สรุปภาพรวมตลาดทุนทั่วโลกและผลตอบแทนแต่ละ asset class ใน Q3/20 by JP Morgan AM
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 13, 2020 2:16 pm
หลักๆจะเป็น chart ผมขอสรุปตามความเข้าใจดังนี้ แต่เนื่องจาก presentation ทั้งหมดมี 73 หน้า จึงจะขอดึงมีเฉพาะ highlight สำคัญนะครับ (แต่แนะนำว่าให้ดูให้ครบครับ ตัวอย่างอื่นๆที่น่าสนใจเช่น ตัวเลข activity ในจีน ตัวเลข Global trade activity ว่ากลับมามากน้อยเพียงใด)
slide แปะฟรีทุกไตรมาสแบ่งเป็นภูมิภาคต่างๆของโลก ตัวนี้เป็นของฝั่งเอเชีย ยังมีอเมริกา ยุโรป ลาติน ที่น่าสนใจ ใครขยันตามไปดูกันได้ที่ Guide to the markets จาก JP Morgan AM ครับ
1. (p.31) ตลาดหุ้นทั่วโลกในไตรมาส Q3/20 (Jul-Sep) จะออกหน้าคล้ายๆกันครับ ขึ้นมาต่อจาก Q2/20 อีกหน่อย แล้วหักหัวลงไปพอๆ กับตอนเริ่มไตรมาส ไม่นับเจ้าพวกนี้
ภาพรวมกลายป็นตลาดเอเชียดูดีฮะ ไม่รวมโซน ASEAN ช้ำๆ ที่ฝรั่งขายเอาๆ 555 นำโดย
ไต้หวัน +17.1%
และพี่จีน ใน China A +15.5%
รวมถึง China รวม +12.6%
ซึ่งตรงไปตรงมากับความสามารถในการจัดการโควิด การอยู่กับ domestic consumption ได้ ในขณะที่ไต้หวันเองก็โดดเด่นกับกลุ่ม semiconductors และ electronics
แต่อันดับ 3 ในไตรมาสจะ surprise นิดนึง
นั่นคือ อินเดีย +15.1%
กับยอดผู้ป่วยที่ยังไม่แผ่วเลย ขึ้นที่ 2 โลก (ถึงวันที่ 11 ตค พี่ล่อไป 7 ล้านแล้ว มีแค่ 2 ชาติที่แตะตัวเลขนี้ แล้วยังมี active cases วันละตั้ง 7-8 หมื่นราย) คือ เศรษฐกิจน่าจะน็อคไปละ แต่ตลาดหุ้นกลับ perform แล้วเข้า ตค มา เด้งแรงขึ้นไปอีก นำโดยหลากหลายกลุ่ม ex. Pharma Software house หรือ e-commerce แต่ก็มีแปลกๆบ้สง เช่น ท่าเรือ หรือ บริษัทผลิตคุกกี้ บิสเก็ตที่ราคาหุ้นพุ่งดี ก็งงๆ 555
ถัดมาก็ เกาหลีใต้ +12.9%
1 ในประเทศที่จัดการโควิดได้ดี
คือ รวมๆแล้ว เอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่น
perform ดี +9.6%
ในขณะที่อเมริกา +8.9%
ญี่ปุ่น +7.1%
ยุโรป +4.6%
ส่วน ASEAN รวมใจ -4.7% คือหดมานิดนึง
ในขณะที่พี่ไทย -7.6% ในไตรมาส 3 นี้
จึงทำให้ YTD performance ASEAN รวมใจยัง -22.4% หนักสุดในภาพรวมโลก ไทยยัง -21.7% ส่วนจีนเป็นผู้นำ +16.8%
2.(p.58) ทำให้การลงทุนในหุ้นยังเป็นสินทรัพย์ที่โดดเด่นที่สุดใน Q3/20 ครับ โดยหุ้นเอเชียเด่นสุดตามสถิติข้างต้น (ที่ไม่รวม ASEAN) ในขณะที่ถัดลงมาหน่อยก็คือ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ก็นำโดยอเมริกาแหละตามที่เราเห็นข่าวหุ้นเทคกันมาทุกวี่ทุกวัน แน่นอนว่าทำได้ดีกว่าทั้งหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล ย่อยๆลงมาหน่อยก็พอจะมีให้เลือกผลตอบแทนที่ราว 2-5% กระนั้น ถ้าเลือกได้ ดูเหมือนว่าการถือเงินสด จะยังดีกว่าการลงหุ้นในกลุ่ม Emerging Market ที่ไม่รวมเอเชียที่ว่าข้างต้น (แต่ก็รวม ASEAN น่ะแหละ 555)
3.(p.34) ในด้านความถูกแพง เออ เราบอกหุ้นบูม แล้วมันแพงขึ้นมั้ย chart นี้เทียบกับเมื่อ Q2 จะพบว่ามันทรงๆ กับถูกลงนิดๆนะ ในแง่ P/E แต่ก็ยังไม่ได้ถูกจัด เรียกว่ารอ Earning มาแหละ
อย่างไทย P/E จาก 19.2 -> 17.8 เท่า
ฟิลิปปินส์ 16.6 เท่า เท่าเดิม
อินโดนีเซีย 16.3 -> 14.9 เท่า
มาเลย์ 19.1 -> 17.3 เท่า
อาเซียน 16.6 -> 15.8 เท่า
แวบดู P/E emerging นิดนึง
บราซิล 17.3 -> 16.7 เท่า
เม็กซิโก 17.0 -> 15.2 เท่า
แต่ฝั่งที่ขึ้น P/E ก็จะแพงขึ้นหน่อยเป็น
ไต้หวัน 16.5 -> 16.7 เท่า
อินเดีย 22.2 -> 22.6 เท่า
ญี่ปุ่น 17.6 -> 18.1 เท่า
สิงคโปร์ 13.9 -> 14.0 เท่า
S&P500 21.9 -> 21.7 เท่า
Asia Pacific ex-JP 15.5 -> 15.8 เท่า
P/BV ดูเอาเองเน่อ
4.(p.36) อีกชาร์ทนึงที่เห็นชัดว่า Growth stock perform ดีกว่า Value stock เป็นอันมาก เป็นประวัติการณ์ ยิ่งกราฟขวานี่ดูสิ ทะลุทะลวงสุดๆ
แต่เห็นช่วงปี 2000 ป่าว dot com ระเบิดน่ะ finally แล้วมันจะกลับเข้าสมดุล คือ ไม่ได้บอกว่าหุ้น tech ไม่ดีเน่อ บางกิจการไม่ใช่ www.ก๊องแก๊ง.คอม เออ เข้าใจ แต่ราคาแรงไป ตอบสนองความคาดหวังไปตลอดไม่ได้ก็เสร็จ
ในขณะที่พอฝั่ง Growth พัง ฝั่ง Value ก็เหวี่ยงกลับมามโหฬารเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น ใช่ว่า Digital จะไม่ใช่ Real economy Real activities นะ เพราะบางอย่าง Digital ก็คือเรื่องหลักในชีวิตประจำวัน ไม่เหมือนยุค dot com ไปซะทั้งหมด
*** ส่วนตัวคิดว่าชาร์ทนี้สำคัญที่สุดแล้วครับในไตรมาสนี้ สำหรับไอเดียว่าคุณจะเลือกข้างไหน จะเอา Growth หรือ Value Stock คุณจะเอาหุ้นใหญ่หรือเล็ก ไทยหรือนอก มุมแดงหรือมุมน้ำเงิน แต่สุดท้ายก็ bottom up approach ดูนะครับ ***
5.(p.38) ดู earning estimation ของไทย อินโด ฟิลิปปินส์ หรือ สิงคโปร์ ฮ่องกง กระทั่งอินเดียเอง ดูสิเทอ 555 คือก็ประมาณนี้แหละเพราะพึ่งพาท่องเที่ยว ส่งออกขนาดนั้น ก็ต้องยับเป็นธรรมดา (แต่ในรายตัวใช่ว่าจะไม่มีผู้รอดชีวิต) ซึ่งแตกต่างกับไต้หวัน เกาหลีใต้ ตามโครงสร้างเศรษฐกิจ สินค้าและบริการในมือ
มาดูในรายอุตสาหกรรมบ้าง พลังงาน สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าฟุ่มเฟือย+ของแพงๆหน่อย (ex. รถยนต์) รวมถึงการเงิน จะหนักกว่ากลุ่มอื่นหน่อย ในขณะที่ฝั่งเทคโนโลยี สื่อสาร สาธารณูปโภค consumer staples healthcare จะยังพอไปได้
ที่สำคัญอีกข้อ คือเผื่อใจไว้นิด ว่า 2021 จะฟื้นจริงรึปล่าว ต้องอึดไว้
6.(p.39) ในขณะที่ลองมองเป็นกลุ่มประเภทบริษัทว่าเน้นค้าขาย domestic หรือเน้นส่งออก perform กว่า ก็เดาไม่ยากว่ากลุ่มที่มีรายได้ 95% จาก domestic ของตัวเองจะโดดเด่นที่สุด ในขณะที่กลุ่มมีรายได้ต่ำกว่า 70% จาก domestic จะพอเห็นการฟื้นตัวบ้าง (บ้านเราก็เห็นตัวอย่างสินค้าที่พอจะส่งออกได้ และมีความต้องการแม้จะยังปิดประเทศกันแบบนี้)
7.(p.61) ในเรื่องค่าเงินเราพอจะเห็นแล้วว่าบาทไทยไม่ได้แข็งค่าทะลุโลกเหมือนช่วงก่อนโควิด แต่ก็ยังไม่ได้อ่อนค่าอะไร ถ้าทุกอย่างผ่านพ้นไปคนจีนกลับมาเมื่อไหร่ ก็คงอยู่ขอบขวาสุดของชาร์ทค่าเงินตามเดิม
8.(p.63) มาฝั่ง commodities กลุ่มที่โดดเด่นที่สุด คือ สินค้าเกษตร (ดังจะเห็นกันแล้วในกลุ่มถั่วเหลือง ) ส่วนที่แป้กที่สุด ก็พลังงาน ส่วนทองก็ถือว่าพอไปได้แต่เริ่มพักฐานละ (มีกราฟในรูปหลังๆ หรือดูใน link ก็ได้)
9.(p.65) cost of oil production by country และ demand supply (โห ขนาดโลกยังไม่เปิด เส้น demand เหนือเส้น supply ละ ถึงจะยังไม่กลับมาที่เดิมและเจอ prodcution cut ไปไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ ) ชาร์ทย่อยมาให้เห็นต้นทุนการผลิตของแต่ละประเทศ แล้วเมกาจะสู้ยังไง 555 (ฟัง ksec สัปดาห์ก่อน มีข้อมูลว่าต้นทุนผลิตน้ำมันเฉลี่ยทั้งโลกจะอยู่แถว 43 เหรียญต่อบาร์เรล)
10.(p.69) YTD performace ตลาด Asia Pacific-ex Japan กลับมาอยู่ที่ +1% ใน 9 เดือนละ จากจุดที่ลึกที่สุดคือ -32% ก็ตามข่าวเศรษฐกิจที่เราได้ยินกันว่าหลายประเทศ ตลาดหุ้นกลับมายืนเหนือก่อนช่วงโควิดได้แล้ว (กระทั่งญี่ปุ่นเองก็ยังมี YTD performance -0.3%)
เทียบกับเมื่อสิ้นเดือน 6 อยู่ที่เหลือ -7%
และสิ้นเดือน 3 อยู่ที่ -21%
ภาษาอาจจะเถื่อนๆ บ้านๆ หน่อย ขออภัยนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ
ขอบคุณข้อมูลดีๆฟรีๆจาก JP Morgan AM ครับ
https://am.jpmorgan.com/content/dam/jpm ... s-asia.pdf
slide แปะฟรีทุกไตรมาสแบ่งเป็นภูมิภาคต่างๆของโลก ตัวนี้เป็นของฝั่งเอเชีย ยังมีอเมริกา ยุโรป ลาติน ที่น่าสนใจ ใครขยันตามไปดูกันได้ที่ Guide to the markets จาก JP Morgan AM ครับ
1. (p.31) ตลาดหุ้นทั่วโลกในไตรมาส Q3/20 (Jul-Sep) จะออกหน้าคล้ายๆกันครับ ขึ้นมาต่อจาก Q2/20 อีกหน่อย แล้วหักหัวลงไปพอๆ กับตอนเริ่มไตรมาส ไม่นับเจ้าพวกนี้
ภาพรวมกลายป็นตลาดเอเชียดูดีฮะ ไม่รวมโซน ASEAN ช้ำๆ ที่ฝรั่งขายเอาๆ 555 นำโดย
ไต้หวัน +17.1%
และพี่จีน ใน China A +15.5%
รวมถึง China รวม +12.6%
ซึ่งตรงไปตรงมากับความสามารถในการจัดการโควิด การอยู่กับ domestic consumption ได้ ในขณะที่ไต้หวันเองก็โดดเด่นกับกลุ่ม semiconductors และ electronics
แต่อันดับ 3 ในไตรมาสจะ surprise นิดนึง
นั่นคือ อินเดีย +15.1%
กับยอดผู้ป่วยที่ยังไม่แผ่วเลย ขึ้นที่ 2 โลก (ถึงวันที่ 11 ตค พี่ล่อไป 7 ล้านแล้ว มีแค่ 2 ชาติที่แตะตัวเลขนี้ แล้วยังมี active cases วันละตั้ง 7-8 หมื่นราย) คือ เศรษฐกิจน่าจะน็อคไปละ แต่ตลาดหุ้นกลับ perform แล้วเข้า ตค มา เด้งแรงขึ้นไปอีก นำโดยหลากหลายกลุ่ม ex. Pharma Software house หรือ e-commerce แต่ก็มีแปลกๆบ้สง เช่น ท่าเรือ หรือ บริษัทผลิตคุกกี้ บิสเก็ตที่ราคาหุ้นพุ่งดี ก็งงๆ 555
ถัดมาก็ เกาหลีใต้ +12.9%
1 ในประเทศที่จัดการโควิดได้ดี
คือ รวมๆแล้ว เอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่น
perform ดี +9.6%
ในขณะที่อเมริกา +8.9%
ญี่ปุ่น +7.1%
ยุโรป +4.6%
ส่วน ASEAN รวมใจ -4.7% คือหดมานิดนึง
ในขณะที่พี่ไทย -7.6% ในไตรมาส 3 นี้
จึงทำให้ YTD performance ASEAN รวมใจยัง -22.4% หนักสุดในภาพรวมโลก ไทยยัง -21.7% ส่วนจีนเป็นผู้นำ +16.8%
2.(p.58) ทำให้การลงทุนในหุ้นยังเป็นสินทรัพย์ที่โดดเด่นที่สุดใน Q3/20 ครับ โดยหุ้นเอเชียเด่นสุดตามสถิติข้างต้น (ที่ไม่รวม ASEAN) ในขณะที่ถัดลงมาหน่อยก็คือ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ก็นำโดยอเมริกาแหละตามที่เราเห็นข่าวหุ้นเทคกันมาทุกวี่ทุกวัน แน่นอนว่าทำได้ดีกว่าทั้งหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล ย่อยๆลงมาหน่อยก็พอจะมีให้เลือกผลตอบแทนที่ราว 2-5% กระนั้น ถ้าเลือกได้ ดูเหมือนว่าการถือเงินสด จะยังดีกว่าการลงหุ้นในกลุ่ม Emerging Market ที่ไม่รวมเอเชียที่ว่าข้างต้น (แต่ก็รวม ASEAN น่ะแหละ 555)
3.(p.34) ในด้านความถูกแพง เออ เราบอกหุ้นบูม แล้วมันแพงขึ้นมั้ย chart นี้เทียบกับเมื่อ Q2 จะพบว่ามันทรงๆ กับถูกลงนิดๆนะ ในแง่ P/E แต่ก็ยังไม่ได้ถูกจัด เรียกว่ารอ Earning มาแหละ
อย่างไทย P/E จาก 19.2 -> 17.8 เท่า
ฟิลิปปินส์ 16.6 เท่า เท่าเดิม
อินโดนีเซีย 16.3 -> 14.9 เท่า
มาเลย์ 19.1 -> 17.3 เท่า
อาเซียน 16.6 -> 15.8 เท่า
แวบดู P/E emerging นิดนึง
บราซิล 17.3 -> 16.7 เท่า
เม็กซิโก 17.0 -> 15.2 เท่า
แต่ฝั่งที่ขึ้น P/E ก็จะแพงขึ้นหน่อยเป็น
ไต้หวัน 16.5 -> 16.7 เท่า
อินเดีย 22.2 -> 22.6 เท่า
ญี่ปุ่น 17.6 -> 18.1 เท่า
สิงคโปร์ 13.9 -> 14.0 เท่า
S&P500 21.9 -> 21.7 เท่า
Asia Pacific ex-JP 15.5 -> 15.8 เท่า
P/BV ดูเอาเองเน่อ
4.(p.36) อีกชาร์ทนึงที่เห็นชัดว่า Growth stock perform ดีกว่า Value stock เป็นอันมาก เป็นประวัติการณ์ ยิ่งกราฟขวานี่ดูสิ ทะลุทะลวงสุดๆ
แต่เห็นช่วงปี 2000 ป่าว dot com ระเบิดน่ะ finally แล้วมันจะกลับเข้าสมดุล คือ ไม่ได้บอกว่าหุ้น tech ไม่ดีเน่อ บางกิจการไม่ใช่ www.ก๊องแก๊ง.คอม เออ เข้าใจ แต่ราคาแรงไป ตอบสนองความคาดหวังไปตลอดไม่ได้ก็เสร็จ
ในขณะที่พอฝั่ง Growth พัง ฝั่ง Value ก็เหวี่ยงกลับมามโหฬารเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น ใช่ว่า Digital จะไม่ใช่ Real economy Real activities นะ เพราะบางอย่าง Digital ก็คือเรื่องหลักในชีวิตประจำวัน ไม่เหมือนยุค dot com ไปซะทั้งหมด
*** ส่วนตัวคิดว่าชาร์ทนี้สำคัญที่สุดแล้วครับในไตรมาสนี้ สำหรับไอเดียว่าคุณจะเลือกข้างไหน จะเอา Growth หรือ Value Stock คุณจะเอาหุ้นใหญ่หรือเล็ก ไทยหรือนอก มุมแดงหรือมุมน้ำเงิน แต่สุดท้ายก็ bottom up approach ดูนะครับ ***
5.(p.38) ดู earning estimation ของไทย อินโด ฟิลิปปินส์ หรือ สิงคโปร์ ฮ่องกง กระทั่งอินเดียเอง ดูสิเทอ 555 คือก็ประมาณนี้แหละเพราะพึ่งพาท่องเที่ยว ส่งออกขนาดนั้น ก็ต้องยับเป็นธรรมดา (แต่ในรายตัวใช่ว่าจะไม่มีผู้รอดชีวิต) ซึ่งแตกต่างกับไต้หวัน เกาหลีใต้ ตามโครงสร้างเศรษฐกิจ สินค้าและบริการในมือ
มาดูในรายอุตสาหกรรมบ้าง พลังงาน สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าฟุ่มเฟือย+ของแพงๆหน่อย (ex. รถยนต์) รวมถึงการเงิน จะหนักกว่ากลุ่มอื่นหน่อย ในขณะที่ฝั่งเทคโนโลยี สื่อสาร สาธารณูปโภค consumer staples healthcare จะยังพอไปได้
ที่สำคัญอีกข้อ คือเผื่อใจไว้นิด ว่า 2021 จะฟื้นจริงรึปล่าว ต้องอึดไว้
6.(p.39) ในขณะที่ลองมองเป็นกลุ่มประเภทบริษัทว่าเน้นค้าขาย domestic หรือเน้นส่งออก perform กว่า ก็เดาไม่ยากว่ากลุ่มที่มีรายได้ 95% จาก domestic ของตัวเองจะโดดเด่นที่สุด ในขณะที่กลุ่มมีรายได้ต่ำกว่า 70% จาก domestic จะพอเห็นการฟื้นตัวบ้าง (บ้านเราก็เห็นตัวอย่างสินค้าที่พอจะส่งออกได้ และมีความต้องการแม้จะยังปิดประเทศกันแบบนี้)
7.(p.61) ในเรื่องค่าเงินเราพอจะเห็นแล้วว่าบาทไทยไม่ได้แข็งค่าทะลุโลกเหมือนช่วงก่อนโควิด แต่ก็ยังไม่ได้อ่อนค่าอะไร ถ้าทุกอย่างผ่านพ้นไปคนจีนกลับมาเมื่อไหร่ ก็คงอยู่ขอบขวาสุดของชาร์ทค่าเงินตามเดิม
8.(p.63) มาฝั่ง commodities กลุ่มที่โดดเด่นที่สุด คือ สินค้าเกษตร (ดังจะเห็นกันแล้วในกลุ่มถั่วเหลือง ) ส่วนที่แป้กที่สุด ก็พลังงาน ส่วนทองก็ถือว่าพอไปได้แต่เริ่มพักฐานละ (มีกราฟในรูปหลังๆ หรือดูใน link ก็ได้)
9.(p.65) cost of oil production by country และ demand supply (โห ขนาดโลกยังไม่เปิด เส้น demand เหนือเส้น supply ละ ถึงจะยังไม่กลับมาที่เดิมและเจอ prodcution cut ไปไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ ) ชาร์ทย่อยมาให้เห็นต้นทุนการผลิตของแต่ละประเทศ แล้วเมกาจะสู้ยังไง 555 (ฟัง ksec สัปดาห์ก่อน มีข้อมูลว่าต้นทุนผลิตน้ำมันเฉลี่ยทั้งโลกจะอยู่แถว 43 เหรียญต่อบาร์เรล)
10.(p.69) YTD performace ตลาด Asia Pacific-ex Japan กลับมาอยู่ที่ +1% ใน 9 เดือนละ จากจุดที่ลึกที่สุดคือ -32% ก็ตามข่าวเศรษฐกิจที่เราได้ยินกันว่าหลายประเทศ ตลาดหุ้นกลับมายืนเหนือก่อนช่วงโควิดได้แล้ว (กระทั่งญี่ปุ่นเองก็ยังมี YTD performance -0.3%)
เทียบกับเมื่อสิ้นเดือน 6 อยู่ที่เหลือ -7%
และสิ้นเดือน 3 อยู่ที่ -21%
ภาษาอาจจะเถื่อนๆ บ้านๆ หน่อย ขออภัยนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ
ขอบคุณข้อมูลดีๆฟรีๆจาก JP Morgan AM ครับ
https://am.jpmorgan.com/content/dam/jpm ... s-asia.pdf