COVID-19: บทเรียนจากจีน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 01, 2020 7:25 pm
ในเดือน ก.พ.2020 องค์การอนามัยโลก : WHO ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปในจีนเพื่อประเมินการระบาดของ COVID-19 เป็นเวลา 9 วัน และทำเป็นรายงานที่มีข้อมูลเป็นประโยชน์อย่างยิ่งออกมา ซึ่งต่อมา ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ แห่งฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้นำมาสรุปเป็นภาษาไทย
เนื้อหาของรายงานดังกล่าวประกอบกับคำสัมภาษณ์ของนาย Bruce Aylward หัวหน้าทีมขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2020 คือสิ่งที่จะขอนำเสนอในบทความนี้ เพราะ ณ วันนี้พอจะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่ารัฐบาลจีนประสบผลสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นข้อมูลและประสบการณ์ของจีนจึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ
การติดต่อของ COVID-19
กรณีส่วนใหญ่ (78-85%) เกิดจากการติดต่อกันในครอบครัวจาก "ละอองเสมหะ" (droplet) ไม่ใช่จาก "ละอองลอย" (aerosol) ดังนั้นการไม่เข้าไปอยู่รวมกันในที่แออัด ไม่หายใจรดกัน หรือถูกละอองจากการไอหรือจามจึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ ข้อสรุปสำคัญของรายงานส่วนนี้คือเมื่อทางการจีนสั่งให้ยุติทุกกิจกรรมที่ต้องมีการรวมตัวหรือการชุมนุมอย่างเคร่งครัดแล้ว การแพร่ขยายของ COVID-19 ย่อมจะเหลืออยู่เพียงแนวทางเดียว คือการติดต่อกันระหว่างคนในครอบครัวเป็นหลัก เมื่อเป็นเช่นนั้นการติดตามและแยกตัวผู้ป่วยและผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อไม่ให้แพร่ขยายออกไปในวงกว้างจึงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ช่วงเวลาฟักตัวของ COVID-19 นั้นได้มีการวิจัยอย่างละเอียด โดยมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ซึ่งผลการวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อ 9 มี.ค.2020 สรุปว่าใช้เวลาเฉลี่ย 5.1 วัน โดยประมาณ 97% ของผู้ที่ติดเชื้อจะแสดงอาการภายในเวลา 14 วัน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงช่วยยืนยันความสำคัญของการกักตัวเอาไว้เป็นเวลา 14 วันเพื่อดูอาการ โดยผู้ที่ป่วยเป็น COVID-19 นั้น 80% จะป่วยไม่มากและไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่จะมีอีก 15% ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลและต้องมีการใช้เครื่องช่วยเพิ่มออกซิเจน และอีก 5% ที่จะมีอาการหนักมากถึงขนาดต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย COVID-19 ของเมืองอู่ฮั่นนั้นสูงถึง 4% แต่ในเมืองอื่นๆ ของจีน อัตราการเสียชีวิตจะต่ำกว่ามากคือไม่ถึง 1% โดยอัตราการเสียชีวิตจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการที่จะกล่าวถึงในบทต่อไป
อาการของ COVID-19 และการฟื้นตัว
อาการที่พบบ่อยที่สุด 2 อาการคือการมีไข้ (88%) และการไอแห้งๆ (68%) อาการที่ไม่ใช่สัญญาณของ COVID-19 คือน้ำมูกไหล นอกจากนั้นผู้ที่เป็น COVID-19 ยังจะมีอาการอ่อนแรง (38%) ไอแบบมีเสมหะ (33%) หายใจลำบาก (18%) เจ็บคอ (14%) ปวดหัว (14%) ปวดกล้ามเนื้อ (14%) และหนาวสั่น (11%) ช่วงระยะฟื้นตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-6 สัปดาห์สำหรับผู้ที่อาการหนัก และ 2 สัปดาห์สำหรับผู้ที่ป่วยไม่มาก
ปัจจัยสำเร็จของจีน
นาย Aylward บอกว่าปัจจัยสำคัญคือความรวดเร็ว (speed) ได้แก่ความรวดเร็วในการตรวจพบผู้ติดเชื้อ (find) การกักกันผู้ที่ติดเชื้อ (isolate) และการติดตามตรวจผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อทั้งหมด (track their contacts) ซึ่งนาย Aylward ย้ำว่าการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพดังกล่าวในทุกๆ มณฑลของจีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 กล่าวคือ ไม่ใช่การ "ปิดเมือง"(lockdown) อู่ฮั่นและเมืองใกล้เคียงเพียงอย่างเดียว ซึ่งกระทบกับประชาชนประมาณ 50 ล้านคน แต่เป็นการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างเข้มข้นในลักษณะนี้ไปทั่วประเทศ และมี “การสร้างความรู้ ความเข้าใจและการยอมรับมาตรการในระดับสูงอย่างไม่น่าเชื่อในหมู่ประชากร”
คำถามต่อมาคือ มาตรการที่เข้มข้นของจีนนั้นจะนำมาใช้กับประเทศต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งในส่วนนี้รายงานขององค์การอนามัยโลกสรุปว่า “ชุมชนส่วนใหญ่ในโลกยังไม่พร้อมรับมือกับเรื่องนี้ ไม่ว่าในแง่ของวิธีคิดหรือในแง่ของเครื่องมือใช้สอย ไม่พร้อมที่จะใช้มาตรการแบบที่ใช้ควบคุม COVID-19 ในจีน”
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นการระบาดอย่างรวดเร็วของ COVID-19 ไปยังประเทศอื่นๆ และการควบคุมการระบาดนั้นยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะมาตรการปิดเมืองปิดประเทศนั้นเปรียบเสมือนกับการเป็นอัมพาตทางเศรษฐกิจในประเทศชั้นนำของโลกอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อนครับ
เนื้อหาของรายงานดังกล่าวประกอบกับคำสัมภาษณ์ของนาย Bruce Aylward หัวหน้าทีมขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2020 คือสิ่งที่จะขอนำเสนอในบทความนี้ เพราะ ณ วันนี้พอจะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่ารัฐบาลจีนประสบผลสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นข้อมูลและประสบการณ์ของจีนจึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ
การติดต่อของ COVID-19
กรณีส่วนใหญ่ (78-85%) เกิดจากการติดต่อกันในครอบครัวจาก "ละอองเสมหะ" (droplet) ไม่ใช่จาก "ละอองลอย" (aerosol) ดังนั้นการไม่เข้าไปอยู่รวมกันในที่แออัด ไม่หายใจรดกัน หรือถูกละอองจากการไอหรือจามจึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ ข้อสรุปสำคัญของรายงานส่วนนี้คือเมื่อทางการจีนสั่งให้ยุติทุกกิจกรรมที่ต้องมีการรวมตัวหรือการชุมนุมอย่างเคร่งครัดแล้ว การแพร่ขยายของ COVID-19 ย่อมจะเหลืออยู่เพียงแนวทางเดียว คือการติดต่อกันระหว่างคนในครอบครัวเป็นหลัก เมื่อเป็นเช่นนั้นการติดตามและแยกตัวผู้ป่วยและผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อไม่ให้แพร่ขยายออกไปในวงกว้างจึงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ช่วงเวลาฟักตัวของ COVID-19 นั้นได้มีการวิจัยอย่างละเอียด โดยมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ซึ่งผลการวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อ 9 มี.ค.2020 สรุปว่าใช้เวลาเฉลี่ย 5.1 วัน โดยประมาณ 97% ของผู้ที่ติดเชื้อจะแสดงอาการภายในเวลา 14 วัน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงช่วยยืนยันความสำคัญของการกักตัวเอาไว้เป็นเวลา 14 วันเพื่อดูอาการ โดยผู้ที่ป่วยเป็น COVID-19 นั้น 80% จะป่วยไม่มากและไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่จะมีอีก 15% ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลและต้องมีการใช้เครื่องช่วยเพิ่มออกซิเจน และอีก 5% ที่จะมีอาการหนักมากถึงขนาดต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย COVID-19 ของเมืองอู่ฮั่นนั้นสูงถึง 4% แต่ในเมืองอื่นๆ ของจีน อัตราการเสียชีวิตจะต่ำกว่ามากคือไม่ถึง 1% โดยอัตราการเสียชีวิตจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการที่จะกล่าวถึงในบทต่อไป
อาการของ COVID-19 และการฟื้นตัว
อาการที่พบบ่อยที่สุด 2 อาการคือการมีไข้ (88%) และการไอแห้งๆ (68%) อาการที่ไม่ใช่สัญญาณของ COVID-19 คือน้ำมูกไหล นอกจากนั้นผู้ที่เป็น COVID-19 ยังจะมีอาการอ่อนแรง (38%) ไอแบบมีเสมหะ (33%) หายใจลำบาก (18%) เจ็บคอ (14%) ปวดหัว (14%) ปวดกล้ามเนื้อ (14%) และหนาวสั่น (11%) ช่วงระยะฟื้นตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-6 สัปดาห์สำหรับผู้ที่อาการหนัก และ 2 สัปดาห์สำหรับผู้ที่ป่วยไม่มาก
ปัจจัยสำเร็จของจีน
นาย Aylward บอกว่าปัจจัยสำคัญคือความรวดเร็ว (speed) ได้แก่ความรวดเร็วในการตรวจพบผู้ติดเชื้อ (find) การกักกันผู้ที่ติดเชื้อ (isolate) และการติดตามตรวจผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อทั้งหมด (track their contacts) ซึ่งนาย Aylward ย้ำว่าการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพดังกล่าวในทุกๆ มณฑลของจีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 กล่าวคือ ไม่ใช่การ "ปิดเมือง"(lockdown) อู่ฮั่นและเมืองใกล้เคียงเพียงอย่างเดียว ซึ่งกระทบกับประชาชนประมาณ 50 ล้านคน แต่เป็นการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างเข้มข้นในลักษณะนี้ไปทั่วประเทศ และมี “การสร้างความรู้ ความเข้าใจและการยอมรับมาตรการในระดับสูงอย่างไม่น่าเชื่อในหมู่ประชากร”
คำถามต่อมาคือ มาตรการที่เข้มข้นของจีนนั้นจะนำมาใช้กับประเทศต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งในส่วนนี้รายงานขององค์การอนามัยโลกสรุปว่า “ชุมชนส่วนใหญ่ในโลกยังไม่พร้อมรับมือกับเรื่องนี้ ไม่ว่าในแง่ของวิธีคิดหรือในแง่ของเครื่องมือใช้สอย ไม่พร้อมที่จะใช้มาตรการแบบที่ใช้ควบคุม COVID-19 ในจีน”
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นการระบาดอย่างรวดเร็วของ COVID-19 ไปยังประเทศอื่นๆ และการควบคุมการระบาดนั้นยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะมาตรการปิดเมืองปิดประเทศนั้นเปรียบเสมือนกับการเป็นอัมพาตทางเศรษฐกิจในประเทศชั้นนำของโลกอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อนครับ