หน้า 1 จากทั้งหมด 1
วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 05, 2020 6:15 pm
โดย amornkowa
ถามทันที กับ อิก เรื่องการลงทุน
คุณ โจ ลูกอีสาน
วีไอต้องปรับmind set อย่างไรในการลงทุน
วิกฤตCovid รอบนี้ อ โจ บอกว่า วิกฤตทุกครั้งก็เหมือนกัน ดัชนีลงมาจากต้นปีเกือบ 30%
ปีที่แล้ว ดัชนีลงมา 10% ถ้าเรานับจากnew high 1850 ลงมาเกือบ 40%
แต่ถ้านับจากต้นปี 28%
ผมผ่านต้มยำกุ้ง หนักกว่านี้เยอะ ถึงแม้subprimeก็หนักกว่า
แต่คราวนี้ นอกจากวิกฤตหุ้น และต้องระวังไม่ให้ติดโรคด้วย
หุ้นลงมาแต่ไม่เยอะมาก ในความเห็นต้องลงระดับ 50%
หุ้นที่ อ โจ ถือ ก็ถูกกระทบ แต่ไม่ถือสิ จะเสียโอกาส อีก 2 ปี หุ้นมีโอกาสกลับไปที่เดิม
ตอนนี้หุ้นลง ของลดราคา เราต้องซื้อ แต่คนส่วนใหญ่ก็ทำใจซื้อไม่ได้
นายตลาด เล่นได้สมบทบาทมาก ทำให้เรา รู้สึกอิน ว่าโลกจะแตก คนจะตายเยอะ
คนลงทุนแบบวีไอ ต้องเข้าใจ อย่าไปอิน แยกตัวเองออกไปให้ได้ คิดอย่างมีเหตุผลก็จะ
ทำให้อยู่รอดได้
การขายในช่วงตลาดหุ้นดี เราก็รวย และ ควรซื้อหุ้นตอนที่ตลาดpanic
แต่ปรากฏว่า คนส่วนใหญ่ทำตรงข้าม เวลาหุ้นราคาแพงไม่ขาย แต่ขายตอนราคาถูกๆ
ก็แสดงว่าเจ๊ง จริงต้องซื้อถูก ขายแพง เป็นหลักการง่ายๆ แต่เวลาทำมันยาก
สิ่งเหล่านี้ต้องเรียนรู้ และ ใช้ประสบการณ์
ต้มยำกุ้ง ผมโดนไม่เต็ม และ subprimeนี้โดนเต็มๆ
ตอนนี้ เริ่มชินกับมัน และ ไม่คล้อยตามตลาด
อารมณ์คราวนี้ยังไม่แย่มาก พูดเสมอๆว่าลงทุนในหุ้นระยะยาว
มีโอกาส100%ที่เจอวิกฤตที่มีเหตุผลไม่เหมือนกัน
ถ้าเราเตรียมตัว และ เตรียมพอร์ตให้แข็งแกร่ง เลือกหุ้นที่ดี
ไม่ใช้หุ้นที่ไม่มีสภาพคล่อง และ ถือน้อยตัว หรือ ใช้margin
ทำให้เราตายได้
เราเตรียมตัวเนิ่นๆก่อนวิกฤต เตรียมพอร์ตให้มีความเสี่ยงต่ำๆ
ถาม Covid ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน รวมถึง WFH ,disrupt ธุรกิจต่างๆ
เป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวไหม
อ โจ ตอบว่า Covidเป็นตัวเร่งมากกว่า ที่พูดมาเป็น Mega trend
Covid เป็นตัวเร่งมากขึ้น อ โจ ค่อนข้าง low tech แต่ตอนนี้ ฝึกซื้อonline ใช้ app ทำธุรกรรมการเงิน
หลังจากผ่าน Covid บางบริษัทอาจไม่กลับไปดีเหมือนเดิม
การค้าonline จะกระทบต่อร้านค้าที่เช่าพื้นที่ในห้าง วิกฤตผ่านไป บริษัทเหล่านี้จะไม่เหมือนเดิม
เราต้องระวังบริษัทเหล่านี้
ถาม ร้านอาหาร หลัง covid ภาพจะเปลี่ยนแปลงไหม
ตอบ คงขึ้นกับแต่ละบริษัท ธุรกิจร้านchainในไทย จะเติบโตในรูปแบบใหม่ๆ
หรือ ออกต่างประเทศ หรือ take over
ตลาดเมืองไทย chain อาหาร ค่อนข้างเฉพาะตัว อาจไม่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ
ตอนนี้ทุกchain ที่อยู่ในห้างก็โดนกระทบ แต่ละร้านก็มีความสามารถในการdeliveryไม่เหมือนกัน
ส่วนธุรกิจขนม ตอนนี้จำเป็นไหม บางคนตกงาน ไม่มีเงินเดือน จะยากที่ไปกินก็ยากหน่อย
รวมถึงร้านอาหารที่ราคาค่อนข้างแพง ก็โดนกระทบมากหน่อย
แต่ธุรกิจห้องแถวยังมีโอกาสมากกว่า
วิกฤตcovid คนต้องผ่านไปได้ แต่ขึ้นกับว่า ช้า หรือเร็ว
หลักการเลือกบริษัท
1.ต้องเป็นบริษัทที่รอดตาย
วิกฤตไม่ได้มาบ่อยๆ จงเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส หุ้นหลายตัวลงมาจนน่าสนใจ
2.เป็นธุรกิจที่จำเป็นต้องมี แข็งแกร่ง มีเงินสดพอสมควร อยู่ได้ 5-6 เดือน
ถ้าราคาหุ้นลงมาแรง ก็น่าสนใจ
ถ้าเรามีเงิน พยายามหาเงินมาเยอะ และ เพิ่มขนาดพอร์ต ซื้อหุ้นในราคาที่ถูก
ถ้าไม่มีเงินสด ตอนนั้นที่เจอวิกฤตใหม่ ก็ไปshort TFEX ไว้ ดัชนีลงมา
ได้เงินมาซื้อหุ้น แต่ไม่ขายหุ้นที่ถือ
หุ้นบางตัวที่ลงน้อยมาก ก็ใช้โอกาสswitching ไปในหุ้นที่ลงมามากๆ
ถ้ามีหุ้นต่างประเทศที่ไม่ลง ก็โอนเงินส่วนนี้มาซื้อหุ้นประเทศไทย
หรือ อาจใช้margin 10-20%มาซื้อหุ้น
โลภในตอนที่คนอื่นกลัว และ กลัวในตอนที่คนอื่นโลภ ที่วอร์เรน บัฟเฟตต์
กองทุนตราสารหนี้ ก็เป็นอีกส่วนที่มาซื้อหุ้นได้
วิกฤตไม่ได้มาบ่อยๆ จงเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส หุ้นหลายตัวลงมาจนน่าสนใจ
ถาม หนึ่งในเหตุผลที่ หุ้นที่เป็นสินค้าจำเป็นอยากให้ขยายความ
ตอบ สนามบิน หลังcovid ก็เปิดใหมได้
หรือสายการบิน ก็หลายสายการบินที่รอดได้ และ เปิดบินใหม่ได้
แต่ขึ้นกับว่า เราวิเคราะห์ได้เป็นสายการบินใด
คุณอิก เสริมว่า มีสายการบินนึงสีแดง บอกว่า มีโอกาสไปtake over สายการบินอื่น
แต่คุณอิก พูดอีกว่า วอร์เรน ซื้อสายการบิน เมื่อสามปีก่อน และมีถัวเมื่อต้นปีนี้
ปรากฏว่า ตอนนี้ขายหุ้นไปแล้ว
อ โจ บอกว่า ถ้าเราไม่ตาย เราก็โอกาสกลับมาได้
ทีมงานของคุณวอร์เรน บัฟเฟตต์มีหลายคน อาจจะเป็นทีมงานตัดสินใจซื้อและขายก็ได้
คุณสมบัตินักลงทุน อย่ายึดติด มีความยืดหยุ่น
ถ้าเห็นว่ายืดเยื้อ มีโอกาสขาดทุน ก็ขายไปก่อน
ผมก็อยากขาย แต่ขายไม่ได้ เลยใช้วิธีshort tfex ซึ่งช่วยได้นิดหน่อย
ถาม กรณ๊ Worst case จีน ใช้เวลา 3 เดือน ในการควบคุม แต่ ศก ร้านรวง ก็เปิดได้น้อย
แต่ประเทศอื่น ยังไม่ถึงจุดที่จีนทำได้ ถ้านานถึง 6-12 เดือน ธุรกิจไหนจะอยู่ไม่ได้
ตอบ ถ้ามีการปิดเมือง ธุรกิจที่ขายสินค้าไม่จำเป็น หรือ บริษัทที่งบการเงินไม่แข็งแกร่งจะไปก่อน
ถ้าเหตุการณ์ยืดเยื้อ หุ้นที่จะเหนื่อยคือหุ้นโรงแรม
ถามว่าเป็นธุรกิจที่จำเป็นไหม ก็ไม่จำเป็นมาก เจอดอกเบี้ยตอนไปซื้อรร ก็อันตราย
แต่ความเห็นส่วนตัว ประเทศอื่นน่าจะทำได้ภายใน3เดือน
สุดท้าย ทุกประเทศก็ใช้วิธีการแบบจีน ก็เลยคิดว่าไม่ยืดเยื้อ
ไวรัสอาจทอดยาวออกไป แต่ ศก ต้องเดินหน้าต่อไปครับ
ตลาดหุ้นเป็น indicator ชี้นำไวสุด จะรอให้เหตุการณ์จบก่อนค่อยซื้อหุ้นอาจไม่ทัน
ดัชนีที่ลงไป969 จุด อาจเป็นจุดต่ำสุดแล้วก็ได้ ตอนนี้ก็เด้งขึ้นมา 17%แล้วครับ
หุ้นบางตัว เช่น PTTEP จาก 51 ไป 79 บาทแล้ว ขึ้นเกือบ 50%
ดังนั้นการรอให้ทุกอย่างชัดเจน ค่อยซื้อ ก็ไม่ทัน
ผมไม่กลัว ว่าซื้อแล้วจะลงอีก
วิธีการ ถ้าหุ้นลงมาเยอะ ช่วง Circuit Breaker ผมชอบมาก
ผมก็จะซื้อหุ้นที่ทำการบ้าน หุ้นไหนลงลึกเกินไป ก็จะทยอยซื้อหุ้นเหล่านี้
ถ้าวันนี้หุ้นถูก ต่อให้ลงอีก ก็ไม่เป็นไร หุ้นที่ซื้อในวันนี้ ในอนาคตกำไรแน่
คนที่ตั้งใจซื้อหุ้นตอน Bottom คนเหล่านี้ผมไม่เคยเห็นคนรวยด้วยวิธีนี้
ผมลงทุนมา 20กว่าปี ผมเคยซื้อหุ้นตัวเดียวที่ราคาต่ำสุด ซึ่งยากมาก
ดังนั้นถ้าราคาหุ้นถูกแล้ว ก็ซื้อได้แล้ว ไม่ต้องสนใจว่าหุ้นจะลงไปอีกไหม
แต่ถ้าเกิดรอแล้วรอเล่า ตลาดหุ้นมันไวมาก ดีไม่ดี ตอนนี้คุณตกรถไปแล้วก็ได้
ถามว่า เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า หุ้นที่ซื้อไปแล้ว ร่วงต่อและเข้าไปซื้ออีก จะเป็นวิธีการที่ดี
ถ้าวิเคราะห์นี้ไม่ดี อาจร่วงต่อได้
ตอบ ผมเชื่อว่าหุ้นที่ล้มหายไม่เยอะ อย่าลืมว่าบริษัทเหมือนคน มีการปรับตัว ลดรายจ่าย ประนอมหนี้
โอกาสล้มหายตายจากไม่เยอะ โอกาสลงทุนแล้วกิจการเป็น 0 มีน้อย
แต่ลงทุนบริษัทไหนละ ที่มี upside สูง และไม่เจ๊ง
แน่นอนสิ่งที่มองเป็นเกมได้เลย normal profit เป็นเท่าไหร่ ถ้าราคาหุ้นลงมาเยอะ
ถ้ากำไรกลับมาเท่าเดิม PE 5 เท่าก็น่าปลอดภัย
ถามวิธีการ Valuation ตอนปกติกับตอนนี้ต่างกันอย่างไร
ตอบ เราไม่สามารถใช้valuationในตอนนี้ เราไม่สามารถเอากำไรที่ผิดปกติมาประเมินมูลค่าได้
ดังนั้นเราควรประเมินมูลค่าในตอนที่วิกฤตผ่านไป
ตย เช่น บริษัทเคยมีกำไรพันล้าน แต่ตอนนี้ขาดทุน พันล้าน ไม่สามารถเอาขาดทุนมาทำกำไรได้
ตอนนี้ ผมลงทุนหุ้นต่างประเทศ 11-12%
ระยะยาวพยายามมีหุ้นต่างประเทศ 20-30% และ พยายามลงทุน ETF แทนการลงหุ้นรายตัว
เลือกประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขัน เช่น สหรัฐ จีน เวียดนาม เยอรมัน
ถาม เรื่องความสามารถในการแข่งขัน พูดถึงไทย ที่เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
และ ธุรกิจที่เป็นธุรกิจตะวันตกดิน
ตอบ อันนี้พูดยาก ประเทศเรา ไม่ใช่เทคโนโลยี บริการอย่างเดียวก็ไม่ได้
อิตาลี พึ่งพาท่องเที่ยวอย่างเดีย เจอโรคระบาด ก็เสียชีวิตเยอะ
เราต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมบริการที่อิงกับการท่องเที่ยว
แต่ GDP อิงกับการท่องเที่ยว 30% แต่เมื่อเจอกับโรคระบาด การท่องเที่ยวก็ถูกกระทบ
แต่ก็เชื่อว่า การท่องเที่ยวน่าจะเป็นตัวผลักดันGDPค่อนข้างดี จ้างงานเยอะ ไม่ต้องลงทุนมากมาย
แต่เราก็ต้องมีอุตสาหกรรมการผลิดบ้าง เรามีกำลังซื้อค่อนข้างเยอะ
อุตสาหกรรมการผลิตรถ คิดเป็น 10% EV เข้ามาก็จะกระทบ
ภาครัฐก็ไม่อยากส่งเสริมEV เพราะกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตรถ
จีนเป็นผู้นำ แต่ถ้าไม่ให้เข้ามา ก็นำเข้าอย่างเดียว
ส่วนอุตสาหกรรมภาคการเกษตร มีสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ เหลือ 7-8% ของ GDP
แต่ใช้แรงงานมหาศาล ผมไม่แน่ใจว่าคุ้มหรือเปล่า
อย่างไรก็ตามก็ต้องมีภาคการเกษตร
ถาม รอบนี้ดัชนีลงต่ำสุดเท่าไหร่
ตอบ ทุกคนก็อยากรู้ แต่ถ้าเรารู้เราจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่
แต่คิดเล่นๆว่า ดัชนีไหนน่าจะเหมาะสมจาก PB ปกติ 1.8 เท่า ตอนนี้ 1.2
อดีต ต้มยำกุ้ง 0.6 เท่า ส่วน Subprime 0.9 เท่า
ครั้งนี้เชื่อว่า PB ลงไป 1 เท่าค่อนข้างปลอดภัย เทียบเท่ากับดัชนี 800 จุด
จะซื้อหุ้นเต็มที่เท่าที่หาเงินได้ ซึ่งคิดว่าลงไป 20% ถือว่าเยอะเหมือนกัน
ถาม หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ปันผล10%น่าสนใจไหม
ตอบ วิธีคิดว่า PEต่ำ ตัวเลขที่เห็น เกิดขึ้นแล้ว ส่วนอนาคตละ ไม่น่าจะดีจะถือหุ้นต่อหรือเปล่า
ราคาหุ้นตอบสนองอนาคตไปแล้ว sectorนี้ เป็นวัฐจักร ซึ่งรุ่งเรืองมาสิบปีแล้ว มันดีเกินจริง
ยอดขาย 100 ลบ กำไร 10 ลบ ตอนนี้ครอบครัวลูกน้อย ทำไมต้องไปซื้อบ้านใหม่ที่อยู่ไกล
ทำไมไม่อยู่บ้านพ่อแม่ละ ซึ่งอยู่ในทำเลที่ดีใกล้เมือง
บ้านเดี่ยว ยอดขายในอนาคตจะขายน้อยลง
คอนโดมิเนียม เป็น sectorใหม่มาพร้อมกับรถไฟฟ้า มีแรงซื้อเข้ามา ณ วันนี้แรงซื้อเหล่านี้
Absorbไปพอสมควร รวมถึง สายรถไฟฟ้าเพิ่มอีกหลายสาย ทำให้ยอดขายไม่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นสรุปว่า sectorนี้อยู่ในวัฐจักรขาลง
ถ้าเราไปซื้อหุ้นที่ PE ต่ำ แต่ถ้ากำไรที่เคยดี กลับเป็นกำไรลดลง Yield ลดลง
หุ้นที่ทำให้ผมขาดทุนมากสุด คือ หุ้นวัฐจักร ประมาณ 90%
เพราะเราไปซื้อตอนที่ดี ช่วงที่กำไรดี แต่ปรากฏว่ากำไรดีแค่ชั่วคราว ไม่ยั่งยืน
ปรากฏว่ามันไม่ใช่ ทำให้เราติดหุ้น
กำไรจะกลับมาอีก 10-20 ปี เช่นอุตสาหกรรมเรือ ก็ 8 ปีแล้ว พลาดแล้วจะเหนื่อย
ถาม กลยุทธ์ การshort มองอย่างไร ถึงเป็นจุดshort ตรงจุดไหนเป็นจุดปิดสถานะ
ตอบ ผมเป็นคนที่ค่อนข้างระมัดระวัง เชื่อเสมอว่าวิกฤตเกิดขึ้นแน่ๆ
เหตุผลนึงคิดว่าอาจจะเกิดจากโรคระบาด
ตอนเจอที่อู๋ฮั่น ก็เริ่มระมัดระวัง มีประสบการณ์จากโรคSars
ผมเลยเอาเงินส่วนนึงไป Short ดัชนี เพื่อป้องกันความเสี่ยง
ส่วนการปิดposition ตอนนี้ผมปิดหมดแล้ว เพราะตลาดหุ้นรับความเสี่ยงได้ระดับนึง ได้กำไร 30%
ถ้าดัชนีลงไปอีกก็ไม่เป็นไร ตอนนี้ก็ทยอยช้อนหุ้นไปเรื่อยๆ
ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้อีก ผมจะshort ดัชนีไว้อีก
ถาม เรื่องการจัดพอร์ตอย่างไร ถือเงินสดเยอะไหม
ตอบ ถ้าดัชนีดี ราคาหุ้นสูง อาจมีเงินสดไว้บ้าง
ตอนดัชนีต่ำ ก็มีเงินสดน้อย โดยรวมก็ซื้อเต็มที่แล้ว
ส่วนmarginกำลังพิจารณา
อยากแปลงวิกฤตให้เป็นโอกาส หลังเหตุการณ์ควรมั่งคั่งกว่าเดิม
แต่ไม่ได้มีmargin เกิน 15%
การจัดพอร์ตก็เหมือนเดิม ตอนนี้มีหุ้น 70ตัว หุ้นนอกตลาด 3-4 ตัว
ถ้ามีupsideสูงก็ซื้อ
แนะนำว่าถ้าเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ก็ถือไม่เกิน 10 หุ้น
ถาม กลุ่มที่ปล่อยสินเชื่อ NPL น่ากลัวไหม
ตอบ กลุ่มนี้ราคาลงมาเยอะ บางตัว PE ถูกมาก
ผลกระทบต่อกลุ่มนี้ เยอะมาก ทำให้ราคาหุ้นลงมาเยอะ
พยายามเลือกบริษัทที่รอดตาย หนี้น้อยหน่อย
ส่วนทุนเยอะหน่อย อย่ามองแง่ร้ายเกินไป
ลูกค้ากระจายค่อนข้างสูง
ลูกค้าไม่ถึงครึ่งตกงาน และ สามารถใช้หนี้ได้
บริษัทมีการผ่อนปรน ยืดหนี้ไป
ต้องเลือกให้ถูก
ถาม กลุ่มค้าปลีก ดูเหมือนได้ประโยชน์จากการซื้อสินค้ามาเก็บที่บ้าน
และกลุ่มโรงไฟฟ้า
ตอบ ค้าปลีก โดยรวมน่าจะโดนกระทบ ซึ่งไม่ใช่มีเฉพาะอาหารอย่างเดียว
คนส่วนใหญ่ซื้ออาหารที่เป็นbasic โดยรวม ค้าปลีกไม่น่าจะได้ประโยชน์มาก
คนเริ่มชินซื้อonline จะกระทบเพิ่มขึ้นอีกไหม
กลุ่มโรงไฟฟ้า แทบเป็นกลุ่มเดียวที่ได้ผลกระทบน้อยมากๆ เช่น ค่าFT
แต่ภาครัฐยังรับซื้อ PEถ้าสมเหตุผลก็น่าสนใจ
แต่บางตัว ถูกไล่ราคาไปเยอะ แต่PEค่อนข้างแพง ตัวใหญ่ยังแพง
ตัวกลางๆพอเลือกได้
ประสบการณ์ที่ผ่านมาหลายครั้ง ทำให้ อ โจ มีภูมิต้านทาน
Covid มีการลุ้นว่าเสียชีวิตเท่าไหร่ แต่สุดท้ายทุกอย่างก็หายไปเหมือนช่วงน้ำท่วม
สัจจธรรมของตลาดหุ้น มีขึ้น ก็มีลง ดังนั้น หุ้นก็มีโอกาสขึ้นมาได้
ตราบใดที่ยังไม่ขายหุ้น ก็ยังไม่พัง ราคาที่อยู่หน้าจอ เป็นราคามายา
ถ้าเราไม่ทำอะไร ก็ไม่กระทบ แต่ถ้าเราขาย ก็พัง
สุดท้ายราคาหุ้นก็จะกลับมาสู่ปกติ
เราต้องเรียนรู้จากการอ่านประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้น หุ้นลงได้ ก็ขึ้นได้
อย่าไปจมกับวันที่แย่ซึ่งไม่มีความสุข มองอนาคตที่กลับไป จะหล่อเลี้ยงเรา
หาเงินมาเพิ่มด้วยวิธีสุจริต เพื่อซื้อหุ้นที่ดีเพิ่มเติม
แต่เตือนการใช้margin ต้องระวัง ที่ตายเพราะซวยซ้ำซวยซ้อน ลงแล้วลงอีก
ดังนั้น ทางเลือกสุดท้ายที่ใช้margin ใช้ระดับที่เหมาะสม
ขอขอบคุณ อาจารย์ โจ คุณ อิก และ คุณนุชที่ติดต่อให้
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 29, 2020 7:42 am
โดย zeazon
mindset สำหรับฝ่าวิกฤตครับ เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจ
https://open.spotify.com/episode/4JS1up ... q_yyrKIqZw
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 29, 2020 8:56 pm
โดย sukit2020
พี่โจ ลูกอีสาน มีวิธีปรับพอร์ตและหาหุ้นน่าลงทุน ในสภาวะวิกฤตยังไง?
Apr 5, 2020
#ถามทันที มาแล้ว !!! พี่โจ ลูกอีสาน มีวิธีปรับพอร์ตและหาหุ้นน่าลงทุน ในสภาวะวิกฤตยังไง?
ถามอีก กับพี่โจ ลูกอีสาน คุณอนุรักษ์ บุญแสวง แขกสุดพิเศษ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 29, 2020 9:00 pm
โดย sukit2020
MONEY TALK Special
เลือกหุ้นปรับพอร์ตยุคโควิด กับ โจ ลูกอีสาน
Apr 28, 2020
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 04, 2020 8:07 am
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ในช่วงวิกฤต Covid-19
EP1 คุยกับคุณโจ ลูกอีสาน ซึ่งมาพูดในรายการ MoneyTalk Special
คุณโจ อนุรักษ์ บุญแสวง ถือว่าเป็นนักลงทุนวีไอ ที่มีวิวัฒนาการในการลงทุนท่านนึง
หลังจากเคยพูดคุยกับคุณโจ เมื่อต้นเดือนธค 2562 ว่าคุณโจ ได้เริ่มลองShort หุ้นขนาดใหญ่ที่
ขึ้นเกินพื้นฐาน เนื่องจากยังมีแรงเก็งกำไร และ ประสบความสำเร็จพอสมควร
ในปีนี้ คุณโจ ก็เริ่มสังเกตวิกฤตโคโลน่าไวรัส ซึ่งเป็นชื่อเรียกในช่วงต้นๆ ตอนเริ่มเกิดที่ อู่ฮั่น ประเทศจีน
คุณโจเคยมีประสบการณ์จากโรคระบาดSarsมาแล้ว เลยเริ่มใส่ใจสถานการณ์ในช่วงนั้น
และเริ่ม Short TFlex SET50 ในสัดส่วน 10% ของพอร์ตลงทุน เพื่อป้องกันหุ้นในภาวะขาลง
หุ้นไทยได้ตกหนักในเดือนมีนาคม และ มีcircuit breakerติดต่อกันหลายครั้ง ทำให้พอร์ตลดลงมามาก
แต่ก็ถือว่าเป็นช่วงที่น่าลงทุนที่สุดในรอบ10ปี
หลังจากที่สถานการณ์ที่จีนเริ่มดีขึ้น รวมถึง ไทยมีคนติดเชื้อใหม่2หลัก ก็เริ่มสะสมหุ้นเข้าพอร์ต
โดยเงินที่นำมาลงทุนได้มาจาก 5 วิธี ดังนี้
1. หลังจากshort ดัชนีSET50 ซึ่งลงไป 30%แต่มีgearingสูง ทำให้ได้กำไรมา2เท่า ก็ขายมาซื้อหุ้นที่ต้องการ
2.หุ้นที่อยู่ในพอร์ต ระดับราคาตกลงมาไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 15%-70%
ซึ่งหุ้นที่ตกลง 15% เวลาขึ้น ก็ไม่น่าจะเกิน 20% ดังนั้น จึงได้ขายเพื่อไปซื้อหุ้นที่ดี แต่ราคาลงหนัก ซึ่ง
มีโอกาสขึ้นในภายหลังมากกว่า
3.คุณโจมีลงทุนหุ้นในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม ปกติ หุ้นขนาดใหญ่จะขึ้นลงตามตลาด
แต่หุ้นขนาดเล็กจะไม่เคลื่อนไหวตามตลาด ก็จะทำการขายออก ซึ่งยังมีกำไร และนำมาลงทุนหุ้นไทย
4.นอกจากนี้ช่วงเดือน เมษายน จนถึงปลายเดือน พฤษภาคม เริ่มได้รับเงินปันผลจากหุ้นที่ลงทุน
ก็นำเงินปันผลมาลงทุนต่อ
5.สุดท้ายก็เริ่มใช้บัญชีMarginมาซื้อหุ้นซึ่งตกไปแล้ว 40% ก็ถือเป็นเงินลงทุนอีกก้อน
ที่สามารถนำมาลงทุนเพิ่มได้ แต่มีlimitว่าไม่เกินความเสี่ยงที่รับได้ (น่าจะ10%ของพอร์ต)
ช่วงนี้หุ้นไทยขึ้นมา 30%แล้วจากจุดต่ำสุด ก็มีหุ้นหลายตัวขึ้นมา 70% ก็มีขายออกไปบ้าง
แต่ส่วนใหญ่ยังถืออยู่ เพราะ วิกฤตคราวที่แล้ว ไม่ได้ประโยชน์จากวิกฤตมาก (น่าจะขายออกไปก่อน
หรือ ไม่ได้ซื้อตอนต่ำๆมากพอ ) คราวนี้ก็จะถือข้ามวิกฤตไป เพราะหลายตัวปันผลกว่า 10%
หลังจากนี้ ถ้าจะลงทุนเพิ่ม ก็จะดูข้อมูลมากขึ้นหน่อย เพราะหุ้นก็ถูกน้อยลง ต้องเลือกเยอะขึ้น
ส่วน ดร นิเวศน์ เคยใช้Margin ในการซื้อหุ้น ตอนวิกฤตSubprime แต่คราวนี้ไม่ได้ใช้
แต่ก็มีเงินสด 6-7% ในพอร์ต ที่พร้อมลงทุน หลังลงทุนหุ้นเพิ่มไปหลายตัว (ตัวเดิม) แล้ว
ดร นิเวศน์ให้ความเห็นว่า ที่หุ้นขึ้นทั้งที่ Covid-19 ยังระบาดอยู่ เพราะว่า คนเริ่มเรียนรู้ว่า
โรคระบาด ท้ายสุดก็มีจะวัคซีนในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า ซึ่งมี70กว่าบริษัทกำลังออกวัคซีน
ก็เลยเริ่มเข้ามาซื้อหุ้นกลับ และ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ก็สามารถกลับขึ้นมาสูงกว่าเดิม
เพราะรายได้สูงขึ้น จากวิกฤตที่ผ่านมา
ส่วน ดร ไพบูลย์ พูดว่า วิกฤตคราวนี้ จะระวังเรื่องสุขภาพเป็นอันดับแรก เนื่องจากอายุมากขึ้น
และพอร์ตโตกว่าตอนSubprimeเยอะ อันดับต่อมาค่อยมาดูเรื่องพอร์ตการลงทุน
สุดท้ายขอขอบคุณ พิธีกร และ คุณโจ ที่มาให้ความรู้ครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 06, 2020 8:37 am
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ในช่วง Covid-19 by Seminar knowledge
EP2: Reading Macro Theme, Fund Flow and Asset Allocation in Deflation World
ดร วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล MD บล ทรีนีตี้
ดร พูดถึง ตลาดหุ้น Bear market rally ในเดือนเมษายน
ส่วนราคาน้ำมันจะbottom ในไตรมาสสอง
ตอนนี้ ศก จะtrade off ระหว่าง cost of lockdown กับ cost reopening and second outbreak
กลุ่มที่แนะนำในการลงทุนแต่ละช่วง
Lockdown
Portfolio : Food, Consumer stable and Utility โรงไฟฟ้า
Reopening
Portfolio : Energy , Leisure and Banking
Risks of the second wave infectious
IMF คาดการณ์ GDPโลก ติดลบ3% on 2020 และ rebound 5.8% ในปีหน้า ขึ้นกับสถานการณ์
การระบาดอยู่ในช่วงครึ่งปีแรก
แต่ถ้าสถานการณ์ยังยืดเยื้อต่อในช่วงครึ่งปีหลัง GDP โลก ปีนี้จะติดลบ 6%
ถ้าควบคุมได้ในครึ่งปีแรก แต่ มีการกลับมารอบสองในช่วงครึ่งปีหลัง GDP ปีหน้าจะลดลงเหลือ 1.3%
(จากเดิมคาดว่าโต 5.8%)
Update สถานการณ์ของโลก
- อัตราว่างงานของสหรัฐ มากกว่า30ล้าน ใน 6 weeks
- จีน GDP ติดลบ 6.8% ในไตรมาสหนึ่ง
- ต่างชาติมาเที่ยวไทยลดลง 76% ในเดือนมีนาคม
- ต่างชาติขาย thai bond 200bn และขายหุ้นไทย 160bn
- ต่างชาติเริ่มเข้าซื้อหุ้น ไต้หวัน และ จีน หลังทำ FED ทำ QE
- ตลาดหุ้ ไม่ได้สนใจ macro ที่แย่ในQ1 ,Q2 แต่สนใจว่า ศก และ
กำไรจะกลับมาเมื่อไหร่รวมถึงผลกระทบจาก second wave of infectious.
ภาพใหญ่ต่อไปจะขึ้นกับ Known Factors และ Unknown Factors
Known Factors
Positive news
- เรื่องธนาคารกลางแต่ละประเทศใช้QE เพื่อให้ ศก กลับคืนมา
- ราคาน้ำมันเริ่มstable
- รัฐบาลไทย กระตุ้น ศก ซึ่งทำให้ GDP เติบโต 1.3-2.5% ทำให้ปีนี้ GDP ติดลบน้อยลง
Negative news
- ภัยแล้ว
- Trade war จะกลับมาอีก
- Poor earning Q1
- Poor GDP
- การว่างงานเพิ่มขึ้น และ private consumption will be overhang
- PE ตลาดไม่ถูก
Unknown factors ซึ่งเป็นตัวแปรที่คาดเดา ศก ได้ยาก
- Risk จาก second wave infections
- GDP china ลุ้นว่าจะโต 3%ในไตรมาสสองได้หรือไม่
- การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐช่วงปลายปีนี้ Poll 15 from 16 คาดว่า Biden ได้คะแนนนำ
ซึ่งถ้าได้เป็นประธานาธิบดี จะส่งผลดีต่อตลาด Emerging market
- Vaccine : WHO บอกว่า มี 8 vaccine จะทดสอบกับคน แต่ ครึ่งนึง ใช้กระบวนการ Bio
โดยสกัดจากไวรัสออกมา คาดว่าจะไม่ผ่านการอนุมัติให้ใช้งาน
Strategy
Portfolio insurance
1.Gold 10%
2.Thai stock 20%
3.High Quality fixed income 30%
4.Asian stock (China) 20%
5.cash 20%
ซึ่งเป็นการจัดพอร์ต ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า stock 50% , bond 50% โดยrun test ในช่วง Great depression
กับ ช่วง stagflation พบว่า พอร์ตที่กระจายหลายสินทรัพย์ได้ผลตอบแทนดีกว่า หุ้นกับตราสารหนี้
- Arbitrage : long stronger bank short weak bank
- Barbell portfolio
สุดท้ายขอขอบคุณ อ วีรพงษ์ CSI ที่เชิญ ดร วิศิษฐ์มาพูดด้วยครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 06, 2020 8:37 am
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ในช่วง Covid-19
EP3 “Sell in May ปีนี้ จะมีหรือไม่” โดย อ จิตรา อมรธรรม
รอง MD บล ฟินันเซีย ไซรัส
เหตุผลที่ทำให้มีการขายในเดือนนี้
1.กำไรตามดัชนีที่ขึ้นมา300จุด ไม่ทัน
2.PE ที่ดัชนีตอนนี้ 17 เท่า ซึ่งสูงกว่าในอดีต 14-16 เท่า
3.Earning Yield Gap ขณะนี้ 4.5% เทียบกับเดือน มีนาคม ซึ่งดัชนีต่ำสุด 7%
4.สถาบันซื้อเยอะในเดือนมีนาคม แต่ตอนนี้ซื้อน้อยลง สัดส่วนในตลาดลดลง คนที่รับคือรายย่อย
ซึ่งสัดส่วนเพิ่มเป็น 49.5% เมื่อไหร่ที่รายย่อยเข้ามาเต็มตัว เกิดการเก็งกำไรอย่างไม่มีเหตุผล
ดังนั้น ตลาดขึ้นมา300จุด มีโอกาสปรับฐานสักครึ่งนึง ประมาณ 1,150 จุด ดังนั้น แถว 1,100 จุดน่าสะสมหุ้น
โดยหวังว่า กำไรไม่น่าแย่กว่านี้
สิ่งที่ต้องสังเกตต่อไป ได้แก่
1.การเริ่มเปิดเศรษฐกิจใหม่อีกที ระวัง โรคระบาดกลับมารอบ2
ดังนั้นต้องดูว่าหลังเปิดศก จะเกิด Wave2มาหรือไม่ ถ้าเกิดจะรุนแรงกว่า Waveแรก
และครึ่งปีหลัง ยังไม่กลับมาเหมือนเดิม โรงแรมได้ยินว่าปิดต่อ เพราะปกติรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
การเปิดห้าง ดูคนโดยสารรถไฟฟ้า ว่าเป็นอย่างไร จะได้ซื้อได้ถูกตัว
หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ถ้าแพงก็ไม่เอา ดูรายรับด้วย โดยเฉพาะ โรงไฟฟ้าที่ขายไฟให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์
2.พฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงไปหรือเปล่า ในระยะสั้นและยาว
ภาคผลิตต้นน้ำ ได้ประโยชน์ก่อน
ภาคบริการ
ร้านอาหาร เปิดมา รายได้รับน้อยลง เพราะ เว้นระยะห่าง จุโต๊ะได้น้อยลง ต้นทุนเพิ่มขึ้น
การท่องเที่ยว ฝรั่งมองว่ายังไม่ฟื้น ไทยพึ่งพาส่งออกและท่องเที่ยวเยอะ เลยน่าจะฟื้นช้า
WFH ก่อนหน้านี้ระบบไม่พร้อม ตอนนี้สถานการณ์บังคับ ทุกคนremote access
และเริ่มชินอยู่บ้านทำงาน ดังนั้น คนจะไปซื้อบ้านที่อยู่ชานเมืองมากกว่าในเมือง
Office ให้บ้านก็โดนกระทบ
ร้านอาหารในห้างจะถูกกระทบ จาก คนเริ่มชินการสั่งอาหารผ่าน Line man ซึ่งค่าส่งถูก
ห้างยังต้องมีอยู่อีกหรือเปล่า เชื่อว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง
ผู้ให้บริการ internet มี 3 ค่าย ไม่ถูกกระทบ
หุ้นที่ต้องระวัง เช่น
โรงแรมและอะไรที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ฟื้นช้า
ธนาคารก็ฟื้นช้า เพราะรอให้ส่วนอื่นฟื้นก่อน
Telecom ก็น่าสนใจ ไม่ได้รับผลกระทบ
หุ้นรับเหมา ต้องเล่นแบบทิ้งขว้าง โอกาสผลประกอบการ มีกำไรและขาดทุนได้ ต้องลงให้ถูกช่วงตรงกลาง
ของโครงการ จะได้เงินเยอะสุด
ปีนี้ รถไฟฟ้าสายสีส้มจะขายTOR ก็น่าสนใจ รวมถึง หุ้นเสาเข็ม สนใจก็เลือกและถือยาวได้
สุดท้ายขอขอบคุณ คุณจิตรา และ CSI มากๆครับที่มาให้ความรู้ในวันนี้
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 06, 2020 1:41 pm
โดย miracle
อันนี้เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ช่วงผ่อนคลายและก่อนหน้านี้ที่ดำเนินการไปเพื่ออะไร
"ทุบด้วยค้อนแล้วฟ้อนรำ" ยุทธศาสตร์กำจัด "โควิด-19" (30 เม.ย.63) กาแฟดำ | 9 MCOT HD
https://www.youtube.com/watch?v=IxyDHzpWU94
"ทุบด้วยค้อนแล้วฟ้อนรำ" ยุทธศาสตร์กำจัด "โควิด-19" (ตอน 2) (01พ.ค.63) กาแฟดำ | 9 MCOT HD
https://www.youtube.com/watch?v=wor5l25cYUo
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 07, 2020 8:32 am
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ในช่วง Covid-19 EP4
ช่วงนี้งบเริ่มออกมา
หัวข้อนี้เหมาะกับมืใหม่เริ่มมาศึกษาหุ้นครับ
เพจซั่มหุ้น หัวข้อ อ่านงบเป็น เห็นกำไร (ที่แท้ทรู)
เวลาดูงบ สัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่4-6 พค
หุ้นที่งบออกมา 8-9ตัว มีบางตัว งบโต แต่ของจริงไม่มีประเด็น
เช่น DCx กำไรโต20% จริงๆไม่ดี ลองแกะงบดูนะครับ
TU งบ กำไรลดลง 19% แต่ดูข้างใน งบดี อาจเกิดจากหลายอย่าง
รายได้โต5% แต่ต้นทุนเพิ่ม4%น้อยกว่า ทำให้ gpโต 15%
แต่ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้กำไรลดลง แสดงว่า operationดีมาก
ช่วงนี้ดีเพราะคนตุนอาหารแช่แข็ง แต่ช่วงสภาวะปกติจะดีแบบนี้ตลอดไหม ต้องพิจารณา
เวลาดูงบ ดูแค่กำไรบรรทัดสุดท้ายไม่ได้ เลยเป็นที่มาของหัวข้อนี้
เช็คงบกำไรขาดทุน มีอะไรบ้าง
1.เช็คความสามารถในการสร้างรายได้
2.การควบคุมต้นทุน
3.การควบคุมค่าใช้จ่าย
4.การเติบโตของกำไร
5.รายการพิเศษ
เราต้องดูที่ความเก่งของกิจการ โดยดูจากการสร้างรายได้ที่แท้จริง
ถ้ากำไรไม่ใช่มาจากรายได้โต อาจมาจากเรื่องการควบคุมต้นทุน
ถ้าเป็นสินค้าcommodity เช่นราคาน้ำมัน ถ่านหิน สินค้าเกษตร
มีการผันผวนตามตลาดโลกอยู่แล้ว
เช่น น้ำมันปาล์ม อาจดีหรือแย่ในบางช่วง
โดยไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถของกิจการ เป็นความบังเอิญที่กำไรดี
แต่ถ้าราคาวัตถุดิบกลับทิศ ก็อาจขาดทุนได้ส่งผลต่อผลประกอบการได้
ต้องไปดูที่เหตุปัจจัย
แต่ถ้าต้นทุนไม่เกี่ยวข้องกับcommodity แต่อาจมาจากการกดราคาผู้ผลิต หรือ OEM
ก็เป็นแค่ชั่วคราว ไม่สามารถทำได้ในระยะยาว
แต่ความเก่งของกิจการ เป็นการหาของขายได้มากขึ้น หรือ ลูกค้าต้องการมากขึ้น
ส่วนต้นทุนควบคุมได้ปานกลางก็พอ
สุดท้ายก็จะทำให้กำไรของกิจการเติบโตได้
เช่น TUกำไรติดลบ19% คนอยู่บ้านช่วงCovid ก็ซื้อวัตถุดิบแช่แข็งมาตุน
ทำให้ยอดขายดี และ มีmarginดี GPก็สูงขึ้น ถึงแม้กำไรลดลง
สุดท้ายต้องดูรายการพิเศษเพิ่มขึ้นด้วยหรือเปล่า
อย่าลืมเช็คความแข็งแกร่งของกิจการ โดยดูได้จาก
1. DE Ratio
2. เงินสด
3. สินค้าคงเหลือ (เป็นกลุ่มสินค้าที่หมุนเร็วไหม)
4. ดูคุณภาพหนี้ : หนี้ที่ถึงกำหนดชำระใน1ปี ปกติกิจการจะออกหุ้นกู้ roll over
แต่ช่วงนี้ นักลงทุนก็ต้องเช็คดูมากขึ้น ก่อนลงทุน
กิจการที่กำไรดี และ กระแสเงินสดดีด้วย
การดูงบคร่าว เวลาดูงบกำไรขาดทุน
ถ้าเป็นมือใหม่จะตาลาย ต้องดูเป้าหมายว่าเป็นอย่างไร
ต้องดูรายรับและรายจ่ายก่อน เหลือเท่าไหร่ เป็นส่วนที่เก็บไว้ที่บริษัท
มีการเพิ่มขึ้นทุกปีไหม
แบ่งเป็นกรอบ หรือ เป็นสี ในแต่ละส่วน ให้ดูง่ายขึ้น
แบ่งเป็นก้อน
รายได้ สีเขียว
ค่าใช้จ่ายสีส้ม
กำไร เป็นสีฟ้า
จะเริ่มดูง่ายขึ้น
กิจการสร้างรายได้เก่งหรือไม่
โดยดูตัวอย่างงบปี62ของหุ้นตัวนึง
วิธีการทำตัวเลขเพื่อดูแนวโน้ม
การคำนวณ จะคิดรายได้ครั้งนี้หารด้วยรายได้คราวที่แล้ว ลบด้วยหนึ่ง จะเห็นเทรนแนวโน้มของกิจการ
ส่วนบรรทัดอื่นๆก็copy สูตรลากลงมา ก็จะเห็นเทรนทุกบรรทัด
1.รายได้โตนิดหน่อย +3% แต่รายจ่ายติดลบเยอะกว่า -7%
สรุป ค่อนข้างดี ซึ่งเกิดจากการปรับปรุงLineการผลิต และ ลดการโฆษณาลงด้วย
ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเท่าตัวเลย
2.นอกจากนี้ ยังทำรายได้เทียบกับรายได้รวมคิดเป็น%หลังจากนี้ก็ทำทุกบรรทัด โดยlockสูตรด้วย
เราจะเห็นอีกมุมนึงของงบการเงิน
ต้นทุนปกติจะเทียบกับรายได้จากการขาย เห็นว่า ต้นทุนลดลง 7%
มันจะวิ่งลงข้างล่าง (กำไร)
ค่าใช้จ่ายการขาย ลดจาก 17% เหลือ 13.1%
ถ้าเทียบรายได้เท่าเดิม ช่องกำไรสำหรับปี จะเพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 16%
Case study 2 กิจการขาดทุน แต่มีกระแสเงินสดเป็นบวก
ไม่ดี แต่ ไม่แย่สุด
หุ้นตัวนี้ เป็นหุ้นเดินเรือ
รายได้กิจการ ติดลบ 16%
รายจ่าย ดูต้นทุน ค่าใช้จ่ายการขาย และ บริหาร
รายจ่ายทรงๆ แต่รายได้ลดลง16% เราก็พอรู้ว่า marginจะน้อยลง
มีการลงค่าเสื่อมในงบด้วย ปกติสามารถดูจากงบกระแสเงินสดได้
กำไรก่อนภาษี หายไปพอสมควร จาก 1,200 เหลือ 400 ลบ
แต่ค่าใช้จ่ายทางการเงิน หรือดอกเบี้ยลดลงจาก 800เหลือ700 ลบ
แน่นอนก็เจอว่าขาดทุน 300ลบ กลายเป็นว่า งบของเดินเรือ ติดลบง่าย
งบกระแสเงินสด
กิจการที่มีสินทรัพย์เยอะ เช่น กิจการเดินเรือมีการซื้อเรือและเช่า
จะเกิดค่าเสื่อมราคาค่อนข้างสูง
เราจะดูอัตราส่วน EBITDA ซึ่งก็คือ กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี
เอาค่าเสื่อมมาบวกกลับ สี่งที่เกิดขึ้น ความเป็นจริง
กระแสเงินสดไม่ได้ติดลบ เวลาซื้อสินทรัพย์เยอะ แต่ไม่ได้bookค่าใช้จ่ายในคราวเดียว
แต่จะตัดเฉลี่ยไป เช่น เรือ 10-20ปี โดยดูจากหมายเหตุประกอบงบ
เพื่อจะได้matchกับรายได้ โดยตัดค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมของเรือ
เราจึงมาดูในเรื่อง CFO เป็นบวก ซึ่งกิจการไม่ได้แย่มากนัก
ปัญหาของบริษัทที่มีหนี้เยอะ หนี้ที่ครบใน1ปีจะอยู่ในงบ
ถ้าไม่มีครบกำหนด ก็ไม่มีประเด็น
ภาวะของหุ้นเดินเรือปีนี้เป็นอย่างไร
ค่าเสื่อมอยู่ที่ 28%ของรายได้ ค่อนข้างเยอะมาก และ
ค่าเสื่อมคิดเป็น50%ของต้นทุนถือเป็นสัดส่วนที่เยอะ
แต่ในช่วงของโรคระบาดCovid-19 แต่เมื่อพ้นวิกฤต
วัฐจักรเดินเรือเริ่มกลับมา แต่ค่าเสื่อมเท่าเดิม รายได้เพิ่มขึ้น
เมื่อพ้นค่าใช้จ่ายที่fixed cost จะวิ่งลงกำไร ซึ่งจะโตระเบิดเลย
ซึ่งทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
Case study3 ขาดทุน แต่กระแสเงินสดเป็นบวก
ขาดทุนทางบัญชี ยังไม่คุ้มทางบัญชีที่ตัดมา กิจการไปรอด แต่ยังไม่น่าลงทุนตอนนี้
แต่ถ้าเป็นกำไรพิเศษ ถ้าดูไม่ดี อาจโดนงบหลอก ราคาลงได้
รายได้-4% , ค่าใช้จ่าย-5% พอดูกำไรสุทธิโต 3%
แต่มาดูให้ดี รายการของรายได้
มีรายการนึงแปลกๆ หุ้นเกี่ยวกับสื่อ
รายได้สุทธิจากการคืนคลื่นความถี่ 340ลบถ้าก้อนนี้เอาออก
กลายเป็นว่า รายได้ลดลง ไม่ใช่-4% แต่เป็น -17%
กำไรดีขึ้นนิดนึง กลายเป็นขาดทุนไม่น้อยเลย
คนที่รู้ก็ขาย ทำให้หุ้นลงเลย
กระแสเงินสดเป็นบวก ค่าเผื่อการลดลงจากลิขสิทธิ์ 1800 ลบ เยอะมาก
ทำให้มีกระแสเงิน +1900 ลบ
ดังนั้น กำไร ในงบการเงิน
1. กำไรสุทธิ ดูแค่บรรทัดนี้ยังไม่พอ
2. EBITDA ดูแค่ตรงนี้ ไม่เพียงพอ อาจดูROA ประกอบ
3. กระแสเงินสด
บริษัทที่มีกำไรเท่ากัน อาจไม่ดีเท่ากัน
บริษัทแรก ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แต่บริษัทที่สอง ลงทุนเยอะเช่น ซื้อเรือ
ถ้าต้องการกำไรเท่าเดิม ต้องลงทุนไปเรื่อยๆ
กิจการแรกน่าสนใจมากกว่า
ข้อ3 กระแสเงินสด มีเรื่อง Working capital เข้ามาประกอบ มีการซื้อสินค้าเข้าคลังหรือเปล่า
งบกำไรดี ไม่จำเป็นต้องมีกระแสเงินสดดี
Case Study4
รายได้รวมโต2% และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
กำไรโต 170%
ส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนและบริษัทร่วม 120ลบซึ่งเป็นกำไรครั้งเดียว
ถ้าเอาออก กำไรจะลดลง 20%
ซึ่งราคาหลังออกงบ ขึ้นตอน ATO หลังจากนั้นลงตลอด หุ้นตัวนี้ควรหลีกเลี่ยง
สุดท้ายนี้ ขอบคุณน้องAofที่มาให้ความรู้นะครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 08, 2020 3:01 pm
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ ในช่วง Covid-19
EP5
Tisco Seminar 8 May 8, 2020 13.30-14.20
ทิสโก้ประเมินว่าทิศทางหุ้นไทย แบ่งเป็น 3 กรณีขึ้นกับ โอกาสการติดโรคระบาดในแต่ละวัน
1. 15-30 รายต่อวัน โอกาส 30% ผลกระทบตลาด อยู่ในช่วง 1300-1360
2. 40-70 รายต่อวัน โอกาส 60% ผลกระทบตลาด อยู่ในช่วง 1230-1300
3. >100 รายต่อวัน โอกาส 10% ผลกระทบตลาด อยู่ในช่วง 1200
คาดการณ์กำไรในไตรมาสแรก แย่ลงมากเกือบทุกกลุ่ม ดูภาพประกอบ
ที่น่าสนใจได้แก่ กลุ่ม
COMM: CPALL
TRANS : BTS,PRM
BANK : BBL,KKP,TMB
FOOD : CPF
HEALTH : BCH
PETRO : VNT
FIN : MTC
CONS : PYLON
AGRI : STA
แนวโน้มการหั่นประมาณการกำไรยังไม่สิ้นสุด
ปีนี้ 74 บาท ปีหน้า 89.1 บาท
การประเมินมูลค่าหุ้นในระยะสั้นเริ่มตึงตัว
Forward PE Average 10 Y 16.6 ดัชนี (Q2,3,4) = 1353,1416,1478
Forward PE -0.5SD PE 15.2 ดัชนี (Q2,3,4) = 1239,1296,1354
Forward PE -1.0SD PE 13.8 ดัชนี (Q2,3,4) = 1125,1177,1229
กลยุทธ์การลงทุน
คงมุมมอง ดัชนีเริ่มมีupsideจำกัด เน้นขายมากกว่าซื้อ หรือ เทรดสั้นๆ
ธีมหุ้นที่น่าสนใจ
1.หุ้นที่ได้ประโยชน์จากผ่อนปรน lock down : BEM,CPALL,CPN,HMPRO
2.หุ้นที่งบคาดว่าออกมาดี : RBF,SMPC
3.หุ้นศักยภาพเติบโตดี : BAM
Model Portfolio
Cash : 30%
Stock : 70% ( BAM , BEM , CPALL , CPN , HMPRO , RBF , SMPC ) ตัวละ 10%
Q&A
1.อุตสาหกรรมที่น่าสนใจ
หุ้นกลุ่มค้าปลีก : CPALL,BJC,HMPRO
หุ้นกลุ่มอาหาร : CPF , RBF
หุ้นที่ได้ประโยชน์จาก WFH : Intuch , DTAC
BAM , RATCH
2.หุ้นกลุ่มธนาคาร มีความเสี่ยงเรื่องหนี้เพิ่มขึ้น หุ้นขนาดใหญ่เช่น BBL น่าสนใจสุด รองลงมา TMB
หุ้นProperty : LH มีรายได้หลายทาง มีบ้านหลากหลาย ปันผลดี
AP Backlog ค่อนข้างดี รับรู้รายได้อีก 1-2 ปี ปันผลดี
3.กลุ่มรพ ระยะสั้น เน้น รพ ที่มีรายได้จากประกันสังคม หรือ หลีกเลี่ยง รพ ที่ลูกค้าต่างชาต
แต่ระยะยาว BDMS น่าสนใจ
4. กลุ่ม โรงแรม รร Centel น่าสนใจกว่า MINT ซึ่งมีรร ในต่างประเทศ ซึ่งฟื้นตัวช้ากว่า
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 10, 2020 2:23 pm
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ ในช่วงCovid-19
EP6 Business Model ในต่างประเทศที่คนไทยควรศึกษา โดย คุณหลิน เลขาธิการสมาคม Thaivi
สัมภาษณ์ โดย คุณอิก
คุณหลินไปเที่ยวต่างประเทศบ่อยๆ ล่าสุดวางแผนไป Emerging Market แถบ บราซิล
อาเจนติน่า ปรากฏว่า ไม่ได้ไป เพราะเจอCovid ไม่รู้จะได้คืนค่าตั๋วไหม ขึ้นกับสายการบินจะรอดหรือเปล่า
นอกจากการไปเที่ยว ก็ศึกษาแต่ละสถานที่ด้วย
เช่น ที่ฝรั่งเศส มีคำถามว่าทำไม จึงมีบริษัทที่ผลิตยางรถยนต์ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก มาตั้งที่นี่
จากการค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์พบว่า เวียดนามเคยเป็นเมืองขึ้น และป้อนวัตถุดิบยางมาให้
หรือที่อังกฤษ ประวัติศาสตร์ตลาดหุ้น ยุคแรกเป็นหุ้นเกี่ยวกับเหมืองที่ใหญ่ที่สุดตัวนึง คือ แองโกลอเมริกา พีแอลซี
ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางด้านเหมือง ถ้าใครไม่รู้จัก ก็จะพูดถึงบริษัทลูกคือDe Beersซึ่งเป็นบริษัทเพชรที่ใหญ่ที่สุด
คุณหลินเล่าว่า เศรษฐกิจได้แบ่งออกเป็น 3 Sectors
1.ภาคเกษตร ตอนนี้ ประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น แอฟริกา ภาคการเกษตรคิดเป็น 20-30%ของGDP
ไทยผ่านจุดนี้ไปแล้ว สัดส่วนภาคการเกษตรมีแค่ 7-8% เลยไม่ค่อยพูดกัน
ประเทศทางตะวันออกกลาง เช่น อิสราเอล เก่งเรื่องการเกษตรมาก (startup of nation) มีพื้นที่สีเขียว
ที่สร้างขึ้นท่ามกลางทะเลทราย
2.ภาคการผลิต ประเทศที่เก่งสุดมี 3 ประเทศ คือ เยอรมัน ญี่ปุ่น และ จีน ซึ่งล้ำหน้ากว่าไทยอีกขึ้น
ภาคการผลิตของไทยเคยเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น ภาคตะวันออก
ตอนนี้เราพยายามผลักดัน EEC เราอยากพัฒนาแผงวงจร PCB ให้ก้าวหน้ามากขึ้น
เลยอยากเคลื่อนไปผลิตระดับเวเฟอร์เหมือน จีน และ ไต้หวัน
3.ภาคดาวรุ่ง คือ ภาคบริการ ไทย ตอนนี้มีสัดส่วน 55% ที่เจริญกว่าคือ US 80% บางประเทศ เช่น มาเก๊า 100%
ภาคบริการมีการพัฒนาที่เร็วมาก โดยเฉพาะธุรกิจOnline
ในไทย ยกตัวอย่างหุ้นที่วีไอร่ำรวย คือ Retail ซึ่งใหญ่สุดภาคะนึง เคยพัฒนาจากโชว์ห่วยมารอบนึงแล้ว
US ก็มีพัฒนาmodel จากร้านของชำมาเป็นร้านค้าปลีก
การพัฒนาทางภาคบริการเฟสสอง E-commerce ที่ใหญ่สุดคือ Amazon , Aibaba
ประเทศที่มีหุ้นอยู่ในอุตสาหกรรมแบบนี้ คือ ตลาดหุ้นจะรุ่ง
เทียบกับประเทศทางละตินอเมริกา อาเจนติน่า ค่าเงิน เมื่อก่อน 1US=4เปโซ
ตอนนี้กลายเป็น 66 เปโซ ค่าเงินอ่อนลง 15 เท่า
ประเทศในกลุ่มนี้ มีหุ้น พลังงาน ธนาคาร และ หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน เยอะ
ส่วน EU ประเทศที่ยังลำบาก เช่น อิตาลี มีโครงสร้างหุ้นเหมือน ละตินอเมริกา
แตกต่างจาก ประเทศทีเจริญ คือ อเมริกา FRANG ถือเป็นสัดส่วน 10-20%ของตลาดหุ้น
จะสะท้อนเศรษฐกิจได้ดีมาก
หรือ บริษัท Ferrari ในอิตาลี ผลิตรถแค่ 10,000 คันต่อปี แต่ market capมากกว่า บริษัทรถยนต์เช่น Ford
กลับมาที่ประเทศไทย การใช้บริการซื้อของonline ผ่านบริษัท Lazada ( Alibaba ), Shoppee (บริษัทซีจากสิงคโปร์)
บริษัทซี เป็นหุ้นที่แปลกมาก รายได้ 10,000 ล้าน ขาดทุน 10,000ล้าน
แต่หุ้นขึ้น 5เท่าในสองปี เพราะเกิด Economy of scale ถือเป็นธุรกิจสมัยใหม่ในกลุ่มservices
ตัวอย่าง ธุรกิจภาคการศึกษา ในอังกฤษถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มากในอังกฤษ
Sectorการศึกษาใหญ่มาก ถือเป็น traditional ผลิตหนังสือ ตำราเรียน
ปัจจุบัน ประเทศที่เด่นในเรื่องภาคการศึกษา คือจีน ใช้ E-learning โดยใช้ AI สอน
แตกต่างจากไทย ที่อัดเทปไว้ให้นักเรียนมาเรียน
E-commerce ในไทยมีการเปลี่ยนแค่ 5-6%
ส่วนในUS replace ไปแล้ว 20% ไม่จำเป็นต้อง take all
แต่ผู้ชนะ winner take all
ต่อไป อาจมีแค่สถาบันการศึกษาไม่กี่แห่ง กินส่วนแบ่งตลาดทั้งหมด
เราสามารถรับรู้ทิศทาง และปรับพอร์ตทัน
วิกฤตรอบนี้ หุ้นกลุ่มสินค้าคงถือ เช่น รถยนต์ ราคาลงมาตั้งแต่ปีที่แล้ว
เราก็เตรียมตัวทัน ย้ายไปกลุ่มอุปโภค บริโภค
HealthCare มีมาตั้งนานแล้วเป็นพันปี หุ้นรอบนี้ All Time High มีสองกลุ่มคือ
HealthCare , Technology
ในไทยคือ โรงพยาบาล
แต่ที่กำลังจะมา ได้แก่ HealthCare online เอาหมอมาให้คำปรึกษาonline
(Telehealt , TeleDoc)
บาง รพ ในไทย เริ่มให้บริการแล้ว
ที่จีน Teledoc ก็เริ่มมีเหมือน US ได้แก่ เช่น Ping Ann good doctor
หุ้นกลุ่มทำวัคซีน ราคาขึ้นมา 10 เท่า ยังไม่รู่ว่าคิดจริงๆได้
หุ้นกลุ่ม Biotech
Sector ต่อมา คือ Media เรามองแค่ Facebook,Google
ซึ่งดูแต่ค่าโฆษณา จริงๆ Serviceที่เกี่ยวช้องโฆษณาเยอะ
Supplychainใหญ่
มีapplication ตัวนึง มาช่วยAgencyโฆษณา ระบบจะจัดการยิงโฆษณาด้วยตัวของเขาเอง
ธุรกิจธนาคาร ถือเป็นธุรกิจโบราณ ซึ่งอาศัยรายได้จากการปล่อยกู้เท่านั้น
ธนาคารไทยก็เริ่มปรับตัว ตัวกลางในอนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงไป จะมีคนกลางที่ช่วยทำหน้าที่แทนเรา
สังเกตจาก P/B Ratio ของธนาคารส่วนใหญ่ PBV=1 ส่วน JP Morgan PBV มากกว่าหนึ่ง
เพราะบริษัทอยู่ที่นิวยอร์ต มีรายได้จาก Investment Banker
ทำให้เราเห็นว่า รูปแบบธนาคารที่อยู่รอดได้ ไม่ได้ทำretailอย่างเดียว ต้องทำIBด้วย
ลองสังเกตธนาคารในไทยว่า ธนาคารใดมีรายได้คล้ายเจพี-มอร์แกน
คราวนี้เนื้อหาเยอะ แล้วเจอกันในตอนที่สองนะครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 15, 2020 12:28 pm
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ในช่วง Covid-19 EP7
อุตสาหกรรมไหน จะรุ่งหรือร่วง โดย คุณ มี่ ทิวา ชินธาดาพงศ์
คุณมี่บอกว่า การปรับตัวไปสู่New normal หมายถึง การปรับตัวเข้าสู่แนวทางใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน
วิธีการคือ ปรับชีวิตสู่ดิจิตอล ซึ่งแบ่งออกเป็น Theme ดังนี้
Themeที่1 Online shoppingพึ่งเข้ามา 2-3ปี และใช้เยอะช่วงนี้
Business model ของ E-commerce แบ่งเป็น
1.ขายน้อย แต่กำไรเยอะๆ
2.อีกรูปแบบ คือ ขายเยอะ แต่เอากำไรน้อย เช่น เจ้าสัวซีพี สุดท้ายกำไรรวมเยอะ
ธุรกิจที่โดนผลกระทบ
เช่น Central จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น เช่น เจ้าหน้าที่ประจำจุดคัดกรอง , การเดินห้างของคนต้องไม่เกิน 2 ชม
มีคนประจำLift มีหุ่นยนต์ทำความสะอาด กำหนดให้คนเข้าได้ไม่เกิน 20,000 คนต่อวัน ทำให้รายได้
ช่วงprime timeลดลง
วิเคราะห์ด้านรายได้ Retail มีสัดส่วน 80% คิดเป็น ห้าง 30,000 ลบ
44% เป็นค่าเช่า Fix ซึ่งไม่เก็บค่าเช่าช่วงปิดห้าง และ พอเริ่มเปิดห้างก็ลดให้ 50%
42% เป็น consignment ซึ่งใช้กับbrand international , Food court ,โรงหนัง
15% สัญญาระยะยาว
Cost fix คิดเป็น 30%กว่า เช่น Advertising 20% , others 22% ซึ่งปีนี้ลดได้ไม่เกิน 15%
รายได้ ต่อเดือน =30,000/12 = 2,500 ลบ ถ้าหายไป 2เดือน ก็ 5,000 MB
กำไรต่อปี 10,000 ลบ อาจโดนกระทบ 4,000 ลบ
ในต่างประเทศ สัดส่วน E-commerce แค่ 15% ของตลาดรวม ก็ทำให้ห้างเก่าแก่หลายที่เจ๊งได้
คนที่ได้ประโยชน์ บ้านเราไม่มีหุ้น E-commerce เลย มีแต่บริษัทในต่างประเทศ
เช่น Sea group , Lazada (Alibaba) , Shoppee
แต่ที่ได้ประโยชน์ทางอ้อม เช่น บริษัททำกล่องบรรจุ ซึ่งรับorderไม่ทัน ในตลท มีแค่ 1-2 ตัว
บริษัทขนส่ง เคยคิดว่าได้ประโยชน์ แต่มีการแข่งขันเพิ่มขึ้นอีก 9 ราย ดังนั้น Kerry มองไม่ออกว่าน่าลงทุนหรือไม่
แต่ราคาตอนนี้ก็ไม่แพง
หลัง Covid ห้างจะถูกกระทบ 60-70% คนเดินเหมือนเดิม แต่อาจสั่งซื้อจาก E-commerce
Themeที่ 2 การสั่งอาหารผ่าน Line Man , Grab , GET , Foodpanda
ซึ่งบริษัทเหล่านี้ยอมขาดทุนไปก่อน เลยไม่รู้ว่าvaluationอย่างไร
การทำอาหารที่บ้าน ก็ทำแบบง่ายๆ เช่น ชงมาม่า หรือ ใส่คนอร์ทำซุป ไม่ได้ทำแบบ หรูหรา เช่น Steak
ดูบริษัทในตลาดหลักทรัพย์
2.1 M ( MK suki ) รายได้ 10,000 กว่า ลบ อัตรากำไรสุทธิสูง เหมือน KFC ที่ซื้อปริมาณไก่ทีละมากๆ NP= 14-15%
2.2 Zen กระจายรายได้ไปหลายรูปแบบ ไม่ได้dominateตลาด ยังไม่ได้ economy of scale NP = 3.38%
2.3 AU อัตรากำไรสุทธิ NP = 19% แต่ Same store sales (SSS) ติดลบ 28% กำไร 18 ลบ
2.4 MINT รายได้อาหารคิดเป็น 20% NP = 5%
Profit & Loss พื้นฐาน พบว่า
ถ้าในช่วงCovid ค่าเช่าที่คิดเป็นสัดส่วน 10-15% ต้องเพิ่มไหม หรือ ยอดขายอาจลดจาก 100% เหลือ 70%
ถ้าต้นทุนค่าเช่าขึ้นไปเป็น 25% จะกระทบต่อ Net profit margin (NP)
และค่าขนส่งจากการทำ Food delivery ก็เพิ่มขึ้น other uncontrol cost 6% ก็จะกระทบ NP
งบการเงินของ Zen ขาดทุน 40 กว่าลบ ถึงแม้ปิดแค่ 22-31 มีค ใน ไตรมาสแรก Q2 น่ากลัวกว่า เพราะปิดเป็นเดือน
ส่วนคนที่ได้ประโยชน์ คือ คนทำpackaging, คนทำน้ำจิ้ม เครื่องปรุง เช่น คนอร์ น้ำมันพื้ช
ร้านอาหารเมื่อก่อนมีที่ให้กดน้ำจิ้ม แต่ช่วงนี้ ทำเป็นซองแจกให้
ส่วนกาแฟ โอวัลติน ที่office เริ่มเปลี่ยนจากขวดเป็น 3 in 1 ซึ่งก็ได้ประโยชน์ที่ขายได้มากขึ้น
ร้านอาหารจะเสียประโยชน์
คราวหน้าเราจะพูดกันต่อในTheme ถัดไปคือ Work from home (WFH)
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 17, 2020 2:15 pm
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ในช่วงวิกฤต Covid-19
EP9 คุยกับคุณโจ ลูกอีสาน ซึ่งมาพูดใน Meetingวีไอภาคใต้
คุณโจ อนุรักษ์ บุญแสวง ถือว่าเป็นนักลงทุนวีไอ ที่มีวิวัฒนาการในการลงทุนท่านนึง
หลังจากเคยพูดคุยกับคุณโจ เมื่อต้นเดือนธค 2562 ว่าคุณโจ ได้เริ่มลองShort หุ้นขนาดใหญ่ที่
ขึ้นเกินพื้นฐาน เนื่องจากยังมีแรงเก็งกำไร และ ประสบความสำเร็จพอสมควร
ในปีนี้ หุ้นไทยได้ตกหนักในเดือนมีนาคม และ มีcircuit breakerติดต่อกันหลายครั้ง ทำให้พอร์ตลดลงมามาก
แต่ก็ถือว่าเป็นช่วงที่น่าลงทุนที่สุดในรอบ10ปี
วันนี้มาเล่าถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในปีนี้
อ โจ บอกว่า ปัญหาของพวกเรา หุ้นลงมาไม่มีเงินซื้อ
จะเอาเงินจากที่ไหนมาซื้อ ทางเลือกได้แก่
1.ไม่มีเงินก็อยู่เฉยๆ ปิดหน้าจอ รอถึงปลายปีค่อยมาดูใหม่ ซึ่งได้ประโยชน์น้อยสุด
2.กรณีไม่มีเงิน ใช้การswitching
หุ้นที่อยู่ในพอร์ต ระดับราคาตกลงมาไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 15%-70% และตอนขึ้นจากจุดต่ำสุดมีตั้งแต่ 20%-100กว่า%
ซึ่งหุ้นที่ตกลง 15% เวลาขึ้น ก็ไม่น่าจะเกิน 20% ดังนั้น จึงได้ขายเพื่อไปซื้อหุ้นที่ดี แต่ราคาลงหนัก ซึ่ง
มีโอกาสขึ้นในภายหลังมากกว่า
ทำไปหลายตัวโดยเฉพาะหุ้นที่ถูกForce sales ก็ไปซื้อบ้าง
บางตัวเป็นหุ้นdefensive ขายน้ำภาคตะวันออก อนาคตไม่ค่อยดี ก็ขายไปซื้อหุ้นลงแรง
3. หาเงินมาซื้อเพิ่ม หาจากไหนบ้าง
3.1 คุณโจ ก็เริ่มสังเกตวิกฤตโคโลน่าไวรัส ซึ่งเป็นชื่อเรียกในช่วงต้นๆ ตอนเริ่มเกิดที่ อู่ฮั่น ประเทศจีน
คุณโจเคยมีประสบการณ์จากโรคระบาดSarsมาแล้ว เลยเริ่มใส่ใจสถานการณ์ในช่วงนั้น
และเริ่ม Short TFlex SET50 ในสัดส่วน 10% ของพอร์ตลงทุน เพื่อป้องกันหุ้นในภาวะขาลง
3.2 ช่วงเดือน เมษายน จนถึงปลายเดือน พฤษภาคม เริ่มได้รับเงินปันผลจากหุ้นที่ลงทุน
ก็นำเงินปันผลมาลงทุนต่อ
3.3 สุดท้ายก็เริ่มใช้บัญชีMarginมาซื้อหุ้นซึ่งตกไปแล้ว 40% ในช่วงที่จีนชนะcovid
และ ไทยเริ่มดีขึ้นแล้ว ก็ถือเป็นเงินลงทุนอีกก้อน (ดัชนีช่วง 1,000-1,100)
ที่สามารถนำมาลงทุนเพิ่มได้ แต่มีlimitว่าไม่เกินความเสี่ยงที่รับได้ (น่าจะ10%ของพอร์ต)
4. คุณโจมีลงทุนหุ้นในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม ปกติ หุ้นขนาดใหญ่จะขึ้นลงตามตลาด
แต่หุ้นขนาดเล็กจะไม่เคลื่อนไหวตามตลาด ก็จะทำการขายออก ซึ่งยังมีกำไร และนำมาลงทุนหุ้น
ในตลาดUS ซึ่งมีทั้ง successในกองทุนtechnology
กับ Failในกองทุนน้ำมันซึ่งไม่เข้าใจกลไกการต่อสัญญาในตราสารอนุพันธ์
ตอนนี้ ตลาดมีโอกาสแย่น้อยลง แต่มีโอกาสสดใสมากกว่า
อ โจ แนะนำให้ศึกษาการลงทุนในต่างประเทศ เพราะไม่ได้ยุ่งยากมาก
แต่มีโอกาสไปถือหุ้นhigh technologyซึ่งให้ผลตอบแทนดี และไม่ค่อยมีในไทย
สุดท้ายขอขอบคุณ คุณโจ ที่มาให้ความรู้ครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 17, 2020 2:21 pm
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ในช่วง Covid-19 EP8
อุตสาหกรรมไหน จะรุ่งหรือร่วง โดย คุณ มี่ ทิวา ชินธาดาพงศ์
คุณมี่บอกว่า การปรับตัวไปสู่New normal หมายถึง การปรับตัวเข้าสู่แนวทางใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน
วิธีการคือ ปรับชีวิตสู่ดิจิตอล ซึ่งแบ่งออกเป็น Theme ดังนี้
Themeที่1 Online shoppingพึ่งเข้ามา 2-3ปี และใช้เยอะช่วงนี้
Business model ของ E-commerce แบ่งเป็น
1.ขายน้อย แต่กำไรเยอะๆ
2.อีกรูปแบบ คือ ขายเยอะ แต่เอากำไรน้อย เช่น เจ้าสัวซีพี สุดท้ายกำไรรวมเยอะ
ธุรกิจที่โดนผลกระทบ
เช่น Central จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น เช่น เจ้าหน้าที่ประจำจุดคัดกรอง , การเดินห้างของคนต้องไม่เกิน 2 ชม
มีคนประจำLift มีหุ่นยนต์ทำความสะอาด กำหนดให้คนเข้าได้ไม่เกิน 20,000 คนต่อวัน ทำให้รายได้
ช่วงprime timeลดลง
วิเคราะห์ด้านรายได้ Retail มีสัดส่วน 80% คิดเป็น ห้าง 30,000 ลบ
44% เป็นค่าเช่า Fix ซึ่งไม่เก็บค่าเช่าช่วงปิดห้าง และ พอเริ่มเปิดห้างก็ลดให้ 50%
42% เป็น consignment ซึ่งใช้กับbrand international , Food court ,โรงหนัง
15% สัญญาระยะยาว
Cost fix คิดเป็น 30%กว่า เช่น Advertising 20% , others 22% ซึ่งปีนี้ลดได้ไม่เกิน 15%
รายได้ ต่อเดือน =30,000/12 = 2,500 ลบ ถ้าหายไป 2เดือน ก็ 5,000 MB
กำไรต่อปี 10,000 ลบ อาจโดนกระทบ 4,000 ลบ
ในต่างประเทศ สัดส่วน E-commerce แค่ 15% ของตลาดรวม ก็ทำให้ห้างเก่าแก่หลายที่เจ๊งได้
คนที่ได้ประโยชน์ บ้านเราไม่มีหุ้น E-commerce เลย มีแต่บริษัทในต่างประเทศ
เช่น Sea group , Lazada (Alibaba) , Shoppee
แต่ที่ได้ประโยชน์ทางอ้อม เช่น บริษัททำกล่องบรรจุ ซึ่งรับorderไม่ทัน ในตลท มีแค่ 1-2 ตัว
บริษัทขนส่ง เคยคิดว่าได้ประโยชน์ แต่มีการแข่งขันเพิ่มขึ้นอีก 9 ราย ดังนั้น Kerry มองไม่ออกว่าน่าลงทุนหรือไม่
แต่ราคาตอนนี้ก็ไม่แพง
หลัง Covid ห้างจะถูกกระทบ 60-70% คนเดินเหมือนเดิม แต่อาจสั่งซื้อจาก E-commerce
Themeที่ 2 การสั่งอาหารผ่าน Line Man , Grab , GET , Foodpanda
ซึ่งบริษัทเหล่านี้ยอมขาดทุนไปก่อน เลยไม่รู้ว่าvaluationอย่างไร
การทำอาหารที่บ้าน ก็ทำแบบง่ายๆ เช่น ชงมาม่า หรือ ใส่คนอร์ทำซุป ไม่ได้ทำแบบ หรูหรา เช่น Steak
ดุบริษัทในตลาดหลักทรัพย์
2.1 M ( MK suki ) รายได้ 10,000 กว่า ลบ อัตรากำไรสุทธิสูง เหมือน KFC ที่ซื้อปริมาณไก่ทีละมากๆ NP= 14-15%
2.2 Zen กระจายรายได้ไปหลายรูปแบบ ไม่ได้dominateตลาด ยังไม่ได้ economy of scale NP = 3.38%
2.3 AU อัตรากำไรสุทธิ NP = 19% แต่ Same store sales (SSS) ติดลบ 28% กำไร 18 ลบ
2.4 MINT รายได้อาหารคิดเป็น 20% NP = 5%
Profit & Loss พื้นฐาน (จากรูป) พบว่า
ถ้าในช่วงCovid ค่าเช่าที่คิดเป็นสัดส่วน 10-15% ต้องเพิ่มไหม หรือ ยอดขายอาจลดจาก 100% เหลือ 70%
ถ้าต้นทุนค่าเช่าขึ้นไปเป็น 25% จะกระทบต่อ Net profit margin (NP)
และค่าขนส่งจากการทำ Food delivery ก็เพิ่มขึ้น other uncontrol cost 6% ก็จะกระทบ NP
งบการเงินของ Zen ขาดทุน 40 กว่าลบ ถึงแม้ปิดแค่ 22-31 มีค ใน ไตรมาสแรก Q2 น่ากลัวกว่า เพราะปิดเป็นเดือน
ส่วนคนที่ได้ประโยชน์ คือ คนทำpackaging, คนทำน้ำจิ้ม เครื่องปรุง เช่น คนอร์ น้ำมันพื้ช
ร้านอาหารเมื่อก่อนมีที่ให้กดน้ำจิ้ม แต่ช่วงนี้ ทำเป็นซองแจกให้
ส่วนกาแฟ โอวัลติน ที่office เริ่มเปลี่ยนจากขวดเป็น 3 in 1 ซึ่งก็ได้ประโยชน์ที่ขายได้มากขึ้น
ร้านอาหารจะเสียประโยชน์
คราวหน้าเราจะพูดกันต่อในTheme ถัดไปคือ Work from home (WFH)
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 23, 2020 11:23 am
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ ในช่วง Covid-19 EP 11
ส่องหุ้น อึด ถึด ทน กับ คุณนิ้วโป้ง อธิป กีรติพิชญ์
Content ของที่จะพูดได้แก่
1.วิกฤตคราวนี้ หุ้นกลุ่มไหน อึด ถืด ทน
2.หลักการพิจารณาใน 2H 2020
3.หุ้น Megatrend เช่น ท่องเที่ยว รพ ลงทุนได้ไหม
4.Watch list และหุ้นที่ส่องอยู่
5. หลักคิดในการลงทุน
เรามาเริ่มกันเลยครับ
คุณนิ้วโป้งเล่าว่า ตลาดsideway ตั้งแต่เดือน มค ส่วน กพ SET เริ่มลงจากเรื่อง Covid-19
ดัชนีลงจาก 1,600ไปที่ 1,500. คุณนิ้วโป้งเริ่มถัวแบบ ถัวสะเทือนใจตั้งแต่ดัชนี 1,3xx
แล้ว เพราะไม่รู้ว่าCovidจะแพร่ไปทั่วโลก ปรากฏว่าในเดือน มีนาคม แพร่ไปทั่วโลก
ดัชนีSET เจอcircuit breakerถึง 3ครั้ง ตอนนี้ ถัวแบบปวดใจ จุดต่ำสุดคือ 969 จุดในวันที่ 23มีค 2020
สรุปความคิดของคุณนิ้วโป้งดังข้างล่าง
•วิกฤตCOVIDที่ผ่านมาถือว่าค่อนข้างหนักในแง่ของตลาดหุ้น ขาดทุนกันทุกคน
• มั่นใจในlongtermโดยเฉพาะกลุ่มขนส่งรถไฟฟ้า
•ที่ผ่านมาซื้อก่อนโดนเซอร์กิตเบรคเกอร์แต่ใช้กลยุทธ์แบ่งซื้อหลายไม้ จากถัวสะเทือนใจ เป็น ถัวปวดใจ
• ส่วนตัว เชื่อว่าจุดต่ำสุดผ่านไปแล้ว เพราะคนกลัวกันมาก นักลงทุนต้องวิเคราะห์ คือ เราจะซื้อ กลุ่มไหน จะแบ่งพอร์ต อย่างไร มีหุ้นกลุ่มไหนฟื้นตัวบ้าง
กลุ่มหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดนกระทบไม่เท่ากัน แบ่งเป็น
•กลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อยเช่นไฟฟ้า (หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า) ประปา (TTW,EASTW) โทรศัพท์ (operator 3 เจ้า)
•กลุ่มที่ได้รับผลกระทบในระยะสั้น และฟื้นตัวเร็ว เช่น ทางด่วน รถไฟฟ้า (BTS , BEM) อาหาร ห้างสรรพสินค้า ค้าปลีก
•กลุ่มที่ได้รับผลกระทบกลางๆต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวปานกลาง เช่น ร้านอาหาร อสังหาให้เช่า(IMPACT,Property fund,REITs ที่ให้เช่าพื้นที่)
•กลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักๆต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวนาน เช่น โรงแรม โรงหนัง สนามบิน ปิโตรเคมี
•ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ตลาดจะเกิด New Normalไหม คนจะออกไปซื้อของหรือเปล่าเพราะช๊อปปิ้งออนไลน์ทดแทนได้
•ส่วนตัวคิดว่าคนไทยชอบออกจากบ้าน ชอบเที่ยว ชอบพบปะผู้คน คิดว่าการช๊อปออนไลน์ไม่น่าจะแทนกันได้
หลักในการลงทุนช่วงวิกฤต
•Value > Stock
ในช่วงวิกฤตเราเลือกกลุ่ม Defensive+Value มากกว่าGrowth (ซึ่งตรงกับ ดร นิเวศน์ ที่พูดเสมอในช่วงหลัง
ให้แนะนำลงทุนหุ้นกลุ่มdefensiveแทนหุ้นเติบโต ซึ่งผมให้รายละเอียดไปแล้ว)
• Well Recovery
ต้องกลับมาฟื้นตัวได้ (Well Recovery) เช่น ทางด่วน รถไฟฟ้า (BEM)
•Not be disrupted
ไม่โดนDisruptและผูกขาดระดับหนึ่ง เช่นโรงหนัง..
ธุรกิจโรงหนังเป็นความบันเทิงที่หาจากบ้านไม่ได้ ในเรื่องความคมชัดของภาพและเสียง เป็นต้น (ซึ่งผมก็เห็นด้วยกับ
คุณนิ้วโป้ง รายได้ของโรงหนัง นอกจากขายบัตร ยังมีโฆษณา และ ขายน้ำและป๊อบคอร์นอีกด้วย)
หรืออย่างธุรกิจการโรงแรมคู่แข่งเยอะ. เกิดการแข่งขันรุนแรง ถ้าไม่รายใหญ่พออาจจะโดน Disrupt ได้
•ถ้านักลงทุนทำการบ้านเพิ่ม ลองใช้วิธี Benchmark กับรายใหญ่ดูว่าพวกเขามีต้นทุนเท่าไร
เช่นถ้าเราวิเคราะหุ้น Global เมื่อห้าปีที่แล้ว SCC เขาซื้อลงทุนที่13บาทต่อมาGlobalมการปันผลเป็นหุ้น ทุกครั้ง
ด้วยอัตรา 7:1 ทำให้ทุนเฉลี่ยของSCCอยู่ที่ 9 บาท
ดังนั้นถ้าราคาอยู่ใต้9บาท. แสดงว่าValueแล้วมีความน่าสนใจในการซื้อ
• บางทีนักลงทุนต้องมีตัวเลขราคาหุ้นในใจ ถ้าเราไม่คำนวณ ไม่มีตัวเลขราคาหุ้นที่เหมาะสมในใจ เราจะรู้สึกกลัวเวลาหุ้นลง เราก็ไม่กล้าซื้อ. แต่รอ รอ รอ. ทำให้เราพลาดโอกาสในการเข้าซื้อหุ้นได้
•ท่องเที่ยวแต่เดิมเป็นธุรกิจความคาดหวังสูง. พอเกิดวิกฤตเลยลงมาค่อนข้างหนักนักลงทุนผิดหวัง ...ส่วนตัวคิดว่าเป็นธุรกรรมได้กลับมา. แต่ต้องใช้เวลาและเราต้องเจออีก
•กลุ่มโรงพยาบาลเป็นกลุ่มท่องเที่ยวสุขภาพ. เชื่อว่ากลับมาได้ และกลับมาได้เร็วกว่ากลุ่มโรงแรม
•หุ้นกลุ่มNew Normal คือ การเปลี่ยนแปลงที่จะไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิม
การดึง10 ปีข้างหน้ามาเป็นวันนี้ สำหรับหุ้นไทยเราไม่ค่อยมีธุรกิจสายเทคโนโลยี แต่อยากให้เน้นธุรกิจผูกขาด ไม่มีคู่แข่งและธุรกิจที่มีผู้เล่นน้อยราย
หลักคิดจากนี้ไป
1.VI good stock ในราคาที่เหมาะสม (Good price)
2.ไม่ถูกdisrupt ถ้าถูกdisrupt. รายได้ลง ราคาหุ้นลง
มีหลายตัวที่เป็น old economy ที่รายได้ไม่กลับมาอีก ถึงแม้ราคาถูกก็ตาม เช่น
TVที่เคยรุ่งเรือง ตอนนี้รายได้ลด กำไรลด ถ้ามองไม่ออก รายได้ และ กำไรจะกลับมาได้อย่างไร
รูปแบบการเติมเงินมือถือ app mobile Banking ทำให้เติมเงินง่าย บัตรขูดเงินก็หายไปแล้ว
ต่อไปอะไรหายไปอีก (อาจเป็นตู้เติมเงิน)
สุดท้ายขอขอบคุณ คุณนิ้วโป้ง น้องทีน่า และ 2readที่จัดสัมมนาonlineด้วยครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 04, 2020 2:26 pm
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ ในช่วง Covid-19 EP 13
คุ้ยแคะ แกะหุ้น CPW จากเพจซั่มหุ้น
1.Business Model
สินค้า แบ่งออกเป็น สินค้าของ Apple product 50% , Life style ex : Gadgetต่างๆ 50%
เปรียบเทียบ CPW กับ SPVI ซึ่งขายสินค้าคล้ายกัน
สาขา ที่เป็น Apple store 15 สาขา / 20 สาขา
สาขา Life style 21 สาขา / AIS & Mobi 22 สาขา
สาขา ที่เป็นศูนย์ซ่อม 6 สาขา / 6 สาขา
ช่องทางการขาย
1. .LIFE 21 สาขาขายสินค้า IOT , Gadget, Technology life style ซึ่งมี GP สูง
2. Istudio , ibeat
3. iService shop
4. E-commerce ยอดขาย online โต10เท่าตัวในQ1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายonline com7
ส่วนอีกช่องทาง เป็นการขายส่ง KOAN ให้กับร้านค้าปลีก เช่น
ร้านในห้าง Central,The MALL,
SPVI,True Lifestyle,AIS shop
โครงสร้างรายได้
2.1 Digital Lifestyle 42% ซึ่งเติบโตในส่วนของยอดขายต่อเนื่อง และ คงสัดส่วนเท่าเดิม
2.2 Smart phone 31% เพิ่มขึ้นจากสองปีก่อนที่ 26%
2.3 Computer&Tablet 23% ลดลงจากสองปีก่อนที่ 27% ภาพไม่เหมือนspvi ซึ่ง Tablet โตมากมาจากเหตุผลคือ ร้านค้าที่แตกต่างกัน
ช่องทางการจัดจำหน่าย
1.ค้าปลีก 92.46%
2.ขายส่ง หรือ KOAN 6% ซึ่งยังไม่ใช่key driver
3.ช่องทางonline 1.5%
ซึ่งยอดขายเฉลี่ยต่อเดือนในปีที่แล้วประมาณ 7-8 ล้านบาท ปีนี้ยอดขายonlineเพิ่ม10เท่า
ดังนั้นยอดขาย 80 ลบ ที่เพิ่มขึ้นเทียบกับยอดขายรวม 3,335 ลบ ก็ยังคิดเป็นสัดส่วนที่น้อย
COM7 บอกว่า ยอดขายonlineที่เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่coverยอดขายหน้าร้านที่หายไปในช่วงcovid
แต่ยอดขายที่หายไปเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว ระยะยาวยังโตได้จาก IOT,5G
การเปิดสาขา Apple brand shop ต้องได้รับอนุญาตจาก apple south asia (thailand) และมีระยะห่างของร้านด้วย
2.สุขภาพงบดุล (ความแข็งแกร่งทางการเงิน ซึ่งในสภาวะที่ต้องการสภาพคล่อง
ใครทำกำไรมาก น้อย ไม่สำคัญ แต่จะดูที่เงินสด แต่ถ้ากำไรดี และ เติบโตยิ่งดีใหญ่
งบดุลและอัตราส่วนทางการเงินเปรียบเทียบระหว่าง CPW/SPVI
Asset 1093 / 637
หนี้สินระยะสั้น 406/ 226
Equity 687/351
D/E 0.59 / 0.75
รายได้รวม 3,607 ลบ / 3,609 ลบ
3. Financial Ratio
ROA 8.21% / 15.47%
ROE 10.21% / 20.98%
Net profit margin (NP) 1.48% / 1.62%
ปันผล 5% / 4%
วิเคราะห์สุขภาพทางการเงิน
สินทรัพย์หมุนเวียน 71% ( เงินสด 203 ลบ,ที่ดิน 97 ลบ.สค คงเหลือ 391 ลบ และ ลูกหนี้การค้า 41 ลบ)
หนี้สินหมุนเวียน 29%
ประกอบด้วย หนี้สินหมุนเวียน 263 ลบ ( หนี้สินระยะยาวที่ครบในหนึ่งปี 121 ลบ , เจ้าหนี้การค้า 128 ลบ,เจ้าหนี้ระยะสั้น 27 ลบ และ หนี้สินหมุนเวียนอื่น 12 ลบ) และ หนี้สินไม่หมุนเวียน 142 ลบซึ่งคือ หนี้ระยะยาวเยอะสุด 120 ลบ
สรุป ค่อนข้างok เพราะมี เงินสด 203 ลบ ซึ่งสามารถชำระหนี้สินที่ครบกำหนดปีนี้ 121 ลบได้
DE 0.59 เท่า ถ้ามีปัญหา สามารถกู้จากสถาบันการเงินเพิ่มได้
เปรียบเทียบ GP ,SG&A ระหว่าง CPW / SPVI / COM7
GP 14.8% / 11.2 % / 13.2%
SG&A 12.5% / 9.6% / 8.7%
ถ้าดูโดยรวม COM7 เก่งสุด แต่ราคาก็แพง ตลาดให้PE 24 เท่า แต่ CPW PE แค่12 เท่า
อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรให้PE CPW เท่ากับผู้นำอย่าง COM7
4.ความเสี่ยง
4.1 ไวรัสระบาดยืดเยื้อ ทำให้ห้างปิดรอบสอง ซึ่งจะส่งผลต่อ ศก มาก
4.2 เมื่อ ศก ชะลอตัวลง กำลังซื้อก็ลดลง
4.3 การจัดการสินค้าตกรุ่น
สุดท้ายข้อมูลเหล่านี้ นักลงทุนก็นำไปทำการบ้านต่อว่า น่าสนใจหรือไม่นะครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 07, 2020 10:21 pm
โดย miracle
ไม่ต่างจากปี 2008 ครับ โดนแบบ ไม่รู่ตัวอีกรอบ
รอบนี้ก็ถือมาไม่มีอาการบาดเจ็บครับ
บอกได้แค่นี้
แถมรอบนี้บอกอะไร ตรงเข้าเป้าหมดครับ
ไปอ่านได้ที่ ห้องนั่งเล่นครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 08, 2020 12:55 pm
โดย XO
miracle เขียน: ↑อาทิตย์ มิ.ย. 07, 2020 10:21 pm
ไม่ต่างจากปี 2008 ครับ โดนแบบ ไม่รู่ตัวอีกรอบ
รอบนี้ก็ถือมาไม่มีอาการบาดเจ็บครับ
บอกได้แค่นี้
แถมรอบนี้บอกอะไร ตรงเข้าเป้าหมดครับ
ไปอ่านได้ที่ ห้องนั่งเล่นครับ
อยู่ตรงไหนนะครับ ห้องนั่งเล่น
ขอบคุณครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 09, 2020 1:11 pm
โดย miracle
XO เขียน: ↑จันทร์ มิ.ย. 08, 2020 12:55 pm
อยู่ตรงไหนนะครับ ห้องนั่งเล่น
ขอบคุณครับ
ลองไปหาดูครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 09, 2020 2:31 pm
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ ในช่วง Covid-19
EP 14 ตอน แกะหุ้น VCOM by ซั่มหุ้น
VCOM มีบริษัทลูก 4บริษัท ซึ่งมีสองบริษัทที่กำลังเติบโต และ มีmarginสูง
1.I-secure ทำระบบITอยู่ในองค์กร
เติบโตดี ทำระบบความปลอดภัยด้านIT ทำเป็นoutsource มีโปรแกรมสำเร็จรูป
เพื่อลดต้นทุน รวมถึงhardware ,software
ให้ลูกค้าใช้ ซึ่งลูกค้าไม่ต้องจ้างวิศวกร ให้คนนอกทำแทน
2.VCOM Singapore
3.VCOM เมียนมา
4.V serve Plus ซึ่งดูน่าสนใจ มีสินค้าXiaomiรวมอยู่ด้วย
บริการ IT ครบวงจร รวมสินค้า Lenovo , Acer , HP
ซึ่งงานจะมี Maintenance service, Installation service
โดย VCOM เอาสินค้าจากต่างประเทศมาขายผ่านpartner แบบB2B
หุ้น67% อยู่ในมือผู้ก่อตั้ง. และ รายย่อยถือเพียง 18%
โครงสร้างรายได้
1. รายได้จากการขาย 63%
2. รายได้จากการบริการ 36%
3. รายได้อื่นๆ 0.45%
Financial Ratio
1. Asset 1,295 ลบ,Equity 420 ลบ แต่โชว์หุ้นทั้งหมด 460 ลบ
2. Margin ปรับเพิ่มจาก 3.75% to 4.21% on Q1 2020
3. ROE อยู่ระหว่าง 15-20% Q1 = 20.24%
4. ROA 10% , PE 12 เท่า
5. ปันผล 4.71%, payout ration 60-70%
6. กำไรปกติต่อปี ประมาณ 50-60 ลบ q1 กำไรทำได้ 26.5 ลบ ดูดีมาก
7. ต้องดูBacklogของงานว่ายังมีจะรับรู้รายได้ในปีนี้อีกเท่าไหร่
8. DE1.94 เท่า โดยasset 1295 ลบ50% เป็น ลูกหนี้การค้าจากภาครัฐและเอกชน
ซึ่งจะชำระหนี้ประมาณ 122วันและ ได้รับcreditจากsupplier ใกล้เคียงกัน
หนี้ที่มีดอกเบี้ยคิดเป็น10%เท่านั้น
สรุป งบดุลไม่มีอะไรน่ากังวล
ความเก่งของกิจการ
1.รายได้ปี 2017-2018 เติบโตเยอะ
Q1 2020 startค่อนข้างดี โต 68% จากproject
2. Margin 2019 ปรับตัวดีขึ้น เป็น 21.6% แต่ q1 = 16.2%
3. SG&A 2019 ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็น 16.4%
4. Margin 4%
5. กำไรQ1เติบโต 213% ต้องไปดู Business Model ซึ่งเป็น project base
ต้องเช็ค Backlog ของงาน
6.งบกระแสเงินสด แกว่งตัวค่อนข้างมาก
จากการดำเนินงาน มี กำไรพิเศษ ซึ่งไม่ใช่เงินสดจริง
และ การเปลี่ยนแปลงของ Working capital ซึ่งมาจากสามส่วนคือ
ลูกหนี้การค้า. สินค้าคงเหลือ เป็นต้น
ลูกหนี้การค้า ติดลบ เพราะ ขายของไปแล้ว แต่ยังเก็บเงินไม่ได้ ให้เครดิตกับลูกค้า
สัดส่วนรายได้ ไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับ projectที่ส่งมอบ
Busines Model
1.B2B
2.Project 60-70%
3.ลูกค้ามีทั้งภาครัฐและเอกชน
อุตสาหกรรม กำลังเติบโต และได้ประโยชน์จากCovid
สุขภาพทางการเงิน
• DE 1.9 เท่า
• ลูกหนี้การค้าเยอะ
• เจ้าหนี้การค้าเยอะ
• เงินกู้ยืมน้อย ประมาณ 10%
• Net margin บางมาก เพราะเป็นคนกลางจัดหาให้partner
• กระแสเงินสดอิงกับลูกหนี้การค้า
สรุป
• อยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตอยู่ เราดูการเติบโตจากอุตสาหกรรมคล้าย SIS
• ลูกค้าภาครัฐ
• DE1.9 เท่า หนี้ส่วนใหญ่คือลูกหนี้การค้า
• ความได้เปรียบไม่โดดเด่น
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 21, 2020 5:14 pm
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ในช่วง Covid19 EP15
แวะเยี่ยมชมสตูดิโอของRS
หลังจากเฮียฮ้อและผู้บริหารมาพูดในงานopen house
ขอขอบคุณเฮียฮ้อที่ชวนสมาชิกThaiviมางานนะครับทำให้เห็นภาพบริษัทได้ชัดเจนขึ้น
รายการปากท้องต้องรู้เป็นรายการแรกที่เยี่ยมชม
เป็นรายการ แปลกใหม่เพราะช่องอื่นมีแต่คุยเรื่องหุ้น
เฮียฮ้อเลยคิดรายการใหม่เกี่ยวกับปากท้องชาวบ้าน
พูดถึงการทำมาหากินแบบชาวบ้าน ที่น่าสนใจ
มีขายของท้ายรายการซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ทานเป็นประจำและ ซื้อซ้ำ
มีรายการขายสินค้าอีกรายการ คล้ายกับTVD
มีพิธีกรสาวสวยสาธิตเตียงพับได้ เกือบได้ลองนอนดูแล้วแต่คนเยอะมาก
ซึ่งห้องนี้สามารถใช้ถ่ายโฆษณาได้ ทุกมุมห้องเลยครับ ใช้ห้องคุ้มมาก
จากนั้นก็ไป
ดูห้องอัดเสียงโฆษณาสำหรับลูกค้ามาอัดเสียงเพื่อโฆษณาที่ช่องทีวี
มีวิศวกรช่วยปรับแต่งเสียง
ให้ดูมีมิติ และน่าสนใจมากขึ้น
ส่วนชั้นถัดไปเป็นห้องserverเก็บข้อมูลสื่อดิจิตอล
ส่วนข้างห้องserver เป็นห้องที่ตรวจสอบคุณภาพเสียงของที่ถ่ายทำมา มีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบตลอดเวลา
ห้องถัดมาจะเป็นห้องตัดต่อคลิปต่างๆก่อนถ่ายทอดหรือคอยสลับคลิปที่ออกอากาศ
ห้องประกาศข่าว ได้มีโอกาสชมสดวิธีการทำงานของผู้ประกาศข่าวอย่างใกล้ชิด
อุปกรณ์บันทึกภาพ และถ่ายทอดที่ทันสมัย
ระบบแสงสีเสียงที่ทันสมัย ปรับเปลี่ยนได้ตามที่เราต้องการ
ห้องสุดท้ายจะเป็นห้องวิทยุคลื่นคูลฟาเรนไฮต์
ได้คุยกับดีเจ หรือ คูลเจ ซึ่งเริ่มนำแอปคูล
มาแนะนำและเริ่มมีขายของผ่านสื่อมา1เดือน รายได้วันละ10,000-100,000บาท
โดยดูสินค้าผ่านแอปคูลได้ ถือเป็นการเริ่มที่ไม่เลวนะ และดูคูลเจที่มาทำกระตือรือร้นมากถึงมาอยู่กับคลื่น17ปีแล้ว ดีใจที่ได้สัมภาษณ์อย่างใกบ้ชิดเรื่องข้อมูลของรายการ
ขอบคุณเฮียฮ้อ และคุณจิ๊บ IR ที่ให้โอกาส
สมาชิกThaiviมาเยี่ยมชมบริษัท
อาคารใหม่นะครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 29, 2020 10:05 pm
โดย amornkowa
วันนี้ อาจารย์ ชาย มโนภาส มากล่าวอำลาตำแหน่ง นายกสมาคมไทยวีไอ
ในงานสังสรรค์VI ประจำปี 2563 ครั้งที่ 1
และมาพูดในหัวข้อ “Beyond Finance…..มากกว่าเรื่องหุ้นที่ผมอยากเล่าให้นักลงทุนฟัง”
ผมได้ขออนุญาตอาจารย์ชายในการเผยแพร่ให้กับนักลงทุนเรียบร้อยครับ
1.ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่เริ่มลงทุน ตอนแรกๆให้พยายามอดออม เพื่อสร้างสินทรัพย์ขึ้นมา
2.บนทางเดินแห่งความฝันนี้ ก่อนการตัดสินใจซื้อหุ้น ต้องเรียนรู้มากมาย
อาจารย์ชาย ตอนอยู่US ศึกษาการลงทุตจากการยืมหนังสือมากมายหลายเล่มจากห้องสมุดมาอ่าน
การอ่านหนังสือเยอะๆ มีส่วนในการประสบความสำเร็จ
3.วิกฤตที่สุด
เคยเข้าประชุมบริษัทผาแดงแทนคุณพ่อในสมัยก่อน เริ่มลงทุนหุ้นในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย และเจอวิกฤต
อีกหลายครั้ง เช่นต้มยำกุ้ง ,Hamburger Crisis จนล่าสุด Covid-19 ผ่านประสบการณ์ Ceilingหลายครั้ง
แต่ที่วิกฤตสุดคือช่วง Hamburger Crisis ช่วง ธค 2008 ตอนนั้นหุ้นลงทุกวัน และ คุณแม่ก็แอดมิดที่โรงพยาบาล
อาจารย์ชายนั่งที่เก้าอี้ยาว มองท้องฟ้า ไม่รู้จะทำอะไรดี
การเป็นนักลงทุนไม่ใช่แต่มีความรู้ แต่ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งที่สุดด้วย
4.ความสุขสามารถมีได้ระหว่างทาง
บางที เราเป็นนักลงทุน พยายามทุกอย่าง ทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้ได้อิสรภาพทางการเงิน
แต่บางอย่างไม่สามารถรอถึงเรามีอิสรภาพทางเงินได้ เช่น
ของหวาน เราไม่สามารถรอถึงอายุ60ปี ค่อยทาน ซึ่งตอนนั้นสุขภาพไม่ดี เราก็สามารถทานตั้งแต่ตอนเริ่มลงทุนได้
หรือการดูแลคุณพ่อคุณแม่ ณ เดี๋ยวนี้ก็ได้ ไม่ต้องรอ
5.ความสวยงามอยู่ที่รายละเอียด
อยากแนะนำว่าการเป็นนักลงทุน การหมกหมุ่นมากก็ไม่ดี บางทีต้องรู้จักผ่อนบ้าง
เราควรมีงานอดิเรก เช่น ชงชา วาดรูป ปลูกต้นไม้ ออกเดินป่า เพื่อให้สมองคิดเรื่องที่ไม่ใช่หุ้นบ้าง
เพื่อทำให้สมองแจ่มใสขึ้น
6.ยุทธการอิเหลง เป็นสงครามที่เกิดขึ้นเมื่อ คศ 222 พระเจ้าเล่าปี่กรีฑาทัพ 7แสนคนมาต่อสู้กับลกซุม
และ ตัดสินใจด้วยอารมณ์ สุดท้ายรบแพ้ลกซุน และ เล่าปี่ตรอมใจตาย
เล่าปี ถือเป็น Growth Stock ซึ่งเปรียบเหมือน เล่าปี่ จากเป็นคนสานรองเท้า ก้าวสู่การเป็นอ๋อง
ซึ่งเติบโตกว่า โจโฉ และ ซุนกวน
เรื่องนี้สอนเราว่า วันที่เราประสบความสำเร็จในการลงทุน อย่าชะล่าใจ
สิ่งที่สร้างมาอาจหายไปได้ ถ้าเราประมาท
7.ทิ้งพันล้าน
เราฝึกจิตใจในการหาหุ้น ทำให้จิตจะเอาตลอด เราต้องฝึกจิตให้ทิ้งไปบ้าง เพื่อให้จิตได้ผ่อนคลายลงได้
8.ที่สุดของVI
ถ้าเราประสบความสำเร็จทางการเงิน เราควรใช้สินทรัยพ์ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
9.ที่สุดสำคัญที่ใจ
ใจของเรา เราเข้าใจที่สุด จิตถ้าฝึกไปมากๆ ก็ประมวลผลไปได้มาก
เปรียบกับเรย์ ลาดิโอ ซึ่งไม่ใช่ชาวพุทธ ก็สามารถฝึกจิตได้ และ ทำให้การประมวลผลดีขึ้น
10.คนเล็กๆ........
อาจารย์ชาย พูดถึง ลุงคำป่วนซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของอาจารย์
ลุงมีชีวิตที่ยากจน และ ปลูกข้าวโพดไม่สำเร็จ แต่ไม่ย่อท้อ หาความรู้เพิ่มเติม
ลุงศึกษา ทดลอง วิจัย ในการเพาะต้นคริสต์มาส ปั้นปลายอุทิศตนให้ความรู้
เกี่ยวกับดอกไม้เมืองหนาว มีคติว่า ไม่กลัวคนมาเรียน แล้วมาทำแข่ง แต่กลัวว่าคนมาเรียน แล้วไม่ไปทำ
ในบั้นปลายชีวิต ลุงคำป่วนมีความสุขมากๆ
เปรียบกับการลงทุน ถึงแม้ว่าเรามีportใหญ่แค่ไหน เมื่อเราป่วย เราจะย้อนนึกถึงเรื่องที่ช่วยเหลือคนอื่น
ยังความชื่นใจตอนเจ็บป่วย เราไม่ได้นึกถึงหุ้นไหนที่ได้กำไรมาก
อาจารย์ชายทิ้งท้ายก่อนจบว่า
เมื่อท่านเข้มแข็งแล้ว ควรทำประโยชน์ให้คนอื่นด้วยครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2020 8:51 am
โดย amornkowa
เล่าเท่าที่รู้ ในช่วงCovid-19
ตอน ตีแตกวอลสตรีท
ช่วงนี้จะเริ่มกลับมาทบทวนความรู้ด้านการลงทุนรวมถึงเทรนของอุตสาหกรรมในอนาคต
เช่น เทคโนโลยี วันนี้จะพูดถึงหนังสือ Beating the Street ซึ่งแต่งโดย Peter Lynch และ John Rothchild
ซึ่งถือเป็นหนังสือText bookเล่มแรกๆที่ได้มีโอกาสอ่าน ตอนนั้นยังไม่มีแปลในไทย เลยแวะไป
ร้านหนังสือที่Airport กัวลาลัมเปอร์ ซื้อมาอ่าน ราคาไม่ค่อยแพงนัก
พอคุณWeb พรชัย รัตนนนชัยสุข แปลเรียบเรียงก็ไม่พลาดที่อ่านฉบับแปล
รับประกันการแปลว่าได้ครบถ้วนตามต้นฉบับเลย ซึ่งเล่มนี้หายากแล้วถือเป็นRare itemไปแล้ว
แต่อ่านตอนนั้น ที่ประสบการณ์การลงทุนยังน้อย พอมาถึงตอนนี้ก็ลืมไปเยอะแล้ว
พอดร กุศยา มาแปลรอบล่าสุด ก็ลองอ่านดูพบว่า ไม่แพ้ที่คุณWebแปล
หนังสือเล่มนี้ เป็นเล่มที่สามของ Peter Lynch ต่อจาก Learn to earn และ One Up on Wall street.
ก็เลยคิดว่าน่าจะสรุปมาฝากแฟนเพจ เผื่อจะได้ประโยชน์ ไม่มากก็น้อยครับ
ตอนนี้ถือเป็นตอนแรก ของหนังสือ ซึ่งจะพูดถึง หลักการของปีเตอร์ ข้อที่ 1 ถึง 6
1.เมื่อจำนวนการดูโอเปร่ามากกว่าจำนวนการดูฟุตบอลสามต่อหนึ่ง
นั่นคือ มีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับชีวิตคุณ
คุณLynch พูดถึงช่วงที่ยังทำงานกับสำนักงานกองทุน Fidelity นั้นมุ่งแต่ทำงานจน
พูดติดตลกกับหมอว่า การออกกำลังกายอย่างเดียวตอนนั้นคือ การขัดฟันด้วยไหมขัดฟัน
ซึ่งเป็นสัญญาณว่าควรต้องทำอะไรสักอย่างก่อนชีวิตจะพัง สุดท้ายก็ขอเกษียณจากงานประจำ
มาใช้ชีวิตกับครอบครัว และมาช่วงองค์กรการกุศลบริหารพอร์ตลงทุน
2.สุภาพบุรุษที่ชื่นชอบตราสารหนี้จะไม่รู้ว่าพวกเขาพลาดอะไร
ซึ่งจะสื่อว่าควรลงทุนในหุ้นสัดส่วนที่มากกว่าตราสารหนี้ เพราะในระยะยาว
ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่ามาก โดยปกติคิดต่อปี ผลตอบแทนจะมากกว่า2เท่า
แต่ในระยะยาว เช่น 20 ปี พอร์ตหุ้นจะเติบโตมากกว่า4 เท่า
3.ไม่ควรลงทุนในแนวคิดใดๆ ที่คุณไม่สามารถวาดภาพมันได้ด้วยดินสอสี
ข้อนี้จะสื่อว่า หุ้นหรือกองทุนรวมที่เราจะลงทุนนั้น เราต้องเข้าใจมันเป็นอย่างดี
ก่อนการตัดสินใจลงทุน และ บริษัทต้องเข้าใจง่ายอย่างเด็กนักเรียนก็เข้าใจมันได้
4.คุณไม่สามารถมองอนาคตได้โดยผ่านกระจกมองหลัง
จากวิกฤตการCovid-19ที่ผ่านมา ถ้าเรามองแต่การปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงของตลาดทั่วโลก
เราไม่เพียงแต่ทุกข์ใจกับการล่มสลายของตลาดหุ้นเท่านั้น แต่เราควรมองหาหุ้นอื่นเพื่อลงทุน
ในปีถัดไป ซึ่งได้พูดคุยกับนักลงทุนหลายท่าน ก็ได้เข้าซื้อบริษัทที่ดีในช่วงมีนาคมที่ผ่านมา
แต่ถือจนถึงตอนนี้ บางตัวได้ถึง3-4 เด้งครับ
5.ไม่มีเหตุผลที่จะจ่ายเงินเพื่อฟังโยโยมาบรรเลงทางวิทยุ
ซึ่งโยโยมา เป็นนักดนตรีสัญชาติUSเชื้อสายจีนที่มีชื่อเสียงด้านเชลโล
การมาฟังทางวิทยุ จริงๆไม่ควรต้องเสียเงิน
เปรียบกับการลงทุนในกองทุนรวมพันธบัตร ซึ่งโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยค่อนข้างน้อย
สู้เราไปลงทุนตรงผ่านโบรคเกอร์หรือธนาคารไม่ได้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการบริหาร
แต่ถ้าเป็นกองทุนหุ้นที่เก่ง ก็ยังคุ้มที่จะซื้อนะครับ
6. ตราบเท่าที่คุณเลือกลงทุนในกองทุนรวม คุณก็ควรเลือกกองทุนที่ดีเช่นกัน
กองทุนหุ้นในUSสมัยที่คุณLynchพบเจอมีมากถึง 1,127 กอง
การตัดสินใจเลือกผิด อาจทำให้ผลตอบแทนต่ำกว่าดัชนี
และกลยุทธ์ในการถือ ต้องนานพอให้ผ่านวิกฤตต่างๆไปได้
ตอนที่ผมถือกองทุน OneUGERMF ซึ่งไปลงในกองทุนหุ้นของ Billie Giftford
และมีหุ้นเทคโนโลยีเยอะในport รวมถึงTestlaด้วย ปรากฏว่าช่วงมีนาคม
NAV ลดต่ำลงมากกว่าต้นปี แต่ปรากฏว่าการไม่ได้ทำอะไร กลับได้ผลดี
เพราะว่าตอนนี้กองนี้สร้างผลตอบแทนมากกว่าตอนต้นปี 50%
ขอจบบทความตอนที่1 และ จะมาเล่ากฏข้อต่อไปในบทความหน้านะครับ
Re: วีไอต้องปรับmindsetอย่างไรในการลงทุนช่วงCovid-19
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 11, 2020 8:16 am
โดย amornkowa
สรุปกลยุทธ์ในการลงทุนหุ้นและกองทุนรวมโดย ปีเตอร์ ลินซ์
และความเห็นส่วนตัวในการลงทุนกองทุนรวม
1.คนส่วนใหญ่ผิดพลาดที่ให้ความสําคัญกับเรื่องรายได้มากกว่าเรื่องเติบโต
ทำให้ไปเน้นลงทุนกองทุนรวมตราสารหนี้มากกว่ากองทุนรวมหุ้น
ยิ่งถ้าเรามีเวลาในการลงทุนที่ยาว เช่น 20ปี ตั้งแต่ปี1999ถึง2018
การลงทุนกองทุนรวมหุ้นไทย ให้ผลตอบแทนเป็น4เท่าของการลงทุนพันธบัตรระยะยาว
2.ถ้าต้องการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ให้ซื้อโดยตรงจากธนาคารหรือโบรกเกอร์
หลีกเลี่ยงการซื้อกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่ม
แต่ถ้าเลือกลงทุนหุ้นกู้เอกชน ส่วนตัวมองว่า พยายามเน้นเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้ให้สูง
ถึงแม้ดอกเบี้ยจะต่ำกว่า แต่ก็ลดความเสี่ยงกรณีหุ้นกู้default
หรือลงทุนกองทุนตราสารหนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยง
ถ้ามีหุ้นกู้บางตัวdefault ก็ส่งผลกระทบน้อยกว่าการซื้อหุ้นกู้ตัวเดียว
3.ศึกษาประเภทกองทุนหุ้นที่เราลงทุน. และการประเมินผลงานควรเทียบกับ
กองหุ้นอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกัน
อย่าตำหนิผู้จัดการกองทุนหุ้นถ้าทำผลตอบแทนแย่กว่ากองทุนรวมทองคำ
4.ควรกระจายการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นที่มีนโยบายเลือกหุ้นที่แตกต่างกัน
เช่น หุ้นเติบโต หุ้นเติบโตในตลาดเกิดใหม่หรือพัฒนาแล้ว
หุ้นคุณค่า หุ้นปันผล เป็นต้น เพราะแต่ละประเภทราคาขึ้น ลง
แตกต่างกันตามวัฐจักรเศรษฐกิจ และ บริษัทเอง
5.เมื่อคุณจะเพิ่มเงินลงทุนในportfolio ให้ลงทุนในกองทุนรวม
ที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่ปรับตัวขึ้นช้ากว่าตลาดหลายปี
6.ความพยายามเลือกองทุนรวมที่มีโอกาสชนะในอนาคต
โดยดูจากผลการดำเนินงานในอดีต เป็นเรื่องยาก และมีส่วนต่อPortแค่5%
ควรเน้นการวางแผนสร้างพอร์ตลงทุนตามแต่ละคน
และรักษาวินัยในการลงทุน ซึ่งมีส่วนต่อportถึง91%
สุดท้ายการพยายามสลับหรือปรับเปลี่ยนเงินลงทุนจากกองนึงไปอีกกอง
มีผลต่อportแค่2% และ อาจต้องเสียค่าธรรมเนียมการซื้อเพิ่มไปอีก
ขอให้มีความสุขกับการลงทุนนะครับ