เหตุใด…จึงควรประเมินมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเอง / Pocket investor
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 17, 2021 7:37 pm
Investor's practice: สวัสดีทุกท่านครับ วันนี้จะมาเล่ามุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่อง "การประเมินมูลค่า" จะเป็นอย่างไร ลองมาดูกันเลยครับ
.
เวลามีใครมาถามมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นรายตัวเป็นเท่าไร?
ผมจะขอไม่แสดงความคิดเห็นทุกครั้ง...ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะว่า ผมไม่ใช่นักวิเคราะห์ที่จะสามารถชี้เป้าราคาได้ และดูจะเป็นเรื่องผิดกฎกลต. แต่ต่อให้ไม่มีประเด็นนี้ ผมก็คงจะ "ไม่แสดงความเห็นอยู่ดี" ครับ ไม่ใช่เพราะว่าคำถามนี้มันไม่ดีหรอก แต่คิดว่าคนที่ตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด คือ "ตัวคุณเอง"
.
ใช่แล้วครับการประเมินมูลค่าหุ้นที่ดีที่สุด คือ การประเมินด้วยตัวเอง ซึ่งดีกว่าการถามจากคนอื่นๆทั้ง เพื่อนฝูง โบรกเกอร์ หรือเหล่ากูรูหุ้นเป็นไหนๆเลย เพราะ "การประเมินมูลค่าเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์" ที่แม้ว่าจะประเมินมูลค่าหุ้นตัวเดียวกันในเวลาเดียวกัน แต่ละคนจะประเมินมูลค่าออกมาได้ไม่เท่ากันแน่นอน!
.
ความจริงอย่างหนึ่ง คือ "ราคาเหมาะสมของคุณกับผมไม่เท่ากัน" การประเมินมูลค่าจึงเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ที่แต่ละคนคิดต่างกันออกไปที่ไม่ได้มีความถูกต้องเป๊ะๆ เหตุผลมาจากหลายๆปัจจัย ดังนี้
.
1. แต่ละคนคาดหวังผลตอบแทนไม่เท่ากัน
นักลงทุนทุกคนมี "เป้าหมายผลตอบแทน" ที่เรียกว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังนั่นแหละครับ ซึ่งแต่ละคนก็มีแตกต่างกันออกไปตามเป้าหมายทางการเงินส่วนบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งอัตราผลตอบแทนนี้ เป็นค่าสำคัญที่ใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นในแทบทุกวิธี เช่น
- เป็นอัตราคิดลดใน Model DCF
- เป็นตัวเปรียบเทียบ Earning yield ในวิธี PE
- ใช้เปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตใน Model PEG เป็นต้น
.
ซึ่งถ้าใครคาดหวังผลตอบแทนสูง มูลค่าที่แท้จริงย่อมจะต่ำกว่าคนที่คาดหวังผลตอบแทนต่ำกว่าแน่นอน เช่น ผมคาดหวังผลตอบแทน 10% ต่อปี ส่วนคุณคาดหวังผลตอบแทน 20% ต่อปี ถ้าหุ้น A มี PE 8 เท่า (EY 12.5%) ผมจะคิดว่าต่ำกว่ามูลค่า ส่วนคุณจะคิดว่าสูงกว่ามูลค่า เป็นต้น
.
ดังนั้น คุณควรจะประเมินมูลค่าตามผลตอบแทนที่คาดหวังของตัวคุณเองครับ
.
2. แต่ละคนมองอนาคตของกิจการไม่เหมือนกัน
การประเมินมูลค่าหุ้นนั้นเป็นการมองกิจการเบื้องหลังหุ้นตัวนั้นไปในอนาคตเสมอ ซึ่งต้องอาศัย "Assumption" หรือการ "เดาอย่างมีหลักการ" นั่นแหละครับ ซึ่งอย่างที่รู้ๆกันว่า ไม่มีใครที่สามารถคาดเดาอนาคตได้ถูกต้องแม่นยำ 100% ขนาดหมอดูคงยังไม่กล้าทำนายอนาคตของหุ้นตัวนั้นๆเลย แต่ละคนจึงมองอนาคตของหุ้นแต่ละตัวไม่เหมือนกัน
.
การคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคตที่แตกต่างกันแบบนี้ ราคาที่เหมาะสมก็ต่างกันมากแล้วครับ เช่น ผมอาจจะคาดการณ์รายได้ของหุ้น B เติบโต +30% ต่อปี แต่คุณอาจจะมองว่าหุ้น B โตได้แค่ +10% ต่อปี แบบนี้ผมกับคุณก็จะให้ค่า PE ที่แตกต่างกันมาก
.
โดยทั่วไปแล้วการจะคาดการณ์ได้แม่นยำ ต้องอาศัยทั้ง ความรู้+ความเชื่อ ซึ่งการศึกษาธุรกิจอย่างลึกซึ้งจะทำให้คุณมั่นใจมากขึ้นและมีโอกาสประเมินได้ใกล้เคียงมากขึ้นครับ
.
ดังนั้น คุณควรจะเลือกลงทุนในบริษัทที่คุณเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะ มีโอกาสที่คุณจะคาดการณ์ได้แม่นกว่าคนอื่นๆครับ
.
3. สิ่งที่คาดหวังจากหุ้นตัวนี้และวิธีประเมินมูลค่าต่างกัน
อย่างที่ทุกท่านเคยศึกษามาว่า Method ในการใช้ประเมินมูลค่ามีด้วยกันหลากหลายวิธี ทั้งการคิดลดกระแสเงินสด หรือการใช้ Multiple ซึ่งจะใช้ Model ไหนประเมินนั้นขึ้นอยู่กับว่า "คุณคาดหวังอะไรจากกิจการที่คุณจะลงทุน" ซึ่งแต่ละคนแตกต่างกันออกไป เช่น
.
คุณอาจจะคิดว่าหุ้น C เป็น "หุ้นโตเร็ว" และคาดหวังของกำไรในอนาคต คุณก็อาจจะใช้ PEG ส่วนผมอาจจะคิดว่าหุ้น C เป็น "หุ้นโตช้า" เน้นเงินปันผล ผมจึงใช้ Dividend yield ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้มีใครผิด แค่มองไม่เหมือนกัน และแน่นอนมูลค่าที่แท้จริงก็ต่างกันชัวร์
.
ดังนั้น คุณควรจะประเมินมูลค่า โดย ใช้ Model ที่เหมาะกับสิ่งที่คุณคาดหวังจากหุ้นตัวนั้นครับ
.
4. ระยะเวลาในการลงทุนของแต่ละคนต่างกัน
ระยะเวลาการลงทุนเป็นอีกจุดหนึ่งที่มักเป็นตัวแปรสำคัญใน Model ประเมินมูลค่า ที่แต่ละคนตั้งใจจะมีระยะเวลาถือหุ้นต่างกันอยู่แล้ว ทำให้แต่ละคนประเมินมูลค่าได้ออกมาไม่เท่ากัน เช่น
.
หุ้น D เป็นหุ้นเติบโตที่ยังขาดทุน โดย ทั้งผมและคุณคิดว่าบริษัทจะสามารถทำกำไรได้ในอีก 6 ปีข้างหน้าเหมือนกัน แต่ถ้าคุณตั้งใจจะลงทุนถือ 10 ปี โดยคิด Forward PE ในอีก 10 ข้างหน้า แล้วได้ราคาเทียบกับปัจจุบันยังถูก ส่วนผมอาจจะคิดว่าจะถือหุ้นตัวนี้ไม่เกิด 5 ปี ที่บริษัทยังไม่ได้มีกำไรเลย ผมก็จะคิดว่าแพง
.
ดังนั้น คุณควรจะประเมินมูลค่า โดย ใช้จำนวนปีตามความตั้งใจถือหุ้นของคุณเองครับ
.
5. แต่ละคนให้ส่วนเผื่อความปลอดภัยต่างกัน
นักลงทุน VI อย่างเราเชื่อกันว่า แม้ว่าเราจะศึกษากิจการมาดีมากแค่ไหน แต่เป็นไปไม่ได้ที่คุณจะประเมินอนาคตได้ถูกต้องแม่นยำ ดังนั้น คุณต้องเผื่อ "Margin of safety" ไว้เสมอสำหรับรองรับความเสียหายจาก Error ในการประเมินมูลค่า ซึ่งแต่ละคนให้ค่า Margin of safety (MOS) ต่างกันออกไป ตามความมั่นใจในหุ้นตัวนั้นๆ เช่น
.
คุณศึกษาหุ้น E มาดีมากๆ และค่อนข้างมั่นใจว่ามูลค่าที่ประเมินได้น่าจะใกล้เคียง เลยให้ MOS 10% ส่วนผมอาจจะไม่ค่อยรู้จักหุ้น E ผมจึงไม่มั่นใจมูลค่าที่คำนวณได้เท่าไรนัก ผมจึงให้ MOS สูงหน่อยที่ 40%
.
ดังนั้น คุณควรจะประเมิน MOS ที่เหมาะสมสำหรับหุ้นแต่ละตัว ตามความมั่นใจของตัวคุณเองครับ
.
6. ทุกคนมีอคติในการประเมินมูลค่า
อันนี้จริงๆ แม้ว่าคุณจะตั้งมั่นในหลักการณ์และเหตุผลแค่ไหน แต่ทุกๆการประเมินมูลค่ามีอคติเสมอ ซึ่งแต่ละคนก็มีอคติต่างกันออกไป บางคนอาจจะมองดีเกินจริงหรือบางคนอาจจะมองแย่เกินจริง ซึ่งทั้งหมดส่งผลต่อการคำนวณมูลค่าที่แท้จริงทั้งสิ้น เช่น
.
หุ้น F มีท่านผู้บริหารเป็นคนสวยและเก่ง ส่วนตัวผมอาจจะคิดว่ากิจการของบริษัทนี้ไม่ค่อยดีเท่าไรหรอก แต่ด้วยความหลงเสน่ของท่านผู้บริหาร ผมจึงอาจจะให้ค่าการเติบโตสูงเกินจริง ส่วนถ้าคุณเป็นผู้หญิง ดังนั้น ออร่าของท่านผู้บริหารจึงอาจจะไม่ได้มีผลต่อคุณ เป็นต้น
.
ดังนั้น คุณควรจะประเมินมูลค่า โดย ทบทวนตัวเองอยู่เสมอว่ามันมีอคติหรือเปล่า มันสมเหตุสมผลหรือเปล่า?
.
7. ระหว่างทาง...มูลค่าที่แท้จริงจะเปลี่ยนไปตลอด
นี่อาจจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บอกว่า มูลค่าที่แท้จริงที่ถูกประเมินโดยคนอื่นๆแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะ ถึงแม้คุณจะเชื่อเค้าแล้วตัดสินใจลงทุนไปแล้ว แต่ในระหว่างทางที่ "ถือ" ราคาที่เหมาะสมของหุ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามพื้นฐานของกิจการที่เปลี่ยนไปตลอด และเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะกลับไปถามเค้าได้ทุกครั้ง
.
ดังนั้น การประเมินมูลค่าด้วยตัวคุณเองตั้งแต่ต้น จะทำให้คุณเข้าใจ Assumption ของคุณได้ดีที่สุด และสามารถปรับได้ง่ายเมื่อเวลาผ่านไปครับ
.
เอาเข้าจริงๆก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าที่ประเมินๆไปมันถูกมั้ย 555+ ในระหว่างทางมันต้องมีปัจจัยที่ไม่คาดคิดมากระทบมากมายแน่นอน แถมยังมีภาวะอารมณ์ของตลาดที่ทำให้มูลค่าหุ้นมักจะไม่ค่อยสะท้อนเหตุผลสักเท่าไรด้วย เราจึงไม่รู้หรอกว่า มูลค่าที่คำนวณได้มันเหมาะสมจริงๆมั้ย...
.
อย่างไรก็ตามนั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่คุณจะไม่ประเมินมูลค่าก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะแม้ว่าคุณจะประเมินได้ไม่ถูกต้อง แต่การประเมินได้ใกล้เคียง มีแนวโน้มที่ถูกทาง ผ่านสมมติฐานที่พอจะเป็นไปได้ นั่นก็อาจจะเพียงพอแล้ว ในการใช้เป็นเข็มทิศในการตัดสินใจลงทุน
.
ดังนั้น การประเมินมูลค่าหุ้นจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์และเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ที่แต่ละท่านก็มี ความรู้+ความเชื่อ+ความคาดหวัง+ความระมัดระวัง ที่แตกต่างกันออกไป และทุกๆ Content ของผมจึงจะไม่เขียนเกี่ยวกับมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นรายตัว และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้นำการลงทุนครับ ถ้าผมเคยไม่ตอบคำถามเรื่องราคาหุ้นกับใครแล้วทำให้รู้สึกไม่ดี ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
.
สิ่งที่ให้ได้คงเป็นความรู้ในการประเมินมูลค่าและ Mindset ในการลงทุนเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าคุณทำได้แน่นอน
.
ย้ำอีกครั้งว่านี่เป็นแค่มุมมองส่วนตัวของผมเท่านั้น และไม่ได้มีเจตนา Discredit ใครๆก็ตามที่ให้เป้าราคาหุ้น เค้าน่าจะคำนวณถูกต้องบนสมมติฐานของคนๆนั้น และเค้าอาจจะมีเจตนาที่ดีก็ได้ เป็นหน้าที่ของผู้รับสารเองที่อย่าเชื่อทันที แต่ "ต้องประเมินมูลค่าด้วยตัวคุณเองก่อนตัดสินใจลงทุนครับ" ด้วยความปรารถนาดี
.
ทั้งหมดเป็นแค่มุมมองของผมเพียงคนเดียว อาจจะถูกบ้างผิดบ้างนะครับ ใครมีความคิดเห็นอย่างไรสามารถ comment มาคุยกันได้เลยนะครับ : )
Writer: Pocket investor
.
เวลามีใครมาถามมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นรายตัวเป็นเท่าไร?
ผมจะขอไม่แสดงความคิดเห็นทุกครั้ง...ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะว่า ผมไม่ใช่นักวิเคราะห์ที่จะสามารถชี้เป้าราคาได้ และดูจะเป็นเรื่องผิดกฎกลต. แต่ต่อให้ไม่มีประเด็นนี้ ผมก็คงจะ "ไม่แสดงความเห็นอยู่ดี" ครับ ไม่ใช่เพราะว่าคำถามนี้มันไม่ดีหรอก แต่คิดว่าคนที่ตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด คือ "ตัวคุณเอง"
.
ใช่แล้วครับการประเมินมูลค่าหุ้นที่ดีที่สุด คือ การประเมินด้วยตัวเอง ซึ่งดีกว่าการถามจากคนอื่นๆทั้ง เพื่อนฝูง โบรกเกอร์ หรือเหล่ากูรูหุ้นเป็นไหนๆเลย เพราะ "การประเมินมูลค่าเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์" ที่แม้ว่าจะประเมินมูลค่าหุ้นตัวเดียวกันในเวลาเดียวกัน แต่ละคนจะประเมินมูลค่าออกมาได้ไม่เท่ากันแน่นอน!
.
ความจริงอย่างหนึ่ง คือ "ราคาเหมาะสมของคุณกับผมไม่เท่ากัน" การประเมินมูลค่าจึงเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ที่แต่ละคนคิดต่างกันออกไปที่ไม่ได้มีความถูกต้องเป๊ะๆ เหตุผลมาจากหลายๆปัจจัย ดังนี้
.
1. แต่ละคนคาดหวังผลตอบแทนไม่เท่ากัน
นักลงทุนทุกคนมี "เป้าหมายผลตอบแทน" ที่เรียกว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังนั่นแหละครับ ซึ่งแต่ละคนก็มีแตกต่างกันออกไปตามเป้าหมายทางการเงินส่วนบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งอัตราผลตอบแทนนี้ เป็นค่าสำคัญที่ใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นในแทบทุกวิธี เช่น
- เป็นอัตราคิดลดใน Model DCF
- เป็นตัวเปรียบเทียบ Earning yield ในวิธี PE
- ใช้เปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตใน Model PEG เป็นต้น
.
ซึ่งถ้าใครคาดหวังผลตอบแทนสูง มูลค่าที่แท้จริงย่อมจะต่ำกว่าคนที่คาดหวังผลตอบแทนต่ำกว่าแน่นอน เช่น ผมคาดหวังผลตอบแทน 10% ต่อปี ส่วนคุณคาดหวังผลตอบแทน 20% ต่อปี ถ้าหุ้น A มี PE 8 เท่า (EY 12.5%) ผมจะคิดว่าต่ำกว่ามูลค่า ส่วนคุณจะคิดว่าสูงกว่ามูลค่า เป็นต้น
.
ดังนั้น คุณควรจะประเมินมูลค่าตามผลตอบแทนที่คาดหวังของตัวคุณเองครับ
.
2. แต่ละคนมองอนาคตของกิจการไม่เหมือนกัน
การประเมินมูลค่าหุ้นนั้นเป็นการมองกิจการเบื้องหลังหุ้นตัวนั้นไปในอนาคตเสมอ ซึ่งต้องอาศัย "Assumption" หรือการ "เดาอย่างมีหลักการ" นั่นแหละครับ ซึ่งอย่างที่รู้ๆกันว่า ไม่มีใครที่สามารถคาดเดาอนาคตได้ถูกต้องแม่นยำ 100% ขนาดหมอดูคงยังไม่กล้าทำนายอนาคตของหุ้นตัวนั้นๆเลย แต่ละคนจึงมองอนาคตของหุ้นแต่ละตัวไม่เหมือนกัน
.
การคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคตที่แตกต่างกันแบบนี้ ราคาที่เหมาะสมก็ต่างกันมากแล้วครับ เช่น ผมอาจจะคาดการณ์รายได้ของหุ้น B เติบโต +30% ต่อปี แต่คุณอาจจะมองว่าหุ้น B โตได้แค่ +10% ต่อปี แบบนี้ผมกับคุณก็จะให้ค่า PE ที่แตกต่างกันมาก
.
โดยทั่วไปแล้วการจะคาดการณ์ได้แม่นยำ ต้องอาศัยทั้ง ความรู้+ความเชื่อ ซึ่งการศึกษาธุรกิจอย่างลึกซึ้งจะทำให้คุณมั่นใจมากขึ้นและมีโอกาสประเมินได้ใกล้เคียงมากขึ้นครับ
.
ดังนั้น คุณควรจะเลือกลงทุนในบริษัทที่คุณเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะ มีโอกาสที่คุณจะคาดการณ์ได้แม่นกว่าคนอื่นๆครับ
.
3. สิ่งที่คาดหวังจากหุ้นตัวนี้และวิธีประเมินมูลค่าต่างกัน
อย่างที่ทุกท่านเคยศึกษามาว่า Method ในการใช้ประเมินมูลค่ามีด้วยกันหลากหลายวิธี ทั้งการคิดลดกระแสเงินสด หรือการใช้ Multiple ซึ่งจะใช้ Model ไหนประเมินนั้นขึ้นอยู่กับว่า "คุณคาดหวังอะไรจากกิจการที่คุณจะลงทุน" ซึ่งแต่ละคนแตกต่างกันออกไป เช่น
.
คุณอาจจะคิดว่าหุ้น C เป็น "หุ้นโตเร็ว" และคาดหวังของกำไรในอนาคต คุณก็อาจจะใช้ PEG ส่วนผมอาจจะคิดว่าหุ้น C เป็น "หุ้นโตช้า" เน้นเงินปันผล ผมจึงใช้ Dividend yield ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้มีใครผิด แค่มองไม่เหมือนกัน และแน่นอนมูลค่าที่แท้จริงก็ต่างกันชัวร์
.
ดังนั้น คุณควรจะประเมินมูลค่า โดย ใช้ Model ที่เหมาะกับสิ่งที่คุณคาดหวังจากหุ้นตัวนั้นครับ
.
4. ระยะเวลาในการลงทุนของแต่ละคนต่างกัน
ระยะเวลาการลงทุนเป็นอีกจุดหนึ่งที่มักเป็นตัวแปรสำคัญใน Model ประเมินมูลค่า ที่แต่ละคนตั้งใจจะมีระยะเวลาถือหุ้นต่างกันอยู่แล้ว ทำให้แต่ละคนประเมินมูลค่าได้ออกมาไม่เท่ากัน เช่น
.
หุ้น D เป็นหุ้นเติบโตที่ยังขาดทุน โดย ทั้งผมและคุณคิดว่าบริษัทจะสามารถทำกำไรได้ในอีก 6 ปีข้างหน้าเหมือนกัน แต่ถ้าคุณตั้งใจจะลงทุนถือ 10 ปี โดยคิด Forward PE ในอีก 10 ข้างหน้า แล้วได้ราคาเทียบกับปัจจุบันยังถูก ส่วนผมอาจจะคิดว่าจะถือหุ้นตัวนี้ไม่เกิด 5 ปี ที่บริษัทยังไม่ได้มีกำไรเลย ผมก็จะคิดว่าแพง
.
ดังนั้น คุณควรจะประเมินมูลค่า โดย ใช้จำนวนปีตามความตั้งใจถือหุ้นของคุณเองครับ
.
5. แต่ละคนให้ส่วนเผื่อความปลอดภัยต่างกัน
นักลงทุน VI อย่างเราเชื่อกันว่า แม้ว่าเราจะศึกษากิจการมาดีมากแค่ไหน แต่เป็นไปไม่ได้ที่คุณจะประเมินอนาคตได้ถูกต้องแม่นยำ ดังนั้น คุณต้องเผื่อ "Margin of safety" ไว้เสมอสำหรับรองรับความเสียหายจาก Error ในการประเมินมูลค่า ซึ่งแต่ละคนให้ค่า Margin of safety (MOS) ต่างกันออกไป ตามความมั่นใจในหุ้นตัวนั้นๆ เช่น
.
คุณศึกษาหุ้น E มาดีมากๆ และค่อนข้างมั่นใจว่ามูลค่าที่ประเมินได้น่าจะใกล้เคียง เลยให้ MOS 10% ส่วนผมอาจจะไม่ค่อยรู้จักหุ้น E ผมจึงไม่มั่นใจมูลค่าที่คำนวณได้เท่าไรนัก ผมจึงให้ MOS สูงหน่อยที่ 40%
.
ดังนั้น คุณควรจะประเมิน MOS ที่เหมาะสมสำหรับหุ้นแต่ละตัว ตามความมั่นใจของตัวคุณเองครับ
.
6. ทุกคนมีอคติในการประเมินมูลค่า
อันนี้จริงๆ แม้ว่าคุณจะตั้งมั่นในหลักการณ์และเหตุผลแค่ไหน แต่ทุกๆการประเมินมูลค่ามีอคติเสมอ ซึ่งแต่ละคนก็มีอคติต่างกันออกไป บางคนอาจจะมองดีเกินจริงหรือบางคนอาจจะมองแย่เกินจริง ซึ่งทั้งหมดส่งผลต่อการคำนวณมูลค่าที่แท้จริงทั้งสิ้น เช่น
.
หุ้น F มีท่านผู้บริหารเป็นคนสวยและเก่ง ส่วนตัวผมอาจจะคิดว่ากิจการของบริษัทนี้ไม่ค่อยดีเท่าไรหรอก แต่ด้วยความหลงเสน่ของท่านผู้บริหาร ผมจึงอาจจะให้ค่าการเติบโตสูงเกินจริง ส่วนถ้าคุณเป็นผู้หญิง ดังนั้น ออร่าของท่านผู้บริหารจึงอาจจะไม่ได้มีผลต่อคุณ เป็นต้น
.
ดังนั้น คุณควรจะประเมินมูลค่า โดย ทบทวนตัวเองอยู่เสมอว่ามันมีอคติหรือเปล่า มันสมเหตุสมผลหรือเปล่า?
.
7. ระหว่างทาง...มูลค่าที่แท้จริงจะเปลี่ยนไปตลอด
นี่อาจจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บอกว่า มูลค่าที่แท้จริงที่ถูกประเมินโดยคนอื่นๆแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะ ถึงแม้คุณจะเชื่อเค้าแล้วตัดสินใจลงทุนไปแล้ว แต่ในระหว่างทางที่ "ถือ" ราคาที่เหมาะสมของหุ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามพื้นฐานของกิจการที่เปลี่ยนไปตลอด และเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะกลับไปถามเค้าได้ทุกครั้ง
.
ดังนั้น การประเมินมูลค่าด้วยตัวคุณเองตั้งแต่ต้น จะทำให้คุณเข้าใจ Assumption ของคุณได้ดีที่สุด และสามารถปรับได้ง่ายเมื่อเวลาผ่านไปครับ
.
เอาเข้าจริงๆก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าที่ประเมินๆไปมันถูกมั้ย 555+ ในระหว่างทางมันต้องมีปัจจัยที่ไม่คาดคิดมากระทบมากมายแน่นอน แถมยังมีภาวะอารมณ์ของตลาดที่ทำให้มูลค่าหุ้นมักจะไม่ค่อยสะท้อนเหตุผลสักเท่าไรด้วย เราจึงไม่รู้หรอกว่า มูลค่าที่คำนวณได้มันเหมาะสมจริงๆมั้ย...
.
อย่างไรก็ตามนั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่คุณจะไม่ประเมินมูลค่าก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะแม้ว่าคุณจะประเมินได้ไม่ถูกต้อง แต่การประเมินได้ใกล้เคียง มีแนวโน้มที่ถูกทาง ผ่านสมมติฐานที่พอจะเป็นไปได้ นั่นก็อาจจะเพียงพอแล้ว ในการใช้เป็นเข็มทิศในการตัดสินใจลงทุน
.
ดังนั้น การประเมินมูลค่าหุ้นจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์และเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ที่แต่ละท่านก็มี ความรู้+ความเชื่อ+ความคาดหวัง+ความระมัดระวัง ที่แตกต่างกันออกไป และทุกๆ Content ของผมจึงจะไม่เขียนเกี่ยวกับมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นรายตัว และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้นำการลงทุนครับ ถ้าผมเคยไม่ตอบคำถามเรื่องราคาหุ้นกับใครแล้วทำให้รู้สึกไม่ดี ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
.
สิ่งที่ให้ได้คงเป็นความรู้ในการประเมินมูลค่าและ Mindset ในการลงทุนเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าคุณทำได้แน่นอน
.
ย้ำอีกครั้งว่านี่เป็นแค่มุมมองส่วนตัวของผมเท่านั้น และไม่ได้มีเจตนา Discredit ใครๆก็ตามที่ให้เป้าราคาหุ้น เค้าน่าจะคำนวณถูกต้องบนสมมติฐานของคนๆนั้น และเค้าอาจจะมีเจตนาที่ดีก็ได้ เป็นหน้าที่ของผู้รับสารเองที่อย่าเชื่อทันที แต่ "ต้องประเมินมูลค่าด้วยตัวคุณเองก่อนตัดสินใจลงทุนครับ" ด้วยความปรารถนาดี
.
ทั้งหมดเป็นแค่มุมมองของผมเพียงคนเดียว อาจจะถูกบ้างผิดบ้างนะครับ ใครมีความคิดเห็นอย่างไรสามารถ comment มาคุยกันได้เลยนะครับ : )
Writer: Pocket investor