หน้า 1 จากทั้งหมด 1

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 18, 2004 7:56 pm
โดย someOne
พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการหามูลค่าหุ้นโดยใช้ DCF บ้างครับ อยากหามาศึกษา เพราะอ่านๆ แล้วก็งงๆ ครับ เลยอยากจะเรียนรู้จากตัวอย่างเอา :wink:

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 18, 2004 8:13 pm
โดย offshore-engineer
ลองอ่านบทความ "Businessmanlike Investor" ดูนะครับ ตามURL ดังนี้

http://www.thaivalueinvestor.com/investorguide4.html

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 18, 2004 11:38 pm
โดย someOne
ได้อ่านบทความแล้วครับแต่มีคำถามครับ

1. discount factor
2. discounted value per annum
3. value at end of year 10
4. Present value of residual
5. Intrinsic value of company

คำเหล่านี้คืออะไรครับ แล้วตัวเลขของคำเหล่านี้หามาจากไหนครับ :?:

แล้ว Intrinsic value per share เค้าจะคำนวณออกมาทำไมหละครับ ในเมื่อไม่ได้ใช้ :?:

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 19, 2004 12:11 pm
โดย ForrestGump
someOne เขียน:ได้อ่านบทความแล้วครับแต่มีคำถามครับ

1. discount factor
2. discounted value per annum
3. value at end of year 10
4. Present value of residual
5. Intrinsic value of company

คำเหล่านี้คืออะไรครับ แล้วตัวเลขของคำเหล่านี้หามาจากไหนครับ :?:

แล้ว Intrinsic value per share เค้าจะคำนวณออกมาทำไมหละครับ ในเมื่อไม่ได้ใช้ :?:
ผมเคยถามคุณฉัตรชัยแล้ว คุณฉัตรชัยบอกว่าให้ไปเรียนเป็นเรื่องเป็นราวดีกว่าเข้าใจผิด หรือไปหาหนังสือมาอ่านจริงๆ จังๆ ดีกว่าครับ

แล้วไอ้ที่ว่า Intrinsic value per share เค้าจะคำนวณออกมาทำไมหละครับ ในเมื่อไม่ได้ใช้ เนี่ย ทำไมคุณถามแปลกจัง เป้าหมายของคุณก็คือ หามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นโดยวิธี DCF ไม่ใช่เหรอครับ

ถ้าคุณหาได้ 150 บาท/หุ้น แล้วราคาหุ้นตอนนั้น 100 บาท คุณก็คิดว่าปลอดภัยอยากซื้อ แบบนั้นไม่ใช่เหรอครับ ผมคงเข้าใจไรไม่ผิดนะครับ

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 19, 2004 2:22 pm
โดย someOne
ผมว่าคุณ ForrestGump คงเข้าใจไม่ผิดหรอกครับ แต่ก็คงเข้าใจไม่ถูกในสิ่งที่ผมต้องการจะสื่อ

ในบทความเค้าคำนวณหาตัวเลขออกมาสองตัวครับ
ตัวแรกคือ Sum of present value of owner-earnings ซึ่งเป็นตัวที่ผู้เขียนนำมาใช้ในการพิจารณาในการซื้อหุ้น

ตัวที่สองคือ Intrinsic Value per share ซึ่งเป็นตัวที่ผู้เขียนไม่ได้นำมาใช้แต่อย่างใด

ผมจังอยากรู้ครับว่า เค้าคำนวณมาเพื่ออะไร

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 19, 2004 8:28 pm
โดย offshore-engineer
ตามคำนิยามของ John Burr William, Intrinsic value ของบริษัทคือ Future Cashflow ที่บริษัทสามารถทำได้ในอนาคตทั้งหมด และทำการ discount ให้มาอยู่ในค่าปัจจุบัน (Net Present Value)

คำถามคือ อนาคตของคุณคือกี่ปี นั่นคือธุรกิจนั้นจะยังคงสร้าง Cashflow ให้ในอัตราการเติบโตที่คุณสมมติได้อีกกี่ปี

ในบทความ Sum of present value of Owner's Earning คือผลรวมของ Discounted Cashflow จากปี่ที่ 1 ถึง ปีที่ 10

หลังจากปี่ที่ 10 ไปแล้ว ผู้เขียนสมมติว่าบริษัทดังกล่าวได้ถึงจุดอิ่มตัว ทำให้อัตราการเติบโตช้าลงตามอัตราการเติบโตเฉลี่ยของอุตสาหกรรมหรือของประเทศ (GDP) นอกจากนี้ผู้เขียนยังสมมติต่อไปว่า บริษัทจะยังคงอยู่ต่อไป forever ค่าดังกล่าวในตำราบางเล่มเรียกว่า perpetuity value

เมื่อนำค่าที่ประเมินได้จากปีที่ 1 ถึง 10 บวกกับ perpetuity value ก็จะได้ค่า Intrinsic Value ของบริษัท

การประเมินค่าต่างๆ เช่นอัตราการเติบโตไปในอนาคตไกลๆ เป็นสิ่งที่มีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ตัวผู้เขียนลดความเสี่ยงโดยเลือกใช้ค่า sum of present value ที่ 10ปี ไม่ใช่ตลอดกาลครับ

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 19, 2004 8:40 pm
โดย offshore-engineer
ขอตอบคำถามคุณ someone นะครับ

1. discount rate คือ อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่คุณต้องการบอกด้วยค่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าหลักทรัพย์ที่แทบไม่มีความเสี่ยงเช่น พันธบัตรรัฐบาล ในปัจจุบัน ดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตรรัฐบาลอยู่ที่ประมาณ 6% หากบวกค่าความเสียงอีกประมาณ 2-5% ก็จะได้ discount rate ที่ 8-11%

ค่า discount factor = 1/(1+i)^n โดยที่ i คือ ค่าdiscount rate ส่วน n คือ ปีที่ต้องการจะคำนวณ ค่า discount factor ยกตัวอย่าง ในบทความ i=6% หากต้องการคำนวณค่า discount factor ในปี่ที่ 2 ค่า discount factor = 1/(1+0.06)^2 = 0.89

2. Discounted value per annum คือ ค่า present value ของ future free cash flow ซึ่งคำนวณได้จาก future free cashflow ในปีนั้นๆ คูณกับ discount factor

3. Value at end of year 10 คือ ค่าผลรวมของ future cash flow ในอนาคตตั้งแต่ ปีที่ 11 จนถึง infinity ซึ่ง discount มาอยู่ที่ปีที่ 10

4. เมื่อคุณคูณค่า discount factor ของปีที่ 10 กับค่าในข้อ 3 ก็จะได้ค่า present value of residual (perpetuity)

5. Intrinsic Value ก็ตามที่ได้อธิบายไปข้างต้นครับ

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 19, 2004 9:01 pm
โดย offshore-engineer
การจะประเมิืนค่า DCF ได้จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับตัวธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นอยู่ดีพอสมควร จึงจะประมาณค่าต่างๆได้อย่างใกล้เคียง นอกจากนี้ ควรจะต้องใช้หลักการ margin of safety ด้วย ค่าดังกล่าวอาจมีค่าประมาณ 20-60% (ตามที่ morning star แนะนำไว้ บริษัทที่มีความเสี่ยงมาก ก็ต้องมีค่าmargin of safety ที่สูง)

นอกจาก DCF แล้ว เรายังต้องใช้ metric อื่นๆในการประเมินหุ้นด้วย

ในหนังสือ Value investing from Graham to Buffett and beyond เขาดูว่า สินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่นั้นมีค่าเท่าไหร่ และดูว่า ถ้า่บริษัทคู่แข่งจะต้องสร้างสินทรัพย์ดังกล่าวเพื่อมาแข่งกับบริษัทดั้งเดิม (เช่น ค่าใช้จ่ายในงานวิจัยหรือการพัฒนา) บริษัทใหม่จะต้องใช้เงินลงทุนเท่าไรในการสร้่างสินทรัพย์นั้นขึ้นมา

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 19, 2004 10:07 pm
โดย someOne
ขอบคุณคุณ offshore-engineer มากครับ รู้สึกว่ากระจ่างขึ้นมาก
เช่น พันธบัตรรัฐบาล ในปัจจุบัน ดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตรรัฐบาลอยู่ที่ประมาณ 6% หากบวกค่าความเสียงอีกประมาณ 2-5% ก็จะได้ discount rate ที่ 8-11%
ยังมีคำถามเล็กน้อยถามคุณ offshore-engineer ครับ ค่าความเสี่ยงที่ได้ยกตัวอย่างมาว่า บวกค่าความเสี่ยงอีกประมาณ 2 - 5% นี่ หมายถึงค่าความเสี่ยงจากทางด้านไหนครับ หรือเป็นเพียงแค่ส่วนเผื่อของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 20, 2004 9:41 pm
โดย offshore-engineer
เป็นความเสี่ยงที่คุณอาจจะไม่ได้ผลตอบแทนตามที่คุณคาดหมายไว้ ง่ายๆคือความเสี่ยงซึ่งรวมปัจจัยทุกปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท จะเรียกว่าส่วนเผื่อก็ได้

ที่ Morning Star บริษัทที่จัดว่าดี เขาใช้ discount rate ที่ 9.5% เพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบ เมื่อคุณต้องการหา discount rate ของบริษัทต่างๆ ก็นำมาเปรียบเทียบดูกับบริษัทที่เป็น benchmark ว่าเสี่ยงมากกว่าหรือเสี่ยงน้อยกว่า ถ้าเสี่ยงมาก ค่า discount rate ก็ต้องสูงขึ้น

นี่เป็นวิธีการอย่างง่ายครับ

สำหรับผู้ที่เรียนทางด้าน Financial Analysis มา จะมีสูตรที่ค่อนข้างซับซ้อนเอาไว้ใช้คำนวณ discount rate ครับ ถ้าหากสนใจ คงต้องหาหนังสือมาอ่านครับ แต่ความรู้สึกผม ผมคิดว่าไม่ค่อยจำเป็นสักเท่าไรด้วยเหตุผลที่ว่า ในสูตรได้มีการโยงความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงกับราคาหุ้นซึ่งผมคิดว่าไม่ค่อย make sense สักเท่าไหร่

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 21, 2004 9:25 am
โดย Mon money
อยากจะออกความเห็นเสียหน่อยครับ ตอนที่บทความนี้ออกมาหุ้นIRCราคายังไม่ได้ขึ้นมาเลย ทางผู้เขียนคำนวณแล้วคิดว่าราคาที่คำนวณได้มันไม่น่าจะเป็นไปอย่างที่คำนวณ จึงตัด Terminal Valueออกด้วยเหตุผลว่าสบายใจในมูลค่าของPVก่อนค่าTVมากกว่า

ส่วนเราๆกันเองนั้น การคำนวณ IV แล้วควรดูให้ดีว่ามีตัวแปรอะไรที่ไม่แน่นอนและจะกระทบแรงๆ ให้คำนวนความอ่อนไหวเอาไว้ และวิเคราะห์เชิงคุณภาพเอาไว้ให้ดีๆ เพื่อลดความเสี่ยงครับ

พี่ๆ คนไหนพอจะมีตัวอย่างการคำนวณ DCF

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 21, 2004 10:31 am
โดย someOne
ขอขอบคุณทั้งพี่ offshore-engineer และพี่มนมากครับ

แต่พี่มนครับ ผมได้อ่านเรื่องการคิดคำนวณมูลค่าหุ้นของพี่แล้วยังงงๆ เรื่องของการคำนวณโดยใช้ ROE อยู่เลยหละครับ :oops: