หน้า 1 จากทั้งหมด 1
**
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 04, 2004 5:32 am
โดย LOSO
**
**
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 04, 2004 5:34 am
โดย LOSO
เส้นสาย การใช้เงิน การเรียกรับเงินในรูปแบบต่างๆ ในการรับเด็กเข้าเรียนจะมากขึ้นไหม ................
ปัญหาข้อสอบรั่ว จะมากขึ้นไหม ..................
ในเมื่อต่างมหาวิทยาลัยต่างสอบ รับเด็กกันเอง ....................
ช่วยผมคิดหน่อยครับ ........................
**
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 04, 2004 10:48 am
โดย ch_army
อันนี้ผมว่าไม่แน่นะครับเพราะยังไงสถาบันใหญ่ๆดังๆคงไม่เอาชื่อตัวเองไปเสี่ยงหรอกครับ และเชื่อว่าต้องมีระบบประเมินการศึกษาด้วยอยู่แล้ว และเกรดตอนมัธยมของเด็กก็เป็นสิงการันตีได้อย่างหนึ่งอยู่ และที่มหาลัยรับตรง ผมว่าเพราะเค้าไม่เชื่อศักยภาพของการเอ็นทานซ์และระบใช้เกรดซึ่งจะเกิดในอนาคตครับ อาจารย์ที่ไหนก็อยากได้เด็กเก่งอยู่แล้วครับ
**
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 04, 2004 11:39 am
โดย โป้ง
ถ้ามีลูกมีหลาน เน้นเขา ด้านทักษะ ความคิด การเข้ากับผู้คน ไม่ยอมแพ้ต่อุปสรรค ดีกว่าไปเน้นด้านเกรดเฉลี่ยและสถาบัน
เข้ามหาลัยไหน ต่อไปคงไม่ต่างกันมากเหมือนเมื่อก่อนครับ
ปัจจุบัน ที่ทำงานหลายแห่ง เริ่มผสมสี คละสีกัน เยอะแล้ว
จะเห็น สีชมพู , สีเขียว , สีส้ม เพียวๆน้อยเต็มทีแล้วครับ ถือเป็นเรื่องดีที่วัดเกณฑ์กันที่ตัวคนมากกว่าสถาบัน
**
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 04, 2004 1:29 pm
โดย sunrise
อยากให้มี หลักสูตรในโรงเรียนสอนเกี่ยวกับวิธีเข้ากับคน
ปรับปรุงบุคคลิกภาพ สอนวิธีขาย วิธีพูด หรือ พรีเซนต์งาน ความคิด
หรือแม้กระทั่งทำอย่างไรถึงจะมีความรักที่ดีจริงๆ ครับ
ตอนอยุ่โรงเรียนเคยถามอาจารย์ว่า เรียน แคลคูลัส ทำไม
ไม่เคยเห็นได้ใช้ในชีวิตจริงเลยครับ
อาจารย์ก็ไม่เคยเห็นตอบแล้วเห็นคุณค่าของวิชาที่เรียนซะที
**
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 04, 2004 6:56 pm
โดย stockms
เข้าอักษรศาสตร์ สถาปัตย์ นิเทศ ก็ไม่ต้องเรียนแคลคูลัสครับ คุณเข้าไปเรียนอะไร แล้วออกมาทำอาชีพอะไรล่ะครับ แคลคูลัสสำหรับนักเรียนสายวิทย์ครับ อาจารย์เขาคงคิดว่าคุณจะได้เอาไปใช้ในอนาคต หรือไม่ก็คุยกับคนในสาขาที่ใกล้เคียงได้รู้เรื่อง บางครั้งคุณได้อะไรจากวิชาที่เรียน มากกว่าความรู้ที่จะนำไปประกอบอาชีพเท่านั้นนะครับ
**
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 05, 2004 1:54 am
โดย ch_army
ผมว่าการที่เรามองย้อนวิชาที่เราเรียนมาแล้วไม่เห็นค่าของมัน เช่นคณิตศาสตร์ เนี่ย ซึ่งจริงๆเป็นสิ่งที่จำเป็นมากนะครับ เพราะเป็นการสอนให้เราใช้ตรรกกะ ความเป็นเหตุเป็นผล สรุปและพิสูจน์ได้ในการตัดสินใจและหากไม่มี คณิตศาสตร์ ผมบอกได้เลยว่า เท๕โนโลยีของโลก คงไปไหนไม่ได้ไกล และการที่เราไม่เห็นค่าเพราะ ระบบประเทศเราไม่เอื้อในระดับงานวิจัย หรือ ห้องวิจัยที่จะพัฒนาประเทศอย่ายั่งยืนแบบ โลกตะวันตกที่เห็นค่าของตรงนี้มาก ทุกวิชามีคุณค่าแน่นอนครับ แต่ถ้าเรามีระบบการศึกษาที่มีวิชาบังคับน้อยๆ วิชาเลือกมากๆ ก็ลงดีครับ เพราะเราจะได้เรียนสิ่งที่เราชอบ เราถนัดมากขึ้น
และถ้าไม่มีแคสคูลัส ป่านนี้งานทางวิศวกรรมคงมาไม่ถึงขนาดนี้แน่นอน เพราะมันเป็นหนึ่งในองค์ความรู้ที่นำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางครับ ทั้งงานวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ ป่านนี้เราคงยังไม่มีปัญญา ไม่สามารถสร้างสิ่งใหญ่โตด้วยความคุ้มค่า เพราะอย่างน้อยแค่การ diff หาจุด min max ก็มีค่ามหาศาลแล้วครับ
**
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 05, 2004 10:46 am
โดย sunrise
เรียนวิศวะ โยธาครับ
ทำงานโยธาได้แป๊ปเดียว ก็รู้เลยว่าถ้าต้องการใช้ทฤษฏีที่เรียนมา
ต้องเรียนต่อ โท หรือเอก
สุดท้ายก็ออกครับ เพราะว่าไม่เหมาะกับเป้าหมายชีวิตของผม
แต่จริงๆ แล้วแคลเรียนตั้งแต่ม.ปลายสายวิทย์ละครับ
เพี่ยงแต่ว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเรียนอยู่
**
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 05, 2004 1:24 pm
โดย ch_army
คุณพูดถูกครับ ผมเห็นด้วยว่างานในระดับวิศวกรหลายที่ ของเมืองไทยก็ยังไม่ได้ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์หรือสูตรต่างๆที่เราเรียนมาใน มหาลัยเต็มที่บางแห่งใช้แต่ sense ด้วยซ้ำ(เศร้าจัง Thailand) แต่ที่ผมรู้สึกว่าเห็นได้ชัดก็คือ งานวิจัยอย่างที่คุณ sunrise ว่า ซึ่งโอกาสต้องใช้วิชาที่เรียนมีเต็มๆเลย แต่ในต่างปรเทศเท่าที่ผมรู้จากอาจารย์ที่เคยไปเรียนและทำงานมาบ้างที่ต่างประเทศเนี่ยเค้าก็บอกว่า ระบบงานของเค้ามันค่อนข้างลงลึกเฉพาะทางมาก ต้องรู้คณิตศาสตร์ลึกเหมือนกันถึงจะเข้าใจงานได้ดี แต่ผมไม่ได้หมายความว่าต้องแก้สมการเก่งๆ อะไรหรอกครับ เพราะตอนนี้ คอมพิวเตอร์เก่งกว่าเราเยอะ แต่หากเราไม่เรียน เลขขั้นสูง เราคงไปสั่งงาน คอมลำบากนะครับ คุณว่าจริงไหม
**
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 05, 2004 2:07 pm
โดย sunrise
จริงครับ ต้องมีความรู้ที่เดียว ก่อนไปดูแลคอมได้ครับ
ไม่งั้นพอไม่เข้าใจสิ่งทีคอม ดำเนินการอยุ่ก็คงไม่สามารถ จัดการงานนั้นๆ ได้
แต่เพราะสภาพของประเทศไทยปัจจุบัน การเรียนการสอนส่วนใหญ่
ไม่ได้สะท้อนถึงการทำงานที่แท้จริง
เรียนเพื่อให้ได้วุฒิอย่างเดียวจริงๆ ครับ
ตอนจบออกมาทำงาน ต้องให้เด็ก ปวช. ปวส. สอนงานครับ
คนที่เรียนต่อเมืองนอก แล้วทำงานวิจัยนี่ต้องไม่ธรรมดาครับ
เพื่อนผมที่เรียนจนได้ทำวิจัยนี่สมัยเรียน ผมเรียกพวกมันว่าเทพครับ :lol:
มันบอกว่าอยุ่เมืองไทยเป็นศ. ดร ยังได้งบน้อยกว่าเป็นคนจบใหม่ป. โทแต่รับงานวิจัยที่เมืองนอกอีกครับ
แต่สิ่งที่ผมคิดว่าการเรียนการสอนของเมืองไทยมันยังไม่เหมาะสมกับสถานะการณ์ปัจจุบันของโลกเท่านั้นเอง
เด็กที่เรียนมา พอออกมาเจอโลกแห่งความเป็นจริง เค้าไม่สามารถปรับตัวได้ก็มาก
กลับมาตามหัวข้อครับ หลงไปนาน :lol:
ส่วนเรื่องสี ของสถาบัน ที่ไหนก็มีครับ แต่ปัญหาไม่ได้อยุ่ที่สถาบัน อยู่ที่ตัวคน
คนที่ถือเรื่องสีนี่ ส่วนใหญ่เป็นคนยึดติด ควรเปลี่ยนมุมมองของชีวิตมากๆ เลยครับ
ไม่งั้นเค้าก็ทำตัวไม่ต่างจากเด็กช่างกลที่แบ่งพรรคแบ่งพวก แล้วดีกัน
แต่เปลี่ยนเป็นแบ่งพรรคแบ่งพวก กีดกันคนอื่นที่สีไม่เหมือนกัน