หน้า 1 จากทั้งหมด 1

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 9:51 pm
โดย LOSO
55

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 9:54 pm
โดย LOSO
CNS คาด TICON จะทําการเสนอขายหน่วยลงทุนของ Property fund ได้ภายใน Q2/48 :
TICON property fund ซึ่งอยู่ระหว่างการลงทะเบียนและพิจารณาอนุมัติจาก ก.ล.ต. คาดว่าจะทํา
การเสนอขายหน่วยลงทุนมูลค่าประมาณ 1,800 ล้านบาทได้เสร็จสิ้นภายใน Q2/48 และจะเริ่ม
ดําเนินการโอนซื้อโรงงานอุตสาหกรรม 39 แห่ง จาก TICON คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 1,150 ล้าน
บาทที่ TICON จะได้รับภายหลังการเข้าไปถือหน่วยลงทุนในสัดส่วนประมาณ 33% ซึ่ง CNS
ประเมินว่า TICON จะสามารถนําเงินที่ได้ไปสร้างโรงงานเพิ่มได้อีกประมาณ 40 แห่ง

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 9:55 pm
โดย LOSO
อัตราการเติบโตของ TICON จะเป็นไปอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไป : การ
จัดตั้ง Property fund เป็นการปฏิวัติโครงสร้างทางธุรกิจของ TICON จาก Business Model ที่สร้าง
โรงงานแล้วให้เช่าและขายเมื่อลูกค้าใช้สิทธิ์ซื้อตามสัญญาเช่าหรือในโอกาสที่เหมาะสม มาเป็น
แบบใหม่ที่สร้างและหาผู้มาเช่าและแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน (Securitization) และนําทุนมาใช้
สร้างโรงงานเพิ่ม ซึ่งทําให้อัตราการขยายตัวของ TICON เป็นไปได้อย่ารวดเร็วกว่าเดิมมาก โดย
CNS ประเมิน TICON จะสามารถสร้างโรงงานใหม่ได้ปีละ 70-80 แห่ง จากกระแสเงินสดจากการ
ดําเนินงานโดยไม่ต้องระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหากมีการออก Property fund ทุกๆ ปี

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 9:56 pm
โดย LOSO
CNS ประเมินมูลค่า TICON ด้วยวิธี Discounted Cash Flow (DCF) ราคาที่เหมาะสมเท่ากับ
19.55 บาท : CNS ประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของ TICON โดยวิธี Distcounted Cash flow โดย
ประเมินจากกระแสเงินสดของ TICON และตั้งสมมติฐานว่า TICON จะสามารถจัดตั้ง Property fund
ได้ปีละ 1 กองทุนต่อเนื่องไปนับไปจนถึงปี2551 และภายหลังปี 2554 มีการเติบโตในอัตราที่
ปราศจาก Abnormal return ซึ่งใช้ Growth to perpetuity 3% ซึ่งมูลค่าที่เหมาะสมของ TICON เท่า
กับ 19.55 บาท

CNS ให้คําแนะนําซื้อสําหรับ TICON : เนื่องจากราคาปัจจุบันของ TICON ต่ากว่าราคาที่เหมาะสม
มาก CNS จึงให้คําแนะนํา BUY โดยมี Upside Potential 105%

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 9:57 pm
โดย LOSO
Ticon Industrial Connection
Today
Focus
Sector
Property (Industrial)
Sector Rating
Bullish
TICON
Target Price Bt19.55
Market Price Bt 9.50
Stock Rating
Current BUY
Previous N/A
Published date
8 February 2005
Key data
Shares in Issue (mn) 463.19
Market Capitalization (Btmn) 3,844.44
12-mth High/Low (Bt) 9.95/5.7
3-mth Avg.Daily T/O (Btmn) 15.29
Foreign Limit/Actual 49/14.8%
Free Float 45.04%
NVDR 6.64%
Dividend Policy > =40%
Par Value (Bt) 1.00
Analyst (s)
Tarisa Chaisuntornyotin
Analyst Registration No. 17835
Eakarat Apiwattanaporn
662-285-0060 Ext. 3509
[email protected]

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 9:58 pm
โดย LOSO
Year
Dec. 31
NP
(Btmn)
EPS
(Bt)
EPS Growth
(%)
PER
(X)
P/BV
(X)
EBITDA
(Btmn)
EBITDA Growth
(%)
EV/EBITDA
(X)
DPS
(Bt)
Yield
(%)
2545 112 0.33 -3.8% 28.7 3.3 265 6.7% 16.6 0.20 2.11%
2546 208 0.51 55.3% 18.5 3.4 390 47.2% 14.2 0.40 4.21%
2547F 294 0.62 20.8% 15.3 2.8 529 35.6% 12.7 0.40 4.21%
2548F 785 1.51 142.1% 6.3 2.1 1,244 135.4% 5.4 0.52 5.43%
2549F 919 1.70 13.2% 5.6 1.7 1,495 20.1% 4.7 0.67 7.10%
Consolidated Financial Summary

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 10:01 pm
โดย LOSO
มูลค่าที่เหมาะสม 19.55 บาท ประเมิน ด้วยวิธี DCF โดยใช้ WACC ที่ 9.24%

CNS ประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของ TICON โดยวิธี Distcounted Cash flow โดยใช้ Valuation Horizon 7 ปี
และใช้สมมติฐานว่า TICON จะสามารถจัดตั้ง Property fund ได้ปีละ 1 กองทุน ต่อเนื่องติดต่อกันไปตลอดถึงปี
2551 ทําให้บริษัทมีกระแสเงินสดเข้ามาอย่างต่อเนื่องจากการโอนโรงงานจํานวนปีละ 30-40 แห่ง เข้ามาใน
Property fund CNS กําหนดอัตราส่วนลดเฉลี่ยน้าหนัก (Weighted average cost of capital หรือ WACC) ที่
ระดับ 9.24% และ Growth to perpetuity 3% จะพบว่ามูลค่าที่เหมาะสมของ TICON เท่ากับ 19.55 บาท/
หุ้น คิดเป็น P/E 13 เท่า และ P/BV (adjusted) 2.6 เท่า
Figure 2: DCF Valuation assumptions
Source : CNS
Rm 20.0%
WACC 9.2%
Growth to perpetuity 3.0%
PV of FCF (Value of core operation) 12,989,506
Short term investment 71,192
Long term investment 0
Short term debt (482,276)
Long term debt (1,350,000)
Other capital claim (220,694)
Common equity value 11,007,728
Common share (fully diluted) 563,129
Value of common stock (Bt/Share) 19.55
Cash & S-T Investments 12,404
Current Assets 357,054
Fixed Assets 6,582,265
Total Assets 6,939,320
Short-term Loan and Overdrafts 482,276
Current Portion of Debt 276,401
Current Liabilities 1,541,527
LT Debt 1,073,599
Total Liabilities 3,073,019
Paid-up Capital 513,131
Retained Earnings 581,946
Unrealized holding gain 2,110,217
Total Equity 3,866,301
BV per share 7.53

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 10:02 pm
โดย LOSO
TICON INDUSTRIAL CONNECTION Capital Nomura Securities
February 8, 2005 3
Company Overview
TICON เป็นผู้นําในธุรกิจให้บริการโรงงานอุตสาหกรรมสําเร็จรูป
TICON Industrial Connection ประกอบธุรกิจหลักเป็นผู้ก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมมาตรฐานให้เช่าในนิคม
อุตสาหกรรมหลายแห่งซึ่งตั้งอยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานภายใต้
การบริหารกว่า 160 แห่ง และมีโรงงานที่อยู่ภายใต้การก่อสร้างอีกกว่า 60 แห่ง และยังให้บริการก่อสร้างดัด
แปลงอาคารและจัดหาสาธารณูปโภคตามความต้องการของลูกค้าบนแนวคิดของการเป็นสะพานเชื่อมต่อ
ระหว่างผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ ความต้องการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีรูปแบบมาตรฐานสร้างเสร็จ เป็น
รูปแบบของธุรกิจ (Business model) ที่แตกต่างจาก Property Devoloper อย่างเช่น AMATA และ HEMRAJ ที่
เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แล้วแบ่งขาย ภายหลังการกําเนิดของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (Property fund
หรือ REIT) ในประเทศไทยทําให้สินทรัพย์ส่วนใหญ่ของ TICON ที่เป็นโรงงานมีสภาพคล่องมากขึ้นซึ่งนับได้ว่า
เป็นจุดแข็งของ TICON
Figure 3 : Ticons portfolio of factories by location (updated 09/30/04)
Source : TICON

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 10:03 pm
โดย LOSO
Core-competencies อยู่ที่การให้บริการ อย่างครบวงจรด้วยประสพการณ์ใน ธุรกิจที่ยาวนาน

จุดแข็งที่สําคัญที่ทําให้TICON เป็นผู้นําในธุรกิจสร้างโรงงานให้เช่าคือการที่มีการบริการครบวงจร (Turnkey)
เพื่ออํานวยความสะดวกชาวต่างชาติซึ่งเป็นลูกค้าเกือบทั้งหมดของ TICON ตั้งแต่สร้างโรงงานตามข้อกําหนด
ของลูกค้าจนถึงการบริการอื่นๆ ให้กับลูกค้าในการช่วยประสานงานและในการติดต่อกับหน่วยงานราชการใน
การขออนุญาตต่างๆซึงสอดคล้องกับความต้องการของผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนให้โรงงานขนาดใหญ่ซึ่งโดยส่วนใหญ่
มีขนาดเล็กถึงกลางของต่างชาติที่ยังไม่มีความคุ้นเคยกับการลงทุนในประเทศไทยและนอกจากนี้ ด้วยขนาดที่
ใหญ่ทําให้มี Economies of scale และการมีทีมงานก่อสร้างเป็นของตัวเองทําให้ความสามารถในการควบคุม
ต้นทุนที่ดีมาก และมีความคล่องตัวสูง ทําให้ TICON สามารถขยายจํานวนโรงงานได้ในอัตราที่รวดเร็วในเวลา
ที่ความต้องการเช่าโรงงานอุตสาหกรรมสูง

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 10:03 pm
โดย LOSO
โครงสร้างของธุรกิจและรายได้จะ เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการจัดตั้ง Property fund
ก่อนการจัดตั้ง Property fund รายได้หลักของ TICON ในสัดส่วนประมาณ 65-85% ของรายได้รวม มาจาก
ค่าเช่าโรงงาน นอกจากนี้ TICON ยังมีรายได้เสริมประมาณ 10-15% จากการให้บริการดัดแปลงอาคารโรง
งานและการจัดหาสาธารณูปโภค รวมทั้งยังมีรายได้จากการขายโรงงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขายให้ผู้เช่าที่ใช้
สิทธิตามสัญญา (Purchase option) ซึ่งเป็นรายได้ส่วนที่มีความไม่แน่นอนและไม่สามารถนํามาคิดเป็นรายได้
ที่จะเกิดขึ้นซ้าๆ ในอนาคตได้
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการจัดตั้ง TICON Property fund กองที่ 1 จะทําให้โครงสร้างรายได้ของ TICON เปลี่ยน
ไป โดยสัดส่วนของรายได้จากการขายจะเพิ่มขึ้นเป็น 50 - 60% หากใน 1 ปีมีการโอนโรงงาน 30 - 40
แห่ง เข้ามายัง Property fund ในขณะที่สัดส่วนของรายได้จากค่าเช่าจะลดลงเป็น 40 - 50% อย่างไรก็ดีราย
ได้ในส่วนดังกล่าวยังคงสามารถเติบโตได้เนื่องจาก TICON สร้างโรงงานใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดย CNS คาด
การณ์ว่าเม็ดเงินที่ TICON จะได้มาจากการขายโรงงาน 2 แห่ง เพียงพอสําหรับการสร้างโรงงานใหม่ได้ 3 แห่ง
นอกจากนี้ TICON จะมีรายได้ใหม่ประมาณ 2 - 3% ของรายได้รวมในรูปของ Management fee จากการรับ
จ้างบริหารกองทุน รวมทั้งยังมีเงินปันผลรับจาก Property fund อีกด้วย

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 10:04 pm
โดย LOSO
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือผู้ประกอบการขนาด SME จากต่างประเทศ
ลูกค.าของ TICON ส่วนใหญ่ คือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนให้ผู้ผลิตขนาดใหญ่จัดอยู่ในอุตสาหกรรมสนับสนุน
(Supporting industries) และมีขนาดเล็กกว่าผู้ผลิตในอุตสาหกรรมหลัก ผู้ประกอบการกลุ่มนี้นิยมการเช่าโรง
งาน ทั้งนี้สัดส่วนประมาณ 50% จะเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า รองลง
มาเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 14% ซึ่งลูกค้าประมาณ 50% เป็นสัญชาติญี่ปุ่น และ
อีกประมาณ 15% มาจากประเทศในแถบยุโรป
Figure 4 : Locations of Ticons factories
Bangpoo Ladkrabang
BANGPAIN
HI - TECH ROJANA
AMATA
NAKORN
LAEM
CHABANG
AMATA
CITY
LEASED 21 22 12 37 28 10 3 0
PRE-LEASED 0 0 5 1 1 1 1 0
AVAILABLE 0 1 0 4 2 4 1 0
UNDER CONSTRUCTION 0 9 12 6 0 6 2 1
TOTAL 21 32 29 48 31 21 7 1
AYUDHAYA EASTERN SEABOARD

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 10:05 pm
โดย LOSO
TICON INDUSTRIAL CONNECTION Capital Nomura Securities
February 8, 2005 4

Growth Prospects
ปี2548 เป็นปีทองของกลุ่มพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และการเติบโตยังคง มีแนวโน้มที่สดใสต่อเนื่องไปอีก 3-4 ปี
CNS ประเมินการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม (Industrial Estate) ไว้ในระดับสูงเนื่อง
จากอัตราการใช้กําลังการผลิต (Industrial Capacity Utilization) ที่ตึงตัว โดยรูปที่ 5 แสดงให้เห็นถึงอัตราการ
ใช้กําลังการผลิตโดยรวมที่ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับต่าสุดที่ 52.3% ในปี 2541 และปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
มาอยู่ที่ระดับ 72.7% ในปี 2547 โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ที่มีอัตราการใช้กําลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 84.4%
ในปี 2547 ทําให้ผู้ประกอบการเหล่นี้ต้องเร่งเพิ่มกําลังการผลิตอย่างเห็นได้ชัดในช่วง Q4/47 จนถึงต้นปี 2548
Figure 5 : Industrial capacity utilization from 1997 Figure 6 : Industrial capacity utilization from January 2004
Source: Bank of Thailand Source: Bank of Thailand

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 10:06 pm
โดย LOSO
เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพสูงที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาค จึงสามารถดึงดูดการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ
(Foreign Direct Investment หรือ FDI) โดยการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่รวมถึงการสร้างสนาม
บินสุวรรณภูมิ ทําให้ประเทศไทยมีความน่าสนใจในการลงทุนเพิ่มขึ้น หากพิจารณาจาก รูปที่ 7 ซึ่งแสดงให้
เห็นถึงการเติบโตของการลงทุนในประเทศไทย โดยในปี 2547 มีจํานวนผู้จดทะเบียนเพื่อขอสิทธิพิเศษใน
การส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ถึง 1,286 ราย คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 656,095 ล้านบาท ซึ่งในจํานวนนี้มี
749 รายที่เป็นการลงทุนของต่างชาติ (FDI) ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 307,008 ล้านบาท และเป็นมูลค่าที่เติบ
โตขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 2545 ซึ่งมีจํานวนผู้จดทะเบียน 844 ราย มูลค่าการลงทุน 264,746 ล้านบาท
และมีการลงทุนของต่างชาติ (FDI) จํานวน 502 คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 178,620 ล้านบาท จากปัจจัยดัง
กล่าว CNS คาดว่าปี2548 จะเป็นปีที่สดใสของกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมซึ่งจะรับประโยชน.โดยตรงจากการ
ขยายกําลังการผลิตของผู้ประกอบการเดิมรวมทั้งการเข้ามาลงทุนเพิ่มของต่างชาติต่อเนื่องไปจนถึงปี 2551
ซึ่งคิดเป็นรอบระยะเวลา 3-4 ปี
Figure 6 : Total investment from 2002 to 2004 Figure 7 : Foreign investment from 2002 to 2004
Source: Board of Investment of Thailand (BOI) Source: Board of Investment of Thailand (BOI)

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 10:07 pm
โดย LOSO
การทํา Securitization โดยการจัดตั้ง Property fund จะช่วยเร่งอัตราการเติบ
โต และทําให้แนวโน้.มผลการดําเนินงานของ TICON ดีขึ้นมาก
อุปสงค์ของโรงงานที่มีอยู่เกินระดับเกินอุปทานทําให้CNS ยังมองไม่เห็นจุดอิ่มตัวของการขยายตัวของธุรกิจ
ก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมให้เช่า อย่างไรก็ดี CNS คาดว่าการขยายจํานวนโรงงานจะทําได้ในอัตราที่ช้า
หากบริษัทไม่พิ่มทุนหรือกู้ยืมเพิ่มเนื่องจากกระแสเงินสดที่ได้จากค่าเช่าโรงงานไม่สูงมาก ดังจะเห็นจากการ
เติบโตของ TICON หลังจากมีการระดมทุนผ่าน IPO ทําให้บริษัทสามารถเพิ่มจํานวนโรงงานได้อย่างรวดเร็ว
จากเม็ดเงินที่ได้จากการเพิ่มทุน อย่างไรก็ดีการเพิ่มทุนทําให้เกิด Dilution ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ หากเป็น
การกู้ยืมเพิ่มที่ก็จะทําให้ Financial leverage และ Financial cost สูงขึ้นเป็นผลให้บริษัทมีความเสี่ยงสูงขึ้นและ
ยังจะเป็นอัตราส่วนลดที่ใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นสูงขึ้นด้วย CNS ประเมินว่าแนวคิดของการจัดตั้งกองทุน
รวมอสังหาริมทรัพย. (Property fund) ซึ่งเป็นการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน (Securitization) จึงเป็นแนวทาง
การระดมทุนที่เหมาะสมสําหรับ TICON ที่มีสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้และกระแสเงินสดที่คาดการณ์ได้และมี
ความแน่นอนสูง
TICON property fund จะมี บลจ. ING เป็นผู้บริหารกองทุน โดยช่วงเริ่มต้นจะซื้อโรงงาน 39 แห่ง จาก TICON
ที่ราคาประเมิน โดยคาดว่าจะได้รับการอนุมัติการจัดตั้งกองทุนจาก ก.ล.ต. และเสนอขายหน่วยลงทุนมูลค่า
ประมาณ 1,800 ล้านบาท ทั้งนี้ภายใน Q1/48 คาดว่ากองทุนดังกล่าวจะมี TICON ถือหุ้นในสัดส่วน
ประมาณ 33% และ TICON จะรับหน้าที่เป็น Property manager รับผิดชอบการดําเนินงานและการบริหารสิน
ทรัพย์ดังเช่นก่อนการขายโรงงานเข้ากองทุน ทําให้ TICON จะมีรายได้เป็นเงินปันผลจากกองทุนและค่าธรรม
เนียมในการบริหารสินทรัพย์ นอกจากนี้ TICON ยังมีโครงการที่จะสร้างงานให้เสร็จอีกประมาณ 90 แห่ง ในปี
2548 ซึ่งอยู่ในบริเวณที่มีความต้องการสูงอยู่แล้ว
ผลประโยชน์จากการทํา Securitization นอกจากจะช่วยให้ TICON มีเม็ดเงินเข้ามาอย่างรวดเร็วเพื่อใช้ในการ
ก่อสร้างโรงงานใหม่แล้วยังเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของรายได้ของ TICON อย่างมาก โดย CNS คาดว่าราย
ได้จากการขายโรงงานจะกลายเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นอย่างซ้าๆ ในอนาคต ดังนั้นอัตราการเติบโตของ TICON จะ
เป็นไปแบบก้าวกระโดดหาก Property fund กองแรกประสพความสําเร็จและสามารถออกกองทุนถัดมาได้ทุกปี
ซึ่ง CNS มองความเป็นไปได้สูงเนื่องจากข้อดีหลายๆ อย่างของกองทุนซึ่งทําให้เกิดสภาวะ Win-Win situation
สําหรับทั้ง TICON และ นักลงทุน โดยกฎหมายของประเทศไทยเอื้อผลประโยชน์ทางด้านภาษีหลายๆอย่าง ได้
แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับกําไรที่เกิดขึ้นจากสินทรัพย์ของกองทุน ซึ่งรวมไปถึงรายได้จากค่าเช่า
และ Capital gain อีกทั้งยังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในส่วนราชการอีกหลายๆรายการ ดังนั้นนักลงทุนจึง
ได้รับเงินปันผลด้วยอัตราผลตอบแทน Dividend yield ที่สูงถึง 6 - 8% คิดจากอัตราการจ่ายเงินปันผลที่
90% ของกําไรสุทธิ ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนของ Corporate bonds นอกจากนี้ยังมีความสําเร็จของกองทุน
ลักษณะเดียวกันให้เห็นได้ในประเทศเพื่อนบ้านอย.างเช่น สิงค์โปร ซึ่ งเพิ่ งเริ่มพัฒนากองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์มาเพียง 3 ปี แต่ปัจจุบันมีมูลค่าของกองทุนเพิ่มขึ้นมาเป็นกว่า 100,000 ล้านบาท ดังนั้น
CNS จึงเชื่อว่าจะสามารถใช้ Property fund เป็นเครื่องมือในการระดมทุนได้เมื่อต้องการ

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 10:08 pm
โดย LOSO
Earnings Performance and Forecast
9M/47 มีกําไรสุทธิ 236 ล.านบาท
เพิ่มขึ้น 42% y-y
รายได้รวมของ TICON ในช่วงปี 2545 2547 เติบโตเฉลี่ยถึง 40% จากจํานวนโรงงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวด
เร็วหลัง IPO ในขณะที่กําไรสุทธิของ TICON เติบโตถึง 44% ต่อปี ส่วนผลการดําเนินงานงวด 9M/47 TICON
มีรายได้รวม 691 ล้านบาท เติบโตถึง 44% และมีอัตรากําไรขั้นต้นที่สูงถึง 60.9% กําไรขั้นต้น 412 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้น 37% y-y และมี EBITDA 399 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% y-y ส่งผลให้กําไรสุทธิ 9M/47 เพิ่มขึ้น
เป็น 236 ล้านบาท จาก 166 ล้านบาทในงวดเดียวกันของปี 2546 ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตที่ 42% y-y
คาดว่ากําไรสุทธิปี 2547 เป็น 290 ล้านบาท และ 785 ล้านบาท ในปี 2548
CNS ประมาณกําไรสุทธิของ TICON ในปี2547 เท่ากับ 294 ล้านบาท คิดเป็น EPS 0.62 บาท เติบโต
41% y-y ซึ่งเป็นผลจากรายได้ค่าเช่าโรงงานที่เพิ่มขึ้น 21% y-y จากการเพิ่มขึ้นจํานวนโรงงานที่ถูกเช่าแล้ว
เป็น 140 โรงงาน ณ สิ้นปี 2547 เพิ่มขึ้นจาก 100 โรงงานในช่วงต้นปี
สําหรับในปี 2548 CNS ประเมินว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของศักยภาพในการทํากําไรของ TICON โดยจะมีสัดส่วน
ของรายได้จากการขายโรงงานที่เพิ่มขึ้น ทําให้บริษัทสามารถรับรู้รายได้จากการโอนโรงงานจํานวน 39 แห่ง
มูลค่า 1,170 ล้านบาท เข้ามาใน Property fund ที่ TICON จะถือครองในสัดส่วน 33% โดยโรงงานส่วนนี้จะ
ให้กําไรขั้นต้นจากการขายโรงานประมาณ 570 ล้านบาท ทําให้มีรายได้รวมของ TICON ในปี 2548 เพิ่มเป็น
2,065 ล้านบาท ส่งผลให้กําไรสุทธิเติบโต 167% y-y เป็น 785 ล้านบาท EPS 1.51 บาท และคาดว่าจะ
เพิ่มขึ้นเป็น 919 ล้านบาท EPS 1.70 ในปี 2549

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 10:09 pm
โดย LOSO
TICON INDUSTRIAL CONNECTION Capital Nomura Securities
February 8, 2005 6
Profit & Loss (Btmn) Profit & Loss (Btmn)
FY Ended December 2002 2003 2004E 2005E 2006E FY Ended December 2002 2003 2004E 2005E 2006E
Sales 381 617 879 2,017 2,452 PER SHARE DATA (Bt.)
Costs of Sales (117) (224) (338) (834) (1,006) EPS 0.33 0.51 0.62 1.51 1.70
Gross profit 264 393 541 1,183 1,446 DPS 0.20 0.40 0.40 0.52 0.67
Depreciation & amort'n (60) (73) (97) (124) (160) BV 2.86 2.78 3.42 4.49 5.53
EBITDA 265 390 529 1,244 1,495 EV 11.75 12.86 13.05 12.74 12.77
SG&A (68) (84) (109) (110) (161) MULTIPLE
EBIT 204 317 432 1,121 1,335 PE 28.7 18.5 15.3 6.3 5.6
Interest Expense (46) (40) (40) (73) (110) P/BV 3.3 3.4 2.8 2.1 1.7
Other income (Expense) 8 8 0 48 50 EV/EBITDA 16.6 14.2 12.7 5.4 4.7
Pre-tax profit (loss) 159 277 392 1,047 1,225 Dividend Yield (%) 2.1% 4.2% 4.2% 5.4% 7.1%
Corporate Tax (47) (70) (98) (262) (306) PERCENTAGE GROWTH (%)
After-tax Profit 112 208 294 785 919 Sales Growth 15.2% 62.0% 42.4% 129.4% 21.6%
Forex Gain (Loss) 0 0 0 0 0 EBITDA Growth 6.7% 47.2% 35.6% 135.4% 20.1%
Gn (Ls) from Affiliates 0 0 0 0 0 Normalized Profit Growth 8.2% 85.6% 41.5% 167.4% 16.9%
Minority interest 0 0 0 0 0 Net Profit Growth 8.2% 85.6% 41.5% 167.4% 16.9%
Net profit 112 208 294 785 919 EPS Growth -3.8% 55.3% 20.8% 142.1% 13.2%
PROFITABILITY RATIO
Norm. net profit 112 208 294 785 919 Gross Margin 69.3% 63.7% 61.5% 58.6% 59.0%
Reported EPS 0.23 0.45 0.52 1.51 1.70 EBITDA Margin 69.5% 63.1% 60.1% 61.7% 61.0%
EBIT Margin 53.7% 51.4% 49.1% 55.6% 54.4%
ROE 10.4% 17.3% 16.7% 33.0% 30.3%
Balance Sheet (Btmn) ROA 7.2% 8.1% 8.0% 17.3% 17.6%
FY Ended December 2002 2003 2004E 2005E 2006E ROCE 10.7% 12.0% 12.1% 27.3% 27.7%
Cash & ST Investments 45 36 12 116 39 ASSET UTILIZATION
Current Assets 133 157 179 326 310 Fixed Asset Turnover 0.2 0.2 0.2 0.4 0.4
Fixed Assets 2,048 2,902 4,007 4,647 5,527 Receivable Turnover 20.5 19.8 20.6 37.3 35.1
Total Assets 2,181 3,059 4,186 4,973 5,838 Inventory Turnover N/A N/A N/A N/A N/A
ST Loan and Overdraft 268 456 482 482 482 Payable Turnover 2.2 1.4 1.1 2.1 2.0
Current Portion of Debt 132 251 276 241 142 LIQUIDITY RATIO (X)
Current Liabilities 487 918 1,136 1,201 1,240 Current Ratio 0.3 0.2 0.2 0.3 0.3
LT Debt 488 778 1,074 1,109 1,208 Quick Ratio 0.2 0.1 0.1 0.2 0.2
Total Liabilities 1,109 1,857 2,430 2,589 2,809 LEVERAGE RATIO (X)
Paid-up Capital 375 432 513 530 548 Liability/Equity 1.0 1.5 1.4 1.1 0.9
Retained Earnings 442 493 582 1,152 1,738 Interest-bearing Debt/Equity 0.8 1.2 1.0 0.8 0.6
Minority interests 0 0 0 0 0 Interest Coverage 4.5 8.0 10.8 15.3 12.1
Total Equity 1,072 1,202 1,755 2,384 3,029 Debt Servicing Ratio 0.6 0.5 0.7 1.6 2.0
Cash Flow Statement
FY Ended December 2002 2003 2004E 2005E 2006E
Net Profit 112 208 294 785 919
Foreign Exchange - - - - -
Depreciation & Amortization 60 73 97 124 160
Changes in WC & Others 44 37 195 128 177
Net Operating Cash Flow 216 317 585 1,037 1,255
Net Capital Expenditure (513) (847) (1,200) (757) (1,033)
Free Cash Flow (251) (490) (574) 353 332
Other Items (56) 0 (16) (19) (26)
Dividends Paid - (156) (205) (216) (332)
Equity Issued 312 80 465 59 59
(Inc)/dec in net debt 6 (566) (331) 177 33
Net cash/(debt) beginning (804) (798) (1,364) (1,695) (1,518)
(Inc)/dec in cash 6 (566) (331) 177 33
Net cash/(debt) ending (798) (1,364) (1,695) (1,518) (1,485)

88

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 08, 2005 10:10 pm
โดย LOSO
เอกสารฉบับนี้จัดทําขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จํากัด (มหาชน) ("บริษัท") ข้อ
มูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้จัดทําโดยอาศัยข้อมูลที่จัดหามาจากแหล่งที่เชื่อหรือควร
เชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือ และ/หรือถูกต้อง อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ยืนยัน และไม่รับรอง
ถึงความครบถ้วนสมบูรณ์หรือถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว และไม่ได้ประกันราคาหรือผล
ตอบแทนของหลักทรัพย.ที่ปรากฏข้างต้น แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะปรากฏข้อความที่อาจ
เป็นหรืออาจตีความว่าเป็นเช่นนั้นได้ บริษัท จึงไม่รับผิดชอบต่อการนําเอาข้อมูล ข้อ
ความ ความเห็น และหรือบทสรุปที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไปใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ บริษัท
รวมทั้งบริษัทที่เกี่ยวข้อง ลูกค้า ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทต่างๆ อาจจะทําการลง
ทุนใน หรือซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ได้ทุกเวลา ข้อมูลและความ
เห็นที่ปรากฏอยู่ในเอกสารฉบับนี้ มิได้ประสงค์จะชี้ชวน เสนอแนะ หรือจูงใจให้ลงทุนใน
หรือซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ และข้อมูลอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม
เปลี่ยนแปลงโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ผู้ลงทุนควรใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบใน
การลงทุนในหรือซื้อหรือขายหลักทรัพย์
การลงทุนในหรือซื้อหรือขายหลักทรัพย์ย่อมมีความเสี่ยง ท่านควรทําความเข้าใจอย่างถ่องแท้
ลักษณะของหลักทรัพย์แต่ละประเภท และควรศึกษาข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และ
ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องก่อนการตัดสินใจลงทุนในหรือซื้อหรือขายหลักทรัพย์

88

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 09, 2005 12:54 am
โดย Mon money
ทำไมเพิ่งออกบทวิเคราะห์