วัคซีนโควิดฝีมือคนไทย/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 15, 2020 10:28 pm
แม้จะมีข่าวดีเรื่องการผลิตวัคซีนป้องกันโควิดที่เร็วกว่าความคาดหมาย ทั้งของไฟเซอร์ โมเดอร์นา และแอสตราเซเนกา(AZN)-อ็อกซฟอร์ด รวมถึงข่าวที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรซึ่งจองซื้อวัคซีนไว้ 100 ล้านโดส ได้เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ให้ประชาชนแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่คนไทยในหลายจังหวัดต่างรู้สึกหนาวๆร้อนๆเพราะกลัวเชื้อโควิดนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งผู้นำเข้ากระจายไปตามจังหวัดต่างๆหลายจังหวัด ทำให้บรรยากาศของวันหยุดที่รัฐบาลอุตส่าห์ย้ายให้มาอยู่รวมกันเพื่อให้กลายเป็นวันหยุดยาวในเดือนธันวาคมกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศดูไม่คึกคักเหมือนที่คาดเอาไว้
อย่างไรก็ดี ด้วยเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้าในหุ้นตลาดเกิดใหม่ ก็ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สามารถปรับตัวขึ้นไปได้ แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า มีการขายทำกำไรจากผู้ลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อยของไทย และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆแล้ว ประเทศไทยถือว่าอยู่ในอันดับหนึ่งในการบริหารจัดการเรื่องโควิด โดยครองอันดับร่วมกับนิวซีแลนด์ ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติมั่นใจมากขึ้นว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ดีกว่าอีกหลายประเทศ เพราะอย่างน้อยก็มีเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังเดินหน้าอยู่ ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ต้องประกาศล็อกดาวน์ครั้งที่ 2 หรือ 3 กันแล้ว และไม่มีทีท่าว่าการระบาดของโรคจะสิ้นสุดลงง่ายๆ
ข้อเท็จจริงก็คือ กว่าที่คนส่วนใหญ่จะได้รับวัคซีน จะต้องกินเวลาไปอีกระยะหนึ่ง เพราะวัคซีนจะผลิตไม่ทันค่ะ
เป็นเรื่องดีที่รัฐบาลไทยได้มีการเจรจาจองซื้อวัคซีนของแอสตราเซเนกา-อ็อกซฟอร์ด ที่ชื่อ AZD1222 ไว้แล้ว 26 ล้านโดส แต่ 26 ล้านโดสนี้ ก็ฉีดให้ประชากรได้ 13 ล้านคน ยังไม่ทั่วทั้งหมดทุกคนค่ะ ซึ่งวัคซีนนี้ เป็นงานวิจัยจากต่างประเทศ และประเทศไทย โดยกลุ่มซีเมนต์ไทย ได้เข้าร่วมโครงการด้วย ทั้งนี้บริษัทสยามไบโอไซน์ ของไทยจะได้สิทธิมาผลิต และประเทศไทยจะเป็นฐานผลิตวัคซีนนี้ป้อนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีข่าวมาอีกว่ารัฐบาลของหลายประเทศรวมถึงกัมพูชา ออกมายอมรับว่าไม่มีงบประมาณซื้อวัคซีนให้ประชาชน ต้องรอรับการบริจาคเท่านั้น
ทำอย่างไรจึงจะมีวัคซีนใช้อย่างทั่วถึง เพื่อให้คนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานโรค คำตอบก็คือต้องผลิตให้ได้มากๆ และราคาต้องอยู่ในระดับที่รัฐบาลหรือผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าจะยากดีมีจน สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ด้วย
ท่านคงพอจะได้รับทราบจากข่าวมาบ้างแล้วว่า นอกจากวัคซีน AZD1222 ที่ไทยร่วมเป็นภาคีด้วยของ แอสตราเซเนกา-อ็อกซฟอร์ดนี้ ไทยเรายังมีการวิจัยของ ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาวัคซีน แบบ mRNA เช่นเดียวกับที่ ไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ใช้ โดยกำลังจะเริ่มทดสอบฉีดในอาสาสมัครประมาณเดือนเมษายน 2564
อีกโครงการหนึ่งคือวัคซีนที่ใช้เทคนิคการผลิตโปรตีนจากใบพืช โดยใส่รหัสพันธุกรรมในใบพืช เพื่อให้พืชปลิตโปรตีนออกมา และใช้กระบวนการทำให้โปรตีนบริสุทธิ์แยะออกมาจากโปรตีนอื่นๆของพืช นำโปรตีนมาศึกษาลักษณะโครงสร้างก่อนที่จะนำไปใช้พัฒนาวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันในการยับยั้งเชื้อไวรัส โดย ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และ รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สองผู้ก่อตั้ง ซึ่งเป็น CEO และ CTO ของบริษัทใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพในความดูแลของ CU Enterprise
วัคซีนของใบยาไฟโตฟาร์ม ประสบความสำเร็จในการพัฒนาในหนูและในลิงแล้ว กำลังจะทดสอบ “ผลอันไม่พึงประสงค์” ในหนูตัวใหญ่ และคาดว่าจะเริ่มผลิต ด้วยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย รวมถึง องค์การเภสัชกรรม และ KINGEN BIOTECH ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และจะนำไปทดสอบในคนช่วงกลางปี 2564 โดยคาดว่า ไม่เกินปลายปี 2564 คนไทยน่าจะได้ใช้วัคซีนตัวนี้
ข้อดีของวัคซีนจากโปรตีนจากใบพืชคือใช้เวลาผลิตโปรตีนไม่นาน จึงเหมาะสำหรับโรคอุบัติใหม่ เพราะผลิตโปรตีนได้ปริมาณสูงที่สุด ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด และหากเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์ ก็จะสามารถป้อนรหัสพันธุกรรมเพื่อผลิตโปรตีนใหม่มารองรับได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ การเลือกชิ้นส่วนเดียวของโปรตีนที่เราทราบว่ากระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ก็จะทำให้ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์น้อยกว่าวัคซีนแบบเชื้อเป็นหรือเชื้อตาย ซึ่งมีส่วนประกอบของโปรตีนของเชื้อหลายชนิด จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้สูงกว่า
การนำโปรตีนพืชมาใช้ทำยาหรือวัคซีนเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาหลายปีแล้ว โดยที่นำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยด้วยไวรัสอีโบลา (Ebola Virus Disease - EVD) ด้วยการเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ปัจจุบัน บริษัทอื่นๆที่กำลังวิจัยวัคซีนที่ทำจากโปรตีนจากใบพืช เช่นกัน คือ บริษัท British American Tobacco (BTI) ผู้ผลิตบุหรี ลักกี้ สไตรค์ และบริษัท Medicago Inc.ของแคนาดา ซึ่งเป็นบริษัทที่ Philip Morris International Inc. (PM) ผู้ผลิตบุหรียี่ห้อ Marlboro ถือหุ้นอยู่ส่วนหนึ่ง และ บริษัท Kentucky BioProcessing ของ R.J. Reynolds Tobacco ผู้เป็นเจ้าของบุหรียี่ห้อ Camel ในสหรัฐอเมริกา และเคยเป็นเจ้าของบุหรียี่ห้อ Winston และ Salem ก่อนที่จะขายไปให้บริษัทญี่ปุ่นในปีพ.ศ. 2558
รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ ได้ศึกษาวิจัยเรื่องโปรตีน จนถือเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องโปรตีนจากพืช ที่หาตัวจับยากของประเทศไทย เมื่อมาจับมือกับ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ซึ่งต้องการให้เภสัชกรของไทยคิดค้นและผลิตยาเองได้ จึงเกิดโครงการผลิตโปรตีนจากพืช ซึ่งสามารถพัฒนาใช้เป็นยา เป็นวัคซีน เป็นเครื่องสำอาง และอื่นๆได้ และเมื่อมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 งานวิจัยที่ทำและประสบการณ์ที่สั่งสมมาจึงสามารถนำออกมาต่อยอดได้ทันที
งานวิจัยนี้ถือเป็นงานวิจัยโดยคนไทย 100% ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถผลิตวัคซีนเพียงพอสำหรับใช้กับประชากรทุกคนด้วยต้นทุนที่ไม่แพง มีความคล่องตัว และยังสามารถส่งออกไปยังประเทศต่างๆในภูมิภาค ถือเป็นความภูมิใจของคนไทยทุกคนค่ะ ว่านักวิจัยของไทยเราก็เก่งไม่น้อยหน้าใครในโลก
ท่านที่สนใจอยากมีส่วนร่วมสนับสนุนงานวิจัยของไทย โปรดรอฟังข่าวในวันที่ 14 ธันวาคมนี้นะคะ
อย่างไรก็ดี ด้วยเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้าในหุ้นตลาดเกิดใหม่ ก็ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สามารถปรับตัวขึ้นไปได้ แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า มีการขายทำกำไรจากผู้ลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อยของไทย และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆแล้ว ประเทศไทยถือว่าอยู่ในอันดับหนึ่งในการบริหารจัดการเรื่องโควิด โดยครองอันดับร่วมกับนิวซีแลนด์ ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติมั่นใจมากขึ้นว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ดีกว่าอีกหลายประเทศ เพราะอย่างน้อยก็มีเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังเดินหน้าอยู่ ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ต้องประกาศล็อกดาวน์ครั้งที่ 2 หรือ 3 กันแล้ว และไม่มีทีท่าว่าการระบาดของโรคจะสิ้นสุดลงง่ายๆ
ข้อเท็จจริงก็คือ กว่าที่คนส่วนใหญ่จะได้รับวัคซีน จะต้องกินเวลาไปอีกระยะหนึ่ง เพราะวัคซีนจะผลิตไม่ทันค่ะ
เป็นเรื่องดีที่รัฐบาลไทยได้มีการเจรจาจองซื้อวัคซีนของแอสตราเซเนกา-อ็อกซฟอร์ด ที่ชื่อ AZD1222 ไว้แล้ว 26 ล้านโดส แต่ 26 ล้านโดสนี้ ก็ฉีดให้ประชากรได้ 13 ล้านคน ยังไม่ทั่วทั้งหมดทุกคนค่ะ ซึ่งวัคซีนนี้ เป็นงานวิจัยจากต่างประเทศ และประเทศไทย โดยกลุ่มซีเมนต์ไทย ได้เข้าร่วมโครงการด้วย ทั้งนี้บริษัทสยามไบโอไซน์ ของไทยจะได้สิทธิมาผลิต และประเทศไทยจะเป็นฐานผลิตวัคซีนนี้ป้อนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีข่าวมาอีกว่ารัฐบาลของหลายประเทศรวมถึงกัมพูชา ออกมายอมรับว่าไม่มีงบประมาณซื้อวัคซีนให้ประชาชน ต้องรอรับการบริจาคเท่านั้น
ทำอย่างไรจึงจะมีวัคซีนใช้อย่างทั่วถึง เพื่อให้คนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานโรค คำตอบก็คือต้องผลิตให้ได้มากๆ และราคาต้องอยู่ในระดับที่รัฐบาลหรือผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าจะยากดีมีจน สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ด้วย
ท่านคงพอจะได้รับทราบจากข่าวมาบ้างแล้วว่า นอกจากวัคซีน AZD1222 ที่ไทยร่วมเป็นภาคีด้วยของ แอสตราเซเนกา-อ็อกซฟอร์ดนี้ ไทยเรายังมีการวิจัยของ ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาวัคซีน แบบ mRNA เช่นเดียวกับที่ ไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ใช้ โดยกำลังจะเริ่มทดสอบฉีดในอาสาสมัครประมาณเดือนเมษายน 2564
อีกโครงการหนึ่งคือวัคซีนที่ใช้เทคนิคการผลิตโปรตีนจากใบพืช โดยใส่รหัสพันธุกรรมในใบพืช เพื่อให้พืชปลิตโปรตีนออกมา และใช้กระบวนการทำให้โปรตีนบริสุทธิ์แยะออกมาจากโปรตีนอื่นๆของพืช นำโปรตีนมาศึกษาลักษณะโครงสร้างก่อนที่จะนำไปใช้พัฒนาวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันในการยับยั้งเชื้อไวรัส โดย ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และ รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สองผู้ก่อตั้ง ซึ่งเป็น CEO และ CTO ของบริษัทใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพในความดูแลของ CU Enterprise
วัคซีนของใบยาไฟโตฟาร์ม ประสบความสำเร็จในการพัฒนาในหนูและในลิงแล้ว กำลังจะทดสอบ “ผลอันไม่พึงประสงค์” ในหนูตัวใหญ่ และคาดว่าจะเริ่มผลิต ด้วยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย รวมถึง องค์การเภสัชกรรม และ KINGEN BIOTECH ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และจะนำไปทดสอบในคนช่วงกลางปี 2564 โดยคาดว่า ไม่เกินปลายปี 2564 คนไทยน่าจะได้ใช้วัคซีนตัวนี้
ข้อดีของวัคซีนจากโปรตีนจากใบพืชคือใช้เวลาผลิตโปรตีนไม่นาน จึงเหมาะสำหรับโรคอุบัติใหม่ เพราะผลิตโปรตีนได้ปริมาณสูงที่สุด ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด และหากเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์ ก็จะสามารถป้อนรหัสพันธุกรรมเพื่อผลิตโปรตีนใหม่มารองรับได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ การเลือกชิ้นส่วนเดียวของโปรตีนที่เราทราบว่ากระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ก็จะทำให้ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์น้อยกว่าวัคซีนแบบเชื้อเป็นหรือเชื้อตาย ซึ่งมีส่วนประกอบของโปรตีนของเชื้อหลายชนิด จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้สูงกว่า
การนำโปรตีนพืชมาใช้ทำยาหรือวัคซีนเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาหลายปีแล้ว โดยที่นำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยด้วยไวรัสอีโบลา (Ebola Virus Disease - EVD) ด้วยการเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ปัจจุบัน บริษัทอื่นๆที่กำลังวิจัยวัคซีนที่ทำจากโปรตีนจากใบพืช เช่นกัน คือ บริษัท British American Tobacco (BTI) ผู้ผลิตบุหรี ลักกี้ สไตรค์ และบริษัท Medicago Inc.ของแคนาดา ซึ่งเป็นบริษัทที่ Philip Morris International Inc. (PM) ผู้ผลิตบุหรียี่ห้อ Marlboro ถือหุ้นอยู่ส่วนหนึ่ง และ บริษัท Kentucky BioProcessing ของ R.J. Reynolds Tobacco ผู้เป็นเจ้าของบุหรียี่ห้อ Camel ในสหรัฐอเมริกา และเคยเป็นเจ้าของบุหรียี่ห้อ Winston และ Salem ก่อนที่จะขายไปให้บริษัทญี่ปุ่นในปีพ.ศ. 2558
รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ ได้ศึกษาวิจัยเรื่องโปรตีน จนถือเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องโปรตีนจากพืช ที่หาตัวจับยากของประเทศไทย เมื่อมาจับมือกับ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ซึ่งต้องการให้เภสัชกรของไทยคิดค้นและผลิตยาเองได้ จึงเกิดโครงการผลิตโปรตีนจากพืช ซึ่งสามารถพัฒนาใช้เป็นยา เป็นวัคซีน เป็นเครื่องสำอาง และอื่นๆได้ และเมื่อมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 งานวิจัยที่ทำและประสบการณ์ที่สั่งสมมาจึงสามารถนำออกมาต่อยอดได้ทันที
งานวิจัยนี้ถือเป็นงานวิจัยโดยคนไทย 100% ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถผลิตวัคซีนเพียงพอสำหรับใช้กับประชากรทุกคนด้วยต้นทุนที่ไม่แพง มีความคล่องตัว และยังสามารถส่งออกไปยังประเทศต่างๆในภูมิภาค ถือเป็นความภูมิใจของคนไทยทุกคนค่ะ ว่านักวิจัยของไทยเราก็เก่งไม่น้อยหน้าใครในโลก
ท่านที่สนใจอยากมีส่วนร่วมสนับสนุนงานวิจัยของไทย โปรดรอฟังข่าวในวันที่ 14 ธันวาคมนี้นะคะ