วิกฤตขาดแคลนแรงงานในจีน
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 25, 2005 4:15 pm
วิกฤตขาดแคลนแรงงานในจีน
25 เมษายน 2548 10:35 น.
จีน ' โรงงานของโลก' ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเรื่องค่าแรงที่ถูกแสนถูก สภาพการณ์เช่นนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปเพราะปัญหาขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงในปัจจุบัน ขณะเดียวกันนายจ้างต้องแบกรักภาระค่าใช้จ่ายทางสังคม ตลอดจนการเสนอสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อดึงลูกจ้าง และนักวิชาการต้องหันกลับมาตั้งคำถามกับสูตรการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลที่เคยนำพาเศรษฐกิจแดนมังกรให้เจริญรุ่งโรจน์ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ภายในออฟฟิศที่สว่างไสวด้วยไฟนีออน ผู้จัดการหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "เวลาเปลี่ยนไป ราคาก็เพิ่มขึ้น" ขณะที่คนงานที่มีฝีมือได้ฉวยโอกาสจากการภาวะขาดแคลนแรงงาน เรียกร้องค่าแรงเพิ่ม
ปัจจุบันนี้ แม้ว่าค่าแรงงานในจีนยังต่ำกว่ามาตรฐานในประเทศสหรัฐฯและยุโรป แต่คนงานในโรงงานรองเท้าผ้าใบที่ตั้งอยู่ทางใต้ของจีนกลับได้ค่าแรงมากกว่าคนงานในเวียดนามถึง 30%และมากกว่าในอินโดนีเซีย15% ขณะเดียวกันบริษัทใหญ่จำนวนหนึ่งกำลังย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนาม และบางส่วนมีแผนที่จะย้ายไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศ ที่ซึ่งมีค่าแรงที่ถูกกว่า แต่มีข้อเสียในด้านโลจิสติกส์ ที่ไม่สะดวกและแพงกว่า
สำหรับลูกค้าทั่วโลก นี่อาจเป็นสัญญาณของการสิ้นสุดวงจรภาวะเงินฝืดและสินค้าราคาถูกในจีน อย่างไรก็ตามปัญหาการขาดแคลนแรงงานอพยพทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้น 34% หรือราว 70 - 82 เหรียญสหรัฐฯต่อเดือน (ราว 2,800 3,280 บาท) ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ10 ปี
การขึ้นค่าแรงดังกล่าวเป็นผลให้ค่าแรงในพื้นที่ตอนใต้ของจีนปัจจุบันเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยและมากกว่าในบังคาลาเทศ 30-50 เหรียญสหรัฐ (ราว 1,200 2,000 บาท) สูงกว่าในเวียดนามและโคลัมเบีย 45 เหรียญสหรัฐ (ราว 1,800 บาท) และมากกว่าบางพื้นที่ในอินโดนีเซีย 35 เหรียญสหรัฐ (ราว 1,400 บาท)
"เมื่อห้าปีที่ผ่านมา เราไม่คิดว่าสิ่งนี้จะเป็นไปได้" เดวิท ไหล สมุห์บัญชีของคิงส์เมกเกอร์ ฟุตแวร์ โฮลดิ้ง กำลังพูดถึงค่าแรงที่ทะยานขึ้นมาก
คิงส์เมกเกอร์ ผู้ผลิตรองเท้าทิมเบอร์แลนด์และคาเทอร์พิลล่าร์ วางแผนที่จ้างคนงานราว 2,000 คนในเวียดนาม ทดแทนแรงงานที่ขาดแคลนในจีนขณะนี้ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบริษัทที่สามารถทำเช่นนี้ได้ ดังนั้นไหลทำนายว่าผลที่จะตามมาของค่าแรงที่เพิ่มขึ้นคือราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น เขากล่าวว่า จีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก แม้ว่าค่าแรงโดยรวมจะเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตก็มีทางเลือกอื่น นอกจากยอมรับมัน
อย่างไรก็ตาม บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกว่าราคาสินค้าที่ผลิตในจีนจะแพงขึ้น และภาคการส่งออกของแดนมังกรยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการลงทุนที่ไหลทะลักเข้าจีนในช่วงหลายปีนี้ ก็กำลังคุกคามแรงงานจีนอย่างรุนแรง
ขณะเดียวกัน ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลทั้งหลายต่างเห็นพ้องว่า วันเวลาที่คุณสามารถเปิดโรงงานสักแห่งใกล้กับฮ่องกง โดยมีแรงงานราคาถูกที่พร้อมจะเข้าทำงานทันทีนั้นหมดไปแล้ว โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ที่เขตอุตสาหกรรมทางตะวันออกเฉียงใต้ยังขาดแคลนแรงงานถึง 2 ล้านคน
ประเทศที่มีประชากรถึง 1,300 ล้านคนขาดแคลนแรงงานได้อย่างไร? ผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรศาสตร์ระบุว่า เพราะโรงงานส่วนใหญ่จะ เลือกคนงานที่มีคุณสมบัติเฉพาะ อาทิ อายุน้อย มีความคล่องตัวในการทำงาน และเต็มใจทำงานนานติดต่อกันวันละหลายชั่วโมง ตลอดจนทำงานไกลบ้านและครอบครัว ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ยังมีคนว่างงานเป็นจำนวนมากตามชนบทของจีน ทว่าคุณสมบัติของพวกเขาไม่ตรงความต้องการของนายจ้าง
ในบางพื้นที่เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และในเขตอุตสาหกรรรมต่างๆ การแข่งขันด้านค่าแรงนั้นดุเดือดมาก ค่าแรงขั้นสูงสุดของพนักงานในบางสายงานเริ่มใกล้เคียงกับในประเทศสหรัฐฯและยุโรป
หนังสือพิมพ์ของมณฑลกว่างตงฉบับหนึ่ง รายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า สำนักพิมพ์ฮู่ไฉ ไม่สามารถจ้างพนักงานซ่อมบำรุงรายหนึ่ง แม้ว่าจะเสนอค่าจ้างต่อปีสูงถึง 150,000 หยวน ( ราว 750,000 บาทหรือ 62,500 บาท/เดือน) แล้ว สนนราคาดังกล่าวถือว่าสูงกว่ามาตรฐานค่าแรงในจีนมาก และยังสูงกว่ารายได้ของอาจารย์ระดับดอกเตอร์
ภาวะการขาดแคลนแรงงานกำลังเป็นประเด็นร้อนของสื่อมังกร โดยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาบทความในหนังสือพิมพ์เวิร์กเกอร์ เดลี่ ระบุว่าปัญหาด้านโครงสร้างแรงงานของจีนอยู่ในขั้นวิกฤต ชี้ให้เห็นว่าปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลมังกรกำลังวิตกกังกลอยู่
"การรักษาความสามารถด้านการแข่งขันเป็นสิ่งที่จีนวิตกกังวลมากที่สุด' พี โอ มาร์ก รองประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ จี อี คอมซูเมอร์ ไฟแนนซ์ เอเชีย กล่าวพร้อมเสริมว่า "ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นกำลังกัดกินรายได้ให้ลดน้อยลง บริษัทขนาดเล็กจะอาจ เจ็บตัว ได้"
ความจริงแม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ก็รู้สึกถึงผลกระทบนี้ ผู้จัดการอาวุโสของอินเทล ผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลก ระบุว่า โรงานประกอบชิ้นส่วนของอินเทลในเซี่ยงไฮ้มีต้นทุนในการผลิตมากกว่าโรงงานในมาเลเซีย และขณะนี้บริษัทกำลังสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่ชานเมืองเฉิงตู ซึ่งอัตราค่าแรงถูกกว่า แต่โลจิสติกส์ ยุ่งยากกว่า
นอกจากนี้ บางบริษัทที่กลัวว่าจะสูญเสียคนงาน ก็พยายามปรับปรุงสวัสดิการของพนักงาน เอปสัน ยักษ์ใหญ่พริ้นเตอร์ เหมารถประจำทาง 58 คันขนคนงานจากโรงงานเอปสัน ในเมืองซูโจวกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดในช่วงเทศกาลตรุษจีน และรับกลับมาทำงานหลังจากเทศกาลวันหยุดยาวสิ้นสุดลง
"คนงานพอใจกับการบริการนี้มาก" วินเซนต์ เหลียง ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ กล่าว "อัตราความคงทนในการทำงานของคนงานเราเพิ่มขึ้น 8% "
นอกจาก หลังจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานราว 2 ล้านคน ในเขตอุตสาหกรรมด้านตะวันออกเฉียงใต้ที่ยึดเยื้อมานานถึง 9 เดือน ทำให้นักวิชาการจีนเริ่มตั้งคำถามกับสูตรความสำเร็จของเขตอุสาหกรรมที่เคยอันนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่เศรษฐกิจจีน
นักเศรษฐศาสตร์เริ่มถกเถียงกันว่าโชนส่งออกดังกล่าว ซึ่งคนงานต้องเดินทางหลายพันกิโลเมตรเพื่อมาทำงาน จะเป็นระบบที่ยั่งยืนหรือไม่ ทั้งที่ในอดีตเคยเป็นเขตที่นักลงทุนใฝ่ฝัน เพราะตั้งเกาะกลุ่มกันตามชายฝั่งทะเล ล้อมรอบด้วยซัพพลายเออร์ นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้กับท่าเรือ และคอนเทนเนอร์ที่จะขนส่งสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ
แต่ขณะเดียวกัน คนงานต้องใช้เวลาเดินทางยาวนานถึง 30 ชั่วโมงโดยรถบัสหรือรถไฟมายังโรงงาน หรือพักอาศัยในที่พักที่บริษัทจัดหาให้
ทุกวันนี้ ผู้จัดการโรงงานหลายแห่งทางตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นว่าในไม่ช้านี้ โรงานต่างๆจะย้ายไปตั้งใกล้กับที่อยู่อาศัยของคนงาน แน่นอนว่าการทำเช่นนั้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
" ไม่ช้าก็เร็ว เราคงต้องย้าย " แซมสัน ชาง ประธานสมาพันธ์ของเล่นฮ่องกง สมาคมบริษัทผลิตของเล่นที่มีโรงงานในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของจีน "แต่ทุกครั้งที่คุณพูดถึงการย้าย มันหมายถึงการจ่ายเงินจำนวนมาก"
บรรดาผู้จัดการต่างกล่าวว่ามันเป็นไปตามหลักความจริงที่ค่าแรงจะเพิ่มขึ้นตราบใดที่ยังมีปัญหาขาดแคลนอยู่ ปัจจุบันค่าแรงเฉลี่ยของคนงานในโรงงานผลิตรองเท้าผ้าใบตกราวเดือนละ 100 เหรียญสหรัฐ (ราว 4,000 บาท ) ในบางโรงงานที่แรงงานมีความหนาแน่นหลายหมื่นคน อัตราการจ้างงานก็ยิ่งแพงขึ้น
ดรีม อินเตอเนชั่นเนล ผู้ผลิตตุ๊กตารายใหญ่ของโลก ระบุว่า บริษัทจะจ้างคนงาน 6,000 คนในปีนี้ เพื่อขยายการผลิต แต่ไม่ใช่ในจีน หากเป็นเวียดนาม ทุกวันนี้ บริษัทผลิตสินค้าด้วยกำลังการผลิตเพียง 80% เนื่องจากไม่มีจำนวนคนงานพอ
อย่างไรก็ตาม เงินเดือนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนที่นายจ้างต้องจ่ายให้กับลูกจ้างแดนมังกร สิ่งที่เป็นความแตกต่างระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเซีย คือ ค่าใช้จ่ายทางสังคม บางครั้งเรียกว่า สิทธิประโยชน์ภาคบังคับ ซึ่งประกอบไปด้วย เบี้ยประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาลและแผนเงินออมเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งหมดนี้มีสัดส่วนถึง 40-50% ของเงินเดือนที่นายจ้างต้องบวกเพิ่มเข้าไปในเงินเดือนของลูกจ้าง
ทั้งนี้ วัตสัน ไวแอตต์ บริษัทที่ปรึกษาด้านการจ้างงานชื่อดัง ระบุว่า ค่าตอบแทนที่มิใช่เงินเดือนของลูกจ้างในอินเดียเท่ากับ16% ของเงินเดือน ในมาเลเซียเท่ากับ12% และในอินโดนีเซียเท่ากับ10 - 15% ในออสเตรเลียเท่ากับ 20% "
เราต้องเน้นกับลูกค้าที่จะเข้าไปลงทุนในจีนเป็นครั้งแรกว่า จีนไม่ใช่ประเทศที่มีราคาถูกสำหรับการทำธุรกิจ" บ๊อบ ชาร์ล ที่ปรึกษาอาวุโสของวัตสัน ไวแอตต์ กล่าว
ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆเพิ่ม ลูกจ้างจำนวนมากที่มีความชำนาญเฉพาะทางยังสามารถเรียกร้องค่าตัวเพิ่มได้อีก
ในจุดนี้รายงานของทางการที่เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว ได้ตำหนิวัฒนธรรมการจ้างงาน ที่ไม่ฝึกฝนให้คนงานมีความชำนาญเพียงพอ เพราะนายจ้างรู้ดีว่าลูกจ้างมักไม่ทำงานกับบริษัทนานนัก
"นี่เป็นการใช้แรงงงาน โดยไม่พัฒนาความสามารถพวกเขา " รายงานที่ออกโดยกระทรวงแรงงานจีนระบุ
ทั้งนี้ ผลการสำรวจโดยธนาคารเพื่อการลงทุนยูบีเอส เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ระบุระยะเวลาโดยเฉลี่ยของคนงานทางใต้ของจีนต่อการทำงาน 1 แห่ง คือ 2.1 ปี
การช่วงชิงแรงงานที่ดุเดือดเช่นนี้ ทำให้นึกถึงวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่การขาดแคลนแรงงานนำไปสู่อัตราค่าแรงและอสังหาริมทรัพย์ที่แพงลิ่ว และจบลงด้วยภาวะฟองสบู่แตกของประเทศต่างๆในปี 1997
ชาร์ล แห่งวัตสัน ไวแอตต์ กล่าวว่า ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นในจีนคงจะไม่นำไปสู่การย้ายฐานการผลิตขนานใหญ่ไปยังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีจำนวนแรงงานน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม .ชาร์ล ยังไม่ได้กล่าวว่าถึงประเทศอินเดีย (ที่มีแรงงานราคาถูกจำนวนมาก)
เรียบเรียงจาก อินเตอร์เนชั่นเนล เฮอรัลด์ ทริบูน
25 เมษายน 2548 10:35 น.
จีน ' โรงงานของโลก' ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเรื่องค่าแรงที่ถูกแสนถูก สภาพการณ์เช่นนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปเพราะปัญหาขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงในปัจจุบัน ขณะเดียวกันนายจ้างต้องแบกรักภาระค่าใช้จ่ายทางสังคม ตลอดจนการเสนอสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อดึงลูกจ้าง และนักวิชาการต้องหันกลับมาตั้งคำถามกับสูตรการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลที่เคยนำพาเศรษฐกิจแดนมังกรให้เจริญรุ่งโรจน์ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ภายในออฟฟิศที่สว่างไสวด้วยไฟนีออน ผู้จัดการหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "เวลาเปลี่ยนไป ราคาก็เพิ่มขึ้น" ขณะที่คนงานที่มีฝีมือได้ฉวยโอกาสจากการภาวะขาดแคลนแรงงาน เรียกร้องค่าแรงเพิ่ม
ปัจจุบันนี้ แม้ว่าค่าแรงงานในจีนยังต่ำกว่ามาตรฐานในประเทศสหรัฐฯและยุโรป แต่คนงานในโรงงานรองเท้าผ้าใบที่ตั้งอยู่ทางใต้ของจีนกลับได้ค่าแรงมากกว่าคนงานในเวียดนามถึง 30%และมากกว่าในอินโดนีเซีย15% ขณะเดียวกันบริษัทใหญ่จำนวนหนึ่งกำลังย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนาม และบางส่วนมีแผนที่จะย้ายไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศ ที่ซึ่งมีค่าแรงที่ถูกกว่า แต่มีข้อเสียในด้านโลจิสติกส์ ที่ไม่สะดวกและแพงกว่า
สำหรับลูกค้าทั่วโลก นี่อาจเป็นสัญญาณของการสิ้นสุดวงจรภาวะเงินฝืดและสินค้าราคาถูกในจีน อย่างไรก็ตามปัญหาการขาดแคลนแรงงานอพยพทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้น 34% หรือราว 70 - 82 เหรียญสหรัฐฯต่อเดือน (ราว 2,800 3,280 บาท) ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ10 ปี
การขึ้นค่าแรงดังกล่าวเป็นผลให้ค่าแรงในพื้นที่ตอนใต้ของจีนปัจจุบันเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยและมากกว่าในบังคาลาเทศ 30-50 เหรียญสหรัฐ (ราว 1,200 2,000 บาท) สูงกว่าในเวียดนามและโคลัมเบีย 45 เหรียญสหรัฐ (ราว 1,800 บาท) และมากกว่าบางพื้นที่ในอินโดนีเซีย 35 เหรียญสหรัฐ (ราว 1,400 บาท)
"เมื่อห้าปีที่ผ่านมา เราไม่คิดว่าสิ่งนี้จะเป็นไปได้" เดวิท ไหล สมุห์บัญชีของคิงส์เมกเกอร์ ฟุตแวร์ โฮลดิ้ง กำลังพูดถึงค่าแรงที่ทะยานขึ้นมาก
คิงส์เมกเกอร์ ผู้ผลิตรองเท้าทิมเบอร์แลนด์และคาเทอร์พิลล่าร์ วางแผนที่จ้างคนงานราว 2,000 คนในเวียดนาม ทดแทนแรงงานที่ขาดแคลนในจีนขณะนี้ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบริษัทที่สามารถทำเช่นนี้ได้ ดังนั้นไหลทำนายว่าผลที่จะตามมาของค่าแรงที่เพิ่มขึ้นคือราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น เขากล่าวว่า จีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก แม้ว่าค่าแรงโดยรวมจะเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตก็มีทางเลือกอื่น นอกจากยอมรับมัน
อย่างไรก็ตาม บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกว่าราคาสินค้าที่ผลิตในจีนจะแพงขึ้น และภาคการส่งออกของแดนมังกรยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการลงทุนที่ไหลทะลักเข้าจีนในช่วงหลายปีนี้ ก็กำลังคุกคามแรงงานจีนอย่างรุนแรง
ขณะเดียวกัน ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลทั้งหลายต่างเห็นพ้องว่า วันเวลาที่คุณสามารถเปิดโรงงานสักแห่งใกล้กับฮ่องกง โดยมีแรงงานราคาถูกที่พร้อมจะเข้าทำงานทันทีนั้นหมดไปแล้ว โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ที่เขตอุตสาหกรรมทางตะวันออกเฉียงใต้ยังขาดแคลนแรงงานถึง 2 ล้านคน
ประเทศที่มีประชากรถึง 1,300 ล้านคนขาดแคลนแรงงานได้อย่างไร? ผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรศาสตร์ระบุว่า เพราะโรงงานส่วนใหญ่จะ เลือกคนงานที่มีคุณสมบัติเฉพาะ อาทิ อายุน้อย มีความคล่องตัวในการทำงาน และเต็มใจทำงานนานติดต่อกันวันละหลายชั่วโมง ตลอดจนทำงานไกลบ้านและครอบครัว ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ยังมีคนว่างงานเป็นจำนวนมากตามชนบทของจีน ทว่าคุณสมบัติของพวกเขาไม่ตรงความต้องการของนายจ้าง
ในบางพื้นที่เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และในเขตอุตสาหกรรรมต่างๆ การแข่งขันด้านค่าแรงนั้นดุเดือดมาก ค่าแรงขั้นสูงสุดของพนักงานในบางสายงานเริ่มใกล้เคียงกับในประเทศสหรัฐฯและยุโรป
หนังสือพิมพ์ของมณฑลกว่างตงฉบับหนึ่ง รายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า สำนักพิมพ์ฮู่ไฉ ไม่สามารถจ้างพนักงานซ่อมบำรุงรายหนึ่ง แม้ว่าจะเสนอค่าจ้างต่อปีสูงถึง 150,000 หยวน ( ราว 750,000 บาทหรือ 62,500 บาท/เดือน) แล้ว สนนราคาดังกล่าวถือว่าสูงกว่ามาตรฐานค่าแรงในจีนมาก และยังสูงกว่ารายได้ของอาจารย์ระดับดอกเตอร์
ภาวะการขาดแคลนแรงงานกำลังเป็นประเด็นร้อนของสื่อมังกร โดยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาบทความในหนังสือพิมพ์เวิร์กเกอร์ เดลี่ ระบุว่าปัญหาด้านโครงสร้างแรงงานของจีนอยู่ในขั้นวิกฤต ชี้ให้เห็นว่าปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลมังกรกำลังวิตกกังกลอยู่
"การรักษาความสามารถด้านการแข่งขันเป็นสิ่งที่จีนวิตกกังวลมากที่สุด' พี โอ มาร์ก รองประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ จี อี คอมซูเมอร์ ไฟแนนซ์ เอเชีย กล่าวพร้อมเสริมว่า "ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นกำลังกัดกินรายได้ให้ลดน้อยลง บริษัทขนาดเล็กจะอาจ เจ็บตัว ได้"
ความจริงแม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ก็รู้สึกถึงผลกระทบนี้ ผู้จัดการอาวุโสของอินเทล ผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลก ระบุว่า โรงานประกอบชิ้นส่วนของอินเทลในเซี่ยงไฮ้มีต้นทุนในการผลิตมากกว่าโรงงานในมาเลเซีย และขณะนี้บริษัทกำลังสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่ชานเมืองเฉิงตู ซึ่งอัตราค่าแรงถูกกว่า แต่โลจิสติกส์ ยุ่งยากกว่า
นอกจากนี้ บางบริษัทที่กลัวว่าจะสูญเสียคนงาน ก็พยายามปรับปรุงสวัสดิการของพนักงาน เอปสัน ยักษ์ใหญ่พริ้นเตอร์ เหมารถประจำทาง 58 คันขนคนงานจากโรงงานเอปสัน ในเมืองซูโจวกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดในช่วงเทศกาลตรุษจีน และรับกลับมาทำงานหลังจากเทศกาลวันหยุดยาวสิ้นสุดลง
"คนงานพอใจกับการบริการนี้มาก" วินเซนต์ เหลียง ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ กล่าว "อัตราความคงทนในการทำงานของคนงานเราเพิ่มขึ้น 8% "
นอกจาก หลังจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานราว 2 ล้านคน ในเขตอุตสาหกรรมด้านตะวันออกเฉียงใต้ที่ยึดเยื้อมานานถึง 9 เดือน ทำให้นักวิชาการจีนเริ่มตั้งคำถามกับสูตรความสำเร็จของเขตอุสาหกรรมที่เคยอันนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่เศรษฐกิจจีน
นักเศรษฐศาสตร์เริ่มถกเถียงกันว่าโชนส่งออกดังกล่าว ซึ่งคนงานต้องเดินทางหลายพันกิโลเมตรเพื่อมาทำงาน จะเป็นระบบที่ยั่งยืนหรือไม่ ทั้งที่ในอดีตเคยเป็นเขตที่นักลงทุนใฝ่ฝัน เพราะตั้งเกาะกลุ่มกันตามชายฝั่งทะเล ล้อมรอบด้วยซัพพลายเออร์ นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้กับท่าเรือ และคอนเทนเนอร์ที่จะขนส่งสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ
แต่ขณะเดียวกัน คนงานต้องใช้เวลาเดินทางยาวนานถึง 30 ชั่วโมงโดยรถบัสหรือรถไฟมายังโรงงาน หรือพักอาศัยในที่พักที่บริษัทจัดหาให้
ทุกวันนี้ ผู้จัดการโรงงานหลายแห่งทางตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นว่าในไม่ช้านี้ โรงานต่างๆจะย้ายไปตั้งใกล้กับที่อยู่อาศัยของคนงาน แน่นอนว่าการทำเช่นนั้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
" ไม่ช้าก็เร็ว เราคงต้องย้าย " แซมสัน ชาง ประธานสมาพันธ์ของเล่นฮ่องกง สมาคมบริษัทผลิตของเล่นที่มีโรงงานในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของจีน "แต่ทุกครั้งที่คุณพูดถึงการย้าย มันหมายถึงการจ่ายเงินจำนวนมาก"
บรรดาผู้จัดการต่างกล่าวว่ามันเป็นไปตามหลักความจริงที่ค่าแรงจะเพิ่มขึ้นตราบใดที่ยังมีปัญหาขาดแคลนอยู่ ปัจจุบันค่าแรงเฉลี่ยของคนงานในโรงงานผลิตรองเท้าผ้าใบตกราวเดือนละ 100 เหรียญสหรัฐ (ราว 4,000 บาท ) ในบางโรงงานที่แรงงานมีความหนาแน่นหลายหมื่นคน อัตราการจ้างงานก็ยิ่งแพงขึ้น
ดรีม อินเตอเนชั่นเนล ผู้ผลิตตุ๊กตารายใหญ่ของโลก ระบุว่า บริษัทจะจ้างคนงาน 6,000 คนในปีนี้ เพื่อขยายการผลิต แต่ไม่ใช่ในจีน หากเป็นเวียดนาม ทุกวันนี้ บริษัทผลิตสินค้าด้วยกำลังการผลิตเพียง 80% เนื่องจากไม่มีจำนวนคนงานพอ
อย่างไรก็ตาม เงินเดือนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนที่นายจ้างต้องจ่ายให้กับลูกจ้างแดนมังกร สิ่งที่เป็นความแตกต่างระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเซีย คือ ค่าใช้จ่ายทางสังคม บางครั้งเรียกว่า สิทธิประโยชน์ภาคบังคับ ซึ่งประกอบไปด้วย เบี้ยประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาลและแผนเงินออมเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งหมดนี้มีสัดส่วนถึง 40-50% ของเงินเดือนที่นายจ้างต้องบวกเพิ่มเข้าไปในเงินเดือนของลูกจ้าง
ทั้งนี้ วัตสัน ไวแอตต์ บริษัทที่ปรึกษาด้านการจ้างงานชื่อดัง ระบุว่า ค่าตอบแทนที่มิใช่เงินเดือนของลูกจ้างในอินเดียเท่ากับ16% ของเงินเดือน ในมาเลเซียเท่ากับ12% และในอินโดนีเซียเท่ากับ10 - 15% ในออสเตรเลียเท่ากับ 20% "
เราต้องเน้นกับลูกค้าที่จะเข้าไปลงทุนในจีนเป็นครั้งแรกว่า จีนไม่ใช่ประเทศที่มีราคาถูกสำหรับการทำธุรกิจ" บ๊อบ ชาร์ล ที่ปรึกษาอาวุโสของวัตสัน ไวแอตต์ กล่าว
ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆเพิ่ม ลูกจ้างจำนวนมากที่มีความชำนาญเฉพาะทางยังสามารถเรียกร้องค่าตัวเพิ่มได้อีก
ในจุดนี้รายงานของทางการที่เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว ได้ตำหนิวัฒนธรรมการจ้างงาน ที่ไม่ฝึกฝนให้คนงานมีความชำนาญเพียงพอ เพราะนายจ้างรู้ดีว่าลูกจ้างมักไม่ทำงานกับบริษัทนานนัก
"นี่เป็นการใช้แรงงงาน โดยไม่พัฒนาความสามารถพวกเขา " รายงานที่ออกโดยกระทรวงแรงงานจีนระบุ
ทั้งนี้ ผลการสำรวจโดยธนาคารเพื่อการลงทุนยูบีเอส เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ระบุระยะเวลาโดยเฉลี่ยของคนงานทางใต้ของจีนต่อการทำงาน 1 แห่ง คือ 2.1 ปี
การช่วงชิงแรงงานที่ดุเดือดเช่นนี้ ทำให้นึกถึงวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่การขาดแคลนแรงงานนำไปสู่อัตราค่าแรงและอสังหาริมทรัพย์ที่แพงลิ่ว และจบลงด้วยภาวะฟองสบู่แตกของประเทศต่างๆในปี 1997
ชาร์ล แห่งวัตสัน ไวแอตต์ กล่าวว่า ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นในจีนคงจะไม่นำไปสู่การย้ายฐานการผลิตขนานใหญ่ไปยังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีจำนวนแรงงานน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม .ชาร์ล ยังไม่ได้กล่าวว่าถึงประเทศอินเดีย (ที่มีแรงงานราคาถูกจำนวนมาก)
เรียบเรียงจาก อินเตอร์เนชั่นเนล เฮอรัลด์ ทริบูน