กฎลงทุนข้อที่หก : อย่าตื่นตระหนก/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 12, 2020 6:45 pm
ดิฉันไม่ได้เขียนกฎการลงทุนมาปีเศษๆ หลังจากที่เขียนกฎข้อที่ห้า เรื่อง เข้าใจธรรมชาติของการลงทุนและปฏิบัติให้สอดคล้อง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว กฎต่างๆที่ดิฉันแนะนำ ก็ยังใช้ได้อยู่ค่ะ เพียงแต่ว่าท่านอาจจะลืมไปแล้ว พอมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นอีก ท่านจึงไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจ วันนี้จะขอมาเรียนย้ำเตือนให้ชัดเจนขึ้น ในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์
กฎการลงทุนข้อที่หก คือ อย่าตื่นตระหนก จริงๆแล้วอาจจะเขียนให้ตื่นเต้นว่า“อย่าตื่นตูม” ก็ได้ค่ะ การตื่นตระหนก มักจะเกิดขึ้นในเวลาที่คนได้ข่าวร้ายและย่อยข่าวไม่ทันว่าจะเกิดผลต่อเนื่องอะไรถึงพอร์ตการลงทุนของตนเอง จึงมักจะขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่ออกไปก่อน และเมื่อผู้ลงทุนจำนวนมากอยากขาย ในขณะที่ฝั่งผู้ต้องการซื้อยังไม่นึกอยากซื้อทันที ก็จะส่งผลให้ราคาตกลงมาอย่างรวดเร็ว ผู้ลงทุนที่เดิมยังไม่ได้อยากจะขาย พอเห็นราคาตก ก็อยากจะขายออกบ้าง ส่งผลซ้ำให้ราคาหลักทรัพย์ต่างๆลดลงไปเพิ่มอีก
ทำไมดิฉันใช้คำว่า “หลักทรัพย์” ไม่ใช้คำว่า “สินทรัพย์ลงทุน” เพราะว่าสินทรัพย์บางอย่าง เกิดการตื่นตระหนกขายไม่ชัดเจนค่ะ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น หุ้นทุน หุ้นกู้ พันธบัตร ทองคำ เงินตราต่างประเทศ และสินทรัพย์ทางการเงินที่เปลี่ยนมือได้คล่อง เช่น ออปชั่น ฟิวเจอร์ ฯลฯ เท่านั้น ที่ผู้ลงทุนจะเกิดอาการตื่นตระหนกขาย หากเป็นสินทรัพย์ที่สภาพคล่องต่ำกว่า เช่น อสังหาริมทรัพย์ จะเกิดอาการที่ราคา “ค่อยๆปรับตัวลดลง” หรือ “ค่อยๆซึมลง” จึงไม่ปรากฏการตื่นตระหนกขายค่ะ
ตามที่เคยเขียนไปในกฎลงทุนข้อที่สี่ หากราคาหุ้นปรับตัวลดลงไป 10 ถึง 15% เราจะเรียกว่า “ปรับตัว” หรือ “ปรับฐาน” ซึ่งฟื้นตัวได้เร็ว แต่หากราคาปรับตัวลงไปเกินกว่า 20% จึงจะเป็นภาวะ “ตลาดหมี” (Bear Market) ซึ่งฟื้นตัวได้ช้ากว่าการปรับฐาน
ดังนั้น ผู้ลงทุนที่ตื่นตระหนก ต่อข่าวต่างๆ และขายไปก่อนที่จะมีการวิเคราะห์ว่า เหตุการณ์นั้นๆส่งผลกระทบต่อการลงทุนอย่างไร ก็อาจจะขายไปในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และอาจจะรู้สึกเสียดายในภายหลัง
กราฟจาก CNBC.com
ยกตัวอย่าง ดัชนี Dow Jones ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา วันที่ตกหนักที่สุดคือปลายเดือนมกราคม ซึ่งเป็นวันที่คนกลัวว่า จะควบคุม โคโรน่าไวรัสไม่อยู่ และจะไประบาดในสหรัฐอเมริกา และส่งผลต่อเศรษฐกิจ และรายได้ของบริษัทต่างๆในสหรัฐ หลังจากนั้นประเทศจีนอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปพยุงเศรษฐกิจ ดัชนีก็ฟื้นตัว และขึ้นไปสูงกว่าเดิมอีก
ท่านอาจจะถามว่า “แล้วจะให้ทำอย่างไร” หากเราคิดว่าเหตุการณ์หนึ่งๆจะมีผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของเราจริงๆ แนะนำว่า หากเราใช้วิธีการที่มืออาชีพ คือ ผู้จัดการกองทุน เขาทำกัน คือ “ปรับพอร์ต” ก็จะทำให้ความเสียหายจากการตื่นตระหนกลดลงค่ะ เพราะหากเรานำราคาหรือดัชนี มาพล็อตเป็นกราฟ เราจะเห็นทุกครั้งว่า หากเป็นการขายแบบ “ตื่นตระหนก” ช่วงถัดมามักจะมีการ “ฟื้นตัว” ขึ้นอย่างรวดเร็ว และสักพักหนึ่ง ราคาก็จะปรับตัวไปหาพื้นฐานที่ควรจะเป็น ซึ่งแน่นอนว่ากรณีเหตุการณ์นั้นมีผลลบต่อเศรษฐกิจ ต่อรายได้ และต่อกำไรของบริษัท ราคาหุ้นที่เหมาะสม ควรจะปรับลดลงจากเดิม
สำหรับราคาของตราสารหนี้ จะเป็นในด้านตรงกันข้าม คือ หากเหตุการณ์ที่ทำให้ตื่นตระหนก มีผลทำให้เศรษฐกิจเติบโตลดลง ก็อาจจะส่งผลให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนบ้าง ไม่มากก็น้อย และส่งผลต่อราคาที่จะปรับสูงขึ้น
ในทางการเงิน ราคาของหลักทรัพย์วันนี้ คือ ผลตอบแทน (กระแสเงินสด) ที่คิดว่าจะได้รับจากหลักทรัพย์นั้นๆ (ทั้งในรูปดอกเบี้ย เงินปันผล ราคาที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อขายออกไป หรือเงินต้นที่จะได้รับคืน) คิดลดมาเป็นค่าของเงินในปัจจุบัน (Present Value) ด้วยอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ (Required Rate of Return)
ในกรณีของหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ เมื่ออัตราผลตอบแทนที่นำไปคิดลดกลับมาเป็นค่าเงินปัจจุบัน (ตัวหาร)ลดลง ราคาของตราสารก็ย่อมเพิ่มขึ้น ผู้ที่ถือตราสารอยู่จึงมีกำไรจากมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น (หากขายออกไป) และผู้ซื้อต่อ ก็จะได้รับผลตอบแทนในอนาคตที่ลดลง ผู้ซื้อใหม่ก็ต้องทำใจด้วยว่า ตราสารที่จะออกมาขายใหม่ในอนาคต ย่อมจะให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าเดิมที่เคยได้รับค่ะ
ในกรณีของหลักทรัพย์ประเภทหุ้นทุน จะซับซ้อนกว่าตราสารหนี้ เนื่องจากแม้ว่าตัวหารจะลดลง แต่ผลตอบแทนที่จะมาจากเงินปันผล หรือราคาหุ้นที่จะขายออกในอนาคต (กระแสเงินสด) อาจจะลดลงด้วย ขึ้นอยู่กับว่าเหตุการณ์นั้นกระทบรายได้ รายจ่าย และผลกำไรมากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้น ราคาหุ้นอาจจะขึ้นหรือลงก็ได้นะคะ
เพราะฉะนั้น การไม่ตื่นตระหนกขายหลักทรัพย์ออกไปในช่วงที่ตกใจ ใช้เวลาวิเคราะห์ผลกระทบเล็กน้อย ก็ช่วยได้มากแล้วค่ะ
กฎการลงทุนข้อที่หก คือ อย่าตื่นตระหนก จริงๆแล้วอาจจะเขียนให้ตื่นเต้นว่า“อย่าตื่นตูม” ก็ได้ค่ะ การตื่นตระหนก มักจะเกิดขึ้นในเวลาที่คนได้ข่าวร้ายและย่อยข่าวไม่ทันว่าจะเกิดผลต่อเนื่องอะไรถึงพอร์ตการลงทุนของตนเอง จึงมักจะขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่ออกไปก่อน และเมื่อผู้ลงทุนจำนวนมากอยากขาย ในขณะที่ฝั่งผู้ต้องการซื้อยังไม่นึกอยากซื้อทันที ก็จะส่งผลให้ราคาตกลงมาอย่างรวดเร็ว ผู้ลงทุนที่เดิมยังไม่ได้อยากจะขาย พอเห็นราคาตก ก็อยากจะขายออกบ้าง ส่งผลซ้ำให้ราคาหลักทรัพย์ต่างๆลดลงไปเพิ่มอีก
ทำไมดิฉันใช้คำว่า “หลักทรัพย์” ไม่ใช้คำว่า “สินทรัพย์ลงทุน” เพราะว่าสินทรัพย์บางอย่าง เกิดการตื่นตระหนกขายไม่ชัดเจนค่ะ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น หุ้นทุน หุ้นกู้ พันธบัตร ทองคำ เงินตราต่างประเทศ และสินทรัพย์ทางการเงินที่เปลี่ยนมือได้คล่อง เช่น ออปชั่น ฟิวเจอร์ ฯลฯ เท่านั้น ที่ผู้ลงทุนจะเกิดอาการตื่นตระหนกขาย หากเป็นสินทรัพย์ที่สภาพคล่องต่ำกว่า เช่น อสังหาริมทรัพย์ จะเกิดอาการที่ราคา “ค่อยๆปรับตัวลดลง” หรือ “ค่อยๆซึมลง” จึงไม่ปรากฏการตื่นตระหนกขายค่ะ
ตามที่เคยเขียนไปในกฎลงทุนข้อที่สี่ หากราคาหุ้นปรับตัวลดลงไป 10 ถึง 15% เราจะเรียกว่า “ปรับตัว” หรือ “ปรับฐาน” ซึ่งฟื้นตัวได้เร็ว แต่หากราคาปรับตัวลงไปเกินกว่า 20% จึงจะเป็นภาวะ “ตลาดหมี” (Bear Market) ซึ่งฟื้นตัวได้ช้ากว่าการปรับฐาน
ดังนั้น ผู้ลงทุนที่ตื่นตระหนก ต่อข่าวต่างๆ และขายไปก่อนที่จะมีการวิเคราะห์ว่า เหตุการณ์นั้นๆส่งผลกระทบต่อการลงทุนอย่างไร ก็อาจจะขายไปในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และอาจจะรู้สึกเสียดายในภายหลัง
กราฟจาก CNBC.com
ยกตัวอย่าง ดัชนี Dow Jones ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา วันที่ตกหนักที่สุดคือปลายเดือนมกราคม ซึ่งเป็นวันที่คนกลัวว่า จะควบคุม โคโรน่าไวรัสไม่อยู่ และจะไประบาดในสหรัฐอเมริกา และส่งผลต่อเศรษฐกิจ และรายได้ของบริษัทต่างๆในสหรัฐ หลังจากนั้นประเทศจีนอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปพยุงเศรษฐกิจ ดัชนีก็ฟื้นตัว และขึ้นไปสูงกว่าเดิมอีก
ท่านอาจจะถามว่า “แล้วจะให้ทำอย่างไร” หากเราคิดว่าเหตุการณ์หนึ่งๆจะมีผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของเราจริงๆ แนะนำว่า หากเราใช้วิธีการที่มืออาชีพ คือ ผู้จัดการกองทุน เขาทำกัน คือ “ปรับพอร์ต” ก็จะทำให้ความเสียหายจากการตื่นตระหนกลดลงค่ะ เพราะหากเรานำราคาหรือดัชนี มาพล็อตเป็นกราฟ เราจะเห็นทุกครั้งว่า หากเป็นการขายแบบ “ตื่นตระหนก” ช่วงถัดมามักจะมีการ “ฟื้นตัว” ขึ้นอย่างรวดเร็ว และสักพักหนึ่ง ราคาก็จะปรับตัวไปหาพื้นฐานที่ควรจะเป็น ซึ่งแน่นอนว่ากรณีเหตุการณ์นั้นมีผลลบต่อเศรษฐกิจ ต่อรายได้ และต่อกำไรของบริษัท ราคาหุ้นที่เหมาะสม ควรจะปรับลดลงจากเดิม
สำหรับราคาของตราสารหนี้ จะเป็นในด้านตรงกันข้าม คือ หากเหตุการณ์ที่ทำให้ตื่นตระหนก มีผลทำให้เศรษฐกิจเติบโตลดลง ก็อาจจะส่งผลให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนบ้าง ไม่มากก็น้อย และส่งผลต่อราคาที่จะปรับสูงขึ้น
ในทางการเงิน ราคาของหลักทรัพย์วันนี้ คือ ผลตอบแทน (กระแสเงินสด) ที่คิดว่าจะได้รับจากหลักทรัพย์นั้นๆ (ทั้งในรูปดอกเบี้ย เงินปันผล ราคาที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อขายออกไป หรือเงินต้นที่จะได้รับคืน) คิดลดมาเป็นค่าของเงินในปัจจุบัน (Present Value) ด้วยอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ (Required Rate of Return)
ในกรณีของหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ เมื่ออัตราผลตอบแทนที่นำไปคิดลดกลับมาเป็นค่าเงินปัจจุบัน (ตัวหาร)ลดลง ราคาของตราสารก็ย่อมเพิ่มขึ้น ผู้ที่ถือตราสารอยู่จึงมีกำไรจากมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น (หากขายออกไป) และผู้ซื้อต่อ ก็จะได้รับผลตอบแทนในอนาคตที่ลดลง ผู้ซื้อใหม่ก็ต้องทำใจด้วยว่า ตราสารที่จะออกมาขายใหม่ในอนาคต ย่อมจะให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าเดิมที่เคยได้รับค่ะ
ในกรณีของหลักทรัพย์ประเภทหุ้นทุน จะซับซ้อนกว่าตราสารหนี้ เนื่องจากแม้ว่าตัวหารจะลดลง แต่ผลตอบแทนที่จะมาจากเงินปันผล หรือราคาหุ้นที่จะขายออกในอนาคต (กระแสเงินสด) อาจจะลดลงด้วย ขึ้นอยู่กับว่าเหตุการณ์นั้นกระทบรายได้ รายจ่าย และผลกำไรมากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้น ราคาหุ้นอาจจะขึ้นหรือลงก็ได้นะคะ
เพราะฉะนั้น การไม่ตื่นตระหนกขายหลักทรัพย์ออกไปในช่วงที่ตกใจ ใช้เวลาวิเคราะห์ผลกระทบเล็กน้อย ก็ช่วยได้มากแล้วค่ะ