COVID-19 ปี 2020 VS COVID-19 ปี 2021 ในประเทศไทย/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 13, 2021 1:56 pm
การระบาดของโควิด-19 รอบนี้คือ ตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค.2020 เป็นต้นมา มีความแตกต่างที่สำคัญจากการระบาดรอบที่แล้วในช่วงปลายเดือน มี.ค.-เม.ย.2020 ความแตกต่างของการระบาดของทั้งสองรอบในประเทศไทย สามารถสรุปได้ดังนี้
1.การระบาดรอบแรกในเดือน มี.ค.-เม.ย.2020 นั้น พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยต่อวันสูงสุดประมาณ 120 คน แต่รอบล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันประมาณกว่า 300 คนและอาจปรับตัวสูงขึ้นต่อไปอีกได้
2.รอบแรกนั้นเกิดความตื่นกลัวอย่างมาก เพราะรัฐบาลเองก็บอกให้ประชาชนกลัวและเป็นเรื่องแปลกใหม่ แต่รอบนี้แม้ว่าจะระบาดรุนแรงกว่ารอบแรกที่แล้วมาก แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่และรัฐบาลก็พยายามไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก ไม่กล้าปิดเศรษฐกิจและประกาศเคอร์ฟิว เพราะรู้ว่ารอบนี้ความเสียหายอาจจะสูงและยืดเยื้อมากกว่ารอบที่แล้วก็ได้
3.ขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังเปราะบางอยู่มาก เพราะเศรษฐกิจยังแทบจะไม่ได้มีโอกาสฟื้นตัวจากการระบาดรอบที่แล้วเลย จีดีพีเพิ่งติดลบไป 6-7% ในปี 2020 และที่เดิมคาดเอาไว้ว่าจีดีพีจะขยายตัวได้ 4% ในปี 2021 นั้น อาจต้องลดการคาดการณ์ลงมาเหลือเพียง 2% หรือต่ำกว่านั้นก็ได้
4.การระบาดรอบนี้จะแก้ไขยากกว่ารอบที่แล้วอย่างมาก เพราะต้นเหตุของการระบาดแตกต่างกัน ในเดือน มี.ค.-เม.ย.2020 นั้น การระบาดมีต้นเหตุมาจากคนไทยและชาวต่างประเทศที่เป็น โควิด-19 เดินทางกลับมาประเทศไทยทางอากาศยาน แล้วนำเอา โควิด-19 กลับมาด้วย แนวทางจัดการคือการยุติการเดินทางเข้า-ออกประเทศทางอากาศแล้วปิดกิจกรรมภายในประเทศ (ล็อกดาวน์) เป็นการชั่วคราวก็สามารถยุติการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้ ทำให้มีผู้ติดเชื้อสะสมเพียง 3,000-4,000 รายและเสียชีวิต 50 กว่าราย
ณ เวลานั้น ประเทศเพื่อนบ้านไม่มีผู้ป่วยเป็นโควิด-19 เลย เพราะประเทศแรกๆ ที่รับเอาโควิด-19 กลับมาภูมิภาคนี้คือ ประเทศที่เศรษฐกิจเปิดและพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง เช่น ประเทศไทย สิงคโปร์ เกาหลีใต้และฮ่องกง เป็นต้น
5.แต่รอบนี้คือปี 2021 ประเทศไทยอยู่กับภาวะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ คือ เมียนมาและมาเลเซียกำลังต้องเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ที่ค่อนข้างจะหนักหน่วง กล่าวคือ
5.1 เมียนมา: มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 127,584 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 2,766 รายและยังมีผู้ป่วยที่ต้องดูแลอยู่ในขณะนี้ 15,000 ราย โดยพบผู้ป่วยรายใหม่วันละประมาณ 630 คน
5.2 มาเลเซีย: มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 122,845 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 509 คนและยังมีผู้ป่วยที่ต้องดูแลอยู่ในขณะนี้ 22,089 คน โดยพบผู้ป่วยรายใหม่วันละประมาณ 2,000 คน
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีชายแดนติดกับเมียนมายาวประมาณ 2,400 กิโลเมตรและชายแดนติดกับมาเลเซียยาวประมาณ 595 กิโลเมตร ดังนั้น หากเวลาผ่านไปแล้วจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยต่อวันจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนใกล้เคียงกับประเทศเมียนมาและมาเลเซีย ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดแต่อย่างใด
6.ประเด็นที่สำคัญคือ ประเทศไทยพึ่งพาเมียนมาและมาเลเซียอย่างมากในเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งพาแรงงานจากประเทศเมียนมา และส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าน่าจะมีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมายเป็นจำนวนมากเป็นล้านราย ซึ่งควบคุมได้ยาก เพราะเป็นกระบวนการที่ผู้ที่มีอิทธิพลได้ผลประโยชน์มูลค่ามหาศาล คล้ายคลึงกับกิจกรรมเลี่ยงกฎหมายอื่นๆ ที่กำลังเป็นสาเหตุการแพร่ขยายของโควิด-19 คือ “บ่อนการพนัน” เป็นต้น กล่าวคือการปราบปรามจึงน่าจะทำได้อย่างไม่ทั่วถึงและขาดประสิทธิภาพ ทำให้ปัญหาน่าจะยืดเยื้อ แตกต่างจากการยุติการบินเข้า-ออกประเทศเมื่อเดือน มี.ค.-เม.ย.2020
7.รอบที่แล้วเศรษฐกิจได้รับผลกระทบหลักๆ จากการสูญเสียอุปสงค์ (demand) ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดิมเคยเดินทางเข้าประเทศไทยประมาณ 40 ล้านคนต่อปี เหลือเพียง 6 ล้านคนในปี 2020 และในปี 2021 นั้นอาจมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้เพียง 5-6 ล้านคนหรือน้อยกว่านั้นก็เป็นได้
แต่ผมคิดว่าประเด็นสำคัญที่แตกต่างจากรอบที่แล้ว (ในเดือน มี.ค.-เม.ย.2020) คือรอบนี้ภาคการผลิต (supply) เสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญด้วย ไม่เพียงแต่การต้องเผชิญกับการหดตัวของอุปสงค์ เพราะดังที่เห็นได้จากกรณีของสมุทรสาครแหล่งแพร่เชื้อคือ แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายที่มีปะปนอยู่กับแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายและแรงงานไทยในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ (โควิด-19 คงไม่เลือกเข้าไปเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการทำอาหารทะเล)
ดังนั้น เมื่อเห็นว่า โควิด-19 แพร่ขยายไปถึง จ.ชลบุรีและระยอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือหลัก 2 ท่าเรือของประเทศคือ แหลมฉบังและมาบตาพุด ก็ทำให้เห็นได้ว่า ระบบห่วงโซ่การผลิต (supply chain) ของประเทศไทยเสี่ยงได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญได้ในการระบาดใหม่รอบนี้
8.การพึ่งพาแรงงานต่างด้าว (ที่ปัจจุบันมีทั้งแบบที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย) นั้น เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศไทยเพราะประชากรของไทยกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนประชากรที่อยู่ในวัยทำงานจะลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 43.26 ล้านคนในปี 2020 มาเป็น 36.5 ล้านคนในปี 2583 การสูญเสียแรงงานกว่า 6 ล้านคนใน 20 ปีข้างหน้า หมายความว่า ประเทศไทยจะต้องมีนโยบายแรงงานต่างด้าวที่ชัดเจนและถูกต้องในการส่งเสริมเศรษฐกิจพร้อมไปกับความมั่นคงทางสาธารณสุข ซึ่งอาจเน้นการใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์ หรือการที่ระบบนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายและปลอดภัย เช่น ที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ สิงคโปร์นำเข้าแรงงานประมาณ 1.35 ล้านคน (คิดเป็นสัดส่วนกว่า 20% ของประชากรสิงคโปร์) และเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวในเดือน เม.ย.และพ.ค.2020 แต่ก็สามารถควบคุมการระบาดได้จนประสบความสำเร็จ กล่าวคือปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพียงวันละประมาณ 27 คน
1.การระบาดรอบแรกในเดือน มี.ค.-เม.ย.2020 นั้น พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยต่อวันสูงสุดประมาณ 120 คน แต่รอบล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันประมาณกว่า 300 คนและอาจปรับตัวสูงขึ้นต่อไปอีกได้
2.รอบแรกนั้นเกิดความตื่นกลัวอย่างมาก เพราะรัฐบาลเองก็บอกให้ประชาชนกลัวและเป็นเรื่องแปลกใหม่ แต่รอบนี้แม้ว่าจะระบาดรุนแรงกว่ารอบแรกที่แล้วมาก แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่และรัฐบาลก็พยายามไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก ไม่กล้าปิดเศรษฐกิจและประกาศเคอร์ฟิว เพราะรู้ว่ารอบนี้ความเสียหายอาจจะสูงและยืดเยื้อมากกว่ารอบที่แล้วก็ได้
3.ขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังเปราะบางอยู่มาก เพราะเศรษฐกิจยังแทบจะไม่ได้มีโอกาสฟื้นตัวจากการระบาดรอบที่แล้วเลย จีดีพีเพิ่งติดลบไป 6-7% ในปี 2020 และที่เดิมคาดเอาไว้ว่าจีดีพีจะขยายตัวได้ 4% ในปี 2021 นั้น อาจต้องลดการคาดการณ์ลงมาเหลือเพียง 2% หรือต่ำกว่านั้นก็ได้
4.การระบาดรอบนี้จะแก้ไขยากกว่ารอบที่แล้วอย่างมาก เพราะต้นเหตุของการระบาดแตกต่างกัน ในเดือน มี.ค.-เม.ย.2020 นั้น การระบาดมีต้นเหตุมาจากคนไทยและชาวต่างประเทศที่เป็น โควิด-19 เดินทางกลับมาประเทศไทยทางอากาศยาน แล้วนำเอา โควิด-19 กลับมาด้วย แนวทางจัดการคือการยุติการเดินทางเข้า-ออกประเทศทางอากาศแล้วปิดกิจกรรมภายในประเทศ (ล็อกดาวน์) เป็นการชั่วคราวก็สามารถยุติการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้ ทำให้มีผู้ติดเชื้อสะสมเพียง 3,000-4,000 รายและเสียชีวิต 50 กว่าราย
ณ เวลานั้น ประเทศเพื่อนบ้านไม่มีผู้ป่วยเป็นโควิด-19 เลย เพราะประเทศแรกๆ ที่รับเอาโควิด-19 กลับมาภูมิภาคนี้คือ ประเทศที่เศรษฐกิจเปิดและพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง เช่น ประเทศไทย สิงคโปร์ เกาหลีใต้และฮ่องกง เป็นต้น
5.แต่รอบนี้คือปี 2021 ประเทศไทยอยู่กับภาวะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ คือ เมียนมาและมาเลเซียกำลังต้องเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ที่ค่อนข้างจะหนักหน่วง กล่าวคือ
5.1 เมียนมา: มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 127,584 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 2,766 รายและยังมีผู้ป่วยที่ต้องดูแลอยู่ในขณะนี้ 15,000 ราย โดยพบผู้ป่วยรายใหม่วันละประมาณ 630 คน
5.2 มาเลเซีย: มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 122,845 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 509 คนและยังมีผู้ป่วยที่ต้องดูแลอยู่ในขณะนี้ 22,089 คน โดยพบผู้ป่วยรายใหม่วันละประมาณ 2,000 คน
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีชายแดนติดกับเมียนมายาวประมาณ 2,400 กิโลเมตรและชายแดนติดกับมาเลเซียยาวประมาณ 595 กิโลเมตร ดังนั้น หากเวลาผ่านไปแล้วจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยต่อวันจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนใกล้เคียงกับประเทศเมียนมาและมาเลเซีย ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดแต่อย่างใด
6.ประเด็นที่สำคัญคือ ประเทศไทยพึ่งพาเมียนมาและมาเลเซียอย่างมากในเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งพาแรงงานจากประเทศเมียนมา และส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าน่าจะมีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมายเป็นจำนวนมากเป็นล้านราย ซึ่งควบคุมได้ยาก เพราะเป็นกระบวนการที่ผู้ที่มีอิทธิพลได้ผลประโยชน์มูลค่ามหาศาล คล้ายคลึงกับกิจกรรมเลี่ยงกฎหมายอื่นๆ ที่กำลังเป็นสาเหตุการแพร่ขยายของโควิด-19 คือ “บ่อนการพนัน” เป็นต้น กล่าวคือการปราบปรามจึงน่าจะทำได้อย่างไม่ทั่วถึงและขาดประสิทธิภาพ ทำให้ปัญหาน่าจะยืดเยื้อ แตกต่างจากการยุติการบินเข้า-ออกประเทศเมื่อเดือน มี.ค.-เม.ย.2020
7.รอบที่แล้วเศรษฐกิจได้รับผลกระทบหลักๆ จากการสูญเสียอุปสงค์ (demand) ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดิมเคยเดินทางเข้าประเทศไทยประมาณ 40 ล้านคนต่อปี เหลือเพียง 6 ล้านคนในปี 2020 และในปี 2021 นั้นอาจมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้เพียง 5-6 ล้านคนหรือน้อยกว่านั้นก็เป็นได้
แต่ผมคิดว่าประเด็นสำคัญที่แตกต่างจากรอบที่แล้ว (ในเดือน มี.ค.-เม.ย.2020) คือรอบนี้ภาคการผลิต (supply) เสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญด้วย ไม่เพียงแต่การต้องเผชิญกับการหดตัวของอุปสงค์ เพราะดังที่เห็นได้จากกรณีของสมุทรสาครแหล่งแพร่เชื้อคือ แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายที่มีปะปนอยู่กับแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายและแรงงานไทยในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ (โควิด-19 คงไม่เลือกเข้าไปเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการทำอาหารทะเล)
ดังนั้น เมื่อเห็นว่า โควิด-19 แพร่ขยายไปถึง จ.ชลบุรีและระยอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือหลัก 2 ท่าเรือของประเทศคือ แหลมฉบังและมาบตาพุด ก็ทำให้เห็นได้ว่า ระบบห่วงโซ่การผลิต (supply chain) ของประเทศไทยเสี่ยงได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญได้ในการระบาดใหม่รอบนี้
8.การพึ่งพาแรงงานต่างด้าว (ที่ปัจจุบันมีทั้งแบบที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย) นั้น เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศไทยเพราะประชากรของไทยกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนประชากรที่อยู่ในวัยทำงานจะลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 43.26 ล้านคนในปี 2020 มาเป็น 36.5 ล้านคนในปี 2583 การสูญเสียแรงงานกว่า 6 ล้านคนใน 20 ปีข้างหน้า หมายความว่า ประเทศไทยจะต้องมีนโยบายแรงงานต่างด้าวที่ชัดเจนและถูกต้องในการส่งเสริมเศรษฐกิจพร้อมไปกับความมั่นคงทางสาธารณสุข ซึ่งอาจเน้นการใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์ หรือการที่ระบบนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายและปลอดภัย เช่น ที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ สิงคโปร์นำเข้าแรงงานประมาณ 1.35 ล้านคน (คิดเป็นสัดส่วนกว่า 20% ของประชากรสิงคโปร์) และเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวในเดือน เม.ย.และพ.ค.2020 แต่ก็สามารถควบคุมการระบาดได้จนประสบความสำเร็จ กล่าวคือปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพียงวันละประมาณ 27 คน