แพทย์ไทยเสี่ยงฆ่าตัวตาย หมอสูติฯ-จิตแพทย์น่าห่วง
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 04, 2004 11:24 pm
ผมเห็นว่าในนี้มีหมอหลายคน เลยเอาข่าวมาถามครับว่ามันเท็จจริงประการใด
/////
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 ตุลาคม 2547 11:07 น.
พบแพทย์ทั่วโลกแนวโน้มฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ขณะที่ในไทยก็ไม่น้อยหน้า หมอสูติฯ มาเป็นอันดับ 1 จิตแพทย์ตามมาติด ๆ เผยกรรมวิธีมีทั้งซับซ้อนอย่างฉีดยาเข้าเส้น กินยานอนหลับเกินขนาด ไปจนถึงแขวนคอตาย ยิงตัวตายและกระโดดตึก เร่งลงปฏิญญาดูแลเพื่อนร่วมวิชาชีพเป็นการด่วน
น.พ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน นายแพทย์ใหญ่กรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า จากตัวเลขขององค์การอนามัยโลกเมื่อปลายที่ผ่านมาระบุชัดเจนว่า แพทย์เป็นวิชาชีพที่บุคลากรฆ่าตัวตายมากที่สุด โดยเฉพาะในแถบประเทศที่พัฒนาแล้วสูงถึง 40 ต่อประชากรแสนคน มากกว่ากลุ่มประชากรทั่วไป ทำให้มีการจัดตั้ง ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายสำหรับแพทย์โดยเฉพาะ
ทั้งนี้ จากการวิจัยเจาะลึกถึงสาเหตุหลักพบว่า แพทย์ส่วนใหญ่ทำงานหนักเพื่อรักษาภาพที่ทั่วโลกมองว่าเป็นฮีโร่ จนไม่มีเวลาดูแลตัวเองและครอบครัวโดยเฉพาะแพทย์ที่เป็นผู้หญิงตัวเลขการฆ่าตัวตายสูงกว่า เนื่องจากต้องรับผิดชอบงานบ้านไปด้วยเกิดความเครียดมีภาวะทางจิตโดยไม่รู้ตัวสั่งสมเป็นเวลานานจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย
สำหรับประเทศไทยนั้น มีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกัน ซึ่ง น.พ.ทวีศิลป์ในฐานะ ผู้วิจัยหลักปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายของแพทย์กล่าวว่า จากการสำรวจสาเหตุการฆ่าตัวตายตั้งแต่ปี 2545 ย้อนกลับไปมักระบุเพียงหัวใจวายเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อลงลึกในรายละเอียดพบว่าสาเหตุหลักคือต้องการฆ่าตัวตาย โดยสำรวจพบแพทย์ฆ่าตัวตายถึง 18 ราย อายุระหว่าง 20-49 ปี ที่ยืนยันได้ 11 ราย สูตินรีแพทย์สูงสุด 3 ราย จิตแพทย์ 2 ราย กุมารแพทย์ 2 ราย ศัลยแพทย์ 2 ราย อายุรแพทย์ 1 ราย รังสีแพทย์ 1 ราย
อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าจำนวนแพทย์ที่ฆ่าตัวตายมีมากกว่านี้ แต่การรายงานข้อมูลการตายไม่ตรงตามข้อเท็จจริงจึงไม่อาจยืนยันได้ และมักจะไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องเท่าที่ควร
สาเหตุการตายส่วนใหญ่ก็ไม่แตกต่างไปจากคนทั่วไปคือเจ็บป่วยทางจิตถึง 11 ราย มีทั้งอกหักรักคุด ปัญหาในครอบครัว สูญเสียคนรัก ปัญหาทางด้านหน้าที่การงาน เป็นโรคร้าย ติดยา
กลัวการฟ้องร้อง ซึมเศร้า ฯลฯ ส่วนวิธีการฆ่าตัวตายจะล้ำลึกกว่าจากวิชาชีพที่เรียนมา เช่น มีการฉีดยาเข้าเส้นเลือด ใช้ยานอนหลับเกินขนาด และวิธีการทั่วไปคือ แขวนคอตาย มากที่สุด รองลงมาคือ ยิงตัวตายและกระโดดตึก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงเพราะแพทย์ 1 คน กว่าจะร่ำเรียนจบต้องเรียนแพทย์ 6 ปี ต่อยอดอีก 3 ปี บางคนต่อปริญญาเอกและสูงกว่านั้น หมดเงินไปหลายล้านบาท
แพทย์ 1 คนต้องดูแลประชากรเป็นแสน การขาดแพทย์ไป 1 คนถือเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่
น.พ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า การที่แพทย์จะตัดสินใจฆ่าตัวตายนั้น ไม่ใช่เหตุปัจจุบันทันด่วนแต่เป็นการสะสมมานานจากหลายปัญหา และด้วยความที่แพทย์มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่มีแพทย์ประจำตัว ไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นโรคจิตเวช และยอมรับไม่ได้หากแพทย์ด้วยกันจะมารักษากันเองโดยเฉพาะ อาจารย์ที่จะรักษาลูกศิษย์ หรือลูกศิษย์จะรักษาอาจารย์ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการแก้ปัญหาได้และสายเกินแก้ในที่สุด
สำหรับแนวทางในการป้องกันคือ ตระหนักในปัญหาโรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า โดยให้มีการค้นหาและได้รับการรักษาอย่างมีมาตรฐาน และให้แพทย์เห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัว
ทั้งนี้ ในงานมหกรรมสุขภาพถวายไท้ 72 พรรษาพระบรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นปีครบรอบ 36 ปีของแพทยสภาระหว่างวันที่ 1-3 ต.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มเพื่อนแพทย์ได้ลงปฏิญญาร่วมกันในการที่จะดูแลแพทย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดภาวะการฆ่าตัวตายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากหลายสาเหตุ
ด้าน น.พ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า จากการสำรวจสุขภาพจิตของแพทย์ไทยโดยระบบการสุ่มเลือกอย่างเป็นระบบจากกลุ่มแพทย์ไทยที่มีเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผลการประเมินภาวะสุขภาพจิตพบว่า เพศชายมีผลการประเมินภาวะสุขภาพจิตอยู่ในผิดปกติ 15 คน หญิง 13 คน ความชุกของปัญหาสุขภาพจิตคิดเป็นร้อยละ 7.4 เมื่อสำรวจถึงประวัติย้อนหลังพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในวิชาชีพแพทย์และมีประวัติการใช้ยานอนหลับในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาด้วย
ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงภาวะสุขภาพจิตในกลุ่มแพทย์มีแนวโน้มมีปัญหา จึงควรหาแนวทางป้องกันและหาสาเหตุต่อไป
ขณะที่ น.พ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผอ.ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา ในฐานะผู้ทำการวิจัยอายุขัยโดยเฉลี่ยของแพทย์ กล่าวยอมรับว่า ก่อนหน้านี้มีรายงานส่อว่าแพทย์ไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเมื่อเทียบกับประชาชนทั่วไป แต่เป็นที่น่ายินดีว่าแนวโน้มของแพทย์ดูแลรักษาตัวเองเพิ่มขึ้น ทั้งการออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพประจำปี ไม่ดื่มสุราและสูบบุหรี่
อย่างไรก็ตามยังมีแพทย์อีกจำนวนไม่น้อยที่มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร เนื่องจากเชื่อมั่นในตัวเองสูงว่าเป็นแพทย์ดูแลรักษาตัวเองดีอยู่แล้ว จึงทำให้การวินิจฉัยโรคช้าบางรายกว่าจะพบว่าตัวเองเป็นโรคร้ายก็ถึงระยะสุดท้ายแล้ว
/////
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 ตุลาคม 2547 11:07 น.
พบแพทย์ทั่วโลกแนวโน้มฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ขณะที่ในไทยก็ไม่น้อยหน้า หมอสูติฯ มาเป็นอันดับ 1 จิตแพทย์ตามมาติด ๆ เผยกรรมวิธีมีทั้งซับซ้อนอย่างฉีดยาเข้าเส้น กินยานอนหลับเกินขนาด ไปจนถึงแขวนคอตาย ยิงตัวตายและกระโดดตึก เร่งลงปฏิญญาดูแลเพื่อนร่วมวิชาชีพเป็นการด่วน
น.พ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน นายแพทย์ใหญ่กรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า จากตัวเลขขององค์การอนามัยโลกเมื่อปลายที่ผ่านมาระบุชัดเจนว่า แพทย์เป็นวิชาชีพที่บุคลากรฆ่าตัวตายมากที่สุด โดยเฉพาะในแถบประเทศที่พัฒนาแล้วสูงถึง 40 ต่อประชากรแสนคน มากกว่ากลุ่มประชากรทั่วไป ทำให้มีการจัดตั้ง ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายสำหรับแพทย์โดยเฉพาะ
ทั้งนี้ จากการวิจัยเจาะลึกถึงสาเหตุหลักพบว่า แพทย์ส่วนใหญ่ทำงานหนักเพื่อรักษาภาพที่ทั่วโลกมองว่าเป็นฮีโร่ จนไม่มีเวลาดูแลตัวเองและครอบครัวโดยเฉพาะแพทย์ที่เป็นผู้หญิงตัวเลขการฆ่าตัวตายสูงกว่า เนื่องจากต้องรับผิดชอบงานบ้านไปด้วยเกิดความเครียดมีภาวะทางจิตโดยไม่รู้ตัวสั่งสมเป็นเวลานานจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย
สำหรับประเทศไทยนั้น มีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกัน ซึ่ง น.พ.ทวีศิลป์ในฐานะ ผู้วิจัยหลักปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายของแพทย์กล่าวว่า จากการสำรวจสาเหตุการฆ่าตัวตายตั้งแต่ปี 2545 ย้อนกลับไปมักระบุเพียงหัวใจวายเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อลงลึกในรายละเอียดพบว่าสาเหตุหลักคือต้องการฆ่าตัวตาย โดยสำรวจพบแพทย์ฆ่าตัวตายถึง 18 ราย อายุระหว่าง 20-49 ปี ที่ยืนยันได้ 11 ราย สูตินรีแพทย์สูงสุด 3 ราย จิตแพทย์ 2 ราย กุมารแพทย์ 2 ราย ศัลยแพทย์ 2 ราย อายุรแพทย์ 1 ราย รังสีแพทย์ 1 ราย
อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าจำนวนแพทย์ที่ฆ่าตัวตายมีมากกว่านี้ แต่การรายงานข้อมูลการตายไม่ตรงตามข้อเท็จจริงจึงไม่อาจยืนยันได้ และมักจะไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องเท่าที่ควร
สาเหตุการตายส่วนใหญ่ก็ไม่แตกต่างไปจากคนทั่วไปคือเจ็บป่วยทางจิตถึง 11 ราย มีทั้งอกหักรักคุด ปัญหาในครอบครัว สูญเสียคนรัก ปัญหาทางด้านหน้าที่การงาน เป็นโรคร้าย ติดยา
กลัวการฟ้องร้อง ซึมเศร้า ฯลฯ ส่วนวิธีการฆ่าตัวตายจะล้ำลึกกว่าจากวิชาชีพที่เรียนมา เช่น มีการฉีดยาเข้าเส้นเลือด ใช้ยานอนหลับเกินขนาด และวิธีการทั่วไปคือ แขวนคอตาย มากที่สุด รองลงมาคือ ยิงตัวตายและกระโดดตึก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงเพราะแพทย์ 1 คน กว่าจะร่ำเรียนจบต้องเรียนแพทย์ 6 ปี ต่อยอดอีก 3 ปี บางคนต่อปริญญาเอกและสูงกว่านั้น หมดเงินไปหลายล้านบาท
แพทย์ 1 คนต้องดูแลประชากรเป็นแสน การขาดแพทย์ไป 1 คนถือเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่
น.พ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า การที่แพทย์จะตัดสินใจฆ่าตัวตายนั้น ไม่ใช่เหตุปัจจุบันทันด่วนแต่เป็นการสะสมมานานจากหลายปัญหา และด้วยความที่แพทย์มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่มีแพทย์ประจำตัว ไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นโรคจิตเวช และยอมรับไม่ได้หากแพทย์ด้วยกันจะมารักษากันเองโดยเฉพาะ อาจารย์ที่จะรักษาลูกศิษย์ หรือลูกศิษย์จะรักษาอาจารย์ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการแก้ปัญหาได้และสายเกินแก้ในที่สุด
สำหรับแนวทางในการป้องกันคือ ตระหนักในปัญหาโรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า โดยให้มีการค้นหาและได้รับการรักษาอย่างมีมาตรฐาน และให้แพทย์เห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัว
ทั้งนี้ ในงานมหกรรมสุขภาพถวายไท้ 72 พรรษาพระบรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นปีครบรอบ 36 ปีของแพทยสภาระหว่างวันที่ 1-3 ต.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มเพื่อนแพทย์ได้ลงปฏิญญาร่วมกันในการที่จะดูแลแพทย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดภาวะการฆ่าตัวตายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากหลายสาเหตุ
ด้าน น.พ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า จากการสำรวจสุขภาพจิตของแพทย์ไทยโดยระบบการสุ่มเลือกอย่างเป็นระบบจากกลุ่มแพทย์ไทยที่มีเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผลการประเมินภาวะสุขภาพจิตพบว่า เพศชายมีผลการประเมินภาวะสุขภาพจิตอยู่ในผิดปกติ 15 คน หญิง 13 คน ความชุกของปัญหาสุขภาพจิตคิดเป็นร้อยละ 7.4 เมื่อสำรวจถึงประวัติย้อนหลังพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในวิชาชีพแพทย์และมีประวัติการใช้ยานอนหลับในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาด้วย
ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงภาวะสุขภาพจิตในกลุ่มแพทย์มีแนวโน้มมีปัญหา จึงควรหาแนวทางป้องกันและหาสาเหตุต่อไป
ขณะที่ น.พ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผอ.ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา ในฐานะผู้ทำการวิจัยอายุขัยโดยเฉลี่ยของแพทย์ กล่าวยอมรับว่า ก่อนหน้านี้มีรายงานส่อว่าแพทย์ไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเมื่อเทียบกับประชาชนทั่วไป แต่เป็นที่น่ายินดีว่าแนวโน้มของแพทย์ดูแลรักษาตัวเองเพิ่มขึ้น ทั้งการออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพประจำปี ไม่ดื่มสุราและสูบบุหรี่
อย่างไรก็ตามยังมีแพทย์อีกจำนวนไม่น้อยที่มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร เนื่องจากเชื่อมั่นในตัวเองสูงว่าเป็นแพทย์ดูแลรักษาตัวเองดีอยู่แล้ว จึงทำให้การวินิจฉัยโรคช้าบางรายกว่าจะพบว่าตัวเองเป็นโรคร้ายก็ถึงระยะสุดท้ายแล้ว