หน้า 1 จากทั้งหมด 1
ทำไมหุ้นพื้นฐานดีส่วนใหญ่ถึงไม่นิยมแจกวอกัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 28, 2004 11:20 am
โดย hot
สงสัย
ทำไมหุ้นพื้นฐานดีส่วนใหญ่ถึงไม่นิยมแจกวอกัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 28, 2004 12:25 pm
โดย akekarat
ผมไม่เห็นว่ามันจะมีประโยชน์ตรงไหน ถ้าแจกแบบต้องจ่ายเงิน ก็แสดงว่า บริษัทไม่ดีพอที่จะรักษาเงินสดเอาไว้ได้ ต้องรบกวนผู้ถือหุ้น ถ้าแจกฟรี สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้น ก็เท่าเดิมอยู่ดี แถมยังมีปัญหาต้องมานั่งคำนวณหุ้นเพิ่มตอนแปลงสภาพอีก ไหนจะต้องหาเงินมาแปลง ลำบากผู้ถือหุ้นทั้งสองทาง
หรือว่าไงครับ?
ทำไมหุ้นพื้นฐานดีส่วนใหญ่ถึงไม่นิยมแจกวอกัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 28, 2004 12:32 pm
โดย โป้ง
ธุรกิจดีๆจะเพิ่มทุน,เข้าตลาด ก็มีคนสนใจ หนี้สินก็น้อย มีแต่คนอยากมาลงขัน เลยไม่ต้องใช้ option อะไร
ว่าแต่หุ้นดี ต้องไม่มีหนี้สิน,กำไรโตต่อเนื่อง และ ต้องออกจากตลาดด้วยครับ อิอิ :lol:
ทำไมหุ้นพื้นฐานดีส่วนใหญ่ถึงไม่นิยมแจกวอกัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 28, 2004 12:34 pm
โดย harry
เพราะหุ้นดี มีเงินมากพอ ไม่เดือดร้อน ต้องออกวอ มาเรียกเงินจากนักลงทุนงัยครับ
ส่วนต้องออกจากตลาดฯด้วยนะ เศร้าครับ ไม่มีความเห็น
ทำไมหุ้นพื้นฐานดีส่วนใหญ่ถึงไม่นิยมแจกวอกัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 28, 2004 1:50 pm
โดย ปรัชญา
ที่เขาแจกวอ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เป็นอันดับต้นๆ
แจกวอเพิ่มสภาพคล่องของหุ้น ทำให้มีตัวหารเพิ่มราคาจะลดลง
แจกวอตามแฟชั่นเห็นเขาแจกกระดาษมาขายได้เงินเลยแจกบ้าง
แจกวอเพราะเชื่อที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อรองรับอนาคต
สรุปไม่ดีส่วนใหญ่ ดีส่วนน้อย
เป็นเพียงความคิดคนเดียว ไม่จำเป็น ถูกต้องเสมอไป
ทำไมหุ้นพื้นฐานดีส่วนใหญ่ถึงไม่นิยมแจกวอกัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 28, 2004 2:38 pm
โดย Joraka+
โลกในมุมมองของ Value Investor
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ซื้อหุ้นคืน VS ออกวอร์แรนต์
ลูกเล่น ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สองเรื่องซึ่งมีการนำมาใช้ค่อนข้างมากในระยะหลังที่น่าสนใจก็คือ การประกาศซื้อหุ้นคืน และการแจกวอร์แรนต์ฟรีให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ถ้าพิจารณาจากพื้นฐานแล้วคือกลยุทธ์เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างทุนที่อยู่กันคนละด้านหรือตรงกันข้ามกัน
การซื้อหุ้นคืนนั้นคือการลดทุนส่วนของเจ้าของลง เป็นการคืนทุนของบริษัทให้กับเจ้าของ จำนวนหุ้นจดทะเบียนจะน้อยลง กำไรต่อหุ้นจะมากขึ้น ส่วนเหตุผลที่ทำนั้นเป็นเพราะผู้บริหารคิดว่า ราคาหุ้นในตลาดต่ำกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นและบริษัทมีเงินสดมากพอที่จะเอามาซื้อหุ้นคืนได้ นอกจากนั้นโอกาสที่จะลงทุนในธุรกิจให้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำกว่า ถ้าจะสรุปผลประโยชน์สุดท้ายก็คือ การซื้อหุ้นคืนจะทำให้ผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่มีความมั่งคั่งมากขึ้น
การออกวอร์แรนต์นั้นเป็นเรื่องที่ตรงกันข้าม เพราะในที่สุดทุนส่วนของเจ้าของจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นโดยผู้ถือวอร์แรนต์ นั่นก็คือจะมีการเรียกทุนเพิ่มขึ้น จำนวนหุ้นจดทะเบียนจะมากขึ้น กำไรต่อหุ้นจะลดลง นี่ก็คือการมองจากด้านของบริษัทซึ่งจะเป็นผู้ได้รับเม็ดเงิน
สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ ผู้ถือหุ้นที่ได้รับวอร์แรนต์กลับมองว่าการแจกวอแรนต์เป็นเสมือนกับการ จ่ายปันผล คือเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นได้รับผลประโยชน์คือวอแรนต์มาฟรี ๆ ซึ่งสามารถเอาไปขายได้เงินมาก้อนใหญ่มากกว่าปันผลที่เป็นเม็ดเงินมหาศาล
ในแง่ของเหตุผลของบริษัทที่ออกวอแรนต์นั้น นอกจากจะเป็นการให้ผลประโยชน์กับผู้ถือหุ้นแล้ว บริษัทอาจจะดูว่า ถ้ามีผู้ถือวอร์แรนต์มาใช้สิทธิซื้อหุ้น บริษัทก็จะได้เงินมาใช้ มีทุนจดทะเบียนมากขึ้น ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อโครงสร้างทางการเงินที่อาจจะมีหนี้สินต่อทุนมากอยู่ และถึงแม้ว่าจำนวนหุ้นจะมากขึ้นแต่บริษัทก็อาจจะคิดว่ากำไรของบริษัทก็คงจะเพิ่มขึ้นทำให้กำไรต่อหุ้นไม่ลดลง
กลยุทธ์การซื้อหุ้นคืนซึ่งเริ่มใช้ถ้าผมจำไม่ผิดโดยบริษัท GENCO และ EGCOMP ปรากฏผลที่น่าผิดหวัง เพราะราคาหุ้นไม่ได้ดีขึ้นอย่างที่คาดหวัง ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นดูเหมือนจะไม่เพิ่มขึ้น ลองวิเคราะห์ดูอาจจะเป็นดังนี้
GENCO ประกาศซื้อหุ้นแบบเป็นการทั่วไป โดยตั้งราคาซื้อคืนแน่นอนภายในเวลาที่แน่นอนคิดเป็นจำนวนหุ้นประมาณ 10% ของบริษัท การประกาศแบบนี้ สำหรับผู้ถือหุ้นทั่ว ๆ ไปก็คือ ราคาหุ้นในระยะสั้นก็คงจะวิ่งไปใกล้เคียงกับราคาประกาศ แต่ก็คงต่ำกว่าเพราะนักลงทุนไม่แน่ใจว่าจะขายหุ้นได้ไหม เพราะอาจจะมีคนแสดงความจำนงขายคืนมากกว่า 10% ซึ่งทำให้ต้องรับซื้อตามสัดส่วน
ผู้ถือหุ้นของ GENCO คงจะไม่ใคร่สนใจว่าในอนาคตกำไรต่อหุ้นของบริษัทอาจจะเพิ่มขึ้น 10% เพราะจำนวนหุ้นลดลง 10% เรื่องนี้เป็นเรื่องระยะยาวและไม่แน่นอนแต่ในระยะสั้นแล้ว การประกาศรับซื้อหุ้นคืนครั้งเดียว ราคาเดียว ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น GENCO น้อย
EGCOMP ประกาศซื้อหุ้นคืน 10% เช่นเดียวกันแต่จะทยอยซื้อเอาจากตลาดหลักทรัพย์ในราคาที่เหมาะสมในระยะเวลา 6 เดือน การประกาศแบบนี้ดูไปแล้วน่าสนใจในแง่ที่ว่าถ้าบริษัทซื้อจริงก็จะมีแรงซื้อจาก ขาใหญ่ ก็คือบริษัทเองตลอดเวลา 6 เดือน และจำนวนที่ซื้อถึง 10% นั้นถือว่าสูงมากเพราะเป็นการซื้อด้านเดียวไม่มีการขาย คนเล่นหุ้นน่าจะสบายใจได้ว่าราคาหุ้นในช่วง 6 เดือน ไม่น่าจะตกลงไปต่ำกว่าราคาตลาดในขณะประกาศซื้อหุ้นคืน
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับ EGCOM ถ้าผมจำไม่ผิดก็คือ บริษัทมีการซื้อหุ้นคืนค่อนข้างน้อย ดูเหมือนว่าบริษัทจะทยอยรับหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมากกว่าที่จะซื้อในราคาตลาดในช่วงประกาศซื้อหุ้น
การลังเลที่จะซื้อหุ้นคืนในราคาตลาดในช่วงประกาศแผนการซื้อหุ้นคืนนั้น ผมคิดว่าน่าจะมีผลทำให้นักลงทุนเห็นว่าบริษัทอาจไม่ต้องการซื้อหุ้นคืนจริง หรือจะซื้อก็ต่อเมื่อราคาหุ้นตกต่ำลง และเพราะฉะนั้นการซื้อหุ้นคืนก็ไม่มีประโยชน์สำหรับนักลงทุน เพราะวันที่บริษัทซื้อซึ่งจะทำให้บริษัทมีหุ้นน้อยลงและกำไรต่อหุ้นจะดีขึ้นก็คือวันที่นักลงทุนขาดทุนไปแล้ว
ผมคิดว่าถ้าบริษัทที่ประกาศซื้อหุ้นคืนมีความตั้งใจจริงที่จะซื้อหุ้นคืน อย่างน้อยก็ในราคาที่เป็นราคาตลาดในขณะที่ประกาศ ซึ่งควรเป็นราคาที่บริษัทได้พิจารณาแล้วว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าพื้นฐานของกิจการ และก็ดำเนินการซื้อหุ้นคืนอย่างจริงจังเพื่อลดจำนวนหุ้นจดทะเบียนลง ราคาหุ้นหรือความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่น่าจะต้องสูงขึ้น แต่การที่มีบริษัทที่ประกาศซื้อหุ้นคืนแล้วไม่สามารถทำให้ราคาหุ้นดีขึ้น ทำให้นักลงทุนผิดหวังและจดจำว่า การประกาศซื้อหุ้นคืน
อาจจะไม่ใช่ข่าวดีพิเศษอะไรนักเปรียบเทียบกับการประกาศแจกวอร์แรนต์ให้ผู้ถือหุ้น
ในด้านของการแจกวอร์แรนต์ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมนั้น ดูเหมือนกลยุทธ์นี้จะได้ผลค่อนข้างสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริษัทที่มีผลการดำเนินงานล่าสุดน่าประทับใจด้วย เพราะทันทีที่ประกาศ ราคาหุ้นก็มักจะวิ่งขึ้นไปอย่างรวดเร็วและคนสนใจเข้ามาซื้อขายหุ้นกันอย่างคึกคัก
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ส่วนใหญ่ก็มักจะมีความเห็นที่เป็นบวกมาก รวมทั้งมีการวิเคราะห์คำนวณราคาวอร์แรนต์ล่วงหน้า เพื่อให้นักลงทุนเห็นว่าการซื้อหุ้นตัวนั้นเพื่อรอรับวอร์-แรนต์ที่จะได้มาฟรีเป็นวิธีการที่จะทำกำไรได้ง่าย ๆ ดังนั้นเมื่อทุกอย่างถูกนำมาประกอบกัน ราคาหุ้นจึงวิ่งแบบติดจรวดและทุกฝ่ายมีความสุขกันทั่วหน้า
ด้วยเหตุดังกล่าว บริษัทจดทะเบียนจึงมีแนวโน้มที่จะแจกวอร์แรนต์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จำนวนบริษัทที่มีวอร์แรนต์ติดอยู่มีอยู่กว่า 40 บริษัทเข้าไปแล้ว และบางบริษัทมีวอร์แรนต์ไม่รู้จะกี่รุ่น แต่ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ดีต่อตลาดหลักทรัพย์หรือ?
โดยส่วนตัวผมเองนั้น ผมคิดว่าในระยะยาวแล้ว หุ้นที่จะเติบโตเร็วและผมอยากจะเป็นเจ้าของควรมีหุ้นน้อยลงเรื่อย ๆ นั่นคือ บริษัททยอยซื้อหุ้นคืนเกือบทุกปีเพื่อให้กำไรต่อหุ้นของบริษัทเพิ่มเร็วขึ้นไปอีกจากการเพิ่มขึ้นของกำไรปกติ
ในทางตรงกันข้ามผมเองพยายามหลีกเลี่ยงบริษัทที่ออกหุ้นเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะโดยการใช้สิทธิของวอร์แรนต์หรือการออกหุ้นเพิ่มทุน เพราะผมคิดว่าหุ้นที่ถูก ตัดยอด เหล่านั้นจะโตช้าลง
ปัญหาของผมก็คือ แฟชั่นการแจกวอร์แรนต์ระบาดไปมากจนแม้กระทั่งหุ้น ดี ๆ บางตัวก็พลอยออกวอร์แรนต์กับเขาด้วย และทำให้ตัวเลือกในการลงทุนของผมลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะหุ้นที่มีวอร์แรนต์มากนั้นเป็นหุ้นที่ผมไม่ค่อยอยากจะซื้อเลยครับ
ทำไมหุ้นพื้นฐานดีส่วนใหญ่ถึงไม่นิยมแจกวอกัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 28, 2004 9:15 pm
โดย chatchai
จริงๆแล้ว Warrant ก็เป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีประโยชน์ครับ เช่นเดียวกับ Option Future SWAP และอื่นๆ
เพียงแต่ว่านักการเงินประเทศเรามักจะใช้ผิดวัตถุประสงค์ครับ
ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทที่ออก Warrant เป็นบริษัทที่ไม่ดีทุกบริษัทครับ คงต้องพิจารณาจากเหตุผลในการออกครับ
ทำไมหุ้นพื้นฐานดีส่วนใหญ่ถึงไม่นิยมแจกวอกัน
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 29, 2004 9:13 am
โดย CK
ใช่ครับ อยากให้ดู LH เป็นตัวอย่าง
ออก Warrant มา เพราะรู้ว่าในอีกสามปีข้างหน้า จะต้องขยายงานต่อ
LH ใช้วิธีสร้างบ้านเสร็จก่อนขาย ทำให้ต้องใช้เงินทุนสูงมาก แต่ก็ทำ
ให้คู่แข่งเกิดยาก เนื่องจากผลประกอบการบริษัทดี หุ้นในตลาดราคาสูง
ทำให้คนที่ถือ warrant อยู่แปลงกันหมดทุกคน บริษัทก็ได้เงินทุนเพิ่ม
เอาไปขยายกิจการ ทำให้กำไรโตก้าวกระโดดไปอีก eps ต่อหุ้นหลัง
ถูกเจือจางก็ยังสูงขึ้นอยู่ดี