หน้า 1 จากทั้งหมด 1

5G & The Future of Industries" 5G กับอุตสาหกรรมไทยในอนาคต

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 24, 2020 8:48 pm
โดย amornkowa
กสทช.หนุนใช้ 5G สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจรายภาคอุตสาหกรรม

นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานโทรคมนาคม กล่าวปาฐกถา "5G Booming sooner then later" ในงาน สัมมนา "5G & The Future of Industries" 5G กับอุตสาหกรรมไทยในอนาคตว่า

ความเป็นมาของMobile Service

ยุค 1G Analog voice
ยุค 2G Digital Voice
ยุค 3G Mobile Broadband
ยุค 4G Faster & Better Mobile Broadband (LTE)
ทำได้ทุกอย่างบน Platform มือถือ เช่น สั่งอาหาร ประชุม ทำธุรกรรมทางการเงิน

กุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G จะมีด้วยกัน 4 ส่วน ได้แก่

1.การจัดสรรคลื่นความถี่ให้เพียงพอ (Spectrum) โดยสำนักงาน กสทช.จะเป็นหน่วยงานในการเปิดประมูลคลื่นความถี่ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
ไทยโชคดีที่ประมูลคลื่น5Gเสร็จก่อนปิดเมืองช่วงCovid-19

2.โครงข่าย (Network) การขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมการใช้บริการ
โดยกฎเกณฑ์ของ กสทช. มีการกำหนดให้มีโครงข่าย 5G ทั้งในรูปแบบ
การพึ่งพิงเสา 4G เดิม (NSA) และการสร้างโครงข่ายในรูปแบบ Standalone (SA) รวมถึงยังกำหนดให้การขยายโครงข่าย 5G จะต้องครอบคลุมพื้นที่ EEC ราว 50% ภายในปี 2021 ซึ่งที่ผ่านมา กสทช.ก็มีการเจรจากับผู้ประกอบการใน EEC อย่าง WHA, AMATA และวังจันทน์วัลเลย์ ของปตท. เป็นต้น อีกทั้งครอบคลุมพื้นที่ SMART City 50% ภายในปี 2024 ประกอบด้วย ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่, ภาคอีสานจ.หนองคาย,นครราชสีมา, ภาคกลาง กรุงเทพฯ, นนทบุรี, สมุทรปราการ,สมุทรสาคร, ปทุมธานี และ นครปฐม ส่วนภาคใต้ จ.ภูเก็ตและสงขลา

3.อุปกรณ์ (CPF) ที่จะเข้ามารองรับการใช้งาน 5G ซึ่งปัจจุบันยังมีไม่มาก หรือมีอยู่ประมาณ 95 เฮดเซท กับอีก 40 ดีไวซ์ คาดว่าอุปกรณ์จะเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ในช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป พร้อมกันนี้สำนักงาน กสทช. ก็มีการเข้าไปเจรจากับทางสภาอุตสาหกรรมฯ เพื่อจะเข้าไปติดตั้ง 5G ในโรงงานได้อย่างไร และยังเจรจากับทางสภาหอการค้าด้วย

4.ผู้ใช้ (Use Cases) โดยเริ่มจากประชาชน สำนักงานกสทช.จะเข้ามากำกับดูแลการให้บริการ 5G ในอัตราค่าบริการที่ไม่แพงไปกว่า 4G

ขณะที่ในอุตสาหกรรมที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินโครงการนำร่องในส่วนของอุตสาหกรรมการเกษตร หรือ Smart Agriculture กับทางแม่ฟ้าหลวง ภายใต้โครงการร้อยใจรักที่เชียงดาว ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก และอยู่ระหว่างต่อยอดไปในภาคอื่นๆ

การทำ Smart Hospital โดยร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช ทำโรงพยาบาลต้นแบบ มองว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยยกระดับการแข่งขันของไทยในอนาคตได้

ทั้งนี้เทคโนโลยี 5G จะส่งผลต่อเศรษฐกิจ หรือทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจรายภาค ที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมภาคการผลิต, ภาคการค้าและการเงิน, ภาคโทรคมนาคม, ภาคการขนส่ง, ภาคการศึกษา และภาคการแพทย์ เป็นต้น ในปี 63 คิดเป็นมูลค่ารวม 177,039 ล้านบาท หรือ 1.65% ของ GDP โดยในส่วนนี้จะมีมูลค่าการลงทุน คิดเป็น 112,215 ล้านบาท

นายสุทธิศักดิ์ กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. ได้มีมาตรการส่งเสริมการใช้งาน 5G เพื่อสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย ใน 4 ด้าน ได้แก่

1. มาตรการส่งเสริมการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน โดยส่งเสริมการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ทั้ง Passive และ Active, กำหนดให้การวางโครงข่ายไฟเบอร์ เพื่อบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นสาธารณูปโภค เช่นเดียวกับระบบน้ำและไฟ

2.มาตรการยกเลิกและลดข้อจำกัด เพื่อส่งเสริมการใช้ 5G ได้แก่ การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ร่วมกัน, การลดขั้นตอนติดตั้งสถานีฐาน ในพื้นที่ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยโดยไม่บังคับให้ทำประชาพิจารณ์, การลดอุปสรรคการนำเข้าอุปกรณ์เครื่องวิทยุคมนาคม รวมถึงการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน (หากมีการรับรองแล้วจากหน่วยงานของต่างประเทศ)

3.มาตรการภาษีในการส่งเสริมการวางโครงข่ายไฟเบอร์ เนื่องจากโครงข่ายไฟเบอร์มีความสำคัญต่อการขยายโครงข่าย 5G จึงควรส่งเสริมการลงทุนขยายโครงข่าย เช่น การลดภาษีเงินได้ ในการลงทุนโครงข่าย MNO และอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น โรงงาน อาคาร หมู่บ้าน

4.มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ควรมีมาตรการ BOI ในการส่งเสริมการลงทุนพัฒนาระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ให้เป็นระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ

"เชื่อมั่นว่าหัวใจของความสำเร็จในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุค 5G ที่รุ่งเรือง หรือ Booming ได้เร็วที่สุด คือ พลังจากภาครัฐทุกหน่วยงานที่จะต้องเล็งเห็นประโยชน์และประยุกต์ใช้ 5G ในภารกิจของหน่วยงานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เพราะโลกในยุคต่อไปหลังจาก New Normal จะเป็นโลกแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเลือก เป็นโลกของคนรุ่นใหม่และคนที่เปิดใจยอมรับบริการภาครัฐที่ทันสมัย อาศัยเทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวก มีความรวดเร็ว แม่นยำ และเชื่อมโยงกันทั้งระบบ เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปยืนอยู่ในแนวหน้าของยุคอนาคตให้ได้"นายสุทธิศักดิ์ กล่าว