อ่านกันหรือยัง ดร. นิเวศน์ ลงทุนอย่างมีความสุข
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 31, 2003 7:22 pm
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ลงทุนอย่างมีความสุข
ความผันผวนของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นรุนแรงมากโดยเฉพาะในช่วงเวลาสั้น ๆ สิ่งนี้ก่อให้เกิดกำไรหรือผลตอบแทนได้อย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับความเสียหายมากมายให้กับคนที่เข้ามาเล่นหุ้นในตลาดแบบเก็งกำไร
ความสุขแบบเพ้อฝันและความโศกเศร้าเสียใจดูเหมือนว่าจะเป็นวัฏจักรที่ไม่จบสิ้นในตลาดหลักทรัพย์ ชีวิตของคนเล่นหุ้นจำนวนมากผูกพันอยู่กับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ นั่นก็คือเมื่อดัชนีปรับตัวขึ้นชีวิตเขาก็มีความสุข เมื่อดัชนีปรับตัวลงชีวิตเขาก็เป็นทุกข์
ความหวาดกลัวต่อการสูญเสียทำให้นักเล่นหุ้นมีความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาตราบที่ยังมีหุ้นอยู่ในมือ การแก้ปัญหาสำหรับหลายคนก็คือการถือหุ้นให้สั้นลง โดยเฉพาะในช่วงที่หุ้นผันผวนสูงนั้นคนจำนวนมากไม่ยอมถือหุ้นข้ามวันด้วยซ้ำ นั่นเป็นเหตุที่ทำให้การซื้อขายแบบหักกลบลบหนี้ภายในวันเดียวกันหรือเรียกว่า Net Settlement หรือการซื้อหุ้นตอนเช้าแล้วขายตอนบ่ายมีมากถึง 20 30% ของการซื้อขายหุ้นทั้งตลาด
คนเล่นหุ้นจำนวนมากคงเห็นว่านั่นคือความสุขของการเล่นหุ้น คือเมื่อลงเงินแล้วก็อยากเห็นผลเร็วว่าได้หรือเสีย และคำว่าได้หรือเสียก็คือต้องเห็นเม็ดเงินในบัญชีว่ามีเพิ่มขึ้นหรือลดลง แน่นอน ถ้าเม็ดเงินเพิ่มขึ้นความสุขก็ตามมา แต่ถ้าเม็ดเงินลดลง ความสุขจากการเล่นหุ้นก็กลายเป็นความทุกข์
โดยเฉลี่ยแล้วคนที่เล่นหุ้นเก็งกำไรระยะสั้นซื้อ ๆ ขาย ๆ เป็นนิจสินในช่วงเกือบ 30 ปีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดมานั้นผมคิดว่านอกจากจะไม่ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว ยังขาดทุนด้วย เพราะในช่วง 28 ปีของตลาดหลักทรัพย์นั้น การลงทุนให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 6 7% เท่านั้น ในขณะที่คนเล่นหุ้นระยะสั้นต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายปีหนึ่ง ๆ ผมคิดว่ามากกว่านั้น เพราะฉะนั้นข้อสรุปของผมก็คือ คนเล่นหุ้นในช่วงที่ผ่านมาเกือบ 30 ปี โดยเฉลี่ยแล้วมีความทุกข์มากกว่าความสุข และนั่นทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อยากจะลงทุนในหุ้น
วิธีการลงทุนในหุ้นที่จะมีความสุขมากกว่าความทุกข์โดยเฉพาะสำหรับคนทั่ว ๆ ไปที่มีเงินออมระยะยาวนั้น ผมมีความเห็นว่าควรจะเป็นการลงทุนในแนว Value Investment ที่เน้นการลงทุนระยะยาวในหุ้นที่มีคุณภาพดีและราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรเป็น โดยสูตรง่าย ๆ ที่ผมเสนอก็คือ
ข้อแรก กันเงินประมาณ 30% ของทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องหรือเงินในบัญชีที่คุณไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อีกนานมาก(ไม่ต่ำกว่า 5 ปี) เอามาลงทุนในหุ้น โดยที่เงินนี้ถ้าเกิดต้องสูญเสียไปมาก คุณก็ยังไม่เดือดร้อน แต่อย่าเพิ่งห่วงไปว่าคุณจะสูญเสียมาก ผมพูดเผื่อไว้เท่านั้นเพราะโอกาสเกิดอย่างนั้นมีน้อยถ้าคุณปฏิบัติตามวิธีที่ผมจะพูดต่อไป
ข้อสอง เลือกหุ้น 5 6 ตัวในอุตสาหกรรมต่าง ๆ กันโดยหุ้นแต่ละตัวจะต้องเป็นกิจการที่มีคุณภาพดี นั่นก็คือเป็นธุรกิจที่อยู่มานานพอสมควร มีกำไรและจ่ายปันผลตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เจ้าของไม่มีประวัติที่เสียหาย และถ้าจะให้ปลอดภัยขึ้นไปอีกก็ควรเป็นบริษัทที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของเขาก็จะยิ่งดี แต่นี่ก็ยังไม่พอจะต้องพิจารณาประกอบกับข้อสาม
ข้อสาม ราคาที่ซื้อหุ้นดังกล่าวในข้อสองจะต้องถูก และการที่จะดูว่าหุ้นถูกหรือแพงนั้นจะต้องดูที่ค่า PE, PB และ DP โดยเงื่อนไขง่าย ๆ ก็คือค่า PE ไม่ควรจะเกิน 10 เท่า ซึ่งแปลว่าการลงทุนจะให้ผลตอบแทนปีละไม่ต่ำกว่า 10% ค่า PB เป็นตัวประกอบว่าเราจ่ายเงินแพงกว่าผู้ถือหุ้นเดิมมากน้อยแค่ไหน พยายามอย่าให้เกิน 2 เท่า ค่า DP บอกว่าในแต่ละปีเราจะได้เงินปันผลคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินที่เราลงทุนไปซึ่งผมคิดว่าน่าจะไม่ต่ำกว่า 4% ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเหลือเพียงปีละ 1%
ข้อสี่ เมื่อซื้อเสร็จแล้วก็ให้กอดหุ้นเหล่านั้นไว้อย่าไปขายเมื่อหุ้นขึ้นหรือลงในช่วงสั้น ๆ โดยเฉลี่ยแล้วผมคิดว่าควรถือหุ้นไว้สัก 5 ปี นั่นก็คือ ถ้าคุณมีเงินลงทุน 1 ล้านบาท ปีหนึ่งคุณควรขายออกไปโดยเฉลี่ยเพียง 200,000 บาท แต่เมื่อขายแล้วก็ต้องเอาเงินที่ได้ไปซื้อหุ้นตัวใหม่แทน โดยที่การตัดสินใจขายหุ้นและซื้อหุ้นตัวใหม่นั้นมาจากการวิเคราะห์และติดตามที่จะกล่าวถึงในข้อห้า
ข้อห้า เมื่อคุณซื้อหุ้นแล้วคุณก็คือเจ้าของบริษัทคนหนึ่ง ดังนั้นคุณจะต้องติดตามผลการดำเนินงานของกิจการในทุกไตรมาศ จะต้องติดตามข่าวคราวจากหน้าหนังสือพิมพ์แนวธุรกิจเป็นประจำ ติดตามการเคลื่อนไหวทางการตลาดของบริษัทซึ่งรวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ และถ้าบริษัทเป็นผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภค คุณก็ควรจะลองใช้หรือคอยสังเกตว่าสินค้าหรือบริการของบริษัทเป็นอย่างไรด้วย
ข้อหก ในส่วนของราคาหุ้นนั้นคุณจะต้องไม่ตื่นเต้นเมื่อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งวิ่งขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็วในบางช่วง คุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบขาย สิ่งที่คุณควรสนใจมากกว่าก็คือมูลค่าของราคาหุ้นทั้งพอร์ตหรือของหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ว่ามันปรับตัวขึ้นลงอย่างไร ถ้ามูลค่าปรับตัวขึ้นก็ถือว่าคุณมาถูกทาง และถ้ามันปรับตัวลงหลังจากลงทุนมานานพอสมควรแล้ว(เป็นบี) บางทีคุณอาจจะต้องทบทวนตัวหุ้นที่เลือกมา
ถ้าคุณทำอย่างที่กล่าวมาทั้ง 6 ข้อ อย่างมั่นคง ผมคิดว่าโอกาสที่คุณจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 10% โดยที่บางส่วนประมาณ 4 5% จะมาจากเงินปันผลและอีกส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นจะมีสูง นั่นหมายความว่าภายในเวลาประมาณ 7 ปี มูลค่าของพอร์ตลงทุนของคุณจะโตขึ้นเป็นเท่าตัว โดยที่คุณจะไม่ต้องกังวลว่าดัชนีตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร
คุณอาจจะกังวลบ้างในช่วงแรก ๆ ที่คุณเริ่มลงทุนตามแบบที่กล่าวโดยเฉพาะถ้าคุณเฝ้าตามดัชนีหรือราคาหุ้นในพอร์ตมากเกินไป หรือคุณไปฟังนักเล่นหุ้นหรือเพื่อน ผู้หวังดี มากเกินไป แต่ถ้าคุณผ่านช่วงเวลามาพอสมควรและพอร์ตคุณเริ่มโตขึ้นเรื่อย ๆ จนโอกาสที่คุณจะ ขาดทุน คือมูลค่าของพอร์ตลดลงต่ำกว่าต้นทุน มีน้อยลงมากแล้ว เมื่อนั้นคุณก็จะเลิกกังวล และจะรู้สึกว่าการลงทุนของคุณนั้นไม่เสี่ยง ความมั่นใจในการลงทุนจะเพิ่มขึ้น และที่สำคัญคุณจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการเล่นหุ้นระยะสั้น ทั้งหมดนี้จะทำให้คุณเป็นนักลงทุนที่มีความสุข
ลงทุนอย่างมีความสุข
ความผันผวนของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นรุนแรงมากโดยเฉพาะในช่วงเวลาสั้น ๆ สิ่งนี้ก่อให้เกิดกำไรหรือผลตอบแทนได้อย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับความเสียหายมากมายให้กับคนที่เข้ามาเล่นหุ้นในตลาดแบบเก็งกำไร
ความสุขแบบเพ้อฝันและความโศกเศร้าเสียใจดูเหมือนว่าจะเป็นวัฏจักรที่ไม่จบสิ้นในตลาดหลักทรัพย์ ชีวิตของคนเล่นหุ้นจำนวนมากผูกพันอยู่กับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ นั่นก็คือเมื่อดัชนีปรับตัวขึ้นชีวิตเขาก็มีความสุข เมื่อดัชนีปรับตัวลงชีวิตเขาก็เป็นทุกข์
ความหวาดกลัวต่อการสูญเสียทำให้นักเล่นหุ้นมีความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาตราบที่ยังมีหุ้นอยู่ในมือ การแก้ปัญหาสำหรับหลายคนก็คือการถือหุ้นให้สั้นลง โดยเฉพาะในช่วงที่หุ้นผันผวนสูงนั้นคนจำนวนมากไม่ยอมถือหุ้นข้ามวันด้วยซ้ำ นั่นเป็นเหตุที่ทำให้การซื้อขายแบบหักกลบลบหนี้ภายในวันเดียวกันหรือเรียกว่า Net Settlement หรือการซื้อหุ้นตอนเช้าแล้วขายตอนบ่ายมีมากถึง 20 30% ของการซื้อขายหุ้นทั้งตลาด
คนเล่นหุ้นจำนวนมากคงเห็นว่านั่นคือความสุขของการเล่นหุ้น คือเมื่อลงเงินแล้วก็อยากเห็นผลเร็วว่าได้หรือเสีย และคำว่าได้หรือเสียก็คือต้องเห็นเม็ดเงินในบัญชีว่ามีเพิ่มขึ้นหรือลดลง แน่นอน ถ้าเม็ดเงินเพิ่มขึ้นความสุขก็ตามมา แต่ถ้าเม็ดเงินลดลง ความสุขจากการเล่นหุ้นก็กลายเป็นความทุกข์
โดยเฉลี่ยแล้วคนที่เล่นหุ้นเก็งกำไรระยะสั้นซื้อ ๆ ขาย ๆ เป็นนิจสินในช่วงเกือบ 30 ปีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดมานั้นผมคิดว่านอกจากจะไม่ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว ยังขาดทุนด้วย เพราะในช่วง 28 ปีของตลาดหลักทรัพย์นั้น การลงทุนให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 6 7% เท่านั้น ในขณะที่คนเล่นหุ้นระยะสั้นต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายปีหนึ่ง ๆ ผมคิดว่ามากกว่านั้น เพราะฉะนั้นข้อสรุปของผมก็คือ คนเล่นหุ้นในช่วงที่ผ่านมาเกือบ 30 ปี โดยเฉลี่ยแล้วมีความทุกข์มากกว่าความสุข และนั่นทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อยากจะลงทุนในหุ้น
วิธีการลงทุนในหุ้นที่จะมีความสุขมากกว่าความทุกข์โดยเฉพาะสำหรับคนทั่ว ๆ ไปที่มีเงินออมระยะยาวนั้น ผมมีความเห็นว่าควรจะเป็นการลงทุนในแนว Value Investment ที่เน้นการลงทุนระยะยาวในหุ้นที่มีคุณภาพดีและราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรเป็น โดยสูตรง่าย ๆ ที่ผมเสนอก็คือ
ข้อแรก กันเงินประมาณ 30% ของทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องหรือเงินในบัญชีที่คุณไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อีกนานมาก(ไม่ต่ำกว่า 5 ปี) เอามาลงทุนในหุ้น โดยที่เงินนี้ถ้าเกิดต้องสูญเสียไปมาก คุณก็ยังไม่เดือดร้อน แต่อย่าเพิ่งห่วงไปว่าคุณจะสูญเสียมาก ผมพูดเผื่อไว้เท่านั้นเพราะโอกาสเกิดอย่างนั้นมีน้อยถ้าคุณปฏิบัติตามวิธีที่ผมจะพูดต่อไป
ข้อสอง เลือกหุ้น 5 6 ตัวในอุตสาหกรรมต่าง ๆ กันโดยหุ้นแต่ละตัวจะต้องเป็นกิจการที่มีคุณภาพดี นั่นก็คือเป็นธุรกิจที่อยู่มานานพอสมควร มีกำไรและจ่ายปันผลตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เจ้าของไม่มีประวัติที่เสียหาย และถ้าจะให้ปลอดภัยขึ้นไปอีกก็ควรเป็นบริษัทที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของเขาก็จะยิ่งดี แต่นี่ก็ยังไม่พอจะต้องพิจารณาประกอบกับข้อสาม
ข้อสาม ราคาที่ซื้อหุ้นดังกล่าวในข้อสองจะต้องถูก และการที่จะดูว่าหุ้นถูกหรือแพงนั้นจะต้องดูที่ค่า PE, PB และ DP โดยเงื่อนไขง่าย ๆ ก็คือค่า PE ไม่ควรจะเกิน 10 เท่า ซึ่งแปลว่าการลงทุนจะให้ผลตอบแทนปีละไม่ต่ำกว่า 10% ค่า PB เป็นตัวประกอบว่าเราจ่ายเงินแพงกว่าผู้ถือหุ้นเดิมมากน้อยแค่ไหน พยายามอย่าให้เกิน 2 เท่า ค่า DP บอกว่าในแต่ละปีเราจะได้เงินปันผลคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินที่เราลงทุนไปซึ่งผมคิดว่าน่าจะไม่ต่ำกว่า 4% ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเหลือเพียงปีละ 1%
ข้อสี่ เมื่อซื้อเสร็จแล้วก็ให้กอดหุ้นเหล่านั้นไว้อย่าไปขายเมื่อหุ้นขึ้นหรือลงในช่วงสั้น ๆ โดยเฉลี่ยแล้วผมคิดว่าควรถือหุ้นไว้สัก 5 ปี นั่นก็คือ ถ้าคุณมีเงินลงทุน 1 ล้านบาท ปีหนึ่งคุณควรขายออกไปโดยเฉลี่ยเพียง 200,000 บาท แต่เมื่อขายแล้วก็ต้องเอาเงินที่ได้ไปซื้อหุ้นตัวใหม่แทน โดยที่การตัดสินใจขายหุ้นและซื้อหุ้นตัวใหม่นั้นมาจากการวิเคราะห์และติดตามที่จะกล่าวถึงในข้อห้า
ข้อห้า เมื่อคุณซื้อหุ้นแล้วคุณก็คือเจ้าของบริษัทคนหนึ่ง ดังนั้นคุณจะต้องติดตามผลการดำเนินงานของกิจการในทุกไตรมาศ จะต้องติดตามข่าวคราวจากหน้าหนังสือพิมพ์แนวธุรกิจเป็นประจำ ติดตามการเคลื่อนไหวทางการตลาดของบริษัทซึ่งรวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ และถ้าบริษัทเป็นผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภค คุณก็ควรจะลองใช้หรือคอยสังเกตว่าสินค้าหรือบริการของบริษัทเป็นอย่างไรด้วย
ข้อหก ในส่วนของราคาหุ้นนั้นคุณจะต้องไม่ตื่นเต้นเมื่อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งวิ่งขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็วในบางช่วง คุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบขาย สิ่งที่คุณควรสนใจมากกว่าก็คือมูลค่าของราคาหุ้นทั้งพอร์ตหรือของหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ว่ามันปรับตัวขึ้นลงอย่างไร ถ้ามูลค่าปรับตัวขึ้นก็ถือว่าคุณมาถูกทาง และถ้ามันปรับตัวลงหลังจากลงทุนมานานพอสมควรแล้ว(เป็นบี) บางทีคุณอาจจะต้องทบทวนตัวหุ้นที่เลือกมา
ถ้าคุณทำอย่างที่กล่าวมาทั้ง 6 ข้อ อย่างมั่นคง ผมคิดว่าโอกาสที่คุณจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 10% โดยที่บางส่วนประมาณ 4 5% จะมาจากเงินปันผลและอีกส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นจะมีสูง นั่นหมายความว่าภายในเวลาประมาณ 7 ปี มูลค่าของพอร์ตลงทุนของคุณจะโตขึ้นเป็นเท่าตัว โดยที่คุณจะไม่ต้องกังวลว่าดัชนีตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร
คุณอาจจะกังวลบ้างในช่วงแรก ๆ ที่คุณเริ่มลงทุนตามแบบที่กล่าวโดยเฉพาะถ้าคุณเฝ้าตามดัชนีหรือราคาหุ้นในพอร์ตมากเกินไป หรือคุณไปฟังนักเล่นหุ้นหรือเพื่อน ผู้หวังดี มากเกินไป แต่ถ้าคุณผ่านช่วงเวลามาพอสมควรและพอร์ตคุณเริ่มโตขึ้นเรื่อย ๆ จนโอกาสที่คุณจะ ขาดทุน คือมูลค่าของพอร์ตลดลงต่ำกว่าต้นทุน มีน้อยลงมากแล้ว เมื่อนั้นคุณก็จะเลิกกังวล และจะรู้สึกว่าการลงทุนของคุณนั้นไม่เสี่ยง ความมั่นใจในการลงทุนจะเพิ่มขึ้น และที่สำคัญคุณจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการเล่นหุ้นระยะสั้น ทั้งหมดนี้จะทำให้คุณเป็นนักลงทุนที่มีความสุข