ตามรายชื่อที่นำมาเผยแพร่ต่อไปนี้
ไม่ทราบเพื่อนๆเคยอ่านหรือให้ลูกๆหลานๆอ่านเลบ่มใดมาบ้าง
50 หนังสือวรรณกรรมแปลที่เด็กควรอ่าน
นอกจากหนังสือดี 100 เล่ม ที่คณะผู้วิจัยภายใต้การสนับสนุนของ สกว.คัดเลือกว่า
เป็นหนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่านแล้ว
50 วรรณกรรมเยาวชนต่างประเทศผลงานระดับคลาสสิกเหล่านี้
ก็เป็นหนังสือดีที่เด็กไทยควรจะมีโอกาสได้อ่านสักครั้งด้วยเหมือนกัน
1. The Adventures of Huckleberry Finn : การผจญภัยของฮัคเคิลเบอรี่ ฟินน์
2. Alice's Adventures in Wonderland : อลิสในแดนมหัศจรรย์
3. Around the World in Eighty Days : 80 วันรอบโลก
4. Black Beauty : ม้าแสนรู้
5. The Call of the Wild : เสียงเพรียกจากพงพี
6. The Catcher in the Rye : ทุ่งฝัน
7. Charlie and the Chocolate Factory : ชาลีกับโรงงานช็อกโกแล็ต
8. Charlotte's Web : แมงมุมเพื่อนรัก
9. Cheaper by the Dozen : เหมาโหลถูกกว่า
10. Chitty Chitty Bang Bang : รถวิเศษ
11. A Christmas Carol : กำนัลแห่งคริสต์มาส
12. Daddy Long Legs : ขวัญใจของคุณพ่อ
13. Don Quixote : The Picture Readers Edition : ดอน กีโฮเต้ ฉบับอนุบาล
14. Emil and the Detectives : เอมิล ยอดนักสืบ
15. The Fairy Tales of Grimm's Brothers : เทพนิยายของกริมม์
16. The Fairy Tales of Hans Christian Andersen : เทพนิยายของแอนเดอร์สัน
17. The Fairy Tales of Oscar Wilde : เทพนิยายของออสคาร์ ไวลด์
18. The Fairy Tales of Lev Tolstoy : นิทานตอลสตอย
19. Gulliver's Travels : กัลลิเวอร์ผจญภัย
20. Harry Potter and the Philosopher's Stone : แฮรี่ พ็อตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์
21. Heidi : ไฮดี้
22. The Hobbit : เดอะ ฮอบบิท
23. The Human Comedy : ความสุขแห่งชีวิต
24. The Jungle Book : เมาคลีลูกหมาป่า
25. King Arthur and His Knights : อัศวินแห่งกษัตริย์อาเธอร์
26. The Lion, The Witch and the Wardrobe : เมืองในตู้เสื้อผ้า และ ตู้พิศวง
27. Little House in the Big Woods : บ้านเล็กในป่าใหญ่
28. Little Lord Fauntleroy ชายเล็ก, มาแต่กระยาหงัน และ ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย
29. Le Petit Nicola : หนูน้อยนิโคลา
30. Le Petit Prince : เจ้าชายน้อย
31. Mary Poppins : แมรี่ ป๊อปปินส์
32. Les Misrables : เหยื่ออธรรม33. My Sweet Orange Tree : ต้นส้มแสนรัก
34. The Neverending Story : จินตนาการไม่รู้จบ
35. Peter Pan : ปีเตอร์ แพน
36. Pinocchio : ตุ๊กตาเนรมิต
37. Pippi Long Stocking : ปิ๊ปปี้ ถุงเท้ายาว
38. Platero and I : แพลทเทอโร และ ฉันกับลา ปลาเตอโร่
39. The Railway Children : รอพ่อยามยาก
40. Robinson Crusoe : โรบินสัน ครูโซ
41. The Secret Garden : ในสวนศรี
42. The Tale of Peter Rabbit : กระต่ายน้อยปีเตอร์
43. Tarzan : ทาร์ซาน
44. The Thousand and One Nights : อาหรับราตรี
45. The Three Musketeers : ทแกล้วทหารสามเกลอ
46. Uncle Arthur's Bedtime Stories : ชั่วโมงของเด็ก และ เรื่องเล่าของลุงอาร์เธอร์
47. Watership Down : ทุ่งวอเตอร์ชิพ
48. The Wind in the Willow : สายลมในดงหลิว
49. Winnie-the-Pooh : วินนี่ เดอะพูห์ และ หมีปุ๊กลุกผจญภัย
50. The Wonderful Wizard of Oz : พ่อมดแห่งเมืองมรกต และ พ่อมดมหัศจรรย์แห่งอ๊อซ
http://http://www.trf.or.th/News/Conten ... rt_ID=1119
ทั้งหมดเคยผ่านตามาแล้วทั้งนั้น
แต่มีข้อกังขาทำไมบางเล่มกลายเป็นหนังสือควรอ่านสำหรับเด็ก
อย่าง Les Miserables ของ Victor Hugo ที่ทำตัวแดงไว้
เนื้อหาอาจจะเกินเด็กเกินไปด้วยซ้ำ
ข้อสำคัญเด็กจะต้องรู้รายละเอียดของประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสด้วย
เพราะเป็นเรื่องคาบเกี่ยวกับการปฏิวัติสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสมาเกี่ยวข้องด้วย
ขนาดผู้ใหญ่อ่านเอง (ฉบับแปลโดยจูเลียต ชื่อ เหยื่ออธรรม) ยังอ่านยากเลย
ไม่ทราบคณะกรรมการมีมาตรฐานอะไรว่าเล่มไหนควรจะอ่าน
ถ้าต้องการแสดงออกถึงเนื้อหาที่เกี่ยวกับมนุษยธรรม
ก็ยังมีเล่มอื่นที่อ่านได้ง่ายกว่า
หนังสือแปลของ อ.สนิทวงศ์ทั้งหลาย
เช่น กระท่อมน้อยของลุงทอม (Uncle Tom's Cabin)
หรือเรื่องน่ารักๆภายในครอบครัวมาร์ช ใน สี่ดรุณี (Little Women)
หรือเรื่องราวการผจญภัยของครอบครัวพี่น้องที่ปราศจากหัวเรือใน
ไปโอเรกอน (Oregon's Trail)
ก็น่าจะสนุกเพลิดเพลินกว่า
ข้อพิจารณาอีกประการ ทำไมจำกัดอยู่แค่หนังสือวรรณกรรมแปลตะวันตก
อย่างเด้กหญิงโต๊ะโต๊ะจัง ก็น่าได้รับการยกย่อง
การ์ตูนภาพ จีน ญี่ปุ่น หลายเรื่องก็มีเนื้อหาสร้างสรรค์ดีออก
ข้อน่าสังเกตอีกข้อ ไม่ทราบคณะกรรมการพิจารณาเป็นผู้หญิงเสียส่วนมากหรือเปล่า
เพราะดูแนวเรื่องออกหวานแหววเสียเยอะ :roll:
(พวกเทพนิยายทั้งหลาย ยกเว้นของลีโอ ตอลสตอย)
นิทาน/นิยาย วิทยาศาสตร์ หายไปไหน
อย่างของอาเธอร์ ซี คล้าก, ไอแซค อาซิมอฟ
ย้อนกลับไปนึกถึงตัวเองวัยเด็ก อ่านหนังสือพวกนี้หรือไม่
ก้ออ่าน แต่มีโอกาสอ่านข้ามรุ่นไปเสียหน่อย
อย่างหนังสือแนวสอบสวน ของ อการ์ธา คริสตี้ เป็นต้น
หรือไม่ก้อนิยายกึ่งประวัติศาสตร์ไปเลย
อ้อ อีกข้อสังเกตสุดท้าย
หนังสือที่เลือกมาไม่ได้ระบุอายุที่อ่าน
จะเห็นว่ามีช่องว่างต่างกันมาก
อย่างเด็กที่อ่านนิยายกริมม์กับเจ้าชายน้อย ต้องไม่ใช่วัยเดียวกัน
หรืออ่านพ่อมดแห่งเมืองมรกตกับความสุขแห่งชีวิต(The Human Comedy)
เรื่องหลังรันทดกว่าเยอะ

เวปในห้องสมุดก็หยิกยกเรื่อง Les Miserables มาติติงเหมือนกัน
ไม่ใช่เนือหาที่ไม่เหมาะสมหรอก
(หนึ่งในวรรณกรรมโลกยอดเยี่ยมที่พลาดไม่ได้อยู่แล้ว)
แต่ผู้อ่านต้องมีวัยวุฒิมากกว่าเยาวชน
คงมีการเรียกร้อง ส่งหนังสือท้วงไปที่สกว.ให้ทบทวนใหม่ในไม่ช้า
