ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 10, 2005 9:30 am
ผัดวันประกันพรุ่ง
ม้าเฉียว 10/02/05
ผมได้อ่านบทความของ อนุวัฒน์ ชลไพศาล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ลงในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3661 (2861) ซึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) อันเห็นได้ทั่วไปของมนุษย์ เช่น เรามักวางแผนว่าในอนาคต (พรุ่งนี้ เดือนหน้า ปีหน้า หรือชาติหน้า) เราจะออมเงินให้มากขึ้น, ออกกำลังกายลดความอ้วน, ตั้งใจอ่านหนังสือ หรือบอกความในใจกับคนที่เราแอบชอบ ฯลฯ แต่เมื่ออนาคตมาถึงเรากลับไม่ปฏิบัติตามแผนที่เคยวางไว้และผัดผ่อนแผนที่เราเคยวางนั้นไปในอนาคตอีกครั้ง ทั้งๆที่เราต่างรู้ดีว่าพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งทำให้เสียประโยชน์
คุณอนุวัฒน์ ได้อ้างอิงถึงคำอธิบายของนักเศรษฐศาสตร์ 2 คน คือ Ted O"Donoghue แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล และ Matthew Rabin แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งพยายามวิจัยเพื่อตอบคำถามว่า เหตุใดคนจึงผัดวันประกันพรุ่ง
นักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 2 คน อธิบายพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งว่ามีองค์ประกอบ 2 อย่าง คือ 1.ความพึงพอใจกับปัจจุบัน (present-biased preference) และ 2.ความไม่สอดคล้องของกาละ (time inconsistency) เช่น หากมีเศรษฐียกมรดกให้ 100 ล้านบาท เราอยากจะได้มรดกในวันนี้, ปีหน้า หรือ 10 ปีข้างหน้า (ลองตอบคำถามนี้ดู) นั่นคือ เรามักจะให้น้ำหนักหรือคุณค่ากับสิ่งที่จะบริโภคในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน โดยของสิ่งเดียวกันหากได้บริโภคในปัจจุบันจะมีคุณค่ามากกว่าได้บริโภคในอนาคต (present bias) และยิ่งได้บริโภคล่าช้าเพียงใดคุณค่าจากการบริโภคจะยิ่งน้อยลง
ผมเห็นว่าเรื่องดังกล่าวสามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมการลงทุนได้เช่นกัน เช่น เราอาจจะมีการวางแผนการลงทุนที่ดีที่สุดตลอดทุกช่วงเวลา เช่น เมื่อวางแผนการลงทุนโดยเลือกลงทุนหุ้น 3-5 ตัวที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว จะถือเพื่อรับเงินปันผลไปตลอดจนกว่าพื้นฐานของหุ้นจะเปลี่ยน แต่เมื่อเวลาผ่านไป (ปัจจุบันเป็นอนาคตของอดีตและอดีตของอนาคต) หุ้นมีราคาเพิ่มขึ้นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ คนที่ยึดมั่น (commit) ที่จะปฏิบัติตามแผนที่ดีที่สุดต้องยินดีที่จะถือหุ้นนั้นต่อไป แต่เราอาจจะไม่สามารถยึดมั่นกับแผนดังกล่าว และแสดงพฤติกรรมโดยการขายหุ้นออกมา เพราะให้คุณค่ากับปัจจุบันมากกว่าอนาคต (กำไรอยู่ในมือเห็นๆแล้ว ปล่อยไปอาจจะหดหายก็ได้ ขายเอากำไรก่อนซะดีกว่า) เมื่อขายหุ้นเสร็จแล้วก็จะเริ่มวางแผนการลงทุนใหม่อีกครั้ง เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ พฤติกรรมดังกล่าวมีผลทำให้ แผนการลงทุนที่ดีที่สุดในอดีต (ex-ante optimum plan) เป็นคนละชุดกับแผนที่ดีที่สุดในปัจจุบัน (ex-post optimum plan) ซึ่งพฤติกรรมนี้อธิบายจากเหตุผลเรื่องความไม่สอดคล้องของกาละ และด้วยความพึงพอใจกับปัจจุบัน เราจึงผัดผ่อนแผนที่ดีที่สุดไปในอนาคตอีกครั้ง และผัดผ่อนไปไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่ว่านักลงทุนที่อ่อนต่อโลก (naive) ที่ไม่ตระหนักถึงปัญหาการควบคุมตนเอง หรือนักลงทุนที่จัดเจนโลก (sophisticated) ที่ตระหนักถึงปัญหาการควบคุมตนเอง ก็ยังสามารถเลือกพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งได้เหมือนๆกัน ไม่ว่าในกรณีของการวางแผนการลงทุนดังที่ยกตัวอย่างข้างต้น หรือพฤติกรรมการซื้อขายหุ้น เช่น วิเคราะห์ดีแล้วว่าหุ้นตัวนั้นตัวนี้ดี แต่ก็ไม่กล้าซื้อซักที คอยผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ซื้อซักที เพราะกลัวมันไม่ขึ้น หรือคิดว่าอีกนานกว่ามันจะขึ้น จนกระทั่งหุ้นตัวนั้นขึ้นมากแล้ว โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวหรือยังลังเลที่จะซื้อ เพราะกลัวว่าราคามันจะลง จนพลาดโอกาสในการลงทุนดีๆไปในที่สุด หรือเมื่อลงทุนไปอาจจะไม่ใช่การลงทุนที่ดีอีกแล้วก็ได้ เพราะซื้อในราคาที่มีส่วนลดไม่มาก หรือในกรณีที่มีปัจจัยเข้ามากระทบกิจการที่เราลงทุน จนพื้นฐานเปลี่ยนแปลง และราคาหุ้นก็เริ่มตกลงมาเรื่อยๆ เราก็จะผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมขายซักที เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นแค่ผลกระทบระยะสั้น หรือคิดว่าน่าจะมีการรีบาวร์ แต่รอแล้วรอเล่าก็ไม่มีรีบาวร์ซักที จนขาดทุนเป็นอันมาก
ม้าเฉียว 10/02/05
ผมได้อ่านบทความของ อนุวัฒน์ ชลไพศาล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ลงในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3661 (2861) ซึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) อันเห็นได้ทั่วไปของมนุษย์ เช่น เรามักวางแผนว่าในอนาคต (พรุ่งนี้ เดือนหน้า ปีหน้า หรือชาติหน้า) เราจะออมเงินให้มากขึ้น, ออกกำลังกายลดความอ้วน, ตั้งใจอ่านหนังสือ หรือบอกความในใจกับคนที่เราแอบชอบ ฯลฯ แต่เมื่ออนาคตมาถึงเรากลับไม่ปฏิบัติตามแผนที่เคยวางไว้และผัดผ่อนแผนที่เราเคยวางนั้นไปในอนาคตอีกครั้ง ทั้งๆที่เราต่างรู้ดีว่าพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งทำให้เสียประโยชน์
คุณอนุวัฒน์ ได้อ้างอิงถึงคำอธิบายของนักเศรษฐศาสตร์ 2 คน คือ Ted O"Donoghue แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล และ Matthew Rabin แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งพยายามวิจัยเพื่อตอบคำถามว่า เหตุใดคนจึงผัดวันประกันพรุ่ง
นักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 2 คน อธิบายพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งว่ามีองค์ประกอบ 2 อย่าง คือ 1.ความพึงพอใจกับปัจจุบัน (present-biased preference) และ 2.ความไม่สอดคล้องของกาละ (time inconsistency) เช่น หากมีเศรษฐียกมรดกให้ 100 ล้านบาท เราอยากจะได้มรดกในวันนี้, ปีหน้า หรือ 10 ปีข้างหน้า (ลองตอบคำถามนี้ดู) นั่นคือ เรามักจะให้น้ำหนักหรือคุณค่ากับสิ่งที่จะบริโภคในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน โดยของสิ่งเดียวกันหากได้บริโภคในปัจจุบันจะมีคุณค่ามากกว่าได้บริโภคในอนาคต (present bias) และยิ่งได้บริโภคล่าช้าเพียงใดคุณค่าจากการบริโภคจะยิ่งน้อยลง
ผมเห็นว่าเรื่องดังกล่าวสามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมการลงทุนได้เช่นกัน เช่น เราอาจจะมีการวางแผนการลงทุนที่ดีที่สุดตลอดทุกช่วงเวลา เช่น เมื่อวางแผนการลงทุนโดยเลือกลงทุนหุ้น 3-5 ตัวที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว จะถือเพื่อรับเงินปันผลไปตลอดจนกว่าพื้นฐานของหุ้นจะเปลี่ยน แต่เมื่อเวลาผ่านไป (ปัจจุบันเป็นอนาคตของอดีตและอดีตของอนาคต) หุ้นมีราคาเพิ่มขึ้นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ คนที่ยึดมั่น (commit) ที่จะปฏิบัติตามแผนที่ดีที่สุดต้องยินดีที่จะถือหุ้นนั้นต่อไป แต่เราอาจจะไม่สามารถยึดมั่นกับแผนดังกล่าว และแสดงพฤติกรรมโดยการขายหุ้นออกมา เพราะให้คุณค่ากับปัจจุบันมากกว่าอนาคต (กำไรอยู่ในมือเห็นๆแล้ว ปล่อยไปอาจจะหดหายก็ได้ ขายเอากำไรก่อนซะดีกว่า) เมื่อขายหุ้นเสร็จแล้วก็จะเริ่มวางแผนการลงทุนใหม่อีกครั้ง เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ พฤติกรรมดังกล่าวมีผลทำให้ แผนการลงทุนที่ดีที่สุดในอดีต (ex-ante optimum plan) เป็นคนละชุดกับแผนที่ดีที่สุดในปัจจุบัน (ex-post optimum plan) ซึ่งพฤติกรรมนี้อธิบายจากเหตุผลเรื่องความไม่สอดคล้องของกาละ และด้วยความพึงพอใจกับปัจจุบัน เราจึงผัดผ่อนแผนที่ดีที่สุดไปในอนาคตอีกครั้ง และผัดผ่อนไปไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่ว่านักลงทุนที่อ่อนต่อโลก (naive) ที่ไม่ตระหนักถึงปัญหาการควบคุมตนเอง หรือนักลงทุนที่จัดเจนโลก (sophisticated) ที่ตระหนักถึงปัญหาการควบคุมตนเอง ก็ยังสามารถเลือกพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งได้เหมือนๆกัน ไม่ว่าในกรณีของการวางแผนการลงทุนดังที่ยกตัวอย่างข้างต้น หรือพฤติกรรมการซื้อขายหุ้น เช่น วิเคราะห์ดีแล้วว่าหุ้นตัวนั้นตัวนี้ดี แต่ก็ไม่กล้าซื้อซักที คอยผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ซื้อซักที เพราะกลัวมันไม่ขึ้น หรือคิดว่าอีกนานกว่ามันจะขึ้น จนกระทั่งหุ้นตัวนั้นขึ้นมากแล้ว โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวหรือยังลังเลที่จะซื้อ เพราะกลัวว่าราคามันจะลง จนพลาดโอกาสในการลงทุนดีๆไปในที่สุด หรือเมื่อลงทุนไปอาจจะไม่ใช่การลงทุนที่ดีอีกแล้วก็ได้ เพราะซื้อในราคาที่มีส่วนลดไม่มาก หรือในกรณีที่มีปัจจัยเข้ามากระทบกิจการที่เราลงทุน จนพื้นฐานเปลี่ยนแปลง และราคาหุ้นก็เริ่มตกลงมาเรื่อยๆ เราก็จะผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมขายซักที เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นแค่ผลกระทบระยะสั้น หรือคิดว่าน่าจะมีการรีบาวร์ แต่รอแล้วรอเล่าก็ไม่มีรีบาวร์ซักที จนขาดทุนเป็นอันมาก