เศรษฐกิจไทยปี 2020 (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 16, 2020 9:03 am
ตัวเลขเศรษฐกิจไทยล่าสุดสำหรับเดือนพ.ย. 2019 นั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เศรษฐกิจชะลอตัวลงต่อไปอีกจากช่วงก่อนหน้า
เห็นได้จากการแจกแจงตัวเลขที่เป็นส่วนประกอบของดุลชำระเงินของไทยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้น ซึ่งผมขอนำบางส่วนมาเสนอดังปรากฏในตารางข้างล่าง
การส่งออกเป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งการขยายตัวของการส่งออกดังที่ปรากฏตามตาราง (Thailand: Balance of Payments) จะเห็นได้ว่าเริ่มอ่อนแรงตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2018 (โตเพียง 2.9%) และเริ่มติดลบในไตรมาส 1 ของปี 2019 (-3.8%) และติดลบต่อไปอีกในไตรมาส 2 ปี 2019 แต่มาถึงไตรมาส 3 ตัวเลขดูดีขึ้น กล่าวคือไม่ติดลบ (แต่ก็ไม่ขยายตัว) แม้ว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานของปี 2018 จะต่ำเป็นเกณฑ์อยู่แล้ว แต่ฐานตัวเลขของเดือน ต.ค. และพ.ย.ปี 2018 ก็ต่ำเหมือนกัน อย่างไรก็ดีการส่งออกในเดือน ต.ค. และ พ.ย. ปี2019 ก็ยังติดลบอยู่ดี และดูเสมือนว่าจะติดลบเพิ่มขึ้นอีกด้วยจาก -5.5% เป็น -7.7% หากดูมูลค่าการส่งออกก็เห็นได้ว่าลดลง กล่าวคือเดือน ต.ค.ส่งออก 20,500 ล้านเหรียญ แต่เดือนพ.ย.ส่งออก 19,600 ล้านเหรียญ ซึ่งส่วนหนึ่งอธิบายได้ว่าเพราะการปิดโรงกลั่นชั่วคราว อย่างไรก็ดีก็ยังหนีไม่พ้นว่า 11 เดือนแรกของปี 2019 นั้น มูลค่าการส่งออกลดลงไปถึง 3.4% หรือลดลงไปประมาณ 246,000 ล้านบาท หากครบ 12 เดือนก็น่าจะมากกว่า 250,000 ล้านบาท
แต่ตัวเลขที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือตัวเลขการนำเข้าของปี 2019 ที่ติดลบมากถึง 6.8% ในไตรมาส 3 ของปี 2018 และลดลงมากอีกที่ -9.2% ในเดือน ต.ค.และ -13.9% ในเดือนพ.ย. ทำให้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี การนำเข้าลดลงถึง 6.0% การนำเข้านั้นเป็นเครื่องบ่งชี้กำลังซื้อภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตในอนาคต จึงจะเป็นตัวเลขที่ส่งสัญญาณให้รู้ว่าการผลิตในอนาคต (ทั้งเพื่อการส่งออกและการบริโภคในประเทศ) ยังเป็นขาลง นอกจากนั้นการนำเข้ายังเป็นการสะท้อนการลงทุนเพราะเครื่องจักรและสินค้าทุนนั้นส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น สำหรับตัวเลขที่หดตัวอย่างมากในเดือนพ.ย.นั้น ส่วนหนึ่งอาจอ้างได้ว่าเป็นผลมาจากการหยุดทำงานชั่วคราวของโรงกลั่นน้ำมัน แต่ตัวเลขโดยรวมนั้นดูไม่ดีในเชิงที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยยังชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ยังมองไม่เห็นว่าใกล้หรือไกลจากจุดต่ำสุดของการตกต่ำของเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด
แต่ที่ชัดเจนในความเห็นของผมคือเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัวลงรวดเร็วกว่าการหดตัวของการส่งออกเสียอีก ซึ่งตัวเลขที่ยืนยันตรงนี้คือการเกินดุลการค้าและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (ซึ่งรวมตัวเลขการค้าบริการเข้ามาด้วย) กล่าวคือในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2019 (ที่บอกว่าการส่งออกย่ำแย่นั้น) ปรากฏว่าประเทศไทยเกินดุลการค้าเท่ากับ 24,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (บรรทัดแรกของตาราง) มากกว่าการเกินดุลการค้าทั้งปีในปี 2018 ที่ 22,400 ล้านเหรียญ ในส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น สถานการณ์ยิ่งน่าเป็นห่วงมากกว่าเพราะในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2019 เกินดุลมหาศาลถึง 33,200 ล้านเหรียญ เปรียบเทียบกับทั้งปี 2018 ที่ 28,500 ล้านเหรียญ ทั้งนี้เมื่อต้นปี 2019 นั้น ธปท. รัฐบาล นักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์กันว่าการส่งออกจะขยายตัว แต่การนำเข้าจะขยายตัวมากกว่า ทำให้คาดการณ์กันว่าประเทศไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลงกว่าปี 2018 กล่าวคือคาดการณ์กันว่าไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 20,000-23,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019
การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมากมายเกินคาดนั้น จึงทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าธปท.จะเข้าไปแทรกแซงโดยการซื้อเงินดอลลาร์ด้วยการพิมพ์เงินบาทออกมาเพิ่ม หากไม่แทรกแซงเงินบาทจะแข็งค่ายิ่งไปกว่านี้เพราะกำลังซื้อในประเทศไม่มีเพียงพอ ต้องไปขายสินค้าและบริการให้ต่างชาติเป็นหลัก
ทุนสำรองระหว่างประเทศในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2019 จึงเพิ่มขึ้นจาก 209,911 ล้านเหรียญ ไปเป็น 221,036 ล้านเหรียญ (เพิ่มขึ้น 11,125 ล้านเหรียญ) แต่เนื่องจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 1 บาทในช่วง 11 เดือนดังกล่าว มูลค่าของทุนสำรองเมื่อคิดเป็นเงินบาทจึงลดลง (ขาดทุน) ไปกว่า 2 แสนล้านบาท แม้กระนั้นก็ตามปัจจุบันประเทศไทยมีทุนสำรองที่กองเอาไว้เฉยๆ คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 6,681,000 ล้านบาท (เป็นอย่างน้อย) ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของงบประมาณของรัฐบาลในปี 2020 ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่ามีเงินทุนสำรองอยู่มหาศาล (และจะเพิ่มขึ้นอีกเพราะธปท.จะต้องแทรกแซงไม่ให้เงินบาทแข็งค่าอีกต่อไป) แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังชะลอตัวลงอย่างที่ยังมองไม่เห็นว่าจะถึงจุดต่ำสุดเมื่อใด
เห็นได้จากการแจกแจงตัวเลขที่เป็นส่วนประกอบของดุลชำระเงินของไทยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้น ซึ่งผมขอนำบางส่วนมาเสนอดังปรากฏในตารางข้างล่าง
การส่งออกเป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งการขยายตัวของการส่งออกดังที่ปรากฏตามตาราง (Thailand: Balance of Payments) จะเห็นได้ว่าเริ่มอ่อนแรงตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2018 (โตเพียง 2.9%) และเริ่มติดลบในไตรมาส 1 ของปี 2019 (-3.8%) และติดลบต่อไปอีกในไตรมาส 2 ปี 2019 แต่มาถึงไตรมาส 3 ตัวเลขดูดีขึ้น กล่าวคือไม่ติดลบ (แต่ก็ไม่ขยายตัว) แม้ว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานของปี 2018 จะต่ำเป็นเกณฑ์อยู่แล้ว แต่ฐานตัวเลขของเดือน ต.ค. และพ.ย.ปี 2018 ก็ต่ำเหมือนกัน อย่างไรก็ดีการส่งออกในเดือน ต.ค. และ พ.ย. ปี2019 ก็ยังติดลบอยู่ดี และดูเสมือนว่าจะติดลบเพิ่มขึ้นอีกด้วยจาก -5.5% เป็น -7.7% หากดูมูลค่าการส่งออกก็เห็นได้ว่าลดลง กล่าวคือเดือน ต.ค.ส่งออก 20,500 ล้านเหรียญ แต่เดือนพ.ย.ส่งออก 19,600 ล้านเหรียญ ซึ่งส่วนหนึ่งอธิบายได้ว่าเพราะการปิดโรงกลั่นชั่วคราว อย่างไรก็ดีก็ยังหนีไม่พ้นว่า 11 เดือนแรกของปี 2019 นั้น มูลค่าการส่งออกลดลงไปถึง 3.4% หรือลดลงไปประมาณ 246,000 ล้านบาท หากครบ 12 เดือนก็น่าจะมากกว่า 250,000 ล้านบาท
แต่ตัวเลขที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือตัวเลขการนำเข้าของปี 2019 ที่ติดลบมากถึง 6.8% ในไตรมาส 3 ของปี 2018 และลดลงมากอีกที่ -9.2% ในเดือน ต.ค.และ -13.9% ในเดือนพ.ย. ทำให้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี การนำเข้าลดลงถึง 6.0% การนำเข้านั้นเป็นเครื่องบ่งชี้กำลังซื้อภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตในอนาคต จึงจะเป็นตัวเลขที่ส่งสัญญาณให้รู้ว่าการผลิตในอนาคต (ทั้งเพื่อการส่งออกและการบริโภคในประเทศ) ยังเป็นขาลง นอกจากนั้นการนำเข้ายังเป็นการสะท้อนการลงทุนเพราะเครื่องจักรและสินค้าทุนนั้นส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น สำหรับตัวเลขที่หดตัวอย่างมากในเดือนพ.ย.นั้น ส่วนหนึ่งอาจอ้างได้ว่าเป็นผลมาจากการหยุดทำงานชั่วคราวของโรงกลั่นน้ำมัน แต่ตัวเลขโดยรวมนั้นดูไม่ดีในเชิงที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยยังชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ยังมองไม่เห็นว่าใกล้หรือไกลจากจุดต่ำสุดของการตกต่ำของเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด
แต่ที่ชัดเจนในความเห็นของผมคือเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัวลงรวดเร็วกว่าการหดตัวของการส่งออกเสียอีก ซึ่งตัวเลขที่ยืนยันตรงนี้คือการเกินดุลการค้าและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (ซึ่งรวมตัวเลขการค้าบริการเข้ามาด้วย) กล่าวคือในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2019 (ที่บอกว่าการส่งออกย่ำแย่นั้น) ปรากฏว่าประเทศไทยเกินดุลการค้าเท่ากับ 24,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (บรรทัดแรกของตาราง) มากกว่าการเกินดุลการค้าทั้งปีในปี 2018 ที่ 22,400 ล้านเหรียญ ในส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น สถานการณ์ยิ่งน่าเป็นห่วงมากกว่าเพราะในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2019 เกินดุลมหาศาลถึง 33,200 ล้านเหรียญ เปรียบเทียบกับทั้งปี 2018 ที่ 28,500 ล้านเหรียญ ทั้งนี้เมื่อต้นปี 2019 นั้น ธปท. รัฐบาล นักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์กันว่าการส่งออกจะขยายตัว แต่การนำเข้าจะขยายตัวมากกว่า ทำให้คาดการณ์กันว่าประเทศไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลงกว่าปี 2018 กล่าวคือคาดการณ์กันว่าไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 20,000-23,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019
การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมากมายเกินคาดนั้น จึงทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าธปท.จะเข้าไปแทรกแซงโดยการซื้อเงินดอลลาร์ด้วยการพิมพ์เงินบาทออกมาเพิ่ม หากไม่แทรกแซงเงินบาทจะแข็งค่ายิ่งไปกว่านี้เพราะกำลังซื้อในประเทศไม่มีเพียงพอ ต้องไปขายสินค้าและบริการให้ต่างชาติเป็นหลัก
ทุนสำรองระหว่างประเทศในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2019 จึงเพิ่มขึ้นจาก 209,911 ล้านเหรียญ ไปเป็น 221,036 ล้านเหรียญ (เพิ่มขึ้น 11,125 ล้านเหรียญ) แต่เนื่องจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 1 บาทในช่วง 11 เดือนดังกล่าว มูลค่าของทุนสำรองเมื่อคิดเป็นเงินบาทจึงลดลง (ขาดทุน) ไปกว่า 2 แสนล้านบาท แม้กระนั้นก็ตามปัจจุบันประเทศไทยมีทุนสำรองที่กองเอาไว้เฉยๆ คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 6,681,000 ล้านบาท (เป็นอย่างน้อย) ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของงบประมาณของรัฐบาลในปี 2020 ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่ามีเงินทุนสำรองอยู่มหาศาล (และจะเพิ่มขึ้นอีกเพราะธปท.จะต้องแทรกแซงไม่ให้เงินบาทแข็งค่าอีกต่อไป) แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังชะลอตัวลงอย่างที่ยังมองไม่เห็นว่าจะถึงจุดต่ำสุดเมื่อใด