
Buy Thailand. I Am.
The financial world is a mess, both in United States and abroad. Its problems, moreover, have been leaking into the general economy, and the leaks are now turning into a gusher. In the near term, unemployment will rise, business activity will falter and headlines will continue to be scary.
So ... I’ve been buying American stocks.
, ข้อความจาก Buy America, I am., โดย วอร์เรน บัฟเฟตต์ 2008
ผมเริ่มต้นบทความนี้ในคืนนี้เพราะเป็นคืนที่ผมมีสมาธิในการที่จะลุกขึ้นมาเขียนบทความที่เต็มไปด้วยความตั้งใจอยากจะเขียน แม้ว่าร่างกายจะอ่อนล้าเต็มที เพราะมันเป็นคืนนี้และถ้าเป็นคืนอื่นผมคงเขียนไม่ได้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เขียนบทความ Buy American, I am ในปี 2008. ด้วยข้อความด้านบนเป็นบทความที่ผมชื่นชมแกมหมั่นไส้ อ่านแล้วก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งออกแนวชาตินิยมเสียมาก ผมชื่นชมเพราะเค้าสามารถมองประเทศเค้าได้ออกมาในเชิงบวกทั้งที่ในปี 2008 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มันย่ำแย่มาจากอเมริกาโดยแท้ และที่หมั่นไส้ก็เพราะการที่เค้าเป็นชาตินิยมนี่หล่ะครับ
อย่างไรก็ตามวอร์เรน ก็คือ วอร์เรน แนวคิดของวอร์เรนนั้นเป็นอย่างไรเค้าถึงเป็นตำนาน และแล้ววันนี้ ดาวน์โจนส์ก็ทำสถิติใหม่สูงสุดจนได้ วันที่ดาวน์โจนส์ทำสถิติเกิน 16,000 จุดก็มีให้เห็น เปล่าครับผมไม่ได้กำลังจะนำประเทศไทยไปเปรียบเทียบกับอเมริกา
แต่ผมอยากชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีอะไรที่น่าลงทุนแล้วก็คงต้องอ่านความเห็นของคน ๆ หนึ่งที่คลุกคลีกับตลาดเกิดใหม่มานานอย่าง มาร์ค โมเบียส กองทุนเทมพลิตัน โมเบียสเอง เขียนถึงประเทศไทยในหนังสือ Passport To Profit ของเขา และเขายังเขียนถึงคำพังเพย “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” อีกด้วย เมื่อต้นปี ดร. โมเบียส ได้ให้เหตุผลหลาย ๆ เหตุผลที่น่าฟังว่าทำไมท่านจึงเลือกประเทศไทย เมื่อตอนต้นปีท่านบอกว่าสาเหตุสำคัญคือ Capitalizing on the Rising Middle Class จาก (1) การที่ชนชั้นกลางมีมากขึ้น (2) ความเจริญจากเมืองหลวงกระจายสู่ชนบทมากขึ้น และ (3) การที่ไทยล้อมรอบไปด้วยเพื่อนบ้านที่พร้อมจะโตอย่าง ลาว กัมพูชา พม่า นั่นคือสิ่งที่น่าสนใจ รวมถึง (4) Promoting from Within รวมถึงมาตรการภาษีต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการโตของประเทศ นั่นคือสิ่งที่ท่านเขียนไว้เมื่อต้นปีนะครับ
อย่างไรก็ตามแม้สถานการณ์ตอนนี้จะเปลี่ยนไปแล้ว ในระยะสั้น เราต้องเผชิญกับ GDP ที่ไม่ได้ตามเป้า โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงซบเซาโดยไม่ขยายตัวเลย เนื่องจากประชาชนยังระมัดระวังการใช้จ่ายจากความเชื่อมั่นที่ลดลง และตลาดหุ้นที่ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าให้ผมเลือกลงทุน ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นโอกาสลงทุนในหุ้นประเทศไทย
ทำไม?
1. ผลตอบแทนทางตรง คือ เงินปันผล ผมชอบมองอัตราการตอบแทนเปรียบเทียบ โดยผมมักจะมองว่าถ้าผมไม่ลงทุน ก็คือฝากเงินฝาก อย่างนี้เป็นต้น จากข้อมูลที่ผมติดตาม ณ วันนี้ วันที่ 2 ธันวาคม 2556 อัตราดอกเบี้ยฝากประจำของ ธ.กรุงเทพ = 2.5 กสิกรไทย = 2.35 ไทยพาณิชย์ = 2.45 ในขณะที่เงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ = 3.05 , http://marketdata.set.or.th/mkt/markets ... country=TH เงินสดเป็นสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่อ Inflation ที่จะทำให้ด้อยค่าลงทุกวัน ในขณะที่การลงทุนในหุ้นมีความสามารถในการเติบโตได้ หากอ้างอิงจากหลักการของ ฟิล ฟิชเชอร์แล้ว สิ่งที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ดีที่สุดคือ “นวัตกรรม”
2. หากใช้หลักการตัดสินใจโดยใช้หลักการ “ไม่เลือกเธอต้องเลือกฉัน” นั่นหมายถึง ถ้าคุณไม่ซื้อหุ้นคุณต้องถือเงินสด สมมติใช้หลักการนี้ ผลตอบแทนจะแยกเป็น 2 แบบ คือ (2.1) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (2.2) E/P คือส่วนกลับของ PE นั่นแปลว่าอะไร? พันธบัตรนั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าและ E/P จะมากกว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเสมอ ถ้า ผลตอบแทน 2.1 = 2.2 คนจะขายหุ้นแล้วไปซื้อพันธบัตรทันที นั่นคือ 2.2 > 2.1 เสมอ หากตลาดมีวิกฤติขึ้นมาคนจะเป็นโรคโหยหาเงินสด เช่นในเดือน พฤศจิกายน ปี 2551 E/P = 15.92 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (1Y) = 3.31 ปัจจุบัน E/P = 6.5 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (1Y) = 2.58 เห็นภาพที่แตกต่างกันคนยังไม่ได้โหยหาเงินสดมาก อย่างไรก็ตามก็อาจมีเสียงคัดค้านว่า กรณี ปี 2551 นั้นเป็นกรณีสุดโต่ง ก็อาจจะจริงลองดูพฤติกรรมของ EP กับ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (1Y) ที่ผ่านมาครับ จากกราฟ พบว่า (1) เส้นสีแดง EP ลดลงมาจนถึงต้นปี และ Market Cap มีการลดลงตลอด ก็เลยทำให้ EP กลับขึ้นมาบ้าง ไม่ได้เป็นเพราะกำไรสูงขึ้นแต่เป็นเพราะมาร์เก๊ตแค้ปลดลงเลยทำให้ EP สูงขึ้นดูดึงดูดขึ้นมา สูงกว่าเมื่อตอนต้นปีด้วยซ้ำ สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสูงขึ้นบ้างไม่มากทรง ๆ และยังต่ำกว่าตอนต้นปี

ทั้งหมดนี้เป็นงานวิจัยส่วนตัว ซึ่งผมอาจจะมั่วด้วยสถิติก็ได้และผมคงไม่ฟันธงว่าจุดต่ำสุดผ่านไปแล้ว แต่ผมอยากให้เรามองไกลอย่ายอมแพ้กับปัญหาระยะสั้นเพราะความกลัวเกิดขึ้นแล้วและความกลัวแพร่สะพัดไปแล้วและ นลท. หลายคนแม้กระทั่งนักลงทุนสถาบันหรือต่างประเทศก็ขายไปแล้ว
แต่ความกลัวเป็นเรื่องไร้สาระหากมองถึงความคงอยู่ของอนาคต พรุ่งนี้อนาคตของประเทศไทยจะยังคงอยู่ ผมเป็นนักลงทุนไทย เป็นนักธุรกิจไทย เป็นที่ปรึกษาธุรกิจไทย เกิดเมืองไทย พูดภาษาไทยชัด ผมหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยและขอเป็นกำลังใจให้นักลงทุนทุกคนให้เกิดความเชื่อมั่น
In the near term, Thailand's political volatility would take a major impact, business activity will falter and headlines will continue to be scary.
It is, therefore... I’ve been buying Thai stocks
............................................................................
บทความ Buy Thailand, I am. โดย นักลงทุนไทย Nevercry.boy 2 พฤศจิกายน 2556