ดัชนีวัดอำนาจของประเทศในเอเชีย (2)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 16, 2021 7:52 pm
ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้วผมกล่าวถึง Lowy Institute Asia Power Index ครั้งนี้จะดูรายละเอียดของข้อมูล ที่ใช้ประเมินคะแนนอำนาจของประเทสไทย
ในครั้งที่แล้ว ผมกล่าวถึงสถาบันวิจัย (Think Tank) ของออสเตรเลียที่ชื่อว่า Lowy Institute ที่ได้จัดทำ Lowy Institute Asia Power Index หรือดัชนีอำนาจของประเทศในเอเชีย ติดต่อกันมาแล้ว 3 ปีตั้งแต่ปี 2561 และสำหรับปี 2563 นั้น ก็ได้กำหนดให้ไทยเป็นประเทศที่มีอำนาจรวมเป็น 9 จาก 26 ประเทศในเอเชียด้วยคะแนน 20.8 ตามด้วย มาเลเซีย (20.7) อินโดนีเซีย (19.9) และเวียดนาม (19.2)
ทั้งนี้ ผมสนใจรายละเอียดของจุดอ่อนและจุดแข็งของไทยเทียบกับเวียดนาม จึงจะขอนำรายละเอียดมาสรุปให้อ่านกันในครั้งนี้ครับ
หากเข้าไปดูในรายละเอียดของข้อมูลที่นำไปใช้ประเมินคะแนนอำนาจของประเทศไทยก็พอจะสรุปได้ว่าจุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศคือ
จุดแข็งประเทศไทย
1. อิทธิพลทางวัฒนธรรมผ่านการท่องเที่ยว โดยไทยได้คะแนน 65.3 สำหรับดัชนี People Exchanges เป็นที่ 2 ของภูมิภาค
2. ความสัมพันธ์ทางการค้าได้คะแนน 15.4 เป็นที่ 6 ของภูมิภาค
3. อำนาจทางเศรษฐกิจผ่านอิทธิพลด้านพหุภาคี (multilateral power) ได้คะแนน 61.45 เป็นที่ 6 ของภูมิภาค
จุดอ่อนประเทศไทย
1. ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ (อันนี้ไม่พึงประสงค์อยู่แล้ว) ผมจึงไม่ขอนับแต่แจ้งให้ทราบ
2. ความมั่นคงในเชิงภูมิศาสตรากรเมือง (Geopolitical security) มีคะแนน 20.9 เป็นที่ 18 ของภูมิภาค
3. กองทัพได้คะแนน 21.5 เป็นที่ 16 ของภูมิภาค (จุดอ่อนคือ command and control และ combat experience)
4. ทรัพยากรด้านประชากรได้คะแนนเพียง 2 คะแนน เป็นที่ 15 ของภูมิภาค ตรงนี้วัดจากการคาดการณ์จำนวนประชากรในวัยทำงานในปี 2593 ซึ่งลดลงอย่างมาก
ทั้งนี้ ผมจะสรุปจากดัชนีต่างๆ ว่าจุดอ่อนที่น่าเป็นห่วงที่สุดของประเทศไทยโดยรวมคือ Future Resources (หรือทรัพยากรในอนาคตในปี 2573 ของไทยใน 3 ด้านคือด้านเศรษฐกิจ ด้านการทหารและด้านประชากร) นั้นได้คะแนนรวมหมวดนี้เพียง 5.4 คะแนน คิดเป็นลำดับที่ 16 ของภูมิภาค ในขณะที่เวียดนามนั้นได้คะแนน 7.7 คะแนนคิดเป็นอันดับที่ 10 ของภูมิภาค
ดังนั้น จึงน่าจะสรุปได้ว่าภายใน 10 ปีข้าวหน้าดัชนีอำนาจของเวียดนามน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเทียบเท่ากับประเทศไทยได้ เพราะปัจจุบันก็ต่ำกว่าไทยเพียงเล็กน้อย คือไทยเท่ากับ 20.8 และเวียดนามเท่ากับ 19.2 และที่น่าแปลกใจคือปัจจุบันเวียดนามแซงไทยไปแล้วในด้านการทหาร (military capability) คือเวียดนามลำดับที่ 11 (คะแนน 20.4) ไทยลำดับที่ 14 (คะแนน 14) และด้านอิทธิพลทางการทูตคือเวียดนามลำดับที่ 9 (คะแนน 52.4) ไทยลำดับที่ 13 (คะแนน 45.8)
บางคนอาจมองว่าการให้คะแนนดังกล่าวข้าวต้นเป็นเรื่องของการประเมินในเชิงของนามธรรมมากกว่ารูปธรรม ดังนั้น ผมจึงขอนำเอาตัวอย่างของเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุดคือ “ข้าว” ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นที่หนึ่งของโลกมานานกว่า 30 ปี แต่เมื่อปี 2558 ถูกอินเดียแซงหน้า (ซึ่งอ้างได้ว่าอินเดียพยายามระบายสต็อกข้าวออกมา) แต่ในปี 2563 ที่ผ่านมานั้นปรากฏว่าเวียดนามน่าจะแซงหน้าประเทศไทย ทำให้ไทยตกเป็นอันดับ 3 ในการส่งออกข้าวสู่ตลาดโลก (ลงมาเหลือเพียงประมาณ 7.5 ล้านตันจากที่เคยส่งออก 9-10 ล้านตันต่อปี)
แต่ก็อาจอ้างได้ว่า เราไม่สนใจปริมาณเพราะราคาข้าวของไทยสูงกว่าที่อื่น เนื่องจากข้าวไทยเป็นข้าวคุณภาพสูง แต่ตรงนี้ก็ไม่ค่อยจะเป็นความจริงมากนัก เพราะข้าวไทยมีจุดด้อยหลักๆ ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเวียดนาม
1. ผลผลิตข้าวต่อไร่ของไทยประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เวียดนามผลิตได้ 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่
2. ต้นทุนการผลิตข้าวของเวียดนามต่ำกว่าไทยและอาจต่ำกว่าถึง 50%
3. เวียดนามทำข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป ทำให้สามารถเจาะตลาดที่ยุโรปได้ดีกว่าไทย
4. ความนิยมข้าวปรับเปลี่ยนไปสู่ข้าวที่เม็ดสั้นและนิ่มที่เวียดนามผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดจีนและฟิลิปปินส์ ในขณะที่ไทยผลิตข้าวเม็ดยาวและเนื้อแข็งกว่า
5. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องประมาณเกือบ 20%
กระทรวงพาณิชย์ไทยได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีที่จะพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ (แหล่งข่าวจากสื่อแต่ผมสงสัยว่าน่าจะเป็นกระทรวงเกษตรมากกว่า?) 12 พันธุ์ ได้แก่ 4 พันธุ์ที่เนื้อข้าวแข็ง 4 พันธุ์ที่เนื้อข้าวอ่อน 2 พันธุ์ที่เป็นข้าวหอมมะลิและ 2 พันธุ์ที่เป็นข้าวที่มีคุณประโยชน์ทางโภชนาการสูง ดังนั้น จึงคงจะต้องลุ้นใน 5 ปีข้างหน้าว่าประเทศไทยจะแข่งขันกับเวียดนามได้หรือไม่ ในเรื่องใกล้ตัวคือ “ข้าว” ครับ
ในครั้งที่แล้ว ผมกล่าวถึงสถาบันวิจัย (Think Tank) ของออสเตรเลียที่ชื่อว่า Lowy Institute ที่ได้จัดทำ Lowy Institute Asia Power Index หรือดัชนีอำนาจของประเทศในเอเชีย ติดต่อกันมาแล้ว 3 ปีตั้งแต่ปี 2561 และสำหรับปี 2563 นั้น ก็ได้กำหนดให้ไทยเป็นประเทศที่มีอำนาจรวมเป็น 9 จาก 26 ประเทศในเอเชียด้วยคะแนน 20.8 ตามด้วย มาเลเซีย (20.7) อินโดนีเซีย (19.9) และเวียดนาม (19.2)
ทั้งนี้ ผมสนใจรายละเอียดของจุดอ่อนและจุดแข็งของไทยเทียบกับเวียดนาม จึงจะขอนำรายละเอียดมาสรุปให้อ่านกันในครั้งนี้ครับ
หากเข้าไปดูในรายละเอียดของข้อมูลที่นำไปใช้ประเมินคะแนนอำนาจของประเทศไทยก็พอจะสรุปได้ว่าจุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศคือ
จุดแข็งประเทศไทย
1. อิทธิพลทางวัฒนธรรมผ่านการท่องเที่ยว โดยไทยได้คะแนน 65.3 สำหรับดัชนี People Exchanges เป็นที่ 2 ของภูมิภาค
2. ความสัมพันธ์ทางการค้าได้คะแนน 15.4 เป็นที่ 6 ของภูมิภาค
3. อำนาจทางเศรษฐกิจผ่านอิทธิพลด้านพหุภาคี (multilateral power) ได้คะแนน 61.45 เป็นที่ 6 ของภูมิภาค
จุดอ่อนประเทศไทย
1. ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ (อันนี้ไม่พึงประสงค์อยู่แล้ว) ผมจึงไม่ขอนับแต่แจ้งให้ทราบ
2. ความมั่นคงในเชิงภูมิศาสตรากรเมือง (Geopolitical security) มีคะแนน 20.9 เป็นที่ 18 ของภูมิภาค
3. กองทัพได้คะแนน 21.5 เป็นที่ 16 ของภูมิภาค (จุดอ่อนคือ command and control และ combat experience)
4. ทรัพยากรด้านประชากรได้คะแนนเพียง 2 คะแนน เป็นที่ 15 ของภูมิภาค ตรงนี้วัดจากการคาดการณ์จำนวนประชากรในวัยทำงานในปี 2593 ซึ่งลดลงอย่างมาก
ทั้งนี้ ผมจะสรุปจากดัชนีต่างๆ ว่าจุดอ่อนที่น่าเป็นห่วงที่สุดของประเทศไทยโดยรวมคือ Future Resources (หรือทรัพยากรในอนาคตในปี 2573 ของไทยใน 3 ด้านคือด้านเศรษฐกิจ ด้านการทหารและด้านประชากร) นั้นได้คะแนนรวมหมวดนี้เพียง 5.4 คะแนน คิดเป็นลำดับที่ 16 ของภูมิภาค ในขณะที่เวียดนามนั้นได้คะแนน 7.7 คะแนนคิดเป็นอันดับที่ 10 ของภูมิภาค
ดังนั้น จึงน่าจะสรุปได้ว่าภายใน 10 ปีข้าวหน้าดัชนีอำนาจของเวียดนามน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเทียบเท่ากับประเทศไทยได้ เพราะปัจจุบันก็ต่ำกว่าไทยเพียงเล็กน้อย คือไทยเท่ากับ 20.8 และเวียดนามเท่ากับ 19.2 และที่น่าแปลกใจคือปัจจุบันเวียดนามแซงไทยไปแล้วในด้านการทหาร (military capability) คือเวียดนามลำดับที่ 11 (คะแนน 20.4) ไทยลำดับที่ 14 (คะแนน 14) และด้านอิทธิพลทางการทูตคือเวียดนามลำดับที่ 9 (คะแนน 52.4) ไทยลำดับที่ 13 (คะแนน 45.8)
บางคนอาจมองว่าการให้คะแนนดังกล่าวข้าวต้นเป็นเรื่องของการประเมินในเชิงของนามธรรมมากกว่ารูปธรรม ดังนั้น ผมจึงขอนำเอาตัวอย่างของเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุดคือ “ข้าว” ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นที่หนึ่งของโลกมานานกว่า 30 ปี แต่เมื่อปี 2558 ถูกอินเดียแซงหน้า (ซึ่งอ้างได้ว่าอินเดียพยายามระบายสต็อกข้าวออกมา) แต่ในปี 2563 ที่ผ่านมานั้นปรากฏว่าเวียดนามน่าจะแซงหน้าประเทศไทย ทำให้ไทยตกเป็นอันดับ 3 ในการส่งออกข้าวสู่ตลาดโลก (ลงมาเหลือเพียงประมาณ 7.5 ล้านตันจากที่เคยส่งออก 9-10 ล้านตันต่อปี)
แต่ก็อาจอ้างได้ว่า เราไม่สนใจปริมาณเพราะราคาข้าวของไทยสูงกว่าที่อื่น เนื่องจากข้าวไทยเป็นข้าวคุณภาพสูง แต่ตรงนี้ก็ไม่ค่อยจะเป็นความจริงมากนัก เพราะข้าวไทยมีจุดด้อยหลักๆ ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเวียดนาม
1. ผลผลิตข้าวต่อไร่ของไทยประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เวียดนามผลิตได้ 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่
2. ต้นทุนการผลิตข้าวของเวียดนามต่ำกว่าไทยและอาจต่ำกว่าถึง 50%
3. เวียดนามทำข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป ทำให้สามารถเจาะตลาดที่ยุโรปได้ดีกว่าไทย
4. ความนิยมข้าวปรับเปลี่ยนไปสู่ข้าวที่เม็ดสั้นและนิ่มที่เวียดนามผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดจีนและฟิลิปปินส์ ในขณะที่ไทยผลิตข้าวเม็ดยาวและเนื้อแข็งกว่า
5. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องประมาณเกือบ 20%
กระทรวงพาณิชย์ไทยได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีที่จะพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ (แหล่งข่าวจากสื่อแต่ผมสงสัยว่าน่าจะเป็นกระทรวงเกษตรมากกว่า?) 12 พันธุ์ ได้แก่ 4 พันธุ์ที่เนื้อข้าวแข็ง 4 พันธุ์ที่เนื้อข้าวอ่อน 2 พันธุ์ที่เป็นข้าวหอมมะลิและ 2 พันธุ์ที่เป็นข้าวที่มีคุณประโยชน์ทางโภชนาการสูง ดังนั้น จึงคงจะต้องลุ้นใน 5 ปีข้างหน้าว่าประเทศไทยจะแข่งขันกับเวียดนามได้หรือไม่ ในเรื่องใกล้ตัวคือ “ข้าว” ครับ