ลงทุนในตัวเอง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 21, 2020 2:05 pm
สำหรับคนที่ไม่ได้เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวยหรือมีฐานะพอสมควรนั้น ก่อนที่จะคิดลงทุนในสินทรัพย์ ธุรกิจ หรือหุ้นและหลักทรัพย์ในตลาด เขาควรจะเริ่มต้นโดยการ “ลงทุนในตัวเอง” ซึ่งความหมายในที่นี้ก็คือ ลงทุนปรับปรุงตัวเองให้มีศักยภาพที่จะทำเงินให้มากขึ้นและเหลือเก็บพอที่จะนำเงินนั้นมาลงทุนในธุรกิจ สินทรัพย์ และหลักทรัพย์ทางการเงินที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีต่อไป การลงทุนในตัวเองนั้นมีข้อดีก็คือ ตัวเราจะ “มีค่ามากขึ้น” และมันจะติดตัวตลอดไป ไม่มีใครมาเอาไปได้ และที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ การลงทุนกับตัวเองนั้น เราสามารถที่จะใช้ “แรงงาน” ของเราทำเงินได้มาก ดังนั้น นี่คือหนทางสำคัญที่สุดสำหรับคนจนที่อยากรวยหรือมีชีวิตที่ดีขึ้นมากในอนาคต
การลงทุนกับตนเองที่สำคัญที่สุดเรื่องแรกก็คือในตอนเด็กที่เราจะต้องศึกษาและเรียนรู้วิชาการต่าง ๆ รวมถึงวิชาชีพที่เราจะนำมาทำงานหาเงินใช้ ยิ่งเรียนมากเราก็มักจะทำเงินได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในการศึกษานั้นก็สูงขึ้นจนบ่อยครั้งก็อาจจะ “ไม่คุ้ม” ถ้าเรา “ลงทุนไม่เป็น” แต่นี่ก็มองเฉพาะด้านของผลตอบแทนทางการเงินซึ่งไม่ใช่ผลตอบแทนทั้งหมดที่เราได้จากการศึกษา ว่าที่จริง การศึกษานั้นให้ผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงินมากมาย เช่น ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิต ความเข้าใจโลกที่ทำให้ชีวิตมีความหมายมากขึ้น ความบันเทิงและรื่นรมย์จากการคิดและจินตนาการต่าง ๆ ที่ตามมา พูดง่าย ๆ ความรู้ทำให้เราเป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้น
การลงทุนกับตนเองที่สำคัญไม่แพ้ความรู้นักก็คือ “การลงทุนกับสุขภาพ” นี่ก็มักสำคัญขึ้นเมื่อเราเริ่มมีอายุมากขึ้นและสุขภาพเริ่มจะร่วงโรยและเราเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายขึ้น สุขภาพของคนเรานั้น หลายคนคิดว่ามาจากยีนหรือโชคชะตาเป็นหลัก และในช่วงที่ยังเป็นหนุ่มสาวนั้น คนก็มักจะไม่ตระหนักว่าสุขภาพดีมีผลกับชีวิตมากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญก็คือ อาจจะไม่รู้ด้วยว่าสุขภาพที่ดีโดยเฉพาะเมื่อตนเองมีอายุมากขึ้นนั้นจะต้องมีการ “ลงทุน” จริงอยู่ ยีนมีความสำคัญต่อสุขภาพมาก แต่การ “ลงทุนในสุขภาพ” ที่ดีและมากนั้นก็จะช่วยทำให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นมากในยามที่เราแก่ตัวลง และนี่ก็มักจะสำคัญและบ่อยครั้งมากกว่าเรื่องของเงินด้วยซ้ำ
ประสบการณ์ของผมเองเกี่ยวกับเรื่องของการลงทุนในเรื่องของความรู้นั้นน่าจะเรียกได้ว่าผมลงทุนค่อนข้างมาก เหตุผลสำคัญก็คือครอบครัวของผมค่อนข้างจน พ่อทำงานเป็นช่างก่อสร้างและต่อมาเป็นช่างไม้ ที่ไม่เคยมีเงินเหลือเก็บและบ่อยครั้งไม่พอใช้ ว่าที่จริงเขาไม่เคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารเลย การศึกษาหรือการเรียนในโรงเรียนของลูกเป็นเรื่องที่ “ฟุ่มเฟือย” แต่ผมเองโชคดีที่เป็นลูกคนสุดท้องที่ได้เข้าเรียนใน “โรงเรียนวัด” ตั้งแต่ชั้นประถมถึงมัธยมต้นและได้เข้าเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเนื่องจากเรียนเก่งพอสมควร ทั้งหมดนี้ใช้เงินน้อยมาก
ผมเรียนปริญญาตรีในคณะวิศวกรรมของรัฐซึ่งใช้เงินน้อยมาก ด้วยเหตุผลก็คือ มันคือคณะที่น่าจะสามารถทำเงินได้ดี “จบแล้วมีงานทำแน่นอน” และใช้เวลาไม่มากเหมือนคณะแพทย์ที่ทำเงินได้มากกว่าแต่ต้องเรียน 7 ปี ดังนั้นการเรียนวิศวะน่าจะเป็น “การลงทุนที่ดี” และเมื่อจบแล้วผมก็เลือกไปทำงานในต่างจังหวัดซึ่งเป็นโรงงานน้ำตาลที่ทุกปีในช่วง “เปิดหีบ” ประมาณ 4 เดือน เราจะได้เงินเดือนค่าล่วงเวลาเป็น 2 เท่าของเงินเดือนปกติ นอกจากนั้น เขามีที่อยู่และอาหาร 3 มื้อซึ่งทำให้เราแทบไม่มีค่าใช้จ่าย ผมคิดว่านี่คือ “สวรรค์” ของการเก็บเงินเพื่ออนาคต
ทำงานในโรงงาน 2 ปี ผมก็รู้สึกว่าศักยภาพของตนเอง “ตีบตัน” งานช่างนั้นเป็นงานที่เงินเดือนดีในตอนเริ่มต้น แต่หลังจากนั้นเงินเดือนก็จะปรับขึ้นช้า ๆ ปีละประมาณ 7-10% และแทบจะไม่มีโอกาสปรับแบบก้าวกระโดดเพราะการเลื่อนหรือปรับตำแหน่ง บริษัทเป็นธุรกิจครอบครัวที่เจ้าของคุมตำแหน่งบริหารที่สำคัญ อย่างมากที่เราจะเป็นได้ก็อาจจะเป็นนายช่างคุมโรงงานเมื่อถึงวันที่เราใกล้เกษียณ ผมคิดแล้วก็ตัดสินใจ “ลงทุนในการศึกษา” เพิ่ม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำเงินของตนเองโดยการ “เรียน MBA” ซึ่งเป็นสาขาวิชาใหม่ที่เพิ่งจะเริ่มมีในประเทศไทยในขณะนั้น ผมคิดว่า การเรียน MBA จะทำให้ผมสามารถเข้าสู่วงการ “บริหารธุรกิจ” ที่เป็นงานใหญ่ขึ้น และในบริษัทที่ก้าวหน้าหรือเป็นบริษัทต่างชาติ เงินที่เก็บได้ทั้งหมดถูกนำมาใช้ในการเรียนและสนับสนุนทางบ้านแบบเดิมที่ทำมาตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรี
ผมจบปริญญาโททางด้านการตลาดภายใน 2 ปี ด้วยการเรียนและทำงานอย่างละครึ่งเวลาหรือสัปดาห์ละ 3 วัน การเรียนและการเดินทางไปกลับต่างจังหวัดเป็นเรื่องที่เหนื่อยหนักไม่น้อย แต่เมื่อเรียนจบผมก็ไม่ได้เปลี่ยนงานตามที่หวัง ผมยังทำงานที่เดิมแต่ได้รับการปรับงานให้ช่วยบริหารภายในโรงงานเพิ่มขึ้นบ้าง อย่างไรก็ตาม งานหลักก็ยังเป็นเรื่องของการผลิต เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นทำให้การไปเริ่มงานใหม่ในสาขาใหม่ที่เงินเดือนต่ำกว่าไม่น่าสนใจเท่าที่ควร สำหรับคนที่เป็นช่างซึ่งมักจะ “อนุรักษ์นิยม” และไม่ได้อ่านหนังสือแนวธุรกิจสังคมหรือการพัฒนาตนเอง รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจ การเปลี่ยนแปลงชีวิตมากมายแบบนี้พร้อม ๆ กับการลดรายได้ลงเป็นสิ่งที่ตัดสินใจได้ยาก ผมจึงยังทำงานเก็บเงินต่อไปอีก 2 ปี การเรียน MBA ยังไม่สามารถที่จะทำให้ผมเห็นหรือเลือกช่องทางที่จะเปลี่ยนชีวิตตนเองได้ และนั่นนำมาสู่การ “ลงทุนในตัวเองต่อไป” โดยการไปเรียนต่อต่างประเทศทั้ง ๆ ที่ “ไม่มีเงินพอ”
การไปอเมริกาเพื่อเรียนต่อปริญญาเอกทางด้านการเงินนั้น ผมคิดว่าคงช่วยให้ผมสามารถเปลี่ยนไปทำงานทางด้านการเงินที่มักเป็นงาน “ใหญ่ที่สุด” ในกระบวนการหาเงิน แต่ลึก ๆ แล้ว ผมก็ไม่หวังจะรวยจากการเรียนมากนัก สิ่งที่ผมหวังก็คือ การได้ไป “เปิดโลก” ไปเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ไปเห็นประเทศที่เจริญก้าวหน้า ผมคิดว่าผมอยากมีชื่อเป็น “ด็อกเตอร์” และเป็นที่ยอมรับของสังคมอย่างน้อยก็ในฐานะของนักวิชาการ ผมต้องใช้เงินทั้งหมดที่สะสมมาได้เพื่อซื้อตั๋วเครื่องบิน “เที่ยวเดียว” และที่เหลือทิ้งไว้สนับสนุนพ่อแม่ การไปเรียนปริญญาเอกนั้นผมได้ทุนช่วยวิจัยจากมหาวิทยาลัยซึ่งพอใช้ทั้งค่าเรียนและการเป็นอยู่ตราบเท่าที่ยังได้ทุนอยู่
ผมจบปริญญาเอกทางด้านการเงินและการลงทุนในเวลา 4 ปี เมื่ออายุ 32 ปี กลับมาประเทศไทยโดยที่ไม่มีเงินเก็บเลย สรุปแล้ว เป็นเวลา 10 ปีนับจากการทำงานวันแรก เงินเก็บเป็นศูนย์ เงินที่ทำมาหาได้ทุกบาททุกสตางค์ถูกนำไปลงทุนในการศึกษาหาความรู้ต่อจากปริญญาตรีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตนเองในการทำงานหาเงินในอนาคต ผมเริ่มทำงานทางด้านการเงิน แต่การจบปริญญาเอกก็มักจะได้ทำงาน “กึ่งวิชาการ”เช่น งานวางแผนและกำหนดกลยุทธ์องค์กรมากกว่าการทำงานสายปฏิบัติการจริง ๆ ดังนั้น ผมก็ยังคงเป็นพนักงานกินเงินเดือนต่อไป แต่ก็โชคดีที่ว่าตลาดหุ้นไทยเริ่มบูมและความต้องการคนทำงานระดับหัวหน้างานที่มีความซับซ้อนเช่น งานวานิชธนกิจ มีมากขึ้น และนั่นทำให้ผมมีโอกาสเข้ามาสัมผัสกับ “ตลาดหุ้น” และ “การลงทุนในหุ้น” ในบริษัทหลักทรัพย์ รายได้จากงานนี้ค่อนข้างจะดีและทำให้ผมมีเงินเก็บพอสมควรเมื่ออายุ 44 ปี แต่เนื่องจากมีครอบครัวและมีลูกที่เรียนโรงเรียนอินเตอร์ซึ่งต้องใช้เงินมากทำให้ผมไม่ได้ลงทุนทางทางการเงินเป็นเรื่องเป็นราวเพราะ “กลัวความเสี่ยง”
แต่วิกฤติต้มยำกุ้งทำให้ผมต้อง “ตกงาน” และมีทางเลือกไม่มากที่จะรักษาสถานะความเป็นอยู่แบบเดิมได้—นอกจากการลงทุนในตลาดหุ้นที่ตกลงมาอย่างหนักและราคาหุ้นจำนวนไม่น้อยมีราคาถูกมาก หุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” หลายตัวมีค่า PE แค่ 6-7 เท่าจ่ายปันผลถึงปีละ 10% เงินเก็บทั้งหมดถูกนำมาลงทุนในหุ้น ชีวิตเปลี่ยนเป็น Value Investor หรือ VI ผู้มุ่งมั่น ตลาดหุ้นฟื้นตัวและเติบโตมหาศาลหลังวิกฤติ ภายในเวลาเพียง 8 ปี ผมก็มี “อิสรภาพทางการเงิน” และเกษียณจากการทำงานประจำตั้งแต่อายุ 52 ปี และนี่ก็น่าจะเป็นบทเรียนได้ว่า “ความรู้”บวกกับ “โอกาสทอง” สามารถ “เปลี่ยนชีวิต” คนได้มากและรวดเร็วแค่ไหน
สรุปก็คือ ความสำเร็จในชีวิตผมนั้นน่าจะเป็นผลจากหลายสิ่งคือ หนึ่ง การที่ผมลงทุนในการศึกษาสูงมาก ไม่ใช่เฉพาะจากห้องเรียน แต่ผมศึกษาต่อเนื่องมาตลอดเวลาจนถึงทุกวันนี้ สอง เกิดวิกฤติเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในปี 2540 โดยที่ผมไม่ได้เสียหายทางด้านการเงินมากนักเนื่องจากยังไม่ได้เป็นนักลงทุนแต่เป็นแค่คนกินเงินเดือนธรรมดา และสุดท้าย ผมโชคดีที่ถูก “บังคับ” ด้วยสถานการณ์ให้ต้อง “เลือก” เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และผมเลือกที่จะลงทุนแบบ VI ที่ผมศึกษามาแล้วว่าเป็นหลักการที่ดีเยี่ยมและปลอดภัยกว่าแนวทางที่นักลงทุนใช้กันก่อนหน้านั้น
การลงทุนกับตนเองที่สำคัญที่สุดเรื่องแรกก็คือในตอนเด็กที่เราจะต้องศึกษาและเรียนรู้วิชาการต่าง ๆ รวมถึงวิชาชีพที่เราจะนำมาทำงานหาเงินใช้ ยิ่งเรียนมากเราก็มักจะทำเงินได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในการศึกษานั้นก็สูงขึ้นจนบ่อยครั้งก็อาจจะ “ไม่คุ้ม” ถ้าเรา “ลงทุนไม่เป็น” แต่นี่ก็มองเฉพาะด้านของผลตอบแทนทางการเงินซึ่งไม่ใช่ผลตอบแทนทั้งหมดที่เราได้จากการศึกษา ว่าที่จริง การศึกษานั้นให้ผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงินมากมาย เช่น ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิต ความเข้าใจโลกที่ทำให้ชีวิตมีความหมายมากขึ้น ความบันเทิงและรื่นรมย์จากการคิดและจินตนาการต่าง ๆ ที่ตามมา พูดง่าย ๆ ความรู้ทำให้เราเป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้น
การลงทุนกับตนเองที่สำคัญไม่แพ้ความรู้นักก็คือ “การลงทุนกับสุขภาพ” นี่ก็มักสำคัญขึ้นเมื่อเราเริ่มมีอายุมากขึ้นและสุขภาพเริ่มจะร่วงโรยและเราเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายขึ้น สุขภาพของคนเรานั้น หลายคนคิดว่ามาจากยีนหรือโชคชะตาเป็นหลัก และในช่วงที่ยังเป็นหนุ่มสาวนั้น คนก็มักจะไม่ตระหนักว่าสุขภาพดีมีผลกับชีวิตมากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญก็คือ อาจจะไม่รู้ด้วยว่าสุขภาพที่ดีโดยเฉพาะเมื่อตนเองมีอายุมากขึ้นนั้นจะต้องมีการ “ลงทุน” จริงอยู่ ยีนมีความสำคัญต่อสุขภาพมาก แต่การ “ลงทุนในสุขภาพ” ที่ดีและมากนั้นก็จะช่วยทำให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นมากในยามที่เราแก่ตัวลง และนี่ก็มักจะสำคัญและบ่อยครั้งมากกว่าเรื่องของเงินด้วยซ้ำ
ประสบการณ์ของผมเองเกี่ยวกับเรื่องของการลงทุนในเรื่องของความรู้นั้นน่าจะเรียกได้ว่าผมลงทุนค่อนข้างมาก เหตุผลสำคัญก็คือครอบครัวของผมค่อนข้างจน พ่อทำงานเป็นช่างก่อสร้างและต่อมาเป็นช่างไม้ ที่ไม่เคยมีเงินเหลือเก็บและบ่อยครั้งไม่พอใช้ ว่าที่จริงเขาไม่เคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารเลย การศึกษาหรือการเรียนในโรงเรียนของลูกเป็นเรื่องที่ “ฟุ่มเฟือย” แต่ผมเองโชคดีที่เป็นลูกคนสุดท้องที่ได้เข้าเรียนใน “โรงเรียนวัด” ตั้งแต่ชั้นประถมถึงมัธยมต้นและได้เข้าเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเนื่องจากเรียนเก่งพอสมควร ทั้งหมดนี้ใช้เงินน้อยมาก
ผมเรียนปริญญาตรีในคณะวิศวกรรมของรัฐซึ่งใช้เงินน้อยมาก ด้วยเหตุผลก็คือ มันคือคณะที่น่าจะสามารถทำเงินได้ดี “จบแล้วมีงานทำแน่นอน” และใช้เวลาไม่มากเหมือนคณะแพทย์ที่ทำเงินได้มากกว่าแต่ต้องเรียน 7 ปี ดังนั้นการเรียนวิศวะน่าจะเป็น “การลงทุนที่ดี” และเมื่อจบแล้วผมก็เลือกไปทำงานในต่างจังหวัดซึ่งเป็นโรงงานน้ำตาลที่ทุกปีในช่วง “เปิดหีบ” ประมาณ 4 เดือน เราจะได้เงินเดือนค่าล่วงเวลาเป็น 2 เท่าของเงินเดือนปกติ นอกจากนั้น เขามีที่อยู่และอาหาร 3 มื้อซึ่งทำให้เราแทบไม่มีค่าใช้จ่าย ผมคิดว่านี่คือ “สวรรค์” ของการเก็บเงินเพื่ออนาคต
ทำงานในโรงงาน 2 ปี ผมก็รู้สึกว่าศักยภาพของตนเอง “ตีบตัน” งานช่างนั้นเป็นงานที่เงินเดือนดีในตอนเริ่มต้น แต่หลังจากนั้นเงินเดือนก็จะปรับขึ้นช้า ๆ ปีละประมาณ 7-10% และแทบจะไม่มีโอกาสปรับแบบก้าวกระโดดเพราะการเลื่อนหรือปรับตำแหน่ง บริษัทเป็นธุรกิจครอบครัวที่เจ้าของคุมตำแหน่งบริหารที่สำคัญ อย่างมากที่เราจะเป็นได้ก็อาจจะเป็นนายช่างคุมโรงงานเมื่อถึงวันที่เราใกล้เกษียณ ผมคิดแล้วก็ตัดสินใจ “ลงทุนในการศึกษา” เพิ่ม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำเงินของตนเองโดยการ “เรียน MBA” ซึ่งเป็นสาขาวิชาใหม่ที่เพิ่งจะเริ่มมีในประเทศไทยในขณะนั้น ผมคิดว่า การเรียน MBA จะทำให้ผมสามารถเข้าสู่วงการ “บริหารธุรกิจ” ที่เป็นงานใหญ่ขึ้น และในบริษัทที่ก้าวหน้าหรือเป็นบริษัทต่างชาติ เงินที่เก็บได้ทั้งหมดถูกนำมาใช้ในการเรียนและสนับสนุนทางบ้านแบบเดิมที่ทำมาตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรี
ผมจบปริญญาโททางด้านการตลาดภายใน 2 ปี ด้วยการเรียนและทำงานอย่างละครึ่งเวลาหรือสัปดาห์ละ 3 วัน การเรียนและการเดินทางไปกลับต่างจังหวัดเป็นเรื่องที่เหนื่อยหนักไม่น้อย แต่เมื่อเรียนจบผมก็ไม่ได้เปลี่ยนงานตามที่หวัง ผมยังทำงานที่เดิมแต่ได้รับการปรับงานให้ช่วยบริหารภายในโรงงานเพิ่มขึ้นบ้าง อย่างไรก็ตาม งานหลักก็ยังเป็นเรื่องของการผลิต เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นทำให้การไปเริ่มงานใหม่ในสาขาใหม่ที่เงินเดือนต่ำกว่าไม่น่าสนใจเท่าที่ควร สำหรับคนที่เป็นช่างซึ่งมักจะ “อนุรักษ์นิยม” และไม่ได้อ่านหนังสือแนวธุรกิจสังคมหรือการพัฒนาตนเอง รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจ การเปลี่ยนแปลงชีวิตมากมายแบบนี้พร้อม ๆ กับการลดรายได้ลงเป็นสิ่งที่ตัดสินใจได้ยาก ผมจึงยังทำงานเก็บเงินต่อไปอีก 2 ปี การเรียน MBA ยังไม่สามารถที่จะทำให้ผมเห็นหรือเลือกช่องทางที่จะเปลี่ยนชีวิตตนเองได้ และนั่นนำมาสู่การ “ลงทุนในตัวเองต่อไป” โดยการไปเรียนต่อต่างประเทศทั้ง ๆ ที่ “ไม่มีเงินพอ”
การไปอเมริกาเพื่อเรียนต่อปริญญาเอกทางด้านการเงินนั้น ผมคิดว่าคงช่วยให้ผมสามารถเปลี่ยนไปทำงานทางด้านการเงินที่มักเป็นงาน “ใหญ่ที่สุด” ในกระบวนการหาเงิน แต่ลึก ๆ แล้ว ผมก็ไม่หวังจะรวยจากการเรียนมากนัก สิ่งที่ผมหวังก็คือ การได้ไป “เปิดโลก” ไปเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ไปเห็นประเทศที่เจริญก้าวหน้า ผมคิดว่าผมอยากมีชื่อเป็น “ด็อกเตอร์” และเป็นที่ยอมรับของสังคมอย่างน้อยก็ในฐานะของนักวิชาการ ผมต้องใช้เงินทั้งหมดที่สะสมมาได้เพื่อซื้อตั๋วเครื่องบิน “เที่ยวเดียว” และที่เหลือทิ้งไว้สนับสนุนพ่อแม่ การไปเรียนปริญญาเอกนั้นผมได้ทุนช่วยวิจัยจากมหาวิทยาลัยซึ่งพอใช้ทั้งค่าเรียนและการเป็นอยู่ตราบเท่าที่ยังได้ทุนอยู่
ผมจบปริญญาเอกทางด้านการเงินและการลงทุนในเวลา 4 ปี เมื่ออายุ 32 ปี กลับมาประเทศไทยโดยที่ไม่มีเงินเก็บเลย สรุปแล้ว เป็นเวลา 10 ปีนับจากการทำงานวันแรก เงินเก็บเป็นศูนย์ เงินที่ทำมาหาได้ทุกบาททุกสตางค์ถูกนำไปลงทุนในการศึกษาหาความรู้ต่อจากปริญญาตรีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตนเองในการทำงานหาเงินในอนาคต ผมเริ่มทำงานทางด้านการเงิน แต่การจบปริญญาเอกก็มักจะได้ทำงาน “กึ่งวิชาการ”เช่น งานวางแผนและกำหนดกลยุทธ์องค์กรมากกว่าการทำงานสายปฏิบัติการจริง ๆ ดังนั้น ผมก็ยังคงเป็นพนักงานกินเงินเดือนต่อไป แต่ก็โชคดีที่ว่าตลาดหุ้นไทยเริ่มบูมและความต้องการคนทำงานระดับหัวหน้างานที่มีความซับซ้อนเช่น งานวานิชธนกิจ มีมากขึ้น และนั่นทำให้ผมมีโอกาสเข้ามาสัมผัสกับ “ตลาดหุ้น” และ “การลงทุนในหุ้น” ในบริษัทหลักทรัพย์ รายได้จากงานนี้ค่อนข้างจะดีและทำให้ผมมีเงินเก็บพอสมควรเมื่ออายุ 44 ปี แต่เนื่องจากมีครอบครัวและมีลูกที่เรียนโรงเรียนอินเตอร์ซึ่งต้องใช้เงินมากทำให้ผมไม่ได้ลงทุนทางทางการเงินเป็นเรื่องเป็นราวเพราะ “กลัวความเสี่ยง”
แต่วิกฤติต้มยำกุ้งทำให้ผมต้อง “ตกงาน” และมีทางเลือกไม่มากที่จะรักษาสถานะความเป็นอยู่แบบเดิมได้—นอกจากการลงทุนในตลาดหุ้นที่ตกลงมาอย่างหนักและราคาหุ้นจำนวนไม่น้อยมีราคาถูกมาก หุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” หลายตัวมีค่า PE แค่ 6-7 เท่าจ่ายปันผลถึงปีละ 10% เงินเก็บทั้งหมดถูกนำมาลงทุนในหุ้น ชีวิตเปลี่ยนเป็น Value Investor หรือ VI ผู้มุ่งมั่น ตลาดหุ้นฟื้นตัวและเติบโตมหาศาลหลังวิกฤติ ภายในเวลาเพียง 8 ปี ผมก็มี “อิสรภาพทางการเงิน” และเกษียณจากการทำงานประจำตั้งแต่อายุ 52 ปี และนี่ก็น่าจะเป็นบทเรียนได้ว่า “ความรู้”บวกกับ “โอกาสทอง” สามารถ “เปลี่ยนชีวิต” คนได้มากและรวดเร็วแค่ไหน
สรุปก็คือ ความสำเร็จในชีวิตผมนั้นน่าจะเป็นผลจากหลายสิ่งคือ หนึ่ง การที่ผมลงทุนในการศึกษาสูงมาก ไม่ใช่เฉพาะจากห้องเรียน แต่ผมศึกษาต่อเนื่องมาตลอดเวลาจนถึงทุกวันนี้ สอง เกิดวิกฤติเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในปี 2540 โดยที่ผมไม่ได้เสียหายทางด้านการเงินมากนักเนื่องจากยังไม่ได้เป็นนักลงทุนแต่เป็นแค่คนกินเงินเดือนธรรมดา และสุดท้าย ผมโชคดีที่ถูก “บังคับ” ด้วยสถานการณ์ให้ต้อง “เลือก” เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และผมเลือกที่จะลงทุนแบบ VI ที่ผมศึกษามาแล้วว่าเป็นหลักการที่ดีเยี่ยมและปลอดภัยกว่าแนวทางที่นักลงทุนใช้กันก่อนหน้านั้น