนราคามาได้อย่างไรก็อยู่ที่บริษัท underwriter เค้าประเมินครับ ว่าบริษัทน่าจะมีมูลค่าเท่าใด
2.2 ราคาเปิดวันแรก 35.75 บาทคืออะไรครับ
ก็คือราคาที่เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นวันแรกซึ่งเป็น Secondary Market
ลองดูนี่ตั้งแต่ต้นจนจบ series นะครับ จะเห็นภาพตั้งแต่ก่อตั้งจนเข้าตลาดเลย
http://www.khanacademy.org/finance-econ ... -a-startup
INDEPENDENT82
Verified User
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 63

โพสต์

ขอโทษนะครับคุณ guhungry เวปไซด์ที่ให้ผมมาข้างล่างเป็นภาษาอังกฤษครับ ขอเป็นภาษาไทยมีไหมครับ
http://www.khanacademy.org/finance-econ ... -a-startup
guhungry
Verified User
โพสต์: 567
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 64

โพสต์

INDEPENDENT82 เขียน:ขอโทษนะครับคุณ guhungry เวปไซด์ที่ให้ผมมาข้างล่างเป็นภาษาอังกฤษครับ ขอเป็นภาษาไทยมีไหมครับ
http://www.khanacademy.org/finance-econ ... -a-startup
ไม่มีครับ เป็นเว็บ online learning ที่ใหญ่มากครับ ต้องรอคนแปล
แต่ถ้าพออ่านอังกฤษได้มันจะมี subtitle เป็นภาษาอังกฤษให้ครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 65

โพสต์

INDEPENDENT82 เขียน:1. หุ้น IPO นี่ใช่หุ้นที่ขายให้ประชาชนเป็นครั้งแรกนอกตลาดหลักทรัพย์หรือเปล่าครับ แล้วพอขายแล้วก็นำหุ้นที่ขายไปจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์

2. หุ้น : PTT
ราคาจอง : 35
วันแรกที่เข้าตลาด : 6 ธค 44
ราคาเปิดวันแรก : 35.75
ราคา ณ วันที่ 26 มิย. 45 : 35.75
คำถาม
2.1 จากข้อมูลข้างบน ราคาจอง 35 บาทนี่ใช่ราคาพาร์ไหมครับ ถ้าไม่ใช่คือราคาอะไรครับแล้วราคานี้มาจากไหน
2.2 ราคาเปิดวันแรก 35.75 บาทคืออะไรครับ
2.1 ไม่ใช่ราคาพาร์ครับ เป็นราคาที่เสนอขายให้กับนักลงทุน หรือราคา IPO ครับ เป็นราคาที่บริษัทกำหนดขึ้นเพื่อขายหุ้นหรือระดมทุนจากการขานหุ้นเพิ่มทุน วิธีการกำหนดมีมากมายหลายวิธี เช่นอาจจะกำหนดจาก P/E จากการสรุปการทำ book building ที่สรุปมาจาก financial advisor หรือ underwriter สรุปแล้ว จะมาจากราคาใดที่กำหนดก็ตาม เราในฐานะคนลงทุน คิดว่าราคาดังกล่าวซื้อลงทุนแล้วคุ้มกับการลงทุนไหม ก็เหมือนกับซื้อหุ้นในตลาด เราก็ต้องดูงบการเงิน ดูกำไร ดูอัตราส่วน ดูแนวโน้มอุตสาหกรรม ดูอนาคตบริษัท ว่าสิ่งต่างๆนี้กับการซื้อหุ้นที่ราคา 35 บาท คุ้มการลงทุนหรือไม่ คุ้มก็ลงทุน ไม่คุ้มหรือไม่แน่ใจก็ยังไม่ลงทุน รอเข้าเทรด้ เพราะหลายหุ้นเข้าตลาดแล้วราไม่ไปก็มี เพราะผลการดำเนินงานไม่ดีดังที่อยู่ในประมาณการของบริคณฑ์สนธิ
2.2 ราคาเปิดคือราคาที่มีการซื้อขายในตลาดเป็นครั้งแรกที่เริ่มเข้า trade
INDEPENDENT82
Verified User
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 66

โพสต์

guhungry เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน: 2.1 จากข้อมูลข้างบน ราคาจอง 35 บาทนี่ใช่ราคาพาร์ไหมครับ ถ้าไม่ใช่คือราคาอะไรครับแล้วราคานี้มาจากไหน
ไม่ใช่ครับ คนละตัว 35 บาทคือราคาขายหุ้น เวลาเราซื้อขายหุ้นก็ซื้อราคาตลาด ส่วนราคามาได้อย่างไรก็อยู่ที่บริษัท underwriter เค้าประเมินครับ ว่าบริษัทน่าจะมีมูลค่าเท่าใด
2.2 ราคาเปิดวันแรก 35.75 บาทคืออะไรครับ
ก็คือราคาที่เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นวันแรกซึ่งเป็น Secondary Market
ลองดูนี่ตั้งแต่ต้นจนจบ series นะครับ จะเห็นภาพตั้งแต่ก่อตั้งจนเข้าตลาดเลย
http://www.khanacademy.org/finance-econ ... -a-startup
จากข้อ 2.2 ราคาเปิดวันแรก 35.75 บาท คือ ราคาที่เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นวันแรกซึ่งเป็น Secondary Market ราคานี้มาจากไหนครับ ใครเป็นคนกำหนด เป็นราคาอื่นได้ไหม เพราะอะไรครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 67

โพสต์

INDEPENDENT82 เขียน:
guhungry เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน: 2.1 จากข้อมูลข้างบน ราคาจอง 35 บาทนี่ใช่ราคาพาร์ไหมครับ ถ้าไม่ใช่คือราคาอะไรครับแล้วราคานี้มาจากไหน
ไม่ใช่ครับ คนละตัว 35 บาทคือราคาขายหุ้น เวลาเราซื้อขายหุ้นก็ซื้อราคาตลาด ส่วนราคามาได้อย่างไรก็อยู่ที่บริษัท underwriter เค้าประเมินครับ ว่าบริษัทน่าจะมีมูลค่าเท่าใด
2.2 ราคาเปิดวันแรก 35.75 บาทคืออะไรครับ
ก็คือราคาที่เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นวันแรกซึ่งเป็น Secondary Market
ลองดูนี่ตั้งแต่ต้นจนจบ series นะครับ จะเห็นภาพตั้งแต่ก่อตั้งจนเข้าตลาดเลย
http://www.khanacademy.org/finance-econ ... -a-startup
จากข้อ 2.2 ราคาเปิดวันแรก 35.75 บาท คือ ราคาที่เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นวันแรกซึ่งเป็น Secondary Market ราคานี้มาจากไหนครับ ใครเป็นคนกำหนด เป็นราคาอื่นได้ไหม เพราะอะไรครับ
คือราคาที่ซื้ออขายกันถูกต้องครับ ไม่มีใครกำหนดครับเพราะเป็นราคาที่นักลงทุนตัดสินใจซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอง พูดง่ายๆ คือราคาตลาดที่ซื้อขายเหมือนหุ้นทั่วไปนั่นเอง เช่นราคาหุ้นธนาคารกรุงเทพที่ซื้อขายกัน ราคาหุ้นจัสมินที่ซื้อขายกัน เป็นต้น เมื่อเข้าซื้อขายใน secondary market ราคาจะถุกเสนอซื้อ (bid) เสนอขาย (offer) ด้วยนักลงทุนเอง ส่วนราคาที่เห็นปรากฎในขณะ trade ก็คือราคาที่ execute ราคาที่จับคู่ซื้อขายล่าสุด อยากรู้ลึกๆ ละเอียดๆว่ากระบวนการจับคู่ทำอย่างไร ก็ต้องไปนั่งหน้าเครื่องเทรดของมาร์เก็ตติ้งแล้วให้เขาช่วยสอนการดูให้
INDEPENDENT82
Verified User
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 68

โพสต์

sun_cisa2 เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน:
guhungry เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน: 2.1 จากข้อมูลข้างบน ราคาจอง 35 บาทนี่ใช่ราคาพาร์ไหมครับ ถ้าไม่ใช่คือราคาอะไรครับแล้วราคานี้มาจากไหน
ไม่ใช่ครับ คนละตัว 35 บาทคือราคาขายหุ้น เวลาเราซื้อขายหุ้นก็ซื้อราคาตลาด ส่วนราคามาได้อย่างไรก็อยู่ที่บริษัท underwriter เค้าประเมินครับ ว่าบริษัทน่าจะมีมูลค่าเท่าใด
2.2 ราคาเปิดวันแรก 35.75 บาทคืออะไรครับ
ก็คือราคาที่เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นวันแรกซึ่งเป็น Secondary Market
ลองดูนี่ตั้งแต่ต้นจนจบ series นะครับ จะเห็นภาพตั้งแต่ก่อตั้งจนเข้าตลาดเลย
http://www.khanacademy.org/finance-econ ... -a-startup
จากข้อ 2.2 ราคาเปิดวันแรก 35.75 บาท คือ ราคาที่เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นวันแรกซึ่งเป็น Secondary Market ราคานี้มาจากไหนครับ ใครเป็นคนกำหนด เป็นราคาอื่นได้ไหม เพราะอะไรครับ
คือราคาที่ซื้ออขายกันถูกต้องครับ ไม่มีใครกำหนดครับเพราะเป็นราคาที่นักลงทุนตัดสินใจซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอง พูดง่ายๆ คือราคาตลาดที่ซื้อขายเหมือนหุ้นทั่วไปนั่นเอง เช่นราคาหุ้นธนาคารกรุงเทพที่ซื้อขายกัน ราคาหุ้นจัสมินที่ซื้อขายกัน เป็นต้น เมื่อเข้าซื้อขายใน secondary market ราคาจะถุกเสนอซื้อ (bid) เสนอขาย (offer) ด้วยนักลงทุนเอง ส่วนราคาที่เห็นปรากฎในขณะ trade ก็คือราคาที่ execute ราคาที่จับคู่ซื้อขายล่าสุด อยากรู้ลึกๆ ละเอียดๆว่ากระบวนการจับคู่ทำอย่างไร ก็ต้องไปนั่งหน้าเครื่องเทรดของมาร์เก็ตติ้งแล้วให้เขาช่วยสอนการดูให้
ขอบคุณ คุณ sun_cisa2 มากครับ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 69

โพสต์

parporn เขียน:
nut776 เขียน:ขอบคุณคับ

แล้วเกิด บ. มีกำไรสะสม ไม่ได้ขาดทุนอะไร แต่อยากลดทุนจดทะเบียนเฉยๆ
สามารถทำได้ไหมคับ ( อาจจะลดจำนวนหุ้น หรือลดพาร์ ก็ได้)
ทำได้ค่ะ บางบริษัทก็ทำกัน แต่ปกติทำโดยการซื้อหุ้นคืนมายกเลิก ไม่ใช่การลดจำนวนหุ้นหรือลดพาร์ การลดจำนวนหุ้นหรือลดพาร์มักทำเมื่อมีขาดทุนสะสม

แต่ในทางทฤษฎี ทำได้ค่ะ แต่ต้องมานั่งดูว่าทำแล้วได้อะไร และมีผลกระทบกับใคร เช่น การลดพาร์ ลดแล้วก็มีผลเท่าเดิมต่อผู้ถือหุ้น เพราะสิ่งเดียวที่เปลี่ยนคือตัวเลขในงบดุล (ย้ายจากหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วไปส่วนเกินมูลค่าหุ้น ในขณะที่สถานะทุกอย่างยังเหมือนเดิม) การลดจำนวนหุ้นก็เหมือนกัน ถ้าลดจริงต้องเป็นไปตามสัดส่วน สถานะทุกคนก็จะยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน เลยไม่เข้าใจว่าจะลดไปทำไม

แต่การซื้อหุ้นคืนมายกเลิก (เป็นการลดทุนแบบหนึ่ง) หมายความว่าบริษัทต้องนำเงินสดไปซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นเดิมแล้วนำหุ้นซื้อคืนนั้นมายกเลิก ผลในทางบัญชีคือ เงินสดของบริษัทจะลดลงในขณะที่หุ้นซื้อคืนซึ่งเป็นบัญชีหักจากทุนเรือนหุ้นจะเพิ่มขึ้น (หมายถึงทุนเรือนหุ้นสุทธิจะลดลง) ต่อมาเมื่อบริษัทยกเลิกหุ้นซื้อคืน บริษัทก็จะล้างบัญชีหุ้นซื้อคืน ขณะเดียวกับที่ล้างบัญชีทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วด้วยราคาพาร์ ส่วนจำนวนที่สูงกว่าพาร์จะนำไปลดส่วนเกินมูลค่่หุ้นที่มีอยู่ การยกเลิกหุ้นจะไม่ทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนขึ้นกับบริษัท แต่จะมีผลกระทบกับส่วนเกินหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น

นั่นเป็นในทางบัญชี ส่วนในทางกฎหมายก็ว่าไปตามที่ อ.สรรพงศ์พูดไปแล้ว

ส่วนผลที่เกิดขึ้นจากการลดทุน ลองวาดภาพตามนะคะ

เรามีเค้กกลมๆ อยู่ชิ้นหนึ่ง แบ่งให้คนสิบคน แต่ละคนได้ 1 ส่วน
คน 2 คนรับเค้กแล้วเดินออกจากห้องไป ถามว่าคนที่เหลืออยู่ 8 คน ได้ส่วนแบ่งเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นหรือลดลง

คำตอบตามทฤษฎีก็น่าจะเป็นว่า คนที่เหลืออยู่ก็ต้องได้ส่วนแบ่งเท่าเดิมคือ 8 ส่วนต่อ 8 คน แต่ในทางปฎิบัติแล้ว อาจไม่เท่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่า 2 คนที่เดินจากไป ได้เค้กชิ้นใหญ่หรือเล็กกว่าคนที่เหลืออยู่หรือไม่ เพราะราคาหุ้นขึ้นลงในตลาด เวลาบริษัทซื้อหุ้นคืน ถ้าซื้อราคาต่ำ ผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่ก็ได้ส่วนแบ่งมากขึ้น (คนที่จากไปได้เค้กก้อนเล็ก) แต่ถ้าเป็นในทางตรงข้ามคือราคาหุ้นที่ซื้อคืนสูงกว่าปกติ (ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อบริษัทซื้อหุ้นคืนจากผู้บริหารหรือเจ้าของเดิม ซึ่งจะทำให้เกิดการโอนถ่ายความมั่งคั่ง wealth transfer ระหว่างผู้ถือหุ้นที่เดินจากไปกับผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่) ผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่ก็จะได้ส่วนแบ่งลดลงเพราะคนที่จากไปได้เค้กชิ้นที่ใหญ่กว่า

หลังจากที่เหลือผู้ถือหุ้น 8 คน บริษัทก็ต้องหาเค้กมาเพิ่ม เพิ่มได้มากน้อยเท่าไร ก็แบ่งกันแค่ 8 ส่วน เพราะอีก 2 คนจากไปแล้ว

โปรดสังเกตว่า รายการลดทุนนี้ไม่มีผลกระทบต่อกำไรสะสม แต่มีผลกระทบต่อสินทรัพย์ (หรือตัวเค้ก) กับทุนเรือนหุ้นที่ลดลง กำไรสะสมยืนเฉยๆ เพราะกำไรสะสมเกิดจากการดำเนินงาน ไม่ได้เกิดจากการซื้อขายหุ้น

จำไว้ว่า สองสิ่งที่กระทบกำไรสะสมคือ 1. กำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานทุกๆ งวด 2. เงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น เพราะถือว่าบริษัทนำกำไรที่เคยทำมาหาได้มาจ่ายผู้ถือหุ้นคือ การคืนผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นนั่นเอง

หวังว่าจะชัดเจนนะคะ รายการที่เกิดกับผู้ถือหุ้นไม่มีผลกระทบกับกำไรขาดทุนหรือกำไรสะสมของบริษัท (ยกเว้นการจ่ายกำไรคืนผู้ถือหุ้นหรือการจ่ายปันผลนั่นเอง)
เพิ่มเติมค่ะ พอดีลืมนึกไป การขายหุ้นซื้อคืนแล้วขาดทุนขนาดว่าล้างส่วนเกินทุนของหุ้นหมดไปแล้วก็ยังมีขาดทุนอยู่ดี ขาดทุนที่เหลืออยู่ต้องนำไปลบจากกำไรขาดทุมนสะสมค่ะ ดังนั้นประโยชน์ข้างต้นจะไม่จริงในกรณีที่บอกนี้ ซึ่งไม่ค่อยเกิดขึ้นในสถานการณ์ปกติค่ะ ต้องเป็นสถานการณ์แบบตลาดหมีหรือตลาดคว่ำจึงจะเกิด

ให้อ่านการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับหุ้นซื้อคืนเพิ่มเติมในกระทู้ที่เกี่ยวกับหุ้นซื้อคืนที่คุณ subdee2009 นำมาแสดงไว้
ขอบคุณค่ะ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 70

โพสต์

ขอโทษค่ะ คำว่า "ประโยชน์ข้างต้น" ของ quote ข้างบนหมายถึง "ประโยคข้างต้น" ค่ะ

หมายความว่า กำไรสะสมจะถูกกระทบเป็นรายการสุดท้ายหากในส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เหลือส่วนเกินทุนให้บันทึกแล้ว
INDEPENDENT82
Verified User
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 71

โพสต์

CPALL : บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)


วันที่ : 3 พค 55
ราคาปิด : 39.25
เปลี่ยนแปลง : -37.25
% เปลี่ยนแปลง : -48.69

วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD(ST)
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
อัตราส่วนหุ้นปันผล : 1:1
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54


วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
เงินปันผล (บาท/หุ้น) : 1.25
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบน เมื่อวันที่ 3 พค 55 ราคาหุ้น CPALL ทำไมลงมาถึง 48.69 % ล่ะครับ ปกติเวลาหุ้นขึ้นและลงในแต่ละวันขึ้นได้สูงสุด 30 % และลงได้ต่ำสุด 30 % ไม่ใช่หรือครับ
2. จากข้อมูลข้างบน CPALL จ่ายหุ้นปันผล 1 หุ้น เดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ใช่ไหมครับ แล้วหุ้นที่จ่ายปันผลนี้เอาหุ้นที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ และหุ้นที่ชำระแล้ว มาจ่ายปันผลใช่ไหมครับ ถ้าไม่ใช่เอาหุ้นที่ไหนมาจ่ายปันผลครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 72

โพสต์

INDEPENDENT82 เขียน:CPALL : บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)


วันที่ : 3 พค 55
ราคาปิด : 39.25
เปลี่ยนแปลง : -37.25
% เปลี่ยนแปลง : -48.69

วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD(ST)
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
อัตราส่วนหุ้นปันผล : 1:1
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54


วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
เงินปันผล (บาท/หุ้น) : 1.25
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบน เมื่อวันที่ 3 พค 55 ราคาหุ้น CPALL ทำไมลงมาถึง 48.69 % ล่ะครับ ปกติเวลาหุ้นขึ้นและลงในแต่ละวันขึ้นได้สูงสุด 30 % และลงได้ต่ำสุด 30 % ไม่ใช่หรือครับ
2. จากข้อมูลข้างบน CPALL จ่ายหุ้นปันผล 1 หุ้น เดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ใช่ไหมครับ แล้วหุ้นที่จ่ายปันผลนี้เอาหุ้นที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ และหุ้นที่ชำระแล้ว มาจ่ายปันผลใช่ไหมครับ ถ้าไม่ใช่เอาหุ้นที่ไหนมาจ่ายปันผลครับ
ปกติเวลามีการประกาศจ่ายปันผล วันที่ประกาศจ่ายปันผล (ขึ้นเครื่องหมาย) ราคาหุ้นจะปรับลงเท่ากับหรือใกล้เคียงราคาที่จ่ายปันผล การปรับราคาลงมาของ CPALL คือการเกิด Dilution effect เนื่องจากหุ้นมีจำนวนมากขี้นในตลาด วันนั้นราคาจึงถูก market ทำการ adjust ตามธรรมชาติ
ในกรณีของ CPALL มีการจ่ายหุ้นปันผลด้วย ราคาปิดเดิมก่อนขึ้นเคื่องหมายให้สิการรับปันผลอยู่ที่ 76.5 ) ได้หุ้นปันผล อัตรา 1:1 ที่ราคาพาร์ 10 dilution effect คำนวณต้นทุนผู้ถือหุ้มที่ได้สิทธิปันผลในวันก่อนขึ้นเครื่องหมาย = 76.5x dilution factor ซึ้งเท่ากับ 1/(1+1) = 76.5/2 = 38.25 หักปันผลเงินสดอีก 1.25 ราคาหุ้นก่อนหน้าจะเท่ากับ 37 บาท
วันที่ 3 พค 55 ปิดที่ 37.25เท่ากับราคาหุ้นขึ้น 0.25 บาท จากราคาทุน ของผู้ถือหุ้นที้สิทฝะห้นปันผล แต่การคำนวณราคาเปลี่ยนแปลงในกระดารนหุ้นจะแดงตามราคาปรากฏครับ

ส่วนหุ้นปันผลบริษัทได้เพิ่มทุนรองรับในวันประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งบริษัทสามารถนำผลการประชุมและหุ้นจดทะเบียนเพิ่มทุนไปจดทะเบียนกับตลาดเพื่อสามารถซื้อขายได้ทันทีที่ยืนเรื่องให้ตลาดครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 73

โพสต์

sun_cisa2 เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน:CPALL : บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)


วันที่ : 3 พค 55
ราคาปิด : 39.25
เปลี่ยนแปลง : -37.25
% เปลี่ยนแปลง : -48.69

วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD(ST)
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
อัตราส่วนหุ้นปันผล : 1:1
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54


วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
เงินปันผล (บาท/หุ้น) : 1.25
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบน เมื่อวันที่ 3 พค 55 ราคาหุ้น CPALL ทำไมลงมาถึง 48.69 % ล่ะครับ ปกติเวลาหุ้นขึ้นและลงในแต่ละวันขึ้นได้สูงสุด 30 % และลงได้ต่ำสุด 30 % ไม่ใช่หรือครับ
2. จากข้อมูลข้างบน CPALL จ่ายหุ้นปันผล 1 หุ้น เดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ใช่ไหมครับ แล้วหุ้นที่จ่ายปันผลนี้เอาหุ้นที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ และหุ้นที่ชำระแล้ว มาจ่ายปันผลใช่ไหมครับ ถ้าไม่ใช่เอาหุ้นที่ไหนมาจ่ายปันผลครับ
ปกติเวลามีการประกาศจ่ายปันผล วันที่ประกาศจ่ายปันผล (ขึ้นเครื่องหมาย) ราคาหุ้นจะปรับลงเท่ากับหรือใกล้เคียงราคาที่จ่ายปันผล การปรับราคาลงมาของ CPALL คือการเกิด Dilution effect เนื่องจากหุ้นมีจำนวนมากขี้นในตลาด วันนั้นราคาจึงถูก market ทำการ adjust ตามธรรมชาติ
ในกรณีของ CPALL มีการจ่ายหุ้นปันผลด้วย ราคาปิดเดิมก่อนขึ้นเคื่องหมายให้สิการรับปันผลอยู่ที่ 76.5 ) ได้หุ้นปันผล อัตรา 1:1 ที่ราคาพาร์ 10 dilution effect คำนวณต้นทุนผู้ถือหุ้มที่ได้สิทธิปันผลในวันก่อนขึ้นเครื่องหมาย = 76.5x dilution factor ซึ้งเท่ากับ 1/(1+1) = 76.5/2 = 38.25 หักปันผลเงินสดอีก 1.25 ราคาหุ้นก่อนหน้าจะเท่ากับ 37 บาท
วันที่ 3 พค 55 ปิดที่ 37.25เท่ากับราคาหุ้นขึ้น 0.25 บาท จากราคาทุน ของผู้ถือหุ้นที้สิทฝะห้นปันผล แต่การคำนวณราคาเปลี่ยนแปลงในกระดารนหุ้นจะแดงตามราคาปรากฏครับ

ส่วนหุ้นปันผลบริษัทได้เพิ่มทุนรองรับในวันประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งบริษัทสามารถนำผลการประชุมและหุ้นจดทะเบียนเพิ่มทุนไปจดทะเบียนกับตลาดเพื่อสามารถซื้อขายได้ทันทีที่ยืนเรื่องให้ตลาดครับ
พิมพ์ไม่เก่งผิดหลายที่
ราคาปิดเดิมก่อนขึ้นเคื่องหมายให้สิการรับปันผลอยู่ที่ 76.5 ) ที่ถูก ราคาปิดเดิมก่อนขึ้นเคื่องหมายให้สิทธิการรับปันผลอยู่ที่ 76.5
ที้สิทฝะห้นปันผล ที่ถูก มีสิทธิรับห้นปันผล
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 74

โพสต์

อีกคำ จะแดง ต้องเป็น จะแสดง ครับ
INDEPENDENT82
Verified User
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 75

โพสต์

sun_cisa2 เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน:CPALL : บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)


วันที่ : 3 พค 55
ราคาปิด : 39.25
เปลี่ยนแปลง : -37.25
% เปลี่ยนแปลง : -48.69

วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD(ST)
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
อัตราส่วนหุ้นปันผล : 1:1
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54


วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
เงินปันผล (บาท/หุ้น) : 1.25
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบน เมื่อวันที่ 3 พค 55 ราคาหุ้น CPALL ทำไมลงมาถึง 48.69 % ล่ะครับ ปกติเวลาหุ้นขึ้นและลงในแต่ละวันขึ้นได้สูงสุด 30 % และลงได้ต่ำสุด 30 % ไม่ใช่หรือครับ
2. จากข้อมูลข้างบน CPALL จ่ายหุ้นปันผล 1 หุ้น เดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ใช่ไหมครับ แล้วหุ้นที่จ่ายปันผลนี้เอาหุ้นที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ และหุ้นที่ชำระแล้ว มาจ่ายปันผลใช่ไหมครับ ถ้าไม่ใช่เอาหุ้นที่ไหนมาจ่ายปันผลครับ
ปกติเวลามีการประกาศจ่ายปันผล วันที่ประกาศจ่ายปันผล (ขึ้นเครื่องหมาย) ราคาหุ้นจะปรับลงเท่ากับหรือใกล้เคียงราคาที่จ่ายปันผล การปรับราคาลงมาของ CPALL คือการเกิด Dilution effect เนื่องจากหุ้นมีจำนวนมากขี้นในตลาด วันนั้นราคาจึงถูก market ทำการ adjust ตามธรรมชาติ
ในกรณีของ CPALL มีการจ่ายหุ้นปันผลด้วย ราคาปิดเดิมก่อนขึ้นเคื่องหมายให้สิการรับปันผลอยู่ที่ 76.5 ) ได้หุ้นปันผล อัตรา 1:1 ที่ราคาพาร์ 10 dilution effect คำนวณต้นทุนผู้ถือหุ้มที่ได้สิทธิปันผลในวันก่อนขึ้นเครื่องหมาย = 76.5x dilution factor ซึ้งเท่ากับ 1/(1+1) = 76.5/2 = 38.25 หักปันผลเงินสดอีก 1.25 ราคาหุ้นก่อนหน้าจะเท่ากับ 37 บาท
วันที่ 3 พค 55 ปิดที่ 37.25เท่ากับราคาหุ้นขึ้น 0.25 บาท จากราคาทุน ของผู้ถือหุ้นที้สิทฝะห้นปันผล แต่การคำนวณราคาเปลี่ยนแปลงในกระดารนหุ้นจะแดงตามราคาปรากฏครับ

ส่วนหุ้นปันผลบริษัทได้เพิ่มทุนรองรับในวันประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งบริษัทสามารถนำผลการประชุมและหุ้นจดทะเบียนเพิ่มทุนไปจดทะเบียนกับตลาดเพื่อสามารถซื้อขายได้ทันทีที่ยืนเรื่องให้ตลาดครับ

ถ้า อัตราส่วนหุ้นปันผล เปลี่ยนเป็น 5:1 คำตอบข้อ 1 และข้อ 2 จะเปลี่ยนไหมครับ ถ้าเปลี่ยน เปลี่ยนเป็นเท่าไหร่ครับ
guhungry
Verified User
โพสต์: 567
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 76

โพสต์

INDEPENDENT82 เขียน:ถ้า อัตราส่วนหุ้นปันผล เปลี่ยนเป็น 5:1 คำตอบข้อ 1 และข้อ 2 จะเปลี่ยนไหมครับ ถ้าเปลี่ยน เปลี่ยนเป็นเท่าไหร่ครับ
ตามตัวอย่างนี้ครับ
1:1 คำนวนโดย1/(1+1)
5:1 คำนวนโดย 5/(5+1)
6:1 คำนวนโดย 6/(6+1)
10:1 คำนวนโดย 10/(10+1)
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 77

โพสต์

guhungry เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน:ถ้า อัตราส่วนหุ้นปันผล เปลี่ยนเป็น 5:1 คำตอบข้อ 1 และข้อ 2 จะเปลี่ยนไหมครับ ถ้าเปลี่ยน เปลี่ยนเป็นเท่าไหร่ครับ
ตามตัวอย่างนี้ครับ
1:1 คำนวนโดย1/(1+1)
5:1 คำนวนโดย 5/(5+1)
6:1 คำนวนโดย 6/(6+1)
10:1 คำนวนโดย 10/(10+1)
คุณ guhungry บอกถูกต้องครับ ที่จริงหลักการการหาราคาหุ้นใหม่เมื่อมีการอกกหุ้นเพิ่ม ใช่แค่การจ่ายหุ้นปันผล คือ
กรณีออกหุ้นเพิ่ม ในอัตรา a:b หรือ a หุ้นเดิม : b หุ้นใหม่
= ( ราคาหุ้นเดิม x a + ราคาหุ้นใหม่ X b) / (a+b) = ราคาหุ้นใหม่
เนื่องจากจ่ายหุ้นปันผล ต้นทุนที่ผู้ถือหุ้นเดิมต้องจ่ายสำหรับหุ้นใหม่ = 0 บาท
ราคาหุ้นใหม่จึงเท่ากับ (กรณี CPALL) = (76.5x1 +0x1) / (1+1) = 38.25 บาท

สมมติว่าเป็นการขึ้น XR ให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมได้สิทธิซื้อหุ้นใหม่ 2 หุ้นที่ราคาหุ้นละ 3 บาท ราคาปิดสุดท้ายก่อน XR = 12 บาท ราคาหุ้นวันถ้ดมา ที่ขึ้น XR date ควรจะเป็นคือ
(12X1 + 3x2) /( 1+2) = (12+6)/3 = 6 บาท
dillution effect = 6/12 = 0.5 => 50% ความหมายคือการออกหุ้นเพิ่มทุนโดยการให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมได้สิทธิซื้อหุ้นใหม่ในอัตรา 1:2 ที่ราคาหุ้นละ 3 บาท จะทำให้ราคาตลาดเกิด dilution 50%

หลักการข้างต้นสามารถนำไปใช้ในการคำนวณการออกหุ้นเพิ่มได้ทุกรูปแบบ
INDEPENDENT82
Verified User
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 78

โพสต์

sun_cisa2 เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน:CPALL : บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)


วันที่ : 3 พค 55
ราคาปิด : 39.25
เปลี่ยนแปลง : -37.25
% เปลี่ยนแปลง : -48.69

วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD(ST)
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
อัตราส่วนหุ้นปันผล : 1:1
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54


วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
เงินปันผล (บาท/หุ้น) : 1.25
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบน เมื่อวันที่ 3 พค 55 ราคาหุ้น CPALL ทำไมลงมาถึง 48.69 % ล่ะครับ ปกติเวลาหุ้นขึ้นและลงในแต่ละวันขึ้นได้สูงสุด 30 % และลงได้ต่ำสุด 30 % ไม่ใช่หรือครับ
2. จากข้อมูลข้างบน CPALL จ่ายหุ้นปันผล 1 หุ้น เดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ใช่ไหมครับ แล้วหุ้นที่จ่ายปันผลนี้เอาหุ้นที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ และหุ้นที่ชำระแล้ว มาจ่ายปันผลใช่ไหมครับ ถ้าไม่ใช่เอาหุ้นที่ไหนมาจ่ายปันผลครับ
ปกติเวลามีการประกาศจ่ายปันผล วันที่ประกาศจ่ายปันผล (ขึ้นเครื่องหมาย) ราคาหุ้นจะปรับลงเท่ากับหรือใกล้เคียงราคาที่จ่ายปันผล การปรับราคาลงมาของ CPALL คือการเกิด Dilution effect เนื่องจากหุ้นมีจำนวนมากขี้นในตลาด วันนั้นราคาจึงถูก market ทำการ adjust ตามธรรมชาติ
ในกรณีของ CPALL มีการจ่ายหุ้นปันผลด้วย ราคาปิดเดิมก่อนขึ้นเคื่องหมายให้สิการรับปันผลอยู่ที่ 76.5 ) ได้หุ้นปันผล อัตรา 1:1 ที่ราคาพาร์ 10 dilution effect คำนวณต้นทุนผู้ถือหุ้มที่ได้สิทธิปันผลในวันก่อนขึ้นเครื่องหมาย = 76.5x dilution factor ซึ้งเท่ากับ 1/(1+1) = 76.5/2 = 38.25 หักปันผลเงินสดอีก 1.25 ราคาหุ้นก่อนหน้าจะเท่ากับ 37 บาท
วันที่ 3 พค 55 ปิดที่ 37.25เท่ากับราคาหุ้นขึ้น 0.25 บาท จากราคาทุน ของผู้ถือหุ้นที้สิทฝะห้นปันผล แต่การคำนวณราคาเปลี่ยนแปลงในกระดารนหุ้นจะแดงตามราคาปรากฏครับ

ส่วนหุ้นปันผลบริษัทได้เพิ่มทุนรองรับในวันประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งบริษัทสามารถนำผลการประชุมและหุ้นจดทะเบียนเพิ่มทุนไปจดทะเบียนกับตลาดเพื่อสามารถซื้อขายได้ทันทีที่ยืนเรื่องให้ตลาดครับ
1. ราคา Ceiling ของ CPALL วันที่ 3 พค 55 เท่ากับ (130 x 37)/100 = 48.1 ใช่ไหมครับ
2. ราคา Floor ของ CPALL วันที่ 3 พค 55 เท่ากับ (70 x 37)/100 = 25.9 ใช่ไหมครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 79

โพสต์

INDEPENDENT82 เขียน:
sun_cisa2 เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน:CPALL : บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)


วันที่ : 3 พค 55
ราคาปิด : 39.25
เปลี่ยนแปลง : -37.25
% เปลี่ยนแปลง : -48.69

วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD(ST)
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
อัตราส่วนหุ้นปันผล : 1:1
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54


วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
เงินปันผล (บาท/หุ้น) : 1.25
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบน เมื่อวันที่ 3 พค 55 ราคาหุ้น CPALL ทำไมลงมาถึง 48.69 % ล่ะครับ ปกติเวลาหุ้นขึ้นและลงในแต่ละวันขึ้นได้สูงสุด 30 % และลงได้ต่ำสุด 30 % ไม่ใช่หรือครับ
2. จากข้อมูลข้างบน CPALL จ่ายหุ้นปันผล 1 หุ้น เดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ใช่ไหมครับ แล้วหุ้นที่จ่ายปันผลนี้เอาหุ้นที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ และหุ้นที่ชำระแล้ว มาจ่ายปันผลใช่ไหมครับ ถ้าไม่ใช่เอาหุ้นที่ไหนมาจ่ายปันผลครับ
ปกติเวลามีการประกาศจ่ายปันผล วันที่ประกาศจ่ายปันผล (ขึ้นเครื่องหมาย) ราคาหุ้นจะปรับลงเท่ากับหรือใกล้เคียงราคาที่จ่ายปันผล การปรับราคาลงมาของ CPALL คือการเกิด Dilution effect เนื่องจากหุ้นมีจำนวนมากขี้นในตลาด วันนั้นราคาจึงถูก market ทำการ adjust ตามธรรมชาติ
ในกรณีของ CPALL มีการจ่ายหุ้นปันผลด้วย ราคาปิดเดิมก่อนขึ้นเคื่องหมายให้สิการรับปันผลอยู่ที่ 76.5 ) ได้หุ้นปันผล อัตรา 1:1 ที่ราคาพาร์ 10 dilution effect คำนวณต้นทุนผู้ถือหุ้มที่ได้สิทธิปันผลในวันก่อนขึ้นเครื่องหมาย = 76.5x dilution factor ซึ้งเท่ากับ 1/(1+1) = 76.5/2 = 38.25 หักปันผลเงินสดอีก 1.25 ราคาหุ้นก่อนหน้าจะเท่ากับ 37 บาท
วันที่ 3 พค 55 ปิดที่ 37.25เท่ากับราคาหุ้นขึ้น 0.25 บาท จากราคาทุน ของผู้ถือหุ้นที้สิทฝะห้นปันผล แต่การคำนวณราคาเปลี่ยนแปลงในกระดารนหุ้นจะแดงตามราคาปรากฏครับ

ส่วนหุ้นปันผลบริษัทได้เพิ่มทุนรองรับในวันประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งบริษัทสามารถนำผลการประชุมและหุ้นจดทะเบียนเพิ่มทุนไปจดทะเบียนกับตลาดเพื่อสามารถซื้อขายได้ทันทีที่ยืนเรื่องให้ตลาดครับ
1. ราคา Ceiling ของ CPALL วันที่ 3 พค 55 เท่ากับ (130 x 37)/100 = 48.1 ใช่ไหมครับ
2. ราคา Floor ของ CPALL วันที่ 3 พค 55 เท่ากับ (70 x 37)/100 = 25.9 ใช่ไหมครับ
ครับ +/- 30% ราคาที่ adjusted
INDEPENDENT82
Verified User
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 80

โพสต์

sun_cisa2 เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน:CPALL : บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)


วันที่ : 3 พค 55
ราคาปิด : 39.25
เปลี่ยนแปลง : -37.25
% เปลี่ยนแปลง : -48.69

วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD(ST)
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
อัตราส่วนหุ้นปันผล : 1:1
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54


วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
เงินปันผล (บาท/หุ้น) : 1.25
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบน เมื่อวันที่ 3 พค 55 ราคาหุ้น CPALL ทำไมลงมาถึง 48.69 % ล่ะครับ ปกติเวลาหุ้นขึ้นและลงในแต่ละวันขึ้นได้สูงสุด 30 % และลงได้ต่ำสุด 30 % ไม่ใช่หรือครับ
2. จากข้อมูลข้างบน CPALL จ่ายหุ้นปันผล 1 หุ้น เดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ใช่ไหมครับ แล้วหุ้นที่จ่ายปันผลนี้เอาหุ้นที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ และหุ้นที่ชำระแล้ว มาจ่ายปันผลใช่ไหมครับ ถ้าไม่ใช่เอาหุ้นที่ไหนมาจ่ายปันผลครับ
ปกติเวลามีการประกาศจ่ายปันผล วันที่ประกาศจ่ายปันผล (ขึ้นเครื่องหมาย) ราคาหุ้นจะปรับลงเท่ากับหรือใกล้เคียงราคาที่จ่ายปันผล การปรับราคาลงมาของ CPALL คือการเกิด Dilution effect เนื่องจากหุ้นมีจำนวนมากขี้นในตลาด วันนั้นราคาจึงถูก market ทำการ adjust ตามธรรมชาติ
ในกรณีของ CPALL มีการจ่ายหุ้นปันผลด้วย ราคาปิดเดิมก่อนขึ้นเคื่องหมายให้สิการรับปันผลอยู่ที่ 76.5 ) ได้หุ้นปันผล อัตรา 1:1 ที่ราคาพาร์ 10 dilution effect คำนวณต้นทุนผู้ถือหุ้มที่ได้สิทธิปันผลในวันก่อนขึ้นเครื่องหมาย = 76.5x dilution factor ซึ้งเท่ากับ 1/(1+1) = 76.5/2 = 38.25 หักปันผลเงินสดอีก 1.25 ราคาหุ้นก่อนหน้าจะเท่ากับ 37 บาท
วันที่ 3 พค 55 ปิดที่ 37.25เท่ากับราคาหุ้นขึ้น 0.25 บาท จากราคาทุน ของผู้ถือหุ้นที้สิทฝะห้นปันผล แต่การคำนวณราคาเปลี่ยนแปลงในกระดารนหุ้นจะแดงตามราคาปรากฏครับ

ส่วนหุ้นปันผลบริษัทได้เพิ่มทุนรองรับในวันประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งบริษัทสามารถนำผลการประชุมและหุ้นจดทะเบียนเพิ่มทุนไปจดทะเบียนกับตลาดเพื่อสามารถซื้อขายได้ทันทีที่ยืนเรื่องให้ตลาดครับ
จากข้อมูลข้างบนวันที่จ่ายปันผลเมื่อไหร่ครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 81

โพสต์

INDEPENDENT82 เขียน:
sun_cisa2 เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน:CPALL : บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)


วันที่ : 3 พค 55
ราคาปิด : 39.25
เปลี่ยนแปลง : -37.25
% เปลี่ยนแปลง : -48.69

วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD(ST)
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
อัตราส่วนหุ้นปันผล : 1:1
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54


วันที่ขึ้นเครื่องหมาย : 3 พค 55
เครื่องหมาย : XD
วันปิดสมุดทะเบียน : 9 พค 55
วันจ่ายปันผล : -
เงินปันผล (บาท/หุ้น) : 1.25
รอผลประกอบการ : 1 มค 54 - 31 ธค 54

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบน เมื่อวันที่ 3 พค 55 ราคาหุ้น CPALL ทำไมลงมาถึง 48.69 % ล่ะครับ ปกติเวลาหุ้นขึ้นและลงในแต่ละวันขึ้นได้สูงสุด 30 % และลงได้ต่ำสุด 30 % ไม่ใช่หรือครับ
2. จากข้อมูลข้างบน CPALL จ่ายหุ้นปันผล 1 หุ้น เดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ใช่ไหมครับ แล้วหุ้นที่จ่ายปันผลนี้เอาหุ้นที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ และหุ้นที่ชำระแล้ว มาจ่ายปันผลใช่ไหมครับ ถ้าไม่ใช่เอาหุ้นที่ไหนมาจ่ายปันผลครับ
ปกติเวลามีการประกาศจ่ายปันผล วันที่ประกาศจ่ายปันผล (ขึ้นเครื่องหมาย) ราคาหุ้นจะปรับลงเท่ากับหรือใกล้เคียงราคาที่จ่ายปันผล การปรับราคาลงมาของ CPALL คือการเกิด Dilution effect เนื่องจากหุ้นมีจำนวนมากขี้นในตลาด วันนั้นราคาจึงถูก market ทำการ adjust ตามธรรมชาติ
ในกรณีของ CPALL มีการจ่ายหุ้นปันผลด้วย ราคาปิดเดิมก่อนขึ้นเคื่องหมายให้สิการรับปันผลอยู่ที่ 76.5 ) ได้หุ้นปันผล อัตรา 1:1 ที่ราคาพาร์ 10 dilution effect คำนวณต้นทุนผู้ถือหุ้มที่ได้สิทธิปันผลในวันก่อนขึ้นเครื่องหมาย = 76.5x dilution factor ซึ้งเท่ากับ 1/(1+1) = 76.5/2 = 38.25 หักปันผลเงินสดอีก 1.25 ราคาหุ้นก่อนหน้าจะเท่ากับ 37 บาท
วันที่ 3 พค 55 ปิดที่ 37.25เท่ากับราคาหุ้นขึ้น 0.25 บาท จากราคาทุน ของผู้ถือหุ้นที้สิทฝะห้นปันผล แต่การคำนวณราคาเปลี่ยนแปลงในกระดารนหุ้นจะแดงตามราคาปรากฏครับ

ส่วนหุ้นปันผลบริษัทได้เพิ่มทุนรองรับในวันประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งบริษัทสามารถนำผลการประชุมและหุ้นจดทะเบียนเพิ่มทุนไปจดทะเบียนกับตลาดเพื่อสามารถซื้อขายได้ทันทีที่ยืนเรื่องให้ตลาดครับ
จากข้อมูลข้างบนวันที่จ่ายปันผลเมื่อไหร่ครับ
โดยปกติตลาดจะขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ได้สิทธิเงิปัรผล (ประกาศจ่าย) ส่วนวันจ่ายต้องลองถามโดยตรงไปที่บริษัทครับ แต่ส่วนใหญ่ไน่นาน โดยมากบริษัทจะส่งเป็นเช็คและส่งลงทะเบียนให้ตามที่อยู่ ปกติทางตลาด ศูนย์ฝากหลักทรัพย์และบริษัทจะประส่นงานกันเพื่อจัดส่งให้เร็วที่สุด อยากรู้ต้องถามโดยตรงครับ
INDEPENDENT82
Verified User
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 82

โพสต์

ขอบคุณ คุณ sun_cisa2 มากครับ
INDEPENDENT82
Verified User
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 83

โพสต์

guhungry เขียน:
INDEPENDENT82 เขียน:ถ้า อัตราส่วนหุ้นปันผล เปลี่ยนเป็น 5:1 คำตอบข้อ 1 และข้อ 2 จะเปลี่ยนไหมครับ ถ้าเปลี่ยน เปลี่ยนเป็นเท่าไหร่ครับ
ตามตัวอย่างนี้ครับ
1:1 คำนวนโดย1/(1+1)
5:1 คำนวนโดย 5/(5+1)
6:1 คำนวนโดย 6/(6+1)
10:1 คำนวนโดย 10/(10+1)
ขอบคุณ คุณ guhungry มากครับ
firewalker
Verified User
โพสต์: 547
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 84

โพสต์

ขอบคุณครับบทความ และทุกท่านที่สละเวลามาช่วยตอบ ผมอ่านแล้วยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ครับ เพราะ ยังไม่เข้าใจพื้นฐานเท่าไหร่
ผมขอถามแบบเบสิคเลยได้มั้ยครับ เกี่ยวกับ 5-6 นิยามข้างล่างนี้

1. ทุนจดทะเบียน
2. กำไรสะสม กำไรสะสม จัดสรรแล้ว (ที่สำรองไว้ และ สำรองไว้เพื่อซื้อหุ้นคืน)
3. กำไรสะสม ที่ยังไม่ได้จัดสรร
4. ขาดทุนสะสม
5. ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (ส่วนต่ำมูลค่าหุ้น)
6. การเพิ่มทุนจดทะเบียน

สมมติว่าบริษัทมีผลดำเนินงานขึ้นๆลงๆ โดยรวมๆก็ขาดทุนมาตลอดทุกปี ส่วนผู้ถือหุ้นก็ลดลง และขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นตลอด แต่ยังดำเนินธุรกิจได้อยู๋ เพราะส่วนผู้ถือหุ้นยังเป็นบวก

แต่ทีนี้บริษัทเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นและะมีกำไรต่อเนื่องใน 2-3 ไตรมาสหลัง แต่กำไรที่ได้ยังไม่พอที่จะจ่ายปันผล เพราะมีขาดทุนสะสมอยู่เยอะมาก คำถามนะครับ

1. บริษัทควรจะทำยังไงที่จะให้ขาดทุนสะสมเป็น 0 และกลายเป็นกำไรสะสม เท่าที่ติดตามมา บริษัทส่วนใหญ่จะใช้วิธีการ ลดทุนจดทะเบียน หรือ ไม่ก็เอาส่วนเกินมูลค่าหุ้นมาหักล้าง ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ..
- แต่ในความเป็นจริงนั้นทำได้เหรอครับ เพราะ เงินสดจาก ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ที่บริษัทได้รับชำระมาแต่แรก นั้นถูกเอาไปลงทุนจนเจ๊ง กลายเป็นขาดทุนสะสมเรื่อยมา
- ถ้าบริษัทจะใช้วิธีการลดทุน หรือ ลดพาร์ (par 10 เหลือ 1, 1 เหลือ 0.5 etc) แบบนี้มีประโยชน์อะไรครับ เพราะตอนจดทะเบียน ปกติก็จดกันเกินกว่า เงินลงทุนที่มีอยู่แล้ว เช่น จด 10 ล้าน แต่ก็ไม่ได้เอาเงิน 10 ล้านไปจด แถมบริษัทอาจจะมีเงินลงทุนจริงๆแค่ 1ใน10 หรือ แค่ 1ล้าน

2. สมมติว่าวิธีการข้างต้นเป็นวิธีการที่ทำได้ และถูกต้องในทางบัญชี ถามว่า ถ้าอย่างนี้ ถ้าหักล้างขาดทุนสะสมได้แล้ว กำไรที่ทำได้ในไตรมาสถัดไป (สมมติว่ามีกำไร) ก็จะบันทึกเป็นกำไรสะสม และนำมาจ่ายปันผลได้เลยถูกมั้ยครับ

3. และถามต่อเนื่องนะครับ ในทางกลับกัน บริษัทมีกำไรสะสมมาตลอด จ่ายปันผลมาตลอด แต่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ที่ทำให้บริษัทขาดทุนหนักๆเพียงครั้งเดียว และสมมติ บริษัทยังโชคดีที่กำไรสะสมยังไม่หายไปหมด ในกรณีนี้ ถ้าไตรมาสต่อมาบริษัทมีกำไร ...บริษัทจะเอามาเงินกำไรมาจ่ายปันผลได้มั้ยครับ เพราะการขาดทุนไตรมาสก่อน ได้ทำให้เงินสดดำเนินงานติดลบ และไตรมาสปัจจุบันสภาพคล่องก็ยังไม่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีกำไร... และถ้าทำได้ บริษัทจะเอาเงินมาจากไหนครับ กู้มา หรือ ว่าเอามาจากกำไรสะสม (ขอโทษนะครับ พอดียังไม่เข้าความหมายของ กำไรสะสม จัดสรรแล้ว และยังไม่ได้จัดสรรนะครับ)

4. การเพิ่มทุนจดทะเบียน สามารถทำให้บริษัทจ่ายปันผลได้เลยรึปล่าวครับ ในกรณีทีเพิ่มแล้วมีเงินสดส่วนเกินเหลือ และ ผลการดำเนินงานเริ่มดี ปกติควรทำรึปล่าวครับในช่วงแรกๆ (ตามความเข้าใจน่าจะรอให้ผลการดำเนินงานนิ่งๆซัก 2-3 ไตรมาสหรือปีนึงก่อน) หรือว่าเป็นกฏเลยที่ว่าถ้ามีกำไรสะสมครบ รอบปี ก็จ่ายได้เลย

5. การเพิ่มทุน ถ้าเพิ่มทุนที่ต่ำกว่าราคาพาร์ ถามว่ามีประโยชน์อย่างไรครับ และมีข้อเสียมากกว่าครับ เห็นบริษัทที่ผลการดำเนินงานแย่ๆ จะใช้วิธีนี้ประจำ การลดพาร์ด้วย ทำไปทำไม พาร์ 0.63 พาร์ 0.1 อ่านแล้วงงครับว่าทำไปทำไม

ุ6. คำถามสุดท้าย เกี่ยวกับนิยามข้างบน ไม่อันไหน ที่เกี่ยวพันกันตรงๆกับ เงิดสดส่วนที่ได้เข้ามาจริงๆใช่มั้ยครับ ยกเว้น เงินเพิ่มทุน
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 85

โพสต์

firewalker เขียน:ขอบคุณครับบทความ และทุกท่านที่สละเวลามาช่วยตอบ ผมอ่านแล้วยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ครับ เพราะ ยังไม่เข้าใจพื้นฐานเท่าไหร่
ผมขอถามแบบเบสิคเลยได้มั้ยครับ เกี่ยวกับ 5-6 นิยามข้างล่างนี้

1. ทุนจดทะเบียน
2. กำไรสะสม กำไรสะสม จัดสรรแล้ว (ที่สำรองไว้ และ สำรองไว้เพื่อซื้อหุ้นคืน)
3. กำไรสะสม ที่ยังไม่ได้จัดสรร
4. ขาดทุนสะสม
5. ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (ส่วนต่ำมูลค่าหุ้น)
6. การเพิ่มทุนจดทะเบียน

สมมติว่าบริษัทมีผลดำเนินงานขึ้นๆลงๆ โดยรวมๆก็ขาดทุนมาตลอดทุกปี ส่วนผู้ถือหุ้นก็ลดลง และขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นตลอด แต่ยังดำเนินธุรกิจได้อยู๋ เพราะส่วนผู้ถือหุ้นยังเป็นบวก

แต่ทีนี้บริษัทเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นและะมีกำไรต่อเนื่องใน 2-3 ไตรมาสหลัง แต่กำไรที่ได้ยังไม่พอที่จะจ่ายปันผล เพราะมีขาดทุนสะสมอยู่เยอะมาก คำถามนะครับ

1. บริษัทควรจะทำยังไงที่จะให้ขาดทุนสะสมเป็น 0 และกลายเป็นกำไรสะสม เท่าที่ติดตามมา บริษัทส่วนใหญ่จะใช้วิธีการ ลดทุนจดทะเบียน หรือ ไม่ก็เอาส่วนเกินมูลค่าหุ้นมาหักล้าง ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ..
- แต่ในความเป็นจริงนั้นทำได้เหรอครับ เพราะ เงินสดจาก ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ที่บริษัทได้รับชำระมาแต่แรก นั้นถูกเอาไปลงทุนจนเจ๊ง กลายเป็นขาดทุนสะสมเรื่อยมา
- ถ้าบริษัทจะใช้วิธีการลดทุน หรือ ลดพาร์ (par 10 เหลือ 1, 1 เหลือ 0.5 etc) แบบนี้มีประโยชน์อะไรครับ เพราะตอนจดทะเบียน ปกติก็จดกันเกินกว่า เงินลงทุนที่มีอยู่แล้ว เช่น จด 10 ล้าน แต่ก็ไม่ได้เอาเงิน 10 ล้านไปจด แถมบริษัทอาจจะมีเงินลงทุนจริงๆแค่ 1ใน10 หรือ แค่ 1ล้าน

2. สมมติว่าวิธีการข้างต้นเป็นวิธีการที่ทำได้ และถูกต้องในทางบัญชี ถามว่า ถ้าอย่างนี้ ถ้าหักล้างขาดทุนสะสมได้แล้ว กำไรที่ทำได้ในไตรมาสถัดไป (สมมติว่ามีกำไร) ก็จะบันทึกเป็นกำไรสะสม และนำมาจ่ายปันผลได้เลยถูกมั้ยครับ

3. และถามต่อเนื่องนะครับ ในทางกลับกัน บริษัทมีกำไรสะสมมาตลอด จ่ายปันผลมาตลอด แต่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ที่ทำให้บริษัทขาดทุนหนักๆเพียงครั้งเดียว และสมมติ บริษัทยังโชคดีที่กำไรสะสมยังไม่หายไปหมด ในกรณีนี้ ถ้าไตรมาสต่อมาบริษัทมีกำไร ...บริษัทจะเอามาเงินกำไรมาจ่ายปันผลได้มั้ยครับ เพราะการขาดทุนไตรมาสก่อน ได้ทำให้เงินสดดำเนินงานติดลบ และไตรมาสปัจจุบันสภาพคล่องก็ยังไม่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีกำไร... และถ้าทำได้ บริษัทจะเอาเงินมาจากไหนครับ กู้มา หรือ ว่าเอามาจากกำไรสะสม (ขอโทษนะครับ พอดียังไม่เข้าความหมายของ กำไรสะสม จัดสรรแล้ว และยังไม่ได้จัดสรรนะครับ)

4. การเพิ่มทุนจดทะเบียน สามารถทำให้บริษัทจ่ายปันผลได้เลยรึปล่าวครับ ในกรณีทีเพิ่มแล้วมีเงินสดส่วนเกินเหลือ และ ผลการดำเนินงานเริ่มดี ปกติควรทำรึปล่าวครับในช่วงแรกๆ (ตามความเข้าใจน่าจะรอให้ผลการดำเนินงานนิ่งๆซัก 2-3 ไตรมาสหรือปีนึงก่อน) หรือว่าเป็นกฏเลยที่ว่าถ้ามีกำไรสะสมครบ รอบปี ก็จ่ายได้เลย

5. การเพิ่มทุน ถ้าเพิ่มทุนที่ต่ำกว่าราคาพาร์ ถามว่ามีประโยชน์อย่างไรครับ และมีข้อเสียมากกว่าครับ เห็นบริษัทที่ผลการดำเนินงานแย่ๆ จะใช้วิธีนี้ประจำ การลดพาร์ด้วย ทำไปทำไม พาร์ 0.63 พาร์ 0.1 อ่านแล้วงงครับว่าทำไปทำไม

ุ6. คำถามสุดท้าย เกี่ยวกับนิยามข้างบน ไม่อันไหน ที่เกี่ยวพันกันตรงๆกับ เงิดสดส่วนที่ได้เข้ามาจริงๆใช่มั้ยครับ ยกเว้น เงินเพิ่มทุน
คุณไล่อ่านบทความที่น้องๆ BBA จุฬาเขียนมาทั้งหมดแล้วหรือคะ เพราะคำถามของคุณ น้องๆ ได้อธิบายไว้ในบทความต่างๆ ที่ post อยู่ อ่านแล้วมีคำถาม เจาะจงลงถามในหัวเรื่องแต่ละเรื่องนะคะ
wanna
Verified User
โพสต์: 68
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 86

โพสต์

parporn เขียน:
firewalker เขียน:ขอบคุณครับบทความ และทุกท่านที่สละเวลามาช่วยตอบ ผมอ่านแล้วยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ครับ เพราะ ยังไม่เข้าใจพื้นฐานเท่าไหร่
ผมขอถามแบบเบสิคเลยได้มั้ยครับ เกี่ยวกับ 5-6 นิยามข้างล่างนี้

1. ทุนจดทะเบียน
2. กำไรสะสม กำไรสะสม จัดสรรแล้ว (ที่สำรองไว้ และ สำรองไว้เพื่อซื้อหุ้นคืน)
3. กำไรสะสม ที่ยังไม่ได้จัดสรร
4. ขาดทุนสะสม
5. ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (ส่วนต่ำมูลค่าหุ้น)
6. การเพิ่มทุนจดทะเบียน

สมมติว่าบริษัทมีผลดำเนินงานขึ้นๆลงๆ โดยรวมๆก็ขาดทุนมาตลอดทุกปี ส่วนผู้ถือหุ้นก็ลดลง และขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นตลอด แต่ยังดำเนินธุรกิจได้อยู๋ เพราะส่วนผู้ถือหุ้นยังเป็นบวก

แต่ทีนี้บริษัทเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นและะมีกำไรต่อเนื่องใน 2-3 ไตรมาสหลัง แต่กำไรที่ได้ยังไม่พอที่จะจ่ายปันผล เพราะมีขาดทุนสะสมอยู่เยอะมาก คำถามนะครับ

1. บริษัทควรจะทำยังไงที่จะให้ขาดทุนสะสมเป็น 0 และกลายเป็นกำไรสะสม เท่าที่ติดตามมา บริษัทส่วนใหญ่จะใช้วิธีการ ลดทุนจดทะเบียน หรือ ไม่ก็เอาส่วนเกินมูลค่าหุ้นมาหักล้าง ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ..
- แต่ในความเป็นจริงนั้นทำได้เหรอครับ เพราะ เงินสดจาก ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ที่บริษัทได้รับชำระมาแต่แรก นั้นถูกเอาไปลงทุนจนเจ๊ง กลายเป็นขาดทุนสะสมเรื่อยมา
- ถ้าบริษัทจะใช้วิธีการลดทุน หรือ ลดพาร์ (par 10 เหลือ 1, 1 เหลือ 0.5 etc) แบบนี้มีประโยชน์อะไรครับ เพราะตอนจดทะเบียน ปกติก็จดกันเกินกว่า เงินลงทุนที่มีอยู่แล้ว เช่น จด 10 ล้าน แต่ก็ไม่ได้เอาเงิน 10 ล้านไปจด แถมบริษัทอาจจะมีเงินลงทุนจริงๆแค่ 1ใน10 หรือ แค่ 1ล้าน

2. สมมติว่าวิธีการข้างต้นเป็นวิธีการที่ทำได้ และถูกต้องในทางบัญชี ถามว่า ถ้าอย่างนี้ ถ้าหักล้างขาดทุนสะสมได้แล้ว กำไรที่ทำได้ในไตรมาสถัดไป (สมมติว่ามีกำไร) ก็จะบันทึกเป็นกำไรสะสม และนำมาจ่ายปันผลได้เลยถูกมั้ยครับ

3. และถามต่อเนื่องนะครับ ในทางกลับกัน บริษัทมีกำไรสะสมมาตลอด จ่ายปันผลมาตลอด แต่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ที่ทำให้บริษัทขาดทุนหนักๆเพียงครั้งเดียว และสมมติ บริษัทยังโชคดีที่กำไรสะสมยังไม่หายไปหมด ในกรณีนี้ ถ้าไตรมาสต่อมาบริษัทมีกำไร ...บริษัทจะเอามาเงินกำไรมาจ่ายปันผลได้มั้ยครับ เพราะการขาดทุนไตรมาสก่อน ได้ทำให้เงินสดดำเนินงานติดลบ และไตรมาสปัจจุบันสภาพคล่องก็ยังไม่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีกำไร... และถ้าทำได้ บริษัทจะเอาเงินมาจากไหนครับ กู้มา หรือ ว่าเอามาจากกำไรสะสม (ขอโทษนะครับ พอดียังไม่เข้าความหมายของ กำไรสะสม จัดสรรแล้ว และยังไม่ได้จัดสรรนะครับ)

4. การเพิ่มทุนจดทะเบียน สามารถทำให้บริษัทจ่ายปันผลได้เลยรึปล่าวครับ ในกรณีทีเพิ่มแล้วมีเงินสดส่วนเกินเหลือ และ ผลการดำเนินงานเริ่มดี ปกติควรทำรึปล่าวครับในช่วงแรกๆ (ตามความเข้าใจน่าจะรอให้ผลการดำเนินงานนิ่งๆซัก 2-3 ไตรมาสหรือปีนึงก่อน) หรือว่าเป็นกฏเลยที่ว่าถ้ามีกำไรสะสมครบ รอบปี ก็จ่ายได้เลย

5. การเพิ่มทุน ถ้าเพิ่มทุนที่ต่ำกว่าราคาพาร์ ถามว่ามีประโยชน์อย่างไรครับ และมีข้อเสียมากกว่าครับ เห็นบริษัทที่ผลการดำเนินงานแย่ๆ จะใช้วิธีนี้ประจำ การลดพาร์ด้วย ทำไปทำไม พาร์ 0.63 พาร์ 0.1 อ่านแล้วงงครับว่าทำไปทำไม

ุ6. คำถามสุดท้าย เกี่ยวกับนิยามข้างบน ไม่อันไหน ที่เกี่ยวพันกันตรงๆกับ เงิดสดส่วนที่ได้เข้ามาจริงๆใช่มั้ยครับ ยกเว้น เงินเพิ่มทุน
คุณไล่อ่านบทความที่น้องๆ BBA จุฬาเขียนมาทั้งหมดแล้วหรือคะ เพราะคำถามของคุณ น้องๆ ได้อธิบายไว้ในบทความต่างๆ ที่ post อยู่ อ่านแล้วมีคำถาม เจาะจงลงถามในหัวเรื่องแต่ละเรื่องนะคะ
--
ขอแสดงความเคารพ อาจารย์ภาพร และอาจารย์สรรชัย เป็นอย่างสูง ที่เปิดห้องนี้ให้นักลงทุนได้ศึกษาเนื้อหาเน้น ๆ
สักวันหนึ่งขอเป็นศิษย์อาจารย์ค่ะ :bow:
ดูตารางการอบรมแล้วค่ะ ยาวเหยียดเลย :shock:
และขอบคุณน้อง ๆ ด้วยค่ะ :D
INDEPENDENT82
Verified User
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 87

โพสต์

ADVANC : บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

ค่าสถิติสำคัญ (ณ วันที่ 01 มิ.ย. 2555)
P/E (เท่า) 21.45 อัตราเงินปันผลตอบแทน (%) 4.70
P/BV(เท่า) 15.03 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) 533,670.61

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบนเป็นข้อมูลของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
อัตราเงินปันผลตอบแทน (%) 4.70 หมายถึง อะไรครับ
INDEPENDENT82
Verified User
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 88

โพสต์

ADVANC : บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)


ข้อมูลล่าสุด 05 มิ.ย. 2555 17:01:57
(ราคาล่าสุดอย่างเป็นทางการ)
เครื่องหมาย
ล่าสุด 177.00
เปลี่ยนแปลง -2.50
%เปลี่ยนแปลง -1.39
วันก่อนหน้า 179.50
เปิด 180.50
สูงสุด 181.50
ต่ำสุด 177.00
ปริมาณ (หุ้น) 3,300,000
มูลค่า ('000 บาท) 591,259
ราคาเฉลี่ย* 179.17
* เฉพาะการซื้อขายแบบ Auto-matching บนกระดานหลักเท่านั้น
ราคาพาร์ (บาท) 1.00
ราคา Ceiling 233.00
ราคา Floor 126.00

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบนเป็นข้อมูลของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ราคาเฉลี่ย* 179.17 หมายถึง อะไรครับ (ขอวิธีคำนวณด้วยครับ)
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 89

โพสต์

INDEPENDENT82 เขียน:ADVANC : บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

ค่าสถิติสำคัญ (ณ วันที่ 01 มิ.ย. 2555)
P/E (เท่า) 21.45 อัตราเงินปันผลตอบแทน (%) 4.70
P/BV(เท่า) 15.03 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) 533,670.61

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบนเป็นข้อมูลของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
อัตราเงินปันผลตอบแทน (%) 4.70 หมายถึง อะไรครับ
อัตราเงินปันผลตอบแทน = เงินปันผลต่อหุ้น/ราคาหุ้น Dividend yield
อัตราเงินปันผลตอบแทน 4.70 % เงินปันผลต่อหุ้นล่าสุดเมื่อเทียบกับราคาปิดวันล่าสุด คิดเป็น 4.7%
ตย. เช่น บริษัทจ่ายปันผลต่อหุ้นล่าสุด 3 บาท ราคาปิดหุ้นนั้นอยู่ที่ 90 บาท
อัตราเงินปันผลตอบแทนจะคำนวณได้เท่ากับ 3.33 % หมายความว่าหากลงทุนหุ้นนี้ที่ราคา 90 บาท หากในการจ่ายปันผลครั้งหน้าเท่ากับ 3 บาท ผู้ลงทุนจะได้ผลตอบแทนเท่ากับ 3.33% ความเสี่ยงของผู้ลงทุนมีอย่างน้อยคือ เงินปันผลครั้งหน้าจะเท่า 3 บาทอยู่หรือไม่ และราคาหุ้นจะยังไม่น้อยกว่า 90 บาท แต่ราคาหุ้นจริงๆ แลวก็แปรผันตรงกับเงินปันผล และอัตราการจ่ายปันผลเมื่อเทียบกับกำไรต่อหุ้นด้วยถ้ากำไรต่อหุ้นมีแนวโน้มสูงขึ้น แนวดน้มราคาก็จะสูงขึ้น เงินปันผลก็สูงขึ้น่กัน
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"

โพสต์ที่ 90

โพสต์

INDEPENDENT82 เขียน:ADVANC : บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)


ข้อมูลล่าสุด 05 มิ.ย. 2555 17:01:57
(ราคาล่าสุดอย่างเป็นทางการ)
เครื่องหมาย
ล่าสุด 177.00
เปลี่ยนแปลง -2.50
%เปลี่ยนแปลง -1.39
วันก่อนหน้า 179.50
เปิด 180.50
สูงสุด 181.50
ต่ำสุด 177.00
ปริมาณ (หุ้น) 3,300,000
มูลค่า ('000 บาท) 591,259
ราคาเฉลี่ย* 179.17
* เฉพาะการซื้อขายแบบ Auto-matching บนกระดานหลักเท่านั้น
ราคาพาร์ (บาท) 1.00
ราคา Ceiling 233.00
ราคา Floor 126.00

คำถาม
1. จากข้อมูลข้างบนเป็นข้อมูลของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ราคาเฉลี่ย* 179.17 หมายถึง อะไรครับ (ขอวิธีคำนวณด้วยครับ)
ราคาเฉลี่ยนี้หมายถึงมุลค่าการซื้อขายที่เกิดขึ้นในวันนั้นหารด้วยจำนวนหุ้นที่มีการซื้อขายในวันเดียวกัน
179.17 = 591,259,000 / 3,300,000