ความรู้ช้า
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 11, 2005 1:20 pm
ความรู้ช้า
ม้าเฉียว 11/02/2005
ทุกวันนี้นักลงทุนกำลังอยู่ในยุคแห่งความรู้เร็ว (Fast knowledge) ซึ่งได้รับการขับเคลื่อนโดยการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างฉับพลัน และการถือกำเนิดขึ้นมาของ global economy ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กันทั้งโลก ความต้องการข้อมูลข่าวสารให้มากที่สุดและรวดเร็ว อาจทำให้นักลงทุนอย่างเราๆท่านๆขาดการกลั่นกรองความรู้ที่เหมาะสม และเกิดเสียงอันแหบห้าวที่ไม่ประสานกันของข้อมูลใหม่ๆที่รับมา และยากที่จะหยั่งถึงผลร้ายจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว จนอาจเกิดปัญหาต่างๆตามมา จนเราไม่อาจจับต้นชนปลายได้ถูก ผลที่สุดก็คือ เรากำลังเล่นไล่จับให้ทัน แต่เราก็กำลังถูกทิ้งให้ไกลออกไปและไกลออกไปเบื้องหลังมากขึ้นทุกทีๆ
แต่ยังมีความรู้อีกประเภทหนึ่งที่ถูกรับเอามาอย่างช้าๆ ขอเรียกความรู้ที่กล่าวมานี้ว่า "ความรู้ช้า" (Slow Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้ก่อรูปหรือได้รับการตรวจตรามาเป็นอย่างดี ความรู้ช้ามิได้มีนัยะบ่งถึงความเซื่องซึมสลบไสล แต่เป็นเรื่องของความละเอียดถี่ถ้วน และความอดทน เป้าหมายของความรู้ช้า คือความยืดหยุ่นในการนำไปใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกลมกลืนกับสถานการณ์ และสามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
ความรู้แบบช้านี้เป็นความรู้ที่บ่มเพาะ สั่งสมในตัวเราเอง มันจะทำงานโดยการทดสอบ ลองผิดลองถูกอย่างช้าๆ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปทีละเล็กทีละน้อยเพื่อรับกับการท้าทายใหม่ๆ และไม่ได้เกิดขึ้นจากการวางเดิมพันมันทั้งหมดลงไปกับการทอดลูกเต๋าออกมาเพียงครั้งเดียว ไม่เหมือนกันกับความรู้เร็ว (Fast Knowledge) ซึ่งอาจจะฟักตัวขึ้นในมหาวิทยาลัย หรือก่อกำเนิดขึ้นมาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์ ที่คอยให้คำแนะนำ และเป็นคลังทางความคิด (Think-Tanks) ที่อาจจะเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นอันไร้ประโยชน์ หรือด้วยความละโมภ หรือความทะยานอยาก นอกจากนี้ความรู้ที่มากจนเกินไป มักจะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการดูดซับ หรือย่อยมัน ก่อให้เกิดความยากเย็นในการนำมาใช้ประโยชน์ และยากขึ้นไปอีก ถ้าเผื่อว่ามันก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา ผลลัพธ์ของการนำเอาความรู้เร็วไปใช้ประโยชน์ โดยไม่มีการความห่วงกังวลใดๆหรือไม่มีการตั้งคำถามเลย ก็เหมือนดั่งที่ นักบัญชีทุกๆคนทราบดีว่า มีความแตกต่างกันระหว่างรายได้ทั้งหมด กับ รายได้สุทธิ นั่นคือ ท้ายที่สุดแล้วต้นทุนของความรู้เร็วมันจะต้องถูกหักออก หลังจากนั้นก็จะเห็นรายได้สุทธิที่ได้รับมากับความรู้ ซึ่งจริงๆแล้ว มันน้อยกว่าที่เราเชื่ออย่างน่าใจหายเลยทีเดียว และที่เลวร้ายที่สุดอาจจะเป็นความรู้ที่เต็มไปด้วยอวิชชาก็เป็นได้
โลกของนักลงทุนถูกทำให้ร้าวรานด้วยความกลัว ความโลภ และการมองไปข้างหน้าแต่เพียงสั้นๆเท่านั้น ถ้าหากว่าไม่มีการบำบัดรักษาปัญญาญานให้ดีพอ เราก็จะไม่มีหนทางที่จะสร้างความสมดุลย์ที่ดีขึ้น ระหว่าง"ความต้องการที่แท้จริง" และ "ความรู้" ขึ้นมาได้
ความรู้ช้าไม่ใช่ความเชื่องช้าแต่อย่างใด มันเป็นความรู้ที่ได้มา และถูกนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วเท่าที่เราสามารถจะเข้าใจมันได้ นำเสนอมันออกมาได้อย่างมั่นใจ และใช้ได้ดี แทนที่จะเพิ่มความเร็วในการพูดจา หรือรับข่าวสารของพวกเรา เรากลับต้องเรียนรู้เพื่อที่จะฟังอย่างตั้งใจ และใส่ใจมากขึ้น แทนที่จะเพิ่มปริมาณการสื่อสาร ข่าวสาร ข้อมูลของพวกเรา เรากลับควรที่จะปรับปรุงเนื้อหาของมันมากกว่า
ม้าเฉียว 11/02/2005
ทุกวันนี้นักลงทุนกำลังอยู่ในยุคแห่งความรู้เร็ว (Fast knowledge) ซึ่งได้รับการขับเคลื่อนโดยการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างฉับพลัน และการถือกำเนิดขึ้นมาของ global economy ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กันทั้งโลก ความต้องการข้อมูลข่าวสารให้มากที่สุดและรวดเร็ว อาจทำให้นักลงทุนอย่างเราๆท่านๆขาดการกลั่นกรองความรู้ที่เหมาะสม และเกิดเสียงอันแหบห้าวที่ไม่ประสานกันของข้อมูลใหม่ๆที่รับมา และยากที่จะหยั่งถึงผลร้ายจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว จนอาจเกิดปัญหาต่างๆตามมา จนเราไม่อาจจับต้นชนปลายได้ถูก ผลที่สุดก็คือ เรากำลังเล่นไล่จับให้ทัน แต่เราก็กำลังถูกทิ้งให้ไกลออกไปและไกลออกไปเบื้องหลังมากขึ้นทุกทีๆ
แต่ยังมีความรู้อีกประเภทหนึ่งที่ถูกรับเอามาอย่างช้าๆ ขอเรียกความรู้ที่กล่าวมานี้ว่า "ความรู้ช้า" (Slow Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้ก่อรูปหรือได้รับการตรวจตรามาเป็นอย่างดี ความรู้ช้ามิได้มีนัยะบ่งถึงความเซื่องซึมสลบไสล แต่เป็นเรื่องของความละเอียดถี่ถ้วน และความอดทน เป้าหมายของความรู้ช้า คือความยืดหยุ่นในการนำไปใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกลมกลืนกับสถานการณ์ และสามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
ความรู้แบบช้านี้เป็นความรู้ที่บ่มเพาะ สั่งสมในตัวเราเอง มันจะทำงานโดยการทดสอบ ลองผิดลองถูกอย่างช้าๆ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปทีละเล็กทีละน้อยเพื่อรับกับการท้าทายใหม่ๆ และไม่ได้เกิดขึ้นจากการวางเดิมพันมันทั้งหมดลงไปกับการทอดลูกเต๋าออกมาเพียงครั้งเดียว ไม่เหมือนกันกับความรู้เร็ว (Fast Knowledge) ซึ่งอาจจะฟักตัวขึ้นในมหาวิทยาลัย หรือก่อกำเนิดขึ้นมาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์ ที่คอยให้คำแนะนำ และเป็นคลังทางความคิด (Think-Tanks) ที่อาจจะเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นอันไร้ประโยชน์ หรือด้วยความละโมภ หรือความทะยานอยาก นอกจากนี้ความรู้ที่มากจนเกินไป มักจะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการดูดซับ หรือย่อยมัน ก่อให้เกิดความยากเย็นในการนำมาใช้ประโยชน์ และยากขึ้นไปอีก ถ้าเผื่อว่ามันก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา ผลลัพธ์ของการนำเอาความรู้เร็วไปใช้ประโยชน์ โดยไม่มีการความห่วงกังวลใดๆหรือไม่มีการตั้งคำถามเลย ก็เหมือนดั่งที่ นักบัญชีทุกๆคนทราบดีว่า มีความแตกต่างกันระหว่างรายได้ทั้งหมด กับ รายได้สุทธิ นั่นคือ ท้ายที่สุดแล้วต้นทุนของความรู้เร็วมันจะต้องถูกหักออก หลังจากนั้นก็จะเห็นรายได้สุทธิที่ได้รับมากับความรู้ ซึ่งจริงๆแล้ว มันน้อยกว่าที่เราเชื่ออย่างน่าใจหายเลยทีเดียว และที่เลวร้ายที่สุดอาจจะเป็นความรู้ที่เต็มไปด้วยอวิชชาก็เป็นได้
โลกของนักลงทุนถูกทำให้ร้าวรานด้วยความกลัว ความโลภ และการมองไปข้างหน้าแต่เพียงสั้นๆเท่านั้น ถ้าหากว่าไม่มีการบำบัดรักษาปัญญาญานให้ดีพอ เราก็จะไม่มีหนทางที่จะสร้างความสมดุลย์ที่ดีขึ้น ระหว่าง"ความต้องการที่แท้จริง" และ "ความรู้" ขึ้นมาได้
ความรู้ช้าไม่ใช่ความเชื่องช้าแต่อย่างใด มันเป็นความรู้ที่ได้มา และถูกนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วเท่าที่เราสามารถจะเข้าใจมันได้ นำเสนอมันออกมาได้อย่างมั่นใจ และใช้ได้ดี แทนที่จะเพิ่มความเร็วในการพูดจา หรือรับข่าวสารของพวกเรา เรากลับต้องเรียนรู้เพื่อที่จะฟังอย่างตั้งใจ และใส่ใจมากขึ้น แทนที่จะเพิ่มปริมาณการสื่อสาร ข่าวสาร ข้อมูลของพวกเรา เรากลับควรที่จะปรับปรุงเนื้อหาของมันมากกว่า